Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311238
ทั่วไป:13181432
ทั้งหมด:13492670
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานีกลางบางซื่อและรถไฟฟ้า
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานีกลางบางซื่อและรถไฟฟ้า
Goto page Previous  1, 2, 3, 4, 5, 6 ... 63, 64, 65  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42628
Location: NECTEC

PostPosted: 01/06/2018 12:05 pm    Post subject: Reply with quote

เจอกันปี 2020! “บางซื่อแกรนด์สเตชัน” สถานีรถไฟที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
สำนักข่าวซินหัว
31 พฤษภาคม 2018

ชมภาพศูนย์การขนส่งที่ใหญ่ที่สุดและทันสมัยที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่การก่อสร้างคืบหน้าไปกว่าร้อยละ 50 แล้ว และมีกำหนดการจะเปิดให้บริการในไตรมาสที่ 3 ของปี 2020 สถานีแห่งนี้มีชื่อว่า “บางซื่อแกรนด์สเตชัน” หรือ “สถานีกลางบางซื่อ” ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร เมืองหลวงของประเทศไทย

สถานีดังกล่าวครอบคลุมพื้นที่กว่า 300,000 ตารางเมตร ภายในจะมีชานชาลา 26 แห่ง เชื่อมโยงโครงข่ายคมนาคมจากหลากหลายเส้นทาง เช่น รถไฟใต้ดิน (MRT) รถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อนและแดงเข้ม รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ เป็นต้น

สถานีดังกล่าวจะเข้ามามีบทบาทสำคัญแทนที่ “หัวลำโพง” สถานีรถไฟหลักของกรุงเทพฯในปัจจุบัน ที่เปิดมาตั้งแต่ปี 1916 เพื่อให้การเดินทางของประชาชนและนักท่องเที่ยวเป็นไปอย่างสะดวกสบายยิ่งขึ้น
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44333
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 18/06/2018 11:25 am    Post subject: Reply with quote

รฟท.เตรียมเปิดพีพีพีประมูลบางซื่อไตรมาส3 16ไร่ผุดมิกซ์ยูสหมื่นล.
คมชัดลึก 18 มิ.ย. 61

รฟท.เตรียมเปิดพีพีพี เอกชนร่วมทุนกิจการรัฐ พัฒนาสถานีกลางบางซื่อ ไตรมาส 3 นี้ นำร่องโซน A พื้นที่เชิงพาณิชย์ 16 ไร่ เงินลงทุนหมื่นล้านบาท มั่นใจผู้ประกอบการกลุ่มห้างสรรพสินค้าสนใจปะมูลหลายราย เล็งประมูลพื้นที่โซน E ระยะต่อไปรองรับพัฒนาอาคารหน่วยงานราชการ

นายวรวุฒิ มาลา รักษาการผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศ (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า ไตรมาส 3 ปีนี้ ร.ฟ.ท.จะเปิดประมูลการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์รอบสถานีกลางบางซื่อ นำร่องในรูปแบบเอกชนร่วมลงทุนในกิจการรัฐ (พีพีพี) บริเวณพื้นที่โซน A เฟสแรก ครอบคลุมพื้นที่ 16 ไร่ จากพื้นที่ทั้งหมด 32 ไร่ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นพื้นที่พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ เช่น ห้างสรรพสินค้า รวมถึงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในรูปแบบผสมผสาน(มิกซ์ยูส) โดยกำลังตั้งคณะกรรมการตามมาตรา 35 พ.ร.บ.การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ.2556 เพื่อยกร่างเอกสารประกวดราคา (ทีโออาร์)

คาดห้างค้าปลีกสนประมูล

“รฟท.ตั้งเป้านำพื้นที่ที่มีความพร้อมก่อนมาเปิดประมูลเลย ไม่รอผลการศึกษาครบทั้งโครงการแล้ว เพราะจะทำให้แผนงานล่าช้าออกไปอีก โดยพื้นที่โซน A ที่จะนำมาเปิดประมูลเป็นส่วนแรกนั้น ถือเป็นไฮไลท์สำคัญของโครงการนี้ เพราะเป็นพื้นที่ในส่วนของการก่อสร้างงานประเภทการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์และสิ่งอำนวยความสะดวก อย่างห้างสรรพสินค้า ประเมินมูลค่าโครงการเบื้องต้น 10,000 ล้านบาท กลุ่มเป้าหมายที่คาดว่าจะเข้าร่วมประมูล คือ ผู้ประกอบการห้างสรรพสินค้า”


สำหรับ ขั้นตอนดำเนินการหลังจากเปิดประมูลแล้ว ร.ฟ.ท.คาดว่าจะประกาศผู้ชนะประมูลได้สิทธิ์ลงทุน และลงนามสัญญาพัฒนาพื้นที่ได้ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2562 โดยหลังจากการประมูลนำร่องประมูลในพื้นที่โซน A แล้วยังเตรียมนำพื้นที่โซน E บริเวณตึกแดงออกมาประมูลเป็นส่วนต่อไป เพื่อพัฒนาขึ้นเป็นพื้นที่สำนักงานใหญ่แห่งใหม่ รวมทั้งบ้านพักพนักงานด้านปฏิบัติการของ ร.ฟ.ท.ที่อยู่ย้ายมาจากพื้นที่แปลง G หรือ กม.11

ส่วนแผนพัฒนาสถานีกลางบางซื่อ ที่ ร.ฟ.ท.จะนำมาเป็นแบบอย่างในการวางแผนงานนั้น เป็นแผนที่องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (ไจก้า) ช่วยศึกษา และผ่านการเห็นชอบจากคณะกรรมการ ร.ฟ.ท.เมื่อเดือน ก.ค.ปีที่ผ่านมา ใช้เวลาในการพัฒนา 15 ปี ซึ่งจะทยอยเปิดให้บริการตั้งแต่ปี 2565 เป็นต้นไป

ดัน“สมาร์ทซิตี้”แห่งแรก

ส่วนรายละเอียดของแผนพัฒนาพื้นที่ดังกล่าว จะพัฒนาสถานีขนส่งสาธารณะเป็นศูนย์กลาง หรือ Transit Oriented Development (TOD) เพื่อใช้ประโยชน์ที่ดินแบบผสมผสานจากศักยภาพของสถานีกลางบางซื่อที่เป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงการขนส่งกรุงเทพฯ และปริมณฑล รวมไปถึงประเทศเพื่อนบ้าน รวมทั้งพัฒนาเป็นเมืองอัจฉริยะแห่งแรกในประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียน โดยแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ

1.ระยะสั้นหรือระยะที่ 1 ดำเนินการภายในปี 2567 ช่วงที่สถานีกลางบางซื่อเปิดให้บริการ โดยในช่วงนี้จะเน้นพัฒนาย่านการค้าและสำนักงานเป็นหลัก เช่น การพัฒนาพื้นที่ โซน A ที่อยู่ติดกับสถานีกลางบางซื่อ 50–100 เมตร เป็นพื้นที่กิจกรรมพาณิชยกรรม มีห้างสรรพสินค้า ร้านค้า และร้านอาหาร

2.ระยะกลางหรือระยะที่ 2 ดำเนินการภายในปี 2572 เน้นการพัฒนาธุรกิจที่เกี่ยวกับการจัดประชุมบริษัทนานาชาติ ย่านศูนย์การค้าและทางเดินเท้า และ 3.ระยะยาวหรือระยะที่ 3 ดำเนินการภายในปี 2577 พัฒนาพื้นที่พาณิชยกรรมและพื้นที่อยู่อาศัยที่เหลือ

ขณะที่เป้าหมายของการพัฒนาพื้นที่ตามหลัก TOD ร.ฟ.ท.มีเป้าหมายการพัฒนาเพื่อรองรับการใช้ชีวิต ธุรกิจ และการคมนาคมขนส่ง ผ่าน 4 เป้าหมายหลัก คือ 1.International Community เพื่อสร้างศูนย์กลางชุมชน และเป็นจุดหมายปลายทางที่สำคัญของต่างชาติ 2.New Central District Full of Various Attractive หรือเป็นศูนย์กลางเมืองแห่งใหม่ ที่มีการพัฒนาอย่างสมดุล 3.Visitor Friendly พัฒนาระบบคมนาคมเพื่อความสะดวกแก่ผู้มาเยือน และ 4.Step wisely by both public and private sector เป็นอีกหนึ่งโครงการสำคัญที่ใช้ความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน

ตั้งเป้าฮับคมนาคมแห่งใหม่

นายวรวุฒิ กล่าวว่า ไจก้ายังศึกษาแนวคิดที่จะพัฒนาพื้นที่นี้ให้เป็นเมืองอัจฉริยะแห่งแรกในประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียน โดยบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) จะเป็นผู้เข้ามาศึกษาการพัฒนาสมาร์ทซิตี้ โดยจะเป็นผู้วางระบบสาธารณูปโภคทั้งหมดครอบคลุมพื้นที่ 8 โซนของ รฟท. ประกอบไปด้วย 1.พื้นที่โซน A พื้นที่รวม 35 ไร่ มีศักยภาพในการพัฒนากิจกรรมเชิงพาณิชย์ที่มีความเกี่ยวเนื่องกับระบบขนส่ง 2.พื้นที่โซน B พัฒนาเป็นพื้นที่มิกซ์ยูสศูนย์กลางการค้า

3.พื้นที่โซน C พัฒนาเป็นฮับการจัดประชุมสัมมนา 4.พื้นที่โซน D ติดรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินและสีเขียว มีศักยภาพในการพัฒนากิจกรรมเชิงพาณิชย์ดึงดูดนักท่องเที่ยว 5.พื้นที่โซน E พัฒนาเป็นสำนักงานหน่วยงานราชการ 6.พื้นที่โซน F พัฒนาเป็นย่านศูนย์การค้า 7. พื้นที่โซน G พัฒนาเป็นย่านที่พักอาศัย และ 8.พื้นที่โซน H พัฒนาเป็นพื้นที่มิกซ์ยูส

ทั้งนี้ ร.ฟ.ท.ตั้งเป้าว่าจากแผนพัฒนาทั้งหมด ประกอบกับโครงข่ายระบบรางที่อยู่ระหว่างพัฒนามากกว่า 10 เส้นทาง จะทำให้สถานีกลางบางซื่อเป็นศูนย์กลางการคมนาคมแห่งใหม่ ที่เป็นทั้งศูนย์กลางการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ และศูนย์กลางธุรกิจแห่งใหม่ของกรุงเทพฯ อีกทั้งยังเป็นศูนย์กลางการเดินทางเชื่อมต่อไปยังทุกภาคของประเทศ เชื่อมโยงระหว่างประเทศไปยังลาว จีนและมาเลเซีย

ที่มา กรุงเทพธุรกิจ
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42628
Location: NECTEC

PostPosted: 11/07/2018 10:14 am    Post subject: Reply with quote

คมนาคมอวดโฉม “สถานีกลางบางซื่อ” ใหญ่สุดในอาเซียนแซงหน้ามาเลเซีย
พร็อพเพอร์ตี้
วันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 เวลา 20:42 น.


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันที่ 13 ก.ค.นี้ กระทรวงคมนาคมเตรียมจัดงานนิทรรศการ “One Transport for All 2018 : On the Move” นำเสนอการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศไทย (2558 – 2565) โดยโชว์ผลการดำเนินงานในครึ่งทางแรก ระหว่างปี 2558 – ปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นความคืบหน้าของแต่ละโครงการใน 4 โหมดการเดินทาง คือ ทางราง ทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ พร้อมกับโชว์แผนดำเนินงานในอนาคต โครงการต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นในช่วงต่อจากนี้ จนถึงปี 2565 ที่จะพลิกโฉมการคมนาคมของประเทศไทย

ไฮไลต์คือโครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดงช่วงบางซื่อ-รังสิต โดยเฉพาะ “สถานีกลางบางซื่อ “ที่จะเปิดบริการในปี 2563 ที่จะพลิกโฉมการเดินทางด้วยระบบรางของอาเซียน

โดยออกแบบให้รองรับรูปแบบระบบคมนาคมได้อย่างหลากหลายและเชื่อมต่อ เป็นศูนย์กลางระบบรางอย่างสมบูรณ์แบบ และยังมีการเชื่อมต่อกับระบบขนส่งอื่นๆ ในบริเวณใกล้เคียง ได้กำหนดแนวคิดการพัฒนา คือ “ศูนย์กลางมหานครแห่งใหม่ระดับ ASEAN” โดยเป็นศูนย์กลางการคมนาคมขนส่งทางรางทั้งรถไฟทางไกล รถไฟชานเมือง รถไฟฟ้าในเมือง และรถไฟความเร็วสูง

และยังนำหลักการพัฒนาพื้นที่โดยรอบศูนย์กลางคมนาคม (Transit-oriented Development : TOD) มาใช้เป็นต้นแบบในการพัฒนาพื้นที่ เมื่อแล้วเสร็จสถานีกลางบางซื่อจะเป็นสถานีรถไฟที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในอาเซียน มีมาตรฐานเทียบเท่าสถานีกลางต่างๆ ทั่วโลก



ซึ่งจะโค่นแชมป์อย่างสถานี KL Sentral ของมาเลเซีย โดยอาคารสถานีกลางบางซื่อ กว้าง 244 เมตร ยาว 596.6 เมตร สูงประมาณ 43 เมตร มี 4 ชั้น รวมชั้นใต้ดินพื้นที่ใช้สอยประมาณ 300,000 ตารางเมตร

ตัวอาคารสถานีมีทั้งหมด 4 ชั้น ประกอบด้วย ชั้นใต้ดิน เป็นลานจอดรถที่สามารถรองรับได้กว่า 1,700 คัน ชั้น 1 เป็นพื้นที่จำหน่ายตั๋ว พื้นที่พักคอยผู้โดยสาร เขตร้านค้า พื้นที่เชื่อมต่อรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน และจุดเชื่อมต่อรถโดยสาร ขสมก. และ บขส. ชั้น 2 และชั้น 3 เป็นชานชาลาของรถไฟสายต่างๆ รวมทั้งหมด 24 ชานชาลา เป็นชั้นชานชาลารถไฟชานเมืองสายสีแดง จำนวน 4 ชานชาลา และรถไฟทางไกลทุกเส้นทาง จำนวน 8 ชานชาลา และชั้น 3 เป็นชั้นชานชาลารถไฟความเร็วสูงทุกเส้นทาง จำนวน 10 ชานชาลา และรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิ้งค์ จำนวน 2 ชานชาลา

ขณะที่ “อาคารสถานี KL Sentral” มีรถไฟให้บริการทั้งหมด 7 สาย และมีชานชาลาทั้งหมด 12 ชานชาลา ทางรถไฟเกือบทั้งหมดอยู่ในระดับดิน และสร้างสถานีคร่อมลงไปยกเว้น LRT KelenaJaya Line ที่มีชานชาลาอยู่เหนือโถงกลางสถานี

โดยเริ่มแรกมีรถไฟให้บริการ 3 สายหลัก คือ KTM Komuter (รถไฟฟ้าชานเมือง) KTM Intercity (รถไฟทางไกล) และ LRT สาย KelanaJaya ปัจจุบันมีรถไฟให้บริการทั้งหมด 7 สาย และมีชานชาลาทั้งหมด 12 ชานชาลา เป็น KTM Komuter 4 ชานชาลา KTM Intercity 2 ชานชาลา KLIA Ekspres2 ชานชาลา (รถไฟเชื่อมสนามบิน) และ KLIA Transit 2 ชานชาลา โดย KLIA Ekspresยังเป็น City Air Terminal สามารถเช็กอินและโหลดกระเป๋าได้ที่สถานี

นอกจากนี้แนวคิดการพัฒนาสถานีกลางบางซื่อ ไม่ได้จำกัดแค่การเป็นศูนย์กลางระบบรางเฉพาะในกรุงเทพฯ หรือประเทศไทยเท่านั้น แต่จะเป็นศูนย์กลางการเดินทางของเขตเศรษฐกิจอาเซียน โดยเฉพาะในภาคพื้นดิน กับประเทศกัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา และเวียดนาม (CLMV) รวมถึงประเทศจีนและสิงคโปร์

นอกจากนี้ยังเชื่อมต่อกับท่าอากาศยานหลักของประเทศ ได้แก่ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ท่าอากาศยานดอนเมือง และท่าอากาศยานอู่ตะเภา ซึ่งจะเป็นการเชื่อมต่อเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ไปโดยปริยาย ทำให้ในอนาคตอีก 10 ปีข้างหน้า สถานีกลางบางซื่อจะเป็นสถานีที่มีผู้สัญจรทั้งการเดินทางในชีวิตประจำวัน ท่องเที่ยว และติดต่อธุรกิจ ประมาณ 2 ล้านคนต่อวัน

คล้ายกับการพัฒนา “สถานีกลางเบอร์ลิน” (Berlin Hauptbahnhof) ที่มีการพัฒนาและก่อสร้างที่มีเป้าหมายไม่ใช่การเป็นสถานีกลางของประเทศเยอรมนีเท่านั้น หากแต่ยังสามารถเชื่อมต่อกับประเทศในภาคพื้นยุโรป

รวมถึงการตั้งเป้าหมายให้พื้นที่แห่งนี้เป็นศูนย์กลางทางวัฒนธรรมและทางเศรษฐกิจของยุโรป ซึ่งไม่เพียงเชื่อมต่อพื้นที่ของเยอรมนีตะวันออกและฝั่งตะวันตก แต่ยังเชื่อมต่อกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศสไปยังกรุงมอสโค ประเทศรัสเซีย และเชื่อมกรุงสต๊อกโฮม ประเทศสวีเดน กับกรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย

และยังสามารถเชื่อมต่อกับท่าอากาศยานหลักของประเทศ 3 แห่ง คือ ท่าอากาศยานเชินเนอเฟลด์ (Schönefeld Airport) ในกรุงเบอร์ลิน ซึ่งเป็นท่าอากาศยานที่อยู่ใกล้ที่สุดและใช้เวลาเดินทางเพียง 30 นาที ท่าอากาศยานโคโลญบอนน์ (Köln Bonn Airport) เมืองโคโลญ ซึ่งนครบอนน์เคยเป็นเมืองหลวงของเยอรมนีตะวันตก และท่าอากาศยานแฟรงเฟิร์ต (Frankfurt Airport) เมืองแฟรงเฟิร์ต ซึ่งเป็นสนามบินที่ใหญ่ที่สุดในประเทศเยอรมนี และเป็นอันดับ 3 ของยุโรป

นอกจากนี้ที่สถานีกลางบางซื่อจะกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สามารถมาได้ทุกวัน เช่นเดียวกันกับ Tokyo Character Street ที่สถานีโตเกียว เพราะพื้นที่บริเวณสถานีกลางบางซื่อ จะถูกพัฒนาตามแนวคิด TOD คือ การพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีขนส่งมวลชน

เพื่อให้มีการใช้ประโยชน์ที่ดินแบบผสมผสานและดึงดูดผู้คนเข้าสู่พื้นที่โครงการโดยมีที่พักอาศัย ย่านการค้าสำนักงาน พื้นที่พักผ่อนหย่อนใจ และอื่นๆ อยู่ในพื้นที่ ซึ่งหลังจากการเปิดใช้สถานีกลางบางซื่อแล้ว พื้นที่โดยรอบจะถูกพัฒนาขึ้น

มีตลาดนัดจตุจักร เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงที่ดึงดูดนักท่องเที่ยว ทั้งคนไทยและต่างชาติเข้ามาซื้อหาของมากมาย และเมื่อมีการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีกลางบางซื่อ จะมีการพัฒนาต่อยอดจากตลาดนัดจตุจักร เป็นพื้นที่ค้าปลีกและค้าส่งขนาดใหญ่ที่สามารถเดินทางมาท่องเที่ยว นอกจากนี้ยังสามารถเดินทางไปจับจ่ายซื้อสินค้าในบริเวณโดยรอบ อาทิ เซ็นทรัล ลาดพร้าว
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42628
Location: NECTEC

PostPosted: 12/07/2018 2:33 pm    Post subject: Reply with quote

คมนาคม 4 ปี ตอกเข็มรถไฟฟ้า 349 กม. เปิด“สถานีกลางบางซื่อ” ฮับอาเซียน มาตรฐานระดับโลก
โดย: MGR Online
เผยแพร่: 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 เวลา 13:22



“คมนาคม”โชว์ผลงาน 4 ปี เพิ่มโครงข่ายรถไฟฟ้ากว่า 349 กม. เปิดตัวโมโนเรล 2 สายแรกของประเทศ “สีชมพู-สีเหลือง” ชูสถานีกลางบางซื่อ ขึ้นอันดับเบอร์ 1 ศูนย์กลางการคมนาคมทางรางที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน ด้วยมาตรฐานระดับโลก

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กระทรวงคมนาคม เตรียมจัดงาน “One Transport for All 2018 : On the Move” ในวันศุกร์ที่ 13 กรกฎาคม 2561 น. ณ ห้องวอเตอร์เกท บอลรูม ชั้น 6 โรงแรม อมารี วอเตอร์เกท โดยมีนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานเปิดงานและปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ “คมนาคม 4 ปี+อนาคต คนไทยได้อะไร?” ที่นำเสนอการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศไทย (พ.ศ.2558 – 2565) ในระหว่างปี 2558 – ปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็น ความคืบหน้าของแต่ละโครงการใน 4 โหมดการเดินทาง คือ ทางราง ทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ และแผนดำเนินงานในอนาคต โครงการต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นในช่วงต่อจากนี้ จนถึงปี 2565

ทั้งนี้ ถือว่าเป็นช่วงเวลาที่มีการดำเนินการโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าหลากหลายเส้นทางที่มีความคืบหน้าสุดในรอบ 20 ปี โดย จากเป้าหมายโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าที่ตั้งไว้ 464 กิโลเมตร หากย้อนรอยกลับไปดูตั้งแต่เริ่มต้นคือปี 2542 จนถึงปี 2558 พบว่าสำเร็จไปเพียง 84.3 กิโลเมตรเท่านั้น แต่ด้วยความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศไทย ทำให้ตั้งแต่ปี 2558 จนถึงปัจจุบัน โครงการรถไฟฟ้าของประเทศไทยได้ขยายเพิ่มได้ถึง 349.8 กิโลเมตร และในปี 2565 โครงข่ายรถไฟฟ้าจะคืบหน้าถึงกว่า 434 กิโลเมตร และจะเป็นระบบขนส่งมวลชนที่พลิกโฉมการเดินทางของไทย

สำหรับรถไฟฟ้ารางเดี่ยวหรือ โมโนเรล จะมีการก่อสร้าง 2 สายแรกของไทยซึ่งจะแล้วเสร็จในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า คือสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว – สำโรง และสายสีชมพู ช่วงแคราย – มีนบุรี

โดย โมโนเรลนั้น มีจุดเริ่มต้นจากการเป็นระบบขนส่งในเหมืองแร่และได้รับการพัฒนาตามลำดับ ซึ่งปัจจุบันหลายประเทศในเอเชีย นิยมใช้โมโนเรล เช่น ญี่ปุ่น มีโมโนเรลหลากหลายสาย อาทิ โตเกียวโมโนเรล ,โมโนเรล โอกินาวะ หรือ เคแอลโมโนเรลของประเทศมาเลเซีย ส่วนที่ประเทศจีน มี ฉงชิ่ง เรล ทรานซิส และเร็วๆ นี้ ไทยจะเป็นอีกประเทศที่มีโมโนเรลให้บริการ 2 สาย

ซึ่งโครงข่ายโมโนเรล จะมีการเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายหลักอีกด้วย โดยสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี มี เชื่อมต่อกับระบบขนส่งมวลชนทางรางถึง 4 สาย ได้แก่ เชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีม่วงที่สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี เชื่อมต่อรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงที่สถานีหลักสี่ เชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีเขียวที่สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ และเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีส้ม ที่สถานีมีนบุรี

ส่วนโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว – สำโรง มีจุดเชื่อมต่อขนส่งมวลชนระบบราง 4 สายเช่นเดียวกัน ได้แก่ เชื่อมต่อรถไฟฟ้ามหานครสายเฉลิมรัชมงคล บริเวณแยกรัชดา – ลาดพร้าว เชื่อมต่อโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม บริเวณแยกลำสาลี เชื่อมต่อโครงการรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ(Airport Rail Link) บริเวณแยกพัฒนาการ และเชื่อมต่อโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวที่สถานีสำโรงนั่นเอง

***”สถานีกลางบางซื่อ ขึ้นแท่นใหญ่สุดในอาเซียน มาตรฐานระดับโลก
สำหรับรถไฟฟ้าแล้ว โครงข่ายที่เป็นแกนกลางเชื่อมการเดินทาง คือ โครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดง ที่เส้นทางพาดผ่านกรุงเทพฯแนวเหนือ-ใต้ ,ตะวันออก-ตะวันตก โดยมีสถานีกลางบางซื่อ เป็นจุดศูนย์กลางเชื่อมระบบการเดินทางทั้งในประเทศไทยและอาเซียน เนื่องจากถูกออกแบบ รองรับระบบคมนาคมได้อย่างหลากหลาย เป็นศูนย์กลางระบบรางและขนส่งอื่นๆ อย่างสมบูรณ์แบบ กำหนดแนวคิดการพัฒนา คือ “ศูนย์กลางมหานครแห่งใหม่ระดับ ASEAN” แลพมีการพัฒนาพื้นที่โดยรอบศูนย์กลางคมนาคม (Transit-oriented Development:TOD)

โดยสถานีกลางบางซื่อ มีอาคารสถานีที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในอาเซียน โค่นแชมป์อย่างสถานี KL Sentral ของมาเลเซีย เมื่อแล้วเสร็จ ในปี 2563 สถานีกลางบางซื่อจะเป็นสถานีรถไฟที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในอาเซียน และ มีมาตรฐานเทียบเท่าสถานีกลางต่างๆ ทั่วโลก

อาคารสถานีกลางบางซื่อ กว้าง 244 เมตร ยาว 596.6 เมตร สูงประมาณ 43 เมตร มี 4 ชั้น รวมชั้นใต้ดินพื้นที่ใช้สอยประมาณ300,000ตารางเมตรตัวอาคารสถานีมีทั้งหมด 4 ชั้น ประกอบด้วย

ชั้นใต้ดิน เป็นลานจอดรถที่สามารถรองรับได้กว่า 1,700 คัน ชั้น 1 เป็นพื้นที่จำหน่ายตั๋ว พื้นที่พักคอยผู้โดยสาร เขตร้านค้า พื้นที่เชื่อมต่อรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน และจุดเชื่อมต่อรถโดยสาร ขสมก. และ บขส. ชั้น 2และชั้น 3 เป็นชานชาลาของรถไฟสายต่างๆ รวมทั้งหมด 24 ชานชาลาเป็นชั้นชานชาลารถไฟชานเมืองสายสีแดง จำนวน 4 ชานชาลา และรถไฟทางไกลทุกเส้นทาง จำนวน 8 ชานชาลา และชั้น 3 เป็นชั้นชานชาลารถไฟความเร็วสูงทุกเส้นทาง จำนวน 10 ชานชาลา และรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิ้งค์ จำนวน 2 ชานชาลา

ขณะที่ อาคารสถานี KL Sentralมีรถไฟให้บริการทั้งหมด 7 สาย และมีชานชาลาทั้งหมด 12 ชานชาลา ทางรถไฟเกือบทั้งหมดอยู่ในระดับดิน และสร้างสถานีคร่อมลงไปยกเว้น LRT Kelena Jaya Line ที่มีชานชาลาอยู่เหนือโถงกลางสถานี โดยเริ่มแรกมีรถไฟให้บริการ 3 สายหลัก คือ KTM Komuter(รถไฟฟ้าชานเมือง) KTM Intercity (รถไฟทางไกล) และ LRT สาย Kelana Jaya ปัจจุบันมีรถไฟให้บริการทั้งหมด 7 สาย และมีชานชาลาทั้งหมด 12 ชานชาลา เป็น KTM Komuter4 ชานชาลา KTM Intercity 2 ชานชาลา KLIA Ekspres2 ชานชาลา (รถไฟเชื่อมสนามบิน) และ KLIA Transit 2 ชานชาลา โดย KLIA Ekspresยังเป็น City Air Terminal สามารถเช็กอินและโหลดกระเป๋าได้ที่สถานี
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42628
Location: NECTEC

PostPosted: 05/09/2018 11:13 pm    Post subject: Reply with quote

วางแผนรับมือรถติดรอบสถานีกลางบางซื่อ เล็งขยายเส้นทางโดยรอบ
วันที่ 31 สิงหาคม 2561 เวลา 06:49 น.

สถานีกลางบางซื่อ ซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อระบบขนส่งที่ใหญ่ที่สุดในกรุงเทพมหานคร จะเปิดใช้ในอีก 2 ปีข้างหน้า หลายฝ่ายมีการประเมินว่า จะทำให้เกิดการจราจรติดขัดในบริเวณนี้เป็นอย่างมาก เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องจึงต้องวางแผนรับมือไว้ล่วงหน้า

พลตำรวจตรีจิรพัฒน์ ภูมิจิตร รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเตรียมความพร้อมอำนวยความสะดวกด้านการจราจร บริเวณสถานีกลางบางซื่อ ใกล้สถานีขนส่งหมอชิตใหม่ ซึ่งกำลังมีการก่อสร้างสถานีรถไฟ และระบบขนส่งมวลชนขนาดใหญ่ และมีกำหนดแล้วเสร็จในเดือนมิถุนายน ปี 2563 ซึ่งเมื่อมีการเปิดใช้อย่างเต็มรูปแบบ จะมีประชาชนเข้าใช้บริการเป็นจำนวนนับแสนคนต่อวัน ก่อให้เกิดปัญหาการจราจรติดขัด เนื่องจากพื้นที่โดยรอบจุดดังกล่าวมีถนน 2 เส้นทางหลัก คือ ถนนกำแพงเพชร 1 และถนนกำแพงเพชร 2 ที่มีปัญหาการจราจรติดขัดอยู่เดิม และยังส่งผลกระทบต่อเนื่องไปยังถนนวิภาวดี, ถนนรัชวิภา และถนนพระราม 6 จึงต้องหามาตรการรองรับสถานการณ์ในอนาคต

แนวทางที่หารือ จึงมีความเป็นไปได้ว่าจะมีการขยายเส้นทางโดยรอบ สร้างเส้นทางพิเศษ ลักษณะเดียวกับระบบจราจรของสนามบิน และเชื่อมต่อทางเดินระหว่างสถานีรถไฟ กับรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน และรถไฟฟ้าสายสีแดง ให้มีความสะดวกยิ่งขึ้น เป็นการจูงใจให้ประชาชนลดการใช้รถยนต์ส่วนตัวเดินทางมา

นอกจากนี้ ยังมีการก่อสร้างสะพานลอยคนข้าม 3 แห่ง รอบพื้นที่สถานีรถไฟ และสถานีขนส่งหมอชิต เพื่อลดการใช้ทางม้าลาย ที่ส่งผลทำให้รถต้องหยุดรอคนข้ามถนน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42628
Location: NECTEC

PostPosted: 19/09/2018 1:11 pm    Post subject: Reply with quote

กฟน. พร้อมเต็มที่!! จ่ายระบบไฟฟ้าสถานีกลางบางซื่อ
ประชาสัมพันธ์

พุธที่ 19 กันยายน 2561 15:31น.
Click on the image for full size


วันนี้ (19 กันยายน 2561) นายชัยยงค์ พัวพงศกร ผู้ว่าการการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) พร้อมด้วย นายทนงศักดิ์ พงษ์ประเสริฐ รองผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย ร่วมแถลงข่าวโครงการก่อสร้างสถานีไฟฟ้า รองรับรถไฟฟ้าสายสีแดง และศูนย์คมนาคมพหลโยธิน (สถานีกลางบางซื่อ) ขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาล เพื่อเตรียมความพร้อมระบบไฟฟ้ารองรับการจ่ายไฟฟ้าให้รถไฟฟ้าทุกสายที่ผ่านสถานีกลางบางซื่อ และพื้นที่พัฒนาฯ ทั้งหมด ณ ห้องประชุม สำนักงานโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง (บางซื่อ - รังสิต) การรถไฟแห่งประเทศไทย ถนนกำแพงเพชร 6





นายชัยยงค์ พัวพงศกร ผู้ว่าการการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) เปิดเผยว่า ตามที่ กฟน. ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการขับเคลื่อนโครงการก่อสร้างสถานีกลางบางซื่อตามนโยบายของรัฐบาล รวมถึงรถไฟฟ้าสายสีแดง และรถไฟฟ้าความเร็วสูงทุกสายที่ผ่านสถานีกลางบางซื่อ โดยในปี 2553 ที่ผ่านมา กฟน. ได้ร่วมมือกับการรถไฟแห่งประเทศไทย ในการเตรียมความพร้อมระบบจำหน่ายไฟฟ้าในพื้นที่โดยรอบสถานีขนส่งมวลชนหรือ TOD (Transit Oriented District) เพื่อเป็น Smart City ในพื้นที่กว่า 2,235 ไร่ รวมถึงโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสาย สีแดง (บางซื่อ – รังสิต) และรถไฟฟ้าความเร็วสูงทุกสายที่ผ่านสถานีกลางบางซื่อ ซึ่งทั้งหมดจะเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ของอาเซียนในอนาคต ดังนั้น กฟน. จึงได้ดำเนินการก่อสร้างสถานีไฟฟ้าต้นทางบางซื่อเพื่อรองรับระบบจำหน่ายไฟฟ้าในพื้นที่ทั้งหมด โดยใช้งบประมาณลงทุนรวมทั้งสิ้น 1,275.75 ล้านบาท


ผู้ว่าการการไฟฟ้านครหลวง กล่าวเพิ่มเติมว่า ขณะนี้ กฟน. กำลังเร่งดำเนินก่อสร้างสถานีไฟฟ้าต้นทางบางซื่อ เป็นไปตามแผนงาน โดยสถานีไฟฟ้าบางซื่อมีศักยภาพในการรองรับปริมาณการใช้ไฟฟ้าได้สูงสุด 1,200 เอ็มวีเอ (MVA) เทียบเท่าประมาณ 5 เท่าของศักยภาพระบบจ่ายไฟฟ้าให้กับนิคมอุตสาหกรรมบางปู สำหรับการคาดการณ์ปริมาณการใช้ไฟฟ้าทั้งหมดแบ่งออกเป็น ปริมาณการใช้ไฟฟ้าสำหรับรถไฟฟ้าสายสีแดง รถไฟฟ้าความเร็วสูงทุกสายที่ผ่านสถานีกลางบางซื่อ เช่น รถไฟฟ้าความเร็วสูงกรุงเทพ-หนองคาย รถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบินแบบไร้รอยต่อ (สนามบินดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) และสถานีกลางบางซื่อ 300 เอ็มวีเอ และพื้นที่พัฒนาฯ อื่นๆ ที่จะเกิดขึ้นจากโครงการ Smart city อีก 300 เอ็มวีเอ นอกจากนี้ยังสามารถจ่ายไฟให้แก่พื้นที่โดยรอบที่อยู่ภายนอกโครงการได้อีก 600 เอ็มวีเอ รวมทั้งสิ้นประมาณ 1,200 เอ็มวีเอ ซึ่งมั่นคง เพียงพอ และมีกำลังไฟฟ้าสำรองที่พร้อมอย่างเต็มที่ ทั้งนี้ การดำเนินโครงการแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ในระยะแรกได้เตรียมพร้อมรองรับได้จำนวน 900 เอ็มวีเอ ส่วนในระยะที่สอง เมื่อมีการเพิ่มเติมรถไฟฟ้าเส้นทางอื่นๆ ในสถานีกลางบางซื่อ กฟน. ยังสามารถเพิ่มศักยภาพการจ่ายไฟฟ้าได้อีกจนครบ 1,200 เอ็มวีเอ นอกจากนี้ กฟน. ได้บูรณาการร่วมกับ กฟผ. เตรียมพร้อมระบบสำรองไฟฟ้าในกรณีเหตุฉุกเฉินโดยสามารถสับถ่ายเพื่อเชื่อมโยงระบบสายส่งไฟฟ้าแรงสูงจ่ายไฟฟ้าจากแหล่งจ่ายสถานีไฟฟ้าแรงสูงข้างเคียงของ กฟผ.ในพื้นที่โดยรอบจำนวนกว่า 3 สถานี (สถานีไฟฟ้าแจ้งวัฒนะ พระนครเหนือ และลาดพร้าว) รวมถึงการเชื่อมโยงจากสายส่งไฟฟ้าจากสถานีย่อยข้างเคียงของ กฟน. เอง ทำให้เพิ่มเสถียรภาพของระบบไฟฟ้าให้มีความมั่นคงยิ่งขึ้น

กฟน. พร้อมจ่ายระบบไฟฟ้าสถานีกลางบางซื่อ
พุธที่ 19 กันยายน 2561


นายชัยยงค์ พัวพงศกร ผู้ว่าการการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) เปิดเผยว่า ตามที่ กฟน. ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการขับเคลื่อนโครงการก่อสร้างสถานีกลางบางซื่อตามนโยบายของรัฐบาล รวมถึงรถไฟฟ้าสายสีแดง และรถไฟฟ้าความเร็วสูงทุกสายที่ผ่านสถานีกลางบางซื่อ โดยในปี 2553 ที่ผ่านมา กฟน. ได้ร่วมมือกับการรถไฟแห่งประเทศไทย ในการเตรียมความพร้อมระบบจำหน่ายไฟฟ้าในพื้นที่โดยรอบสถานีขนส่งมวลชนหรือ TOD (Transit Oriented District) เพื่อเป็น Smart City ในพื้นที่กว่า 2,235 ไร่ รวมถึงโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสาย สีแดง (บางซื่อ – รังสิต) และรถไฟฟ้าความเร็วสูงทุกสายที่ผ่านสถานีกลางบางซื่อ ซึ่งทั้งหมดจะเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ของอาเซียนในอนาคต ดังนั้น กฟน. จึงได้ดำเนินการก่อสร้างสถานีไฟฟ้าต้นทางบางซื่อเพื่อรองรับระบบจำหน่ายไฟฟ้าในพื้นที่ทั้งหมด โดยใช้งบประมาณลงทุนรวมทั้งสิ้น 1,275.75 ล้านบาท




ขณะนี้ กฟน. กำลังเร่งดำเนินก่อสร้างสถานีไฟฟ้าต้นทางบางซื่อ เป็นไปตามแผนงาน โดยสถานีไฟฟ้าบางซื่อมีศักยภาพในการรองรับปริมาณการใช้ไฟฟ้าได้สูงสุด 1,200 เอ็มวีเอ (MVA) เทียบเท่าประมาณ 5 เท่าของศักยภาพระบบจ่ายไฟฟ้าให้กับนิคมอุตสาหกรรมบางปู สำหรับการคาดการณ์ปริมาณการใช้ไฟฟ้าทั้งหมดแบ่งออกเป็น ปริมาณการใช้ไฟฟ้าสำหรับรถไฟฟ้าสายสีแดง รถไฟฟ้าความเร็วสูงทุกสายที่ผ่านสถานีกลางบางซื่อ เช่น รถไฟฟ้าความเร็วสูงกรุงเทพ-หนองคาย รถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบินแบบไร้รอยต่อ (สนามบินดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) และสถานีกลางบางซื่อ 300 เอ็มวีเอ และพื้นที่พัฒนาฯ อื่นๆ ที่จะเกิดขึ้นจากโครงการ Smart city อีก 300 เอ็มวีเอ นอกจากนี้ยังสามารถจ่ายไฟให้แก่พื้นที่โดยรอบที่อยู่ภายนอกโครงการได้อีก 600 เอ็มวีเอ รวมทั้งสิ้นประมาณ 1,200 เอ็มวีเอ ซึ่งมั่นคง เพียงพอ และมีกำลังไฟฟ้าสำรองที่พร้อมอย่างเต็มที่




ทั้งนี้ การดำเนินโครงการแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ในระยะแรก ได้เตรียมพร้อมรองรับได้จำนวน 900 เอ็มวีเอ ส่วน ในระยะที่สอง เมื่อมีการเพิ่มเติมรถไฟฟ้าเส้นทางอื่นๆ ในสถานีกลางบางซื่อ กฟน. ยังสามารถเพิ่มศักยภาพการจ่ายไฟฟ้าได้อีกจนครบ 1,200 เอ็มวีเอ นอกจากนี้ กฟน. ได้บูรณาการร่วมกับ กฟผ. เตรียมพร้อมระบบสำรองไฟฟ้าในกรณีเหตุฉุกเฉินโดยสามารถสับถ่ายเพื่อเชื่อมโยงระบบสายส่งไฟฟ้าแรงสูงจ่ายไฟฟ้าจากแหล่งจ่ายสถานีไฟฟ้าแรงสูงข้างเคียงของ กฟผ.ในพื้นที่โดยรอบจำนวนกว่า 3 สถานี (สถานีไฟฟ้าแจ้งวัฒนะ พระนครเหนือ และลาดพร้าว) รวมถึงการเชื่อมโยงจากสายส่งไฟฟ้าจากสถานีย่อยข้างเคียงของ กฟน. เอง ทำให้เพิ่มเสถียรภาพของระบบไฟฟ้าให้มีความมั่นคงยิ่งขึ้น




ด้านแผนดำเนินงาน กฟน. ได้กำหนดระยะเวลาดำเนินโครงการตั้งแต่วันที่ 15 ธ.ค. 60 ถึง 5 ธ.ค. 62 (รวมระยะเวลา 720 วัน) ซึ่งปัจจุบันอยู่ในระหว่างการก่อสร้างสถานีไฟฟ้า และคาดว่าจะเสร็จสิ้นทันกำหนดเริ่มจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับสถานีกลางบางซื่อและโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง (บางซื่อ - รังสิต) ที่จะเปิดให้บริการภายในเดือนมิถุนายน 2563 นี้ โดย กฟน. ยังได้ออกแบบระบบจำหน่ายไฟฟ้าในพื้นที่เป็นรูปแบบระบบสายไฟฟ้าใต้ดินทั้งหมด เพื่อให้มีความมั่นคงเสถียรภาพ และช่วยปรับทัศนียภาพให้สวยงามมีความปลอดภัย และนอกจากนี้ในอนาคต กฟน. ยังมีความพร้อมในการเชื่อมต่อระบบไฟฟ้ากับระบบการควบคุมจัดการที่ทันสมัยด้วย Smart Micro Grid สนับสนุนการใช้พลังงานในรูปแบบ Green Energy เป็นไปตามนโยบายลดการใช้พลังงานจาก fossil เพื่อพัฒนาสู่การเป็น Smart City ตามนโยบายรัฐบาลต่อไป
https://www.youtube.com/watch?v=nfmS-3hJu2U


Last edited by Wisarut on 28/09/2018 10:15 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42628
Location: NECTEC

PostPosted: 19/09/2018 9:13 pm    Post subject: Reply with quote


เพื่อนบ้านย่านอาเซียน พูดถึงสถานีกลางบางซื่อ
http://kwamkidhen.com/archives/8736
https://www.youtube.com/watch?v=k9Agn-hqado
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42628
Location: NECTEC

PostPosted: 24/09/2018 10:58 am    Post subject: Reply with quote

เมืองใหม่สมาร์ทซิตี้ชะงัก รอแผนแม่บทส่งเสริมลงทุน
เศรษฐกิจในประเทศ
วันที่ 22 กันยายน 2561 - 22:07 น.

เร่งแผนแม่บทสมาร์ตซิตี้ หลังผ่านมา 4 เดือนยังไม่มีใครได้รับ BOI อ้างเหตุสับสนขอบเขต เมืองอัจฉริยะคืออะไร รัฐตั้ง “ไพรินทร์” คุมพื้นที่ ฟากเอกชนตั้งเป้า “พหลโยธิน-ภูเก็ต-อมตะซิตี้” ด้าน ปตท.พร้อมแจม “บางซื่อ” เมืองอัจฉริยะ 3 แสนล้าน

นางสาวดวงใจ อัศวจินตจิตร์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(BOI) กล่าวถึงการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บอร์ด BOI) เมื่อเร็ว ๆนี้ว่า ที่ประชุมได้มีการรายงานความคืบหน้าของ “เมืองอัจฉริยะ (Smart City)” ต่อ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานบอร์ด หลังจากได้มีการอนุมัติมาตรการส่งเสริมลงทุนเมืองอัจฉริยะไปแล้ว ตั้งแต่วันที่ 9 พฤษภาคมที่ผ่านมา โดยสิ่งที่ยังคงต้องดำเนินการต่อไปก็คือ การกำหนดสเป็กว่า “แบบไหนถึงเรียกว่า smart city”เพื่อดูในรายละเอียดของโครงการ เนื่องจากในขณะนี้ยังไม่มี “แผนแม่บท Smart City” อย่างชัดเจน

“ขณะนี้หลักเกณฑ์ของเมืองอัจฉริยะยังไม่ออกประกาศอย่างเป็นทางการ เนื่องจากมันยังไม่มีความชัดเจน ตอนนี้ยังอยู่ระหว่างการหารือการทำงานกับคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ว่า ทำอย่างไรพื้นที่ธรรมดาถึงจะเป็น smart city ได้ ถึงจะใช้เวลานานในการทำรายละเอียด แต่เราก็เพิ่งจะเสนอมาตรการไป ภายในปีนี้ยังไงก็ต้องเกิด smart city ให้ได้ และเรื่องนี้ยังเกี่ยวข้องกับการวางผังเมืองด้วย มันไม่ใช่แค่เรื่องของการเอาอุปกรณ์ไปติดตั้งแล้วบอกว่า ชั้นเป็น smart city แต่ต้องมี road map ว่าด้วย smart city ให้ชัดกว่านี้” น.ส.ดวงใจกล่าว

ทั้งนี้ รัฐบาลมีการตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนา Smart City อยู่แล้วโดยมี พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน มีกรรมการมาจาก 3 กระทรวงหลัก ได้แก่ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม, กระทรวงพลังงาน และกระทรวงคมนาคม และยังมีคณะอนุกรรมการอีกหลายส่วนที่ดูแลเกี่ยวกับเรื่อง smart city อยู่

ยังไม่มีใครได้ BOI



ที่ผ่านมา คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ได้กำหนดมาตรการส่งเสริมการลงทุนกิจการเมืองอัจฉริยะ (smart city) เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน 6 ด้าน ได้แก่ ด้านคมนาคมขนส่ง (smart mobility) ด้านการศึกษาและความเท่าเทียมกันในสังคม (smart people) ด้านความปลอดภัย (smart living) ด้านความสะดวกในการทำธุรกิจ (smart economy) ด้านบริการจากภาครัฐ (smart governance) และด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม (smart energy & environment) โดยจะให้การส่งเสริมการลงทุนใน 2 ประเภทกิจการ คือ

1) ประเภทกิจการพัฒนาพื้นที่เมืองอัจฉริยะ 2) ประเภทกิจการพัฒนาระบบเมืองอัจฉริยะ โดยสิทธิประโยชน์ที่ได้รับจะ “ยกเว้น” ภาษีเงินได้นิติบุคคล 8 ปี (จำกัดวงเงิน) หากตั้งอยู่ใน EEC จะได้รับลดหย่อน 50% อีก 5 ปี แต่ที่ผ่านมาปรากฏคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ยังไม่ได้ให้การส่งเสริมกิจการเมืองอัจฉริยะ (smart city) แต่อย่างใด

ตั้ง “ไพรินทร์” ดูพื้นที่เอกชน

ด้านนายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) กล่าวว่า ในส่วนของการพัฒนาเมืองใหม่ให้เป็นเมืองอัจฉริยะ (smart city) นั้นแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่เป็นพื้นที่เก่าของรัฐอยู่แล้วจะถูกพัฒนาและเสนอให้เป็น smart city เช่น แหลมฉบัง, EECd-EECi กับส่วนที่เป็นพื้นที่ใหม่ของเอกชน เช่น ศรีราชา นิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ จ.ชลบุรี ที่ยื่นขอเข้ามา ล่าสุดจึงได้มีการแต่งตั้งให้ นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นผู้รับผิดชอบดูแลส่วนของพื้นที่ใหม่นี้

“smart city คือ พื้นที่เมือง ไม่ใช่เมืองอุตสาหกรรม ดังนั้น กฎระเบียบ-แพ็กเกจของ BOI ที่ออกมาจะต้องครอบคลุมไปในส่วนของพื้นที่เอกชนด้วย มาตรการส่งเสริมก็ต้องให้เหมาะกับพื้นที่ ตรงนี้ควรที่จะเป็น smart city ยังไง ยังมีหลายส่วนที่ยังต้องปรับแก้ไขกันอยู่” นายคณิศกล่าว

ด้านนายพันธ์ศักดิ์ ศิริรัชตะพงษ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กล่าวว่า smart city ตามแนวคิดของรัฐคือ การทำตามแผนโดยใช้ digital Thailand เพื่อให้ไทยเป็น 4.0 และต้องการให้โตทั้งในด้านเศรษฐกิจ-สังคม โดยใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม การวางโครงสร้างพื้นฐานจึงจำเป็น เป้าหมายจึงต้องการให้ทุกจังหวัดเป็น smart city ภายใน 5 ปี จากปัจจุบันมี 7 จังหวัดที่กำลังพัฒนาเป็นเป้าหมายของ smart city คือ ภูเก็ต (จะเห็นเป็นที่แรก), เชียงใหม่, ขอนแก่น, กรุงเทพฯ และ 3 จังหวัดในพื้นที่ EEC (ชลบุรี-ระยอง-ฉะเชิงเทรา)

นำร่องพหลฯ-ภูเก็ต-อมตะซิตี้

นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กล่าวถึงแผนจะพัฒนาโครงการเมืองอัจฉริยะ Smart City ใน 7 จังหวัด 10 พื้นที่ทั่วประเทศ ได้แก่ กรุงเทพฯ ที่ย่านพหลโยธิน จำนวน 2,325 ไร่ และย่านปทุมวันบริเวณจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ภูเก็ต, เชียงใหม่ บริเวณมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และย่านนิมมานเหมินท์, ชลบุรี ที่อมตะนคร-แหลมฉบัง, ระยอง ที่อำเภอเมือง, ฉะเชิงเทรา ที่อำเภอเมือง (แปดริ้ว) และขอนแก่น บริเวณมหาวิทยาลัยขอนแก่น

“เราจะนำร่องที่ย่านพหลโยธิน ภูเก็ต และอมตะนคร ให้เป็นรูปธรรมภายในปีนี้ เพื่อนำไปสู่เป้าหมายการเป็น ASEAN Smart City Network โดยย่านพหลโยธิน มีการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เป็นผู้รับผิดชอบโครงการ เนื่องเป็นเจ้าของที่ดิน และ ปตท.มีความสนใจจะร่วมพัฒนาด้วย” นายชัยวัฒน์กล่าว

ส่วนเกณฑ์การพิจารณาความเป็นเมืองอัจฉริยะ อยู่ระหว่างดำเนินการกำหนดเกณฑ์ ซึ่งในวันที่ 26 กันยายนนี้ คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนและบริหารโครงการเมืองอัจฉริยะ (Smart City) มี นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธาน จะมีการพิจารณาเรื่องนี้

“ผู้ที่จะเข้าเกณฑ์ว่าเป็นเมืองอัจฉริยะ ต้องทำเป็นแผนแม่บทการพัฒนาขึ้นมา พร้อมกับมีเจ้าภาพรับผิดชอบโครงการชัดเจน โดยแผนที่จะเสนอจะต้องมีอย่างน้อย 2 ด้านที่ต้องมี คือ ด้านพลังงาน และสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะ ที่เหลือจะเป็นด้านไหนก็ได้ แล้วแต่ผู้พัฒนาโครงการจะเสนอมาให้คณะกรรมการพิจารณา เมื่อผ่านเกณฑ์การพิจารณาแล้วถึงจะมีการขึ้นทะเบียนว่า พื้นที่นั้น ๆ เป็นเมืองอัจฉริยะ และไปยื่นขอสิทธิประโยชน์จากBOI ส่วนรูปแบบการลงทุนขึ้นอยู่กับการพิจารณาของแต่ละพื้นที่” นายชัยวัฒน์กล่าว

ปตท.แจม Smart City บางซื่อ

ด้านแหล่งข่าวจาก ร.ฟ.ท.กล่าวเพิ่มเติมว่า ที่ผ่านมา ปตท.สนใจจะลงทุน smart city ย่านบางซื่อ ซึ่ง ร.ฟ.ท. องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (ไจก้า) ร่วมกันศึกษารูปแบบการพัฒนาโครงการครอบคลุมพื้นที่ 2,325 ไร่ และจะนำผลศึกษาของ ปตท.มาร่วมพิจารณาด้วย โดยรูปแบบลงทุนให้เอกชนร่วมลงทุน PPP 30-50 ปี หรือรายบุคคลแบบเฉพาะเจาะจง ใน 15 ปีแรกใช้เงินลงทุน 358,700 ล้านบาท แบ่งพัฒนา 3 เฟส เฟสละ 5 ปี พัฒนา 9 โซนระยะสั้นลงทุน 40,100 ล้านบาท ระยะกลาง 167,100 ล้านบาท และระยะยาว 151,500 ล้านบาท แต่ละเฟสมีการลงทุน 5 ส่วน 1) เชิงพาณิชย์ เช่น ออฟฟิศ ร้านค้า โรงแรม คอนโดมิเนียม ศูนย์ประชุม 2) สิ่งอำนวยความสะดวก เช่น ระบบสมาร์ทซิตี้ 3) โครงข่ายคมนาคม เช่น BRT 4) โครงข่าย

การพัฒนาเพื่อสิ่งแวดล้อม เช่น สวนสาธารณะ ระบบกักเก็บน้ำ และ 5) โครงสร้างพื้นฐาน เช่น ถนน ไฟฟ้า ท่อระบายน้ำโดย 5 ปีแรกเริ่มพัฒนาโซน A 35 ไร่ ติดสถานีกลางบางซื่อ ขณะนี้ผ่านคณะกรรมการ PPP ไปแล้ว ให้สัมปทานเอกชนบริหาร 30 ปี ลงทุน 11,573 ล้านบาท

“ปตท.ร่วมกับญี่ปุ่นจะพัฒนาย่านบางซื่อเป็น smart city ต่อยอดกับโครงการเอ็นเนอร์ยี คอมเพล็กซ์ จะเริ่มจากลงทุนด้านอินฟราสตรักเจอร์อุปโภคบริโภค เช่น ระบบน้ำร้อน-น้ำเย็น ทดแทนการใช้แอร์ ช่วยประหยัดพลังงาน ระบบไฟฟ้า น้ำประปา อินเทอร์เน็ต และพลังงาน ขายในโครงการรองรับคนทำงานและอยู่อาศัยย่านบางซื่อ จากนั้นถึงจะเป็นการพัฒนาที่อยู่อาศัยและเชิงพาณิชย์ ซึ่ง ปตท.เสนอการร่วมทุนกับร.ฟ.ท. เป็นรูปแบบรัฐวิสาหกิจกับรัฐวิสาหกิจ” แหล่งข่าวกล่าว
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42628
Location: NECTEC

PostPosted: 24/09/2018 4:56 pm    Post subject: Reply with quote

รฟท.ชงสคร.เคาะประมูลที่ดินบางซื่อ
24 กันยายน 2561 - 16:16
รฟท. เล็งชง สคร. เคาะประมูลที่ดินบางซื่อ หมื่นล้าน คาด เปิดประมูลไตรมาสแรกปี 2562

นายวรวุฒิ มาลา รักษาการผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย หรือ รฟท. เปิดเผยถึงความคืบหน้าการจัดตั้งบริษัทลูกด้านทรัพย์สินว่า ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนจัดคาดว่าจะชัดเจนภายในปีหน้า สำหรับการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์สถานีกลางบางซื่อจะเริ่มจากแปลงเอ พื้นที่ 32 ไร่วงเงิน 1.1 หมื่นล้านบาทนั้นจะมีการประชุมคณะกรรมการร่วมทุนตามมาตรา 35 ในวันนี้ 26 ตุลาคม2561หากได้รับอนุมัติจะส่งเรื่องไปกระทรวงคมนาคมและสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ หรือ สคร. ต่อไป คาดว่าจะสามารถเปิดประมูลได้ในช่วงไตรมาสแรก 2562

ส่วนความคืบหน้าการก่อตั้งบริษัทลูกด้านเดินรถต้องชะลอการก่อตั้งออกไปก่อนเป็นปี 2562 เพราะต้องรอปรับโครงสร้างบริษัท รฟฟท. ที่ต้องบริหารแอร์พอร์ตลิงก์ต่ออีก 2 ปีภายหลังลงนามสัญญาโครงการสามสนามบิน ดังนั้นช่วงปลายปี 2562-2563 จะเร่งฝึกอบรมบุคลากรเพื่อเปิดบริการรถไฟสายสีแดงช่วงรังสิต-บางซื่อ ในเดือน มกราคม ปี 2562 เบื้องต้นคาดว่าปริมาณผู้โดยสารจะสามารถถึงจุดคุ้มทุนได้ตั้งแต่ปีแรกคือ 8 หมื่นคน/วัน


ขณะที่ความคืบหน้าโครงการรถไฟทางคู่ เฟส 2 วงเงิน 4 แสนล้านบาท ขณะนี้กระทรวงคมนาคมอยู่ระหว่างเสนอโครงการให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือ สศช. พิจารณาความเหมาะสมในการลงทุน เบื้องต้นคาดว่าจะสามารถเสนอเข้าสู่ ครม. ได้ภายในปลายปีนี้ก่อนทยอยเปิดประกวดราคาในช่วงไตรมาสแรกของปีหน้าเป็นรายเส้นทาง
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42628
Location: NECTEC

PostPosted: 22/10/2018 1:06 pm    Post subject: Reply with quote


จีนไต้หวันพูดถึงสถานีกลางบางซื่อ
https://www.youtube.com/watch?v=ZqJYy3TN2sI
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3, 4, 5, 6 ... 63, 64, 65  Next
Page 5 of 65

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©