Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311232
ทั่วไป:13179641
ทั้งหมด:13490873
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟญี่ปุ่น
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟญี่ปุ่น
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 9, 10, 11 ... 66, 67, 68  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> เกี่ยวกับรถไฟต่างประเทศ
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42621
Location: NECTEC

PostPosted: 17/07/2018 9:03 am    Post subject: Reply with quote

ญี่ปุ่นสร้างชาติด้วยรถไฟ (1) : ความหลากหลายในภาพกว้าง
โดย: ดร.โฆษิต ทิพย์เทียมพงษ์ Tokyo University of Foreign Studies
เผยแพร่: วันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 เวลา 05:01

ขณะที่คนกรุงเทพฯ ไม่พอใจบริการของรถไฟฟ้าบีทีเอสที่ขัดข้องบ่อย คนไทยอีกไม่น้อยที่ไม่ใช่ผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าอาจไม่เข้าใจความรู้สึก อย่างไรก็ตาม แม้มิได้ประสบเหตุแห่งความหงุดหงิดจากรถไฟฟ้า แต่วันนี้น่าจะถึงเวลาที่เราควรออกมาเรียกร้องการพัฒนาระบบรางทั่วประเทศอย่างจริงจังเสียที เพราะปัจจุบันนี้ผู้คนเดินทางมากขึ้น การเดินทางหมายถึงความเคลื่อนไหวทางเศรษฐกิจ ซึ่งควรมีระบบขนส่งที่รองรับได้ดีกว่านี้ ต้องไม่ใช่ตัวรั้ง แต่เป็นพลังขับเคลื่อน

เท่าที่ผ่านมาไม่เคยเห็นนักการเมืองไทยคนไหนชูประเด็นปฏิรูประบบรางของประเทศและลงมือทำให้ปรากฏเป็นรูปธรรม ในเมื่อทางด่วนมากมายเรายังทำได้ แต่กับรางรถไฟ เหตุไฉนจึงปล่อยให้ตกยุค ในยามที่อะไร ๆ ก็มีนามสกุลสี่จุดศูนย์ห้อยท้าย การกระจายความเจริญด้วยรางรถไฟนี่แหละจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เราเจริญ ช่วงที่ใกล้เลือกตั้งเข้ามาทุกที ถ้านักการเมืองหน้าเก่าหรือหน้าใหม่คนใดยังไม่มีนโยบายเด่น ช่วยเข็นเรื่องนี้ใส่ลงไปหน่อยเถอะ หรือคนใหญ่คนโตบ้านเราที่ชอบมาดูงานที่ญี่ปุ่นกันมาก ๆ ขอฝากไว้ว่าหากท่านใดอยู่ในจุดที่ทำได้ ดูงานแล้วหากจะช่วยคิดแบบญี่ปุ่นด้วยการ “ใช้รถไฟสร้างชาติ” ก็จะประเสริฐเลิศล้ำ อานิสงส์จะนำมาซึ่งเสียงแซ่ซ้องสรรเสริญแก่ท่านแน่นอน



แม้ไม่มีงานวิจัยคิดมูลค่าการประหยัดเวลาเดินทางที่ส่งผลต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ทั้งระบบ แต่แค่คิดอย่างชาวบ้านธรรมดาก็เห็นได้ไม่ยากว่า ยิ่งลดเวลาเดินทางได้เท่าไรยิ่งทำให้มีเวลาทำอย่างอื่นได้มากขึ้นเท่านั้น และจะส่งผลไปถึงมูลค่าทางเศรษฐกิจแน่นอน ผมอยู่ในโตเกียว เดินทางไปทำงานในสถานที่ 3 แห่งที่อยู่ห่างกัน และอยู่ตรงนั้นแห่งละ 2-3 ชั่วโมงได้ครบถ้วนภายในเวลา 1 วันอย่างไม่ลำบากโดยไม่ต้องใช้รถยนต์ (เพราะขับไม่เป็น และยังไม่เห็นความจำเป็นที่จะต้องขับ) ด้วยระบบรถไฟที่สะดวก ขึ้นตรงนั้นต่อตรงนี้โดยกะเวลาได้แม่นยำ ทำให้ปริมาณงานที่ได้นั้นคุ้มค่าการเดินทาง เหนือสิ่งอื่นใดคือญี่ปุ่นมีสิ่งแวดล้อมแบบนี้มาหลายสิบปีแล้วด้วย ก็ไม่รู้เหมือนกันว่าหากคำนวณออกมา มูลค่าที่ญี่ปุ่นได้รับจากตรงนี้จะมีสักเท่าไรในตลอดหลายทศวรรษนี้

นอกจากเรื่องความรู้สึก หันมาดูทางข้อเท็จจริงในภาพกว้างกันบ้างว่าญี่ปุ่นเจริญมากับระบบรางอย่างไร ญี่ปุ่นมีรถไฟวิ่งครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.2415 ในสมัยจักรพรรดิเมจิ วิ่งระหว่างโตเกียวกับโยโกฮามา เริ่มดำเนินการเร็วกว่าของไทยประมาณ 20 ปี ไทยมีรถไฟวิ่งครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 5 ยุคนั้นเทคโนโลยีที่ญี่ปุ่นใช้ก็ไม่ต่างอะไรจากของไทยคือเป็นรถจักรไอน้ำ แล้วค่อย ๆ เปลี่ยนมาเป็นเครื่องยนต์ดีเซล แต่ทุกวันนี้ญี่ปุ่นมีรถไฟฟ้าวิ่งเต็มประเทศ ไทยมีอยู่ในกรุงเทพฯ และพอจะมีกับเขาบ้าง ครั้นผ่านมา 20 ปี ขณะที่ญี่ปุ่นกำลังพยายามส่งออกเทคโนโลยีรถไฟฟ้า หันมาดูตู้ซื้อตั๋วของไทย นั่นไง...ยังคงอนุรักษ์ไว้ซึ่งความขลังด้วยการไม่รับธนบัตร คำถามคือตลอดเวลาที่ผ่านมาเรามัวทำอะไรอยู่?

รถไฟในญี่ปุ่นถ้าแบ่งกว้าง ๆ ตามพลังขับเคลื่อนมี 2 แบบ คือ รถไฟฟ้า กับรถไฟเครื่องยนต์ดีเซล ปัจจุบันก็ยังวิ่งอยู่ทั้ง 2 แบบ ในกรุงโตเกียวเป็นรถไฟฟ้า ในส่วนภูมิภาคมีทั้ง 2 แบบ คำว่า “รถไฟฟ้า” คือ “เด็งชะ” (電車;densha) ถ้าใครมากรุงโตเกียว ลองสังเกตดู บนหลังคารถไฟมีแกนยาว ๆ ลีบ ๆ 2 ขายืดขึ้นไปข้างบน ซึ่งตรงปลายแกนมีคานเชื่อม 2 แกนนี้ คานนี้จะแตะราวที่ขึงเป็นแนวเหนือหลังคารถไฟขึ้นไปอีก ไล่เป็นทางควบคู่ไปกับราง นั่นคือสายป้อนพลังไฟฟ้าให้แก่รถไฟ ส่วนอีกชนิดหนึ่งเรียกว่า “คิชะ” (汽車;kisha) หมายถึง รถจักรไอน้ำ พลังไอน้ำเป็นเทคโนโลยีโบราณที่ใช้แพร่หลายกับเรือมาก่อน พอขึ้นบกมาใช้กับรถไฟ สมัยก่อนจึงเรียกว่า “ไอน้ำบก” (陸蒸気;okajōki) ด้วย ปัจจุบันรถจักรไอน้ำพัฒนามาใช้เครื่องยนต์ดีเซลแทน แต่ก็ยังเรียกว่า “คิชะ” อยู่เช่นเดิม

รถรางสายอารากาวะในกรุงโตเกียว
รถรางสายอารากาวะในกรุงโตเกียว

สิ่งที่เรียกได้ว่าเป็น “รถไฟฟ้าขบวนแรก” ของญี่ปุ่นไม่ได้เกิดขึ้นในโตเกียว แต่เริ่มที่เกียวโตเมื่อต้นปี พ.ศ.2438 พอใช้คำว่ารถไฟฟ้า อาจให้ภาพที่ต่างไปจากความคิดของคนไทย เพราะอันที่จริงภาษาไทยคงจะเรียกว่า “รถราง” เสียมากกว่า ส่วนในภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า “โรเม็ง-เด็งชะ” (路面電車;romen-densha) หรือ “รถไฟฟ้าที่วิ่งบน (ผิว) ถนน” ซึ่งก็ยังถือว่าเป็น “เด็งชะ” หรือรถไฟฟ้าชนิดหนึ่ง ไฟฟ้าที่ใช้ตอนนั้นคือไฟฟ้าพลังน้ำที่ผลิตจากทะเลสาบบิวะ จุดประสงค์คือเพื่อรับส่งผู้ไปร่วมงานนิทรรศการอุตสาหกรรมแห่งชาติที่จัดในปีนั้น และมอเตอร์รถไฟฟ้าผลิตโดยบริษัท General Electric ของอเมริกา เมื่อพูดถึงรถราง ทุกวันนี้ยังมีในหลายเมือง เช่น โอซากา นางาซากิ ซัปโปโร ในโตเกียวก็ยังมีอยู่ เช่น สายอารากาวะ ซึ่งมีผู้โดยสารใช้บริการลดลงเรื่อย ๆ จากประมาณ 30 ล้านคนต่อปีในช่วงครึ่งหลังของทศวรรษ 1970 จนปัจจุบันมีไม่ถึง 20 ล้านคนต่อปี แต่คนญี่ปุ่นก็พยายามอนุรักษ์ไว้ถึงแม้จะวิ่งช้าก็ตาม

ระบบรางในญี่ปุ่นมีความหลากหลายทั้งในแง่ประเภท (ชนิดของรถ) ทั้งบนดิน ใต้ดิน รถราง โมโนเรล และปริมาณ (จำนวนเที่ยววิ่ง) ด้วยความหลากหลายนี้ คนญี่ปุ่นต่างถิ่นก็สับสนกับชื่อสายรถไฟและการซื้อตั๋ว มีบ่อยครั้งที่ผมเองก็ถูกคนญี่ปุ่นต่างถิ่นที่ไม่ชินกับกรุงโตเกียวถามวิธีการขึ้นรถไฟ บริษัทที่ให้บริการเดินรถไฟในญี่ปุ่นมีมากมายจนบางทีผู้โดยสารไม่รู้ว่าของใครเป็นของใคร รู้แต่ว่า “มันคือรถไฟ” ก็ขึ้นไปเถอะ พาเราไปถึงได้เหมือนกัน แต่การรู้ไว้หน่อยอาจเป็นประโยชน์ในด้านค่าโดยสารหากใช้รถไฟที่ให้บริการโดยบริษัทที่ต่างกัน

เมื่อแบ่งกว้าง ๆ ผู้ให้บริการเดินรถไฟในญี่ปุ่นมี 2 กลุ่มใหญ่คือ กลุ่ม JR กับ กลุ่มการรถไฟรายย่อย สำหรับกลุ่ม JR นั้นย่อมาจาก Japan Railways Group—กลุ่มการรถไฟญี่ปุ่น เป็นหัวใจสำคัญของระบบรางทั่วญี่ปุ่น รถไฟหัวกระสุนชิงกันเซ็งก็อยู่ในกลุ่มนี้ ในกลุ่มประกอบด้วย 6 บริษัทให้บริการเดินรถไฟรับส่งผู้โดยสาร เช่น JR Hokkaido, JR East, JR West บ้างเป็นบริษัทมหาชน บ้างไม่ใช่ บริหารงานแยกกัน ส่วนอีก 1 บริษัทเป็นบริษัทขนส่งสินค้า รวมเป็น 7 บริษัท เดิมกลุ่ม JR คือกิจการที่รัฐบาลญี่ปุ่นดำเนินการ 100% ตอนนั้นมีชื่อว่า “การรถไฟแห่งชาติญี่ปุ่น” (Japanese National Railways) แต่ผ่านการแปรรูปเป็นเอกชนเมื่อปี 2530 กลายเป็นกลุ่ม JR ข้างต้น

อีกกลุ่มที่ไม่ใช่ JR ภาษาญี่ปุ่นเรียกรวม ๆ ว่า “มินเท็ตสึ” (民鉄;Mintetsu) ส่วนใหญ่หมายถึงรถไฟที่ดำเนินงานโดยเอกชน เรียกว่า “ชิเท็ตสึ” (私鉄;shitetsu) ซึ่งมีอยู่ไม่น้อย วิ่งทั้งในโตเกียวและต่างจังหวัด บางบริษัทใหญ่มาก เช่น Tobu, Seibu, Keisei และเนื่องจากไม่ใช่ส่วนหนึ่งของ JR บางครั้งนักท่องเที่ยวชาวไทยซื้อตั๋วเหมาที่เรียกว่า JR Pass เพื่อมาเที่ยวญี่ปุ่นและลงที่สนามบินนาริตะงงว่าทำไมนั่งรถไฟสายสกายไลเนอร์ (Skyliner) ไม่ได้ นั่งได้แต่นาริตะเอ็กซ์เพรส คำตอบอยู่ตรงนี้คือ สกายไลเนอร์เป็นของ Keisei ตั๋ว JR จึงใช้กับรถไฟสายนี้ไม่ได้ นอกจากชิเท็ตสึเหล่านี้แล้ว ในต่างจังหวัดหลายแห่งมีรถไฟท้องถิ่นซึ่งดำเนินการโดยทางการท้องถิ่นบ้าง หรือบรรษัทที่ราชการบริหารงานอยู่บ้าง



โครงข่ายระบบรางของญี่ปุ่นหลากหลายและมีผู้ดำเนินการมากราย ซึ่งเป็นผลดีต่อประชาชนเพราะทำให้มีทางเลือกมากขึ้น เพราะในบางจุดพลังการพัฒนาของรัฐบาลเข้าไม่ถึง การมีเอกชนกล้าลงทุนด้วยจึงเป็นการช่วยกระจายความเจริญ ยกตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมหน่อยก็เช่นธุรกิจที่แตกแขนงจากการเดินรถไฟ ใครที่เคยมาญี่ปุ่น ขอให้ลองนึกถึงสถานีรถไฟ ทั้งภายในและภายนอก โดยเฉพาะสถานีใหญ่ ๆ จะเห็นได้ว่าสถานีรถไฟนำความเจริญไปยังพื้นที่นั้น มีคนพลุกพล่าน มีร้านค้า เศรษฐกิจเคลื่อนไหว

ในกระบวนการพัฒนาเมืองของญี่ปุ่น มีคำว่า “เอกิ-มาเอะ” (駅前;eki-mae) หมายถึง “หน้าสถานีรถไฟ” ซึ่งเป็นทำเลทองของทั้งโรงแรม ร้านค้า และแหล่งความเจริญ คนไทยพูดว่า ไฟฟ้าเข้าที่ไหน ที่นั่นเจริญฉันใด คนญี่ปุ่นก็จะพูดว่า รถไฟไปที่ไหน ที่นั่นเจริญฉันนั้น แต่ทั้งนี้ พอมองย้อนกลับมาดูเมืองไทย เราเร่งสร้างเมืองก่อนจนแทบไม่มีที่ให้สร้างรถไฟในเมือง พอจะสร้างรถไฟฟ้า เราจึงต้องขุดเมืองหรือต่อเสาขึ้นไป กลายเป็นเรื่องวุ่นวายซ้ำซ้อน แต่รถไฟของญี่ปุ่นเกิดขึ้นพร้อม ๆ กับเมือง หรือบางสายกลายเป็นแรงขับดันให้เกิดเมือง ดังเช่นห้างสรรพสินค้าดังอย่าง Seibu ที่เกิดจากการรถไฟเอกชนสาย Seibu (ปัจจุบันเปลี่ยนมือแล้ว) เป็นต้น จากภาพกว้างตรงนี้ เราจะได้ลงลึกกันต่อไปในคราวหน้าถึงความเจริญที่ติดตามระบบรางของญี่ปุ่นไปทั่วประเทศ
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44316
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 17/07/2018 9:38 am    Post subject: Reply with quote

Quote:
ในกระบวนการพัฒนาเมืองของญี่ปุ่น มีคำว่า “เอกิ-มาเอะ” (駅前;eki-mae) หมายถึง “หน้าสถานีรถไฟ” ซึ่งเป็นทำเลทองของทั้งโรงแรม ร้านค้า และแหล่งความเจริญ คนไทยพูดว่า ไฟฟ้าเข้าที่ไหน ที่นั่นเจริญฉันใด คนญี่ปุ่นก็จะพูดว่า รถไฟไปที่ไหน ที่นั่นเจริญฉันนั้น

บ้านเรา อย่างชุมทางหาดใหญ่ เมืองโตขึ้นเพราะรถไฟ สร้าง overpass underpass ไว้ตั้งแต่ยุคเก่า ทำให้ไม่มีปัญหาเรื่องจุดตัด

แต่น่าสังเกตว่า หน้าสถานีรถไฟ จะหมายถึงย่านสถานีที่มีรถไฟเข้าออกนะครับ ส่วนด้านที่เป็นเมือง ชุมชน มักจะเป็นด้านหลังสถานี Very Happy
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44316
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 18/07/2018 2:26 pm    Post subject: Reply with quote

ญี่ปุ่นรณรงค์ประชาชนออกไปทำงานเร็วขึ้น ลดความแออัดรถไฟใต้ดิน
Spring News 18 ก.ค. 2018 / 13:50 น.

ญี่ปุ่นออกโครงการเพื่อแก้ไขปัญหาความแออัดยัดเยียดภายในขบวนรถไฟใต้ดินในกรุงโตเกียว ก่อนการแข่งขันมหกรรมกีฬาโอลิมปิกและพาราลิมปิก ปี 2020 ที่ญี่ปุ่นเป็นเจ้าภาพ

ยูริโกะ โคอิเคะ ผู้ว่าการกรุงโตเกียวหญิงคนแรก เปิดตัวแคมเปญ ‘จีสะ บิซ’ (Jisa Biz) รณรงค์ให้ชาวญี่ปุ่นออกไปทำงานเร็วขึ้น เพื่อเตรียมพร้อมรับมือการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกและพาราลิมปิกฤดูร้อน ที่กรุงโตเกียวจะเป็นเจ้าภาพในปี 2020 หลังผู้สัญจรมักเผชิญกับความแออัดของรถไฟฟ้าญี่ปุ่นในชั่งโมงเร่งด่วนและในช่วงฤดูฝน

ทั้งนี้ คำว่า ‘จีสะ บิซ’ นั้นแปลว่ามาจากคำว่า ‘Time-Lag Business’ และตอนนี้ มีบริษัทเข้าร่วมโครงการแล้วกว่า 740 แห่ง อาทิ บริษัทไฟเซอร์ อิงค์ และ บริษัทไมโครซอฟ ที่ยืดหยุ่นเวลาเข้างาน รวมถึงเพิ่มตัวเลือกในการทำงาน เช่น ทำงานจากบ้าน หรือ ทำงานทางไกล ขณะที่บางบริษัทถึงขั้นเตรียมชุดอาหารเช้าที่ออฟฟิศเพื่อกระตุ้นให้พนักงานมาทำงานเร็วขึ้นอีกด้วย

ด้านผู้ให้บริการรถไฟของญี่ปุ่นเองก็มีส่วนร่วมในแคมเปญดังกล่าว โดยการเพิ่มขบวนรถไฟในช่วงวันธรรมดาตอนเช้าด้วยเช่นกัน

ความแออัดของขบวนรถไฟใต้ดินในกรุงโตเกียวเรียกได้ว่าน่าสะพรึงเป็นอย่างมากโดยเฉพาะในช่วงปี 1960-1970 เนื่องจากการเดินทางของผู้คนส่วนมากใช้รถไฟใต้ดิน ทำให้สภาพภายในรถไฟเหมือนปลากระป๋องโดยเฉพาะช่วงเวลาเร่งด่วนที่ทุกคนมักจะอัดและดันตัวเองเข้าในขบวนให้ได้

สำหรับแคมเปญ ‘จีสะ บิซ’ ริเริ่มจากแนวคิดของรัฐบาลญี่ปุ่นที่ต้องการผลักดันให้บริษัทและห้างร้านต่างๆกำหนดเวลาทำงานเองได้ โดยไม่ต้องยึดติดกับรูปแบบเวลาเข้างานเดิม เพื่ออำนวยความสะดวกแก่พนักงานที่เป็นผู้หญิง และขยายการมีส่วนร่วมกับกลุ่มแรงงานให้กว้างขึ้น และ มีขึ้นตั้งแต่ปีที่แล้วแล้ว โดยมีบริษัทเข้าร่วมโครงการทั้งหมด 260แห่ง แต่ผู้สัญจรมองว่าไม่ได้ช่วยลดความแออัดในรถไฟบางนัก
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42621
Location: NECTEC

PostPosted: 23/07/2018 7:52 pm    Post subject: รถไฟ ขบวนที่ แน่นที่สุดของญี่ปุ่น Reply with quote

รถไฟ ขบวนที่ แน่นที่สุดของญี่ปุ่น
1. Tokyo Metro Tozai Line (東京地下鉄東西線): 199 percent
2. Chuo-Sobu Line (JR東日本総武緩行線): 197 percent
3. Yokosuka Line (JR東日本横須賀線): 196 percent
4. Nambu Line (JR東日本南武線): 189 percent
5. Tokkaido Line (JR東日本東海道線) : 187 percent
6. Nippori Toneri Liner (東京都日暮里舎人ライナー): 187 percent
7. Keihin Tohoku Line (JR東日本京浜東北線): 186 percent
8. Saikyo Line (JR東日本埼京線): 185 percent
9. Denentoshi Line (東急田園都市線): 185 percent
10. Chuo Rapid Line (JR東日本中央快速線) : 184 percent
11. Sobu Rapid Line (JR東日本総武快速線): 181 percent


https://soranews24.com/2018/07/19/these-are-the-11-most-crowded-trains-in-japan-and-surprise-theyre-all-in-the-tokyo-area/

เพราะ การลวนลามบนรถไฟมันเยอะเหลือเกิน ที่สุดก็ต้องติดกล้องวงจรปิด เพื่อยับยั้งเหตุการณ์เช่นนี้ในรถไฟเข้ากรุงโตเกียว เริ่ม กรกฎาคมศกนี้
https://soranews24.com/2018/07/04/all-japan-railway-tokyo-trains-to-finally-get-security-cameras-starting-this-summer/
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42621
Location: NECTEC

PostPosted: 24/07/2018 4:29 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
ญี่ปุ่นสร้างชาติด้วยรถไฟ (1) : ความหลากหลายในภาพกว้าง

โดย: ดร.โฆษิต ทิพย์เทียมพงษ์ Tokyo University of Foreign Studies
เผยแพร่: วันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 เวลา 05:01


ญี่ปุ่นสร้างชาติด้วยรถไฟ (จบ) : การรถไฟเอกชนส่งเสริมความเจริญ
คอลัมน์ญี่ปุ่นมุมลึก โดย ดร.โฆษิต ทิพย์เทียมพงษ์ แห่ง Tokyo University of Foreign Studies
เผยแพร่: วันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 เวลา 13:13



ดร.โฆษิต ทิพย์เทียมพงษ์ Tokyo University of Foreign Studies

ช่วงแรกญี่ปุ่นเรียนรู้เทคโนโลยีระบบรางจากอังกฤษ แต่ตอนนี้หากบอกว่าญี่ปุ่นคืออันดับหนึ่งของโลกด้านระบบรางคงไม่มีใครค้าน เพราะรถไฟของญี่ปุ่นทั้งสะดวก สะอาด รวดเร็ว ตรงเวลา และมีทางเลือกมากมาย คุณภาพรถไฟในยุโรปส่วนใหญ่ก็ถือว่าดีมากด้านความสะอาดและความสะดวก แต่ถ้าเพิ่มเรื่องความตรงต่อเวลาเข้าไปด้วยคงไม่มีที่ไหนชนะญี่ปุ่นได้ เพราะในยุโรปไม่ใช่เรื่องแปลกที่รถไฟจะล่าช้ากว่ากำหนด

คุณประโยชน์ของระบบรางมีทั้งความสะดวกในการเดินทางและผลสืบเนื่องต่อการพัฒนาเมือง ในกรณีของญี่ปุ่น นอกจากรถไฟความเร็วสูงชิงกันเซ็นของ JR ที่ย่นเวลาการเดินทางระหว่างเมืองได้มากดังที่ทราบกันทั่วโลกก็ยังมีระบบรางของเอกชนที่ส่งอิทธิพลอย่างสูงต่อความเจริญด้วย จุดนี้น่าสนใจและรัฐบาลไทยน่าจะลองเปิดใจพิจารณาอย่างจริงจังเผื่อนำมาปรับใช้ จะได้ดึงเอกชนที่ใจถึงเข้ามาลงทุน ระบบรางของไทยจะได้ก้าวหน้าเร็วขึ้น ไม่เฉพาะในกรุงเทพฯ แต่หมายรวมถึงในเมืองใหญ่แห่งอื่นและรถไฟระหว่างจังหวัดด้วย



เมื่อย้อนกลับไปดูความเป็นมา พบว่ากิจการรถไฟเอกชนของญี่ปุ่นเริ่มต้นหลังจากรัฐบาลเริ่มเดินรถไฟสายแรกได้ไม่นาน จากรถไฟสายแรกที่เปิดใช้เมื่อ พ.ศ. 2415 ระหว่างโตเกียวกับโยโกฮามา อีกแค่สิบกว่าปีต่อมาคือ พ.ศ.2426 การเดินรถไฟโดยเอกชนก็เริ่มขึ้น บริษัทนี้ชื่อ “นิปปงเท็ตสึโด” (日本鉄道;Nippon Tetsudō) ซึ่งช่วยให้ระบบรางของญี่ปุ่นขยายตัวรวดเร็วควบคู่ไปกับของรัฐบาล เส้นทางหลัก ๆ คือระหว่างโตเกียวกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เส้นทางแรก 61 กิโลเมตร วิ่งจากสถานีอูเอโนะในโตเกียวไปที่สถานีคูมางายะจังหวัดไซตามะ ผู้ลงทุนหลักของบริษัทได้แก่ โทโมมิ อิวากูระ (岩倉具視; Iwakura, Tomomi) ซึ่งมีเชื้อสายตระกูลขุนนางชั้นสูง และด้วยนโยบายของประเทศ ทางรัฐบาลก็สนับสนุนบริษัทนี้ทั้งด้านการเงินและเทคโนโลยี

การขยายเส้นทางรถไฟทำอย่างต่อเนื่องทั้งโดยรัฐและเอกชน ช่วงต้นปี พ.ศ.2436 ญี่ปุ่นมีเส้นทางรถไฟ 3,010 กิโลเมตร ในจำนวนนี้เป็นของรัฐบาลไม่ถึงครึ่ง คือแค่ 885 กิโลเมตร ส่วนของเอกชนมีถึง 2,125 กิโลเมตร หรือราวร้อยละ 70 ซึ่งถือว่าเยอะมาก แต่การขยายตัวของรถไฟเอกชนไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบเสมอไป เพราะรัฐบาลสมัยเมจิตอนนั้นคงนึกครึ้มอะไรขึ้นมา เดือนมีนาคม พ.ศ. 2449 จึงออกกฎหมายปรับเปลี่ยนกิจการรถไฟเอกชนให้กลายเป็นของรัฐเสียดื้อ ๆ ช่วงนั้นญี่ปุ่นมีบริษัทเดินรถไฟเอกชน 37 บริษัท ถูกรัฐดึงไปบริหารเอง 17 บริษัท เหตุผลที่รัฐบาลประกาศคือ เพื่อทำให้การขนส่งภายในประเทศราบรื่นและมีระบบรางครอบคลุม แต่ความจริงแล้ว ส่วนหนึ่งคือเพื่อยึดกิจการรถไฟมาเป็นทรัพยากรสนับสนุนการสงคราม เพราะช่วงนั้นญี่ปุ่นทำสงครามกับรัสเซีย นิปปงเท็ตสึโดก็เช่นกัน ถูกรัฐซื้อกิจการไปในปีนั้น จนกระทั่งปัจจุบัน หลายเส้นทางในเครือกลายเป็นของ JR ตะวันออก



แต่ในสภาพถูกบีบด้วยกฎหมายเช่นนี้ บริษัทรถไฟเอกชนทั้งหลายพยายามหาทางเอาตัวรอดด้วยการขยายกิจการไปสู่ด้านอื่นนอกเหนือจากการเดินรถไฟ และปรากฏว่าประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี กลายเป็นการพัฒนาระบบรางควบคู่กับกิจการเครือข่าย และเป็นโมเดลที่ประเทศอื่นก็สนใจ ตัวอย่างที่เห็นชัดคือในโตเกียว ใครเคยนั่งรถไฟในเมืองหลวงแห่งนี้จะเห็นได้ว่าตามสถานีมักมีร้านค้าสารพัด บางแห่งมีมากมายอยู่ในสถานีนั้นอย่างกับห้างสรรพสินค้า บางสถานีมีห้างครอบอยู่บนสถานีเลย หรือบางทีมีห้างอยู่ไม่ไกลจากอาคารสถานี

การเกิดขึ้นของห้างร้านไม่ใช่เรื่องบังเอิญ แต่เป็นกลยุทธ์ธุรกิจของบริษัทเดินรถไฟเอกชน สถานีใหญ่อย่างชินจูกุเป็นตัวอย่างเด่นชัด ตรงนั้นมีทั้งรถไฟในเครือ JR ซึ่งในอดีตเคยเป็นของรัฐ และมีรถไฟเอกชนอีกหลายสาย คือ สายเคโอ (Keio) สายโอดะกิว (Odakyu) สายเซบุ (Seibu) พอออกจากประตูเก็บตั๋วของสถานี จะพบว่าตกอยู่ในวงล้อมของห้างเคโอและโอดะกิว ห้างเคโอคือบริษัทในเครือเคโอซึ่งทำธุรกิจรถไฟ ทำนองเดียวกันกับห้างโอดะกิว และพอเดินออกไปทางตะวันออกของสถานีจะพบโรงแรมปรินซ์ซึ่งเป็นเครือข่ายโรงแรมใหญ่ในญี่ปุ่น มีสาขาทั่วประเทศ โรงแรมปรินซ์อยู่ในเครือเซบุ



อีกหนึ่งกลุ่มบริษัทที่ควรกล่าวไว้คือกลุ่มโทกิว ซึ่งวางแผนพัฒนาพื้นที่รายรอบเส้นทางรถไฟของตนอย่างเป็นระบบ กลุ่มโทกิวมีบริษัทในเครือเกือบ 400 บริษัท จ้างงานรวม 30,000 คน ในจำนวนนี้ทำงานด้านการรถไฟสามพันกว่าคน และแน่นอนว่านอกจากรถไฟแล้วก็ทำธุรกิจอสังหาริมทรัพย์คล้ายกับการรถไฟเอกชนบริษัทอื่น อีกทั้งยังมีธุรกิจค้าปลีก ห้างโทกิวและโทกิวแฮนส์อันโด่งดังในญี่ปุ่นก็เป็นบริษัทในกลุ่มนี้ นอกจากการสร้างความหลากหลายในธุรกิจของตนโดยตรงแล้ว เรื่องน่าสนใจอย่างหนึ่งที่โทกิวทำคือ ไปชวนมหาวิทยาลัยและสถาบันการศึกษาลักษณะอื่นที่เปิดทำการอยู่ในเมืองให้ไปสร้างวิทยาเขตในพื้นที่นอกเมืองใกล้ ๆ กับสถานีที่ตัวเองเดินรถอยู่ โดยเสนอขายที่ดินให้ในราคาถูก

นี่คือตัวอย่างส่วนหนึ่งที่ทำให้เห็นภาพคร่าว ๆ ว่าบริษัทรถไฟเอกชนของญี่ปุ่นไม่ได้ทำแค่การเดินรถ แต่มีธุรกิจในเครือเพื่อต่อยอดการค้า และเราจะพบว่าสถานีรถไฟกลายเป็น “ศูนย์รวมชุมชน” (community hub) สถานีรถไฟมักเป็นแหล่งรวมความเจริญที่มีคนเข้าถึงด้วยการเดินเท้า ด้วยจักรยาน หรือด้วยพาหนะขนส่งสาธารณะชนิดอื่น รถไฟไปตรงไหน ตรงนั้นเจริญ ย่านเล็กย่านน้อยจะค่อย ๆ พัฒนาขึ้นมา ซึ่งเป็นลักษณะในอุดมคติที่มีการพูดถึงในเมืองไทยเช่นกัน แต่เรายังทำไม่สำเร็จ หรืออาจจะไม่สำเร็จเลยหากไม่ปรับเปลี่ยนครั้งมโหฬาร



หลังจากผ่านร้อนผ่านหนาวมาร้อยกว่าปี ปัจจุบันญี่ปุ่นมีบริษัทเดินรถไฟเอกชนรายใหญ่ 16 บริษัท ซึ่งประกอบกิจการรถไฟบนดินและใต้ดินกระจายอยู่ตามภูมิภาคต่าง ๆ ดังนี้

ภูมิภาคคันโต (แถบภาคกลางซึ่งมีโตเกียวเป็นศูนย์กลาง)
Keikyu Corporation (京浜急行電鉄 หรือ 京急)
Keio Corporation (京王電鉄)
Keisei Electric Railway (京成電気鉄道)
Odakyu Electric Railway (小田急電鉄)
Sagami Railway (Sotetsu) (相模鉄道 หรือ 相鉄)
Seibu Railway (西武鉄道)
Tobu Railway (東武鉄道)
Tokyo Metro (東京地下鉄 หรือ 東京メトロ เครือข่ายรถไฟใต้ดินในโตเกียว)
Tokyu Corporation (東京急行電鉄 หรือ東急)



ภูมิภาคชูบุ (แถบภาคกลาง มีเมืองนาโงยาเป็นฐาน)
Nagoya Railroad (Meitetsu) (名古屋鉄道 หรือ 名鉄)

ภูมิภาคคันไซ (แถบตะวันตกรายรอบโอซากา)
Hankyu Corporation (阪急電鉄)
Hanshin Electric Railway (阪神電気鉄道)
Keihan Electric Railway (京阪電気鉄道)
Kintetsu Railway (近畿日本鉄道 หรือ 近鉄)
Nankai Electric Railway (南海電気鉄道)

ภูมิภาคคิวชู (เกาะคิวชู มีเมืองฟูกูโอกะเป็นฐาน)
Nishi-Nippon Railroad (Nishitetsu) (西日本鉄道 หรือ西鉄)



แม้ว่าในอดีตกิจการรถไฟเอกชนของญี่ปุ่นเคยถูกบังคับให้ตกเป็นของรัฐ แต่สิ่งหนึ่งที่ต้องยอมรับคือ รัฐบาลคือผู้เปิดทางให้เอกชนเข้ามาร่วมพัฒนาระบบรางอย่างกว้างขวาง จากนั้นก็สนับสนุนด้านต่าง ๆ จนกิจการรถไฟขยายไปทั่วประเทศดังที่ใคร ๆ ที่เคยไปญี่ปุ่นต่างก็ชื่นชม การรถไฟเป็นสาธารณูปโภคใหญ่หากจะคิดให้ครอบคลุมทั้งประเทศ ลำพังรัฐอย่างเดียว ถ้าไม่แน่จริง คงยากที่จะทำได้ทั่วถึง

สำหรับเมืองไทย ในเมื่อรู้จุดอ่อนตรงนี้แล้ว หากรัฐจะนำมาขยายผลอย่างจริงจัง...ขอเน้นว่าจริงจัง ด้วยการสำรวจเส้นทาง วางกรอบให้ชัดเจนแล้วดึงเอกชนเข้ามาร่วมลงทุน การเดินทางระหว่างจังหวัด หรือแม้แต่การเดินทางภายในจังหวัดโดยเฉพาะเมืองใหญ่ที่ไม่ใช่แค่กรุงเทพฯ จะสะดวกกว่านี้มาก เราพูดกันถึงกรุงเทพฯ เป็นหลัก แต่เชียงใหม่ โคราช สงขลา แทบไม่มีการเอ่ยถึงระบบรางภายในเมือง ในขณะที่โอซากา นาโงยา เกียวโตมีรถไฟใต้ดินทั้งนั้น ถ้ารัฐมีงานล้นมือก็ควรจะหารือกับเอกชนให้รีบเข้ามาช่วยพัฒนาก่อนที่จะช้าเกินไป
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44316
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 26/07/2018 1:59 pm    Post subject: Reply with quote

"SHIKI – SHIMA" รถไฟสำราญญี่ปุ่นสุดหรู
เดลินิวส์ พฤหัสบดีที่ 26 กรกฎาคม 2561 เวลา 11.00 น.

ครั้งหนึ่งในชีวิต! กับการพิชิต ‘SHIKI – SHIMA’ รถไฟสำราญญี่ปุ่นสุดหรู ประสบการณ์สุดเอ็กซ์คลูซีฟ โดย World Surprise Travel

ชีวิตนี้ยังไม่ต้องไปถึงอวกาศ. . .ขอแค่คุณไม่พลาด ‘SHIKI – SHIMA’ ทริปรถไฟในฝันสุดหรู ที่ชีวิตนี้ต้องลองสักครั้ง!  SHIKI – SHIMA รถไฟสุดหรูระดับท็อปคลาส สุดยอดของโปรแกรมทริปในฝัน ที่ก่อนหน้านี้เปิดให้บริการเฉพาะคนญี่ปุ่นเท่านั้น แต่ขณะนี้เปิดให้ต่างชาติได้สัมผัสแล้ว รวมถึง ‘คนไทย’ ด้วยเช่นกัน ไปใช้ชีวิตดี ๆ ที่เหนือระดับ กับ World Surprise Travel บริษัทหนึ่งเดียวในขณะนี้ที่ได้ชื่อว่า เป็นผู้ให้บริการรายแรกในโลก ที่ทำการจองรถไฟแบบเหมาขบวน! 
 
รถไฟ SHIKI – SHIMA เริ่มให้บริการครั้งแรกสำหรับชาวญี่ปุ่น ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมปี 2017 จนกระทั่งในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา รถไฟท็อปคลาสขบวนนี้ได้เปิดประตูต้อนรับชาวต่างชาติขึ้นขบวนเป็นที่เรียบร้อย แต่ที่พิเศษยิ่งกว่านั้น บริษัท World Surprise Travel ได้พานักท่องเที่ยวกลุ่มแรก เหมาขบวนรถไฟพรีเมี่ยมครั้งแรก พร้อมแหวกว่ายประสบการณ์เหนือคำบรรยายยิ่งกว่าสิ่งใด 

ความพิเศษของรถไฟ SHIKI – SHIMA คือ การได้รับประสบการณ์การสุดหรูจากชาติที่ขึ้นชื่อ เรื่องการให้บริการอย่างญี่ปุ่น ผนวกกับมาตรฐานระดับเวิล์ดคลาส จึงไม่น่าแปลกใจที่การบริการและการออกแบบทริป จะเต็มไปด้วยรายละเอียดและความใส่ใจ ทำให้ผู้รับบริการ สัมผัสได้ถึงสิ่งต่าง ๆ เหล่านั้นอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย แบบไร้ข้อกังขา

สิ่งที่น่าสนใจไม่น้อยไปกว่าทริปรถไฟ SHIKI – SHIMA คือผู้ที่อยู่เบื้องหลังอย่างบริษัท  World Surprise Travel เพราะหากพูดถึงประสบการณ์การท่องเที่ยวสุดหรูหรา หายาก ต้องนึกถึง World Surprise Travel เท่านั้น! 

คุณภูษณุ โลกาศิริวัตร ผู้บริหาร  กล่าวว่า “ จุดมุ่งหมายหลักของเราคือ ลูกค้าที่ไปกับเราในทุก ๆ ทริป จะได้รับประสบการณ์ที่เรียกได้ว่าเป็น Once in life time หรือ Once of a most memorable trip นั่นคือการเป็นทริปที่น่าประทับใจที่สุดในชีวิต เราจึงยึดมั่นทำทัวร์ให้เป็น  Zero complain คือเป็นทัวร์ที่มีคำตำหนิใด ๆ  กลับมาจากลูกค้าทุกคน ความสุขที่สมบูรณ์แบบคือดีเอ็นเอของ World Surprise Travel 

“ ทุกการเดินทางคือความเอ็กซ์คลูซีฟ มีสถานที่ท่องเที่ยวแปลก ๆ อยู่มากมาย ทำไมคนไทยถึงไม่รู้จัก ทำไมคนไทยถึงไม่ได้ไป  และสิ่งที่มีทั้งหมดเหล่านี้ ทำให้มั่นใจว่าทุกคนจะได้รับสิ่งที่ดีที่สุดและสามารถเข้าถึงได้ ด้วยบริการที่หลากหลายตั้งแต่ราคาตามท้องตลาด หรือโปรโมชั่น  ไปจนถึงทริปสุดหรูแบบนี้ “ คุณภูษณุ  กล่าว.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42621
Location: NECTEC

PostPosted: 20/08/2018 6:19 pm    Post subject: Re: รถไฟ ขบวนที่ แน่นที่สุดของญี่ปุ่น Reply with quote

Wisarut wrote:
รถไฟ ขบวนที่ แน่นที่สุดของญี่ปุ่น
1. Tokyo Metro Tozai Line (東京地下鉄東西線): 199 percent
2. Chuo-Sobu Line (JR東日本総武緩行線): 197 percent
3. Yokosuka Line (JR東日本横須賀線): 196 percent
4. Nambu Line (JR東日本南武線): 189 percent
5. Tokkaido Line (JR東日本東海道線) : 187 percent
6. Nippori Toneri Liner (東京都日暮里舎人ライナー): 187 percent
7. Keihin Tohoku Line (JR東日本京浜東北線): 186 percent
8. Saikyo Line (JR東日本埼京線): 185 percent
9. Denentoshi Line (東急田園都市線): 185 percent
10. Chuo Rapid Line (JR東日本中央快速線) : 184 percent
11. Sobu Rapid Line (JR東日本総武快速線): 181 percent


https://soranews24.com/2018/07/19/these-are-the-11-most-crowded-trains-in-japan-and-surprise-theyre-all-in-the-tokyo-area/


เผยผลสำรวจ รถไฟสายไหนแออัดยัดเยียดที่สุดในญี่ปุ่น
โดย: MGR Online

เผยแพร่: 15 สิงหาคม 2561 07:01


กระทรวงคมนาคมญี่ปุ่นประกาศผลการสำรวจรถไฟที่มีผู้โดยสารแออัดที่สุดในญี่ปุ่น ทั้งหมดอยู่ในพื้นที่กรุงโตเกียว และเกือบทุกเส้นทางมีผู้โดยสารเกินกว่าที่จะรองรับได้มากเกือบ 200%

กระทรวงคมนาคม โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่ง และการท่องเที่ยวแห่งญี่ปุ่น ประกาศผลการสำรวจความแออัดของรถไฟ ประจำปีงบประมาณ 2017 ซึ่งสุดสิ้นเมื่อเดือนมีนาคม พบว่า รถไฟสายโทไซ Tōzai ที่ดำเนินการโดยโตเกียว เมโทร มีความแออัดยัดเยียดมากถึง 199% ในช่วงเวลาเข้างานและเลิกงาน



รถไฟสายโทไซวิ่งจากพื้นที่ตะวันออกไปตะวันตก เชื่อมกรุงโตเกียวกับจังหวัดชิบะ มีผู้โดยสารมากกว่า 1,642,378 ต่อวัน

ตามนิยามของกระทรวงคมนาคมระบุว่า ความแออัด 200% หมายถึง ผู้โดยสารเบียดกันแน่นจนร่างกายสัมผัสกันและรู้สึกว่าถูกเบียดจนไม่สบายตัว ขยับเขยื้อนไม่ได้ ไม่มีแม้แต่ราวว่างให้จับ

ความแออัด 100% หมายถึง เก้าอี้ทุกที่นั่งเต็ม แต่ผู้โดยสารที่ยืนยังมีราวให้จับได้ ขณะที่ความแออัด 180% หมายถึง ผู้โดยสารไม่สามารถอ่านหนังสือพิมพ์ได้ ถึงแม้จะพับหนังสือพิมพ์ให้เล็กลงแล้ว

กระทรงคมนาคมระบุว่าความแออัด 180% ขึ้นไปถือว่าแออัดขั้นวิกฤต โดยมีทั้งหมด 11 สาย ทั้งหมดอยู่ในพื้นที่กรุงโตเกียว



นอกจากนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับเมืองใหญ่อื่น ๆ รถไฟในกรุงโตเกียวก็ยังแออัดมากกว่า โดยค่าเฉลี่ยความแออัดของอยู่ที่ 163% ขณะที่รถไฟในเมืองนาโงยามีค่าเฉลี่ยความแออัดที่ 131% ส่วนรถไฟในนครโอซากามีความแออัดเฉลี่ยที่ 125%

ผลสำรวจยังพบว่า ความแออัดของรถไฟในโอซากาและนาโงยามีแนวโน้มดีขึ้น แต่ในกรุงโตเกียว รถไฟยังเบียดเสียดเหมือนเดิม ถึงแม้ว่าจะมีการเพิ่มจำนวนรถไฟและการรณรงค์ให้เหลื่อมเวลาทำงานก็ตาม

ความแออัดของรถไฟในกรุงโตเกียวเกิดขึ้นเพราะจำนวนประชากรที่ย้ายมาทำงานในเมืองหลวงเพิ่มมากขึ้น และคนทำงานส่วนใหญ่พักอยู่นอกใจกลางเมืองจึงจำเป็นต้องโดยสารรถไฟเพื่อเข้ามาทำงานในเมืองเป็นระยะทางไกล ขณะที่ในเมืองอื่น ๆ ประชาชนพักอยู่ไม่ไกลจากตัวเมืองมากนัก ยังสามารถเดินทางด้วยจักรยาน หรือใช้เวลาบนรถไฟน้อยกว่า ทำให้ความแออัดของรถไฟบรรเทาลงได้.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42621
Location: NECTEC

PostPosted: 24/08/2018 10:01 am    Post subject: Reply with quote

ญี่ปุ่นเตรียมใช้รถไฟไร้คนขับ ก่อนคนขับรุ่นเก่าทยอยเกษียณ

โดย: MGR Online
เผยแพร่: 23 สิงหาคม 2561 18:59

บริษัทเจอาร์ อีสต์ ผู้ให้บริการรถไฟในญี่ปุ่นจะใช้ระบบรถไฟไร้คนขับ เพื่อรับมือแรงงานขาดแคลนและเปลี่ยนการให้บริการรถไฟให้เป็นอัตโนมัติ

บริษัทเจอาร์ อีสต์ ซึ่งมีศูนย์การให้บริการรถไฟในพื้นที่กรุงโตเกียวและโดยรอบ กำลังพิจารณานำระบบรถไฟไร้คนขับมาใช้กับเส้นทางสายยามะโนะเทะ และโทโฮคุ ชิงกันเซ็ง เพื่อเตรียมพร้อมรับการขาดแคลนคนขับรถและผู้ควบคุม ซึ่งกำลังจะเกษียณอายุจำนวนมาก โดยทางบริษัทได้จัดตั้งทีมงานพิเศษเพื่อพัฒนาเทคโนโลยี

บริษัทเจอาร์ อีสต์กำลังเผชิญกับการขาดแคลนคนขับรถไฟ ในปี 2017 พนักงานราว 1 ใน 4 ของพนักงานทั้งหมดมีอายุ 55 ปีหรือมากกว่า โดยพนักงานวัย 45-54 ปีมีสัดส่วนเพียงร้อยละ 10 เท่านั้น และหลังจากการแปรรูปจากรัฐวิสาหกิจเป็นบริษัทเอกชน ทำให้การจ้างพนักงานใหม่เพื่อทดแทนการเกษียณต้องถูกจำกัด ดังนั้นอีกไม่กี่ปีข้างหน้า บริษัทรถไฟของญี่ปุ่นจะมีจำนวนพนักงานไม่เพียงพอที่จะให้บริการได้อย่างเต็มที่

ในระยะแรก บริษัทเจอาร์ อีสต์ตั้งเป้าจะพัฒนารถไฟที่ขับเคลื่อนอัตโนมัติโดยไม่มีคนขับ มีเพียงผู้ควบคุมรถ 1 คนเพื่อรับมือกับเหตุฉุกเฉิน และจะพัฒนาให้เป็นระบบที่ขับเคลื่อนอัตโนมัติทั้งหมดต่อไป

ในญี่ปุ่นขณะนี้ รถไฟไร้คนขับมีการใช้งานจริงแล้วในเส้นทางยูริคาโมเมะ ซึ่งเชื่อมใจกลางกรุงโตเกียวกับอ่าวโตเกียวผ่านเกาะเทียมโอไดบะ และเส้นทาง Port Liner ที่เมืองโกเบ นอกจากนี้รถไฟความเร็วสูงเส้นทางชูโอ ชิงกันเซ็งที่กำลังก่อสร้างอยู่ก็จะขับเคลื่อนโดยไร้คนขับเช่นกัน

อย่างไรก็ตาม เส้นทางรถไฟสำคัญที่ดำเนินการโดยเจอาร์และบริษัทรถไฟเอกชนอื่น ๆ ยังมีอุปสรรคอย่างมากที่จะใช้ระบบอัตโนมัติ เนื่องจากมีระยะทางที่ยาวและเชื่อมโยงกับสายอื่น ๆ อย่างสลับซับซ้อน และมีผู้โดยสายจำนวนมาก

ปัจจัยสำคัญในการเปลี่ยนระบบรถไฟให้ขับเคลื่อนอัตโนมัตินั้น นอกจากการเชื่อมโยงอย่างสมบูรณ์แล้ว ยังมีเรื่องความปลอดภัย ต้องมีการติดตั้งแผงกั้นระหว่างชานชาลาเพื่อป้องกันผู้โดยสารตกลงไปในราง หรือต้องยกระดับรางให้สูงขึ้น

ที่ตัวรถต้องติดตั้งเซนเซอร์ความแม่นยำสูง ที่สามารถจับสิ่งกีดขวางบนรางและสั่งให้รถหยุดฉุกเฉินได้ นอกจากนี้ต้องมีมีระบบตรวจจับกลิ่นและเสียงที่ผิดปกติในขบวนรถ แบบเดียวกับที่คนขับรถทุกวันนี้รับรู้ได้

กระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน คมนาคม และการท่องเที่ยวของญี่ปุ่นยังจำเป็นต้องแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับการเดินรถไฟ เพื่อรองรับรถไฟไร้คนขับ รวมทั้งประเด็นว่าใครจะเป็นผู้รับผิดชอบหากเกิดอุบัติเหตุขึ้น

บริษัทรถไฟหลายแห่งของญี่ปุ่นต่างมุ่งปรับสู่การเดินรถแบบอัตโนมัติ นอกจากบริษัทเจอาร์ อีสต์แล้ว บริษัทคิวชู เรลเวย์ก็กำลังพิจาณาใช้ระบบรถไฟไร้คนขับเช่นกัน.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42621
Location: NECTEC

PostPosted: 28/08/2018 11:39 am    Post subject: Reply with quote

โวยบริษัทรถไฟญี่ปุ่น ทดสอบความปลอดภัยสุดสยอง!
จันทร์ที่ 27 สิงหาคม 2561 เวลา 20.25 น.

บริษัทรถไฟโดยสารญี่ปุ่นกล่าวปกป้องการฝึกซ้อมด้านความปลอดภัย ซึ่งกำหนดให้พนักงานนั่งข้างรางรถไฟในอุโมงค์ ขณะที่รถไฟหัวกระสุนชินคันเซ็นวิ่งผ่านด้วยความเร็ว 300 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานจากกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 27 ส.ค. ว่า
โฆษกบริษัทรถไฟโดยสาร เจอาร์ เวสต์ เผยต่อสำนักข่าวเอเอฟพี ว่า
บริษัทไม่มีแผนปรับเปลี่ยนการฝึกซ้อม แม้ว่าจะมีการร้องเรียนจากพนักงานบางส่วน
ทั้งนี้ การฝึกซ้อมดังกล่าวเกี่ยวพันกับพนักงานประมาณ 190 คน ของแผนกซ่อมบำรุง
"การฝึกซ้อมมีเป้าหมายเพื่อสอนแผนกซ่อมบำรุงของเรา
ให้ตระหนักถึงความสำคัญของงานทุกส่วน
บริษัmระมัดระวังเรื่องความปลอดภัยอย่างเต็มที่ในระหว่างการฝึกซ้อม" และ
"เราจะฝึกซ้อมแบบนี้ต่อไป เพื่อรับประกันว่าบริษัทจะบรรลุเป้าหมาย"

เจอาร์ เวสต์ ทำการฝึกซ้อมพนักงานลักษณะนี้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 หลังเกิดอุบัติเหตุในเดือน ส.ค. 2558 ซึ่งส่วนหนึ่งของผนังด้านนอกรถไฟหัวกระสุนหลุดออก เป้าหมายของการฝึกซ้อม เพื่อสร้างความประทับใจแก่พนักงานว่า รถไฟวิ่งได้เร็วเพียงใด ดังนั้นจึงต้องใส่ใจในงานที่ทำอย่างเต็มที่ แต่พนักงานบางส่วนไม่ประทับใจ

จากรายงานของสื่อท้องถิ่น พนักงานรายหนึ่งเผยต่อหนังสือพิมพ์โตเกียว ชิมบุน ว่า
"มันเป็นประสบการณ์ที่น่าสยดสยอง" ส่วนอีกรายเผยต่อหนังสือพิมพ์ไมนิชิ ว่า
"เหมือนถูกเฆี่ยนในที่สาธารณะ".
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44316
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 30/08/2018 8:28 pm    Post subject: Reply with quote

บริษัทการรถไฟแห่งญี่ปุ่นภาคตะวันออกเปิดตัวสถานีใหม่สำหรับโอลิมปิกโตเกียว 2020
เทคโนโลยีกับธุรกิจ
NHK วันพุธที่ 29 สิงหาคม เวลา 18:56น.

Click on the image for full size

ในวันพุธที่ 29 สิงหาคม บริษัทการรถไฟแห่งญี่ปุ่นภาคตะวันออกได้เปิดตัวสถานีแห่งใหม่ที่กำลังก่อสร้างใจกลางกรุงโตเกียว

บริษัทการรถไฟแห่งญี่ปุ่นภาคตะวันออกมีแผนเปิดใช้งานสถานีแห่งใหม่ในช่วงราวเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม 2563 ก่อนช่วงมหกรรมโอลิมปิกและพาราลิมปิกโตเกียวที่จะจัดขึ้นหลังจากนั้น สถานีใหม่นี้จะอยู่ระหว่างสถานีชินางาวะและทามาจิ และมีรถไฟสายยามาโนเตะ และสายเคฮิง โทโฮกุจอดที่สถานี

ทางบริษัทกล่าวว่างานราวร้อยละ 70 ที่ได้วางแผนไว้เสร็จสมบูรณ์แล้ว

อาคารของสถานีมี 4 ชั้น มี 3 ชั้นอยู่บนดิน และมีชั้นใต้ดิน 1 ชั้น นายเคงโก คูมะ สถาปนิกชาวญี่ปุ่นเป็นผู้ออกแบบอาคารหลังนี้ สถาปนิกผู้นี้ก็เป็นผู้ออกแบบสนามกีฬาแห่งชาติแห่งใหม่สำหรับมหกรรมโอลิมปิกและพาราลิมปิกโตเกียวด้วย

อาคารสถานีมีลักษณะเด่นที่หลังคาสีขาวและกำแพงกระจกขนาดใหญ่ ทั้งนี้ รางรถไฟติดตั้งไว้เสร็จแล้ว
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> เกี่ยวกับรถไฟต่างประเทศ All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 9, 10, 11 ... 66, 67, 68  Next
Page 10 of 68

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©