RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311283
ทั่วไป:13264255
ทั้งหมด:13575538
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 285, 286, 287 ... 545, 546, 547  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 23/09/2018 2:20 am    Post subject: Reply with quote

ต.ค.ออกทีโออาร์ยกแผง เร่งหาผู้ร่วมทุนอีก4โครงการมูลค่า 3.75 แสนล้าน
ออนไลน์เมื่อ 22 กันยายน พ.ศ. 2561
ตีพิมพ์ใน หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
ฉบับที่ 3,402 วันที่ 20 - 22 กันยายน พ.ศ. 2561 หน้า 11


อีอีซี เร่งคลอดทีโออาร์อีก 4 โครงการเร่งด่วนให้ได้ภายในต.ค.นี้ มูลค่าลงทุนราว 3.75 แสนล้านบาท บี้ทำมาร์เก็ต ซาวดิ้ง ครั้งที่ 3 มีทั้งโครงการท่าเรือแหลมฉบัง เฟส 3 ท่าเรือมาบตาพุด เฟส 3 พัฒนาสนามบินอู่ตะเภา ขณะที่ศูนย์ MRO กองทัพเรือชงขอ 6.3 พันล้าน จากครม.

จากที่คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก(กพอ.) มีนายกรัฐมนตรี เป็นประธานได้ประกาศทีโออาร์โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน(กรุงเทพฯ-อู่ตะเภา) มูลค่าโครงการ 2.24 แสนล้านบาท ไปแล้ว มีผู้ซื้อซองประมูล 31 ราย ซึ่งกำหนดให้ผู้ประมูลยื่นขอเสนอหรือยื่นซองในวันที่ 12 พฤศจิกายน 2561

ในขณะที่โครงการท่าเรือมาบตาพุด ระยะที่ 3 มูลค่าโครงการราว 5.54 หมื่นล้านบาท โครงการท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 มูลค่าโครงการราว 1.1 แสนล้านบาท โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา มูลค่าโครงการราว 2 แสนล้านบาท และโครงการศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยานอู่ตะเภา(MRO) มูลค่าโครงการราว 1.058 หมื่นล้านบาท รวมมูลค่าโครงการราว 3.75 แสนล้านบาท ได้มีความคืบหน้าเป็นลำดับ




นายมนตรี ฤกษ์จำเนียร ผู้อำนวยการท่าเรือแหลมฉบัง เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า ในวันที่ 24 กันยายน 2561 ทางการท่าเรือแหลมฉบัง จะเปิดรับฟังความเห็นของนักลงทุนครั้งที่ 3 เพิ่มเติมนี้ (มาร์เก็ต ซาวดิ้ง) เพื่อให้ได้ข้อมูลทั้งหมดโดยรวม และนำมาจัดทำรายละเอียดของบทีโออาร์ เพื่อนำเสนอไปยังกพอ.เห็นชอบ และหลังจากอนุมัติแล้ว คาดว่าจะออกทีโออาร์ได้ในช่วงต้นเดือนตุลาคม และให้เอกชนมายื่นขอเสนอประมูลในช่วงปลายเดือนธันวาคมหรือไม่เกินต้นสัปดาห์แรกของเดือนมกราคม 2562 และลงนามกับเอกชนที่ผ่านการคัดเลือกไม่เกินต้นเดือนมีนาคม 2562 และเริ่มดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จในปี 2566

นางสาวกฤตยาพร ทัพภะทัต รองผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(กนอ.) กล่าวว่า ในช่วงปลายเดือนกันยายนหรือต้นเดือนตุลาคมนี้ กนอ.จะเปิดมาร์เก็ต ซาวดิ้ง ครั้งที่ 3 โครงการมาบตาพุด ระยะที่ 3 เพื่อนำข้อเสนอมาจัดทำเป็นรายละเอียดของร่างทีโออาร์ นำเสนอ กพอ. ในเดือนตุลาคม 2561 หลังจากนั้นจะจัดทำรายละเอียดและออกทีโออาร์ได้ในเดือนตุลาคม 2561 และให้เอกชนยื่นข้อเสนอเดือนกุมภาพันธ์ 2562 และคัดเลือกเอกชนได้ในเดือนมีนาคม 2562 ก่อสร้างให้แล้วเสร็จในปี 2567

ส่วนโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออกนั้น ได้ผ่านการรับฟังความคิดเห็นของภาคเอกชนไปทั้ง 2 ครั้งแล้ว และในช่วงปลายเดือนกันยายนหรือต้นตุลาคม 2561 จะทำมาร์เก็ต ซาวดิ้ง ครั้งที่ 3 เพื่อนำไปสรุปจัดทำรายละเอียดและออกทีโออาร์ให้ทันภายในเดือนตุลาคมนี้ และให้เอกชนยื่นข้อเสนอได้ในเดือนมกราคม 2561 และคาดว่าลงนามสัญญากับเอกชนร่วมลงทุนเดือนมีนาคม 2562 และเริ่มก่อสร้างแล้วเสร็จเปิดใช้บริการในปี 2566



ขณะที่โครงการศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยานอู่ตะเภา(MRO) ระยะที่ 1 ที่เป็นการร่วมทุนของบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) กับบริษัท แอร์บัสฯ อยู่ระหว่างการนำเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี เพื่อพิจารณาอนุมัติโครงการและวงเงินงบประมาณรายจ่ายของแผ่นดิน 6,333 ล้านบาท ให้กับกองทัพเรือใช้สำหรับลงทุนก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างต่างๆ คาดว่าในเดือนตุลาคมนี้ จะออกทีโออาร์ได้ และเจรจาต่อรองกับเอกชน และลงนามในสัญญาได้ในเดือนธันวาคม 2561 และเริ่มก่อสร้างแล้วเสร็จเปิดดำเนินการได้ในปี 2565
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 24/09/2018 11:49 am    Post subject: Reply with quote

รฟท.ลุยรถไฟเร็วสูง ประมูลช่วง‘สีคิ้ว-กุดจิก’ตค.นี้

วันจันทร์ ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2561, 06.00 น.

แหล่งข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.) เปิดเผยความคืบหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูง ระยะที่ 1 กรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 253 กิโลเมตร วงเงิน 179,000 ล้านบาท ว่า ในส่วนของตอนที่ 2 ช่วงสีคิ้ว-กุดจิก ระยะทาง 11 กิโลเมตร วงเงิน 5,000 ล้านบาท ภายในสัปดาห์นี้จะนำร่างเอกสารประกวดราคา (TOR) โดยจะเปิดประชาพิจารณ์บนเว็บไซต์เป็นเวลา 1 สัปดาห์ ก่อนนำข้อคิดเสนอแนะทั้งหมดกลับมาประชุมสรุปผล และนำขึ้นประชาพิจารณ์บนเว็บไซต์ครั้งที่ 2 อีก 1 สัปดาห์



พร้อมคาดว่าจะสามารถเปิดขายซองประกวดราคาได้ในสัปดาห์สุดท้ายของเดือน ตุลาคม 2561 ก่อนกำหนดวันเคาะประมูลโครงการในช่วงต้นเดือนพฤศจิกายนนี้ ขณะนี้ช่วงกลางดง-ปางอโศก ระยะทาง 3.5 กิโลเมตร คาดจะดำเนินแล้วเสร็จในเดือนตุลาคมนี้

ในส่วนความคืบหน้าของแผนก่อสร้างช่วงสถานีจันทึก-สถานีคลองไผ่ อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา ในโครงการนี้ วงเงินราว 10,000 ล้านบาทนั้น ปัจจุบันอยู่ระหว่างถอดแบบและทำร่าง TOR คาดว่าจะสามารถเปิดประกวดราคาได้ในช่วง 2 เดือนสุดท้ายของปีนี้ ซึ่งในการเปิดประมูลจะใช้ระเบียบเงื่อนไขของรัฐบาลไทยส่งผลให้งานก่อสร้างโครงการนี้จะเป็นผู้รับเหมาไทยและใช้วัสดุก่อสร้างในประเทศ (Local Content) เกือบทั้งหมด

นอกจากนี้ทางการจีนได้ส่งรายละเอียดการออกแบบอีก 12 ตอนที่เหลือมาแล้วและอยู่ระหว่างถอดแบบประมาณราคาค่าใช้จ่ายของโครงการ (BOQ) โดยหลังจากนี้จะทยอยเปิดประมูลภายในเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม 2561 แบ่งเป็น
ตอนที่ 3 ช่วงแก่งคอย-นครราชสีมา ระยะทาง 119.5 กิโลเมตร ที่จะเปิดประมูลพร้อมกัน 6 สัญญา และ
ตอนที่ 4 ช่วงบางซื่อ-แก่งคอย ระยะทาง 119 กิโลเมตร ที่เปิดประมูลพร้อมกัน 6 สัญญา

สำหรับโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา มีระยะทาง 253 กิโลเมตรก่อนหน้านี้คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติอนุมัติให้ การรถไฟแห่งประเทศไทย พัฒนาโครงการ ประกอบด้วยสถานีรถไฟ 6 สถานี ได้แก่ บางซื่อ-ดอนเมือง-อยุธยา-สระบุรี-ปากช่อง-นครราชสีมา มีระยะเวลาก่อสร้างทั้งโครงการ 4 ปี หรือคาดเปิดให้บริการได้ในปี 2564

โดยกำหนดค่าโดยสารช่วง กรุงเทพฯ-ปากช่อง อยู่ที่ 393 บาท และ กรุงเทพฯ-นครราชสีมา 535 บาท นอกจากนี้ขบวนรถมีทั้งหมด 6 ขบวน ในระยะแรก ความจุผู้โดยสาร 600 คนต่อขบวน ความเร็วในการเดินทาง 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ใช้เวลาเดินทาง 1 ชั่วโมง 17 นาที ให้บริการเริ่มต้น 11 เที่ยวต่อวัน เดินทางทุก 90 นาที

เปิดประมูลรถไฟความเร็วสูง6สัญญารวด
วันจันทร์ ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2561, เวลา 09:19 น. 117

รฟท.จ่อขายซองทีโออาร์ ไฮสปีดไทย-จีน ล็อตละ 6 สัญญารวด รวม 12 สัญญาภายในปีนี้
แหล่งข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยความคืบหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูงเฟส 1 กรุงเทพฯ-นครราชสีมา หรือโครงการรถไฟไทย-จีน ระยะทาง 253 กิโลเมตร (กม.) วงเงิน 1.79 แสนล้านบาทนั้น จีนได้ส่งรายละเอียดการออกแบบ 12 ตอนที่เหลือ ขณะนี้อยู่ระหว่างการถอดแบบประเมินค่าใช้จ่ายของโครงการ จากนั้นจะทยอยร่างทีโออาร์และเปิดประมูลภายในเดือน พ.ย.-ธ.ค. 2561 ทั้งนี้ แบ่งเป็น 2 ครั้ง ได้แก่
ตอน 3 ช่วงแก่งคอย-นครราชสีมา ระยะทาง 119.5 กม. จะเปิดประมูลพร้อมกัน 6 สัญญา และตอนที่ 4 ช่วงบางซื่อ-แก่งคอย ระยะทาง 119 กม. เปิดประมูลพร้อมกัน 6 สัญญา


Last edited by Wisarut on 24/09/2018 1:57 pm; edited 2 times in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 24/09/2018 12:16 pm    Post subject: Reply with quote

ล้นหลาม! เอกชนยื่น 626 คำถามซักละเอียดยิบทีโออาร์ประมูลไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน
พร็อพเพอร์ตี้
วันจันทร์ ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2561, 10:52 น.


เมื่อวันที่ 24 ก.ย. 61 ณ อาคารสถานีรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิ้งก์ นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เป็นประธาน
เปิดการประชุมชี้แจงโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน ดอนเมือง – สุวรรณภูมิ – อู่ตะเภา ครั้งที่ 2

เพื่อให้เอกชนผู้ซื้อซองได้สอบถามข้อมูลและข้อสงสัยต่อโครงการอย่างเป็นทางการ โดยมีผู้บริหารการรถไฟแห่งประเทศไทย ผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) ผู้แทนกระทรวงคมนาคม ผู้บริหาร บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด เข้าร่วม


นายวรวุฒิกล่าวว่า โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน (ดอนเมือง – สุวรรณภูมิ – อู่ตะเภา) ถือเป็นหนึ่งในโครงการเร่งด่วนของรัฐบาล เพื่อขับเคลื่อนโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor : EEC) และเชื่อมโยงเดินทางของผู้โดยสาร 3 ท่าอากาศยานเข้าสู่พื้นที่เศรษฐกิจและพื้นที่ท่องเที่ยวให้เดินทางถึงกันได้อย่างสะดวกรวดเร็ว อันจะช่วยสนับสนุนให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการบินของภูมิภาคเอเชีย – แปซิฟิก รวมทั้งเชื่อมโยงกับการคมนาคมขนส่งทางถนนและทางเรือได้อย่างครอบคลุมและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ที่ผ่านมา รฟท.ได้จัดการประชุมชี้แจงโครงการครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2561 หลังจากนั้นจึงเปิดโอกาสให้ผู้ซื้อเอกสารได้ส่งคำถาม หรือข้อสงสัยต่างๆ เข้ามา เพื่อรวบรวมประเด็นทั้งหมด และนำมาชี้แจงให้ความกระจ่าง ซึ่งปรากฏว่ามีผู้สนใจสอบถามข้อมูลมาถึง 626 คำถาม โดยมีประเด็นที่หลากหลาย ทั้งด้านการเงินการลงทุน ร่างสัญญาร่วมลงทุน การก่อสร้าง การเดินรถ รวมไปถึงข้อกำหนดของ รฟท.ในด้านต่างๆ เช่น การพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานี งานโยธา งานระบบรถไฟ และเทคโนโลยีต่างๆ

โดยภายหลังจากงานวันนี้ยังจะเปิดให้ผู้ซื้อเอกสารส่งข้อเสนอแนะ หรือคำถามเกี่ยวกับเอกสารการคัดเลือกเอกชนตลอดจนตรวจสอบข้อมูลหรือรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับโครงการ ได้จนถึงวันที่ 9 ตุลาคม 2561 และให้เอกชนยื่นข้อเสนอในวันจันทร์ที่ 12 พฤศจิกายน 2561 เวลา 09.00 – 15.00 น.

สำหรับโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบินเป็นโครงการที่ใช้โครงสร้างและแนวเส้นทางการเดินรถเดิมของระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแอร์พอร์ต เรล ลิ้งก์ (Airport Rail Link) ที่เปิดให้บริการอยู่ในปัจจุบัน โดยจะก่อสร้างทางรถไฟขนาด 1.435 เมตร (Standard Gauge) ส่วนต่อขยาย 2 ช่วงจากสถานีพญาไท ไปยังสนามบินดอนเมือง และจากสถานีลาดกระบัง ไปยังสนามบินอู่ตะเภา ซึ่งโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบินจะถือเป็นมิติใหม่ในการลงทุนร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชนอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อร่วมกันพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศให้มีศักยภาพ เพิ่มขีดความสามารถด้านการแข่งขันของไทยในเวทีโลกและร่วมกันยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในอนาคต
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 24/09/2018 12:55 pm    Post subject: Reply with quote

BTS สู้ยิบตาชิงไฮสปีดEEC ขาใหญ่ตีกันปตท.ร่วมถือหุ้น
พร็อพเพอร์ตี้
วันจันทร์ ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2561, - 08:02 น.

แฟ้มภาพ
2 กลุ่มทุนจับคู่ฝุ่นตลบชิงดำประมูลไฮสปีดอีอีซี 2.24 แสนล้าน “บีทีเอส” สู้ยิบตา เซ็น MOU “ซิโน-ไทยฯ และราชบุรีโฮลดิ้ง” ลงสนามแข่ง เร่งเจรจาพันธมิตรเอเชีย-ยุโรป-เซ็นทรัลเสริมทัพ พักขายขนมจีบ ปตท. หลังถูกขาใหญ่เตะสกัด รีวิว 1 ปีไฮสปีดไทย-จีน เข็นไม่ขึ้น ถมคันดินเฟสแรกสถานีกลางดง-ปางอโศกคืบ 30-40% ประมูล 12 สัญญา 1.1 แสนล้านปีหน้า

แหล่งข่าวจากวงการรับเหมาก่อสร้างเปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า มีความเคลื่อนไหวอย่างหนักของ 2 กลุ่มทุนรายใหญ่กำลังหาพันธมิตรในประเทศและต่างชาติที่มีประสบการณ์งานก่อสร้างพัฒนาระบบเทคโนโลยีรถไฟความเร็วสูง เพื่อร่วมลงทุนก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา ระยะทาง 220 กม. วงเงินกว่า 2.24 แสนล้านบาท ซึ่งแต่ละกลุ่มจะต้องหาพันธมิตรที่มีความเชี่ยวชาญแต่ละด้าน เพราะเป็นโครงการใหญ่และลงทุนสูง

ซี.พี.-บีทีเอสจับคู่ฝุ่นตลบ

ตอนนี้กลุ่ม ซี.พี.มีแผนจะร่วมกับบริษัท ทางรถไฟแห่งชาติฝรั่งเศส (SNCF) และบริษัท ทรานส์เดฟ กรุ๊ป จากฝรั่งเศส บริษัท ทางรถไฟแห่งชาติอิตาลี (FS) เพื่อจัดหาระบบการเดินรถและบริหารจัดการโครงการในระยะยาว ในส่วนของงานก่อสร้าง วางรางและพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ มีแนวโน้มดึง 7 บริษัทจากจีนเข้าร่วม ได้แก่ บจ.ไชน่า เรลเวย์ คอนสตรัคชั่น (CRCC), บจ.ไชน่า เรลเวย์ กรุ๊ป, บจ.ไชน่า คอมมูนิเคชั่น คอนสตรัคชั่น, บจ.ไชน่า รีเสิร์ซ โฮลดิ้งส์, บจ.ซิติก กรุ๊ป, บจ.ไชน่า สเตท คอนสตรัคชั่น เอนยิเนียริ่ง คอร์ปอเรชั่น และ บจ.ซิโนไฮโดร คอร์ปอเรชั่น เนื่องจากจีนสามารถก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงได้รวดเร็ว และเคยพัฒนาเมืองใหม่รอบสถานี นอกจากนี้กำลังเจรจา บมจ.อิตาเลียนไทยฯ และ บมจ.ช.การช่าง เข้าร่วมด้วย

ขณะที่กลุ่มบีทีเอสนั้นจะจับกับพันธมิตรเดิมในกลุ่มกิจการร่วมค้า BSR ประกอบด้วย บมจ.บีทีเอสกรุ๊ป โฮลดิ้งส์ บมจ.ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่งแอนด์คอนสตรัคชั่น และ บมจ.ผลิตไฟฟ้าราชบุรี โฮลดิ้ง และกำลังเจรจากับพันธมิตรใหม่ ซึ่งมีทั้ง ปตท. และกลุ่มเซ็นทรัล ที่มีความสนใจจะพัฒนาเชิงพาณิชย์ที่สถานีมักกะสัน 150 ไร่



“ตอนนี้ยังไม่นิ่ง ทุกคนที่เป็นบริษัทใหญ่คุยกันหมด จะร่วมกันลงทุนส่วนไหนได้บ้าง กลุ่ม ซี.พี.อยากจะได้หลาย ๆ กลุ่มเข้าร่วม เพราะโครงการมีความเสี่ยงสูง ซึ่ง ซี.พี.แม้จะมีที่ดินในมือมาก แต่ไม่มีประสบการณ์ด้านรถไฟ ต้องพึ่งต่างชาติทั้งจีน ยุโรป ส่วน ปตท.ยังไม่สรุปจะร่วมกับใคร ก่อนหน้านี้คุยกับบีทีเอส แต่มีคนไปร้องเรียนกับฝ่ายรัฐบาล หาก ปตท.เป็นรัฐวิสาหกิจของรัฐบาลไปร่วมกับบีทีเอส เท่ากับไม่เป็นธรรมต่อกลุ่มอื่น ทำให้ตอนนี้บีทีเอสต้องหยุดเจรจากับ ปตท.ไปก่อน ถ้าเป็นแบบนี้มีสิทธิ์ที่ ปตท.จะแยกยื่นประมูลต่างหาก”

BTS เซ็น MOU ซิโน-ไทย-ราชบุรี

นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการบริหารและกรรมการ บมจ.บีทีเอสกรุ๊ป โฮลดิ้งส์ กล่าวว่า บริษัทและพันธมิตรกลุ่ม BSR ณ วันนี้ยังยืนยันจะยื่นซองประมูลวันที่ 12 พ.ย.นี้ ขณะเดียวกันอยู่ระหว่างเจรจากับพันธมิตรรายอื่น ๆ เข้าร่วมด้วย ทั้งไทย ยุโรป จีน ญี่ปุ่น รวมถึง ปตท.ด้วย เนื่องจากเป็นโครงการใหญ่ใช้เงินลงทุนสูง แต่ละบริษัทที่จะเข้าร่วมลงทุนจะต้องรอการอนุมัติจากคณะกรรมการ (บอร์ด) ของแต่ละบริษัทก่อนถึงจะมีข้อยุติ

นายอาณัติ อาภาภิรม กรรมการบริหาร บมจ.บีทีเอส กร๊ปฯ เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 18 ก.ย. 2561 ที่ผ่านมา บีทีเอสได้ลงนามบันทึกความร่วมมือ (MOU) กับ บมจ.ซิโน-ไทยฯ และ บมจ.ผลิตไฟฟ้าราชบุรี โฮลดิ้ง เพื่อประกาศเจตนารมณ์ร่วมกันจะเข้าร่วมประมูลโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ในนามกลุ่มกิจการร่วมค้า BSR หลังได้บรรลุข้อตกลงร่วมกันแล้ว ส่วนรายละเอียดสัดส่วนการลงทุนยังไม่สรุปในขณะนี้ จะต้องหารือร่วมกันต่อไป

“ตอนนี้ยังไม่ตกผลึกเรื่องพันธมิตรใหม่ที่จะร่วม เบื้องต้นเรากับพันธมิตรเดิมมีข้อตกลงร่วมกันแล้วว่าจะไปด้วยกัน ส่วนระบบรถไฟความเร็วสูงที่จะนำมาใช้กับโครงการ ยังไม่มีข้อสรุปในขณะนี้ว่าจะเป็นของเอเชีย หรือยุโรป แต่เรามีพันธมิตรด้านงานระบบอยู่หลายบริษัท ทั้งรายเดิม เช่น บอมบาร์ดิเอร์ และซีเมนส์ และรายใหม่ กำลังพิจารณาว่าสุดท้ายจะเลือกระบบไหนถึงจะดีที่สุด ซึ่งอาจจะรวมกันหลาย ๆ บริษัทเป็นแพ็กเกจ ซึ่งยังมีเวลาที่จะพิจารณาเพราะสามารถเลือกได้หลังยื่นประมูลแล้วก็ได้ ถ้าหากไม่เป็นผู้ลงทุนร่วมกัน”

ร.ฟ.ท.ชี้แจงทีโออาร์รอบ 2

นายวรวุฒิ มาลา รักษาการผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) กล่าวว่า วันที่ 24 ก.ย.นี้จะมีประชุมชี้แจงทีโออาร์ของโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน เป็นครั้งที่ 2 เพื่อเปิดให้เอกชน 31 ราย ที่ซื้อซองประมูลซักถามรายละเอียดทีโออาร์ ก่อนจะเปิดให้ยื่นซองข้อเสนอในวันที่ 12 พ.ย. 2561 โดยส่วนใหญ่ที่เอกชนสอบถามจะมีหลากหลายประเด็น เช่น การเวนคืนที่ดิน เทคนิคการก่อสร้าง รวมถึงพื้นที่ทับซ้อนกับโครงการอื่น ๆ ที่อยู่ในแนวเส้นทาง เป็นต้น

แหล่งข่าวจากกลุ่ม ซี.พี.กล่าวว่า ที่ผ่านมามีการจ้างบริษัทที่ปรึกษามาศึกษารายละเอียดแต่ละด้าน ทั้งงานโยธา งานระบบ การบริหารโครงการและพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ เพื่อประเมินรายละเอียดอย่างถี่ถ้วนก่อนยื่นซองประมูลในวันที่ 12 พ.ย.นี้ ซึ่งตอนนี้ยังไม่สะเด็ดน้ำ รวมถึงการหาพันธมิตรที่จะร่วมทุนด้วย คาดว่าจะได้ข้อสรุปภายในเดือน ต.ค.นี้

ไฮสปีดไทย-จีนเข็นไม่ขึ้น

ด้านความคืบหน้ารถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 253 กม. วงเงิน 1.79 แสนล้านบาท แหล่งข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า ปัจจุบัน ร.ฟ.ท.ยังคงเดินหน้าการก่อสร้าง แม้ว่าโครงการจะมีปัญหาอุปสรรคขอใช้พื้นที่จากหน่วยงานอื่นเพื่อก่อสร้างและการเวนคืนที่ดินที่อยู่ระหว่างออก พ.ร.ฎ.เวนคืนที่ดิน ซึ่งจะเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติเร็ว ๆ นี้

ทั้งโครงการมีเวนคืนที่ดิน 2,815 ไร่ ค่าเวนคืน 13,069 ล้านบาท จุดใหญ่อยู่ที่เชียงรากน้อย 800-900 ไร่ เพื่อก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุง ที่เหลือเป็นจุดเลี้ยวโค้งและขึ้น-ลงสถานี และมีค่ารื้อท่อก๊าซ ปตท. 40 กม. จากรังสิต-ภาชี และคลอง 1 ถึงคลองพุทรา ขณะที่สถานีจะสร้างอยู่บนสถานีเดิมเป็นหลัก มีสร้างบนพื้นที่ใหม่ 2 แห่ง คือ สถานีสระบุรี อยู่ด้านหลังของศูนย์การค้าโรบินสัน และสถานีปากช่อง ที่สร้างอยู่บนที่ราชพัสดุ หนองสาหร่าย

เลื่อนประมูลแสนล้านไปปีหน้า

แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า ขณะที่การก่อสร้างจากที่แบ่ง 14 สัญญา ในส่วนของงานก่อสร้างคันดินสัญญาแรก ระยะทาง 3.5 กม. จากสถานีกลางดง-ปางอโศก ได้ทำพิธีเริ่มโครงการเมื่อเดือน ธ.ค. 2560 ความคืบหน้าล่าสุดอยู่ที่ 30-40% ซึ่งยังล่าช้าจากแผนงาน จากนั้นปลายเดือน ก.ย.นี้ จะประกาศทีโออาร์ประมูลก่อสร้างงานช่วงที่ 2 ระยะทาง 11 กม. จากสีคิ้ว-กุดจิก วงเงิน 4,000 ล้านบาท เป็นงานก่อสร้างคันดิน 6 กม. และทางยกระดับ 4 กม. คาดว่าจะประมูลภายในเดือน พ.ย.นี้ และได้ผู้รับเหมาก่อสร้างในเดือน ม.ค. 2562

“อีก 12 สัญญาที่เหลือกว่า 1.1 แสนล้านบาท จะทยอยเปิดประมูลให้หมดเดือน ต.ค.ปีหน้า ที่ต้องรอให้จีนส่งแบบรายละเอียดมาให้พิจารณา ถึงจะกำหนดราคากลางและเปิดประมูลได้ ทุกอย่างต้องทำอย่างรอบคอบ”

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า โครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีนยังคงเดินหน้าต่อ จะมีประชุมคณะกรรมการร่วมฯวันที่ 24 ก.ย.นี้ ติดตามความคืบหน้าและเร่งรัดการก่อสร้าง ส่วนการดำเนินการต่อในช่วงที่ 2 ช่วงสีคิ้ว-กุดจิก อยู่ระหว่างเตรียมการที่จะของบประมาณจากรัฐบาล

ด้านนายธานินทร์ สมบูรณ์ อดีตอธิบดีกรมทางหลวง (ทล.) เปิดเผยว่า ความคืบหน้างานก่อสร้างสัญญาที่ 1 ช่วงกลางดง-ปางอโศก ระยะทาง 3.5 กม. ขณะนี้คืบหน้ากว่า 50% แต่ยังติดปัญหาด้านงบประมาณ โดยต้องไปแก้บันทึกข้อตกลง (MOU) เรื่องงบประมาณ เนื่องจาก ร.ฟ.ท.ในฐานะเจ้าของโครงการให้งบประมาณมาดำเนินการเพียงส่วนหนึ่ง จำนวน 118 ล้านบาท คาดว่าจะแล้วเสร็จสิ้นเดือน ต.ค.นี้
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44531
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 24/09/2018 1:37 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
ล้นหลาม! เอกชนยื่น 626 คำถามซักละเอียดยิบทีโออาร์ประมูลไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน
พร็อพเพอร์ตี้
วันจันทร์ ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2561, 10:52 น.

รฟท.เร่งประมูลรถไฟเชื่อมอีอีซีภายใน3เดือน
ไทยโพสต์ 24 กันยายน พ.ศ. 2561 เวลา 13:28 น.

Click on the image for full size

รฟท.เปิดชี้แจงข้อมูลรถไฟความเร็วสูงเชื่อสามสนามบิน พร้อมเปิดให้ผู้ซื้อเอกสารส่งข้อเสนอแนะ ตรวจสอบข้อมูลหรือรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับโครงการจนถึง 9 ต.ค.นี้ มั่นใจภายใน3เดือนเปิดประมูล

24 ก.ย.61-นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดการประชุมชี้แจงโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ดอนเมือง – สุวรรณภูมิ – อู่ตะเภา ครั้งที่ 2 เพื่อให้เอกชนผู้ซื้อซองได้สอบถามข้อมูลและข้อสงสัยต่อโครงการอย่างเป็นทางการ โดยมีผู้บริหาร รฟท. ผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) ผู้แทนกระทรวงคมนาคม ผู้บริหาร บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด เข้าร่วม

นายวรวุฒิ กล่าวว่าโครงดังกล่าวว่าคาดว่าจะสามารถเปิดประมูลโครงการได้ภายในไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ ก่อนลงนามสัญญาเอกชนในเดือน ม.ค. 2562 หลังจากได้เอกชนผู้รับจ้างจากนั้นจะใช้ระยะเวลาการก่อสร้าง5ปี เปิดให้บริการปลายปี 2566 ขณะที่ความคืบหน้าการรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) รฟท.ได้ดำเนินการควบคู่กับการเปิดรับฟังข้อเสนอจากเอกชน คาดว่าจะแล้วเสร็จช่วงเดือนมกราคมปี2562เพื่อให้สามารถลงนามในสัญญาการก่อสร้างได้ตามเงื่อนไข

อย่างไรก็ตามหลังจากงานเปิดประชุมชี้แจงครั้งนี้ รฟท. ยังจะเปิดให้ผู้ซื้อเอกสารส่งข้อเสนอแนะ คำถามข้อมูลรายละเอียดที่เกี่ยวข้องจนถึงวันที่ 9 ตุลาคม 2561 ทั้งนี้พบว่ามีผู้สนใจสอบถามข้อมูลมาถึง 668คำถาม โดยมีประเด็นทั้งด้านการเงินการลงทุน การก่อสร้าง การเดินรถ การพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานี งานโยธา งานระบบรถไฟ และเทคโนโลยีต่างๆ ส่วนในวันจันทร์ที่ 12 พ.ย.นี้จะให้เอกชนยื่นข้อเสนอตั้งแต่เวลา 09.00 - 15.00น.โดยจะประกาศรายชื่อเอกชนของผู้ที่ยื่นข้อเสนอในช่วงเย็นว่ามีทั้งหมดกี่ราย

นายวรวุฒิ กล่าวว่า โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสาม สนามบิน ถือเป็น 1 ในโครงการเร่งด่วนของรัฐบาล เพื่อขับเคลื่อนโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) และเชื่อมโยงเดินทางของผู้โดยสาร 3 ท่าอากาศยานเข้าสู่พื้นที่เศรษฐกิจและพื้นที่ท่องเที่ยวให้เดินทางถึงกันได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ช่วยสนับสนุนให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการบินของภูมิภาคเอเชีย – แปซิฟิก รวมทั้งเชื่อมโยงกับการคมนาคมขนส่งทางถนนและทางเรือได้อย่างครอบคลุมและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 24/09/2018 2:13 pm    Post subject: Reply with quote


ลงนามไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน มกราคม 2562
https://www.youtube.com/watch?v=nUGE7XmNI_g
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 24/09/2018 2:16 pm    Post subject: Reply with quote

จ่อเคาะขายทีโออาร์ไฮสปีดไทย-จีน รวบประมูล 6 สัญญา

24 กันยายน พ.ศ. 2561 เวลา 09:55 น.




รฟท.จ่อเคาะเปิดขายซองทีโออาร์ไฮสปีดไทย-จีน รวบประมูล 6 สัญญาพร้อมกันวันเดียว ค่าโดยสารไฮสปีดจีน-ชินคันเซ็น พบระบบญี่ปุ่นค่าโดยสารแพงกว่าเกือบ 3 เท่า

แหล่งข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.)เปิดเผยว่าความคืบหน้าโครงการรถไฟความเร็วเฟส 1 กรุงเทพ-นครราชสีมา ระยะทาง 253 กม.วงเงิน 1.79 แสนล้านบาทนั้นขณะนี้ช่วงแรก 3.5 กม.ช่วงกลางดง-ปางอโศกจะดำเนินแล้วเสร็จในเดือนต.ค.นี้ ส่วนตอนที่ 2 ช่วงสีคิ้ว-กุดจิก ระยะทาง 11 กม. วงเงิน 5 พันล้านบาท ภายในสัปดาห์นี้จะนำร่างเอกสารประกวดราคา(ทีโออาร์)มาเปิดประชาพิจารณ์บนเว็บไซต์เป็นเวลา 1 สัปดาห์ ก่อนนำข้อคิดเสนอแนะทั้งหมดกลับมาประชุมสรุปผลและนำขึ้นประชาพิจารณ์บนเว็ปไซต์ครั้งที่สองอีก 1 สัปดาห์

อย่างไรก็ตามจึงคาดว่าจะสามารถเปิดขายซองประกวดราคาได้ในสัปดาห์สุดท้ายของเดือน ต.ค. ก่อนกำหนดวันเคาะประมูลโครงการในช่วงต้นเดือน พ.ย. ส่วนแผนก่อสร้างช่วงสถานีจันทึก-สถานีคลองไผ่ วงเงินราว 1 หมื่นล้านบาทขณะนี้อยูระหว่างถอดแบบและร่างทีโออาร์คาดว่าจะเปิดประกวดราคาได้ในช่วง 2 เดือนสุดท้ายของปีนี้ อย่างไรก็ตามการเปิดประมูลจะใช้ระเบียบเงื่อนไขของรัฐบาลไทยส่งผลให้งานก่อสร้างโครงการนี้จะเป็นผู้รับเหมาไทยและใช้วัสดุก่อสร้างในประเทศ (Local Content) เกือบทั้งหมด

แหล่งข่าวกล่าวต่อว่าจีนได้ส่งรายละเอียดการออกแบบอีก 12 ตอนที่เหลือมาแล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างถอดแบบประมาณราคาค่าใช้จ่ายของโครงการ (BOQ)จากนั้นจะทยอยร่างทีโออาร์และเปิดประมูลภายในเดือน พ.ย.-ธ.ค. แบ่งเป็น 2 ครั้ง ได้แก่ ตอน 3 ช่วงแก่งคอย-นครราชสีมา ระยะทาง 119.5กม.เปิดประมูลพร้อมกัน 6 สัญญา และตอนที่ 4 ช่วงบางซื่อ-แก่งคอย ระยะทาง 119 กม.เปิดประมูลพร้อมกัน 6 สัญญา ส่วนด้านความคืบหน้าโครงการรถไฟทางคู่เฟส 2 รวม 7 เส้นทาง มูลค่า 4 แสนล้านบาทนั้นขณะนี้ได้เสนอกระทรวงคมนาคมไปหมดแล้วหลังจากปรับเพิ่มข้อมูลบางส่วน คาดว่าจะเสนอสภาพัฒน์พร้อมกันทั้งหมดเลยเพื่อให้คณะกรรมการคัดเลือกดูความสำคัญแล้วทยอยเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรีทีละเส้นทาง

รายงานข่าวกระทรวงคมนาคมระบุว่าจากข้อมูลการเปรียบเทียบราคาค่าโดยสารชั้นปกติ(Second Class)ของระบบรถไฟความเร็วสูงในแต่ละประเทศทั่วโลกนั้นพบว่าค่าโดยสารรถไฟไฮสปีดระบบของจีนถูกมากที่สุดคิดเป็น 2.2 บาท/กม. คำนวณจากค่าโดยสารช่วงปักกิ่ง-เซี่ยงไฮ้ ระยะทาง 1,318 กม. ราคา 2,775 บาท ส่วนด้านรถไฟชินคันเซ็นของญี่ปุ่นนั้นมีค่าโดยสารเฉลี่ย 8 บาท/กม. คำนวณจากช่วงโตเกียว-โอซาก้า ระยะทาง 515 กม. ราคา 4,000 บาท ขณะที่รถไฟไฮสปีดระบบฝรั่งเศสมีค่าโดยสารเฉลี่ย 5 บาท/กม. คำนวณจากช่วงปารีส-มาร์กเซย ระยะทาง 862 กม. ราคา 4,100 บาท สุดท้ายระบบเยอรมันมีค่าโดยสารเฉลี่ย 10 บาท/กม. คำนวณจากช่วงเบอร์ลิน-แฟรงก์เฟิร์ต ระยะทาง 424 กม. ราคา 4,300 บาท

ทั้งนี้เมื่อนำมาคิดเป็นค่าโดยสารของรถไฟไฮสปีดช่วงกรุงเทพ-โคราชระยะทาง 253 กม.นั้น ระบบจีนจะมีค่าโดยสาร 556 บาทตลอดสาย ขณะที่ระบบชินคันเซ็นจะมีค่าโดยสาร 2,024 บาท สูงกว่าระบบจีนเกือบ 3 เท่า ส่วนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบินอีอีซี ระยะทาง 220 กม. นั้นหากใช้ระบบของจีนจะมีค่าโดยสาร 484 บาท ขณะที่ระบบชินคันเซ็นและระบบฝรั่งเศสจะมีค่าโดยสารอยู่ที่ 1,760 บาทและ 1,100 บาท ตามลำดับ

ส่องโมเดล “อิตาลี-ฝรั่งเศส” พัฒนาสถานีหนุนรถไฟความเร็วสูง

วันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2561 เวลา 12:53 น.

การพัฒนารถไฟความเร็วสูงให้สำเร็จ หลายประเทศพูดเป็นเสียงเดียวกัน ไม่ได้มาจาก “ค่าตั๋ว” สิ่งสำคัญนั่นคือการพัฒนาเชิงพาณิชย์ภายในและโดยรอบสถานี ที่เรียกว่า “TOD-transit oriented development” ทำให้การประมูลรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา ลงทุนกว่า 2.24 แสนล้านบาท นอกจากเอกชนได้สิทธิ์บริหารแอร์พอร์ตลิงก์ และสถานีไฮสปีดเทรนทั้ง 9 แห่ง

ยังได้ของแถมเป็นที่ดินติดสถานีมักกะสัน 150 ไร่ และสถานีศรีราชา 25 ไร่ เพื่อพัฒนาสร้างรายได้ 50 ปี โดยเอกชนต้องใช้เม็ดเงินเนรมิตทั้ง 2 สถานี กว่า 45,000 ล้านบาท และจ่ายส่วนแบ่งให้รัฐ 51,000 ล้านบาท

ยังไม่มีใครตอบได้ โมเดลที่หลายประเทศใช้กันจะประสบความสำเร็จในประเทศไทยหรือไม่ ในเมื่อไลฟ์สไตล์การเดินทางต่างกัน ซึ่งชาวต่างประเทศนิยมชมชอบการเดินทางด้วยระบบขนส่งมวลชน ขณะที่คนไทยยังไม่ใช่ ในเมื่อรถยนต์ยังตอบโจทย์การเดินทางที่ถึงจุดหมายปลายทางสะดวกสบายมากกว่า

มีโอกาสได้ใช้บริการรถไฟความเร็วสูงของประเทศอิตาลี จาก “โรม-ฟลอเรนซ์” ระยะทาง 232 กม. ใช้เวลาเดินทาง 1.30 ชั่วโมง จุดเริ่มต้นอยู่ที่สถานี “โรม่า แทรมินี” (Roma Temini) ที่นี่นอกจากจะเป็นศูนย์ควบคุมการเดินรถไฟของ “FS-บริษัททางรถไฟแห่งชาติอิตาลี” ยังเป็นสถานีศูนย์กลางการเดินทางไปยังเมืองต่าง ๆ ของประเทศอิตาลี และใกล้เคียง




ทำให้สถานีนี้บรรยากาศคึกคักด้วยผู้คนที่เข้ามาใช้บริการ สำหรับการพัฒนาสถานีด้านนอกเป็นสถาปัตยกรรมเก่าแก่ รายล้อมด้วยระบบขนส่งสาธารณะจะนำคนจากสถานีนี้ไปยังจุดหมายปลายทางต่าง ๆ ทั้งแท็กซี่ รถโดยสารประจำทาง

ขณะที่ภายในสถานีเหมือนเป็นสนามบินย่อม ๆ ออกแบบพื้นที่ใช้สอยเป็น 3 ชั้น มีชั้นใต้ดิน ชั้น 1 ที่จัดสรรพื้นที่เป็น “เลานจ์” สำหรับลูกค้า V.I.P. จุดแสดงข้อมูลการเดินทางและพื้นที่ร้านค้าแบ่งเป็นล็อก ๆ บริเวณโถงกลางและด้านข้าง เช่น ร้านเสื้อผ้า กระเป๋า เครื่องสำอาง ร้านขายยา แมคโดนัลด์ ส่วนชั้น 2 จัดสรรพื้นที่เป็นโถงพักคอย ศูนย์อาหารและเครื่องดื่ม เช่น ร้านกาแฟ

อีกสถานีที่น่าสนใจ “สถานีรถไฟของเมืองฟลอเรนซ์” บรรยากาศก็คลาคล่ำด้วยผู้คน อาจจะเป็นเพราะฟลอเรนซ์เป็นเมืองท่องเที่ยว จึงมีคนมาใช้บริการมาก

ส่วนภายนอกสถานี จะมีสถานีจอด “รถไฟฟ้าแทรม” ที่รับส่งคนไปยังจุดต่าง ๆ ของเมือง ขณะที่บรรยากาศโดยรอบก็ดูคึกคักไปด้วยอาคารที่ปลูกสร้างขึ้นมาใหม่ มีทั้งโรงแรม และแหล่งการค้าเพื่อมารองรับนักท่องเที่ยว เพราะจากสถานีสามารถเดินไปยังจุดท่องเที่ยวได้



มาดูโมเดลพัฒนาของประเทศ “ฝรั่งเศส” ซึ่งมีโอกาสได้นั่งรถไฟความเร็วสูง TGV จากนครปารีส มุ่งหน้าสู่แรงส์ (Reims) ซึ่งใช้เวลาเดินทาง 45 นาที โดยใช้บริการสถานี “GARE DE L”EST” ตั้งอยู่ใจกลางนครปารีส

รูปแบบอาคารสถานีเป็นสถาปัตยกรรมเก่าแก่ที่โปร่งโล่ง จากการดีไซน์ทำให้บรรยากาศของที่นี่คล้ายสถานีรถไฟหัวลำโพงของบ้านเรา ขณะที่การจัดสรรพื้นที่ภายในสถานีจะมีร้านค้าตั้งเรียงไม่ว่าจะเป็นกาแฟแบรนด์ดังอย่างสตาร์บัคส์ ที่ตั้งร้านขนาดย่อมไว้ดักลูกค้าตรงทางเข้า-ออกชานชาลา เช่นเดียวกับสถานีปลายทาง “GRDE DE REIMS” บรรยากาศก็คึกคักไม่ต่างกันแม้ว่าจะมีขนาดเล็กกว่าก็ตาม

สำหรับ “ฝรั่งเศส” เดินรถไฟความเร็วสูงมากว่า 37 ปี มี “SNCF-บริษัททางรถไฟแห่งชาติฝรั่งเศส” บริหาร มี 230 สถานี รวมระยะทาง 824 กม. มีพื้นที่ค้าปลีกและสำนักงาน 2 ล้านตร.ม.ที่พัฒนาสร้างรายได้เกื้อหนุนโครงการ

ล่าสุดกำลังทุ่มเงิน 1,000 ล้านยูโร หรือ 38,000 ล้านบาท รีโนเวต “สถานี Austerlitz” สถานีเก่าแก่ 191 ปี พื้นที่ 23,000 ตร.ม. ให้รองรับรถไฟ TGV จากปัจจุบันจะมีแค่รถไฟธรรมดาและรถไฟฟ้าใต้ดิน มีรถบริการ 100 ขบวน และผู้โดยสารมาใช้บริการ 23 ล้านเที่ยวคนต่อปี เมื่อปรับโฉมเสร็จจะมีรถเพิ่มเป็น 200 ขบวน และผู้โดยสาร 50 ล้านเที่ยวคนต่อปี มีกำหนดแล้วเสร็จในปี 2567

เมื่อรถไฟความเร็วสูงเป็นตัวขับเคลื่อนเมืองและเศรษฐกิจ ทำให้หลายประเทศไม่หยุดการพัฒนา

ส่วน “TOD” ประเทศไทยยังเป็นเรื่องใหม่ที่ยังไม่เคยมีมาก่อน นอกจากการลงทุนเอกชนสร้างศูนย์การค้าและคอนโดมิเนียมเกาะไปตามแนวและสถานีรถไฟฟ้าเท่านั้น
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 25/09/2018 10:09 am    Post subject: Reply with quote

รฟท.เร่งประมูลรถไฟเชื่อมอีอีซีภายใน3เดือน

24 กันยายน พ.ศ. 2561 เวลา 13:28 น.


รฟท.เปิดชี้แจงข้อมูลรถไฟความเร็วสูงเชื่อสามสนามบิน พร้อมเปิดให้ผู้ซื้อเอกสารส่งข้อเสนอแนะ ตรวจสอบข้อมูลหรือรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับโครงการจนถึง 9 ต.ค.นี้ มั่นใจภายใน3เดือนเปิดประมูล

24 ก.ย.61-นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดการประชุมชี้แจงโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ดอนเมือง – สุวรรณภูมิ – อู่ตะเภา ครั้งที่ 2 เพื่อให้เอกชนผู้ซื้อซองได้สอบถามข้อมูลและข้อสงสัยต่อโครงการอย่างเป็นทางการ โดยมีผู้บริหาร รฟท. ผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) ผู้แทนกระทรวงคมนาคม ผู้บริหาร บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด เข้าร่วม

นายวรวุฒิ กล่าวว่าโครงดังกล่าวว่าคาดว่าจะสามารถเปิดประมูลโครงการได้ภายในไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ ก่อนลงนามสัญญาเอกชนในเดือน ม.ค. 2562 หลังจากได้เอกชนผู้รับจ้างจากนั้นจะใช้ระยะเวลาการก่อสร้าง5ปี เปิดให้บริการปลายปี 2566 ขณะที่ความคืบหน้าการรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) รฟท.ได้ดำเนินการควบคู่กับการเปิดรับฟังข้อเสนอจากเอกชน คาดว่าจะแล้วเสร็จช่วงเดือนมกราคมปี2562เพื่อให้สามารถลงนามในสัญญาการก่อสร้างได้ตามเงื่อนไข

อย่างไรก็ตามหลังจากงานเปิดประชุมชี้แจงครั้งนี้ รฟท. ยังจะเปิดให้ผู้ซื้อเอกสารส่งข้อเสนอแนะ คำถามข้อมูลรายละเอียดที่เกี่ยวข้องจนถึงวันที่ 9 ตุลาคม 2561 ทั้งนี้พบว่ามีผู้สนใจสอบถามข้อมูลมาถึง 668คำถาม โดยมีประเด็นทั้งด้านการเงินการลงทุน การก่อสร้าง การเดินรถ การพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานี งานโยธา งานระบบรถไฟ และเทคโนโลยีต่างๆ ส่วนในวันจันทร์ที่ 12 พ.ย.นี้จะให้เอกชนยื่นข้อเสนอตั้งแต่เวลา 09.00 - 15.00น.โดยจะประกาศรายชื่อเอกชนของผู้ที่ยื่นข้อเสนอในช่วงเย็นว่ามีทั้งหมดกี่ราย

นายวรวุฒิ กล่าวว่า โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสาม สนามบิน ถือเป็น 1 ในโครงการเร่งด่วนของรัฐบาล เพื่อขับเคลื่อนโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) และเชื่อมโยงเดินทางของผู้โดยสาร 3 ท่าอากาศยานเข้าสู่พื้นที่เศรษฐกิจและพื้นที่ท่องเที่ยวให้เดินทางถึงกันได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ช่วยสนับสนุนให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการบินของภูมิภาคเอเชีย – แปซิฟิก รวมทั้งเชื่อมโยงกับการคมนาคมขนส่งทางถนนและทางเรือได้อย่างครอบคลุมและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 27/09/2018 9:56 am    Post subject: Reply with quote

รมต.คมนาคมแจงสื่อญี่ปุ่น เชื่อม 3 สนามบิน เพิ่มผู้โดยสาร 2 เท่าตัว ดันไทยแซงสิงคโปร์

โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 25 กันยายน พ.ศ. 2561 เวลา 06:57

รมต.คมนาคมของไทยระบุกับสื่อญี่ปุ่นว่า โครงการเชื่อมสนามบินสุวรรณภูมิ-ดอนเมือง-อู่ตะเภา จะเพิ่มศักยภาพในการรองรับผู้โดยสารอีก 2 เท่าตัว และทำให้ประเทศไทยแซงหน้าสิงคโปร์ เป็นศูนย์กลางการบินในภูมิภาคอาเซียน


นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีคมนาคมให้สัมภาษณ์กับ “นิเคอิ” สื่อของญี่ปุ่นว่า สนามบินแตะเภา ซึ่งเดิมเป็นสนามบินทหารจะได้รับการพัฒนาตามแผนพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC และจะรองรับผู้โดยสารได้ 60 ล้านคนต่อปี

ปัจจุบัน สนามบินอู่ตะเภารองรับผู้โดยสารราว 300,000 คน ส่วนใหญ่เป็นเที่ยวบินเช่าเหมาจากจีนและรัสเซีย แต่หลังจากเชื่อมโยงกับ EEC สนามบินอู่ตะเภาจะเป็นประตูสำหรับนักธุรกิจด้วย

นายอาคมระบุว่า ขณะนี้สนามบินสุวรรณภูมิและดอนเมืองหนาแน่นมาก และรัฐบาลกำลังขยายพื้นที่ โดยสนามบินสุวรรณภูมิขยายความสามารถรองรับผู้โดยสารต่อปีจาก 45 ล้านคนเป็น 90 ล้านคน และสนามบินดอนเมืองจาก 30 ล้านคนเป็น 40 ล้านคน โดยเมื่อรวม 3 สนามบินแล้ว ศักยภาพการรองรับผู้โดยสารต่อปีจะเพิ่มเป็น 190 ล้านคน หรือ 2.5 เท่าตัวจากปัจจุบัน

เมื่อเทียบแล้ว สนามบินหลักในประเทศไทยจะแซงหน้าสนามบินชางฮีของสิงคโปร์ ที่รองรับผู้โดยสาร 150 ล้านคนต่อปีในปี 2030 เมื่ออาคารผู้โดยสารที่ 5 สร้างเสร็จ

รมต.คมนาคมระบุว่า ไทยยังตั้งเป้าจะเป็นศูนย์ซ่อมบำรุงและพัฒนาอากาศยาน ซึ่งปัจจุบันสิงคโปร์เป็นศูนย์หลักในภูมิภาค โดยอุตสาหกรรมการบนเป็น 1 ใน 10 อุตสาหกรรมหลักที่จะได้รับการส่งเสริมใน EEC

รัฐบาลไทยกำลังเปิดประมูลโครงการรถไฟเชื่อม 3 สนามบิน ระยะทาง 220 กม. มูลค่ากว่า 7,000 ล้านดอลลาร์ ซึ่งได้รับความสนใจอย่างสูงจากกลุ่มทุนทั้งไทยและเทศ เช่น กลุ่มซีพี , ปตท. รวมทั้งบริษัทจากจีน ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส อิตาลี และมาเลเซีย โดยรัฐบาลไทยได้ทราบว่า จีนและญี่ปุ่นจะร่วมมือกันในโครงการนี้ โดยเป็นครั้งแรกที่ทั้ง 2 ชาติร่วมลงทุนโครงสร้างพื้นฐานในต่างประเทศ

เส้นทางรถไฟนี้ยังจะเชื่อมโยงไปถึงประเทศจีน ตามแนวคิด “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” หรือ Belt and Road ช่วงแรกของเส้นทางนี้ระหว่างกรุงเทพ-นครราชสีมา ได้เริ่มก่อสร้างแล้ว และคาดว่าจะเปิดบริการได้ในปี 2022

เดิมทีรัฐบาลจีนจะให้การสนับสนุนโครงการนี้ แต่ตกลงเรื่องอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ไม่ได้ ทำให้ฝ่ายไทยตัดสินใจลงทุนเอง แต่รมต. คมนาคม ระบุว่า ไทยพร้อมจะรับเงินกู้จากจีนหากมีเงื่อนไขที่เหมาะสม แต่ฝ่ายไทยก็ไม่มีข้อผูกมัดว่าต้องใช้เงินทุนจากฝ่ายจีน

รมต.คมนาคม ระบุว่า โครงการรถไฟเชื่อม 3 สนามบินนี้ รัฐบาลไทยจะจ่ายค่าเวนคืนที่ดิน และค่าก่อสร้างบางส่วน แต่ภาคเอกชนจะต้องรับความเสี่ยงด้านการก่อสร้าง, การดำเนินงาน และการพัฒนาพื้นที่ตามแนวเส้นทาง รัฐบาลจะไม่ช่วยรับประกันผลกำไรและการเงินของผู้ที่ได้รับสัมปทาน.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 28/09/2018 10:28 am    Post subject: Reply with quote

ชั่วโมงฐานเศรษฐกิจ 24/9/61 : ร.ฟ.ท.เปิดเวทีลุยไฟไฮสปีดเทรน
24 กันยายน พ.ศ. 2561



รายการ ชั่วโมงฐานเศรษฐกิจ วันจันทร์ที่ 24 กันยายน 2561 เวลา 13.00-14.00 น. ดำเนินรายการโดย คุณบากบั่น บุญเลิศ และ คุณกรรณิการ์ รุ่งกิจเจริญกุล เจาะลึกประเด็น ร.ฟ.ท.เปิดเวทีลุยไฟไฮสปีดเทรน

รายละเอียดจะเป็นอย่างไรติดตามได้จากรายการ
https://www.youtube.com/watch?v=5950XCAWwic
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 285, 286, 287 ... 545, 546, 547  Next
Page 286 of 547

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©