Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311235
ทั่วไป:13180689
ทั้งหมด:13491924
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวโครงการรถไฟทางคู่
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวโครงการรถไฟทางคู่
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 215, 216, 217 ... 388, 389, 390  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44329
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 11/09/2018 8:18 am    Post subject: Reply with quote

กองทัพและราชบุรีประชุมนัดแรกเตรียมแผนเก็บกู้ระเบิดใต้น้ำสร้างทางรถไฟ
สยามรัฐออนไลน์ 11 กันยายน 2561 07:45

Click on the image for full size

จังหวัดราชบุรีประชุมร่วม 3 เหล่าทัพหาแนวทางเก็บกู้ระเบิดและหัวรถจักรที่จมอยู่ในแม่น้ำแม่กลองใต้สะพานรถไฟจุฬาลงกรณ์ โดยเบื้องต้นอยู่ในขั้นตอนของการสำรวจ ขณะที่ 1 ในทีมถอดทำลายอมรภัณฑ์ระบุ รอความชัดเจนคาดลงสำรวจได้ทันที

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากที่มีข่าวเรื่องการออกมาให้ข่าวของนักสำรวจใต้น้ำและทีมติดตามข้อมูลประวัติศาสตร์เรื่องหัวรถจักรและการพบระเบิดสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ใต้น้ำบริเวณตอม้อสะพานรถไฟจุฬาลงกรณ์ข้ามแม่น้ำแม่กลอง อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี หลังมติ ครม.ให้มีการดำเนินการสร้างทางรถไฟรางคู่ นครปฐม – หัวหิน เมื่อวันที่ 28 ธ.ค. 2560 การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ลงนามในสัญญาจ้างก่อสร้างโครงการรถไฟทางคู่ระยะเร่งด่วน 5 เส้นทาง กับบริษัทผู้รับจ้างที่ผ่านการคัดเลือก หนึ่งในนั้นคือ การก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงนครปฐม-หัวหิน ระยะทาง 169 กม. โดย พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้สั่งให้กองทัพเริ่งดำเนินการสนับสนุนทางจังหวัดราชบุรีและการรถไฟแห่งประเทศไทย ในการเก็บกู้วัตถุระเบิดขึ้นมา พร้อมกำชับว่าให้ทำงานอย่างระมัดระวังเพื่อไม่ส่งผลกระทบและเหตุการณ์ระเบิดขึ้น อาจจะเกิดอันตรายขึ้น

ล่าสุดนายวีรัส ประเศรษโฐ รองผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี ประธานคณะทำงานเพื่อประสานงานและดำเนินการการก่อสร้างรถไฟทางคู่ในพื้นที่จังหวัดราชบุรี ได้เชิญหน่วยงานหลักๆ ที่เตรียมดำเนินการการเก็บกู้วัตถุระเบิดและหัวรถจักรไอน้ำใต้สะพานรถไฟจุฬาลงกรณ์ ประกอบด้วย คณะนำงานจังหวัดราชบุรี ผู้แทนจากกองทัพ กรมการทหารช่าง ผู้แทนกรมสรรพวุธทหารบก (กองพันสรรพาวุธกระสุน ชุดทำลายล้างวัตถุระเบิด) ผู้แทนกรมสรรพวุธทหารอากาศ (กองทำลายวัตถุระเบิด) ผู้แทนกรมสรรพวุธทหารเรือ (กองประดาน้ำและถอดทำลายอมภัณฑ์) ผู้แทนมณฑลทหารบกที่ 16 การรถไฟแห่งประเทศไทย สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดราชบุรีและตัวแทนบริษัทผู้รับจ้างสร้างทางรถไฟรางคู่ นครปฐม – หัวหิน เข้าร่วมประชุมเพื่อกำหนดแนวทางในการดำเนินการเก็บกู้วัตถุระเบิดและหัวรถจักไอน้ำ ที่ห้องประชุมหลวงยกบัตร ศาลากลางจังหวัดราชบุรี โดยที่ประชุมได้อนุญาตให้สื่อมวลชนเข้าบันทึกภาพแค่ช่วงการการเริ่มประชุม จากนั้นได้เชิญสื่อมวลชนให้ออกด้านนอกเนื่องจากเป็นการประชุมภายใน จากนั้นจะให้สัมภาษณ์ภายหลังจากเสร็จการประชุม

Click on the image for full size

ซึ่งบรรยากาศที่ประชุมเป็นไปอย่างตรึงเครียด เนื่องจากการกำหนดแนวทางการเก็บกู้วัตถุระเบิดที่มีอายุเก่าแก่มากกว่า 70 ปี และจมอยู่ในน้ำ ซึ่งต้องทำงานกันอย่างระมัดระวังและจะต้องดำเนินการเป็นขั้นเป็นตอน โดยแหล่งข่าวระบุว่า การประชุมได้มีการเสนอแนวทางออกเป็น 3 ขั้นตอน ประกอบด้วย 1 กำหนดแนวทางในการลงไปสำรวจข้อเท็จจริงว่ามีระเบิดอยู่จริงทั้งหมดกี่ลูกและหัวรถจักรไอน้ำที่จำอยู่นั้นบริเวณใต้หัวรถจักรฯจะมีรถเบิดอยู่หรือไม่ เพราะถ้าเคลื่อนย้ายหรือมีการขยับเขยื้อนอาจจะส่งผลอันตรายได้ 2 ขั้นตอนของการเก็บกู้ โดยจะต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญด้านการทำลายและเก็บกู้วัตถุระเบิดใต้น้ำเป็นผู้ดำเนินการเก็บกู้ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญด้านการทำลายวัตถุระเบิดของกองทัพ รวมไปถึงผู้เชี่ยวชาญการเก็บกู้และทำลายวัตถุระเบิดจากต่างประเทศ และ 3 การเคลื่อนย้าย ซึ่งจะต้องดำเนินการกันเป็นขั้นเป็นตอนเพื่อการทำงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยที่ประชุมยังระบุว่าการดำเนินงานให้ทางการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เป็นเจ้าภาพในการดำเนินการจัดสรรเรื่องงบประมาณค่าใช้จ่ายในการดำเนินการเก็บกู้ในเบื้องต้น ส่วนการนำเสนอข้อมูลข่าวสารต่างๆ ผ่านสื่อมวลชน หรือ ผ่านสื่อออนไลน์เพื่อให้ประชาชนได้รับทราบข้อมูลข่าวสารที่ตรงกันและเพื่อไม่ให้เกิดการสับสนได้มอบหมายให้ประชาสัมพันธ์จังหวัดราชบุรีเป็นผู้ดำเนินการ

ภายหลังใช้เวลา 3 ชั่วโมงในการประชุม นายวีรัส ประเศรษโฐ รองผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี ได้ออกมาให้ข่าวระบุว่า สรุปการดำเนินงานวันนี้เราได้มีการประชุมในคณะทำงานระดับจังหวัดมีอยู่ 2 ประเด็น เรื่องแรกการสร้างทางรถไฟที่อาจจะกระทบกับที่มีการสำรวจเบื้องต้นว่ามีการพบลูกระเบิดก้คุยกันหลายประเด็นว่าจะต้องทำอย่างไร จะเริ่มจากการสำรวจก่อนหลังจากฤดูน้ำหลากผ่านไปก้คงจะเริ่มได้ประมาณกลางเดือนธันวาคม และคิดกรอบแบบคร่าวๆจากการพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญจากกองทัพกำหนดไว้ 2+1 เดือน เพื่อให้ได้ข้อมูลข้อเท็จจริง หลังจากนั้นก็จะมากำหนดแผนในการกู้เฉพาะระเบิดโดยจะให้ทั้ง 3 เหล่าทัพตามคำสั่งของนายกรัฐมนตรีให้ศึกษาข้อมูลและให้กรมการทหารช่างเป็นผู้สนับสนุนข้อมูลในการดำเนินการ และกำหนดระยะเวลาคร่าวๆไว้ 5 – 6 เดือน เพื่อที่จะเริ่มก่อสร้างได้และมีการกำหนดทางรดทางข้ามบริเวณเมืองเก่าด้วย และขอให้นำเรื่องเข้าสู่คณะกรรมการเมืองเก่าและดำเนินการขออนุญาติดำเนินการก่อสร้างกับกรมเจ้าท่าให้ถูกต้อง ส่วนเรื่องที่ 2 เรื่องของหัวรถจักรซึ่งเป็นเรื่องเดิมสมัยก่อนแรกๆ มีคนขึ้นไปนั่งบนหัวรถจักรเพื่อตกปลาซึ่งก็เห็นชัดเจนว่าอยู่ตรงไหน แต่ที่เราไม่แน่ใจคือจะมีรถเบิดอยู่ใกล้เคียงหรือไม่ โดยเราได้มอบให้คณะศึกษาชุดหนึ่งไปตั้งคณะดำเนินการที่เกี่ยวข้องว่าจะกู้โดยวิธีใด ซึ่งจากประเด็นที่รัฐมนตรีคมนาคมได้ให้สัมภาษณ์ทางสื่อต่างๆ ว่าเห็นด้วยกับทางผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรีจะเอามาใช้ให้เกิดประโยชน์ เราก็จะทำคู่กันไปหลังจากที่เราเก็บกู้ระเบิดขึ้นมาหมดแล้ว โดยเราจะเก็บกู้ระเบิดขึ้นมาก่อน

นายวีรัส ยังกล่าวอีกว่า เมื่อกำหนดแผนปฏิบัติการเก็บกู้ระเบิดแล้วถ้าจำเป็นที่เราจะต้องใช้กฎหมายหรือมีผลกระทบใด เราก็จะออกประกาศเพื่อขอความร่วมมือกับประชาชน เช่น ห้ามใช้พื้นที่บริเวณนี้ มีการปักป้ายบอกเขตห้ามเข้า ปักป้ายเตือนภัย เราจะทำที่เซฟที่สุดเพื่อไม่ให้มีผลกระทบต่อประชาชน ระยะนี้ยังอยู่ในช่วงการศึกษาข้อมูล เพราะไม่สามารถดำเนินการได้ต้องรอให้พ้นในช่วงฤดูน้ำหลาก ต้องให้น้ำลดลงและนิ่งก่อน จะอยู่ในช่วงเดือนธันวาคมนี้ ส่วนการดำเนินการอพยพประชาชนออกนอกพื้นที่นั้นตอนนี้ยังไม่มีการออกประกาศหรือคำสั่งใดๆ จนกว่าจะรู้แน่ชัดว่าเป็นระเบิดประเภทใดและยังไม่มีกำหนดว่าจะเก็บกู้เมื่อใด ทั้งนี้ทางจังหวัดได้ออกประกาศคำสั่งไปแล้วขอความร่วมมือประชาชนหรือกลุ่มบุคคลใดๆ เข้าไปในเขตพื้นที่วัตถุระเบิด 200 เมตร

ส่วนทางด้าน ร.อ.ฐัตวัฒน์ พัศคุรักษา ถอดทำลายอมภัณฑ์ กรมสรรพวุธทหารเรือ ได้ให้ข้อมูลบางช่วงบางตอนว่า ในเบื้องต้นระดับน้ำในลักษณะนี้ที่มีกะแสไหลแบบนี้อาจจะลงไปสำรวจได้ต้องขอกลับไปดูก่อน แต่ก็ยังไม่รับปาก เพราะยังไม่ได้ลงไปดูหน้างานและในพื้นที่จริงทางตนก็ยังไม่เห็นของจริง และต้องรอความชัดเจนในการดำเนินการ ทั้งการตั้งทีมในการปฏิบัติงานที่ชัดเจน

สำหรับสะพานรถไฟจุฬาลงกรณ์ทอดข้ามลำน้ำแม่กลอง ที่จะออกสู่กรุงเทพฯ หรือล่องใต้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงโปรดให้มีกิจการรถไฟ เฉพาะสำหรับสายใต้ได้เชื่อมถนนรถ ไฟ จากสถานีรถไฟบางกอกน้อยไปถึงสถานีรถไฟเพชรบุรี ทรงโปรดให้มีการสร้างสะพานข้ามแม่น้ำแม่กลองสำหรับทั้ง รถยนต์ และรถไฟ และทรงเสด็จเปิด พร้อมพระราชทานนาม "สะพานจุฬาลงกรณ์" เมื่อปี พ.ศ.2444 และเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 แถบเอเชียก็เกิดสงครามมหาเอเชียบูรพา เช้าวันที่ 8 เดือนธันวาคม พ.ศ.2484 กองทัพญี่ปุ่นอันเป็นฝ่ายอักษะ ได้ยกพลขึ้นบกที่ฝั่งทะเล จังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อใช้ไทยเป็นทางผ่าน เข้ายึดประเทศพม่า ซึ่งขณะนั้นเป็นอาณานิคมของอังกฤษ ฝ่ายสัมพันธมิตร ศัตรูของญี่ปุ่น โดยที่กองทัพญี่ปุ่นได้เคลื่อนพลจากนครศรีธรรมราช ผ่านสุราษฎร์ธานี – ชุมพร – ประจวบคีรีขันธ์ – เพชรบุรี - ราชบุรี สู่กาญจนบุรี ซึ่งที่กาญจนบุรี กองทัพญี่ปุ่นต้องเกณฑ์เชลยศึกมาสร้างสะพาน เพื่อยกพลทางรถไฟเข้าสู่พม่า เกิดตำนาน "สะพานข้ามแม่น้ำแคว" มีเชลยศึกล้มตาย จำนวนมาก โดยอดีตไทยโจ้ หรือ ไทยเสรีชาวราชบุรี 1 ในผู้ตรวจกองทหารญี่ปุ่นได้ออกมาเผยเหตุการณ์ในขณะที่กองทัพญี่ปุ่นผ่านที่จังหวัดราชบุรี ได้นำกำลังส่วนหนึ่งมาตั้งค่ายอยู่ที่นี่ ขณะนั้นอายุประมาณ 22 ปี ทำหน้าที่คอยโบกธงตรวจตราเรือของทหารญี่ปุ่นที่เดินทางมายังค่ายบริเวณท่าน้ำหัวเกาะวัดเกาะนัมมทาปทวลัญชาราม และยังทำหน้าที่คอยเดินตรวจตราค่ายของทหารญี่ปุ่นเพื่อให้เกิดความสงบสุขสามารถอยู่กันได้ จนเกิดเหตุฝ่ายสัมพันธมิตร ได้ทิ้งระเบิดจำนวน 3 ครั้ง ครั้งแรกในคืนวันที่ 14 ม.ค. 2488 ครั้งที่ 2 คืนวันที่ 30 ม.ค.2488 และครั้งสุดท้าย คืนวันที่ 11 ก.พ. 2488 ซึ่งเป็นลูกระเบิดแบบตั้งเวลา มาระเบิดในรุ่งเช้าของวันที่ 12 ก.พ.2488 ทำให้สะพานรถไฟจุฬาลงกรณ์ฝั่งตัวเมืองราชบุรีขาดได้รับความเสียหาย ไม่สามารถใช้สัญจรได้ ส่งผลให้กองทัพญี่ปุ่น ไม่สามารถซ่อมแซมสะพานจุฬาลงกรณ์กลับได้ทันเวลา จึงเลือกที่สร้างทางรถไฟใหม่ ทางด้านเหนือน้ำ (แนวสะพานธนะรัชต์ปัจจุบัน) โดยระดมไม้เสา ไม้ซุง ต่างๆ มาปักทำเป็นตอม่อชั่วคราว

จนทหารญี่ปุ่นให้ทางชาวไทยไปหาท่อนซุงหรือ ต้นไม้มาทำเสาตอหม้อ โดยชาวไทยได้ใช้กลยุทธในการที่จะทำให้สะพานรถๆฟชั่วคราวพังทลายลง จึงได้นำไม้นิ้ว หรือ ไม่นุ่น ขนาดใหญ่มาให้ทางญี่ปุ่น ซึ่งเห็นว่าเป็นไม้ท่อนใหญ่จึงให้นำไปเสาตอหม้อสะพาน โดนไม้นิ้ว หรือ ไม้นุ่น เป็นไม้ที่เปาะและหักโค่นง่าย จนสร้างสะพานรถไฟข้ามแม่น้ำแม่กลงอได้สำเร็จเรียบร้อย ญี่ปุ่นจึงนำหัวรถจักรของ รฟท. มาลองวิ่งทดสอบดู เริ่มต้นตั้งแต่หัวสะพานฝั่งด้านเมืองราชบุรี ขาล่องใต้ วิ่งข้ามไปยังฝั่งค่ายบูรฉัตร ขาเข้ากรุงเทพฯ การวิ่งบนสะพานรถไฟชั่วคราวผ่านไปได้ด้วยดี จากนั้นได้ทดลองวิ่งถอยหลังกลับมาทางฝั่งเมืองราชบุรี ปรากฏว่า ตอม่อชั่วคราวไม่สามารถทานน้ำหนักได้เนื่องจากเป็นไม้ที่เบาะหักง่าย สะพานจึงหัก ส่งผลให้หัวรถจักรที่นำมาทดลองวิ่งจมลงสู่ใต้น้ำบริเวณใต้สะพานรถไฟจุฬาลงกรณ์ ที่ปรากฏให้เห็นเป็นหลักฐานจนถึงปัจจุบัน ทำให้หทารญี่ปุ่นไม่สามารถใช้เส้นทางสู่ทางภาคใต้
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 13/09/2018 12:10 pm    Post subject: Reply with quote

ปชช.3 อำเภอนัดรวมพลังครั้งใหญ่ไม่เอาอุโมงค์ลอดทางรถไฟเมืองพลทั้งแคบและเตี้ย
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 13 กันยายน 2561 เวลา 10:58
ปรับปรุง: 13 กันยายน 2561 เวลา 11:27

ศูนย์ข่าวขอนแก่น - เครือข่ายภาคประชาชนอำเภอพล แวงน้อย และแวงใหญ่ทุกเพศวัยรวมพลังครั้งใหญ่วิ่งยกราง วิ่งเพื่ออนาคตลูกหลาน รณรงค์รื้อทิ้งอุโมงค์ลอดทางรถไฟที่ทั้งแคบทั้งเตี้ยมีแต่จะสร้างหายนะให้ประชาชน เรียกร้องให้ยกระดับทางรถไฟแทน

รายงานข่าวแจ้งว่า ในวันพรุ่งนี้ (14 ก.ย.) เครือข่ายภาคประชาชนชาวอำเภอพล ชาวอำเภอแวงน้อย และอำเภอแวงใหญ่ทุกเพศทุกวัยทุกสาขาอาชีพได้นัดทำกิจกรรมครั้งใหญ่ร่วมกัน เป็นกิจกรรมวิ่งยกราง วิ่งเพื่อสุขภาพ วิ่งเพื่อชีวิตวิถี วิ่งเพื่อสิ่งที่ดีกว่า และวิ่งเพื่ออนาคตลูกหลานเมืองพล แวงน้อย แวงใหญ่

กิจกรรมวิ่งยกรางฯ จะเริ่มตั้งแต่เวลา 07.00 น. นักวิ่งเพื่อชีวิตหลายพันคนจะพร้อมกันที่บริเวณถนนหน้าที่ว่าการอำเภอพล หลังจากนั้นจะวิ่งไปตามเส้นทางที่กำหนด





เป้าหมายใหญ่ของกิจกรรมวิ่งยกราง-วิ่งเพื่ออนาคตลูกหลานฯ ครั้งนี้ต้องการแสดงออกถึงจุดยืนของชาวเมืองพล ชาวแวงน้อยและชาวแวงใหญ่ที่ไม่เห็นด้วยกับการก่อสร้างทางลอดอุโมงค์รถไฟที่ไม่ได้มาตรฐาน ซึ่งเป็นหนึ่งในส่วนประกอบของโครงการสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงชุมทางจิระ-ขอนแก่น ในเขตพื้นที่อำเภอพล จึงต้องรวมพลังรณรงค์วิ่งสร้างเสริมสุขภาพ เรียกร้องให้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงโครงสร้างจุดตัดทางรถไฟทั้ง 3 แห่ง ตามข้อเรียกร้องของเครือข่ายภาคประชาชน คือ ต้องยกระดับทางรถไฟถึงจะแก้ปัญหาต่างๆ ได้



นายประเสริฐ เชิญกลาง ประธานสภาองค์กรชุมชนเทศบาลเมืองเมืองพล และในฐานะประธานเครือข่ายภาคประชาชนอำเภอพล แวงน้อย แวงใหญ่ กล่าวย้ำว่า กิจกรรมออกมา...วิ่งยกรางครั้งนี้เพื่อแสดงพลังความต้องการที่แท้จริงของคนในพื้นที่ เป็นการปกป้องสิทธิชุมชนที่รัฐบาลต้องคุ้มครองสิทธิประชาชนไม่ให้ได้รับความเดือดร้อนหรือได้รับผลกระทบจากโครงการพัฒนาของรัฐ โดยให้ผู้รับผิดชอบมีคำสั่งเร่งด่วนทบทวนแก้ไขปัญหาการก่อสร้างถนนทางข้ามและอุโมงค์ในโครงการรถไฟทางคู่ที่กำลังก่อสร้าง ซึ่งถือว่ากระทบต่อสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนในการเดินทางในพื้นที่อำเภอพลเป็นอย่างมาก



สภาพอุโมงค์ลอดทางรถไฟหลังฝนตกไม่ถึงครึ่งชั่วโมง น้ำท่วมขังไม่ระบาย
สภาพอุโมงค์ลอดทางรถไฟหลังฝนตกไม่ถึงครึ่งชั่วโมง น้ำท่วมขังไม่ระบาย

นายประเสริฐระบุอีกว่า เพื่อความปลอดภัยในชีวิตความเป็นอยู่ ความเหมาะสมตามสภาพพื้นที่ของท้องถิ่น สิทธิความสะดวกในการสัญจรให้แก่ประชาชนทุกหมู่เหล่าที่จำเป็นต้องใช้ถนนเส้นทางดังกล่าวนี้ การก่อสร้างหรือแบบแปลนการก่อสร้างถนนและอุโมงค์ควรต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ใช้เส้นทาง ผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจการค้าขายไม่ดี สิทธิการเข้าถึงระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินยามเจ็บป่วยวิกฤต หรือปัญหาต่างๆ ซึ่งล้วนต้องนำมาพิจารณาประกอบด้วยทั้งสิ้น

ดังนั้น ในฐานะตัวแทนเครือข่ายภาคประชาชนทั้งในอำเภอพล อำเภอแวงน้อย อำเภอแวงใหญ่ จึงต้องการเรียกร้องให้แก้ปัญหาต่างๆ ดังกล่าวข้างต้นด้วยการให้ยกระดับทางรถไฟข้ามจุดตัดถนนเมืองพล-แวงน้อย-จ.ชัยภูมิ เว้นพื้นที่เผื่อถนนกว้าง 6 ช่องจราจร ความสูงไม่น้อยกว่า 6 เมตรไปจดถนนมิตรภาพ



นั่นเหมายความว่า การรถไฟแห่งประเทศไทยต้องยกระดับทางรถไฟ ขยายอุโมงค์ทางลอดจุดตัดถนนเมืองพล-แวงใหญ่ เป็น 4 ช่องจราจร พร้อมทางเท้าตรงไปเชื่อมต่อถนนทางหลวงโดยไม่ต้องเป็นทางกลับรถ (U-Turn) ความสูงไม่ควรน้อยกว่า 6 เมตร

ขณะเดียวกันให้ทำทางลอดระหว่างชุมชนศรีเมืองกับหมู่บ้านชัยประเสริฐ เป็น 2 ช่องจราจร พร้อมทางเท้า ความสูงไม่น้อยกว่า 3.50 เมตร

นายประเสริฐกล่าวย้ำว่า ประเด็นนี้ถือเป็นปัญหาเร่งด่วนที่ต้องรีบดำเนินการ หากถ่วงเวลาออกไปแล้วปล่อยให้การก่อสร้างเดินหน้าไปเรื่อยๆ จะทำให้การแก้ไขปัญหายุ่งยากมากขึ้น เพราะมีการสร้างไปแล้ว สิ้นเปลืองงบประมาณ การแก้ไขกับผู้รับเหมาก็จะยิ่งลำบากมากยิ่งขึ้น เพราะถึงอย่างไรชาวเมืองพลและพี่น้องชาวแวงน้อยรวมถึงชาวแวงใหญ่จะเคลื่อนไหวต่อสู้กับปัญหานี้ให้ถึงที่สุด



“พวกเราจะไม่ยอมให้สิทธิขั้นพื้นฐานความเป็นมนุษย์ถูกละเมิดโดยเด็ดขาด ดังนั้นกิจกรรมรณรงค์วิ่งยกราง วิ่งเพื่อสุภาพเพื่ออนาคตของลูกหลานในวันพรุ่งนี้ขอให้พี่น้องประชาชนออกมารวมพลังกันให้มากๆ เพราะมันมีความสำคัญต่อวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของลูกหลานในวันข้างหน้าเป็นอย่างมาก” นายประเสริฐกล่าว
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44329
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 14/09/2018 1:08 pm    Post subject: Reply with quote

เร่งระบบราง4แสนล.
โพสต์ทูเดย์ วันที่ 14 ก.ย. 2561 เวลา 08:55 น.

"บิ๊กตู่" สั่ง รฟท.เร่งลงทุนระบบราง 4 แสนล้าน เน้นรถไฟทางคู่และให้ซื้อหัวรถจักรมาให้บริการผู้มีรายได้น้อย

นางสิริมา หิรัญเจริญเวช รองผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า ได้รายงานความคืบหน้าแผนฟื้นฟูกิจการต่อที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายและกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ (คนร.) ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นประธานการประชุม ให้รับทราบถึงแผนดำเนินงานในปัจจุบัน โดยนายกฯ ได้สั่งการให้ รฟท.พัฒนางานบริการ ผู้โดยสาร โดยเฉพาะผู้โดยสารรถไฟชั้น 3 ควบคู่ไปกับการดำเนินงานวางระบบโครงสร้างพื้นฐานตามรางให้เป็นไปตามยุทธศาสตร์ชาติ

แหล่งข่าวจาก รฟท. ระบุว่า นายกรัฐมนตรีได้สั่งการให้เร่งรัดแผนลงทุนระบบรางมูลค่ามากกว่า 4 แสนล้านบาท เริ่มจากโครงการทางคู่ 2 สายใหม่ ได้แก่ รถไฟทางคู่ช่วงเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ระยะทาง 326 กิโลเมตร (กม.) วงเงิน 7.6 หมื่นล้านบาท ขณะนี้ผ่านความเห็นชอบจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) แล้ว ขณะที่รถไฟทางคู่ช่วงบ้านไผ่-นครพนม ระยะทาง 355 กม. วงเงิน 6 หมื่นล้านบาท ได้ถูกเร่งรัดให้เสนอ ครม. เพื่อนำเสนอรายละเอียดร่างเอกสารประกวดราคา (ทีโออาร์) ของทั้งสองโครงการเข้าสู่คณะกรรมการกำกับการจัดซื้อ จัดจ้าง (ซูเปอร์บอร์ด) ต่อไป

ขณะที่รถไฟทางคู่เฟส 2 อีก 7 เส้นทางนั้น หลังจากผ่านความเห็นชอบจากที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟท.แล้วจะเร่งรัดเสนอที่ประชุม ครม.ทุกเส้นทางภายในปีนี้ ก่อนเปิดประกวดราคาและก่อสร้างต่อไป โดยโครงการรถไฟทางคู่ระยะที่ 1 รวม 5 เส้นทาง ซึ่งขณะนี้ได้ดำเนินการก่อสร้างไปหมดแล้ว อย่างไรก็ตามภายใน 1-2 เดือนนี้จะเปิดให้บริการเส้นทางแรกคือรถไฟทางคู่ช่วงจิระ-ขอนแก่น ระยะทาง 187 กม.

แหล่งข่าวระบุอีกว่า นายกรัฐมนตรียังได้สั่งการให้เพิ่มคุณภาพบริการผู้โดยสารชั้น 3 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้มีรายได้น้อย ทั้งด้านความสะอาดของรถไฟไปจนถึงเรื่องการจัดหารถไฟใหม่มาให้บริการผู้โดยสาร โดย รฟท.มีแผนลงทุนจัดซื้อหัวรถจักรจำนวน 200 หัว ภายในปี 2570 เพื่อรองรับโครงการรถไฟทางคู่เฟส 1 และเฟส 2 ซึ่งขณะนี้โครงการจัดซื้อหัวรถจักร 50 คัน วงเงิน 6,500 ล้านบาท ได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมบอร์ด รฟท.แล้ว อยู่ระหว่างนำร่างเอกสารเงื่อนไขการประกวดราคา (ทีโออาร์) ขึ้นเว็บไซต์ เพื่อเปิดประชาพิจารณ์ก่อนประกวดราคาต่อไป

ด้านโครงการเช่าหัวรถจักรอีก 50 หัว รวมค่าซ่อมบำรุงวงเงิน 1.3 หมื่นล้านบาทนั้น อยู่ระหว่างเสนอเข้าสู่ ที่ประชุมบอร์ด ซึ่ง รฟท.มีหัวรถจักรที่ต้องปลดระวางประมาณ 50 หัว ดังนั้นจะต้องร่างแผนจัดซื้อหัวรถจักรเพิ่มอีกไม่ต่ำกว่าจำนวนที่ปลดระวาง

ด้านนายสมนึก รงค์ทอง กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย (บวท.) กล่าวว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างจัดทำแผนโครงการก่อสร้างศูนย์กลางบังคับการบินแห่งใหม่บริเวณสนามบินสุวรรณภูมิ วงเงินลงทุน 3,000 ล้านบาท คาดว่าจะใช้เวลาดำเนินการ 2-3 ปีก่อนเปิดให้บริการ ขณะที่สนามบิน อู่ตะเภา ในอนาคตจะกลายเป็นสนามบินหลักของพื้นที่แนวระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (อีอีซี) นั้น มีความจำเป็นต้องลงทุนงานก่อสร้างอาคารและงานระบบควบคุมวิทยุการบินวงเงิน 2,000-3,000 ล้านบาทเช่นกัน เพื่อรองรับไทยเป็นฮับการบินภูมิภาค
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 17/09/2018 1:00 pm    Post subject: Reply with quote


ความก้าวหน้าในการสร้างสถานีบ้านไผ่ 16 กันยายน 2561
https://www.facebook.com/KhonkaenCityOfThailand/posts/2242775439090554
https://www.youtube.com/watch?v=waAyxRM3nB4&feature=youtu.be
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 18/09/2018 10:36 am    Post subject: Reply with quote

ทางคู่ จิระ-ขอนแก่น คืบ80% ต.ค.ชิมรางใหม่เปิดเดินรถ5 สถานีแรก 
อังคารที่ 18 กันยายน 2561 เวลา 09.10 น.

เปิดเดินรถจิระ-ขอนแก่น ต.ค.นี้ 5 สถานีแรก 35.92กม. ส่วนอัตราค่าโดยสารยังเท่าเดิม

รายงานข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.)แจ้งว่า โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่จิระ-ขอนแก่น  ระยะทาง187กม.งบประมาณก่อสร้างวงเงิน 23,430 ล้านบาท ขณะนี้มีความคืบหน้า 80%  ช้ากว่าแผนเนื่องจากมีการปรับแก้ไขแบบ บริเวณสถานีบ้านไผ่ปรับแบบจากถมคันดินสูง เป็นทางยกระดับ ตามคำเรียกร้องของชุมชน  ซึ่งคณะรัฐมนตรี(ครม.) ซึ่งจะต้องขยายระยะเวลาก่อสร้างไป 7 เดือน  อีกทั้งยังมีการแก้ไขแบบก่อสร้างสะพานข้ามทางรถไฟ บริเวณบ้านกุดกว้าง อ.เมืองขอนแก่น จ.ขอนแก่น ซึ่งจะต้องก่อสร้างในเขตพื้นที่กรมทางหลวง ทำให้กำหนดการเปิดให้บริการทั้งเส้นทางต้องช้าไปจาก ก.พ.62 เป็นส.ค.62 

รายงานข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.)กล่าวต่อว่าสำหรับแผนการเปิดทางคู่ จิระ-ขอนแก่น 5 สถานี ในเดือนต.ค.ยังเป็นไปตามกำหนด ประชาชนสามารถใช้บริการสถานีได้   โดยรถไฟจะวิ่งทางคู่ตั้งแต่สถานี บ้านเกาะ บ้านกระโดน หนองแมว โนนสูง บ้านดงพลอง และหลังจากนั้นจะกลับไปวิ่งรางเดี่ยวเหมือนเดิม  สำหรับ5สถานีแรกที่จะเปิดนั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างทดสอบเดินรถซึ่งพร้อมการให้บริการแล้ว  อย่างไรก็ตามหลังจากเดือนต.ค.ไปแล้วจะพิจารณาเปิดให้บริการไปเรื่อยๆ ซึ่งขณะนี้งานวางรางรถไฟคืบหน้าไป 70 % แล้ว ส่วนสถานีรถไฟขอนแก่น ซึ่งเป็นสถานีขนาดใหญ่ที่สุด และจะเป็นศูนย์ควบคุมระบบของโครงการนั้นขณะนี้คืบหน้าไปแล้ว70% 
       
รายงานข่าวแจ้งต่อว่าสำหรับทางคู่ที่จะเปิดให้บริการ5 สถานีนั้น มีระยะทางรวม35.92กม.  แต่ละจากระทางทั้งหมด184กม.แต่ละสถานีมีระยะห่างไม่เท่ากัน โดยในสถานีมีการติดตั้งสิ่งอำนวยความสะดวกเก้าอี้นั่งรอรถไฟโดยสารไม่มีติดแอร์ใช้แอร์ธรรมชาติ  ส่วนพื้นชานชาลายกสูงทำรถไฟ 1.10เมตร จากเดิม 70เซนติเมตร เพื่อให้ผู้โดยสารขึ้นลงรถไฟได้สะดวก แต่ในระยะแรกในการเปิดให้บริการยังไม่ใช้สถานีใหม่ เนื่องจากรถไฟต้องไปปรับปรุงตัวบันไดขึ้นลงของรถไฟให้รับกับตัวชานชาลา ในระยะจึงต้องใช้ชานชาลาเดิมซึ่งอยู่ใกล้เคียงกันรับส่งผู้โดยสารก่อน  สำหรับอัตราค่าโดยสารเท่าเดิม รถโดยสารชั้น1 ราคา 166 บาท ชั้น2 ราคา 85 บาท ชั้น3  ราคา37 บาท 
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44329
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 19/09/2018 11:09 am    Post subject: Reply with quote

"เมืองพล"ฮือประท้วงแก้แบบจุดตัดรถไฟทางคู่
เดลินิวส์ อังคารที่ 18 กันยายน 2561 เวลา 20.09 น.

เขตเทศบาลเมืองพล  อ.พล  จ.ขอนแก่น ร้องรฟท.แก้แบบ จุดตัด ในการก่อสร้างโครงการรถไฟทางคู่สาย จิระ-ขอนแก่น ระยะทาง 187 กม

เมื่อวันที่ 18 ก.ย.ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตามสี่แยกภายในเขตเทศบาลเมืองพล  อ.พล  จ.ขอนแก่น และ หมู่บ้านใกล้เคียงทุกทางแยกรวมทั้งบริเวณต่างๆมีการติดป้ายผ้าข้อความ“เราต้องการยกระดับทางรถไฟ เพื่อแก้ปัญหาจุดตัด และการจราจร ทั้ง3 จุด”  เนื่องจากขณะนี้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.)กำลังก่อสร้างโครงการรถไฟทางคู่สาย จิระ-ขอนแก่น ระยะทาง 187 กม.  โดยจุดที่ผ่านเขตเทศบาลเมืองพล มีจุดตัดทางรถไฟ3จุด ได้แก่จุดตัด ถนนแวงน้อย-ชัยภูมิจุดตัด เมืองพล-แวงใหญ่ และจุดตัดชุมชนศรีเมือง –หมู่บ้านชัยประเสริฐ   ทั้ง 3จุดตัดเชื่อมต่อหลายหมู่บ้าน หลายชุมชนและ  หลายอำเภอ  อีกทั้ง มีโรงเรียน หน่วยงานราชการตั้งอยู่  มีผู้สัญจรไม่ต่ำกว่า5,000คน  จึงต้องการให้ก่อสร้างทางคู่เป็นแบบยกระดับช่วงผ่านจุดตัดทั้ง3ไม่เช่นนั้นจะเป็นการแยกชุมชนทั้ง2ฝั่ง  เพราะมีการยกคันทางรถไฟสูงขึ้นกว่า1เมตร แล้วสร้างเกือกม้าเป็นจุดกลับรถซึ่งชาวบ้านไม่ต้องการ

ร.ต.ท.ประเสริฐ  เชิญกลาง  อดีตรองสวป. สภ.เมืองพล  ประธานเครือข่ายประชาชน และสภาองค์กรชุมชนอำเภอพล กล่าวว่า  ชาวเมืองพลและใกล้เคียงเข้าใจ และยอมรับในการเปลี่ยนแปลงการคมนาคมทางรางให้สะดวกยิ่งขึ้น แต่ชาวบ้านไม่เคยทราบมาก่อนว่าจะสร้างจุดตัดเป็นเกือกม้าแบบขับสวนทางกันและทำทางลอดเป็นช่องลอดเล็กๆให้วิ่งได้เฉพาะรถเล็กและรถจยย.เมื่อเห็นการก่อสร้างจึงทราบว่าเป็นอุปสรรคในการสัญจรทำให้รถติดและเกิดอุบัติเหตุบ่อย  จึงร่วมกันลงชื่อทำหนังสือร้องเรียนกระทรวงคมนาคมและหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เปลี่ยนแปลงแบบก่อสร้างให้ใหม่โดยยกระดับรางรถไฟข้ามจุดตัดความสูงไม่น้อยกว่า6 เมตร  หากไม่แก้ไขแบบจะเคลื่อนไหวต่อต้านคัดค้านต่อไปเพราะเห็นชาวจ.นครราชสีมาและพื้นที่อ. เมือง จ. ขอนแก่นประท้วงคัดค้านรฟท.ก็แก้ไขแบบให้แล้วทำไมถึงแก้ไขแบบในอ.เมืองพลไม่ได้
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 19/09/2018 12:27 pm    Post subject: Reply with quote

ครม.สัญจร เห็นชอบ 6 ข้อเสนอแผนลงทุนพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง-อีสานตอนบน

ข่าวเศรษฐกิจ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- อังคารที่ 18 กันยายน 2561 17:59:16 น.

พล.ท.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมระหว่างนายกรัฐมนตรีกับผู้ว่าราชการจังหวัด ภาคเอกชน ผู้บริหารท้องถิ่น และเกษตรกร ในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 1 (ตาก พิษณุโลก เพชรบูรณ์ สุโขทัย อุตรดิตถ์) และกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1 (บึงกาฬ เลย หนองคาย หนองบัวลำภู และอุดรธานี) ได้มีการหารือถึงข้อเสนอและการขอรับการสนับสนุนของคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนระดับจังหวัด (กรอ.จังหวัด) ในหลายด้าน ประกอบด้วย

1.การเชื่อมโยงระเบียงเศรษฐกิจ
2.การพัฒนาระบบโลจิสติกส์
3.การพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร
4.การยกระดับผลผลิตทางการเกษตรและการสร้างมูลค่าเพิ่มสินค้าเกษตร
5.การส่งเสริมและพัฒนาด้านการท่องเที่ยว
6.การพัฒนาคุณภาพชีวิต ซึ่งส่วนใหญ่ที่ประชุมเห็นชอบตามข้อเสนอ

...


การเชื่อมต่อการขนส่งทางราง โครงการรถไฟทางคู่
ช่วงปากน้ำโพ-เด่นชัย ระยะทาง 285 กม. มูลค่าการลงทุน 59,399 ล้านบาท คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 66
ส่วนช่วงขอนแก่น-หนองคาย ระยะทาง 167 กม. มูลค่าการลงทุน 25,842 ล้านบาท คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 66 เช่นกัน

ขณะที่โครงการรถไฟความเร็วสูง ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย ระยะทาง 350 กม. ซึ่งอยู่ภายใต้ความร่วมมือกับประเทศจีนนั้น คาดว่าจะเปิดให้บริการได้ในปี 70 พร้อมกันนี้รัฐบาลไทยและลาวกำลังอยู่ในระหว่างเตรียมเจรจาร่วมกันเพื่อเชื่อมโยงการขนส่งทางรางระหว่าง 2 ประเทศ ในการก่อสร้างสะพานรถไฟข้าแม่น้ำโขงแห่งใหม่ หนองคาย-ลาว

นอกจากนี้ กระทรวงคมนาคมกำลังศึกษาเส้นทางรถไฟสายใหม่ 3 เส้นทาง คือ
1.ช่วงนครสวรรค์-แม่สอด ระยะทาง 256 กม. ซึ่งเป็นการเชื่อมแนว East - West Corridor

2.สายลำนารายณ์-เพชรบูรณ์-เลย-หนองบัวลำภู ระยะทาง 392 กม. มูลค่าการลงทุน 1.1 แสนล้านบาท และ
3.สายจัตุรัส-ชัยภูมิ-หนองบัวลำภู-เลย ระยะทาง 333 กม.


ชงแสนล้าน ครม.เลย-เพชรบูรณ์ ดึงไฮสปีดลาวมาหนองคาย-ผุดสนามบินบึงกาฬ
เศรษฐกิจภูมิภาค
วัน อังคารที่ 18 กันยายน 2561 - 18:37 น.
ดึงไฮสปีดจีน-ลาวมาหนองคาย

ในด้านโครงข่ายทางราง ได้ปรับแผนเพื่อเชื่อมโยงเศรษฐกิจการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวกับ สปป.ลาวและจีน รวมถึงส่งเสริมการลงทุนเขตเศรษฐกิจพิเศษ จ.หนองคายและนิคมอุตสาหกรรมอุดรธานี คณะกรรมการ กรอ.จังหวัดหนองคายได้เสนอผ่านทางกระทรวงมหาดไทยประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อประสานไปยังจีนและ สปป.ลาว ได้พิจารณาขยายการก่อสร้างเส้นทางรถไฟความเร็วสูงสายคุนหมิง-เวียงจันทน์ ซึ่งถือเป็นหนึ่งในโครงการ One Belt One Road มีเป้าหมายนำนักท่องเที่ยวชาวจีนมาเที่ยว สปป.ลาว และเพื่อให้ จ.หนองคายได้รับประโยชน์ดังกล่าว จึงเสนอให้ย้ายสถานีสุดท้ายจากที่สิ้นสุดที่เวียงจันทน์มาสิ้นสุดที่จังหวัดหนองคาย เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นในการเชื่อมต่อไปยังภูมิภาคต่าง ๆ ของไทย มาเลเซีย และสิงคโปร์

พร้อมเสนอให้ปรับวิธีการก่อสร้างระบบรถไฟความเร็วสูงช่วงนครราชสีมา-หนองคาย ให้เริ่มก่อสร้างจากหนองคาย-นครราชสีมาแทน เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่รวดเร็วมากขึ้น เพื่อเชื่อมโยงกับรถไฟความเร็วสูงจากคุนหมิง-เวียงจันทน์ ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จไม่เกิน 2 ปีนี้

นอกจากนี้ ได้ขอให้ศึกษาความเหมาะสมโครงการท่าเรือบก (Inland Container Depot) จังหวัดอุดรธานี เพื่อรองรับระบบโลจิสติกส์ที่รัฐบาลวางไว้ รวมถึงการเชื่อมต่อกับรถไฟความเร็วสูงของจีน และสนามบินนานาชาติวัดไตของ สปป.ลาว อย่างไรก็ตาม ได้เสนอให้มีการศึกษาเส้นทางรถไฟเชื่อมต่อจังหวัดเลย หนองบัวลำภู และบึงกาฬ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 21/09/2018 10:10 am    Post subject: Reply with quote

'ซิโน-ไทย' จ่ายชดเชยชาวหัวหินกระทบรถไฟทางคู่ ผู้แทนชุมชนหวั่นไม่แฟร์-ยังไม่มีที่ไป

19 กันยายน 2561 20:03


โครงการรถไฟทางคู่นครปฐม-หัวหินขยับ บริษัทซิโน-ไทย หนึ่งในผู้ชนะประมูลก่อสร้างจาก ร.ฟ.ท. ตั้งโต๊ะจ่ายเงิน 1 ใน 19 ชุมชนที่หัวหิน ด้านหนึ่งในผู้แทนชุมชนระบุ บริษัทไม่เข้าร่วมประชุมกับกรรมการแก้ไขปัญหาที่ผู้ว่าฯ เป็นประธาน และไม่มีการเปิดเผยข้อมูลการประมูลใดๆ หวั่นจะถูกกดราคา และยังไม่มีข้อตกลงชัดเจนว่าจะได้ย้ายไปที่ไหน

ภาพบ้านในชุมชนหนองแก หนึ่งในชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากโครงการรถไฟทางคู่นครปฐม-หัวหิน

เมื่อ 18 ก.ย.ที่ผ่านมา เพจหัวหินมีอะไรบอกด้วย ได้ถ่ายทอดสดเฟซบุ๊ค (ไลฟ์) เจ้าหน้าที่บริษัทซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) ตั้งโต๊ะจ่ายเงินผู้ได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างรถไฟทางคู่เส้นทางช่วงนครปฐม - หัวหิน

โดยการจ่ายเงินดังกล่าว เป็นการจ่ายในส่วนของชาวบ้านชุมชนหนองแกตะวันออก หนึ่งใน 19 ชุมชนที่ได้รับผลกระทบในเขตเทศบาลหัวหินที่ต้องย้ายออกจากพื้นที่ที่จะมีโครงการก่อสร้างเนื่องจากเป็นที่ของการรถไฟ แห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ท่ามกลางกระแสเรื่องความโปร่งใส เป็นธรรมของอัตราการชดเชยเยียวยา และเรื่องที่ดินใหม่สำหรับผู้ได้รับผลกระทบที่ยังไม่ชัดเจนจากทางเจ้าของสัมปทานและคู่สัญญา

บาหยัน บุญมา ตัวแทนกลุ่มชุมชนที่ได้รับความเดือดร้อนที่เข้าประชุมร่วมกับคณะกรรมการแก้ไขปัญหาที่ประกอบด้วยตัวแทนชุมชนที่ได้รับผลกระทบและตัวแทนฝ่ายรัฐ โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์เป็นประธานเมื่อวันที่ 17 ก.ย. ที่ผ่านมา กล่าวกับประชาไทว่า มีคำสั่่งของบริษัทให้รื้อย้ายออกจากพื้นที่ภายในเดือน พ.ย. ปีนี้ ซึ่งกระทบกับผู้อาศัยใน 19 ชุมชนที่มีจำนวนถึง 1,200 ครัวเรือนหรือราว 4,000 คน ประเด็นปัญหาที่มีคือกังวลว่าค่ารื้อย้ายไม่เป็นธรรม เนื่องจากตัวแทนของทั้งสองบริษัทไม่มาร่วมประชุมกับคณะกรรมการแก้ไขปัญหา และไม่มีการเปิดเผยข้อมูลเรื่องรายละเอียดการประมูลโครงการ ทำให้กังวลว่าราคาที่ได้นั้นต่ำกว่าราคาค่ารื้อถอน เยียวยาที่บริษัททั้งสองส่งประมูลกับการรถไฟไป นอกจากนั้น ที่ประชุมคณะกรรมการฯ ยังไม่มีมติชัดเจนเรื่องพื้นที่ที่จะรองรับชาวชุมชนที่ต้องย้ายออกไป



บ้านในชุมชนหัวดอน อีกหนึ่งชุมชนที่ได้รับผลกระทบ

“ซิโน-ไทยกับอิตาเลียนไทยไม่เปิดเผยข้อมูลตรงนี้เลยว่าไปประมูลมาได้เท่าไหร่ เอะอะก็อ้างว่าเป็นราคากลาง แต่จริงๆ ข้อมูลตัวนี้น่าจะเปิดเผยกับชาวบ้านได้เพราะการรถไฟต้องให้บริษัทประมูลค่ารื้อถอน ค่าเยียวยาจะได้ตารางเมตรละเท่าไหร่ แต่เหมือนว่าหน่วยงานมากด (ราคา) เราให้ต่ำที่สุด”

“จริงๆ ควรได้ราคามากกว่านี้ แต่อันนี้ต่ำสุดเลย บ้านปูน (ชั้นเดียว) หลังหนึ่งได้หมื่นกว่าบาท คิดดูว่าเป็นไปได้ไหม” บาหยัน กล่าว

จากวิดีโอคลิปวิดีโอของเพจหัวหินมีอะไรบอกด้วย พบว่าลักษณะการจ่ายเงินผู้ได้รับผลกระทบนั้นจ่ายให้เป็นเช็ค มีเอกสารที่ระบุประเภทบ้านและมีการวัดขนาดเป็นหน่วยตารางเมตรเอาไว้

การประชุมของคณะกรรมการแก้ไขปัญหาครั้งที่แล้วมีขึ้นเมื่อ 24 ส.ค. ก่อนที่จะมีการประชุมอีกครั้งในวันที่ 17 ก.ย. ที่ผ่านมา โดยมีนายอำเภอหัวหินเป็นผู้แทนปลัดจังหวัด ซึ่งเป็นผู้แทนของผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ซึ่งเป็นองค์ประธานอีกที แต่ยังไม่มีข้อสรุปว่าพื้นที่ใดจะเป็นพื้นที่รับรองการย้ายของชาวบ้าน ซึ่งตามเอกสารการประชุมพบว่ามีมติให้ยืดระยะเวลารื้อถอนออกไปจนกว่าผู้ได้รับความเดือดร้อนจะหาที่ดินเพื่ออยู่อาศัยและทำมาหากินได้

ช่วงวันที่ 18-19 ก.ย. ผู้สื่อข่าวประชาไทติดต่อไปยังสถานีรถไฟหัวหินหลายครั้งเพื่อสอบถามนายสถานีซึ่งเป็นผู้เข้าร่วมประชุมกับคณะกรรมการแก้ไขปัญหาในวันจันทร์ที่ผ่านมา แต่ได้รับแจ้งจากผู้ช่วยนายสถานีและเจ้าหน้าที่สถานีว่า นายสถานีไม่อยู่



เส้นทางรถไฟทางคู่ ช่วงนครปฐม-หัวหิน (ที่มา: ร.ฟ.ท.)

เมื่อ ก.ย. 2560 ฐานเศรษฐกิจรายงานว่า รถไฟทางคู่นครปฐม-หัวหินเปิดให้เอกชนเสนอราคาทางอิเล็กทรอนิกส์แบ่งเป็นสองสัญญา มูลค่ารวม 16,066 ล้านบาท สัญญาที่หนึ่ง (ช่วงนครปฐม-หนองปลาไหล) ระยะทาง 93 กม. มีการเสนอราคาต่ำสุดอยู่ที่ 8,198 ล้านบาท (ราคากลาง 8,390 ล้านบาท) บริษัท เอ.เอส. แอสโซซิเอท เอนจิเนียริ่ง (1964) ชนะการประมูล มีเอกชนร่วมประมูล 11 ราย สัญญาส่วนที่สอง (ช่วงหนองปลาไหล-หัวหิน) ระยะทาง 76 กม. ผู้เสนอราคาต่ำสุด 7,520 บาท (ราคากลาง 7,676 ล้านบาท) บริษัทซิโน-ไทย เอ็นจิเนียนิ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) ชนะประมูล

เว็บไซต์ ร.ฟ.ท. ให้ข้อมูลว่า โครงการรถไฟทางคู่ช่วงนครปฐม-หัวหิน เป็นรถไฟทางคู่ช่วงสายใต้ ระยะทางราว 170 กม. มีสถานีจำนวน 28 สถานี โดยก่อสร้างทางรถไฟเพิ่มหนึ่งทางขนานไปกับทางรถไฟที่มีอยู่เดิมไปตลอดสายทาง รางกว้าง 1 เมตร เป็นแบบใช้หินโรยทาง ติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณโทรคมนาคมสำหรับทางคู่ เริ่มต้นที่สถานีนครปฐม จ.นครปฐม สิ้นสุดที่สถานีหนองแก จ.ประจวบคีรีขันธ์มีงบประมาณ 20,145.59 ล้านบาท มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งทางรถไฟ ลดระยะเวลาเดินทาง เพิ่มทางเลือกในการเดินทาง กระจายความเจริญสู่ภูมิภาค

โครงการดังกล่าวรับดำเนินการโดยบริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัดและ บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) ระยะเวลาก่อสร้างตั้งแต่วันที่ 1 ก.พ. 2561 – 31 ม.ค. 2564 รวม 36 เดือน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 24/09/2018 4:17 pm    Post subject: Reply with quote

รฟท.คาดรู้ผลผู้ชนะประมูล-เซ็นสัญญารถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินภายใน ม.ค.62,ทางคู่เฟส 2 เข้าครม.ก่อนสิ้นปี

ข่าวเศรษฐกิจ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- จันทร์ที่ 24 กันยายน 2561 14:53:51 น.

นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า คณะกรรมการคัดเลือกเอกชนในโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน จะใช้เวลาพิจารณาคัดเลือกผู้ชนะภายในเดือน ม.ค.62 จากนั้นจะลงนามในสัญญาในเดือน ม.ค.62 และมีระยะเวลาก่อสร้าง 5 ปี คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 66

ทั้งนี้ รฟท.จะให้เอกชนส่งคำถามเกี่ยวกับการยื่นเอกสารประกวดราคาโครงการ มาได้เพิ่มเติมจนถึงวันที่ 9 ต.ค.นี้ และจะตอบคำถามให้ได้จนถึงวันที่ 28 ต.ค. จากนั้นจะเปิดให้เอกชนยื่นข้อเสนอในวันที่ 12 พ.ย.61 โดยจากการประชุมชี้แจงโครงการครั้งที่ 1 มีคำถามจากผู้สนใจสอบถามข้อมูลถึง 626 คำถาม ซึ่งได้ตอบไปแล้วกว่า 300 คำถาม

ขณะเดียวกันการจัดทำรายงานผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (EIA) ดำเนินการคู่ขนานกันไป คาดว่าจะจัดทำได้เสร็จสิ้นในต้นปี 62 ส่วนการส่งมอบพื้นที่ให้เอกชนได้ทั้งหมดกำหนดไว้ภายใน 5 ปี เบื้องต้นอาคารผู้โดยสารและกิจการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ติ เรล ลิ้งก์ จะส่งมอบในอีก 2 ปี ทั่งนี้การเวนคืนที่ดินเราก็ต้องทยอยดำเนินการ โดยขณะนี้กำลังจัดทำ พ.ร.ฎ.เวนคืน โดยเฉพาะในพื้นที่ในจ.ฉะเชิงเทรา จำนวน 300 ไร่ ซึ่งเป็นศูนย์ซ่อมบำรุงและจอดรถไฟฟ้า (DEPO) และที่ดินมักกะสัน ประมาณ 100 ไร่

"นักลงทุนถามเข้ามา 600 กว่าคำถาม จากนักลงทุน 31 ราย ตอบไปแล้วครึ่งหนึ่ง และวันนี้อาจจะมีคำถามเพิ่มเติม ก็จะเร่งตอบให้เสร็จ จากนั้น 12 พ.ย.จะเปิดให้ยื่นเอกสาร จากนั้นคณะกรรมการคัดเลือกก็จะพิจารณาให้เสร็จในเดือน ม.ค.ปีหน้า" นายวรวุฒิ กล่าว

สำหรับโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน เป็นโครงการที่ใช้โครงสร้างและแนวเส้นทางการเดินรถเดิมของระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแอร์พอร์ตเรลลิงก์ (Airport Rail Link) ที่เปิดให้บริการอยู่ในปัจจุบัน โดยจะก่อสร้างทางรถไฟขนาด 1.435 เมตร (Standard Gauge) ส่วนต่อขยาย 2 ช่วงจากสถานีพญาไท ไปยังสนามบินดอนเมือง และจากสถานีลาดกระบัง ไปยังสนามบินอู่ตะเภา

โครงการดังกล่าวถือเป็นมิติใหม่ในการลงทุนร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชนอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อร่วมกันพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศให้มีศักยภาพ เพิ่มขีดความสามารถด้านการแข่งขันของไทยในเวทีโลก และร่วมกันยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในอนาคต ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการเร่งด่วนของรัฐบาล เพื่อขับเคลื่อนโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) และเชื่อมโยงเดินทางของผู้โดยสาร 3 ท่าอากาศยานเข้าสู่พื้นที่เศรษฐกิจและพื้นที่ท่องเที่ยวให้เดินทางถึงกันได้อย่างสะดวกรวดเร็ว

*โครงการรถไฟทางคู่ เฟส 2
ส่วนโครงการรถไฟทางคู่เฟส 2 จำนวน 7 เส้นทาง และ เส้นทางใหม่อีก 1 เส้นทาง นายวรวุฒิ คาดว่า จะนำเสนอโครงการเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.)ได้ภายในปีนี้ และคาดว่าจะเปิดประมูลได้ในต้นปี 62 พร้อมลงนามในสัญญาได้ภายในไตรมาส 1/62 โดยรฟท.กำลังจัดทำรายงานเสนอกระทรวงคมนาคม ทั้งนี้ ตามขั้นตอนการประมูลจะใช้เหมือนกับการประมูลรถไฟทางคู่เฟสแรกที่ต้องผ่านขั้นตอนการพิจารณาของซุปเปอร์บอร์ดเพื่อความโปร่งใส

รถไฟทางคู่เฟส 2 ประกอบด้วย 7 เส้นทาง ได้แก่

1.ช่วงปากน้ำโพ-เด่นชัย ระยะทาง 285 กิโลเมตร (กม.) วงเงิน 62,883.55 ล้านบาท
2.ช่วงเด่นชัย-เชียงใหม่ 189 กม.วงเงิน 56,887.78 ล้านบาท
3.ช่วงชุมทางถนนจิระ-อุบลราชธานี 308 กม.วงเงิน 37,527.10 ล้านบาท
4.ช่วงขอนแก่น-หนองคาย 169 กม.วงเงิน 26,663.26 ล้านบาท
5.ช่วงชุมพร-สุราษฎร์ธานี 168 กม. วงเงิน 24,294.36 ล้านบาท
6.ช่วงสุราษฎร์ธานี-ชุมทางหาดใหญ่-สงขลา 324 กม.วงเงิน 57,375.43 ล้านบาท และ
7.ช่วงชุมทางหาดใหญ่-ปาดังเบซาร์ 45 กม.วงเงิน 8,120.12 ล้านบาท รวมมูลค่า 273,701.60 ล้านบาท

และอีก 1 เส้นทางใหม่ ช่วงบ้านไผ่-มุกดาหาร-นครพนม ระยะทาง 355 กม. มูลค่าโครงการ 67,965.33 ล้านบาท

"รถไฟฯ จะพยายามทำให้ทันเพื่อนำเสนอครม.ในเดือน ต.ค. และคาดว่าจะเปิดประมูลหาผู้รับเหมาได้ในต้นปีหน้า และคิดว่าจะเซ็นสัญญาได้ภายในไตรมาสแรกปีหน้า การประมูลคงใช้ pattern เดิมที่เคยวางไว้ที่ยังต้องผ่านซุปเปอร์บอร์ด แต่ก็ต้องดูความเหมาะสมในการทำงานด้วย"

อย่างไรก็ดี นายวรวุฒิ กล่าวว่า โครงการนี้ต้องผ่านการพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และคาดว่าการพิจารณาจะเป็นการจัดลำดับความสำคัญ ซึ่งต่างจากเฟสแรกที่เป็นการลงทุนเริ่มต้นจากที่ รฟท.ไม่เคยลงทุนมานานกว่า 60 ปี แต่เฟส 2 เป็นการลงทุนส่วนต่อขยาย ก็จะจัดลำดับความสำคัญ ทั้งนี้ การจะเปิดประมูลพร้อมกันก็ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของ ครม.

ทั้งนี้ ตามแผนการลงทุนของ รฟท.จะลงทุนพร้อมกันทั้ง 7 เส้นทางเดิมที่เป็นส่วนต่อขยาย และ 1 เส้นทางใหม่ แต่หากไม่สามารถลงทุนได้พร้อมกัน รฟท.ได้จะจัดลำดับความสำคัญของเส้นทางก่อน-หลังตามยุทธศาสตร์ประเทศที่จะช่วยเศรษฐกิจของประเทศ โดยสามารถขนส่งสินค้าและขนส่งผู้โดยสารได้

โดยลำดับแรกเป็นเส้นทางไปแถบอีสาน จะเลือกลงทุนเส้นทางรถไฟทางคู่ช่วงขอนแก่น-หนองคาย 169 กม.ก่อน เพื่อเชื่อมต่อกับเส้นทางเข้ามามาบตาพุด ในเขตพื้นที่ระเบียงเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก(EEC) โดยในโครงการรถไฟทางคู่เฟสแรก ที่อยู่ระหว่างก่อสร้างมีเส้นทาง ช่วงฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย นอกจากนี้มีเส้นทาง ช่วงมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ และ ช่วงชุมทางถนนจิระ-ขอนแก่นที่เชื่อมกับเส้นนี้ โดยเส้นทางรถไฟทางคู่ถึงหนองคาย สามารถเชื่อมต่อกับประเทศ สปป.ลาว ที่สามารถขนส่งสินค้ามายังมาบตาพุดได้

ลำดับที่สอง รถไฟทางคู่ช่วงชุมพร-สุราษฎร์ธานี 168 กม. ซึ่งเน้นขนส่งผู้โดยสารเป็นหลัก ส่วนจะต่อไปช่วงสุราษฎร์ธานี-ชุมทางหาดใหญ่-สงขลา ก็จะพิจารณากันอีกครั้ง

*คาดเปิดประมูลพื้นที่บางซื่อ "แปลงเอ" ปลายปีนี้, เตรียมพร้อมเดินรถสายสีแดง
ขณะเดียวกัน รฟท.เตรียมจัดทำร่างประกาศหลักเกณฑ์เงื่อนไขการประกวดราคา (TOR) พื้นที่เชิงพาณิชย์บริเวณสถานีกลางบางซื่อ พื้นที่แปลงเอ พื้นที่ 36 ไร่ มูลค่าโครงการประมาณ 1 หมื่นล้านบาท คาดว่าจะเปิดประมูลได้ในปลายปีนี้ เพื่อให้ได้เอกชนเข้ามา ซึ่งกำหนดเปิดบริการในปี 64 ใกล้เคียงกับการเปิดสถานีกลางบางซื่อที่จะเปิดใช้ในปี 64 เช่นกัน

นายวรวุฒิ กล่าวว่า การจัดตั้งบริษัทลูกในการบริหารเดินรถไฟชานเมืองสายสีแดง (รังสิต-บางซื่อ) ขณะนี้อยู่ระหว่างการปรับปรุงให้บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด ซึ่งเป็นผู้บริหารเดินรถแอร์พอร์ต เรล ลิ้งก์ มาเดินรถไฟฟ้าสายสีแดงแทน จากเดิมที่จะจัดตั้งบริษัทใหม่ โดยจะนำพนักงานที่มีอยู่แล้วในบริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด มีกว่า 400 คนและจะรับสมัครใหม่เพิ่มเติมด้วย โดยคาดว่าจะต้องใช้พนักงานเดินรถไฟฟ้าสายสีแดงประมาณ 900 คน

ทั้งนี้ รฟท.จะปรับปรุงแผนงานใหม่และนำเสนอต่อสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เพื่อจัดสรรพนักงานให้สอดคล้องกับการเดินรถไฟฟ้าสายสีแดง เพราะช่วง 2 ปีแรกพนักงานของแอร์พอร์ต เรล ลิ้งก์ ต้องบริหารเดินรถ 2 ปีก่อนที่จะส่งมอบให้เอกชนที่ดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูงเขื่อมสามสนามบิน

ส่วนการเดินรถไฟฟ้าสายสีแดง นายวรวุฒิ คาดว่าจะคุ้มทุน (Break event) ตั้งเป้าจำนวนผู้โดยสาร 8 หมื่นคน/วัน ภายใน 3-5 ปี ทั้งนี้จะทำได้เร็วขึ้นกับการเชื่อมต่อระบบขนส่ง โดยเบื้องต้นเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ซึ่งในปี 63 จะเปิดให้บริการส่วนต่อขยาย และจะเชื่อมต่อกับสายสีเขียวส่วนต่อขยายที่ลำลูกกา

นอกจากนี้ รฟท.เตรียมนำเสนอครม.อนุมัติโครงการรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพ-พิษณุโลก ซึ่งเป็นรถไฟเส้นทางที่รัฐบาลไทยและญี่ปุ่นร่วมมือกัน และโครงการรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพ -หัวหิน ภายในปีนี้ ซึ่งทั้งสองเส้นทางนี้เรื่องอยู่ที่กระทรวงคมนาคม

อ่านต่อได้ที่ :


เลื่อนประมูลทางคู่เฟส 2 เป็นปีหน้า ลั่นอาจสร้างไม่พร้อมกัน 8 เส้นทาง หลังรัฐบาลสั่งรัดเข็มขัด
วันที่ 24 กันยายน 2561 - 15:02 น.

ผู้ว่าฯรถไฟ ระบุเลื่อนประมูลทางคู่เฟส 2 เป็นต้นปี’62 ลั่นอาจสร้างไม่พร้อมกัน 8 เส้นทาง หลังรัฐบาลสั่งรัดเข็มขัด จัดลำดับความสำคัญ

เลื่อนประมูลทางคู่เฟส 2 – นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าในการดำเนินโครงการรถไฟทางคู่ เฟส 2 จำนวน 8 เส้นทางว่า ทางคู่เฟส 2 จำนวน 8 เส้นทาง นั้นเป็นทางคู่ส่วนต่อขยายเฟส 1 จำนวน 7 เส้นทางและเส้นทางใหม่ 1 เส้นทางคือ ช่วงบ้านไผ่-มุกดาหาร-นครพนม โดยขณะนี้กำลังทยอยเสนอโครงการให้กระทรวงคมนาคมพิจารณา และเสนอต่อให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) คาดว่า จะเสนอ ให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาในเดือนต.ค.นี้ ตั้งเป้าเปิดประมูลต้นปี 2562 ล่าช้ากว่าแผนเดิมที่กำหนดเปิดประมูลภายในปี 2561 คาดว่าจะลงนามในสัญญาว่าจ้างได้ ช่วงไตรมาส 1 ปี 2562

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้การก่อสร้างทางคู่เฟส 1 ซึ่งเป็นทางหลัก ยังไม่แล้วเสร็จ รวมทั้งเฟส 2 ส่วนใหญ่ยังเป็นเส้นทางต่อขยาย ขณะที่การดำเนินโครงการก่อสร้างขอทุกหน่วยงานต้องยึดตามพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ. พ.ศ. 2561 อย่างเคร่งครัด เพราะโครงการนี้จะต้องใช้เงินลงทุนจากภาครัฐจำนวนมาก จึงมีความเป็นไปได้สูงที่ สศช. จะไม่พิจารณาอนุมัติให้ รฟท.ทำพร้อมกันทั้งหมด 8 เส้นทาง โดยอาจจะขอให้ รฟท. จัดลำดับความสำคัญของโครงการก่อนหลังเท่าที่จำเป็นก่อน

“รฟท. ไม่เคยลงทุนมานานกว่า 60 ปี ในขณะที่รถไฟทางคู่เฟส 1 ก็ยังไม่เสร็จ จะลงทุนเฟส 2 ที่เดียวพร้อมกันหมด ต้องผ่านด่านสภาพัฒน์ไปก่อน ผมเชื่อว่า สภาพัฒน์ฯ จะให้มีการจัดลำดับความสำคัญโครงการก่อนหลัง หากจะทำพร้อมกันทีเดียวหมด 8 เส้นคงยาก”


นายวรวุฒิ กล่าวว่า หากจะให้จัดลำดับความสำคัญเฟส 2 รฟท. มองว่าควรจะดำเนินโครงการที่จำเป็นก่อน เช่น เส้นทางภาคอีสาน ช่วง
ขอนแก่น-หนองคาย 169 ก.ม. วงเงิน 26,663.26 ล้านบาท ที่จะเชื่อมต่อเข้าไปยังพื้นที่อีอีซี และ

เส้นทางเชื่อมลงใต้ เช่น
ชุมพร-สุราษฎร์ธานี 168 ก.ม. วงเงิน 24,294.36 ล้านบาท,
ช่วงสุราษฎร์ธานี-ชุมทางหาดใหญ่-สงขลา 324 ก.ม. วงเงิน 57,375.43 ล้านบาท,
ช่วงชุมทางหาดใหญ่-ปาดังเบซาร์ 45 ก.ม. วงเงิน 8,120.12 ล้านบาท และ
เส้นทางใหม่ช่วงบ้านไผ่-มุกดาหาร-นครพนม ระยะทาง 355 ก.ม. มูลค่าโครงการ 67,965.33 ล้านบาท

สำหรับรถไฟทางคู่เฟส 2 จำนวน 8 เส้นทางตามเป้าหมายเดิมของ รฟท. ประกอบด้วย

1.ช่วงปากน้ำโพ-เด่นชัย ระยะทาง 285 ก.ม. วงเงิน 62,883.55 ล้านบาท
2. ช่วงเด่นชัย – เชียงใหม่ 189 ก.ม. วงเงิน 56,887.78 ล้านบาท
3. ช่วงชุมทางถนนจิระ-อุบลราชธานี 308 ก.ม. วงเงิน 37,527.10 ล้านบาท
4. ช่วงขอนแก่น-หนองคาย 169 ก.ม. วงเงิน 26,663.26 ล้านบาท
5. ช่วงชุมพร-สุราษฎร์ธานี 168 ก.ม. วงเงิน 24,294.36 ล้านบาท
6. ช่วงสุราษฎร์ธานี-ชุมทางหาดใหญ่-สงขลา 324 ก.ม. วงเงิน 57,375.43 ล้านบาท
7. ช่วงชุมทางหาดใหญ่-ปาดังเบซาร์ 45 ก.ม. วงเงิน 8,120.12 ล้านบาท

ส่วนสายทางใหม่ คือ
ช่วงบ้านไผ่-มุกดาหาร-นครพนม ระยะทาง 355 ก.ม. มูลค่าโครงการ 67,965.33 ล้านบาท
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44329
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 24/09/2018 6:56 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
เผยเลื่อนประมูลรถไฟทางคู่เฟส 2 "รักษาวินัยการเงิน-จัดลำดับความสำคัญ" วันที่ 24 กันยายน 2561 - 15:02 น.

เผยเลื่อนประมูลรถไฟทางคู่เฟส 2 "รักษาวินัยการเงิน-จัดลำดับความสำคัญ"
โพสต์ทูเดย์ วันที่ 24 ก.ย. 2561 เวลา 15:45 น.

วรวุฒิ มาลา ระบุเลื่อนประมูลทางคู่เฟส 2 เป็นต้นปี 2562 หลังรัฐบาลสั่งรัดเข็มขัด จัดลำดับความสำคัญ

เมื่อวันที่ 24 ก.ย. นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าในการดำเนินโครงการรถไฟทางคู่ เฟส 2 จำนวน 8 เส้นทางว่า ทางคู่เฟส 2 จำนวน 8 เส้นทาง นั้นเป็นทางคู่ส่วนต่อขยายเฟส 1 จำนวน 7 เส้นทางและเส้นทางใหม่ 1 เส้นทางคือ ช่วงบ้านไผ่-มุกดาหาร-นครพนม

ขณะนี้กำลังทยอยเสนอโครงการให้กระทรวงคมนาคมพิจารณา และเสนอต่อให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) คาดว่า จะเสนอ ให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาในเดือนต.ค.นี้ ตั้งเป้าเปิดประมูลต้นปี 2562 ล่าช้ากว่าแผนเดิมที่กำหนดเปิดประมูลภายในปี 2561 คาดว่าจะลงนามในสัญญาว่าจ้างได้ ช่วงไตรมาส 1 ปี 2562

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้การก่อสร้างทางคู่เฟส 1 ซึ่งเป็นทางหลัก ยังไม่แล้วเสร็จ รวมทั้งเฟส 2 ส่วนใหญ่ยังเป็นเส้นทางต่อขยาย ขณะที่การดำเนินโครงการก่อสร้างขอทุกหน่วยงานต้องยึดตามพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ. พ.ศ. 2561 อย่างเคร่งครัด เพราะโครงการนี้จะต้องใช้เงินลงทุนจากภาครัฐจำนวนมาก จึงมีความเป็นไปได้สูงที่ สศช. จะไม่พิจารณาอนุมัติให้ รฟท.ทำพร้อมกันทั้งหมด 8 เส้นทาง โดยอาจจะขอให้ รฟท. จัดลำดับความสำคัญของโครงการก่อนหลังเท่าที่จำเป็นก่อน

"รฟท. ไม่เคยลงทุนมานานกว่า 60 ปี ในขณะที่รถไฟทางคู่เฟส 1 ก็ยังไม่เสร็จ จะลงทุนเฟส 2 ที่เดียวพร้อมกันหมด ต้องผ่านด่านสภาพัฒน์ไปก่อน เชื่อว่า สภาพัฒน์ฯ จะให้มีการจัดลำดับความสำคัญโครงการก่อนหลัง หากจะทำพร้อมกันทีเดียวหมด 8 เส้นคงยาก"

นายวรวุฒิ กล่าวว่า หากจะให้จัดลำดับความสำคัญเฟส 2 รฟท. มองว่าควรจะดำเนินโครงการที่จำเป็นก่อน เช่น เส้นทางภาคอีสาน ช่วงขอนแก่น-หนองคาย 169 ก.ม. วงเงิน 26,663.26 ล้านบาท ที่จะเชื่อมต่อเข้าไปยังพื้นที่อีอีซี และเส้นทางเชื่อมลงใต้ เช่น ชุมพร-สุราษฎร์ธานี 168 ก.ม. วงเงิน 24,294.36 ล้านบาท, ช่วงสุราษฎร์ธานี-ชุมทางหาดใหญ่-สงขลา 324 ก.ม. วงเงิน 57,375.43 ล้านบาท, ช่วงชุมทางหาดใหญ่-ปาดังเบซาร์ 45 ก.ม. วงเงิน 8,120.12 ล้านบาท และเส้นทางใหม่ช่วงบ้านไผ่-มุกดาหาร-นครพนม ระยะทาง 355 ก.ม. มูลค่าโครงการ 67,965.33 ล้านบาท

สำหรับรถไฟทางคู่เฟส 2 จำนวน 8 เส้นทางตามเป้าหมายเดิมของ รฟท. ประกอบด้วย
1.ช่วงปากน้ำโพ-เด่นชัย ระยะทาง 285 ก.ม. วงเงิน 62,883.55 ล้านบาท
2. ช่วงเด่นชัย - เชียงใหม่ 189 ก.ม. วงเงิน 56,887.78 ล้านบาท
3. ช่วงชุมทางถนนจิระ-อุบลราชธานี 308 ก.ม. วงเงิน 37,527.10 ล้านบาท
4. ช่วงขอนแก่น-หนองคาย 169 ก.ม. วงเงิน 26,663.26 ล้านบาท
5. ช่วงชุมพร-สุราษฎร์ธานี 168 ก.ม. วงเงิน 24,294.36 ล้านบาท
6. ช่วงสุราษฎร์ธานี-ชุมทางหาดใหญ่-สงขลา 324 ก.ม. วงเงิน 57,375.43 ล้านบาท
7. ช่วงชุมทางหาดใหญ่-ปาดังเบซาร์ 45 ก.ม. วงเงิน 8,120.12 ล้านบาท
ส่วนสายทางใหม่ คือ ช่วงบ้านไผ่-มุกดาหาร-นครพนม ระยะทาง 355 ก.ม. มูลค่าโครงการ 67,965.33 ล้านบาท
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 215, 216, 217 ... 388, 389, 390  Next
Page 216 of 390

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©