Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311280
ทั่วไป:13262502
ทั้งหมด:13573782
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 184, 185, 186 ... 278, 279, 280  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44516
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 27/08/2018 5:58 pm    Post subject: Reply with quote

ชง 1.5 แสนล้าน แก้รถติดเกษตร เปิด PPP ประมูลโมโนเรลพ่วง “ด่วนขั้น3”
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ วันที่ 26 August 2018 - 21:54 น.

สนข.ชง คจร.เคาะ 1.5 แสนล้านแก้รถติดเกษตร-นวมินทร์ ผุดโมโนเรลสายสีน้ำตาล “แคราย-ลำสาลี” พ่วงทางด่วนขั้นที่ 3 ยืดแนวเชื่อมศรีรัช-วงแหวนตะวันตก-ตะวันออก ดึงเอกชนร่วม PPP รัฐจ่ายค่าเวนคืน เผยราคาที่ดินแพงหูฉี่ ดันค่าเวนคืนพุ่ง 1.5 หมื่นล้าน

นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยว่า ผลศึกษาโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลช่วงแคราย-ลำสาลี (บึงกุ่ม) เงินลงทุน 112,505 ล้านบาท และทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือทดแทน N1 และส่วนต่อขยาย N2 เชื่อมวงแหวนตะวันออก เงินลงทุน 37,966 ล้านบาท ขณะนี้เสร็จแล้วจะสรุปผลศึกษาให้คณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) พิจารณาภายในปีนี้

โดยที่ปรึกษาเสนอให้สร้างทั้งรถไฟฟ้าและทางด่วนเพื่อแก้ปัญหาการจราจรบนถนนเกษตร-นวมินทร์ จะใช้เงินลงทุนรวม 150,471 ล้านบาท ซึ่งทางด่วนพร้อมสร้างมากที่สุด เพราะใช้ตอม่อเดิม 281 ต้นก่อสร้าง จะสร้างเสร็จในปี 2567 ขณะที่รถไฟฟ้าทางการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) จะต้องใช้เวลาออกแบบรายละเอียด และคัดเลือกเอกชนมาลงทุนตาม พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ เหมือนสายสีชมพู แคราย-มีนบุรี และสายสีเหลือง ลาดพร้าว-สำโรง คาดว่าจะสร้างเสร็จในปี 2568

“แผนก่อสร้างทั้ง 2 โครงการจะทำระบบฐานรากไปพร้อมกันลดปัญหาจราจร การลงทุนจะให้เอกชนร่วม PPP ทั้ง 2 โครงการ กำลังศึกษาจะเป็น net cost หรือ gross cost แต่แนวโน้มจะเป็นรูปแบบสัมปทาน หรือ PPP net cost รัฐเวนคืนที่ดิน ส่วนเอกชนลงทุนก่อสร้างและรับสัมปทานบริหารโครงการ”

แหล่งข่าวกล่าวว่า รูปแบบรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลเป็นระบบรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (โมโนเรล) ก่อสร้างเป็นทางยกระดับ มีระยะทาง 22.1 กม. 20 สถานี แนวจะเริ่มบริเวณแยกแครายเชื่อมต่อกับสายสีม่วงและสีชมพู ผ่านจุดตัดทางด่วนศรีรัช แยกพงษ์เพชร บางเขน เกษตร ไปตามแนว ถ.เกษตร-นวมินทร์ ผ่านแยกลาดปลาเค้า เสนา จุดตัด ถ.สุคนธสวัสดิ์ จุดตัดทางด่วนรามอินทรา-

อาจณรงค์ ถ.นวมินทร์ เลี้ยวขวาไปตามแนว ถ.นวมินทร์ ผ่านแยกโพธิ์แก้ว ศรีบูรพา แฮปปี้แลนด์ บางกะปิ สิ้นสุดที่จุดตัด ถ.พ่วงศิริ กับ ถ.รามคำแหง มีสถานีเชื่อมกับรถไฟฟ้า 7 สาย มีสีม่วง สีชมพู สีแดง สีเขียว สีเทา สีส้ม และสีเหลือง คาดว่าจะมีผู้โดยสาร 218,547 เที่ยวคน/วัน มีอาคารจอดแล้วจรที่ใกล้สถานีลำสาลี เนื้อที่ 7 ไร่ จอดได้ 2,000 คัน และศูนย์ซ่อมบำรุง (เดโป้) 44 ไร่ อยู่ระหว่างหาพื้นที่ จากเดิมอยู่บริเวณจุดตัดทางด่วนเป็นที่ดินของเอกชนที่จะร่วมกับกรุงเทพมหานคร (กทม.) พัฒนาเป็นเดโป้ของสายสีเทา ล่าสุด กทม.ไม่ให้ใช้พื้นที่ร่วมกัน แต่เนื่องจากที่ดินย่านเกษตร-นวมินทร์มีราคาแพง อาจจะให้เอกชนที่มีที่ดินอยู่แล้วร่วมกันพัฒนาเป็นรูปแบบเชิงพาณิชย์ หรือ TOD

ส่วนทางด่วนมีระยะทาง 17.2 กม. สร้างเป็นทางยกระดับ แนวเริ่มต้นแยกรัชวิภาจะเชื่อมกับโทลล์เวย์และทางด่วนศรีรัช-วงแหวนตะวันตก (ทดแทน N1) เลาะไปตามถ.วิภาวดีรังสิต เลี้ยวขวาที่สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ ไปตามถนนเลียบคลองบางเขน ยกข้าม ถ.พหลโยธิน เลี้ยวขวาไปตามแนวคลองบางบัว ผ่านวัดบางบัว เข้าถนนผลาสินธุ์ เลี้ยวซ้ายเข้า ถ.เกษตร-นวมินทร์ ผ่านแยกลาดปลาเค้า เสนา จุดตัดทางด่วนรามอินทรา-อาจณรงค์ แยกนวลจันทร์ นวมินทร์ สิ้นสุดที่วงแหวนตะวันออก

ทั้ง 2 โครงการมีค่าเวนคืน 15,895 ล้านบาท เพราะราคาที่ดินแพง เฉลี่ย 2-3 แสนบาท/ตร.ว. แบ่งเป็นค่าเวนคืนรถไฟฟ้า 9,518 ล้านบาท มีเวนคืนที่ดิน 19.4 ไร่ ทางขึ้น-ลงสถานี 24.7 ไร่ อาคารจอดจร 2.21 ไร่ เดโป้ 40-50 ไร่ และสิ่งก่อสร้าง 180 หลัง อยู่แนวรถไฟฟ้า 43 หลัง เดโป้ 1 หลัง ทางขึ้น-ลงสถานี 119 หลัง และอาคารจอดจร 17 หลัง ทางด่วนมีค่าเวนคืน 6,377 ล้านบาท ที่ดินรวม 16.79 ไร่ และสิ่งปลูกสร้าง 35 หลัง
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44516
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 28/08/2018 6:17 am    Post subject: Reply with quote

“นายกฯ”สั่งทำแผนเวนคืนรถไฟฟ้าล่วงหน้า หวังแก้ปัญหาปั่นกระแสเพิ่มราคา
เผยแพร่: 27 ส.ค. 2561 18:41 โดย: MGR Online

“นายก”สั่งคุมเข้ม อุบัติเหตุระหว่างก่อสร้างโมโนเรลสีชมพูและสีเหลือง เร่งรับเหมาคืนผิวจราจร ให้การบ้าน ”คมนาคม”ทำแผนเวนคืน แก้ปัญหาปั่นราคาที่ดินก่อนก่อสร้าง คาดเสร็จปลายปี 64 เปิดให้บริการต้นปี 65 ค่าโดยสาร 16-42 บาท ด้าน รฟม.ชงบอร์ด 31 ส.ค. เคาะผลศึกษาต่อสีชมพูเข้าเมืองทองฯ

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีเริ่มการก่อสร้างรถไฟฟ้าโมโนเรล 2 สายแรกของประเทศไทย คือ โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูช่วงแคราย-มีนบุรี และโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองช่วงลาดพร้าว-สำโรงว่า รัฐบาลให้ความสนใจเร่งรัดติดตามความก้าวหน้าเพื่อให้ทั้งสองโครงการนี้เกิดขึ้นเป็นรูปธรรม

เพื่อหวังบรรเทาปัญหาการจราจรอย่างเร่งด่วน โดย รถไฟฟ้าทั้ง 2สายเป็นโครงการนำร่องภายใต้นโยบาย PPP Fast Track ของรัฐบาลที่มีวัตถุประสงค์เพื่อเร่งรัดการดำเนินโครงการให้มีความรวดเร็ว รวมทั้งเปิดโอกาสให้เอกชนได้เข้าร่วมในโครงการที่เกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ต่างๆ ร่วมกับภาครัฐ เพื่อลดภาระด้านงบประมาณและหนี้สาธารณะของประเทศ

“ขอให้โครงการนี้เป็นตัวอย่าง เนื่องจากรัฐบาลไม่สามารถลงทุนทุกโครงการทั้งหมดได้ วันนี้ต้องช่วยรัฐบาลระวังในเรื่องของพ.ร.บ.การจัดซื้อจัดจ้างฯด้วย จะต้องมีการใช้จ่ายงบประมาณในวงเงินสัดส่วนที่กำหนด

ซึ่งเป็นสิ่งที่รัฐบาลพยายามทำให้เกิดความเชื่อมั่นให้ได้ว่าวันข้างหน้าจะต้องไม่เกิดเรื่องราวที่ทำให้เกิดปัญหาขึ้นอีกในอนาคต“

เมื่อมีโครงการจะเกิดปัญหา เรื่องราคาที่ดินเพิ่ม 5-10 เท่า กระทบต่อการดำเนินโครงการ และอาจส่งผลต่อการก่อสร้างที่จะล่าช้าออกไป ดังนั้น ขอให้กระทรวงคมนาคม คิดแผนงานที่จะดำเนินโครงการเสนอรัฐบาลต่อไป นอกจากนี้ ขอให้เน้นเรื่องความปลอดภัยในการปฏิบัติหน้าที่ ในพื้นที่ก่อสร้าง มีกำหนดเวลาการทำงานที่แน่นอน

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า ค่าการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินเพื่อดำเนินโครงการสายสีเหลืองและสีชมพูนั้น อยู่ในกรอบวงงบประมาณตามแนวเส้นทาง มีทั้งที่ดินของเอกชนและหน่วยงานราชการ คือ คือ กรมทางหลวง(ทล.) แลกรุงเทพมหานคร(กทม.) ซึ่ง ได้ส่งมอบ 100% แล้ว ส่วนที่ดินของเอกชนจะเวนคืนตามข้อกฎหมาย

ซึ่งมีขั้นตอนกำหนดไว้ ตั้งแต่การปรองดอง เพื่อจัดซื้อ หากไม่ตกลง ก็จะเป็นการใช้พ.ร.ฎ.เวนคืน ต่อไปหากไม่ตกลงกันอีก ก็มีขั้นตอนให้อุทธรณ์ ส่วนค่าชดเชย เป็นไปตามราคาตลาด ของกรมที่ดิน แต่ขอให้เป็นราคาที่ซื้อขายจริง บางทีเป็นการเปลี่ยนมือเจ้าของเพื่อปรับราคา

ทั้งนี้ นายกฯได้ให้นโยบายเรื่องความปลอดภัยในการก่อสร้าง ทั้งผู้ปฏิบัติงานและประชาชน ซึ่งในช่วงที่ผ่านมา มีการก่อสร้างรถไฟฟ้าหลายสาย และเกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง และ หากก่อสร้างเสร็จต้องรีบคืนผิวจราจร อย่างไรก็ตาม รถไฟฟ้าสายสีชมพูและสีเหลือง จะมีระบบตั๋วร่วม หรือบัตรแมงมุม ซึ่งจะเป็นระบบกลางที่เชื่อมการเดินทางของรถไฟฟ้าทุกสาย เพื่อให้ประชาชนได้รับความสะดวก ซึ่งณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2561 สายสีชมพู มีความก้าวหน้าการก่อสร้างงานโยธา 3.10% ส่วน สายสีเหลือง มีความก้าวหน้าการก่อสร้างงานโยธา 5.07% โดยก่อสร้าง 3 ปี 3 เดือน เสร็จปลายปี 2564 ทดสอบระบบรถ เปิดทางการต้นปี 2565 อัตราค่าโดยสาร 16-42 บาท

***รฟม.ชงบอร์ด 31 ส.ค. เคาะผลศึกษาต่อขยายสีชมพูเข้าเมืองทองฯ

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่'ประเทศไทย (รฟม.) กล่าวว่า การจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินกำหนดในพ.ร.บ.เวนคืนไว้3 ขั้นตอน ซึ่งกระทรวงคมนาคมได้ตั้งคณะกรรมการอุทธณ์ค่าทดแทน หากยังไม่พอใจค่าชดเชย ก็สามารถฟ้องศาลได้อีก

ส่วนต่อขยาย โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว – สำโรง(แยกรัชดา - ลาดพร้าว ถึง แยกรัชโยธิน)ระยะทาง 2.6 กม. เพื่อเชื่อมต่อกับสายสีเขียวเหนือ บอร์ด รฟม.เห็นชอบแล้ว เตรียมเสนอคมนาคม และคณะกรรมการ PPP คาดใช้เวลาประมาณ 4 เดือน ส่วนต่อสายสีชมพู แจ้งวัฒนะ-เมืองทองธานี ระยะทาง 2.8 กิโลเมตร จะเสนอ บอร์ด รฟม.วันที่ 31ส.ค.พิจารณาผลการศึกษา
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42702
Location: NECTEC

PostPosted: 28/08/2018 11:47 am    Post subject: Reply with quote

ชงรถไฟฟ้าสีส้มศูนย์วัฒน์-บางขุนนนท์ 1.4 แสนล. และต่อขยายสีชมพู ให้บอร์ดรฟม. ไฟเขียว 31 ส.ค.


วันที่ 27 สิงหาคม 2561 - 16:25 น.


นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า ในการประชุมบอร์ด รฟม.วันที่ 31 ส.ค. นี้ รฟม. เตรียมที่จะนำเสนอ 2 โครงการให้บอร์ดพิจารณาอนุมัติ คือ

1. ผลการศึกษาแผนการร่วมทุน (พีพีพี) โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม (ตะวันตก) ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-บางขุนนนท์ ระยะทาง 13.4 กิโลเมตร วงเงินลงทุนรวม 1.3-1.4 แสนล้านบาท ซึ่งจะรวมงานบริหารการเดินรถรถไฟฟ้าสายสีส้มตลอดเส้นทางระยะเวลารวม 30 ปี และ

2. โครงการส่วนต่อขยาย โครงการรถไฟฟ้าโนโนเรล สายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี ช่วงสถานีศรีรัช-เมืองทองธานี

ทั้งนี้ ในส่วนของโครงการส่วนต่อขยาย โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูฯ นั้น หากบอร์ด เห็นชอบรฟม. จะต้องส่งเสนอเรื่องต่อให้กระทรวงคมนาคมพิจารณา และเสนอให้คณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) อนุมัติให้มีการนำเส้นทางต่อขยายไปบรรจุในแผนแม่บทคมนาคมขนส่งต่อไป

สำหรับส่วนต่อขยาย โครงการรถไฟฟ้าโมโนเรล สายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง จากแยกรัชดา-ลาดพร้าว-แยกรัชโยธินนั้น ปัจจุบันได้ผ่านการอนุมัติจากบอร์ด รฟม. แล้ว อยู่ระหว่างเสนอนำเสนอให้กระทรวงคมนาคม และคจร. พิจารณาอนุมัติ เพื่อบรรจุภายใต้แผนแม่บทคมนาคมขนส่ง เช่นเดียวกัน


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ผู้ชนะการประมูลโมโนเรลทั้ง 2 สายทาง เป็นกลุ่มร่วมทุน คือ กิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ (BSR Joint Venture:BSR JV) ประกอบด้วย บมจ.บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ (BTS), บมจ.ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง (RATCH) และ บมจ.ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น (STEC)
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42702
Location: NECTEC

PostPosted: 28/08/2018 9:12 pm    Post subject: Reply with quote

ตรึงค่าทางด่วนอีก 5 ปี เร่งสร้างรถไฟฟ้าสายสีนํ้าตาลคู่ทางด่วน
เซกชั่น : เศรษฐกิจมหภาค
ออนไลน์เมื่อ 28สิงหาคม 2561 -
|หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ หน้า 12 ฉบับ 3395 ระหว่างวันที่ 26-29 สิงหาคม 2561 -


บอร์ดกทพ.ไฟเขียวตรึงค่าทางด่วน 5 ปีประเภทรถ 4 ล้อแต่เก็บเพิ่มรถใหญ่บางด่านพร้อมมีแผนลดราคาบัตรอีซี่พาสพร้อมเล็งเชื่อมทางด่วนเอกมัย-รามอินทรากับกาญจนาภิเษก มีลุ้นประมูลทางด่วนและรถไฟฟ้าสายสีนํ้าตาลและก่อสร้างไปพร้อมกัน

นายสุรงค์ บูลกุล ประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) เปิดเผยว่าเพื่อการมีส่วนร่วมแก้ไขปัญหาจราจรตามนโยบายของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและการคืนประโยชน์สู่ประชาชนบอร์ดกทพ.ได้เห็นชอบให้คงราคาค่าผ่านทางด่วนไปอีก 5 ปีสำหรับประเภทรถ 4 ล้อ แต่จะมีการปรับราคาบางด่านของรถขนาดใหญ่ อีกทั้งยังมีแผนลดราคาบัตรอีซี่พาส โดยอยู่ระหว่างการปรับระบบซอฟต์แวร์ให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลา 2 เดือนนี้เพื่อให้รถผ่านด่านได้เร็วขึ้น

ล่าสุดได้ทำรีเวิร์สเลน (เลนพิเศษ) ให้ผู้ใช้รถได้รับความสะดวกมากขึ้น อีกทั้งยังมีแนวคิดก่อสร้างทางด่วนเชื่อมกทม.ฝั่งตะวันออกกับถนนกาญจนาภิเษกให้เส้นทางสามารถเชื่อมถึงกันได้อย่างสะดวกมากขึ้น ส่วนการก่อสร้างทางด่วนสายเหนือช่วงที่ผ่านมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์บางเขนนั้นโครงการจะเริ่มต้นจากถนนวงแหวนรอบนอกฝั่งตะวันออกไปตามแนวถนนประเสริฐมนูกิจจากนั้นแนวจะอ้อมด้านหลังผ่านคลองบางบัว คลองบางเขนแล้วเลียบขนานไปตามแนวถนนวิภาวดีรังสิตจนถึงทางแยกต่างระดับรัชวิภา รวมระยะทางประมาณ 17 กิโลเมตร


สุรงค์ บูลกุล ประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.)



“เหล่านี้เป็นโครงการคืนความสุขให้ประชาชน โดยเฉพาะโครงการทำวีีเวิร์สเลนสามารถลดปริมาณรถจอดรอระยะทางยาว 13 กิโลเมตรเหลือ 9 กิโลเมตร จะเน้นดำเนินการทั้งช่วงเช้าและช่วงเย็นต่อเนื่องกันไป อีกทั้งยังจะนำโครงการลงทุนรูปแบบกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทย (TFF) เป็นโครงการ นำร่องกับการก่อสร้างทางด่วนเส้นทางพระราม 3-ดาวคะนอง-กาญจนาภิเษกต่อไป”

ด้านนายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กล่าวว่าได้เปิดรับฟังความเห็นประชาชนรอบที่ 3 ของโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีนํ้าตาลช่วงแคราย-ลำสาลี(บึงกุ่ม) โดยได้กำชับให้ออกแบบเพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์ได้สูงสุด กระทบเวนคืนน้อยที่สุด ซึ่งจะพัฒนาโครงการควบคู่กันไปกับโครงการทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือตอน N1 N2 และส่วนเชื่อม ต่อถนนวงแหวนรอบนอกฝั่งตะวันออกที่มีการก่อสร้างเสาตอม่อเตรียมไว้แล้วบนถนนประเสริฐ มนูกิจ(ถนนเกษตรฯ-นวมินทร์) ของ กทพ.เนื่องจากแนวสายทางคร่อมกันจึงต้องมีการปรับแผนก่อสร้างให้สอดคล้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบด้านการจราจรโดยจะทำระบบฐานรากไปพร้อมกัน โดยระบบทางด่วนสายเหนือจะเปิดให้บริการในปี 2567 ส่วนรถไฟฟ้าสายสีนํ้าตาลจะเปิดให้บริการในปี 2568


ชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.)



ในส่วนโครงการก่อสร้างนั้นจะแยกกันประมูลสำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีนํ้าตาลเมื่อเสนอคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) เรียบร้อยแล้วจะโอนให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เป็นเจ้าภาพรับดำเนินการต่อไปโดยจะเป็นการนำเสนอเข้าสู่กระบวน การปฏิบัติตามหลักการของการร่วมทุนพีพีพีทั้ง 2 โครงการ

ทั้งนี้โครงการรถไฟฟ้าสายสีนํ้าตาลอยู่ในเส้นทางที่มีแนวการเติบโตในพื้นที่สูงมากโดยมีจุดเชื่อมต่อรถไฟฟ้ามากถึง 7 สายคือจุดสถานีศูนย์ราชการนนทบุรีเชื่อมกับรถไฟฟ้าสายสีม่วงและสายสีชมพู สถานีบางเขนเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีแดง สถานีแยกเกษตรเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเขียว(บีทีเอส) สถานีฉลองรัชเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเทา และสถานีลำสาลีเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเหลืองและสีส้ม โดยจะมีการก่อสร้างอาคารจอดแล้วจรที่แยกบางกะปิเพื่อส่งเสริมให้ใช้ระบบขนส่งมวลชน

แนวเส้นทางเริ่มจากแยกแครายมุ่งหน้าไปทางทิศตะวันออกตามแนวถนนงามวงศ์วาน ผ่านจุดตัดทางพิเศษศรีรับแยกพงษ์เพชร แยกบางเขน แยกเกษตรฯ ต่อเนื่องไปตามแนวถนนประเสริฐมนูกิจ ผ่านจุดตัดลาดปลาเค้า แยกเสนาฯ จัดตัดถนนสุคนธสวัสดิ์ จุดตัดทางพิเศษฉลองรัช (รามอินทรา-อาจณรงค์) จุดตัดทางหลวง 350 จุดตัดถนนนวมินทร์แล้วเลี้ยวขวาลงไป ทางทิศใต้ตามแนวถนนนวมินทร์ ผ่านแยกโพธิ์แก้ว แยกศรีบูรพา แยกแฮปปี้ แลนด์ แยกบางกะปิ ไปสิ้นสุดที่จุดตัดถนนพ่วงศิริและถนนรามคำแหงระยะทาง 22 กิโลเมตร จำนวน 20 สถานี
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42702
Location: NECTEC

PostPosted: 04/09/2018 3:15 pm    Post subject: Reply with quote

เกาะติดเมกะโปรเจ็กต์ : รถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล (แคราย-ลำสาลี) ความสะดวก 7 จุดเชื่อมต่อโครงข่ายรถไฟฟ้า
เกาะติดเมกะโปรเจ็กต์
โดย : โต๊ะข่าวคมนาคม
เชกชั่น : เศรษฐกิจมหภาค
ออนไลน์เมื่อ: 3 กันยายน 2561
ตีพิมพ์ใน หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ หน้า 12 ฉบับ 3397 ระหว่างวันที่ 2-5 สิงหาคม 2561


Click on the image for full size


สรุปผลการศึกษาเป็นรอบที่ 3 (รอบสุดท้าย) ไปเรียบร้อยแล้ว สำหรับโครงการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนเส้นทางนี้ โดยเบื้องต้นกระบวนการอยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ศึกษาความเป็นไปได้เพื่อนำเสนอคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) มอบหมายให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เป็นเจ้าภาพรับไปดำเนินการก่อสร้างและบริหารจัดการโครงการดังกล่าว

โดยในการประชุมคจร.ครั้งที่ 1/2561 เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2561 ได้มีมติเห็นชอบรูปแบบการพัฒนาทั้งรถไฟฟ้าสายสีนํ้าตาลช่วงแคราย-มีนบุรี(บึ่งกุ่ม) และทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือตอน N2 ถึงส่วนเชื่อมต่อถนนวงแหวนรอบนอกฝั่งตะวันออก และส่วนทดแทน N1 เนื่องจากเห็นว่าแนวถนนรัตนาธิเบศร์ ถนนงามวงศ์วาน และถนนประเสริฐมนูกิจ(เกษตรฯ-นวมินทร์) เป็นแนวเชื่อมพื้นที่ฝั่งตะวันตกกับพื้นที่ฝั่งตะวันออกของถนนวงแหวนรอบนอกเพื่ออำนวยความสะดวกด้านการเดินทางและโลจิสติกส์ของประเทศที่สามารถเชื่อมไปถึงมอเตอร์เวย์บางใหญ่-กาญจนบุรี และมอเตอร์เวย์เส้นกรุงเทพฯ-ชลบุรี-พัทยา-มาบตาพุด

แนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายนี้เริ่มต้นจากแยกแคราย จะเชื่อมกับรถไฟฟ้าสายสีม่วงและสายสีชมพู ณ จุดสถานีศูนย์ราชการนนทบุรี มุ่งหน้าไปทางทิศตะวันออกตามแนวถนนงามวงศ์วาน ผ่านจุดตัดทางพิเศษศรีรัช แยกพงษ์เพชร แยกบางเขน แยกเกษตรฯ ไปตามแนวถนนประเสริฐมนูกิจ ผ่านจุดตัดลาดปลาเค้า แยกเสนาฯ จุดตัดถนนสุคนธสวัสดิ์ จุดตัดทางพิเศษฉลองรัช (รามอินทรา-อาจณรงค์) จุดตัดทางหลวง 350 จุดตัดถนนนวมินทร์ แล้วเลี้ยวขวาลงไปทางทิศใต้ ตามแนวถนนนวมินทร์ ผ่านแยกโพธิ์แก้ว แยกศรีบูรพา แยกแฮปปี้แลนด์ แยกบางกะปิ ไปสิ้นสุดที่จุดตัดถนนพ่วงศิริและถนนรามคำแหง รวมระยะทาง 22 กิโลเมตร จำนวน 20 สถานี

รถไฟฟ้าสายสีนํ้าตาลจะเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้า 7 สายดังนี้คือ สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี(รถไฟฟ้าสายสีชมพูและสายสีม่วง) สถานีบางเขน(สายสีแดง) สถานีแยกเกษตรฯ (สายสีเขียว) สถานีฉลองรัช (สายสีเทา) สถานีลำสาลี (สายสีเหลืองและสีส้ม) ให้ประชาชนเลือกใช้ระบบขนส่งมวลชนได้รับความสะดวกสบายมากขึ้น โดยจะมีอาคารจอดแล้วจรที่แยกบางกะปิ

โครงการดังกล่าวนี้แนวเส้นทางจะมีทางด่วนคร่อมไปเกือบตลอดแนวในช่วงถนนประเสริฐมนูกิจ โดยช่วงที่ผ่านมาถนนวิภาวดีรังสิตจะมีแนวเส้นทางเชื่อมต่อได้กับทางยกระดับอุตราภิมุข-ทางพิเศษศรีรัช-ถนนวงแหวนรอบนอกฝั่งตะวันตก ณ จุดต่างระดับรัชวิภา โดยแนวโครงการทางด่วนที่คร่อมรถไฟฟ้าสายสีนํ้าตาลนี้จะเริ่มต้นจากถนนวงแหวนรอบนอกฝั่งตะวันออก ไปตามแนวถนนประเสริฐมนูกิจ ผ่านแนวคลองบางบัว คลองบางเขน แล้วเลียบขนานไปตามแนวถนนวิภาวดีรังสิต จนถึงทางแยกต่างระดับรัชวิภา

โดยทั้งทางด่วนและรถไฟฟ้านั้นนายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ผู้อำนวยการสนข.ยืนยันว่าจะให้มีการก่อสร้างไปพร้อมๆกันในการจัดทำฐานรากเพื่อลดปัญหาการจัดการพื้นที่ก่อสร้างให้กระทบจนเกิดปัญหาจราจร ส่วนการประชุมจะไม่พร้อมกัน โดยคาดว่าทางด่วนจะเปิดให้บริการได้ในปี 2567 ส่วนรถไฟฟ้าสายสีนํ้าตาลจะเปิดให้บริการในปี 2568 ดังนั้นคงต้องมีลุ้นว่าโครงการไหนจะเกิดก่อน-หลัง และจะมีอุปสรรคปัญหาช่วงการประมูลหรือก่อสร้างให้ล่าช้าอีกหรือไม่
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42702
Location: NECTEC

PostPosted: 12/09/2018 3:40 pm    Post subject: Reply with quote

"สามารถ" เสนอสร้างโมโนเรลคร่อมคลอง แก้รถติดกรุงเทพฯ
วันที่ 11 กันยายน 2561 เวลา 21:07 น.


https://www.youtube.com/watch?v=BZUgaQoxFcs
https://www.facebook.com/Dr.Samart/posts/1426311707513728
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44516
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 12/09/2018 5:36 pm    Post subject: Reply with quote

เตรียมจัดบัตรแมงมุมขึ้นรถไฟฟ้า ครบวงจรในปี‘62
กรุงเทพธุรกิจ 12 กันยายน 2561

ผู้ช่วยโฆษกกลาโหม เผย "พล.อ.ประวิตร" เตรียมจัดบัตรแมงมุม 4.0 ขึ้นรถไฟฟ้าครบวงจรในปี‘62

เมื่อเวลา 11.00 น. วันที่ 12 ก.ย.61 ที่ทำเนียบรัฐบาล ร.ต.หญิงพรชนก อ่ำพันธุ์ ผู้ช่วยโฆษกกลาโหม แถลงภายหลังการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนและปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดินคณะที่ 5 ที่มี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธาน ถึงความคืบหน้าการดำเนินการระบบตั๋วร่วมหรือบัตรแมงมุม ว่า ปัจจุบันมีบัตรแมงมุม 2.0 ที่ออกโดยสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ซึ่งประชาชนผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐสามารถใช้ได้กับรถเมล์องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ(ขสมก.) นอกจากนี้ยังบัตรแมงมุม 2.5 ที่สามารถใช้ได้กับรถไฟฟ้ามหานคร (เอ็มอาร์ที) ทั้งสายสีม่วงและสีน้ำเงิน

ร.ต.หญิงพรชนก กล่าวอีกว่า โดยการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) ได้เชิญชวนให้ประชาชนอัพเกรดปรับบัตรแมงมุม 2.0 ให้เป็นบัตรแมงมุม 2.5 ได้ตั้งแต่วันที่ 6 ก.ค. – 30 ก.ย. 2561 ส่วนในอนาคตจะมีการพัฒนาควบรวมให้เป็นบัตรแมงมุม 4.0 ซึ่งสามารถใช้ร่วมได้ทั้งรถเมล์ ขสมก. และรถไฟฟ้าเอ็มอาร์ที รวมถึงจะมีความชัดเจนในเดือน ธ.ค. นี้ ว่าจะใช้ร่วมกับรถไฟฟ้าบีทีเอสด้วยได้หรือไม่ ขณะที่ในเดือน ม.ค. 62 จะมีการพัฒนาบัตรให้ใช้ได้กับการเดินทางระบบราง ระบบเรือโดยสาร รวมถึงรถไฟฟ้าแอรพอร์ตเรลลิงก์ และจะมีการประเมินทุก 6 เดือน โดยตั้งเป้าว่าจะสามารถใช้บัตรใบเดียวได้กับการเดินทางทุกระบบในเดือน ธ.ค. 62 ซึ่ง พล.อ.ประวิตร ได้กำชับให้การดำเนินการมีความชัดเจน เพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทางของประชาชนและเป็นแนวทางหนึ่งในการแก้ปัญหาการจราจร
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42702
Location: NECTEC

PostPosted: 13/09/2018 11:41 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
เตรียมจัดบัตรแมงมุมขึ้นรถไฟฟ้า ครบวงจรในปี‘62
กรุงเทพธุรกิจ 12 กันยายน 2561


รัฐบาลตั้งเป้าบัตรแมงมุม ครอบคลุมการเดินทางทุกระบบในปี 2562

วันที่ 12 กันยายน 2561 เวลา - 15:02 น.

เมื่อเวลา 11.00 น. วันที่ 12 กันยายน ที่ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล ร.ต.หญิงพรชนก อ่ำพันธุ์ ผู้ช่วยโฆษกกลาโหม แถลงภายหลังการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนและปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดินคณะที่ 5 ที่มี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธาน ถึงความคืบหน้าการดำเนินการระบบตั๋วร่วมหรือบัตรแมงมุม ว่า ปัจจุบันมีบัตรแมงมุม 2.0 ที่ออกโดยสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ซึ่งประชาชนผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐสามารถใช้ได้กับรถเมล์องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) และบัตรแมงมุม 2.5 ที่สามารถใช้ได้กับรถไฟฟ้ามหานคร (เอ็มอาร์ที) สายสีม่วงและสีน้ำเงิน โดยการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ได้เชิญชวนให้ประชาชนอัพเดตปรับบัตรแมงมุม 2.0 ให้เป็นบัตรแมงมุม 2.5 ได้ตั้งแต่วันที่ 6 กรกฎาคม – 30 กันยายน 2561 ส่วนในอนาคตจะมีการพัฒนาควบรวมให้เป็นบัตรแมงมุม 4.0 ซึ่งสามารถใช้ร่วมได้ทั้งรถเมล์ ขสมก. และรถไฟฟ้าเอ็มอาร์ที รวมถึงจะมีความชัดเจนในเดือนธันวาคม 2561 ว่าจะใช้ร่วมกับรถไฟฟ้าบีทีเอสด้วยได้หรือไม่ ขณะที่ในเดือนมกราคม 2562 จะมีการพัฒนาบัตรให้ใช้ได้กับการเดินทางระบบราง ระบบเรือโดยสาร รวมถึงรถไฟฟ้าแอรพอร์ตเรลลิงก์ และจะมีการประเมินทุก 6 เดือน โดยตั้งเป้าว่าจะสามารถใช้บัตรใบเดียวได้กับการเดินทางทุกระบบในเดือนธันวาคม 2562 ซึ่ง พล.อ.ประวิตร ได้กำชับให้การดำเนินการมีความชัดเจน เพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทางของประชาชนและเป็นแนวทางหนึ่งในการแก้ปัญหาการจราจร
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42702
Location: NECTEC

PostPosted: 13/09/2018 11:43 am    Post subject: Reply with quote

สนข. ร่าง พ.ร.บ.บริหารจัดการ "ระบบตั๋วร่วม" เพื่อเป็นมาตรฐานการเดินทางในระบบขนส่งมวลชน
27 สิงหาคม 2561 -
สนข. ร่างพระราชบัญญัติการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม เพื่อเป็นมาตรฐานการเดินทางในระบบขนส่งมวลชน

นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ผู้อำนวยการ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าการดำเนินการจัดทำร่างพระราชบัญญัติการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม ว่า จากการที่รัฐบาลมีนโยบายให้จัดทำระบบตั๋วร่วม (Mangmoom Card) เพื่อส่งเสริมการใช้ระบบขนส่งมวลชนของประชาชน โดยเฉพาะในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และบรรเทาปัญหาจราจรแออัดในตัวเมือง ทั้งนี้ เพื่อบูรณาการระบบตั๋วร่วมได้อย่างสมบูรณ์แบบ จะต้องได้รับความร่วมมือจากผู้ประกอบการระบบขนส่งมวลชนในการร่วมให้บริการระบบตั๋วร่วมและการจัดเก็บค่าโดยสาร ซึ่งต้องอาศัยกลไกด้านกฎหมาย ในการกำหนดกรอบแนวทางการดำเนินงาน การกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมที่เกี่ยวข้องและขอบเขตความร่วมมือการให้บริการของระบบตั๋วร่วม รวมถึงหลักเกณฑ์การบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม และจัดตั้งกองทุนเพื่อเป็นเครื่องมือในการสนับสนุนและส่งเสริมการใช้ระบบตั๋วร่วมและระบบขนส่งสาธารณะ

นายชัยวัฒน์ กล่าวต่อว่า การที่มีกฎหมายเกี่ยวกับการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วมจะเป็นการสนับสนุนและส่งเสริมการใช้ระบบตั๋วร่วมและระบบขนส่งสาธารณะ ประชาชนและผู้ใช้บริการจะได้รับความสะดวก รวดเร็ว และได้รับผลประโยชน์จากการลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางเชื่อมต่อระหว่างระบบขนส่งสาธารณะตามอัตราค่าโดยสารร่วมที่กำหนด และยังได้รับสิทธิประโยชน์ในการได้รับส่วนลดค่าเดินทางหรือค่าบริการต่าง ๆ อีกทั้ง ผู้ประกอบการระบบขนส่งสาธารณะจะได้รับความสะดวกจากระบบตั๋วร่วมจากการลดการใช้งานตั๋วโดยสารเที่ยวเดียว ลดต้นทุนในการดำเนินการบริหารจัดการบัตรโดยสาร และลดความเสี่ยงจากการทุจริตในการบริหารจัดการ เพื่อการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม อัตราค่าโดยสารร่วม และการเชื่อมต่อระบบกับผู้ประกอบการ เป็นมาตรฐานเดียวกัน สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร จึงดำเนินการจัดทำร่างพระราชบัญญัติการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม ซึ่งการดำเนินงานและการบังคับใช้ข้อกำหนดหลักเกณฑ์ และมาตรฐานตั๋วร่วมต่าง ๆ จะเกี่ยวข้องกับระบบการขนส่งทุกสาขา ทั้งผู้ประกอบการภาครัฐและภาคเอกชน รวมทั้ง การบริหารจัดการบัตรโดยสารร่วมให้สามารถใช้บริการนอกภาคการขนส่ง โดยร่างพระราชบัญญัติการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม ประกอบไปด้วยทั้งหมด 6 หมวด ดังนี้

หมวด 1 คณะกรรมการนโยบายระบบตั๋วร่วม เพื่อกำหนดองค์ประกอบและคุณสมบัติของคณะกรรมการนโยบายระบบตั๋วร่วมและอำนาจหน้าที่ อันประกอบด้วย กำหนดนโยบายการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม กำหนดมาตรการ หลักเกณฑ์ เงื่อนไขและข้อกำหนดต่าง ๆ

หมวด 2 การบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม เพื่อกำหนดอำนาจหน้าที่ให้กรมการขนส่งทางราง เป็นหน่วยงานกำกับดูแลการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม มีหน้าที่กำกับดูแล ติดตาม และประเมินผล การบริหารจัดการระบบตั๋วร่วมและการดำเนินงานของบริษัทบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม และผู้ให้บริการ ภาคขนส่งให้เป็นไปตามมาตรฐานและแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

หมวด 3 การดำเนินงานในการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม เพื่อกำหนดให้บริษัทบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม มีอำนาจหน้าที่บริหารจัดการระบบตั๋วร่วม บำรุงรักษาระบบตั๋วร่วม และบริหารศูนย์บริหารจัดการรายได้กลาง

หมวด 4 กองทุนบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม เพื่อกำหนดให้จัดตั้งกองทุน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้การสนับสนุนในการดำเนินงาน การพัฒนา และการส่งเสริมเกี่ยวกับการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม รวมทั้งการอุดหนุนประชาชนผู้ใช้บริการระบบตั๋วร่วมหรือระบบขนส่ง และการส่งเสริมการใช้ระบบตั๋วร่วมหรือระบบขนส่ง

หมวด 5 การพักใช้และเพิกถอนใบอนุญาต เพื่อกำหนดให้รัฐมนตรีโดยคำแนะนำของคณะกรรมการนโยบายระบบตั๋วร่วมมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตหรือเพิกถอนใบอนุญาตการประกอบกิจการของบริษัทบริหารจัดการตั๋วร่วม

หมวด 6 บทกำหนดโทษ เพื่อให้มีการกำหนดโทษ เมื่อมีผู้กระทำความผิด

นายชัยวัฒน์ กล่าวตอนท้ายว่า ปัจจุบัน กระทรวงคมนาคมนำเสนอร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวแล้ว ซึ่งสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้รวบรวมความเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อพระราชบัญญัติดังกล่าว เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการเสนอร่างพระราชบัญญัติการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วมต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อเข้าสู่กระบวนการตามหลักการและแนวทางการจัดทำ และการเสนอร่างกฎหมายตามบทบัญญัติมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ทั้งนี้ คาดหวังว่าการใช้งานระบบตั๋วร่วมในระบบขนส่งสาธารณะจะเป็นการอำนวยสะดวกแก่ประชาชนผู้ใช้บริการ ซึ่งเป็นการเดินทางที่ประหยัดเวลา ประหยัดค่าเดินทาง และสนับสนุนการลดการใช้เงินสดเพื่อเข้าสู่สังคมไร้เงินสด Cashless Society ตามนโยบายของภาครัฐ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42702
Location: NECTEC

PostPosted: 14/09/2018 10:09 am    Post subject: Reply with quote

เล็งนำบัตรคนจนมาใช้เรือด่วนฯ-รถร่วม ขสมก.-บขส.
ศุกร์ที่ 14 กันยายน 2561 เวลา 09.41 น.
สนข. เผย ภาคเอกชนสนนำระบบตั๋วร่วมมาให้บริการในระบบขนส่งสาธารณะ คาดปี 61 มีความชัดเจนเปิดให้ประชาชนผู้ถือบัตรคนจน ขึ้นเรือด่วนเจ้าพระยา-รถร่วม ขสมก. รถร่วม บขส.



นางวิไลรัตน์ ศิริโสภณศิลป์ รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 12 ก.ย. ที่ผ่านมา ได้ประชุมหารือ และถ่ายทอดนโยบายและกำหนดแผนการนำระบบตั๋วร่วม (อีทิคเก็ต) มาใช้ในการเดินทางในภาคขนส่งสำหรับบริการรถโดยสารประจำทาง และเรือโดยสาร โดยมีเจ้าหน้าที่ สนข. และผู้แทนจาก การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) บริษัท เรือด่วนเจ้าพระยา จำกัด และสมาคมผู้ประกอบการรถยนต์โดยสาร เข้าร่วมประชุม ซึ่งการประชุมหารือครั้งนี้เพื่อให้ผู้ประกอบการรถโดยสารประจำทางและเรือโดยสารมีความพร้อมในการเข้าร่วมรับชำระค่าโดยสารผ่านบัตรตั๋วร่วมหรือบัตรแมงมุมและสามารถวางแผนการดำเนินงานในส่วนที่เกี่ยวข้องได้อย่างถูกต้อง สอดคล้องกับแผนการนำระบบอีทิคเก็ตมาใช้ในการเดินทางในภาคขนส่งได้อย่างเหมาะสมต่อไป

นางวิไลรัตน์ กล่าวต่อว่า ผลการประชุมผู้ประกอบการภาคเอกชนได้ให้ความสนใจในการจะนำระบบอีทิคเก็ตมาให้บริการ  และเข้าร่วมโครงการระบบตั๋วร่วม โดยเปิดให้ประชาชนที่ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐขยายนำมาใช้กับระบบขนส่งสาธารณะเพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะเป็น เรือด่วนเข้าพระยา รถร่วม ขสมก. และรถร่วมบริษัทขนส่งจำกัด (บขส.) ตอนนี้เอกชนมีความพร้อม หลังจากนี้ทุกหน่วยงาน ประกอบด้วย  กระทรวงการคลัง กรมเจ้าท่า (จท.) ที่กำกับดูแลเรือด่วนพระยา กรมการขนส่งทางบก (ขบ.) ที่กำกับดูแลรถร่วม ขสมก. และ บขส. ที่กำกับดูแลรถร่วม บขส. โดยภาคเอกชนต้องแจ้งความประสงค์ที่จะเข้าร่วมระบบตั๋วร่วมมายังหน่วยงานที่กำกับดูแล เพื่อดำเนินการ ขณะเดียวกัน รฟม. ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ดูแลระบบ ตอนนี้พร้อมดำเนินการด้านเทคโนโลยี  คาดว่าภายในปี 61 จะมีความชัดเจนในการเปิดให้ประชาชนที่ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐนำมาใช้กับระบบขนส่งสาธารณะที่เป็นการให้บริการของภาคเอกชนมากขึ้น หลังจากที่ปัจจุบันได้เปิดให้ประชาชนที่ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐการนำมาใช้กับบริการระบบขนส่งสาธารณะในภาครัฐแล้ว อาทิ รถไฟ บขส. และ รถไฟฟ้า.
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 184, 185, 186 ... 278, 279, 280  Next
Page 185 of 280

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©