Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311232
ทั่วไป:13179532
ทั้งหมด:13490764
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 186, 187, 188 ... 277, 278, 279  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44316
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 06/10/2018 12:20 pm    Post subject: Reply with quote

ล้อ-ราง-เรือขนส่งสาธารณะไร้รอยต่อ
กรุงเทพธุรกิจ 6 ต.ค. 61
รายงานพิเศษ

Click on the image for full size

นายกรัฐมนตรี ลุยตรวจการพัฒนาระบบบริการขนส่งสาธารณะ ล้อ ราง เรือ เชื่อมโยงโครงข่ายคมนาคมขนส่งทางบก ราง และน้ำ แบบไร้รอยต่อ

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.)พร้อมคณะ ประกอบด้วย พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม นายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ รมว.การท่องเที่ยวและกีฬา และผู้บริหารหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ออกตรวจเยี่ยมการพัฒนาและยกระดับระบบบริการขนส่งสาธารณะ

โดยเดินทางด้วยรถไฟฟ้ามหานคร (MRT) ผ่านสถานีรถไฟฟ้า 3 สถานี เริ่มจากสถานีรถไฟฟ้าสีลม ผ่านสถานีรถไฟฟ้าสามย่าน ไปยังปลายทางสถานีรถไฟฟ้าหัวลำโพง ก่อนเดินทางโดยทางเรือ จากท่าเรือสถานีรถไฟหัวลำโพง ไปยังท่าเรือเทวราชกุญชร (เทเวศร์) ระยะทางประมาณ 5 กิโลเมตร

การเดินทางตามเส้นทางดังกล่าว เป็นหนึ่งในโครงการเชื่อมโยงโครงข่ายคมนาคมขนส่งทั้งทางบก ทางรางและทางน้ำ แบบไร้รอยต่อ ที่รัฐบาลพยายามผลักดันการพัฒนาจุดเชื่อมต่อการเดินทาง ล้อ ราง เรือ ให้เป็นระบบเดียวกันทั้งระบบ ตามแผนพัฒนาระบบขนส่งมวลชนที่เชื่อมโยงทุกระบบเข้าด้วยกัน ซึ่งจะเป็นการแก้ไขปัญหาการจราจร และเพิ่มทางเลือกให้กับประชาชนในการเข้าถึงบริการสาธารณะต่างๆ ในพื้นที่เขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล รวมทั้งยังช่วยสนับสนุนการท่องเที่ยว และรื้อฟื้นวิถีชีวิตของชุมชนริมแม่น้ำลำคลองอีกด้วย

ระหว่างทางนายกรัฐมนตรี ได้ฟังบรรยายสรุป เรื่องเส้นทางการเดินเรือ และประวัติความเป็นมาของคลองผดุงกรุงเกษม พร้อมทักทายประชาชนที่มายืนรอรับสองฝั่งคลอง และพูดคุยกับประชาชนตลอดเส้นทางการนั่งเรือ โดยขอให้ทุกคนช่วยกันรักษาความสะอาด ปลูกต้นไม้ ดอกไม้ เพื่อความสวยงามตลอดเส้นทางตามลำคลอง เพราะนอกจากจะใช้เป็นเส้นทางสัญจรทางน้ำแล้ว ยังสามารถปรับปรุงเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางน้ำได้อีกด้วย

พล.อ.ประยุทธ์ธิ์ ระบุว่า รัฐบาลจะทำทุกอย่างให้ดีและจะทำให้ประชาชนสามารถใช้เส้นทางการจราจรในทุกรูปแบบได้สะดวกและรวดเร็วขึ้น และรู้สึกดีใจที่เห็นรอยยิ้มของประชาชน พร้อมย้ำว่าจะทำให้บ้านเมืองให้สงบปลอดภัย แต่ขอให้ทุกคนใจเย็น รักกัน อย่าทะเลาะกัน เมืองไทยเป็นเมืองแห่งรอยยิ้ม อาหารอร่อย ขอให้รักษาตรงนี้ไว้ รัฐบาลจะทำอย่างเต็มที่ ถึงแม้จะมีปัญหาอีกมากที่ต้องแก้ไขกันต่อไปในระยะยาวก็ตาม

ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรี ได้ตรวจเยี่ยมระบบขนส่งมวลชนรถไฟฟ้ามหานคร (MRT) สายเฉลิมรัชมงคล (สีน้ำเงิน) โดยได้ใช้บัตรแมงมุม ประเภทบุคคลทั่วไป สำหรับเดินทางโดยรถไฟฟ้ามหานคร (รถไฟฟ้า MRT) จากสถานีรถไฟฟ้าสีลมไปยังสถานีรถไฟฟ้าหัวลำโพง เพื่อตรวจเยี่ยมสถานีรถไฟฟ้าหัวลำโพง และการเดินทางโดยรถไฟ (รถไฟรางคู่) ของประชาชน ณ สถานีรถไฟหัวลำโพง

ทั้งนี้ บัตรดังกล่าวสามารถเชื่อมต่อการเดินทางด้วยบัตรเดียว ทั้งทางรถไฟฟ้า รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงค์ รถโดยสารประจำทาง เรือ และรถไฟ โดยปัจจุบันสามารถใช้ได้กับรถไฟฟ้าสายเฉลิมรัชมงคล (สายสีน้ำเงิน) และรถไฟฟ้าสายฉลองรัชธรรม (สายสีม่วง) และจะมีการขยายให้ครอบคลุมระบบขนส่งมวลชนดังกล่าวต่อไป

นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรี ได้เยี่ยมชมนิทรรศการอนาคตในการเชื่อมต่อการเดินทางทั้งระบบราง เรือ เครื่องบิน (อากาศ) และทางรถ (ถนน) พร้อมรับฟังการบรรยายสรุปการเชื่อมต่อรถไฟฟ้า- รถไฟ - เรือ โดยโครงข่ายระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เป็นการพัฒนาการเดินทางและขนส่งที่มีประสิทธิภาพด้วยการเดินทางอย่างไร้รอยต่อ ให้คมนาคมรวมเป็นหนึ่ง หรือ One Transport for All ซึ่งนอกจากจะพัฒนารถไฟฟ้าเส้นทางต่าง ๆ ให้เป็นไปตามแผนแม่บท 13 เส้นทางแล้ว

สิ่งสำคัญคือ มีการเชื่อมต่อการเดินทางกับระบบขนส่งที่มีอยู่ทั้งเรือ รถโดยสารประจำทาง โดยได้ดำเนินการ 2 ส่วน คือ
1. การเชื่อมต่อทุกการเดินทางด้วยบัตรเดียว (บัตรแมงมุม ประเภทนักเรียน นักศึกษา บุคคลทั่วไป และผู้สูงอายุ)

2. การพัฒนาทางกายภาพของสถานี เพื่อให้เกิดการเชื่อมต่ออย่างเป็นระบบ ปัจจุบันมีจุดเชื่อมต่อสถานีร่วม 10 แห่ง (สถานีรถไฟฟ้า 4 สาย) และในอนาคตเมื่อมีรถไฟฟ้าครบทั้งหมด จะมีจุดเชื่อมต่อ และสถานีร่วม เพิ่มขึ้น 38 แห่ง รวมทั้งมีจุดเปลี่ยนถ่ายการขนส่งขนสาธารณะ ทั้ง รถ ราง และเรือ อีก 16 แห่ง รวมทั้งสิ้นจะมีจุดเชื่อมต่อ 64 แห่ง ซึ่งเมื่อดำเนินการได้เต็มรูปแบบทั้งระบบจะสามารถทำให้ประชาชนในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลเดินทางได้สะดวก รวดเร็วมากยิ่งขึ้น และประหยัด

เมื่อนายกรัฐมนตรี เดินทางมาถึงสถานีรถไฟฟ้าหัวลำโพง รับฟังบรรยายสรุปประวัติการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้ามหานครสายเฉลิมรัชมงคล ภายในสถานีรถไฟฟ้าหัวลำโพง จากนายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย

โดยรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล (The Metropolitan Rapid Transit :MRT) หรือสายสีน้ำเงิน เป็นรถไฟฟ้าใต้ดินสายแรกของประเทศไทย ระยะทางทั้งสิ้น 20 กิโลเมตร เริ่มต้นที่สถานีรถไฟหัวลำโพง ผ่านถนนพระรามที่ 4 เลี้ยวเข้าถนนรัชดาภิเษก ผ่านศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ถนนอโศก สี่แยกพระราม 9 สี่แยกสุทธิสาร เลี้ยวเข้าถนนลาดพร้าวที่แยกรัชดา-ลาดพร้าว ผ่านส่วนจตุจักร เข้าถนนกำแพงเพชร สิ้นสุดที่สถานีรถบางซื่อ รวมทั้งสิ้น 18 สถานี

นายกรัฐมนตรี ยังได้เยี่ยมชมกิจกรรมของ MRT อาทิ การประกวดระบายสี การรับบริจาคหนังสือจากผู้โดยสาร พร้อมทักทายประชาชนที่มารอขึ้นรถไฟไปต่างจังหวัด ณ สถานีรถไฟหัวลำโพง ก่อนเดินทางโดยเรือจากท่าเรือสถานีรถไฟหัวลำโพง ไปยังท่าเรือเทวราชกุญชร (เทเวศร์) เพื่อตรวจการพัฒนาจุดร่วมตรวจการพัฒนาจุดเชื่อมต่อการเดินทาง ล้อ ราง เรือ ของกรุงเทพมหานคร ตามโครงการเดินเรือคลองผดุงกรุงเกษมจากท่าเรือรถไฟหัวลำโพง - ท่าเรือเทวราชกุญชร

และตรวจเยี่ยมโครงการพัฒนาจุดเชื่อมต่อการเดินทางจากคลองผดุงกรุงเกษมสู่แม่น้ำเจ้าพระยา ณ ท่าเรือเทเวศร์ เพื่อเพิ่มทางเลือกให้กับประชาชนในการเข้าถึงบริการสาธารณะต่างๆ ในพื้นที่เขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล พร้อมรับฟังการบรรยายเชิงประวัติศาสตร์ สถานที่สำคัญต่างๆ ในพื้นที่คลองผดุงกรุงเกษม
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42621
Location: NECTEC

PostPosted: 08/10/2018 3:39 am    Post subject: Reply with quote

หนุนรง.ผลิตรถไฟฟ้าในไทย ‘คมนาคม’เล็งพื้นที่ ในภาคอีสานเหมาะ
วันเสาร์ ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2561, 06.00 น.


นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รมช.คมนาคม เปิดเผยเป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการ ครั้งที่ 1 เรื่อง “Railway rolling stock maintenance and overhaul” ว่าขณะนี้ไทยจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้ระบบรางจากประเทศที่มีประสบการณ์เนื่องจากโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าความเร็วสูงจะแล้วเสร็จและเริ่มให้บริการ ซึ่งเยอรมนีถือเป็นประเทศแรกในการฝึกอบรมบุคลากรระบบรางของไทยและในอนาคตอาจจะร่วมมือฝึกอบรมกับจีนและญี่ปุ่นด้วย

โดยช่วงปีนี้และปีหน้าไทยสั่งซื้อรถไฟฟ้าเข้ามาจำนวนมาก และมีแนวโน้มปริมาณการนำเข้าเพิ่มสูงอย่างรวดเร็วจึงจำเป็นต้องมีโรงงานประกอบตัวรถในไทยเพื่อให้การแก้ปัญหาของขบวนรถไฟต่างๆ เป็นไปด้วยความรวดเร็ว ประหยัด และสะอาดกว่ามาก รวมถึงจะมีการจ้างงานเพิ่มขึ้นด้วย

ขณะที่รัฐบาลประกาศนโยบายส่งเสริมการจัดตั้งโรงงานประกอบตัวรถในประเทศไทยภายในสิ้นปีนี้ เพื่อเป็นการส่งเสริมการลงทุนให้เอกชนที่สนใจเข้ามาลงทุนสร้างโรงงานประกอบตัวรถไฟในไทย โดยในการลงทุนเป็นแบบ PPP และเชื่อนักลงทุนจะสามารถดำเนินการได้ทันที และขณะนี้มีนักลงทุนต่างชาติสนใจหลายราย ไม่เฉพาะ 5 ประเทศ ที่ไทยนำเข้ารถไฟฟ้า ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น เยอรมนี ตุรกี และออสเตรีย

สำหรับแนวคิดการจัดตั้งโรงงานประกอบตัวรถไฟมองในแถบพื้นที่ภาคอีสาน เพราะมีความแข็งแกร่งในการประกอบตัวรถบัสและรถโดยสารขนาดใหญ่อยู่แล้ว ประกอบกับมีความพร้อมด้านแรงงานที่ฝีมือ ซึ่งจังหวัดนครราชสีมา และจังหวัดขอนแก่น ก็เป็นพื้นที่ที่เหมาะสมและมีความพร้อมอย่างมาก

ดันอีสานฮับโรงงานประกอบรถไฟฟ้า คาดตั้งโรงงานปีหน้า คุยต่างชาติ เยอรมัน-ญี่ปุ่น สนใจลงทุนเพียบ
วันที่ 5 ตุลาคม 2561 - 17:32 น.

‘ไพรินทร์’ ดันภาคอีสาน ฮับโรงงานประกอบรถไฟฟ้า คาดตั้งโรงงานปีหน้า ฟุ้งต่างชาติทั้ง ญี่ปุ่น-จีน-เกาหลี-เยอรมัน สนใจลงทุน – ปลายปีนายกฯ ตู่ เตรียมประกาศนโยบาย ส่งเสริมการลงทุน
ดันอีสานฮับโรงงานประกอบรถไฟฟ้า – นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รมช.คมนาคม เปิดเผยว่า ประเทศไทยกำลังพัฒนาโครงการถไฟฟ้าในเมือง 10 สาย รวมทั้งเร่งพัฒนารถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) อีกหลายเส้นทาง ซึ่งขณะนี้มีเวลาอีก 2-3 ปี ไทยจะต้องเร่งพัฒนาบุคลากรด้านการซ่อมบำรุง การบริหารการเดินรถให้พร้อม เบื้องต้นรัฐบาลไทยจับมือกับรัฐบาลเยอรมันในฐานะผู้ผลิตขบวนรถไฟฟ้า จัดเวิร์กช็อปเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีและความรู้ในการเดินรถให้ไทย รวมทั้งเชิญชวนให้เยอรมันเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาอุตสาหกรรมระบบรางในไทย ด้วยการเข้ามาลงทุนจัดตั้งฐานการผลิตและประกอบรถในประเทศไทย เพราะที่ผ่านมาไทยมีการซื้อขบวนรถ และอุปกรณ์รถไฟฟ้าจากเยอรมันเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้ หากมีโรงงานประกอบรถในไทยจะช่วยให้ขบวนการซ่อมบำรุงทำได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น รวมทั้งทำให้เกิดการจ้างงาน

“ขณะนี้ไทยมีความต้องการที่จะสั่งซื้อรถไฟฟ้าจำนวนมาก หากคิดแฉพาะรถไฟฟ้า 10 สายที่กำลังจะเปิด ก็มีความต้องการประมาณ 2,000 ตู้ ดังนั้นถึงเวลาแล้วที่ไทยต้องมีโรงงานประกอบรถ โดยในช่วงปลายปีนี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี จะประกาศนโยบายสนับสนุนส่งเสริมการลงทุนจัดตั้งโรงงานประกอบรถไฟฟ้าในไทย โดยมอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนเป็นเจ้าของโครงการ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดทำรายละเอียดเกี่ยวกับสิทธิการลงทุน

นายไพรินทร์กล่าวว่า สำหรับแนวทางการส่งเสริมการลงทุนบีโอไอจะส่งเสริมการลงทุนลงทุนแบบเสรีไม่จำกัดเทคโนโลยี และชนิดของตัวรถว่าจะเป็นตัวรถแบบไหน ประเภทไหน แต่จะต้องเป็นไปตามมาตรฐานรางของไทย เนื่องจากปัจจุบันไทยมีการนำเข้าระบบรถหลากหลายมากถึง 5 ประเทศ เช่น ตุรกี ออสเตรีย จีน ญี่ปุ่น และเยอรมัน



“ขณะนี้มีบริษัทผู้ผลิตจากหลาประเทศสนใจที่จะเข้ามาตั้งโรงงานประกอบในไทย ทั้งญี่ปุ่น จีน เกาหลี เยอรมัน รวมทั้งประเทศในอาเซียนเองที่มีการประกอบตัวรถได้เองแล้วคือ มาเลเซีย เวียดนาม โดยรัฐบาลตั้งเป้าที่จะผลักดันให้มีการจัดตั้งโรงงานประกอบรถไฟฟ้าให้ได้ภายในปี 2562 นำร่องในพื้นที่ภาคอีสาน เนื่องจากปัจจุบันเป็นฮับประกอบรถโดยสารขนาดใหญ่อยู่แล้ว รวมทั้งยังมีแรงงานฝีมือจำนวนมากอีกด้วย เช่นใน จ.นครราชสีมา และ จ.ขอนแก่น เป็นต้น โดยมีเป้าหมายที่จะผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางระบบรางในภูมิภาค”

อย่างไรก็ตาม รัฐบาลจะพยายามเชิญชวนให้ผู้ประกอบการเดินรถไฟฟ้า อย่างเช่น บีทีเอส ให้เข้าร่วมลงทุนตั้งโรงงานประกอบในไทยด้วย โดยอาจจะร่วมกับนักลงทุนต่างชาติ หรือลงทุนเอง เนื่องจากมีการนำเข้าจำนวนมาก ส่วนหน่วยงานรัฐบาล เช่น การรถแห่งประเทศไทย และการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ที่เป็นผู้นำเข้ารถรายใหญ่นั้น จะมามีส่วนร่วมกับโรงงานประกอบได้หรือไม่ ยังไม่มีความชัดเจน แต่ในอนาคตโดยเฉพาะการถไฟฯ จะมีความต้องการในการซื้อขบวนรถใหม่จำนวนมาก เนื่องจากในอนาคตจะพัฒนาระบบเดินรถจากดีเซลเป็นระบบไฟฟ้าซึ่งจะต้องมีการเปลี่ยนตัวรถใหม่ทั้งหมด

นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอสซี เปิดเผยว่า ขณะนี้ บีทีเอสซี ยังไม่คิดเรื่องการลงทุน หรือร่วมลงทุนกับผู้ผลิตต่างชาติในการตั้งโรงงานประกอบรถในไทย เพราะต้องขอดูรายละเอียดเรื่องของความต้องการใช้ภายในประเทศก่อนว่ามีมากน้อยแค่ไหน หากลงทุนจะคุ้มหรือไม่ แต่สนใจที่จะเป็นผู้ซื้อมากกว่าหากราคารถที่ประกอบในไทยมีราคาถูกกว่ารถนำเข้า


Last edited by Wisarut on 08/10/2018 12:03 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44316
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 08/10/2018 8:21 am    Post subject: Reply with quote

"บีทีเอส"สนใจลงทุนระบบรางทั่วประเทศ
เดลินิวส์ จันทร์ที่ 8 ตุลาคม 2561 เวลา 08.09 น.

บีทีเอสกรุ๊ปตั้งเป้าว่า 5ปีจากนี้ รายได้และกำไรต้องเติบโตเฉลี่ยปีละ 25%และกำลังศึกษาการลงทุนโครงการโครงสร้างพื้นฐานระบบรางทั่วประเทศถือเป็นโอกาส

 นายคีรี กาญจนพาสน์ ประธานกรรมการ บริษัทบีทีเอส กรุ๊ปโฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ บีทีเอส เปิดเผยว่า บีทีเอสกรุ๊ปตั้งเป้าว่า 5ปีจากนี้ รายได้และกำไรต้องเติบโตเฉลี่ยปีละ 25%และกำลังศึกษาการลงทุนโครงการโครงสร้างพื้นฐานระบบรางทั่วประเทศเพราะถือเป็นหน้าที่ และโอกาสทางธุรกิจ เนื่องจากเราทำธุรกิจด้านนี้ เช่น  รถไฟความเร็วสูง(ไฮสปีด) สายกรุงเทพ-หัวหิน หรือโครงการรถไฟฟ้ารางเบา(แทรม)ภูมิภาค จ. เชียงใหม่ จ.ภูเก็ต และจ.ขอนแก่น แต่ต้องดูให้ดีถ้าไม่ใช่ก็ไม่ทำ เพราะแต่ละโครงการใช้เม็ดเงินลงทุนมากเฉพาะแค่การเตรียมตัวก่อนประมูลก็มีค่าใช้จ่ายถึง 135ล้านบาทแล้ว ดังนั้นการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานอะไรต้องมั่นใจก่อนส่วนการเงินไม่มีปัญหาเพราะเวลานี้บีทีเอสกรุ๊ปได้รับความเชื่อมั่นจากสถาบันทางการเงินทั้งในและต่างประเทศอย่างมาก

นายคีรี   ยังกล่าวถึงความคืบหน้า โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม3 สนามบิน ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา วงเงิน 2.15แสนล้านบาทว่า  กำลังศึกษารายละเอียดเอกสารประกาดราคา(ทีโออาร์) เท่าที่ดูตัวเลข ไม่หมูและไม่ง่ายจริงๆโดยยังมีคำถามที่ต้องให้การรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) ชี้แจงเพิ่มเติม คือการขำระค่าเช่าในการพัฒนาพื้นที่อสังหาริมทรัพย์โดยรอบสถานี (TOD) ที่ทีโออาร์ระบุให้เอกชนเฉลี่ยจ่ายค่าสัมปทานตลอดอายุสัญญา50 ปี ซึ่งปกติการเช่าที่ดินของภาครัฐกรมธนารักษ์ หรือที่ดินทรัพย์สินอื่นๆเอกชนจะจ่ายเงินค่าสิทธิ์ในการพัฒนาเป็นก้อนใหญ่ครั้งเดียว  หากต้องทยอยจ่ายหลายปีอาจส่งกระทบต่อแผนลงทุนธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในพื้นที่ได้

นายครี  ยืนยันด้วยว่า  บีทีเอสกรุ๊ปจะเดินหน้าร่วมประมูลครั้งนี้แน่นอนด้วยทีมไทยแลนด์ แต่จะเพิ่มพันธมิตรหรือไม่คงได้ข้อสรุปภายในเดือน ต.ค.นี้ซึ่งพันธมิตรจะเป็นบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือไม่ขอยังไม่ตอบทั้งนี้จากการประเมินผู้ร่วมประมูลโครงการในวันที่ 12พ.ย.นี้ คาดว่าจะมีเพียง 2 กลุ่มใหญ่  คือ บีทีเอสกรุ๊ป และกลุ่มซีพีเท่านั้นส่วนรายอื่นยังไม่ชัดเจนส่วนข้อเสนอกรณีให้ผู้ชนะการประมูลเข้าไปบริหารรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ด้วยนั้น บีทีเอสในฐานะผู้ที่บริหารกิจการรถไฟฟ้าอยู่แล้ว มีความพร้อมมากหากชนะการประมูล และได้รับมอบให้บริหาร ก็พร้อมดำเนินการทันทีโดยตั้งใจจะบริหารในรูปแบบของบีทีเอส และพร้อมลงทุนเพิ่มขบวนรถด้วยเพื่อแก้ปัญหาผู้โดยสารแออัด และให้บริการมีคุณภาพมากขึ้น
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44316
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 08/10/2018 8:25 am    Post subject: Reply with quote

เยอรมนี แนะ กรุงเทพฯ ต้องเพิ่มเส้นทางรถไฟ แก้ปัญหาขนส่งมวลชน | 6 ต.ค.61 | เต็มข่าวค่ำ
SpringNews Published on Oct 7, 2018

กรุงเทพฯกำลังจะมีรถไฟฟ้าระยะทางรวม 500 กิโลเมตรทั่วเมือง สิ่งหนึ่งทำสำคัญกับการดำเนินการรถไฟฟ้าคือการซ่อมบำรุงและปรับปรุงการดำเนินการให้ทันสมัยตลอดเวลา สุดสัปดาห์นี้ ได้มีการทำเวิร์คชอพ ด้านซ่อมบำรุงและปรับปรุงระบบรถไฟจากความร่วมมือระหว่างไทยและเยอรมนี โดยดร.ไพรินทร์ รมช.กระทรวงคมนาคมระบุว่า เป็นเรื่องสำคัญมากที่ไทยจะต้องตามเทคโนโลยีให้ทัน


https://www.youtube.com/watch?v=v3YkjO3MOZg
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42621
Location: NECTEC

PostPosted: 08/10/2018 12:12 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
หนุนรง.ผลิตรถไฟฟ้าในไทย ‘คมนาคม’เล็งพื้นที่ ในภาคอีสานเหมาะ
วันเสาร์ ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2561, 06.00 น.



ดันอีสานฮับโรงงานประกอบรถไฟฟ้า คาดตั้งโรงงานปีหน้า คุยต่างชาติ เยอรมัน-ญี่ปุ่น สนใจลงทุนเพียบ
วันที่ 5 ตุลาคม 2561 - 17:32 น.


ปฏิรูประบบขนส่งมวลชน อุตสาหกรรมระบบรางยังไม่สาย
วันที่ 07 ตุลาคม พ.ศ. 2561 เวลา 18:26 น.
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44316
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 09/10/2018 8:09 am    Post subject: Reply with quote

`สมคิด`สั่งคมนาคม ดันเมกะโปรเจ็กอีก 6 แสนลบ.ภายใน 5 เดือนนี้
สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย- -8 ต.ค. 61 15:17 น.

"สมคิด"สั่งคมนาคม เร่งผลักดันโครงการใหม่ทั้งรถไฟ-ท่าเรือ-สนามบินในช่วง 5 เดือนนี้ เตรียมชงโครงการรถไฟสายสีแดงเข้ม/แดงอ่อน รวม 2.4 หมื่นลบ. - รถไฟทางคู่ 4 สาย มูลค่า 1.3 แสนลบ. - สุวรรณภูมิเฟส 2 อีก 4.2 หมื่นลบ. ในปีนี้ ส่วนปีหน้าเตรียมชงรถไฟทางคู่อีก 4 เส้น 1.9 แสนลบ. สั่ง THAI เสนอแผนจัดหาเครื่องบินให่สภาพัฒน์พิจาณา ม.ค.62

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ตรวจเยี่ยมและติดตามงานที่กระทรวงคมนาคม วันนี้ (8 ต.ค.) ว่า ทางกระทรวงฯ เตรียมเสนอเมกะโปรเจ็กต์เข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วงเงิน 6 แสนล้านบาท พร้อมเตรียมเปิดประมูลจัดซื้อจัดจ้างอีก 5 แสนล้านบาท ในระหว่างเดือนตุลาคม 2561-มกราคม 2562
โดยในเดือนตุลาคมมีทั้งหมด 5 โครงการที่จะเสนอ คือ
1) โครงการท่าเรือแหลมฉบังเฟส 3 วงเงิน 1.1 แสนล้านบาท คาดว่าจะลงนามสัญญาได้ในเดือนมีนาคม 2562,
2) ศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยาน (MRO) สนามบินอู่ตะเภา วงเงิน 1 หมื่นล้านบาท คาดว่าบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) และแอร์บัส จะลงนามสัญญาได้ในเดือนกุมภาพันธ์ 2562,
3) โครงการทางหลวงพิเศษ (มอเตอร์เวย์) นครปฐม-ชะอำ วงเงิน 8 หมื่นล้านบาท,
4) โครงการศูนย์การขนส่งชายแดน จ.นครพนม วงเงิน 1 พันล้านบาท และ
5) ศูนย์เปลี่ยนรูปแบบการขนส่งสินค้า เชียงของ จ.เชียงราย วงเงิน 2.3 พันล้านบาท

ส่วนในเดือนพฤศจิกายน 2561 เตรียมเสนอโครงการรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงส่วนต่อขยาย 2 โครงการ มูลค่ารวม 2.4 หมื่นล้านบาท ประกอบด้วย
1)รถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อนส่วนต่อขยาย ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช และช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา และ
2) ส่วนต่อขยายสายสีแดงเข้ม ช่วงรังสิต-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต

ขณะที่ในเดือนธันวาคม 2561 มี 5 โครงการ ได้แก่
1) รถไฟทางคู่ ช่วงชุมทางถนนจิระ-อุบลราชธานี มูลค่า 3.6 หมื่นล้านบาท,
2)รถไฟทางคู่ ช่วงหาดใหญ่-ปาดังเบซาร์ มูลค่า 8 พันล้านบาท,
3) รถไฟทางคู่ ช่วงบ้านไผ่-มหาสารคาม-ร้อยเอ็ด-มุกดาหาร-นครพนม มูลค่า 6 หมื่นล้านบาท,
4) รถไฟทางคู่ ช่วงขอนแก่น-หนองคาย มูลค่า 2.6 หมื่นล้านบาท,
5)โครงการก่อสร้างอาคารผู้โดยสารแห่งที่ 2 ในสนามบินสุวรรณภูมิ 4.2 หมื่นล้านบาทและ
6) โครงการก่อสร้างทางวิ่ง (Runway) แห่งที่ 3 ในสนามบินสุวรรณภูมิ 2 หมื่นล้านบาท

สำหรับในเดือนมกราคม 2562 ประกอบด้วย 5 โครงการ ได้แก่
1) โครงการรถไฟทางคู่ ช่วงปากน้ำโพ-เด่นชัย 5.6 หมื่นล้านบาท,
2) รถไฟทางคู่ ช่วงชุมพร-สุราษฎร์ธานี มูลค่า 2.3 หมื่นล้านบาท,
3) รถไฟทางคู่ ช่วงสุราษฎร์ธานี-หาดใหญ่-สงขลา มูลค่า 5.7 หมื่นล้านบาท,
4)รถไฟทางคู่ ช่วงเด่นชัย-เชียงใหม่มูลค่า 6 หมื่นล้านบาท และในเดือนมกราคม 2562

ขณะเดียวกันมีโครงการที่อยู่ระหว่างเตรียมประกวดราคา 5 โครงการ ได้แก่
1) โครงการระบบรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง (Missing Link) สีแดงอ่อน ช่วงบางซื่อ-พญาไท-มักกะสัน-หัวหมาก และสีแดงเข้ม ช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง ระยะทาง 25.9 กิโลเมตร วงเงิน 4.4 หมื่นล้านบาท คาดว่าประกวดราคาได้ในเดือน มกราคม-มีนาคม 2562
2) โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) หรือรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ วงเงิน 1 แสนล้านบาท คาดว่าประกวดราคาเดือนธันวาคม 2561,
3) โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน พร้อมพัฒนาที่ดิน 2.2 แสนล้านบาท จะประกวดราคาในเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม 2561 และลงนามสัญญาในเดือนกุมภาพันธ์ 2562,
4) รถไฟทางคู่สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ วงเงินรวม 8.5 หมื่นล้านบาท ประกวดราคาเดือนมีนาคม 2562 และ
5) ทางพิเศษ(ทางด่วน) พระราม 3-ดาวคะนอง-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพฯ วงเงิน 3.1 หมื่นล้านบาท ประกวดราคาพฤศจิกายน 2561-กุมภาพันธ์ 2562

ทั้งนี้กระทรวงคมนาคมจะเร่งเสนอโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง เตาปูน-ราษฎร์บูรณะ และโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้ม (ตะวันตก) ช่วงบางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมฯ ระยะทาง 13.4 กิโลเมตร และการเดินรถไฟฟ้าสายสีส้มตลอดเส้นทาง ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี วงเงินรวม 1.43 แสนล้านบาท ให้คณะกรรมการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (คณะกรรมการพีพีพี) โดยเร็ว

นอกจากนี้วางเป้าหมายให้การบินไทย เสนอโครงการจัดหาฝูงบินใหม่วงเงินราว 1 แสนล้านบาท ให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติพิจารณาอีกครั้งในเดือนมกราคม 2562
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42621
Location: NECTEC

PostPosted: 10/10/2018 10:52 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
เยอรมนี แนะ กรุงเทพฯ ต้องเพิ่มเส้นทางรถไฟ แก้ปัญหาขนส่งมวลชน | 6 ต.ค.61 | เต็มข่าวค่ำ
SpringNews Published on Oct 7, 2018

ผู้เชี่ยวชาญเยอรมนี ชี้ แก้ปัญหาจราจรกรุงเทพฯ ต้องเพิ่มเส้นทางรถไฟ

7 ตุลาคม พ.ศ. 2561,

กรุงเทพฯกำลังจะมีรถไฟฟ้าระยะทางรวม 500 กิโลเมตรทั่วเมือง เพื่อแก้ปัญหาด้านการจราจร ผู้เชี่ยวชาญด้านขนส่งระบบราง จากเยอรมนี ชี้ ทางออกทางเดียว ที่จะแก้ป็ญหาจราจร คือการสร้างขบวนรถไฟใต้ดินหรือรถไฟฟ้าเพิ่ม
เยอรมนี แนะกรุงเทพฯ ต้องเพิ่มเส้นทางรถไฟ แก้ปัญหาขนส่งมวลชน

กรุงเทพฯกำลังจะมีรถไฟฟ้าระยะทางรวม 500 กิโลเมตรทั่วเมือง สิ่งหนึ่งทำสำคัญกับการดำเนินการรถไฟฟ้า คือการซ่อมบำรุง และปรับปรุงการดำเนินการ ให้ทันสมัยตลอดเวลา สุดสัปดาห์นี้ ได้มีการทำเวิร์คชอพ ด้านซ่อมบำรุงและปรับปรุงระบบรถไฟจากความร่วมมือระหว่างไทยและเยอรมนี โดยดร.ไพรินทร์ รมช.กระทรวงคมนาคมระบุว่า เป็นเรื่องสำคัญมากที่ไทยจะต้องตามเทคโนโลยีให้ทัน

ประเทศไทย และเยอรมนี ได้ลงนามความร่วมมือด้านระบบราง (GTRP) เพื่อกระชับความสัมพันธ์และร่วมกันพัฒนาระบบรางในประเทศไทยเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2016 และเป็นที่มาของการทำเวิร์คชอพ ด้านซ่อมบำรุงและปรับปรุงระบบรถไฟสุดสัปดาห์นี้

โดยทั้งไทยและเยอรมนีคาดหวังว่าจะได้แลกเปลี่ยนความคิด แบ่งปันประสบการณ์การทำงานดำเนินการและซ่อมบำรุง และความท้าทายและวิธีการแก้ปัญหาในการดำเนินการระบบรถไฟในประเทศไทย

ผู้เชี่ยวชาญจากเยอรมนี คริสเตียน ชินด์เลอร์ มหาวิทยาลัยเทคนิค อาร์คัน หนึ่งในผู้เข้าร่วมแบ่งปันความรู้ในเวิร์คชอพครั้งนี้ ระบุว่า ด้วยสภาพการจราจรของกรุงเทพฯ และความหนาแน่นประชากร เขามองว่าทางออกเดียวของปัญหาระบบขนส่งมวลชนคือการสร้างเส้นทางรถไฟทั้งใต้ดินและบนดินเพิ่มมากขึ้นคริสเตียน ชินด์เลอร์ ให้ความเห็น กับผู้สื่อข่าวสปริงนิวส์ ว่า

“สำหรับระบบขนส่งมวลชน กรุงเทพเป็นเมืองที่มีประชากรหนาแน่น มีความหนาแน่นของจราจรสูงสุดในโลก ผมเห็นทางออกทางเดียว คือการสร้างขบวนรถไฟใต้ดินหรือรถไฟฟ้าเพิ่ม สำหรับระบบรถไฟระยะไกล เป็นเรื่องความสำคัญของสิ่งแวดล้อม ที่จะให้มีรถไฟความเร้วสูงบริการประชาชนระหว่างเมืองใหญ่ๆ เพื่อลดจำนวนเที่ยวบินระยะสั้นลง”
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42621
Location: NECTEC

PostPosted: 10/10/2018 1:37 pm    Post subject: Reply with quote


สร้างรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ควบทางด่วน
https://www.youtube.com/watch?v=W2aL_OZwgvU
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42621
Location: NECTEC

PostPosted: 12/10/2018 1:41 am    Post subject: Reply with quote

จัดคิว รถไฟฟ้าสารพัดสี ปี”62 ลุ้น 1 สถานี “หมอชิต-เซ็นทรัล”
วันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2561, - 20:38 น.

โครงการรถไฟฟ้าอยู่ในแผนแม่บท 10 สาย ระยะทางรวม 464 กม. ที่ “ครม.-คณะรัฐมนตรี” ประทับตราเมื่อปี 2553 ถึงปัจจุบันใต้ปีกรัฐบาลคสช.กำลังเร่งรัดก่อสร้าง 8 เส้นทาง ระยะทาง 186.1 กม.

5 ธ.ค.เปิดหวูดแบริ่ง-ปากน้ำ

จะเปิดบริการวันที่ 5 ธ.ค. 2561 มีสายสีเขียวต่อขยาย “แบริ่ง-สมุทรปราการ” 13 กม. 9 สถานี ขณะนี้งานโยธาเสร็จ 100% รอ “บีทีเอส-บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ” ติดตั้งระบบไฟฟ้าหลัง “กทม.-กรุงเทพมหานคร” รับโอนโครงการจาก “รฟม.-การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย” จ้างบีทีเอสติดตั้งระบบพร้อมกับจ้างเดือนละ 20 ล้านบาท เดินรถ 1 สถานีจากสถานีแบริ่ง-สำโรง เมื่อเดือน เม.ย. 2560

ส่วนการเดินรถตลอดเส้นทางที่จะมีขึ้นปลายปีนี้ แม้ที่ผ่านมา “กทม.” เซ็นจ้างบีทีเอสเดินรถส่วนต่อขยายแบริ่ง-สมุทรปราการ และหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ยาวไปถึงปี 2585 กว่า 1.649 แสนล้านบาท แต่เมื่อ กทม.ถูกบังคับต้องหาเงินชำระหนี้คืน รฟม.โดยเร็ว จึงนำรถไฟฟ้าสายสีเขียวทั้งหมดเปิดประมูลตาม พ.ร.บ.ร่วมทุน 2556

ภายใต้เงื่อนไขเอกชนผู้ชนะต้องรับผิดชอบหนี้ก้อนโตที่ กทม.ต้องคืนให้ รฟม. รวมเงินต้นและดอกเบี้ยอยู่ที่กว่า 1.1 แสนล้านบาท แลกกับสัมปทานเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียวทั้งโครงข่าย 30 ปี

ขณะนี้ “กทม.” กำลังขออนุมัติจากกระทรวงมหาดไทย และกระทรวงการคลัง จัดหาแหล่งเงินกู้ พร้อมขอยกเว้นไม่ชำระเงินต้น 10 ปี นำมาเป็นค่าใช้จ่ายช่วง 10 ปีแรก ที่คาดว่าจะขาดทุนกว่า 2.1 หมื่นล้านบาท โดยจ่ายคืนหลังปี 2573 หากเซ็นสัญญาไม่ทันสิ้นปีนี้ กทม.ต้องจ้างบีทีเอสเดินรถให้เดือนละ 160 ล้านบาท

สายสีน้ำเงินรอปีหน้า

ต่อมาเป็นคิวสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย 27 กม. 20 สถานี งานโยธาคืบหน้า 99.26% เร็วกว่าแผน 0.35% งานระบบรถไฟฟ้าและเดินรถคืบหน้า 53.58% รฟม.จะเปิดช่วงหัวลำโพง-บางแค ในเดือน ส.ค. 2562 และช่วงบางซื่อ-ท่าพระ ในปี 2563 ปีเดียวกัน “กทม.” จะเปิดสายสีเขียวต่อขยาย “หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต” 18.7 กม. 16 สถานี ปัจจุบันงานโยธาทั้ง 4 สัญญา เสร็จ 72.71% เร็วกว่าแผน 3.01% งานระบบไฟฟ้าและเดินรถทางบีทีเอสอยู่ระหว่างดำเนินการ หากสร้างเสร็จเร็ว มีความเป็นไปได้สูงที่ กทม.จะประเดิมเปิดเดินรถช่วง “หมอชิต-เซ็นทรัล ลาดพร้าว” ก่อนในปี 2562 จากแผนจะเปิดในปี 2563

บางซื่อ-รังสิตเลื่อนเป็นปี”64

ขณะที่ “สายสีแดง” ช่วง “ตลิ่งชัน-บางซื่อ-รังสิต” ที่ “ร.ฟ.ท.-การรถไฟแห่งประเทศไทย” กำลังเร่งรัดจะเปิดให้ได้ตามแผนกลางปี 2563 แต่ดูแนวโน้มอาจจะขยับไปถึงต้นปี 2564 เพราะงานโยธาและติดตั้งระบบไฟฟ้าช่วงบางซื่อ-รังสิต 26 กม. ยังล่าช้าจากแผน

สัญญาที่ 1 งานสถานีกลางบางซื่อและศูนย์ซ่อมบำรุง คืบหน้า 74.92% ช้ากว่าแผน 1.2% ติดผู้บุกรุกบริเวณหมอชิต สัญญาที่ 2 งานสร้างทางรถไฟและสถานีคืบหน้า 99.44% ช้ากว่าแผน 0.56% ติดส่งมอบพื้นที่สร้างสกายวอล์ก

และสัญญา 3 งานระบบคืบหน้า 34.72% ช้าอยู่ 24.51% เพราะเปลี่ยนระบบอาณัติสัญญาณเป็นระบบ ETCS และเปลี่ยนจาก 3 ทางวิ่งเป็น 4 ทางวิ่ง

ส้ม-ชมพู-เหลืองติดเวนคืน

สายสีส้ม “ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี” 23 กม. 17 สถานี หลังเซ็นสัญญากับผู้รับเหมาเมื่อ ก.พ. 2560 กำลังเร่งรัดการเวนคืนที่แล้วเสร็จ 77.99% ช้า 0.13% ส่วนการก่อสร้าง 6 สัญญา คืบหน้า 13.57% เร็วกว่าแผน 2.95% งานระบบไฟฟ้าและเดินรถจะเปิดให้เอกชน PPP net cost รวมกับสายสีส้มตะวันตก “บางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรม” ตามแผนจะเปิดในปี 2566

ในส่วนของโมโนเรล 2 สาย 2 สี ที่เจ้าพ่อบีทีเอส “คีรี กาญจนพาสน์” ผนึกพันธมิตรรับเหมาซิโน-ไทยฯ และยักษ์พลังงาน “ราชบุรีโฮลดิ้งส์” ลงขันกันก่อสร้างกว่าแสนล้านบาท หลังจดปากกาเซ็นสัญญาเมื่อเดือน มิ.ย. 2560 เพิ่งจะได้รับมอบพื้นที่ เริ่มงานก่อสร้างอย่างเป็นทางการวันที่ 29 มิ.ย. 2561

โดยสายสีชมพู “แคราย-มีนบุรี” 34.5 กม. 30 สถานี การเวนคืนที่ดินแล้วเสร็จ 70.28% ช้าอยู่ 0.08% งานโยธาคืบหน้า 3.10% สายสีเหลือง “ลาดพร้าว-สำโรง” 30 กม. 23 สถานี เวนคืนแล้วเสร็จ 84.10% เร็วกว่าแผน 7.89% งานโยธาคืบหน้า 5.07% ทั้ง 2 เส้นทางจะเปิดบริการในปี 2564 พร้อมกับส่วนต่อขยายที่กลุ่มบีทีเอสเสนอลงทุนเพิ่มของสายสีเหลืองจาก “แยกรัชดาฯ-ลาดพร้าว-รัชโยธิน” และสายสีชมพูจาก “ศรีรัช-เมืองทองธานี” ซึ่งรอเสนอคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) อนุมัติเร็ว ๆ นี้

สายสีทองคืบหน้า 2.47%

ขณะที่ “โมโนเรลสายสีทอง” ซึ่งอยู่นอกแผนแม่บทรถไฟฟ้า ล่าสุด กทม.กำลังเร่งสร้างเฟสแรก 1.7 กม.เชื่อมบีทีเอสกรุงธนบรี-สำนักงานเขตคลองสาน โดยมี บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ เป็นผู้ก่อสร้าง ตอนนี้คืบหน้า 2.47% พร้อมเปิดบริการปี 2563

สำหรับที่จ่อจะประมูล มี 3 เส้นทาง 51.1 กม. มีสายสีแดงอ่อน “บางซื่อ-พญาไท-มักกะสัน และมักกะสัน-หัวหมาก” 19 กม. สายสีแดงเข้ม “บางซื่อ-หัวลำโพง” 8.5 กม. วงเงิน 44,157 ล้านบาท อยู่ระหว่าง ร.ฟ.ท.จัดทำแผนก่อสร้างให้สอดคล้องกับรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ตามแผนเปิดปี 2566สายสีม่วง “เตาปูน-ราษฎร์บูรณะ” 23.6 กม. 103,949 ล้านบาท หลัง ครม.อนุมัติเมื่อเดือน ก.ค. 2560 ล่าสุด รฟม.กำลังเคลียร์พื้นที่เวนคืนและเตรียมการประมูล ตามแผนเปิดปี 2567

ต่อขยายชานเมืองรอ ครม.

ยังรอเสนอ ครม.อนุมัติ มีส่วนต่อขยายสายสีน้ำเงิน “บางแค-พุทธมณฑล สาย 4” 8 กม. 14,790 ล้านบาท ซึ่ง รฟม.จะเปิดให้เอกชนร่วม PPP net cost และรอดูเรตติ้งสายสีน้ำเงินช่วงบางซื่อ-ท่าพระ และหัวลำโพง-บางแค จะเปิดใช้ในปี 2562 ก่อน ตามแผนจะเปิดปี 2566

ขณะที่สีเขียวต่อขยายช่วง “สมุทรปราการ-บางปู” 9.5 กม. 7,994 ล้านบาท และส่วนต่อขยาย “คูคต-ลำลูกกา” 6.5 กม. 6,337 ล้านบาท รอดูความชัดเจนรับโอนหนี้จาก กทม. ตามแผนจะเปิดในปี 2566

สายสีส้มช่วง “บางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรม” 13.4 กม. 109,342 ล้านบาท รฟม.อยู่ระหว่างขออนุมัติงานโยธาและเสนอขออนุมัติรูปแบบการลงทุนสายสีส้มทั้งโครงการรูปแบบ PPP net cost ตามแผนเปิดบริการปี 2568

สายสีแดงต่อขยาย “รังสิต-ม.ธรรมศาสตร์” 8.9 กม. 6,570 ล้านบาท อยู่ระหว่างคมนาคมขอความเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ก่อนนำเสนอให้ ครม.อนุมัติตามแผนจะเปิดปี 2565 เช่นเดียว

กับสายสีแดงต่อขยาย “ตลิ่งชัน-ศาลายา และตลิ่งชัน-ศิริราช” 19.5 กม. 17,671 ล้านบาท ตามแผนจะเปิดปี 2564

รอลุ้นโครงการที่เหลือจะได้รับการผลักดันจนครบทุกเส้นทางก่อนเสียงระฆังเลือกตั้งจะดังขึ้น ก.พ. 2562 หรือไม่
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44316
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 15/10/2018 2:41 pm    Post subject: Reply with quote

คมนาคมสั่งเพิ่มรถไฟฟ้าเมืองกรุง 5 สายใหม่
โพสต์ทูเดย์ วันที่ 15 ต.ค. 2561 เวลา 09:56 น.

คมนาคมสั่งเพิ่มรถไฟฟ้าเมืองกรุง 5 สายใหม่

รมว.คมนาคมให้ทำขนส่งทางรางด้วยไฟฟ้า 5 เส้นทาง รวม 131 กม.ใช้งบหลายแสนล้าน

นายสราวุธ ทรงศิวิไล ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยว่า กระทรวงคมนาคมอยู่ระหว่างจัดทำทิศทางและนโยบายการพัฒนา พร้อมปรับปรุงแบบจำลอง รวมถึงลงพื้นที่เพื่อพิจารณาเส้นทางที่เหมาะสมเพื่อพัฒนาโครงข่ายรถไฟฟ้าให้ครอบคลุมพื้นที่เขตเมือง ภายใต้แผนแม่บทขนส่งมวลชนระบบรางในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ระยะที่ 2 (M-MAP2)

อย่างไรก็ตาม ล่าสุดนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม ได้สั่งการให้เพิ่มรถไฟฟ้าสายใหม่ประมาณ 5 เส้นทาง ระยะทางรวม 131 กม. คาดว่า จะใช้เม็ดเงินลงทุนรวมหลายแสนล้านบาท ซึ่งทั้งหมดจะเป็นระบบขนส่งทางรางด้วยระบบไฟฟ้า (Metro Rail Transit) สายยาวเป็นวงแหวนรถไฟลากตามแนว พื้นที่เขตชานเมืองช่วงบางหว้า-ตลิ่งชัน-นนทบุรี ซึ่งการออกแบบจะให้เป็นรถไฟฟ้าที่เชื่อมสถานีขนส่งหลักและเชื่อมกับรถไฟฟ้าสีต่างๆ เพื่อเป็นฟีดเดอร์กวาดคนชานเมืองเข้าสู่ระบบขนส่งรถไฟฟ้าระบบหลัก พร้อมกันนี้ยังมีแผนต่อขยายรถไฟฟ้าสายเดิมบางเส้นทางไปยังเขตชานเมืองให้มากขึ้นอีกด้วย

นายสราวุธ กล่าวว่า สำหรับแนวทางการพัฒนารถไฟฟ้าดังกล่าวนั้นมีเป้าหมายคือดึงประชาชนในกรุงเทพฯ และปริมณฑลหันมาใช้บริการรถไฟฟ้ามากขึ้น หลังพบว่าปัจจุบันสัดส่วนการใช้ระบบรถไฟฟ้าอยู่ที่เพียง 4% ของการเดินทางทั้งหมดซึ่งถือว่าน้อยมาก ซึ่งเป้าหมายคือต้องการเพิ่มเป็น 8-10% เมื่อรถไฟฟ้าเฟส 1 รวม 10 เส้นทางเปิดบริการ และเมื่อรถไฟฟ้าเฟส 2 อีก 10 เส้นทางแล้วเสร็จจะเพิ่มสัดส่วน 15% หรือมากกว่าปัจจุบันกว่า 3 เท่า

นายสราวุธ กล่าวว่า ปัญหาการจราจรปัจจุบันเป็นผลจากมีการใช้รถยนต์ส่วนบุคคลมากเกินไป ตามแผนของกระทรวงคมนาคมจึงต้องส่งเสริมให้ประชาชนหันมาใช้ระบบขนส่งสาธารณะ ซึ่งสิ่งที่ประชาชนต้องการคือแตะบัตรใบเดียวเชื่อมต่อได้ และรถโดยสารมาตรงเวลาไม่รอนาน การเชื่อมต่อมีความต่อเนื่อง

สำหรับแผนการพัฒนาศูนย์กลางการขนส่งหลัก (Terminal Station) เพื่อเป็นจุดเชื่อมต่อระบบขนส่งแบบไร้รอยต่อระหว่างรถไฟฟ้าและการขนส่งสาธารณะทุกรูปแบบนั้น เบื้องต้นได้กำหนดสถานีหลักไว้ 6 จุด ได้แก่ สถานีนนทบุรี สถานีมีนบุรี สถานีตลิ่งชัน สถานีบางหว้า สถานีบางนา และสถานีบางกะปิ ขณะที่สถานีรองอีก 7 จุดประกอบด้วย สถานีหัวหมาก สถานีหลักสี่ สถานีบางขุนนนท์ สถานีลาดพร้าว สถานีบางใหญ่ สถานีบางขุนเทียน และสถานีสมุทรปราการ
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 186, 187, 188 ... 277, 278, 279  Next
Page 187 of 279

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©