RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311232
ทั่วไป:13179862
ทั้งหมด:13491094
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - บันทึกการบอมบ์ประเทศไทย
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

บันทึกการบอมบ์ประเทศไทย
Goto page Previous  1, 2, 3, 4, 5, 6 ... 11, 12, 13  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 16/03/2007 5:16 pm    Post subject: Reply with quote

หมอน คสล.หักยาวขนาดนั้นเลยรึ ? คุณวิศรุต เพิ่งเปลี่ยนไปเมื่อต้นปีที่แล้วนี่เอง 8)
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 28/03/2007 9:58 pm    Post subject: Reply with quote

มลายู จัดกระบวนรถพิเศษเพื่อขนทหารจากฝั่งตะวันออก ไป ฝั่งตะวันตกโดยผ่านประเทศไทย
ดังนี้
เสาร์ที่ 2 เมษายน 2490
เวลา 0815 รถทหารวิ่งจากไปร
เวลา 1630 รถทหารถึงปาดังเบซาร์ หยุดพักรถ

อาทิตย์ที่ 27 กรกฎาคม 2490
เวลา 0935 รถทหารวิ่งจากไปร
เวลา 1815 รถทหารถึงสุไหงโกลก หยุดพักรถ
จันทร์ที่ 28 กรกฎาคม 2490
เวลา 0815 รถทหารวิ่งออกจากสุไหงโกลก
เวลา 1630 รถไฟทหารมาถึงปาเลกบัก (ตุมปัต)
พฤหัสบดีที่ 31 กรกฎาคม 2490
เวลา 0935 รถไฟทหารออกจากปาเลกบัก (ตุมปัต)
เวลา 1815 รถทหารถึงสุไหงโกลก


วันที่ 5 สิงหาคม 2490รถไฟทหารมาถึง สุไหงปัตตานี

25 สิงหาคม 2490 รัฐบาลสิงคโปร์สั่งให้ระงับรถทหารเช่นนั้น เพราะทำนอกเหนือคำสั่ง

อ้างอิง: (2) สร. 0201/16.xxx ว่าด้วยสัญญาการเดินรถข้ามแดนระหว่างสยาม - มลายู (ตอนที่ 1) พ.ศ. 2478 - 2490


Last edited by Wisarut on 29/03/2007 7:33 pm; edited 2 times in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 28/03/2007 11:04 pm    Post subject: Reply with quote

จากหนังสือพิมพ์ ประชามิตร 5 มกราคม 2487
30 ธันวาคม 2486 ได้ทดลองรถรับจ้างใช้ถ่านหุงข้าวแทนน้ำมัน

จาก หนังสือพิมพ์สุวันนภูมิ 21 มกราคม 2487
20 มกราคม 2487 กรมรถไฟได้เพิ่มขบวนรถสายเหนือ สายตะวันออกและสายใต้

จาก หนังสือพิมพ์สุภาพสตรี 22 กุมภาพันธ์ 2487
กรมรถไฟไม่รับคืนตั๋วที่ผู้โดยสารซื้อล่วงหน้าและ ไม่ยอมให้เปลี่ยนเที่ยววิ่งด้วยเพราะรถขาดแคลน

จาก หนังสือพิมพ์ไทยไหม่ 3 มีนาคม 2487
1 มีนาคม 2487 กรมรถไฟได้ลดราคารถไฟสำหรับอพยพผู้คนออกจากเขตเทศบาลนครกรุงเทพธนบุรี โดยกำหนดเงื่อนไขในการโดยสารรถขบวนอพยพ

จาก หนังสือพิมพ์สรีกรุง 30 มีนาคม 2487
ได้ทดลองใช้น้ำมันมะพร้าวแทนน้ำมันดีเซลแก่รถยนต์รางก็ได้ผลดี ขณะนี้ได้ใช้น้ำมันยางแทนน้ำมันขี้โล้ให้เรือข้ามฟากกันมากแล้ว

จาก หนังสือพิมพ์สุวันนภูมิ 30 มีนาคม 2487
นายจรูญ สืบแสง อธิบดีกรมรถไฟ ประกาศว่าจะไม่งดเดินขบวนรถระยะสั้นเช่นกรุงเทพ - หัวหิน

จาก หนังสือพิมพ์สุวันนภูมิ 31 มีนาคม 2487
กรมรถไฟประกาศย้ำว่า กรมรถไฟได้ลดราคารถไฟสำหรับอพยพผู้คนออกจากเขตเทศบาลนครกรุงเทพธนบุรี โดยกำหนดเงื่อนไขในการโดยสารรถขบวนอพยพ

จาก หนังสือพิมพ์ข่าวภาพ 4 เมษายน 2487
5 เมษายน 2487 กรมรถไฟงดขายตั๋วขบววนรถด่วนใมห้แก่ผู้จะเดินทางในระยะทางใกล้ๆ เนื่องจาก ผู้โดยสารได้เข้าไปแออัดกันในรถด่วนซึ่งจะเป็นอันตราย

10 เมษายน 2487 กรมรถไฟได้ย้ำให้ผู้โดยสารขึ้นรถอย่างมีวินัย ตอนนี้ได้ให้สารวัตรทหารขึ้นไปคุมขบวนรถไม่ให้ผู้โดยสารขึ้นไปแออัดกันที่เฉลียงท้ายรถ และ ตามข้อต่อรถ ซึ่งแก้ปัญหาได้มากทีเดียว

จาก หนังสือพิมพ์สุวันนภูมิ 1 พฤษภาคม 2487
กรมรถไฟได้ลดราคาค่ารถไฟไฟเพื่อให้นักศึกษาที่อยู่ตามต่างจังหวัดให้เดินทางกลับมาเรียนหนังสือที่กรุงเทพ ในช่วงเปิดภาคการศึกษา

จาก หนังสือพิมพ์สรีกรุง 12 พฤษภาคม 2487
15 พฤษภาคม 2487 กรมรถไฟประกาศเดินรถขบวนต่างๆ วันเว้นวันเนื่องจากรถจักรรถโดยสารมีไม่พอใช้

จากหนังสือพิมพ์ นิกร 16 มิถุนายน 2487
กรมรถไฟจำกัดให้ผู้โดยสารซื้อตั๋วรถด่วนได้ไม่เกินคนละ 2 ฉบับ ยกเว้นจะทำหนังสือชี้แจงมาจากต้นสังกัด

อนึ่งในภาวะคับขันเช่นนี้รถไฟอาจต้องงดเดินขบวนรถ ซึ่งจะประกาศให้ทราบ

จากหนังสือพิมพ์ นิกร 22 กรกฎาคม 2487
1 สิงหาคม 2487กรมรถไฟจำต้องเดินรถ ตามอัตราใหม่ โดยเปลี่ยนให้ชั้น 1 เป็นชั้นพิเศษละชั้น 2 กับ ชั้น 3 เป็นชั้นสามัญ ตามคำสั่งจากกรมรถไฟทหาร


จาก หนังสือพิมพ์สุวันนภูมิ 28 กรกฎาคม 2487
กรมรถไฟกำหนดค่าระวางและค่าโดยสารรถไฟสายแม่กลองใหม่ดังนี้
ชั้น 3 คิด กิโลเมตรละ 4 สตางค์ ชั้น 2 คิดกิโลเมตรละ 6 สตางค์

จากหนังสือพิมพ์ ไทยราสตร์ 28 กรกฎาคม 2487
1 สิงหาคม 2487กรมรถไฟ ได้ลดค่าโดยสารให้ผู้เดินทางอพยพออกไปนอกเขตเทศบาลนครกรุงเทพธนบุรี โดยคิด เพียง 1 ใน 4 ของอัตราใหม่

จากหนังสือพิมพ์ นิกร 22 สิงหาคม 2487
18 สิงหาคม 2487 จอมพล ป. พิบูลย์สงคราม (ผู้บัญชาการทหารสูงสุด) สั่งยกเลิกกรมรถไฟทหาร และให้กรมรถไฟกลับไปขึ้นกับกระทรวงคมนาคม

จากหนังสือพิมพ์ข่าวภาพ 27 สิงหาคม 2487
30 สิงหาคม 2487 กรมรถไฟได้ถอดเอารถชั้นพิเศษจาสกขบวนรถด่วนสายใต้ 1หลังเพื่อไปใช้กับสายอื่น แล้วเอารถชั้นสามัญไปพ่วงแทน

จากหนังสือพิมพ์ข่าวภาพ 5 กันยายน 2487
4 กันยายน 2487 กรมรถไฟสั่งปรับเปลี่ยนต้นทาง - ปลายทางรถขบวน พิษณุโลก - กรุงเทพ และ ขบวน พระตะบอง - กรุงเทพ

อนึ่ง กรมรถไฟสั่งห้ามพนักงานรับหรือเรียกสินน้ำใจจากผู้โดยสารเพื่อให้ได้รับความสะดวก มิฉะนั้นจะลงโทษหนัก

จากหนังสือพิมพ์ประชาชาติ 6 ตุลาคม 2487
ลดค่าโดยสารนักเรียนที่ต้องอพยพไปเรียนต่างจังหวัดเนื่องจากโรงเรียนได้ย้ายออแกต่างจังหวัด โดยให้นักเรียนนำหนังสือประจำตัว และ หนังสือรับรองจากอาจารย์ใหญ่ มาเพื่อซื้อตั๋วและให้แต่งเครื่องแบบเวลาโดยสารด้วย

25 ตุลาคม 2487 กรมรถไฟมีคำสั่งยุบที่หยุดรถต่อไปนี้ล
สายเหนือ สั่งยุบที่หยุดรถไผ่ไหย่ อ่างหิน น้ำริด ปากปาน หนองวัวเถ้า ดอยดี และมุมที่หยุดรถหลักหก เป็นป้ายหยุดรถหลักหก
สายตะวันอออกเฉียงเหนือ สั่งยุบที่หยุดรถ บ้านตลาดขับ สะแหลง
สายตะวันออกให้ยุบที่หยุดรถคลองยี่สิบเอ็ด ที่หยุดรถปราสาทนาง
สายใต้ยุบที่หยุดรถ เชิงสะพานนครชัยศรี และ บ่อแขม และ ยุบมุมที่หยุดรถบางระมาดเป็นป้ายหยุดรถบางระมาด

จาก หนังสือพิมพ์ ไทยใหม่ 1 ธันวาคม 2487
1 ธันวาคม 2487 กรมรถไฟสั่งงดเดินบางขบวน

จากหนังสิอพิมพ์สุวัณณภูมิ 3 ธันวาคม 2487
2 ธันวาคม 2487 ให้ฟืนฟูขบวนรถ ธนบุรี - นครปฐม - ราชบุรี ออก ธนบุรี 0750 กลับธนบุรี 1650 เช่นเดิม

จากหนังสือพิมพ์ประชามิตร 13 ธันวาคม 2487
เดินขบวนรถุพิเศษอพยพต่อไปนี้
1. กรุงเทพ - คลองรังสิต
2. กรุงเทพ - ฉะเชิงเทรา
3. ธนบุรี - นครปฐม

อ้างอิง ก/ป7/2487/5ก. เอกสารข่าวตัดกรมโฆษณาการ หมวด คมนาคม


Last edited by Wisarut on 01/04/2007 1:13 pm; edited 2 times in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 28/03/2007 11:32 pm    Post subject: Reply with quote

จากหนังสือพิมพ์ประชามิตร 21 กุมภาพันธ์ 2488
16 กุมภาพันธ์2488 งดเดินขบวนรถ พิษณุโลก - เด่นไชย ชุมทางบ้านดารา และ สวรรคโลก

จาก หนังสือพิมพ์ข่าวภาพ 10 มีนาคม 2488
หลวงวิธารยนตรกรรม ผู้จัดการรถไฟแม่กลองแจ้งว่า รถจักรของบริษัทได้เดินเต็มกำลัง ไม่สามารถให้บริการได้เพิ่มอีกแล้ว อต่ก็จะพยายามรับใช้ประชาชนให้ถึงที่สุด

จาก หนังสือพิมพ์ข่าวภาพ 25 มีนาคม 2488
22 มีนาคม 2488กรมรถไฟสั่งตัดขบวน ธนบุรี - ปรานบุรี เป็น ธนบุรี - เพชรบุรี และ งดเดินขบวนรถ นครราชสีมา ปากน้ำโพ
29 มีนาคม 2488 งดเดินขบวนรถ บ้านม้า - นครราชสีมา และ บ้านม้า - ปากน้ำโพ

จาก หนังสือพิมพ์ข่าวภาพ 28 มีนาคม 2488
กรมรถไฟแก้คำสั่ง ให้ เดินรถ ขบวนรถ บ้านม้า - นครราชสีมา และ บ้านม้า - ปากน้ำโพ ได้โดยออกทุกวัน และ รถ กรุงเทพ - นครราชสีมา โดยให้ออกทุกอังคารและ พฤหัสบดี

จาก หนังสือพิมพ์สุวัณณภูมิ 16 มิถุนายน 2488
14 มิถุนายน 2488งดเดินรถทุกขบวนที่ออกจากธนบุรี เช่น ธนบุรี - เพชรบุรี (ออกทุกอังคาร และ พฤหัสบดี) และ ขบวนอพยพ ธนบุรี - นครปฐม

จาก หนังสือพิมพ์สุวัณณภูมิ 23 มิถุนายน 2488
ให้ฟื้นฟูขบวนรถ ธนบุรี - ราชบุรี

จากหนังสือพิมพ์ประชามิตร 1 กันยายน 2488
รักษาการอธิบดีกรมรถไฟแจ้งว่าจะเร่งบูรณะการรถไฟ โดย ซ่อมย่านสถานีและชุมทางที่โดนระเบิดและสะพานที่โดนระเบิดพัง โดยใช้เวลาอย่างน้อย 4 ปี

อ้างอิง ก/ป7/2488/5ก. เอกสารข่าวตัดกรมโฆษณาการ หมวด คมนาคม
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 12/05/2007 6:04 pm    Post subject: Reply with quote

จากเอกสาร สร. 0201.35/41 (สำนักนายกรัฐมนตรี)

ปี 2486 มีการทำข้อตกลงกับรัฐบาลไทยและรัฐบาลอินโดจีนเรื่อง การบูรณะสะพานคอนกรีตเสริมเหล็ก และสะพานรถไฟข้ามแม่น้ำสายดอนแก้ว (เขตแดน ไทยแบละอินโดจีที่ได้รับการปรับปรุง)

จากเอกสาร บก. สูงสุด 1.7/2 (กองบัญชาการทหารสูงสุด)
26 มกราคม 2485 ประกาศกฏอัยการศึก ยึกกิจการรถไฟแม่กลอง รถรางไทย และ บริษัทไฟฟ้าไทยจำกัด เพราะเป็นทรัพย์สินชนชาติศัตรู

จากเอกสาร บก. สูงสุด 1.7/3 (กองบัญชาการทหารสูงสุด)
11 มีนาคม 2485 กรมรถไฟขออนุมัติงบสร้างสะพานไม้ชั่วคราว เพื่อข้ามแม่น้ำตึกถลา และ แม่น้ำศรีโสภณ ทางรถไฟสายพระตะบอง

12 มีนาคม 2485 กองบัญชาการทหารสูงสุดอนุมัติให้กรมรถไฟสร้างสะพานไม้ชั่วคราว เพื่อข้ามแม่น้ำตึกถลา และ แม่น้ำศรีโสภณ ทางรถไฟสายพระตะบอง
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 04/06/2007 10:24 am    Post subject: Reply with quote

บก. สส. 2.4.1/21 คำขอร้องของพลตรีอิชิดะ ต่อกรมรถไฟ (2 พค. 2486 – 14 มิ.ย. 2486)

2 พฤษภาคม 2486 พลตรีอิชิดะได้รายงานกรมรถไฟขณะประชุมร่วมกับกรมประสานงานพันธมิตรว่าล้อเลื่อนกรมรถไฟที่ตกไปมลายู 41 หลัง ใช้กับทางรถไฟสายไทย – พม่า 15 หลัง ตกที่อินโดจีน 0 หลัง
นอกจากนี้ พลตรีอิชิดะได้ต่อว่ากรมรถไฟว่า รถพิเศษทหรญี่ปุ่น ที่กรมรถไฟจัดให้เดินทาง วันละ 3 ขบวน มีปัญหาเรื่องความล่าช้ามาก บางทีพลาดกำหนดนัดหมายไป 10 ชั่วโมง จนพลาดการต่อขบวนรถเพื่อไปที่โชนัน ซึ่งเสียหายต่อผลการรบเป็นอย่างมากและ ทำให้บรรดาผู้ใต้บังคับบัญชาต่อว่ากรมรถไฟกลางที่ประชุมว่า รถไฟไทย เลวเสียยิ่งกว่ารถไฟเมืองจีน ซึ่งทำให้เสียสัมพันธไมตรีระหว่างไทย - ญี่ปุ่น

จากการสอบสวนเหตุแห่งความล่าช้าโดยฝ่ายกองทัพญี่ปุ่นได้ความว่า
๑. หลีกตามสถานีรายทาง (เว้นแต่ย่านสถานีสำคัญ) ยาวเพียงราวๆ 250 เมตร ซึ่งไม่พอรองรับขบวนรถพิเศษทหารญี่ปุ่น ต้องขยายหลีกให้ยาวอย่างน้อย 300 เมตร
๒. คนรถไฟมักออกไปกินข้าวที่ตลาดระหว่างการจอดเติมฟืนและน้ำ นานถึง 2 ชั่วโมง ทั้งๆที่ตามประกาศเดินรถให้จอดเติมน้ำและฟืนได้เพียง 1 ชั่วโมง เท่านั้น

กองบัญชาการทหารสูงสุดให้คำมั่นว่าจะแก้ไขในเรื่องความประพฤติของคนรถไฟที่ไม่เรียบร้อย โดยจะออกมาตรการลงโทษสถานหนักแก่บรรดาคนรถไฟที่ไม่ตรงต่อเวลา หรือ ละทิ้งหน้าที่ เนื่องจากไม่ซาบซึ้งถึงความสำคัญในการให้รถไฟทหารได้รับสิทธิ์ไปก่อนรถไฟอื่น

ส่วนกำหนดการขอยืมรถพ่วงของกรมรถไฟเพื่อใช้ในการก่อสร้างทางรถไฟสายไทย – พม่า ให้เป็นไปตามกำหนดดังนี้
สิงหาคม 2486 390 หลัง (ตญ. 356 หลัง และ ขต. 34 หลัง) และ
มกราคม 2487 780 คัน (ตญ. 709 หลัง และ ขต. 71 หลัง)
ที่เป็นเช่นนี้เพราะกองทัพญี่ปุ่นกำหนดแผนการเดินรถว่า
บ้านโป่ง – ชุมพร
สิงหาคม 2486 จำนวน 3 ขบวน 27 หลัง, สิงหาคม-ธันวาคม 2486 จำนวน 3 ขบวน 27 หลัง และ มกราคม 2487 จำนวน 3 ขบวน 31 หลัง
ชุมพร – หาดใหญ่
สิงหาคม 2486 จำนวน 3 ขบวน 27 หลัง, สิงหาคม-ธันวาคม 2486 จำนวน 4 ขบวน 27 หลัง และ มกราคม 2487 จำนวน 5 ขบวน 31 หลัง


Last edited by Wisarut on 04/06/2007 10:28 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 04/06/2007 10:26 am    Post subject: Reply with quote

ส่วนกรณีการขยายหลีกทางสายใต้นั้นกองทัพญี่ปุ่นได้กำหนดลำดับความสำคัญดังนี้

1. หลีกตามสถานีรายทาง 22 แห่ง ที่กรมรถไฟต้องขยายหลีกให้ยาวถึง 300 เมตรทันทีอันได้แก่
1.1. กม. 155 สถานีหนองปลาไหล
1.2. กม. 271 สถานีสามร้อยยอด
1.3. กม. 287 สถานีกุย (กุยบุรี)
1.4. กม. 311 สถานีคั่นกระได – จุดเติมน้ำเติมฟืน
1.5. กม. 437 สถานีมาบอำมฤต
1.6. กม. 506 สถานีวิไสย
1.7. กม. 533 สถานีปากตะโก
1.8. กม. 557 สถานีคลองขนาน
1.9. กม. 569 สถานีละแม
1.10. กม. 594 สถานีหนองหวาย (ท่าชนะ) – จุดเติมน้ำเติมฟืน
1.11. กม. 631 สถานีคลองขุด
1.12. กม. 642 สถานีหัวเตย
1.13. กม. 678 สถานีบ้านนา
1.14. กม. 690 สถานีบ้านนาสาน
1.15. กม. 709 สถานีบ้านส้อง – จุดเติมน้ำเติมฟืน
1.16. กม. 733 สถานีทานพอ
1.17. กม. 744 สถานีคลองจันดี
1.18. กม. 830 สถานีบ้านนางหลง
1.19. กม. 840 สถานีแหลมโตนด
1.20. กม. 866 สถานีบางแก้ว
1.21. กม. 905 สถานีหารเทา
1.22. กม. 933 สถานีบางกล่ำ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 04/06/2007 10:27 am    Post subject: Reply with quote

2. หลีกตามสถานีรายทาง ที่ขยายในโอกาสต่อไปคือสถานีสายใต้ที่เหลือทั้งหมดที่หลีกยาวไม่ถึง 300 เมตร นับตั้งแต่สถานีบางบำหรุ (กม. 18) ถึงสถานีคลองรำ (กม. 977) อันได้แก่
2.1. กม. 18 สถานีบางบำหรุ
2.2. กม. 70 สถานีโพรงมะเดื่อ
2.3. กม. 75 สถานีคลองบางตาล – จุดเติมน้ำเติมฟืน
2.4. กม. 80 สถานีหนองปลาดุก
2.5. กม. สถานีคลองตาคต
2.6. กม. สถานีโพธาราม
2.7. กม. สถานีเจ็ดเสมียน
2.8. กม.116 สถานีราชบุรี – จุดเติมน้ำเติมฟืน
2.9. กม. สถานีบ้านคูบัว
2.10. กม. สถานีบ้านน้อย
2.11. กม. สถานีเขาทะโมน
2.12. กม. สถานีหนองไม้เหลือง
2.13. กม. สถานีหนองสาลา
2.14. กม. สถานีบ้านชอำ
2.15. กม. สถานีห้วยซายเหนือ
2.16. กม. สถานีห้วยซายใต้
2.17. กม. สถานีปราน
2.18. กม. สถานีบ่อนอก
2.19. กม. สถานีประจวบคีรีขันธ์
2.20. กม. สถานีหนองหิน
2.21. กม. สถานีห้วยยาง
2.22. กม. สถานีทุ่งประดู่
2.23. กม. สถานีทับสะแก
2.24. กม. สถานีโคกตาหอม
2.25. กม. สถานีบ้านกรุด
2.26. กม. สถานีบางสะพานใหญ่ – จุดเติมน้ำเติมฟืน
2.27. กม. สถานีบางสะพานน้อย
2.28. กม.สถานีห้วยสัก
2.29. กม. สถานีนาชะอัง
2.30. กม. สถานีแสงแดด
2.31. กม. สถานีทุ่งคา
2.32. กม. สถานีสวี
2.33. กม. สถานีควนหินมุ้ย
2.34. กม. สถานีหลังสวน – จุดเติมน้ำเติมฟืน
2.35. กม. สถานีไชยา
2.36. กม. สถานีท่าฉาง
2.37. กม. สถานีท่าเคย
2.38. กม. สถานีกะเบียด
2.39. กม. สถานีฉวาง
2.40. กม. สถานีนาบอน
2.41. กม. สถานีร่อนพิบูลย์
2.42. กม. สถานีบ้านตูน
2.43. กม. สถานีท่าเสม็ด
2.44. กม. สถานีปากคลอง
2.45. กม. สถานีพัทลุง – จุดเติมน้ำเติมฟืน
2.46. กม. สถานีบ้านต้นโดน
2.47. กม. สถานีเขาไชยสน
2.48. กม. สถานีหนองจีน (สถานีโคกซาย)
2.49. กม. สถานีบ้านดินลาน
2.50. กม. สถานีสาลาทุ่งลุ่ง
2.51. กม. สถานีคลองแงะ
2.52. กม. 977 สถานีคลองรำ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 20/06/2007 6:58 pm    Post subject: ปูมสงคราม Reply with quote

8 มกราคม 2485 กรุงเทพถูกทิ้งระเปิดครั้งแรก
24 มกราคม 2485 ฝ่ายสัมพันธมิตรโจมตีกรุงเทพ พระที่นั่งอนันตสมาคมเสียหาย

28 มกราคม 2485 ทหารเรือยิงเครื่องบินฮสาวิลอนด์ของฝ่ายสัมพันธมิตรตกที่ฝั่งธนบุรี

10 กุมภาพันธ์ 2485เครื่องบินข้าศึกทิ้งระเบิดที่เชียงราย โดนที่ทำการเทศบาลคนตาย 14 คน ขณะที่ญี่ปุ่นยึดสิงคโปร์ได้ แล้วสั่งให้ผู้ว่าการเกาะสิงคโปร์ลงนามยอมแพ้ เมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2485

22 เมษายน 2485 100 บาทเท่ากับ 100 เยน แต่ก่อน 100 บาทแลกได้ 133 เยน

10 สิงหาคม 2485 ออก พรบ. เวนคืนที่บางซื่อให้กรมรถไฟ เพื่อทำทางรถไฟสาย บางซื่อ - คลองตัน

16 กันยายน 2485 ลงนามข้อตกลงกับญี่ปุ่นเรื่องทางรถไฟสายพม่า โดยญี่ปุ่นยืมเงินไทย 4 ล้านบาท

14 พฤศจิกายน 2485 ออก พรบ. เวนคืนที่ตลอดทางจาก อรัญประเทศไป สวายโดนแก้ว เพื่อใช้ในกิจการกรมรถไฟ

1ธันวาคม 2486 ออกกฤษฎีกาเวนคืนที่ จากหนองปลาดุกกถึงฝั่งท่ามะขาม ฝั่งตะวันออก สำหรับทางรถไฟสายมรณะ Shocked

10 มีนาคม 2486 เริ่มงานวันแม่ที่กรุงเทพ

12 พฤษภาคม 2486 ประกาศใช้วีรธรรม 14 ประการ

23 สิงหาคม 2486ได้ 4 รัฐมลายู เชียงตุงและเมืองพาน

25 ตุลาคม 2486 ทางรถไฟสายพม่าสร้างสำเร็จ

8 ธันวาคม 2486 แปรสภาพกรมรถไฟ เป็น กรมรถไฟทหาร ขึ้นตรงกับกองบัญชาการทหารสูงสุด พลโท มังกร พรหมโยธี เป็นผู้บัญชาการกรมรถไฟทหาร

21 ธันวาคม 2486 ออกกฤษฎีกาเวนคืนที่ จากฝั่งท่ามะขาม ฝั่งตะวันตก จรดชายแดนพม่า สำหรับทางรถไฟสายมรณะ Shocked

21 ธันวาคม 2486 สถานีเชียงใหม่ ถูกระเบิดพังพินาศ

23 ธันวาคม 2486กรุงเทพโดนถล่มย่าน 4 ส.

10 มกราคม 2487 เครื่องบินสัมพันธมิตรทิ้งทุ่นระเบิดแม่เหล้กเพื่อจมเรือในแม่น้ำเจ้าพระยา กว่าจะเริ่มกวาดทุ่นระเบิดได้ก็ 15 มกราคม 2487 ที่ ปากคลองสำโรง

10 มกราคม 2487 ได้ย้ายนักเรียนเตรียมนายร้อย และ นักเรียนนายร้อย ไปเพชรบูรณ์โดยทางรถไฟ ต่อมาย้ายมทาที่วัดกษัตราธิราช หัวแหลม พระนครศรีอยุธยา

11-12 มกราคม 2487สถานีกรุงเทพโดนถล่ม เวลากลางคืน โรงแรมราชธานีโดนถล่มหลังคาเปิงไปด้วย

19 มกราคม 2487 โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์, พระบรมมหาราชวัง โรงไฟฟ้าสามเสนโดนระเบิด

25 กุมภาพันธ์ 2487 กรุงเทพถูกระเบิด

6 มีนาคม 2487 กรุงเทพถูกระเบิด

5 มิถุนายน 2487 บี 29 จำนวน 77 ลำ ถล่มกรุงเทพเวลากลางวัน โรงงานมักกกะสัน อาคารราชดำเนิน บ้านหม้อ เสียหายหนัก

6 ตุลาคม 2487 สถานีลพบุรีถูกระเบิด -> วันที่สะพานจักรีโดนถล่มก็น่าจะเป็นวันนี้นั้นแหละเจ้าเจฟฟ์
2-3 พฤศจิกายน 2487 สถานีมักกะสันและ โรงงานมักกะสัน โดนถล่ม

27 พฤศจิกายน 2487 โรงปูนซีเมนต์ไทยบางซื่อโดนถล่ม

14 ธันวาคม 2487 สะพานพุทธยอดฟ้าโดนถล่มด้วยระเบิด

1 มกราคม 2488 สถานีนครไชยศรีถูกทิ้งรีเบิด

2 มกราคม 2488 สะพานพระราม 6 โดนถล่มด้วยระเบิดจากเครื่องบินบี 29

23 มกราคม 2488 ออก พรบ. เวนคืนที่ทำทางรถไฟสาย สุราษฏร์ธานี - ท่านุ่น

13 กุมภาพันธ์ 2488 สะพานท่ามะขามข้ามแควใหญ่โดนถล่มด้วยระเบิด

16 กุมภาพันธ์ 2488 สะพานจุฬาลงกรณ์ที่ราชบุรีโดนถล่มด้วยระเบิด

17 กุมภาพันธ์ 2488 ปลดพลโท จรูญ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ ออกจากประจำการ

28 กุมภาพันธ์ 2488 สถานีนครรราชสีมาถูกถล่ม

2 มีนาคม 2488 สถานีนครรราชสีมาถูกถล่มคำรบ 2

5 มีนาคม 2488 สถานีธนบุรีโดนถล่มแหลกละเอียด และ ท่าเรือคลองเตยก็โดนระเบิดด้วย

19 มีนาคม 2488 สถานีชุมพรโดนถล่มแหลกละเอียด ทางรถไฟ ชุมพร - เขาฝาชีก็โดนไปด้วย

2 เมษายน 2488 สถานีแก่งคอยโดนถล่มแหลก

5 เมษายน 2488 สะพานท่ามะขามข้ามแควใหญ่โดนถล่มด้วยระเบิดเป็นคำรบสอง

14 เมษายน 2488 โรงไฟฟ้าวัดเลียบ และ โรงไฟฟ้าสามเสนถูกถล่มแหลกละเอียด วัดเลียบก็โดนด้วย

พฤษภาคม 2488 สะพานท่าข้าม ที่สุราษฎร์ธานี ถูกถล่มขาด 2 ท่อน

พฤษภาคม 2488 สถานีปากน้ำโพโดนถล่มแหลกด้วย

14 สิงหาคม 2488 โอนกิจการรถไฟแม่กลองให้กรมรถไฟ แม้กรมรถไฟเข้าควบคุมในฐานะทรัพย์สินชนชาติศัตรู ตั้งแต่ 26 มกราคม 2485

30 เมษายน 2489 ออกพระราชกฤษฎีกาเวนคืนที่ รถไฟ ช่วงหัวหวาย - ท่าตะโก เพิ่มเติม


22 กันยายน 2488 เปลี่ยนชื่อสหรัฐไทยเดิม เป็นรัฐเชียงตุง

23 กันยายน 2488 ข้าหลวงทหารไทย ถอนตัวจาก 4 รัฐมาลัย (กลันตัน ตรังกานู ไทรบุรี ปลิศ) แต่กรมรถไฟ ต้องทำขบวนรถสาย หาดใหญ่ - สุไหงโกลุก - ตุมปัต ไปจนกว่ากรมรถไฟมลายูจะเข้าคุมได้ ซึ่งก็ราวๆ ต้นปี 2489 ... เลยได้รับเงินมลายูที่ญี่ปุ่นพิมพ์ซึ่งมีค่าแค่เศษกระดาษ ... ต้องกำชับให้จ่ายเป็นดอลลาร์มลายูของอังกฤษ ไม่งั้นอดตาย เพราะ เลิกคลังสนามไปเมื่อ 23 กันยายน 2488

5ธันวาคม 2488 ในหลวงอานันทมหิดล เสด็จนิววัตพระนคร โดยเสด็จทางรถไฟจากดอนเมืองไปที่สถานีจิตรลดา

6 เมษายน 2489 ขนสมบัติของชาติจากถ้ำฤาษี เพชรบูรณ์ กลับพระนคร เวลา 0606

24 พฤษภาคม 2489 ในหลวงอานัยนทมหิดลเสด็จ ช. พัน 2 (ฉะเชิงเทรา)

28 พฤษภาคม 2489 ออกพระราชกฤษฎีกาเวนคืนที่ รถไฟ สาย บ้านหมอ - ท่าหลวง และ สายหนองเต่า - เขาทับควาย

17 กรกฎาคม 2489 ทหารญี่ปุ่นถอนตัวจากทางรถไฟสายมรณะ

31 ตุลาคม 2489 กองทัพอังกฤษยึดครองทางรถไฟสายมรณะเพราะเห็นว่าเป็นทรัพย์สมบัติของชนชาติศัตรู

4 พฤศจิกายน 2489 กรมรถไฟจ่ายเงิน 2 ล้านบาทซื้อกิจการรถไฟแม่กลอง

7 มกราคม 2490 กรมรถไฟซื้อทางรถไฟสายมรณะคืน เป้นเงิน 1.25 ล้านปอนด์ โดยต้องชำระเงินปอนด์ให้สัมพันธมิตร 9แสนปอนด์และ เงินอีก 325000 ปอนด์เป้นเงินไทย เพื่อซื้อทางรถไฟสายพม่าคืนมา เมื่อ


Last edited by Wisarut on 27/10/2008 12:00 am; edited 3 times in total
Back to top
View user's profile Send private message
KTTA-50-L
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 02/04/2006
Posts: 4367
Location: Freight Division , SRT

PostPosted: 20/06/2007 7:39 pm    Post subject: Reply with quote

ผมตามอยู่ตลอด แล้วสะพานจักรีบ้านผมโดนบอมบ์วันไหนอ่ะ Question
Back to top
View user's profile Send private message MSN Messenger
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3, 4, 5, 6 ... 11, 12, 13  Next
Page 5 of 13

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©