Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311283
ทั่วไป:13263856
ทั้งหมด:13575139
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม(บางซื่อ-รังสิต และ บางซื่อ-หัวลำโพง)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม(บางซื่อ-รังสิต และ บางซื่อ-หัวลำโพง)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 59, 60, 61 ... 148, 149, 150  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 16/10/2018 10:11 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
ญี่ปุ่นจ่อลงทุนส่วนขยายรถไฟสีแดง
โพสต์ทูเดย์ วันที่ 16 ต.ค. 2561 เวลา 07:46น.

ญี่ปุ่น สนใจลงทุนสายสีแดงต่อขยายช่วง 'ศิริราช-ตลิ่งชัน-ศาลายา' 2หมื่นล้าน

16 ตุลาคม พ.ศ. 2561 เวลา 09:03 น.

"ญี่ปุ่น"สนลงทุนสายสีแดงส่วนต่อขยาย 2 หมื่นล้าน เล็งเฟสแรกเปิดใช้ฟรีเป็นของขวัญปีใหม่ให้ประชาชนปลายปี 63 ลุยศึกษาพัฒนาศิริราช-รังสิต จุดเชื่อมขนส่ง เสนอตั้งบอร์ดระบบรางเมืองหลวงกำกับแผนพัฒนา

นายสราวุธ ทรงศิวิไล ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยว่าความคืบหน้าโครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดงส่วนต่อขยายมูลค่า 2.42 หมื่นล้านบาท ประกอบด้วย โครงการรถไฟฟ้าสายสีแดงส่วนต่อขยาย ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา วงเงิน 1.02 หมื่นล้านบาท รถไฟฟ้าสายสีแดงช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช วงเงิน 7.46 พันล้านบาท และรถไฟฟ้าสีแดงส่วนต่อขยายช่วงรังสิต-ธรรมศาสตร์ วงเงิน 6.57 พันล้านบาท นั้นสภาพัฒน์จะทำการประชุมพิจารณาภายในช่วงปลายเดือนนี้หากได้รับความเห็นชอบจะเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)ภายในเดือนหน้าเพื่อเปิดประมูลโครงการต่อไป

สำหรับรูปแบบการลงทุนนั้นอยู่ระหว่างศึกษามีทั้งการเปิดประมูลทั่วไปและการเปิดให้เอกชนร่วมลงทุนพีพีพี ซึ่งทางเอกชนคู่สัญญาด้านการเดินรถของรถไฟฟ้าสายสีแดงเฟสแรกอย่างกลุ่มร่วมค้า MHSC (บริษัท MITSUBISHI Heavy Industrial Ltd บริษัท Hitachi และ บริษัท Sumitomo Corporation) นั้นให้ความสนใจเข้ามาลงทุนต่อเนื่องเพื่อให้การเดินรถมันไหลลื่นไม่ต้องเปลี่ยนขบวนใหม่

อย่างไรก็ตามส่วนด้านความคืบหน้าโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดงช่วงบางซื่อ-รังสิต ขณะนี้ดำเนินการก่อสร้างเป็นไปตามแผนคาดว่าจะเปิดให้บริการในเดือน ม.ค. 2564 โดยจะเป็นการทดลองเปิดเดินรถให้ประชาชนใช้บริการฟรีก่อนในช่วงเดือนธ.ค. 2563 เพื่อเป็นของขวัญปีใหม่ให้กับประชาชน ก่อนเริ่มเก็บอัตราค่าโดยสารจริงในเดือน ม.ค. ต่อไป ส่วนด้านความคืบหน้าสัญญาที่ 3 งานระบบราง อาณัติสัญญาณ และขบวนรถไฟฟ้า วงเงิน 3.2 หมื่นล้านบาทนั้นบริษัทคู่สัญญาคือกลุ่มร่วมค้า MHSC (มิตซูบิชิเฮฟวี่-ฮิตาชิ-สุมิโตโม) ผู้ผลิตจากประเทศญี่ปุ่นแจ้งว่าขณะนี้ได้ทำการผลิตตัวรถแล้ว คาดว่าจะส่งมอบทั้งหมดได้ภายในเดือน มิ.ย. 2563 เพื่อทำการทดสอบ 6 เดือน

นายสราวุธกล่าวต่อว่าสนข.ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมให้ประชาชนหันมาใช้รถไฟชานเมืองเพื่อเชื่อมต่อการเดินทางไปยังเขตเมืองชั้นในดังนั้นจึงต้องเร่งศึกษาแผนพัฒนาระบบเชื่อต่อตามสถานีขนาดใหญ่ของรถไฟสายสีแดงเพื่อให้รองรับปริมาณการเดินทางที่เหมาะสมรวมถึงพัฒนาจุดจอดแล้วจรอีกด้วย โดยเฉพาะสถานีศิริราชที่จะต้องมีการทำเป็นสถานีเชื่อมต่อระบบรถไฟฟ้าสายสีส้มและสถานีรังสิตที่มีกลุ่มประชากรจำนวนมากอาศัยอยู่

อย่างไรก็ตามสนข.จะเสนอกระทรวงคมนาคมให้จัดตั้งคณะกรรมการกำกับดูแลโครงการระบบรางในเขตเมืองหลวงและปริมณฑล ตั้งขึ้นมาเพื่อกำกับดูแลแผนพัฒนาโครงการให้เป็นไปตามเป้าหมายโดยเริ่มจากสายสีแดงเป็นเส้นทางแรก สำหรับคณะกรรมการดังกล่าวจะประกอบด้วยหน่วยงานในกระทรวงอย่างเช่น การรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.)และบริษัทผู้รับเหมาเป็นต้น

รายงานข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.)แจ้งถึงความคืบหน้าโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต ระยะทาง26.3 กม. ภาพรวมคืบหน้าไปแล้ว 60% มีทั้งหมด3สัญญา โดยสัญญาที่1 งานสถานีกลางบางซื่อและศูนย์ซ่อมบำรุง ก่อสร้างโดยกลุ่มกิจการร่วมค้า SU (บมจ.ซิโน-ไทยฯ และ บมจ.ยูนิคฯ) มีผลงานกว่า 70% ตามสัญญาจะแล้วเสร็จในเดือน พ.ย. 2562 สัญญาที่ 2 งานโครงสร้างทางวิ่งยกระดับและระดับพื้นงานสถานี 8 แห่งและถนนเลียบทางรถไฟ ก่อสร้างโดย บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ ปัจจุบันคืบหน้า 99 % แต่มีปัญหาการส่งมอบพื้นที่ sky walk จำนวน 12 แห่งที่ยังมอบให้ไม่ครบ เช่นสถานีดอนเมือง หลักสี่ การเคหะฯ ทุ่งสองห้อง บางเขน เป็นต้น ซึ่งขณะนี้การรถไฟฯได้ดำเนินการเร่งเจรจากับเจ้าของพื้นที่เพื่อดำเนินการติดตั้งsky walk ให้ครบทั้ง2ด้าน แล้วเสร็จเดือน ก.ย. 2562ส่วนสัญญาที่ 3 งานระบบไฟฟ้า เครื่องกล และจัดหาตู้รถไฟฟ้า คืบหน้าไปแล้ว 25% อาจมีการการขยายเวลาออกไปเนื่องจากเพิ่งเริ่มงาน

รายงานข่าวแจ้งต่อว่าส่วนกรณีที่ผู้รับเหมาจะขอขยายเวลา ในส่วนของสัญญาที่ 1 และ 2 เพิ่มขึ้นนั้นคาดว่าไม่น่าจะเป็นไปได้เนื่องจากที่ผ่านมาปัญหาการเข้าพื้นที่ในสัญญาที่1แะละ2 เข้าได้หมดแล้วในส่วนที่เกี่ยวกับการก่อสร้างสถานีกลางบางซื่อ และทางรถไฟสายหลัก เพราะผู้รับเหมามีหน้าที่จะต้องเร่งรัดงานให้เสร็จตามเป้าหมายที่การรถไฟตั้งเป้าเปิดให้บริการ ส่วนที่มีการขอขยายวงเงินการก่อสร้างเพิ่มขึ้น 1,000 ล้านบาท นั้นอยู่ระหว่างพิจารณารายละเอียดเสนอให้คณะกรรมการ (บอร์ด) รฟท.พิจารณาอีกครั้ง

สนข.ดึงเอกชนร่วมทุน ต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีแดง3ช่วง
วันอังคาร ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2561, 06.00 น.


นายสราวุธ ทรงศิวิไล ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดงส่วนต่อขยาย ประกอบด้วย1.ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา วงเงิน 10,200 ล้านบาท 2.ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช วงเงิน 7,460 ล้านบาท และ3.ช่วงรังสิต-ธรรมศาสตร์ วงเงิน 6,570 ล้านบาท ว่าขณะนี้การดำเนินการโครงการส่วนต่อขยายดังกล่าวอยู่ระหว่างศึกษารูปแบบการลงทุนที่มีทั้งการเปิดประมูลทั่วไป และการเปิดให้เอกชนร่วมลงทุน(PPP) คาดว่า สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือสศช.(สภาพัฒน์) จะมีการพิจารณาภายในช่วงปลายเดือนตุลาคม นี้หากได้รับความเห็นชอบจะเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) ภายในเดือนหน้าเพื่อเปิดประมูลโครงการต่อไป



ทั้งนี้ทางเอกชนคู่สัญญาด้านการเดินรถของรถไฟฟ้าสายสีแดงระยะที่ 1 คือกลุ่มร่วมค้า MHSC (บริษัท MITSUBISHI Heavy Industrial Ltd. บริษัท Hitachi และ บริษัท Sumitomo Corporation) นั้น ก็ได้ให้ความสนใจเข้ามาลงทุนต่อเนื่องเพื่อให้บริการเดินรถมีความต่อเนื่องไม่ต้องเปลี่ยนขบวนใหม่

ส่วนความคืบหน้าการก่อสร้างในส่วนของช่วงบางซื่อ-รังสิต นั้นการดำเนินการก่อสร้างเป็นไปตามแผนคาดว่าจะเปิดให้บริการในเดือนมกราคม 2564 และจะมีการทดลองเปิดเดินรถให้ประชาชนใช้บริการฟรีก่อนในช่วงปลายปี 2563

มีรายงานจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ระบุว่าความคืบหน้าโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต ขณะนี้ภาพรวมคืบหน้าไปแล้ว 60%
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 26/10/2018 6:14 pm    Post subject: Reply with quote

26ต.ค.61 คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (บอร์ด สศช.) เห็นชอบโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) 3 เส้นทาง ได้แก่
ตลิ่งชัน-ศาลายา,
ตลิ่งชัน-ศิริราช และ
รังสิต- ม.ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
ก่อนกระทรวงคมนาคมประมวลเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้อนุมัติโครงการต่อไป
https://www.facebook.com/ake.bluechifamily/posts/1998328880214047
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 13/11/2018 4:47 pm    Post subject: Reply with quote

เบี่ยงจราจรบนด่วน 2 และศรีรัช-วงแหวนฯ 4 ทุ่ม-ตี 5 ติดตั้งทางวิ่งรถไฟสีแดง
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: อังคารที่ 13 พฤศจิกายน 2561 เวลา 15:05
ปรับปรุง: อังคารที่ 13 พฤศจิกายน 2561 เวลา 15:12



กทพ.แจ้งเบี่ยงจราจรบนทางพิเศษศรีรัช และทางพิเศษสายศรีรัช-วงแหวนรอบนอก ระหว่างวันที่ 15 พ.ย.-14 ธ.ค. 2561 เวลา 22.00-05.00 น.

การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) แจ้งว่า มีความจำเป็นต้องเบี่ยงการจราจรบนทางพิเศษศรีรัช และทางพิเศษสายศรีรัช-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร เพื่อดำเนินการติดตั้งชิ้นส่วนโครงสร้างทางวิ่งรถไฟยกระดับข้ามทางพิเศษในโครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดง (ช่วงบางซื่อ-รังสิต) โดยมีรายละเอียดดังนี้

- เบี่ยงจราจรบนทางพิเศษศรีรัชบริเวณก่อนถึงด่านเก็บค่าผ่านทางพิเศษบางซื่อ ฝั่งขาเข้าเมืองประมาณ 1 กิโลเมตร ระหว่างวันที่ 15 พฤศจิกายน-14 ธันวาคม 2561 ตั้งแต่เวลา 22.00-05.00 น. ของทุกวัน
- เบี่ยงจราจรบนทางพิเศษสายศรีรัช-วงแหวนรอบนอก บริเวณนิคมรถไฟ กม.11 ห่างจากด่านเก็บค่าผ่านทางพิเศษประชาชื่น ฝั่งขาเข้าเมืองประมาณ 1 กิโลเมตร ระหว่างวันที่ 16-30 พฤศจิกายน 2561 ตั้งแต่เวลา 22.00-05.00 น.

ทั้งนี้ อาจจะมีการหยุดการจราจรเป็นระยะเพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้ทาง โดยจะได้มีการติดตั้งป้ายเตือนก่อนถึงพื้นที่ดำเนินการและติดตั้งไฟสัญญาณต่างๆ เพื่อให้สัญญาณแก่ผู้ใช้ทางทราบ


Last edited by Wisarut on 13/11/2018 10:38 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 13/11/2018 10:37 pm    Post subject: Reply with quote

‘อาคม’เร่งรถไฟสายสีแดง3 เส้นทางลงทุน 2.4 หมื่นล้านชงครม.โค้งท้ายปีนี้
อังคารที่ 13 พฤศจิกายน 2561




“อาคม” ลุ้นครม.อนุมัติแบ่งสัญญาประมูลรถไฟฟ้าสายสีแดง 3 เส้นทาง 2.4 หมื่นล้านบาท ส่วนสีแดงช่วงในเขตกรุงเทพฯ รอความชัดเจนรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ด้านรฟม.มีลุ้นสายสีส้มตะวันตกหลุดโค้งเสนอครม.ต้นปีหน้า

ใกล้โค้งสุดท้ายปี 2561 ยังคงได้ตามลุ้นประมูลเมกะโปรเจ็กต์ขนาดใหญ่ของกระทรวงคมนาคมทิ้งทวน โฟกัสไปที่ไฮไลต์รถไฟฟ้าสายสีแดง 3 ช่วง รวมมูลค่าการลงทุนกว่า 2.4 หมื่นล้านบาท เร่งชงครม. อนุมัติปลายปีนี้ ส่วนรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้และสายสีส้มตะวันตกยังมีลุ้นการพิจารณาร่วมลงทุนพีพีพี


อาคม เติมพิทยาไพสิฐ



นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่าในช่วงโค้งสุดท้ายปีนี้อยู่ระหว่างการเร่งนำโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง 3 ช่วงคือช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา วงเงินลงทุน 1.02 หมื่นล้านบาท, ตลิ่งชัน-ศิริราช วงเงินลงทุน 7,400 ล้านบาท และช่วงรังสิต-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต วงเงินลงทุน 8,500 ล้านบาทที่ผ่านการเห็นชอบเรื่องการลงทุนของสศช.และหน่วยงานที่เกี่ยวของเสนอความเห็นเรียบร้อยแล้วเมื่อวันที่ 17 ตุลาคมที่ผ่านมาเพื่อเร่งเสนอครม.อนุมัติให้ดำเนินการ

โดยสายสีแดงจะเป็นเส้นทางเชื่อมโยงพื้นที่กรุงเทพมหานครโซนตะวันตกและยังเชื่อมโยงศูนย์การแพทย์สำคัญทั้ง 3 แห่ง คือศิริราช รามาธิบดี และมหิดล เข้าด้วยกันเพื่อให้เกิดประโยชน์ด้านการเดินทางและอำนวยความสะดวกให้บุคลากรทางการแพทย์ตลอดจนประชาชนทั่วไปสามารถเข้าถึงบริการทางการแพทย์ได้มากยิ่งขึ้น

“สายสีแดงยังเป็นลำดับต้นๆที่จะเสนอครม.อนุมัติได้ในปลายปีนี้ เช่นเดียวกับสายสีส้มตะวันตก ช่วงบางขุนนนท์- ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ซึ่งก็จะครบตามแผนทั้งหมดที่เสนอครม.อนุมัติดำเนินการ”

นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า สำหรับรถไฟฟ้าสายสีเขียวที่ก่อสร้าง 2 ช่วงในปัจจุบัน ช่วงตะวันออกจากสำโรง-สมุทรปราการคาดว่าจะเปิดทดลองตั้งแต่วันที่ 26 พฤศจิกายนนี้เป็นต้นไป โดยพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเป็นประธานหลังจากนั้นจะทดสอบให้บริการฟรีเป็นระยะเวลา 4 เดือน

เช่นเดียวกับช่วงเหนือจากหมอชิตไปถึงคูคตจะเปิดให้บริการในปี 2563 โดยจะเร่งช่วงสถานีหมอชิตไปถึงสถานีเซ็นทรัลลาดพร้าวให้เปิดบริการได้ในเดือนสิงหาคม 2562




“สายสีเขียวจะมีการนำขบวนรถใหม่เข้ามาเพิ่มจาก 51 ขบวนเป็น 100 ขบวนเชื่อว่าจะลดความแออัดลงไปได้ จะเริ่มทยอยเพิ่มรถตั้งแต่ปลายปีนี้เป็นต้นไป โดยจะเปิดให้บริการทั้งเส้นทาง”

ด้านนายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) กล่าวว่า ได้เร่งรัดให้เร็วขึ้นสำหรับการก่อสร้างหลายจุดโดยเฉพาะสายสีเขียวเหนือและสายสีเขียวใต้ ซึ่งเส้นทางช่วง 5 แยกลาดพร้าวไปถึงแยกมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์บางเขนที่จะมีการก่อสร้างสะพานยกระดับ ตั้งแต่แยกรัชโยธินไปจนถึงแยกมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยมีแผนเปิดให้บริการในสิ้นปีนี้ ส่วนช่วงแยกรัชโยธิน-แยกเสนานิคมจะเปิดให้บริการได้ภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2562

“นอกจากนั้นยังมีสายสีส้มตะวันตกช่วงบางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมฯเสนอกระทรวงคมนาคมเห็นชอบก่อนนำเข้าสู่การพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ(สคร.) และคณะกรรมการนโยบายการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (คณะกรรมการพีพีพี) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก่อนเสนอครม.ต้นปีหน้าต่อไป”

ด้านนายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการ การรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.) กล่าวว่า กรณีสถานีกลาง บางซื่อยังกำหนดเปิดให้บริการในปี 2564 ที่จะสอดคล้องกับการเปิดให้บริการรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชันที่ก่อสร้างแล้วเสร็จไปแล้ว ส่วนช่วงบางซื่อ-รังสิตอยู่ระหว่างการก่อสร้างมีแผนเปิดให้บริการปี 2564
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 13/11/2018 11:27 pm    Post subject: Reply with quote

การรถไฟฯ” พับแผนศึกษารถไฟฟ้าสายสีแดงส่วนต่อขยาย ช่วง หัวลำโพง - มหาชัย หลังประชาชนในพื้นที่คัดค้าน ทำให้โครงการ ดังกล่าว จัดอยู่ในโครงการที่ไม่เร่งด่วนในการลงทุน โครงการนี้จึงต้องยกเลิกออกไปก่อน อาจจะไปอยู่ช่วงท้ายๆ ของการพัฒนาแผนแม่บทระยะ 20 ปี”
https://www.thebangkokinsight.com/63709/
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44522
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 14/11/2018 8:26 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
การรถไฟฯ” พับแผนศึกษารถไฟฟ้าสายสีแดงส่วนต่อขยาย ช่วง หัวลำโพง - มหาชัย หลังประชาชนในพื้นที่คัดค้าน ทำให้โครงการ ดังกล่าว จัดอยู่ในโครงการที่ไม่เร่งด่วนในการลงทุน โครงการนี้จึงต้องยกเลิกออกไปก่อน อาจจะไปอยู่ช่วงท้ายๆ ของการพัฒนาแผนแม่บทระยะ 20 ปี”
https://www.thebangkokinsight.com/63709/

พับแผนรถไฟสีแดงประชาชนแห่คัดค้าน
กรุงเทพธุรกิจ 14 พ.ย. 61
เมกะโปรเจ็กต์

ร.ฟ.ท.พับแผนพัฒนาส่วนต่อขยายรถไฟสายสีแดงเข้ม ช่วงหัวลำโพง-บางบอน-มหาชัย หลังประชาชนในพื้นที่คัดค้าน พร้อมเดินหน้าพัฒนารถไฟทางคู่ 8 โครงการต่อเนื่อง มั่นใจคลอดประมูลทันปี 2562

นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการแทนผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า ร.ฟ.ท.ได้ยกเลิกศึกษาโครงการส่วนต่อขยายรถไฟสายสีแดงเข้ม ช่วงหัวลำโพง-บางบอน-มหาชัย ระยะทาง 38 กิโลเมตรออกไปก่อน เนื่องจากการทำประชาพิจารณ์จากประชาชนในพื้นที่ไม่ตอบสนองต่อการก่อสร้าง ทำให้โครงการจัดอยู่ในกลุ่มการลงทุนที่ไม่เร่งด่วน

สำหรับรถไฟสายสีแดงเข้ม ช่วงหัวลำโพง-บางบอน-มหาชัย จากการศึกษาเบื้องต้นจะมี 18 สถานี เริ่มจากหัวลำโพงที่เชื่อมโยงกับสายสีแดงเข้ม ช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง และรถไฟฟ้าสายเฉลิมรัชมงคล ต่อไปเป็นสถานีคลองสาน วงเวียนใหญ่ มีจุดเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ เตาปูน-ราษฎร์บูรณะ และสายสีเขียว ถัดมาที่สถานีตลาดพลู เชื่อมต่อสายสีเขียว สถานีตากสิน เชื่อมต่อสายสีเขียว สถานีจอมทอง วัดไทร วัดสิงห์ บางบอน รางสะแก รางโพธิ์ สามแยก พรมแดน ทุ่งสีทอง บางน้ำจืด คอกควาย บ้านขอม และสิ้นสุดที่สถานีมหาชัย

สำหรับแผนลงทุนของ ร.ฟ.ท.ขณะนี้ยังเหลือโครงการที่ต้องเร่งรัดเปิดประมูล และก่อสร้างหลักๆ อีก 8 โครงการ มูลค่ารวมกว่า 3 แสนล้านบาท ประกอบไปด้วยการพัฒนารถไฟทางคู่สายเดิม 7 โครงการ และทางคู่เส้นใหม่ 1 โครงการ
1.ช่วงปากน้ำโพ-เด่นชัย ระยะทาง 285 กิโลเมตร วงเงิน 62,883.55 ล้านบาท
2.ช่วงเด่นชัย-เชียงใหม่ ระยะทาง 189 กิโลเมตร วงเงิน 56,837.78 ล้านบาท
3.ช่วงชุมทาง ถ.จิระ-อุบลราชธานี ระยะทาง 308 กิโลเมตร วงเงิน 37,527.10 ล้านบาท
4.ช่วงขอนแก่น-หนองคาย ระยะทาง 169 กิโลเมตร วงเงิน 26,663.26 ล้านบาท
5.ช่วงชุมพร-สุราษฎร์ธานี ระยะทาง 168 กิโลเมตร วงเงิน 24,294.36 ล้านบาท
6.ช่วงสุราษฎร์ธานี-ชุมทางหาดใหญ่-สงขลา ระยะทาง 324 กิโลเมตร วงเงิน 57,375.43 ล้านบาท
7.ช่วงชุมทางหาดใหญ่-ปาดังเบซาร์ ระยะทาง 45 กิโลเมตร วงเงิน 8,120.12 ล้านบาท และ
8.โครงการพัฒนาสายทางใหม่ ช่วงบ้านไผ่-มุกดาหาร-นครพนม ระยะทาง 355 กิโลเมตร มูลค่าโครงการ 67,965.33 ล้านบาท
ทั้งนี้ สถานะปัจจุบันกระทรวงคมนาคมอยู่ระหว่างพิจารณา ก่อนทยอยเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติ โดย ร.ฟ.ท.มั่นใจว่าจะเปิดประมูลแล้วเสร็จในปี 2562

รายงานข่าวจาก ร.ฟ.ท.เผยว่า ประชาชนในแนวพื้นที่คัดค้าน เช่นเรื่องเวนคืนที่ดินแนวเส้นทางสร้างในบริเวณชุมชน ทำให้กังวลว่าจะกระทบต่อแนวเขตทางแคบลง กลัวปัญหาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม มีมลพิษทางอากาศ ทัศนียภาพโดยรอบจะไม่สวยงาม และธุรกิจร้านค้าที่มีในพื้นที่อาจได้รับผลกระทบ
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 14/11/2018 5:34 pm    Post subject: Reply with quote

ดับฝันคนมหาชัย เบรก “รถไฟฟ้าสายสีแดง” การรถไฟฯ อ้างประชาชนคัดค้าน
– กิตตินันท์ นาคทอง –
BY SAKHONONLINE
14 พฤศจิกายน 2561

“เดิมโครงการนี้อยู่ในแผนแม่บทใหญ่ของกระทรวงคมนาคม การรถไฟฯ ตั้งใจจะพัฒนาส่วนต่อขยาย หัวลำโพง-บางบอน-มหาชัย ให้เป็นโครงการขนส่งผู้โดยสารจากฝั่งธนบุรีเข้ามาในเมือง แต่ประชาชนเห็นว่าไม่ใช่โครงการที่ตอบสนองเต็มที่ ไม่สนับสนุนให้เร่งก่อสร้าง จึงต้องยกเลิกออกไปก่อน โดยกระทรวงคมนาคม อาจจะนำไปบรรจุไว้ในโครงการท้ายๆ ตามแผนแม่บทระยะ 20 ปี”

นี่เป็นคำให้สัมภาษณ์ของ นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า ได้ยกเลิกศึกษาโครงการก่อสร้างส่วนต่อขยาย รถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม ช่วงหัวลำโพง-บางบอน-มหาชัย ระยะทาง 38 กิโลเมตร

โดยให้เหตุผลว่า เนื่องจากผลการทำประชาพิจารณ์ประชาชนในพื้นที่ พบว่า “ประชาชนไม่ตอบสนองและคัดค้านการก่อสร้าง” โดยเฉพาะ “ประเด็นเรื่องเวนคืนที่ดิน” แนวเส้นทางต้องไปก่อสร้างบริเวณชุมชน ทำให้โครงการดังกล่าวจัดอยู่ในโครงการที่ไม่เร่งด่วนในการลงทุน

เดิมโครงการดังกล่าว เป็นการก่อสร้างจากสถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) ไปตามถนนมหาพฤธาราม ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณท่าเรือสี่พระยา ไปตามถนนเจริญรัถ ก่อนไปตามแนวเส้นทางรถไฟสายวงเวียนใหญ่-มหาชัย สิ้นสุดที่จังหวัดสมุทรสาคร ระยะทาง 38 กิโลเมตร

มีสถานีทั้งหมด 18 สถานี ได้แก่ สถานีหัวลำโพง สถานีคลองสาน สถานีวงเวียนใหญ่ สถานีตลาดพลู สถานีตากสิน สถานีจอมทอง สถานีวัดไทร สถานีวัดสิงห์ สถานีบางบอน สถานีรางสะแก สถานีรางโพธิ์ สถานีสามแยก สถานีพรมแดน สถานีทุ่งสีทอง สถานีบางน้ำจืด สถานีคอกควาย สถานีบ้านขอม และ สถานีมหาชัย



โครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) เดิมเป็นโครงการที่การรถไฟฯ ตั้งใจจะเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง ได้แก่ บางซื่อ-ตลิ่งชัน, บางซื่อ-รังสิต, บางซื่อ-มักกะสัน และระบบรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ที่จะพัฒนาเป็นโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา

อันที่จริงโครงการนี้ การรถไฟฯ มีแผนมานานกว่า 10 ปีแล้ว พร้อมกับจะพัฒนาทางรถไฟสายแม่กลอง ระหว่างมหาชัย-แม่กลอง-ปากท่อ ไปเชื่อมต่อกับทางรถไฟสายใต้ ระยะทาง 56 กิโลเมตร เพื่อรองรับรถไฟชานเมือง และรถไฟทางไกล อำนวยความสะดวกในการเดินทาง

แต่ที่ผ่านมา ถูกประชาชนในพื้นที่แนวเส้นทางคัดค้านอย่างต่อเนื่องจนโครงการดำเนินต่อไปไม่ได้ อาทิ

1. ประเด็นการก่อสร้างศูนย์คมนาคมขนส่งตากสิน ที่จะนำเอาสถานีขนส่งสายใต้มาร่วมด้วย ถูกประชาชนและเจ้าของที่ดินย่านถนนรัชดาภิเษก ตลาดพลู เขตธนบุรีคัดค้านเรื่องการเวนคืนที่ดิน

2. เส้นทางที่ต้องข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ไปยังฝั่งถนนมหาพฤฒาราม ถูกประชาชนในย่านคลองสานคัดค้าน เพราะถนนเจริญรัถมีลักษณะเขตทางแคบ กระทบกับย่านร้านค้าวัสดุเครื่องหนัง ทั้งๆ ที่ในอดีต เป็นแนวเส้นทางรถไฟเก่าปากคลองสาน แต่ได้มีการถมรางรถไฟทำถนนในสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี

3. ในช่วงที่กรุงเทพมหานคร จะสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ถนนมหาพฤฒาราม เชื่อมกับถนนลาดหญ้า ประชาชนก็คัดค้านเสียงแข็ง อ้างว่า กระทบด้านสิ่งแวดล้อมของคนในพื้นที่ มีมลพิษทางอากาศ ทัศนียภาพไม่สวยงาม โบราณสถานของคนในชุมชนจะสูญหาย ธุรกิจ ร้านค้าที่มีอยู่ในปัจจุบันจะได้รับผลกระทบ

อีกประเด็นหนึ่ง คือ ทางรถไฟสายวงเวียนใหญ่-มหาชัย เปิดเดินรถมาตั้งแต่ปี 2447 หรือ 114 ปีก่อน ที่ผ่านมามีชาวบ้านเข้าไปตั้งบ้านเรือนอาศัยชิดทางรถไฟจำนวนมาก ตั้งแต่วงเวียนใหญ่ถึงบางบอน อ้างว่าจ่ายค่าเช่าที่ทุกเดือน เดือนละ 200 บาท

ทุกวันนี้ขนาดซ่อมทางรถไฟยังซ่อมได้แบบตามมีตามเกิด กลายเป็นอุปสรรคในการเวนคืนที่ดิน เพราะจะต้องมีชาวบ้านริมทางรถไฟออกมาคัดค้านแน่นอน



เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2559 นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม เคยประชุมยกร่างแผนแม่บทโครงข่ายรถไฟฟ้ากรุงเทพฯ และปริมณฑล ระยะที่ 2 เริ่มตั้งแต่ปี 2562 – 2572 โดยจะมีการกำหนดแนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายใหม่ เป้าหมายสำคัญคือ ต้องต้องกระจายความแออัดจากกรุงเทพฯ ออกสู่ชานเมืองมากขึ้น

แผนแม่บทฉบับนี้ จะเป็นแนวเส้นทางที่ขีดขึ้นใหม่ทั้งหมด โดยสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ได้ของบประมาณปี 2560 จำนวน 30 ล้านบาท เพื่อจัดจ้างบริษัทที่ปรึกษา ใช้เวลาศึกษา 1 ปี ก่อนเสนอผลการศึกษาให้คณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก และคณะรัฐมนตรี พิจารณาอนุมัติโครงการ

แต่แผนการต่อขยายรถไฟชานเมือง ช่วงหัวลำโพง-บางบอน-มหาชัย รมว.คมนาคม กล่าวว่า ต้องยุติแผนไปก่อน เพราะประชาชนในพื้นที่ต่อต้าน ทำให้โครงการไม่ผ่านการพิจารณาเรื่องการมีส่วนร่วมของชุมชน

ถึงวันนี้ โครงการที่มองว่าจะสร้างความเจริญทางเศรษฐกิจ โครงการที่นักการเมืองมักหยิบมาหาเสียง และโครงการที่นักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์พากันชูโรง เฉกเช่นโครงการรถไฟสายสีแดง หัวลำโพง-บางบอน-มหาชัย สุดท้ายก็ไปไม่ถึงฝัน เพราะวันนี้การรถไฟฯ ดับฝันคนมหาชัยเรียบร้อยแล้ว


Note: ก็เพราะ คนที่อยู่แถวลาดหน้า วงเวียนใหญ่ คลองสาน รวมไปถึงตลาดพลูนี่แหละ ประกาศตัวเป็น ไอ้เข้ขวางคลอง ชนิดว่าถ้าไม่เอาลงใต้ดิน จนพ้นตลาดพลุหละก็ ไม่ยอมให้ผ่านเป็นอันขาด แต่ ค่าเอาลงใต้ดินมันแพงกว่าลอยฟ้า ร่วม 2 – 3 เท่า จะเอาไหมหละครับ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 15/11/2018 11:42 am    Post subject: Reply with quote

วันนี้คุณ archstudent ได้ให้ข้อมูลในกรณีที่ต้องขุดอุโมงค์ใต้ดิน สร้างทางรถไฟฟ้าสายสีแดง ตามที่ สนข. ได้ศึกษาไว้ น่าสนใจมากจริงๆ

archstudent wrote:
ลองคาดเดารูปแบบโครงการสายสีแดงใต้ (หัวลำโพง-วงเวียนใหญ่-มหาชัย) ดูครับ เนื่องจากปัจจุบันมีข่าวว่าจะปรับทางสายนี้เป็นใต้ดินตั้งแต่ช่วงหัวลำโพงเป็นต้นมา เลยสนใจว่ามันจะมีผลกระทบอย่างไรบ้างกับสายสีแดง missing link ปัจจุบันแล้วหน้าตาโครงการส่วนขยายต่อไปจะออกมาแบบไหน โดยจะกำหนดขอบเขตอยู่ที่สถานีหัวลำโพง - สถานีจอมทอง เพราะช่วงนี้เป็นช่วงในเมืองที่พื้นที่ค่อนข้าง sensitive ส่วนระยะต่อไปตั้งแต่ จอมทอง-มหาชัย-ปากท่อ รฟท.เคยทำ eia ช่วงนี้ไว้แล้ว


โครงการนี้คือส่วนต่อขยายสายสีแดงเข้มตามแผนแม่บท เพราะฉะนั้นการให้บริการจะต่อเนื่องจากสายสีแดงเข้มส่วนเหนือลงมา จะมีรถธรรมดาและรถด่วน รวมอยู่ด้วย

เริ่มต้นที่สถานีหัวลำโพงซึ่งอยู่ใต้ดินระดับรางประมาณ -23 ม. จากนั้นวิ่งอ้อมโครงสร้าง cut and cover ของสายสีน้ำเงินเก่าไปตามคลองผดุงกรุงเกษม ลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยา ผ่านสถานีคลองสานซึ่งอยู่ถนนลาดหญ้า ตรงไปถึงสถานีวงเวียนใหญ่ ซึ่งอยู่ถนนเพชรเกษมแทนที่ตั้งสถานีวงเวียนใหญ่เก่า เนื่องจากสถานีเก่าแคบมาก เขตทางแค่ 15 ม. (เฉพาะเขตทางปกติ ตั้งแต่สมัยบริษัทรถไฟแม่กลองก็กว้างแค่ 14 เมตรเอง ไม่ได้กว่าง 40 เมตรเหมือนรถไฟหลวง) การสร้างไม่ว่าจะใต้ดินหรือยกระดับต้องเวนคืนมาก นอกจากนี้ยังมีสถานีสายสีม่วงบังทางเข้าออก จึงเปลี่ยนสถานีวงเวียนใหญ่มาอยู่ถนนเพชรเกษมแทน

จากนั้นแนวอุโมงค์วิ่งมาตามถนนเทอดไท(มาแนวทางใหม่นี้เขตทางจะกว้างกว่า ผลกระทบเวนคืนจะน้อยกว่ามาก) ลงมาบรรจบกับแนวรถไฟเก่า เข้าสู่สถานีตลาดพลูซึ่งตั้งอยู่ตำแหน่งปัจจุบัน
จากนั้นแนวเส้นทางจะวิ่งมาจากเขตรถไฟเดิม เข้าสู่สถานีตากสินซึ่งเป็นสถานีใต้ดิน โดยสถานีนี้เชื่อมต่อกับสถานีวุฒากาศสายสีเขียวเข้ม

แนวเส้นทางจะเริ่มเปลี่ยนจากใต้ดินมาเป็นยกระดับมาทางเขตรถไฟเดิม เข้าสู่สถานีจอมทองซึ่งเป็นสถานียกระดับ

โดยแนวเส้นทางรถไฟเก่าทั้งเส้นจะเปลี่ยนเป็นถนน local road ขนาด 2-3 เลน เชื่อมต่อซอยต่างๆ ที่เป็นซอยตันเพื่อเพิ่มความสะดวกในการสัญจรระหว่างการเดินทางด้วยรถไฟและพื้นที่โดยรอบ (อาจมีการเวนคืนขอเขตทางเพิ่มในบางจุดที่จำเป็นเช่น Transition Ramp หรือช่วงที่ตั้งสถานี)


ข้อมูลพวกค่าระดับความสูง ส่วนใหญ่เอาจากเอกสาร eia ของสายต่างๆ และแบบที่หาได้ในอินเตอร์เน็ต ตัวเลขอาจเชื่อถือไม่ได้ 100% เพราะไม่ใช่ตัวเลขจากแบบสร้างจริง แต่เอามาประกอบการออกแบบคร่าวๆ ได้ ระยะไม่น่ากระโดดหนีไปมาก

เริ่มต้นที่ที่สายสีแดง missing link เก่าจะเริ่มปรับแบบตั้งแต่พ้นคลองมหานาค ลดระดับลงมาผ่านยศเส ถึงหัวลำโพงซึ่งอยู่ลึกระดับ -23 ม. เนื่องจากแนวอุโมงต้องลอดอุโมงสายสีน้ำเงินเก่า ผ่านสถานีคลองสาน วงเวียนใหญ่ ตลาดพลู ตากสิน และเริ่มยกระดับ ถึงสถานีจอมทองซึ่งเป็นสถานียกระดับ และวิ่งยกระดับต่อไปเรื่อยๆ

*ค่าความชันอิง spec รถโดยสารไฟฟ้ายุคปัจจุบันที่ไม่เกิน 3.5% (35 ใน 1000) เพราะฉะนั้นเส้นทางที่นำเสนอนี้วิ่งได้เฉพาะรถไฟฟ้าโดยสารเท่านั้น รถดีเซลราง รถขนส่งสินค้าวิ่งไม่ได้ เพราะ รถขนส่งสินค้า มีพิกัดให้ชันไม่เกิน 12 ใน 1000 จึงจะขึ้นทางลาดชันโดยไม่ต้องตัดขบวนรถ

*สถานีชานชาลายาว 200 เมตรตามมาตรฐานรถไฟสายสีแดง แต่ถ้าเป็นสถานีใต้ดินจะคิดความยาว 300 เมตร เพราะมีงานระบบเพิ่มมาด้วย

สถานียศเส และหัวลำโพง ตามแบบดั้งเดิมจะเป็นสถานีระดับดิน รูปแบบใหม่สถานียศเสจะเป็นแบบคลองแห้งหรือใต้ดิน(จากแบบเดิมระดับรางอยู่บนดิน)เนื่องจากต้องทำระยะลาดให้ลอดอุโมงสายสีน้ำเงินเก่า โดย ที่ตั้งสถานีอิงตามโครงการปัจจุบัน แต่ปรับทางออกให้เชื่อมต่อกับเมืองได้สะดวกมากขึ้น

สถานีหัวลำโพง ย้ายมาอยู่ฝั่งคลองผดุง สร้างบริเวณลานจอดรถปัจจุบันยาวไปถึงส่วน rail yard ชานชาลาลึกประมาณ 23 เมตร ทางออกสามารถเชื่อมกับทางเดินใต้ดินสายสีน้ำเงินเก่า

อนึ่ง ช่วงนี้เป็นช่วงที่สร้างยากและมีความไม่แน่นอนสูงมาก เพราะระหว่างก่อสร้างซึ่งสถานีกลางบางซื่อยังไม่เปิดใช้ สถานีหัวลำโพงเก่าจะยังใช้งานอยู่ การมาสร้างอะไรแถวๆนี้ จะกระทบการใช้งาน การเดินรถเดิมเป็นอย่างมาก การวางแผนการออกแบบ ก่อสร้างช่วงนี้จะสำคัญเป็นพิเศษ

สถานีคลองสานอยู่แนวถนนลาดหญ้า เนื่องจากเขตทางเหมาะกับการสร้างสถานีใต้ดิน
ออกแบบสถานีเป็น 3 ชานชาลา ตามรูป มีรางหลีกตรงกลางให้รถด่วนวิ่งผ่านได้ โครงสร้างชั้นชานชาลาเป็น long span ทำให้ไม่มีเสากลาง ลดความกว้างสถานีลง ลดการเวนคืนลงได้

สถานีวงเวียนใหญ่ เนื่องจากที่ตั้งเก่าคับแคบ และต้องเวนคืนพื้นที่มาก ผลกระทบกับชุมชนมาก จึงเปลี่ยนที่ตั้งมาแนวถนนเพชรเกษมแทน สถานีนี้มีทางเดินใต้ดินไปเชื่อมสายสีม่วง


สถานีตลาดพลูเป็นสถานีใต้ดิน อยู่ที่ตั้งเก่า จำเป็นต้องขยายเขตทางเพิ่มเพื่อรองรับสถานีใหม่ที่ใหญ่กว่าเก่า สถานีนี้จะเวนคืนขยายเขตทางรถไฟจากเดิม 15 ม. เป็น 25-30 เมตร (ไม่ใช่สี่สิบเมตรตามพิกัดรถไฟหลวงที่ต้องกินเนื้อที่มาก) ยาวตลอดแนวสถานีที่ 300-350 เมตร สภาพอาคารที่เวนคืนส่วนใหญ่เป็นห้องแถวสองชั้น บ้าน 1 ชั้น โครงสร้างอาคารไม่ใหญ่แต่เป็นชุมชนอยู่กันหนาแน่น ทางออก 3,4 จะใช้พื้นที่ใต้สะพานลอย


สถานีตากสิน อยู่ใต้ถนนราชพฤกษ์ เป็นสถานีใต้ดิน สถานีนี้จะเริ่มออกนอกเมือง การเชื่อมต่อการเดินทางกับการขนส่งรูปแบบอื่นจะเริ่มมีปัญหา จำเป็นต้องปรับเขตทางรถไฟเดิมให้เป็นถนน local road และเชื่อมแนวซอย-ถนนเดิมให้มาเชื่อมกับแนวถนนใหม่นี้ให้ได้มากที่สุด
สถานีนี้จะเวนคืนขยายเขตทางช่วงสถานีกว้าง 25-30 เมตร


สถานีจอมทองเป็นสถานียกระดับ จุดสังเกตตั้งแต่สถานีตากสิน จอมทอง เป็นต้นไปคือแนวเส้นทางรถไฟห่างไกลถนนใหญ่ และชุมชนมาก ความสะดวกในการเชื่อมต่อต่ำ การจัดผังเมืองใหม่โดยรอบสถานี การตัดถนน ขยายถนนเพื่อเชื่อมต่อจึงจำเป็นมาก

เคยลองคิดไว้เมื่อต้นปีที่แล้ว คิดว่าช่วง ถ.เจริญรัถ ยากมากกถ้าจะคงแนวเดิมไว้ ไม่ว่าจะบนดินหรือใต้ดินดูเหมือนว่า รฟท. พยายามทำตามแนวเขตทางรถไฟเดิม ไม่เปลี่ยนแนวเลย บางทีการเปลี่ยนแนวไปสร้างถนนใหญ่บ้างไรบ้าง น่าจะช่วยเรื่องผลกระทบเวนคืนได้นะ


ใครสนใจเข้าไปดูรายงานฉบับสมบูรณ์ได้ที่ โครงการงานบริการที่ปรึกษาสำหรับโครงการศึกษาความเป็นไปได้การพัฒนาศูนย์คมนาคมกรุงเทพฯ ด้านตะวันตกเฉียงใต้และโครงการรถไฟฟ้าสายแม่กลอง ครับ


https://www.skyscrapercity.com/showthread.php?p=154099670#post154099670
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 16/11/2018 6:37 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
ดับฝันคนมหาชัย เบรก “รถไฟฟ้าสายสีแดง” การรถไฟฯ อ้างประชาชนคัดค้าน
– กิตตินันท์ นาคทอง –
BY SAKHONONLINE
14 พฤศจิกายน 2561


โครงสร้างพื้นฐาน ประเทศไทย Thailand Infrastructure เปิดประเด็นเรื่อง การชะลองการสร้างรถไฟฟ้า จาก หัวลำโพงไปมหาชัย
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=565748630530287&id=491766874595130
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 19/11/2018 10:10 am    Post subject: Reply with quote

รถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม ‘หัวลำโพง-มหาชัย’ ไม่เร่งด่วนในการลงทุน?

เผยแพร่: 17 พฤศจิกายน 2561 10:46

ข่าวเศรษฐกิจกรอบเล็กๆ แต่กลายเป็นทอล์ค ออฟ เดอะ ทาวน์ ของชาวมหาชัย จังหวัดสมุทรสาคร คือ การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ได้ยกเลิกศึกษาโครงการก่อสร้างส่วนต่อขยาย รถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม ช่วงหัวลำโพง-บางบอน-มหาชัย ระยะทาง 38 กิโลเมตร

เนื่องจากผลการทำประชาพิจารณ์ประชาชนในพื้นที่ พบว่าประชาชนไม่ตอบสนองและคัดค้านการก่อสร้าง โดยเฉพาะประเด็นเรื่องเวนคืนที่ดิน แนวเส้นทางต้องไปก่อสร้างบริเวณชุมชน

ทำให้โครงการดังกล่าวจัดอยู่ใน “โครงการที่ไม่เร่งด่วนในการลงทุน”

นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการรถไฟฯ กล่าวว่า เดิมโครงการนี้อยู่ในแผนแม่บทใหญ่ของกระทรวงคมนาคม การรถไฟฯ ตั้งใจจะพัฒนาส่วนต่อขยาย หัวลำโพง-บางบอน-มหาชัย ให้เป็นโครงการขนส่งผู้โดยสารจากฝั่งธนบุรีเข้ามาในเมือง

แต่ประชาชนเห็นว่าไม่ใช่โครงการที่ตอบสนองเต็มที่ ไม่สนับสนุนให้เร่งก่อสร้าง จึงต้องยกเลิกออกไปก่อน โดยกระทรวงคมนาคม อาจจะนำไปบรรจุไว้ใน “โครงการท้ายๆ” ตามแผนแม่บทระยะ 20 ปี

ข่าวนี้ถูกตีพิมพ์ลงในหนังสือพิมพ์อย่างน้อย 2 ฉบับ คนสมุทรสาครที่พบเห็นต่างก็โวยวายกันใหญ่ เพราะที่ผ่านมาคนที่นี่ก็อยากได้รถไฟฟ้ามาลงที่มหาชัยมานานแล้ว โครงการอสังหาริมทรัพย์หลายแห่ง ก็ชูจุดขายโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม

กลายเป็นการดับฝันคนมหาชัยโดยสิ้นเชิง!

แม้วันต่อมา เคเบิลทีวีในมหาชัยพยายามติดต่อการรถไฟฯ เพื่อขอทราบข้อเท็จจริง แต่เจ้าหน้าที่ผู้รับเรื่อง ให้คำตอบเพียงว่า “โครงการรถไฟฟ้าสายสีแดงเข้มยังไม่ได้ถูกยกเลิกแต่อย่างใด แต่อยู่ในโครงการที่ไม่เร่งด่วนในการลงทุน”

ฟังแล้วตีความได้ว่า การรถไฟฯ จะสร้างหรือไม่สร้างก็ได้เพราะไม่รีบ

ทั้งที่คนมหาชัยก็อยากได้รถไฟฟ้าใจจะขาด ด้วยความหวังว่าจะช่วยให้บ้านเมืองเจริญขึ้น เหมือนย่านบางใหญ่ บางบัวทอง จ.นนทบุรี หรือย่านสำโรง ปากน้ำ จ.สมุทรปราการ



อันที่จริงโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม มีการศึกษามานานแล้ว ประมาณปี 2548 พร้อมกับ โครงการศูนย์คมนาคมขนส่งตากสิน และทางรถไฟสายแม่กลอง (ช่วง หัวลำโพง-มหาชัย) ระยะทาง 38 กิโลเมตร แล้วเสร็จเมื่อเดือนมีนาคม 2549

เริ่มต้นเชื่อมต่อทางรถไฟยกระดับ บริเวณหัวลำโพง ยกระดับตามแนวถนนมหาพฤฒาราม ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา เข้าสู่ถนนลาดหญ้า ผ่านถนนเจริญรัถ ก่อนไปตามแนวทางรถไฟสายวงเวียนใหญ่-มหาชัย

จากนั้นเมื่อผ่านสถานีคอกควายไปแล้ว จะมีการตัดทางรถไฟใหม่ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ผ่านถนนเอกชัย กำหนดให้เป็นสถานีเอกชัย ผ่านถนนพระราม 2 สิ้นสุดที่สถานีมหาชัยแห่งใหม่ ถนนเศรษฐกิจ 1 ทางไปอำเภอกระทุ่มแบน

มีสถานีทั้งหมด 18 สถานี ได้แก่ สถานีหัวลำโพง คลองสาน วงเวียนใหญ่ ตลาดพลู ตากสิน จอมทอง วัดไทร วัดสิงห์ บางบอน รางสะแก รางโพธิ์ สามแยก พรมแดน ทุ่งสีทอง บางน้ำจืด คอกควาย เอกชัย และสิ้นสุดที่สถานีมหาชัย

ที่ผ่านมา มีชาวบ้านย่านฝั่งธนบุรี คัดค้านโครงการศูนย์คมนาคมตากสิน เนื่องจากมีชุมชนหนาแน่น จนต้องปรับรูปแบบโดยให้ย้ายสถานีขนส่งสายใต้ไปที่สถานีรางโพธิ์ ใกล้ทางแยกต่างระดับบางขุนเทียน

ขณะที่ชาวบ้านย่านถนนเจริญรัถ เขตคลองสาน ก็คัดค้านแนวเส้นทางที่ต้องข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ไปฝั่งถนนมหาพฤฒาราม เพราะเขตทางแคบ กระทบกับย่านร้านค้าวัสดุเครื่องหนัง

ทั้งๆ ที่ในอดีต ถนนเจริญรัถเป็นแนวเส้นทางรถไฟเก่าปากคลองสาน แต่สมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้ยกเลิกทางรถไฟและสถานีรถไฟปากคลองสาน ก่อนจะถมรางรถไฟทำถนนแทน

ไม่นับรวมกรณีที่กรุงเทพมหานคร จะสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ถนนมหาพฤฒาราม เชื่อมกับถนนลาดหญ้า ก็ถูกคัดค้าน อ้างว่ากระทบสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ โบราณสถานของชุมชนจะสูญหาย ธุรกิจ ร้านค้าที่มีอยู่จะได้รับผลกระทบ

ปัญหาอีกอย่างหนึ่ง คือ ตลอดทางรถไฟตั้งแต่สถานีวงเวียนใหญ่ ถึงสถานีบางบอน มีชุมชนและบ้านเรือนอาศัยปลูกติดกับทางรถไฟจำนวนมาก หากมีการเวนคืนที่ดินก็จะได้รับผลกระทบ



สัญญาณอย่างหนึ่งที่ทำให้รู้สึกว่า รถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม หัวลำโพง-มหาชัย จะไม่ได้เห็นก็คือ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2559 มีการยกร่างแผนแม่บทโครงข่ายรถไฟฟ้ากรุงเทพฯ และปริมณฑล ระยะที่ 2 เริ่มตั้งแต่ปี 2562 – 2572

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม เคยกล่าวว่า การต่อขยายรถไฟชานเมือง ช่วงหัวลำโพง-บางบอน-มหาชัย ต้องยุติแผนไปก่อน เพราะประชาชนในพื้นที่ต่อต้าน ทำให้โครงการไม่ผ่านการพิจารณาเรื่องการมีส่วนร่วมของชุมชน

นอกจากนี้ เมื่อปี 2560 มีรายงานว่า สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ยังไม่เห็นชอบรายงานผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) ของโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม

เหตุเพราะทางโครงการฯ ออกแบบเป็นทางยกระดับ ผ่านบริเวณที่มีชุมชนหนาแน่น จึงให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ไปจัดทำรายละเอียดโครงการใหม่

ผ่านไปนานพอสมควร ในที่สุดการรถไฟฯ บอกว่า จะยกเลิกศึกษาโครงการฯ แม้ตัวโครงการยังอยู่ แต่จัดอยู่ใน “โครงการที่ไม่เร่งด่วน” แล้วบรรจุอยู่ในโครงการท้ายๆ ตามแผนแม่บท 20 ปี

ปัญหาก็คือ ที่ผ่านมาแม้คนมหาชัยจะเคยทำประชาพิจารณ์ไปเมื่อประมาณปี 2548 หรือเมื่อ 13 ปีก่อน แต่ความเคลื่อนไหวโครงการฯ ก็เงียบหายไป คิดไปว่าสักวันหนึ่งคงได้ก่อสร้าง แต่มาถึงยุคนี้ก็ยังไม่ได้ก่อสร้างอีก

ไม่นับรวมปัญหาภายในการรถไฟฯ ที่ทำให้โครงการต่างๆ เป็นไปอย่างล่าช้า เช่น รถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อน ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน โครงสร้างทางรถไฟเสร็จแล้ว แต่ปล่อยให้รกร้าง สายสีแดงเข้ม บางซื่อ-รังสิต เลื่อนออกไปเป็นเดือนมกราคม 2564

แตกต่างจาก การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ม.) ที่มีโครงการรถไฟฟ้าสารพัดสีออกมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งสายสีน้ำเงิน (หัวลำโพง-บางแค และ บางซื่อ-ท่าพระ) ที่จะเริ่มทยอยเปิดในช่วงกลางปี 2562

รวมทั้งสายสีเขียว (หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต) ที่จะเปิดให้บริการในปี 2563 สายสีส้ม (ศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี) เปิดในปี 2566 และรถไฟฟ้าโมโนเรล สายสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง) และสายสีชมพู (แคราย-มีนบุรี) จะเกิดขึ้นตามมาอีก

ถ้าจะคาดหวังโครงการรถไฟฟ้า หน่วยงานอย่าง ร.ฟ.ม. ยังน่าลุ้นกว่าการรถไฟฯ เสียอีก ตอนนี้กำลังรอ โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน (บางแค-พุทธมณฑล สาย 4) ซึ่งจุดสิ้นสุดใกล้กับเทศบาลนครอ้อมน้อย จ.สมุทรสาคร

ที่ผ่านมาจึงไม่รู้สึกยินดียินร้ายกับข่าวรถไฟฟ้าหัวลำโพง-มหาชัย เพราะเป็นเพียงการให้ข่าวแบบลมๆ แล้งๆ ยังไม่เห็นว่าจะมีงบประมาณ หาผู้รับเหมา แล้วลงมือก่อสร้างอย่างจริงจัง

จนกว่าจะได้เห็นตอกเสาเข็มในชาตินี้ จึงจะรู้สึกว่ามีความหวังขึ้นมาบ้าง

รูปตัดของสถานีมหาชัย (ใหม่)
รูปตัดของสถานีมหาชัย (ใหม่)

คนมหาชัยที่เดินทางเข้า-ออกกรุงเทพฯ ส่วนหนึ่งนิยมออกรถส่วนตัวมาขับ แต่ที่ไม่ค่อยเห็นเพราะส่วนใหญ่ใช้ป้ายทะเบียนกรุงเทพฯ ทำเอาถนนพระราม 2 รถติดทุกเช้า บางคนมีห้องพักในกรุงเทพฯ แล้วช่วงวันหยุดค่อยกลับมาที่บ้าน

ที่เป็นแบบนี้ ส่วนหนึ่งเพราะระบบขนส่งมวลชนจากตัวเมืองมหาชัย ยังผูกขาดอยู่กับ “รถสองแถว” หลัง 2 ทุ่มก็แทบจะไม่มีรถออกมาวิ่งแล้ว ต้องต่อแท็กซี่ หรือไม่ก็มอเตอร์ไซค์รับจ้างเข้าบ้าน

รถเมล์ ขสมก. ถ้าเป็นช่วงเช้ากับช่วงเย็น ต้องเจอรถติดตั้งแต่ถนนพระราม 2 ใช้เวลาจากมหาชัยถึงกรุงเทพฯ อย่างน้อยก็เกิน 2 ชั่วโมงแล้ว เร็วขึ้นมาหน่อยก็ รถตู้อนุสาวรีย์ชัย พาต้าปิ่นเกล้า หมอชิตใหม่ เพราะไม่แวะจอดรับกลางทาง

ส่วน รถไฟสายมหาชัย-วงเวียนใหญ่ เป็นทางเลือกสำหรับผู้มีรายได้น้อย และนักเรียน นักศึกษา เพราะส่วนใหญ่มีแต่ชั้น 3 นั่งพัดลม แต่ผ่านมาหลายสิบปี ค่าโดยสารจากมหาชัยไปวงเวียนใหญ่ ยังคิด 10 บาทเหมือนเดิม

ทุกวันนี้คนไม่มีรถก็ต้องรีบกลับบ้าน เช่น ถ้าทำงานตามแนวรถไฟฟ้าบีทีเอส ก็ต้องรีบขึ้นรถตู้อนุสาวรีย์ชัย ไม่เกิน 2 ทุ่มครึ่ง ไม่อย่างนั้นรถหมด ต้องนั่งรถตู้ไปลงพระราม 2 แล้วต่อรถเมล์เที่ยวสุดท้าย หรือถ้าไม่ทัน ก็นั่งแท็กซี่เข้าบ้านแทน

ถามว่า ถ้ามีรถไฟฟ้าจากมหาชัยจะดีไหม ร้อยทั้งร้อยก็ตอบว่าดีอยู่แล้ว แต่จะมีคนมหาชัยสักกี่คน ที่จะใช้รถไฟฟ้าเดินทางเข้า-ออกกรุงเทพฯ อย่างจริงจัง?

ที่ถามแบบนี้ เพราะก่อนหน้านี้ “รถไฟฟ้าสายสีม่วง บางใหญ่-เตาปูน” ช่วงที่เปิดให้บริการแรกๆ ผู้โดยสารน้อยมาก บางวันไม่ถึง 2 หมื่นคนด้วยซ้ำ พอมีรถไฟใต้ดินเชื่อมต่อที่สถานีเตาปูนไปหัวลำโพง ถึงได้ขยับตกวันละ 6 หมื่นคนต่อวัน

“รถไฟฟ้าสายสีเขียว แบริ่ง-สมุทรปราการ” ที่จะเปิดเดินรถวันที่ 6 ธันวาคม 2561 ที่จะถึงนี้ ก่อนหน้านี้ทราบว่าที่สถานีสำโรง ถ้าเป็นวันธรรมดา มีผู้ใช้บริการเฉลี่ย 3 หมื่นคนต่อวัน ส่วนวันหยุดเฉลี่ย 2 หมื่นคนต่อวัน

“รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต ลิงก์” แม้จะแยกไม่ออกระหว่างคนที่เข้า-ออกสนามบินสุวรรณภูมิ กับคนที่พักอาศัยแถบประเวศ ลาดกระบัง แต่ตัวเลขล่าสุดพบว่าปีนี้ มีผู้โดยสารทำลายสถิติกว่า 8 หมื่นคนต่อวัน สอดคล้องกับบ้านจัดสรรที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

ถ้ารถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม หัวลำโพง-มหาชัย เดินรถได้จริง ยอดผู้โดยสารก็คงไม่ต่างจากสายสีม่วงไปบางใหญ่ หรือสายสีเขียวไปปากน้ำ ที่จะมีก็เช่น สถานีคอกควาย มาจากหมู่บ้านจัดสรรนับสิบโครงการย่านซอยวัดพันท้ายนรสิงห์

ยิ่งการรถไฟฯ เป็นรัฐวิสาหกิจที่มีผลประกอบการขาดทุนทุกปี แต่ต้องทำโครงการรถไฟฟ้า และรถไฟทางคู่รวมกันนับแสนล้านบาท อาจเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ว่า ทำไมถึงกลายเป็นโครงการที่ไม่เร่งด่วนในการลงทุน



การยกเลิกศึกษารถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม ไม่ได้หมายความว่าความเจริญของเมืองมหาชัยจะหายไป เพราะยังมีเมกะโปรเจ็กต์ด้านคมนาคมเข้ามาลงทุน อย่างน้อย ปีหน้าจะเริ่มก่อสร้าง “ทางยกระดับพระราม 2” ในรูปแบบมอเตอร์เวย์

ในปีงบประมาณ 2562-2564 กรมทางหลวงจะก่อสร้างทางยกระดับพระราม 2 ช่วงแรก บางขุนเทียน-มหาชัยเมืองใหม่ ระยะทาง 10 กิโลเมตร พร้อมทางขึ้น-ลง 3 จุด งบประมาณ 10,500 ล้านบาท

ขณะเดียวกัน รัฐบาลจะเปิดให้เอกชนลงทุนโครงการในรูปแบบ PPP ช่วงมหาชัยเมืองใหม่-บ้านแพ้ว ระยะทาง 15 กิโลเมตร มูลค่า 4.83 หมื่นล้านบาท โดยให้เอกชนลงทุนการบริหารโครงการและซ่อมบำรุง (O&M) เป็นเวลา 30 ปี

ส่วน การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) หลังจากระดมเงินจากกองทุนโครงสร้างพื้นฐานไทยแลนด์ ฟิวเจอร์ ฟันด์ (TFFIF) มาได้ 44,811 ล้านบาท ก็เตรียมพร้อมที่จะก่อสร้างจากต่างระดับบางโคล่ ถึงทางแยกต่างระดับบางขุนเทียน

ตอนนี้เซ็นจ้างบริษัทที่ปรึกษาควบคุมงานไปแล้ว เหลือแต่หาผู้รับเหมาก่อสร้างทางยกระดับ ขนานไปกับถนนพระราม 2 พร้อมทางขึ้นลง 7 จุด และสะพานขนานไปกับสะพานพระราม 9 คาดว่าจะเริ่มต้นก่อสร้างปี 2562 แล้วเสร็จปี 2565

ถ้าคนมหาชัยอยากได้รถไฟฟ้าจริง ต้องช่วยกันเรียกร้องและผลักดันให้เกิดขึ้นจริง ไม่ใช่เพียงแค่รู้ว่ามีโครงการแล้วนิ่งเฉย คิดว่าเดี๋ยวก็มา แต่หารู้ไม่ว่า ฝ่ายที่คัดค้านก็ไม่ยอมให้โครงการฯ เวนคืนที่ดินตัวเองเหมือนกัน

เมื่อเสียงหนึ่งเงียบลง อีกเสียงหนึ่งดังกว่า พอทานกระแสไม่ได้ โครงการจึงหลุดลอยไปอย่างน่าเสียดาย.
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 59, 60, 61 ... 148, 149, 150  Next
Page 60 of 150

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©