Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311235
ทั่วไป:13181293
ทั้งหมด:13492528
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟฟ้าสายสีส้ม (บางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟฟ้าสายสีส้ม (บางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 13, 14, 15 ... 89, 90, 91  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44332
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 06/07/2018 1:58 pm    Post subject: Reply with quote

MRT Orange Line East Section


https://www.youtube.com/watch?v=QO7xiBZjc2Q
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44332
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 06/07/2018 2:00 pm    Post subject: Reply with quote

ความก้าวหน้าการก่อสร้างสถานีคลองบ้านม้า OR22 ประจำเดือนเมษายน 2561 (2)

โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม(ตะวันออก) ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย - มีนบุรี (สุวินทวงศ์)


https://www.youtube.com/watch?v=HpB4UGeaHGo
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42625
Location: NECTEC

PostPosted: 08/07/2018 3:19 am    Post subject: Reply with quote

รฟม.แจ้งเบี่ยงจราจร ถ.รามคำแหง รื้อ-ย้ายชิ้นส่วนสะพานลอย สร้างรถไฟฟ้าสายสีส้ม
โดย: MGR Online
เผยแพร่: 6 กรกฎาคม 2561 เวลา 10:36
การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) แจ้งว่า บริษัท ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) ผู้รับจ้างงานก่อสร้างโครงสร้างทางวิ่งยกระดับ สัญญาที่ 4 ช่วงคลองบ้านม้า-มีนบุรี(สุวินทวงศ์) โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม (ตะวันออก) ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย - มีนบุรี มีความจำเป็นต้องเบี่ยงการจราจรบนถนนรามคำแหง เพื่อดำเนินการรื้อย้ายสะพานลอย ทั้งนี้ จึงมีความจำเป็นต้องเบี่ยงจราจรถนนรามคำแหงใน วันเสาร์ที่ 7 กรกฎาคม 2561 เวลา 22.00 – 05.00 น. บริเวณ ดังนี้

(1) เบี่ยงจราจรถนนรามคำแหงฝั่งขาเข้าบริเวณ ซอยรามคำแหง 178 ถึง ซอยรามคำแหง 188 ทุกช่องจราจร ทั้งนี้ผู้ใช้เส้นทางยังคงสัญจรได้โดยจะทำการเปิดช่องเบี่ยงให้ไปใช้ฝั่งขาออก (ทำทีละฝั่ง)

(2) เบี่ยงจราจรถนนรามคำแหงฝั่งขาออกเบี่ยงจราจรบริเวณ ซอยรามคำแหง 193 ถึง ซอยรามคำแหง 203/1 ทุกช่องจราจร ทั้งนี้ผู้ใช้เส้นทางยังคงสัญจรได้โดยจะทำการเปิดช่องเบี่ยงให้ไปใช้ฝั่งขาเข้า (ทำทีละฝั่ง)

ทั้งนี้ การเบี่ยงจราจรเพื่อดำเนินการก่อสร้างในช่วงวันเวลาดังกล่าว อาจทำให้ผู้ใช้เส้นทางไม่ได้รับความสะดวกและอาจมีเสียงดังรบกวนในช่วงที่มีการดำเนินการก่อสร้าง รฟม. ต้องขออภัยมา ณ โอกาสนี้
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44332
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 12/07/2018 6:41 am    Post subject: Reply with quote

‘สมคิด’เร่งประมูลระบบราง 13โครงการ‘7.5แสนล้าน’
กรุงเทพธุรกิจ 12 ก.ค. 61
นโยบายเศรษฐกิจ

Click on the image for full size
สมคิด จาตุศรีพิทักษ์

สมคิด ขีดเส้นคมนาคมเข็นเมกะโปรเจคระบบรางเปิดประมูลปีนี้ 7.5 แสนล้าน อัดเงินเข้าระบบเศรษฐกิจ หวัง รฟท.เป็นพระเอกของการลงทุนปีนี้ สั่งการบ้านเร่งคลอดรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ - หัวหิน

พร้อมศึกษาพัฒนาต่อถึงสุราษฎร์ธานีหนุนการท่องเที่ยว ขณะที่ทางคู่ 9 โครงการทยอยเปิดประมูล ต.ค.61

นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เดินทางไปติดตามความคืบหน้าการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของกระทรวงคมนาคม โดยต้องการให้ทุกหน่วยงานเร่งเปิดประมูล เพื่อให้การลงทุนภาครัฐมีส่วนในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจปีนี้

นายสมคิด กล่าวว่า สั่งการให้ทุกหน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคม เร่งผลักดันโครงการเข้าสู่ขั้นตอนการประมูลทั้งรถไฟฟ้า รถไฟความเร็วสูงและรถไฟทางคู่ โดยการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) จะเป็นพระเอกของการลงทุนในปีนี้ เพราะมีหลายโครงการที่จะประมูล และไม่ต้องการให้แต่ละโครงการล่าช้าจึงสั่งการให้ รฟท.เร่งผลักดันรถไฟความเร็วสูงเส้นทางกรุงเทพฯ-หัวหิน โดยทีโออาร์จะออกในไม่ช้าและให้ รฟท.ศึกษาขยายเส้นทางถึงสุราษฎร์ธานี เพื่อเสริมศักยภาพไทยเป็นฮับกลุ่ม CLMVT จากการเชื่อมโยงชายฝั่ง โดยรถไฟความเร็วสูงส่วนต่อขยายสุราษฎร์ฯ ให้เสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในปีนี้ และประมูลปี 2562

นอกจากนี้ สั่งการให้ รฟท.เร่งเปิดประมูลรถไฟทางคู่รวม 9 เส้นทาง และศึกษาความเหมาะสมการพัฒนารถไฟทางคู่ไปสุราษฎร์ฯ เพื่อเสริมการท่องเที่ยว รวมทั้งให้เร่งศึกษาเส้นทางรถไฟในภูมิภาคเพื่อเชื่อมเมืองรอง โดยบรรจุแผนพัฒนาในแผนลงทุน 2562 เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว แก้ปัญหาการกระจุกตัวของนักท่องเที่ยว รวมทั้งกระจายเม็ดเงินกระตุ้นเศรษฐกิจเมืองรอง

นายสมคิด ยังกล่าวอีกว่า ต้องการให้ทุกหน่วยงานในกระทรวงคมนาคม พัฒนาโครงการเสริมโครงการไทยแลนด์ริเวียร่า ไม่ว่าจะเป็นกรมเจ้าท่า ให้พิจารณาเพิ่มความถี่ของการเดินเรือในเส้นทางหัวหิน เส้นทางสมุย ให้เพียงพอต่อความต้องการของนักท่องเที่ยว ขณะเดียวกันทางบก ขอให้กรมทางหลวงชนบท (ทช.) เร่งศึกษาเส้นทางสายสุขุมวิท พัฒนาถนนเลียบชายฝั่ง สนับสนุนการเดินทาง

เร่งทยอยเปิดประมูลไตรมาส 3

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า ได้รับนโยบายของนายสมคิด โดยในเดือน ส.ค.–ก.ย.นี้ มีหลายโครงการของคมนาคมเสนอ ครม.พิจารณา โดยโครงการที่ชัดเจนมากที่สุด คือ รถไฟทางคู่ 9 เส้นทาง ซึ่งเส้นทางช่วงเด่นชัย–เชียงราย–เชียงของ จะเสนอ ครม.ในเดือน ก.ค.นี้ ส่วนอีก 8 เส้นทางกำลังปรับข้อมูลและจะเสนอ ครม.ในเดือน ก.ย.-ต.ค.นี้

ขณะเดียวกัน ยังมีโครงการรถไฟฟ้าที่จะทยอยเปิดประมูล เช่น รถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ ช่วงเตาปูน – วงแหวนกาญจนาฯ รวมถึงรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตก ช่วงตลิ่งชัน – ศูนย์วัฒนธรรม จะเสนอ ครม.ในเดือน ต.ค.-พ.ย.นี้ รวมถึงโครงการรถไฟรางเบา จังหวัดภูเก็ตจะเปิดประมูลได้ในปีนี้

ส่วนท่าเรือแหลมฉบังเฟส 3 และโครงการพัฒนาศูนย์การขนส่งตู้สินค้าทางรถไฟท่าเรือแหลมฉบัง และสถานีบรรจุและแยกสินค้ากล่อง (ไอซีดี) ลาดกระบังที่เตรียมเปิดประมูล

รถไฟความเร็วสูงเส้นทางกรุงเทพฯ - หัวหิน เสนอคณะกรรมการพีพีพีพิจารณาแล้ว และได้ส่งกลับให้ รฟท.เพิ่มข้อมูล โดยเส้นทางนี้มีระยะทางใกล้เคียงกับรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน แต่มีแม่เหล็กสำคัญ คือ การท่องเที่ยว และถ้าจะให้เกิดประโยชน์สูงสุดก็ต้องศึกษาเส้นทางให้ลึกลงไปในแหล่งท่องเที่ยวภาคใต้เพิ่มเติม

นายวรวุฒิ มาลา รักษาการผู้ว่า รฟท.กล่าวว่า รฟท.ศึกษารถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ–หัวหินเสร็จแล้ว ระยะทาง 230 – 240 กิโลเมตร (กม.) หากจะพัฒนาไปถึงสุราษฎร์ฯ คาดว่าจะมีเส้นทางยาวกว่า 600 กม.ซึ่งยังไม่เริ่มศึกษา แต่จะเดินนำร่องประมูลเส้นทางกรุงเทพฯ–หัวหิน ภายในปีนี้ก่อน ส่วนรถไฟทางคู่ประเมินว่าช่วงขอนแก่น-หนองคาย จะเป็นโครงการต่อไปที่เสนอ ครม. ส่วนภาพรวมโครงการรถไฟทางคู่ทั้งหมดจะเริ่มเปิดประมูลในเดือน ต.ค.นี้

เร่ง 13 โครงการลงทุน 7.5แสนล้าน

รายงานข่าว ระบุว่า โครงการที่นายสมคิด สั่งการให้คมนาคมเร่งเปิดประมูลภายในปีนี้ รวม 13 โครงการ เม็ดเงินลงทุน 7.5 แสนล้านบาท ประกอบด้วย โครงการรถไฟทางคู่ 9 เส้นทาง แบ่งเป็นการพัฒนาเส้นทางเดิม 7 เส้นทาง คือ
1.ช่วงปากน้ำโพ – เด่นชัย ระยะทาง 285 กม. วงเงินลงทุน 59,399 ล้านบาท
2.ช่วงชุมทางถนนจิระ-อุบลราชธานี ระยะทาง 308 กม. วงเงิน 36,683 ล้านบาท
3.ช่วงขอนแก่น-หนองคาย ระยะทาง 169 กม. วงเงิน 25,842 ล้านบาท
4.ช่วงชุมพร-สุราษฎร์ธานี 168 กม. วงเงิน 23,080 ล้านบาท
5.ช่วงสุราษฎร์ธานี-สงขลา ระยะทาง 324 กม. วงเงิน 59,399 ล้านบาท
6.ช่วงหาดใหญ่-ปาดังเบซาร์ ระยะทาง 45 กม. วงเงิน 7,864 ล้านบาท
7.ช่วงเด่นชัย-เชียงใหม่ 189 กม. วงเงิน 57,992 ล้านบาท

รวมทั้งมีรถไฟทางคู่สายใหม่ 2 เส้นทาง คือ
1.ช่วงเด่นชัย - เชียงราย – เชียงของ 326 กม. วงเงิน 71,696 ล้านบาท
2. ช่วงบ้านไผ่ - มุกดาหาร – นครพนม 355 กม. วงเงิน 54,684 ล้านบาท และ
รถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ–หัวหิน วงเงิน 94,673 ล้านบาท

ขณะที่โครงการรถไฟฟ้ามี 2 เส้นทางที่ต้องเร่งประมูล คือ
สายสีส้มตะวันตก ช่วงตลิ่งชัน – ศูนย์วัฒนธรรม วงเงิน 85,200 ล้านบาท
รถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ ช่วงเตาปูน – วงแหวนกาญจนาฯ วงเงิน 131,172 ล้านบาท และ
มอเตอร์เวย์ สายบางใหญ่–กาญจนบุรี 96 กม.วงเงิน 49,120 ล้านบาท
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42625
Location: NECTEC

PostPosted: 07/08/2018 6:24 pm    Post subject: Reply with quote

เผื่อเวลา-หาทางลัดใช้เลี่ยง วิกฤติอีกสร้างรถไฟฟ้า3สี
คอลัมน์ : มุมคนเมือง
โดย “เทียนหยด”
อังคารที่ 7 สิงหาคม 2561 เวลา 08.00 น.


สัปดาห์นี้พาไปดูวิกฤติเมืองกรุง ผลกระทบสร้างรถไฟฟ้า 3 สี หายสงสัยทำไมช่วงนี้รถติดหนึบ ต้องนั่งแช่อยู่บนรถ 2-3 ชม.



หลายคนบ่นอุบ ทำไมท้องถนนกทม. ช่วงนี้ถึงติดหนึบ การจราจรกลับมาวิกฤติอีกครั้ง นั่นเป็นเพราะว่า...มีผลกระทบจากการปิดถนนลาดพร้าว เพื่อก่อสร้าง “รถไฟฟ้าสายสีเหลือง” นั่นเอง

พล.ต.ต.จิรพัฒน์ ภูมิจิตร รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล บอกว่า การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย หรือ รฟม. เริ่มปิดถนนลาดพร้าวด้านละ 1 ช่องจราจร รวม 2 ช่องไปกลับ จากที่มี 6 ช่องจราจร เหลือผิวจราจร 4 ช่องไปกลับ พร้อมยกเลิกช่องทางพิเศษวิ่งสวนเลนในช่วงเช้าที่เคยระบายรถขาเข้าเมือง ทำให้ท้ายแถวถนนลาดพร้าวขาเข้า ยาวเหยียดหลายกิโลเมตรถึงแยกนิด้า

ส่วนขาออกสะสมถึงแยกรัชดาฯ-ลาดพร้าวและห้าแยกลาดพร้าว พันถนนรัชดาภิเษกทั้ง 2 ฝั่งเข้าออก กระทบถนนพระราม 9 เข้าถนนดินแดง อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ กทม.ชั้นในติดล็อกเป็นวงแหวน ถนนพหลโยธิน และถนนวิภาวดีรังสิตก็หยุดนิ่ง เพราะเข้ารัช-วิภาไม่ได้ รถติดพันกินพื้นที่ครึ่งกทม.



“เมื่อเย็นวันศุกร์ ตำรวจต้องใช้เวลากว่า 3 ชม. เร่งระบายรถจนกว่าจะคลี่คลาย สัปดาห์นี้จะเรียกตัวแทนรฟม. รวมถึงผู้รับเหมาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หารือแนวทางว่าจะช่วยกันลดวิกฤติรถติดได้อย่างไรบ้าง”

กระทรวงคมนาคม ภายใต้รัฐบาล พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ลงทุนมหาศาลเพื่อพลิกโฉมการเดินทางของคนไทยทุกโหมด โดยเฉพาะระบบรางที่โหมก่อสร้างทั้งรถไฟทางคู่ รถไฟความเร็วสูงหรือไฮสปีดเทรน เชื่อมโยงการเดินทางทั่วประเทศให้แล้วเสร็จภายในปี 72

ในส่วนของกทม. และปริมณฑล ลุยเต็มสูบก่อสร้างรถไฟฟ้าหลากสี ตามแผนแม่บทระยะที่ 1 ให้เสร็จภายในปี 65 จะทำให้กทม. มีรถไฟฟ้ายาวถึง 464 กม. ขึ้นแท่นมหานครระบบรางอันดับ 3 ของโลกรองจากเซี่ยงไฮ้ที่จีน และกรุงโซล เกาหลีใต้ มีระบบราง 588 กม. และ 508 กม.ตามลำดับ โค่นแชมป์เก่าอย่างกรุงลอนดอน อังกฤษที่มี 402 กม. นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา 394 กม. และมหานครโตเกียว ญี่ปุ่น 203 กม.

ในปีนี้มีรถไฟฟ้าถึง 3 สี ที่ต้องลงพื้นที่ก่อสร้างพร้อมกันและปิดถนนนาน3 ปีเต็มๆ ประกอบด้วยรถไฟฟ้าโมโนเรล หรือรถไฟฟ้ารางเดี่ยว 2 สาย คือ สายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง ระยะทาง 30 กม. จุดที่กระทบอย่างหนัก คือ ถนนลาดพร้าว ตำรวจแนะนำเผื่อเวลาเดินทาง 2-3ชม. และแนะนำบริษัทเอกชนและโรงเรียนเหลื่อมเวลาเรียนและเวลาทำงาน จะได้เดินทางไม่พร้อมกันตูมเดียว



ขณะที่สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กับองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) กำลังพิจารณาจัดรถชัทเทิลบัสรับส่งประชาชน เพื่อจูงใจให้ลดปริมาณการใช้รถส่วนตัวระหว่างก่อสร้าง

ส่วนโมโนเรลสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี ระยะทาง 34.5 กม. วางเสาเข็มต้นแรกบริเวณแยกลาดปลาเค้าแล้ว โดยรื้อย้ายระบบสาธารณูปโภค ไฟฟ้า-ประปา ตามแนวถนนติวานนท์จนถึงรามอินทราเสร็จเกือบ100 % เหลือจากถนนรามอินทราที่เข้าถนนสุขาภิบาล3 (ตลาดมีนบุรี) เริ่มเข้าพื้นที่แล้วอีกไม่นานก็จะเริ่มปิดการจราจรเต็มรูปแบบเช่นกัน โดยวันที่ 20 ส.ค.นี้ นายกรัฐมนตรี จะไปเป็นประธานในพิธีวางศิลาฤกษ์ก่อสร้างโครงการโมโนเรล 2 สายแรกของไทย เพื่อความเป็นสิริมงคลด้วย



อีกโครงการ คือ รถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันออก (ศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี) ระยะทาง 35.4 กม. บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จํากัด (มหาชน) ผู้รับเหมาได้ประกอบหัวเจาะ และกำลังทดสอบระบบการทำงานของหัวขุดเจาะอุโมงค์ สัญญาที่ 3 งานโยธาส่วนใต้ดิน (ช่วงหัวหมาก-คลองบ้านม้า) ที่โรงงาน MRP Engineering จ.ชลบุรี เตรียมความพร้อมในการขุดเจาะพื้นที่จริงวันที่ 9 ม.ค.62 โดยขณะนี้ผู้รับเหมาได้ปิดถนนรามคำแหงหลายจุด เพื่อรื้อย้ายระบบสาธารณูปโภค จึงเป็นอีกจุดที่มีปัญหาการจราจรอัมพาตเช่นกัน 



เมื่อช่องจราจรถนนเมืองกรุงหายไป และถูกแทนที่ด้วยเครื่องจักรเพื่อก่อสร้างรถไฟฟ้า สวนทางกับปริมาณรถที่มีแต่จะเพิ่มขึ้น ล่าสุดกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) เผยสถิติจดทะเบียนรถใหม่ทั่วประเทศ ช่วงครึ่งปีแรก 61 (ม.ค.-มิ.ย.) รวม 1,614,576 คัน เพิ่มขึ้นจากครึ่งปีแรกของปี 60 ถึง 1.9% โดยรถจยย.มีสถิติจดทะเบียนใหม่สูงสุด 1,008,486 คัน รองลงมารถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน (รถเก๋ง) 373,063 คัน รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล (รถกระบะ) 141,271 คัน รถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารไม่เกิน 7 คน (รถแท็กซี่) 8,094 คัน รถจยย.สาธารณะ 1,911 คัน ส่วนรถบรรทุก 34,755 คัน เพิ่มขึ้น 9.2% ขณะที่รถโดยสารมี 6,186 คัน เพิ่มขึ้น 15.7%

ส่งผลให้จำนวนรถจดทะเบียนสะสมทั่วประเทศ จนถึงปัจจุบัน (ข้อมูล ณ วันที่ 30 มิ.ย.61) รวม 38,969,601 คัน เป็นรถจยย. 20,709,434 คัน รถเก๋ง 9,074,573 คัน รถกระบะ 6,527,058 คัน รถแท็กซี่ 84,005 คัน รถจยย.สาธารณะ 188,171 คัน รถบรรทุก 1,108,671 คัน และรถโดยสาร 160,977 คัน ล้นทะลักท้องถนนโดยเฉพาะกทม. เมืองที่ติดแชมป์โลกด้วยปัญหารถติด

เข้าใจหัวอกคนใช้รถส่วนตัว ว่าเป็นเรื่องยากและลำบาก ที่จะให้เปลี่ยนพฤติกรรมไปใช้ขนส่งสาธารณะ อย่างรถไฟฟ้าบีทีเอส เอ็มอาร์ที หรือแอร์พอร์ตเรลลิงก์ เพราะเส้นทางยังไม่คลอบคลุม แถมต้องลุ้นกันรายวันว่าจะ “ขัดข้องหรือไม่” แต่ถ้าเดินรถราบรื่นก็ประกันเวลาและสะดวกสบาย ส่วนที่ใช้รถเมล์ก็ต้องโหนต้องทนนั่งแกร่ว เสียเวลาบนท้องถนนนานขึ้นไปอีก เพราะไม่มีทางเลือก 

ดังนั้นต้องทำใจ ศึกษาทางลัดทางเลี่ยง รวมทั้งเผื่อเวลาเดินทางให้มากขึ้น รักษาวินัยจราจร อย่าเติมปัญหาให้ท้องถนน อดทนเพื่ออนาคตอันสดใส ให้กทม. เป็นมหานครระบบรางของโลก.
................................
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44332
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 28/08/2018 5:57 am    Post subject: Reply with quote

เคาะรถไฟฟ้าสายสีส้ม‘1.4แสนล้าน’
กรุงเทพธุรกิจ 28 ส.ค. 61
เมกะโปรเจ็กต์

Click on the image for full size

รฟม.จ่อชงบอร์ด 31 ส.ค.นี้ ไฟเขียวเปิดประมูลก่อสร้าง และงานเดินรถไฟฟ้าสายสีส้มเหนือ-ใต้ วงเงิน 1.4 แสนล้านบาท มั่นใจคลอดทีโออาร์ทันปีนี้ พร้อมเตรียมเดินหน้าโมโนเรลส่วนต่อขยายสายสีชมพูเข้าเมืองทองธานี นายกฯ ห่วงค่าเวนคืนพุ่งเป็นอุปสรรคโครงการรัฐ

รถไฟฟ้าสายสีส้มฝั่งตะวันตก (ศูนย์วัฒนธรรมฯ-บางขุนนนท์) และรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ (เตาปูน-ราษฎร์บูรณะ) วงเงินลงทุนรวม 2.4 แสนล้านบาท เป็นโครงการรถไฟฟ้าเส้นทางใหม่ที่กำลังจะเปิดประมูลหลังจากที่ล่าสุดคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติการลงทุนโครงการรถไฟฟ้ารางเดียว (โมโนเรล) สายสีเหลือและสายสีชมพูเมื่อเดือน พ.ค.2560

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า ความคืบหน้าของแผนดำเนินงานในช่วงที่เหลือของปี 25561 จะผลักดันรถไฟฟ้าสายสีส้มฝั่งตะวันตก (ศูนย์วัฒนธรรมฯ-บางขุนนนท์) ให้คณะกรรมการ รฟม.ในวันที่ 31 ส.ค.นี้ จะเสนอพิจารณาและอนุมัติโครงการรวม 2 โครงการ คือ 1.งานก่อสร้าง และงานเดินรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ - มีนบุรี ระยะทางราว 35.4 กิโลเมตร (กม.) และงานก่อสร้างรถไฟฟ้าสายส้ม ฝั่งตะวันตก ช่วงศูนย์วัฒนธรรม - บางขุนนนท์ รวมมูลค่า 1.3-1.4 แสนล้านบาท

นายภคพงษ์ กล่าวว่า รฟม.ประเมินว่า จะออกทีโออาร์รถไฟฟ้าสายสีส้มฝั่งตะวันตกได้ทันในปี 2561 โดยจะเปิดให้เอกชนร่วมลงทุน (พีพีพี) ในรูปแบบ Net Cost ซึ่งภาครัฐช่วยสนับสนุนการลงทุนค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน ขณะที่เอกชนต้องลงทุนงานระบบรถไฟฟ้าและการเดินรถตลอดเส้นทางระยะเวลารวม 30 ปี และเมื่อคณะกรรมการ รฟม.เห็นชอบแล้ว จะนำเสนอต่อคณะกรรมการนโยบายการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (คณะกรรมการพีพีพี) เพื่อกลั่นกรองก่อนเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติ

ชงขยายสีชมพูเข้าเมืองทอง

นอกจากนี้ จะเสนอคณะกรรมการ รฟม.พิจารณาโครงการส่วนต่อขยายสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี จากสถานีศรีรัชเข้าเมืองทองธานี ระยะทาง 2.8 กม. วงเงินลงทุนราว 3,300 ล้านบาท

โดยโครงการส่วนต่อขยายสายสีชมพู รฟม.ได้เปิดรับฟังความคิดเห็น พร้อมดำเนินการศึกษาความเป็นไปได้ของการก่อสร้างโครงการแล้ว พบว่าจะพัฒนาส่วนต่อขยายระยะทาง 3 กิโลเมตร เริ่มต้นบริเวณสถานีศรีรัช ถนนแจ้งวัฒนะ ภายใต้ระบบรถไฟฟ้าโมโนเรล โดยมีโครงสร้างยกระดับตลอดแนวเส้นทาง

ทั้งนี้ ขั้นตอนดำเนินการหลังจากนี้ รฟม.จะรวบรวมผลการศึกษาทั้งหมดเสนอที่ประชุมคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) เพื่อบรรจุในแผนแม่บทการจราจร หลังจากนำเสนอเข้ากระทรวงคมนาคมเพื่อนำเข้าที่ประชุม ครม. โดยเบื้องต้นตามแนวเส้นทางก่อสร้าง พบว่าจะต้องมีการเวนคืนที่ดิน ซึ่งภาครัฐจะเป็นผู้ดำเนินการ และเอกชนจะจ่ายชดเชยภายหลัง

ระยะเวลางานก่อสร้างในส่วนต่อขยายอาจจะใช้เวลามากกว่าเส้นทางหลัก เพราะติดขั้นตอนอีไอเอ และการเวนคืนที่ดิน แต่จากการประเมินเบื้องต้นมั่นใจว่าไม่กระทบต่อเส้นทางหลักที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง และมีกำหนดเปิดให้บริการในปี 2564 ส่วนอัตราค่าโดยสารไม่ว่าจะเป็นบริษัทใดเข้ามาเดินรถก็จะมีกรอบราคาค่าโดยสาร 14 - 42 บาท โดยจะมีค่าแรกเข้า 14 บาท

สายสีม่วงประมูลไม่ทันปีนี้

ส่วนโครงการก่อสร้างส่วนต่อขยายสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง ซึ่งจะดำเนินการต่อขยายเส้นทางไปตามถนนรัชดาภิเษกสิ้นสุดบริเวณแยกรัชโยธิน ระยะทาง 2.6 กิโลเมตร ขณะนี้ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการ รฟม.แล้ว

นอกจากนี้ โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ อยู่ระหว่างขอใช้พื้นที่จากหลายหน่วยงาน ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ของทางราชการ และรัฐวิสาหกิจ รวมทั้งสำนักทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ เช่น บริเวณถนนสามเสน ถนนเทเวศร์ และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ซึ่งหากเป็นพื้นที่ราชการจะมีเงื่อนไขปฏิบัติที่ รฟม.ต้องทำหนังสือขอใช้พื้นที่ และหากเป็นพื้นที่ของหน่วยงานรัฐวิสาหกิจจะชำระเงินเป็นสิ่งตอบแทน โดยหากแก้ปัญหาจุดนี้ได้ก็จะสามารถออกเอกสารประกวดราคา (ทีโออาร์) แต่เบื้องต้นคาดว่าอาจดำเนินการไม่ทันปี 2561

หวังทุกคนเข้าถึงรถไฟฟ้า

วานนี้ (27 ส.ค.) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีเริ่มการก่อสร้างรถไฟฟ้าโมโนเรล 2 สายแรกของไทย คือ สายสีชมพู (แคราย-มีนบุรี) และสายสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง) และนายกรัฐมนตรีระบุว่าที่ผ่านมารัฐบาลมีนโยบายผลักดันโครงการขนาดใหญ่ เพื่อให้ดำเนินไปอย่างต่อเนื่องและเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้า ซึ่งได้กำหนดให้อยู่ในแผนยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี มุ่งหวังเพื่อเชื่อมต่อการเดินทางในกรุงเทพฯ และปริมณฑล รวมทั้งเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางด้านเศรษฐกิจและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน

สำหรับรถไฟฟ้าสายสีชมพูและสายสีเหลือง ยังถือเป็นโครงการนำร่องภายใต้นโยบาย PPP Fast Track ของรัฐบาล ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อเร่งรัดการดำเนินงานโครงการให้มีความรวดเร็ว รวมทั้งเปิดโอกาสให้เอกชนร่วมลงทุนในโครงการที่เกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ ซึ่งปัจจุบันมีความก้าวหน้างานก่อสร้างไปมาก

ต้องการให้ รฟม.เข้มงวดความปลอดภัยในการก่อสร้าง รวมถึงอัตราค่าโดยสารที่ให้ประชาชนทุกคนเข้าถึงบริการ ส่วนเรื่องการเวนคืนที่ดินก็ต้องทำให้รอบคอบและคุ้มค่า

นายกฯห่วงค่าเวนคืนพุ่ง

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า นายกรัฐมนตรี แสดงความเป็นห่วงว่าค่าเวนคืนที่สูงขึ้นจะเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินโครงการก่อสร้างของรัฐ และมอบให้กระทรวงคมนาคมไปหาแนวทางแก้ไข ซึ่งยืนยันว่าที่ผ่านมามีการให้ค่าเวนคืนตามราคาตลาด พร้อมยอมรับว่าเคยมีการใช้วิธีซื้อขายที่ดินด้วยการเปลี่ยนมือกันเอง เพื่อทำให้ที่ดินราคาสูงขึ้น แต่กระทรวงคมนาคมจะยึดถือราคาที่มีหลักฐานการซื้อขายจริง และราคาที่กรมที่ดินประเมินเท่านั้น

ทั้งนี้ ปัจจุบันการดำเนินงานก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีชมพู มีความก้าวหน้าการก่อสร้างงานโยธา 3.10% ส่วนโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง มีความก้าวหน้าการก่อสร้างงานโยธา 5.07% โดย รฟม. มั่นใจว่าจะสามารถก่อสร้างแล้วเสร็จ และทดลองระบบต่างๆ พร้อมเปิดให้บริการได้ช่วงปลายปี 2564 ซึ่งใช้เวลาน้อยกว่าการก่อสร้างรถไฟฟ้าแบบ Heavy Rail หรือ ระบบขนส่งมวลชนหลัก ที่ต้องใช้ระยะเวลาก่อสร้างไม่น้อยกว่า 6 ปี

อนึ่ง โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูและรถไฟฟ้าสายสีเหลืองมีกลุ่มกิจการร่วมค้า BSR ประกอบด้วย บริษัท บีทีเอส กรุ๊ปโฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) และบริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ที่ได้รับสัมปทาน เดินรถ 30 ปี และส่วนของงานก่อสร้าง 3 ปี 3 เดือน

นอกจากนี้ รฟม.ยังมีโครงการที่อยู่ระหว่างก่อสร้างเพิ่มเติม ประกอบไปด้วย รถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยาย ช่วงสำโรง - สมุทรปราการ มีกำหนดเปิดให้บริการ ธ.ค.2561 รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย ช่วงหัวลำโพง - บางแค และช่วงเตาปูน - ท่าพระ โดยมีกำหนดทยอยเปิดให้บริการในปี 2562 สายสีเขียวส่วนต่อขยาย ช่วงหมอชิต - สะพานใหม่ - คูคต กำหนดเปิดให้บริการปี 2563 และสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ - มีนบุรี คาดก่อสร้างแล้วเสร็จ พร้อมเปิดให้บริการในปี 2566
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42625
Location: NECTEC

PostPosted: 02/09/2018 10:29 pm    Post subject: Reply with quote

บอร์ดรฟม. ตีกลับรถไฟฟ้าสีส้ม “บางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนฯ” ลั่นไม่คุ้มค่าลงทุน มอบสิทธิ์ทำพื้นที่เชิงพาณิชย์ให้เอกชนหมด แต่รัฐแบกรับเงินลงทุนอ่วม
เศรษฐกิจ
วันที่ 2 กันยายน 2561 - 16:46 น.

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 31 ส.ค.ที่ผ่านมา คณะกรรมการ (บอร์ด) รฟม. มีมติเห็นชอบผลการศึกษาและผลการประชาพิจารณ์โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูส่วนต่อขยาย ช่วงสถานีศรีรัช-เมืองทองธานี โดยหลังจากนี้ รฟม. จะเสนอเรื่องให้กระทรวงคมนาคมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาตามขั้นตอนต่อไป

ส่วนโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้ม (ตะวันตก) ช่วงบางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมฯ ระยะทาง 13.4 กิโลเมตร และการเดินรถไฟฟ้าสายสีส้มตลอดเส้นทาง ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี วงเงินรวม 1.3-1.4 แสนล้านบาท ที่จะใช้วิธีรัฐเอกชนร่วมลงทุน (PPP) นั้น บอร์ดขอให้รฟม.ไปทบทวนเรื่องภาระอัตราดอกเบี้ยและผลตอบแทนของโครงการให้รอบคอบอีกครั้ง ส่วนกระแสข่าว การลักลอบนำดินที่ขุดจากการก่อสร้างอุโมงค์ทางลอดแยกรัชโยธินไปถมในพื้นที่ของเอกชนนั้น ไม่ได้มีการพิจารณาเรื่องนี้ในการประชุมบอร์ด

รายงานจากคณะกรรมการบอร์ด รฟม. เปิดเผยว่า สำหรับโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตกและการบริหารเดินรถตลอดเส้นทางที่ รฟม.นำเสนอให้บอร์ดรฟม.นั้น บอร์ดมีความเห็นว่า เป็นโครงการรถไฟฟ้าขนาดใหญ่ (เฮฟวี่เรล) ที่วิ่งผ่ากลางเมืองแนวตะวันตกและออก คาดว่าจะมีปริมาณผู้โดยสารมาก ซึ่งจะมีแนวโน้มผลตอบแทนรายได้ที่ดีมากและมีความเสี่ยงต่ำ



แต่รูปแบบการลงทุนที่รฟม. มีการนำเสนอให้บอร์ดพิจารณากลับทำให้เกิดความเสี่ยงต่อรัฐ เนื่องจากมีการเสนอมอบสิทธิ์ประโยชน์ในการการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ ภายในสถานีรถไฟฟ้าให้กับเอกชนทั้งหมด โดยให้รัฐเป็นผู้รับภาระเงินลงทุนจำนวนมาก ทั้งในส่วนของค่าเวนคืนที่ดิน และจัดหาวงเงินลงทุนด้านงานโยธา ซึ่งทำให้รัฐต้องรับภาระงบประมาณ ภาระดอกเบี้ยมากเกินไป ซึ่งบอร์ดบางคนแสดงความเห็นว่า ถ้าผลตอบแทนดี รฟม. ควรเป็นผู้ลงทุนเองด้วยซ้ำ ดังนั้นบอร์ด จึงขอให้ รฟม. กลับไปพิจารณาทบทวนรูปแบบการลงทุนใหม่ โดยเฉพาะเงื่อนไขอัตราผลตอบแทนที่รัฐควรได้รับให้สอดคล้องเหมาะสมมากที่สุด และนำมาเสนอให้บอร์ดรฟม.พิจารณาอีกครั้ง

“รฟม. มีการนำเสนอรูปแบบการลงทุนสายสีส้ม โดยอิงโมเดลเดียวกับ โมโนเรลสายสีชมพู และเหลือง คือให้สิทธิ์เอกชนพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ ซึ่งบอร์ดมองว่า รถไฟฟ้าเฮฟวี่เรลกับโมโนเรล มันต่างกัน เฮฟวี่เรลเป็นรถไฟฟ้าสายหลักคนขึ้นเยอะ ในขณะที่ โมโนเรลเป็นรถไฟฟ้าที่ฟีดเดอร์ ทำหน้าที่ส่งต่อคนโดยสารเท่านั้น คนใช้บริการไม่มาก ส่วนการลงทุน เฮฟวี่เรลก็ลงทุนเยอะกว่าโมโนเรลมาก หากจะให้รัฐแบกภาระลงทุนสีส้มทั้งค่าก่อสร้าง และค่ากรรมสิทธิ์ที่ดิน แต่ไม่ได้อะไรกลับมาเลย โดยเฉพาะสิทธิ์บริหารพื้นที่เชิงพาณิชย์ บอร์ดเห็นว่าไม่ถูกต้อง ไม่คุ้มค่า”
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42625
Location: NECTEC

PostPosted: 10/09/2018 5:23 pm    Post subject: Reply with quote

บอร์ด รฟม. ประชุมนัดพิเศษเรื่องรถไฟฟ้าสายสีส้มส่วนขยายตะวันตก (ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย - บางขุนนนท์) ระยะทาง 13.4 กิโลเมตร มูลค่า 143,000 ล้านบาท โดยให้เอกชนลงทุนงานโยธา 96000 ล้านบาท ก่อนและรัฐจะชดใช้ให้ใน 10 ปี เพื่อเร่งให้ผ่านบอร์ดรัฐวิสาหกิจได้ จนไปถึงครม. อนุมัติโครงการ และ เริ่มงานปลายปี 2562 เพื่อเปิดการเดินรถ 2568 หลังจากเปิดการเดินรถ ไฟฟ้าสายสีส้มช่วงแรก (มีนบุรี - ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย) ปี 2566
https://www.thebangkokinsight.com/42192

เปิดสเปคทีโออาร์สายสีส้มต้นปี 62

จันทร์ที่ 10 กันยายน 2561 เวลา 20.44 น.

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากกรณีที่บอร์ดพีพีพีได้เร่งรัดโครงการรถไฟฟ้า2สาย ได้แก่ รถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ วงเงิน 1.01 แสนล้านบาท และโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตกช่วงศูนย์วัฒนธรรม-บางขุนนนท์ วงเงิน 1.4 แสนล้านบาท คาดว่าจะเสนอให้ที่ประชุมบอร์ดพิจารณาได้ภายในปีนี้ก่อนเปิดประมูลต่อไปช่วงต้นปี 2562นั้น

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.)กล่าวว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ(บอร์ด)นัดพิเศษได้มีมติเห็นชอบโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตกระยะทาง 13.4 กม. หลังจากนี้จะเร่งเสนอกระทรวงคมนาคมภายในเดือนก.ย.ก่อนส่งต่อเรื่องไปยังบอร์ดพีพีพี และที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)ภายในปลายปีนี้ เพื่อให้เข้าสู่ขั้นตอนร่างเอกสารประกวดราคา(ทีโออาร์) ได้ตามแผนในช่วงต้นปี และเปิดประมูลภายในปี 62 ก่อนเริ่มก่อสร้างในช่วงปลายปีหรืออย่างช้าต้นปี 63 ซึ่งตามเป้าหมายนั้นจะเปิดให้บริการรถไฟฟ้าสายนี้ได้ในปี 68

นายภคพงศ์ กล่าวต่อว่า สำหรับเงื่อนไขการลงทุนนั้นจะเป็นรูปแบบ PPP Net Cost ซึ่งมีงบประมาณ 1.4 แสนล้านบาท แบ่งเป็นค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน 1.5 หมื่นล้านบาท ค่างานก่อสร้างโยธา 9.6 หมื่นล้านบาทและค่างานระบบและการจัดหารถ 3.2 หมื่นล้านบาท สำหรับเงื่อนไขของทีโออาร์นั้น ประกอบด้วยกันสองส่วน เริ่มจากค่างานโยธาวงเงิน 9.6 หมื่นล้านบาท ซึ่งส่วนนี้เอกชนต้องเป็นฝ่ายลงทุนก่อน โดยรัฐบาลจะทยอยชำระเงินคืนให้พร้อมดอกเบี้ยภายใน 10 ปี นับตั้งแต่เปิดบริการ โดยจะคัดเลือกเอกชนที่ยื่นข้อเสนอให้รัฐบาลออกเงินค่างานโยธาน้อยที่สุด ซึ่งวิธีดังกล่าวนับเป็นแผนในการลดตัวเลขหนี้สาธารณะของประเทศ ส่วนด้านงานระบบและเดินรถ วงเงิน 3.2 หมื่นล้านบาทระยะเวลาสัมปทาน 30 ปีนั้น เอกชนจะต้องลงทุนทั้งหมด โดยจะคัดเลือกเอกชนที่เสนอรายได้เชิงพาณิชย์และรายได้ค่าโดยสารมากที่สุดให้กับรัฐบาล เนื่องจากหากเอกชนรับรายได้ต่ำก็จะทำใหผลประโยชน์กลับสู่ภาพรวมของประชาชนมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้พื้นที่เชิงพาณิชย์ทั้งหมดจะเป็นของเอกชนระยะเวลา 30 ปี

รายงานข่าวจากกระทรวงคมนาคมระบุว่า โครงการดังกล่าวเป็นโครงการขนาดใหญ่ซึ่งใช้วงเงินลงทุนจำนวนมาก บริษัทที่น่าจะเข้าร่วมประมูลเข้าซื้อซองและประกวดราคาโครงการนี้ จึงน่าจะเป็นกลุ่มบีทีเอสกรุ๊ปโฮลดิ้งส์ หรือ บีทีเอส และกลุ่ม บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด หรือ บีอีเอ็ม อย่างไรก็ตามเนื่องจากเป็นโครงการขนาดใหญ่ ดังนั้นจึงมีโอกาสที่กลุ่มทุนจะจับมือร่วมกันเข้าประมูลโครงการอย่างกลุ่ม บีเอสอาร์ ซึ่งประกอบด้วย บีทีเอส บริษัท ชิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่งแอนด์คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด(มหาชน)
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42625
Location: NECTEC

PostPosted: 14/09/2018 3:21 pm    Post subject: Reply with quote

ครึ่งปีหลัง “สายสีส้ม” ปลุกคอนโดรามคำแหงเดือด-
วันศุกร์ที่ 14 กันยายน 2561 - 07:00 น.



สถานีราชมังคลา - ค่ายศุภาลัยเปิดเกมรุกตลาดคอนโดฯ แนวรถไฟฟ้าสายสีส้ม ส่งแบรนด์ศุภาลัย เวอเรนด้าเจาะลูกค้าคนรุ่นใหม่ ราคาเอื้อมถึง เฉลี่ยตารางเมตรละ 76,000 บาท ชูจุดขาย 0 เมตรจากสถานี-ราคาต่ำกว่าคู่แข่ง 5-10%
คอนโดฯโซนรามคำแหงเดือดรับรถไฟฟ้าสายสีส้ม อัพราคา 80% จาก ตร.ม.ละ 5 หมื่น เป็น 9 หมื่น เผยซัพพลายสะสมเฉียด 1.5 หมื่นยูนิต ครึ่งปีหลังซัพพลายใหม่รอเปิดตัว 4,000 ยูนิต “ศุภาลัย-เสนาฯ-พฤกษาฯ” แข่งเปิดบิ๊กไซซ์ดัก 3 สถานีรถไฟฟ้า “ราชมังคลาฯ-หัวหมาก-แยกลำสาลี”

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี ระยะทาง 22.57 กิโลเมตร ซึ่งการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ได้เริ่มเปิดไซต์ก่อสร้างและมีผลดำเนินงานคืบหน้า 5.57% (กำหนดเปิดบริการในปี 2566) ปลุกกระแสการลงทุนคอนโดมิเนียมแนวรถไฟฟ้าอย่างคึกคัก และทำให้มีการปรับตัวของราคาขายอย่างมีนัยสำคัญ

10 ปีซัพพลาย 1.49 หมื่นยูนิต

นายภัทรชัย ทวีวงศ์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย บริษัท คอลลิเออร์ส อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ภาพรวมตลาดคอนโดฯย่านรามคำแหงในช่วง 10 ปี (2552-ส.ค. 2561) มีห้องชุดเปิดขายใหม่ 14,907 ยูนิต แนวโน้มครึ่งปีหลังนี้มีเปิดขายเพิ่มไม่ต่ำกว่า 4,273 ยูนิต



“นับตั้งแต่รถไฟฟ้าสายสีส้มเปิดไซต์ก่อสร้างทำให้ตลาดคอนโดฯคึกคักมาก ประกอบกับเดอะมอลล์กำลัง
รีโนเวตสาขารามคำแหง เป็นตัวแปรทำให้ทำเลมีศักยภาพสูงขึ้นเรื่อย ๆ เพราะเป็นย่านที่มี 2 มหาวิทยาลัยดังคือรามคำแหงกับเอแบค มีราชมังคลากีฬาสถาน มีชุมชนอาศัยหนาแน่น”


3 บิ๊กแบรนด์แข่งเปิดตัวใหม่

ทั้งนี้ มีผู้ประกอบการรายใหญ่อย่างน้อย 3 รายมีแผนพัฒนาโครงการในทำเล ได้แก่ บมจ.ศุภาลัย เปิดตัว
แบรนด์ “ศุภาลัย เวอเรนด้า รามคำแหง” ทำเลติดสถานีราชมังคลาฯ จำนวน 2,073 ยูนิต

บมจ.พฤกษา เรียลเอสเตท เตรียมเปิดตัวแบรนด์ “เดอะทรี หัวหมาก” บนที่ดิน 5 ไร่ 500 ยูนิต มูลค่า 1,700 ล้านบาท ทำเลช่วงซอยรามคำแหง 85/2-รามคำแหง87 ห่างสถานีแยกลำสาลี 350 เมตร ด้านหลังติดคลองแสนแสบ จุดเด่นทำเลเป็นอินเตอร์เชนจ์รถไฟฟ้าสายสีส้มกับสายสีเหลือง

และ บมจ.เสนา ดีเวลลอปเม้นท์ วางแผนเปิดคอนโดฯ แบรนด์ “เดอะนิช โมโน รามคำแหง” บนที่ดิน 15 ไร่ 1,700 ยูนิต มีจุดขายติดสถานีหัวหมาก โดยออกแบบเป็นคอนโดฯไฮไรส์ทั้งหมด

ราคาที่ดินพุ่งวาละ 2.5-3 แสน

นายภัทรชัยกล่าวถึงซัพพลายอยู่ระหว่างขายว่า สำรวจพบ 6 โครงการ ยอดรวม 5,063 ยูนิต มูลค่ารวม 11,146 ล้านบาท ขายไปแล้ว 4,098 ยูนิต คิดเป็นสัดส่วน 81% ทำให้มียูนิตเหลือขาย 965 ยูนิต สัดส่วน 19%

โดยซัพพลายสะสม 5,063 ยูนิตแบ่งเป็นห้องชุดแบบ 1 ห้องนอนมากที่สุด 4,083 ยูนิต หรือ 80.6% มีอัตราขายได้แล้ว 79.9% รองลงมาห้องชุดแบบสตูดิโอ 677 ยูนิต สัดส่วนยูนิต 13.4% สัดส่วนยอดขาย 84.8% และห้องชุดแบบ 2 ห้องนอน 303 ยูนิต สัดส่วนยูนิต 6% สัดส่วนยอดขาย 86.4% โดยราคาที่ดินปรับตัวขึ้นสูงเช่นกัน ข้อมูล ณ ปลายปี 2560 ถึงปัจจุบัน ริมถนนใหญ่อยู่ที่ 2.5-3 แสนบาท/ตร.ว. ในซอยอยู่ที่ 1.2-1.6 แสนบาท/ตร.ว.

ราคาอัพ 9 หมื่น/ตร.ม.

ในด้านราคาขายพบว่า กลุ่มราคายูนิตละ 3-5 ล้านบาท มีมากสุด 23.6% จำนวน 1,194 ยูนิต, รองลงมากลุ่มราคา 2.5-3 ล้านบาท 20.4% จำนวน 1,033 ยูนิต และกลุ่มราคา 2.25-2.50 ล้านบาท มี 15% จำนวน 762 ยูนิต

โดยเปอร์เซนต์การขายได้อยู่ในระดับสูงตั้งแต่ 83-85% ไฮไลต์ด้านการปรับราคาในทำเล นายภัทรชัยกล่าวว่า โซนรามคำแหงมีการปรับตัวขึ้นของราคาห้องชุด 80% จากที่เคยเสนอขายเฉลี่ยตร.ม.ละ 5 หมื่นบาท ปรับขึ้นเป็นเฉลี่ย 9 หมื่นบาทในปัจจุบัน

ศุภาลัยขายออนไลน์บุ๊กกิ้ง 18 ก.ย.

นายไตรเตชะ ตั้งมติธรรม กรรมการผู้จัดการ บมจ. ศุภาลัย เปิดเผยว่า เปิดตัวคอนโดฯ แบรนด์ “ศุภาลัย เวอเรนด้า รามคำแหง” บนที่ดิน 15 ไร่เศษ ทำเลรถไฟฟ้าสายสีส้ม ติดสถานีราชมังคลาฯ มูลค่า 6,000 ล้านบาท

รายละเอียดเป็นคอนโดฯไฮไรส์ 1 อาคาร 3 ทาวเวอร์ สูง 27-33-35 ชั้น 2,073 ยูนิต มีห้องชุดให้เลือกแบบสตูดิโอ, 1-2 ห้องนอน พื้นที่ใช้สอย 28-67 ตร.ม. ราคา 1.89-5.4 ล้านบาท/ยูนิต เฉลี่ยตร.ม.ละ 76,000 บาท เทียบกับราคาตลาดเฉลี่ยอยู่ที่ 8-8.8 หมื่นบาท/ตร.ม.

กลยุทธ์การขาย เป็นครั้งแรกที่เปิดขายออนไลน์บุ๊กกิ้ง กำหนดจัดระหว่างเที่ยงวันถึงเที่ยงคืนของวันที่ 18 ก.ย.นี้คาดว่ามียอดขาย5-10% และกำหนดจัดกิจกรรมเปิดพรีเซลที่ไซต์โครงการ วันที่ 28-30 ก.ย. นี้ตั้งเป้ายอดขาย 40-50% ภายในอีเวนต์พรีเซล


ชงครม.สร้างรถไฟฟ้าสีส้ม “ศูนย์วัฒนธรรม-บางขุนนนท์” 1.4 แสนล้าน ปีนี้
วันศุกร์ 14 กันยายน 2561 / 13:45 น.

รฟม. เตรียมเสนอครม.เปิดทางก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้ม “ศูนย์วัฒนธรรม-บางขุนนนท์” พร้อมลงทุนงานเดินรถไฟฟ้าสายสีส้มทั้งสาย วงเงิน 1.4 แสนล้านบาท ได้ภายในปีนี้ ก่อนเปิดประมูลต้นปีหน้า

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า ในช่วงต้นปี 2562 รฟม.จะประกาศเชิญชวนให้เอกชนเข้าร่วมลงทุนโครงการก่อสร้างงานโยธารถไฟฟ้าสายสีส้ม (ฝั่งตะวันตก) ช่วงศูนย์วัฒนธรรม-บางขุนนนท์ ระยะทาง 13.4 กม. และงานเดินรถไฟฟ้าสายสีส้มทั้งสายตั้งแต่มีนบุรี-ศูนย์วัฒนธรรมฯ-บางขุนนนท์ ระยะทางรวม 39.6 กิโลเมตร วงเงินลงทุนทั้งสิ้น 1.4 แสนล้านบาท

ทั้งนี้ การเปิดให้เอกชนร่วมลงทุนโครงการดังกล่าวจะอยู่ในรูปแบบ PPP Net Cost โดยที่ผ่านมาคณะกรรมการ รฟม. (บอร์ดรฟม.) ได้อนุมัติโครงการแล้ว และอยู่ระหว่างส่งเรื่องให้กระทรวงคมนาคมพิจารณา จากนั้นจะส่งเรื่องไปให้คณะกรรมการนโยบายการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (บอร์ดพีพีพี) ที่มีนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน พิจารณา ก่อนจะส่งให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติในช่วงไตรมาส 4 ปีนี้

“การเปิดให้เอกชนร่วมลงทุนรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงศูนย์วัฒนธรรม-บางขุนนนท์ เราจะเปิดเป็นแบบ PPP Net cost ถ้าเอกชนรายไหนและเสนอราคาค่างานโยธามาต่ำ หรือให้ภาครัฐจ่ายน้อยที่สุดก็ชนะไป และจะให้ทำการเดินรถเป็นเวลา 30 ปีด้วย”นายภคพงศ์ กล่าว

รายงานข่าวระบุว่า การก่อสร้างงานโยธารถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงศูนย์วัฒนธรรม-บางขุนนนท์ และงานเดินรถไฟฟ้าสายสีส้มตั้งแต่มีนบุรี-ศูนย์วัฒนธรรมฯ-บางขุนนนท์ วงเงิน 1.4 แสนบ้านบาท จะแบ่งเป็น ค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน 1.5 หมื่นล้านบาท ค่างานโยธา 9.6 หมื่นล้านบาท และค่างานลงทุนระบบและจัดหาตัวรถ 3.2 หมื่นล้านบาท โดยภาครัฐจะให้เอกชนลงทุนงานโยธา 9.6 หมื่นล้านบาทไปก่อน จากนั้นภาครัฐจะจ่ายเงินคืนพร้อมดอกเบี้ยภายใน 10 ปีนับตั้งแต่เปิดให้บริการ

นายภคพงศ์ กล่าวว่า ในส่วนการดำเนินการโครงการรถไฟฟ้ารางเบาที่จ.เชียงใหม่ และจ.ภูเก็ต หลังจากครม.เห็นชอบร่างพ.ร.ฎ.ให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยดำเนินกิจการรถไฟฟ้าในจังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดพังงา และจังหวัดภูเก็ต พ.ศ. ….ไปแล้วนั้น รฟม.จะเร่งเสนอทั้ง 2 โครงการ ให้บอร์ดรฟม.พิจารณาภายในเดือนพ.ย.นี้ และส่งให้กระทรวงคมนาคมเพื่อเสนอบอร์ดพีพีพี คาดว่าจะเปิดให้เอกชนเข้ามาร่วมลงทุนได้ในช่วงไตรมาส 1-2 ปีหน้า
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42625
Location: NECTEC

PostPosted: 21/09/2018 10:05 am    Post subject: Reply with quote

รฟม.เวนคืนที่ดินกลางเมือง 3 หมื่นล. เปิดร่วมทุน 2 รถไฟฟ้าดึงเอกชนเหมาสร้าง-เดินรถสีส้ม

วันที่ 20 กันยายน 2561 เวลา 17:39 น.

รฟม.จ่อเวนคืนกว่า 3 หมื่นล้าน สร้างรถไฟฟ้า 2 สาย เชื่อมกรุงเทพฯชั้นใน โซนตะวันตกและตะวันออก บอร์ดไฟเขียวสายสีส้มประมูล PPP net cost ดึงเอกชนลงทุน 1.28 แสนล้าน เหมาขุดอุโมงค์จาก “บางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรม” พ่วงเดินรถตลอดสายถึงมีนบุรี แลกสัมปทาน 30 ปี คาดสิ้นปีประกาศเชิญชวน ส่วนสายสีม่วงใต้ “เตาปูน-ราษฎร์บูรณะ” รอ EIA และ พ.ร.ฎ.เวนคืน คาดแบ่งประมูล 3-4 สัญญา จ้างเดินรถยาว 30 ปี ปรับแผนใหม่ใช้เงินกู้ในประเทศแทน ADB

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟม. นัดพิเศษวันที่ 7 ก.ย. 2561 ที่ผ่านมา อนุมัติให้ รฟม.ดำเนินการเปิดประมูลสัญญาเดียวรูปแบบ PPP net cost ระยะเวลา 30 ปี โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มในส่วนก่อสร้างด้านตะวันตกช่วงศูนย์วัฒนธรรม-บางขุนนนท์ ระยะทาง 16.4 กม. และคัดเลือกเอกชนเดินรถสายสีส้มตลอดเส้นทางจากมีนบุรี-ศูนย์วัฒนธรรม-บางขุนนนท์ รวม 34.6 กม.

สีส้ม PPP 30 ปี 1.28 แสนล้าน

ขั้นตอนจากนี้ รฟม.จะเสนอโครงการให้กระทรวงคมนาคมและให้คณะกรรมการ (บอร์ด) PPP เห็นชอบโครงการ ก่อนเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติคาดว่าภายในสิ้นปีนี้ จากนั้นตั้งคณะกรรมการมาตรา 35 ตาม พ.ร.บ.ร่วมทุน เพื่อยกร่างทีโออาร์ เปิดประมูลโครงการในปี 2562 ซึ่งโครงการนี้จะดำเนินการภายใต้มาตรการ PPP fast track จะใช้เวลาดำเนินการประมาณ 9 เดือน

นายภคพงศ์กล่าวว่า โครงการนี้ใช้วงเงินลงทุน 142,600 ล้านบาท แยกเป็น ค่าเวนคืนจากศูนย์วัฒนธรรม-บางขุนนนท์ 14,600 ล้านบาท ค่างานโยธา 96,000 ล้านบาท และค่าระบบและขบวนรถ 32,000 ล้านบาท


โดยโครงการนี้จะใช้โมเดลการลงทุนเหมือนรถไฟฟ้าสายสีชมพู (แคราย-มีนบุรี) และสายสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง) ซึ่งรัฐเวนคืนที่ดินให้ ส่วนเอกชนลงทุนทั้งก่อสร้างและระบบเดินรถรวมวงเงิน 128,000 ล้านบาท และรัฐสนับสนุนเงินลงทุนไม่เกินเพดานค่างานโยธา 10 ปี

“ก่อนหน้านี้ บอร์ดให้ รฟม.ไปทำรายละเอียดเพิ่มเติมตาม พ.ร.บ.วินัยการเงินการคลังฉบับใหม่ ซึ่งได้ดำเนินการทุกอย่างแล้ว โครงการมีความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ หรือ EIRR 19% ส่วนด้านการเงิน หรือ FIRR ติดลบ เป็นปกติการลงทุนอินฟราสตรักเจอร์”

ดึงเอกชนสร้างพ่วงเดินรถ

นายภคพงศ์กล่าวอีกว่า อย่างไรก็ตาม การที่ รฟม.เสนอแบบ single one single package คือ ให้งานก่อสร้างและเดินรถไปพร้อม ๆ กัน เพื่อให้เปิดบริการได้ตามแผน ซึ่งสายสีส้มตะวันออกช่วงศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรีก่อสร้างและคืบหน้าแล้วกว่า 16% มีกำหนดจะเปิดบริการปี 2566 จากเดิมเริ่มงานก่อสร้างแล้วถึงจะเปิดประมูลเดินรถ หากมีปัญหาจะทำให้การเปิดใช้ล่าช้าได้

“งานระบบจะใช้เวลาดำเนินการ 36 เดือนในการผลิต ติดตั้งและทดสอบระบบ หากหาเอกชนดำเนินการได้ในปี 2562-2563 ถือว่ายังอยู่ในแผนงาน”



แนวรถไฟฟ้าสายสีส้มมีจุดเริ่มต้นจากบางขุนนนท์ บริเวณจุดตัดถนนจรัญสนิทวงศ์ ใช้แนวเขตรถไฟสายบางกอกน้อย ผ่านโรงพยาบาลศิริราช ลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณเชิงสะพานพระปิ่นเกล้า ผ่านใต้ถนนราชดำเนินแล้วเบี่ยงใช้แนวถนนหลานหลวง ผ่านยมราชแล้วเข้าสู่แนวถนนเพชรบุรีจากนั้นเลี้ยวเข้าถนนราชปรารภ ถึงดินแดงแล้วเลี้ยวไปตามถนนวิภาวดีรังสิต ผ่านศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร 2 (ดินแดง) ตัดตรงไปเชื่อมกับโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ที่สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย แล้วเบี่ยงเข้าแนวถนนพระรามเก้า ตัดผ่านถนนประดิษฐ์ธรรมนูญ เลี้ยวซ้ายเข้าถนนรามคำแหง ผ่านแยกลำสาลี แยกถนนกาญจนาภิเษก ไปสิ้นสุดที่สถานีสุวินทวงศ์บริเวณมีนบุรี เป็นโครงสร้างใต้ดินตั้งแต่บางขุนนนท์-คลองบ้านม้า จากนั้นจะสร้างเป็นโครงสร้างยกระดับจนถึงมีนบุรี มี 29 สถานี

สีม่วงใต้รอ พ.ร.ฎ.เวนคืน-EIA

ส่วนความคืบหน้ารถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ ระยะทาง 23.6 กม. เงินลงทุน 101,112 ล้านบาท ล่าสุดสรุปจะใช้เงินกู้ในประเทศทั้งโครงการ จากเดิมกระทรวงการคลังจะให้กู้จากธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) 10% รูปแบบการลงทุนจะแยกประมูลงานก่อสร้าง แบ่ง 3-4 สัญญา ส่วนการเดินรถเงินลงทุนกว่า 20,000 ล้านบาท จะเปิดให้เอกชนร่วมทุน PPP gross cost ระยะเวลา 30 ปี รูปแบบเดียวกับสายสีม่วง เตาปูน-คลองบางไผ่จ้าง บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM) เดินรถให้ 30 ปี ลงทุนกว่า 1 แสนล้าน

สำหรับค่าเวนคืนและก่อสร้างอยู่ที่ 101,112 ล้านบาท แยกเป็น ค่าเวนคืน 15,913 ล้านบาท สำรวจอสังหาริมทรัพย์ 32 ล้านบาท งานโยธา 77,385 ล้านบาท สิ่งก่อสร้างทดแทนหน่วยงานที่ได้รับผลกระทบ1,335 ล้านบาท จ้างที่ปรึกษาบริหารและควบคุมงาน 2,865 ล้านบาท และค่าเผื่อเหลือเผื่อขาดงานโยธา 3,582 ล้านบาท

นอกจากนี้ โครงการยังรออนุมัติรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) ที่ทำเสนอเพิ่มเติม ขณะนี้ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการผู้ชำนาญการ (คชก.) แล้ว รอคณะกรรมการ (บอร์ด) ชุดใหญ่พิจารณา รวมถึงรออนุมัติการขอใช้ที่ดินจากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ด้วย จากนั้นถึงจะออก พ.ร.ฎ.เวนคืนที่ดินได้

แนวเส้นทางมีจุดเริ่มต้นเป็นทางวิ่งยกระดับจากสถานีเตาปูน เชื่อมสายสีน้ำเงินต่อขยาย (บางซื่อ-ท่าพระ) และสีม่วง (เตาปูน-คลองบางไผ่) ไปตามแนวถนนตัดใหม่ ง8 แล้วลดระดับเป็นใต้ดิน ผ่านกรมสรรพาวุธทหารบก เลี้ยวเข้าถนนทหาร ถนนสามเสน ถนนพระสุเมรุ ถนนมหาไชย ลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยา เข้าสู่ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน

เมื่อลอดผ่านสี่แยกมไหสวรรย์ จะเปลี่ยนเป็นทางวิ่งยกระดับไปตามถนนสุขสวัสดิ์ สิ้นสุดที่บริเวณศูนย์ซ่อมบำรุงข้างด่านเก็บค่าผ่านทางถนนวงแหวนกาญจนาภิเษก รวม 23.6 กม. เป็นทางวิ่งใต้ดิน 12.6 กม. และทางวิ่งยกระดับ 11 กม. มี 17 สถานี

เป็นสถานีใต้ดิน 10 สถานี (สถานี 1-10) และยกระดับ 7 สถานี (สถานี 11-17)ได้แก่
สถานีรัฐสภา
สถานีศรีย่าน
สถานีสามเสน
สถานีหอสมุดแห่งชาติ
สถานีบางขุนพรหม (ตรงธนาคารแห่งประเทศไทย)
สถานีผ่านฟ้า
สถานีวังบูรพา (interchange กะสถานีสามยอดสายน้ำเงิน)
สถานีสะพานพุทธ (ฝั่งธนบุรี)
สถานีวงเวียนใหญ่
สถานีสำเหร่
สถานีจอมทอง
สถานีดาวคะนอง
สถานีบางปะกอก
สถานีประชาอุทิศ
สถานีราษฎร์บูรณะ
สถานีพระประแดง และ
สถานีครุใน
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 13, 14, 15 ... 89, 90, 91  Next
Page 14 of 91

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©