RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311279
ทั่วไป:13261155
ทั้งหมด:13572434
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 276, 277, 278 ... 545, 546, 547  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42696
Location: NECTEC

PostPosted: 17/07/2018 7:34 pm    Post subject: Reply with quote

คมนาคมถกญี่ปุ่นลุยไฮสปีด”กทม.-พิษณุโลก”เร่งศึกษารถไฟเชื่อมระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตกผุดรถไฟฟ้าเฟส2

วันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 เวลา 18:18 น.
นายพีระพล ถาวรสุภเจริญ รองปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า การเดินทางไปปฏิบัติภารกิจที่ประเทศญี่ปุ่นร่วมกับนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมในระหว่างวันที่ 17-21 ก.ค. นี้มีภารกิจที่เกี่ยวข้องอยู่ 3 ประเด็น


ได้แก่ 1.การพูดคุยหารือความร่วมมือในโครงการรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ตอนที่ 1 กรุงเทพฯ-พิษณุโลก ระยะทาง ระยะทาง 418 กม. เงินลงทุน 2.8 แสนล้านบาท

2.การพูดคุยเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในโครงการถไฟเชื่อมระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก (East-West Corridor) และเส้นทางการพัฒนารถไฟเส้นทางตามแนวเศรษฐกิจด้านใต้ (Southern Corridor) เส้นทางกาญจนบุรี-กทม.-แหลมฉบัง และ กทม.-อรัญประเทศ ระยะทาง 574 กม. ที่จะไปถึงโครงการท่าเรือทวาย

และ 3.ติดตามความคืบหน้าร่างทิศทางนโยบายการจัดทำแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล (พื้นที่ต่อเนื่อง) ระยะ 2 (M-MAP 2)
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42696
Location: NECTEC

PostPosted: 17/07/2018 9:35 pm    Post subject: Reply with quote

ห้องโล่ง! ถ่ายทอดความรู้-เทคโนโลยีไฮสปีดไทย-จีน ส่อแห้ว ใช้งบอื้อ 17.3 ล้าน
วันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

วันนี้ (17 ก.ค.) ความคืบหน้ากรณีการถ่ายทอดเทคโนโลยี ซึ่งเป็นข้อตกลงเรื่องหนึ่งในกรณีการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-โคราช หรือรถไฟไทย-จีน ซึ่งขณะนี้ได้เริ่มก่อสร้างรางไปแล้วนั้น

ผู้สื่อข่าวได้รับรายงานจากแหล่งข่าวด้านวิศวกรที่เกี่ยวข้อง เปิดเผยกับ”มติชน”ระบุว่า ในขั้นตอนการถ่ายทอดเทคโนโลยี สภาวิศวกร ได้รับการร้องขอ จากรฟท. เข้ามาเป็นเจ้าภาพ ทำหน้าที่ไปเจรจาเรื่องการถ่ายทอดเทคโนโลยีรถไฟฟ้าความเร็วสูง ต่อมา สภาวิศวกรเป็นตัวแทนประเทศไปเจรจากับจีน จนได้บทสรุปเป็นโปรแกรมฝึกอบรมงานด้านออกแบบ โยธาฯ ก่อสร้าง ฯลฯ มาทั้งหมด 11 หลักสูตร ทั้งนี้ ทาง รฟท. มอบหมายสภาวิศวกรไปหาคนมาเข้ารับการฝึกอบรมถ่ายทอดเทคโนโลยีจากจีน แต่ไม่เกิดความชัดเจนด้านผู้รับการฝึกอบรม จนใกล้หมดสัญญา ด้านรฟท. กังวลว่าจะเลยเวลา จึงหาคนฝึกอบรมมาจัดการเอง ก่อนส่งหนังสือด่วนไปยังหน่วยงานต่างๆ ซึ่งในยอดผู้รับการฝึกอบรมทั้งหมด รฟท. ให้โควต้าสภาวิศวกรไว้ถึง 105 ที่นั่ง

สำหรับการอบรม เริ่มวันแรกตั้งแต่วันที่ 9 ก.ค. ที่ผ่านมา ปรากฎว่าคนเข้าร่วมน้อยมาก โปรแกรมแรก เกี่ยวกับเรื่อง overview มีเก้าอี้สำหรับผู้เข้ารับฟังการอบรมถึง 250 ที่นั่ง โปรแกรมอื่นๆ 11 โปรแกรมๆ ละ 85 ที่นั่ง รวม 1,185 ที่นั่ง สิ่งที่เกิดขึ้นคือ สภาวิศวกรไม่ส่งคนมาร่วมฝึกอบรมเลยแม้แต่คนเดียว ในขณะที่ห้องต่างๆ ที่เตรียมที่นั่งไว้ มีคนจากรฟท.เข้าราวๆ 20 กว่าคนเท่านั้น แหล่งข่าวระบุ

แหล่งข่าวระบุต่อว่า ในส่วนคนที่มาเข้าเรียนโปรแกรมต่างประมาณไม่เกิน 20 คน ได้ยินว่าส่งๆ กันมาโดยไม่ได้คัด และมานั่งฟังล่ามจีนแปล ก็อาจจะทำให้รู้เรื่องบ้าง ไม่รู้เรื่องบ้าง หากเป็นเช่นนั้น ความหวังที่จะเป็นไปตามเป้าหมายว่าต้องการให้มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อให้ออกแบบเองได้ ก็จะไม่ได้ตามเป้าแน่ๆ

โดยประเด็นปัญหาสำคัญในการฝึกอบรมครั้งนี้ คือ สภาวิศวกรไม่ได้ทำอะไรผิด และ รฟท.ก็อาจจะไม่ได้ทำอะไรผิดด้วยเหมือนกัน เพราะทางฝ่ายสภาวิศวกรมองว่าทำภารกิจในการออกแบบโปรแกรมฝึกเสร็จแล้ว ขณะที่ฝ่ายรฟท.ก็อยากให้ สภาวิศวกรเข้ามาดูแลจนจบ หาคนที่เหมาะสมมาเรียน เพราะขาดบุคลากรที่เชี่ยวชาญ

ทั้งนี้ รัฐบาลได้มีมติครม. ให้มีการจัดตั้ง “หน่วยงานพิเศษ” (SPV, Special Purposed Vehicle) ที่เป็นอิสระจาก รฟท. มาเดินรถมากำกับการเดินรถ แต่เนื่องจากรถไฟฟ้าความเร็วสูงสร้างขึ้นบนเขตทางของ รฟท. (เพื่อให้โครงการเดินหน้าได้ไว ตัดปัญหาการเวนคืน) จึงมีการมอบหมายให้ รฟท. ดำเนินการ ปัญหาขณะนี้คือการขาดทีมที่จะบริหารหลักสูตร บริหารการถ่ายทอดเทคโนโลยี โดยเพิ่งมีรายงานว่าจะมีการประชุมกันในวันที่ 18 ก.ค. นี้ ที่กระทรวงคมนาคม ท่ามกลางการจัดอบรมที่กำลังจัดอยู่ และหากอ้างตามมติครม. ก็จะต้องตั้งตั้งแต่ภายในปี 2560 แล้ว

“หลักสูตรจึงถูกสร้างขึ้นจากหน่วยงานที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับแผนรับการถ่ายทอดเทคโนโลยี ดำเนินการโดยหน่วยงานที่คงจะไม่ได้ทำหน้าที่กำกับดูแลการเดินรถไฟฟ้าความเร็วสูง และในที่สุดก็เลือกเอาคนมาเข้ารับการฝึกอบรมโดยไม่มีแผนงานชัดเจนว่าอบรมแล้วมีภารกิจจะต้องไปทำอะไร” แหล่งข่าวระบุ

แหล่งข่าวยังระบุอีกว่าสำหรับขั้นตอนดังกล่าว นอกจากมีส่วนบรรยายแล้ว ยังมีส่วนในการดูงานต่างประเทศที่ประเทศจีน โดยทุกโปรแกรมที่ไปต่างประเทศมีการลงทะเบียนเต็มทุกโปรแกรม ต่างกับช่วงการเข้าฟังบรรยาย

แหล่งข่าวระบุต่อว่า นอกจากนี้การจัดกิจกรรมดังกล่าวยังใช้ค่าใช้จ่ายจำนวนมากอีกด้วย โดยใช้ค่าจัดฝึกอบรม จ้างวิทยากรจากจีน 12 ล้านบาท ในการจัดการช่วงการบรรยาย อีกส่วนเป็นขั้นตอนการดูงานที่จีน ใช้งบประมาณ 5.3 ล้านบาท โดยคนเข้าอบรม กับคนไปดูงาน เป็นคนละกลุ่ม ซึ่งโปรแกรมดูงานที่จีน รฟท.จัดคนเสร็จแล้ว

“ผมฟันธงเลยว่าสิ้นเปลือง เพราะในที่สุดไม่มีใครสามารถออกแบบได้ ไม่มี mission เป้าหมาย คนเหล่านี้ไม่เข้าใจว่า ถ่ายทอดเทคโนโลยี หมายถึงอะไร” แหล่งข่าวระบุ

“เสียดายเงินงบประมาณ แต่ผมเสียดายโอกาสในการพัฒนาศักยภาพของช่างและวิศวกรไทยมากกว่า” แหล่งข่าวด้านวิศวกร กล่าวทิ้งท้าย
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42696
Location: NECTEC

PostPosted: 19/07/2018 12:49 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
คมนาคมถกญี่ปุ่นลุยไฮสปีด”กทม.-พิษณุโลก”เร่งศึกษารถไฟเชื่อมระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตกผุดรถไฟฟ้าเฟส2

วันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 เวลา 18:18 น.


“ไฮสปีด-ชินคันเซ็น”กรุงเทพ-เชียงใหม่4.2แสนล้าน พ่วงพัฒนาที่ดิน ถึงคิวเข้าครม.เดือนหน้า “สมคิด-อาคม”รับปากญี่ปุ่น
วันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 เวลา 14:27 น.


นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมระดับสูงไทย – ญี่ปุ่น ครั้งที่ 4 เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2461 ณ กรุงโตเกียว โดยมีนายโยชิฮิเดะ สึกะ เลขาธิการคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่น เป็นประธานร่วม การหารือครอบคลุมความร่วมมือยุทธศาสตร์เศรษฐกิจรอบด้าน

ประเด็นแรก ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิกที่ครอบคลุมและก้าวหน้า (CPTTP) ฝ่ายไทยย้ำความมุ่งมั่นในการเข้าเป็นสมาชิก และฝ่ายญี่ปุ่นพร้อมสนับสนุนการเตรียมตัวเข้าเป็นสมาชิกดังกล่าวของไทย ในการประชุม 11 ชาติสมาชิก ระหว่างวันที่ 17-20 กค. 2561 จะมีวาระพิจารณาให้ไทยเข้าร่วมเป็นสมาชิกใหม่

“ไทยพร้อมแล้ว ที่จะเข้าร่วมเป็นสมาชิก เขตการค้าที่สำคัญ เราไม่เข้าไม่ได้ หากไม่เข้า จะเสียหาย” นายสมคิดกล่าว



ประเด็นที่ 2 ความตกลงระหว่างราชอาณาจักรไทยและญี่ปุ่นสำหรับความเป็นหุ้นส่วนเศรษฐกิจ (JTEPA) ทั้งสองฝ่ายย้ำความสำคัญของ JTEPA และมุ่งมั่นจะดำเนินการทบทวนทั่วไป JTEPA ให้แล้วเสร็จ เพื่อยกระดับ JTEPA ให้มีมาตรฐานสูงขึ้นเพื่อเป็นพื้นฐานของหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจระหว่างไทย – ญี่ปุ่น รวมถึงเห็นพ้องว่า จะดำเนินการทบทวนทั่วไป JTEPA เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อทั้งสองฝ่ายและสะท้อนพัฒนาการทางเศรษฐกิจและความร่วมมือระหว่างไทย – ญี่ปุ่น



“เราจะกระโดดข้าม เรื่องสิทธิทางภาษี ไปสู่การเป็นพันธมิตรคู่ค้า”

ประเด็นที่ 3 ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) ทั้งสองฝ่ายย้ำศักยภาพอันกว้างไกลของ RCEP และจะร่วมมืออย่างใกล้ชิดเพื่อให้ได้ข้อสรุปเบื้องต้นสำหรับความตกลง RCEP ที่มีมาตรฐานสูง บนพื้นฐานของแถลงการณ์ร่วมของผู้นำในการเจรจา RCEP ในวันที่ 15 พฤศจิกายน 2560

“เขตการค้าที่ใหญ่ที่สุดในโลกแห่งนี้จะสำเร็จไม่ได้ ถ้าญี่ปุ่นไม่ร่วมผลักดัน” นายสมคิดกล่าว

ประเด็นที่ 4 ความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมเพื่อ Thailand 4.0 และระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ทั้งสองฝ่ายจะร่วมมือกันต่อไปเพื่อยกระดับโครงสร้างอุตสาหกรรมซึ่งรวมถึงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และการพัฒนาเมืองอัจฉริยะบนพื้นฐานของแนวคิด Connected Industries ในขณะที่ฝ่ายไทยย้ำความมุ่งมั่นในการดำเนินโครงการ EEC และยินดีให้การสนับสนุนช่วยเหลือนักลงทุนญี่ปุ่นใน EEC

“ไทยมีไอเดีย จะสร้าง Thailand ciber port เพื่อสร้างสตาร์ตอัพใหม่ๆ ใน EEC เชื่อมกับ open Inovation columbus ซึ่งเป็นโครงการสร้างสตาร์ตอัพร่วมกัน 2 ประเทศ”



ประเด็นที่ 5 ความร่วมมือระบบราง ทั้งสองฝ่ายมุ่งมั่นที่จะผลักดันความร่วมมือในโครงการพัฒนาระบบรางในไทย ฝ่ายญี่ปุ่นมุ่งมั่นที่จะร่วมมือกับฝ่ายไทยในด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อรองรับอุตสาหกรรมระบบรางในไทย

“ญี่ปุ่นสนใจลงทุนรถไฟฟ้า การบิน และรถไฟทางคู่ เขาเร่งให้ไทยนำเรื่องผลการศึกษารถไฟความเร็วสูง กรุงเทพ-เชียงใหม่ เข้าสู่การพิจารณาใน ครม. สิงหาคมนี้ ซึ่งนายอาคม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม จะรีบดำเนินการในเรื่องนี้ โครงการนี้เดิมเขาอยากจะขายเทคโนโลยีชินคันเซ็น แล้วจบ แต่ฝ่ายไทยอยากให้เขามาร่วมลงทุน ฝ่ายญี่ปุ่นยังติดที่ราคายังแพงอยู่ แม้ว่าจะได้สิทธิพัฒนาที่ดินเชิงพาณิชย์ เชื่อมการพัฒนาเมืองต่างๆ รายทางด้วย” นายสมคิดกล่าว

ทั้งนี้เดิมมูลค่าลงทุน โครงการนี้ประมาณ 4.2 แสนล้านบาท

ประเด็นที่ 6 ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดี – เจ้าพระยา – แม่โขง (ACMECS) ฝ่ายญี่ปุ่นยินดีกับการจัดทำแผนแม่บท ACMECS Master Plan ที่ฝ่ายไทยเป็นผู้ริเริ่มในการประชุมผู้นำ ACMECS ครั้งที่ 8 ที่กรุงเทพฯ และยินดีที่ญี่ปุ่นแสดงความสนใจอย่างยิ่งที่จะร่วมมือกับไทยเพื่อส่งเสริมความร่วมมือประเทศลุ่มน้ำโขงกับญี่ปุ่นซึ่งสอดคล้องกับแผนแม่บท ACMECS โดยเฉพาะในช่วงแรกของการบังคับใช้ที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก – ตะวันตก (EWEC) และระเบียงเศรษฐกิจตอนใต้ (SEC) ในการนี้ ทั้งสองฝ่ายจะร่วมมือกันอย่างแข็งขันเพื่อส่งเสริมความเชื่อมโยงและการพัฒนาที่ยั่งยืนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง

ประเด็นที่ 7 การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (HRD) ฝ่ายญี่ปุ่นมุ่งมั่นที่จะร่วมมือกับฝ่ายไทยในด้าน HRD ตามข้อริเริ่มความร่วมมือด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ญี่ปุ่น – ไทย โดยเฉพาะการพัฒนาวิศวกรและแรงงานด้านเทคนิคในสาขาเฉพาะต่าง ๆ เพื่อรองรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย ทั้งสองฝ่ายยืนยันความมุ่งมั่นที่จะร่วมมืออย่างต่อเนื่องเพื่อจัดตั้งสถาบันสำหรับการพัฒนาวิศวกรและบุลคลากรทางเทคนิคในรูปแบบของญี่ปุ่นแห่งแรก หรือ “โคเซ็น” ในไทย

และประเด็นสุดท้าย ความร่วมมือไทย – ญี่ปุ่นในระดับท้องถิ่น ทั้งสองฝ่ายยินดีกับพัฒนาการความร่วมมือในระดับท้องถิ่นระหว่างไทย – ญี่ปุ่น และจะหารือต่อไปเกี่ยวกับสาขาความร่วมมือที่มีศักยภาพเพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรมและเกิดประโยชน์ต่อทั้งสองฝ่าย รวมทั้งยินดีต่อการลงนามบันทึกความเข้าใจระหว่างสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนกับจังหวัดมิเอะ

“เราต้องการเจาะเมืองท้องถิ่น เน้นจุดที่มีพลังทางเศรษฐกิจสูง ต้นปีไปฟุโกอะกะ แล้วได้ผลมาก ขณะนี้มีจำนวนนักลงทุนญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น ในอุตสาหกรรมเป้าหมาย เฉพาะอย่างยิ่งใน EEC ที่นาโกยา ซึ่งเป็นเมืองใหญ่อันดับ 3 ครั้งนี้ มีนักลงทุนเข้าร่วม 700 คน” นายสมคิดกล่าว
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44497
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 19/07/2018 2:12 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
“ไฮสปีด-ชินคันเซ็น”กรุงเทพ-เชียงใหม่4.2แสนล้าน พ่วงพัฒนาที่ดิน ถึงคิวเข้าครม.เดือนหน้า “สมคิด-อาคม”รับปากญี่ปุ่น
วันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 เวลา 14:27 น.

ดึงญี่ปุ่นร่วมทุน โครงการรถไฟชินคันเซ็นกทม.-เชียงใหม่
โพสต์ทูเดย์ วันที่ 19 ก.ค. 2561 เวลา 13:14 น.

ประชุมร่วมไทย-ญี่ปุ่น "สมคิด" โปรยยาหอมดันชินคันเซ็น กทม.-เชียงใหม่ เข้า ครม. ส.ค.นี้

เมื่อวันที่ 18 ก.ค.ที่ผ่านมา นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี และนายโยชิฮิเดะ สึกะ เลขาธิการคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่น ได้เป็นประธานร่วมการประชุมคณะกรรมการร่วมระดับสูงไทย-ญี่ปุ่น (HLJC) ที่ทำเนียบรัฐบาลญี่ปุ่น กรุงโตเกียว

นายสมคิด เปิดเผยว่า ในการประชุมได้หารือถึงความร่วมมือระหว่างไทยกับญี่ปุ่นเกี่ยวกับโครงการรถไฟความเร็วสูง กทม.-นครสวรรค์-เชียงใหม่ (ชินคันเซ็น) ซึ่งฝ่ายไทยได้แจ้งว่ากระทรวงคมนาคมจะนำโครงการนี้เข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในเดือน ส.ค.นี้ แต่เนื่องจากเป็นโครงการที่ใช้เงินลงทุนสูง จากผลการศึกษาของญี่ปุ่นระบุว่าต้องใช้เงินลงทุนกว่า 4.2 แสนล้านบาท หากสามารถหาข้อสรุปการลงทุนที่เหมาะสมโดยให้ญี่ปุ่นเข้ามาร่วมลงทุนในโครงการนี้ ก็จะลดต้นทุนของไทยและทำให้โครงการนี้มีโอกาสเกิดขึ้นจริงได้มากขึ้น

"เราได้บอกเขาไปว่าอยากให้เขาเข้ามาร่วมลงทุน ไม่เข้ามาเพียงขายโครงการหรือขายเทคโนโลยีเท่านั้น แต่ต้องดูถึงรูปแบบความร่วมมือ ซึ่งต้องหารือกันอีกหลายครั้ง"นายสมคิด กล่าว

รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า นอกจากนี้ได้หารือถึงความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิกที่ครอบคลุมและก้าวหน้า (ซีพีทีพีพี) โดยฝ่ายไทยย้ำว่ามีความมุ่งมั่นในการเข้าเป็นสมาชิกซีพีทีพีพี และฝ่ายญี่ปุ่นพร้อมสนับสนุน โดยจะเริ่มเสนอชื่อไทยเป็นสมาชิกใหม่ในการประชุมชาติสมาชิกที่ญี่ปุ่นระหว่างวันที่ 17-20 ก.ค.นี้

ขณะเดียวกันมีการเร่งรัดการเจรจาในกรอบความตกลงความเป็นหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (เจเทป้า) ให้เสร็จเร็วที่สุด พร้อมเสนอให้มองข้ามการลดภาษีระหว่างกันและมาเป็นพันธมิตรเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมใหม่ รวมทั้งความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (อาร์เซ็ป)

ขณะที่จะขยายความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมตามนโยบายไทยแลนด์ 4.0 และระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ที่ทั้งสองฝ่ายจะร่วมมือกันเพื่อยกระดับโครงสร้างอุตสาหกรรม รวมถึงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และการพัฒนาเมืองอัจฉริยะบนพื้นฐานของแนวคิด Connected Industries โดยฝ่ายไทยย้ำความมุ่งมั่นในการดำเนินโครงการอีอีซี และพร้อมให้การสนับสนุนช่วยเหลือนักลงทุนญี่ปุ่นอย่างเต็มที่

"ไทยมีไอเดียจะสร้างไทยแลนด์ ไซเบอร์ พอร์ต เพื่อสร้างสตาร์ทอัพใหม่ๆ ในอีอีซีเชื่อมกับโครงการ Open Innovation Columbus ซึ่งเป็นโครงการสร้างสตาร์ทอัพร่วมกัน 2 ประเทศ"
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42696
Location: NECTEC

PostPosted: 23/07/2018 10:35 am    Post subject: Reply with quote

‘ทศ’ยก "อีอีซี"เทียบชั้นกรุงเทพฯ-ชี้พัฒนาที่มักกะสัน-บางซื่อ ยังมีความเสี่ยง
อออนไลน์เมื่อ 21 July 2018
ตีพิมพ์ใร
หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ หน้า 36
ฉบับ 3,384 ระหว่างวันที่ 19-21 กรกฎาคม 2561




เจ้าสัวเซ็นทรัล “ทศ จิราธิวัฒน์” มั่นใจ “อีอีซี” พลิกพื้นที่ใกล้เคียงเป็นกรุงเทพฯ 2 และอุตสาหกรรมบริการมาแรง ยันซื้อซองรถไฟความเร็วสูงเพื่อศึกษาให้ถ่องแท้ ชี้พัฒนาที่มักกะสัน-บางซื่อ ยังมีความเสี่ยง

นายทศ จิราธิวัฒน์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท กลุ่มเซ็นทรัล จำกัด กล่าวในงานสัมมนา One Transport for all 2018 : On the Move จัดโดยกระทรวงคมนาคมว่า การลงทุนเมกะโปรเจ็กต์รัฐบาลในรอบ 4 ปี มูลค่าร่วม 3 ล้านล้านบาท เป็นการลงทุนที่ยิ่งใหญ่สุดในรอบ 30 ปี ซึ่งจะเพิ่มรายได้ประชากรได้เท่าตัว ผลักดันให้รายได้ประชากรไทยพ้นจากมิดเดิลอินคัมมาเป็นไฮอินคัม และการลงทุน อินฟราสตรักเจอร์ 20% จะกลับเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจทำให้เพิ่มทั้งจีดีพีและรายได้ประชากรเพิ่มสูงขึ้น ลดปัญหาความเหลื่อมลํ้า เพราะจะเกิดกระจายรายได้ทั่วประเทศและสู่ภาคบริการที่เป็นรายได้หลักของประเทศ

“โครงการต่างๆ ที่กระทรวงคมนาคมกำลังดำเนินการจะช่วยให้เกิดการเปลี่ยนอาชีพจากเกษตรกรรมไปสู่ภาคอุตสาหกรรมบริการ ส่วนโครงการอีอีซี เป็นโครงการที่ดีที่รัฐบาลใช้อินฟราสตรักเจอร์เป็นตัวนำ เพราะนักอุตสาหกรรม เขาต้องการความสะดวก เขาจะถามว่าเดินทางอย่างไร ใช้ชีวิตอย่างไร ถ้าไม่อะไรซัพพอร์ตก็ไม่มาลงทุน สิ่งเหล่านี้ต้องมาก่อน”

อีกทั้งเห็นว่าการลงทุนสร้างรถไฟความเร็วสูงไปถึงอู่ตะเภา จะทำให้อุตสาหกรรมการบริการบูมมากกว่าอุตสาหกรรมเสียด้วยซํ้าไป เพราะถ้าเราขีดวง อู่ตะเภา พัทยา ระยอง ตีเส้นบริเวณ 100 ตารางกิโลเมตร ตรงบริเวณนี้คอนเซ็ปต์จะเป็นกรุงเทพฯแห่งที่ 2 ถ้าเราสามารถสร้างผังเมืองใหม่ขึ้นมารองรับ จะทำให้เกิดไฮเทคซิตี กรีนซิตี มีการวางถนนหนทางใหม่ อาจจะเป็นเมืองที่สวยที่สุดในโลกก็ได้

นายทศ ยังยกตัวอย่างอีกว่า เกาะสมุยแค่มีสนามบินเพียงแห่งเดียวยังทำให้เกิดการลงทุนสร้างโรงแรมเป็นหมื่นห้อง มีนักท่องเที่ยวเป็นล้านคน เกิดการจ้างงาน มีการลงทุน พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ที่อยู่อาศัย คอนโดมิเนียม ทั่วโลกรู้จักจากเกาะที่ไม่มีอะไรเลย และเปลี่ยนอาชีพจากชาวสวนมาอยู่ในอุตสาห กรรมการบริการ เช่นเดียวกันหากรถไฟความเร็วสูงผ่านอยุธยา จากเมือง อุทยานประวัติศาสตร์ ก็จะเปลี่ยนเป็นเกียวโตของญี่ปุ่น พลิกโฉมเศรษฐกิจโตอย่างน้อย 10 เท่าตัว เพราะเดินทางเพียงครึ่งชั่วโมงหากมีการเชื่อมโยงการเดินทางที่ดี

“ผมไม่กังวลอะไรเพราะกระทรวงวางแผนที่ชัดเจน แต่ที่เป็นห่วงคือเรื่องของการเชื่อมต่อจะทำให้โครงการสำเร็จสมบูรณ์ ระบบทั้งหมดต้องลิงก์ไม่ติด และใช้งานได้อย่างเต็มที่เหมือนญี่ปุ่น เยอรมนี ประเทศเหล่านี้เกิดก่อน เรามาที่หลังต้องทำได้ดีกว่า”

ส่วนการมีรายชื่อบริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) เข้าร่วมซื้อซองประมูลโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน มูลค่ากว่า 2 แสนล้านบาทนั้น เจ้าสัวเซ็นทรัล กล่าวว่า ซื้อซองมาเพื่อศึกษาไว้ก่อน ส่วนจะร่วมมือกับใครนั้นก็ต้องศึกษา ขั้นตอนต่างๆ ต้องดูก่อนว่ามีความเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน เพราะเงื่อนไขตั้งไว้ว่าไม่ประมูลแยก เราเป็นส่วนเล็กของส่วนที่ใหญ่ เราไม่ใช่ลีด อยู่ที่ว่าคนที่ทำรถไฟเขาจะเลือกเราหรือเปล่า โครงการขนาดใหญ่ก็ต้องคุยกันหลายกลุ่ม และอาจจะมีผู้สนใจ 5-6 กลุ่มเข้าประมูล

ทั้งที่ดินแปลง (เอ) 35 ไร่บริเวณสถานีกลางบางซื่อที่จะเปิดประมูลและรถไฟความเร็วสูงถือเป็นโครงการใหม่ที่เราก็ศึกษาไว้ก่อน ดูว่าคุ้มไม่คุ้ม เป็นปกติของการลงทุนแต่แมสทรานสิท เป็นเรื่องใหม่ บางซื่อจะเป็นฮับขนส่งของประเทศ และทั้ง 2 แห่งก็ต้องลิงก์เชื่อมกันอยู่ดี และอาจจะไม่เหมือนต่างประเทศ เพราะไม่ได้ตั้งอยู่ใจกลางเมือง เหมือนฮ่องกง โตเกียว นิวยอร์ก
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42696
Location: NECTEC

PostPosted: 23/07/2018 12:28 pm    Post subject: Reply with quote

"ศรีสุวรรณ"จ่อยื่นค้านร่างทีโออาร์รถไฟเชื่อม 3 สนามบิน ชี้ใช้ที่ดินผิดวัตถุประสงค์
โดย: MGR Online
เผยแพร่: วันที่ 23 กรกฎาคม 2561 - 16:29
นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย เปิดเผยว่า สมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย ออกแถลงการณ์คัดค้านร่างทีโออาร์โครงการรถไฟเชื่อมระหว่างสนามบิน 3 แห่ง ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ที่มีการใช้ที่ดินบริเวณมักกะสันของ รฟท. ซึ่งผิดวัตถุประสงค์ และอาจผิดกฎหมายหลายประการ โดยสมาคมฯ และเครือข่าย จะร่วมกันยื่นคำร้องต่อนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี ในวันพรุ่งนี้ (24 ก.ค.) เวลา 10.30 น. ที่ศูนย์รับเรื่องร้องเรียน ทำเนียบรัฐบาล หลังจากนั้น เวลา 11.30 น. จะเดินทางไปยื่นคำร้องต่อกระทรวงคมนาคม


“ศรีสุวรรณ” ยื่นนายกฯ 24 ก.ค. ค้านใช้ที่ดินมักกะสันเชื่อม 3 สนามบิน
พร็อพเพอร์ตี้
วันที่ 23 กรกฎาคม 2561 - 10:50 น.
“ศรีสุวรรณ” ยื่นนายกฯ 24 ก.ค.ค้านใช้ที่ดินมักกะสันเชื่อม3สนามบิน
วันที่ 23 กรกฎาคม 2561 - 09:17 น.

เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย เปิดเผยว่า สมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย ได้ออกแถลงการณ์คัดค้านร่างทีโออาร์โครงการรถไฟเชื่อมระหว่างสนามบิน ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ที่จะใช้ที่ดินบริเวณมักกะสัน โดยสมาคมฯ และเครือข่าย จะร่วมกันไปยื่นคำร้องต่อนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี ในวันที่ 24 กรกฎาคมนี้ เวลา 10.30 น. ที่ศูนย์รับเรื่องร้องเรียน ทำเนียบรัฐบาล และเวลา 11.30 น. จะเดินทางไปยื่นคำร้องต่อกระทรวงคมนาคม ด้วย

ทั้งนี้ แถลงการณ์เรื่อง ขอคัดค้าน TOR รฟท. เอื้อนายทุนนำที่ดินของชาตื ที่มักกะสันไปประเคนให้ EEC ระบุว่า ตามที่การรถไฟแห่งประเทศไทยได้แถลงข่าวเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2561 ประกาศเงื่อนไขการประมูล TOR สำหรับโครงการรถไฟเชื่อมระหว่างสนามบินซึ่งมีการใช้ที่ดินมักกะสันของการรถไฟฯ นั้น พบว่า TOR ดังกล่าวไม่เหมาะสม เนื่องจากไม่สร้างประโยชน์สูงสุดแก่ประเทศชาติและประชาชน รวมทั้งมีการใช้ที่ดินของการรถไฟฯ ที่ผิดวัตถุประสงค์ และอาจผิดกฎหมายหลายประการ ดังนี้

ข้อ 1.โครงการดังกล่าวรัฐฐาลอ้างว่าเป็นโครงสร้างพื้นฐานหลักในการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ที่จะเชื่อมต่อ 3 ท่าอากาศยานในเขตกรุงเทพมหานครและเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก คือ ท่าอากาศยานดอนเมือง ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และท่าอากาศยานอู่ตะเภาแบบไร้รอยต่อ พัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ บริเวณสถานีแอร์พอร์ต เรลลิงก์มักกะสัน ให้เป็นศูนย์กลางการเชื่อมโยงกรุงเทพมหานครกับเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC Gateway) และพื้นที่สถานีรถไฟความเร็วสูงศรีราชา และการดำเนินกิจการทางพาณิชย์เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟ ซึ่งก่อนหน้านี้ ได้มีข่าวว่ารัฐจะอนุญาตให้เอกชนผู้พัฒนาโครงการเกี่ยวกับรถไฟ ได้สิทธิใช้ที่ดินมักกะสัน เริ่มต้นด้วยเนื้อที่ 140 ไร่ โดยจ่ายค่าตอบแทนให้แก่รัฐเพียงเล็กน้อย และถึงแม้เอกชนจะมีภาระต้องจ่ายเงินชดเชยขาดทุนของการรถไฟฯ อีก 1หมื่นล้านบาท แต่คณะตรวจสอบภาคประชาชนก็มีความเห็นว่าเป็นค่าตอบแทนที่ต่ำมาก เมื่อเปรียบเทียบกับมูลค่าปัจจุบันของที่ดิน 140 ไร่ และในอนาคตน่าจะมีการขยายขอบเขตไปครอบคลุมที่ดินเกือบ 500 ไร่ที่มักกะสันทั้งหมด

ข้อ 2 การที่ผลประโยชน์ทั้งหมดไม่ตกแก่การรถไฟฯ เป็นการผิดพระราชปณิธาน เพราะที่ดินมักกะสันเป็นที่ดินที่ล้นเหล้ารัชกาลที่ 5 ได้ทรงพระราชทานเพื่อใช้พัฒนากิจการรถไฟ ดังนั้น เนื่องจากโครงการดังกล่าวมิได้ก่อประโยชน์ให้ตกแก่การรถไฟฯ แต่ผู้เดียว จึงจะเป็นการผิดไปจากพระราชปณิธาน ดังนี้

(1) โครงการรถไฟที่จะเชื่อมต่อ 3 ท่าอากาศยานนั้น วัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนความสะดวกในการเดินทางเพื่อใช้ท่าอากาศยานทั้งสามแห่ง ประโยชน์หลักจึงตกอยู่กับท่าอากาศยานทั้งสาม โดยทำให้มีจำนวนผู้โดยสารมากขึ้น แต่ผลกำไรจากรถไฟดังกล่าวมิได้ตกเป็นของการรถไฟฯ ดังนั้น จึงไม่สามารถใช้ที่ดินของการรถไฟฯ เพื่อทำให้ผลประโยชน์ไปตกแก่ท่าอากาศยานเป็นสำคัญ



(2) ในทางเทคนิค ที่ดินมักกะสันที่จำเป็นจะต้องใช้สำหรับการเชื่อมโยงบริเวณสถานีแอร์พอร์ต เรลลิงก์มักกะสัน ให้เป็นศูนย์กลางการเชื่อมโยงกรุงเทพมหานครกับเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC Gateway) และพื้นที่สถานีรถไฟความเร็วสูงศรีราชานั้น จะเป็นพื้นที่เพียงเล็กน้อย ไม่น่าจะเกิน 5-10 ไร่ ดังนั้น การยกให้เอกชนได้สิทธิใช้ที่ดินมากถึง 140 ไร่ และในอนาคตน่าจะขยายออกไปจนเต็มพื้นที่เกือบ 500 ไร่ที่มักกะสัน จึงเป็นเรื่องที่เกินเลยความจำเป็นทางเทคนิคในการเชื่อมโยง 3 สายทางดังกล่าว

(3) TOR ระบุว่าที่ดิน 140 ไร่ดังกล่าว จะใช้เพื่อการดำเนินกิจการทางพาณิชย์เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟ แต่ในข้อเท็จจริง พื้นที่ที่จำเป็นต้องใช้เพื่อการเชื่อมโยง 3 สายทางรถไฟ จะเป็นพื้นที่เพียงเล็กน้อย ไม่น่าจะเกิน 5-10 ไร่ ดังนั้น พื้นที่ส่วนที่เหลือในเนื้อที่ 140 ไร่และต่อไปน่าจะขยายออกไปจนเต็มพื้นที่เกือบ 500 ไร่ที่มักกะสันนั้น จึงมิใช่พื้นที่สำหรับสนับสนุนบริการรถไฟอย่างแท้จริง แต่ตามที่ปรากฏในข่าวก่อนหน้า น่าจะเป็นการอ้างคำพูดดังกล่าว เพียงเพื่อจะพัฒนาที่ดินเหล่านี้ในเชิงพาณิชย์แบบผสมผสาน (mixed use) ซึ่งนอกจากเป็นเรื่องที่เกินเลยความจำเป็นทางเทคนิคในการเชื่อมโยง 3 เส้นทางดังกล่าวแล้ว ผลประโยชน์จากการพัฒนาที่ดินเหล่านี้ในเชิงพาณิชย์ มิได้ตกแก่การรถไฟฯ แต่จะไปตกแก่ภาคเอกชนผู้พัฒนารถไฟเชื่อมท่าอากาศยานแทน

(4) วิธีพัฒนาที่ดินในเชิงพาณิชย์ ไม่ว่าที่ดินมักกะสัน หรือที่ดินอื่นของการรถไฟ โดยให้ผลประโยชน์ทั้งหมดตกแก่การรถไฟฯ อันเป็นไปตามพระราชปณิธาน นั้น จะต้องให้การรถไฟฯ หรือบริษัทลูกที่การรถไฟฯ ถือหุ้นทั้งหมดตลอดเวลา เป็นผู้จัดการพัฒนาที่ดิน โดยว่าจ้างบริการจากผู้ที่มีประสบการณ์ด้านพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งอาจจะเสนอรับค่าจ้างเป็นสัดส่วนจากรายได้ที่เกิดขึ้นในโครงการ และคัดเลือกโดยวิธีประมูลแข่งขันอัตราค่าจ้าง จึงจะชอบด้วยกฎหมาย

ข้อ 3. การรวมโครงการทำให้รัฐไม่ได้รับประโยชน์สูงสุด

กรณีที่รัฐบาลนำที่ดินมักกะสันไปรวมเข้ากับโครงการรถไฟเชื่อมท่าอากาศยาน 3 แห่งนั้น จะทำให้โครงการมีมูลค่าโดยรวมเป็นจำนวนเงินสูง และจะมีผลเป็นการกีดกันเอกชนรายย่อมให้ไม่สามารถเข้าร่วมแข่งขัน ซึ่งจะทำให้ประเทศชาติและประชาชนไม่ได้รับประโยชน์สูงสุด เพราะ

(ก) ที่ดินมักกะสันเป็นโครงการใหญ่ในตัวเอง และเนื่องจากจะใช้เพื่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เชิงพาณิชย์แบบหลากหลาย (mixed use) โดยมิใช่งานอุตสาหกรรม หรืองานโกดังเก็บสินค้า ดังนั้น ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการพัฒนาที่ดินมักกะสัน จึงมิได้ขึ้นอยู่กับโครงการรถไฟเชื่อมท่าอากาศยาน 3 แห่ง

(ข) ความรู้และความชำนาญในการพัฒนาที่ดินเชิงพาณิชย์ก็ไม่ซับซ้อนและไม่ต้องอาศัยเทคโนโลยีขั้นสูงดังเช่นโครงการรถไฟความเร็วสูง จึงสามารถแบ่งพื้นที่ออกเป็นแปลงย่อยๆ เพื่อจะเปิดให้มีนักธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ขนาดกลางและแม้แต่ขนาดย่อมเข้ามาแข่งขันได้จำนวนมาก

(ค) รัฐควรเป็นผู้กำหนดแผนผังแบ่งพื้นที่มักกะสันเพื่อใช้ประโยชน์ในรูปแบบต่างๆ เอง เพื่อจะสามารถกันพื้นที่สำหรับสาธารณะให้พอเพียงอย่างเหมาะสม แทนที่จะมอบให้เอกชนเป็นผู้พิจารณา

(ง) ตำแหน่งที่ตั้งและลักษณะของการใช้งานของพื้นที่มักกะสันนั้น เป็นเอกเทศอิสระจากพื้นที่ภาคตะวันออกอย่างสิ้นเชิง และในเชิงเทคนิค โครงการรถไฟเชื่อมท่าอากาศยาน 3 แห่งก็ใช้พื้นที่มักกะสันแต่เพียงเล็กน้อย โดยมีส่วนอื่นใดที่จะใช้พื้นที่มักกะสัน จึงไม่มีเหตุผลที่จะเอาที่ดินมักกะสันเข้าไปไว้ในโครงการดังกล่าว

(จ) การนำเอาที่ดินมักกะสันเข้าไปผูกรวมกับโครงการรถไฟเชื่อมท่าอากาศยาน 3 แห่ง จะทำให้โครงการมีขนาดยักษ์ใหญ่ ซึ่งจะทำให้มีผู้เข้าแข่งขันน้อยลง และเป็นการทำให้รัฐไม่ได้ประโยชน์สูงสุด

(ฉ) เนื่องจากโครงการรถไฟเชื่อมท่าอากาศยาน 3 แห่งเป็นประโยชน์แก่ท่าอากาศยานเป็นสำคัญ ถ้าจำนวนผู้ใช้ในช่วงแรกและอัตราค่าโดยสารไม่คุ้มทุน รัฐบาลก็ควรกำหนดให้ท่าอากาศยานซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจที่ไม่ถูกควบคุมราคา และมีกำไรสูง ให้เป็นผู้อุดหนุน และเนื่องจากโครงการรถไฟเชื่อมท่าอากาศยาน 3 แห่งจะก่อประโยชน์แก่เศรษฐกิจและสังคมโดยรวม ดังนั้น รัฐจึงสามารถใช้รายได้รวมจากระบบงบประมาณแผ่นดินมาอุดหนุนได้อีกด้วย แต่ไม่สมควรใช้ทรัพยากรจากการรถไฟฯ

จากเหตุผลดังกล่าว สมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย และเครือข่ายกัลยาณมิตร คณะตรวจสอบภาคประชาชน สหภาพของพนักงานการรถไฟฯ และผู้แทนสหภาพรัฐวิสาหกิจอีกหลายแห่ง มีความเห็นร่วมว่า TOR ดังกล่าวไม่เหมาะสม และผิดกฎหมายฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มาตรา 164 (1) เนื่องจากไม่สร้างประโยชน์สูงสุดแก่ประเทศชาติและประชาชน รวมทั้งมีการใช้ที่ดินของการรถไฟฯ ที่ผิดวัตถุประสงค์และไม่ตรงกับพระราชปณิธาน จึงขอเรียกร้องให้รัฐบาลแก้ไข TOR โดยพลัน และระหว่างนี้ ก็ขอให้ชะลอการประมูลแข่งขันในโครงการนี้ไว้ก่อน จนกว่าจะผ่านการเลือกตั้งและมีฝ่ายค้านในรัฐสภาที่จะทำหน้าที่ตรวจสอบให้เข้มแข็งเสียก่อน

ทั้งนี้ สมาคมและกัลยาณมิตร จะร่วมกันเดินทางไปยื่นคำร้องต่อ ฯพณฯนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี ในวันอังคารที่ 24 ก.ค.61 เวลา 10.30 น. ณ ศูนย์รับเรื่องร้องเรียน ทำเนียบรัฐบาล และเวลา 11.30 น. จะเดินทางไปยื่นคำร้องต่อกระทรวงคมนาคม ต่อไปด้วย


Last edited by Wisarut on 24/07/2018 1:17 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42696
Location: NECTEC

PostPosted: 23/07/2018 9:33 pm    Post subject: Reply with quote

รถไฟแจงทีโออาร์ไฮสปีด3สนามบิน ผู้แทน31บริษัทตบเท้าเข้าฟังคึกคัก พรุ่งนี้พาทัวร์พื้นที่จริง
พร็อพเพอร์ตี้
วันที่ 23 กรกฎาคม 2561 - 17:37 น.

นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจบริหารทรัพย์สิน รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) กล่าวว่า เมื่อวันที่ 23 ก.ค.2561 เอกชนที่เข้าซื้อซองประมูลมาครบทั้ง 31 ราย เพื่อรับฟังการชี้แจงร่างทีโออาร์ประมูล รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ดอนเมือง สุวรรณภูมิ และอู่ตะเภา มูลค่า 2.2 แสนล้านบาท จากนั้นวันที่ 24 และ 26 ก.ค.จะลงดูพื้นที่ก่อสร้างจริง

ทั้งนี้สัญญาของโครงการนี้จะครอบคลุมทั้งการเดินรถ การก่อสร้าง และการพัฒนาที่ดินที่กำหนดตามสัญญา มีระยะเวลาสัมปทาน 50 ปี แบ่งเป็นก่อสร้าง 5 ปี และเดินรถอีก 45 ปี มีกำหนดยื่นซองประมูลวันที่ 12 พ.ย.นี้
จะใช้เวลาคัดเลือกประมาณ 4 เดือน คาดว่าจะประกาศผู้ชนะได้ในช่วงต้นปี 2562 จากนั้นจะต้องเจรจากับเอกชนผู้ชนะการประมูลก่อนอีก 30 วัน จึงจะลงนามในสัญญา เพื่อดำเนินการก่อสร้างต่อไป

จะเริ่มสร้างในปี2562 แล้วเสร็จที้งโครงการในปี 2567 ส่วนแอร์พอร์ตลิ้งค์ บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด จะดำเนินการต่อไปอีก 2 ปี หลังจากนั้นจะส่งมอบให้เอกชน เนื่องจากเอกชนที่ชนะประมูลต้องใช้เวลาซื้อขบวนรถเพิ่มเติม

รฟท.แจงโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม3สนามบิน ‘ทีพีไอ โพลีนฯ’มั่นใจลงทุนคุ้มค่า
วันจันทร์ ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2561, 13.17 น.

23 ก.ค.61 นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการ กลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน และรักษาการผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) เปิดเผยเกี่ยวกับการประชุมชี้แจงโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน(ดอนเมือง – สุวรรณภูมิ – อู่ตะเภา) ครั้งที่ 1 ว่า ในการเปิดประชุมชี้แจงดังกล่าวมีเอกชนผู้ซื้อซองเอกสารทั้งหมดจำนวน 31 ราย คาดว่าหลังจากในวันที่ 12 พ.ย.นี้ ที่เป็นกำหนดรับซอง อาจมีการรวมกลุ่มประมาณ 3-4 กลุ่ม โดยหลังจากนี้จะมีการนำผู้แทนบริษัทเอกชนที่ซื้อเอกสารลงพื้นที่ เพื่อชมสถานที่ก่อสร้างโครงการฯ เช่น การก่อสร้างร่วมกับโครงการรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงช่วงบางซื่อ-รังสิต , การจัดการพื้นที่ของสถานีกลางบางซื่อรองรับโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินฯ เพื่อให้เห็นรูปแบบการเดินทางอย่างเป็นระบบ ซึ่งตั้งเป้าหมายว่าจะสามารถเปิดให้บริการได้ในปี 2567 คาดว่าโครงการใช้เวลาก่อสร้าง 5 ปี

ทั้งนี้ ในส่วนของการส่งมอบพื้นที่ในจังหวัดฉะเชิงเทรา ที่เป็นพื้นที่ตัวสถานีอยู่ในอำเภอเมืองและอำเภอบางน้ำเปรี้ยวประมาณ 300 ไร่ กรอบวงเงินงบประมาณ 3,000 ล้านบาท ขณะนี้อยู่ระหว่างการออกพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณพื้นที่ที่จะเวนคืนเพื่อก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินโดยคาดว่าจะเริ่มส่งมอบพื้นที่ทั้งหมดให้กับเอกชนเริ่มก่อสร้าง ภายในต้นปี 2562 ส่วนพื้นที่บริเวณสถานีมักกะสัน จำนวน 150 ไร่ คาดว่าจะสามารถส่งมอบพื้นที่ได้ครบภายใน 5 ปี

สำหรับความคืบหน้าโครงการรถไฟทางคู่ช่วงเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ วงเงิน 76,000 ล้านบาท เตรียมที่จะเสนอให้คณะรัฐมนตรี(ครม.) พิจารณาได้ภายในสัปดาห์หน้าเนื่องจากเสนอไม่ทันการประชุม ครม.สัญจรครั้งนี้ ขณะที่โครงการรถไฟทางคู่ระยะที่ 2 อีก 8 เส้นทางนั้น ขณะนี้ทางคณะกรรมการ การรถไฟฯได้เห็นชอบหมดแล้วและอยู่ระหว่างเสนอกระทรวงคมนาคมและส่งต่อไปยังสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สภาพัฒน์) เพื่อจัดลำดับความสำคัญในการเปิดประมูลเส้นทางต่อไป

ด้านนายเปรมชัย กรรณสูต ประธานบริหาร และกรรมการ บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน)(ITD) กล่าวว่า หลังจากที่ ITD ได้ยื่นซื้อซองเอกสารประกวดราคา(TOR)โครงการแล้วได้มีการหารือร่วมกับเอกชนหลายรายเพื่อหาพันธมิตรร่วมประมูลโครงการโดยทาง ITD จะเน้นในส่วนของงานก่อสร้างจึงต้องเจรจาพันธมิตรด้านธุรกิจอื่น โดยที่ผ่านมาได้มีการหารือกับเอกชนรายอื่นๆเช่น บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด(มหาชน)(BTS) รวมถึงบริษัททุนต่างชาติจากทั้งประเทศฝรั่งเศสและประเทศญี่ปุ่น

ขณะที่นายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ ประธานกรรมการบริษัท ทีพีไอ โพลีน เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน)(TPIPL) เปิดเผยว่าโครงการดังกล่าวถือเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าในระยะเวลาสัมปทาน 50 ปีจะมีศักยภาพด้านตัวเลขกำไรจึงไม่มีความกังวลใดเลยในการใช้เงินลงทุนจำนวนมากเนื่องจากมีประสบการณ์ในการลงทุนพลังงานมูลค่าโครงการหลายแสนล้านบาทมาแล้ว อย่างไรก็ตามขณะนี้เริ่มหารือกับบริษัทต่างชาติหลายรายให้เข้ามาลงทุนงานระบบและจัดหาตัวรถเช่น ญี่ปุ่น จีน ฝรั่งเศสและเยอรมนี เพื่อจับมือเป็นพันธมิตร(Consotium) เข้าร่วมประมูลโครงการ อย่างไรก็ตามคาดว่าจะสรุปรายชื่อพันธมิตรได้ภายใน ส.ค.นี้ก่อนยื่นประมูลในเดือน พ.ย.2561



เตรียมเวนคืนที่ดิน 300 ไร่ สร้างรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 ท่าอากาศยาน
วันที่ 23 กรกฎาคม 2561 -

นายวรวุฒิ มาลา รักษาการตำแหน่งผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย หรือ รฟท .ชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับข้อกำหนดการดำเนินการ ก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงเชี่อมเชื่อม 3 ท่าอากาศยาน ให้ภาคเอกชนทั้ง 31 รายที่เข้าซื้อซองร่วมประมูลรับทราบรายละเอียดเป็นครั้งแรก ซึ่ง 1 ในภาคเอกชนที่ร่วมรับฟังรายละเอียดในวันนี้มีนายเปรมชัย กรรณสูต ประธานบริหารบริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ เข้าร่วมรับฟังด้วย

โดย รฟท.เปิดเผยว่า ขณะนี้กำลังดำเนินขั้นตอนขอเวนคืนที่ดินในพื้นที่อำเภอเมืองะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา ใกล้อำเภอบางน้ำเปรี้ยว รวมกว่า 300 ไร่ ภายใต้งบประมาณดำเนินงาน 3 พันล้านบาท เพื่อใช้พื้นที่ดังกล่าว เป็นสถานีขนส่งผู้โดยสารทั้งหมด คาดว่า จะสามารถส่งมอบพื้นที่ให้เอกชน เริ่มก่อสร้างได้ราวต้นปีหน้า

ส่วนพื้นที่บริเวณสถานีมะกะสันจำนวน 150 ไร่ คาดว่าจะสามารถส่งมอบพื้นที่ได้ครบภายใน 5 ปี ซึ่งกระบวนการทั้งหมดจะเริ่มต้นขึ้นหลังจากที่ได้ผู้ชนะการประมูลแล้ว และในวันที่ 24 และ 26 กรกฎาคมนี้ รฟท. จะนำผู้ที่ซื้อซองทั้ง 31 ราย ลงพื้นที่ก่อสร้างโครงการฯ โดยอาจจะมีการแบ่งผู้ประกอบการออกเป็น 3-4 กลุ่ม ซึ่งในวันที่ 24 กรกฎาคม จะนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับโครงการ ส่วนในวันที่ 26 กรกฎาคม จะเดินทางจากสถานีรถไฟกรุงเทพฯ หรือหัวลำโพง ไปยังท่าอากาศยานอู่ตะเภา เพื่อดูสถานที่จริงตามแนวเส้นทาง และจุดสำคัญต่างๆ ก่อนที่จะเปิดให้ภาคเอกชนะเข้ายื่นข้อเสนอในวันจันทร์ที่ 12 พฤศจิกายนนี้
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42696
Location: NECTEC

PostPosted: 23/07/2018 10:58 pm    Post subject: Reply with quote

รถไฟไทย-จีนเฟส 1 แล้วเสร็จ ต.ค.คาดเปิดประมูลเฟส 2 ส.ค.นี้
โดย: MGR Online
เผยแพร่: วันที่ 23 กรกฎาคม 2561 - 16:49
นายธานินทร์ สมบูรณ์ อธิบดีกรมทางหลวง เปิดเผยว่า การก่อสร้างคันทางรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) ไทย-จีน เฟส 1 เส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 252.35 กิโลเมตร วงเงินลงทุน 1.79 แสนล้านบาท ตอนที่ 1 ช่วงกลางดง-ปางอโศก 3.5 กิโลเมตร จ.นครราชสีมา ขณะนี้ภาพรวมคืบหน้าแล้ว 20% แบ่งเป็นงานถางป่าและขุดดินเสร็จ 100% งานก่อสร้างคันทาง 70% งานดินถมคันทาง 60% งานย้ายรางรถไฟเดิมเสร็จ 100% คาดว่าจะแล้วเสร็จตามเป้าหมายเดือนตุลาคมนี้ แม้จะเข้าหน้าฝนมีอุปสรรคการทำงานค่อนข้างมาก เมื่อหมดหน้าฝนต้องเร่งดำเนินการส่วนที่เหลืออีก 80% ได้แก่งานวัสดุ 23% งานระบบสายไฟใต้ดิน 1% งานวัสดุชั้นบน 10% งานคอนกรีต 45% งานอื่นๆ (ตกแต่ง) อีก 1% เพื่อให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เข้าก่อสร้างต่อไป



สำหรับโครงการรถไฟไทย-จีนตอนที่ 2 ช่วงสีคิ้ว-กุดจิก ระยะทาง 11 กิโลเมตร ขณะนี้ฝ่ายจีนได้ส่งแบบการก่อสร้างกลับมายังไทยแล้ว แต่การรถไฟฯ ขอแก้ไขรายละเอียดซึ่งไม่มาก โดยให้จีนส่งแบบแก้ไขมาอีกครั้งภายในเดือนกรกฎาคมนี้ คาดว่าจะไม่แก้ไขอะไรแล้ว และการรถไฟฯ พร้อมประกวดราคาในเดือนสิงหาคม และเริ่มก่อสร้างเดือนพฤศจิกายน ตามแผน ส่วนตอนที่ 3 แก่งคอย-นครราชสีมา ระยะทาง 119 กิโลเมตร และตอนที่ 4 กรุงเทพฯ-แก่งคอย ระยะทาง 119 กิโลเมตรนั้น จีนอยู่ระหว่างปรับแบบก่อสร้าง คาดว่าทางจีนจะทยอยส่งแบบที่แก้ไขมา โดยตอนที่ 3 จะประกวดราคาได้เดือนกันยายน-มกราคม 2562 เริ่มก่อสร้างเดือนมีนาคม 2562 และตอนที่ 4 จะประกวดราคาพฤศจิกายน-มีนาคม 2562 เริ่มก่อสร้างเมษายน 2562


‘เปรมชัย’โผล่ร่วมฟังชี้แจงโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม3สนามบิน

วันจันทร์ ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2561, 13.03 น.

23 ก.ค.61 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) ได้จัดประชุมชี้แจงโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน(ดอนเมือง - สุวรรณภูมิ – อู่ตะเภา) ครั้งที่ 1 เพื่อให้ข้อมูลโครงการ และเปิดเวทีให้ผู้ซื้อเอกสารได้ซักถามข้อสงสัยต่างๆเกี่ยวกับการลงทุนและข้อมูลเกี่ยวกับโครงการ โดยในการเปิดประชุมชี้แจงดังกล่าวมีเอกชนผู้ซื้อซองเอกสารทั้งหมดจำนวน 31 รายเข้าร่วมประชุมครบถ้วน รวมถึงนายเปรมชัย กรรณสูต ประธานบริหาร และกรรมการ บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) หรือ ITD



นายเปรมชัย กล่าวว่า หลังจากที่ ITD ได้ยื่นซื้อซองเอกสารประกวดราคา(TOR)โครงการแล้วได้มีการหารือร่วมกับเอกชนหลายรายเพื่อหาพันธมิตรร่วมประมูลโครงการโดยทาง ITD จะเน้นในส่วนของงานก่อสร้างจึงต้องเจรจาพันธมิตรด้านธุรกิจอื่น โดยที่ผ่านมาได้มีการหารือกับเอกชนรายอื่นๆเช่น บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด(มหาชน)(BTS) รวมถึงบริษัททุนต่างชาติจากทั้งประเทศฝรั่งเศสและประเทศญี่ปุ่น
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42696
Location: NECTEC

PostPosted: 24/07/2018 12:40 pm    Post subject: Reply with quote

งาบกำไรมหาศาลไฮสปีดเชื่อม3สนามบิน
จันทร์ที่ 23 กรกฎาคม 2561 เวลา 21.54 น.

รฟท. เตรียมพาเอกชน 31 ราย ทัวร์เส้นทางลงทุนรถไฟฟ้าเชื่อม 3 สนามบิน ก่อนตัดสินยื่นซอง ชิงโครงการ 12 พ.ย. นี้ ลุยเวนคืน300ไร่ ฉะเชิงเทรา ภายในปี62

เมื่อวันที่ 23ก.ค. ที่อาคารสถานีรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิ้งก์ นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท) เป็นประธานเปิดการประชุมชี้แจงโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน ดอนเมือง – สุวรรณภูมิ – อู่ตะเภา วงเงิน 2.15 แสนล้านบาท ครั้งที่ 1 เพื่อให้ข้อมูลโครงการ และเปิดเวทีให้ผู้ซื้อเอกสารได้ซักถามข้อสงสัยต่างๆ เกี่ยวกับการลงทุนและข้อมูลเกี่ยวกับโครงการ โดยมีเอกชนผู้ซื้อเอกสารทั้ง 31 ราย ผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) ผู้แทนกระทรวงคมนาคม และผู้บริหารบริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด ร่วมงาน กว่า 150 คน

นายวรวุฒิ กล่าวว่า รฟท.จะนำผู้แทนบริษัทเอกชนที่ซื้อเอกสารลงพื้นที่ เพื่อชมสถานที่ก่อสร้างโครงการฯ ในวันที่ 24 และ 26 ก.ค. นี้ โดยวันที่ 24 ก.ค. จะนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับโครงการ จากนั้นนำชมสถานีมักกะสัน และเดินทางต่อไปยังท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ด้วยรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ เพื่อให้เห็นรูปแบบการเดินทางอย่างเป็นระบบ ส่วนวันที่ 26 ก.ค. จะเดินทางจากสถานีรถไฟกรุงเทพ(หัวลำโพง) ไปท่าอากาศยานอู่ตะเภา เพื่อดูสถานที่จริงตามแนวเส้นทาง และจุดสำคัญต่างๆ ของโครงการฯ เพื่อช่วยให้นักลงทุนเห็นภาพที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ชัดเจนยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามในวันที่ 12พ.ย.นี้ จะเปิดรับซองข้อเสนอ คาดว่าจะมีเอกชนเข้ายื่นซองประมูล 3-4 กลุ่ม

นายวรวุฒิ กล่าวต่อว่า การส่งมอบพื้นที่ใน จ.ฉะเชิงเทรา ซึ่งเป็นพื้นที่ตัวสถานีอยู่ใน อ.เมือง และอ.บางน้ำเปรี้ยว กว่า 300 ไร่ วงเงิน 3 พันล้านบาทนั้น อยู่ระหว่างการออกพระราชกฤษฎีกากําหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน คาดว่าจะเริ่มส่งมอบพื้นที่ทั้งหมดให้กับเอกชนเริ่มก่อสร้างภายในต้นปี 62 ส่วนพื้นที่บริเวณสถานีมักกะสัน 150 ไร่ คาดว่าจะสามารถส่งมอบพื้นที่ได้ครบภายใน 5 ปี ทั้งนี้ตั้งเป้าว่าจะเปิดให้บริการได้ปี 67

ด้านนายเปรมชัย กรรณสูต ประธานบริหาร บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า โครงการดังกล่าวน่าลงทุนมาก ซึ่งขณะนี้ทางบริษัทได้พูดกับบริษัทรายอื่นอยู่ ทั้งบริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด(มหาชน) หรือ BTS รวมถึงบริษัททุนต่างชาติจากประเทศฝรั่งเศส และญี่ปุ่น คาดว่าจะได้ข้อสรุปเร็วๆนี้

นายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ ประธานกรรมการบริษัท ทีพีไอ โพลีน เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ TPIPL กล่าวว่า โครงการรถไฟความเร็วสูงเป็นโครงการที่คุ้มค่าน่าลงทุนในระยะเวลาสัมปทาน 50 ปีจะมีศักยภาพด้านตัวเลขกำไรมหาศาล ดังนั้นจึงถือเป็นงานที่หมูมาก ไม่มีความกังวลใดเลยโดยเฉพาะเม็ดเงินลงทุนจำนวนมาก เพราะมีประสบการณ์ลงทุนพลังงานหลายแสนล้านบาทมาแล้ว ทำให้โครงการนี้เป็นเรื่องเล็กในสายตา อย่างไรก็ตามขณะนี้เริ่มหารือกับบริษัทต่างชาติหลายรายให้เข้ามาลงทุนงานระบบและจัดหาตัวรถ อาทิ ญี่ปุ่น จีน ฝรั่งเศสและเยอรมนี เพื่อจับมือเป็นพันธมิตรเข้าร่วมประมูลโครงการ คาดว่าจะสรุปรายชื่อพันธมิตรได้ภายใน ส.ค.นี้
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42696
Location: NECTEC

PostPosted: 24/07/2018 1:20 pm    Post subject: Reply with quote

รถไฟไทย-จีนเตรียมประมูลตอน 2 ก่อสร้าง 11 กม.วงเงินกว่า 5 พันล้าน ส.ค.นี้ตามแผน
โดย: MGR Online
เผยแพร่: 24 กรกฎาคม 2561 เวลา 06:14
ปรับปรุง: 24 กรกฎาคม 2561 เวลา 11:06

เตรียมประมูลรถไฟไทย-จีน ตอนที่ 2 ช่วงสีคิ้ว-กุดจิก 11 กม. กว่า 5 พันล้านใน ส.ค.นี้ เริ่มตอกเข็ม พ.ย. 61 ขณะที่ กก.ร่วมไทย-จีนประชุมครั้งที่ 25 ที่ปักกิ่ง 7-9 ส.ค.เดินเรื่องตรวจรับแบบ มั่นใจประมูลครบ 14 ตอนในปีนี้

นายสุชีพ สุขสว่าง วิศวกรใหญ่ฝ่ายโครงการพิเศษและก่อสร้าง การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า คณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน ครั้งที่ 25 จะมีการประชุมระหว่างวันที่ 7-9 ส.ค. 2561 ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน ซึ่งจะมีการติดตามความก้าวหน้าการดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูงระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 252.35 กิโลเมตร วงเงินลงทุนรวม 179,412.21 ล้านบาท ซึ่งจะรายงานความก้าวหน้าของตอนที่ 2 ช่วงสีคิ้ว-กุดจิก ระยะทาง 11 กม. วงเงินประมาณ 5,000 ล้านบาท ขณะนี้ได้ตรวจสอบแบบเรียบร้อยแล้วและจะเปิดประมูลได้ในเดือน ส.ค.นี้

คณะกรรมการจัดทำร่างทีโออาร์เตรียมสรุปรายละเอียดเพื่อเสนอคณะกรรมการ (บอร์ด) ร.ฟ.ท.ขออนุมัติทีโออาร์และราคากลางภายในเดือน ส.ค. โดยจะใช้เวลาประมูล 3 เดือน

ทั้งนี้ ตามสัญญาออกแบบฝ่ายจีนจะต้องส่งมอบแบบครบทั้ง 14 สัญญาให้ ร.ฟ.ท.ในเดือน ส.ค.นี้ จากนั้นจะเป็นกระบวนการตรวจสอบแบบ ซึ่งการทำทีโออาร์ และกำหนดราคากลางมีสัญญาที่ 2 เป็นต้นแบบ คาดว่าจะสามารถดำเนินการประมูลได้ตามแผนงานที่กำหนดไว้

“หลังจากจีนส่งแบบอาจจะต้องให้เวลาที่ปรึกษาในการทำ BOQ หรือรายการแสดงปริมาณวัสดุและแรงงานที่จะใช้ในการก่อสร้างที่เป็นราคาในประเทศไทย”

สำหรับแผนงานรถไฟความเร็วสูงไทย-จีนนั้น สัญญา 2 เปิดประมูลเดือน ส.ค. 2561 และเริ่มก่อสร้างเดือน พ.ย. 2561 ส่วนที่เหลืออีก 12 ตอนจะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 6 ตอน ฝ่ายจีนจะส่งมอบแบบรายละเอียดทั้ง 2 กลุ่มให้ไทยภายในเดือน มิ.ย. 2561 จากนั้นไทยจะตรวจสอบแบบรายละเอียดและเสนอความเห็นให้จีน คาดว่าจะเปิดประมูลกลุ่มแรกจำนวน 6 ตอนได้ประมาณเดือน ก.ย. 2561 เริ่มการก่อสร้างประมาณเดือน มี.ค. 2562 และกลุ่มที่ 2 จำนวน 6 ตอน ประมูลได้ประมาณเดือน พ.ย. 2561 เริ่มการก่อสร้างประมาณเดือน เม.ย. 2562
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 276, 277, 278 ... 545, 546, 547  Next
Page 277 of 547

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©