Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311232
ทั่วไป:13179914
ทั้งหมด:13491146
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวและภาพรถไฟฟ้าสายสีม่วง บางซื่อ-บางใหญ่และเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวและภาพรถไฟฟ้าสายสีม่วง บางซื่อ-บางใหญ่และเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 66, 67, 68 ... 120, 121, 122  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> รถไฟฟ้า (BTS) และรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT)
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 26/07/2018 12:22 pm    Post subject: Reply with quote

รถไฟฟ้าสายม่วงใต้จ่อสะดุด ตีกลับแผนก่อสร้าง
วันที่ 26 กรกฎาคม 2561 เวลา 08:26 น.

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ยังไม่สามารถเสนอโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ ระยะทาง 23.6 กิโลเมตร (กม.) วงเงิน 1.01 แสนล้านบาท เข้าที่ประชุมคณะกรรมการบริหาร (บอร์ด) รฟม.ได้ เนื่องจากคณะอนุกรรมการได้ตีกลับให้ไปจัดทำข้อมูลเพิ่มเติมเรื่องแผนการก่อสร้างโครงการควบคู่ไปกับการขอความคิดเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและ ข้อเสนอแนะจากฝ่ายนโยบาย ก่อนสรุปข้อมูลโครงการทั้งหมดเสนอบอร์ด รฟม.อีกครั้ง ซึ่งยังไม่มีกำหนดว่าเมื่อไหร่ส่งผลให้โครงการช้ากว่าแผนเดิมที่กำหนดไว้ว่าจะต้องเปิดประมูลภายในเดือน ส.ค.นี้ แต่จะพยายามเร่งรัดให้สามารถเปิดประกวดราคาภายในปีนี้

ทั้งนี้ รฟม.ได้จัดประชุมบอร์ดนัดพิเศษในวันที่ 8 ส.ค.นี้ เพื่อเสนอให้พิจารณาโครงการเร่งด่วน ได้แก่ โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตกช่วงศูนย์วัฒนธรรมบางขุนนนท์ ระยะทาง 16.4 กม. วงเงิน 1.23 แสนล้านบาท คาดจะสามารถเปิดประมูลต่อไปภายในปลายปีนี้ หรือช่วงต้นปีหน้า

ด้านโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสาย สีเหลือง ลาดพร้าว-สำโรง และสายสีชมพู แคราย-มีนบุรีนั้น ล่าสุดกระทรวงคมนาคมอยู่ระหว่างเตรียมเชิญ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีเริ่มต้นโครงการก่อสร้างทั้งสอง เส้นทางในเดือน ส.ค.นี้

แหล่งข่าวจาก รฟม. ระบุว่า กระทรวงคมนาคมได้สั่งชะลอโครงการ รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย ช่วงบางแค-พุทธมณฑลสาย 4 ระยะทาง 8 กม. ออกไปก่อน โดยให้ไปทบทวนความเหมาะสมและจุดคุ้มทุนกับการก่อสร้างหลังจากที่ผู้บริหารมองว่าโครงการดังกล่าวช่วงบางแค-พุทธมณฑลนั้นอยู่ห่างจากเขตเมืองเกินไป อาจทำให้ไม่มีผู้โดยสารใช้บริการมากนักเพราะมีทางเลือกการขนส่งรูปแบบอื่นรองรับอยู่

อย่างไรก็ตาม สัปดาห์หน้าจะมีการประชุมคณะอนุกรรมการฝ่ายกฎหมายของ รฟม.เพื่อหารือกันในประเด็นโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูช่วงส่วนต่อขยายเข้าเมืองทองธานี จะก่อสร้างได้หรือไม่ เนื่องจากเกรงว่าอาจเอื้อประโยชน์ต่อเอกชนที่เป็นนิติบุคคล
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 09/08/2018 12:47 pm    Post subject: Reply with quote

ครบปีเปิดเชื่อม1 สถานี! รฟม.ใจดี เติมเงินบัตร MRT พร้อมรับถุงผ้า
โดย: MGR Online

เผยแพร่: วันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2561 11:22


รฟม. เปิดเดินรถเชื่อม 1 สถานี”เตาปูน – บางซื่อ”ครบ 1 ปี ชวนผู้ถือบัตรโดยสาร MRT ทุกประเภท เติมเงิน 500 บ. แล้วโชว์ใบเสร็จแลกรับของที่ระลึก ตั้งแต่ 10 ส.ค.นี้

การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เตรียมมอบของขวัญให้แก่ผู้ใช้บริการรถไฟฟ้า MRT เนื่องในโอกาสเฉลิมฉลองครบรอบ 1 ปีของการเปิดให้บริการเดินรถไฟฟ้าเชื่อมต่อระหว่างสถานี เตาปูน – บางซื่อ ตั้งแต่เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2560 เป็นต้นมา

โดยขอเชิญชวนผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าที่ซื้อบัตรโดยสาร MRT Plus และ/หรือ เติมเงินในบัตรโดยสาร MRT Plus หรือ บัตร MRT หรือ บัตรแมงมุม เป็นเงินตั้งแต่ 500 บาทขึ้นไปต่อยอดบิล ติดต่อขอแลกรับถุงผ้าซิปอเนกประสงค์ สกรีนลาย MRT Purple Line 1 ใบ (สงวนสิทธิ์ของที่ระลึก 1 ชิ้น ต่อ 1 ใบเสร็จรับเงิน) ได้ที่ห้องออกบัตรโดยสาร ณ สถานีรถไฟฟ้า MRT สายสีม่วง ทั้ง 16 สถานี ระหว่างวันที่ 10 – 31 สิงหาคม 2561 หรือจนกว่าของที่ระลึกจะหมด

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือติดตามข่าวสาร รฟม. ได้ที่เว็บไซต์ รฟม. www.mrta.co.th เฟซบุ๊กแฟนเพจการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย และ Call Center รฟม. โทร. 0 2716 4044
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 16/08/2018 11:25 am    Post subject: Reply with quote

การไฟฟ้านครหลวงยอมเปิดหน้าที่ดินสามเสนให้รฟม.สร้างสถานีศรีย่านสายสีม่วง”เตาปูน-ราษฎร์บูรณะ”
วันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2561 - 17:55 น.

การไฟฟ้าฯลง MOU รฟม.ให้ใช้ที่ดิน ไฟฟ้าสามเสนทำสถานีสีม่วงเฟส 2
โดย ไทยรัฐฉบับพิมพ์
17 สิงหาคม พ.ศ. 2561 - 05:45


เมื่อ วันที่15 สิงหาคม 2561 นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และนายชัยยงค์ พัวพงศกร ผู้ว่าการการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการใช้ที่ดินของการไฟฟ้านครหลวงเพื่อก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน – ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) เพื่อให้ใช้ที่ดินบริเวณการไฟฟ้านครหลวงเขตสามเสน ในการก่อสร้างทางขึ้น-ลง สถานีรถไฟฟ้าศรีย่าน ของโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงฯ ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 9 อาคาร 1 รฟม.

นายภคพงศ์ กล่าวว่า รฟม. ขอขอบคุณในความร่วมมือของ กฟน. ในการให้ใช้ที่ดินของการไฟฟ้านครหลวง เขตสามเสน เพื่อก่อสร้างทางขึ้น – ลง ที่ 3 สถานีรถไฟฟ้าศรีย่านของโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน – ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) การลงนามในครั้งนี้ถือเป็นโอกาสอันดีในการเริ่มต้นการดำเนินงานโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงฯ

รฟม. พร้อมที่จะดำเนินการตามแนวทางความร่วมมือระหว่าง รฟม. และ กฟน. เพื่อให้การก่อสร้าง สถานีศรีย่าน ของโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงฯ สำเร็จลุล่วงได้โดยเร็ว โดยไม่กระทบกับภารกิจ หน้าที่ และการให้บริการของการไฟฟ้านครหลวง รวมถึงไม่กระทบกับการดำเนินงานด้านการก่อสร้าง และการบริหารจัดการการเดินรถของ รฟม. ในอนาคต




ซึ่งที่ผ่านมา รฟม. ได้มีการประสานความร่วมมือกับ กฟน. ในการก่อสร้างบ่อพักและท่อร้อยสายไฟฟ้าใต้ดิน ของโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว (เหนือ) ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง และโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี

ทั้งนี้ รฟม. หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้รับความร่วมมือจาก กฟน. ด้วยดีต่อไป เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์สูงสุดของการดำเนินงาน คือการให้ประชาชนได้รับประโยชน์จากโครงการภาครัฐอย่างเต็มศักยภาพ

นายชัยยงค์ กล่าวว่า กฟน. มีความยินดีและเต็มใจเป็นอย่างยิ่งในความร่วมมือต่อการให้ใช้ที่ดินบริเวณดังกล่าวในการก่อสร้างสถานศรีย่าน เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนในการเดินทางไปยังพื้นที่ต่าง ๆ ได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ลดปัญหาการจราจร รวมไปถึงอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนที่ต้องการมาติดต่อราชการที่ กฟน. เขตสามเสน ตลอดจนสถานที่ราชการโดยรอบ รวมไปถึงเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจให้แก่ผู้ประกอบการในย่านสามเสนอีกด้วย

ทั้งนี้ โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน – ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) เริ่มต้นจากจุดเชื่อมต่อโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม ที่สถานีเตาปูน เป็นทางยกระดับตามแนวถนน ง.8
ข้ามคลองบางซื่อ โดยเปลี่ยนเป็นโครงสร้างใต้ดินลอดใต้กรมสรรพาวุธทหารบก

เลี้ยวขวาเข้าสู่ถนนทหาร ผ่านแยกเกียกกาย เข้าสู่ถนนสามเสน ผ่านอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ (โรงเรียนโยธินบูรณะเดิม) โรงเรียนราชินีบน กรมชลประทาน โรงพยาบาลวชิรพยาบาล หอสมุดแห่งชาติ คลองบางลำพู เลี้ยวซ้ายเข้าสู่ถนนพระสุเมรุ ผ่านวัดบวรนิเวศราชวรวิหาร ถนนราชดำเนินกลาง แยกผ่านฟ้าลีลาศ เข้าสู่ถนนมหาไชย ผ่านวัดราชนัดดารามวรวิหาร เข้าสู่ถนนจักรเพชร ลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณสะพานพระปกเกล้า เข้าสู่ถนนประชาธิปก ผ่านสี่แยกบ้านแขก ลอดใต้วงเวียนใหญ่ เข้าสู่ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน ผ่านโรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า ลอดใต้แยกมไหสวรรย์

หลังจากนั้นแนวเส้นทางจะเปลี่ยนเป็นโครงสร้างยกระดับวิ่งไปตามกลางถนนสุขสวัสดิ์ ผ่านแยกดาวคะนอง ข้ามสะพานข้ามแยกพระราม 2 ผ่านแยกประชาอุทิศ ข้ามทางพิเศษเฉลิมมหานคร สะพานภูมิพล 1 ผ่านสามแยกพระประแดงและสิ้นสุดที่ครุใน รวมระยะทาง 23.6 กิโลเมตร โดยเป็นโครงสร้างทางวิ่งใต้ดิน 12.6 กิโลเมตร และโครงสร้างทางวิ่งยกระดับ 11 กิโลเมตร รวมสถานีทั้งสิ้น 17 สถานี เป็นสถานีใต้ดิน 10 สถานี และสถานียกระดับ 7 สถานี
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 18/08/2018 12:08 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
การไฟฟ้านครหลวงยอมเปิดหน้าที่ดินสามเสนให้รฟม.สร้างสถานีศรีย่านสายสีม่วง”เตาปูน-ราษฎร์บูรณะ”
วันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2561 - 17:55 น.

การไฟฟ้าฯลง MOU รฟม.ให้ใช้ที่ดิน ไฟฟ้าสามเสนทำสถานีสีม่วงเฟส 2
โดย ไทยรัฐฉบับพิมพ์
17 สิงหาคม พ.ศ. 2561 - 05:45


รฟม.เซ็น MOU ขอใช้พื้นที่ กฟน.สามเสน สร้างสถานีสายสีม่วงใต้
โดย: MGR Online

เผยแพร่: 15 สิงหาคม พ.ศ. 2561 - 17:54
ปรับปรุง: 16 สิงหาคม พ.ศ. 2561 - 10:09



รฟม.ลงนาม MOU ร่วม กฟน.ใช้ที่ดินของการไฟฟ้านครหลวงเขตสามเสนเพื่อก่อสร้างทางขึ้น-ลงสถานีรถไฟฟ้าศรีย่าน โครงการสายสีม่วงใต้ ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) โดยมีการวางแผนร่วมกันเพื่อไม่ให้กระทบต่อการให้บริการของ กฟน. และการก่อสร้างงานโยธาของรถไฟฟ้า

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กล่าวว่า รฟม.ได้ลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการใช้ที่ดินของการไฟฟ้านครหลวงเพื่อก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) โดยมีนายชัยยงค์ พัวพงศกร ผู้ว่าการการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) เป็นผู้ร่วมลงนาม โดยเป็นการใช้ที่ดินของการไฟฟ้านครหลวง เขตสามเสน เพื่อก่อสร้างทางขึ้น-ลงที่ 3 สถานีรถไฟฟ้าศรีย่านของโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ซึ่ง รฟม.จะดำเนินการตามแนวทางความร่วมมือระหว่าง รฟม. กับ กฟน. เพื่อให้การก่อสร้างสถานีศรีย่านของโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงฯ สำเร็จลุล่วงได้โดยเร็วโดยไม่กระทบต่อภารกิจ หน้าที่ และการให้บริการของการไฟฟ้านครหลวง รวมถึงไม่กระทบต่อการดำเนินงานด้านการก่อสร้าง และการบริหารจัดการการเดินรถของ รฟม.ในอนาคต

ที่ผ่านมา รฟม.ได้มีการประสานความร่วมมือกับ กฟน.ในการก่อสร้างบ่อพักและท่อร้อยสายไฟฟ้าใต้ดินของโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว (เหนือ) ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง และโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี ทั้งนี้ รฟม.หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้รับความร่วมมือจาก กฟน.ด้วยดีต่อไป เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์สูงสุดของการดำเนินงาน คือการให้ประชาชนได้รับประโยชน์จากโครงการภาครัฐอย่างเต็มศักยภาพ

ด้าน นายชัยยงค์ พัวพงศกร ผู้ว่าการ กฟน.กล่าวว่า กฟน.ยินดีในความร่วมมือต่อการให้ใช้ที่ดินบริเวณดังกล่าวในการก่อสร้างสถานศรีย่านเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนในการเดินทางไปยังพื้นที่ต่างๆ ได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ลดปัญหาการจราจร รวมไปถึงอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนที่ต้องการมาติดต่อราชการที่ กฟน.เขตสามเสน ตลอดจนสถานที่ราชการโดยรอบ รวมไปถึงเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจให้แก่ผู้ประกอบการในย่านสามเสนอีกด้วย

ทั้งนี้ โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) เริ่มต้นจากจุดเชื่อมต่อโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม ที่สถานีเตาปูน เป็นทางยกระดับตามแนวถนน ง.8 ข้ามคลองบางซื่อ โดยเปลี่ยนเป็นโครงสร้างใต้ดินลอดใต้กรมสรรพาวุธทหารบก เลี้ยวขวาเข้าสู่ถนนทหาร ผ่านแยกเกียกกาย เข้าสู่ถนนสามเสน ผ่านอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ (โรงเรียนโยธินบูรณะเดิม) โรงเรียนราชินีบน กรมชลประทาน โรงพยาบาลวชิรพยาบาล หอสมุดแห่งชาติ คลองบางลำพู เลี้ยวซ้ายเข้าสู่ถนนพระสุเมรุ ผ่านวัดบวรนิเวศราชวรวิหาร ถนนราชดำเนินกลาง แยกผ่านฟ้าลีลาศ เข้าสู่ถนนมหาไชย ผ่านวัดราชนัดดารามวรวิหาร เข้าสู่ถนนจักรเพชร ลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณสะพานพระปกเกล้า เข้าสู่ถนนประชาธิปก ผ่านสี่แยกบ้านแขก ลอดใต้วงเวียนใหญ่ เข้าสู่ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน ผ่านโรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า ลอดใต้แยกมไหสวรรย์ หลังจากนั้นแนวเส้นทางจะเปลี่ยนเป็นโครงสร้างยกระดับวิ่งไปตามกลางถนนสุขสวัสดิ์ ผ่านแยกดาวคะนอง ข้ามสะพานข้ามแยกพระราม 2 ผ่านแยกประชาอุทิศ ข้ามทางพิเศษเฉลิมมหานคร สะพานภูมิพล 1 ผ่านสามแยกพระประแดงและสิ้นสุดที่ครุใน รวมระยะทาง 23.6 กิโลเมตร โดยเป็นโครงสร้างทางวิ่งใต้ดิน 12.6 กิโลเมตร และโครงสร้างทางวิ่งยกระดับ 11 กิโลเมตร รวมสถานีทั้งสิ้น 17 สถานี (สถานีใต้ดิน 10 สถานี และสถานียกระดับ 7 สถานี)

ประชาชนสามารถติดตามข้อมูลข่าวสารหรือสอบถามได้ที่เว็บไซต์ รฟม. (www.mrta.co.th) เฟซบุ๊กแฟนเพจการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย และ Call Center รฟม. โทร. 0-2716-4044
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44320
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 25/08/2018 7:50 am    Post subject: Reply with quote

“คมนาคม”จ่อประมูล 4 รถไฟฟ้า 3 แสนล้าน
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ วันที่ 24 August 2018 - 12:37 น.

แมสทรานสิต - โครงการส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีเขียวเหนือ จตุจักร-สะพานใหม่-คูคต เป็นหนึ่งในเส้นทางรถไฟฟ้าที่ลงทุนก่อสร้างโดยมีต้นทางจากในเมืองพาดผ่านเส้นทางออกนอกเมือง เชื่อมการเดินทางจากที่เคยไกลให้กลายเป็นใกล้
คมนาคมเข็นประมูลรถไฟฟ้า 4 สาย “ม่วง-ส้ม-แดงเข้ม-แดงอ่อน” วงเงินร่วม 3 แสนล้าน จ่อชง ครม.ไฟเขียวเพิ่ม 2 สายทาง ส่วนต่อขยายสีแดงตลิ่งชัน-ศิริราช-ศาลายาและรังสิต-ธรรมศาสตร์ ชะลอยาวส่วนต่อขยายสายสีน้ำเงิน “บางแค-พุทธมณฑลสาย 4” รอประเมินผู้โดยสารใช้สายสีน้ำเงินทั้งระบบในปี”63 ด้านสีเขียวขยายจากคูคต-ลำลูกกาและสมุทรปราการ-บางปู ยังลูกผีลูกคน หลัง กทม.ยื้อโอนหนี้แสนล้าน

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า กระทรวงคมนาคมจะเร่งรัดการลงทุนโครงการรถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลส่วนที่เหลือ จะใช้เงินลงทุนประมาณ 365,667 ล้านบาท ให้ครบ 10 สายทาง ตามแผนแม่บทภายในปี 2565 ขณะนี้เตรียมจะเปิดประมูล 4 โครงการ เงินลงทุน 298,831 ล้านบาท ได้แก่ สายสีม่วงช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ วงเงิน 128,235 ล้านบาท สายสีส้มช่วงศูนย์วัฒนธรรม-ตลิ่งชัน วงเงิน 120,459 ล้านบาท สายสีแดงอ่อนช่วงบางซื่อ-หัวหมาก และสายสีแดงเข้มช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง วงเงิน 50,137 ล้านบาท

นอกจากนี้มีอีก 2 โครงการเตรียมเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีสายสีแดงอ่อนตลิ่งชัน-ศิริราช-ศาลายา วงเงิน 17,671 ล้านบาท และสายสีแดงเข้มรังสิต-ธรรมศาสตร์ วงเงิน 6,570 ล้านบาท รวมถึงเตรียมนำ 3 โครงการที่จะผลักดันต่อไป ได้แก่ สายสีเขียวส่วนต่อขยาย คูคต-ลำลูกกา สายสีเขียวต่อขยายสมุทรปราการ-บางปู และสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายบางแค-พุทธมณฑลสาย 4

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ปลายปีนี้จะเสนอสายสีส้มตะวันตก ช่วงศูนย์วัฒนธรรม-บางขุนนนท์ ระยะทาง 13.4 กม. เงินลงทุน 1.2 แสนล้านบาทให้ ครม.พิจารณา หลังจากผ่านที่ประชุมบอร์ด รฟม.ภายในเดือน ส.ค.นี้แล้ว เพื่อจัดตั้งคณะกรรมการมาตรา 35 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยเอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556 (พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ 56) ต่อไป

ส่วนสายสีม่วงใต้ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ ระยะทาง 23.6 กม. วงเงินกว่า 1 แสนล้านบาท ยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของบอร์ด รฟม. ก่อนจะเสนอเข้า ครม.ในเดือน ก.ย.นี้ สำหรับสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายบางแค-พุทธมณฑลสาย 4 ระยะทาง 8 กม. วงเงิน 17,262 ล้านบาท จะชะลอออกไปก่อนรอประเมินปริมาณผู้โดยสารหลังเปิดบริการสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายบางซื่อ-ท่าพระ และหัวลำโพง-บางแคในปี 2563 จะเป็นไปตามประมาณการหรือไม่ เนื่องจากแนวเส้นทางอยู่ในพื้นที่ชานเมืองโดยต่อเชื่อมกับจังหวัดนครปฐม อาจจะมีผู้โดยสารมาใช้บริการน้อย และอาจจะซ้ำรอยกับสายสีม่วงช่วงเตาปูน-คลองบางไผ่ที่เปิดวันแรกมีผู้โดยสารมาใช้บริการต่ำกว่าที่ประมาณการไว้

“สายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายช่วงสุดท้ายนี้ต้องรอในปี 2563 ซึ่ง รฟม.จะเปิดดำเนินการตาม พ.ร.บ.ร่วมทุน ให้เอกชนร่วมลงทุนรูปแบบ PPP net cost ทั้งก่อสร้าง จัดหาระบบและเดินรถ 30 ปีเพราะเป็นส่วนต่อเชื่อมกับสายเดิม”

นายภคพงศ์กล่าวอีกว่า ขณะที่ส่วนต่อขยายสายสีเขียวช่วงคูคต-ลำลูกกา ระยะทาง 7กม. วงเงิน 11,989 ล้านบาท และสายสีเขียวส่วนต่อขยายสมุทรปราการ-บางปู ระยะทาง 7 กม. วงเงิน 13,344 ล้านบาท จะชะลอการขออนุมัติโครงการออกไปจนกว่าจะมีข้อสรุปการโอนหนี้และทรัพย์สินส่วนต่อขยายช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ และช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคตมูลค่ากว่า 1 แสนล้านบาทกับกรุงเทพมหานคร (กทม.)
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44320
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 28/08/2018 7:53 am    Post subject: Reply with quote

ขนคนป้อนรถไฟฟ้าสีม่วง "ผู้ว่านนท์" ไฟเขียวสมาร์ทบัสเชื่อมตั๋วร่วมรฟม.
ฐานเศรษฐกิจ 27 August 2018

Click on the image for full size
http://media.thansettakij.com/2018/08/526656.jpg

ผู้ว่าฯเมืองนนทบุรีบรรลุข้อตกลงกับรฟม.เดินรถระบบรองฟีดเดอร์ป้อนรถไฟฟ้าสายสีม่วงพร้อมใช้ระบบตั๋วร่วมแมงมุมให้บริการ ยันพร้อมทดสอบก่อนให้บริการเดินรถปลายปีนี้ ด้าน RTC เผยใช้ 4 ปัจจัยออกแบบระบบฟีดเดอร์นี้ บิ๊กรฟม.ยันพร้อมเปิดให้ RTC จอดรับ-ส่งผู้โดยสารในพื้นที่อาคารจอดรถได้ทันที คาดผู้โดยสารเพิ่มไม่น้อยกว่า 1-2 แสนคน

แนวทางแก้ไขปัญหาผู้โดยสารใช้บริการรถไฟฟ้าสายสีม่วงเริ่มเห็นภาพชัด รฟม.บรรลุข้อตกลงกับผู้ว่าฯเมืองนนทบุรีเร่งพัฒนาระบบฟีดเดอร์รูปแบบรถโดยสารสมาร์ทบัสด้วยระบบตั๋วร่วมแมงมุมให้บริการนำร่องเส้นทางเชื่อมถนนราชพฤกษ์ก่อนขยายไปเส้นทางอื่นอย่างต่อเนื่องพร้อมกับเร่งเปิดใช้บัตรตั๋วร่วมบัตรแมงมุมล็อตใหม่ให้ทันปลายปีนี้

โดยการประชุมร่วมระหว่างจังหวัดนนทบุรี การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และบริษัท รีเจียนนอล ทรานซิท คอร์เปอร์เรชั่น จำกัด (RTC) โดยนายภานุ แย้มศรี ผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี เป็นประธาน พร้อมหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ร่วมกับคณะผู้บริหารของ รฟม.นำโดยนายวิทยา พันธุ์มงคล ผู้ช่วยผู้ว่าการ และคณะของนายพรนริศ ชวนไชยสิทธิ์ ประธานกรรมการ นายฐาปนา บุณยประวิตร กรรมการผู้จัดการ นายมารุต สิริโก กรรมการ RTC นอกจาก นั้นยังมีประธานหอการค้า และประธานสภาอุตสาหกรรมฯ หน่วยงานด้านทาง หลวง ทางหลวงชนบทและสำนักงานขนส่งจังหวัดนนทบุรีเข้าร่วมด้วย เริ่มเห็นภาพการพัฒนาระบบฟีดเดอร์ป้อนผู้โดยสารสายสีม่วงชัดเจนมากขึ้น

ทั้งนี้นายภาณุ แย้มศรี ผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี เปิดเผย “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า ผลการประชุมเรื่องการจัดเส้นทางรถโดยสารสมาร์ทบัสของจังหวัดนนทบุรีและระบบตั๋วร่วม ได้ข้อสรุปร่วมกันกับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เรียบร้อยแล้วเพื่อใช้ในการดำเนินการระบบขนส่งมวลชนรอง (feeder) ป้อนผู้โดยสารเข้าสู่รถไฟฟ้าสายสีม่วง เส้นทางเตาปูน-บางใหญ่ คาดว่าเส้นทางสายแรก R2 ซึ่งอยู่ในพื้นที่จังหวัดนนทบุรีฝั่งตะวันตก ที่จะเปิดให้บริการได้ก่อนสิ้นปีนี้

โดยในครั้งนี้ถือว่าได้บรรลุข้อตกลงในการประสานความร่วมมือกันทั้งองค์กรระดับประเทศและระดับจังหวัด กับองค์กรเอกชนด้านความร่วมมือของการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนของประเทศ โดยได้เลือกเส้นทางรองรับไว้แล้วหลายเส้นทางแต่ได้นำเส้นทาง R2 ไปทดลองวิ่งให้บริการในช่วงเริ่มต้นนี้ก่อน พร้อมกับปรับระบบรถสองแถวและจักรยานยนต์รับจ้างให้เป็นฟีดเดอร์ป้อนให้กับรถสมาร์ทบัสต่อไป เพื่อให้ประชาชนหันมาใช้บริการด้วยการสร้างแรงจูงใจด้วยระบบโครงข่ายให้บริการที่ทั่วถึง สะดวกสบาย ปลอดภัย โดยนำมาตรฐานให้บริการในพื้นที่กรุงเทพมหานครมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับพื้นที่นนทบุรี

ด้านนายวิทยา พันธุ์มงคล ผู้ช่วยผู้ว่าการรักษาการรองผู้ว่าการ รฟม. (ปฏิบัติการ) กล่าวว่า ได้อนุญาตให้ RTC สามารถนำรถเข้าไปจอดได้ตามจุดจอดรถและอาคารจอดรถที่มีพื้นที่ลานด้านหน้าแต่ละจุดเพื่อรับ-ส่งผู้โดยสารให้ได้รับความสะดวก ปัจจุบันมีผู้โดยสารใช้บริการรถไฟฟ้าสายสีม่วงวันละราว 6 หมื่นคน หากสามารถป้อน ระบบฟีดเดอร์ได้มากขึ้นคาดว่าจะสามารถเพิ่มปริมาณผู้โดยสารได้มากกว่า 1-2 แสนคนต่อวัน ซึ่งด้วยศักยภาพของระบบรถไฟฟ้าสามารถรองรับได้มากกว่า 3 แสนคนต่อวัน

“ในครั้งนี้จะพยายามให้มีการนำบัตรแมงมุมไปให้บริการกับผู้โดยสารหลังจากที่ช่วงก่อนนี้จ่ายบัตรไปแล้วล็อตแรกจำนวน 2 แสนใบ ส่วนล็อตใหม่ที่จะใช้งานได้กับรถเมล์ขสมก.และแอร์พอร์ตลิงค์กำหนดเดือนตุลาคมนี้ เบื้องต้นนั้นจะจัดโปรโมชันดึงดูดให้ผู้โดยสารเลือกใช้บริการก่อนที่จะเป็นทางเลือกในการเดินทางด้วยระบบรถ ไฟฟ้าพร้อมกับการเร่งประชาสัมพันธ์ให้ ประชาชนเข้ามาใช้บริการอาคารจอดรถ แต่ละแห่งให้เต็มประสิทธิภาพมากขึ้น”

ด้านนายพรนริศ ชวนไชยสิทธิ์ ประธานกรรมการ RTC กล่าวว่า ในการดำเนินการครั้งนี้จะเป็นการพัฒนาระบบฟีดเดอร์มาตรฐานอีกแห่งหนึ่งของไทย โดยได้นำระบบการออกแบบด้วยการเลือก 4 ปัจจัยหลักไปพัฒนา นั่นคือ 1.ออกแบบโดยอาศัยองค์ประกอบด้วยหลักการเชื่อมต่อมหภาค 2.ออกแบบด้วยการอ้างอิงหลักการพัฒนาเชิงพื้นที่รอบสถานีระบบขนส่งมวลชน (TOD) 3.การเชื่อมต่อพื้นที่ภายในและภายนอก TOD ใช้ระบบแอกเซสซิบิลิตี้ในการเชื่อมต่อ และ 4.ใช้ระบบฟีดเดอร์เชื่อมโยงระหว่างคอนเนกติวิตีกับแอกเซสซิบิลิตีกับพื้นที่ TOD นั่นคือจะต้องเชื่อมโยงระบบทั้งหมดให้เข้าด้วยกันอย่างกลมกลืน

“เป็นรูปแบบที่สหรัฐอเมริกาใช้งานในปัจจุบัน นำร่องด้วยระบบขนส่งมวลชนรองแล้วค่อยพัฒนาระบบอื่นๆให้เชื่อมโยงถึงกันอย่างครอบคลุม ซึ่งในครั้งนี้ถือเป็นอีกมิติใหม่ของการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนในประเทศไทยที่รฟม.เลือกนำไปใช้งาน เมื่อมีระบบโครงข่ายเชื่อมโยงเกิดขึ้นจะสามารถป้อนผู้โดยสารให้เข้าถึงบริการรถไฟฟ้าได้อย่างสะดวก รวดเร็วและเพิ่มปริมาณมากขึ้น ดังนั้นจึงจะต้องเร่งพัฒนาทั้งรถสองแถว รถจักรยานยนต์รับจ้าง เส้นทางจักรยานและทางเดินยกระดับลอยฟ้าให้เกิดขึ้นในจุดต่างๆต่อไป”

|เซกชั่น : เศรษฐกิจมหภาค
|หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ หน้า 12 ฉบับ 3394 ระหว่างวันที่ 23-25 ส.ค2561
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44320
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 04/09/2018 1:02 pm    Post subject: Reply with quote

รฟม.แจงเหตุ 'รถไฟฟ้าสายสีม่วง' ขัดข้อง
กรุงเทพธุรกิจ 3 กันยายน 2561

รฟม.ชี้แจงเหตุรถไฟฟ้าสายสีม่วงขัดข้อง เพราะฝนตกหนักทำให้ระบบจ่ายไฟฟ้ามีปัญหา

เมื่อวันที่ 3 ก.ย. จากกรณีเกิดเหตุการณ์รถไฟฟ้ามหานครสายฉลองรัชธรรม (สายสีม่วง) เกิดเหตุขัดข้องเมื่อช่วงค่ำ ซึ่งทำให้การเดินทางรถไฟฟ้าเกิดความล่าช้า และมีผู้โดยสารตกค้างสะสมภายในสถานีจำนวนมากนั้น
การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ชี้แจงว่า เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นเนื่องจากฝนตกหนัก ทำให้ระบบจ่ายไฟฟ้าขัดข้อง จึงได้มีการปรับรูปแบบการเดินรถเพื่อให้ผู้โดยสารสามารถเดินทางเชื่อมต่อได้ตลอดทั้งสาย และจัดให้มีการเพิ่มเจ้าหน้าที่ประจำสถานีให้ข้อมูล และอำนวยความสะดวกแก่ผู้โดยสาร

ทั้งนี้ สามารถทำการแก้ไขและเดินรถได้ปกติในเวลา 19.32 น.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 11/09/2018 9:52 am    Post subject: Reply with quote

เคาะ PPP มอเตอร์เวย์“นครปฐม–ชะอำ” 7.9 หมื่นล้าน แบบพร้อม EIA ผ่านแล้ว จ่อเข้าคิวเปิดประมูล
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 10 กันยายน 2561 19:00
ปรับปรุง: 10 กันยายน 2561 20:00



...

นอกจากนี้ คณะกรรมการ PPP เร่งรัดให้กระทรวงคมนาคมและหน่วยงานเจ้าของโครงการดำเนินโครงการภายใต้มาตรการ PPP Fast Track ให้เป็นไปตามกรอบระยะเวลา โดยโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน - วงแหวนกาญจนาภิเษก และโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ - ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย - มีนบุรี (สุวินทวงศ์) คาดว่าจะสามารถนำเสนอคณะกรรมการ PPP ได้ภายในปี 2561 ( เงินลงทุนรวม 366,274 ล้านบาท)

และได้ติดตามโครงการระบบขนส่งมวลชนในหัวเมืองต่างๆ ได้แก่ โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดเชียงใหม่ และโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดนครราชสีมา ให้เป็นไปตามนโยบายรัฐบาลในการกระจายการลงทุนและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานไปสู่ภูมิภาค และบรรเทาปัญหาการจราจรหนาแน่นของหัวเมืองหลัก

...

ด้านนายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าฯการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กล่าวว่า คณะกรรมการ(บอร์ด) รฟม. นัดพิเศษเมื่อวันที่ 7 ก.ย.ได้เห็นชอบผลการศึกษาโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ - ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย - มีนบุรี (สุวินทวงศ์) แล้ว ซึ่งเตรียมเสนอรายงานต่อกระทรวงคมนาคมภายในกลางสัปดาห์นี้ ซึ่งจะแบ่งเป็นการลงทุนแบบ PPP Net Cost 1 สัญญา ค่าเวนคืน 15,000 โดยการประมูลจะแบ่งเป็นข้อเสนอ

1. ด้านงานโยธาด้านตะวันตก ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-บางขุนนนท์ ระยะทาง 16.4 กม. วงเงินค่าก่อสร้างและดอกเบี้ยประมาณ 96,000 ล้านบาท ซึ่งใช้รูปแบบให้เอกชนลงทุนก่อสร้างไปก่อน รัฐทยอยชำระคืนค่างานโยธาภายใน 10 ปี

2. ข้อเสนอการลงทุนระบบอาณัติสัญญาณ การบริหารเดินรถและขบวนรถ วงเงิน32,000 ล้านบาท ระยะเวลาสัมปทาน 30 ปี โดยเอกชนต้องรับความเสี่ยงเอง

อย่างไรก็ตามคาดว่าจะเสนอคณะกรรมการ PPP ในการประชุมครั้งต่อไป จากนั้นจะเข้าครม.ขออนุมัติ เพื่อเข้าสู่ขั้นตอนตามพ.ร.บ.ร่วมลงทุนฯ 2556 ตั้งคณะกรรมการมาตรา 35 ร่าง TOR

สำหรับ การศึกษารูปแบบการเดินรถโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ ระยะทาง23.6 กม.นั้น จะเร่งสรุปผลการคึกษาบอร์ดรฟม.ในวันที่ 21 ก.ย. นี้ เบื้องต้นจะใช้รูปแบบ PPP ประเภท Gross Cost
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 11/09/2018 11:28 am    Post subject: Reply with quote

รถไฟฟ้ามีสุขาที่ไหนบ้าง 'สายสีเขียว'สดชื่นแจ่มว๊าว
คอลัมน์ : มุมคนเมือง
โดย “เทียนหยด”
อังคารที่ 11 กันยายน 2561 เวลา 08.00 น.

สัปดาห์นี้อาสาพาไปสแกนดูว่า รถไฟฟ้าแต่ละสายมีสุขาอยู่หนใดให้ปลดทุกข์บ้าง รู้ไว้จะได้สบายใจ เตรียมสู้ข้าศึกขณะโจมตี



ปฏิเสธไม่ได้ว่า...ชีวิตคนกรุงเทพฯ ต้องโกลาหลทุกครั้งที่ “รถไฟฟ้าขัดข้อง” เพราะเป็นระบบขนส่งมวลชนขนาดใหญ่ที่กุมผู้ใช้บริการแต่ละวัน 1.3-1.5 ล้านคน นำโด่งคือรถไฟฟ้าบีทีเอส 8 แสนคน รถไฟฟ้าใต้ดินเอ็มอาร์ทีสายสีน้ำเงิน (หัวลำโพง-บางซื่อ) 3-4แสนคน รถไฟฟ้าเอ็มอาร์ทีสายสีม่วง (บางใหญ่-เตาปูน) 6 หมื่นคน รวมถึงรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์อีกกว่า 8 หมื่นคน

...แม้รถไฟฟ้าจะตอบโจทย์การเดินทางที่สะดวกรวดเร็ว แต่ก็ต้องมีสุขาให้สุขี เพราะหากข้าศึกโจมตีขึ้นมาคราใด?? ต่อให้รีบหรือนั่งรถไฟฟ้าฉิวๆ แค่ไหนก็ไม่ทันใจที่จะต้องขอเวลาปลดทุกข์กันก่อน...

แต่เดิมการสร้างรถไฟฟ้าใหม่ๆ เมื่อ10 กว่าปีก่อน ใช้หลักคิดว่า...จะไม่มีห้องน้ำหรือสุขาให้บริการประชาชนในสถานี ก็เพื่อความปลอดภัยและความมั่นคงของชาติ เพราะอาจเป็นแหล่งชุมนุมคน และเกรงว่าคนร้ายจะใช้ห้องน้ำหรือถังขยะเป็นที่ซุกซ่อนวัตถุอันตราย แต่ขณะเดียวกันการขับถ่ายของผู้คนเป็นสิ่งจำเป็น ถึงเวลาข้าศึกโจมตี?? จะให้อั้นไว้แสนจะทรมานยิ่งนัก เมื่อไม่นานมานี้ก็แชร์กันว่อนโลกโซเชียลฯ กรณีผู้โดยสารถ่ายหนักบนรถไฟฟ้าบีทีเอส



ดังนั้นอาสาพาไปสแกนกันดูว่า...รถไฟฟ้าแต่ละสายมีสุขาอยู่หนใดให้ปลดทุกข์ รู้ไว้จะได้สบายใจ เตรียมทางหนีทีไล่สู้ข้าศึกที่บุกมาโจมตี

เริ่มกันที่ รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ ของบริษัท รถไฟฟ้าร.ฟ.ท. จำกัด ห้องน้ำที่มีบริการภายในสถานีโดยไม่ต้องแจ้งเจ้าหน้าที่มี 5 สถานี ได้แก่ สถานีพญาไทและสถานีราชปรารถติดกับห้องนายสถานี สถานีมักกะสัน บริเวณอาคารจัดงานภายในสถานี สถานีราคำแหง ศูนย์การค้าA-link Square และสถานีสุวรรณภูมิ ห้องน้ำอยู่ภายในสถานีและภายในสนามบินสุวรรณภูมิ

ส่วน 3 สถานีที่เหลือเป็นห้องน้ำของพนักงานและเจ้าหน้าที่ แต่ประชาชนสามารถแจ้งความจำนงเข้าห้องน้ำกับเจ้าหน้าที่ได้ ทั้งนี้แอร์พอร์ตเรลลิงก์ก็มีแผนจะสร้างห้องน้ำเพิ่มเติมในสถานีหัวหมาก สถานีลาดกระบัง และสถานีทับช้าง ภายในปี 61 นี้


ส่วน รถไฟฟ้าบีทีเอส ของบริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ในสายสุขุมวิทและสายสีลม มีห้องน้ำภายในสถานีแต่เป็นของเจ้าหน้าที่ ไม่ใช่ห้องน้ำสาธารณะ ซึ่งประชาชนสามารถแจ้งความประสงค์ขอใช้ได้ จะมีเจ้าหน้าที่พาไปห้องน้ำ รวมทั้งห้องน้ำในห้างสรรพสินค้าที่ติดสถานี สาเหตุที่ไม่ได้ก่อสร้างห้องน้ำภายในสถานีตั้งแต่แรก เนื่องจากสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสตั้งลอยฟ้ากลางถนนการสร้างห้องน้ำจึงเป็นเรื่องยากลำบาก ต้องจัดเก็บถังปฏิกูลด้วย รวมทั้งมีความกังวลเรื่องความมั่นคงปลอดภัยตั้งแต่เดิม

แต่สำหรับสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสส่วนต่อขยายช่วงแบริ่ง-สำโรงและหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต และรถไฟฟ้าสายสีชมพู แคราย-มีนบุรี สายสีเหลืองช่วงลาดพร้าว-สำโรง จะมีห้องน้ำบริการประชาชนทุกสถานี



ขณะที่ รถไฟฟ้าใต้ดินเอ็มอาร์ที ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ทั้ง 2 สายสีน้ำเงินและสีม่วง มีห้องน้ำเกือบทุกสถานี โดยสายสีน้ำเงินที่มีห้องน้ำภายในสถานี ได้แก่ 1.สถานีกำแพงเพชร 2.สถานีสวนจตุจักร 3.สถานีพหลโยธิน 4.สถานีลาดพร้าว 5.สถานีศูนย์วัฒนธรรม6.สถานีพระราม9 7.สถานีเพชรบุรี 8.สถานีสุขุมวิท และ 9.สถานีคลองเตย สถานีอื่นๆ แจ้งเจ้าหน้าที่ขอใช้บริการได้

สำหรับสายสีม่วงมีห้องน้ำทุกสถานี และการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายช่วงบางซื่อ-ท่าพระและหัวลำโพง-บางแค มีห้องน้ำสาธารณะทุกสถานีให้บริการปี 63

ลงลึกกับส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีเขียวเหนือ ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ระยะทาง 19 กม. ของรฟม.ที่กำลังจะถ่ายโอนไปให้กรุงเทพมหานคร (กทม.) ดูแล ขณะนี้ภาพรวมทั้งโครงการคืบหน้าแล้ว 80% งานวางระบบรางคืบหน้า 63% ทั้ง 2 สัญญาวางตอม่อ-ทางวิ่งรถไฟฟ้าหมดแล้ว ในส่วนของสถานีทั้ง16แห่งโครงสร้างแล้วเสร็จทั้งหมด อยู่ระหว่างตกแต่งรายละเอียด โดยสถานีทหารราบที่ 11มีความคืบหน้ามากที่สุด 70% ถือเป็นสถานีต้นแบบ (โมเดล) ให้อีก 15สถานี ที่ออกแบบเน้นสีเขียวทั้งหมด เพราะตรงกับชื่อรถไฟฟ้าสีเขียวและเป็นธีมสิ่งแวดล้อมรักษ์โลก ทั้งกำแพงสถานี รางรถไฟ



นอกจากนี้ภายในสถานียังติดตั้งสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน อาทิ ลิฟต์ บันไดเลื่อนห้องจำหน่ายบัตรโดยสาร ประตูกั้นชานชาลา ทั้ง16สถานีใช้ธีมสีเขียวรักษ์โลกในการตกแต่ง อนาคตจะก่อสร้างสกายวอล์ก เชื่อมพื้นที่ใกล้เคียงอำนวยความสะดวกประชาชนด้วย

ที่สำคัญทั้ง16สถานีมีสุขาให้ประชาชนได้สุขี...สดชื่นแจ่มว๊าวกับธีมสีเขียว...อีกไม่นานเกินรอ.
................................
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 21/09/2018 10:04 am    Post subject: Reply with quote

รฟม.เวนคืนที่ดินกลางเมือง 3 หมื่นล. เปิดร่วมทุน 2 รถไฟฟ้าดึงเอกชนเหมาสร้าง-เดินรถสีส้ม

วันที่ 20 กันยายน 2561 เวลา 17:39 น.

รฟม.จ่อเวนคืนกว่า 3 หมื่นล้าน สร้างรถไฟฟ้า 2 สาย เชื่อมกรุงเทพฯชั้นใน โซนตะวันตกและตะวันออก บอร์ดไฟเขียวสายสีส้มประมูล PPP net cost ดึงเอกชนลงทุน 1.28 แสนล้าน เหมาขุดอุโมงค์จาก “บางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรม” พ่วงเดินรถตลอดสายถึงมีนบุรี แลกสัมปทาน 30 ปี คาดสิ้นปีประกาศเชิญชวน ส่วนสายสีม่วงใต้ “เตาปูน-ราษฎร์บูรณะ” รอ EIA และ พ.ร.ฎ.เวนคืน คาดแบ่งประมูล 3-4 สัญญา จ้างเดินรถยาว 30 ปี ปรับแผนใหม่ใช้เงินกู้ในประเทศแทน ADB

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟม. นัดพิเศษวันที่ 7 ก.ย. 2561 ที่ผ่านมา อนุมัติให้ รฟม.ดำเนินการเปิดประมูลสัญญาเดียวรูปแบบ PPP net cost ระยะเวลา 30 ปี โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มในส่วนก่อสร้างด้านตะวันตกช่วงศูนย์วัฒนธรรม-บางขุนนนท์ ระยะทาง 16.4 กม. และคัดเลือกเอกชนเดินรถสายสีส้มตลอดเส้นทางจากมีนบุรี-ศูนย์วัฒนธรรม-บางขุนนนท์ รวม 34.6 กม.

สีส้ม PPP 30 ปี 1.28 แสนล้าน

ขั้นตอนจากนี้ รฟม.จะเสนอโครงการให้กระทรวงคมนาคมและให้คณะกรรมการ (บอร์ด) PPP เห็นชอบโครงการ ก่อนเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติคาดว่าภายในสิ้นปีนี้ จากนั้นตั้งคณะกรรมการมาตรา 35 ตาม พ.ร.บ.ร่วมทุน เพื่อยกร่างทีโออาร์ เปิดประมูลโครงการในปี 2562 ซึ่งโครงการนี้จะดำเนินการภายใต้มาตรการ PPP fast track จะใช้เวลาดำเนินการประมาณ 9 เดือน

นายภคพงศ์กล่าวว่า โครงการนี้ใช้วงเงินลงทุน 142,600 ล้านบาท แยกเป็น ค่าเวนคืนจากศูนย์วัฒนธรรม-บางขุนนนท์ 14,600 ล้านบาท ค่างานโยธา 96,000 ล้านบาท และค่าระบบและขบวนรถ 32,000 ล้านบาท


โดยโครงการนี้จะใช้โมเดลการลงทุนเหมือนรถไฟฟ้าสายสีชมพู (แคราย-มีนบุรี) และสายสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง) ซึ่งรัฐเวนคืนที่ดินให้ ส่วนเอกชนลงทุนทั้งก่อสร้างและระบบเดินรถรวมวงเงิน 128,000 ล้านบาท และรัฐสนับสนุนเงินลงทุนไม่เกินเพดานค่างานโยธา 10 ปี

“ก่อนหน้านี้ บอร์ดให้ รฟม.ไปทำรายละเอียดเพิ่มเติมตาม พ.ร.บ.วินัยการเงินการคลังฉบับใหม่ ซึ่งได้ดำเนินการทุกอย่างแล้ว โครงการมีความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ หรือ EIRR 19% ส่วนด้านการเงิน หรือ FIRR ติดลบ เป็นปกติการลงทุนอินฟราสตรักเจอร์”

ดึงเอกชนสร้างพ่วงเดินรถ

นายภคพงศ์กล่าวอีกว่า อย่างไรก็ตาม การที่ รฟม.เสนอแบบ single one single package คือ ให้งานก่อสร้างและเดินรถไปพร้อม ๆ กัน เพื่อให้เปิดบริการได้ตามแผน ซึ่งสายสีส้มตะวันออกช่วงศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรีก่อสร้างและคืบหน้าแล้วกว่า 16% มีกำหนดจะเปิดบริการปี 2566 จากเดิมเริ่มงานก่อสร้างแล้วถึงจะเปิดประมูลเดินรถ หากมีปัญหาจะทำให้การเปิดใช้ล่าช้าได้

“งานระบบจะใช้เวลาดำเนินการ 36 เดือนในการผลิต ติดตั้งและทดสอบระบบ หากหาเอกชนดำเนินการได้ในปี 2562-2563 ถือว่ายังอยู่ในแผนงาน”



แนวรถไฟฟ้าสายสีส้มมีจุดเริ่มต้นจากบางขุนนนท์ บริเวณจุดตัดถนนจรัญสนิทวงศ์ ใช้แนวเขตรถไฟสายบางกอกน้อย ผ่านโรงพยาบาลศิริราช ลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณเชิงสะพานพระปิ่นเกล้า ผ่านใต้ถนนราชดำเนินแล้วเบี่ยงใช้แนวถนนหลานหลวง ผ่านยมราชแล้วเข้าสู่แนวถนนเพชรบุรีจากนั้นเลี้ยวเข้าถนนราชปรารภ ถึงดินแดงแล้วเลี้ยวไปตามถนนวิภาวดีรังสิต ผ่านศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร 2 (ดินแดง) ตัดตรงไปเชื่อมกับโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ที่สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย แล้วเบี่ยงเข้าแนวถนนพระรามเก้า ตัดผ่านถนนประดิษฐ์ธรรมนูญ เลี้ยวซ้ายเข้าถนนรามคำแหง ผ่านแยกลำสาลี แยกถนนกาญจนาภิเษก ไปสิ้นสุดที่สถานีสุวินทวงศ์บริเวณมีนบุรี เป็นโครงสร้างใต้ดินตั้งแต่บางขุนนนท์-คลองบ้านม้า จากนั้นจะสร้างเป็นโครงสร้างยกระดับจนถึงมีนบุรี มี 29 สถานี

สีม่วงใต้รอ พ.ร.ฎ.เวนคืน-EIA

ส่วนความคืบหน้ารถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ ระยะทาง 23.6 กม. เงินลงทุน 101,112 ล้านบาท ล่าสุดสรุปจะใช้เงินกู้ในประเทศทั้งโครงการ จากเดิมกระทรวงการคลังจะให้กู้จากธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) 10% รูปแบบการลงทุนจะแยกประมูลงานก่อสร้าง แบ่ง 3-4 สัญญา ส่วนการเดินรถเงินลงทุนกว่า 20,000 ล้านบาท จะเปิดให้เอกชนร่วมทุน PPP gross cost ระยะเวลา 30 ปี รูปแบบเดียวกับสายสีม่วง เตาปูน-คลองบางไผ่จ้าง บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM) เดินรถให้ 30 ปี ลงทุนกว่า 1 แสนล้าน

สำหรับค่าเวนคืนและก่อสร้างอยู่ที่ 101,112 ล้านบาท แยกเป็น ค่าเวนคืน 15,913 ล้านบาท สำรวจอสังหาริมทรัพย์ 32 ล้านบาท งานโยธา 77,385 ล้านบาท สิ่งก่อสร้างทดแทนหน่วยงานที่ได้รับผลกระทบ1,335 ล้านบาท จ้างที่ปรึกษาบริหารและควบคุมงาน 2,865 ล้านบาท และค่าเผื่อเหลือเผื่อขาดงานโยธา 3,582 ล้านบาท

นอกจากนี้ โครงการยังรออนุมัติรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) ที่ทำเสนอเพิ่มเติม ขณะนี้ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการผู้ชำนาญการ (คชก.) แล้ว รอคณะกรรมการ (บอร์ด) ชุดใหญ่พิจารณา รวมถึงรออนุมัติการขอใช้ที่ดินจากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ด้วย จากนั้นถึงจะออก พ.ร.ฎ.เวนคืนที่ดินได้

แนวเส้นทางมีจุดเริ่มต้นเป็นทางวิ่งยกระดับจากสถานีเตาปูน เชื่อมสายสีน้ำเงินต่อขยาย (บางซื่อ-ท่าพระ) และสีม่วง (เตาปูน-คลองบางไผ่) ไปตามแนวถนนตัดใหม่ ง8 แล้วลดระดับเป็นใต้ดิน ผ่านกรมสรรพาวุธทหารบก เลี้ยวเข้าถนนทหาร ถนนสามเสน ถนนพระสุเมรุ ถนนมหาไชย ลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยา เข้าสู่ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน

เมื่อลอดผ่านสี่แยกมไหสวรรย์ จะเปลี่ยนเป็นทางวิ่งยกระดับไปตามถนนสุขสวัสดิ์ สิ้นสุดที่บริเวณศูนย์ซ่อมบำรุงข้างด่านเก็บค่าผ่านทางถนนวงแหวนกาญจนาภิเษก รวม 23.6 กม. เป็นทางวิ่งใต้ดิน 12.6 กม. และทางวิ่งยกระดับ 11 กม. มี 17 สถานี

เป็นสถานีใต้ดิน 10 สถานี (สถานี 1-10) และยกระดับ 7 สถานี (สถานี 11-17)ได้แก่
สถานีรัฐสภา
สถานีศรีย่าน
สถานีสามเสน
สถานีหอสมุดแห่งชาติ
สถานีบางขุนพรหม (ตรงธนาคารแห่งประเทศไทย)
สถานีผ่านฟ้า
สถานีวังบูรพา (interchange กะสถานีสามยอดสายน้ำเงิน)
สถานีสะพานพุทธ (ฝั่งธนบุรี)
สถานีวงเวียนใหญ่
สถานีสำเหร่
สถานีจอมทอง
สถานีดาวคะนอง
สถานีบางปะกอก
สถานีประชาอุทิศ
สถานีราษฎร์บูรณะ
สถานีพระประแดง และ
สถานีครุใน
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> รถไฟฟ้า (BTS) และรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT) All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 66, 67, 68 ... 120, 121, 122  Next
Page 67 of 122

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©