RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311235
ทั่วไป:13181289
ทั้งหมด:13492524
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 183, 184, 185 ... 277, 278, 279  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44332
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 20/07/2018 5:46 pm    Post subject: Reply with quote

ครึ่งทางเมกะโปรเจ็กต์ 2 ล้าน ล. ปี”62 ทุกโหมดเร่งสร้าง-เร่งเปิดใช้
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ วันที่ 20 July 2018 - 08:00 น.

Click on the image for full size

หลังรัฐบาลทหารประกาศทุ่มเม็ดเงินกว่า 2.8 ล้านล้านบาท ลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของไทยให้แล้วเสร็จ 8 ปี (2558-2565) ปัจจุบันกระทรวงคมนาคมใส่เกียร์ดันโครงการจนผ่านมาได้ครึ่งทาง เตรียมเดินสายสร้างการรับรู้ไปยังภูมิภาค ประเดิมเวทีแรกที่ กทม.ต่อด้วยสงขลาและนครพนม

“อาคม เติมพิทยาไพสิฐ” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ร่ายยาว “คมนาคม 4 ปี + อนาคต คนไทยได้อะไร” ครบถ้วนทุกโหมด บก-ราง-น้ำ-อากาศ พร้อมจัดไทม์ไลน์รายโปรเจ็กต์ชัดเจน ตามบัญชา “สมคิด จาตุศรีพิทักษ์” ขุนพลเศรษฐกิจ คสช.ที่ลงมาขันนอตให้ทุกโครงการเดินหน้าเต็มสูบ 7-8 เดือนที่เหลือก่อนเลือกตั้งในปี 2562

เริ่มจากระบบรางที่ “อาคม” ย้ำเป็นการลงทุนเพื่อปฏิรูปการคมนาคมครั้งยิ่งใหญ่ของประเทศ จะครอบคลุมทั้งในเมือง ต่างจังหวัด ทะลุต่างประเทศ

รถไฟฟ้าคืบหน้าในรอบ 20 ปี

โดยรถไฟฟ้าใน กทม.-ปริมณฑลกำลังก่อสร้างและได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) แล้ว 349.8 กม. ตั้งเป้าปี 2565 ต้องมีเส้นทาง 464 กม. จะเปิดบริการทุกปี

ในปี 2562 มี สายสีเขียวแบริ่ง-สมุทรปราการ 13 กม. จะเปิดเดือน ม.ค. และสายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง-บางแค 14 กม. ปัจจุบันคืบหน้า 98% จากนั้นปี 2563 มี 4 สาย สีเขียวหมอชิต-คูคต สีน้ำเงินบางซื่อ-ท่าพระ สีแดงช่วงบางซื่อ-รังสิต และบางซื่อ-ตลิ่งชัน 15 กม. สร้างเสร็จแล้วรอขบวนรถไฟจะเร่งญี่ปุ่นผลิตให้เสร็จในปี 2562



สร้างโมโนเรล 2 สายแรก

ปี 2564 เปิดโมโนเรล 2 สายแรกสีชมพูแคราย-มีนบุรี และสีเหลืองลาดพร้าว-สำโรง ปี 2565 จะเปิดสีแดงตลิ่งชัน-ศิริราช-ศาลายา และสีแดงรังสิต-ธรรมศาสตร์ส่วนสีส้มศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี และสีน้ำเงิน บางแค-สาย 4 จะเปิดปี 2566 และปี 2567 เปิดสีส้มศูนย์วัฒนธรรม-ตลิ่งชัน และสีม่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ

เพิ่ม 3 โครงข่ายย่อย



จะเร่งรถไฟฟ้าสร้างให้ครบ 10 สาย และผลักดันส่วนต่อขยาย 3 โครงการที่เหลือให้ได้รับอนุมัติ ได้แก่ สีเขียวต่อขยายคูคต-ลำลูกกา และสมุทรปราการ-บางปู และสีน้ำเงินต่อขยายบางแค-พุทธมณฑล สาย 4 ซึ่งสายสีเขียวจะเป็นรถไฟฟ้าที่ยาวที่สุด

“ไม่หยุดเท่านี้ จะทำแผนแม่บทรถไฟฟ้าระยะที่ 2 หรือ M-Map 2 เพิ่มระบบสายรอง 3 สาย สีเทา สีน้ำตาล และสีทอง เชื่อมสายหลัก มีสถานีกลางบางซื่อเป็นศูนย์กลางเชื่อมต่อของรถไฟฟ้า 5 สายและเร่งสร้างโมโนเรลภูเก็ต เชียงใหม่ ขอนแก่น และโคราช”

ปีหน้าคนอีสานนั่งรถไฟทางคู่

ส่วนรถไฟทางคู่ ผ่านมา 4 ปี มี 1,350 กม. อีก 4 ปีข้างหน้าจะเพิ่มเป็น 3,514 กม. ซึ่งปี 2562 จะเปิดใช้สายฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย 106 กม. และจิระ-ขอนแก่น 187 กม. ปี 2564 จะเปิดสายนครปฐม-หัวหิน 169 กม. หัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์ 84 กม. และประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร 167 กม. ในปี 2565 มีลพบุรี-ปากน้ำโพ 148 กม. และมาบกะเบา-จิระ 132 กม.ในปี2566 พร้อมผลักดันทางคู่ เฟส2 อีก 9 เส้นทาง 2,164 กม. ให้ครม.อนุมัติและเริ่มสร้างปี 2562 ซึ่งปี 2568 มีทางคู่ 2 สายใหม่ เปิดใช้ มีเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ และบ้านไผ่-นครพนม

“ไม่ได้สร้างแค่ทางคู่ จะเปลี่ยนหัวรถจักรจากระบบดีเซลเป็นระบบไฟฟ้า ส่วนดีเซลจะนำไปใช้เส้นทางท่องเที่ยวแทน”

เร่งพัฒนารถไฟความเร็วสูง

นอกจากนี้ รัฐบาลยังผลักดันการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง 2 สายแรก คือ กทม.-นครราชสีมา 253 กม. เป็นโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลจีน และสายเชื่อม 3 สนามบิน ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา รองรับพื้นที่ระเบียงเขตเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) 220 กม. กำลังเปิดประมูล จะเปิดปี 2566 ซึ่งเส้นทาง กทม.-นครราชสีมา จะสร้างไปถึงหนองคายเชื่อมกับรถไฟความเร็วสูงของจีนที่กำลังสร้างอยู่ฝั่ง สปป.ลาว จะเปิดปี 2570 ขณะที่ กทม.-เชียงใหม่เป็นความร่วมมือระหว่างไทยและญี่ปุ่น จะสร้างช่วง กทม.-พิษณุโลก 380 กม. กำลังเสนอ ครม.อนุมัติ พร้อมเปิดปี 2568 ส่วน กทม.-หัวหิน 211 กม. กำลังดำเนินการ PPP เปิดปี 2568 และจะเร่งต่อขยายไปถึงสุราษฎร์ธานี

ผุดมอเตอร์เวย์ทั่วไทย

“ทางบก” เพิ่มโครงข่ายถนนเป็น door to door เชื่อมเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน และอีอีซี สร้างจุดพักรถบรรทุก 34 แห่ง เปิดแล้ว 2 แห่งที่ อ.โนนสูง เปลี่ยนถนนลูกรังเป็นลาดยาง สร้างศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้าที่เชียงของ ขยายถนน 4 ช่องจราจร 1,050 กม. สร้างสะพานเมยแห่งที่ 2 จะเปิดปี 2562 ก่อสร้างมอเตอร์เวย์เพิ่ม 3 สายเชื่อมภาคอีสาน ตะวันตก และตะวันออก ได้แก่ บางปะอิน-นครราชสีมา เปิดใช้ปี 2563 พร้อมกับบางใหญ่-กาญจนบุรี และพัทยา-มาบตาพุด จะสร้างเพิ่ม 3 สาย มีนครปฐม-ชะอำ, หาดใหญ่-สะเดา และกทม.-มหาชัย เปิดใช้ปี 2565

ด้านทางด่วน มีทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ตอน N2 เชื่อมวงแหวนตะวันออก และพระราม 3-ดาวคะนอง-วงแหวนรอบนอก เปิดปี 2565

ดันไทยศูนย์กลางการบิน

“ทางอากาศ” จะเสริมศักยภาพสนามบิน 17 แห่ง สร้างใหม่ 1 แห่งที่เบตง ไฮไลต์ขยาย 3 สนามบินหลักของประเทศ มีสนามบินสุวรรณภูมิ กำลังสร้างเฟส 2 เปิดปี 2565 รองรับ 60 ล้านคนต่อปี ส่วนดอนเมืองจะมีเฟส 3 สร้างปี 2563 เปิดปี 2568 รับได้ 40 ล้านคนต่อปี และอู่ตะเภารองรับEEC เริ่มปี 2562 เสร็จปี 2566 จะมีศูนย์ซ่อมอากาศยานใหญ่ใกล้เคียงกับสิงคโปร์ ขณะที่สนามบินภูมิภาค มีปรับปรุง 4 แห่ง จะเปิด 3 แห่งปี 2563 ที่เบตง ขอนแก่น และกระบี่ ปี 2564 มีแม่สอด และปี 2562 ปรับปรุงที่นครศรีธรรมราช

เพิ่มท่องเที่ยวทางน้ำ

ปิดท้าย”ทางน้ำ” มีการลงทุนใหญ่ 1 โครงการในอีอีซี คือ ท่าเรือแหลมฉบัง เฟส 3 เปิดปี 2568 โครงการอื่น เช่น เส้นทางท่องเที่ยววงแหวนอันดามันภูเก็ต พังงา กระบี่ เปิดเดินเรือเฟอร์รี่พัทยา-หัวหิน พัฒนาท่าเรือคุรยส์ และสถานีเรือ 19 แห่งที่แม่น้ำเจ้าพระยา
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44332
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 09/08/2018 9:47 am    Post subject: Reply with quote

“คมนาคม” เล็งตั้งศูนย์อบรมทำใบขับขี่รถไฟฟ้า-สถาบันวิจัยระบบรถไฟคลอดแน่ปีหน้า
ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 8 August 2018 - 15:19 น.
www.prachachat.net/property/news-201848

นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า การเยี่ยมชมศูนย์ซ่อมบำรุง (Depot) และศูนย์ฝึกอบรมผู้ขับขี่รถไฟฟ้าในบริเวณอาคารศูนย์ควบคุมการเดินรถ (OCC) ของสายสีม่วง (คลองบางไผ่-เตาปูน) เพื่อเตรียมแผนรองรับเมื่อร่าง พ.ร.บ.การขนส่งทางรางบังคับใช้จะมีจัดตั้ง “กรมการขนส่งทางราง” ซึ่งจะมีผลให้ผู้ที่ควบคุมรถไฟฟ้าต้องมีใบขับขี่ระบบรถไฟฟ้ารองรับ จึงต้องหาพื้นที่สำหรับจัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมที่เป็นระดับมาตรฐาน และเท่าที่ดูก็ถือว่ามีความสมบูรณ์พร้อมและทันสมัยที่สุด

อีกจุดประสงค์หนึ่งก็คือ เพื่อเตรียมความพร้อมการจัดตั้ง “สถาบันวิจัยเทคโนโลยีระบบราง” ตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 11 ก.ค. 2560 ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นหน่วยงานกลางในการบริหารจัดการงานวิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อดำเนินงานพัฒนาเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง และพัฒนาบุคลากรทั้งระดับวิศวกรและช่างเทคนิคสำหรับรองรับการพัฒนาระบบขนส่งทางรางต่อไป โดยจากที่ดูวันนี้ก็มีพื้นที่เหลือเพียงพอที่จะพัฒนาเป็นสถาบันวิจัยดังกล่าวด้วย

โดยคาดว่า ร่าง พ.ร.บ.การขนส่งทางราง จะผ่านการพิจารณาของที่ประชุมสภาฯนิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ในปลายปีนี้ การจัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมเพื่อทำใบขับขี่รถไฟฟ้าต้องเร่งดำเนินการตั้งแต่วันนี้ ซึ่งจะให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เป็นผู้ดูแล และจะแยกส่วนกับรถไฟรางเดิมที่การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.)

ส่วนการตั้งสถาบันวิจัย กำลังเข้าสู่การพิจารณาของกระทรวงคมนาคม มีแนวคิดจะตั้งเป็นองค์การมหาชนภายใต้การกำกับโดยกระทรวงคมนาคม ทำนองเดียวกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ที่เป็นองค์การมหาชนในกำกับของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ขณะนี้กำลังรอรัฐบาลตราพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การมหาชนตามมาตรา 5 พ.ร.บ.องค์การมหาชน 2542 ซึ่งถ้า พ.ร.ฎ.นี้มีผลบังคับใช้ในปลายปีนี้ถึงต้นปีหน้า ก็จะสามารถจัดตั้งสถาบันวิจัยได้

“สถาบันวิจัยนี้มีความจำเป็นมาก เพราะขณะนี้เรากำลังดำเนินการในส่วนของรางถึง 3 รูปแบบ คือ รถไฟความเร็วสูง รถไฟฟ้าในเมือง และรถไฟทางคู่ ฉะนั้นปีหน้าจะเห็นความเปลี่ยนแปลงแน่นอน”
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42625
Location: NECTEC

PostPosted: 16/08/2018 6:23 pm    Post subject: Reply with quote

รถติดหลอนอีก 3 ปี “ลำสาลี”คิวต่อไป ขอครม. 3 พันล. แก้จุดทับซ้อนสายสีส้ม-สะพานข้าม
พร็อพเพอร์ตี้
วันที่ 16 August 2018 - 11:49 น.


รถติดหลอนคนกรุง 3 ปี รัฐโหมสร้างรถไฟฟ้าสารพัดสี ขุดพรุนทั่วกรุง หนักสุดพหลโยธิน ลาดพร้าว รามคำแหง พระราม 9 ศรีนครินทร์ แจ้งวัฒนะ รามอินทรา เล็งจัดฟีดเดอร์รับคนจากในซอยส่งถึงบันไดรถไฟฟ้า รฟม.เร่งเคลียร์ กทม.ยุติจุดทับซ้อน ชง ครม.อัดเพิ่ม 3 พันล้าน เจาะอุโมงค์สายสีส้ม รอสะพานยกระดับพาดยาวลำสาลี-คลองบ้านม้า จับตาอิตาเลียนไทยฯ รับส้มหล่น กลับลำไม่ทุบทิ้งสะพานแยกบางกะปิ ตำรวจจัดจราจรเร่งระบายรถเช้า-เย็น ออกกฎเหล็กคุมรถบรรทุกวิ่งในพื้นที่ก่อสร้าง

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ปัจจุบัน รฟม.กำลังเร่งก่อสร้างรถไฟฟ้า 5 สาย ได้แก่ สายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายบางซื่อ-ท่าพระและหัวลำโพง-บางแค สายสีเขียวส่วนต่อขยายหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต สายสีส้มช่วงศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี สายสีเหลืองลาดพร้าว-สำโรง และสายสีชมพูแคราย-มีนบุรี ซึ่งทำให้ผิวการจราจรบนถนนสายหลักทั้งถนนประชาราษฎร์ จรัญสนิทวงศ์ เพชรเกษม พหลโยธิน ลาดพร้าว ศรีนครินทร์ แจ้งวัฒนะ รามอินทรา ติวานนท์ รามคำแหง และพระราม 9 ถูกจำกัด ส่งผลกระทบต่อการจราจรติดขัดมากขึ้น โดยเฉพาะถนนลาดพร้าวและรามคำแหง ที่ผิวจราจรคับแคบและเป็นพื้นที่ชั้นในของกรุงเทพฯ

“ด้วยข้อจำกัดผิวจราจร ทำให้รถติดมากขึ้น ยิ่งหน้าฝนยิ่งหนัก รฟม. ผู้รับเหมา และตำรวจจราจร เร่งหาทางบรรเทาปัญหา เช่น ลาดพร้าวที่ติดหนักในขณะนี้เพราะปิดถนน 2 เลนจาก 6 เลนเหลือ 4 เลน จะจัดช่องเว้าให้รถสาธารณะเข้าไปจอด 21 จุดตลอดแนว เช่น หน้าอิมพีเรียล ลาดพร้าว จะประสานกับการไฟฟ้านครหลวงและการประปานครหลวง เพราะมีย้ายเสาไฟฟ้าและท่อประปาด้วย อีกทั้งจะประสาน ขสมก.นำรถเมล์วิ่งเป็นฟีดเดอร์รับส่งคนจากในซอยไปยังสถานีรถไฟฟ้า เช่น ซอยภาวนา ลาดพร้าว 71 วัดบึงทองหลาง”

เร่งเคลียร์จุดทับซ้อน กทม.

นอกจากนี้จะเร่งเคลียร์พื้นที่จุดทับซ้อนกับโครงการก่อสร้างของ กทม. เพื่อให้งานก่อสร้างเดินหน้าตามแผน และคืนผิวจราจรได้เร็วขึ้น ที่มีข้อยุติแล้วคือสะพานข้ามแยกลำสาลีในแนวสายสีส้ม ซึ่ง กทม.มีโครงการขยายสะพานข้ามแยกไปถึงคลองบ้านม้า พร้อมสร้างอุโมงค์ทางลอดตั้งแต่คลองบ้านม้าไปถนนราษฎร์พัฒนา และให้ รฟม.ออกเงินและก่อสร้างให้ไปก่อนพร้อมกับรถไฟฟ้า ในเร็ว ๆ นี้จะเสนอขออนุมัติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อขยายกรอบวงเงินก่อสร้างเพิ่มเฉพาะสะพานข้ามแยก เพราะเป็นคนละโครงการกัน คาดว่าจะใช้เงินก่อสร้างอีกหลาย 1,000 ล้านบาท

“ได้รับอนุมัติแล้ว จะให้ บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ เป็นผู้ก่อสร้างรวมเข้าไปกับงานอุโมงค์ของสายสีส้ม ส่วนที่เป็นอุโมงค์ทางลอดยังสามารถรอได้ เพราะช่วงนั้นเป็นโครงสร้างยกระดับ ขณะที่สะพานข้ามแยกบางกะปิ ในแนวสายสีเหลือง เดิม กทม.อยากจะให้ทุบแล้วสร้างใหม่ อาจจะไม่ต้องรื้อ เพราะถ้ารื้อจะต้องเสียค่าก่อสร้างเพิ่ม อาจจะปรับแบบโครงสร้างให้วิ่งเกาะด้านข้างสะพานแทน”



ติดหนึบ – พื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑลกำลังเผชิญกับปัญหารถติดอย่างสาหัส ส่วนหนึ่งมาจากมีการก่อสร้างรถไฟฟ้าหลายสายที่ต่อขยายเส้นทางจากในเมืองไปยังชานเมืองมากขึ้น มีกำหนดทยอยเปิดใช้ปี 2562-2566 เท่ากับคนกรุงต้องเผชิญรถติดอีก 3-5 ปี
คิวต่อไปปิดสะพานแยกลำสาลี

นายวิทยา พันธุ์มงคล รักษาการรองผู้ว่าการ รฟม.ฝ่ายปฏิบัติการ กล่าวว่า ทางอิตาเลียนไทยฯได้ปรับแผนเจาะอุโมงค์ช่วงแยกลำสาลี-คลองบ้านม้าออกไป 2 เดือน จากเดิมจะปิดสะพานข้ามแยกชั่วคราว 6 เดือนเพื่อรื้อบางส่วนรองรับกับโครงสร้างอุโมงค์รถไฟฟ้าและโครงการของ กทม.ภายในเดือน ต.ค.นี้เป็นปลายปี ซึ่งยอมรับว่าการปิดสะพานข้ามแยกจะส่งผลกระทบต่อการจราจร

นายจักกพันธุ์ ผิวงาม รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยว่า กทม.มีโครงการจะก่อสร้างแก้ปัญหาการจราจรบนถนนรามคำแหง วงเงินรวม 5,770 ล้านบาท แยกเป็นทางยกระดับขนาด 4 ช่องจราจรจากแยกลำสาลี-คลองบ้านม้า วงเงิน 3,120 ล้านบาท และอุโมงค์ทางลอดใต้ถนนกาญจนาภิเษกจากคลองบ้านม้า-ถนนราษฎร์พัฒนา วงเงิน 2,000 ล้านบาท และขยายผิวจราจรถนนราษฎร์พัฒนาเชื่อมกับคลองบ้านม้า เป็น 8 ช่องจราจร วงเงิน 650 ล้านบาท

“สำนักการโยธา กทม. กำลังร่วมกับ รฟม.ที่กำลังสร้างสายสีส้มเพื่อปรับแบบ เพราะมีพื้นที่ทับซ้อนกัน ลักษณะจะเหมือนกับอุโมงค์ลอดใต้ถนนจรัญสนิทวงศ์-แยกบางพลัด ที่มีพื้นที่ทับซ้อนกับสายสีน้ำเงินช่วงบางซื่อ-ท่าพระ ซึ่งการก่อสร้างจะต้องไปพร้อมกัน ครั้งนั้นกว่าจะสร้างอุโมงค์ได้ก็ 3-4 ปี กว่าจะสร้างเสร็จ”

ส่วนสะพานข้ามแยกบางกะปิที่ก่อนหน้านี้มีแนวคิดจะรื้อออกเพื่อก่อสร้างสายสีเหลือง ล่าสุด รฟม.แจ้งมาว่า จะไม่รื้อออกแล้ว แต่จะสร้างเสาตอม่อบริเวณกลางสะพานแทน จะใช้พื้นที่บางส่วนของสะพานเท่านั้น แต่อาจจะต้องสร้างช่องทางจราจรทดแทนเมื่อเสาตอม่อเสร็จ ซึ่ง รฟม.กำลังปรับแบบอยู่เช่นกัน แต่ผู้ที่รับภาระการก่อสร้างยังคงเป็น รฟม. เพราะเป็นการใช้พื้นที่สะพานของ กทม.ในการก่อสร้าง

รามฯ-ลาดพร้าวติดหนึบ 3 ปี

พล.ต.ต.จิรพัฒน์ ภูมิจิตร รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล (รอง ผบช.น.) กล่าวว่า สถานการณ์รถติดพื้นที่กรุงเทพฯ มีแนวโน้มจะติดมากขึ้น โดยเฉพาะช่วงฤดูฝนที่ยิ่งทำให้รถติดหนักขึ้น เนื่องจากมีการก่อสร้างรถไฟฟ้ากระจายในหลายพื้นที่ กว่าจะแล้วเสร็จในอีก 3 ปีข้างหน้า ขณะที่ที่น่าเป็นห่วงมากที่สุดคือถนนลาดพร้าวและรามคำแหง เพราะเป็นถนนที่มีผู้ใช้งานเป็นจำนวนมากทั้งเช้าและเย็น และมีพื้นผิวจราจรถูกใช้ไปในโครงการก่อสร้างค่อนข้างมาก

“ถนนลาดพร้าวที่ติดหนักมากเกิดจากยกเลิกช่องทางพิเศษบริเวณขาออก ช่วงแยกบางกะปิ-โชคชัย 4 ได้หารือกับผู้รับเหมาก่อสร้าง จะถอนแนวกั้นออกไปในช่วงเวลาเร่งด่วนเช้า 06.00-09.00 น. และเย็น 15.00-21.00 น. ให้เหลือช่องจราจร 3 ช่อง ส่วนป้ายรถประจำทางทั้ง 21 ป้ายที่อยู่ในพื้นที่ก่อสร้าง จะขยับออกไปตลอดแนว 50 เมตร และงดใช้ป้ายรถเมล์หน้าอิมพีเรียล ลาดพร้าว ให้รถประจำทางเข้าไปจอดรับผู้โดยสารบริเวณถนนคู่หน้าห้างแทน ให้จราจรคล่องตัวขึ้น”

แนะใช้ทางลัดทางเลี่ยง

อย่างไรก็ตาม อยากให้ใช้เส้นทางลัดใน ซ.ลาดพร้าว 30, 32 และ 36 เนื่องจากสามารถลัดไปออกถนนรัชดาภิเษก ถนนลาดพร้าว-วังหิน ถนนโชคชัย 4 ถนนลาดปลาเค้า-วังหิน ถนนประดิษฐ์มนูธรรม และถนนประเสริฐมนูกิจได้ ขณะที่ฝั่งขาเข้า ให้ใช้ซอยลาดพร้าว 64 และซอยลาดพร้าว 80 เพื่อไปออกถนนรัชดาภิเษกซอย 18 และแยกรัชดาฯ-สุทธิสารยังมีแนวคิดจะเจาะเกาะกลางถนนบริเวณหน้าศาลอาญาไปถึงแยกรัชโยธิน เพื่อเป็นถนนให้รถที่มาจากลาดพร้าวเลี้ยวขวาได้ทันที ไม่ต้องกลับรถไกล อยู่ระหว่างหารือกับ กทม. เชื่อว่าปัญหาบนถนนรัชดาภิเษกจะคลี่คลายเมื่ออุโมงค์ลอดใต้แยกรัชโยธินสร้างเสร็จในเดือน ต.ค.นี้ และเมื่อรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายหมอชิต-คูคตแล้วเสร็จในปี 2563

พล.ต.ต.จิรพัฒน์กล่าวอีกว่า อีกจุดจะวิกฤตบริเวณแยกลำสาลีในแนวสายสีส้มที่จะก่อสร้างสถานีใต้ดิน มีความจำเป็นต้องรื้อสะพานข้ามแยกออก ตอนนี้ได้รื้อสะพานช่วงขาลงออกแล้ว คาดว่าปลายปีนี้จะสามารถรื้อในช่วงขาขึ้นได้ทั้งหมด โดยเมื่อสร้างเสร็จแล้ว รฟม.จะต้องสร้างสะพานนี้คืน กทม.ในภายหลัง คาดว่าจะใช้เวลาก่อสร้าง 2-3 ปี

ไม่ทุบสะพานบางกะปิ

ส่วนสะพานข้ามแยกบางกะปิ เดิมที่มีแนวคิดจะรื้อสะพานออกด้วยนั้น ตอนนี้ผู้รับเหมามีแนวคิดใหม่ที่จะสร้างตอม่อบริเวณกลางสะพาน และขยายสะพานออกไปข้างละ 1 ช่องแทน อยู่ระหว่างการออกแบบร่วมกับ กทม. ใช้เวลาประมาณ 2-3 เดือนจะได้ข้อสรุป

และเพื่อช่วยบรรเทาปัญหา ทางกองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) ได้จัดกำลังเจ้าหน้าที่อำนวยความสะดวกในจุดที่มีปัญหา พร้อมจัดกำลังช่วยเหลือกรณีน้ำท่วมและช่างเคลื่อนที่เร็วกรณีเกิดอุบัติเหตุรถเสีย โดยเฉพาะช่วงเวลาเร่งด่วนเช้า 06.00-08.00 น. และช่วงเย็น 15.00-21.00 น.

ออกกฎเหล็กคุมรถ 6 ล้อ

นอกจากนี้เตรียมออกข้อบังคับเจ้าพนักงานจราจรทั่วราชอาณาจักรว่าด้วยการห้ามรถบรรทุก 6 ล้อขึ้นไป เดินและห้ามจอดรถในทางบางสายในช่วงเวลาเร่งด่วน เพื่อบังคับใช้ในถนนที่มีการก่อสร้างโครงการต่าง ๆ เช่น ถนนแจ้งวัฒนะ รามอินทรา ลาดพร้าว รามคำแหง คาดว่าสามารถประกาศใช้ได้ในเร็ว ๆ นี้
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44332
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 16/08/2018 9:50 pm    Post subject: Reply with quote

รัฐรีวิว”รถไฟฟ้า”ทั้งระบบ รอไฟเขียว”แบริ่ง-ปากน้ำ”
ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 16 August 2018 - 21:43 น.

รฟม.รายงานความก้าวหน้ารถไฟฟ้าหลากสี-บัตรแมงมุม สายสีเขียว หมอชิต-คูคต แบริ่ง-สมุทรปราการสะดุด รอสภา กทม.ไฟเขียว

นายณัฐพร จาตุศรีพิทักษ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงว่า การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) แจ้งผลดำเนินงานปีงบประมาณ 2560 ให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) รับทราบ ดังนี้

สายสีน้ำเงิน หัวลำโพง-บางแค งานระบบ-เดินรถเสร็จแล้ว 55.29% ช้ากว่าแผน 12.48% ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ เสร็จ 48.54% เร็วกว่าแผน 5.45% งานโยธา(สัญญาที่ 1-5) เสร็จ 99.26% เร็วกว่าแผน

“คิดเป็นความก้าวหน้าทั้งโครงการ 87% หรือเร็วกว่าแผน”

สายสีเขียว แบริ่ง-สมุทรปราการ งานโยธาเสร็จแล้ว งานระบบรถไฟฟ้าและเดินรถ รอผลพิจารณาของสภา กทม. หากสภา กทม.มีมติไม่รับโอนโครงการ กระทรวงคมนาคมจะดำเนินการตามแผนต่อไป ทั้งนี้ได้เปิดเดินรถแบริ่ง-สำโรง 1 สถานี เมื่อ 3 เมษายน 2560

สายสีเขียว หมอชิต-คูคต งานจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินเสร็จ 100% งานโยธา (สัญญาที่ 1-4) เสร็จ 72.71% เร็วกว่าแผน 3.01% เช่นเดียวกับสายสีเขียว แบริ่ง-สมุทรปราการ “ปัญหาที่ยังไม่ได้ข้อยุติคือเรื่องการโอนหนี้สินและทรัพย์สินระหว่าง กทม.-รฟม.” ทั้งนี้ สายสีน้ำเงิน หัวลำโพง-บางแค และบางซื่อ-ท่าพระ และสายสีเขียว หมอชิต-คูคต จะเสร็จปี 2563

สายสีชมพู แคราย-มีนบุรี และสายสีเหลือง ลาดพร้าว-สำโรง ความก้าวหน้าภาพรวม 30.5% เร็วกว่าแผน คาดว่าจะแล้วเสร็จปี 2564

สายสีส้ม ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี กรรมสิทธิ์ที่ดินเสร็จแล้ว 83.11% ช้ากว่าแผน 2.82% งานโยธา (สัญญาที่ 1-6) เสร็จ 13.57% เร็วกว่าแผน 3.94% งานระบบ-เดินรถ อยู่ระหว่างจัดทำ PPP สายสีส้มภาพรวมเสร็จ 45.9% เร็วกว่าแผนจะแล้วเสร็จปี 2566

สายสีม่วง เตาปูน-ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) ภาพรวมเสร็จ 14.76% ช้ากว่าแผน ขณะนี้อยู่ระหว่างจัดทำเอกสารประกวดราคา

โดยปีที่ผ่านมามีผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าช่วงหัวลำโพง-เตาปูน และช่วงบางใหญ่-เตาปูน เพิ่มขึ้น 8.1% จากปี 2559 และ 25.6% สูงกว่าเป้าหมาย ขณะที่ผลประกอบการกำไรสุทธิ 4,596 ล้านบาท

ส่วนความคืบหน้าบัตรแมงมุม ได้เปิดให้ประชาชนขอรับบัตรแล้ว 1 แสนใบ โดยใช้กับรถไฟฟ้าของ รฟม.ได้ทุกสาย และภายในเดือนตุลาคม 2561 จะเปิดให้ขอรับบัตรได้อีก 1 แสนใบ เมื่อสามารถเชื่อมกับรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์และรถขนส่งมวลชนกรุงเทพ 2,600 คัน ส่วนการเข้าร่วมโครงการบัตรแมงมุมของบีทีเอสตอนนี้อยู่ระหว่างการเจรจา
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44332
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 21/08/2018 6:45 pm    Post subject: Reply with quote

รฟม.เร่งเดินหน้ารถไฟฟ้า 5 โครงการ-เตรียมประมูลรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้-เสนอรถไฟฟ้าสายสีส้มต่อครม.
ข่าวเศรษฐกิจ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- อังคารที่ 21 สิงหาคม 2561 17:09:56 น.

รายงานข่าวจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า รฟม.จะเดินหน้าในการดำเนินงานโครงการรถไฟฟ้าให้สำเร็จลุล่วงตามที่ได้รับมอบหมายจากรัฐบาลซึ่งปีนี้ก้าวขึ้นสู่ปีที่ 27 โดยมีโครงการที่อยู่ระหว่างการดำเนินงานก่อสร้าง จำนวน 5 โครงการ ได้แก่ โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง - บางแค และช่วงเตาปูน – ท่าพระ มีกำหนดเปิดให้บริการแบ่งเป็น 2 ช่วง คือ ช่วงหัวลำโพง - บางแค เปิดให้บริการปี 2562 และช่วงเตาปูน - ท่าพระ เปิดให้บริการปี 2563 โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว (เหนือ) ช่วงหมอชิต – สะพานใหม่ - คูคต เปิดให้บริการปี 2563 โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว – สำโรง เปิดให้บริการปี 2564 โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย – มีนบุรี เปิดให้บริการปี 2564 และโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม (ตะวันออก) ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) เปิดให้บริการปี 2566

สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง (ใต้) ช่วงเตาปูน – ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบและอนุมัติโครงการเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2560 ปัจจุบัน รฟม. อยู่ระหว่างเตรียมการประกวดราคา โดยมีกำหนดเปิดให้บริการปี 2566

ส่วนโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย ช่วงบางแค - พุทธมณฑล สาย 4 ขณะนี้อยู่ระหว่างการปรับปรุงรายละเอียดเพื่อเสนอกระทรวงคมนาคม ขออนุมัติดำเนินการต่อคณะรัฐมนตรี โดยมีกำหนดเปิดให้บริการปี 2566

นอกจากนี้ รฟม. ยังมีโครงการรถไฟฟ้าที่อยู่ระหว่างศึกษา ออกแบบ เพื่อนำเสนอกระทรวงคมนาคม และคณะรัฐมนตรี อีก 3 โครงการ ได้แก่ โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงคูคต - ลำลูกกา มีกำหนดเปิดให้บริการ ปี 2566 โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงสมุทรปราการ - บางปู มีกำหนดเปิดให้บริการปี 2566 และโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม (ตะวันตก) ช่วงบางขุนนนท์ - ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย มีกำหนดเปิดให้บริการปี 2568

เพื่อเป็นการพัฒนาโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนทางรางของประเทศไทยให้ครอบคลุมยิ่งขึ้น รฟม. ยังมีภารกิจในการได้ดำเนินโครงการระบบขนส่งมวลชนในเขตภูมิภาค ได้แก่ โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต ปัจจุบันอยู่ระหว่างศึกษารายละเอียดความเหมาะสม ออกแบบ และจัดเตรียมเอกสารประกวดราคา ส่วนโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดเชียงใหม่ และโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดนครราชสีมา ปัจจุบันอยู่ระหว่างการจัดเตรียมร่างข้อกำหนดและขอบเขตงาน (TOR) เพื่อว่าจ้างที่ปรึกษาศึกษารายละเอียดความเหมาะสมฯ ทั้ง 2 โครงการ

ทั้งนี้ รฟม.มีภารกิจในการดำเนินงานโครงการรถไฟฟ้า ทั้งหมด 6 สายทาง 13 โครงการ เพื่อให้เกิดโครงข่ายระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนที่มีประสิทธิภาพและรองรับการเดินทางของประชาชนได้ครอบคลุมทุกพื้นที่ ทั้งในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ตลอดจนจังหวัดใหญ่ในเขตภูมิภาค

โดยปัจจุบัน รฟม. ได้เปิดให้บริการรถไฟฟ้ามหานครแล้ว 2 สายทาง ได้แก่ รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล (สายสีน้ำเงิน) ช่วงหัวลำโพง – บางซื่อ เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2547 และ รถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม (สายสีม่วง) ช่วงคลองบางไผ่ - เตาปูน เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2559 และต่อมา รฟม. ได้เร่งรัดดำเนินงานเชื่อมต่อระบบรถไฟฟ้าทั้ง 2 สาย ระหว่างสถานีบางซื่อ และสถานีเตาปูน ระยะทางประมาณ 1.2 กิโลเมตร จนสามารถเปิดให้บริการเดินรถเชื่อมต่อ 1 สถานี อย่างเป็นทางการได้เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2560 เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้โดยสารให้สามารถเดินทางข้ามระบบได้โดยเปลี่ยนขบวนรถที่สถานีเตาปูน ส่งผลให้มีจำนวนผู้โดยสารรถไฟฟ้ามหานครทั้ง 2 สาย เพิ่มขึ้น

นอกจากนี้ รฟม. ยังได้ดำเนินงานก่อสร้างงานโยธาโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว (ใต้) ช่วงแบริ่ง – สมุทรปราการ แล้วเสร็จตามแผนงานตั้งแต่ปลายปี 2559 และปัจจุบันอยู่ระหว่างดำเนินงานติดตั้งงานระบบรถไฟฟ้า (M&E) โดย กรุงเทพมหานคร (กทม.) ซึ่งได้มีการเปิดให้บริการเดินรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีเขียวแล้ว 1 สถานี คือ สถานีสำโรง ตั้งแต่วันที่ 3 เมษายน 2560 และคาดว่าจะสามารถเปิดให้บริการครบทุกสถานีได้ปลายปี 2561 นี้ ซึ่งจะช่วยอำนวยความสะดวกในการเดินทางของประชาชนระหว่างกรุงเทพมหานครและจังหวัดสมุทรปราการได้เป็นอย่างดี
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42625
Location: NECTEC

PostPosted: 23/08/2018 12:01 pm    Post subject: Reply with quote

เร่งสรุปแผนสร้างรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลคู่ทางด่วน
วันพฤหัสบดีที่ 23 สิงหาคม 2561 เวลา 15:21


สนข.เดินหน้าสรุปผลศึกษาโครงการรถไฟฟ้าสีน้ำตาลช่วงแคราย – ลำสาลี เบื้องต้นต้องก่อสร้างทั้งรถไฟฟ้าและทางด่วนบนสายทางเดียวกัน


วันนี้ (23 ส.ค.61) สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) จัดประชุมสัมมนารับฟังความเห็นของประชาชน ครั้งที่ 3 ในการศึกษาโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ช่วงแคราย-ลำสาลี ซึ่งผลการศึกษามีแนวคิดจะใช้ประโยชน์จากเสาตอม่อ ตรงกลางถนนประเสริฐมนูกิจ พร้อมข้อสรุป จะพัฒนาทั้งระบบ รถไฟฟ้าและทางพิเศษบนสายทางแนวเดียวกัน เนื่องจากแนวถนนรัตนาธิเบศร์ งามวงศ์วาน และประเสริฐมนูกิจ เป็นแนวเส้นทางหลักที่เชื่อมต่อการเดินทางระหว่างพื้นที่ฝั่งตะวันตก กับ พื้นที่ฝั่งตะวันออก ของถนนวงแหวนรอบนอก การพัฒนาเฉพาะระบบรถไฟฟ้า คงไม่เพียงพอสำหรับการเดินทางอื่นๆ ที่ต้องผ่านแนวเส้นทางดังกล่าว ซึ่งมีทั้งการเดินทางด้วยยานพาหนะส่วนบุคคล และการขนส่งสินค้า



สำหรับแนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล จะเริ่มต้นจากแยกแคราย ไปตามถนนงามวงศ์วาน ถนนประเสริฐมนูกิจ ถนนนวมินทร์ สิ้นสุดที่ถนนรามคำแหง รวมระยะทาง 22.3 กิโลเมตร จำนวน 20 สถานี จะทำหน้าที่เชื่อมต่อ โครงการรถไฟฟ้า 7 สาย



ส่วนระบบทางด่วนจะเป็นการต่อขยายแนวทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ และส่วนต่อขยายไปยังถนนวงแหวนรอบนอกฝั่งตะวันออก เชื่อมต่อทางยกระดับอุตราภิมุข-ทางพิเศษศรีรัช-ถนนวงแหวนรอบนอกฝั่งตะวันตกที่ต่างระดับรัชวิภา ระยะทาง 17.2 กิโลเมตร ซึ่งการรับฟังความเห็นครั้งนี้ เป็นครั้งสุดท้ายก่อนที่จะนำเสนอต่อคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) ทั้งนี้ การบริหารจัดการการก่อสร้างจะให้เกิดพร้อมกัน เพื่อเกิดผลกระทบน้อยที่สุด



สำหรับการลงทุนทั้ง 2 โครงการจะใช้รูปแบบการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน (PPP) โครงสร้างแยกออกจากกัน ตรงจุดที่มีการก่อสร้างทับซ้อนกัน จะก่อสร้างเสาตอม่อสลับกัน สำหรับภาพรวมจากการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่เห็นด้วยร้อยละ 72 ส่วนที่เหลือมองว่ากระทบต่อการใช้ชีวิตความเป็นอยู่
https://www.youtube.com/watch?v=BEA6dmNUjTs
สนข.สรุปผลการศึกษารถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลแคราย-ลำสาลี (บึงกุ่ม)
วันพฤหัสบดีที่ 23 สิงหาคม 2561


สนข.เลือกรูปแบบการพัฒนาด้วยระบบ รถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลและทางด่วนสายเหนือ บนสายทางเดียวกัน ระบุเชื่อมต่อรถไฟฟ้า 7 สาย สอดรับกับนโยบายของภาครัฐในการส่งเสริมการเดินทางด้วยระบบขนส่งทางราง ขณะที่ทางด่วนจะทำหน้าที่เชื่อมโยงโครงข่ายการจราจรได้อย่างมีประสิทธิภาพ

นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (ผอ.สนข.) เปิดเผยในโอกาสเป็นประธานเปิดการประชุมสัมมนารับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 3 (การสรุปผลการศึกษาโครงการ) การศึกษาความเหมาะสมโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ช่วงแคราย – ลำสาลี (บึงกุ่ม) ในวันพฤหัสบดีที่ 23 สิงหาคม 2561 ณ ห้องคอนเวนชั่น ชั้น 4 อาคารคอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ โรงแรมรามาการ์เด้นส์ ว่าในครั้งนี้มีผู้แทนจากส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ ภาคเอกชน สถาบันการศึกษา ผู้นำชุมชน ประชาชนผู้สนใจ และสื่อมวลชน เข้าร่วมการประชุมสัมมนาฯ ดังกล่าว


โดยนายชัยวัฒน์ฯ กล่าวว่า ตามที่รัฐบาลมีนโยบายที่จะพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งและระบบคมนาคมในระยะยาว เพื่อศึกษารูปแบบการดำเนินงานโครงการคมนาคมขนส่งที่เหมาะสมและใช้ประโยชน์จากเสาตอม่อของโครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ที่มีการก่อสร้างเสาตอม่อเตรียมไว้แล้วบนแนวกึ่งกลางถนนประเสริฐมนูกิจ (ถนนเกษตร-นวมินทร์) ซึ่งทางกระทรวงคมนาคมมีแนวคิดที่จะก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล โดยใช้เสาตอม่อดังกล่าวให้เกิดประโยชน์ และมอบหมายให้ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ศึกษาความเป็นไปได้ในการดำเนินงานให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยศึกษาความเหมาะสมทั้งในด้านวิศวกรรม เศรษฐกิจ การเงิน และผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมครอบคลุมครบทุกมิติ ซึ่งได้ข้อสรุปว่ามีความเหมาะสมที่จะพัฒนาทั้งระบบขนส่งมวลชน (รถไฟฟ้า) และทางพิเศษ (ทางด่วน) บนแนวสายทางเดียวกัน

ทั้งนี้ ในการประชุมคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก ครั้งที่ 1/2561 เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2561 ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบรูปแบบการพัฒนาทั้งระบบรถไฟฟ้าและทางด่วน ตามที่ สนข. เสนอ ซึ่งประกอบด้วยระบบรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลช่วงแคราย-ลำสาลี (บึงกุ่ม) และทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ตอน N2 ส่วนเชื่อมต่อถนนวงแหวนรอบนอกฝั่งตะวันออก และส่วนทดแทน N1 เนื่องจากแนวถนนรัตนาธิเบศร์ งามวงศ์วาน และประเสริฐมนูกิจ เป็นแนวเส้นทางหลักที่เชื่อมต่อการเดินทางระหว่างพื้นที่ฝั่งตะวันตกกับพื้นที่ฝั่งตะวันออกของถนนวงแหวนรอบนอก การพัฒนาเฉพาะระบบรถไฟฟ้าจึงไม่เพียงพอสำหรับรองรับการเดินทางอื่นๆ ที่ต้องผ่านแนวเส้นทางดังกล่าว ซึ่งมีทั้งการเดินทางด้วยยานพาหนะส่วนบุคคลและการขนส่งสินค้า นอกจากนี้ยังสามารถใช้เป็นเส้นทางทดแทนในกรณีที่โครงข่ายถนนระดับพื้นดิน ไม่สามารถใช้งานได้ เช่น เกิดอุทกภัย เป็นต้น

สำหรับแนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ช่วงแคราย-ลำสาลี (บึงกุ่ม) เริ่มต้นจากแยกแคราย มุ่งหน้าไปทางทิศตะวันออกตามแนวถนนงามวงศ์วาน ผ่านจุดตัดทางพิเศษศรีรัช แยกพงษ์เพชร แยกบางเขน แยกเกษตร ต่อเนื่องไปตามแนวถนนประเสริฐมนูกิจ ผ่านจุดตัดถนนลาดปลาเค้า แยกเสนา จุดตัดถนนสุคนธสวัสดิ์ จุดตัดทางพิเศษฉลองรัช (รามอินทรา-อาจณรงค์) จุดตัดทางหลวง 350 จุดตัดถนนนวมินทร์ แล้วเลี้ยวขวาลงไปทางทิศใต้ตามแนวถนนนวมินทร์ ผ่านแยกโพธิ์แก้ว แยกศรีบูรพา แยกแฮปปี้แลนด์ แยกบางกะปิ ไปสิ้นสุดที่จุดตัดถนนพ่วงศิริและถนนรามคำแหง
รวมระยะทางประมาณ 22.3 กิโลเมตร จำนวน 20 สถานี

โดยรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล จะทำหน้าที่เชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้า 7 สาย ดังนี้ สถานีศูนย์ราชการนนทบุรีเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีม่วงและสีชมพู สถานีบางเขนเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีแดง
สถานีแยกเกษตรเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีเขียว สถานีฉลองรัชเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีเทา และสถานีลำสาลีเชื่อมต่อรถไฟฟ้า สายสีเหลือง และสีส้ม โดยจะมีการก่อสร้างอาคารจอดแล้วจรที่แยกบางกะปิ เพื่อส่งเสริมการใช้ระบบขนส่งมวลชน

ส่วนระบบทางด่วน จะเป็นการต่อขยายแนวทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ตอน N2 และส่วนต่อขยายไปยังถนนวงแหวนรอบนอกฝั่งตะวันออก เชื่อมต่อทางยกระดับอุตราภิมุข-ทางพิเศษศรีรัช-ถนนวงแหวนรอบนอกฝั่งตะวันตกที่ต่างระดับรัชวิภา เพื่อเป็นการเชื่อมโยงโครงข่ายระบบทางพิเศษระหว่างพื้นที่ด้านตะวันออกและตะวันตกของกรุงเทพมหานคร โดยแนวโครงการจะมีเริ่มต้นจากถนนวงแหวนรอบนอกฝั่งตะวันออกมาตามแนวถนนประเสริฐมนูกิจ ผ่านแนวคลองบางบัว คลองบางเขน แล้วเลียบขนานไปตามแนวถนนวิภาวดีรังสิต จนถึงทางแยกต่างระดับรัชวิภา รวมระยะทางประมาณ 17.2 กิโลเมตร




นายชัยวัฒน์ฯ กล่าวตอนท้ายว่า จากผลการศึกษาพบว่ารูปแบบการพัฒนาด้วยระบบรถไฟฟ้า
สายสีน้ำตาลและระบบทางด่วนบนสายทางเดียวกัน มีความเหมาะสมที่จะสามารถรองรับการเดินทางได้ดีที่สุดและให้ผลตอบแทนด้านเศรษฐกิจในอัตราที่สูงมาก โดยรถไฟฟ้าจะให้ผลตอบแทนด้านเศรษฐกิจ ร้อยละ 22.3 และสอดคล้องกับนโยบายของภาครัฐในการส่งเสริมการเดินทางด้วยระบบขนส่งมวลชนทางราง ซึ่งจะเป็นการเพิ่มความสะดวก ปลอดภัย และประหยัดเวลาการเดินทางของประชาชน ในขณะที่ทางด่วน ให้ผลตอบแทน ร้อยละ 38.9 และจะเชื่อมโยงโครงข่ายการจราจรระหว่างพื้นที่ด้านตะวันออกและตะวันตกของกรุงเทพมหานครได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยลดปัญหาการจราจรบริเวณถนนงามวงศ์วานและถนนประเสริฐมนูกิจ

รวมทั้งเกิดประโยชน์สูงสุดต่อเศรษฐกิจ สังคม และประเทศชาติ โดยจะดำเนินการก่อสร้างระบบทางด่วนควบคู่ไปกับการจัดทำฐานรากของระบบรถไฟฟ้า เพื่อลดปัญหาการจัดการพื้นที่ก่อสร้าง
ซึ่งจะเป็นการบรรเทาปัญหาการจราจรในระหว่างการก่อสร้าง โดยคาดว่าระบบทางด่วนจะเปิดใช้บริการได้ในปี 2567 ส่วนรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลจะเปิดใช้บริการได้ในปี 2568
https://www.facebook.com/RenderThailand/posts/2107817696145115
https://www.facebook.com/RenderThailand/videos/863493864038992/

//-----------------------------------

สนข.สรุปแผนก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล

23 สิงหาคม พ.ศ. 2561 เวลา 11:28 น.


สนข.เดินหน้าสรุปผลศึกษาสร้างรถไฟฟ้าสีน้ำตาล ช่วงแคราย – ลำสาลี เบื้องต้นผลสรุปจะต้องก่อสร้างทั้งรถไฟฟ้าและทางด่วนบนสายทางเดียวกัน โดยสายสีน้ำตาลจะเชื่อมต่อรถไฟฟ้า 7 สาย คาดเปิดใช้ปี 68

23 ส.ค.61-นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ผู้อำนวยการ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยภายหลังการประชุมสัมมนารับฟังความคิดเห็น ครั้งที่ 3 การสรุปผลการศึกษาโครงการ การศึกษาความเหมาะสมโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ช่วงแคราย – ลำสาลี (บึงกุ่ม) จากเสาตอม่อของโครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ที่มีการก่อสร้างเสาตอม่อเตรียมไว้แล้วบนแนวกึ่งกลางถนนประเสริฐมนูกิจ (ถนนเกษตร – นวมินทร์) ซึ่งกระทรวงมีแนวคิดที่จะก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล โดยใช้เสาตอม่อดังกล่าวให้เกิดประโยชน์และมอบหมายให้ สนข.ศึกษาความเป็นไปได้ในการดำเนินงานให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยศึกษาความเหมาะสมทั้งด้านวิศวกรรม เศรษฐกิจ การเงิน และผลกระทบสิ่งแวดล้อมครอบคลุมครบทุกมิติ โดยผลศึกษาได้ข้อสรุปว่ามีความเหมาะสมที่จะพัฒนาทั้งระบบขนส่งมวลชน (รถไฟฟ้า) และทางพิเศษ (ทางด่วน) บนแนวสายทางเดียวกัน

ทั้งนี้ ในการประชุมคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก ครั้งที่ 1/2561 เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2561 ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบรูปแบบการพัฒนาทั้งระบบรถไฟฟ้าและทางด่วนตามที่ สนข. เสนอ ประกอบด้วยระบบรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลช่วงแคราย – ลำสาลี (บึงกุ่ม) และทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ตอน N2 ส่วนเชื่อมต่อถนนวงแหวนรอบนอกฝั่งตะวันออก และส่วนทดแทน N1 เนื่องจากแนวถนนรัตนาธิเบศร์ งามวงศ์วาน และประเสริฐมนูกิจ เป็นแนวเส้นทางหลักที่เชื่อมต่อการเดินทางระหว่างพื้นที่ฝั่งตะวันตกกับพื้นที่ฝั่งตะวันออกของถนนวงแหวนรอบนอก การพัฒนาเฉพาะระบบรถไฟฟ้าจึงไม่เพียงพอสำหรับรองรับการเดินทางอื่น ๆ ที่ต้องผ่านแนวเส้นทางดังกล่าว ซึ่งมีทั้งการเดินทางด้วยยานพาหนะส่วนบุคคลและการขนส่งสินค้า นอกจากนี้ ยังสามารถใช้เป็นเส้นทางทดแทนในกรณีที่โครงข่ายถนนระดับพื้นดินไม่สามารถใช้งานได้ เช่น เกิดอุทกภัย เป็นต้น

นายชัยวัฒน์ กล่าวว่าโครงการดังกล่าวจะเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้า 7 สาย สถานีศูนย์ราชการนนทบุรีเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีม่วงและสีชมพู สถานีบางเขนเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีแดง สถานีแยกเกษตรเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีเขียว สถานีฉลองรัชเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีเทา และสถานีลำสาลีเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีเหลืองและสีส้ม โดยจะมีการก่อสร้างอาคารจอดแล้วจรที่แยกบางกะปิ เพื่อส่งเสริมการใช้ระบบขนส่งมวลชน

อย่างไรก็ตามส่วนระบบทางด่วน จะเป็นการต่อขยายแนวทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ตอน N2 และส่วนต่อขยายไปยังถนนวงแหวนรอบนอกฝั่งตะวันออก เชื่อมต่อทางยกระดับอุตราภิมุข – ทางพิเศษศรีรัช – ถนนวงแหวนรอบนอกฝั่งตะวันตกที่ต่างระดับรัชวิภา เพื่อเป็นการเชื่อมโยงโครงข่ายระบบทางพิเศษระหว่างพื้นที่ด้านตะวันออกและตะวันตกของกรุงเทพมหานคร โดยแนวโครงการจะเริ่มต้นจากถนนวงแหวนรอบนอกฝั่งตะวันออกมาตามแนวถนนประเสริฐมนูกิจ ผ่านแนวคลองบางบัว คลองบางเขน แล้วเลียบขนานไปตามแนวถนนวิภาวดีรังสิต จนถึงทางแยกต่างระดับรัชวิภา รวมระยะทางประมาณ 17.2 กม.


//-----------------------------------------------------------------


สนข.สรุปผลศึกษารถไฟฟ้าสีน้ำตาล
สนข. สรุปผลการศึกษาโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล พัฒนารถไฟฟ้า และทางด่วน บนแนวสายทางเดียวกัน
23 สิงหาคม 2018 - 10:40

นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (ผอ.สนข.) เป็นประธานเปิดการประชุมสัมมนารับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 3 (การสรุปผลการศึกษาโครงการ) การศึกษาความเหมาะสมโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ช่วงแคราย – ลำสาลี (บึงกุ่ม)พร้อมกล่าวว่าจากผลการศึกษาความเหมาะสมของโครงการแล้ว สนข.ได้ข้อสรุปว่าโครงการมีความเหมาะสมที่จะพัฒนาทั้งระบบขนส่งมวลชน (รถไฟฟ้า) และทางพิเศษ (ทางด่วน) บนแนวสายทางเดียวกัน โดยในการประชุมคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก ครั้งที่ 1/2561 ได้มีมติเห็นชอบรูปแบบการพัฒนาทั้งระบบรถไฟฟ้าและทางด่วนตามที่ สนข. เสนอ ซึ่งประกอบด้วยระบบรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลช่วงแคราย – ลำสาลี (บึงกุ่ม) และทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ตอน N2 ส่วนเชื่อมต่อถนนวงแหวนรอบนอกฝั่งตะวันออก และส่วนทดแทน N1 เนื่องจากแนวถนนรัตนาธิเบศร์ งามวงศ์วาน และประเสริฐมนูกิจ เป็นแนวเส้นทางหลักที่เชื่อมต่อการเดินทางระหว่างพื้นที่ฝั่งตะวันตกกับพื้นที่ฝั่งตะวันออกของถนนวงแหวนรอบนอก การพัฒนาเฉพาะระบบรถไฟฟ้าจึงไม่เพียงพอสำหรับรองรับการเดินทางอื่นๆ ที่ต้องผ่านแนวเส้นทางดังกล่าว

อย่างไรก็ตาม จากผลการศึกษาพบว่ารูปแบบการพัฒนาด้วยระบบรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลและระบบทางด่วนบนสายทางเดียวกันมีความเหมาะสมที่จะสามารถรองรับการเดินทางได้ดีที่สุด
และให้ผลตอบแทนด้านเศรษฐกิจในอัตราที่สูงมาก ถึงร้อยละ 22.3 ในขณะที่ทางด่วนให้ผลตอบแทน ร้อยละ 38.9 และจะเชื่อมโยงโครงข่ายการจราจรระหว่างพื้นที่ด้านตะวันออกและตะวันตกของกรุงเทพมหานครได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยคาดว่าระบบทางด่วนจะเปิดใช้บริการได้ในปี 2567 ส่วนรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลจะเปิดใช้บริการได้ในปี 2568
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42625
Location: NECTEC

PostPosted: 24/08/2018 9:50 am    Post subject: Reply with quote

เล็งเปิดประมูลพีพีพี สร้างรถไฟฟ้าสีน้ำตาล แคราย-ลำสาลี ทางด่วนบนตอม่อถนนเกษตร-นวมินทร์ เชื่อมระบบขนส่งรถไฟฟ้า 7 สาย


วันที่ 23 สิงหาคม 2561 - 14:18 น.

สนข.เดินหน้าแก้รถติด เปิดประมูลพีพีพี สร้าง 'รถไฟฟ้าสีน้ำตาล-ทางด่วน'
โดย ไทยรัฐออนไลน์
วันที่ 23 สิงหาคม 2561 - 16:27


สนข. แก้รถติดเล็งเปิดประมูลพีพีพี สร้าง”รถไฟฟ้าสีน้ำตาล-ทางด่วน” บนตอม่อถนนเกษตร-นวมินทร์ เชื่อมระบบขนส่งรถไฟฟ้า 7 สาย คาดเริ่มสร้างปี 2563-64 เปิดให้บริการทางด่วนปี 2567 รถไฟฟ้าปี 2568

นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ผอ.สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดประชุมสัมมนารับฟังความคิดเห็นของประชาชน ผลการศึกษาความเหมาะสมโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ช่วงแคราย-ลำสาลี (บึงกุ่ม) เมื่อวันที่ 23 ส.ค.ว่า ตามที่รัฐบาลมีนโยบายที่จะพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งและระบบคมนาคมในระยะยาว โดยใช้ประโยชน์จากเสาตอม่อของโครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ที่มีการก่อสร้างเสาตอม่อเตรียมไว้แล้ว บนแนวกึ่งกลางถนนประเสริฐมนูกิจ (ถนนเกษตร-นวมินทร์) นั้น
ขณะนี้ มีข้อสรุปว่ามีความเหมาะสมที่จะพัฒนาทั้งระบบขนส่งมวลชน (รถไฟฟ้า) และทางพิเศษ (ทางด่วน) บนแนวสายทางเดียวกัน ซึ่งหลังจากนี้ สนข.จะเสนอผลศึกษาเข้าที่ประชุมคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) โดยคาดว่า โครงการจะสามารถก่อสร้างได้ในปี 2563-64 และคาดว่า ระบบทางด่วนจะเปิดใช้บริการได้ในปี 2567 ส่วนรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลจะเปิดใช้บริการได้ในปี 2568

ทั้งนี้รูปแบบการก่อสร้างจะมีทั้งรถไฟฟ้า และ ทางด่วนโดยโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ทางการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เป็นผู้รับผิดชอบ ส่วนการก่อสร้างทางด่วน ให้ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) เป็นผู้รับผิดชอบ สำหรับรูปแบบการดำเนินการใน2โครงการจะเป็นรูปแบบ การร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน (พีพีพี) แยกการประมูลออกจากกัน



สำหรับแนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ช่วงแคราย-ลำสาลี (บึงกุ่ม) รูปแบบโมโรเรล เส้นทางจะเริ่มต้นจากแยกแคราย มุ่งหน้าไปทางทิศตะวันออกตามแนวถนนงามวงศ์วาน ผ่านจุดตัดทางพิเศษศรีรัช แยกพงษ์เพชร แยกบางเขน แยกเกษตร ต่อเนื่องไปตามแนวถนนประเสริฐมนูกิจ ผ่านจุดตัดถนนลาดปลาเค้า แยกเสนา จุดตัดถนนสุคนธสวัสดิ์ จุดตัดทางพิเศษฉลองรัช (รามอินทรา-อาจณรงค์) จุดตัดทางหลวง 350 จุดตัดถนนนวมินทร์ แล้วเลี้ยวขวาลงไปทางทิศใต้ตามแนวถนนนวมินทร์ ผ่านแยกโพธิ์แก้ว แยกศรีบูรพา แยกแฮปปี้แลนด์ แยกบางกะปิ ไปสิ้นสุดที่จุดตัดถนนพ่วงศิริและถนนรามคำแหง รวมระยะทางประมาณ 22.3 กิโลเมตร จำนวน 20 สถานี
โดยรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล จะทำหน้าที่เชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้า 7 สาย ประกอบด้วยสถานีศูนย์ราชการนนทบุรีเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีม่วงและสีชมพู สถานีบางเขนเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีแดง สถานีแยกเกษตรเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีเขียว สถานีฉลองรัชเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีเทา และสถานีลำสาลีเชื่อมต่อรถไฟฟ้า สายสีเหลือง และสีส้ม โดยจะมีการก่อสร้างอาคารจอดแล้วจรที่แยกบางกะปิ เพื่อส่งเสริมการใช้ระบบขนส่งมวลชน

ส่วนระบบทางด่วน จะเป็นการต่อขยายแนวทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ตอน N2 และส่วนต่อขยายไปยังถนนวงแหวนรอบนอกฝั่งตะวันออก เชื่อมต่อทางยกระดับอุตราภิมุข-ทางพิเศษศรีรัช-ถนนวงแหวนรอบนอก ฝั่งตะวันตกที่ต่างระดับรัชวิภา เพื่อเป็นการเชื่อมโยงโครงข่ายระบบทางพิเศษระหว่างพื้นที่ด้านตะวันออก และตะวันตกของกรุงเทพมหานคร โดยแนวโครงการจะมีเริ่มต้นจากถนนวงแหวนรอบนอกฝั่งตะวันออกมาตามแนว ถนนประเสริฐมนูกิจ ผ่านแนวคลองบางบัว คลองบางเขน แล้วเลียบขนานไปตามแนวถนนวิภาวดีรังสิต จนถึงทางแยกต่างระดับรัชวิภา รวมระยะทางประมาณ 17.2 กิโลเมตร

นายชัยวัฒน์ กล่าวต่อว่า จากผลการศึกษาพบว่ารูปแบบการพัฒนาด้วยระบบรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล และระบบทางด่วนบนสายทางเดียวกัน มีความเหมาะสมที่จะสามารถรองรับการเดินทางได้ดีที่สุด และให้ผลตอบแทนด้านเศรษฐกิจในอัตราที่สูงมาก โดยรถไฟฟ้าจะให้ผลตอบแทนด้านเศรษฐกิจ 22.3 % และสอดคล้องกับนโยบายของภาครัฐ ในการส่งเสริมการเดินทางด้วยระบบขนส่งมวลชนทางราง ซึ่งจะเป็นการเพิ่มความสะดวก ปลอดภัย และประหยัดเวลาการเดินทางของประชาชน

ในขณะที่ทางด่วนให้ผลตอบแทน 38.9% และจะเชื่อมโยงโครงข่ายการจราจรระหว่างพื้นที่ด้านตะวันออกและตะวันตกของกรุงเทพมหานครได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยลดปัญหาการจราจรบริเวณถนนงามวงศ์วาน และถนนประเสริฐมนูกิจ รวมทั้งเกิดประโยชน์สูงสุดต่อเศรษฐกิจ สังคม และประเทศชาติ โดยจะดำเนินการก่อสร้างระบบทางด่วนควบคู่ไปกับการจัดทำฐานรากของระบบรถไฟฟ้า เพื่อลดปัญหาการจัดการพื้นที่ก่อสร้าง ซึ่งจะเป็นการบรรเทาปัญหาการจราจรในระหว่างการก่อสร้าง

//--------------------------------------------

ปีนี้เคาะแน่!สร้างรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลแคราย-ลำสาลีควบทางด่วนขั้นที่3 ดึงเอกชนลงทุน1.4แสนล้าน


วันที่ 23 สิงหาคม 2561 - 20:42 น.


นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กล่าวว่า โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ช่วงแคราย – ลำสาลี (บึงกุ่ม) ระยะทาง 22.1 กม. เงินก่อสร้างเบื้องต้น 112,505 ล้านบาท และทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือทดแทน N1 และส่วนต่อขยาย N2 ไปยังทางด่วนหมายเลข 9 ระยะทาง 17.2 กม. เงินก่อสร้างเบื้องต้น 37,966 ล้านบาท

ขณะนี้การศึกษาดำเนินการมาหลายเดือนแล้วและกำลังจะเข้าสู่ขั้นสุดท้าย ยืนยันว่าการออกแบบรถไฟฟ้าสายนี้ จะให้มีการใช้ประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นให้ได้มากที่สุด แต่จะต้องมีผลกระทบต่อประชาชนน้อยที่สุด โดยโครงการนี้จะเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ที่จะดูแลเรื่องทางด่วน และการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ที่จะเป็นผู้ควบคุมดูแลโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลต่อไป




โดยจะเร่งสรุปผลการศึกษาประมาณปีนี้ ก็จะส่งต่อไปให้กระทรวงคมนาคมรับทราบ ก่อนจะส่งต่อไปให้คณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) พิจารณาต่อไป โดยกระบวนการทั้งหมดจะเกิดขึ้นภายในปีนี้แน่นอน ทาง คจร.มีคำถามที่ให้ตอบเพิ่มอีก 2 ข้อ ได้แก่ 1. ทางด่วนจำเป็นที่จะต้องมีหรือไม่ และ 2. รถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลมีความเหมาะสมหรือไม่ ส่วนจะเริ่มต้นโครงการได้เมื่อไหร่นั้น จะต้องรอความชัดเจนของผลการศึกษาและการใช้เวลาพิจารณาตัดสินใจของ คจร. ด้วย

แต่การก่อสร้างรถไฟฟ้าจะส่งผลกระทบต่อประชาชนเรื่องการจราจรแน่นอน บวกกับเวลานี้มีโครงการรถไฟฟ้าที่กำลังอยู่อีกหลายสาย เช่น สายสีชมพู สายสีส้ม และสายสีเหลือง จึงจำเป็นที่จะต้องวางแผนการทำงานให้ดี เพราะโครงการนี้มีทั้งรถไฟฟ้าและทางด่วนอยู่ในบริเวณเดียวกัน

โดยหลักการเบื้องต้น จะมีแผนก่อสร้างงานร่วมกัน จะมีการทำระบบฐานรากไปพร้อมกันทั้ง 2 โครงการ แต่การเปิดประมูลเพื่อหาเอกชนมาร่วมลงทุนจะแยกกัน มีรูปแบบเป็น PPP เช่นกันทั้ง 2 โครงการ แต่ยังอยู่ในระหว่างการศึกษาว่าจะเป็น Net Cross หรือ Gross Cross

นายชัยวัฒน์กล่าวต่อว่า สำหรับรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล จะเป็นระบบรถไฟฟ้าฟีดเดอร์ คาดว่าจะเปิดให้บริการได้ประมาณปี 2568 และจะมีผู้โดยสารมาใช้บริการเบื้องต้น 218,000 เที่ยวคน/วัน ขณะที่โครงการทางด่วนนั้นจะแล้วเสร็จในปี 2567 เนื่องจากมีความพร้อมมากกว่า เพราะจะใช้ตอม่อที่สร้างค้างไว้บริเวณ ถ.ประเสริฐมนูกิจ จำนวน 281 ต้น มาดำเนินการก่อสร้างต่อ



ขณะที่แหล่งข่าวจาก สนข. ระบุว่า จุดที่ถือว่ายังเป็นปัญหาสำคัญของโครงการปัญหาหนึ่งคือ การหาพื้นที่สำหรับก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุง (Depot) ของโครงการ ขนาด 44 ไร่ ที่ตอนแรกเล็งพื้นที่บริเวณถ.เสรีไทย ใกล้กับสถานีลำสาลี เนื้อที่ประมาณ 50 ไร่ไว้นั้น ล่าสุด พื้นที่ดังกล่าว กทม.ได้ติดต่อเจ้าของที่ซึ่งเป็นเอกชนไว้ก่อนแล้วว่า จะก่อสร้างเป็นศูนย์ซ่อมบำรุงของโครงการรถไฟฟ้าสายสีเทา ช่วงวัชรพล – ทองหล่อ และไม่สามารถขอเข้าไปใช้พื้นที่ร่วมได้ จึงต้องดำเนินการหาพื้นที่ใหม่ ซึ่งคาดว่าจะใช้พื้นที่บริเวณใกล้เคียงเป็นศูนย์ซ่อม เพราะอยู่ช่วงกลางเส้นทางพอดี มีความสะดวกกว่าการนำไปช่วงหัวหรือท้ายเส้นทาง ซึ่งปัจจุบันก็หาพื้นที่ทำยากแล้ว
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42625
Location: NECTEC

PostPosted: 24/08/2018 4:28 pm    Post subject: Reply with quote

ย้ายเดปโป้สีน้ำตาล เหตุ กทม.ไม่ให้ใช้พื้นที่ร่วมสายสีเทา สนข.โล่ง ม.เกษตรฯ ยอมเปิดแนวรั้วให้วางตอม่อ
โดย: MGR Online
เผยแพร่: วันที่ 23 สิงหาคม 2561 - 18:39
ปรับปรุง: วันที่ 24 สิงหาคม 2561 10:32

สนข.สรุปผลการศึกษารถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ช่วงแคราย-ลำสาลี (บึงกุ่ม) พ่วงทางด่วนขั้น 3 สายเหนือมูลค่ารวมเกือบ 8 หมื่นล้าน เสนอ คจร.เคาะเดินหน้าเปิด PPP ร่วมทุนเอกชน เผย ม.เกษตรฯ ยอมให้ปักเสาตอม่อรถไฟฟ้าแนวรั้ว แต่ต้องหาจุดสร้างเดปโป้ใหม่ เหตุ กทม.ไม่ยอมให้ใช้ร่วมเดปโป้สีเทา

นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดการประชุมสัมมนารับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 3 การศึกษาความเหมาะสมโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ช่วงแคราย-ลำสาลี (บึงกุ่ม) ว่า ตามมติคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) ที่เห็นชอบการพัฒนาทั้งระบบรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล และทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ตอน N2 ส่วนเชื่อมต่อถนนวงแหวนรอบนอกฝั่งตะวันออก และส่วนทดแทน N1 เนื่องจากแนวถนนรัตนาธิเบศร์ งามวงศ์วาน และประเสริฐมนูกิจ เพื่อเชื่อมต่อการเดินทางระหว่างพื้นที่ฝั่งตะวันตกกับพื้นที่ฝั่งตะวันออกของถนนวงแหวนรอบนอกได้สมบูรณ์และใช้ประโยชน์เสาตอม่อบนแนวกึ่งกลางถนนประเสริฐมนูกิจ (ถนนเกษตร-นวมินทร์) แล้ว ซึ่ง สนข.จะเร่งสรุปผลเพื่อนำเสนอ คจร.และคณะรัฐมนตรีขออนุมัติโครงการ โดยจะเป็นการร่วมลงทุนเอกชน (PPP) เหมือนสายสีชมพูและสีเหลือง โดยรัฐจะอุดหนุนโครงสร้างพื้นฐานส่วนหนึ่ง

ทั้งนี้ ระหว่างก่อสร้างจะต้องให้มีผลกระทบน้อยที่สุด แต่เนื่องจาก 2 โครงการมีโครงสร้างซ้อนในแนวเส้นทางเดียวกัน จำเป็นต้องวางแผนเพื่อก่อสร้างฐานรากของทางด่วนและรถไฟฟ้าพร้อมกัน โดยระบบทางด่วนจะเปิดใช้บริการได้ในปี 2567 ส่วนรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลจะเปิดใช้บริการได้ในปี 2568

รถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ช่วงแคราย-ลำสาลี (บึงกุ่ม) ระยะทาง 22.3 กม. มีจำนวน 20 สถานี การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) จะเป็นผู้ดำเนินโครงการ มีผลตอบแทนทางการเงิน (FIRR) 4.21% และควรใช้การลงทุน PPP เหมือนสายสีชมพูและสีเหลือง โดยรัฐจะอุดหนุนโครงสร้างพื้นฐานส่วนหนึ่ง คาดว่าปีแรกที่เปิดให้บริการจะมีผู้โดยสาร 218,000 เที่ยวคน/วัน และจะช่วยเพิ่มจำนวนผู้โดยสารให้กับรถไฟฟ้าสายอื่นๆ ที่เชื่อมต่อ รวม 230,000 เที่ยวคน/วัน

การประเมินค่าลงทุนก่อสร้าง รวมกับต้นทุนการบริหารโครงการตลอด 30 ปี คิดตั้งแต่ปี 2561-2597 รวมทั้งสิ้น 112,505 ล้านบาท ประกอบด้วยค่าศึกษาความเป็นไปได้ ค่าออกแบบรายละเอียด 820 ล้านบาท, ค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน 8,336 ล้านบาท ค่าสิ่งปลูกสร้าง 1,182 ล้านบาท, ค่าก่อสร้างงานโยธา 21,948 ล้านบาท ค่าล้อเลื่อนและไฟฟ้าเครื่องกล 28,493 ล้านบาท, ค่าควบคุมการก่อสร้าง 1,440 ล้านบาท, ค่าบริหารจัดการ 38,497 ล้านบาท, ค่าบำรุงรักษา11,451 ล้านบาท, ค่างานด้านสิ่งแวดล้อม 338 ล้านบาท

เบื้องต้นจะมีการเวนคืน 180 หลังคาเรือน พื้นที่ประมาณ 91 ไร่ บริเวณแคราย, บางเขน, แยกเกษตร จุดตัดทางพิเศษฉลองรัช, นวมินทร์, แยกลำสาลี โดยเป็นพื้นที่ตามแนวเส้นทาง 20 ไร่, ทางขึ้น-ลง 25 ไร่, อาคารจอดแล้วจร 2 ไร่ และศูนย์ซ่อมบำรุง 44 ไร่ โดยกำหนดศูนย์ซ่อมบำรุงและอาคารจอดแล้วจรไว้ที่บริเวณถนนเสรีไทย ใกล้สถานีลำสาลี พื้นที่กว่า 40 ไร่ ซึ่งเป็นที่ว่างของเอกชน ต่อมาพบว่าเจ้าของได้ทำสัญญากับกรุงเทพมหานคร (กทม.) เพื่อใช้เป็นเดปโป้ของรถไฟฟ้าสายสีเทาแล้ว จึงได้เจรจาขอใช้พื้นที่ร่วมเพื่อลดการเวนคืนแต่ไม่สามารถตกลงได้ ทำให้ต้องพิจารณาหาพื้นที่ใหม่ซึ่งในบริเวณใกล้เคียง 4-5 กม.พบว่ายังมีที่ว่างขนาดใหญ่อีกที่จะใช้เป็นเดปโป้สายสีน้ำตาล

นอกจากนี้ ยังได้เจรจากับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เพื่อขอใช้พื้นที่จากแยกบางเขนถึงแยกเกษตร เนื่องจากมีทางเท้าแคบ 1.50 เมตร จำเป็นต้องขอใช้พื้นที่ด้านในแนวรั้ว ม.เกษตรฯ เพื่อวางเสารถไฟฟ้าและทางเดิน ซึ่ง ม.เกษตรฯ ยินยอมให้วางเสาตอม่อ ส่วนทางเดินให้ทำเป็น Sky Walk ด้านบน ทำให้ต้องขยายเวลาศึกษาจากสิ้นสุดเดือน มิ.ย. 2561 เป็นเดือน ก.ย. 2561

สำหรับแนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ช่วงแคราย-ลำสาลี (บึงกุ่ม) เริ่มต้นจากแยกแคราย มุ่งหน้าไปทางทิศตะวันออกตามแนวถนนงามวงศ์วาน ผ่านจุดตัดทางพิเศษศรีรัช แยกพงษ์เพชร แยกบางเขน แยกเกษตร ต่อเนื่องไปตามแนวถนนประเสริฐมนูกิจ ผ่านจุดตัดถนนลาดปลาเค้า แยกเสนา จุดตัดถนนสุคนธสวัสดิ์ จุดตัดทางพิเศษฉลองรัช (รามอินทรา-อาจณรงค์) จุดตัดทางหลวง 350 จุดตัดถนนนวมินทร์ แล้วเลี้ยวขวาลงไปทางทิศใต้ตามแนวถนนนวมินทร์ ผ่านแยกโพธิ์แก้ว แยกศรีบูรพา แยกแฮปปี้แลนด์ แยกบางกะปิ ไปสิ้นสุดที่จุดตัดถนนพ่วงศิริและถนนรามคำแหง

ตลอดแนวจะเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้า 7 สาย ดังนี้ สถานีศูนย์ราชการนนทบุรีเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีม่วงและสีชมพู สถานีบางเขนเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีแดง สถานีแยกเกษตรเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีเขียว สถานีฉลองรัชเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีเทา และสถานีลำสาลีเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีเหลือง และสีส้ม

สำหรับทางด่วน ขั้นที่ 3 สายเหนือ แบ่งเป็น 2 ช่วง คือ
1. ช่วง N2 และส่วนต่อขยายไปยังถนนวงแหวนรอบนอกฝั่งตะวันออก ระยะทาง 10.6 กม.
2. ช่วงทดแทน ตอน N1 แนวคลองบางบัว คลองบางเขน และเลียบขนานดอนเมืองโทลล์เวย์ ระยะทาง 6.6 กม. ค่าก่อสร้างประมาณ 2.5 หมื่นล้านบาท การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ผู้ดำเนินโครงการ ผลตอบแทนทางการเงิน (FIRR) 1.61% เวนคืน 35 หลังคาเรือน พื้นที่ 17 ไร่ บริเวณแนวคลองบางบัว บางเขน

สำหรับการประเมินค่าลงทุนก่อสร้าง รวมกับต้นทุนการบริหารโครงการตลอด 30 ปี รวมตั้งแต่ปี 2561-2593 รวมทั้งสิ้น 37,966 ล้านบาท ประกอบด้วย ค่าศึกษาความเป็นไปได้ ค่าออกแบบรายละเอียด 230 ล้านบาท, ค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน 6,270 ล้านบาท ค่าสิ่งปลูกสร้าง 107 ล้านบาท, ค่าก่อสร้างระบบทางด่วน 18,312 ล้านบาท งานเชื่อมมอเตอร์เวย์และงานถนน 4,195 ล้านบาท, ค่าควบคุมการก่อสร้าง 320 ล้านบาท, ค่าบริหารจัดการและบำรุงรักษา 8,282 ล้านบาท, ค่างานด้านสิ่งแวดล้อม 250 ล้านบาท

โครงการทางด่วนจะเป็นการต่อขยายแนวทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ตอน N2 และส่วนต่อขยายไปยังถนนวงแหวนรอบนอกฝั่งตะวันออก เชื่อมต่อทางยกระดับอุตราภิมุข-ทางพิเศษศรีรัช-ถนนวงแหวนรอบนอกฝั่งตะวันตกที่ต่างระดับรัชวิภา เพื่อเป็นการเชื่อมโยงโครงข่ายระบบทางพิเศษระหว่างพื้นที่ด้านตะวันออกและตะวันตกของกรุงเทพมหานคร โดยแนวโครงการจะมีเริ่มต้นจากถนนวงแหวนรอบนอกฝั่งตะวันออกมาตามแนวถนนประเสริฐมนูกิจ ผ่านแนวคลองบางบัว คลองบางเขน แล้วเลียบขนานไปตามแนวถนนวิภาวดีรังสิต จนถึงทางแยกต่างระดับรัชวิภา
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44332
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 25/08/2018 6:58 am    Post subject: Reply with quote

ชงสายสีน้ำตาล5หมื่นล.
โพสต์ทูเดย์ 24 ส.ค. 61 08.15 น.

สนข.เคาะค่าก่อสร้างสายสีน้ำตาล 5 หมื่นล้าน เตรียมชง "สมคิด" ปลายปีนี้ ระบุจีนสนใจรถไฟเชื่อม 3 สนามบิน-ท่าเรือระนอง

นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยความคืบหน้าโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลช่วงแคราย- ลำสาลี ว่า ขณะนี้ได้สรุปรายละเอียดโครงการเรียบร้อยแล้ว และเตรียมเสนอขออนุมัติโครงการจากที่ประชุมคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) ที่มีนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ภายในปลายปีนี้

สำหรับโครงการนี้คาดมูลค่าทางเศรษฐกิจเกิดขึ้น 6.74 แสนล้านบาท จะเริ่มสร้างปี 2563 โดยก่อสร้างร่วมกับทางด่วนสายเหนือตอน N2 โดยทางด่วนคร่อมอยู่ข้างบนโดยใช้ตอม่อเดิม คาดว่าตัวเลขผู้โดยสารในปีแรกจะอยู่ที่ 2.18 แสนคน/วัน

รายงานข่าวจากสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร เปิดเผยว่า โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลเป็นรูปแบบโมโนเรล จึงใช้แนวทางศึกษาคล้ายกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง-ชมพู ซึ่งมีวงเงินลงทุนใกล้เคียงกันราว 5 หมื่นล้านบาท คาดว่าจะเปิดให้เอกชนร่วมลงทุนแบบ PPP Net Cost

นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เมื่อวันที่ 21 ส.ค. 2561 ผู้บริหารจากรัฐวิสาหกิจจีนด้านการรถไฟ 2 บริษัท เข้าพบหารือโดยทั้งสองบริษัทสนใจการร่วมประมูลโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ได้แก่ ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา รวมถึงโครงการท่าเรือน้ำลึกที่ จ.ระนอง

สำหรับการประชุมคณะกรรมการร่วมว่าด้วยการค้า การลงทุน และความร่วมมือทางเศรษฐกิจไทย-จีน (Joint Commission - JC) ครั้งที่ 6 ในวันที่ 24 ส.ค. จะมีคณะนักธุรกิจของจีนเดินทางมาเยือนไทยกว่า 400 บริษัท และเป็นรัฐวิสาหกิจถึง 22 แห่ง ถือเป็นคณะนักธุรกิจที่ใหญ่ที่สุด

นายพิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รมว.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) กล่าวว่า ในการประชุมเจซีไทย-จีน มีกำหนดการลงนามความร่วมมือ (เอ็มโอยู) โครงการลงทุนวางเคเบิลใต้น้ำ เส้นทางศรีราชาฮ่องกง ซึ่งมีข้อสรุปเบื้องต้นคือสองฝ่ายจะลงทุนร่วมกัน โดยงบประมาณฝ่ายไทยอยู่ภายใต้งบพัฒนาศักยภาพโครงสร้าง พื้นฐานดิจิทัล 5,000 ล้านบาท
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42625
Location: NECTEC

PostPosted: 27/08/2018 3:43 pm    Post subject: Reply with quote

ชง พ.ร.บ.ตั๋วร่วมเข้า ครม.สร้างกลไก คุมมาตรฐานและค่าใช้จ่ายระบบขนส่งสาธารณะ
โดย: MGR Online
เผยแพร่: จันทร์ที่ 27 สิงหาคม 2561 เวลา 13:29
ปรับปรุง: จันทร์ที่ 27 สิงหาคม 2561 เวลา 14:34

“คมนาคม” เสนอ พ.ร.บ.ตั๋วร่วมต่อ ครม. เพื่อสร้างกลไกกฎหมาย และมาตรฐานการใช้บริการระบบขนส่งสาธารณะ หวังลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางเชื่อมต่อในแต่ละระบบและหนุน ลดการใช้เงินสดเดินหน้าเข้าสู่สังคมไร้เงินสด Cashless Society ต่อไป

นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าการดำเนินการจัดทำร่าง พ.ร.บ.การบริหารจัดการระบบตั๋วร่วมว่า ขณะนี้กระทรวงคมนาคมได้นำเสนอร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวแล้ว ซึ่งสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้รวบรวมความเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อพระราชบัญญัติดังกล่าว เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการเสนอร่างพระราชบัญญัติการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วมต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อเข้าสู่กระบวนการตามหลักการและแนวทางการจัดทำ และการเสนอร่างกฎหมายตามบทบัญญัติมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

ทั้งนี้ การใช้งานระบบตั๋วร่วมในระบบขนส่งสาธารณะจะเป็นการอำนวยสะดวกแก่ประชาชนผู้ใช้บริการ ซึ่งเป็นการเดินทางที่ประหยัดเวลา ประหยัดค่าเดินทาง และสนับสนุนการลดการใช้เงินสดเพื่อเข้าสู่สังคมไร้เงินสด Cashless Society ตามนโยบายของภาครัฐ

โดยรัฐบาลมีนโยบายให้จัดทำระบบตั๋วร่วม (Mangmoom Card) เพื่อส่งเสริมการใช้ระบบขนส่งมวลชนของประชาชนโดยเฉพาะในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และบรรเทาปัญหาจราจรแออัดในตัวเมือง ทั้งนี้เพื่อบูรณาการระบบตั๋วร่วมได้อย่างสมบูรณ์แบบจะต้องได้รับความร่วมมือจากผู้ประกอบการระบบขนส่งมวลชนในการร่วมให้บริการระบบตั๋วร่วมและการจัดเก็บค่าโดยสาร ซึ่งต้องอาศัยกลไกด้านกฎหมายในการกำหนดกรอบแนวทางการดำเนินงาน โดยร่าง พ.ร.บ.การบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม ประกอบไปด้วยทั้งหมด 6 หมวด ได้แก่ การกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมที่เกี่ยวข้องและขอบเขตความร่วมมือการให้บริการของระบบตั๋วร่วม รวมถึงหลักเกณฑ์การบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม และจัดตั้งกองทุนเพื่อเป็นเครื่องมือในการสนับสนุนและส่งเสริมการใช้ระบบตั๋วร่วมและระบบขนส่งสาธารณะ

ทั้งนี้ การที่มีกฎหมายเกี่ยวกับการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วมจะเป็นการสนับสนุนและส่งเสริมการใช้ระบบตั๋วร่วมและระบบขนส่งสาธารณะ ประชาชนและผู้ใช้บริการจะได้รับความสะดวก รวดเร็ว และได้รับผลประโยชน์จากการลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางเชื่อมต่อระหว่างระบบขนส่งสาธารณะตามอัตราค่าโดยสารร่วมที่กำหนด และยังได้รับสิทธิประโยชน์ในการได้รับส่วนลดค่าเดินทางหรือค่าบริการต่างๆ อีกทั้งผู้ประกอบการระบบขนส่งสาธารณะจะได้รับความสะดวกจากระบบตั๋วร่วมจากการลดการใช้งานตั๋วโดยสารเที่ยวเดียว ลดต้นทุนในการดำเนินการบริหารจัดการบัตรโดยสาร และลดความเสี่ยงจากการทุจริตในการบริหารจัดการ เพื่อการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม อัตราค่าโดยสารร่วม และการเชื่อมต่อระบบกับผู้ประกอบการ เป็นมาตรฐานเดียวกัน

“สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร ดำเนินการจัดทำร่างพระราชบัญญัติการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม ซึ่งการดำเนินงานและการบังคับใช้ข้อกำหนดหลักเกณฑ์ และมาตรฐานตั๋วร่วมต่างๆ จะเกี่ยวข้องกับระบบการขนส่งทุกสาขา ทั้งผู้ประกอบการภาครัฐและภาคเอกชน รวมทั้งการบริหารจัดการบัตรโดยสารร่วมให้สามารถใช้บริการนอกภาคการขนส่ง” นายชัยวัฒน์กล่าว
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 183, 184, 185 ... 277, 278, 279  Next
Page 184 of 279

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©