RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311235
ทั่วไป:13180600
ทั้งหมด:13491835
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 291, 292, 293 ... 542, 543, 544  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 05/11/2018 11:16 am    Post subject: Reply with quote

ชิงเค้กไฮสปีดจ่อ2รายใหญ่ขู่ปรับแพ้ปตท.
วันที่ 02 พฤศจิกายน 2561 เวลา 08:31 น.
นายวรวุฒิ มาลา รักษาการผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินอีอีซี วงเงิน 2.15 แสนล้านบาท ซึ่งจะเปิดให้เอกชนยื่นข้อเสนอในวันที่ 12 พ.ย.นั้น คาดว่าบริษัททั้ง 31 เจ้าที่ยื่นซื้อซองเข้ามาจะจับกลุ่มร่วมลงทุนโครงการนี้ไม่ต่ำกว่า 2 ราย สำหรับกรณีบริษัท ปตท. ประกาศจะไม่เข้ายื่นข้อเสนอในสัปดาห์หน้า แต่จะรอให้ได้ตัวผู้ชนะประมูลก่อนแล้วเข้าไปร่วมทุนนั้น รฟท.ขอชี้แจงให้ ปตท.และบริษัทอื่นที่คิดจะทำต้องรับรู้ว่าแนวทางดังกล่าวผิดกติกาการยื่นประกวดราคาโครงการและต้องถูกปรับแพ้ เพราะถือว่าเอาเปรียบ ผู้แข่งขัน แม้จะเป็นผู้ยื่นเข้าซื้อซองทีโออาร์ก็ตาม

อย่างไรก็ตาม ยังไม่ชัดเจนว่า ปตท.จะเดินเกมอย่างไร อาจจะเป็นการหลอกคู่แข่งให้ตายใจก่อนแอบยื่นข้อเสนอในวันที่ 12 พ.ย.นี้ก็เป็นได้

ทั้งนี้ ในอนาคตจะพัฒนาระบบรถจักรไฟฟ้าที่ส่งกระแสพลังงานผ่านเสาตามราง โดยจะเน้นพัฒนาในเส้นทางที่มีศักยภาพดีมานด์ เช่น กรุงเทพฯนครราชสีมา กรุงเทพฯ-พิษณุโลก และกรุงเทพฯ-หัวหิน เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม ด้านความคุ้มค่า ในการนำรถจักรระบบไฟฟ้ามาวิ่ง ในแต่ละเส้นทางนั้น พบว่าความเหมาะสมอยู่ที่ 80 ขบวน/วัน ดังนั้นหากดีมานด์ต่ำกว่ายอดดังกล่าวอาจทำให้ขาดทุน

ด้านรถไฟทางคู่นั้นจะยกระดับให้เป็นระบบไฟฟ้าเช่นกันในเส้นทางหาดใหญ่-ปาดังเบซาร์ เพื่อขนส่งสินค้าชายแดนไทย-มาเลเซีย ตลอดจนเพิ่มโอกาสรับนักท่องเที่ยวมาเลเซียให้กระจายไปยังเมืองรองในภาคใต้ ควบคู่ไปกับการต่อขยายทางคู่เชื่อมประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งในช่วงต้นปี 2562 จะเริ่มเดินรถช่วงอรัญประเทศ-ปอยเปต ส่วนด้านการต่อขยายรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน เฟส 3 ช่วงหนองคายเวียงจันทน์ จะใช้วงเงินลงทุน 1,000 ล้านบาท ยืนยันว่าสามารถเชื่อมต่อกันได้ แม้ขนาดรางจะแตกต่างกันคือไทยใช้รางขนาด 1.45 เมตร ขณะที่ สปป.ลาว ใช้รางขนาด 1 เมตร

พล.ร.ต.เกริกชัย วจนาภรณ์ รองปลัดบัญชีทหารเรือ กล่าวถึงความคืบหน้าโครงการพัฒนาสนามบิน อู่ตะเภา วงเงิน 1.7 หมื่นล้านบาท หลังจากที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติเมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมาแล้ว มีกำหนดขายซองเงื่อนไขการประมูล (ทีโออาร์) ในช่วงวันที่ 12-26 พ.ย. ก่อนนำเอกชนลงพื้นที่ในวันที่ 29 พ.ย.นี้ คาดจะ เร่งประมูลและลงนามสัญญาภายใน 3 เดือน หรือก่อนเดือน มี.ค. 2562
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 05/11/2018 10:01 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
ชิงเค้กไฮสปีดจ่อ2รายใหญ่ขู่ปรับแพ้ปตท.
วันที่ 02 พฤศจิกายน 2561 เวลา 08:31 น.


รฟท.จี้ 'ปตท' ชัดเจนร่วมลงทุนประมูลรถไฟเชื่อมสามสนามบิน หวั่นทำผิดกติกา

05 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 เวลา 09:15 น.




รฟท.คาดเอกชนจับกลุ่มชิงเค้กไฮสปีดสามสนามบินมากกว่า 2 กรุ๊ป จี้ปรับตก ปตท. ถ้ารอร่วมทุนหลังรู้ผลประมูล ยันต้องรีบแสดงตัวชัดเจนว่าจะร่วมกับใคร แจงแผนต่อรถไฟไปมาเล-ปอยเปรตปลุกท่องเที่ยวเมืองรอง

นายวรวุฒิ มาลา รักษาการผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) เปิดเผยว่าโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบินอีอีซี วงเงิน 2.15 แสนล้านบาทซึ่งจะเปิดให้เอกชนยื่นข้อเสนอในวันที่ 12 พ.ย.นั้นคาดว่าบริษัททั้ง 31 เจ้าที่ยื่นซื้อซองเข้ามานั้นจะมีการจับกลุ่มร่วมลงทุนโครงการนี้ไม่ต่ำกว่า 2 ราย ส่วนกรณีที่ บริษัท ปตท. จำกัด(มหาชน) ประกาศว่าจะไม่เข้ายื่นข้อเสนอในสัปดาห์นี้แต่จะรอให้ได้ตัวผู้ชนะประมูลก่อนแล้วค่อยเข้าไปร่วมทุน

ทั้งนี้ รฟท.ขอชี้แจงให้ปตท.และบริษัทอื่นที่คิดจะทำต้องรับรู้ว่าแนวทางดังกล่าวผิดกติกาการยื่นประกวดราคาโครงการและต้องถูกปรับแพ้ฟาล์วเพราะถือว่าเอาเปรียบผู้แข่งขัน แม้จะเป็นผู้ยื่นเข้าซื้อซองทีโออาร์ก็ตาม อย่างไรก็ตามยังไม่ชัดเจนว่าปตท.จะเดินเกมอย่างไร อาจจะเป็นการหลอกคู่แข่งให้ตายใจก่อนแอบยื่นข้อเสนอในวันที่ 12 พ.ย.นี้ก็เป็นได้

นายวรวุฒิ กล่าวว่าในอนาคตจะพัฒนาระบบรถจักรไฟฟ้าที่ส่งกระแสพลังงานผ่านเสาตามราง โดยจะเน้นพัฒนาในเส้นทางที่มีศักยภาพดีมานต์เช่น กรุงเทพ-นครราชสีมา กรุงเทพ-พิษณุโลกและกรุงเทพ-หัวหินเป็นต้น อย่างไรก็ตามด้านความคุ้มค่าในการนำรถจักรระบบไฟฟ้ามาวิงในแต่ละเส้นทางนั้นพบว่าความเหมาะสมอยู่ที่ 80 ขบวนต่อวัน ดังนั้นหากดีมานต์ต่ำกว่ายอดดังกล่าวก็อาจจะทำให้ขาดทุน

อย่างไรก็ตามส่วนด้านรถไฟทางคู่นั้นจะอัพเกรดให้เป็นระบบไฟฟ้าเช่นกันในเส้นทางหาดใหญ่-ปาดังเบซาร์เพื่อขนส่งสินค้าชายแดนไทย-มาเลเซีย ตลอดจนเพิ่มโอกาสรับนักท่องเที่ยวมาเลเซียให้กระจายไปยังเมืองรองในภาคใต้ ควบคู่ไปกับการต่อขยายทางคู่เชื่อมประเทศเพื่อนบ้านซึ่งในช่วงต้นปี 2562 จะเริ่มเดินรถช่วงอรัญประเทศ-ปอยเปต ส่วนด้านการต่อขยายรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน เฟส 3 ช่วงหนองคาย-เวียงจันทน์นั้นจะใช้วงเงินลงทุนราว 1 พันล้านบาท ยืนยันว่าสามารถเชื่อมต่อกันได้แม้ขนาดรางจะแตกต่างกันคือไทยใช้รางขนาด 1.45 เมตรส่วนสปป.ลาวใช้รางขนาด 1 เมตร
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 07/11/2018 9:53 am    Post subject: Reply with quote

รื้อแบบเดินหน้ารถไฟไทย-จีน
โพสต์ทูเดย์ วันที่ 07 พ.ย. 2561 เวลา 07:45 น.

รฟท.ย้ำเดินหน้าโครงการรถไฟฟ้าไทย-จีน สายกรุงเทพฯ-นครราชสีมา สั่งปรับแบบ เร่งประมูลปีนี้ 1.2 แสนล้าน นัดประชุมร่วม 24 พ.ย.นี้

แหล่งข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า ความคืบหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ-นครราชสีมา เฟส 1 ล่าสุดได้ปรับแบบการก่อสร้างโครงการ จากเดิมจะใช้แบบหินโรยบนรางตลอดเส้นทางจะปรับเป็นแบบไม่มีหินโรยในบางช่วง อย่างเช่น บริเวณสถานี เพื่อลดค่าซ่อมบำรุงในระยะยาว

ขณะนี้ได้ทยอยนำการปรับแบบไปใส่ในเอกสารเงื่อนไขการประกวดราคา (ทีโออาร์) โดยในช่วงสองเดือนสุดท้ายของปีนี้ จะเปิดประมูลสัญญางานก่อสร้างรวม 13 สัญญา วงเงินราว 1.2 แสนล้านบาท เริ่มจากตอนที่ 2 ช่วงสีคิ้ว-กุดจิก ระยะทาง 11 กิโลเมตร (กม.) วงเงิน 3,300 ล้านบาท คาดว่าจะเข้าสู่การประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ของกรม บัญชีกลางได้ในช่วงกลางเดือนนี้</p><p>สำหรับสัญญาที่ 3 ช่วงสถานี จันทึก-สถานีคลองไผ่ วงเงินราว 1 หมื่นล้านบาท นั้นเตรียมนำทีโออาร์ขึ้นเว็บไซต์และเปิดประมูลในช่วงปลายเดือน พ.ย.นี้ เช่นเดียวกับสัญญาก่อสร้างอีก 5 สัญญา วงเงิน 5 หมื่นล้านบาท ที่จะเปิดประมูลช่วงต้นเดือน ธ.ค. และสัญญาก่อสร้างอีก 6 สัญญา วงเงิน 6 หมื่นล้านบาท

"ต้องลุ้นว่าจะประมูลได้ทันภายในปลายเดือน ธ.ค.หรือไม่ อย่างช้าอาจขยับไปเดือน ม.ค.-ก.พ. จากกรณีที่มีบางฝ่ายกังวลว่าโครงการนี้จะได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนผ่านรัฐบาลนั้น ขอยืนยันว่ารถไฟความเร็วสูงเป็นแผนแม่บทในการพัฒนาประเทศ อีกทั้งยังเป็นโครงการแบบรัฐต่อรัฐกับประเทศจีน ดังนั้นจึงไม่มีเหตุผลที่จะต้องทำอะไรให้กระทบกับความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศ" แหล่งข่าวระบุ

นอกจากนี้ จะมีการประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน ครั้งที่ 26 จะจัดขึ้นในวันที่ 24 พ.ย.นี้ ที่ประเทศไทย สำหรับประเด็นหลักที่จะหยิบขึ้นมาหารือ คือ เรื่องสัญญา 2.3 งานระบบราง ระบบไฟฟ้า และเครื่องกล รวมทั้งจัดหาขบวนรถไฟและจัดฝึกอบรมบุคลากร วงเงิน 5.3 หมื่นล้านบาท โดยบริษัทคู่สัญญาอย่างองค์การออกแบบรถไฟแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (CRDC) และบริษัท ไชน่า เรลเวย์ อินเตอร์เนชั่นแนล (CRIC) ต้องชี้แจงรายละเอียดราคาต่างๆ ให้ชัดเจนว่ามูลค่างานในแต่ละจุดนั้นมีรายละเอียดแยกย่อยอะไรบ้าง เพราะที่ผ่านมาแค่เพียงระบุตัวเลขภาพรวมแต่ไม่มีชี้แจงรายละเอียด ซึ่งอาจขัดกับหลักกฎหมายการจัดซื้อจัดจ้างของประเทศไทย

อย่างไรก็ตาม งานวางรางตลอดเส้นทางกรุงเทพฯ-หนองคายนั้น จะต้องนำเข้าวัสดุจากจีนมาทั้งหมดเพราะในประเทศไม่สามารถผลิตเองได้เช่นเดียวกับรางรถไฟในปัจจุบันของไทยที่ญี่ปุ่นได้มาก่อสร้างไว้ให้ตั้งยุคสงคราม รวมทั้งจะมีการหารือเรื่องแนวทางการดำเนินโครงการระยะ ที่สอง (ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย) การเชื่อมต่อทางรถไฟช่วงหนองคาย-เวียงจันทน์ เป็นต้น
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 07/11/2018 5:28 pm    Post subject: Reply with quote

อินฟราฟัน : เกาะติดไฮสปีดเทรน
โดย นายขันตี
วันที่ 7 พฤศจิกายน 2561 - 12:58 น.
FacebookTwitter
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 09/11/2018 2:58 pm    Post subject: Reply with quote

‘ซีพี-อิตาเลียนไทย’ชิงไฮสปีดเชื่อม3สนามบิน ผนึกกำลังสู้เจ้าพ่อบีทีเอสยื่นซอง12พ.ย.

วันที่ 8 November 2018 - 08:45 น.

12 พ.ย.ยื่นซองประมูลไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน ชิงเค้ก 2.24 แสนล้าน คาด”ซี.พี.” ผนึกยักษ์เอเชีย ยุโรป บิ๊กรับเหมา”อิตาเลียนไทย-ช.การช่าง” คว้าชิ้นปลามัน เจ้าพ่อบีทีเอส “คีรี” แท็กทีม”ซิโน-ไทยฯ-ราชบุรีโฮลดิ้ง” ซื้อโนว์ฮาวยุโรปสู้

นายวรวุฒิ มาลา รักษาการผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผย”ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ได้ตอบข้อซักถามเอกชนที่ซื้อซองประมูลโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ดอนเมืองสุวรรณภูมิ อู่ตะเภา ระยะทาง 220 กม.วงเงิน 2.24 แสนล้านบาท และจะให้ยื่นซองวันที่ 12 พ.ย.นี้ ที่มักกะสัน คาดว่าจะมี 2 เอกชนยื่นและประกาศผู้ชนะได้ในเดือน ม.ค. เซ็นสัญญาเดือน ก.พ. 2562 ใช้เวลาสร้าง 5 ปี เสร็จปี 2567 ได้สัมปทาน 45 ปี บริหารโครงการพร้อมสิทธิพัฒนาที่ดินมักกะสัน 150 ไร่ และศรีราชา 25 ไร่

แหล่งข่าวจากวงการรับเหมาก่อสร้างกล่าวว่า การยื่นซองประมูลรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน แนวโน้มมี 2 กลุ่ม คือ 1.กลุ่ม ซี.พี.จะร่วมกับบริษัททางรถไฟแห่งชาติฝรั่งเศส (SNCF) และบริษัท ทรานส์เดฟ กรุ๊ป จากฝรั่งเศส บริษัท ทางรถไฟแห่งชาติอิตาลี (FS) จัดหาระบบและบริหารโครงการ ส่วนก่อสร้าง วางราง และพัฒนาเชิงพาณิชย์ ร่วมกับบริษัทจีน อาทิ บจ.ไชน่า เรลเวย์ คอนสตรัคชั่น (CRCC), บจ.ไชน่าเรลเวย์ กรุ๊ป, บจ.ซิติก กรุ๊ป, บจ.ไชน่า สเตท ฯ รวมถึงอิโตชูจากญี่ปุ่น ด้านผู้รับเหมาไทย เช่น อิตาเลียนไทยฯช.การช่าง และ บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM)



2.กลุ่มบีทีเอสร่วม บมจ.ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่งฯและ บมจ.ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง และอาจจะมีกลุ่ม 3 คือ ยูนิคฯ กับประเทศเกาหลี

“พันธมิตรต่างชาติจะร่วมลงทุนกับ ซี.พี.ยังไม่นิ่ง 100% เช่น จีนมีหลายกลุ่มยังไม่ชัดจะเป็นกลุ่มไหน ส่วนฝรั่งเศสจะเป็นที่ปรึกษาให้ ซึ่ง ซี.พี.ไม่มีประสบการณ์รถไฟฟ้าต้องอาศัยพันธมิตร ส่วนบีทีเอสยังไงก็ต้องยื่นเพราะมีนโยบายจากรัฐให้ช่วยลงทุน โดยจับกับพันธมิตรเดิม ส่วนระบบรถไฟความเร็วสูงคาดว่าจะซื้อโนว์ฮาวของยุโรป”

แหล่งข่าวจาก บมจ.อิตาเลียนไทยฯกล่าวว่า จะร่วมกับ ซี.พี.ยื่นประมูลรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน โดยบริษัทจะเข้าร่วมแบบเบ็ดเสร็จรูปแบบ EPC คือ ออกแบบด้านวิศวกรรม (engineering) จัดซื้อจัดหา (procurement)และก่อสร้าง (construction)

“ซี.พี.จะเป็นเจ้าของโครงการ เราเข้าไปร่วมเป็น EPC ให้ ส่วนจะลงทุนด้วยหรือไม่ยังหารือร่วมกันอยู่”

ขณะที่แหล่งข่าวจาก บมจ.ช.การช่างกล่าวสั้น ๆ ว่า “โครงการนี้ ช.การช่างจะไม่ตกขบวน”

นายคีรี กาญจนพาสน์ ประธานคณะกรรมการบริหาร บมจ.บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ กล่าวว่า บีทีเอสพร้อมจะเข้าร่วมประมูล จะร่วมกับพันธมิตรเดิมในนามกลุ่ม BSR ทั้ง 3 บริษัทมีศักยภาพพร้อมที่จะลงทุนไม่จำเป็นต้องหาพันมิตรเพิ่ม ที่ผ่านมาบริษัทได้ทุ่มเทศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการนี้ ผลที่ออกมาก็มีความเป็นไปได้ที่จะลงทุน แต่ต้องมีรายได้เชิงพาณิชย์เข้ามาเสริมด้วย

“เรามีความเชื่อมั่น ตั้งใจจริง จะลงทุนรถไฟความเร็วสูงที่ใช้เงินลงทุนไม่ใช่น้อย ๆ และไม่หมู ถ้าไม่พร้อมจริง ๆ ก็ไม่อยากจะเสียเวลา เพราะการเตรียมตัวใช้เงินร่วม 135 ล้านบาท”

นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการบริหารและกรรมการ บมจ.บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์กล่าวว่า ซึ่งบีทีเอสจะถือหุ้นไม่น้อยกว่า 60% ที่เหลือซิโน-ไทยฯ และราชบุรีโฮลดิ้งกำลังพิจารณาสัดส่วนด้านการจัดหาระบบ มียื่นเสนอมาหลายบริษัททั้งเอเชียและยุโรป

นางสาวสมจิณณ์ พิลึก ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) กล่าวว่า วันที่ 9-21 พ.ย. นี้ จะเปิดขายซอง TOR โครงการพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะที่ 3 หลังจากขายซองแล้วจะเปิดให้ภาคเอกชนที่ซื้อซองเข้ารับฟังเงื่อนไขรายละเอียด TOR ในวันที่ 27-28 พ.ย. นี้ และจะพิจารณาคัดเลือกบริษัทเอกชนที่ชนะการประมูล คาดว่าจะได้ผลในช่วงเดือน ก.พ. 2562
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 12/11/2018 11:33 am    Post subject: Reply with quote

"ซีพี"ผนึกนานาชาติประมูลรถไฟเร็วสูงเชื่อม3สนามบิน
อาทิตย์ที่ 11 พฤศจิกายน 2561 เวลา 13.10 น.

ซีพีผนึกพันธมิตรนานาชาติ ประกาศความพร้อมยื่นซองประมูลโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน 12 พ.ย.นี้


นายอติรุฒม์ โตทวีแสนสุข รองประธานสำนักพัฒนาโครงการพิเศษ เครือเจริญโภคภัณฑ์ เปิดเผยว่า เครือเจริญโภคภัณฑ์และพันธมิตรที่ได้รวมตัวกันเป็นกิจการร่วมค้า หรือคอนซอว์เตียม พร้อมเข้ายื่นซองโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินวันที่ 12 พ.ย.นี้ มีพันธมิตรทั้งจากประเทศไทยและนานาประเทศร่วมผนึกกำลังโดยจะนำความรู้ความสามารถและประสบการณ์ที่เป็นระดับโลกมาร่วมพัฒนาโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ซึ่งทุกฝ่ายต่างมีความตั้งใจและพร้อมที่จะมีส่วนร่วมในการสนับสนุนประเทศไทยอย่างเต็มกำลัง เนื่องด้วยรถไฟความเร็วสูงมีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศเพราะเป็นโครงสร้างพื้นฐานหลักในการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ซึ่งจะเป็นหัวใจการพัฒนาเศรษฐกิจ 4.0 ของประเทศไทย และหลังจากยื่นซองประมูลแล้วขอประกาศว่าจะเข้าสู่ช่วง Silence Period ตามมารยาทการแข่งขันและธรรมาภิบาลที่ดี    

สำหรับบริษัทที่เป็นกิจการร่วมค้า และพันธมิตรเชิงกลยุทธ์ กับเครือเจริญโภคภัณฑ์ล้วนเป็นบริษัทชั้นนำทั้งในระดับประเทศและระดับโลกที่มีประสบการณ์และความชำนาญในด้านต่าง ๆ ที่จะรวมพลังพัฒนาโครงการฯ นี้ให้สำเร็จ  ได้แก่ เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง (ประเทศไทย) China Railway Construction Corporation Limited (สาธารณรัฐประชาชนจีน) บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (ประเทศไทย)  บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (ประเทศไทย)  บมจ. ช.การช่าง (ประเทศไทย)  Japan Overseas Infrastructure Investment Corporation for Transport & Urban Development (ประเทศญี่ปุ่น) CITIC Group Corporation(สาธารณรัฐประชาชนจีน) China Resources (Holdings) Company Limited (สาธารณรัฐประชาชนจีน) Siemen (ประเทศเยอรมัน) Hyundai (ประเทศเกาหลี) Ferrovie dello Stato Italiane (ประเทศอิตาลี) CRRC-Sifang (สาธารณรัฐประชาชนจีน) และธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น หรือ JBIC (ประเทศญี่ปุ่น) เป็นต้น.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 12/11/2018 11:41 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
"ซีพี"ผนึกนานาชาติประมูลรถไฟเร็วสูงเชื่อม3สนามบิน
อาทิตย์ที่ 11 พฤศจิกายน 2561 เวลา 13.10 น.

ซีพี พร้อมยื่นซองประมูลโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน!

วันที่ 11 พฤศจิกายน 2561 - 16:31 น.


วันที่ 11 พ.ย. นายอติรุฒม์ โตทวีแสนสุข รองประธานสำนักพัฒนาโครงการพิเศษ เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) เปิดเผยว่า เครือเจริญโภคภัณฑ์และพันธมิตรที่ได้รวมตัวกันเป็นกิจการร่วมค้า หรือ Consortium พร้อมที่จะเข้ายื่นซองโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินในวันจันทร์ที่ 12 พ.ย.นี้ โดยมีพันธมิตรทั้งจากประเทศไทยและนานาประเทศร่วมผนึกกำลัง ซึ่งจะนำความรู้ความสามารถและประสบการณ์ที่เป็นระดับโลกมาร่วมพัฒนาโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน

ทั้งนี้ทุกฝ่ายต่างมีความตั้งใจและพร้อมที่จะมีส่วนร่วมในการสนับสนุนประเทศไทยอย่างเต็มกำลัง เนื่องจากรถไฟความเร็วสูงมีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศเพราะเป็นโครงสร้างพื้นฐานหลักในการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก(Eastern Economic Corridor :EEC) ซึ่งจะเป็นหัวใจการพัฒนาเศรษฐกิจ 4.0 ของประเทศไทย และหลังจากยื่นซองประมูลแล้วขอประกาศว่าจะเข้าสู่ช่วง Silence Period ตามมารยาทการแข่งขันและธรรมาภิบาลที่ดี


สำหรับบริษัทที่เป็นกิจการร่วมค้า และพันธมิตรเชิงกลยุทธ์ กับซีพี ล้วนเป็นบริษัทชั้นนำทั้งในระดับประเทศและระดับโลกที่มีประสบการณ์และความชำนาญในด้านต่าง ๆ ที่จะรวมพลังพัฒนาโครงการฯ นี้ให้สำเร็จ ได้แก่ เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง (ประเทศไทย) China Railway Construction Corporation Limited (สาธารณรัฐประชาชนจีน) บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (ประเทศไทย) บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (ประเทศไทย) บมจ. ช.การช่าง (ประเทศไทย) Japan Overseas Infrastructure Investment Corporation for Transport & Urban Development (ประเทศญี่ปุ่น) CITIC Group Corporation(สาธารณรัฐประชาชนจีน) China Resources (Holdings) Company Limited (สาธารณรัฐประชาชนจีน) Siemen (ประเทศเยอรมัน) Hyundai (ประเทศเกาหลี) Ferrovie dello Stato Italiane (ประเทศอิตาลี) CRRC-Sifang (สาธารณรัฐประชาชนจีน) และธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น หรือ JBIC (ประเทศญี่ปุ่น) เป็นต้น



ชิงดำรถไฟเชื่อม 3 สนามบิน “ซีพี” พร้อม!จับมือโขยงพันธมิตรทั่วโลก
โดย ไทยรัฐฉบับพิมพ์
12 พฤศจิกายน 2561 เวลา 09:27 น.

รฟท.เปิดซองรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน “ดอนเมือง–สุวรรณภูมิ–ระยอง” วันนี้ (12 พ.ย.) คาดเดือน ธ.ค.นี้ รู้ว่าใครเข้าวิน ก่อนเสนอ ครม.อนุมัติ และลงนามในสัญญาภายในเดือน ม.ค.2562 ขณะที่ “ซีพี” ผนึกโขยงพันธมิตร ลุยเต็มสูบ

นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการ กลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน ในฐานะรักษาการผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า วันนี้ (12 พ.ย.) รฟท.มีความพร้อม 100% ที่จะเปิดรับซองประมูลจากเอกชน ที่สนใจร่วมดำเนินการโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-ระยอง และการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟ วงเงิน 224,544 ล้านบาท ซึ่งตามขั้นตอน ภายในเดือน ธ.ค.2561 รฟท.จะทราบผลว่าเอกชนรายใดเป็นผู้ชนะประมูล และในเดือน ม.ค.-ก.พ.2562 จะเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติและลงนามในสัญญา ซึ่งตามสัญญาผู้ชนะการประมูลจะได้รับสัมปทานเป็นระยะเวลา 50 ปี ประกอบด้วยระยะเวลาการออกแบบและก่อสร้าง 5 ปี และระยะเวลาการดำเนินการ 45 ปี

“รฟท. เตรียมพนักงานจากส่วนงานที่เกี่ยวข้องมาต้อนรับ การรับซอง การยื่นเอกสาร และการตรวจสอบเอกสารต่างๆ ทั้งหมดเกือบ 100 คนมาคอยประสานงานในการรับเอกสารประมูลครั้งนี้”

สำหรับการเปิดรับข้อเสนอในวันที่ 12 พ.ย.นี้ จะเริ่มตั้งแต่เวลา 09.30-15.00 น. โดยเอกชนจะยื่นเอกสารเปิดผนึก 1 ชุด พร้อมข้อเสนอทั้งหมด 4 ซอง ประกอบไปด้วย ส่วน 1.ข้อเสนอทั่วไปหรือคุณสมบัติ โดยเอกชนต้องผ่านข้อเสนอซองที่ 1 ก่อน จึงได้เปิดข้อเสนอซองที่ 2 ส่วนที่ 2.ข้อเสนอด้านเทคนิค ซึ่งรวมถึงการแก้ไขปัญหารถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ โดยเอกชนต้องผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำของข้อเสนอซองที่ 2 ก่อน จึงได้เปิดข้อเสนอซองที่ 3 ส่วนข้อ 3.ข้อเสนอด้านราคา เอกชนที่ขอรับเงินอุดหนุนในการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงจากรัฐบาลน้อยที่สุด จากวงเงินเต็ม 119,000 ล้านบาทจะเป็นผู้ชนะการประมูล ด้านการเช่าพื้นที่เชิงพาณิชย์จะเป็นไปตามราคาที่กำหนดไว้ ไม่มียื่นข้อเสนอหรือต่อรองแต่อย่างใด, ส่วนข้อ 4.เป็นข้อเสนอด้านอื่นๆ ไม่มีผลกระทบต่อการแพ้-ชนะในการประมูล

ด้านนายอติรุฒม์ โตทวีแสนสุข รองประธานสำนักพัฒนาโครงการพิเศษ เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) กล่าวว่า เครือเจริญโภคภัณฑ์และพันธมิตรที่ได้รวมตัวกันเป็นกิจการร่วมค้า หรือ Consortium พร้อมที่จะเข้ายื่นซองโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินในวันจันทร์ที่ 12 พ.ย.นี้ โดยมีพันธมิตรทั้งจากประเทศไทยและนานาประเทศร่วมผนึกกำลัง ซึ่งหลังจากยื่นซองประมูลแล้วขอประกาศว่าจะไม่มีการให้ข่าวโดยเข้าสู่ช่วง Silence Period ตามมารยาทการแข่งขันและธรรมาภิบาลที่ดี

สำหรับบริษัทที่เป็นกิจการร่วมค้าและพันธมิตรเชิงกลยุทธ์ กับเครือเจริญโภคภัณฑ์ ได้แก่ เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง (ไทย), China Railway Construction Corporation Limited (จีน), บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (ไทย), บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (ไทย), บมจ. ช.การช่าง (ไทย), Japan Overseas Infrastruc– ture Investment Corporation for Trans– port & Urban Development (ญี่ปุ่น), CITIC Group Corporation (จีน), China Resources (Holdings) Company Limited (จีน), Siemen (เยอรมนี), Hyundai (เกาหลีใต้), Ferrovie dello Stato Italiane (อิตาลี), CRRC-Sifang (จีน) และธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น หรือ JBIC (ญี่ปุ่น) เป็นต้น

สำหรับผู้ที่เข้าประมูลครั้งนี้ คาดว่ามีอยู่ 2 กลุ่ม คือ กลุ่มซีพี ของตระกูลเจียรวนนท์ และกลุ่มบีเอสอาร์ ที่มีบริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) ของนายคีรี กาญจนพาสน์ เป็นแกนนำ ด้านบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ประกาศว่าจะร่วมลงทุนกับผู้ชนะการประมูลเท่านั้น.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 12/11/2018 1:13 pm    Post subject: Reply with quote

อบจ.ระยองจี้ติดรถไฟเชื่อม3สนามบิน เร่งบูรณาการผลการศึกษาขนส่งมวลชน

อาทิตย์ที่ 11 พฤศจิกายน 2561

อบจ.ระยองเกาะติดการยื่นซองรถไฟเชื่อม 3 สนามบิน พร้อมติดตามผลการทำงานของคณะกรรมการ 4 คณะที่อีอีซีแต่งตั้ง จี้ติดการพัฒนาโครงข่ายเชื่อมโยงท่าอากาศยานอู่ตะเภา-เมืองระยอง ระยะทาง 30 กม.เดินหน้าขับเคลื่อนระบบขนส่งสาธารณะเสนอขอความเห็นชอบรัฐบาลเร่งผลักดัน

แหล่งข่าวระดับสูงขององค์การบริหารส่วนจังหวัดระยอง(อบจ.) เปิดเผยว่า ตามที่คำสั่งองค์การบริหารส่วนจังหวัดระยองลงนาม เรื่องการแต่งตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจเพื่อพิจารณาก่อสร้างระบบขนส่งเชื่อมโยงท่าอากาศยานอู่ตะเภา-ระยอง โดยนายกิตติ เกียรติ์มนตรี รองนายกอบจ.ระยอง ในฐานะที่ปรึกษาคณะทำงานฯได้เข้าร่วมประชุมโดยนายมนตรี ชนะชัยวิบูลวัฒน์ ที่ปรึกษานายกอบจ.ระยองเป็นประธานไปเมื่อเร็วนี้ได้ความชัดเจนมากขึ้นสำหรับการเร่งขับเคลื่อนโครงการต่างๆในพื้นที่ระยอง

ผลการประชุมได้รับทราบว่าคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกได้เร่งรัดโครงการหลักที่เกี่ยวข้องกับอีอีซีที่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กำหนดว่าจะต้องลงนามในสัญญาก่อนการเลือกตั้งทั่วไปที่จะมีขึ้ นในเดือนกุมภาพันธ์ 2562 อีกทั้งยังรับทราบความคืบหน้าการพัฒนาเมืองอัจฉริยะที่มีคณะกรรมการรับผิดชอบ 3 คณะที่รัฐบาลแต่งตั้งประกอบไปด้วย คณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก และคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน

นอกจากนั้นคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกยังแต่งตั้งคณะอนุกรรมการอีก 4 คณะ ประกอบด้วย คณะอนุกรรมการด้านกฏหมาย คณะอนุกรรมการจัดทำแผนผังการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนโครงการพัฒนาสนยามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก และคณะอนุกรรมการพัฒนาเมืองใหม่อัจฉริยะน่าอยู่

“ได้ภาพความชัดเจนกรณี รถไฟความเร็วสูงส่วนต่อขยายระยะทาง 30 กิโลเมตรจากสนามบินอู่ตะเภา-เมืองระยอง ส่วนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินล่าสุดจะเปิดให้เอกชนยื่นซองเอกสารประกวดราคาในวันที่ 12 พฤศจิกายนนี้ คาดว่าจะได้ตัวผู้ประมูลได้ในปี 2562 ทำให้เกิดการลงทุนอีกหลายหมื่นล้านบาทโดยคาดว่าจะเปิดให้บริการในปี 2567”

นอกจากนั้นอบจ.ระยองยังติดตามผลการศึกษาระบบขนส่งสาธารณะจังหวัดระยองที่เคยศึกษาไว้แล้ว โดยอบจ.ระยองเมื่อปี 2553 ส่วนเทศบาลนครระยองศึกษาไว้เมื่อปี 2561 และสำนักงานจังหวัดระยองเมื่อปี 2561 ซึ่งจะต้องบูรณาการผลการศึกษาให้เป็นหนึ่งเดียวเพื่อเร่งขับเคลื่อนให้เกิดผลอย่างเป็ นรูปธรรมต่อไป ทั้งนี้ยังได้แต่งตั้งคณะทำงานเพิ่มเติมอีก ได้แก่ ผู้แทนจากสำนักงานขนส่งจังหวัด และบริษัทระยองพัฒนาเมือง จำกัด

สำหรับแนวทางการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะเชื่อมโยงท่าอากาศยานอู่ ตะเภา-จังหวัดระยองนั้นมีมติเห็นชอบว่ามีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะให้มีระบบขนส่งสาธารณะจากท่าอากาศยานอู่ตะเภาฯถึงจังหวัดระยอง พร้อมเห็นชอบให้นำผลการศึกษาทางวิชาการทั้งหมดและผลการศึกษาทางวิชาการของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต และจากหน่วยงานเกี่ยวข้อง เพื่อนำมาประกอบข้ อเสนอของคณะทำงานฯผ่านนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดระยอง ส่งไปยังหน่วยงานในพื้นที่ เพื่อนำเรียนผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง พิจารณาเสนอโครงการไปยังหน่วยงานต่างๆและรัฐบาลเพื่อพิจารณาสนับสนุนโครงการจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะจากท่าอากาศยานอู่ตะเภาฯ เชื่อมโยงกับจังหวัดระยอง และโครงการสำรวจออกแบบรายละเอียดการก่อสร้างและการบริหารระบบขนส่งสาธารณะจากท่าอากาศยานอู่ตะเภาฯ เชื่อมโยงจังหวัดระยองให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์


“พร้อมกันนี้ได้เห็นชอบให้นายสุดชาย สิงห์มโน คณะทำงานไปจัดทำโครงการทดลองระบบการขนส่งสาธารณะสายย่อยภายในเทศบาลนครระยองโดยใช้รถบัสตามรูปแบบ Project Idea ที่จะได้รับจากสำนักงานจังหวัดระยอง เพื่อเสนอโครงการให้ผู้ว่าราชการจังหวัดระยองพิจารณาให้ความเห็นชอบก่อนดำเนิ นการทดลองให้บริการแก่ประชาชนต่อไป”
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 12/11/2018 1:16 pm    Post subject: Reply with quote

บีทีเอสถือฤกษ์ 11.11 น.ยื่นซองกลุ่มแรก ชิงสัมปทานรถไฟเชื่อม 3 สนามบิน
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 12 พฤศจิกายน 2561 เวลา 11:30
ปรับปรุง: 12 พฤศจิกายน 2561 เวลา 12:34

กลุ่ม BSR มาแล้ว “บีทีเอส” ผนึก “ซิโน-ไทย” และ “ราชบุรี” พันธมิตรเดิม ยื่นซองชิงรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินเป็นกลุ่มแรก

วันนี้ (12 พ.ย.) การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ได้ให้ยื่นข้อเสนอการประมูลโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน “ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา” ระยะทาง 220 กม. มูลค่า 224,544.36 ล้านบาท โดยเมื่อเวลา 11.11 น. กิจการร่วมค้า บีเอสอาร์ (BSR Joint Venture) พันธมิตรกิจการร่วมของ บมจ.บีทีเอสกรุ๊ป โฮลดิ้งส์ บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่งแอนด์คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ STEC และบริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ RATCH ได้เข้ายื่นซองประมูลเป็นกลุ่มแรก

โดยกลุ่ม BSR มาพร้อมเอกสาร 3 กล่องใหญ่ ตามขั้นตอนจะมีเจ้าหน้าที่ตรวจสอบเอกสารและรับรองเอกสารก่อนปิดผนึก เพื่อเข้าสู่กระบวนการพิจารณาต่อไป

ทั้งนี้ กำหนดยื่นเอสารวันนี้ ตั้งแต่เวลา 09.00-15.00 น.โดยผู้ยื่นข้อเสนอต้องยื่นหลักประกันซองพร้อมกับซองข้อเสนอมูลค่า 2,000 ล้านบาท และต้องชำระค่าธรรมเนียมการประเมินข้อเสนอให้แก่ ร.ฟ.ท.เป็นจำนวนเงิน 2 ล้านบาท ที่สำนักงานโครงการแอร์พอร์ต เรลลิงก์ มักกะสัน และผู้ที่ยื่นเสนอผ่านการประเมินข้อเสนอจะต้องวางหลักประกันสัญญาที่ออกโดยธนาคารให้แก่การรถไฟฯ ในวันที่เข้าทำสัญญาร่วมทุนเป็นมูลค่า 4,500 ล้านบาท เพื่อเป็นหลักประกันการปฏิบัติตามสัญญาร่วมลงทุนของเอกชนคู่สัญญา

สำหรับการคัดเลือกจะมีข้อเสนอ 4 ซอง
1. คุณสมบัติ
2. เทคนิค ซึ่งมี 6 หมวดแต่ละหมวดต้องมีคะแนนไม่ต่ำกว่า 75% และรวมคะแนนทั้งหมดต้องมีไม่น้อยกว่า 80%
3. ด้านการเงิน คัดเลือกผู้ที่ขอรัฐอุดหนุนต่ำที่สุด
4 .ข้อเสนอพิเศษ จะเปิดพิจารณาหรือไม่ อยู่ที่การเจรจาต่อรอง

บีทีเอส มารายแรกชิงเค้กประมูล รถไฟความเร็วสูง เชื่อม 3 สนามบิน 2.2 แสนล้าน!

วันที่ 12 พฤศจิกายน 2561 - 11:34 น.

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในวันนี้ (12 พ.ย.) การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดให้เอกชนยื่นซองประมูล สร้างรถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน มูลค่า 2.2 แสนล้าน โดยเมื่อเวลา 11.11 น. ตัวแทนกิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ (BSR Joint Venture) เดินทางมายื่นเอกสารการประมูลโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา และการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟ วงเงินลงทุน 2.2 แสนล้านบาท ที่ทำการสำนักงานบริหารโครงการระบบรถไฟฟ้า (มักกะสัน)

สำหรับกลุ่มดังกล่าวประกอบด้วยบริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ BTS, บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ STEC และบริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ RATCH

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ การรถไฟแห่งประเทศไทย เปิดให้เอกชนเข้ายื่นซองประมูลโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ตั้งแต่เวลา 09.30-15.00 น. โดยเอกชนจะต้องยื่นเอกสาร 5 รายการ ดังนี้ 1.เอกสารเปิดผนึก 1 ชุด แสดงคุณสมบัติของบริษัทตามเงื่อนไขทีโออาร์ 2.เอกสารปิดผนึกข้อเสนอทั่วไป (ด้านคุณสมบัติ) โดยเอกชนต้องผ่านข้อเสนอซองที่ 1 ก่อน จึงได้เปิดข้อเสนอซองที่ 2

3.เอกสารข้อเสนอด้านเทคนิค ซึ่งรวมถึงการแก้ไขปัญหารถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ โดยเอกชนต้องผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำของข้อเสนอซองที่ 2 ก่อน จึงได้เปิดข้อเสนอซองที่ 3

4.เอกสารข้อเสนอด้านราคา เอกชนที่ขอรับเงินอุดหนุนในการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงจากรัฐบาลน้อยที่สุด จากวงเงินเต็ม 1.19 แสนล้านบาทจะเป็นผู้ชนะการประมูล ด้านการเช่าพื้นที่เชิงพาณิชย์จะเป็นไปตามราคาที่กำหนดไว้แล้ว ไม่มียื่นข้อเสนอหรือต่อรองแต่อย่างใด




และ 5.เอกสารข้อเสนอด้านอื่นๆ ซึ่งเป็นข้อเสนอเพิ่มเติม ไม่มีผลกระทบต่อการแพ้-ชนะในการประมูล

สำหรับโครงการดังกล่าวมีวงเงินการพัฒนารวม 224,544.36 ล้านบาท ประกอบด้วย โครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน วงเงิน168,718 ล้านบาท, การพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟ 45,155.27 ล้นบาท และสิทธิการเดินรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ 10,671.09 ล้านบาท

ผู้ชนะการประมูลจะได้รับสัมปทานเป็นระยะเวลา 50 ปี ประกอบด้วยระยะเวลาการออกแบบและก่อสร้าง 5 ปี และระยะเวลาการดำเนินการ 45 ปี


Last edited by Wisarut on 12/11/2018 6:42 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 12/11/2018 4:42 pm    Post subject: Reply with quote

การรถไฟฯ เผยรายชื่อ 2 บริษัทยื่นซองเอกสารการคัดเลือกเอกชน
โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน
ทีมพีอาร์การรถไฟแห่งประเทศไทย
12 พฤศจิกายน 2561

วันนี้ (12 พฤศจิกายน 2561) ณ สำนักบริหารโครงการระบบรถไฟฟ้า มักกะสัน การรถไฟแห่งประเทศไทย เปิดรับซองเอกสารการคัดเลือกเอกชนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน ดอนเมือง – สุวรรณภูมิ – อู่ตะเภา มีบริษัทเข้ายื่นซองเอกสารเสนอราคา จำนวน 2 ราย
นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการรถไฟ
แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ตามที่การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้เปิดขายเอกสารการคัดเลือกเอกชน โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน ดอนเมือง – สุวรรณภูมิ – อู่ตะเภา ไปเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน - 9 กรกฎาคม 2561 ซึ่งมีบริษัทที่ให้ความสนใจเข้าซื้อเอกสารการคัดเลือกเอกชนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน จำนวน 31 ราย หลังจากนั้นได้จัดให้มีการประชุมชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจไปเมื่อวันที่ 23 - 24 กรกฎาคม 2561 และกำหนดรับซองข้อเสนอราคาในวันนี้ ซึ่งมีกลุ่มบริษัทเข้ายื่นข้อเสนอ จำนวน 2 ราย ประกอบด้วย
1. กิจการร่วมค้า บีเอสอาร์ (BSR Joint Venture) ประกอบด้วย บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) (ประเทศไทย) , บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) (ประเทศไทย) , บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) (ประเทศไทย)
2. กิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร ประกอบด้วย บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด (ประเทศไทย) , บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) , China Railway Construction Corporation Limited (สาธารณรัฐประชาชนจีน) , บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) (ประเทศไทย) , บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน)

เอกสารประกอบ คือ หลักประกันซองพร้อมกับซองข้อเสนอ มูลค่า 2,000 ล้านบาท, หนังสือ
มอบอำนาจ (เอกสารความเป็นตัวตนของผู้ยื่น) , รายการเอกสารที่บรรจุในซอง (List รายการเอกสาร)
ที่ไม่ปิดผนึก และใบเสร็จรับเงินซื้อซองของผู้ยื่นข้อเสนอ อีกทั้ง ต้องชำระค่าธรรมเนียมการประเมินข้อเสนอให้แก่การรถไฟฯ เป็นจำนวนเงิน 2 ล้านบาท และผู้ที่ยื่นเสนอผ่านการประเมินข้อเสนอจะต้องวางหลักประกันสัญญาที่ออกโดยธนาคารให้กับการรถไฟฯ ในวันที่เข้าทำสัญญาร่วมทุนเป็นมูลค่า 4,500 ล้านบาท เพื่อเป็นหลักประกันการปฏิบัติตามสัญญาร่วมลงทุนของเอกชนคู่สัญญา สำหรับขั้นตอน การรับข้อเสนอเอกชน มีขั้นตอนกว่าจะลงนามก็ 31 มกราคม 2562
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 291, 292, 293 ... 542, 543, 544  Next
Page 292 of 544

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©