RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311232
ทั่วไป:13180097
ทั้งหมด:13491329
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าว Airport Link
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าว Airport Link
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 135, 136, 137 ... 159, 160, 161  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> รถไฟฟ้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (ARL)
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 27/09/2018 9:47 am    Post subject: Reply with quote

'ไพรินทร์' มั่นใจแอร์พอร์ตลิงก์แก้แออัดได้

พุธที่ 26 กันยายน 2561 เวลา 18.30 น.

นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รมช.คมนาคม เปิดเผยถึงกรณีที่นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย เตรียมยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรีเพื่อเรียกร้องให้จัดซื้อรถเพิ่มเพื่อแก้ปัญหาผู้โดยสารแออัดและร้องเรียนเรื่องความเสี่ยงต่อผู้โดยสารว่า ปัญหาของรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ไม่ได้แย่อย่างที่ทุกคนคิดโดยเฉพาะปัญหาเรื่องความแออัดนั้นจะมีเพียงช่วงชั่วโมงเร่งด่วนคือ 6.00-8.00น.และช่วง 18.00-19.00 น. ซึ่งสาเหตุที่เกิดขึ้นเกิดจากอยู่ระหว่างการปรับปรุงขบวนรถ (overhual) ขณะนี้เสร็จและเปิดใช้แล้วจำนวน 7 ขบวน ขณะที่สองขบวนสุดท้ายจะเปิดใช้ในเดือน ธ.ค.นี้ จะส่งผลให้ความถี่ของแอร์พอร์ตลิงก์ลดลงเหลือ 8 นาทีต่อขบวน ประกอบกับในอีก 2-3 ปีข้างหน้ารถไฟฟ้าสายสีต่างๆจะทยอยเปิดให้บริการ อาทิ รถไฟฟ้าสายสีเหลืองและรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันออก เป็นต้น ซึ่งตนมั่นใจว่าจะช่วยแบ่งเบาภาระปริมารผู้โดยสารของแอร์พอร์ตลิงก์ได้อย่างแน่นอน ส่วนด้านการลงทุนจัดซื้อรถใหม่ 7 ขบวน วงเงิน 4 พันล้านบาทนั้นต้องเป็นหน้าที่การตัดสินใจของเอกชนแต่เบื้องต้นกระทรวงคมนาคมมองว่าการแก้ปัญหาดังกล่าวต้องทำอย่างค่อยเป็นค่อยไป ดังนั้นการซื้อรถใหม่อาจไม่ใช่คำตอบของปัญหานี้เนื่องจากหากลงทุนซื้อรถใหม่นั้นบริษัทต้องรับภาระค่าบำรุงและค่าเสื่อมที่เพิ่มมากขึ้น สวนทางกับอัตราการใช้งานรถไฟฟ้าซึ่งมีผู้โดยสารหนาแน่นเฉาพะชั่วโมงเร่งด่วนเพียง 4 ชม. ต่อวัน ส่วนอีก 15 ชม. ที่เหลือนั้นก็ไม่สามารถใช้รถได้เต็มฟลีทที่มีเพราะปริมาณผู้โดยสารใช้บริการระหว่างวันจำนวนไม่เยอะ

นายไพรินทร์ กล่าวต่อว่า สำหรับเรี่องของความเสี่ยงต่อผู้โดยสารจากกรณีที่เกิดฟ้าผ่านั้นขอชี้แจงว่าระบบรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์นั้นมีการส่งสัญญาณไฟฟ้าด้วยเสาไฟในระบบเปิดบนทางวิ่ง แตกต่างจากรถไฟฟ้าสายอื่นๆที่ส่งสัญญาณไฟฟ้าแบบระบบปิดใต้ดิน ส่งผลให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดฟ้าผ่าในบางกรณี ดังนั้นแอร์พอร์ตลิงก์จึงต้องกลับมาศึกษาความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นในอนาคตควบคู่ไปกับรับฟังความคิดเห็นรอบด้านเพื่อนำไปประกอบการจัดซื้อรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์เพิ่มตลอดจนใช้ข้อมูลดังกล่าวไปประกอบกับการติดตั้งงานระบบรถไฟฟ้าความเร็วสูงเพราะต้องใช้เสาส่งไฟแบบระบบเปิดเหมือนกัน ส่วนสาเหตุที่เปลี่ยนรูปแบบรถไฟฟ้าจากรถไฟฟ้าด่วน (Express Line) มาเป็นรถไฟฟ้าธรรมดา (City Line) นั้นเกิดจากปริมาณผู้โดยสารที่เพิ่มมากขึ้นจากเดิมที่รัฐบาลตั้งใจว่าจะให้รถไฟฟ้าสายนี้เป็นระบบขนส่งระหว่างเมืองและผู้เดินทางไปยังสนามบิน แต่เมื่อดีมานต์เปลี่ยนจึงต้องปรับรูปแบบรถให้เหมาะสมต่อการรองรับผู้โดยสารจำนวนมากขึ้น ขณะที่ปัญหาเรื่องประตูขัดข้องนั้นเกิดจากผู้โดยสารพิงประตูระหว่างรถไฟฟ้าออกจากชานชาลาส่งผลให้ระบบประตูดังกล่าวขัดข้องดังนั้นจึงต้องเร่งประชาสัมพันธ์ทำความเข้าใจให้ผู้ใช้บริการรับรู้ถึงสิ่งที่ไม่ควรทำระหว่างโดยสารรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 28/09/2018 12:50 pm    Post subject: Reply with quote

ไม่แย่อย่างที่คิด! 'ไพรินทร์-รฟฟท.'แจงยิบเร่งปรับปรุง‘แอร์พอร์ตลิงก์’คาดเสร็จปลายปีนี้
โลกธุรกิจ
วันพุธ ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2561, 18.25 น.

26 ก.ย.61 นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รมช.คมนาคม เปิดเผยว่า จากกรณีที่นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย เตรียมยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรีเพื่อเรียกร้องให้จัดซื้อรถเพิ่ม เพื่อแก้ปัญหาผู้โดยสารแออัดและร้องเรียนเรื่องความเสี่ยงต่อผู้โดยสาร ซึ่งปัญหาของรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์สาเหตุที่เกิดขึ้นเกิดจากอยู่ระหว่างการปรับปรุงขบวนรถ (overhual) ขณะนี้เสร็จและเปิดใช้แล้วจำนวน 7 ขบวน ขณะที่สองขบวนสุดท้ายจะเปิดใช้ในเดือน ธ.ค.นี้ ทำให้ความถี่ของแอร์พอร์ตลิงก์ลดลงเหลือ 8 นาทีต่อขบวน โดยในอีก 2-3 ปีข้างหน้ารถไฟฟ้าสายสีต่างๆจะทยอยเปิดให้บริการจึงมั่นใจว่าจะช่วยแบ่งเบาภาระปริมาณผู้โดยสารของแอร์พอร์ตลิงก์ได้อย่างแน่นอน

ส่วนการจัดซื้อรถใหม่ 7 ขบวน วงเงิน 4,000 ล้านบาทนั้น เบื้องต้นกระทรวงคมนาคมมองว่าการแก้ปัญหาดังกล่าวต้องทำอย่างค่อยเป็นค่อยไปเนื่องจากหากลงทุนซื้อรถใหม่นั้นบริษัทต้องรับภาระค่าบำรุงและค่าเสื่อมที่เพิ่มมากขึ้นขณะที่อัตราการใช้งานรถไฟฟ้าซึ่งมีผู้โดยสารหนาแน่นเฉาพะชั่วโมงเร่งด่วนเพียง 4 ชั่วโมงต่อวัน ส่วนอีก 15 ชั่วโมงที่เหลือนั้นก็ไม่สามารถใช้รถได้เต็มระบบที่มีเพราะปริมาณผู้โดยสารใช้บริการระหว่างวันจำนวนไม่เยอะ

ทั้งนี้ ในส่วนของการเปลี่ยนรูปแบบรถไฟฟ้าจาก Express Line มาเป็น City Line นั้น เกิดจากปริมาณผู้โดยสารที่เพิ่มมากขึ้นจากเดิมที่รัฐบาลตั้งใจว่าจะให้รถไฟฟ้าสายนี้เป็นระบบขนส่งระหว่างเมืองและผู้เดินทางไปยังสนามบิน ซึ่งเมื่อมีความต้องการมากขึ้นจึงเปลี่ยนจึงต้องปรับรูปแบบรถให้เหมาะสมต่อการรองรับจำนวนผู้โดยสาร นอกจากนี้ปัญหาเรื่องประตูขัดข้องนั้นเกิดจากผู้โดยสารพิงประตูระหว่างรถไฟฟ้าออกจากชานชาลาส่งผลให้ระบบประตูดังกล่าวขัดข้องจึงต้องเร่งประชาสัมพันธ์ทำความเข้าใจให้ผู้ใช้บริการรับรู้

สำหรับด้านความเสี่ยงต่อผู้โดยสารจากกรณีที่เกิดฟ้าผ่านั้นขอชี้แจงว่าระบบรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์นั้นมีการส่งสัญญาณไฟฟ้าด้วยเสาไฟในระบบเปิดบนทางวิ่งแตกต่างจากรถไฟฟ้าสายอื่นๆที่ส่งสัญญาณไฟฟ้าแบบระบบปิดใต้ดินจึงส่งผลให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดฟ้าผ่าในบางกรณี ซึ่งทางแอร์พอร์ตลิงก์ต้องกลับมาศึกษาความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นในอนาคตควบคู่ไปกับรับฟังความคิดเห็นเพื่อนำข้อมูลไปประกอบการจัดซื้อรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์เพิ่ม รวมถึงการติดตั้งงานระบบรถไฟฟ้าความเร็วสูงเพราะต้องใช้เสาส่งไฟแบบระบบเปิดเหมือนกัน

นายสุเทพ พันธุ์เพ็ง กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด หรือผู้ให้บริการรถไฟฟ้า แอร์พอร์ต เรล ลิงก์ เปิดเผยว่า บริษัทขอชี้แจงว่ารายละเอียดในข้อร้องเรียนบริษัทได้ทำการชี้แจงไปแล้ว แต่เพื่อความชัดเจนและความเข้าใจที่ถูกต้องจึงขอชี้แจงอีกครั้ง ดังนี้ บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด (รฟฟท.) ทำหน้าที่รับจ้างเดินรถให้กับการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) โดย รฟท.ถือหุ้น 100 % โดยบริษัทจะได้รับงบประมาณในการดำเนินงานจาก รฟท. ในแต่ละปี และรายได้จากการดำเนินงานจะต้องส่งมอบให้กับ รฟท. ทั้งหมด

กรณีระบบไฟฟ้าขัดข้องทำให้ขบวนรถไฟฟ้าไม่สามารถให้บริการและหยุดระหว่างทางนั้น เกิดจากทั้งปัจจัยภายในที่ระบบปฏิบัติการขัดข้อง รวมทั้งปัจจัยภายนอกที่ไม่สามารถควบคุมได้ เช่น การที่ถูกนกบินชนอุปกรณ์รับกระแสไฟฟ้า และฟ้าผ่าใกล้อุปกรณ์ระบบไฟฟ้า แต่ภายหลังจากเกิดเหตุการณ์ บริษัทได้เร่งตรวจสอบและดำเนินการแก้ไขเหตุการณ์ตามมาตรการ และได้ปฏิบัติตามระเบียบปฏิบัติงานเรื่องการจัดการฝึกซ้อม การจัดการเหตุการณ์บริหารเดินรถในสถานการณ์ปกติ (Normal Operation) การบริหารจัดการเดินรถในสภาวะไม่ปกติ (Degrade Operation) และการบริหารจัดการเดินรถในสถาการณ์ฉุกเฉิน (Emergency Operation) ซึ่งได้รับคู่มือและการฝึกอบรมจากการรถไฟเยอรมันหรือ ด็อยท์เชอบาน (Deutsche Bahn International) และผ่านการรับรองจากICE (Independent Consultant Engineer) รวมถึงได้จัดให้มีการฝึกซ้อมแผนเผชิญเหตุให้กับเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการร่วมกับหน่วยงานภายนอกต่างๆ ภายใต้ข้อตกลงร่วมกัน ตามคู่มือบริหารความเสี่ยง และแผนเผชิญเหตุของระบบขนส่งสาธารณะทางรางในกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล ของกระทรวงคมนาคม ทำให้ระบบรถไฟฟ้าสามารถกลับมาให้บริการตามปกติได้อย่างรวดเร็ว และไม่มีผู้โดยสารได้รับอันตรายจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

กรณีที่ว่ามีการยุบเลิกระบบรถไฟฟ้าด่วนท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ Express Line เหลือเพียงระบบ City Line นั้น บริษัทไม่ได้ยกเลิกระบบรถไฟฟ้าด่วน Express Line แต่ได้นำมาปรับเปลี่ยนภายในขบวนรถไฟฟ้าด่วนให้สามารถรองรับจำนวนผู้โดยสารได้เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากจำนวนผู้โดยสารที่ต้องการใช้บริการในระบบ City Line มีสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยที่บริษัทมีขบวนรถไฟฟ้า City Line 5 ขบวน ซึ่งไม่เพียงพอต่อการให้บริการแก่ผู้โดยสาร ทำให้บริษัทจำเป็นต้องนำขบวนรถ Express Line อีก 4 ขบวน มาให้บริการ เพื่อรองรับบความต้องการใช้บริการของผู้โดยสารได้อย่างเพียงพอ โดยสามารถเพิ่มจาก 45,000 คน/วัน เป็น 74,000 คน/วัน ปัจจุบันเฉลี่ย 70,000 คน/วัน

กรณีสิ่งอำนวยความสะดวกในสถานี เช่น ลิฟต์ และบันไดเลื่อน นั้นบริษัทได้ดำเนินการว่าจ้างบริษัท ทิสเซ่น ครุปป์ จำกัด เจ้าของระบบทำการตรวจสอบอุปกรณ์ให้มีสภาพพร้อมใช้งานอยู่เสมอตามมาตรฐานสากล

ด้านความไม่เพียงพอของขบวนรถไฟฟ้านั้น บริษัทมีรถไฟฟ้าให้บริการทั้งหมด 9 ขบวน ในปัจจุบันสามารถให้บริการได้ 8 ขบวน เนื่องจากอยู่ในระหว่างซ่อมบำรุงใหญ่ (Overhaul) คาดว่าจะดำเนินการซ่อมบำรุงใหญ่ (Overhaul) แล้วเสร็จ และมีรถไฟฟ้าให้บริการครบ 9 ขบวน ในช่วงเดือนธันวาคม 2561

ด้านการปรับปรุงบำรุงรักษาระบบรางนั้น โดยปกติแล้วบริษัทจะมีการซ่อมบำรุงรักษา หรือที่เรียกว่าซ่อมบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (Preventive Maintenance) อย่างสม่ำเสมอ โดยได้ว่าจ้างบริษัทเอกชนที่มีประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญในการซ่อมบำรุงราง ร่วมดำเนินการตรวจสอบ หากพบอุปกรณ์ที่มีความชำรุดเสียหายจะเร่งดำเนินการแก้ไขปรับเปลี่ยนทันที

ด้านวิศวกรรมซ่อมบำรุง รฟฟท. ได้ทำงานอย่างใกล้ชิดกับบริษัท ซีเมนส์ ผู้ผลิตรถไฟฟ้า ในการสำรองอะไหล่ในระบบรถไฟฟ้า และระบบอาณัติสัญญาณ มีการจัดทำแผนเพื่อว่าจ้างบริษัทชั้นนำที่มีประสบการณ์เพื่อเข้ามาดูแลงานซ่อมบำรุงและงานจัดหาอะไหล่สำรองต่างๆให้เพียงพอต่อความต้องการในการใช้งาน และมีการให้บริการการจัดหาอะไหล่สำคัญ (Spare Part Service) ที่ส่งผลต่อการให้บริการ โดยบริษัทได้มีการประเมินสภาพของขบวนรถ และความต้องการอะไหล่ และการซ่อมบำรุงอย่างน้อยในช่วง 2 ปี ข้างหน้าก่อนที่จะรวมกับโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน รวมทั้งได้มีการทำแผนรายละเอียดเสนอคณะกรรมการบริษัทเพื่อพิจารณาอนุมัติแล้ว

ด้านการจัดหาประตูกั้นชานชาลา (Platform Screen Door) นั้น ขณะนี้บริษัทเตรียมติดตั้งราวกั้นชานชาลา หรือราวกั้นแบบราวสแตนเลสใน 7 สถานี รวม 14 ชานชาลา ซึ่งคล้ายกับรถไฟชินคันเซ็นของประเทศญี่ปุ่น คาดว่าจะใช้เวลาในการติดตั้งประมาณ 3 - 4 เดือน แล้วเสร็จในเดือนมกราคม 2562 รวมทั้งเตรียมดำเนินการติดตั้งยางปิดช่องว่างระหว่างชานชาลาและประตู (Gap Filler) เพื่อความปลอดภัยของผู้โดยสาร คาดว่าจะแล้วเสร็จในช่วงต้นปี 2562 นอกจากนั้นบริษัทมีมาตรการรักษาความปลอดภัยให้แก่ผู้โดยสารบนชั้นชานชาลา ได้แก่ การทำ Group Release เพื่อไม่ให้ผู้โดยสารบนชั้นชานลาชาหนาแน่นเกินไป และมีการเพิ่มเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยบนชั้นชานชาลา

ด้านการประกันภัยแก่ผู้โดยสาร บริษัทมีการจัดทำประกันภัยกรณีเกิดอุบัติเหตุ และอุบัติภัยแก่ผู้โดยสาร และมีมาตรการเยียวยา และช่วยเหลือผู้โดยสารหากเกิดกรณีอุบัติเหตุขึ้นกับผู้โดยสารในการใช้บริการ โดยได้กำหนดขั้นตอนปฏิบัติงาน ( Procedure ) และดำเนินการฝึกซ้อมขั้นตอนปฏิบัติงานให้แก่เจ้าหน้าที่ รวมทั้งมีการฝึกซ้อมแผนอพยพผู้โดยสาร ฝึกซ้อมเผชิญเหตุการณ์อัคคีภัย และแผนเผชิญเหตุร่วมกับระบบขนส่งสาธารณะอื่นๆตามนโยบายของกระทรวงคมนาคม สำหรับการแต่งตั้งผู้บริหารด้านซ่อมบำรุงนั้น ได้ดำเนินการพิจารณาตามระเบียบด้วยความถูกต้องและเหมาะสม โดยพิจารณาผลการปฏิบัติงานเป็นสำคัญ

ทั้งนี้ บริษัทกำลังดำเนินการนำระบบบริหารคุณภาพ ISO 9001 : 2015 มาใช้ในงานวิศวกรรมซ่อมบำรุง และงานปฏิบัติการเดินรถไฟฟ้าและให้บริการ เพื่อสร้างมาตรฐานและสร้างความเชื่อมั่นในด้านการบริการแก่ผู้โดยสารนั้น ล่าสุดบริษัทได้เร่งดำเนินการตามแผนงานดังกล่าว เพื่อขอรับรองมาตรฐานในงานวิศวกรรมซ่อมบำรุง และงานปฏิบัติการเดินรถไฟฟ้าและให้บริการ โดยในส่วนของงานวิศวกรรมซ่อมบำรุงคาดว่าจะได้รับการรับรองระบบบริหารคุณภาพ (Certification Body : CB) ในเดือนมกราคม 2562 ส่วนงานปฏิบัติการเดินรถไฟฟ้าและให้บริการนั้น คาดว่าจะได้รับการรับรองจากหน่วยรับรอง (Certification Body : CB) ในเดือนกุมภาพันธ์ 2562

นอกจากนั้นบริษัทยังได้รับฟังความต้องการของผู้โดยสาร และได้นำมาพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆเพื่อช่วยเพิ่มความพึงพอใจในการใช้บริการของผู้โดยสาร ทั้งการให้บริการ Free WIFI ในทั้ง 8 สถานี , การให้บริการตู้ Mobile Charger บริเวณชั้นชานชาลา , การจัดโปรโมชั่นการตลาดและสิทธิพิเศษจากบัตรสมาร์ทพาส และการจัดกิจกรรมพิเศษให้แก่ผู้โดยสารในเทศกาลต่างๆ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 09/10/2018 12:00 pm    Post subject: Reply with quote

บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ระบุว่าปัจจุบันมีผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ในปริมาณที่หนาแน่น โดยเฉพาะช่วงเช้า และเย็น ซึ่งมีผู้โดยสารเดินทางจำนวนมาก บริษัทฯ จึงเร่งนำรถมาซ่อมบำรุง เพื่อออกมาวิ่งให้บริการเพิ่ม ซึ่งในขณะนี้มี 8 ขบวน โดยมีแผนการเดินรถในชั่วโมงเร่งด่วน แบ่งเป็น รถไฟฟ้า 6 ขบวนวิ่งปกติ และอีก 2 ขบวน เป็นรถเสริมตามสถานีที่หนาแน่น เช่น รามคำแหง พญาไท หัวหมาก และลาดกระบัง
.
ส่งผลให้ความถี่ของแต่ละเที่ยว และระยะเวลาในการรอของผู้โดยสารจะลดลง จากเดิม 10 นาที เหลือเพียง 5 นาทีเท่านั้น ซึ่งคาดว่าหากนำรถไฟฟ้าขบวนที่ 9 มาวิ่งให้บริการ จะทำให้ปัญหาดังกล่าวลดลงด้วย แต่หากดำเนินการแล้วยังพบปัญหาความหนาแน่นของผู้โดยสารอีก จะต้องพิจารณาแนวทางการถอดเบาะโดยสารในชั่วโมงเร่งด่วน เหมือนรถไฟฟ้าใต้ดินเพื่อแก้ไขปัญหาต่อไป
.
ทั้งนี้ปัจจุบันแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ มีผู้โดยสารเฉลี่ยวันละ 75,000 - 80,000 คน ซึ่งเป็นปริมาณที่เติบโตอย่างมากเมื่อเทียบกับปีแรกที่ให้บริการ ซึ่งมีผู้โดยสารประมาณ 30,000 คน/วัน
.
นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังระบุอีกว่า สำหรับแผนการจัดซื้อขบวนรถไฟเพิ่ม เพื่อรองรับปริมาณของผู้โดยสารที่เติบโตนั้น จะต้องเป็นการตัดสินใจของ บริษัทเอกชนที่จะเข้ามาบริหารรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ หลังชนะการประมูลรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินอีอีซี เท่านั้น

https://www.facebook.com/BLTBangkok/photos/a.1758373324425336/2171157376480260/?type=3&theater
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 17/10/2018 4:11 pm    Post subject: Reply with quote

แอร์พอร์ตเรลลิงก์จัดบริการสำหรับคนพิการตามมาตรฐาน
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2561 13:48
ปรับปรุง: วันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2561 14:11



รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์รับมอบหนังสือและกระเช้าดอกไม้แสดงความขอบคุณ และให้กำลังใจจากตัวแทนของสมาคมสหพันธ์คนพิการในประเทศไทย เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2561 ณ แอร์พอร์ตเรลลิงก์ มักกะสัน

นายสุเทพ พันธ์เพ็ง กรรมการผู้อำนวยการใหญ่บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด หรือผู้ให้บริการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2561 ณ แอร์พอร์ตเรลลิงก์ สถานีมักกะสัน บริษัทได้ต้อนรับตัวแทนจากสมาคมสหพันธ์คนพิการในประเทศไทย ซึ่งเดินทางมายื่นหนังสือ และกระเช้าดอกไม้เพื่อแสดงความขอบคุณ และให้กำลังใจการดำเนินงานในด้านการให้บริการแก่คนพิการของบริษัท ซึ่งมีขั้นตอนการปฏิบัติที่มีมาตรฐาน และมีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยคอยช่วยอำนวยความสะดวก และให้ความช่วยเหลือคนพิการที่เดินทางมาใช้บริการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ด้วยความใส่ใจเป็นอย่างดีมาโดยตลอด

ทั้งนี้ บริษัทมีนโยบายที่ให้ความสำคัญสำหรับคนพิการที่มาใช้บริการเป็นอย่างมาก โดยมีสิ่งอำนวยความสะดวก เช่น ที่จอดรถสำหรับคนพิการ, ลิฟต์โดยสารที่มีขนาดกว้างเป็นพิเศษทำให้ผู้ที่นั่งรถเข็นสามารถใช้บริการได้อย่างสะดวกสบาย, อักษรเบรลล์ และเสียงแจ้งบอกชั้นที่ใช้บริการสำหรับคนพิการทางสายตา, จัดพื้นที่โดยสารในส่วนของคนพิการภายในรถไฟฟ้าไว้โดยเฉพาะ รวมทั้งการออกแบบช่องจำหน่ายบัตรโดยสารทางเข้า-ออก ก็คำนึงถึงคนพิการ โดยมีความสูง และความกว้างเหมาะกับผู้ที่นั่งรถเข็นอีกด้วย พร้อมทั้งติดตั้งสัญลักษณ์ต่างๆ ของคนพิการก็จะมีบอกไว้เป็นระยะ

นอกจากนั้นยังได้จัดฝึกอบรมทั้งภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติในเรื่องของการอำนวยความสะดวก และช่วยเหลือคนพิการแก่เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย รวมถึงได้เน้นย้ำให้ปฏิบัติตามมาตรการอย่างเคร่งครัด โดยเมื่อคนพิการแสดงบัตรประจำตัวคนพิการซึ่งออกโดยสำนักส่งเสริม และพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ (หากไม่มีบัตรคนพิการจะต้องชำระค่าโดยสารตามปกติ) เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยจะสอบถามคนพิการถึงสถานีปลายทางเมื่อเข้าสู่ระบบรถไฟฟ้า หลังจากนั้นจึงพาคนพิการผ่านช่องทางพิเศษ และประสานงานไปยังสถานีปลายทางเพื่อเตรียมให้เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยมารอรับคนพิการ และคอยอำนวยความสะดวกพาออกนอกระบบรถไฟฟ้า

หากมีข้อสงสัยสามารถติดต่อสอบถามข้อมูลและเงื่อนไขเพิ่มเติมได้ที่หมายเลข Call Center 1690 หรือ www.srtet.co.th , www.facebook.com/AirportRailLink และ Twitter : Airport Rail Link
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 19/10/2018 10:02 am    Post subject: Reply with quote

โวยราวกันตก "แอร์พอร์ตลิงก์" 13 ล้าน เกรดเหมือนตามทางเท้า พบเจ้าของเดียวกับเรือตรวจการณ์ กทม.
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 19 ตุลาคม 2561 - 00:01

ชาวเน็ตวิจารณ์ แผงราวสแตนเลสกันตก สถานีแอร์พอร์ต ลิงก์ พญาไท เป็นราวกั้นคล้ายตามทางเท้า-เกาะกลาง ราคา 13 ล้าน กังขาแพงเกินไปหรือไม่ พบผู้ชนะประมูลเป็นบริษัทไอที เจ้าของเดียวกับเรือตรวจการณ์ กทม. ที่เคยจอดทิ้งไว้ที่อยุธยานานกว่า 1 ปี

วันนี้ (18 ต.ค.) เฟซบุ๊ก AirportLink ที่รัก ได้เผยแพร่ภาพแผงราวสแตนเลสกันตก บริเวณสถานีรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ พญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ ซึ่งมีลักษณะเป็นราวสแตนเลสคล้ายราวกันคนข้ามถนนบริเวณทางเท้าหรือเกาะกลางถนน ไม่ใช่ประตูกั้นชานชาลาแบบพีเอสดี (Platform Screen Doors) เหมือนรถไฟฟ้าบีทีเอส และรถไฟฟ้าสายสีม่วง (บางใหญ่-เตาปูน)

ทั้งนี้ บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด ได้ประกวดราคาจ้างติดตั้งแผงกั้นราวสแตนเลสกันตกที่ชั้นชานชาลาสถานีรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ ด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ตามประกาศเมื่อวันที่ 29 มี.ค. 2561 พบว่าผู้เสนอราคาที่ชนะการเสนอราคา ได้แก่ บริษัท แกรนด์ไลน์ อินโนเวชั่น จำกัด เสนอราคาต่ำสุดเป็นเงินทั้งสิ้น 13,456,900 บาท และได้ประกาศผู้ชนะการเสนอราคาไปเมื่อวันที่ 1 มิ.ย.

อย่างไรก็ตาม มีเสียงวิจารณ์ออกมาหลากหลายเกี่ยวกับเรื่องนี้ ทั้งกรณีที่สงสัยว่าทำไมไม่ใช่ประตูกั้นชานชาลาแบบพีเอสดี ซึ่งก็มีคนเห็นต่างว่า สาเหตุที่ใช้แผงราวสแตนเลส เพราะรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์วิ่งด้วยความเร็วสูงมากกว่า 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เกรงว่ากระจกจะแตก และยกตัวอย่างที่ประเทศญี่ปุ่น สถานีรถไฟฟ้าความเร็วสูงชิงกันเซ็งก็ใช้แผงราวสแตนเลสกันตกเหมือนกัน บ้างก็วิจารณ์ว่าราคาติดตั้งกว่า 13 ล้านบาท ตกสถานีละ 1.6 ล้านบาทแพงเกินไปหรือไม่ เมื่อเทียบกับสภาพที่เห็น


- ชาวเน็ตสงสัย "บริษัทไอที ทำไมไปขายราวสแตนเลส?"

อีกประเด็นหนึ่งที่ชาวเน็ตตั้งข้อสงสัย คือ บริษัทผู้ชนะการประมูลเป็นบริษัทไอที ทำไมไปขายราวสแตนเลสได้ โดยข้อมูลในเว็บไซต์บริษัทผู้ชนะการประมูล ระบุว่า "บริษัท แกรนด์ไลน์ อินโนเวชั่น จำกัด เดิมเป็นบริษัทที่จดทะเบียนในนาม ห้างหุ้นส่วนจำกัด เหรียญทอง อินเตอร์เทรดดิ้ง ในปี 2533 และมีการพัฒนาบริษัทอย่างต่อเนื่อง โดยมีวัตถุประสงค์ในการประกอบธุรกิจ ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญของบริษัทฯ ดังนี้ ปัจจุบันบริษัทฯ ประกอบธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าไอทีทุกประเภท ทั้งกลุ่มผลิตภัณฑ์สารสนเทศ ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และการสื่อสารครบวงจร นอกจากธุรกิจด้านไอทีแล้ว พร้อมกันนี้บริษัทฯ ยังประกอบธุรกิจด้านวิศวกรรม อาทิ งานบำรุงรักษาหม้อแปลงไฟฟ้าและระบบไฟฟ้าแรงดันต่ำ สถานีสูบน้ำพระโขนง เป็นต้น"

ข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ระบุว่า บริษัท แกรนด์ไลน์ อินโนเวชั่น จำกัด จดทะเบียนเมื่อวันที่ 7 ม.ค. 2533 ทุนจดทะเบียน 100 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่ 252 ซอยลาดพร้าว 64 ถนนลาดพร้าว แขวงวังทองหลาง เขตวังทองหลาง กรุงเทพฯ หมวดธุรกิจ การขายส่งเครื่องจักรและอุปกรณ์อื่นๆ ซึ่งมิได้จัดประเภทไว้ในที่อื่น วัตถุประสงค์จำหน่ายเครื่องสูบน้ำและอุปกรณ์ มีนายชัยธพัชร์ เหล่าศิริรัตน์ (ชื่อเดิมคือ นายกิตติชัย เหล่าศิริรัตน์) และนางวัลลดา เหล่าศิริรัตน์ เป็นกรรมการบริษัท มีผู้ถือหุ้น 3 คน คือ นายชัยธพัชร์ นางวัลลดา และ นายชัชวาล ใหญ่เลิศ ในปี 2560 มีรายได้รวม 374.96 ล้านบาท กำไรสุทธิ 18.21 ล้านบาท

- เคยชนะประมูล "เรือตรวจการณ์ไฟไหม้ กทม." จอดทิ้งไว้กว่า 1 ปี

สำหรับบริษัท แกรนด์ไลน์ อินโนเวชั่น จำกัด ก่อนหน้านี้ชนะการประกวดราคาจัดซื้อเรือตรวจการณ์ 3 ลำ จากสำนักเทศกิจ กรุงเทพมหานคร เพื่อปฏิบัติภารกิจป้องกันการกระทำผิดทางน้ำ และช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำ รวมทั้งสนับสนุนหน่วยงานอื่นๆ ในแม่น้ำเจ้าพระบาและคลองบางกอกน้อย วงเงินกว่า 44 ล้านบาท แต่พบว่าเรือตรวจการณ์ลำใหญ่ ความยาว 25 เมตร มูลค่ากว่า 26 ล้านบาท หลังจากต่อเรือเสร็จและส่งมอบได้เพียงไม่นานก็เกิดเพลิงไหม้เครื่องยนต์ ทำให้ต้องจอดทิ้งไว้ที่ท่าเทียบเรือหน้าวิทยาลัยเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมการต่อเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา นานกว่า 1 ปี เพราะรออะไหล่จากต่างประเทศ


สำหรับชื่อของ นายชัยธพัชร์ เหล่าศิริรัตน์ ข้อมูลจากสำนักข่าวอิศรา ระบุว่า ก่อนหน้านี้ นายวิลาศ จันทร์พิทักษ์ อดีต ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ยื่นเรื่องต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ให้ตรวจสอบกรณีสำนักเทศกิจ กทม. จัดซื้อเรือตรวจการณ์ 3 ลำ วงเงินกว่า 44 ล้านบาท เมื่อเดือนกันยายน 2559 หลังสำนักเทศกิจ กทม. ได้สืบราคากลางจากบริษัท ริเวอร์ เอนจิเนียริ่ง จำกัด ซึ่งมีนายพิสิษฐ์ เหล่าศิริรัตน์ (ชื่อเดิมคือ นายไพโรจน์ เหล่าศิริรัตน์) กรรมการผู้มีอำนาจ เป็นบิดาของนายชัยธพัชร์ กรรมการผู้มีอำนาจ บริษัท แกรนด์ไลน์ อินโนเวชั่น จำกัด ผู้ชนะการเสนอราคา

อย่างไรก็ตาม เลขานุการของนายพิสิษฐ์ ยืนยันว่าบริษัท ริเวอร์ฯ ไม่ได้เข้าเกี่ยวข้อง หรือเข้าไปดำเนินการประมูลจัดซื้อเรือตรวจการณ์ทั้ง 3 ลำดังกล่าว เพราะรู้ข้อกฏหมายเกี่ยวกับการฮั้วประมูลดี จึงไม่ได้เข้าไปประมูลด้วย แต่ยืนยันว่านายชัยธพัชร์ เป็นบุตรของนายพิสิษฐ์จริง ส่วน พ.ต.อ.พิชัย เกรียงวัฒนศิริ ผู้อำนวยการสำนักเทศกิจ ระบุว่า ในการประมูลดังกล่าว ไม่มีชื่อของบริษัท ริเวอร์ฯ เข้าไปร่วมประมูลแต่อย่างใด แต่เป็นเพียงหนึ่งใน 5 บริษัทที่นำสืบราคากลางในช่วงการร่างขอบเขตของงาน (TOR) เท่านั้น
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 19/10/2018 5:25 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
โวยราวกันตก "แอร์พอร์ตลิงก์" 13 ล้าน เกรดเหมือนตามทางเท้า พบเจ้าของเดียวกับเรือตรวจการณ์ กทม.
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 19 ตุลาคม 2561 - 00:01

"แอร์พอร์ต ลิงก์" แจงทำราวกั้นชั้นชานชาลา ประหยัดงบฯ ช่วงเปลี่ยนผ่านรถไฟความเร็วสูง 3 สนามบิน
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 19 ตุลาคม 2561 -15:54
ปรับปรุง: 19 ตุลาคม 2561 -15:56

กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ แอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ชี้แจงกการติดตั้งราวกั้นสเตนเลสบนชั้นชานชาลา แทนที่จะเป็นระบบประตูกั้นชานชาลาเหมือนบีทีเอส ระบุ เคยประมูลไปรอบหนึ่งแล้วแต่ชนะเพียงรายเดียว แถมปลายปีนี้ประมูลรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน จึงต้องใช้ราวสแตนเลสเพื่อประหยัดงบฯ ในช่วงเปลี่ยนผ่าน ยืนยันการประมูลโปร่งใส วัสดุได้คุณภาพ อายุการใช้งานยาวนาน ทำความสะอาดง่าย

อ่านประกอบ : โวยราวกันตก “แอร์พอร์ตลิงก์” 13 ล้าน เกรดเหมือนตามทางเท้า พบเจ้าของเดียวกับเรือตรวจการณ์ กทม.

จากกรณีที่เฟซบุ๊ก AirportLink ที่รัก ได้เผยแพร่ภาพแผงราวสเตนเลสกันตก บริเวณสถานีรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ พญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ ซึ่งมีลักษณะเป็นราวสเตนเลสคล้ายราวกันคนข้ามถนนบริเวณทางเท้า หรือเกาะกลางถนน ไม่ใช่ประตูกั้นชานชาลาแบบพีเอสดี (Platform Screen Doors) เหมือนรถไฟฟ้าบีทีเอส และ รถไฟฟ้าสายสีม่วง (บางใหญ่-เตาปูน) ทำให้เป็นที่วิจารณ์ว่า ทำไมไม่ใช่ประตูกั้นชานชาลาแบบพีเอสดี

วันนี้ (19 ต.ค.) นายสุเทพ พันธุ์เพ็ง กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (แอร์พอร์ต เรล ลิงก์) เปิดเผยว่า จากรณีที่มีสื่อโซเชียลเผยแพร่ภาพการติดตั้งราวกั้นสเตนเลสบนชั้นชานชาลาของรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ บริษัทฯ ขอชี้แจงว่า ก่อนหน้านี้ มีแผนจะดำเนินการติดตั้งระบบประตูกั้นชานชาลาแบบสูงครึ่งบาน (Platform Screen Door หรือ PSD) ใน 7 สถานี (ยกเว้นสถานีสุวรรณภูมิ) งบประมาณ 200 ล้านบาท โดยทำการประมูลติดตั้งประตูกั้นชานชาลา แต่ต้องยกเลิกเนื่องจากมีผู้ผ่านประมูลรายเดียว

ประกอบกับมีโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ซึ่งจะได้ผู้ชนะการประมูลภายในสิ้นปี และรูปแบบสถานีของแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ จะต้องเปลี่ยนไปรองรับโครงการดังกล่าว ซึ่งมีขนาดความกว้างของตัวรถไฟฟ้ามากกว่า ดังนั้น เพื่อความปลอดภัยของผู้โดยสารในช่วงระหว่างเปลี่ยนผ่านสู่โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน และเป็นการประหยัดงบประมาณแผ่นดิน บริษัทฯ จึงปรับรูปแบบการดำเนินงานเป็นการติดตั้งราวกั้นชานชาลา หรือราวกั้นแบบราวสเตนเลส คล้ายรถไฟชิงกันเซ็งของประเทศญี่ปุ่น และสถานีรถไฟฟ้าอื่นๆ ในต่างประเทศ

โดยบริษัทผู้ชนะการประกวดราคาจะต้องดำเนินงานติดตั้งราวกั้นชานชาลา หรือราวกั้นแบบสเตนเลส ทั้งงานเตรียมการป้องกันและงานวัสดุอุปกรณ์อื่นๆ งานผลิตแผงกั้นราวสเตนเลสกันตก ความสูงจากพื้นชั้นชานชาลา 1.2 เมตร ใช้วัสดุท่อกลมสเตนเลส คุณภาพไม่ต่ำกว่า Grade 304 หรือดีกว่า มีเส้นผ่านศูนย์กลางขนาด 1-2 นิ้ว ความหนาตั้งแต่ 1.5 - 3 มิลลิเมตร ความยาวทั้งสิ้น 2,296 เมตร (2.296 กิโลเมตร) แบ่งเป็น สถานีพญาไท 328 เมตร, สถานีราชปรารภ 328 เมตร, สถานีมักกะสัน 328 เมตร,สถานีรามคำแหง 328 เมตร, สถานีหัวหมาก 328 เมตร,สถานีบ้านทับช้าง 328 เมตร และสถานีลาดกระบัง 328 เมตร รวมทั้งงานขนส่งอุปกรณ์ชิ้นงาน งานติดตั้งป้ายสเตนเลส ป้ายตราสัญญักษณ์ SRTET ใช้วัสดุแผ่นสเตนเลสส์ Grade 304 ขนาด 65x16 เซนติเมตร หนา 3 มิลลิเมตร 720 ชิ้น งานติดตั้งป้ายสเตนเลส ป้ายเตือนความปลอดภัย ใช้วัสดุแผ่นสเตนเลส Grade 304 ขนาด 65x16 เซนติเมตร หนา 3 มิลลิเมตร 560 ชิ้น ทั้งนี้ บริษัทผู้ชนะประกวดราคาจะเข้าดำเนินงานได้ในเวลาที่รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ปิดให้บริการแล้วเท่านั้น คือ 01.00-04.00 น.

ในด้านกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง บริษัทฯ ได้ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติ การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 อย่างเคร่งครัด และประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (E-bidding) โดยวันที่ 15 มี.ค.61 จัดทำแผนจัดซื้อจัดจ้าง และเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ระบบการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ (www.gprocurement.go.th), เว็บไซต์บริษัทฯ (www.srtet.co.th) และติดบอร์ดประชาสัมพันธ์ของส่วนจัดซื้อจัดจ้างภายในศูนย์ซ่อมบำรุงคลองตัน, วันที่ 22 มี.ค.61 นำเสนอร่างประกาศประกวดราคาเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ระบบการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ เพื่อเปิดให้สาธารณชนเสนอแนะ หรือแสดงความเห็นเป็นลายลักษณ์อักษร โดยระยะเวลาประกาศเป็นไปตามกฎหมายและระเบียบอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ปรากฏว่าไม่มีการวิจารณ์ร่างประกาศดังกล่าว

วันที่ 29 มี.ค.61 ประกาศประกวดราคาผ่านเว็บไซต์ระบบการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ, เว็บไซต์บริษัทฯ และติดบอร์ดประชาสัมพันธ์ของส่วนจัดซื้อจัดจ้างภายในศูนย์ซ่อมบำรุงคลองตัน, วันที่ 23 เม.ย.61 เปิดยื่นข้อเสนอและราคา มีผู้ดาวน์โหลดเอกสารจากเว็บไซต์ระบบการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ จำนวน 36 บริษัท มีผู้ยื่นข้อเสนอและราคาผ่านระบบการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ จำนวน 15 บริษัท ถูกต้องตามเงื่อนไขและคุณสมบัติที่บริษัทฯ กำหนด 10 บริษัท โดยบริษัท แกรนด์ไลน์ อินโนเวชั่นส์ จำกัด ซึ่งมีคุณสมบัติครบถ้วนตามหนังสือรับรอง และจดทะเบียนกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เป็นผู้เสนอราคาต่ำที่สุด 13,456,900 บาท

โดยราวกั้นชานชาลาแบบราวสแตนเลสดังกล่าวผลิตจากวัสดุที่ได้คุณภาพ และมีมาตรฐานตามที่ รฟฟท. กำหนด ซึ่งมีประโยชน์ในการใช้งานคือ ใช้ระยะเวลาการติดตั้งรวดเร็ว (6 เดือน) มีอายุการใช้งานนาน ทำความสะอาดง่าย ทนทานต่อการใช้งานรองรับแรงลมกรณีขบวนรถที่ใช้ความเร็วผ่านเข้าสถานี และไม่กระทบการไหลเวียนของอากาศ ทำให้ไม่เกิดความร้อนสะสมภายในสถานี นอกจากนั้นบริษัทยังมีมาตรการรักษาความปลอดภัยบนชั้นชานชาลาที่ยังคงอยู่ โดยจัดให้มีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยคอยประจำบนชั้นชานชาลา และมีปุ่มหยุดรถฉุกเฉิน รวมถึงมีการประกาศข้อความภายในสถานี และมีการทำ Group Release เพื่อจำกัดจำนวนผู้โดยสารบนชั้นชานชาลา และติดตั้งป้ายประชาสัมพันธ์ด้านความปลอดภัยเพิ่มเติมในอนาคต
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 19/10/2018 8:31 pm    Post subject: Reply with quote

รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ยืนยันราวกั้นสเตนเลสบนชั้นชานชาลาปลอดภัย
PPTV ช่อง 36
เผยแพร่ 19 ตุลาคม 2561 -,14:48น.
แก้ไข 19 ตุลาคม 2561 -,16:52น.
แอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ชี้แจงกรณีการติดตั้งราวกั้นสเตนเลสบนชั้นชานชาลา ยืนยันถูกต้อง คุ้มค่า โปร่งใส และปลอดภัย

รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ยืนยันราวกั้นสเตนเลสบนชั้นชานชาลาปลอดภัย

วันนี้ (19 ต.ค.61) นายสุเทพ พันธุ์เพ็ง กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด (รฟฟท.) หรือผู้ให้บริการรถไฟฟ้า แอร์พอร์ต เรล ลิงก์ เปิดเผยว่า จากกรณีที่มีสื่อโซเชียลเผยแพร่ภาพการติดตั้งราวกั้นสเตนเลสบนชั้นชานชาลาของรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ กระทั่งกลายเป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจจากประชาชน และผู้โดยสารที่ใช้บริการจนเกิดการวิพากษ์วิจารณ์อย่างแพร่หลายนั้น บริษัทขอชี้แจง ดังนี้

ก่อนหน้านี้ รฟฟท. มีแผนจะดำเนินการติดตั้งระบบประตูกั้นชานชาลาแบบสูงครึ่งบาน ( Platform Screen Door : PSD ) ใน 7 สถานี งบประมาณ 200 ล้านบาท ( ยกเว้นสถานีสุวรรณภูมิ ) โดยทำการประมูลติดตั้งประตูกั้นชานชาลา แต่ต้องยกเลิกเนื่องจากมีผู้ผ่านประมูลรายเดียว ประกอบกับมีโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ซึ่งจะได้ผู้ชนะการประมูลภายในสิ้นปี และรูปแบบสถานีของแอร์พอร์ต เรล ลิงก์จะต้องเปลี่ยนไปรองรับโครงการดังกล่าว ซึ่งมีขนาดความกว้างของตัวรถไฟฟ้ามากกว่า ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยของผู้โดยสารในช่วงระหว่างเปลี่ยนผ่านสู่โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน และเป็นการประหยัดงบประมาณแผ่นดิน บริษัทจึงปรับรูปแบบการดำเนินงานเป็นการติดตั้งราวกั้นชานชาลา หรือราวกั้นแบบราวสเตนเลส คล้ายรถไฟชินคันเซ็นของประเทศญี่ปุ่น และสถานีรถไฟฟ้าอื่นๆ ในต่างประเทศ


โดยบริษัทผู้ชนะการประกวดราคาจะต้องดำเนินงานติดตั้งราวกั้นชานชาลา หรือราวกั้นแบบราวสเตนเลสส์ ความสูงจากพื้นชั้นชานชาลา 1.2 เมตร ใช้วัสดุท่อกลมสเตนเลส คุณภาพไม่ต่ำกว่า Grade 304 หรือดีกว่า มีเส้นผ่านศูนย์กลางขนาด 1 – 2 นิ้ว ความหนาตั้งแต่ 1.5 – 3 มิลลิเมตร ความยาวทั้งสิ้น 2,296 เมตร ( 2.296 กิโลเมตร ) แบ่งเป็น

สถานีพญาไท 328 เมตร,
สถานีราชปรารภ 328 เมตร,
สถานีมักกะสัน 328 เมตร,
สถานีรามคำแหง 328 เมตร,
สถานีหัวหมาก 328 เมตร,
สถานีบ้านทับช้าง 328 เมตร,
สถานีลาดกระบัง 328 เมตร

งานขนส่งอุปกรณ์ชิ้นงาน งานติดตั้งป้ายสเตนเลส ป้ายตราสัญญักษณ์ SRTET ใช้วัสดุแผ่นสเตนเลส Grade 304 ขนาด 65 X 16 เซนติเมตร หนา 3 มิลลิเมตร 720 ชิ้น งานติดตั้งป้ายสเตนเลส ป้ายเตือนความปลอดภัย ใช้วัสดุแผ่นสเตนเลส Grade 304 ขนาด 65 X 16 เซนติเมตร หนา 3 มิลลิเมตร 560 ชิ้น

ทั้งนี้บริษัทผู้ชนะประกวดราคา จะเข้าดำเนินงานได้ในเวลาที่รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ปิดให้บริการแล้วเท่านั้น คือ 01.00 – 04.00 น.ในด้านกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างในการดำเนินงานดังกล่าว รฟฟท. ได้ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติ การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 อย่างเคร่งครัด ซึ่งวันที่ 23 เมษายน 2561 เปิดยื่นข้อเสนอและราคา โดยบริษัท แกรนด์ไลน์ อินโนเวชั่นส์ จำกัด เป็นผู้เสนอราคาต่ำที่สุด 13,456,900 บาท ใช้ระยะเวลาการติดตั้งรวดเร็ว ( 6 เดือน)

นอกจากนั้นบริษัทยังมีมาตรการรักษาความปลอดภัยบนชั้นชานชาลาที่ยังคงอยู่ โดยจัดให้มีเจ้าหน้าที่รักษาความ ปลอดภัยคอยประจำบนชั้นชานชาลา และมีปุ่มหยุดรถฉุกเฉิน รวมถึงมีการประกาศข้อความภายในสถานี และมีการทำ Group Release เพื่อจำกัดจำนวนผู้โดยสารบนชั้นชานชาลา และจะมีการดำเนินการติดตั้งป้ายประชาสัมพันธ์ด้านความปลอดภัยเพิ่มเติมในอนาคต

//-----------------------------------

“แอร์พอร์ต เรล ลิงก์” เผยโฉมราวกั้นสแตนเลสบนชั้นชานชาลาเทียบชั้นมาตรฐานญี่ปุ่น

วันที่ 19 ตุลาคม 2561 -, 17:52 น.


นายสุเทพ พันธุ์เพ็ง กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด (รฟฟท.) หรือผู้ให้บริการรถไฟฟ้า แอร์พอร์ต เรล ลิงก์ เปิดเผยว่าจากรณีที่มีสื่อโซเชี่ยลเผยแพร่ภาพการติดตั้งราวกั้นสแตนเลสบนชั้นชานชาลาของรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ กระทั่งกลายเป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจจากประชาชน และผู้โดยสารที่ใช้บริการจนเกิดการวิพากษ์วิจารณ์อย่างแพร่หลายนั้น บริษัทขอชี้แจงรายละเอียดการดำเนินงานดังกล่าวเพื่อความชัดเจน และความเข้าใจที่ถูกต้อง ดังนี้



ก่อนหน้านี้ รฟฟท.มีแผนจะดำเนินการติดตั้งระบบประตูกั้นชานชาลาแบบสูงครึ่งบาน (Platform Screen Door : PSD) ใน 7 สถานี งบประมาณ 200 ล้านบาท (ยกเว้นสถานีสุวรรณภูมิ) โดยทำการประมูลติดตั้งประตูกั้นชานชาลา แต่ต้องยกเลิกเนื่องจากมีผู้ผ่านประมูลรายเดียว ประกอบกับมีโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ซึ่งจะได้ผู้ชนะการประมูลภายในสิ้นปี และรูปแบบสถานีของแอร์พอร์ต เรล ลิงก์จะต้องเปลี่ยนไปรองรับโครงการดังกล่าว ซึ่งมีขนาดความกว้างของตัวรถไฟฟ้ามากกว่า ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยของผู้โดยสารในช่วงระหว่างเปลี่ยนผ่านสู่โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน และเป็นการประหยัดงบประมาณแผ่นดิน บริษัทจึงปรับรูปแบบการดำเนินงานเป็นการติดตั้งราวกั้นชานชาลา หรือราวกั้นแบบราวสแตนเลส คล้ายรถไฟชินคันเซ็นของประเทศญี่ปุ่น และสถานีรถไฟฟ้าอื่นๆ ในต่างประเทศ

โดยบริษัทผู้ชนะการประกวดราคาจะต้องดำเนินงานติดตั้งราวกั้นชานชาลา หรือราวกั้นแบบราวสแตนเลส ดังนี้

– งานเตรียมการ ป้องกัน และงานวัสดุอุปกรณ์อื่นๆ

– งานผลิตแผงกั้นราวสแตนเลสกันตกความสูงจากพื้นชั้นชานชาลา 1.2 เมตร ใช้วัสดุท่อกลมสแตนเลส
คุณภาพไม่ต่ำกว่า Grade 304 หรือดีกว่า มีเส้นผ่านศูนย์กลางขนาด 1 – 2 นิ้ว ความหนาตั้งแต่ 1.5 – 3 มิลลิเมตร ความยาวทั้งสิ้น 2,296 เมตร (2.296 กิโลเมตร) แบ่งเป็น



: สถานีพญาไท 328 เมตร
: สถานีราชปรารภ 328 เมตร
: สถานีมักกะสัน 328 เมตร
: สถานีรามคำแหง 328 เมตร
: สถานีหัวหมาก 328 เมตร
: สถานีบ้านทับช้าง 328 เมตร
: สถานีลาดกระบัง 328 เมตร

– งานขนส่งอุปกรณ์ชิ้นงาน

– งานติดตั้งป้ายสแตนเลส ป้ายตราสัญลักษณ์ SRTET ใช้วัสดุแผ่นสแตนเลส Grade 304 ขนาด 65 X 16
เซนติเมตร หนา 3 มิลลิเมตร 720 ชิ้น

– งานติดตั้งป้ายสแตนเลส ป้ายเตือนความปลอดภัย ใช้วัสดุแผ่นสแตนเลส Grade 304 ขนาด 65 X 16
เซนติเมตร หนา 3 มิลลิเมตร 560 ชิ้น

ทั้งนี้บริษัทผู้ชนะประกวดราคา จะเข้าดำเนินงานได้ในเวลาที่รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ปิดให้บริการแล้วเท่านั้น คือ 01.00 – 04.00 น.

ในด้านกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างในการดำเนินงานดังกล่าว รฟฟท.ได้ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติ การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 อย่างเคร่งครัด และดำเนิการประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (E-bidding) ดังนี้

– วันที่ 15 มีนาคม 2561 จัดทำแผนจัดซื้อจัดจ้าง และเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ระบบการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ (www.gprocurement.go.th), เว็บไซต์บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด (www.srtet.co.th) และติดบอร์ดประชาสัมพันธ์ของส่วนจัดซื้อจัดจ้างภายในศูนย์ซ่อมบำรุงคลองตัน

– วันที่ 22 มีนาคม 2561 นำเสนอร่างประกาศประกวดราคาเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ระบบการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ เพื่อเปิดให้สาธารณชนเสนอแนะ หรือแสดงความเห็นเป็นลายลักษณ์อักษร โดยระยะเวลาในการประกาศเป็นไปตามกฎหมายและระเบียบอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ปรากฏว่าไม่มีการวิจารณ์ร่างประกาศดังกล่าว

– วันที่ 29 มีนาคม 2561 ดำเนินการประกาศประกวดราคาผ่านเว็บไซต์ระบบการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ, เว็บไซต์บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด (รฟฟท.) และติดบอร์ดประชาสัมพันธ์ของส่วนจัดซื้อจัดจ้างภายในศูนย์ซ่อมบำรุงคลองตัน

– วันที่ 23 เมษายน 2561 เปิดยื่นข้อเสนอและราคา

ทั้งนี้มีผู้ดาวน์โหลดเอกสารจากเว็บไซต์ระบบการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ จำนวน 36 บริษัท มีผู้ยื่นข้อเสนอและราคาผ่านระบบการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ จำนวน 15 บริษัท ถูกต้องตามเงื่อนไขและคุณสมบัติที่ รฟฟท. กำหนด 10 บริษัท โดยบริษัท แกรนด์ไลน์ อินโนเวชั่นส์ จำกัด ซึ่งมีคุณสมบัติครบถ้วนตามหนังสือรับรอง และจดทะเบียนกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เป็นผู้เสนอราคาต่ำที่สุด 13,456,900 บาท
โดยราวกั้นชานชาลาแบบราวสแตนเลสดังกล่าวผลิตจากวัสดุที่ได้คุณภาพ และมีมาตรฐานตามที่ รฟฟท. กำหนด ซึ่งมีประโยชน์ในการใช้งาน ดังนี้

– ใช้ระยะเวลาการติดตั้งรวดเร็ว ( 6 เดือน)
– มีอายุการใช้งานนาน
– ทำความสะอาดง่าย
– ทนทานต่อการใช้งานรองรับแรงลมกรณีขบวนรถที่ใช้ความเร็วผ่านเข้าสถานี
– ไม่กระทบการไหลเวียนของอากาศ ทำให้ไม่เกิดความร้อนสะสมภายในสถานี

นอกจากนั้นบริษัทยังมีมาตรการรักษาความปลอดภัยบนชั้นชานชาลาที่ยังคงอยู่ โดยจัดให้มีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยคอยประจำบนชั้นชานชาลา และมีปุ่มหยุดรถฉุกเฉิน รวมถึงมีการประกาศข้อความภายในสถานี และมีการทำ Group Release เพื่อจำกัดจำนวนผู้โดยสารบนชั้นชานชาลา และจะมีการดำเนินการติดตั้งป้ายประชาสัมพันธ์ด้านความปลอดภัยเพิ่มเติมในอนาคต


Last edited by Wisarut on 07/12/2018 12:18 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 15/11/2018 11:39 pm    Post subject: Reply with quote

ผุดสกายวอล์ก เชื่อมแอร์พอร์ตลิงก์สถานีทับช้างกับสะพานลอยถ.มอเตอร์เวย์สาย 7
วันที่ 15 พฤศจิกายน 2561 - 16:17 น.

คนประเวศเฮ! รฟท. ทุ่ม 41 ล้าน ผุดสกายวอล์ก เชื่อมแอร์พอร์ตลิงก์สถานีทับช้างกับสะพานลอยถนนมอเตอร์เวย์สาย 7 อำนวยความสะดวกเดินทาง – รถไฟเปิดประมูลก่อสร้าง 14 พ.ย. กำหนดเอกชนยื่นซองราคาประมูลแข่ง 11 ธ.ค. นี้

ผุดสกายวอล์กเชื่อมแอร์พอร์ตลิงก์ – นายสุเทพ พันธุ์เพ็ง กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด หรือผู้ให้บริการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ เปิดเผยว่า ขณะนี้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เตรียมงบประมาณ ราว 41 ล้านบาท เพื่อดำเนินการก่อสร้างทางเดินแบบลอยฟ้า (สกายวอล์ก) เชื่อมต่อสถานีบ้านทับช้าง ซึ่งตั้งอยู่ในเขตประเวศ กับสะพานลอยข้าม ทางหลวงพิเศษ หมายเลข 7 เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้โดยสารที่จะเดินทางเข้าและออกสถานีบ้านทับช้าง และผู้โดยสารที่เดินทางโดยรถยนต์สาธารณะจากถนนคู่ขนานทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 ให้สามารถใช้ทางเดินแบบลอยฟ้าเข้าสู่สถานีบ้านทับช้างได้ รวมทั้งให้ผู้โดยสารจากสถานีทับช้างสามารถใช้ทางเดินลอยฟ้าเดินออกไปเรียกรถยนต์สาธารณะบนทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 ได้ด้วย

“คาดว่าเมื่อมีการทำทางสกายวอล์กเชื่อมจากสถานีไปยังสะพานลอยบนถนนมอเตอร์เวย์สาย 7 แล้ว ประชาชนจะเข้ามาใช้บริการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์มากขึ้น เนื่องจากการเดินทางเชื่อมต่อเข้าสู่ตัวสถานีสะดวกขึ้น ขณะที่ประชาชนเองก็มีทางเลือกในการเดินทางมากขึ้น เชื่อมต่อได้หลายระบบทั้งระบบรถไฟฟ้า และถนน”


นายสุเทพ กล่าวต่อถึงภาพรวมปริมาณการใช้บริการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ในปี 2561 ว่า ปริมาณผู้โดยสารที่เข้ามาใช้บริการเพิ่มสูงขึ้นเนื่องจาก แอร์พอร์ต ลิงก์ สามารถซ่อมบำรุงรถจนสามารถนำมาวิ่งได้ 8 ขบวน เหลือรอซ่อมอีกเพียง 1 ขบวนเท่านั้น ทั้งนี้ คาดว่าทั้งปี 2561 จะมีจำนวนผู้โดยสารสูงรวมถึง 24 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนซึ่งอยู่ที่ 21 ล้านคน หรือเพิ่มขึ้น 7-8% ส่งผลให้รายได้รวมปีนี้จะเติบโตสูงขึ้นจากปีก่อน 7-8% โดยจะมีรายได้รวมทั้งสิ้น 750 ล้านบาท ซึ่งมากกว่าปีก่อน 70 ล้านบาท

รายงานข่าวจากรฟท. เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 14 พ.ย. 2561 ที่ผ่านมา นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการในตำแหน่งผู้ว่ารฟท. ได้ประกาศเปิดประมูลจ้างก่อสร้างทางเดินแบบลอยฟ้า (สกายวอล์ก) เชื่อมต่อสถานีบ้านทับช้างกับสะพานลอยข้ามทาง ด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding) วงเงิน 41,033,000 ล้านบาท โดยเปิดให้เอกชนที่สนใจเข้าร่วมประมูลก่อสร้างซื้อเอกสารประกวดราคาด้วยอิเล็กทรอนิกส์ ผ่านทางระบบจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยอิเล็กทรอนิกส์และชำระเงินผ่านทางธนาคาร ตั้งแต่วันที่ 14 พ.ย.-7 ธ.ค. 2561 โดยจะต้องยื่นข้อเสนอและเสนอราคาทางระบบจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยอิเล็กทรอนิกส์ ในวันที่ 11 ธ.ค. 2561 ระหว่างเวลา 08.30-16.30 น.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 19/11/2018 1:12 pm    Post subject: Reply with quote

แอร์พอร์ตลิงค์ดึงงบ ร.ฟ.ท. เพิ่มทุน 3 พันล้าน!!
ออนไลน์เมื่อ 18 พฤศจิกายน 2561
ตีพิมพ์ใน หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,418
วันที่ 15 - 17 พฤศจิกายน 2561 หน้า 01+15




แอร์พอร์ตลิงค์ทำแผนเสนอผู้ชนะการประมูลรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน จัดหาขบวนรถเพิ่มให้เพียงพอ พร้อมเตรียมปรับโยกไปบริหารจัดการรถไฟสายสีแดง จ่อเพิ่มทุนจดทะเบียนจาก 140 ล้าน เป็น 3,000 ล้าน

นายสุเทพ พันธุ์เพ็ง กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงค์ เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า ปัจจุบัน บริษัทยังคงทำหน้าที่รับจ้างเดินรถให้กับการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ที่เป็นบริษัทแม่ ผู้ถือสัดส่วนการลงทุน 100% ขณะเดียวกัน ได้จัดเตรียมแผนพัฒนารถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงค์เสนอกับกลุ่มผู้ชนะการประมูลโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน เพื่อให้เร่งจัดหารถมาให้บริการผู้โดยสารอย่างเพียงพอ เนื่องจากปัจจุบันมีผู้ใช้บริการในวันธรรมดามากกว่า 7.6 หมื่นคนต่อวัน แต่เมื่อวันที่ 9 พ.ย. ที่ผ่านมา มีจำนวนผู้โดยสารสูงถึง 8.8 หมื่นคนต่อวัน จากที่มีขบวนรถจำนวน 9 คัน สามารถรองรับผู้โดยสารได้ราว 9 หมื่นคน แต่ให้บริการได้ 8 คัน อย่างไรก็ตาม ภายในสิ้นปีนี้คาดว่าจะให้บริการครบ 9 คัน โดยใช้งบในการซ่อมบำรุงครั้งใหญ่ตั้งแต่ปี 2560 วงเงินจำนวน 260 ล้านบาท



สุเทพ พันธุ์เพ็ง กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด


"หลัก ๆ บริษัทจะต้องร่วมเสนอปัญหาให้ผู้ชนะการประมูลเล็งเห็นถึงปัญหาต่าง ๆ ของแอร์พอร์ตลิงค์ โดยเฉพาะกรณีผู้โดยสารแออัดบนสถานีจากกรณีขบวนรถล่าช้า หรือ มีเหตุขัดข้อง ต้องเร่งจัดหาขบวนรถใหม่มาเพิ่มบริการ เพื่อลดความแออัดดังกล่าวโดยเร็ว ขึ้นกับแผนที่กลุ่มผู้ประมูลเสนอมา"

ทั้งนี้ ช่วง 8 ปีที่ผ่านมา ยอดผู้โดยสารเพิ่มขึ้นประมาณ 11% จากช่วงแรก ๆ ราว 3 หมื่นคนต่อวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเดือน ต.ค. - พ.ย. ปีนี้ พบว่า เพิ่มสูงขึ้นมาก เนื่องจากการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเหลือง

"รายได้ที่จัดเก็บได้ทั้งหมดนั้น ประมาณ 740 ล้านบาทต่อปี แต่รายได้ที่บริษัทได้รับเป็นค่าจ้างเดินรถสำหรับปี 2561 ประมาณ 312 ล้านบาท ในส่วนภาระหนี้จำนวนกว่า 3.6 หมื่นล้านบาท เป็นของ ร.ฟ.ท. แบกรับภาระหนี้ดังกล่าว" นายสุเทพ กล่าว




สำหรับการปรับโยกภาระหน้าที่ไปรับผิดชอบบริหารจัดการรถไฟฟ้าสายสีแดงที่อยู่ระหว่างก่อสร้างและเร่งเปิดให้บริการในปี 2564 ได้แก่ ช่วงบางซื่อ-รังสิต, บางซื่อ-ตลิ่งชัน นอกจากนั้นยังมีแผนก่อสร้างในเขตชั้นในเมืองให้เชื่อมไปถึงมหาชัยและหัวหมาก ในนามบริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด อีกด้วย ดังนั้น พนักงานทุกคนจะทยอยไปรับการฝึกอบรมให้กับโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง เพื่อให้พร้อมบริการในปี 2564 ต่อไป

"เตรียมคนไว้รองรับการฝึกอบรมและถ่ายทอดเทคโนโลยีในระดับครูฝึกชำนาญการ จำนวน 90 คน ภายในระยะเวลา 2 ปี ต่อจากนี้จะต้องเรียนรู้ต่อกัน โดยส่วนหนึ่งจัดให้ไปเรียนรู้ระบบรถไฟฟ้าสายสีแดง อีกส่วนหนึ่งจะต้องถ่ายทอดให้กับผู้ชนะการประมูลที่เข้ามารับช่วงต่อไป"

"นอกจากนั้นยังมีแผนเพิ่มทุนจดทะเบียนจาก 140 ล้านบาท เป็น 3,000 ล้านบาท โดย ร.ฟ.ท. สนับสนุนงบประมาณดังกล่าวในฐานะบริษัทแม่ เริ่มทยอยเพิ่มทุนตั้งแต่ปี 2562 เป็นต้นไป ราว 300 ล้านบาท ต่อเนื่องกันไปจนครบ 3,000 ล้านบาท เพื่อใช้เป็นทุนหมุนเวียนในการบริหารจัดการและจัดซื้ออะไหล่ซ่อมบำรุง"




สำหรับทรัพย์สินในการโอนให้กับผู้ชนะการประมูลรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินนั้น เป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของ ร.ฟ.ท. คาดว่าจะมีมูลค่ากว่า 1.06 หมื่นล้านบาท อาทิ งานระบบไฟฟ้าและเครื่องกล ระบบอาณัติสัญญาณ ระบบควบคุม ระบบสื่อสารทั้งตัวรถและที่สถานีต่าง ๆ ทั้ง 8 แห่ง ส่วนกรณีการจัดซื้อขบวนรถเพิ่มใหม่ ได้มีการระบุไว้ในเอกสารประกวดราคา (ทีโออาร์) ว่า บริษัทผู้ชนะการประมูลจะต้องรับผิดชอบดำเนินการเอง โดยจะต้องเสนอรายละเอียดว่า จะดำเนินการรูปแบบไหน อย่างไรบ้าง ทั้งการเช่า การซื้อ เป็นต้น

ประการสำคัญยังมีพื้นที่โฆษณาทั้งบนตัวรถและบนสถานีทั้ง 8 แห่ง ที่จะต้องส่งมอบให้กับผู้ชนะการประมูล คาดว่าจะเป็นอีกหนึ่งตัวชี้วัดและการหารายได้ให้กับโครงการรถไฟเชื่อม 3 สนามบินในครั้งนี้

"นับตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป จะเป็นช่วงเข้าสู่การเปลี่ยนถ่ายเทคโนโลยีต่อกันให้แล้วเสร็จภายในปี 2564 นี้ ประการสำคัญปริมาณผู้โดยสารจำนวน 8.8 หมื่นคน คงจะเป็นสิ่งการันตีผู้ใช้บริการรถไฟความเร็วสูงให้ผู้ชนะการประมูลได้มั่นใจมากขึ้น หากเพิ่มจำนวนรถและขยายเส้นทางก็จะช่วยเพิ่มปริมาณผู้ใช้บริการได้เพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย"


……………….
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 23/11/2018 10:56 am    Post subject: Reply with quote

ลูกพาพ่อขึ้นแอร์พอร์ตลิงก์ฟรี! 5 ธ.ค. 2561 ไม่จำกัดเที่ยว
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: พุธที่ 21 พฤศจิกายน 2561 เวลา 20:07

รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ มอบของขวัญในวันพ่อแห่งชาติ ให้คุณลูกพาคุณพ่อขึ้นรถไฟฟ้า ฟรี! ไม่จำกัดเที่ยว วันที่ 5 ธันวาคม 2561

นายสุเทพ พันธุ์เพ็ง กรรมการผู้อำนวยการใหญ่บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด หรือผู้ให้บริการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ เปิดเผยว่า ในวันที่ 5 ธันวาคม 2561 ซึ่งเป็นวันพ่อแห่งชาตินั้น เพื่อเป็นการส่งเสริมความสัมพันธ์ในครอบครัว และให้คุณลูกได้แสดงความกตัญญูกตเวทีต่อคุณพ่อ และสนับสนุนสถาบันครอบครัวให้มีความใกล้ชิดมากยิ่งขึ้น บริษัทจึงได้จัดกิจกรรมพิเศษเปิดโอกาสให้คุณลูกพาคุณพ่อขึ้นรถไฟฟ้าฟรีตลอดวันในวันที่ 5 ธันวาคม 2561 ตั้งแต่เวลา 06.00 น. – 24.00 น. เพียงคุณลูกพาคุณพ่อมาแสดงตนที่ห้องจำหน่ายตั๋ว (คุณพ่อ และคุณลูกไม่จำเป็นต้องมีนามสกุลเดียวกัน) เพื่อขอรับคูปองเดินทางฟรีที่ห้องจำหน่ายตั๋วก่อนเดินทาง เพียงเท่านี้คุณพ่อก็สามารถเดินทางได้ฟรี

หากมีข้อสงสัยสามารถติดต่อสอบถามข้อมูลและเงื่อนไขเพิ่มเติมได้ที่หมายเลข Call Center 1690 หรือ www.srtet.co.th , www.facebook.com/AirportRailLink และ Twitter : Airport Rail Link
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> รถไฟฟ้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (ARL) All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 135, 136, 137 ... 159, 160, 161  Next
Page 136 of 161

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©