Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311232
ทั่วไป:13180085
ทั้งหมด:13491317
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - บันทึกจาก Black express
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

บันทึกจาก Black express
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 10, 11, 12, 13, 14  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 25/08/2018 11:34 am    Post subject: Reply with quote

Click on the image for full size

ในการเดินทางโดยรถไฟสายแม่กลองนั้น แบ่งออกเป็นสองช่วง โดยช่วงแรกจะเป็นเส้นทางระหว่างสถานีวงเวียนใหญ่ - สถานีมหาชัย และช่วงที่สองระหว่างสถานีบ้านแหลม - สถานีแม่กลอง

หากผู้โดยสารท่านใดประสงค์จะเดินทางไปตลอดสาย จะต้องลงเรือข้ามฟากที่ท่าเรือเทศบาลเมืองสมุทรสาครในขณะนั้น ซึ่งอยู่ใกล้ๆ สถานีมหาชัย ไปยังท่าเรือฝั่งท่าฉลอม แล้วเดินต่อรถไฟที่สถานีบ้านแหลม ไปยังสถานีแม่กลองต่อไป

สำหรับขบวนรถไฟที่ฝั่งบ้านแหลมนั้น ส่วนใหญ่จะโละมาจากช่วงวงเวียนใหญ่ - มหาชัย และช่วงเวลาที่ผมเคยใช้บริการนั้น จะเป็นชุดรถดีเซลราง "ไทโกกุ" หมายเลข D 7 - 8 วิ่งโยกเยกเอียดอาดไปตามเส้นทางที่ขึ้นสนิมด้วยฤทธิ์น้ำกร่อยชั่วนาตาปี บางครั้งก็จอดรอให้ช่างโยธาซ่อมรางที่ชำรุดให้เสร็จเรียบร้อยก่อนถึงจะออกเดินทางต่อไปได้

จากตัวเมือง เข้าสู่ป่าจาก และนาเกลืออันขาวโพลน และเข้าสู่สถานีแม่กลองอันเป็นสถานีปลายทาง ซึ่งขณะนั้นยังไม่มีตลาดร่มหุบอันมีชื่อเสียงก้องโลกขยับขยายเข้าไปตั้งอยู่แต่อย่างใด

ถ้าหากไปเที่ยวเส้นทางสายนี้ ควรไปแต่เช้าครับ หากไปตอนบ่าย ต้องนั่งรถตู้ประจำทางกลับกรุงเทพฯ แน่นอน เพราะมีขบวนรถไฟแล่นบนทางช่วงนี้เพียงวันละ 8 ขบวนเท่านั้น รวมถึงเดินทางไป-กลับด้วยสิ

...........................................

ขอขอบคุณภาพจากคุณ CHAT มา ณ โอกาสนี้

Click on the image for full size

ก่อนที่จะมีย่านพหลโยธินที่กำลังจะเปลี่ยนไปเป็นสถานีรถไฟกลางกรุงเทพนั้น การรถไฟแห่งประเทศไทยมีย่านสินค้าบางซื่อโดยเส้นทางประธานจะเบี่ยงออกไปทางด้านขวา และมีเส้นทางแยกไปยังลานขนถ่ายของโรงงานปูนซิเมนต์ไทย บางซื่อ ทางซ้ายมือ

ส่วนรถจักรที่ใช้งานในย่านสินค้าบางซื่อนั้น มีรถจักรไอน้ำ C - 56 และรถจักรดีเซลขนาด 500 แรงม้า ยี่ห้อ Davenport ประจำการอยู่ที่นี่ และทำขบวนรถสินค้าไปยัง ทรส.กรุงเทพ ก่อนที่จะขยายย่านสถานีกรุงเทพ ย้ายโรงรถจักรดีเซล และที่ทำการทรส. มายังบางซื่อทั้งหมด

ส่วนรถจักรทำขบวนไปยังปลายทางสายต่างๆ นั้น ทั้งรถจักรไอน้ำและรถจักรดีเซล จะจอดรวมกันตรงเหนือย่าน จนกระทั่งมีการสร้างโรงรถจักรดีเซลบางซื่อในภายหลัง

เป็นภาพประทับใจมากครับ เวลามองจากสะพานลอยข้ามทางรถไฟที่ชุมทางบางซื่อ แต่ทั้งย่านสินค้าบางซื่อ สะพานลอย และหอประแจด้านเหนือได้ถูกรื้อไปหมดแล้ว

......................................

ภาพจากการรถไฟแห่งประเทศไทย

Click on the image for full size

มาดูภาพเก่าๆ เป็นย่านพหลโยธินที่กำลังก่อสร้างเพื่อรองรับการขนส่งสินค้าแทนย่านชุมทางบางซื่อที่กำลังจะคับแคบทุกขณะ

จากข้อมูลเล็กน้อยใน wiki thai แจ้งว่า...

ที่ทำการรับส่งสินค้าพหลโยธิน หรือ ย่านพหลโยธิน เป็นย่านสถานีรถไฟที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีจำนวนรางมากกว่า 50 ราง เป็นย่านสับเปลี่ยนขนาดใหญ่ รวมความยาว (ตามแนวเส้นทาง) ถึง 4 กม. เป็นศูนย์ขนถ่ายสินค้าหลักของประเทศไทย

ย่านพหลโยธิน เป็นย่านสับเปลี่ยนเพื่อทำขบวนรถสินค้าไปยังเส้นทางหลักทุกสายในประเทศไทย โดยมีเนินสับเปลี่ยน (hump yard) ปล่อยรถสินค้าไหลลงมาเข้าพ่วงขบวนรถในย่านซึ่งรวดเร็วมาก พอจัดทำขบวนเรียบร้อยแล้วก็นำรถจักรมาพ่วงทำขบวนออกเดินทางได้ทันที

ปัจจุบันการทำขบวนโดยวิธีนี้ได้ถูกยกเลิกไป เพราะมักเป็นสินค้าเหมาขบวน เช่น ปูนซีเมนต์ น้ำมันเชื้อเพลิง และก๊าซธรรมชาติ เป็นต้น
Back to top
View user's profile Send private message
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 31/08/2018 10:49 am    Post subject: Reply with quote

ในสมัยก่อน ผมเคยเดินไถลไถลจากสวนจตุจักรไปจนถึงหอเกียรติภูมิรถไฟไทย ซึ่งขณะนั้น คุณจุลศิริ และ อ.สรรพศิริ วิริยะศิริ อยู่เฝ้าดูแลอยู่ ก็มีเรื่องราวเกี่ยวกับรถไฟไทย รวมถึง "เจ้าดาราทอง" พระองค์เจ้าพีระฯ ตั้งแสดงอยู่ด้วย เหลือบมองที่ข้างฝา มีภาพเตือนใจการระวังรถไฟในด้านต่างๆ ซึ่งวาดโดยคุณอัมพร ดรุณศาสน์ ในช่วงปี พ.ศ.2503 ติดตั้งอยู่ด้วย นับว่าเป็นภาพเตือนใจที่เก่าแก่มากชุดหนึ่ง ก่อนที่จะมาเป็นภาพวาดในยุคปัจจุบัน ที่มีความปราณีตน้อยกว่ามากมาย

ขอนำภาพบางส่วนมาให้ชมเป็นตัวอย่างนะครับ

Click on the image for full size

อย่านอนบนทางรถไฟ หลายคนชอบนอนเพราะบนเส้นทางมักจะอยู่สูงกว่าที่อื่น แถมรางก็พอดีวางศรีษะด้วยสิ รถไฟเที่ยวดึกผ่านมาเลยหลับชั่วนิจนิรันดร์

Click on the image for full size

อย่าเดินข้ามราง ตรงหัวประแจกลในย่านสถานี เพราะเป็นของใหม่ในวงการรถไฟไทยซึ่งได้ปรับปรุงกิจการหลังจากได้รับความเสียหายจากสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยพนักงานสับรางจะอยู่ห่างไกล เช่น บนหอประแจ หรือในอาคารสถานี มองไม่เห็น อาจมีผู้ได้รับอันตรายจากการเดินข้ามหัวประแจกลเหล่านี้

Click on the image for full size

อย่าเดินผ่านช่องว่างระหว่างหัวต่อรถ อาจอยู่ระหว่างสับเปลี่ยนขบวนรถภายในย่าน แม้แต่เจ้าหน้าที่รถไฟที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องก็เถอะ

Click on the image for full size

อย่าเดินตัดท้ายขบวนรถในระยะใกล้ชิด อาจมีขบวนรถสวนมา

Click on the image for full size

อย่าเดินข้ามรางในขณะขบวนรถเข้าสู่สถานี

ปัจจุบัน หอเกียรติภูมิรถไฟแห่งนี้ได้ปิดตัวไปแล้ว
Back to top
View user's profile Send private message
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 31/08/2018 11:01 am    Post subject: Reply with quote

Click on the image for full size

หัวหิน เป็นสถานที่สำคัญยิ่งตั้งแต่เส้นทางรถไฟสายใต้ก่อสร้างมาถึง โดยสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน ทรงเล็งเห็นว่าจะเป็นแหล่งท่องเที่ยวในอนาคต และวางแผนสร้างบ้านพัก โฮเต็ล และชุมชนตลาดรองรับ

การคาดการณ์ของพระองค์นั้นไม่ผิด เพราะหัวหินกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวของชาวกรุงมาจนถึงปัจจุบัน

ด้านกรมรถไฟ ได้จัดขบวนรถท่องเที่ยวสุดสัปดาห์พานักท่องเที่ยวไปยังหาดหัวหินรวม 2 ขบวนด้วยกัน

จนกระทั่งทุกวันนี้ยังมีขบวนรถนำเที่ยวหัวหินในวันหยุดสุดสัปดาห์ แต่ลดลงเหลือวันละ 1 ขบวนเท่านั้น

Click on the image for full size

เป็นหนังสือโต้ตอบระหว่างแผนกสำรวจ กรมไปรษณีย์โทรเลข กับผู้บัญชาการกรมรถไฟหลวง ขณะมีพระยศเป็นกรมหลวงกำแพงเพชรอัครโยธิน

รายละเอียดในหนังสือดังกล่าว แจ้งถึงพระมหากรุณาธิคุณให้ยืมรถถ่อ กุลี และเงินค่าจ้างเดือนละ 30 บาท โดยให้จ่ายแก่กุลีคุมรถถ่อดังกล่าวโดยตรง เพื่อวางสายโทรเลขตามเส้นทางรถไฟระหว่างฉะเชิงเทรา ถึงกบินทร์บุรี เมื่อปี พ.ศ.2468

นับเป็นหนึ่งในเอกสารเก่าแก่เท่าที่พบครับ

Click on the image for full size

เสน่ห์อย่างหนึ่งของรถไฟที่ผูกใจผู้คนมากหลาย เห็นจะได้แก่ เสียงล้อกระทบรางนี่แหละ

แต่ในมุมมองของคนรถไฟที่เกี่ยวข้อง จะมองว่าเป็นตัวสร้างความสึกหรอของช่วงล่าง เช่น ล้อ อุปกรณ์แคร่ ราง ทำให้การทำขบวนไม่ถึงความเร็วที่กำหนด จึงได้หาวิธีเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว ซึ่งหนึ่งในวิธีนั้น คือ การเชื่อมราง

การรถไฟฯ ได้ทดลองเชื่อมรางเพื่อประเมินผลเป็นครั้งแรกบนเส้นทางสายเหนือช่วง พิษณุโลก - บ้านใหม่ โดยวิธีเทอร์มิท ปรากฎผลว่าขวนรถทำขบวนได้สูงขึ้น ลดอาการชำรุดของช่วงล่างและรางอย่างเห็นได้ชัด จึงได้ขยายโครงการไปยังเส้นทางทั่วประเทศต่อไป

ในสมัยเด็ก ผมเคยนั่งรถไฟผ่านเส้นทางช่วงที่มีการทดลองเชื่อมราง พบว่า เสียงล้อกระทบรางหายไป และขบวนรถทำความเร็วได้ดีขึ้น ทั้งๆ ที่เป็นขบวนรถโดยสารจากพิษณุโลก เข้ากรุงเทพฯ

ทำขบวนโดยปู่ GEK ซึ่งเป็นม้างานหบักในสมัยนั้น ตัวตู้โดยสารสร้างโดยบริษัท ฟูจิคาร์ จากประเทศญี่ปุ่น ใช้โบกี้แบบเพนซิลเวเนีย
Back to top
View user's profile Send private message
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 31/08/2018 11:09 am    Post subject: Reply with quote

Click on the image for full size

สมัยที่กิจการรถไฟไทยยังอยู่ในยุคเริ่มแรก และไม่มีโรงซ่อมรถจักรและรถพ่วงที่สถานีมักกะสันนั้น

บรรดารถจักรและล้อเลื่อน ตลอดจนสถานีรับส่งผู้โดยสาร ที่ทำการรับส่งสินค้า ล้วนแต่อยู่บริเวณสถานีกรุงเทพทั้งสิ้น ดังเช่นโรงเก็บรถจักรขนาดเล็ก ที่ซุกตัวอยู่บริเวณด้านตะวันออกเฉียงเหนือของย่านสถานี ใกล้กับวัดสระบัว

จนกระทั่งกรมรถไฟหลวง ได้สร้างสะพานพระรามหก รวมเส้นทางรถไฟสายเหนือและสายใต้เข้าด้วยกัน และรับจัดสรรงบประมาณมาสร้างโรงงานซ่อมรถไฟขนาดใหญ่ที่สถานีมักกะสันเมื่อปี พ.ศ.2453 ปัญหาความแออัดจึงได้บรรเทาลง

แต่ยังมีโรงรถจักรดีเซลอยู่กลางย่านสถานีกรุงเทพ จนกระทั่งย้ายออกไปอยู่ที่บางซื่อดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

..........................................

ขอขอบคุณภาพจากการรถไฟแห่งประเทศไทย

Click on the image for full size

เสน่ห์ของรถไฟอีกอย่างหนึ่ง คือ กำหนดเวลาเดินรถที่ผมเคยเก็บสะสมตั้งแต่สมัยเด็ก ตั้งแต่เป็นแผ่นพับแผ่นใหญ่ๆ จนเหลือเท่ากับแผ่นปลิวแผ่นเดียว

อาจเป็นเพราะว่ากำหนดเวลาเดินรถนั้น นานๆ มีหนึ่งครั้ง และบอกหมายเลขขบวนรถสายต่างๆ อัตราค่าโดยสาร ค่าธรรมเนียมต่างๆ พร้อมทั้งกำหนดเวลาโดยประมาณที่ผ่านสถานีต่างๆ ตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง

เรื่องนี้เห็นจะสู้ อ.ตุ้ย เกจิเรื่องรถไฟไทยไม่ได้ เพราะเก็บมาตั้งแต่ยังเล็กมาจนถึงปัจจุบัน แถมยังเก็บมาเล่าเปรียบเทียบได้เป็นคุ้งเป็นแควทีเดียว

แต่ถ้าจะให้เก็บถึงปี พ.ศ.ในรูป เห็นทีจะไม่ไหวล่ะครับ แฮ่ะๆ Razz

Click on the image for full size

หลังจากที่เส้นทางรถไฟได้แผ่ขยายไปทุกทิศทุกทาง มีสถานที่หลายแห่งซึ่งมีความสวยงาม น่าท่องเที่ยว ทำให้พลเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน ทรงวางแผนให้มีการโฆษณาสถานที่ต่างๆ เหล่านั้นให้สาธารณชนทราบ และเดินทางไปเยี่ยมชมได้สะดวกโดยทางรถไฟ

กิจการโฆษณานั้นได้เจริญเติบโตขึ้นเป็นแผนกโฆษณาและประชาสัมพันธ์ กรมรถไฟหลวง สร้างช่างภาพมือฉมังมากมาย แถมช่างภาพของกรมรถไฟหลวงยังได้มีส่วนในการถ่ายทำภาพยนต์ไทยในยุคต้นๆ ของประเทศอีกด้วย
Back to top
View user's profile Send private message
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 31/08/2018 11:20 am    Post subject: Reply with quote

Click on the image for full size

ภาพหนึ่งที่ประทับใจผมสมัยเด็ก คือได้เห็นขบวนรถโดยสารและรถสินค้าซึ่งทำขบวนโดยรถจักรดีเซลและรถจักรไอน้ำ โดยเฉพาะเส้นทางสายเหนือ

ในช่วงนั้น รถจักรไอน้ำจะรับภาระทำขบวนรถธรรมดา รถรวม และรถสินค้า โดยเฉพาะรถสินค้าที่มาจากบางซื่อนั้น จะถูกตัดต่อทำขบวนใหม่ที่สถานีศิลาอาสน์ให้สั้นลง โดยจัดเป็นรถสินค้าเบา กลาง และหนัก ก่อนที่จะทะยอยไต่เขาไปยังจุดหมายปลายทาง

เหตุผลที่ตัดต่อทำขบวนใหม่นั้นเพื่อให้เหมาะสมกับกำลังลากจูงของหัวรถจักรซึ๋งเป็นแบบ "มิกาโด" ซึ่งขบวนรถเบามีโอกาสผ่านเส้นทางบนเขาได้มากกว่า จากนั้นจะเป็นขบวนรถสินค้าปานกลาง ส่วนขบวนที่มีน้ำหนักมากจะวิ่งรั้งท้าย หากติดเขา ทำขบวนไม่ไหว ไม่กีดขวางขบวนรถขาขึ้นด้วยกันแต่ประการใด

ดังนั้น เมื่อผมรอโดยสารขบวนรถธรรมดาจากเชียงใหม่ช่วงดึกที่สถานีนครลำปางไปพิษณุโลก จะเห็นขบวนรถสินค้าเหล่านี้แล่นตามกันมาโดยทิ้งระยะห่างช่วงละ 30 นาที ขึ้นไปยังเชียงใหม่ และตัดตู้พ่วงตามสถานีรายทางอีกด้วย

อนุสรณ์รถจักรไอน้ำดังกล่าว ได้จอดทิ้งข้างดรงรถจักรอุตรดิตถ์หลังจากการรถไฟแห่งประเทศไทยเลิกใช้การ จำนวน 6 คัน ก่อนที่จะตัดเป็นเศษเหล็กจำหน่ายในเวลาต่อมา

...........................................

ขอขอบคุณภาพจาก facebook โรงเรียนวิศวกรรมรถไฟ มา ณ ที่นี้

Click on the image for full size

รถพระที่นั่ง เป็นสิ่งจำเป็นที่กรมรถไฟหลวงสมัยนั้นจนถึงการรถไฟแห่งประเทศไทยสมัยนี้ให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อองค์พระประมุขของชาติ พระราชอาคันตุกะ และพระประยูรญาติทุกพระองค์ โดยมีการจัดหาเพื่อน้อมเกล้าฯ ถวาย ซ่อมบำรุง เก็บรักษาให้อยู่ในสภาพใช้การได้ดีเสมอ

ดังภาพรถพระที่นั่งที่กรมรถไฟหลวงได้สั่งมาใช้งานเมื่อปี พ.ศ.2460 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 จากบริษัท เมโทรโปลิตันคาริช แวกัน ไฟแนนส์ จำกัด ประเทศอังกฤษ ใช้งานมาจนถึงปี พ.ศ.2509 การรถไฟแห่งประเทศไทยจึงได้จัดหารถพระที่นั่งจากบริษัท คราเวนส์ แห่งประเทศอังกฤษ จำนวน 3 คัน น้อมเกล้าฯ ถวายเป็นรถพระที่นั่งแทนจนถึงปัจจุบัน

.........................................

ภาพจากหนังสือ "รถจักรและรถพ่วงประวัติศาสตร์" ของการรถไฟแห่งประเทศไทย

Click on the image for full size

ภาพที่หาดูได้ยากประจำวันนี้ เป็นภาพย่านสถานีกรุงเทพในอดีตครับ ด้านซ้ายภาพจะเป็น ทรส.กรุงเทพซึ่งตั้งอยู่ติดคลองผดุงกรุงเกษม และทางด้านขวาจะเป็นที่ตั้งโรงรถจักรกรุงเทพ

จากรางสามที่ปรากฎในภาพบางส่วนนั้น เข้าใจว่าอยู่ในช่วงปี พ.ศ.2470 ซึ่งกรมรถไฟหลวงได้ดำเนินการแก้ไขขนาดรางจากขนาดความกว้างมาตรฐาน (Standard guage) ลงเป็นขนาดความกว้าง 1.000 เมตร (Meter guage) เกือบแล้วเสร็จตามโครงการ

ข้อมูลมีเพียงสั้นๆ แค่นี้
Back to top
View user's profile Send private message
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 31/08/2018 11:33 am    Post subject: Reply with quote

Click on the image for full size

ช่วงที่รถไฟสายใต้ ยกเว้นขบวนรถด่วนมีต้นทางที่สถานีธนบุรีนั้น มีตลาดศาลาน้ำร้อนซึ่งบรรดาพ่อค้าแม่ค้านำขึ้นขบวนรถชานเมืองจากกาญจนบุรี สุพรรณบุรี นครปฐม ราชบุรี เพฃรบุรี และประจวบคีรีขันธ์ นำมาตั้งเป็นแผงลอยจำหน่ายที่นี่ จนกระทั่งกลายเป็นมุมมองที่ไม่เรียบร้อย และมีผู้ตำหนิอยู่เนืองๆ

ถึงแม้ว่าในช่วงหลัง มีรถไฟสายใต้หลายขบวนได้ย้ายต้นทางไปออกยังสถานีกรุงเทพ แต่ตลาดศาลาน้ำร้อนแห่งนี้ยังคึกคักเหมือนเดิม

ต่อมา ได้มีการย้ายตลาดจากที่เดิมมาจัดสร้างใหม่เป็นอาคารถาวรขึ้นที่บริเวณด้านข้างสถานีธนบุรี เพื่อทำเป็นตลาดที่แท้จริง พร้อมกับเปลี่ยนชื่อเป็น "ตลาดสถานีรถไฟธนบุรี" โดยมีการบริหารจัดการในรูปบริษัท

สำหรับพ่อค้าแม่ค้านั้น เป็นคนค้าขายรุ่นเก่าแล้วขายเรื่อยมาจนถึงรุ่นลูกรุ่นหลาน ส่วนมาก จะเดินทางมาขายเองโดยไป-กลับสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง

ในปี พ.ศ.2546 ช่วงรัฐบาลของนายทักษิณ ชินวัตร การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้มอบที่ดินบริเวณสถานีธนบุรีจำนวน 33 ไร่ แก่คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล ทำให้ตั้งแต่วันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ.2546 รฟท.จึงไม่เดินรถเข้าสถานีธนบุรีเป็นการถาวร โดยให้ใช้สถานีบางกอกน้อยที่สร้างใหม่เป็นต้นทาง-ปลายทาง ตลาดสถานีรถไฟจึงได้ย้ายไปยังที่แห่งใหม่ด้วย

สังเกตที่ท้ายหน้าอุดโบกี้รถโดยสารรุ่นก่อน นอกจากจะเป็นสีแดงล้วนแล้ว ยังมีบันไดขึ้นไปยังหลังคาด้วย แต่เดี๋ยวนี้ถูกรื้อหมดแล้ว

Click on the image for full size

ภาพถ่ายจากหนังสือพิมพ์เยอรมนี แสดงให้เห็นเครื่องมือในวันประกอบพระราชพิธีกระทำพระฤกษ์เริ่มการสร้างทางรถไฟหลวงสายโคราช ซึ่งประกอบด้วยเสียมแซะ พลั่ว และรถเข็นซึ่งจัดเก็บไว้ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร

สืบเนื่องมาจากนโยบายขยายอาณานิคมของอังกฤษและฝรั่งเศส แผ่มาครอบคลุมบริเวณเหลมอินโดจีน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงตระหนักถึงความสำคัญของการคมนาคมโดยเส้นทางรถไฟ เพราะการใช้แต่ทางเกวียนและแม่น้ำลำคลองเป็นพื้นนั้น ไม่เพียงพอแก่การบำรุงรักษาพระราชอาณาเขต ราษฎรที่อยู่ห่างไกลจากเมืองหลวงมีจิตใจโน้มเอียงไปทางประเทศใกล้เคียง สมควรที่จะสร้างทางรถไฟขึ้นในประเทศเพื่อติดต่อกับมณฑลชายแดนก่อนอื่น ทั้งนี้เพื่อสะดวกแก่การปกครอง ตรวจตราป้องกันการรุกรานเป็นการเปิดภูมิประเทศให้ประชาชนพลเมืองเข้าบุกเบิก พื้นที่ รกร้างว่างเปล่า ให้เป็นประโยชน์ทางเศรษฐกิจของประเทศ และจะเป็นเส้นทางขนส่งผู้โดยสารและสินค้าไปมาถึงกันได้ง่ายยิ่งขึ้น

ดังนั้นในปี พ.ศ.2430 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ เซอร์แอนดรู คลาก และบริษัทปันชาร์ด แมกทักการ์ด โลเธอร์ ดำเนินการสำรวจเพื่อสร้างทางรถไฟจาก กรุงเทพฯ - เชียงใหม่ และมีทางแยกตั้งแต่เมืองสระบุรี - เมืองนครราชสีมา สายหนึ่ง จากเมืองอุตรดิตถ์ - ตำบลท่าเดื่อ ริมฝั่งแม่น้ำโขงสายหนึ่ง และจากเมืองเชียงใหม่ ไปยัง เชียงราย เชียงแสนหลวง อีกสายหนึ่ง โดยทำการสำรวจให้แล้วเสร็จเป็นตอน ๆ รวม 8 ตอน ในราคาค่าจ้างโดยเฉลี่ยไม่เกินไมล์ละ 100 ปอนด์ ทั้งสองฝ่ายลงนามในสัญญา เมื่อวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ.2430

เมื่อได้สำรวจแนวทางต่าง ๆ แล้ว รัฐบาลพิจารณาเห็นว่าจุดแรกที่สมควรจะสร้างทางรถไฟเชื่อมกับเมืองหลวงของไทยก่อนอื่น คือ นครราชสีมา ดังนั้นในเดือนตุลาคม 2433 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ก่อตั้งกรมรถไฟขึ้น สังกัดอยู่ในกระทรวงโยธาธิการมีพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนนริศรานุวัติวงศ์ ทรงเป็นเสนาบดี และนาย เค. เบ็ทเก (K. Bethge) ชาวเยอรมัน เป็นเจ้ากรมรถไฟ พร้อมกันนั้นได้เปิดประมูลสร้างทางรถไฟสายกรุงเทพ - นครราชสีมา เป็นสายแรก ณ ที่ทำการรถไฟกรุงเทพ ปรากฏว่า มิสเตอร์ จี มูเร แคมป์เบล แห่งอังกฤษ เป็นผู้คำประกันประมูลได้ในราคาต่ำสุด โดยเสนอราคาเป็นเงิน 9,956,164 บาท

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชทานพระบรมราชานุมัติให้กระทรวงโยธาธิการว่าจ้าง มิสเตอร์ จี. มูเร แคมป์เบลล์ สร้างทางรถไฟหลวงจากกรุงเทพฯ ถึงนครราชสีมา เป็นสายแรก เป็นทางขนาดกว้าง 1.435 เมตร และได้เสด็จพระราชดำเนินประกอบพระราชพิธีกระทำพระฤกษ์ เริ่มการสร้างทางรถไฟ ณ บริเวณย่านสถานีกรุงเทพ เมื่อวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ.2434 ซึ่งปัจจุบัน การรถไฟฯได้สร้างอนุสรณ์ปฐมฤกษ์รถไฟหลวงเพื่อเป็นอนุสรณ์สถานรำลึกเหตุการณ์ สำคัญในอดีต และเพื่อน้อมรำลึกถึงพระกรุณาธิคุณ

ปัจจุบัน การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) (State Railway of Thailand) เป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจในกระทรวงคมนาคม ทำหน้าที่ดูแลกิจการด้านรถไฟของประเทศ และยังคงให้บริการการคมนาคมขนส่งแก่ประชาชนชาวไทยเรื่อยมา

Click on the image for full size

สมัยผมยังเด็ก รถไฟสายแม่กลองช่วงสถานีคลองสาน - มหาชัยนั้น ได้เปลี่ยนเป็นรถจักรดีเซลและรถดีเซลรางแล้ว คงมีเหลือรถจักรไอน้ำทำเป็นขบวนรถงานอยู่คันเดียว ชาวบ้านเรียกกันว่า "หัวอีแก่" ปล่องควันเป็นรูปกระโถนดังภาพ

หัวรถจักรไอน้ำคันนี้มักจะมาจอดให้ผมให้เห็นเมื่อขนไม้หมอนมาลงเปลี่ยนท่อนที่ชำรุดที่ย่านสถานีตลาดพลู ซึ่งขณะนั้นมีรางหลีกอยู่ใกล้ตึกที่ญาติผมเช่าอยู่ ควันเข้าทางหน้าต่าง จนต้องออกมาตะโกนให้ พขร.ช่วยขยับรถออกไปให้ห่างหน่อยก็มี

แล้วหัวรถจักรไอน้ำคันสุดท้ายของรถไฟสายแม่กลอง (ฝั่งมหาชัย) ก็ไม่เห็นอีก จนกระทั่งหลายปีต่อมา มีข่าวลงในหนังสือพิมพ์ "สยามนิกร" รายวันว่า การรถไฟฯ ได้เก็บหัวรถจักรประวัติศาตร์เพื่อทำการอนุรักษ์ซึ่งมีหัวรถจักรไอน้ำคันนี้อยู่ด้วย

อีกหลายสิบปีต่อมา ผมถึงทราบข้อมูลเกี่ยวกับหัวรถจักรคันนี้ว่า เป็นหัวรถจักรแบบ โฟร์ วีลเลอร์ (2- 4 -0) ชนิดมีถังเก็บน้ำและที่ใส่ฟืนในตัว หมายเลข 5 - 7 ใช้กับขนาดทางกว้าง 1.000 เมตร สร้างโดยบริษัทเคล้าส์ ออฟ มิวนิค แห่งเยอรมนี ใช้งานเมื่อ พ.ศ.2448-2450 (แต่ผมว่าใช้งานนานกว่านั้น)
Back to top
View user's profile Send private message
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 04/09/2018 3:17 pm    Post subject: Reply with quote

Click on the image for full size

ชาวไร่อ้อยในบริเวณพื้นที่จากขอนแก่นถึงอุดรมีรายได้เพิ่มขึ้น เนื่องจากค่าขนส่งอ้อยจากไร่ถึงโรงงานน้ำตาลถูกกว่าเดิมถึงตันละ 10 บาท เป็นเหตุการณ์ภายหลังเปิดใช้งานถนนมิตรภาพ ช่วง นครราชสีมา - หนองคาย

เส้นทางรถไฟสายนี้และรถจักร มาจากทางรถไฟสายบางบัวทอง และสายพระพุทธบาท ที่เลิกกิจการ ซึ่งนำมาใช้งานขนอ้อยจากลูกไร่มายังโรงงานน้ำตาลที่ จ.ลำปาง จ.อุตรดิตถ์ และ อ.กุมภวาปี จ.อุดรธานี ปัจจุบันได้ถูกรื้อทิ้งหมดแล้ว

.......................

ภาพจากนิตยสาร เสรีภาพ ของสำนักข่าวสารอเมริกัน กรุงเทพฯ

Click on the image for full size

Click on the image for full size

Click on the image for full size

เป็นภาพเก่าแสดงให้เห็นถึงการทำไม้ในภาคเหนือ ซึ่งดำเนินการโดยองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (ออป.) โดยใช้รถบรรทุกลำเลียงไม้ซุงออกจากปางไม้ในป่ามายังสถานีรถไฟ ก่อนนำขึ้นรถบรรทุกไม้คู่ (บมค.) มายังโรงงานแปรรูปไม้ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาและกรุงเทพฯต่อไป

ต่อมา รัฐบาลได้มีนโยบายปิดป่า ทำให้การลำเลียงไม้ซุงทางรถไฟกลายเป็นภาพที่ไม่อาจมองเห็นอีก ส่วนรถ บมค. (เดิม) ได้ถูกดัดแปลงให้เป็นรถบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์ (บทต.) หรือรถบรรทุกน้ำมันตามภารกิจใหม่ต่อไป

...................

ภาพจากองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (ออป.) กระทรวงเกษรและสหกรณ์

Click on the image for full size

สมัยโน้น ที่การรถไฟแห่งประเทศไทยยังมีคนงานบำรุงทางเยอะแยะอยู่ งานซ่อมบำรุงทางสามารถดำเนินการไปได้อย่างรวดเร็ว สองข้างทางสะอาดเรียบร้อย ทั้งๆ ที่เครื่องไม้เครื่องมือมีไม่มากนัก เช่น มีด พร้า จอบ คราด และเสียม หากจะมีเครื่องมือเห็นจะเห็นเรื่องอัดหินด้วยมือแบบแจ็คสันนี่แหละครับ

คนงานเหล่านี้จะอยู่ตามบ้านพักที่ปลูกตามข้างทางรถไฟเป็นหมู่ ตอน และมีรถจักรยานไว้ถีบไปตามสองข้างทางรถไฟจนกระทั่งสุดเขตรับผิดชอบ ทำให้สองข้างทางไม่มีวัชพืชรุกล้ำเข้ามา เพราะจะถูกฟันทิ้งเนื่องจากกีดขวางทางรถจักรยานด้วย

ปัจจุบัน การรถไฟฯ ได้ถูกปรับลดอัตราคนงานเหล่านี้ลงเมื่อเกษียณ เรือนพักที่ปลุกไว้ถูกปล่อยร้างและถูกรื้อถอนไป ซึ่งการรถไฟฯ เองได้หันมาใช้การจ้างเหมาแทน และจัดหาเครื่องมือกลเข้ามาใช้งาน แต่ไม่ทันวัชพึช (รวมทั้งผู้คน) ที่บุกรุกเข้ามาบนเส้นทาง จนเป็นที่รกสายตาของผู้โดยสารที่ใช้บริการรถไฟในทุกวันนี้

Click on the image for full size

ใครที่อ่านหนังสือพิมพ์รายวัน คงจะมีคอลัมน์หนึ่งที่แทบทุกคนจะต้องหยุดอ่าน นั่นก็คือ การตูนภาพล้อ เช่น ประยูร จรรยาวงศ์ อรุณ วัชระสวัสดิ์ เซีย ไทยรัฐ หรือชัย ราชวัตร ในชุดผู้ใหญ่มากับทุ่งหมาเมิน เป็นต้น

แต่จะมีใครทราบบ้างไหมว่า การ์ตูนล้อเหล่านี้ มีกำเนิดในวงการหนังสือพิมพ์ของประเทศไทยตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ซึ่งยังอยู่ในระบบราชาธิปไตยด้วยซ้ำไป

เหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะพระองค์ให้สิทธิเสรีภาพค่อนข้างมากกับสื่อมวลชน ทำให้การ์ตูนล้อการเมืองเริ่มเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย

นักเขียนการ์ตูนการเมืองคนแรกของไทยคือ ขุนปฏิภาคพิมพ์ลิขิต (เปล่ง ไตรปิ่น) ซึ่งมีโอกาสเดินทางไปศึกษาวิชาศิลปะการวาดภาพที่ยุโรป ได้นำเทคนิคจากต่างประเทศ วาดภาพการ์ตูนเป็นลายเส้น ได้รับรางวัลการประกวดภาพล้อจากรัชกาลที่ 6 โดยการเขียนการ์ตูนล้อเลียนนักการเมืองสำคัญๆ ในยุคนั้น

นอกจากนี้แล้วชาวญี่ปุ่นที่ชื่อ ไอ เคียว คาวา ซึ่งอาศัยอยู่ในเมืองไทยสนับสนุนให้ นักเขียนการ์ตูน วาดภาพการ์ตูนลงใน หนังสือพิมพ์ยาโมโต จวบจนสมัยรัชกาลที่ 7 การ์ตูนเริ่มซบเซาเนื่องจากเกิดสงครามโลกครั้งที่สอง เกิดปัญหาการขาดแคลนกระดาษพิมพ์

จนกระทั่งยุคการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ในปี พ.ศ.2475 วงการการ์ตูนเริ่มฟื้นฟูขึ้นพร้อมกับเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นทางการเมือง แต่ก็มีการ์ตูนที่วาดล้อเลียนจนเกินขอบเขต ทำให้มีกฎหมายของคณะราษฎรออกมาควบคุม

หลังสงครามโลกครั้งที่สอง ประยูร จรรยาวงศ์ ได้วาดภาพการ์ตูนที่มีตัวแสดงชื่อ "ศุขเล็ก" ใช้เป็นสัญลักษณ์ประจำตัว เขียนการ์ตูนขำขันและการ์ตูนล้อการเมือง ได้รับรางวัลจากการประกวดการ์ตูนสันติภาพโลก เมื่อ ปี พ.ศ.2503 ที่นิวยอร์ก ชื่อภาพ การทดลองระเบิดปรมาณูลูกสุดท้าย (The Last Nuclear Test) และได้รับรางวัลแมกไซไซ ที่ประเทศฟิลิปปินส์

ในภาพเป็นการ์ตูนฝีพระหัตถ์โดยรัชกาลที่ 6 ล้อ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน ขณะเป็นกรมขุนกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการกรมรถไฟหลวง ที่ถือว่ามีอิทธิพลเหนือกว่าเสนาบดีกระทรวงโยธาธิการในขณะนั้น ซึ่งเป็นการ์ตูนล้อการเมืองภาพแรกๆ ของไทย


Last edited by black_express on 04/09/2018 3:58 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 04/09/2018 3:43 pm    Post subject: Reply with quote

Click on the image for full size

Click on the image for full size

สถานีเด่นชัย เป็นสถานีรถไฟระดับ 1 เป็นเส้นทางรถไฟสายเหนือ อยู่ห่างจากสถานีรถไฟกรุงเทพ เป็นระยะทาง 533.94 กิโลเมตร ตั้งอยู่ที่ อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่

อีกไม่นาน จะได้ชื่อใหม่ว่า ชุมทางเด่นชัย หากทางรัฐบาลได้ก่อสร้างเส้นทางรถไฟทางคู่สายใหม่ไปยัง จ.เชียงราย โดยรับการนส่งทางน้ำตามแม่น้ำโขงจากประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน และสินค้าจาก สปป.ลาว ที่ อ.เชียงของ และ อ.เชียงแสน แล้วเสร็จ

Click on the image for full size

Click on the image for full size

Click on the image for full size

ภาพข่าวพาดหัวหนังสือพิมพ์ Le Petit Journal ฉบับวันที่ 9 สิงหาคม ค.ศ.1908 รถไฟสยามชนช้างยามดึก แถบทุ่งรังสิต จ.ปทุมธานี ทำให้รถไฟตกราง ทำให้ช้างป่า เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานบนรถจักรได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต

เข้าใจว่า ช้างป่าคงลงมาจากป่าเขาใหญ่ จ.นครนายก มาหากินถึงนาข้าวแถบ จ.ปทุมธานี พระนครศรีอยูะยา จนเกิดอุบัติเหตุถูกรถไฟสินค้ายามดึกชนดังกล่าว

อุบัติเหตุครั้งนี้ ทางฝรั่งตะวันตกสมัยนั้นคงเห็นเป็นเรื่องแปลก เลยวาดภาพพาดหัวเป็นการใหญ่โตดังภาพ
Back to top
View user's profile Send private message
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 04/09/2018 4:13 pm    Post subject: Reply with quote

Click on the image for full size

ระหว่างวันที่ 6 มกราคม ถึงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2469 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ได้เสด็จฯ เลียบมณฑลฝ่ายเหนือ (พิษณุโลก) และมณฑลพายัพ (แพร่ ลำปาง ลำพูน เชียงราย พะเยาและเชียงใหม่) เป็นเวลา 32 วัน เพื่อทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจสำคัญนานาประการ เหตุการณ์ครั้งนี้เกิดขึ้นภายหลังเสวยราชสมบัติได้เพียงปีเศษเท่านั้น

ก่อนรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระบุรพมหากษัตริยาธิราชแห่งพระราชวงศ์จักรีที่ทรงเคยเสด็จฯมณฑลฝ่ายเหนือได้แก่ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จฯไปตั้งแต่ครั้งทรงผนวชในปี พ.ศ.2376 และเมื่อทรงครองราชย์แล้วในปี พ.ศ.2409

ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงดำเนินพระบรมราโชบายตามแบบอย่างพระบรมชนกนาถ เสด็จฯทรงปิดทองสมโภชพระพุทธชินราชและจำลองหล่อพระพุทธชินราชเมื่อ พ.ศ.2444 และตเสด็จฯประพาสต้นเป็นครั้งแรกเมื่อรัตนโกสินทรศก 123 (พ.ศ.2447)

ส่วนมณฑลพายัพนั้นไม่ปรากฏว่ามีพระมหากษัตริย์พระองค์ใดแห่งราชวงศ์จักรีเคยเสด็จพระราชดำเนินไปถึงในขณะครองราชย์ แม้ว่าพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ.2453 - 2468) เคยเสด็จพระราชดำเนินไปถึงเมืองนครเชียงใหม่เมื่อปี พ.ศ.2448 ขณะนั้นทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นสยามมกุฎราชกุมาร

การเสด็จฯเลียบมณฑลฝ่ายเหนือและมณฑลฝ่ายเหนือปี พ.ศ.2469 เป็นการเสด็จฯตรวจราชการด้วยพระองค์เอง และเป็นการผูกใจอาณาประชาราษฎร เพื่อประโยชน์ต่อการดำเนินพระบรมราโชบายทางการเมือง นอกจากนั้นแล้ว ทรงมีพระราชประสงค์ในการพระราชทานพระแสงราชศัสตราให้แก่บรรดาจังหวัดต่างๆ ที่พระองค์เสด็จเยือนอีกด้วย

........................................

ข้อมูลจากเว็บไซต์ http://generalresearchbychatbongkoch.blogspot.com/

Click on the image for full size

บนเส้นทางรถไฟสายเหนือ มีเสน่ห์สองข้างทางที่น่าสนใจหลายแห่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเลียบกับแม่น้ำยม ช่วงสถานีปากปานถึงสถานีแก่งหลวง ที่มีแก่งหินน้อยใหญ่อยู่ตามลำน้ำที่ไหลผ่าน หรือช่วงหน้าฝนสมัยก่อน ที่มีท่อนซุงล่องมาตามลำน้ำจากบริษัทฝรั่งทำกิจการป่าไม้บริเวณต้นน้ำ จนไปถึงสถานที่รวมรวมแพซุงที่ ต.วังไม้ขอน อ.สวรรคโลก จ.สุโขทัย และช่วงหน้าหนาวที่มีหมอกคลุมลำน้ำยามเช้า สร้างเสน่ห์ยามพบเห็น

แก่งหลวง มีขบวนรถไฟสายเหนือที่แล่นผ่านในเวลากลางวันอยู่หลายขบวน เช่น รถด่วน ที่ 51 กรุงเทพ - เชียงใหม่ ขบวนรถเร็วที่ 102 เชียงใหม่ - กรุงเทพ ซึ่งผ่านแก่งหลวงยามเช้า และขบวนรถท้องถิ่นที่ 407 และ 408 ระหว่างนครสวรรค์ - เชียงใหม่ ในช่วงกลางวัน ซึ่งเป็นเวลาที่เหมาะสมสำหรับชมวิวแก่งหลวง

.....................................

ภาพจากการรถไฟแห่งประเทศไทย

Click on the image for full size

มีภาพของหัวรถจักรดีเซลรุ่นหนึ่งที่เคยใช้งานอยู่กับการรถไฟแห่งประเทศไทย คือ รถจักรดีเซล "เฮนเช่ล" ครับ

รถจักรดีเซลไฮดรอลิกส์รุ่นนี้ การรถไฟแห่งประเทศไทยได้สั่งซื้อและนำมาใช้งานเมื่อปี พ.ศ.2507 จำนวน 27 คัน ด้วยการจัดวางล้อแบบ BO+BO มีกำลังม้าถึง 1,200 แรงม้า น้ำหนัก 5.2 ตัน ในราคาจัดซื้อขณะนั้น 3,946,320.34 บาท/คัน

หลังจากใช้งานลากจูงขบวนรถเร็วและรถโดยสารบนเส้นทางทั่วประเทศแล้ว การรถไฟฯ ได้รับรถจักรใหม่เข้าประจำการอีก จึงถูกนำไปใช้งานลากจูงขบวนรถท้องถิ่นและรถสินค้าดังเช่น ขบวนรถสินค้าสายอีสานที่แล่นผ่านสถานีคลองขนานจิต อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา ตามภาพ

ปัจจุบัน รถจักรดีเซลไฮดรอลิกส์ "เฮนเข่ล" ถูกปลดประจำการจากการรถไฟแห่งประเทศไทยหมดสิ้น และมีบางคันถูกซื้อไปใช้งานโดยบริษัทเอกชนโดยจะเห็นได้จากโครงการซ่อมสร้างเส้นทางรถไฟตามโครงการต่างๆ ของบริษัทฯ ทั่วประเทศ

.................................

ขอขอบคุณภาพจากการรถไฟแห่งประเทศไทย
Back to top
View user's profile Send private message
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 04/09/2018 4:21 pm    Post subject: Reply with quote

Click on the image for full size

ในสมัยเริ่มแรก เส้นทางรถไฟช่วงสถานีแก่งคอย - ปากช่อง มีความคดโค้ง สูงชันมาก ซึ่งเกินกำลังรถจักรสมัยนั้นจะทำขบวนตามปกติได้ ต้องแยกเป็นสองขบวน สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายมาก กรมรถไฟหลวงจึงได้สั่งซื้อรถจักรไอน้ำพลังลากจูงสูงเพื่อใช้งานบนเส้นทางช่วงดังกล่าว จำนวน 2 คัน มาช่วยทำการ เมื่อปี พ.ศ.2454

รถจักรไอน้ำดังกล่าว สร้างโดยบริษัท ยอร์ช อีเกสตอฟท์ แฮนโนเวอร์ช มาชีนเนอร์บาว ประเทศเยอรมนี มีการจัดวางล้อแบบเท็นวีลเลอร์ (0 -10 - 0) ความกว้างราง 1.435 เมตร น้ำหนัก 52.50 ตัน หมายเลข 301 - 302 รวม 2 คัน

ต่อมา รถจักรหมายเลขดังกล่าวได้ถูกแปลงขนาดความกว้างล้อลงเป็นขนาด 1.000 เมตร และเปลี่ยนหมายเลขเป็น 401 - 402 จนกระทั่งปลดประจำการเมื่อมีกรมรถไฟสั่งซื้อรถจักรไอน้ำ การัตต์ เข้าใช้งานแทน


Click on the image for full size

ขอเล่าเรื่องรถจักรไอน้ำที่กรมรถไฟหลวงสั่งซื้อมาใช้งานจากประเทศอังกฤษและฝรั่งเศส แทนที่จะเป็นรถจักรจากประเทศเยอรมนีเช่นเคย

สาเหตุดังกล่าวเนื่องจากสยามได้เข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 (ปี พ.ศ.2457 - 2461) หลังสิ้นสุดสงคราม ได้สั่งซื้อรถจักรไอน้ำจากสองประเทศดังกล่าวมาใช้งานแทน วันนี้ขอทำความรู้จักรถจักรไอน้ำแบบแรกหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ที่สั่งซื้อจากบริษัท นาสมิธ วิลสัน แอนด์ โก แห่งสหราชอาณาจักร

รถจักรไอน้ำดังกล่าว มีการจัดวางล้อแบบมิกาโด (2-6-2) น้ำหนัก 53 ตัน ซึ่งกรมรถไฟหลวงได้สั่งซื้อมาใช้งานเพียง 2 คัน (หมายเลข 311 - 312) เข้าประจำการเมื่อปี พ.ศ.2467 ไม่ทราบปีที่ปลดประจำการครับ

รถจักรไอน้ำรุ่นดังกล่าว ไม่มีซากเหลือให้เห็นแล้ว

Click on the image for full size

รถจักรไอน้ำที่กรมรถไฟหลวงที่สั่งซื้อช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 นอกจากจะสั่งซื้อจากบริษัท นาสมิธ วิลสัน แอนด์ โก แห่งสหราชอาณาจักรแล้ว ยังได้สั่งซื้อจากบริษัท บาติญโนลด์ ชาตียง แห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศสอีกด้วย

รถจักรไอน้ำดังกล่าว มีการจัดวางล้อแบบมิกาโด (2-6-2) น้ำหนัก 52.20 ตัน ซึ่งกรมรถไฟหลวงได้สั่งซื้อมาใช้งานรวม 6 คัน (หมายเลข 321 - 326) เข้าประจำการเมื่อปี พ.ศ.2467 ไม่ทราบปีที่ปลดประจำการเช่นกันครับ

เท่าที่ทราบ ยังมีเหลือเพียง 1 คัน ให้ผู้สนใจได้ชมที่ขจรฟาร์ม จ.พิจิตร
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 10, 11, 12, 13, 14  Next
Page 11 of 14

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©