RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311232
ทั่วไป:13179937
ทั้งหมด:13491169
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 185, 186, 187 ... 277, 278, 279  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 14/09/2018 10:28 am    Post subject: Reply with quote

ขสมก.-แอร์พอร์ตลิงก์ ลั่นใช้บัตรแมงมุมได้สิ้นปี – ถอยไม่ออกกฎหมายตั๋วร่วม

วันที่ 13 กันยายน 2561 - 21:02 น.

ขสมก.-แอร์พอร์ตลิงก์ ลั่นใช้บัตรแมงมุมได้สิ้นปี – ถอยไม่ออกกฎหมายตั๋วร่วม อาจใช้เป็นระเบียบสำนักนายกแทน
ขสมก.-แอร์พอร์ตลิงก์ใช้บัตรแมงมุม – นายสุเทพ พันธุ์เพ็ง กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด ผู้บริหารการเดินรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ เปิดเผยว่า สัปดาห์หน้า แอร์พอร์ตลิงก์จะลงนามกับบริษัท สมาร์ท เทคโนโลยีฯ ผู้ชนะการประมูลติดตั้งระบบตั๋วร่วม วงเงิน 105 ล้านบาท เนื่องจากขณะนี้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ได้จัดส่งสเป็กตั๋วร่วม (บัตรแมงมุม) เวอร์ชัน 2.5 มาให้แล้ว โดยหลังจากนี้ แอร์พอร์ตลิงก์จะเร่งติดตั้ง หัวอ่านและการปรับปรุงซอร์ฟแวร์บัตรแมงมุม ให้เป็น 2.5 คาดว่าภายในสิ้นปีนี้จะสามารถนำบัตรแมงมุมมาใช้กับแอร์พอร์ตลิงก์ได้

นายณัฐชาติ จารุจินดา ประธานกรรมการบริหารกิจการองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) เปิดเผยว่า ภายในปีนี้ระบบอี-ทิกเก็ตบนรถเมล์เวอร์ชั่น 2.5 จะแล้วเสร็จและสามารถรองรับบัตรแมงมุมได้ตามนโยบายของรัฐบาลแน่นอน โดยล่าสุด ขสมก. ติดตั้งระบบอี-ทิกเก็ต เวอร์ชั่น 2.0 บนรถเมล์ ขสมก. ไปแล้วจำนวน 100 คันแรก ส่วนที่เหลืออีกกว่า 2,000 คันนั้น ต้องกลับมาพิจารณาว่า จะติดตั้งอี-ทิกเก็ตเวอร์ชัน 2.0 ไปก่อน หรือจะติดตั้งเป็นเวอร์ชัน 2.5 ทั้งหมดในครั้งเดียว

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ยังไม่ได้ส่งหนังสือตรวจรับระบบอี-ทิกเก็ตบนรถเมล์ 100 คันแรกอย่างเป็นทางการ เพราะ ขสมก. ยังไม่ได้บอกเลิกการเช่าเครื่องเก็บค่าโดยสารแบบหยอดเหรียญอัตโนมัติ (Cash box) ที่ผูกอยู่ในสัญญาเดียวกัน จึงต้องให้ฝ่ายกฎหมายไปพิจารณาก่อนว่าควรดำเนินการอย่างไร สามารถออกหนังสือรับงานบางส่วนได้หรือไม่


แหล่งข่าวจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าของการผลักดัน พ.ร.บ.การบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม พ.ศ. … ว่า ขณะนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีแนวคิดให้เปลี่ยน พ.ร.บ.การบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม เป็นการออกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีแทน เนื่องจากการออกระเบียบสำนักนายกฯ มีความรวดเร็วกว่า และโครงสร้างการบริหารตั๋วร่วมในปัจจุบัน ก็เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม จึงไม่จำเป็นต้องใช้กฎหมายในระดับ พ.ร.บ. มารองรับ

เช่น การบริหารตั๋วร่วมไม่จำเป็นต้องจัดตั้งบริษัทใหม่แล้ว เพราะ รฟม. จะเป็นผู้ดำเนินการแทน นอกจากนี้ ไม่จำเป็นต้องจัดตั้งกองทุนตั๋วร่วม เพราะการบริหารตั๋วร่วมไม่ได้สร้างรายได้ จึงจะให้ใช้วิธีขอรับการอุดหนุนค่าโดยสารหรือค่าแรกเข้าจากรัฐบาลเป็นครั้งๆ ไป

ทั้งนี้ หากกระทรวงคมนาคมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตัดสินใจออกระเบียบสำนักนายกฯ ตามแนวคิดดังกล่าว ก็จะสามารถดำเนินการออกระเบียบและบังคับใช้ได้อย่างรวดเร็ว ภายใน 3-4 เดือน ส่วนการผลักดัน พ.ร.บ. ก็สามารถดำเนินการคู่ขนานกันไป เพื่อรองรับการใช้ตั๋วร่วมที่จะขยายตัวมากขึ้นในอนาคต
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 14/09/2018 3:38 pm    Post subject: Reply with quote


แผนการสร้างรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล
https://www.youtube.com/watch?v=LCXvWbg1ZZk
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 14/09/2018 6:09 pm    Post subject: Reply with quote

กรุงไทย จับมือ รฟม. เปิดตัว “กรุงไทย บัตรเดบิตเเมงมุม” รุกตลาดบัตรเดบิตคมนาคม
วันที่ 14 กันยายน 2561 - 12:45 น.

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และ นายผยง ศรีวณิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย ร่วมแถลงข่าวเปิดตัว กรุงไทย บัตรเดบิตแมงมุม บัตรเดบิตบัตรแรกในประเทศไทยที่รวมความสะดวกด้านการใช้จ่าย และความสบายในการเดินทางไว้ในบัตรเดียว ที่สถานีรถไฟฟ้าเตาปูน เขตบางซื่อ

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ กล่าวว่า รฟม. ในฐานะหน่วยงานที่รับผิดชอบและกำกับดูแลการให้บริการรถไฟฟ้ามหานครสายปัจจุบันทั้ง 2 สาย คือ สายเฉลิมรัชมงคล (MRT สายสีน้ำเงิน) และสายฉลองรัชธรรม (MRT สายสีม่วง) และสนับสนุนโครงการการพัฒนาระบบตั๋วร่วม (Common Ticketing System) ตามนโยบายของรัฐบาลและกระทรวงคมนาคม เพื่อความสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย ในการเชื่อมต่อการเดินทางทุกรูปแบบ ให้กับประชาชน จึงได้ร่วมกับธนาคารกรุงไทยออกบัตรเดบิต Co-Brand ซึ่งปัจจุบันสามารถใช้โดยสารรถไฟฟ้า MRT ได้ทั้ง 2 สาย และในอนาคตจะขยายบริการให้ระบบตั๋วร่วมใช้กับแอร์พอร์ตลิงค์ และรถประจำทาง ขสมก. รวมถึงเครือข่ายแมงมุมอื่นในอนาคต นับเป็นการยกระดับคุณภาพการให้บริการที่ตอบสนองความต้องการและสอดคล้องกับรูปแบบการใช้ชีวิตของคนเมือง ตลอดจนเป็นการส่งเสริมและกระตุ้นให้ประชาชนหันมาใช้บริการขนส่งสาธารณะมากยิ่งขึ้น



นายผยง ศรีวณิช เปิดเผยว่า ในฐานะธนาคารพาณิชย์ของรัฐ มีส่วนร่วมในการสนับสนุนโครงการ National e-Payment ของภาครัฐ ที่ต้องการวางโครงสร้างพื้นฐานอิเล็กทรอนิกส์ให้ครอบคลุมทุกภาคส่วน เพื่อขับเคลื่อนสังคมไทยสู่สังคม ไร้เงินสด โดยความร่วมมือครั้งยิ่งใหญ่นี้ ธนาคารตั้งเป้าหมายเป็นผู้นำด้านบัตรเดบิตสำหรับเดินทาง ด้วยการออก กรุงไทย บัตรเดบิตแมงมุม (Krungthai Metro Link) ซึ่งเป็นบัตรเดบิตที่สามารถใช้สำหรับเดินทาง และใช้เบิก ถอน หรือโอนเงินสด รวมทั้งใช้ซื้อสินค้าและบริการได้ทั่วโลก ณ ร้านค้าที่มีสัญลักษณ์ Mastercard ซึ่งเป็นการรวมความสะดวกด้านการใช้จ่าย และ ความสบายในการเดินทาง ทำให้การเดินทางง่าย ใช้จ่ายคล่องตัว จบในบัตรเดียว

“การออกกรุงไทย บัตรเดบิตแมงมุมเป็นการนำเสนอบริการและนวัตกรรมทางการเงินที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่ใช้ระบบขนส่งมวลชน (Mass Transit) ซึ่งไม่เพียงสอดล้องกับนโยบายภาครัฐ แต่ยังเป็น 1 ใน5 Ecosystems ที่เป็นยุทธศาสตร์หลักของธนาคาร นอกเหนือจากกลุ่มหน่วยงานภาครัฐ (Government) ระบบการจ่ายเงินอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ (Payment Systems) กลุ่มด้านสุขภาพและการรักษาพยาบาล (Health and Medical) และ กลุ่มมหาวิทยาลัยและโรงเรียน (University and Education) โดยจะเริ่มให้บริการตั้งแต่ปลายเดือนกันยายนนี้เป็นต้นไป พร้อมจัดโปรโมชั่นยกเว้นค่าธรรมเนียมแรกเข้า 100 บาท

สำหรับผู้สมัคร กรุงไทย บัตรเดบิตแมงมุม และรับเครดิตเงินคืน 30 บาท ต่อเดือน เมื่อเติมเงิน 300 บาท (สูงสุดไม่เกิน 90 บาท) จำนวน 20,000 ตลอดระยะเวลาโปรโมชั่น จนถึงสิ้นเดือนพฤศจิกายนนี้ นอกจากนี้ธนาคารยังจะเปิดเคาน์เตอร์พิเศษสำหรับผู้สนใจสมัครบัตร ณ จุดรับสมัครตามสถานีและจุดเชื่อมต่อรถไฟฟ้า ได้แก่ สถานีรถไฟฟ้า MRT เตาปูน เพชรบุรี ลาดพร้าว สุขุมวิท พหลโยธิน และบางใหญ่ ในเดือนตุลาคม 2561”
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 18/09/2018 10:32 am    Post subject: Reply with quote

ลุ้น คจร.เคาะต่อขยายสีเหลืองเชื่อมรัชโยธิน และระบบขนส่งขอนแก่น-พิษณุโลก
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 18 กันยายน 2561 - 07:31
ปรับปรุง: 18 กันยายน 2561 - 09:58




รฟม.ลุ้น คจร.19 ก.ย.เคาะต่อขยายโมโนเรลสีเหลือง จากรัชดา-ลาดพร้าว ถึงแยกรัชโยธิน เพื่อบรรจุในแผนแม่บทฯ ก่อนเดินหน้าเจรจาผลประโยชน์และส่วนแบ่งรายได้เพิ่มกับกลุ่มบีทีเอส ด้าน สนข.เสนอผลศึกษาแก้จราจร เมืองขอนแก่นผุดรถไฟฟ้ารางเบา ส่วนพิษณุโลกเสนอแทรมล้อยาง

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า รฟม.ได้เสนอผลการศึกษารายละเอียดความเหมาะสม ออกแบบ และศึกษาวิเคราะห์โครงการตามพระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556 โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูส่วนต่อขยาย ช่วงสถานีศรีรัช-เมืองทองธานี ระยะทาง 2.8 กม. และรถไฟฟ้าสายสีเหลืองส่วนต่อขยาย ช่วงแยกรัชดา-ลาดพร้าว ระยะทาง 2.6 กม. ไปยังกระทรวงคมนาคมแล้ว และคาดว่าจะได้รับการเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) ภายในเดือน ก.ย.นี้ เพื่อเพิ่มเติมในแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล

ในการศึกษาส่วนต่อขยายทั้ง 2 โครงการ คณะกรรมการ (บอร์ด) รฟม.ได้เห็นชอบแล้วซึ่งเป็นข้อเสนอซองที่ 3 (เพิ่มเติม) ของกิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ ซึ่งสายสีชมพูแม้ไม่ได้ต่อขยายจากปลายทางเหมือนสายสีเหลือง และยังเข้าไปเชื่อมต่อกับพื้นที่ของเอกชน แต่ถือว่าเป็นชุมชนขนาดใหญ่ มีศูนย์แสดงสินค้าที่ประชาชนจำนวนมากเข้าไปใช้ประโยชน์ จึงถือเป็นส่วนต่อขยายจากโครงการเดิม โดยเอกชนจะลงทุนก่อสร้างงานโยธาทั้งหมด ขณะที่ รฟม.จะเจรจากับบริษัทนอร์ทเทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด หรือ NBM (กิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ ได้ตั้งขึ้นดำเนินโครงการ) ในผลประโยชน์และส่วนแบ่งรายได้ที่เพิ่มขึ้นจากการต่อเชื่อมเข้าไปยังเมืองทองธานี

ส่วนต่อขยายสายแยกอิมแพ็คลิงก์ จากสถานีศรีรัช วิ่งเข้าซอยแจ้งวัฒนะ-ปากเกร็ด 39 ไปจนสุดศูนย์ฯ อิมแพ็ค ระยะทาง 3.7 กม. มี 2 สถานี คือ อิมแพ็คชาลเลนเจอร์(MT01) และสถานีทะเลสาบเมืองทองธานี (MT02)

สายสีเหลืองส่วนต่อขยาย ระยะทาง 2.6 กิโลเมตร คาดวงเงินค่าก่อสร้าง 3,800 ล้านบาท (แยกรัชดา-ลาดพร้าว ถึงแยกรัชโยธิน) 2 สถานี คือ YLEX-01 อยู่หน้าอาคารจอดรถของสำนักงานศาลยุติธรรมใช้แนวเกาะกลาง แล้วเบี่ยงแนวเส้นทางออกจากเกาะกลางไปทางซ้ายตามแนวถนนรัชดาภิเษกเพื่อหลบอุโมงค์ทางลอดบริเวณแยกรัชโยธิน และสถานี YLEX-02 อยู่เหนือทางเท้าบริเวณสถานีตำรวจนครบาลพหลโยธิน และมีทางเดินเชื่อมยกระดับ (Skywalk) ไปยังสถานีพหลโยธิน 24 ของโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต (ซึ่งกิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ได้ตั้ง บริษัท อีสเทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด หรือ EBM ดำเนินการ)

รายงานข่าวแจ้งว่า คจร.จะประชุมในวันที่ 19 ก.ย.นี้ จะมีการพิจารณาโครงการส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีเหลืองช่วงแยกรัชดา-ลาดพร้าว ถึงแยกรัชโยธิน ส่วนต่อขยายสายสีชมพูยังเสนอไม่ทันในครั้งนี้ และเสนอแนวทางและผลการศึกษาการพัฒนาพื้นที่และทางสัญจรเลียบแม่น้ำเจ้าพระยา

นอกจากนี้ จะมีการเสนอรายงานผลการศึกษาออกแบบรายละเอียดระบบขนส่งสาธารณะในเขตจังหวัดขอนแก่น ซึ่งจะเป็นรถไฟฟ้ารางเบา เส้นทางในแนวเหนือ-ใต้ (บ้านสำราญ ตำบลสำราญ-ตำบลท่าพระ อำเภอเมืองขอนแก่น) ระยะทางประมาณ 22.8 กม. วงเงิน 26,900 ล้านบาท

และผลการศึกษาความเหมาะสมและออกแบบระบบขนส่งสาธารณะเมืองพิษณุโลก โดยมี 6 เส้นทาง ระยะทางรวม 83.05 กม. มูลค่าก่อสร้าง 2,607 ล้านบาท โดยจะลงทุนสายสีแดงระยะทาง 12.6 กม. ซึ่งเป็นรถรางล้อยาง (Auto Tram) วงเงิน 762 ล้านบาท ก่อน ส่วนอีก 5 เส้นทางจะเป็นรูปแบบรถโดยสาร หรือไมโครบัส
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 19/09/2018 2:39 pm    Post subject: Reply with quote

สนข.เร่งดันรถไฟฟ้า LRT ผุดตามเมืองภูมิภาค แก้ปัญหาจราจรยั่งยืน
วันอังคารที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2561


จากนโยบายของกระทรวงคมนาคมที่ได้มอบหมายให้ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) จัดทำแผนแม่บทการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะในเมืองภูมิภาค ซึ่งเป็นภารกิจหลักภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งของไทย ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580) ซึ่งได้ดำเนินการจัดทำแผนแม่บทไปแล้วใน 5 เมืองหลัก ได้แก่ เชียงใหม่ ขอนแก่น นครราชสีมา พิษณุโลก และภูเก็ต

ล่าสุด สนข.นำสื่อมวลชนศึกษาและสำรวจเส้นทางโครงการรถไฟฟ้ารางเบา หรือ Light Rail Transit System (LRT) จ.เชียงใหม่ พร้อมจัดกิจกรรม “Ready Together with OTP” เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้การพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะและความปลอดภัยในการใช้รถ ใช้ถนน ในจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อสร้างการรับรู้ให้แก่ประชาชนชาวเชียงใหม่ เกี่ยวกับการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะในจังหวัด รวมทั้งเป็นการรณรงค์ส่งเสริมให้ประชาชนหันมาใช้ระบบขนส่งสาธารณะแทนการใช้ยานพาหนะส่วนตัว เพื่อลดการใช้พลังงานในภาคการขนส่ง ลดปัญหาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมลดปัญหาอุบัติเหตุทางถนน และสามารถแก้ไขปัญหาจราจรของจังหวัดเชียงใหม่ได้อย่างยั่งยืนต่อไป



นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยว่า โครงการรถไฟฟ้ารางเบาเชียงใหม่ ที่มติที่ประชุม คจร.ได้มอบหมายให้ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ไปดำเนินโครงการนั้น อยู่ระหว่างการเตรียมพื้นที่และออกพระราชกฤษฎีกาเวนคืนที่ดิน (พ.ร.ฎ.) พร้อมทั้งศึกษารูปแบบการลงทุน โดยจะเดินหน้าสายสีแดง (ศูนย์ราชการฯ-สนามบิน-แม่เหียะ) ระยะทาง 12 กม. วงเงิน 24,000 ล้านบาท เส้นทางเริ่มต้นจากแยกแม่เหียะสมานสามัคคี (แยกบิ๊กซีหางดง)-สนามบินเชียงใหม่-เซ็นทรัลแอร์พอร์ต-ม.เชียงใหม่ (สวนดอก)-รพ.มหาราชฯ-วัฒโนทัยพายัพ-สถานีขนส่งช้างเผือก-ม.ราชภัฎเชียงใหม่-สนามกีฬาสมโภช 700 ปี-ศูนย์ประชุมฯนานาชาติ-รพ.นครพิงค์ ถือเป็นเส้นทางที่เชื่อมกิจกรรมหลักของคนในเมือง เช่น สนามบิน มหาวิทยาลัย โรงเรียน และโรงพยาบาล เป็นต้น

ทั้งนี้ การเสนอรูปแบบการลงทุนเอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (พีพีพี) นั้น ต้องการให้ท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมกับเอกชนในพื้นที่ โดยรัฐบาลจะลงทุนระบบโครงสร้างพื้นฐาน ขณะที่ท้องถิ่นอาจจะจ้างบริษัทเอกชนเข้ามาเดินรถ หรือร่วมกับเอกชนที่มีเทคโนโลยีด้านการเดินรถเข้ามาบริหารจัดการเดินรถ ทั้งนี้ การลงทุนสร้างโครงการดังกล่าว ต้องดึงเอกชนต่างชาติเข้ามา เพื่อเรียนรู้ระบบการซ่อมบำรุงรถไฟฟ้า และอาศัยประสบการณ์ของชาวต่างชาติที่มีความสนใจมาก ทั้งสเปน ฝรั่งเศส จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้



อย่างไรก็ดี ก่อนหน้านี้ สนข. เคยศึกษาระบบขนส่งสาธารณะในเชียงใหม่แล้วเมื่อปี 2552 ผลการศึกษาเป็นระบบ BRT และตอนนั้นปัญหาการจราจรยังไม่มาก ทำให้ประชาชนต่อต้านจำนวนมากและโครงการไปต่อไม่ได้นั้น นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี จึงได้มีข้อสั่งการ พร้อมให้แนวคิดการนำระบบขนส่งสาธารณะพัฒนาเมืองภูมิภาคว่า จะต้องให้ประชาชนในพื้นที่เป็นเจ้าของหรือมีส่วนร่วมของโครงการนั้น สนข.จึงเดินหน้าสร้างการรับรู้ให้กับประชาชนในพื้นที่

สำหรับรถไฟฟ้ารางเบาเชียงใหม่นั้น สนข. เสนอให้ก่อสร้างพร้อมกันทั้ง 3 สาย รวมระยะทาง 35 กม. วงเงินลงทุน 1 แสนล้านบาท ประกอบด้วย 1.สายสีแดง (ศูนย์ราชการฯ-สนามบิน-แม่เหียะ) ระยะทาง 12 กม. 2.สายสีน้ำเงิน (สวนสัตว์เชียงใหม่-ท่าแพ-ดอนจั่น) 11 กม. และ 3.สายสีเขียว (แม่โจ้-กาดหลวง-สนามบิน) 12 กม. แต่ประชาชนเชียงใหม่อยากได้ระบบใต้ดินทำให้โครงการรถไฟฟ้ารางเบามีต้นทุนก่อสร้างสูงถึง 3 เท่า แต่ถ้าวิ่งบนดินทำให้ต้นทุนก่อสร้างถูกกว่า 3 เท่า เลยนำร่องสายสีแดงก่อน อย่างไรก็ดี จะเร่งรัดให้ทาง รฟม. เริ่มต้นก่อสร้างให้ได้ภายในปี 2562 หรือต้นปี 2563 ใช้ระยะเวลาก่อสร้าง 5 ปี คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2567



นายชัยวัฒน์ ยังกล่าวถึงความคืบหน้าโครงการศึกษาออกแบบรายละเอียดระบบขนส่งสาธารณะในเขตจังหวัดภูมิภาค ว่า โครงการรถไฟฟ้ารางเบาในต่างจังหวัดที่ คจร. เห็นชอบแล้ว ได้แก่ เชียงใหม่ ภูเก็ต นครราชสีมา ซึ่งได้โอนให้ รฟม. ดำเนินการต่อทั้งหมด โดยจ.ภูเก็ต ทางภาคเอกชนและท้องถิ่นเริ่มตั้งบริษัท ภูเก็ตพัฒนาเมือง เข้าร่วมพัฒนา ส่วนโคราชและเชียงใหม่ อยู่ระหว่างศึกษาความเหมาะสมรูปแบบการให้เอกชนร่วมทุนรูปแบบพีพีพี

ส่วนจ.ขอนแก่นและพิษณุโลก ทางสนข.เตรียมเสนอโครงการศึกษาฯ และผลกระทบสิ่งแวดล้อม รถไฟฟ้ารางเบาขอนแก่น และเมืองพิษณุโลก เข้าที่ประชุมคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) พิจารณาเห็นชอบภายในเดือน ก.ย. 2561 นี้ จากนั้นจะมอบให้ท้องถิ่นดำเนินการต่อไป โดยจะต้องดำเนินการก่อสร้างตามกฎหมายท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง เช่น ขออนุญาตกระทรวงมหาดไทย เป็นต้น
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 26/09/2018 2:37 pm    Post subject: Reply with quote

รฟม.เร่งเปิดรถไฟฟ้า4สายภายในปี62
26 กันยายน 2018 - 13:44
รฟม. เร่งเปิดบริการรถไฟฟ้า 4 สายภายในปี 2562 ล่าสุด งานก่อสร้างสายสีเขียวเหนือหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต คืบหน้ากว่า77%


นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวภายหลังลงพื้นที่ตรวจสอบความคืบหน้า โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเขียวช่วง หมอชิต -สะพานใหม่-คูคต ว่า ปัจจุบันมีความก้าวหน้ากว่า 77% แล้ว โดย การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย หรือ รฟม. ได้ดำเนินการก่อสร้างโครงสร้างทางวิ่งและสถานีรถไฟฟ้าแล้วเสร็จทั้งหมด 16 สถานี ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการทำงานด้านสถาปัตยกรรมและงานระบบไฟฟ้าเครื่องกล รวมถึงการคืนผิวจราจร โดยจากการลงพื้นที่พบว่าสถานีกรมทหารราบที่ 11 เป็นสถานีที่มีความคืบหน้ามากที่สุด กว่า 80%

ทั้งนี้ คาดว่าจะเปิดให้บริการได้กลางปี 2562 และ กรุงเทพมหานคร จะเข้าติดตั้งงานระบบรถไฟฟ้า ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จและเปิดให้บริการได้ภายในปี 2563

ส่วนความคืบหน้าโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสายสีเขียวใต้ ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ อยู่ระหว่างทดสอบระบบการเดินรถคาดจะเปิดให้บริการปลายปีนี้ ขณะที่ สายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย ช่วงหัวลำโพง – บางแค และช่วงเตาปูน – ท่าพระ ปัจจุบันมีความคืบหน้าในการดำเนินงานก่อสร้าง 97.69% มีแผนการเปิดให้บริการ 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ช่วงหัวลำโพง – ท่าพระ – หลักสอง เปิดบริการเดือนกันยายน 2562 และระยะที่ 2 ช่วงเตาปูน – ท่าพระ เปิดบริการปลายปี2562 ซึ่งจะทำให้สามารถเปิดให้บริการตลอดสาย ทุกสถานี ทั้งโครงการได้ในเดือนกุมภาพันธ์ 2563
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 28/09/2018 11:46 am    Post subject: Reply with quote

ตั๋วร่วมรอ มี.ค. 62! สนข.เผยใช้บัตรแมงมุม-บัตรคนจนขึ้นรถเมล์และแอร์พอร์ตลิงก์ได้
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 27 กันยายน พ.ศ. 2561 19:08
ปรับปรุง: 28 กันยายน พ.ศ. 2561 10:13




สนข.คาดใช้บัตรแมงมุมและบัตรคนจนใช้ขึ้นรถเมล์และแอร์พอร์ตลิงก์ได้ใน มี.ค. 62 พร้อมอัปเกรดเทคโนโลยีเป็นแมงมุมระบบ EMV คาดว่าใช้ได้กับรถไฟฟ้าทุกสายและรถเมล์ใน ธ.ค. 62 เทคโนโลยีใหม่เชื่อมโยงทุกระบบการเดินทางด้วยบัตรมาตรฐานสากลเพียงใบเดียว ทั้งเดินทาง และชอปปิ้ง

นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยถึงการนำเทคโนโลยีบัตร EMV (Europay Mastercard and Visa) Contactless Smart Card (Open Loop) มาใช้กับระบบตั๋วร่วม บัตรแมงมุมของไทย ว่า เทคโนโลยี EMV จะช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนในการเดินทางและการชำระเงิน รวมทั้งสามารถเข้าถึงการเดินทางได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ลดระยะเวลา และเพิ่มความคล่องตัวในการเดินทางของประชาชน ซึ่งที่ผ่านมาได้มีการพัฒนาบัตรแมงมุมหรือบัตรตั๋วร่วมของไทยมาเป็นระยะ

โดยวันที่ 22 มิถุนายน 2561 เปิดตัวบัตรแมงมุม (ระบบตั๋วร่วมภายใต้มาตรฐานระบบ ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย หรือ รฟม.) โดยมีการแจกจ่ายบัตร จำนวน 2 แสนใบให้แก่ประชาชน และสามารถเริ่มใช้ได้กับรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนสายเฉลิมรัชมงคล (สายสีน้ำเงิน) และสายฉลองรัชธรรม (สายสีม่วง) ตั้งแต่วันที่ 23 มิถุนายน 2561 เป็นต้นมา และอยู่ระหว่างดำเนินการขยายการใช้บัตรแมงมุมกับระบบรถโดยสารประจำทางขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) และระบบรถไฟฟ้า Airport Rail Link ได้ภายในเดือนมีนาคม 2562 เป็นต้นไป

รูปแบบของบัตรแมงมุม แบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่ 1. บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ซึ่งกระทรวงการคลังออกให้ตามมาตรฐานกลางระบบตั๋วร่วม (แมงมุม) โดยเป็นบัตรไฮบริด (Hybrid) ที่มี 2 ชิปการ์ด (Contact และ Contactless) รวมอยู่ในบัตรเดียว และมีแถบแม่เหล็ก เป็นบัตรที่มาตรฐานกลางระบบตั๋วร่วม (แมงมุม) โดยชิปการ์ดตัวหนึ่งเพื่อการใช้บริการรถโดยสารประจำทางตามมาตรฐานกลางระบบตั๋วร่วม (แมงมุม) ส่วนชิปการ์ดอีกตัวหนึ่งจะใช้ร่วมกับเครื่องรับชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Data Capture : EDC) เพื่อใช้ชำระค่าไฟฟ้า ค่าน้ำประปา ค่าโดยสารรถไฟ ค่าโดยสารรถ บขส. และซื้อสินค้าร้านธงฟ้า บนตัวบัตรจะมีรูปแสดงตัวตนของเจ้าของสิทธิ และด้านหลังบัตรจะมีสัญลักษณ์แมงมุม

ทั้งนี้ กรมบัญชีกลางได้ดำเนินการแจกจ่ายบัตรสวัสดิการแห่งรัฐตามมาตรฐานกลางระบบตั๋วร่วม (แมงมุม) ให้แก่ประชาชนผู้มีสิทธิ ตามโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ ปี 2560 ในเขตกรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี จังหวัดปทุมธานี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดนครปฐม และจังหวัดสมุทรสาคร จำนวนประมาณ 1.3 ล้านใบ เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2560 เพื่อใช้ชำระค่าโดยสารรถโดยสารประจำทางของ ขสมก. ระบบ e–Ticket และสนับสนุนมาตรการลดภาระค่าครองชีพของประชาชนด้านการเดินทาง “รถเมล์ฟรี” ของรัฐบาล โดยผู้มีสิทธิได้เริ่มใช้งานได้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2560 เป็นต้นมา

วันที่ 6 กรกฎาคม 2561 รฟม. ได้เปิดให้ผู้มีสิทธิที่ได้รับบัตรสวัสดิการแห่งรัฐดังกล่าว สามารถนำบัตรสวัสดิการแห่งรัฐมาลงทะเบียนบัตรใหม่อีกครั้ง (Reinitialize) ซึ่งสามารถใช้บัตรสวัสดิการแห่งรัฐกับบริการระบบรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน และสายสีม่วง ได้ตั้งแต่วันที่ 20 กรกฎาคม 2561 และอยู่ระหว่างดำเนินการขยายการให้บริการสำหรับผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐให้สามารถใช้ได้กับระบบรถโดยสารประจำทางของ ขสมก. คาดว่าจะเริ่มทยอยใช้งานกับรถโดยสารธรรมดาได้ภายในเดือนตุลาคม 2561 เป็นต้นไป และใช้งานได้ครบทุกประเภทรถภายในเดือนมกราคม 2562 ส่วนระบบรถไฟฟ้า Airport Rail Link คาดว่าจะสามารถเริ่มใช้ได้ภายในเดือนมกราคม 2562 เป็นต้นไป

ขณะที่ธนาคารกรุงไทยได้ร่วมกับ รฟม.ออก “บัตรเดบิตเเมงมุม” หรือ “บัตรกรุงไทย เมโทร ลิงค์ (Krungthai Metro Link)” ซึ่งเป็นบัตรแบบไฮบริด (Hybrid) ที่มี 2 ชิปการ์ด ประกอบด้วย บัตรเดบิตมาสเตอร์การ์ด และบัตรแมงมุม โดยบัตรเดบิตใช้สำหรับการเบิก ถอน หรือโอนเงินสด รวมทั้งซื้อสินค้าและบริการได้ทั่วโลก ณ ร้านค้าที่มีสัญลักษณ์มาสเตอร์การ์ด (Mastercard) และบัตรแมงมุมใช้เป็นบัตรโดยสารระบบขนส่งมวลชนตามเครือข่ายการเดินทางของบัตรแมงมุม ซึ่งปัจจุบันสามารถใช้ชำระค่าโดยสารระบบรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน และสายสีม่วง เป็นการใช้จ่ายและการเดินทางด้วยบัตรเพียงใบเดียว

ธนาคารกรุงไทยได้เริ่มเปิดตัวบัตรครั้งแรกเมื่อวันที่ 14 กันยายน 2561 และเริ่มเปิดจำหน่ายบัตรตั้งแต่วันที่ 27 กันยายน 2561 เป็นต้นไป จำนวน 71 สาขา และจะทยอยเปิดจำหน่ายให้ครบ 343 สาขา พร้อมทั้งจัดรายการส่งเสริมการขาย โดยยกเว้นค่าธรรมเนียมแรกเข้า 100 บาท สำหรับผู้สมัครบัตรและรับเครดิตเงินคืน 30 บาทต่อเดือนต่อบัตร (สูงสุดไม่เกิน 90 บาท) เมื่อเติมเงิน 300 บาท และชำระด้วยบัตรเดบิตแมงมุมใบเดียวกัน จำกัดจำนวน 20,000 สิทธิ์ต่อเดือน ตลอดรายการส่งเสริมการขายจนถึงสิ้นเดือนพฤศจิกายน 2561

ทั้งนี้ การใช้งานบัตรครั้งแรกกับบริการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน และสายสีม่วง ผู้โดยสารต้องนำบัตรไปแตะเพื่อซิงก์เข้ากับระบบหัวอ่านแมงมุมก่อนที่บริเวณช่องห้องขายตั๋วบนสถานีรถไฟฟ้า เพื่อเริ่มการใช้งานบัตรกับระบบรถไฟฟ้าสายดังกล่าว สำหรับการเติมเงิน สามารถเติมเงินผ่านบัตรได้ที่สถานีรถไฟฟ้า ขณะนี้ รฟม.อยู่ระหว่างการพัฒนาระบบโมบายล์แอปพลิเคชันร่วมกับธนาคารกรุงไทย เพื่อให้ผู้โดยสารสามารถเติมเงินบัตรแมงมุมผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้ คาดว่าจะเปิดให้บริการได้ภายในต้นปี 2562

สำหรับการพัฒนาก้าวต่อไปสู่ “บัตรแมงมุมระบบ” EMV (Europay Mastercard and Visa) การชำระค่าโดยสารระบบขนส่งมวลชนนั้น ได้เริ่มมีการเปลี่ยนมาใช้มาตรฐานระบบ EMV โดยในปี 2557 เมืองลอนดอน สหราชอาณาจักร ได้เริ่มทดลองการนำ EMV มาใช้ในการชำระค่าโดยสารควบคู่กับบัตร Oyster Card เพื่อแก้ปัญหาเรื่องค่าใช้จ่ายในการออกบัตรและบำรุงรักษาระบบ รวมทั้งความล่าช้าของผู้โดยสารในกรณีที่เงินในบัตรหมด

ในช่วงเวลาเร่งด่วน การทดลองใช้ในช่วงแรกยังติดปัญหาเรื่องความเร็วในการอ่านบัตร และได้มีการพัฒนาต่อมาโดยในปัจจุบันสามารถปรับปรุงความเร็วในการอ่านบัตรได้ตามมาตรฐานขั้นต่ำของภาคขนส่งที่ 300-500 มิลลิวินาที/ธุรกรรมการขนส่ง (msec/transaction) รวมทั้งสามารถลดค่าใช้จ่ายในการจ้างพนักงานขายบัตร ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับบัตร และค่าใช้จ่ายการทำธุรกรรม ทำให้หลายประเทศเริ่มให้ความสนใจในการเปลี่ยนมาใช้ระบบ Open Loop มากยิ่งขึ้น เช่น เมืองซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย และประเทศสิงคโปร์ ได้เปลี่ยนมาใช้ระบบ EMV ในปี 2560 และเมืองอื่นๆ ในอีกหลายประเทศกำลังอยู่ในช่วงปรับมาใช้ระบบนี้มากขึ้น ซึ่งรวมถึงประเทศไทยด้วย

ทั้งนี้ คาดว่าจะเริ่มเปิดให้บริการบัตรแมงมุมระบบ EMV (Europay Mastercard and Visa) กับรถไฟฟ้าทุกสายที่เปิดให้บริการแล้ว รวมทั้งรถโดยสารประจำทางของ ขสมก. ภายในเดือนธันวาคม 2562 และจะสามารถใช้บริการได้ครอบคลุมทุกระบบการเดินทาง ได้แก่ ระบบทางพิเศษ เรือโดยสาร และรถไฟฟ้าสายใหม่ๆ ต่อไปในอนาคตด้วย
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 03/10/2018 1:55 pm    Post subject: Reply with quote

เร่งยกระดับหลักสูตรผลิตบุคลากรซ่อมบำรุงระบบรางกว่า 7,000 คน
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 30 กันยายน พ.ศ. 2561 16:56
ปรับปรุง: 1 ตุลาคม พ.ศ. 2561 09:08



สคช.ขานรับกระแสความต้องการบุคลากรด้านระบบราง เตรียมทำมาตรฐานอาชีพ ยกระดับบุคลากรด้านซ่อมบำรุงระบบขนส่งทางรางประเมินความต้องการในปี 65 ถึงกว่า 7,000 คน

นายพิสิฐ รังสฤษฎ์วุฒิกุล ผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ หรือ สคช. เปิดเผยว่า จากเป้าหมายของรัฐบาลที่เน้นพัฒนาสู่ประเทศไทย 4.0 ตามนโยบายยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี ในการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคนได้มุ่งเน้น "การพัฒนาที่มีคนเป็นศูนย์กลาง" ภายใต้การกำกับดูแลของรองนายกรัฐมนตรี พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี สคช.ได้ร่วมมือกับภาคการศึกษาในการนำระบบคุณวุฒิวิชาชีพไปใช้ เพื่อเร่งรัดผลิตกำลังคนในสาขาที่มีความจำเป็นต่อการพัฒนาประเทศ โดย สคช.ได้เข้าร่วมในคณะอนุกรรมการพัฒนากำลังคนในสาขาวิชาชีพนำร่องเร่งด่วน 8 สาขาวิชาชีพ ได้แก่ ICT รถไฟความเร็วสูงและระบบราง ลอจิสติกส์และซัปพลายเชน ช่างอากาศยาน อุตสาหกรรมการผลิตแม่พิมพ์ อุตสาหกรรมปิโตรเลียมและปิโตรเคมี แมคคาทรอนิกส์ และอุตสาหกรรมอาหารแปรรูป

ในส่วนของสาขาวิชาชีพที่เกี่ยวกับรถไฟความเร็วสูงและระบบราง จากข้อมูลโครงการการก่อสร้างรถไฟใน 3 ระบบของประเทศ ซึ่งประกอบด้วยรถไฟทางคู่ รถไฟฟ้า และรถไฟความเร็วสูง ซึ่งมีความยาวรวมกันกว่า 5,000 กิโลเมตรในอนาคตอีก 10 ปีข้างหน้า พบว่าอาชีพช่างซ่อมบำรุงระบบขนส่งทางรางกลายเป็นเป้าหมายเริ่มแรก โดยคาดว่าโครงการรถไฟฟ้ามีความต้องการกำลังคนช่างซ่อมบำรุงระบบขนส่งทางรางจนถึงปี 2565 เป็นจำนวน 7,280 คน

ขณะที่จากข้อมูลภาคการผลิตที่สามารถผลิตได้มีจำนวน 5,670 คน ทำให้เกิดช่องว่างของจำนวนกำลังคนที่ควรพัฒนาเพิ่มเป็นจำนวน 1,610 คน ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาหลักสูตรระยะสั้นโดยความร่วมมือกับฝ่ายฝึกอบรมของภาคผู้ประกอบการรถไฟ และจากความร่วมมือดังกล่าว สคช. และ สอศ.ได้เร่งดำเนินการเพื่อให้เป็นไปตามนโยบาย โดยคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนโลจิสติกส์ (โครงสร้างพื้นฐาน) ได้วิเคราะห์และพัฒนาหลักสูตร ปวส. "ช่างซ่อมบำรุงระบบขนส่งทางราง" ให้สอดคล้องกับมาตรฐานอาชีพฯ ของ สคช.

อีกทั้งปรับปรุงเนื้อหาให้มีความถูกต้อง ทันสมัย และมีประสิทธิภาพแล้วเสร็จ เชื่อมโยงมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพเข้ากับภาคการศึกษา ปัจจุบันได้นำมาตรฐานสู่การปรับหลักสูตร และจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะและหลักสูตรระยะสั้น ซึ่งในอนาคตสถาบันการศึกษาหลายแห่งมีเป้าหมายในการส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับอาชีวศึกษามีสมรรถนะตรงตามความต้องการของผู้ประกอบการ และผลักดันให้ผู้สำเร็จการศึกษาได้รับการรับรองคุณวุฒิวิชาชีพ

"การพัฒนาระบบรางถือเป็นหนึ่งในนโยบายการขานรับยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่มีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจในอนาคต ซึ่งการผลิตบุคลากรเพื่อรองรับนั้นต้องมีการเตรียมความพร้อมอย่างเร่งด่วน เนื่องจากปัจจุบันมีโครงการระบบรางที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างและจะแล้วเสร็จในอนาคตหลายโครงการ ทั้งรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน โครงการรถไฟฟ้าเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) หรือโครงการรถไฟทางคู่ 9 เส้นทางที่ผ่านความเห็นชองจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) แล้ว" นายพิสิฐกล่าว

อย่างไรก็ตาม การดำเนินงานในระยะต่อไปคณะอนุกรรมการมาตรฐานอาชีพกลุ่มสาขาวิชาชีพรถไฟความเร็วสูงและระบบรางของ สคช.จะได้นำนโยบายที่ได้รับจากรองนายกรัฐมนตรี พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง มาขับเคลื่อนการพัฒนากำลังคนในอาชีพ เร่งให้การรับรององค์กรที่มีหน้าที่รับรองสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพให้ครอบคลุมทุกสาขาวิชาชีพ และส่งเสริมให้มีผู้เข้ารับการประเมินตามสมรรถนะบุคคลตามเป้าหมาย รวมถึงควบคุมกระบวนการประเมินสมรรถนะบุคคลตามมาตรฐานอาชีพให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 05/10/2018 11:36 am    Post subject: Reply with quote

ไจก้าเปิดโผ 4 สถานีรถไฟฟ้าวิกฤติคนล้น จี้เพิ่มขบวนรถ แอร์พอร์ตลิงก์เล็งถอดเบาะ

4 ตุลาคม พ.ศ. 2561 เวลา 10:02 น.

ไจก้าเปิดโผ 4 สถานีรถไฟฟ้าวิกฤติคนล้น ต้องรอ 2-3 ขบวน ด้านคมนาคม-บีทีเอสรับมีปัญหาเกิดหลายสถานี ลั่นแก้ได้ภายในสองปี แอร์พอร์ตลิงก์เล็งถอดเบาะแก้แออัด เผยลดความถี่เหลือ 5 นาทีต่อเที่ยวหลังเสริมรถวิ่ง

รายงานข่าวองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น(ไจก้า)ระบุว่าจากการศึกษาระบบขนส่งมวลชนด้านรถไฟฟ้าในกรุงเทพนั้นพบว่ามีปริมาณหนาแน่นอย่างมากในช่วงชั่วโมงเร่งด่วนคือ 07.30 ส่งผลให้ประชาชนต้องรอเสียเวลาเดินทางและเสียเวลารอรถหลายขบวนโดยเฉพาะ

1.สถานีรามคำแหงของรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ วิกฤติมากที่สุดต้องรอรถอย่างน้อย 2 ขบวนเสียเวลาเดินทาง 7-28 นาที
2.สถานีสะพานตากสินรถไฟฟ้าบีทีเอสวิกฤติมาก ต้องรอรถอย่างน้อย 2 ขบวนเสียเวลาเดินทาง 10-20 นาที
3.สถานีอ่อนนุชรถไฟฟ้าบีทีเอส วิกฤติมาก ต้องรอรถอย่างน้อย 2 ขบวนเสียเวลารอ 8-10 นาที
4.สถานีลาดพร้าวรถไฟฟ้าใต้ดิน วิกฤติมาก ต้องรอรถอย่างน้อย 2 ขบวนเสียเวลารอ 8-10 นาที

อย่างไรก็ตาม JICA มองว่าผู้ให้บริการรถไฟฟ้าจำเป็นต้องเพิ่มจำนวนขบวนรถเพื่อรองรับปริมาณผู้โดยสารที่เพิ่มมากขึ้นในอนาคตโดยเฉพาะแอร์พอร์ตลิงก์ซึ่งปัจจุบันมีรถวิ่งบริการจำนวน 8 ขบวนซึ่งน้อยกว่าเฉลี่ยที่ควรจะเป็นซึ่งอยู่ที่ราว 20 ขบวนในช่วงชั่วโมงเร่งด่วน ทั้งนี้หากรถไฟฟ้าทุกสายที่เปิดบริการขณะนี้มีรถเพียงพอตามค่าเฉลี่ยแล้วจะสามารถรับผู้โดยสารเพิ่มขึ้นได้ 130% คิดเป็นวันละ 158,000 คนต่อชั่วโมงต่อเส้นทาง จากปัจจุบันรองรับได้ 68,800 คนต่อชั่วโมง
ภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่าในส่วนของรฟม.นั้นยอมรับว่ามีปัญหาดังกล่าวจริงในเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินโดยเฉพาะช่วงชั่วโมงเร่งด่วนที่ผู้โดยสารต้องเสียเวลารอรถไฟฟ้าอย่างน้อย 2-3 ขบวนในสถานีหลักชั้นในได้แก่ สถานีลาดพร้าว สถานีเพชรบุรี สถานีสุขุมวิทและสถานีศูนย์ประชุมสิริกิติ์ เป็นต้น อย่างไรก็ตามขณะนี้รฟม.ได้ใช้วิธีแก้ไขปัญหาระยะเร่งด่วนโดยการถอดเบาะรถไฟฟ้าโดยการถอดเบาะตู้กลางของรถไฟฟ้าใต้ดินสายสีน้ำเงินครบทั้ง 19 ขบวนแล้วโดยรถไฟฟ้า 1 ขบวนจะมี 3 ตู้ ตู้ละ 42 ที่นั่ง รวม 126 ที่นั่ง โดยจะถอดเบาะออกในตู้กลาง คิดเป็นตู้ละ 14 ที่นั่งรวมสามตู้ 42 ที่นั่ง ทำให้ที่นั่งเหลือ 84 ที่นั่ง ซึ่งที่ผ่านมาได้เสียงตอบรับจากประชาชนดีมากเนื่องจากสามารถบรรเทาปัญหาดังกล่าวได้อย่างมีนัยยะสำคัญ

อย่างไรก็ตามกระทรวงคมนาคมเชื่อว่าปัญหารถไฟฟ้าใต้ดินแน่นจะเริ่มคลี่คลายลงในปี 2562 และหมดไปในปี 2563 โดยในช่วงต้นปีหน้าจะเริ่มรับมอบขบวนใหม่ 3 ขบวนจะส่งผลให้ความถี่ต่อขบวนลดลงเหลือ 2.30 นาที จากปัจจุบัน 3 นาที จากนั้นเมื่อส่งมอบครบทั้ง 35 ขบวนในปี 2563แล้วจะลดระยะเวลาการรอรถไฟฟ้าลงได้ 1 ใน 3 หรือลดลง 30% คิดเป็นความถี่ 2 นาทีต่อขบวนซึ่งเป็นระยะเวลาทำรอบดีที่สุดที่จะเป็นไปได้ สำหรับปริมาณรองรับเพิ่มนั้นอยู่ที่ 1,000 คน/ขบวน/เที่ยว

ด้านนายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (บีทีเอส)กล่าวว่าปัญหาความแออัดภายในสถานีอ่อนนุชและสถานีสะพานตากสินนั้นปัจจุบันมีปัญหาผู้โดยสารหนาแน่นในชั่วโมงเร่งด่วนจริง โดยเฉพาะสถานีสะพานตากสินซึ่งอยู่ในเส้นทางบีทีเอสสายสีลมปัจจุบันนั้นประสบปัญหาคอขวดบริเวณสถานีส่งผลให้ความถี่เดินรถต่อขบวนมากราว 4-6 นาที ส่งผลให้ผู้โดยสารอาจต้องรอรถไฟหลายขบวนดังนั้นบีทีเอสจึงมีแผนลงทุนราว 1.1 พันล้านบาท เพื่อขยายสถานีดังกล่าวขณะนี้อยู่ระหว่างจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม(อีไอเอ)ฉบับสมบูรณ์เพื่อเสนอสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(สผ.) คาดว่าจะเสนอได้ภายในเดือนพ.ย. นี้หากได้รับความเห็นชอบจะดำเนินการก่อสร้างทันทีใช้ระยะเวลาก่อสร้างราว 2 ปีเศษ

อย่างไรก็ตามขณะที่สถานีอ่อนนุชนั้นปัญหาได้คลี่คลายลงมากแล้วตั้งแต่การปรับระบบบีทีเอส ปัจจุบันมีความถี่ต่อขบวนที่ราว 2.40 นาที ดังนั้นปัญหาผู้โดยสารหนาแน่นจะเริ่มคลี่คลายลงภายใน 2 ปี ขณะนี้มีแผนลงทุนจัดซื้อรถใหม่ทั้งสิ้น 46 ขบวน วงเงิน 1.1 หมื่นล้านบาท คาดว่าจะสามารถส่งมอบได้ในปลายปีนี้ราว 10 ขบวน เพื่อรองรับการเปิดเดินรถไฟฟ้าสีเขียวใต้ส่วนต่อขยายช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการในเดือนธ.ค.นี้ ส่วนอีก 36 ขบวนจะส่งมอบทั้งหมดเพื่อนำมาให้บริการภายในปลายปี 62

ขณะที่นายสุเทพ พันธุ์เพ็ง กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด กล่าวว่าแอร์พอร์ตลิงก์ประสบปัญหาผู้โดยสารหนาแน่นช่วงชั่วโมงเร่งด่วนจริง สำหรับสถานีรามคำแหงนั้นเป็นอีกหนึ่งสถานีที่ผู้โดยสารหนาแน่น นอกจากนี้ยังมีสถานีอื่นๆที่มีปริมาณผู้โดยสารมากช่วงเช้าและเย็นได้แก่ สถานีพญาไท สถานีมักกะสัน สถานีหัวหมากและสถานีลาดกระบังเป็นต้น ดังนั้นแอร์พอร์ตลิงก์จึงเร่งนำรถซ่อมบำรุงออกมาวิ่งบริการปัจจุบันมี 8 ขบวน โดยมีแผนการเดินรถในช่วงชั่วโมงเร่งด่วนแบ่งเป็น รถไฟฟ้า 6 ขบวนวิ่งปกติ และอีก 2 ขบวนเป็นรถเสริมตามสถานีที่หนาแน่น ส่งผลให้ความถี่ในของเที่ยววิ่งและระยะเวลาการรอลดลงถึง 100%
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 05/10/2018 11:40 am    Post subject: Reply with quote

“คมนาคม” เร่งทำแผนพัฒนาเมือง TOD จี้7 ที่ปรึกษาต้องเสร็จใน 18 เดือน

4 ตุลาคม 2561

“คมนาคม” วางกรอบ 7 บริษัทที่ปรึกษาเร่งทำแผนกระตุ้นพัฒนาเมือง TOD รอบสถานีรถไฟฟ้ารับระบบรางให้แล้วเสร็จใน 18 เดือน ชี้ต้องปฏิบัติได้จริงดึงดูดนักลงทุน




นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร รักษาราชการแทนปลัดกระทรวงคมนาคม เป็นประธานประชุมหารือโครงการศึกษาพัฒนาเมืองกับระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง เมื่อวันที่ 4 ตุลาคมที่ผ่านมา โดยระบุว่า รัฐบาลได้ให้ความสำคัญโครงการศึกษาพัฒนาเมืองกับระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง และมอบให้ สนข. เป็นหน่วยงานรับผิดชอบ ซึ่งในระยะเวลา 3 - 4 ปีที่ผ่านมา กระทรวงฯ ได้พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งเป็นจำนวนมากโดยเฉพาะระบบราง ทั้งโครงการรถไฟความเร็วสูง และรถไฟทางคู่

โดยโครงการดังกล่าวกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาเมืองในภูมิภาค ซึ่งในอนาคตระบบรางจะเป็นระบบที่สำคัญของประเทศไทย จึงใช้ระบบรางเป็นตัวช่วยในการพัฒนาเมือง โดยใช้หลักการพัฒนาพื้นที่โดยรอบศูนย์กลางคมนาคม (TRANSIT ORIENTED DEVELOPMENT : TOD) เป็นแนวทางการพัฒนาเมืองรูปแบบใหม่บริเวณโดยรอบสถานี อาศัยศักยภาพและข้อได้เปรียบของการเดินทางด้วยระบบขนส่งมวลชนที่สะดวกดึงดูดให้เกิดการพัฒนาเมือง
นอกจากจะได้พัฒนาระบบรางแล้ว ยังได้เครื่องมือในการพัฒนาประเทศด้วย

ทั้งนี้ ได้มอบแนวทางการดำเนินโครงการ ดังนี้

1. กำชับให้ที่ปรึกษาโครงการฯ ทั้ง 7 บริษัท ประกอบด้วย
บริษัท ทีม คอนซัลติ้ง เอนจิเนียริ่ง แอนด์ แมเนจเมนท์ จำกัด (มหาชน)
บริษัท เอเชี่ยน เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแต้นส์ จำกัด
บริษัท เอ็ม เอ เอ คอนซัลแตนท์ จำกัด
บริษัท ดาวฤกษ์ คอมมูนิเคชั่นส์ จำกัด
บริษัท นิปปอน โคอิ จำกัด
บริษัท ไพร์มสตรีท แอดไวเซอรี่ (ประเทศไทย) จำกัด และ
NIKKEN SEKKEI Ltd.
ให้ทำงานแบบมืออาชีพ และดำเนินการศึกษาให้แล้วเสร็จตามแผนภายใน 18 เดือน โดยมีกำหนดเริ่มศึกษาในวันที่ 16 ตุลาคม 2561

2. ผลการศึกษาจะต้องเห็นเป็นรูปธรรม และสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง

3. เน้นการมีส่วนร่วมกับประชาชนในพื้นที่ ทำให้ชุมชนเป็นเจ้าของโครงการในการพัฒนาพื้นที่ โดยการร่วมคิดและร่วมขับเคลื่อนโครงการให้เกิดความสำเร็จ
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 185, 186, 187 ... 277, 278, 279  Next
Page 186 of 279

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©