Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311235
ทั่วไป:13181360
ทั้งหมด:13492595
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - คุณคิดเห็นอย่างไรกับการผลักดันจัดตั้ง กระทรวงรถไฟ
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

คุณคิดเห็นอย่างไรกับการผลักดันจัดตั้ง กระทรวงรถไฟ
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 10, 11, 12, 13  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42628
Location: NECTEC

PostPosted: 13/11/2017 10:34 pm    Post subject: Reply with quote

สหภาพรถไฟฯ'ยื่น3ข้อเรียกร้องหวั่นถูกสอดไส้แปรรูป
กรุงเทพ ธุรกิจ

13 พฤศจิกายน 2560
"สหภาพการรถไฟฯ" ยื่น 3 ข้อเรียกร้องถึง "รมว.คมนาคม" ขอชะลอกฎหมายตั้งกรมราง - บริษัทลูกเดินรถและบำรุงรักษา หวั่นสุดท้ายถูกสอดไส้แปรรูปองค์กร


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลาประมาณ 11.00 น. วันนี้ (13 พ.ย.) ตัวแทนสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งประเทศไทย (สร.รฟท.) เดินทางมายื่นหนังสือถึงนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เพื่อขอให้ทบทวนมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 27 ธ.ค. 2559 ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.)
ข้อความในหนังสือระบุว่า ด้วยนโยบายของรัฐบาลปัจจุบันที่ได้ให้ความสำคัญกับระบบการขนส่งทางรางถือได้ว่าเป็นประโยชน์อย่างมากต่อประเทศชาติและประชาชนทั้งในวันนี้และอนาคต แต่จากมติ ครม. เมื่อวันที่ 27 ธ.ค. 2559 ทำให้เกิดข้อกังวลต่อสหภาพการรถไฟฯ พนักงานการรถไฟฯ และประชาชน ว่านโยบายที่เริ่มต้นได้ดี ที่สุดแล้วจะกลับกลายเป็นการแปรรูปการรถไฟฯ
ด้วยการที่ ครม. ได้มีมติ ผ่าน ร่าง พ.ร.บ.การขนส่งทางราง พ.ศ.....รวมทั้งจะให้มีการแก้ไข พ.ร.บ.การรถไฟฯ พ.ศ.2494 โดยได้สอดแทรกเรื่องให้การรถไฟฯ จัดตั้งบริษัทลูกอีก 3 บริษัท คือ บริษัทบริหารทรัพย์สิน ให้แล้วเสร็จในปี 2563, บริษัทเดินรถ บริษัทซ่อมบำรุงรางและล้อเลื่อนให้แล้วเสร็จในปี 2567 ซึ่งพอดีกับโครงการก่อสร้างทางคู่ เสร็จทันเวลาพอดี จึงเป็นเหตุอันสงสัยได้ว่า เป็นการเตรียมความพร้อมให้กลุ่มทุนเอกชนที่จะเข้ามาทำหน้าที่แทนการรถไฟฯ หรือไม่
เมื่อพิจารณาในรายละเอียดของร่าง พ.ร.บ.การขนส่งทางรางพ.ศ... ที่ผ่านความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 27 ธ.ค. 2559 ยังมีบางหมวด บางมาตรา ที่มีความหมายมากกว่าการกำกับดูแล(Regulator) และยังมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนการดำเนินการโดยรัฐให้เป็นเอกชน ซึ่งก็คือการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ
ด้วยความกังวลและห่วงใยต่อแนวทางการปฏิรูปการรถไฟฯของรัฐบาลด้วยการทุ่มงบประมาณการลงทุนอย่างมหาศาล ที่สุดแล้วจะเป็นการแปรรูปการรถไฟฯ อย่างที่กล่าวมา
สหภาพการรถไฟฯ จึงมีข้อเสนอต่อรัฐบาลรวม 3 ข้อ ดังนี้
1.ในเรื่องของการออก ร่าง พ.ร.บ.การขนส่งทางราง พ.ศ.....ขอเสนอให้รัฐบาลชะลอกระบวนการไว้ก่อน แล้วนำกลับเข้ามาให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องพิจารณาทบทวนอีกครั้งโดยให้มีกระบวนการในการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วนตามรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มาตรา 77
2. ในเรื่องการจัดตั้งบริษัทบริหารทรัพย์สิน แม้ว่าสหภาพการรถไฟฯ จะเห็นด้วยในหลักการแต่จะพิจารณาและศึกษารายละเอียดในเรื่องของรายได้จะต้องนำเข้ามาสู่การรถไฟฯเพื่อนำมาพัฒนากิจการรถไฟฯ
3.ในเรื่องการจัดตั้งบริษัทลูกการรถไฟฯ 2 บริษัท คือบริษัทเดินรถและบริษัทซ่อมบำรุงรางและล้อเลื่อน หลังจากได้ศึกษาวิเคราะห์อย่างรอบด้านแล้วทาง สหภาพการรถไฟฯ ไม่เห็นด้วยเพราะไม่เกิดผลดีแต่ประการใดต่อการรถไฟฯ และจะเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาการรถไฟฯในอนาคตจึงขอให้รัฐบาลทบทวนและยุติการดำเนินการ

//----------------

สหภาพรถไฟฯค้านตั้งบริษัทลูก

เดลินิวส์ออนไลน์ วันจันทร์ที่ 13 พฤศจิกายน 2560 เวลา 19.11 น.

สหภาพรถไฟฯค้านตั้งบริษัทลูกหวั่นแปรรูปองค์กรยกสมบัตินับแสนล้านให้เอกชน-เผยรฟท.รับภาระต้นทุนหลังแอ่น คาดค่าโดยสารพุ่ง 400% หากเอกชนเข้ามาบริหาร

นายสุภวัฒน์ รัตนคชา รองประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการรถไฟแห่งประเทศไทย (สร.รฟท.) เปิดเผยว่า ตามที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบพ.ร.บ.การขนส่งทางราง พ.ศ.... ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของกฤษฎีกาเพื่อออกกฎหมาย พ.ร.บ. บังคับใช้ต่อไปนั้น ทาง สร.รฟท. มองว่าขั้นตอนของการออก พ.ร.บ. ดังกล่าวนำไปสู่การแปรรูปรัฐวิสาหกิจการรถไฟ เนื่องจากมีการเปิดช่องให้ รฟท. ก่อตั้งบริษัทลูก 3 แห่งได้แก่ บริษัทบริหารทรัพย์สิน บริษัทเดินรถและบริษัทซ่อมบำรุงรางและล้อเลื่อน อีกทั้งในบางมาตรายังมีทิศทางสนับสนุนเปลี่ยนแปลงผู้บริหารจากรัฐมาเป็นเอกชน นอกจากนี้ สร.รฟท. ยังตั้งข้อสังเกตว่าการออก พ.ร.บ. ดังกล่าวเปรียบเสมือนเป็นการที่ภาครัฐลงทุนสร้างโครงการรถไฟทางคู่หลายแสนล้านบาทแล้วยกให้เอกชนไปดูแลหาผลประโยชน์ผ่านบริษัทลูกทั้ง 3 แห่ง โดยก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 21 ก.ย. ที่ผ่านมา สร.รฟท. ได้เข้ายื่นหนังสือต่อนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว. คมนาคมเพื่อขอให้ยุติขั้นตอนการออก พ.ร.บ. ขนส่งทางรางเพราะยังไม่ได้ผ่านกระบวนการเปิดให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้เสนอความคิดเห็นและผลกระทบต่อพนักงานรถไฟและประชาชนในอนาคต
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42628
Location: NECTEC

PostPosted: 12/03/2018 11:14 am    Post subject: Reply with quote

ชู 10 มาตรฐานระบบราง ดันโครงสร้างพื้นฐานไทย
ศุกร์ที่ 9 มีนาคม 2561 เวลา 14.52 น.
สนข. จับมือ วสท. ชู 10 มาตรฐานระบบราง ดันโครงสร้างพื้นฐานไทย ขึ้นชั้นอาเซียน เทียบสิงคโปร์ ลั่นกรมขนส่งทางรางตั้งเสร็จภายในปีนี้


เมื่อเวลา 13.30 น.วันที่ 9 มี.ค. ที่วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย (วสท.) นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ร่วมกับนายธเนศ วีระศิริ นายกวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย (วสท.) ร่วมลงนามความร่วมมือทางวิชาการและวิชาชีพวิศวกรรมระบบขนส่งทางราง โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างมาตรฐานระบบขนส่งทางรางให้มีความปลอดภัย เพื่อดันประเทศไทยเป็นศูนย์กลาง (HUB) ระบบรางของอาเซียนและเพื่อเตรียมความพร้อมเป็นเจ้าภาพจัดงานสัมมนา Asean Rail Standardization ครั้งที่ 2 ในงานวิศวกรรมแห่งชาติ 61

นายชัยวัฒน์ เปิดเผยว่า โครงการศึกษาและจัดทำคู่มือออกแบบ ก่อสร้างและบำรุงรักษางานโครงสร้างทางรถไฟ และมาตรฐานโครงสร้างทางรถไฟ แบ่งออกเป็น 10 มาตรฐาน ได้แก่มาตรฐานการแบ่งประเภททางรถไฟ,มาตรฐานเขตโครงสร้างทางรถไฟ,มาตรฐานการออกแบบและวางแนวเส้นทาง,มาตรฐานการออกแบบทางรถไฟแบบมีหินโรยทาง,มาตรฐานการออกแบบทางรถไฟแบบไม่มีหินโรยทาง,มาตรฐานรางเชื่อมยาว,มาตรฐานองค์ประกอบแบบทางรถไฟ,มาตรฐานองค์ประกอบทางรถไฟ,มาตรฐานตำแหน่งเปลี่ยนผ่านบนทางรถไฟ,มาตรฐานความปลอดรถไฟและมาตรฐานระบบระบายน้ำบนทางรถไฟ ซึ่งมาตรฐานดังกล่าวจะสามารถพัฒนาระบบขนส่งทางรางของประเทศไทย



นายชัยวัฒน์ กล่าวต่อว่า โดยหลังจากนี้จะมอบคู่มือมาตรฐานส่งต่อให้กับทาง วสท. เพื่อนำไปฝึกอบรมต่อวิศวกรระบบรางต่อไป ระหว่างที่รอการก่อตั้งกรมการขนส่งทางราง ที่ขณะนี้ยังอยู่ระหว่างการพิจารณาเรื่องพระราชบัญญัติการขนส่งทางรางโดยคณะกรรมการกฤษฎีกาเพราะมีเรื่องของเทคนิคและรายละเอียดที่สูงมาก ทำให้กระบวนการพิจารณาในช่วงที่ผ่านมาจึงล่าช้ากว่าแผนที่ตั้งไว้แต่ทาง สนข. ตั้งเป้าว่า ตัวพระราชบัญญัติจะต้องพิจารณาแล้วเสร็จภายในปีนี้เพื่อให้กรมการขนส่งทางรางสามารถเริ่มทำงานได้จริงภายในปลายปีนี้ ซึ่งหน้าที่ของกรมฯ จะมีทั้งการกำกับและดูแลการก่อสร้างระบบราง การเผยแพร่ข้อมูลทาตรฐานระบบราง การตรวจสอบมาตรฐานและการประเมินผล  ซึ่งต่อไปในอนาคตจะเป็นมาตรฐานระดับอาเซียนได้ เพราะจะต้องมีการก่อสร้างระบบรางเชื่อมต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ลาว เวียดนาม เป็นต้น

ด้าน ผศ.ดร.รัฐภูมิ ปริชาตปรีชา ประธานคณะกรรมการระบบราง (วสท.) กล่าวว่าจากแผนการลงทุนของประเทศไทยในโครงสร้างพื้นฐานระบบรางปี 2561-2583 รวม 23 โครงการ งบประมาณการก่อสร้าง 2.5 ล้านล้านบาท นั้นจะเห็นได้ว่า งบประมาณการลงทุนไม่แตกต่างการลงทุนในภูมิภาคอาเซียนที่มีการวางแผนการลงทุนรางรวมกันถึง 6 ล้านล้านบาท เช่น มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย เป็นต้น ซึ่งได้มีการตั้งเป้าที่จะเพิ่มประสิทธิภาพด้านการคมนาคมขนส่งของประเทศให้มีความสามารถในการแข่งขันที่สูงและสามารถเชื่อมต่อกับภูมิภาคด้วยระบบรางที่ยังขาดช่วง (Missing link) และในแต่ละประเทศต่างๆได้ ด้วย โดยคาดว่าในอีก 3-4 ปีข้างหน้า หากระบบขนส่งมวลชนภายในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดครอบคุมมากยิ่งขึ้น จะส่งผลไทยถูกจัดอันดับโครงสร้างพื้นฐานระดับรางเทียบเท่าสิงคโปร์ในด้านการเชื่อมต่อการเดินทาง ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42628
Location: NECTEC

PostPosted: 09/08/2018 12:21 pm    Post subject: Reply with quote

ยื่นเรื่องให้ สนช. จัดตั้งกรมรางเสียที
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=2502296823117701&set=a.213819491965457.68088.100000122231436&type=3&theater
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42628
Location: NECTEC

PostPosted: 28/09/2018 10:10 am    Post subject: Reply with quote

“อาคม”ยันเดินหน้ากรมรางเร่งเสนอเพิ่มกรอบอัตรากำลังคนรฟท.
27 กันยายน 2561


สหภาพรฟท.บุกคมนาคมจี้ปลดล็อกมติครม.ขอเพิ่มคนรฟท.ให้ได้ 19,241 อัตรา พร้อมสอบถามความชัดเจนการตั้งกรมราง ด้าน “อาคม” เผยเตรียมส่งเรื่องเสนอหน่วยงานเกี่ยวข้องกลั่นกรองก่อนชงครม.เร็วที่สุด

แหล่งข่าวระดับสูงการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) เผยว่าเมื่อวันที่ 26 กันยายน 2561 สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งประเทศไทย(สร.รฟท.) นำโดยนายภิญโญ เรือนเพ็ชร รองประธาน สร.รฟท. และคณะได้เข้าพบนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเพื่อติดตามความคืบหน้า และเร่งรัดกรณีการขอยกเว้นมาตรการด้านบุคลากร ตามมติคณะรัฐมนตรี(ครม.) เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2541 เพื่อขอให้การรถไฟฯสามารถรับพนักงานได้ในกรอบอัตรากำลัง 19,241 อัตรา (พนักงาน 16,660 อัตรา และลูกจ้าง 2,581)




โดยผลการเข้าพบหารือมีรายละเอียดดังนี้ คือ เรื่องที่ 1 กรณีการขอยกเว้นมาตรการด้านบุคลากร ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2541 เพื่อขอให้การรถไฟฯสามารถรับพนักงานได้ในกรอบอัตรากำลัง 19,241 อัตรา (พนักงาน 16,660 อัตรา และลูกจ้าง 2,581 อัตรา) หลังจากที่กระทรวงคมนาคมได้มีหนังสือที่ คค.0206/กบท.1676 ลงวันที่ 21 มิถุนายน 2561 เรื่อง ขอให้เพิ่มเติมข้อมูล เรื่องขอยกเว้นมาตรการด้านบุคลากรตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2541 เพื่อขอให้การรถไฟฯสามารถรับพนักงานได้ในกรอบอัตรากำลัง 19,241 อัตรา (พนักงาน 16,660 อัตรา และลูกจ้าง 2,581) ซึ่งมีข้อสังเกต 5 ข้อ เพื่อให้การรถไฟฯจัดทำข้อมูลตามข้อสังเกตของกระทรวงคมนาคม

“การรถไฟฯได้มีหนังสือที่ รฟ.1/2423/2561 ลงวันที่ 3 สิงหาคม 2561 ตอบชี้แจงข้อมูลเพิ่มเติมไปยังปลัดกระทรวงคมนาคม ซึ่งทางรัฐมนตรีแจ้งว่ารายละเอียดข้อมูลที่ทางการรถไฟฯตอบมาเพิ่มเติมนั้น มีรายละเอียดครบถ้วนเพียงพอแล้ว ขั้นตอนต่อไปก่อนที่จะนำเสนอเข้าสู่การพิจารณา ครม. ทางกระทรวงจะนำเสนอหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณากลั่นกรอง หลังจากนั้นจะรีบนำเสนอให้ ครม.โดยเร็วที่สุด”




ในส่วนเรื่องที่ 2 นั้น ทาง สร.รฟท.ได้สอบถามความเรื่องของร่างพระราชบัญญัติการขนส่งทางราง พ.ศ. ... และการจัดตั้งกรมขนส่งทางราง ทางรัฐมนตรีชี้แจงว่าในส่วนของร่างพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่...) พ.ศ....ที่เกี่ยวข้องกับการจัดตั้งกรมขนส่งทางราง ในกระบวนการนี้จะดำเนินการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.นี้ให้แล้วเสร็จในเดือนตุลาคม 2561 เพื่อให้มีหน่วยงานที่ทำหน้าที่กำกับดูแลด้านการขนส่งทางราง

แหล่งข่าวกล่าวอีกว่าในส่วนของร่างพระราชบัญญัติการขนส่งทางราง พ.ศ. ... ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกาคณะที่ 4 ทำการตรวจ แก้ไขร่าง ซึ่งยังมีรายละเอียดหลายอย่างที่ยังมีปัญหาที่ต้องปรับปรุงแก้ไข

“โดยในเรื่องนี้ทาง สร.รฟท.มีความเห็นว่าในเนื้อหาของร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ ยังไม่มีความชัดเจนในเรื่องของอำนาจขอบเขตของการทำหน้าที่กำกับดูแล(Regulator) ไม่เป็นไปตามหลักการและเหตุผล เช่น การเข้าไปบริหารทรัพย์สินที่เป็นของการรถไฟฯ การออกใบอนุญาตต่างๆ และเรื่องของการให้เอกชนเข้ามาเป็นผู้ประกอบกิจการขนส่งทางราง ซึ่งทาง สร.รฟท.ยังไม่เห็นด้วยในเนื้อหาของ พ.ร.บ.ฉบับนี้ โดยทางรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้รับข้อเสนอของทาง สร.รฟท.เพื่อนำเสนอข้อมูลต่อคณะกรรมการกฤษฎีกาคณะที่ 4 ต่อไป”
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42628
Location: NECTEC

PostPosted: 11/10/2018 10:27 am    Post subject: Reply with quote

มติ 'สมาพันธ์คนงานรถไฟ' คัดค้าน ร่าง พ.ร.บ.การขนส่งทางราง
6 ตุลาคม 2561
'สมาพันธ์คนงานรถไฟ' ชี้จุดมุ่งหมาย 'ร่าง พ.ร.บ.การขนส่งทางราง' คือฮุบโครงสร้างการขนส่งทางราง เพื่อให้เอกชนเข้ามาเป็นผู้ประกอบการแสวงหากำไร และนำไปสู่การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ทำให้ประชาชนผู้ใช้บริการเดือดร้อน

เมื่อวันที่ 4 ต.ค. 2561 สมาพันธ์คนงานรถไฟ (สพ.รฟ.) นำโดยนายสุวิช ศุมานนท์ ประธานสมาพันธ์คนงานรถไฟ ได้จัดประชุมระดมสมองเพื่อชำแหละร่าง พ.ร.บ.การขนส่งทางราง พ.ศ. ..... ที่อยู่ระหว่างการพิจารณาแก้ไขของคณะกรรมการกฤษฎีกา คณะที่ 4 (ฉบับแก้ไข 21 ก.ย. 2561) โดยสมาพันธ์คนงานรถไฟ ได้เกิดขึ้นจากการรวมตัวขององค์กรคนงานรถไฟ ทั้งที่อยู่ในระบบรถไฟทั่วไปและระบบรถไฟฟ้า ซึ่งประกอบไปด้วยสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งประเทศไทย (สร.รฟท.) สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟฟ้า (สร.รฟฟ.) สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (สร.รฟม.) ทั้งที่เป็นพนักงานปัจจุบัน อดีตผู้ที่ปฏิบัติงานในกิจการรถไฟฯ รวมทั้งครอบครัว โดยมีเป้าประสงค์เพื่อปกป้องกิจการของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) และระบบการขนส่งทางรางของรัฐ คือรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และ บริษัทรถไฟฟ้า รฟท.จำกัด (รฟฟ.) ให้มีความสำคัญในการทำหน้าที่โดยรัฐ เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงการบริการที่เป็นธรรม รวมทั้งจะปกป้องระบบการขนส่งทางรางของรัฐ ให้เป็นเสาหลักทางด้านการขนส่งของประเทศเพื่อความมั่นคง ยั่งยืน ของประเทศ

สมาพันธ์คนงานรถไฟระบุว่าจากการวิเคราะห์ ร่าง พ.ร.บ.การขนส่งทางราง พ.ศ. ..... (ฉบับแก้ไข 21 ก.ย. 2561) อย่างละเอียดแล้วนั้น ที่ประชุมมีมติร่วมกันไม่เห็นด้วยกับร่างพระราชบัญญัติฯฉบับนี้ เพราะมีเนื้อหาขัดกับหลักการและเหตุผลในการทำหน้าที่ในการกำกับดูแล(Regulator) ทำให้เกิดความซ้ำซ้อนในการทำหน้าที่เป็นผู้ประกอบกิจการขนส่งทางราง (Operator) และมีการเอื้อประโยชน์ให้สัมปทานกับเอกชนในการเข้ามาแสวงหาผลประโยชน์ในทรัพย์สินของรัฐ ทำให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อน และสุดท้ายนำไปสู่การแปรรูปรัฐวิสาหกิจอย่างแน่นอน

สำหรับในการขับเคลื่อนเพื่อสร้างความรับรู้ ความเข้าใจให่แก่พนักงานที่เกี่ยวข้อง เครือข่ายสหภาพแรงงาน และเครือข่ายประชาสังคม เพื่อให้ทราบและร่วมกันแสวงหาแนวทางในการหยุดยั้งร่าง พรบ.การขนส่งทางราง พ.ศ..... เพื่อปกป้องระบยการขนส่งทางรางของรัฐให้มีความมั่นคง และยั่งยืน เป็นระบบการขนส่งหลักของประเทศเพื่อประโยชน์สูงสุดของประเทศชาติ และประชาชน

การขับเคลื่อน รวมทั้งกิจกรรมต่างๆ สพ.รฟ.และสหภาพแรงงานที่เกี่ยวข้องจะรายงานให้สมาชิก พนักงาน ประชาชนทราบและเมื่อมีกิจกรรมต่างๆ ขอให้สมาชิก พนักงาน และครอบครัวเข้าร่วมกิจกรรมและช่วยกันกระจายข้อมูลข่าวสารผ่านช่องทางต่างๆ ที่ทุกคนมีอยู่แล้วทางสื่อออนไลน์ทั้งหลาย ภายใต้การรณรงค์ "ปกป้องระบบการขนส่งทางราง ร่วมหยุดยั้ง ร่าง พ.ร.บ.การขนส่งทางราง พ.ศ...."
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42628
Location: NECTEC

PostPosted: 29/11/2018 2:36 am    Post subject: Reply with quote

วสท.จี้ 'บิ๊กตู่' ตั้ง 'กรมราง' รองรับกรุงเทพฯพลิกโฉมเป็นมหานครระบบราง
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 28 พฤศจิกายน 2561 01:42
ปรับปรุง: 28 พฤศจิกายน 2561 21:42


“ประธานวิศวกรรมระบบราง” แจงรัฐบาลบิ๊กตู่ควรเร่งตั้ง “กรมราง” เพื่อดูแลการขนส่งสาธารณะระบบราง ก่อนโครงข่ายรถไฟฟ้ากรุงเทพฯ-ปริมณฑล จะแล้วเสร็จในอีก 5 ปีข้างหน้า ซึ่งจะพลิกโฉม กทม.เป็นมหานครระบบราง พร้อมจัดสรรงบลงทุนค่าก่อสร้างและซ่อมแซมเช่นเดียวกับการสร้างถนนของกรมทางหลวง ชี้หากปล่อยเป็นหน้าที่เอกชนทั้งหมด ภาระค่าโดยสารแพงจะตกอยู่กับประชาชน

ปัจจุบันการเดินทางด้วย “รถไฟฟ้า” หรือที่เรียกว่าการขนส่งสาธารณะระบบราง เข้ามามีบทบาทสำคัญต่อชีวิตคนเมืองอย่างมาก เนื่องจากช่วยให้การเดินทางเป็นไปด้วยความสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น ช่วยลดมลภาวะที่เกิดจากการขับเคลื่อนรถยนต์หรือรถโดยสารสาธารณะ ทำให้คนเมืองมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น อีกทั้งการเติบโตของการขนส่งระบบรางยังมีส่วนสำคัญในการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างเห็นได้ชัด


ที่น่าสนใจอย่างยิ่งคือในอีก 5 ปีข้างหน้า ระบบรางจะสามารถเชื่อมโยงโครงข่ายการเดินทางระหว่างกรุงเทพฯกับชานเมืองเข้าด้วยกันอย่างสมบูรณ์ซึ่งจะทำให้กรุงเทพฯกลายเป็นมหานครแห่งระบบรางที่จะพลิกโฉมการคมนาคมและกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจให้เฟื่องฟูไม่แพ้เมืองใหญ่ในหลายๆ ประเทศ ซึ่งแน่นอนว่าภาครัฐก็ต้องเตรียมพร้อมรับมือกับความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเช่นกัน

ผศ.ดร.รัฐภูมิ ปริชาตปรีชา ประธานวิศวกรรมระบบราง วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย มองว่าที่ผ่านมากระทรวงคมนาคมก็ได้เร่งพัฒนาระบบรางเพื่อขยายโครงข่ายเส้นทางให้เชื่อมโยงครอบคลุมทั้งกรุงเทพฯและปริมณฑล โดยช่วง 4 ปีของการบริหารงานภายใต้รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา (2558-2561) ได้มีการอนุมัติโครงการระบบรางทั้งสิ้น 13 โครงการ วงเงินรวม 916,779 ล้านบาท อีกทั้งได้วางเป้าหมายว่าภายในปี 2566 หรือในอีก 5 ปีข้างหน้า จะดำเนินการพัฒนาโครงข่ายรถไฟฟ้าตามแผนแม่บทระยะที่ 1 (M-Map1) ให้สำเร็จ ซึ่งจะส่งผลให้มีเส้นทางรถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลมีความยาวรวมกันถึง 464 กิโลเมตร ขึ้นแท่นเป็นเมืองที่มีโครงข่ายรถไฟฟ้ายาวเป็นอันดับ 3 ของโลก รองจากเซี่ยงไฮ้ ที่มีเส้นทางยาวอันดับ 1 คือ 588 กิโลเมตร และโซล ที่มีเส้นทางยาวเป็นอันดับ 2 คือ 508 กิโลเมตร

ดังนั้นจะเป็นการพลิกโฉมการเดินทางและเปลี่ยนเมืองกรุงเทพฯ ให้เป็นมหานครแห่งระบบรางอย่างเต็มรูปแบบ



“ในปี 2566 เมื่อเปิดให้บริการรถไฟฟ้าครบทุกเส้นทาง สามารถเชื่อมต่อการเดินทางระบบรางระหว่างกรุงเทพฯและปริมณฑลเข้าด้วยกันอย่างสมบูรณ์ ประชาชนจะหันมาใช้บริการระบบรางมากขึ้น แทนที่จะใช้รถยนต์ส่วนตัวหรือใช้บริการรถโดยสารสาธารณะ อย่างรถเมล์ หรือรถตู้ สัดส่วนผู้ใช้รถไฟฟ้าจะเพิ่มจากปัจจุบันประมาณ 1 ล้านเที่ยวคน/วัน เป็น 5 ล้านเที่ยวคน/วัน ซึ่งจะช่วยให้ปัญหาการจราจรแออัดลดน้อยลง ปัญหามลพิษทางอากาศก็จะลดลงตามไปด้วย คนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑลจะมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น” ผศ.ดร.รัฐภูมิ ระบุ

แต่สิ่งที่เกิดตามมาก็คือประชาชนจะต้องแบกภาระค่าใช้จ่ายในการเดินที่สูงขึ้น ซึ่งตรงนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรพิจารณากำหนดอัตราค่าโดยสารที่เหมาะสมเพื่อไม่ให้ประชาชนต้องแบกรับภาระมากเกินไป

จากข้อมูลพบว่าเพื่อให้โครงข่ายรถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ครอบคลุมตามแผนแม่บท กระทรวงคมนาคมได้มีแผนที่จะผลักดันให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติโครงการรถไฟฟ้าอีก 4 โครงการ วงเงินรวม 144,700 ล้านบาท ประกอบด้วย โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตก (ศูนย์วัฒนธรรมฯ-บางขุนนนท์) ระยะทาง 13.4 กิโลเมตร, โครงการรถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม รังสิต-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ระยะทาง 8.9 กิโลเมตร ซึ่งจะเชื่อมโซนเหนือของกรุงเทพฯกับจังหวัดปทุมธานีเข้าด้วยกัน โครงการรถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อน ตลิ่งชัน-ศาลายา และช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช ระยะทางรวม 19.5 กิโลเมตร ให้แล้วเสร็จภายในรัฐบาลชุดนี้



ขณะเดียวกันโครงการที่กำลังก่อสร้างก็มีความรุดหน้าไปมาก ทั้งรถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม บางซื่อ-รังสิต สายสีเขียวเหนือ หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต สายสีส้มศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี รวมถึงสายสีเหลือง ลาดพร้าว-สำโรง และสายสีชมพู แคราย-มีนบุรี ส่วนโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวใต้ แบริ่ง-สมุทรปราการ ที่เข้าสู่กระบวนการทดสอบระบบอาณัติสัญญาณแล้วนั้น ทางบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอส ผู้รับจ้างเดินรถ มีความพร้อมที่จะเปิดให้บริการในเดือนธันวาคม 2561 ได้ตามสัญญาจ้างเดินรถ ไม่ว่าภาครัฐจะตกลงกันในเรื่องของการโอนสิทธิความเป็นเจ้าของโครงการได้หรือไม่ก็ตาม ส่วนสายสีน้ำเงินช่วงหัวลำโพง-บางแค และบางซื่อ-ท่าพระ พร้อมที่จะเปิดให้บริการภายในปี 2562

อีกทั้งจะเกิดการเปลี่ยนแปลงศูนย์กลางการเดินทางจากหัวลำโพงมาที่สถานีกลางบางซื่อแทน โดยสถานีรถไฟหัวลำโพง ซึ่งมีพื้นที่รวมกว่า 120 ไร่ จะถูกปรับเป็นพิพิธภัณฑ์รถไฟ ซึ่งขณะนี้การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) และสำนักงานเศรษฐกิจและวัฒนธรรมไทเปประจำประเทศไทย (TECO) ร่วมกันศึกษาออกแบบรายละเอียดอยู่

ขณะที่ “สถานีกลางบางซื่อ” จะเป็นจุดเริ่มต้นของการเดินทางด้วยระบบรางยุคใหม่ ที่สามารถเชื่อมต่อการเดินทางได้กับรถไฟฟ้า 5 เส้นทาง เชื่อมโยงการเดินทางจากในกรุงเทพฯ ไปสู่ต่างจังหวัด รวมถึงโครงข่ายกับประเทศเพื่อนบ้านด้วย พร้อมกับจะมีการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีกลางบางซื่อเป็น Smart City ซึ่งจะกลายเป็นศูนย์กลางธุรกิจใหม่ รวมถึงพัฒนาพื้นที่มักกะสัน ขนาด 150 ไร่ ควบคู่ไปกับการดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ซึ่งจะเป็นอีกหนึ่งศูนย์กลางการเชื่อมโยงการเดินทางของประชาชน นักธุรกิจ และนักท่องเที่ยว ไปยังระบบขนส่งมวลชนอื่นๆ รวมถึงเชื่อมโยงการเดินทางไปยังเขตพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกด้วย



อย่างไรก็ดี ผศ.ดร.รัฐภูมิ ได้แสดงความวิตกว่า ขณะที่การเดินทางด้วยระบบรางเติบโตอย่างรวดเร็ว ทั้งโครงการรถไฟฟ้าที่เชื่อมระหว่างกรุงเทพฯกับปริมณฑล รถไฟฟ้าเชื่อม 3 สนามบิน และรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-หนองคายที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ แต่ปัจจุบันกลับไม่มีหน่วยงานที่จะรับผิดชอบการดำเนินโครงการ ดูแลการเดินรถ การซ่อมแซมระบบราง ตลอดจนการพัฒนาพื้นที่รอบโครงการโดยตรง ดังนั้นรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ควรจะรีบจัดตั้ง “กรมการขนส่งทางราง” ขึ้นมากำกับดูแล เช่นเดียวกับที่หลายๆ ประเทศดำเนินการอยู่ในขณะนี้

และเนื่องจากในอนาคตการเดินระบบรางจะเข้ามามีบทบาทอย่างมาก ภาครัฐจึงควรจัดสรรงบประมาณเพื่อมาใช้ในการก่อสร้างและซ่อมแซมระบบรางเช่นเดียวกับการจัดสรรงบที่ใช้ในการก่อสร้างและซ่อมแซมถนนของกรมทางหลวง แทนที่จะให้เอกชนแบกรับภาระฝ่ายเดียว เพราะหากเอกชนเป็นผู้ลงทุนทั้งหมดจะส่งผลให้ค่าโดยสารรถไฟฟ้าอยู่ในอัตราที่สูงเกินไป ซึ่งจะทำให้ประชาชนที่ใช้บริการเดือดร้อน และอาจส่งผลต่อจำนวนผู้ใช้บริการในที่สุด

“ที่ผ่านมารถไฟฟ้ามีปัญหาทั้งในเรื่องของการกำหนดราคาค่าโดยสาร ปัญหาความล่าช้าของขบวนรถอันเนื่องมาจากระบบขัดข้องทำให้มีผู้โดยสารตกค้างเป็นจำนวนมากซึ่งเกิดขึ้นบ่อยครั้งในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา หรือกระทั่งการกำหนดเส้นทางเดินรถและจุดเชื่อมต่อระหว่างเส้นทางของผู้ประกอบการต่างค่ายซึ่งบางครั้งไม่สอดคล้องกับความต้องการของผู้โดยสาร เนื่องจากไม่มีหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงจึงไม่มีใครเข้ามาแก้ไข ในกรณีที่เอกชนตกลงกันไม่ได้ก็ไม่มีใครเข้ามาตัดสินหรือไกล่เกลี่ย ยิ่งในอีก 5 ปีข้างหน้าซึ่งโครงข่ายเส้นทางต่างๆ จะแล้วเสร็จก็มีปัญหาที่ต้องจัดการมากขึ้น ดังนั้นรัฐบาลจึงควรเร่งจัดตั้งกรมรางและสรรหาบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับระบบรางเข้ามาดูแลโดยตรง” ผศ.ดร.รัฐภูมิ ระบุ



ประธานวิศวกรรมระบบราง บอกถึงแนวคิดในการจัดเก็บภาษีจากเจ้าของที่ดินและเจ้าของอาคารที่ได้รับประโยชน์จากมูลค่าทรัพย์สินที่เพิ่มขึ้นจากการพัฒนาโครงข่ายรถไฟฟ้า ซึ่งคาดว่าจะทำให้ราคาที่ดินโดยรอบเพิ่มขึ้นถึง 5-10 เท่าตัว ซึ่งการเรียกเก็บภาษีจากผู้ประกอบการเชิงพาณิชย์ เช่น เจ้าของที่ดิน ห้องชุด อาคารพาณิชย์ มูลค่าเกิน 50 ล้านบาทขึ้นไป และผู้ประกอบธุรกิจในการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ คอนโดมิเนียม บ้านจัดสรรรอการจำหน่าย ที่ตั้งอยู่รอบพื้นที่ก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูงในรัศมี 5 กิโลเมตร ซึ่งส่วนใหญ่โครงการเหล่านี้มักเข้าไปกว้านซื้อที่ดินเพื่อเก็งกำไรในการทำธุรกิจ จึงควรแบ่งสรรรายได้ส่วนหนึ่งจ่ายเป็นภาษีเพื่อรัฐจะได้นำไปใช้ในการพัฒนาต่อไป

ถึงแม้ว่าการเดินทางด้วยรถไฟฟ้าจะช่วยให้ประชาชนได้รับความสะดวกสบายมากขึ้น แต่หากบริหารจัดการไม่มีประสิทธิภาพ ไม่มีหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรง ปัญหารถไฟฟ้าขัดข้องนานนับชั่วโมง ผู้โดยสารตกค้างในช่วงเวลาเร่งด่วน ก็อาจกลับมาฉายซ้ำเช่นเดิม


//-----------------------

สหภาพแรงงานรถไฟยินดีได้เพิ่มพนักงาน แต่ยังจับตา พ.ร.บ.การขนส่งทางราง
23 พฤศจิกายน 2561


เมื่อวันที่ 22 พ.ย. 2561 ที่ผ่านมาสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งประเทศไทย (สร.รฟท.) ได้ออกแถลงการณ์เรื่อง 'การขับเคลื่อนให้ ครม.เพิ่มอัตรากําลังพนักงานการรถไฟฯ' โดยระบุว่าตามที่การรถไฟแห่งประเทศไทยขาดแคลนอัตรากําลังเกือบ 8,000 คน จนมีพนักงานไม่เพียงพอต้อง ทํางานควงกะ 24 ชั่วโมง ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อต้านการให้บริการและความปลอดภัยของผู้ใช้บริการนั้น สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟฯ โดยคณะกรรมการบริหารสหภาพฯ ชุดที่ 6 ได้ให้ความสําคัญกับเรื่องการเพิ่มอัตรากําลังเป็นนโยบายที่เร่งด่วน ในปัจจุบันมีอัตราของพนักงานและลูกจ้างชั่วคราวรวม 14,220 อัตรา สามารถให้บริการเดินขบวนรถโดยสาร วันละ 234 ขบวน และขบวนรถสินค้าวันละ 40 ขบวนได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ พนักงานบางส่วนโดยเฉพาะพนักงานด้านปฏิบัติการมีจํานวนน้อยกว่ากรอบอัตรากําลังของการรถไฟฯ ทําให้ต้องปฏิบัติงานล่วงเวลาและวันหยุต โดยเฉลี่ยสัปดาห์ละ 6 วัน มีค่าล่วงเวลาและค่าทํางานวันหยุดคิดเป็นร้อยละ 25 ของค่าจ้าง โดยการรถไฟฯ มีแผนจะเพิ่มขบวนรถเป็นวันละ 389 ขบวน เพิ่มพนักงานเป็น 16,660 คน เมื่อทางคู่ระยะที่ 1 แล้วเสร็จ และทางคู่ระยะที่ 2 กับทางคู่สายใหม่แล้วเสร็จ จะมีการเดินขบวนรถเพิ่มขึ้นเป็นวันละ 720 ขบวน และต้องมีพนักงานเพิ่มขึ้นเป็น 19,260 คน

เหตุอันสําคัญจากการขาดอัตรากําลังของการรถไฟฯที่เป็นอยู่ในปัจจุบันที่ถือว่าวิกฤตมาจากมติ คณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28 ก.ค. 2541 หลังจากประเทศไทยประสบกับวิกฤตเศรษฐกิจในปี 2540 และต้องกู้เงินจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เงื่อนไขที่ผูกไว้กับ IMF คือการลดค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรในรัฐวิสาหกิจลง สําหรับการรถไฟฯมติดังกล่าวสาระคือ “ตําแหน่งที่ไม่จําเป็นให้ยุบเลิก และหากจะรับพนักงาน ใหม่ให้รับได้เพียงร้อยละ 5 ของจํานวนผู้เกษียณอายุ” จากวันนั้นถึงถึงปัจจุบัน 20 ปี จึงเกิดวิกฤตเรื่องอัตราพนักงาน ซึ่งหากปล่อยไว้จะก่อให้เกิดความเสียหายต้านต่างๆ ที่จะตามมา อีกประการหนึ่งความต้องการที่จะประหยัดค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรลงตามความต้องการเดิมนั้นไม่ได้เป็นจริงเพราะเมื่อขาดพนักงานในขณะที่งานด้านการให้บริการไม่สามารถหยุดได้จึงจําเป็นต้องให้พนักงานทํางานล่วงเวลา ทํางานเป็นเวลาปกติ ทํางานในวันหยุด เพิ่มขึ้นมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นกว่าปีละ 6,000 ล้านบาท (ค่าล่วงเวลา 191,405,246 บาท ค่าตอบแทนการทํางานเกินกว่าเวลาปกติ 103,694,883 บาท ค่าทํางานในวันหยุด 774,311,271 บาท) ซึ่งเงินจํานวนนี้หากจ้างพนักงานใหม่หรือบรรจุลูกจ้างในการรถไฟฯ ที่ทํางานอยู่แล้วมีความเชี่ยวชาญจะสามารถลดค่าใช้จ่ายลงใต้มาก

จากสิ่งที่กล่าวมาข้างต้นสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งประเทศไทย (สร.รฟท.)ได้วิเคราะห์ถึงผลกระทบและความ เสียหายที่จะเกิดขึ้นพร้อมกับนําเสนอให้รีบเร่งดําเนินการแก้ไขโดยเร่งด่วนและที่สําคัญได้เสนอต่อรัฐบาลหลายยุค หลายสมัยเพื่อให้ทบทวนยกเลิก มติ ครม.เมื่อวันที่ 28 ก.ค. 2541 แต่ได้รับการพิจารณาเป็นครั้งคราวโดยให้ยกเว้นมติในวันดังกล่าวอย่างเมื่อเดือน ธ.ค. ปี 2553 หลังจากที่ขบวน 84 ประสบอุบัติเหตุตกรางที่สถานีเขาเต่า จ.ประจวบคีรีขันธ์ เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 8 ราย และบาดเจ็บ 87 ราย เมื่อ ต.ค. 2552 และที่ผ่านมาการขับเคลื่อนของสหภาพฯ เพื่อให้คณะรัฐมนตรีอนุมัติเพิ่มอัตรากําลังมาตั้งแต่เดือน ก.ย. 2561
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42628
Location: NECTEC

PostPosted: 18/01/2019 10:49 am    Post subject: Reply with quote

โครงสร้างองค์กร รฟท. ในอนาคต
Suphalerk Soodyodprasert wrote:
โครงสร้างองค์กร รฟท. ในอนาคต มาถึงวันนี้ (18 ม.ค.62) ถือว่าคืบหน้าประมาณร้อยละ 25 ภายในปี 2562 นี้น่าจะดำเนินการได้สักครึ่งทาง

ป.ล. เหลือบริษัทซ่อมบำรุงรางและล้อเลื่อน (บริษัทซ่อมบำรุงโครงสร้างพื้นฐานและบริษัทซ่อมบำรุงรถจักรและล้อเลื่อน) อย่างเดียวที่ยังไม่ขยับ แต่ภายในปี 62 รฟท. จะเริ่มศึกษาการจัดตั้งบริษัทลูก 2บริษัทนี้ในการศึกษาคราวเดียวกัน

ป.ล. 2 ปัจจบันกรมการขนส่งทางรางไม่ได้รับผิดชอบโครงสร้างพื้นฐาน รฟท. อย่างแนวคิดตอนปี 57 แล้วครับ ทรัพย์สินและงานโครงสร้างพื้นฐานต่างไป อยู่ที่ รฟท.เหมือนเดิมครับพี่ กรมฯ ทำหน้าที่กำกับและทำมาตรฐาน (Regulator) - ครงสร้างพื้นฐานใหม่ทั้งทางคู่และทางสายใหม่ รัฐรับภาระครับ ไม่ได้ให้รฟท. รับภาระอย่างในอดีต ...เพียงแต่ รฟท.รับภาระรถจักรและล้อเลื่อน รวมทั้งสิ่งอำนวยความสะดวกพร้อมซ่อมบำรุงครับ


https://www.facebook.com/photo.php?fbid=2118478054865795&set=a.1950409178339351&type=3&theater
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42628
Location: NECTEC

PostPosted: 30/01/2019 6:27 pm    Post subject: Reply with quote

กรมรางฯ ฉลุย คาดจัดตั้งใน เม.ย.นี้ คุมมาตรฐานบริการ-ค่าโดยสาร รถไฟฟ้า
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2562 เวลา16:19
ปรับปรุง: วันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2562 เวลา 18:40

พ.ร.บ.จัดตั้งกรมรางฯ ผ่าน สนช.แล้ว รอประกาศในราชกิจจานุเบกษา “คมนาคม” เร่งชงกฎหมายลูก 3 ฉบับ คาดตั้งได้ใน เม.ย. เริ่มทำหน้าที่กำกับดูแลมาตรฐาน ค่าโดยสาร บริการ บทลงโทษผู้ให้บริการรถไฟฟ้า

นายสราวุธ ทรงศิวิไล ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าการจัดตั้งกรมการขนส่งทางรางว่า เมื่อวันที่ 17 ม.ค. 2562 ร่าง พ.ร.บ.ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่...) พ.ศ. ... (การจัดตั้งกรมการขนส่งทางราง) ได้ผ่านความเห็นชอบจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) แล้ว รอประกาศในราชกิจจานุเบกษา ในขณะเดียวกัน กฤษฎีกาได้ให้ความเห็น เสนอร่างกฎกระทรวง 3 ฉบับ ได้แก่ ร่างกฎกระทรวงว่าด้วยกลุ่มภารกิจ พ.ศ. ... ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมการขนส่งทางราง กระทรวงคมนาคม พ.ศ. ... และร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการ สนข. กระทรวงคมนาคม พ.ศ. ... คาดว่าจะเสนอ ครม.ได้ในเดือน ก.พ.นี้

ทั้งนี้คาดว่า จะจัดตั้งกรมการขนส่งทางรางได้ในเดือน เม.ย. โดยมีกรอบอัตรากำลัง 203 คน (ข้าราชการ 176 คน พนักงานราชการ 27 คน) ซึ่งจะโอนจาก สนข.จำนวน 42 คน มีผู้บริหารระดับอธิบดี 1 คน รองอธิบดี 1 คน และวิศวกรใหญ่ 1 คน ขณะที่อำนาจหน้าที่ของกรมรางฯ จะสมบูรณ์ต่อเมื่อมี พ.ร.บ.การขนส่งทางราง พ.ศ. ... คาดว่าจะอนุมัติในปีนี้

ดังนั้น ช่วงแรก กรมรางฯ จะต้องหารือกับผู้ให้บริการระบบรางทุกรายเพื่อทำความเข้าใจถึงอำนาจหน้าที่ บทบาทในการกำกับดูแลของกรมรางฯ เช่น มาตรฐานการกำหนดค่าโดยสาร, ความสะดวกในการให้บริการ, ความปลอดภัย, การใช้ประโยชน์เขตทาง, การซ่อมบำรุง เป็นต้น

“กรมรางฯ จะเป็นผู้กำหนดกติกา และกำกับดูแลมาตรฐานต่างๆ บทลงโทษ จากปัจจุบันที่จะเป็นไปตามสัญญาสัมปทานของแต่ละโครงการ ซึ่งมาตรฐานใหม่จะใช้กับโครงการใหม่ เพราะไม่มีผลต่อสัญญาสัมปทานเดิม เช่น กรณีรถไฟฟ้าเสียนานจะชดเชยผู้โดยสารอย่างไร จะมีการพิจารณากันเป็นกติกา” นายสราวุธกล่าว


ใกล้คลอด! ‘กรมราง’ คุมมาตรฐานรถไฟฟ้า สัมปทานเก่า 5 สายรอด
The Bangkok Insight
วันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2562 เวลา 07:25:35

เตรียมคลอด ‘กรมการขนส่งทางราง’ เดือน เม.ย.นี้ รับหน้าที่คุมมาตรฐานรถไฟ-รถไฟฟ้า-ไฮสปีด แต่อำนาจไม่ครอบคลุมสัมปทานรถไฟฟ้าเก่า 5 สาย
นายสราวุธ ทรงศิวิไล ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าในการจัดตั้งกรมการขนส่งทางรางว่า สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เห็นชอบร่าง พ.ร.บ.ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. (การจัดตั้งกรมการขนส่งทางราง) ในวาระที่ 3 เรียบร้อยแล้วเมื่อวันที่ 17 มกราคมที่ผ่านมา

อย่างไรก็ตามกระทรวงคมนาคมยังไม่สามารถดำเนินการจัดตั้งกรมการขนส่งทางรางได้ทันที เนื่องจากต้องรอให้ คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบร่างกฎกระทรวง 3 ฉบับก่อน ได้แก่


1. กฎกระทรวงแบ่งกลุ่มภารกิจงาน โดยกรมการขนส่งทางรางจะอยู่ในกลุ่มขนส่งทางราง
2. กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการของกรมการขนส่งทางราง ซึ่งมีการแบ่งส่วนราชการออกเป็น 5 กอง
3. กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการของ สนข. เพื่อตัดภารกิจของกรมการขนส่งทางรางออกจาก สนข.

ปัจจุบันหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความเห็นต่อร่างกฎกระทรวงทั้ง 3 ฉบับเรียบร้อยแล้ว และเตรียมเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาในเดือนกุมภาพันธ์นี้ จากนั้นจะนำร่าง พ.ร.บ.ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. และกฎกระทรวงทั้ง 3 ฉบับ รวมเป็น 4 ฉบับ ประกาศราชกิจจานุเบกษาพร้อมกันและมีผลทันที โดยคาดว่าจะสามารถจัดตั้งกรมการขนส่งทางรางได้เสร็จสมบูรณ์ประมาณเดือนเมษายนนี้

“พ.ร.บ.จัดตั้งกรมรางถือว่าจบแล้ว รอแค่ประกาศ ตอนนี้รอกฎกระทรวง 3 ฉบับเข้า ครม. ถ้าผ่านปุ๊บ ก็จะประกาศราชกิจจานุเบกษาและมีผลทันที ต่อไปจะเป็นการทำโครงสร้างอัตรากำลังและรายละเอียด คาดว่าก่อนสงกรานต์น่าจะจบ หลังจากนั้นก็จะมีกรมรางสมบูรณ์แบบ” นายสราวุธ กล่าว

ทั้งนี้ กรมการขนส่งทางรางจะอัตรากำลังทั้งหมด 203 คน แบ่งเป็นข้าราชการ 176 คนและพนักงานข้าราชการอีก 27 คน โดยจะโอนย้ายบุคลากรจาก สนข.ไปทั้งหมด 42 คน สำหรับตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงประกอบด้วย อธิบดี 1 ตำแหน่ง, รองอธิบดี 1 ตำแหน่ง และวิศวกรใหญ่ 1 ตำแหน่ง

ดูแลรถไฟทางไกล-รถไฟฟ้า-ไฮสปีด
กรมการขนส่งทางรางจะมีหน้าที่กำกับดูแลผู้ให้บริการระบบรางทุกประเภททั้งรถไฟทางไกล, รถไฟฟ้าในเมือง และรถไฟความเร็วสูง ครอบคลุมหน่วยงานดังนี้ บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด ผู้เดินรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์, การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.), บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC, บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM, การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และผู้ให้บริการรถไฟความเร็วสูง

ประเด็นที่กำกับดูแลมีตั้งแต่เรื่องมาตรฐานความปลอดภัย, อัตราค่าโดยสาร, คุณภาพบริการ (Level of Service), การใช้ประโยชน์ในเขตทาง และการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ มาตรการลงโทษและปรับกรณีขบวนรถล่าช้า เป็นต้น เพื่อให้ผู้ให้บริการทุกรายมีมาตรฐานเดียวกัน

อำนาจไม่ครอบคลุมสัมปทานเก่า
อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่ากรมการขนส่งทางราง ยังไม่มีอำนาจกำกับดูแลสัมปทานรถไฟฟ้าสายเก่าและต้องให้เจ้าของสัมปทานเป็นผู้กำกับดูแลเช่นเดิม แต่ถ้าหากสัญญาสัมปทานหมดอายุ, มีการเปลี่ยนแปลงสัญญา หรือเปิดสัมปทานสายใหม่ ก็สามารถเข้าไปกำกับดูแลได้

“ถ้ามันมีสัมปทานเดิมอยู่แล้ว โดยหลักการถือว่ายังไม่เปลี่ยนแปลง เพราะถือว่ามีการ Commit กันเรียบร้อยแล้ว ที่กรมรางเข้าไปกำกับดูแลได้เต็มที่คืองานใหม่ที่กำลังเกิด หรือถ้าจะหมดสัมปทาน แล้วมีการเปลี่ยนแปลงก็ต้องไปดู สำหรับรถไฟฟ้า 5 เส้นทางในกรุงเทพฯ ที่เปิดเดินรถแล้ว ก็ต้องไปดูขอบเขตว่า กรมรางจะเข้าไป Handle ในช่วงเวลาไหน เช่น หมดสัมปทานหรือขยายขอบเขตของตัวสัญญา” นายสราวุธ กล่าว

สำหรับรถไฟฟ้า 5 สาย ที่เปิดให้บริการในกรุงเทพฯ และปริมณฑลแล้ว ได้แก่ รถไฟฟ้า BTS สายสีเขียวอ่อน ช่วงหมอชิต-สมุทรปราการ และสายสีเขียวเข้ม ช่วงสนามกีฬาแห่งชาติ-บางหว้า, รถไฟฟ้า MRT สายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-เตาปูน และสายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง-เตาปูน, รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ช่วงพญาไท-สนามบินสุวรรณภูมิ

นอกจากนี้ในช่วงแรกๆ กรมการขนส่งทางรางจะมีอำนาจในมือเพียง 60% เพราะต้องรอการประกาศใช้ร่าง พ.ร.บ.การขนส่งทางราง พ.ศ. ...;. ก่อน จึงมีอำนาจเต็ม 100% ปัจจุบันร่างกฎหมายดังกล่าวผ่านความเห็นชอบจาก ครม. แล้วและอยู่ระหว่างการพิจารณาของสํานักงานกฤษฎีกา จากนั้นจะส่งเข้าสู่การพิจารณาของ สนช. ต่อไป

ในระหว่างที่ร่าง พ.ร.บ.การขนส่งทางราง ยังไม่มีผลบังคับใช้ กรมการขนส่งทางรางก็ต้องเชิญผู้บริหารการเดินรถทุกรายเข้ามาหารือและชี้แจงอำนาจหน้าที่ พร้อมลงนามความร่วมมือ (MOU) กันก่อน ขณะเดียวกันก็ต้องทำหน้าที่รวบรวมมาตรฐานความปลอดภัยและเตรียมกฎหมายลูกเพื่อรองรับ พ.ร.บ.การขนส่งทางรางด้วย

ข้อมูลเกี่ยวกับกรมขนส่งทางรางดูที่นี่
http://library.senate.go.th/document/mSubject/Ext84/84392_0001.PDF?fbclid=IwAR3xrPZeh_SJnAZdz2IhyRYQc3iXhwge4aqKMZ4cSvNp0ItmIuzqyvLZXzg
https://www.facebook.com/Thailand.Infra/posts/607941569644326
http://www.otp.go.th/index.php/post/view?id=2028
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42628
Location: NECTEC

PostPosted: 31/01/2019 10:46 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
กรมรางฯ ฉลุย คาดจัดตั้งใน เม.ย.นี้ คุมมาตรฐานบริการ-ค่าโดยสาร รถไฟฟ้า
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2562 เวลา16:19
ปรับปรุง: วันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2562 เวลา 18:40



ใกล้คลอด! ‘กรมราง’ คุมมาตรฐานรถไฟฟ้า สัมปทานเก่า 5 สายรอด
The Bangkok Insight
วันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2562 เวลา 07:25:35

ข้อมูลเกี่ยวกับกรมขนส่งทางรางดูที่นี่
http://library.senate.go.th/document/mSubject/Ext84/84392_0001.PDF?fbclid=IwAR3xrPZeh_SJnAZdz2IhyRYQc3iXhwge4aqKMZ4cSvNp0ItmIuzqyvLZXzg
https://www.facebook.com/Thailand.Infra/posts/607941569644326
http://www.otp.go.th/index.php/post/view?id=2028



สนช.เห็นชอบร่างพ.ร.บ.ตั้ง"กรมราง "
พุธที่ 30 มกราคม 2562 เวลา 19.05 น.

สนข.คาดตั้ง "กรมราง" กำกับดูแลกิจการรถไฟภายในเม.ย.นี้

พุธที่ 30 มกราคม 2562 เวลา 20:05 น.


สนช.เห็นชอบร่างพ.ร.บ.การจัดตั้งกรมรางแล้วขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการพิจารณาตัวบทกฎหมายอาทิ พ.ร.บ.การขนส่งทางรางพ.ศ....และการออกประกาศกฎกระทรวงคาดว่า ก.พ.นีเสนครม.เห็นชอบ


นายสราวุธทรงศิวิไลผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.)เปิดเผยความคืบหน้าการจัดตั้งกรมรางว่าขณะนี้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.)เห็นชอบร่างพ.ร.บ.การจัดตั้งกรมรางแล้วขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการพิจารณาตัวบทกฎหมายอาทิ พ.ร.บ.การขนส่งทางรางพ.ศ....และการออกประกาศกฎกระทรวงคาดว่า ก.พ.นี้จะเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)เห็นชอบจากนั้นเมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาจะมีผลทันที สำหรับขอบเขตอำนาจของกรมรางนั้นจะเป็นหน่วยงานกำกับดูแลคล้ายกับกรมการขนส่งทางบก(ขบ.)ส่งผลให้การรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.)และการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.)รวมถึงบริษัทเอกชนเป็นเพียงผู้ประกอบการอยู่ภายใต้กำกับดูแลของรัฐบาลและกฎหมายที่กำหนด

นายสราวุธกล่าวต่อว่า กรมรางมีอำนาจควบคุมรถไฟทั่วไปรถไฟฟ้า และรถไฟความเร็วสูงอาทิ ด้านการวางแผนพัฒนาระบบรางการควบคุมมาตรฐานงานเดินรถและบริการความปลอดภัยการพัฒนาที่ดินและพื้นที่เชิงพาณิชย์ตามแนวเส้นทางการลงโทษผู้ให้บริการและการกำหนดราคาค่าโดยสารทั้งนี้คาดว่าจะจัดตั้งกรมรางได้ภายในเดือนเม.ย.62จากนั้นจะสรรหาผู้บริหาร8ตำแหน่งประกอบด้วย อธิบดี 1ตำแหน่งรองอธิบดี 1ตำแหน่งวิศวกรใหญ่ 1ตำแหน่งและผู้อำนวยการฝ่ายอีก 5ตำแหน่งรวมทั้งจัดหาบุคลากร 203คนแบ่งเป็น ข้าราชการ 176คนและพนักงานราชการ 27คนจากปัจจุบันที่มีพนักงานอยู่42คนโดยทำควบคู่ไปกับการออกกฎหมายลูกภายใต้พ.ร.บ.การขนส่งทางรางคาดว่าจะเข้าบริหารงานได้เต็มที่ภายในเดือนก.ย.นี้

นายสราวุธกล่าวอีกว่า เมื่อก่อตั้งกรมรางเรียบร้อยแล้วกรมรางจะเข้าไปดูเรื่องการเชื่อมต่อระบบรถไฟฟ้ารวมถึงกำหนดมาตรฐานราคาค่าโดยสารในแต่ละสายให้สอดคล้องกันแต่ทั้งนี้จะสามารถกำกับดูแลเฉพาะรถไฟฟ้าสายใหม่ที่จะเกิดขึ้นและรถไฟฟ้าสายเดิมที่กำลังจะหมดอายุสัมปทานอย่างไรก็ตามในช่วงแรกจะมีการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือไปพลางก่อนระหว่างการรอออกกฎหมายลูกเพื่อบังคับใช้ต่อไป


สนข. ลั่นตั้งกรมรางเม.ย. นี้ กำหนดบทลงโทษผู้ประกอบการ-มาตรการชดเชยรถไฟล่าช้า
วันที่ 30 มกราคม 2562 - 14:14 น.

สนข. ลั่นตั้งกรมรางเม.ย. นี้ เตรียมกำหนดบทลงโทษ และมาตรการชดเชย กรณีผู้ใช้บริการได้รับผลกระทบจากการเดินทาง พร้อมเปิดรับพนักงานใหม่ 161 คน

สนข. ลั่นตั้งกรมรางเม.ย. นี้ – นายสราวุธ ทรงศิวิไล ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าในการจัดตั้งกรมการขนส่งทางราง ว่า ขณะนี้ ร่างพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวงกรม (ฉบับที่) พ.ศ. การจัดตั้งกรมการขนส่งทางราง ได้ผ่านความเห็นชอบของ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ วาระ 3 แล้ว ขณะนี้กระทรวงคมนาคมอยู่ระหว่างรอนำเสนอร่างกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้องกับการจัดตั้งกรมราง 3 ฉบับ ให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาอนุมัติภายในเดือนก.พ. ซึ่งประกอบด้วย ร่างกฎกระทรวงแบ่งกลุ่มภารกิจงาน, ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมการขนส่งทางราง และร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการ สนข. หากผ่านการอนุมัติครม. จึงจะประกาศราชกิจจานุเบกษากฎหมายทั้ง 4 ฉบับพร้อมกันได้ และประกาศจัดตั้งกรมรางได้ช่วงเดือนเม.ย.นี้

เบื้องต้นกรมการขนส่งทางราง จะแยกส่วนออกมาจาก สนข. โดยโอนบุคคลากรมาจาก สนข. จำนวน 42 คน และเปิดรับใหม่จำนวน 161 คน รวมเป็นทั้งสิ้น 203 คน มีตำแหน่งบริหารสูงสุด 3 ตำแหน่งคือ อธิบดี 1 ตำแหน่ง รองอธิบดี 1 ตำแหน่งและวิศวกรใหญ่ ทำหน้าที่กำกับดูแลระบบรางทั้งหมด ตั้งแต่รถไฟธรรมดา รถไฟฟ้า และรถไฟความเร็วสูง ทั้งในส่วนของกำหนดค่าโดยสารที่เป็นธรรม, กำหนดมาตรฐานความปลอดภัยในการเดินรถ, กำหนดบทลงโทษกรณีบริษัทเดินรถกระทำความผิดจนส่งผลกระทบต่อประชาชนผู้ใช้บริการ หรือการกำหนดมาตรการชดเชยแก่ผู้โดยสารกรณีรถไฟล่าช้า ซึ่งในอดีตไม่เคยมีมาก่อนทั้งบทลงโทษตามกฎหมาย และมาตรการชดเชย

“การกำหนดอัตราค่าโดยสาร และการกำหนดบทลงโทษตามกฎหมายใหม่ภายในกรมการขนส่งทางราง จะไม่มีผลผูกพันกับผู้ประกอบการเดินรถรายเดิมที่ได้ลงนามในสัญญาสัมปทานเดินรถไปก่อนหน้านี้แล้ว จะมีผลเฉพาะรถไฟฟ้าสายใหม่ หรือรถไฟฟ้าสายเดิมที่หมดสัญญาสัมปทานและเตรียมที่จะต่อสัญญาใหม่เท่านั้น”

นายสราวุธกล่าวว่า ช่วงแรกอำนาจหน้าที่อาจจะยังไม่ครอบคลุมทั้งหมด เนื่องจากต้องรอให้ ร่างพระราชบัญญัติการขนส่งทางราง พ.ศ. … ประกาศบังคับใช้ให้เรียบร้อยก่อน คาดว่าจะประกาศบังคับใช้ได้สมบูรณ์ในช่วงปลายปีนี้ นอกจากนี้ ในช่วงเดือนก.ย. นี้ จะเชิญผู้ประกอบการเดินรถระบบรางทุกรายที่มีอยู่ในปัจจุบัน อาทิ บีทีเอส, บีอีเอ็ม, การรถไฟแห่งประเทศไทย, แอร์พอร์ต เรียล ลิงก์ ฯลฯ มาหารือเพื่อชี้แจงทำความเข้าใจให้รับทราบถึงบทบาทและหน้าที่ของกรมการขนส่งทางราง
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42628
Location: NECTEC

PostPosted: 07/02/2019 4:47 pm    Post subject: Reply with quote

ก.คมนาคมจัดตั้ง “กรมการขนส่งทางราง”
โดย: ผู้จัดการออนไลน์

เผยแพร่: พฤหัสบดีที่ 7 กุมภาพันธ์ 2562 เวลา 11:18


นายไพรินทร์กล่าวว่า การจัดตั้งกรมการขนส่งทางราง ขณะนี้อยู่ระหว่างรอการประกาศในราชกิจจานุเบกษา จะเป็นมิติใหม่ของระบบคมนาคมไทย ที่จะมีหน่วยงานด้านกำกับดูแล (Regulator) ครบทั้ง 4 โหมด จากที่ก่อนหน้านี้ มี กรมเจ้าท่า กำกับมาตรฐานการขนส่งทางน้ำ, กรมการขนส่งทางบก กำกับมาตรฐานทางบก และสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) ที่เพิ่งแยกออกมาล่าสุด หลังประเทศไทยถูกธงแดง จากองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO)

ในส่วนของระบบรางนั้น กรมการขนส่งทางราง จะเป็นหน่วยงานที่กำกับดูแล ทำหน้าที่กำหนดมาตรฐาน ทั้งการก่อสร้าง วัสดุก่อสร้าง ระบบอาณัติสัญญาณ การออกใบอนุญาตต่างๆ ทั้งคนขับรถไฟ รถไฟฟ้าจดทะเบียนรถไฟฟ้า ควบคุมการกำหนดอัตราค่าโดยสาร ะบบขนส่งทางรางตจะมีความสมบูรณ์ มีมาตรฐาน และเป็นช่วงเวลาที่เหมาะ เนื่องจากประเทศไทยกำลังจะมีระบบรถไฟความเร็วสูง ที่ใช้เทคโนโลยีสูง การดำนินงานทุกอย่างต้องเป็นไปตามมาตรฐานโลก
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 10, 11, 12, 13  Next
Page 11 of 13

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©