RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311281
ทั่วไป:13263042
ทั้งหมด:13574323
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 292, 293, 294 ... 545, 546, 547  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42708
Location: NECTEC

PostPosted: 12/11/2018 6:44 pm    Post subject: Reply with quote

‘ศุภชัย’ นำทีมผู้บริหารซีพีสักการะพระบรมรูป ร.5 ก่อนยื่นซองประมูลไฮสปีดเทรน

วันที่ 12 พฤศจิกายน 2561 เวลา- 13:06 น.

รายงานข่าวจากเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) เปิดเผยว่าในเช้าวันนี้ (12พ.ย.2561) นายศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหารเครือเจริญโภคภัณฑ์ได้นำทีมคณะผู้บริหาร กราบสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ที่ลานพระบรมรูปทรงม้า ณ พระลานหน้าพระที่นั่งอนันตสมาคม เพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ก่อตั้งกรมรถไฟ ก่อนยื่นซองประมูลโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน เพื่อสานต่อพระราชปณิธาน ในการพัฒนาการรถไฟให้เกิดประโยชน์ต่อราษฎรและเศรษฐกิจให้กับคนไทยทั้งชาติ

https://www.prachachat.net/property/news-248858

มาตามนัด! 2 กลุ่มทุนชิงไฮสปีดเชื่อม3สนามบิน “ซีพี” จับมือITD-CK-จีน ด้านBTSผนึกพันธมิตรเดิม

วันที่ 12 พฤศจิกายน 2561 เวลา- 16:23 น.


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันที่ 12 พฤศจิกายน 2561 ณ สำนักบริหารโครงการระบบรถไฟฟ้า มักกะสัน การรถไฟแห่งประเทศไทย เปิดรับซองเอกสารการคัดเลือกเอกชนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม3สนามบิน ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา มีบริษัทเข้ายื่นซองเอกสารเสนอราคา จำนวน 2 ราย

นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ตามที่การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้เปิดขายเอกสารการคัดเลือกเอกชน โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม3สนามบิน ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา ไปเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน-9 กรกฎาคม 2561 ซึ่งมีบริษัทที่ให้ความสนใจเข้าซื้อเอกสารการคัดเลือกเอกชนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม3สนามบิน จำนวน 31 ราย หลังจากนั้นได้จัดให้มีการประชุมชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจไปเมื่อวันที่ 23-24 กรกฎาคม 2561 และกำหนดรับซองข้อเสนอราคาในวันนี้ ซึ่งมีกลุ่มบริษัทเข้ายื่นข้อเสนอ จำนวน 2 ราย ประกอบด้วย

1.กิจการร่วมค้า บีเอสอาร์ (BSR Joint Venture) ประกอบด้วย บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) (ประเทศไทย), บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) (ประเทศไทย), บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) (ประเทศไทย)

2.กิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร ประกอบด้วย บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด (ประเทศไทย), บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน), China Railway Construction Corporation Limited (สาธารณรัฐประชาชนจีน), บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) (ประเทศไทย), บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน)



สำหรับเอกสารประกอบการยื่นซอง คือ หลักประกันซองพร้อมกับซองข้อเสนอ มูลค่า 2,000 ล้านบาท, หนังสือมอบอำนาจ (เอกสารความเป็นตัวตนของผู้ยื่น), รายการเอกสารที่บรรจุในซอง (List รายการเอกสาร) ที่ไม่ปิดผนึก และใบเสร็จรับเงินซื้อซองของผู้ยื่นข้อเสนอ อีกทั้ง ต้องชำระค่าธรรมเนียมการประเมินข้อเสนอให้แก่การรถไฟฯ เป็นจำนวนเงิน 2 ล้านบาท

และผู้ที่ยื่นเสนอผ่านการประเมินข้อเสนอจะต้องวางหลักประกันสัญญาที่ออกโดยธนาคารให้กับการรถไฟฯ ในวันที่เข้าทำสัญญาร่วมทุนเป็นมูลค่า 4,500 ล้านบาท เพื่อเป็นหลักประกันการปฏิบัติตามสัญญาร่วมลงทุนของเอกชนคู่สัญญา



“ศุภชัย”มาเอง ยื่นซองประมูลไฮสปีด 3สนามบิน 2แสนล.
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 12 พฤศจิกายน 2561 เวลา 14:28



“ศุภชัย เจียรวนนท์ “นำทีมพันธมิตร ยื่นซองประมูลรถไฟเชื่อม3สนามบิน ช่วง เวลา 14.03 น.

วันนี้ (12พ.ย) เวลา 14.03 น.ที่สำนักงานโครงการแอร์พอร์ต เรลลิงค์ มักกะสัน นายศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหารเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) ได้เดินทางมายื่นเอกสารการประมูลโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน”ดอนเมือง – สุวรรณภูมิ – อู่ตะเภา” ระยะทาง 220 กม. มูลค่า 224,544.36 ล้านบาท ในนาม กลุ่มกิจการร่วมค้าบริษัทเจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้งและพันธมิตร โดยในกลุ่มประกอบด้วย เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง (ประเทศไทย) บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (ประเทศไทย) บมจ. ช.การช่าง (ประเทศไทย) บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (ประเทศไทย) China Railway Construction Corporation Limited (สาธารณรัฐประชาชนจีน)
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44519
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 13/11/2018 7:59 am    Post subject: Reply with quote

2 กลุ่มทุน‘เปิดแผน’ชิงไฮสปีด
กรุงเทพธุรกิจ 13 พ.ย. 61

Click on the image for full size

รฟท.ลั่นลงนามผู้ชนะประมูลไฮสปีดเทรนภายใน 31 ม.ค.2562 หลังปิดรับซองบิ๊กเอกชนเข้าร่วม 2 กลุ่ม ซีพี ถือหุ้นใหญ่ 70% นำทีมกลุ่มกิจการร่วมค้าและพันธมิตร 5 ชาติ เผยข้อเสนอพิเศษเน้นพัฒนาชุมชนควบคู่ ขณะที่ บีเอสอาร์ มั่นใจ 100% ชนะประมูล

วานนี้ (12 พ.ย.) การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดให้ผู้ซืท้อซองประมูลรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิและอู่ตะเภา) ยื่นซองประมูลหลังจากที่ผ่านมามีผู้ประกอบการ 31 ราย มาซื้อซองประมูลและเมื่อครบกำหมดมีผู้ประกอบการ 2 กลุ่มมายื่นซองประมูล

นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจบริหารทรัพย์สิน และรักษาการผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยภายหลังปิดรับซองเอกสารประกวดราคา โครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามสนามบิน มูลค่า 2.2 แสนล้านบาท ว่า เบื้องต้น รฟท.ได้ตรวจสอบซองเอกสารที่ไม่ปิดผนึกของผู้ร่วมประมูลทั้ง 2 กลุ่มแล้ว พบว่าผ่านการพิจารณา ซึ่งขั้นตอนหลังจากนี้จะใช้เวลาอีกราว 1 สัปดาห์ในการตรวจสอบเอกสารซองที่ 1 หรือซองคุณสมบัติ

เสนอ ครม.อนุมัติ ม.ค.62

ขณะเดียวกันจะใช้เวลาอีก 3 สัปดาห์ในการตรวจสอบซองที่ 2 หรือซองเทคนิค ก่อนจะเข้าสู่ขั้นตอนพิจารณาซองที่ 3 ข้อเสนอด้านราคา และเจรจาต่อรองกับผู้ผ่านการคัดเลือกอีกราว 2 สัปดาห์ พร้อมทั้งเสนอไปยังอัยการสูงสุดตรวจสอบ ดังนั้นจึงคาดว่าจะสามารถเสนอผลการประมูลไปยังคณะกรรรมการนโยบายการกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ (คนร.) ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน และคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบ ในช่วงเดือน ม.ค. 2562 พร้อมเดินหน้าลงนามสัญญาภายในวันที่ 31 ม.ค.2562

การประมูลวันนี้ก็เป็นไปตามคาด 2 กลุ่มที่เข้ามายื่นซองประมูลก็ล้วนเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ มีความเชี่ยวชาญทั้งคู่ เป็นกลุ่มพันธมิตรใหญ่ ซึ่งการตัดสินชนะแพ้ จะอยู่ที่วงเงินที่ขออนุมัติจากภาครัฐต้องน้อยที่สุด ส่วนซองข้อเสนอพิเศษ ซองที่ 4 ไม่มีผลตัดสิน คณะกรรมการคัดเลือกจะเปิดดูหรือไม่ก็ได้ แต่หากจะเปิดดูก็จะเปิดภายหลังทราบผลผู้ชนะการประมูล และลงนามสัญญาแล้ว โดยจะต้องนำข้อเสนอพิเศษเข้าคณะกรรมการ ม.35 พิจารณาด้วย

นายวรวุฒิ กล่าวว่า หากภายหลังประกาศผู้ชนะการประมูลแล้ว เอกชนต้องการปรับเปลี่ยนสัดส่วน และผู้ถือหุ้นใหม่ ก็สามารถทำได้ แต่จะต้องเสนอเหตุผลเข้ามายังคณะกรรมการคัดเลือกเอกชน ซึ่งมีตนเป็นประธานพิจารณาก่อน รวมทั้งสัดส่วนผู้ถือหุ้นหลัก ผู้ที่เป็นแกนนำของกลุ่มจะต้องไม่เปลี่ยนแปลงไปมาก และไม่ต่ำกว่าที่เอกสารประกวดราคา (ทีโออาร์) กำหนด ทั้งนี้เอกชนที่จะเข้าร่วมโครงการรายใหม่ สามารถเป็นทั้งผู้ซื้อซองและไม่ซื้อก็ได้ แต่จะต้องผ่านการพิจารณาของ รฟท.

ซีพีลงทุนถือหุ้นใหญ่70%

นายศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์ กล่าวว่า ซีพีเข้าร่วมประมูลโครงการในนามกลุ่มกิจการร่วมค้า บริษัทเจริญโภคภัณฑ์ โฮลดิ้งส์และพันธมิตร แบ่งออกเป็น ซีพี ถือหุ้นสัดส่วน 70% บริษัท China Railway Construction Corporation Limited (จีน) ถือหุ้น 10% บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (ไทย) หรือ บีอีเอ็ม และบมจ. ช.การช่าง (ประเทศไทย) ถือหุ้นรวมกัน 15% และบมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (ประเทศไทย) ถือหุ้น 5%

เรามั่นใจที่จะเป็นผู้ชนะการประมูล โดยการข้าร่วมครั้งนี้เพราะต้องการมาแสดงความสนับสนุน แสดงความมั่นใจต่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่เชื่อมโยงกับพื้นที่อีอีซีตามนโยบายของรัฐบาล ในฐานะบริษัทไทยเราตั้งใจจะสร้างความเชื่อมั่นด้านการลงทุนและเชิญชวนนักลงทุนต่างชาติเข้ามาร่วมด้วย ซึ่งตอนนี้เป็นเพียงแค่การเริ่มต้นโครงการเท่านั้น ถ้าเราชนะการประมูลแน่นอนว่าจะเปิดกว้างให้คนอื่นเข้ามาร่วมลงทุนได้อีก แต่ซีพีจะยังคงถือหุ้นสัดส่วนใหญ่ คือไม่ต่ำกว่า 26%

ยื่นซองพิเศษให้คนพิการนั่งฟรี

นายศุภชัย กล่าวว่า การยื่นประมูลครั้งนี้ ทางกลุ่มซีพีได้ยื่นซองข้อเสนอพิเศษเพิ่มเติม โดยแสดงจุดยืนที่จะสนับสนุนการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นควบคู่ไปกับรถไฟฟ้าความเร็วสูง เพื่อกระจายความเจริญไปสู่ท้องถิ่น นอกจากนี้ยังมีแนวคิดที่จะส่งเสริมการพัฒนาชีวิตคุณภาพชีวิตของคนไทยด้วยโดยหากกลุ่มซีพีเป็นผู้ชนะการประมูลครั้งนี้ก็ตั้งใจที่จะให้สิทธ์ผู้พิการได้ใช้บริการรถไฟความเร็วสูงฟรีตลอดชีพ

ทั้งนี้ กลุ่มซีพียังมีพันธมิตรเชิงกลยุทธ์ร่วมพัฒนาโครงการ อาทิ Japan Overseas Infrastructure Investment Corporation for Transport & Urban Development (ญี่ปุ่น) CITIC Group Corporation(จีน) China Resources (Holdings) Company Limited (จีน) Siemen (เยอรมัน) Hyundai (เกาหลี) Ferrovie dello Stato Italiane (อิตาลี) CRRC-Sifang (จีน) และธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น หรือ JBIC (ญี่ปุ่น)

บีทีเอสมั่นใจ100%ชนะประมูล

นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการ บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด กล่าวว่า บีทีเอสร่วมประมูลในนามกลุ่มกิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ ซึ่งประกอบไปด้วย บีทีเอส ถือหุ้น 60% บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ STEC ถือหุ้นสัดส่วน 20% และบริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ RATCH ถือหุ้น 20% นอกจากนี้บีเอสอาร์ยังมีการเจรจาร่วมกับพันธมิตรอื่นเพิ่มเติม เพื่อที่จะสนับสนุนโครงการหากชนะประมูลด้วย

เรามีความมั่นใจเต็ม 100 ที่จะชนะการประมูลในครั้งนี้ เพราะเรามีพาร์ทเนอร์ที่เป็นบริษัทรับเหมาขนาดใหญ่ชั้นนำ อย่างซิโนไทย ซึ่งมีประสบการณ์ในการก่อสร้างเป็นอย่างดี อีกทั้งบีทีเอสก็มีประสบการณ์เดินรถไฟฟ้ามายาวนานถึง 19 ปี แม้ว่าจะเป็นระบบรถไฟฟ้าคนและแบบ แต่เราก็มั่นใจว่าจะสามารถทำได้ ส่วนระบบรถที่จะนำมาใช้ ตอนนี้ก็มีหลายโมเดล และมีการพูดคุยไว้บ้างแล้ว 4 ชาติ ทั้งในเอเชียและยุโรป แต่ยังไม่ตัดสินใจเลือก เพราะทีโออาร์ก็ค่อนข้างเปิดกว้างให้เสนอได้

ซิโน-ไทยไม่ห่วงงานก่อสร้าง

นายภาคภูมิ ศรีชำนิ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ STEC เผยว่า บริษัทมีความมั่นใจในเรื่องการก่อสร้างโดยแม้ว่าจะมีระยะเวลาก่อสร้างจำกัดแค่ 5 ปี กับการก่อสร้างระยะยาวกว่า 100 กิโลเมตร แต่บริษัทก็มั่นใจเพราะมีประสบการณ์ก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีชมพู และสายสีเหลืองที่มีระยะเวลาก่อสร้างเพียง 3 ปีมาแล้ว รวมทั้งขณะนี้ได้หารือร่วมกับบริษัทรับเหมาขนาดกลางเพื่อเข้ามาช่วยรับงานก่อสร้าง หากกลุ่มบีเอสอาร์ชนะการประมูล
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42708
Location: NECTEC

PostPosted: 13/11/2018 10:34 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
2 กลุ่มทุน‘เปิดแผน’ชิงไฮสปีด
กรุงเทพธุรกิจ 13 พ.ย. 61

“ซีพี” ชน “บีทีเอส” ชิงดำไฮสปีด 3 สนามบิน 2.2 แสนล้าน
โดย: ผู้จัดการออนไลน์

เผยแพร่: 12 พฤศจิกายน 2561 - 17:56


เอกชน 2 ยักษ์ใหญ่ “ซีพี-บีทีเอส” ผนึกพันธมิตรยื่นซองชิงสัมปทานรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ตามคาด “ผู้ว่าฯ ร.ฟ.ท.” วางไทม์ไลน์เปิดซอง คุณสมบัติ-เทคนิค-การเงิน ม.ค. 62 รู้ตัวผู้ชนะ เซ็นสัญญาใน 31 ม.ค. 62

นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า ตามที่การรถไฟฯ ได้เปิดขายเอกสารการคัดเลือกเอกชน โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบินดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา ระยะทาง 220 กม. มูลค่า 224,544.36 ล้านบาท ไปเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน - 9 กรกฎาคม 2561 ซึ่งมีบริษัทที่ให้ความสนใจเข้าซื้อเอกสารการคัดเลือกเอกชนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบินจำนวน 31 ราย หลังจากนั้นได้จัดให้มีการประชุมชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจไปเมื่อวันที่ 23-24 กรกฎาคม 2561 และกำหนดรับซองข้อเสนอราคาในวันที่ 12 พ.ย. 2561 ซึ่งมีกลุ่มบริษัทเข้ายื่นข้อเสนอ จำนวน 2 ราย ประกอบด้วย 1. กิจการร่วมค้า บีเอสอาร์ (BSR Joint Venture) ประกอบด้วย บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) (ประเทศไทย), บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) (ประเทศไทย), บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) (ประเทศไทย)

2. กิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร ประกอบด้วย บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด (ประเทศไทย), บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน), China Railway Construction Corporation Limited (สาธารณรัฐประชาชนจีน), บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) (ประเทศไทย), บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน)

โดยเอกสารประกอบ คือ หลักประกันซองพร้อมกับซองข้อเสนอ มูลค่า 2,000 ล้านบาท, หนังสือมอบอำนาจ (เอกสารความเป็นตัวตนของผู้ยื่น), รายการเอกสารที่บรรจุในซอง (List รายการเอกสาร) ที่ไม่ปิดผนึก และใบเสร็จรับเงินซื้อซองของผู้ยื่นข้อเสนอ อีกทั้งต้องชำระค่าธรรมเนียมการประเมินข้อเสนอให้แก่การรถไฟฯ เป็นจำนวนเงิน 2 ล้านบาท และผู้ที่ยื่นเสนอผ่านการประเมินข้อเสนอจะต้องวางหลักประกันสัญญาที่ออกโดยธนาคารให้กับการรถไฟฯ ในวันที่เข้าทำสัญญาร่วมทุนเป็นมูลค่า 4,500 ล้านบาท เพื่อเป็นหลักประกันการปฏิบัติตามสัญญาร่วมลงทุนของเอกชนคู่สัญญา

นายวรวุฒิกล่าวว่า หลังจากรับซองประมูล คณะกรรมการกรรมการคัดเลือก จะเริ่มขั้นตอนการพิจารณา โดยพิจารณาข้อเสนอซองที่1 (คุณสมบัติ) วันที่ 13-19 พ.ย. 61 (7 วัน) พิจารณาข้อเสนอซองที่ 2 (เทคนิค) วันที่ 20 พ.ย.-11ธ.ค.61 (22 วัน) พิจารณาข้อเสนอซองที่3 (การเงิน) วันที่ 12-17 ธ.ค.61 (6 วัน) ซึ่งจะทราบผลว่ารายใดเป็นผู้ชนะประมูล

หลังจากนั้น วันที่ 18 ธ.ค. 61 - 1 ม.ค. 62 (15 วัน) จะเป็นการเจรจาต่อรองและปรับปรุงร่างสัญญา, วันที่ 2-14 ม.ค. 62 (13 วัน) ส่งอัยการสูงสุดตรวจร่างสัญญา, วันที่ 15-17 ม.ค. 62 นำเสนอผลการคัดเลือกต่อคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานพิจารณา และนำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติในช่วงวันที่ 18-28 ม.ค. 62 เป้าหมายลงนามสัญญาภายในวันที่ 31 ม.ค. 62

“ถือว่ามีการแข่งขันเพราะมีผู้เสนอ 2 กลุ่ม เป็น 2 กลุ่มที่ใหญ่ ส่วนกรณีที่จะมีการหาพันธมิตรเพิ่มหลังได้รับคัดเลือกแล้วสามารถทำได้โดยจะต้องเสนอให้ ร.ฟ.ท.อนุมัติ และจะต้องไม่เป็นการเปลี่ยนแปลงหรือกระทบต่อสัดส่วนโครงสร้างของผู้ถือหุ้นหลักเดิม โดยการเข้ามาเพิ่มอาจเป็นการเข้ามารับช่วงงานซึ่งไม่จำเป็นต้องเข้าถือหุ้นก็ได้”

อย่างไรก็ตาม กรณีที่มีผู้ผ่านคุณสมบัติ หรือเทคนิค เพียงกลุ่มเดียว คณะกรรมการมาตรา 35 จะพิจารณาว่าจะเดินหน้าต่อหรือไม่ ในเงื่อนไขไม่ได้กำหนดว่าจะต้องยกเลิกประมูล ดังนั้นขึ้นกับการพิจารณา ทั้งนี้ตัวแปรในการตัดสิน คือ เงื่อนไข รายใดเสนอขอรับการอุดหนุนจากรัฐน้อยที่สุด และหลังจากได้ตัวผู้ชนะและลงนามสัญญาแล้ว เอกชนจะต้องออกแบบรายละเอียดเพื่อเสนอรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) เพิ่มเติมต่อไป ขณะที่ ร.ฟ.ท.พร้อมส่งมอบพื้นที่ทั้งหมดได้ภายในเดือน ก.พ. 62

นายศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหารเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) ได้เดินทางมายื่นเอกสารการประมูลโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ด้วยตนเอง ส่วน ตัวแทนกลุ่มบีทีเอส ถือฤกา์ เวลา 11.11 น.เข้ายื่นซองประมูลรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน

บีทีเอส-ซีพี ชิงดำไฮสปีดเทรน 3 สนามบิน ซีพียื่นข้อเสนอพิเศษผู้พิการขึ้นฟรี ส่วนบีทีเอสมั่นใจ100%

วันที่ 12 พฤศจิกายน 2561 - 17:51 น.

บีทีเอส-ซีพี ชิงดำไฮสปีดเทรนเชื่อม 3 สนามบิน 2.2 แสนล้าน ด้านซีพี ยื่นข้อเสนอพิเศษให้ผู้พิการขึ้นฟรีตลอดชีพถ้าชนะประมูล ด้านบีทีเอสมั่นใจเต็ม 100%

บีทีเอส-ซีพี ชิงดำไฮสปีดเทรน – นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า วันที่ 12 พ.ย. 2561 รฟท. เปิดให้เอกชนยื่นเอกสารประมูลโครงการรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) เชื่อมสามสนามบินดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา วงเงินลงทุนรวม 2.2 แสนล้านบาท ตั้งแต่เวลา 09:00-15:00 น. ปรากฎว่ามีเอกชนสนใจยื่นสองเข้าร่วมประมูล 2 กลุ่ม คือ กลุ่มบริษัทบีทีเอสและกลุ่มเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี)

โดยในวันที่ 13 พ.ย. การรถไฟฯ จะเปิดซองคุณสมบัติ คาดว่าจะใช้เวลาในการพิจารณาประมาณ 1 สัปดาห์ จากนั้นจะประกาศรายชื่อผู้ผ่านคุณสมบัติ และเปิดซองเทคนิคคาดว่าจะใช้เวลาพิจารณา 3 สัปดาห์ จากนั้นจึงจะเปิดซองราคาเป็นซองสุดท้ายซึ่งจะใช้เวลาพิจารณา 1 สัปดาห์ จากนั้นจะเชิญเอกชนเข้าทั้ง 2 ราย เข้ามาต่อรองราคาคาดว่า ใช้เวลาอีก 2 สัปดาห์ จากนั้นจะเสนอร่างสัญญาให้อัยการพิจารณาใช้เวลาอีก 2 สัปดาห์และจะเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาอนุมัติรายชื่อผู้ชนะการประมูลได้ประมาณกลางเดือนม.ค.ปี 2562 และลงนามในสัญญาผู้ชนะการประมูลไม่เกิน 31 ม.ค 2562

อย่างไรก็ตาม หลักเกณฑ์เบื้องต้นในการพิจารณาคัดเลือกผู้ชนะการประมูลจพิจารณาเอกชนที่เสนอขอรับเงินอุดหนุนจากรัฐบาลน้อยที่สุดเป็นสำคัญ

นายศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์ กล่าวภายหลังเดินทางเข้ายื่นซองประมูล ว่า ซีพีเข้าร่วมกับ 4 ผู้ถือหุ้นหลักในการเข้าร่วมยื่อซองราคาประมูลครั้งนี้ โดยซีพี ถือหุ้น 70% ส่วนบริษัท China Railway Construction Corporation Limited (สาธารณรัฐประชาชนจีน) ถือหุ้น 10% , บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (ประเทศไทย) หรือบีอีเอ็ม และบมจ. ช.การช่าง (ประเทศไทย) ถือหุ้นรวมกัน 15% และบมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (ประเทศไทย) ถือหุ้น 5%

ทั้งนี้ ซีพี มั่นใจจะเป็นผู้ชนะการประมูลในครั้งนี้ โดยบริษัทมีความตั้งใจที่จะสนับสนุนยุทธศาสตร์หลักของประเทศคือการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่เชื่อมโยงกับพื้นที่อีอีซีตามนโยบายของรัฐบาล นอกจากนี้ บริษัท ยังมีการยื่นข้อเสนอพิเศษเพิ่มเติม โดยแสดงจุดยืนที่จะสนับสนุนการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นควบคู่ไปกับรถไฟฟ้าความเร็วสูง เพื่อกระจายความเจริญไปสู่ท้องถิ่น นอกจากนี้ ยังมีแนวคิดที่จะส่งเสริมการพัฒนาชีวิตคุณภาพชีวิตของคนไทยด้วยโดยหากบริษัทเป็นผู้ชนะการประมูลครั้งนี้บริษัทจะให้สิทธ์ผู้พิการได้ใช้บริการรถไฟฟ้าความเร็วสูงฟรีตลอดชีพด้วย

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้บริษัทมีการพูดคุยกับกลุ่มพันธมิตรอีกหลายกลุ่มที่จะเข้ามาร่วมทุนในอนาคต โดยธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (เจบิก) ของญี่ปุ่นพร้อมสนับสนุนเงินกู้ให้บริษัท และยังมีอีกหลายกลุ่มที่จะเข้าร่วมอาทิ CITIC Group Corporation(สาธารณรัฐประชาชนจีน) China Resources (Holdings) Company Limited (สาธารณรัฐประชาชนจีน) Siemen (ประเทศเยอรมัน) Hyundai (ประเทศเกาหลี) Ferrovie dello Stato Italiane (ประเทศอิตาลี) CRRC-Sifang (สาธารณรัฐประชาชนจีน

“หากซีพี ชนะการประมูลครั้งนี้ สามารถที่จะเจรจาหากลุ่มพันธมิตรมาร่วมทุนเพิ่มเติมได้ โดยต้องขออนุญาตจากรถไฟฯ แต่มีเงื่อนไขว่าซีพีจะต้องถือหุ้นหลักไม่ต่ำกว่า 26%”

นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการ บริษัทบีทีเอส กรุ๊ปโฮลดิ้ง จำกัด ผู้อำนวยการใหญ่ ของบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอส เปิดเผยว่า ได้ยื่นประมูลร่วมกีบผู้ถือหุ้นหลัก 3 รายคือโดยบีทีเอส ถือหุ้น 60% บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ STEC และบริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ RATCH รายละ 20%

ทั้งนี้ มีความมั่นใจเต็ม 100 ที่จะชนะการประมูลในการยื่นซอง เนื่องจากบริษัทมีหุ้นส่วนเป็นบริษัทรับเหมาก่อสร้างขนาดใหญ่ชั้นนำ คือบริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ STEC ซึ่งมีประสบการณ์ในการก่อสร้างรวมทั้งบีเอ็มก็มีประสบการณ์ในการเดินรถมายาวนาน

ทั้งนี้ หากบริษัทชนะการประมูลมีการเจรจาหาเพื่อร่วมมือกับพันธมิตรเพิ่มเติมอีกหลายกลุ่ม ส่วนระบบรถที่บริษัทที่นำเสนอในการประมูลครั้งนี้มีหลายโมเดลจากผู้ผลิตรวม 4 ชาติทั้งเอเชียและยุโรป

นายภาคภูมิ ศรีชำนิ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซิ โน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง กล่าวว่า บริษัทมีความมั่นใจในเรื่องการก่อสร้างมากโดยแม้ว่าจะมีระยะเวลาก่อสร้างจำกัดแค่ 5 ปีที่จะต้องมีการก่อสร้างรางระยะทางยาวกว่า 100 กิโลเมตร แต่บริษัทมั่นใจว่าทำได้เนื่องจากโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสีชมพูและสีเหลืองมีระยะเวลาก่อสร้างเพียง 3 ปีบริษัทก็สามารถดำเนินการได้ คาดว่าในโครงการนี้การก่อสร้างคงไม่มีปัญหา อย่างไรก็ตาม ขณะนี้บริษัทได้เจรจากับผู้รับเหมารายกลางไว้หลายบริษัทแล้วเพื่อให้เข้ามารับงานให้งานก่อสร้างเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันที่ 12 พ.ย.261 การรถไฟแห่งประเทศไทย เปิดให้เอกชนเข้ายื่นซองประมูลโครงการรถไฟฟ้สความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินในวันตั้งแต่เวลา 09.30-15.00 น. โดยกลุ่มบีทีเอสเข้ามายื่นเอกสารเป็นรายแรกเทื่อเวลา 11.11 น. ต่อมาในเวลา ประมาณ 14.03 น. นายนายศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์ นำทีมมายื่นเอกสารด้วยตนเองที่สำนักบริหารโครงการระบบรถไฟฟ้า มักกะสัน

สำหรับการยื่นซองแระมูลครั้งนี้ รฟท. กำหนดให้เอกชนจะต้องยื่นเอกสาร 5 รายการดังนี้ 1. เอกสารเปิดผนึก 1 ชุด แสดงคุณสมบัติของบริษัทตามเงื่อนไขทีโออาร์ 2. เอกสารปิดผนึกข้อเสนอทั่วไป (ด้านคุณสมบัติ) โดยเอกชนต้องผ่านข้อเสนอซองที่ 1 ก่อน จึงได้เปิดข้อเสนอซองที่ 2

3. เอกสารข้อเสนอด้านเทคนิค ซึ่งรวมถึงการแก้ไขปัญหารถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ โดยเอกชนต้องผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำของข้อเสนอซองที่ 2 ก่อน จึงได้เปิดข้อเสนอซองที่ 3

4. เอกสารข้อเสนอด้านราคา เอกชนที่ขอรับเงินอุดหนุนในการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงจากรัฐบาลน้อยที่สุด จากวงเงินเต็ม 1.19 แสนล้านบาท จะเป็นผู้ชนะการประมูล ด้านการเช่าพื้นที่เชิงพาณิชย์จะเป็นไปตามราคาที่กำหนดไว้แล้ว ไม่มียื่นข้อเสนอหรือต่อรองแต่อย่างใด และ 5. เอกสารข้อเสนด้านอื่นๆ ซึ่งเป็นข้อเสนอเพิ่มเติม ไม่มีผลกระทบต่อการแพ้-ชนะในการประมูล

สำหรับโครงการดังกล่าวมีวงเงินการพัฒนารวม 224,544.36 ล้านบาท ประกอบด้วยโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน วงเงิน 168,718 ล้านบาท, การพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟ 45,155.27 ล้นบาท และสิทธิการเดินรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ 10,671.09 ล้านบาท ผู้ชนะการประมูลจะได้รับสัมปทานเป็นระยะเวลา 50 ปี ประกอบด้วยระยะเวลาการออกแบบและก่อสร้าง 5 ปี และระยะเวลาการดำเนินการ 45 ปี
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42708
Location: NECTEC

PostPosted: 13/11/2018 11:59 am    Post subject: Reply with quote

กลุ่มซีพี-บีทีเอสอาร์ชิงดำไฮสปีดเทรนเชื่อม3สนามบิน
จันทร์ที่ 12 พฤศจิกายน 2561 เวลา 16.50 น.

กลุ่มกิจการร่วมค้าบีเอสอาร์-ซีพีชิงดำสัมปทานลงทุนไฮสปีดเทรนเชื่อม 3 สนามบิน พร้อมเตรียมประเมินคุณสมบัติ  ด้านเทคนิค การเงิน คาดว่าเสนอครม.ปลายปีนี้ลงนามเซ็นสัญญา 31 ม.ค. 62 


นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยภายหลังการเปิดรับซองเอกสารการคัดเลือกเอกชนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม3 สนามบิน ดอนเมือง – สุวรรณภูมิ – อู่ตะเภาว่า  มีบริษัทเข้ายื่นซองเอกสารเสนอราคา  จำนวน 2  ราย ประกอบด้วย  1. กิจการร่วมค้า บีเอสอาร์ (BSR Joint Venture)  ประกอบด้วย บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) (ประเทศไทย) , บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) (ประเทศไทย) , บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) (ประเทศไทย)

2. กิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร  ประกอบด้วย บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด (ประเทศไทย) , บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) , China Railway Construction Corporation Limited (สาธารณรัฐประชาชนจีน) , บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) (ประเทศไทย) , บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน)

สำหรับเอกสารประกอบ คือ หลักประกันซองพร้อมกับซองข้อเสนอ มูลค่า 2,000 ล้านบาท, หนังสือ มอบอำนาจ (เอกสารความเป็นตัวตนของผู้ยื่น) , รายการเอกสารที่บรรจุในซอง (List รายการเอกสาร) ที่ไม่ปิดผนึก และใบเสร็จรับเงินซื้อซองของผู้ยื่นข้อเสนอ อีกทั้ง ต้องชำระค่าธรรมเนียมการประเมินข้อเสนอให้แก่การรถไฟฯ เป็นจำนวนเงิน 2 ล้านบาท และผู้ที่ยื่นเสนอผ่านการประเมินข้อเสนอจะต้องวางหลักประกันสัญญาที่ออกโดยธนาคารให้กับการรถไฟฯ ในวันที่เข้าทำสัญญาร่วมทุนเป็นมูลค่า 4,500 ล้านบาท เพื่อเป็นหลักประกันการปฏิบัติตามสัญญาร่วมลงทุนของเอกชนคู่สัญญา

อย่างไรก็ตาม หลังจากนี้ต้องมีการประเมินด้านคุณสมบัติ ทางเทคนิค  ด้านการเงิน พร้อมเจรจาต่อรอง หากดำเนินการแล้วเสร็จตามขั้นตอนทุกอย่างคาดว่าจะเสนอครม.อนุมัติได้ในช่วงวันที่ 28-31 ม.ค. 62นี้ และลงนามเซ็นสัญญาได้ใน 31 ม.ค.62 

//---------------------

"บีทีเอส-ซีพี" ชิงไฮสปีดเทรน ประกาศชื่อผู้ชนะพร้อมเซ็นสัญญา ม.ค.62
โดย ไทยรัฐฉบับพิมพ์
13 พฤศจิกายน 2561 เวลา 08:45 น.

“บีทีเอส-ซีพี” ยื่นซองราคารถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินตามคาด ทั้ง 2 รายมั่นใจชนะประมูล ด้าน “ผู้ว่าการ รฟท.” ลั่น! ใครให้รัฐอุดหนุนต่ำสุดชนะชัวร์ มั่นใจลงนามสัญญาได้ไม่เกินสิ้นเดือน ม.ค.62 ขณะที่ “กองทัพเรือ” เปิดขายซองก่อสร้างเมืองการบิน 16 พ.ย.นี้


ผู้สื่อข่าวรายงานจากกระทรวงคมนาคมว่า วานนี้ (12 พ.ย.) การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดรับเอกสารข้อเสนอเอกชนร่วมลงทุน โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-ระยอง และการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟ วงเงิน 224,544 ล้านบาท โดย กลุ่มกิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ (BSR Joint Venture) ประกอบด้วย บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ BTS Group บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ RATCH และบริษัทซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ STEC ยื่นเอกสารเป็นรายแรก และกลุ่มบริษัทซีพียื่นเป็นรายที่ 2 นำโดยนายศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหารเครือเจริญโภคภัณฑ์ ซึ่งยื่นซองราคาในนามกลุ่มกิจการร่วมค้าบริษัท เจริญโภคภัณฑ์ โฮลดิ้ง

นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการ กลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการผู้ว่าการ รฟท. กล่าวว่า หลังการยื่นซองแล้ว กลางเดือน ธ.ค.61 จะทราบว่ารายใดเป็นผู้ชนะ จากนั้นจะเสนอให้คณะกรรมการนโยบายกำกับและดูแลรัฐวิสาหกิจ (คนร.) ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานพิจารณา ก่อนเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติ โดยจะลงนามสัญญาภายในวันที่ 31 ม.ค.62 ส่วนรายใดจะชนะ รฟท.จะพิจารณาจากการขอเงินสนับสนุนจากภาครัฐน้อยที่สุด

ด้านนายศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหารเครือเจริญโภคภัณฑ์ กล่าวว่า บริษัทมีความพร้อมมาก และร่วมโครงการนโยบายยุทธศาสตร์ชาติ ในโครงสร้างพื้นฐานของรัฐ โดยบริษัทที่เข้ามาร่วมทุนคือ กลุ่มซีพี ถือหุ้น 70%, บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) และบริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) รวมกัน 15%, China Railway Construction Corporation Limited จีน 15%, บริษัท อิตาเลียนไทย 5% นอกจากนี้ ยังมีธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (JBIC) และกองทุน join จากญี่ปุ่น, China Resources (Holdings) Company Limited และ CITIC Group Corporation จากจีน ส่วนอิตาลีสนใจเดินรถและบำรุงรักษา ขณะที่ตัวรถไฟฟ้ามีผู้สนใจคือ เยอรมนี เกาหลี อิตาลี และจีน

“บริษัทได้ยื่นข้อเสนอพิเศษอีก คือการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นควบคู่กับรถไฟฟ้า เพื่อกระจายความเจริญสู่ท้องถิ่น และยังมีแนวคิดส่งเสริมคุณภาพชีวิตคนไทยด้วย ถ้าชนะประมูลจะให้สิทธิ์ผู้พิการใช้บริการตลอดชีพ ส่วนข่าวว่าซีพีซื้อพื้นที่รองรับรถไฟความเร็วสูงไว้แล้ว ถ้ามีจริงก็คงเป็นฟาร์มเดิมของซีพีเอฟ (บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) ที่มีอยู่แล้ว”

ด้านนายสุระพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการบริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด กล่าวว่า การยื่นซองครั้งนี้มีความมั่นใจมาก หากไม่มั่นใจคงไม่มา สาเหตุที่ร่วมประมูล เพราะสนับสนุนนโยบายรัฐบาลในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และบริษัทมีความพร้อม เพราะมีพันธมิตรชั้นนำของโลกและมีประสบการณ์บริหารรถไฟฟ้ากว่า 9 ปี ขณะที่ผู้สื่อข่าวรายงานกองทัพเรือ (ทร.) ว่า คณะกรรมการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุน โครงการพัฒนาเมืองการบินภาคตะวันออก และท่าอากาศยานอู่ตะเภาในอีอีซี ได้เห็นชอบเอกสารประกาศเชิญชวนร่วมลงทุน และได้ประกาศผ่านเว็บไซต์แล้ว โดยจะขายซองเอกสารประกวดราคา วันที่ 16 พ.ย.นี้ คาดจะได้ผู้ชนะการประมูล พร้อมลงนามภายในเดือน ก.พ.62.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42708
Location: NECTEC

PostPosted: 13/11/2018 2:37 pm    Post subject: Reply with quote

คำต่อคำ “คุณศุภชัย เจียรวนนท์” กับเป้าหมายการยื่นประมูลโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน
13 พฤศจิกายน 2561
ถาม : พันธมิตรที่เข้าร่วมมีกลุ่มไหนบ้าง
ตอบ : มีหลายกลุ่มครับ มีทั้งไทย ญี่ปุ่น จีน และทางด้านของอิตาลี ทั้ง 4 ด้านมีพันธมิตรครบครับ

ถาม : ผู้ถือหุ้นหลักคือใคร?
ตอบ : ที่ยื่นร่วมกันครั้งนี้ ผู้ถือหุ้นหลักก็มี ทางเครือเจริญโภคภัณฑ์ มีกลุ่มของBEM และช.การช่าง มีกลุ่มของ CRCC และก็มีของกลุ่มอิตาเลี่ยนไทย

ถาม : CRCC มีธุรกิจด้านราง รวม ๆ กันใช่ไหม
ตอบ : CRCC ทำเกี่ยวกับเรื่องก่อสร้าง ทางด้านรางกับรถไฟทั้งหมดของจีน

ถาม : มีญี่ปุ่นด้วยไหม
ตอบ : มีญี่ปุ่นด้วยครับ แต่เป็นลักษณะการแสดงความประสงค์ที่จะลงทุน ก็มีทั้ง JBIC เป็นธนาคารมีความประสงค์ที่จะให้เงินกู้นะครับ แล้วก็มีJOINที่เป็นกองทุนของญี่ปุ่นที่แสดงความประสงค์ที่จะลงทุน ส่วนจีนก็มีทาง CITIC แล้วก็ CRC คือ China Resources ที่ประสงค์จะลงทุน

ถาม : แสดงความประสงค์ที่จะลงทุนแปลว่ายังไม่ได้ลงทุนใช่ไหมครับ
ตอบ : ยังครับ แสดงความประสงค์ที่จะลงทุนครับ

ถาม : แล้วอิตาลีมาช่วยตรงไหนบ้าง
ตอบ : อยู่ในส่วนของการเดินรถ และเรื่องของบำรุงรักษา

ถาม : จะซับซ้อนกับ CRCC หรือเปล่า
ตอบ : ไม่ครับ CRCC ทำด้านก่อสร้าง และด้านของราง เรื่องระบบ

ถาม : แล้วในเรื่องตัวรถไฟ?
ตอบ : มีหลายยี่ห้อ ที่อยู่ใน partner มี Siemen มี Sifang มี Hyundai

ถาม : กลุ่มที่ลงทุนมีใครบ้าง
ตอบ : อย่างที่บอกไป ทางเครือเจริญโภคภัณฑ์ มีทางกลุ่มของBEM มีช.การช่าง ซึ่ง BEM กับ ช.การช่าง ลงทุนรวมกัน 15% แล้วก็มี CRCC 10% และอิตาเลี่ยนไทย 5% แล้วก็ที่เหลือก็เป็นเครือเจริญโภคภัณฑ์ 70% นะครับ ที่นี้พันธมิตรที่เหลือที่แสดงความประสงค์จะลงทุนก็คงจะต้องมาทีหลัง

ถาม : พันธมิตรที่มาทีหลังนี่ต้องมาคุยกันก่อนหรือว่าอย่างไร
ตอบ : เค้าแสดงความประสงค์มาแล้ว ก็ต้องดูว่าเราชนะการประมูลหรือเปล่า

ถาม : สำหรับญี่ปุ่นนี่ประสงค์จะให้ไฟแนนซ์อย่างเดียวหรือครับ
ตอบ : JBIC ให้ไฟแนนซ์ ส่วน JOIN เป็นกองทุนของญี่ปุ่นประสงค์ที่จะลงทุน ส่วนจีนก็มี CITIC กับ CRC-China Resources

ถาม : พันธมิตรที่จะพัฒนาหรือลงทุนที่มักกะสันกับศรีราชา ได้จัดสรรไว้อย่างไร
ตอบ : พันธมิตรในฝั่งนี้ก็มีครับ มีหลายกลุ่มรวมกัน ขออนุญาตว่ามันไม่ได้อยู่ในสิ่งที่จะต้องเปิดเผย

ถาม : เรามียื่นขอเสนอพิเศษซองสี่
ตอบ : ซองสี่ก็มีครับ เป็นการยื่นขอเสนอพิเศษ

ถาม : มั่นใจขนาดไหน
ตอบ : จริง ๆ แล้วเรามาครั้งนี้ เราต้องการมาแสดงความสนับสนุน แสดงความตั้งใจต่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นยุทธศาสตร์ของประเทศ แล้วก็เป็นนโยบายที่มีความเชื่อมโยงกับนโยบายทางด้านEEC ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์ของประเทศ ในฐานะบริษัทไทยเราก็ต้องการมาสนับสนุน และแสดงความมั่นใจ รวมทั้งชักชวนพันธมิตรต่างประเทศให้เข้ามาร่วมลงทุนในบ้านเรา อันนี้เป็นเป้าหมายหลักของเรา

ถาม : จากที่ปตท.เค้าชะลอเรื่องยื่นซอง รอผู้ชนะ ทางซีพีมีการพูดคุยไหม
ตอบ : ต้องพูดว่ายังนะครับ ผมคิดว่า ผู้ลงทุนอย่างเช่น ปตท. หรือว่าผู้ลงทุนที่เป็นไทย เราอยากจะชักชวนอย่างมากที่ให้เข้ามาร่วมลงทุน แต่ทั้งนี้ก็ต้องรอรู้ผลก่อนนะครับ แต่ว่าก็จะเป็นเรื่องที่น่ายินดียิ่ง ถ้าจะมีปตท. รวมไปถึงองค์กรรัฐ และองค์กรเอกชนอื่นของไทยเข้ามาร่วมลงทุน แต่ในขณะนี้ก็ยังเป็นช่วงเริ่มต้น ของการประมูล

ถาม : หมายความว่าถ้าเราชนะ เราจะชวนนักลงทุนรายอื่นให้เข้ามา
ตอบ : แน่นอนครับ

ถาม : เครือซีพีจะเป็นแกนนำหรือเปล่า
ตอบ : ข้อกำหนดของทางการรถไฟ ระบุว่าเมื่อเป็นแกนนำ จะถือหุ้นต่ำว่า 26% ไม่ได้ เป็นสิ่งที่ต้องไปดูในอนาคตอีกที แต่จะต้องถือไม่ต่ำกว่า 26%

ถาม : อะไรคือทีเด็ดที่จะชนะการประมูลรอบนี้
ตอบ: เราคงพูดอะไรที่เกี่ยวข้องกับที่เรายื่นประมูลไม่ได้หรอกครับ

ถาม : เทคโนโลยีตัวรถ ใช่ของจีนหรือไม่
ตอบ :ไม่ครับ มีหลายยี่ห้อ เยอร์มัน จีน เกาหลี หากมียี่ห้ออื่นต้องรอขออนุมัติการรถไฟอีกที

ถาม :มีการบริหารจัดการความเสี่ยงเรื่องการเงินอย่างไร
ตอบ :การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเป็นการลงทุนที่ได้ผลตอบแทนที่ไม่สูง แต่ในระยะยาวมีความมั่นคงอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งเป็นโครงการPPP คือ รัฐ เอกชน มาร่วมกันพัฒนาในโครงสร้างพื้นฐาน เช่น การพัฒนาอู่ตะเภา EEC ซึ่งจะเป็นการเชื่อมโยงจากอีสานสู่EEC ที่จะช่วยผลักดันให้โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม3สนามบินมั่นคงไปด้วย เราก็มีความมั่นใจต่อโครงการภาครัฐ และต้องการแสดงการสนับสนุนในฐานะที่เป็นบริษัทไทย

ถาม : TOD เป็นอย่างไร
ตอบ : ทางกลุ่มพันธมิตรของTODมีหลายบริษัท แต่ยังไม่สามารถเปิดเผยตรงนี้ได้

ถาม :โครงการนี้เกี่ยวกับพื้นที่ทางตะวันออกที่ไปซื้อไว้ด้วยหรือไม่
ตอบ :เรายังไม่ได้ไปซื้อที่ตรงนี้เอาไว้ ตอนนี้เราโฟกัสไปที่ตัวรถไฟเป็นหลัก ถ้าเป็นที่ดินคงเป็นพื้นที่ฟาร์มเดิมๆ ของ CPF ไม่เกี่ยวอะไรกับเครือเจริญโภคภัณฑ์

ถาม : กลุ่มพันธมิตรที่มีเข้ามาจะมีเพิ่มเติมได้อีกใช่ไหม
ตอบ : ยังมีเพิ่มเติมได้อีกขึ้นอยู่กับการอนุญาตของการรถไฟ ถ้าเราชนะการประมูล รายชื่อที่ไม่ได้ส่งในวันนี้ การรถไฟต้องอนุญาตหมด การเพิ่มกลุ่มพันธมิตรต้องมองว่าเป็นการมาเสริม ไม่ได้มาทำให้ความแข็งแกร่งของผู้ถือหุ้นที่ตกลงไว้กับโครงการลดลง เพราะต้องการเห็นความสำเร็จของโครงการ

ถาม : มีความมั่นใจมากน้อยแค่ไหน
ตอบ : อย่าเรียกว่ามั่นใจ อย่างที่ผมเรียน ผมยืนยันว่าเรามาสนับสนุน และแสดงความมั่นใจต่อโครงการที่เป็นยุทธศาสตร์ของประเทศ ที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานอันใหม่ของประเทศ

ถาม : บริษัทที่จะเสริมเข้ามาจะเป็นบริษัททางด้านไหน
ตอบ : ต้องดูว่ามีอะไรที่ต้องเสริมสร้างศักยภาพให้โครงการประสบความสำเร็จและมีความมั่นคงได้ อันนี้คงต้องดูต่อไป

ถาม : ทุนท้องถิ่นจะมีโอกาสเข้ามาร่วมมากน้อยแค่ไหน ที่ชลบุรี ระยอง ในการพัฒนาด้านต่างๆ
ตอบ : ตรงนี้อยู่ในข้อเสนอซอง 4 เรื่องนี้ผมพูดได้เพราะไม่เกี่ยวกับเรื่องราคาใดๆ ทั้งสิ่น เราต้องการทำงานกับชุมชน และพัฒนาเรื่องของความยั่งยืน การเกิดรถไฟความเร็วสูงที่เป็นโครงสร้างพื้นฐาน ตามหลักทั่วโลกแล้ว เป็นการทำให้เกิดการกระจายความเจริญ นำไปสู่การพัฒนาในแต่ละท้องที่ และสิ่งที่ตั้งใจไว้ในโครงการนี้ ก็คือ 1.แผนที่เราจะทำควบคู่ขนานกันไปในการพัฒนาท้องที่และความยั่งยืน 2.ผู้พิการสามารถใช้บริการนี้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ก็เป็นหลักใหญ่ที่รถไฟฯจะเข้ามาช่วยพัฒนาชุมชนจริงๆ

ถาม : การพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์?
ตอบ :เราจะทำตรงพื้นที่มักกะสันให้เต็มประสิทธิภาพของพื้นที่ และเป็นประโยชน์ต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวมของไทย และไม่ไปทับซ้อนกับโครงการใหญ่ๆที่มีอยู่ ก็จะทำให้เกิดประโยชน์ต่อเศรษฐกิจโดยรวม

ถาม : การรถไฟจะแจ้งผลการประมูลช่วงไหน
ตอบ : ผมไม่ทราบ คงต้องขึ้นอยู่กับการรถไฟพิจารณา
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42708
Location: NECTEC

PostPosted: 13/11/2018 3:56 pm    Post subject: Reply with quote

การรถไฟเปิดไทม์ไลน์ ไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน คาดเซ็นสัญญา 31 ม.ค.ปีหน้า
พร็อพเพอร์ตี้
วันจันทร์ที่ 12 พฤศจิกายน 2561 เวลา - 19:38 น.

นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.)​ กล่าวว่า การเปิดให้เอกชนที่ซื้อซองเอกสาร เข้ายื่นซองเสนอราคาโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา)​ ระยะทาง​ 220​ กม. เงินลงทุนรวม 224,544.36 ล้านบาท ในวันนี้ ที่สำนักบริหารโครงการระบบรถไฟฟ้า มักกะสัน ตั้งแต่เวลา 09.00น.- 15.00 น.นั้น ปรากฎว่า มีเอกชนมายื่นซองเสนอราคาจำนวน 2 ราย ได้แก่
1. เวลา 11.11 น. กิจการร่วมค้า บีเอสอาร์ (BSR Joint Venture) ประกอบด้วย บมจ. บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ (ประเทศไทย) , บมจ. ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น (ประเทศไทย) , บมจ.ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง (ประเทศไทย)

และ 2. เวลา 14.03 น. กิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร ประกอบด้วย บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด (ประเทศไทย) , บมจ. อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ (ประเทศไทย)​ , China Railway Construction Corporation Limited (สาธารณรัฐประชาชนจีน) , บมจ. ช.การช่าง (ประเทศไทย) , บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (ประเทศไทย)



หลังจากนี้ ในวันพรุ่งนี้ (13 พ.ย.) จะทำการเปิดซองคุณสมบัติของทั้ง 2 บริษัท เพื่อตรวจสอบ จะใช้เวลาประมาณ 1 สัปดาห์ (13-19 พ.ย.) แล้วจะประกาศชื่อผู้ที่ผ่านการคัดเลือกในซองนี้ ส่วนซองที่ 2 คุณสมบัติด้านเทคนิค จะใช้เวลาตรวจสอบประมาณ 3 สัปดาห์ (20 พ.ย.-11 ธ.ค.) แล้วจึงประกาศผล จากนั้นจะตรวจสอบซองที่ 3 ข้อเสนอด้านการเงิน จะใช้เวลาพิจารณาอีก 6 วัน (12 – 17 ธ.ค.) แล้วจะมีการเจรจาต่อรองเงื่อนไขกับผู้ที่ผ่านการพิจารณา (18 ธ.ค.2561-1 ม.ค. 2562) จากนั้นจะส่งร่างสัญญาให้อัยการสูงสุดตรวจสอบ ใช้เวลาประมาณ 2 สัปดาห์ (2-14 ม.ค. 2562)

เมื่ออัยการสูงสุดตรวจสอบเสร็จเรียบร้อยแล้ว จะนำเสนอผลการคัดเลือกต่อคณะกรรมการนโยบายเขต พัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) เพื่อนำเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติในช่วงกลางเดือน ม.ค.2562 และคาดว่าจะลงนามในสัญญาได้ประมาณวันที่ 31 ม.ค. 2562

“ผู้ที่ชนะคือ ผู้ที่เสนอให้รัฐอุดหนุนการก่อสร้างน้อยที่สุด โดยกรอบที่รัฐบาลอนุมัติให้ร่วมทุนได้สูงสุดอยู่ที่ 119,425 ล้าน บาท ใครที่ให้รัฐออกเงินได้น้อยที่สุดก็ชนะไป”

ส่วนการพิจารณารายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) เป็นกระบวนการภายหลังที่เอกชนที่ผ่านการพิจารณาจะต้องไปทำให้ผ่าน ก่อนเริ่มกระบวนการก่อสร้าง ไม่ส่งผลต่อการลงนามในสัญญา

หากว่ามีผู้ผ่านคุณสมบัติเพียงรายเดียว จะต้องหารือกับคณะกรรมการคัดเลือกก่อน เพื่อหารือว่าจะทำอบ่างไรต่อ โดยในทีโออาร์เปิดให้คณะกรรมการคัดเลือกเป็นผู้พิจารณาได้

ส่วนการหาพันธมิตรมาร่วมลงทุนในภายหลัง ขึ้นอยู่กับผู้ชนะ สามารถร้องขอได้ แต่ต้องมีเหตุผลประกอบ ส่วนการเปลี่ยแปลงสัดส่วนต้องยื่นขอมาที่ ร.ฟ.ท. ก่อน หากจะนำพันธมิตรที่ไม่ได้ซื้อซองมาร่วมสัดส่วนก็ต้องอธิบายเหตุผลมาให้ ร.ฟ.ท.ประกอบการพิจารณา แต่เอกชนที่ผ่านการคัดเลือกก็อาจจะนำพันธมิตรเข้าร่วมในฐานะผู้รับจ้างก็ได้ ไม่จำเป็นต้องร่วมทุน

ขณะที่การส่งมอบพื้นที่ อยู่ระหว่างการรางวัด คาดเดือนก พ.2562 จะแล้วเสร็จและส่งมอบได้ทั้งที่มักกะสันและศรีราชา ส่วน EIA ต้องให้เอกชนที่ผ่านการคัดเลือกออกแบบโครงสร้างของโครงการก่อน แล้วจึงเสนอเป็นรายงาน EIA ต่อไป

//----------------------------------------

มาตามนัด! 2 กลุ่มทุนชิงไฮสปีดเชื่อม3สนามบิน “ซีพี” จับมือITD-CK-จีน ด้านBTSผนึกพันธมิตรเดิม
วันจันทร์ที่ 12 พฤศจิกายน 2561 เวลา - 16:23 น.


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันที่ 12 พฤศจิกายน 2561 ณ สำนักบริหารโครงการระบบรถไฟฟ้า มักกะสัน การรถไฟแห่งประเทศไทย เปิดรับซองเอกสารการคัดเลือกเอกชนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม3สนามบิน ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา มีบริษัทเข้ายื่นซองเอกสารเสนอราคา จำนวน 2 ราย

นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ตามที่การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้เปิดขายเอกสารการคัดเลือกเอกชน โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม3สนามบิน ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา ไปเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน-9 กรกฎาคม 2561 ซึ่งมีบริษัทที่ให้ความสนใจเข้าซื้อเอกสารการคัดเลือกเอกชนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม3สนามบิน จำนวน 31 ราย หลังจากนั้นได้จัดให้มีการประชุมชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจไปเมื่อวันที่ 23-24 กรกฎาคม 2561 และกำหนดรับซองข้อเสนอราคาในวันนี้ ซึ่งมีกลุ่มบริษัทเข้ายื่นข้อเสนอ จำนวน 2 ราย ประกอบด้วย





1.กิจการร่วมค้า บีเอสอาร์ (BSR Joint Venture) ประกอบด้วย บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) (ประเทศไทย), บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) (ประเทศไทย), บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) (ประเทศไทย)

2.กิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร ประกอบด้วย บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด (ประเทศไทย), บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน), China Railway Construction Corporation Limited (สาธารณรัฐประชาชนจีน), บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) (ประเทศไทย), บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน)



สำหรับเอกสารประกอบการยื่นซอง คือ หลักประกันซองพร้อมกับซองข้อเสนอ มูลค่า 2,000 ล้านบาท, หนังสือมอบอำนาจ (เอกสารความเป็นตัวตนของผู้ยื่น), รายการเอกสารที่บรรจุในซอง (List รายการเอกสาร) ที่ไม่ปิดผนึก และใบเสร็จรับเงินซื้อซองของผู้ยื่นข้อเสนอ อีกทั้ง ต้องชำระค่าธรรมเนียมการประเมินข้อเสนอให้แก่การรถไฟฯ เป็นจำนวนเงิน 2 ล้านบาท

และผู้ที่ยื่นเสนอผ่านการประเมินข้อเสนอจะต้องวางหลักประกันสัญญาที่ออกโดยธนาคารให้กับการรถไฟฯ ในวันที่เข้าทำสัญญาร่วมทุนเป็นมูลค่า 4,500 ล้านบาท เพื่อเป็นหลักประกันการปฏิบัติตามสัญญาร่วมลงทุนของเอกชนคู่สัญญา


Last edited by Wisarut on 13/11/2018 10:35 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44519
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 13/11/2018 8:01 pm    Post subject: Reply with quote

โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน
พื้นที่โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน
ตลอดแนวโครงการฯ ตั้งแต่สนามบินดอนเมืองถึงสนามบินอู่ตะเภา

แผนที่ของโครงการฯ ที่ขอกำหนดเป็นพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก เพิ่มเติม

จัดทำโดย บริษัท เอเชี่ยน เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแต้นส์ จำกัด
บริษัท ทีม คอนซัลติ้ง เอนจิเนียริ่ง แมนเนจเมนท์ จำกัด
สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Arrow http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/E/286/T_0016.PDF
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42708
Location: NECTEC

PostPosted: 14/11/2018 10:17 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน
พื้นที่โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน
ตลอดแนวโครงการฯ ตั้งแต่สนามบินดอนเมืองถึงสนามบินอู่ตะเภา

แผนที่ของโครงการฯ ที่ขอกำหนดเป็นพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก เพิ่มเติม

จัดทำโดย บริษัท เอเชี่ยน เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแต้นส์ จำกัด
บริษัท ทีม คอนซัลติ้ง เอนจิเนียริ่ง แมนเนจเมนท์ จำกัด
สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Arrow http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/E/286/T_0016.PDF


เปิดเต็มๆ’แผนที่-พิกัด-พื้นที่’เส้นทางรถไฟเชื่อม3สนามบิน

13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 เวลา 16:45 น.


13 พ.ย.2561 - นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี)ได้ออกประกาศสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก เรื่อง เขตส่งเสริม : รถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบินลงในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 135 ตอนพิเศษ 286 ง แล้ว

ทั้งนี้ประกาศระบุว่า ตามที่คณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกมีมติในการประชุม ครั้งที่ 2/2561 เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2561 กำหนดให้พื้นที่โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน (สนามบินดอนเมือง สนามบินสุวรรณภูมิ และสนามบินอู่ตะเภา) ซึ่งครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของกรุงเทพมหานคร จังหวัดสมุทรปราการ และระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ตามแผนผังประกอบโครงการที่สำนักงานเพื่อการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกเสนอ เป็นเขตส่งเสริมตามข้อ 3 (4) ของคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 2/2560 เรื่อง การพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ลงวันที่ 17 มกราคม 2560 และให้ดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบินตามที่สำนักงานเพื่อการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกเสนอ และต่อมา คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2561 เห็นชอบให้ดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบินในเขตส่งเสริมตามมติคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก โดยที่ข้อมูลเกี่ยวกับพื้นที่ของเขตส่งเสริมนั้นเป็นข้อมูลข่าวสารของทางราชการ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก จึงขอประกาศข้อมูลเกี่ยวกับพื้นที่ของเขตส่งเสริมดังกล่าวมาเพื่อทราบโดยทั่วกัน

สำหรับประกาศดังกล่าวมีทั้งสิ้น 75 หน้า ซึ่งได้เผยภาพพื้นที่รถไฟเชื่อม 3 สนามบินอย่างละเอียด โดยเฉพาะพื้นที่ที่รถไฟจะผ่าน พร้อมทั้งระบุพิกัดต่างๆ ด้วย
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42708
Location: NECTEC

PostPosted: 15/11/2018 11:12 am    Post subject: Reply with quote

ศึกชิงรถไฟความเร็วสูงอู่ตะเภา
โดย ลม เปลี่ยนทิศ
15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 เวลา 05:01 น.

การประมูล รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ–อู่ตะเภา เริ่มขึ้นเมื่อวันจันทร์ ถือเป็นการประมูลรถไฟความเร็วสูงครั้งแรกในไทย (ไม่นับ รถไฟความเร็วสูงไทย-จีน 179,000 ล้านบาท ที่รัฐบาลไทยสนองรัฐบาลจีนโดยไม่มีการประมูล) แต่มีผู้เข้ายื่นประมูลเพียง 2 กลุ่มเท่านั้น คือ กลุ่มซีพี ของ เจ้าสัวธนินท์ เจียรวนนท์ และ กลุ่มบีทีเอส ของ เจ้าสัวคีรี กาญจนพาสน์ ผมดูหุ้นส่วนสองฝ่ายแล้ว กลุ่มซีพี ดูบิ๊กเบิ้มใหญ่กว่า กลุ่มบีทีเอส เยอะทีเดียว

ใครพลาดก็ต้องไปรอประมูลสาย กรุงเทพฯ-หัวหิน กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ในอนาคต

ตอนที่รัฐบาลเริ่มคิด โครงการรถไฟความเร็วสูง เมื่อ 2-3 ปีก่อน มีข่าวว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ทาบทามให้ เจ้าสัวธนินท์ เจียรวนนท์ กลุ่มซีพี ทำรถไฟความเร็วสูงสายตะวันออก กรุงเทพฯ-อู่ตะเภา และทาบทาม เจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดี กลุ่มไทยเบฟ ทำรถไฟความเร็วสูงสายใต้ กรุงเทพฯ-หัวหิน

แต่ผู้ยื่นซองประมูล รถไฟความเร็วสูง 3 สนามบิน มีเพียง กลุ่มซีพี และ กลุ่มบีทีเอส สองกลุ่มเท่านั้น ไม่มี กลุ่มไทยเบฟ เข้าร่วมด้วย หรือจะรอประมูลสายใต้

คุณศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหารเครือซีพี เปิดเผยว่า โครงการนี้ กลุ่มซีพี ถือหุ้นใหญ่ 70% กลุ่มไชน่า เรลเวย์ คอนสตรัคชั่น (จีน) ถือหุ้น 10% กลุ่มทางด่วนและรถไฟฟ้าบีอีเอ็ม ช.การช่าง ถือหุ้น 15% และ อิตาเลียนไทย ถือหุ้น 5% นอกจากนี้ กลุ่มซีพี ยังมีพันธมิตรใหญ่ที่แข็งแกร่งอีก เช่น CITIC กรุ๊ป บริษัทการเงินยักษ์ใหญ่จีน ไชน่า รีซอสเซส (จีน) ซีเมนส์ (เยอรมัน) ฮุนได (เกาหลีใต้) บริษัทรถไฟอิตาลี JABIC ธนาคารเพื่อความร่วมมือญี่ปุ่น เป็นต้น อิตาลีจะรับผิดชอบเรื่องการเดินรถ การบำรุงรักษา CRRC จีน รับผิดชอบการก่อสร้างรางและระบบ ตัวรถไฟอาจเป็นซีเมนส์และฮุนได

กลุ่มบีทีเอส คุณสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการ บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้ง เปิดเผยว่า บีทีเอส ถือหุ้น 60% ซิโน–ไทย ถือหุ้น 20% บริษัทผลิตไฟฟ้าราชบุรี ถือหุ้น 20%

เป็นที่น่าสังเกตอย่างยิ่งก็คือ ไม่มีบริษัทจาก จีน ญี่ปุ่น อิตาลี เยอรมัน เกาหลีใต้ ฝรั่งเศส ที่เป็น เจ้าของเทคโนโลยีรถไฟความเร็วสูง เข้าร่วมประมูลแม้แต่รายเดียว

ผมคิดว่าทุกบริษัทคงหวังที่จะขายรถไฟความเร็วสูงให้ไทยมากกว่าจะร่วมเสี่ยงด้วย ผมก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่า รัฐบาลไทยจะเลือกรถไฟความเร็วสูง ที่เป็น “ระบบเปิด” ซื้อหัวรถจักรและขบวนรถจากบริษัทไหนก็ได้ในอนาคต ไม่ต้องผูกขาดอยู่กับบริษัทที่ขายให้ครั้งแรกเพียงรายเดียว เหมือน รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ ที่ขาดทุนยับเยิน การใช้ “ระบบเปิด” จะช่วยให้การดูแลรักษาและการซื้อขบวนรถใหม่ในอนาคตมีราคาถูกลงอย่างมาก

คุณวรวุฒิ มาลา รักษาการผู้ว่าการการรถไฟฯ เปิดเผยขั้นตอนต่อจากนี้ว่า วันที่ 13-19 พฤศจิกายน จะเปิดซองที่ 1 เรื่องคุณสมบัติผู้ประมูล วันที่ 20 พฤศจิกายน-11 ธันวาคม จะเปิดซองที่ 2 เรื่องเทคนิค วันที่ 12-17 ธันวาคม จะเปิดซองที่ 3 เรื่องราคา และ สรุปผลการคัดเลือกเบื้องต้นวันที่ 18 ธันวาคม-1 มกราคม คาดว่าจะเสนอ ครม.ได้ในวันที่ 28–31 มกราคม 2562

ถือเป็น การประมูลที่รวดเร็วมาก ทั้งที่ มีวงเงินสูงกว่า 224,000 ล้านบาท มีอายุโครงการนานถึง 50 ปี เร็วกว่าการประมูลซื้อรถเมล์สี่ร้อยกว่าคันหลายปีเลยทีเดียว

มีคนสงสัยว่า ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา มีระยะทาง 220 กม. ต้องหยุดอีก 9 สถานี ทำไมต้องใช้รถไฟความเร็วสูง 250 กม.ต่อชั่วโมง ก็มีคำตอบจาก สำนักงานอีอีซี ว่า ช่วงดอนเมือง-สุวรรณภูมิ จะวิ่งด้วยความเร็วเท่าแอร์พอร์ตลิงก์ 160 กม.ต่อชั่วโมง แต่ช่วง สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา จะวิ่งด้วยความเร็ว 250 กม.ต่อชั่วโมง ผมเชื่อว่าวิ่งไม่ถึงแน่นอน เพราะต้องจอดอีก 5 สถานี แต่ค่าโดยสารถูกเหลือเชื่อ มักกะสัน-พัทยา 270 บาท มักกะสัน-อู่ตะเภา 330 บาท นั่งรถไฟความเร็วสูงไปนอนเล่นพัทยาได้ทุกวันเลย.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42708
Location: NECTEC

PostPosted: 15/11/2018 6:02 pm    Post subject: Reply with quote

คลังยังไม่กู้เงินจีน
วันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 เวลา 07:18 น.
คลังยืนยันไม่มีการสัญญาว่าจะกู้เงินจากจีนลงทุนรถไฟความเร็วสูงเส้นกรุงเทพฯ-หนองคาย
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 292, 293, 294 ... 545, 546, 547  Next
Page 293 of 547

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©