Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311235
ทั่วไป:13181158
ทั้งหมด:13492393
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม(บางซื่อ-รังสิต และ บางซื่อ-หัวลำโพง)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม(บางซื่อ-รังสิต และ บางซื่อ-หัวลำโพง)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 60, 61, 62 ... 147, 148, 149  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42625
Location: NECTEC

PostPosted: 20/11/2018 8:21 pm    Post subject: Reply with quote

ยันไม่ล้ม รถไฟสีแดง”หัวลำโพง – มหาชัย” เร่งปรับแบบ ลอดเจ้าพระยา
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 20 พฤศจิกายน 2561 20:01

“อาคม”ยืนยัน รฟท.ไม่ล้มแผนระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดงเข้ม ช่วงหัวลำโพง – มหาชัย”ชี้เป็นแนวเส้นทางในแผนแม่บทรถไฟฟ้า เขื่อมต่อสีเขียว,ม่วง,น้ำเงิน โดยเตรียมปรับแบบเป็นอุโมงค์ลอดเจ้าพระยา และจ้างทบทวนEIA ปี63

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปืดเผยว่า ตามที่ปรากฎเป็นข่าวว่า การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) จะยกเลิกโครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดงเข้ม ช่วงหัวลำโพง – มหาชัย และได้เผยแพร่ต่อสาธารณชนนั้น กระทรวงคมนาคมได้รับการยืนยันจาก นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ว่ารฟท. จะดำเนินโครงการดังกล่าวต่อไป เนื่องจากเป็นโครงการภายใต้แผนงานระบบขนส่งมวลชนทางราง ระยะที่ 1

โดยโครงการปัจจุบันได้ดำเนินการศึกษาออกแบบรายละเอียดโครงการไว้แล้วตั้งแต่ปี 2550 แต่ยังคงอยู่ระหว่างการปรับแก้ไข ซึ่งคณะกรรมการผู้ชำนาญการ ภายใต้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ที่ได้มีมติให้ปรับแบบการก่อสร้างโดยเฉพาะช่วงข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา

โครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดงเข้ม ช่วงหัวลำโพง – มหาชัย เป็นส่วนหนึ่งของโครงการภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงการรถไฟฟ้า 10 เส้นทาง ซึ่งสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ได้เคยศึกษาความเหมาะสมไว้ โดยเสนอให้ทำการปรับปรุงทางรถไฟสายแม่กลองเดิม จากสถานีหัวลำโพงไปยังอำเภอมหาชัยจังหวัดสมุทรสาคร ระยะทางในช่วงนี้ 38 กม. และและจะสามารถเชื่อมต่อไปยังจังหวัดสมุทรสงครามที่สถานีปากท่อในระยะต่อไป

ในการศึกษาฯ ของ สนข. ได้แบ่งความต้องการออกเป็น 2 ส่วน คือ แผนการพัฒนาทางรถไฟให้เชื่อมต่ออย่างสมบูรณ์จากหัวลำโพงถึงมหาชัยก่อน และอีกส่วนหนึ่ง คือ การพัฒนาศูนย์คมนาคมขนส่งตากสินเพื่อเป็นการขยายเขตการให้บริการรถไฟชานเมืองและระบบขนส่งมวลชน

โครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดงเข้ม ช่วงหัวลำโพง – มหาชัย จะเป็นรถไฟฟ้าชานเมืองที่มีรูปแบบ (Commuter Train) มีระบบจ่ายไฟเหนือหัว (Catenary) สามารถทำความเร็วได้สูงสุด 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งเร็วกว่าระบบจ่ายไฟรางสาม (Third Rail) ที่ใช้กันอยู่ในโครงข่ายของรถไฟฟ้าในเขตเมืองที่ทำความเร็วสูงสุดได้แค่ 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จึงมีความเหมาะสมที่จะเป็นรถไฟชานเมือง และสามารถต่อระยะทางให้ยาวขึ้นได้

ทั้งนี้ กระทรวงคมนาคมขอยืนยันว่า โครงการดังกล่าวยังอยู่ในแผนงานของ รฟท. และจะดำเนินการของบประมาณประจำปี 2563 จ้างที่ปรึกษาทบทวนแบบรายละเอียดและจัดทำเอกสารประกวดราคา วงเงิน 90 ล้านบาท เพื่อดำเนินการออกแบบการก่อสร้างใหม่ในส่วนเฉพาะที่มีปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม (EIA)

แต่อาจจะปรับแผนการดำเนินงานโดยออกแบบเป็นอุโมงค์ลอดแม่น้ำเจ้าพระยาเชื่อมต่อระหว่างหัวลำโพง - วงเวียนใหญ่ก่อน และก่อสร้างเป็นทางวิ่งระดับดินและยกระดับตั้งแต่วงเวียนใหญ่ - มหาชัย

โครงการดังกล่าวจะเป็นประโยชน์อย่างมากในการเชื่อมต่อโครงข่ายโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงสะพานตากสิน - บางหว้า โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน - ราษฎร์บูรณะ ตลอดจนบริเวณวงเวียนใหญ่ และเชื่อมต่อโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินที่แยกท่าพระได้ อันเป็นผลทำให้มีโครงข่ายที่สมบูรณ์

ดังนั้น กระทรวงคมนาคมจึงขอยืนยันจะดำเนินโครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดงเข้ม ช่วงหัวลำโพง – มหาชัย ให้เกิดเป็นรูปธรรมโดยเร็วต่อไป

//------------------------------------------------------------

คมนาคมกลับลำ! จ้าง 90 ล้านออกแบบใหม่ รถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม “หัวลำโพง-มหาชัย” ลอดอุโมงค์เจ้าพระยา
เรียบเรียงโดย กองบรรณาธิการ
สาครออนไลน์
เผยแพร่: 20 พฤศจิกายน 2561

รมว.คมนาคม ออกมาเคลียร์เอง ยืนยันจะทำโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม หัวลำโพง-บางบอน-มหาชัยต่อไป หลังรักษาการผู้ว่าการรถไฟฯ เคยกล่าวว่าจะยกเลิกศึกษา จนคนสมุทรสาครโวย “อาคม” ระบุ เตรียมของบฯ 90 ล้าน ออกแบบใหม่ในปีงบประมาณ 2563 หลังอีไอเอไม่ผ่าน เล็งช่วงหัวลำโพง ใช้วิธีลอดอุโมงค์ใต้แม่น้ำเจ้าพระยาถึงวงเวียนใหญ่

จากกรณีที่นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ให้สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 13 พ.ย. ว่า ได้ยกเลิกศึกษาโครงการก่อสร้างส่วนต่อขยาย รถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม ช่วงหัวลำโพง-บางบอน-มหาชัย ระยะทาง 38 กิโลเมตร เนื่องจากผลการทำประชาพิจารณ์ประชาชนในพื้นที่ พบว่าประชาชนไม่ตอบสนองและคัดค้านการก่อสร้าง โดยเฉพาะประเด็นเรื่องเวนคืนที่ดิน แนวเส้นทางต้องไปก่อสร้างบริเวณชุมชน ทำให้โครงการดังกล่าวจัดอยู่ในโครงการที่ไม่เร่งด่วนในการลงทุน ทำให้ชาวจังหวัดสมุทรสาครที่รอคอยโครงการนี้มานานกว่า 10 ปี แสดงความไม่พอใจจำนวนมาก

ล่าสุด เมื่อวันที่ 20 พ.ย. นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม เปิดเผยว่า ได้รับการยืนยันจากรักษาการผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย ว่าจะดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดงเข้มต่อไป โดยในปีงบประมาณ 2563 จ้างที่ปรึกษาทบทวนแบบรายละเอียดและจัดทำเอกสารประกวดราคา วงเงิน 90 ล้านบาท เพื่อดำเนินการออกแบบการก่อสร้างใหม่ในส่วนเฉพาะที่มีปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) อาจจะปรับแผนการดำเนินงานโดยออกแบบเป็นอุโมงค์ลอดแม่น้ำเจ้าพระยาเชื่อมต่อระหว่างหัวลำโพง ถึงวงเวียนใหญ่ก่อน จากนั้นจะก่อสร้างเป็นทางวิ่งระดับดินและยกระดับ ตั้งแต่วงเวียนใหญ่ ถึงมหาชัย

โครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดงเข้ม ช่วงหัวลำโพง – มหาชัย เป็นส่วนหนึ่งของโครงการภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงการรถไฟฟ้า 10 เส้นทาง ซึ่งสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ได้เคยศึกษาความเหมาะสมไว้ โดยเสนอให้ทำการปรับปรุงทางรถไฟสายแม่กลองเดิม จากสถานีหัวลำโพงไปยัง ต.มหาชัย อ.เมืองฯ จ.สมุทรสาคร ระยะทาง 38 กิโลเมตร และจะสามารถเชื่อมต่อไปยังจังหวัดสมุทรสงครามที่สถานีแม่กลองในระยะต่อไป ซึ่งในการศึกษา ของ สนข. ได้แบ่งความต้องการออกเป็น 2 ส่วน คือ แผนการพัฒนาทางรถไฟให้เชื่อมต่ออย่างสมบูรณ์จากหัวลำโพง ถึงมหาชัยก่อน อีกส่วนหนึ่ง คือ การพัฒนาศูนย์คมนาคมขนส่งตากสินเพื่อเป็นการขยายเขตการให้บริการรถไฟชานเมืองและระบบขนส่งมวลชน

โดยระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดงเข้ม ช่วงหัวลำโพง – มหาชัย จะเป็นรถไฟฟ้าชานเมืองที่มีรูปแบบ (Commuter Train) มีระบบจ่ายไฟเหนือหัว (Catenary) สามารถทำความเร็วได้สูงสุด 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งเร็วกว่าระบบจ่ายไฟรางสาม (Third Rail) ที่ใช้กันอยู่ในโครงข่ายของรถไฟฟ้าในเขตเมืองที่ทำความเร็วสูงสุดได้แค่ 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จึงมีความเหมาะสมที่จะเป็นรถไฟชานเมือง และสามารถต่อระยะทางให้ยาวขึ้นได้ ทั้งนี้ โครงการดังกล่าว อยู่ภายใต้แผนงานระบบขนส่งมวลชนทางราง ระยะที่ 1 ปัจจุบันได้ดำเนินการศึกษาออกแบบรายละเอียดโครงการไว้แล้วตั้งแต่ปี 2550 แต่ยังคงอยู่ระหว่างการปรับแก้ไข ซึ่งคณะกรรมการผู้ชำนาญการ ภายใต้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติได้มีมติให้ปรับแบบการก่อสร้างโดยเฉพาะช่วงข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา

“โครงการดังกล่าวจะเป็นประโยชน์อย่างมากในการเชื่อมต่อโครงข่ายโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงสะพานตากสิน – บางหว้า โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน – ราษฎร์บูรณะ ตลอดจนบริเวณวงเวียนใหญ่ และเชื่อมต่อโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินที่แยกท่าพระได้ อันเป็นผลทำให้มีโครงข่ายที่สมบูรณ์ ดังนั้น กระทรวงคมนาคมจึงขอยืนยันจะดำเนินโครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดงเข้ม ช่วงหัวลำโพง – มหาชัย ให้เกิดเป็นรูปธรรมโดยเร็วต่อไป” นายอาคม กล่าว
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42625
Location: NECTEC

PostPosted: 21/11/2018 9:32 pm    Post subject: Reply with quote

"อาคม"ชี้แจง รฟท.ไม่ล้มแผนสร้างรถไฟฟ้าสีแดงเข้ม
21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 เวลา 05:59 น.



"อาคม"ยืนยัน รฟท.เดินหน้าก่อสร้างโครงการไฟชานเมืองสายสีแดงเข้ม ช่วงหัวลำโพง – มหาชัย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการรถไฟฟ้า10เส้นทาง เล็งของบปี63 จ้างที่ปรึกษาดูอีไอเอบริเวณอุโมงค์ลอดแม่น้ำเจ้าพระยา


นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม เปิดเผยถึงกรณีที่มีข่าวยกเลิกโครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดงเข้ม ช่วงหัวลำโพง – มหาชัย ว่าได้รับการยืนยันจาก นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทยจะดำเนินโครงการดังกล่าวต่อไป เนื่องจากเป็นโครงการภายใต้แผนงานระบบขนส่งมวลชนทางราง ระยะที่ 1 โดยโครงการปัจจุบันได้ดำเนินการศึกษาออกแบบรายละเอียดโครงการไว้แล้วตั้งแต่ปี 2550 แต่ยังคงอยู่ระหว่างการปรับแก้ไข ซึ่งคณะกรรมการผู้ชำนาญการ ภายใต้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติได้มีมติให้ปรับแบบการก่อสร้างโดยเฉพาะช่วงข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา

สำหรับโครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดงเข้ม ช่วงหัวลำโพง – มหาชัย เป็นส่วนหนึ่งของโครงการภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงการรถไฟฟ้า 10 เส้นทาง ซึ่งสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ได้เคยศึกษาความเหมาะสมไว้ โดยเสนอให้ทำการปรับปรุงทางรถไฟสายแม่กลองเดิม จากสถานีหัวลำโพงไปยังอำเภอมหาชัยจังหวัดสมุทรสาคร ระยะทางในช่วงนี้ 38กิโลเมตร และและจะสามารถเชื่อมต่อไปยังจังหวัดสมุทรสงครามที่สถานีปากท่อในระยะต่อไป

ทั้งนี้ในการศึกษาฯ ของ สนข. ได้แบ่งความต้องการออกเป็น 2 ส่วน คือ แผนการพัฒนาทางรถไฟให้เชื่อมต่ออย่างสมบูรณ์จากหัวลำโพงถึงมหาชัยก่อน และอีกส่วนหนึ่ง คือ การพัฒนาศูนย์คมนาคมขนส่งตากสินเพื่อเป็นการขยายเขตการให้บริการรถไฟชานเมืองและระบบขนส่งมวลชน โครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดงเข้ม ช่วงหัวลำโพง – มหาชัย จะเป็นรถไฟฟ้าชานเมืองที่มีรูปแบบ (Commuter Train) มีระบบจ่ายไฟเหนือหัว (Catenary) สามารถทำความเร็วได้สูงสุด 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งเร็วกว่าระบบจ่ายไฟรางสาม (Third Rail) ที่ใช้กันอยู่ในโครงข่ายของรถไฟฟ้าในเขตเมืองที่ทำความเร็วสูงสุดได้แค่ 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมงจึงมีความเหมาะสมที่จะเป็นรถไฟชานเมือง และสามารถต่อระยะทางให้ยาวขึ้นได้

อย่างไรก็ตามยืนยันว่าโครงการดังกล่าวยังอยู่ในแผนงานของ รฟท. และจะดำเนินการของบประมาณประจำปี 2563 จ้างที่ปรึกษาทบทวนแบบรายละเอียดและจัดทำเอกสารประกวดราคา วงเงิน 90 ล้านบาท เพื่อดำเนินการออกแบบการก่อสร้างใหม่ในส่วนเฉพาะที่มีปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) แต่อาจจะปรับแผนการดำเนินงานโดยออกแบบเป็นอุโมงค์ลอดแม่น้ำเจ้าพระยาเชื่อมต่อระหว่างหัวลำโพง - วงเวียนใหญ่ก่อน และก่อสร้างเป็นทางวิ่งระดับดินและยกระดับตั้งแต่วงเวียนใหญ่ - มหาชัย โครงการดังกล่าวจะเป็นประโยชน์อย่างมากในการเชื่อมต่อโครงข่ายโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงสะพานตากสิน - บางหว้า โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน - ราษฎร์บูรณะ ตลอดจนบริเวณวงเวียนใหญ่ และเชื่อมต่อโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินที่แยกท่าพระได้ อันเป็นผลทำให้มีโครงข่ายที่สมบูรณ์

//--------------------------------

เปิดประเด็น สถานีรถไฟสายแดง บนเส้นมหาชัยแถว จุดตัดกาญจนาภิเษกแถวบางบอน
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=569444903493993&id=491766874595130&__tn__=C-R
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42625
Location: NECTEC

PostPosted: 22/11/2018 5:48 pm    Post subject: Reply with quote

รฟท.เร่งจัดระบบฟีดเดอร์เชื่อมสายสีแดง –เตรียมปิดหัวลำโพงใช้สถานีกลางบางซื่อ
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันที่ 22 พฤศจิกายน 2561 เวลา 17:04
ปรับปรุง: วันที่ 22 พฤศจิกายน 2561 เวลา 17:58
รถไฟอัดฉีด 6.86 หมื่นล้าน ผุดต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีแดง พร้อมเชื่อมช่วงที่ขาดตอน
วันที่ 22 พฤศจิกายน 251 เวลา 16:41 น.

ชงครม.เดือนม.ค.นี้ เดินหน้ารถไฟส่วนต่อขยายสายสีแดง
วันที่ 22 พฤศจิกายน 2561 เวลา 14:16 น.

เดินหน้าขยายรถไฟฟ้าสายสีแดง 55 กิโลเมตร
วันที่ 22 พฤศจิกายน 2561



รฟท.เร่งสายสีแดงต่อขยาย 3 เส้นทาง”บางซื่อ-ตลิ่งชัน-ศาลายา” 2.4 หมื่นล.คาดประมูล 62 เปิดใช้ปี 65 ช่วยเพิ่มผู้โดยสารสีแดงทั้งระบบ ส่วน”บางซื่อ-รังสิต,บางซื่อ-ตลิ่งชัน”เปิด ม.ค. 64 คาดผู้โดยสาร 5 หมื่นคน/วัน ส่วน บ.ลูกสีแดงตั้งในก.พ. 62 ทำคู่มือแผนเดินรถเข้าสถานีกลางบางซื่อเตรียมปิดฉากหัวลำโพง

นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า การก่อสร้างโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ช่วงบางซื่อ – รังสิต ณ เดือนต.ค. 2561

สัญญาที่ 1 สถานีกลางบางซื่อและศูนย์ซ่อมบำรุง (สถานีกลางบางซื่อ และสถานีจตุจักร ทางรถไฟยกระดับ ศูนย์ซ่อมบำรุงรถไฟฟ้าชานเมือง ศูนย์ซ่อมบำรุงรถไฟทางไกล ตลอดจนถนนเลียบทางรถไฟและถนนทางข้าม) คืบหน้า 77.37%
สัญญาที่ 2 งานโยธาสำหรับทางรถไฟ ช่วงบางซื่อ-รังสิต ประกอบด้วย ทางรถไฟยกระดับและทางรถไฟระดับดิน 8 สถานี ถนนเลียบทางรถไฟ สะพานกลับรถ สะพานข้ามทางรถไฟ และระบบระบายน้ำ คืบหน้า 99.44% งานโยธาทั้งหมดแล้วเสร็จในเดือนพ.ย. 2562

สัญญาที่ 3 งานระบบไฟฟ้าและเครื่องกล สำหรับรถไฟช่วงบางซื่อ-รังสิต คืบหน้า 38.24% กำหนดเสร็จกลางปี 2563 ขณะที่ขบวนรถไฟฟ้าสายสีแดงจะทยอยเข้ามาตั้งเดือนเดือน ส.ค. 2562 เพื่อเริ่มทดสอบแบบแยกส่วนก่อน และตั้งแต่เดือนมิ.ย. 2563 จะเข้าสู่การทดสอบระบบทั้งหมดและเปิดเดินรถอย่างเป็นทางการเดือนม.ค. 2564

สำหรับ การจัดตั้ง บริษัทลูกเดินรถไฟสายสีแดง ซึ่งจะอัพเกรด บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท.จำกัด (ผู้บริหารการเดินรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์) โดยเพิ่มขอบเขตงานและทุนจดทะเบียน เป็น 3,000 ล้านบาท นั้น รฟท.ทำรายงานฉบับสมบูรณ์เสร็จแล้วเตรียมรายงานกระทรวงคมนาคมในต้นเดือนธ.ค.นี้ จากนั้นจะเสนอกระทรวงการคลัง สคร.เพื่อพิจารณาอีกครั้ง คาดว่าเดือนก.พ. 2562 จะเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติได้ และเข้าสู่การเตรียมพร้อมถ่ายโอนบุคลากรที่มีประสบการณ์ จากแอร์พอร์ตลิงก์แบบสมัครใจมาที่บริษัทสายสีแดง โดยต้องการพนักงานประมาณ 800 คน และเริ่มอบรมตั้งแต่กลางปี 2562

ทั้งนี้ รฟท.จะจ้างที่ปรึกษาเข้ามาทำแผนปฏิบัติการเดินรถ ซึ่งจะต้องทำคู่มือ แผนเดินรถทั้งหมดของสถานีกลางบางซื่อ และแผนการย้ายขบวนรถดีเซล รถไฟทางไกลทั้งหมดจากสถานีหัวลำโพงมาที่สถานีบางซื่อ โดยสุดท้ายสถานีหัวลำโพงปรับไปเป็นพิพิธภัณฑ์ และเป็นสถานีของรถไฟฟ้าสีน้ำเงินและสีแดง เท่านั้น

โดยคาดว่าผู้โดยสารสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต,บางซื่อ-ตลิ่งชัน ในปีที่เปิดให้บริการ จะมีมากกว่า 50,000 คน/วัน และเพิ่มเป็น 80,000 คน/วัน ใน 2 –5ปี หรือมีรายได้วันละ 2.56 ล้านบาท หรือปีละประมาณ 934.4 ล้านบาท ซึ่งสายสีแดงมีรถ 130 ตู้รองรับสูงสุด 200,000 คน/วัน อย่างไรก็ตาม คาดว่ารฟท. จะเดินรถแบบมีกำไรได้ในปีที่ 11 แต่ทั้งนี้ ผู้โดยสารจะต้องอยู่ที่ระดับไม่ต่ำกว่า วันละ 1.2-1.3 แสนคน

ในขณะที่รฟท.จะเร่งดำเนินการรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ต่อขยาย 3 เส้นทาง ได้แก่
สายสีแดงเข้ม ช่วงรังสิต-มธ.รังสิต ระยะทาง 8.9 กม. วงเงิน 6,570.40 ล้านบาท และ
สายสีแดงอ่อน ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช ระยะทาง 6 กม. วงเงิน 7,500 ล้านบาท และ
ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา ระยะทาง 19.7 กม. วงเงิน 10,671.61 ล้านบาท

ซึ่งบอร์ดสศช.อนุมัติแล้วเตรียมเสนอ ครม. ตามแผน คาดว่าจะเปิดประมูลได้ราวเดือน ม.ค.-มี.ค. 2562 และคาดใช้เวลาก่อสร้าง 3-4 ปี และเปิดให้บริการได้ในปี 65 ซึ่งส่วนต่อขยายจะช่วยเพิ่มผู้โดยสารของสายสีแดงได้เร็วขึ้น

นอกจากนี้ รฟท. ยังเตรียมที่จะนำเสนอโครงการต่อขยายสายสีแดงในช่วงที่ขาดตอน หรือ “มิสซิ่งลิงก์” คือ ช่วงบางซื่อ-พญาไท-มักกะสัน-หัวหมาก และ ช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง รวม ระยะทาง 25.9 กิโลเมตร วงเงินลงทุนรวม 4.44 หมื่นล้านบาท เสนอ ให้บอร์ดรฟท. พิจารณาอนุมัติในวันที่ 20 ธ.ค. นี้ ด้วย โดยหากบอร์ดเห็นชอบรฟท. จะเสนอเรื่องให้กระทรวงคมนาคมพิจารณา และเสนอให้ครม. รับทราบเพื่อเริ่มดำเนินโครงการต่อไป

“รฟท.ต้องทำแผนการตลาดและจัดระบบขนส่ง ฟีดเดอร์หรือจุดจอดรถ ให้เข้าสู่สถานีสายสีแดงให้มีความสะดวก โดยเฉพาะจุดที่ไม่เคยมีสถานีรถไฟ เช่น จตุจักร,วัดเสมียนนารี ,ทุ่งสองห้อง,การเคหะ,หลัก โดยสถานีรังสิตจุดปลายทาง สนข.ได้หารือกับทาง จ.ปทุมธานี และศึกษาระบบฟีดเดอร์ พบว่าโมโนเรลราคาสูง ควรเป็นBRT ซึ่งจะหาข้อสรุปกันต่อไป ส่วนสถานีหลักหก จะต้องประสานกับเอกชนรอบๆ เพื่อประสานการใช้พื้นที่เพื่อทำระบบขนส่งเข้าสถานี ส่วนสถานีหลักสี่ ที่ตัดกับรถไฟฟ้าสายสีชมพูแต่สถานีห่างกันกว่า 100 เมตร โดยมี ถ.วิภาวดีขวาง ดังนั้นต้องหารือกับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) เพื่อทำทางเชื่อมต่อไป”นายวรวุฒิกล่าว
https://www.youtube.com/watch?v=3TaJuG5xDxo


Last edited by Wisarut on 23/11/2018 10:49 am; edited 4 times in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42625
Location: NECTEC

PostPosted: 22/11/2018 6:17 pm    Post subject: Reply with quote


ความก้าวหน้าสายสีแดง:
รฟท. พาสื่อฯ เช็คความก้าวหน้ารถไฟชานเมืองสายสีแดงเตรียมพร้อมสู่การเป็นศูนย์กลางคมนาคมทางรางที่ใหญ่และทันสมัยที่สุดในอาเซียน
*************
วันนี้ ( 22 พ.ย. 61) เวลา 11.00 น. ณ สำนักงานโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ช่วงบางซื่อ – รังสิตนายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย พร้อมด้วยผู้บริหารการรถไฟฯ นำคณะสื่อมวลชนลงพื้นที่เยี่ยมชมความก้าวหน้าการก่อสร้าง โดยมีนายจุลเทพ จิตะสมบัติ วิศวกรอำนวยการศูนย์โครงการปรับปรุงทาง ฝ่ายโครงการพิเศษและก่อสร้าง บรรยายความก้าวหน้าการดำเนินงานของโครงการฯ

นายวรวุฒิฯ กล่าวว่า ภาพรวมโครงการในปัจจุบันมีความคืบหน้า ณ วันที่ 25 ตุลาคม 2561 แบ่งตามสัญญา ได้แก่ สัญญาที่ 1 งานโยธาสำหรับสถานีกลางบางซื่อและศูนย์ซ่อมบำรุง ประกอบด้วย สถานีกลางบางซื่อ และสถานีจตุจักร ทางรถไฟยกระดับ ศูนย์ซ่อมบำรุงรถไฟฟ้าชานเมือง ศูนย์ซ่อมบำรุงรถไฟทางไกล ตลอดจนถนนเลียบทางรถไฟและถนนทางข้าม ซึ่งมีความคืบหน้ารวมคิดเป็นร้อยละ 77.37 สัญญาที่ 2 งานโยธาสำหรับทางรถไฟ ช่วงบางซื่อ-รังสิต ประกอบด้วย ทางรถไฟยกระดับและทางรถไฟระดับดิน 8 สถานี ถนนเลียบทางรถไฟ สะพานกลับรถ สะพานข้ามทางรถไฟ และระบบระบายน้ำ มีความคืบหน้ารวมคิดเป็นร้อยละ 99.44 สัญญาที่ 3 งานระบบไฟฟ้าและเครื่องกล สำหรับรถไฟช่วงบางซื่อ-รังสิต มีความก้าวหน้าของงานที่ดำเนินการแล้วเสร็จคิดเป็นร้อยละ 38.24 จากนั้นนำคณะสื่อมวลชนไปชมการก่อสร้างสถานีกลางบางซื่อ ซึ่งออกแบบให้รองรับและเชื่อมต่อการคมนาคมได้อย่างหลากหลาย เป็นศูนย์กลางระบบรางอย่างสมบูรณ์แบบ และยังนำหลักการพัฒนาพื้นที่โดยรอบศูนย์กลางคมนาคม (TOD) มาใช้เป็นต้นแบบในการพัฒนาพื้นที่ โดยมีรูปแบบการก่อสร้างแบ่งเป็นอาคาร 3 ชั้น ประกอบด้วย ชั้นใต้ดิน เป็นพื้นที่สำหรับจอดรถประมาณ 1,700 คัน โดยมีโถงเชื่อมต่อจากพื้นที่จอดรถขึ้นไปยังชั้นที่ 1 ชั้นที่ 1 เป็นพื้นที่จำหน่ายตั๋ว มีโถงพักคอยและรับผู้โดยสาร รวมถึงพื้นที่พาณิชยกรรม และร้านค้า สามารถเชื่อมต่อกับ MRT ชั้นที่ 2 เป็นชานชาลาสำหรับรองรับรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) มี 4 ชานชาลา และรถไฟทางไกล มี 8 ชานชาลา ชั้นที่ 3 เป็นชานชาลาสำหรับรองรับรถไฟขนาดรางมาตรฐาน 1.435 เมตร เชื่อมภูมิภาค มีทั้งหมด 10 ชานชาลา แบ่งเป็น รถไฟสายใต้ 4 ชานชาลา รถไฟสายเหนือ และสายอีสานรวม 6 ชานชาลา

นอกจากนี้ ยังสามารถรองรับรถไฟความเร็วสูงในอนาคตและรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยาน ได้อีก 2 ชานชาลา และมีทางเดินเชื่อมต่อกับสถานีบางซื่อของรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินด้วย โดยปัจจุบันสถานีกลางบางซื่อมีความคืบหน้าในการก่อสร้างร้อยละ 60.28 หลังจากนั้น ได้พาคณะสื่อมวลชนเยี่ยมชมงานก่อสร้างสถานีดอนเมือง ซึ่งเป็นอีกหนึ่งสถานีสำคัญรองรับการเชื่อมโยงรถไฟกับท่าอากาศยาน ตัวสถานีตั้งอยู่บริเวณถนนกำแพงเพชร 6 และถนนวิภาวดีรังสิต ตรงข้ามอาคารผู้โดยสารท่าอากาศยานดอนเมือง ใกล้สถานีรถไฟดอนเมืองในปัจจุบัน โครงสร้างสถานีแบ่งเป็น 4 ชั้น ได้แก่ ชั้นพื้นดิน (Ground Floor Level) เป็นพื้นที่สำหรับจอดรถรับ-ส่งผู้โดยสาร ชั้นที่ 2 (Concourse Level)
เป็นชั้นจำหน่ายตั๋วโดยสาร และเป็นพื้นที่รองรับผู้โดยสารที่จะผ่านขึ้นไปยังชานชาลา รวมทั้งเป็นจุดเชื่อมต่อไปยังอาคารผู้โดยสารท่าอากาศยานดอนเมืองได้ด้วย ชั้นที่ 3 (LD Platform Level) รถไฟทางไกล และ ชั้น 4 (CT Platform Level) รถไฟชานเมืองสายสีแดง โดยปัจจุบันมีความคืบหน้าในการก่อสร้างถึงร้อยละ 98.49 สำหรับโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ช่วงบางซื่อ-รังสิต สามารถรองรับปริมาณผู้โดยสารได้ถึง 300,000 คน/วัน รวมทั้งรองรับการเดินทางระบบรางทุกประเภท ทั้งรถไฟชานเมือง รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ และรถไฟความเร็วสูง และยังสามารถเชื่อมโยงการเดินทางกับระบบขนส่งทางรางอื่น ๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็น รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน รถไฟฟ้าสายสีชมพู รถไฟฟ้าสายสีเขียว รถไฟใต้ดิน ซึ่งเป็นการพลิกโฉมการเดินทางด้วยระบบรางของประเทศไทย และกลายเป็นศูนย์กลางการเดินทางด้วยระบบรางที่ใหญ่และทันสมัยที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
https://www.facebook.com/ake.bluechifamily/posts/2036842706362664
https://www.youtube.com/watch?v=S_lndC-JVcg

//---------------------

รฟท.เผยสถานีกลางบางซื่อ คืบหน้ากว่า 60%

หมวดข่าว:เศรษฐกิจ

วันที่ 22 พฤศจิกายน 2561 เวลา 11:22:30 น.


การรถไฟแห่งประเทศไทย เผยความคืบหน้าสถานีกลางบางซื่อและรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง

นายวรวุฒิ มาลา รักษาการผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทยพร้อมผู้บริหาร นำสื่อมวลชนลงพื้นที่ติดตามความคืบหน้าการก่อสร้างสถานีกลางบางซื่อ ล่าสุด เมื่อวันที่ 25 ต.ค.2561 สถานีกลางบางซื่อ คืบหน้าแล้วร้อยละ 60.28 รูปแบบการก่อสร้างแบ่งเป็นอาคาร 3 ชั้น ชั้นใต้ดินเป็นพื้นที่จอดรถ 1,700 คัน มีโถงเชื่อมไปยังพื้นที่จำหน่ายตั๋ว ที่ ชั้น 1 และชั้น 2 เชื่อมรถไฟฟ้าสายสีแดง ส่วนชั้น 3 เชื่อมรถไฟความเร็วสูง และรถไฟเชื่อม 3 สนามบินในอนาคต

ส่วนรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต แบ่งเป็น 3 สัญญา คือ สัญญาที่ 1 งานโยธาสถานีกลางบางซื่อและศูนย์ซ่อมบำรุง ประกอบด้วย สถานีกลางบางซื่อ สถานีจตุจักร ทางรถไฟยกระดับศูนย์ซ่อมฯรถไฟฟ้าชานเมือง ศูนย์ซ่อมฯ รถไฟฟ้าทางไกล ตลอดจนถนนเลียบทางรถไฟและถนนทางข้าม คืบหน้าแล้วร้อยละ 77.37
สัญญาที่ 2 คือ งานโยธาทางรถไฟ ช่วงบางซื่อ-รังสิต รวม 8 สถานี ถนนเลียบรถไฟ สะพานกลับรถและระบบระบายน้ำ คืบหน้าร้อยละ 99.44 และสัญญาที่ 3 งานระบบไฟฟ้าและเครื่องกล ช่วงบางซื่อ-รังสิต คืบหน้า ร้อยละ 38.24

โดยสถานีกลางบางซื่อคาดว่าจะแล้วเสร็จต้นปี 62 รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง แล้วเสร็จกลางปี 63 และจะสามารถเปิดให้บริการได้ราว มกราคมปี 64

//------------

รฟท.โชว์“รถไฟชานเมืองสายสีแดง”คืบเกือบ80%
เศรษฐกิจ
สยามรัฐออนไลน์
22 พฤศจิกายน 2561 16:31

วันนี้ (22พ.ย.61)นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) พร้อมด้วยผู้บริหารการรถไฟฯ และสื่อมวลชนลงพื้นที่เยี่ยมชมความก้าวหน้าการก่อสร้าง โดยมีนายจุลเทพ จิตะสมบัติ วิศวกรอำนวยการศูนย์โครงการปรับปรุงทาง ฝ่ายโครงการพิเศษและก่อสร้าง บรรยายความก้าวหน้าการดำเนินงานของโครงการฯ

นายวรวุฒิฯ กล่าวว่า ภาพรวมโครงการในปัจจุบันมีความคืบหน้า ณ วันที่ 25 ตุลาคม 2561 แบ่งตามสัญญา ได้แก่

สัญญาที่ 1 งานโยธาสำหรับสถานีกลางบางซื่อและศูนย์ซ่อมบำรุง ประกอบด้วย สถานีกลางบางซื่อ และสถานีจตุจักร ทางรถไฟยกระดับ ศูนย์ซ่อมบำรุงรถไฟฟ้าชานเมือง ศูนย์ซ่อมบำรุงรถไฟทางไกล ตลอดจนถนนเลียบทางรถไฟและถนนทางข้าม ซึ่งมีความคืบหน้ารวมคิดเป็นร้อยละ 77.37

สัญญาที่ 2 งานโยธาสำหรับทางรถไฟช่วงบางซื่อ-รังสิต ประกอบด้วย ทางรถไฟยกระดับและทางรถไฟระดับดิน 8 สถานี ถนนเลียบทางรถไฟ สะพานกลับรถ สะพานข้ามทางรถไฟ และระบบระบายน้ำ มีความคืบหน้ารวมคิดเป็นร้อยละ 99.44

สัญญาที่ 3 งานระบบไฟฟ้าและเครื่องกล สำหรับรถไฟช่วงบางซื่อ-รังสิต มีความก้าวหน้าของงานที่ดำเนินการแล้วเสร็จคิดเป็นร้อยละ 38.24

จากนั้นนำคณะสื่อมวลชนไปชมการก่อสร้างสถานีกลางบางซื่อ ซึ่งออกแบบให้รองรับและเชื่อมต่อการคมนาคมได้อย่างหลากหลาย เป็นศูนย์กลางระบบรางอย่างสมบูรณ์แบบและยังนำหลักการพัฒนาพื้นที่โดยรอบศูนย์กลางคมนาคม (TOD) มาใช้เป็นต้นแบบในการพัฒนาพื้นที่ โดยมีรูปแบบการก่อสร้างแบ่งเป็นอาคาร 3 ชั้น ประกอบด้วย ชั้นใต้ดิน เป็นพื้นที่สำหรับจอดรถประมาณ 1,700 คัน โดยมีโถงเชื่อมต่อจากพื้นที่จอดรถขึ้นไปยังชั้นที่ 1 ชั้นที่ 1 เป็นพื้นที่จำหน่ายตั๋ว มีโถงพักคอย และรับผู้โดยสาร รวมถึงพื้นที่พาณิชยกรรม และร้านค้า สามารถเชื่อมต่อกับMRT ชั้นที่ 2 เป็นชานชาลาสำหรับรองรับรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) มี 4 ชานชาลา และรถไฟทางไกล มี 8 ชานชาลา ชั้นที่ 3 เป็นชานชาลาสำหรับรองรับรถไฟขนาดรางมาตรฐาน 1.435 เมตร เชื่อมภูมิภาค มีทั้งหมด 10 ชานชาลา แบ่งเป็น รถไฟสายใต้ 4 ชานชาลา รถไฟสายเหนือ และสายอีสานรวม 6 ชานชาลา

นอกจากนี้ ยังสามารถรองรับรถไฟความเร็วสูงในอนาคต และรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยาน ได้อีก 2 ชานชาลา และมีทางเดินเชื่อมต่อกับสถานีบางซื่อของรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินด้วย โดยปัจจุบันสถานีกลางบางซื่อ มีความคืบหน้าในการก่อสร้างร้อยละ 60.28 หลังจากนั้น ได้พาคณะสื่อมวลชนเยี่ยมชมงานก่อสร้างสถานีดอนเมือง ซึ่งเป็นอีกหนึ่งสถานีสำคัญรองรับการเชื่อมโยงรถไฟกับท่าอากาศยาน ตัวสถานีตั้งอยู่บริเวณถนนกำแพงเพชร 6 และถนนวิภาวดีรังสิต ตรงข้ามอาคารผู้โดยสารท่าอากาศยานดอนเมือง ใกล้สถานีรถไฟดอนเมือง ในปัจจุบัน โครงสร้างสถานีแบ่งเป็น 4 ชั้น ได้แก่ ชั้นพื้นดิน (Ground Floor Level) เป็นพื้นที่สำหรับจอดรถรับ-ส่งผู้โดยสาร ชั้นที่ 2 (Concourse Level) เป็นชั้นจำหน่ายตั๋วโดยสาร และเป็นพื้นที่รองรับผู้โดยสารที่จะผ่านขึ้นไปยังชานชาลา รวมทั้งเป็นจุดเชื่อมต่อไปยังอาคารผู้โดยสารท่าอากาศยานดอนเมืองได้ด้วย

ชั้นที่ 3 (LD Platform Level) รถไฟทางไกล และ ชั้น 4 (CT Platform Level) รถไฟชานเมืองสายสีแดง โดยปัจจุบันมีความคืบหน้าในการก่อสร้างถึงร้อยละ 98.49 สำหรับโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ช่วงบางซื่อ-รังสิต สามารถรองรับปริมาณผู้โดยสารได้ถึง 300,000 คน/วัน รวมทั้งรองรับการเดินทางระบบรางทุกประเภท ทั้งรถไฟชานเมือง รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ และรถไฟความเร็วสูง และยังสามารถเชื่อมโยงการเดินทางกับระบบขนส่งทางรางอื่น ๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็น รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน รถไฟฟ้าสายสีชมพู รถไฟฟ้าสายสีเขียว รถไฟใต้ดิน ซึ่งเป็นการพลิกโฉมการเดินทางด้วยระบบรางของประเทศไทย และกลายเป็นศูนย์กลางการเดินทางด้วยระบบรางที่ใหญ่และทันสมัยที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42625
Location: NECTEC

PostPosted: 23/11/2018 10:42 am    Post subject: Reply with quote

คืบหน้ารถไฟสายสีแดง เผยโฉม”สถานีกลางบางซื่อ”สร้างเสร็จ77.37% ขึ้นแท่นฮับทางรางใหญ่และทันสมัยที่สุดในอาเซียน

วันที่ 22 พฤศจิกายน 2561 เวลา 15:57 น.


นายวรวุฒิ มาลา รักษาการผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) กล่าวว่า ภาพรวมโครงการก่อสร้างรถไฟชานเมืองสายสีแดงช่วงบางซื่อ-รังสิต ระยะทาง 26 กม. ในปัจจุบันมีความคืบหน้า ณ วันที่ 25 ตุลาคม 2561 แบ่งตามสัญญา ได้แก่

สัญญาที่1 งานโยธาคืบหน้ากว่า73%
สัญญาที่ 1 งานโยธาสำหรับสถานีกลางบางซื่อและศูนย์ซ่อมบำรุง ประกอบด้วย สถานีกลางบางซื่อ และสถานีจตุจักร ทางรถไฟยกระดับ ศูนย์ซ่อมบำรุงรถไฟฟ้าชานเมือง ศูนย์ซ่อมบำรุงรถไฟทางไกล ตลอดจนถนนเลียบทางรถไฟและถนนทางข้าม ซึ่งมีความคืบหน้ารวม 77.37%





สัญญาที่ 2 งานโยธาสำหรับทางรถไฟ ช่วงบางซื่อ-รังสิต ประกอบด้วย ทางรถไฟยกระดับและทางรถไฟระดับดิน 8 สถานี ถนนเลียบทางรถไฟ สะพานกลับรถ สะพานข้ามทางรถไฟ และระบบระบายน้ำ มีความคืบหน้ารวมคิดเป็น 99.44 %

สัญญาที่ 3 งานระบบไฟฟ้าและเครื่องกล สำหรับรถไฟช่วงบางซื่อ-รังสิต มีความก้าวหน้าของงานที่ดำเนินการแล้วเสร็จคิดเป็น 38.24%

สำหรับการก่อสร้างสถานีกลางบางซื่อ ซึ่งออกแบบให้รองรับและเชื่อมต่อการคมนาคมได้อย่างหลากหลาย เป็นศูนย์กลางระบบรางอย่างสมบูรณ์แบบ และยังนำหลักการพัฒนาพื้นที่โดยรอบศูนย์กลางคมนาคม (TOD) มาใช้เป็นต้นแบบในการพัฒนาพื้นที่



โดยมีรูปแบบการก่อสร้างแบ่งเป็นอาคาร 3 ชั้น ประกอบด้วย ชั้นใต้ดิน เป็นพื้นที่สำหรับจอดรถประมาณ 1,700 คัน โดยมีโถงเชื่อมต่อจากพื้นที่จอดรถขึ้นไปยังชั้นที่ 1 ชั้นที่ 1 เป็นพื้นที่จำหน่ายตั๋ว มีโถงพักคอยและรับผู้โดยสาร รวมถึงพื้นที่พาณิชยกรรม และร้านค้า สามารถเชื่อมต่อกับ MRT ชั้นที่ 2 เป็นชานชาลาสำหรับรองรับรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) มี 4 ชานชาลา และรถไฟทางไกล มี 8 ชานชาลา

ชั้นที่ 3 เป็นชานชาลาสำหรับรองรับรถไฟขนาดรางมาตรฐาน 1.435 เมตร เชื่อมภูมิภาค มีทั้งหมด 10 ชานชาลา แบ่งเป็นรถไฟสายใต้ 4 ชานชาลา รถไฟสายเหนือ และสายอีสาน รวม 6 ชานชาลา

นอกจากนี้ ยังสามารถรองรับรถไฟความเร็วสูงในอนาคตและรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานได้อีก 2 ชานชาลา และมีทางเดินเชื่อมต่อกับสถานีบางซื่อของรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินด้วย โดยปัจจุบันสถานีกลางบางซื่อมีความคืบหน้าในการก่อสร้าง 60.28 %

ฮับทางรางใหญ่และทันสมัยที่สุดในอาเซียน
สำหรับโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ช่วงบางซื่อ-รังสิต สามารถรองรับปริมาณผู้โดยสาร
ได้ถึง 300,000 คน/วัน

รวมทั้งรองรับการเดินทางระบบรางทุกประเภท ทั้งรถไฟชานเมือง รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ และรถไฟความเร็วสูง และยังสามารถเชื่อมโยงการเดินทางกับระบบขนส่งทางรางอื่น ๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็น รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน รถไฟฟ้าสายสีชมพู รถไฟฟ้าสายสีเขียว รถไฟใต้ดิน ซึ่งเป็นการพลิกโฉมการเดินทางด้วยระบบรางของประเทศไทย และกลายเป็นศูนย์กลางการเดินทางด้วยระบบรางที่ใหญ่และทันสมัยที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42625
Location: NECTEC

PostPosted: 23/11/2018 7:19 pm    Post subject: Reply with quote

จ่อยุบบริษัทลูก ร.ฟ.ท. หลังโอน “แอร์พอร์ตลิงก์” ให้เอกชน
วันพฤหัส 22 พฤศจิกายน 2561 / 18:56 น.

รฟท.เตรียมยุบ “รฟฟท.” หลังโอนการเดินรถไฟ “แอร์พอร์ตลิงก์” ให้เอกชนที่ชนะประมูลรถไฟความเร็วสูง 3 สนามบิน ระบุเตรียมเสนอครม.อนุมัติสร้างรถไฟชานเมืองสายสีแดง 3 เส้นทาง 2.4 หมื่นล้าน ม.ค.ปีหน้า

เมื่อวันที่ 22 พ.ย. นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า ร.ฟ.ท.อยู่ระหว่างจัดทำรายงานเกี่ยวกับบริษัทที่จะรับผิดชอบในการเดินรถไฟสายสีแดง ส่งให้คณะกรรมการ (บอร์ด) ร.ฟ.ท.เห็นชอบ ซึ่งขณะนี้ได้สรุปชัดเจนแล้วว่าบริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด (รฟฟท.) ซึ่งเป็นผู้ให้บริการรถไฟฟ้า แอร์พอร์ต เรล ลิงก์ จะต้องยุบเลิกกิจการ หลังจากโอนการเดินรถไฟฟ้า “แอร์พอร์ต เรล ลิงก์” ไปให้เอกชนผู้ชนะประมูลโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินแล้ว

สำหรับพนักงานของ รฟฟท. กว่า 400 คนนั้น จะโอนไปยังบริษัทที่ตั้งขึ้นใหม่ ซึ่งจะรับผิดชอบในการเดินรถไฟชานเมืองสายสีแดง และจะมีการรับพนักงานเพิ่มเติมอีก 300-400 คน ทั้งนี้ ร.ฟ.ท.จะเสนอคณะกรรมการนโยบายการและกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ (คนร.) เพื่อขอจัดตั้งบริษัทดังกล่าว

นายวรวุฒิ ยังกล่าวว่า ร.ฟ.ท. ได้เสนอโครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดงส่วนต่อขยาย 3 เส้นทาง มูลค่า 2.4 หมื่นล้านบาท ไปให้กระทรวงคมนาคมพิจารณา ซึ่งคาดว่าจะเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติได้ในเดือนม.ค.2562

สำหรับรถไฟชานเมืองสายสีแดงดังกล่าว ได้แก่ ช่วงรังสิต-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ระยะทาง 8.84 กม. มูลค่า 6,500 ล้านบาท ,ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา ระยะทาง 14.8 กม. มูลค่า 1 หมื่นล้านบาท และและช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช ระยะทาง 8.7 กม. มูลค่า 7,500 ล้านบาท หาก ครม. ให้ความเห็นชอบ ร.ฟ.ท.จะเปิดประมูลและใช้เวลาก่อสร้าง 3 ปี โดยจะเปิดให้บริการได้ในปี 2565

นายวรวุฒิ กล่าวว่า ในส่วนของโครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต ซึ่งอยู่ระหว่างการก่อสร้างนั้น ล่าสุดการก่อสร้างงานโยธา สัญญาที่ 1 สถานีกลางบางซื่อและศูนย์ซ่อมบำรุง คืบหน้าแล้ว 77.37% ส่วนการก่อสร้างงานโยธา สัญญาที่ 2 ช่วงบางซื่อ-รังสิต คืบหน้าแล้ว 99.44% และสัญญาที่ 3 งานระบบไฟฟ้าและเครื่องกล สำหรับรถไฟช่วงบางซื่อ-รังสิต คืบหน้าแล้ว 38.24%

ทั้งนี้ โครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต มีกำหนดเปิดให้บริการในเดือน ม.ค.2564 โดยในช่วง 5 ปีแรก คาดว่าจะมีผู้โดยสาร 80,000 คน/วัน และรองรับผู้โดยสารได้สูงสุด 200,000 คน/วัน จากขบวนรถไฟที่มี 130 ตู้
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44331
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 26/11/2018 3:02 pm    Post subject: Reply with quote

รถไฟดันสีแดง “Missing Link” 4.4 หมื่นล้าน ตอกเข็มคลองแห้ง “จิตรลดา” เชื่อมหัวลำโพง
เผยแพร่: 25 พ.ย. 2561 21:54 ปรับปรุง: 26 พ.ย. 2561 09:17 โดย: ผู้จัดการออนไลน์

ร.ฟ.ท.ตั้งงบรถไฟฟ้าสีแดงอ่อน (Missing Link) 4.4 หมื่นล้าน เผื่องบก่อสร้างช่วงคลองแห้ง สถานีจิตรลดาไว้ 4 พันล้าน กันพลาดขีดเส้นผู้ชนะรถไฟเชื่อม 3 สนามบิน ตอกเข็มใน 1 ปี ย้ำเป็นจุดสำคัญที่เชื่อมสายสีแดงจากบางซื่อ-หัวลำโพง ชงบอร์ดอนุมัติ 20 ธ.ค.

นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการรถไฟสายสีแดงอ่อน (Missing Link) ช่วงบางซื่อ-พญาไท-มักกะสัน-หัวหมาก และสีแดงเข้ม ช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง ระยะทาง 25.9 กม. ว่า ขณะนี้ ร.ฟ.ท.ได้ทบทวนแผนการดำเนินการชัดเจนแล้ว หลังจากที่ก่อนหน้านี้คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้เคยอนุมัติโครงการแล้วแต่ยังไม่สามารถดำเนินโครงการได้ เนื่องจากการก่อสร้างสถานีกลางบางซื่อล่าช้า ทำให้ต้องคงทางวิ่งรถไฟเดิมไว้เพื่อให้ขบวนรถดีเซลเข้าสถานีหัวลำโพงได้ ประกอบกับรัฐบาลมีโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ซึ่งจะต้องมีการใช้พื้นที่เขตทางช่วงสถานีจิตรลดาในการก่อสร้างร่วมกัน

ตามเงื่อนไขล่าสุด ผู้ชนะโครงการรถไฟความเร็วสูง 3 สนามบินจะเป็นผู้ก่อสร้างโครงสร้างอุโมงค์ร่วมที่จิตรลดา ซึ่งของสายสีแดงจะเป็นทางวิ่งแบบคลองแห้ง (Open Trench and Cut & Cover Tunnel) ส่วนแอร์พอร์ตลิงก์นั้นโครงสร้างจะเป็นอุโมงค์ โดยผนังด้านบนจะมีการก่อสร้างเป็นถนน (Local Road) ในอนาคต มีระยะทางประมาณ 3 กม.เพื่อเปิดหน้าดินก่อสร้างครั้งเดียว โดยตามแบบของรถไฟเชื่อม 3 สนามบินประเมินมูลค่าคลองแห้งของสายสีแดงไว้ที่ประมาณ 3,200 ล้านบาท

ขณะที่ ร.ฟ.ท.ได้กำหนดกรอบเวลาให้ดำเนินการในส่วนของคลองแห้งภายใน 1 ปีนับจากได้รับอนุมัติ โดยหากผู้ชนะรถไฟเชื่อม 3 สนามบินไม่สามารถเริ่มก่อสร้างได้ ร.ฟ.ท.จะก่อสร้างจุดนี้เอง ดังนั้น ร.ฟ.ท.จึงได้ตั้งกรอบวงเงินของสายสีแดงอ่อน (Missing Link) เผื่องานคลองแห้งประมาณ 4,000 ล้านบาทไว้ก่อน แต่หากเอกชนเชื่อม 3 สนามบินสามารถก่อสร้างตรงนี้ได้ตามข้อตกลง ร.ฟ.ท.จะตัดกรอบวงเงินออก

“เป็นการวางแผนเผื่อไว้พิจารณาตรงกรอบเวลาในการดำเนินโครงการเพื่อไม่ให้ล่าช้าและกระทบต่อแผนการจัดเดินรถสายสีแดง และรถไฟทางไกลที่เป็นรถดีเซลเข้าสู่สถานีกลางบางซื่อแทนหัวลำโพง หาก 3 สนามบินมาช้าเกิน 1 ปี ร.ฟ.ท.จะได้ก่อสร้างเอง”

โดยจะสรุปรายละเอียดสายสีแดงอ่อน (Missing Link) ช่วงบางซื่อ-พญาไท-มักกะสัน-หัวหมาก และสีแดงเข้ม ช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง ระยะทาง 25.9 กม. วงเงิน 44,157.76 ล้านบาท เสนอที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) ร.ฟ.ท.วันที่ 20 ธ.ค. ขั้นตอนต่อไปจะรายงานกระทรวงคมนาคม และรายงาน ครม.เพื่อทราบต่อไป เพราะโครงการนี้ ครม.เคยอนุมัติแล้วและกรอบวงเงินไม่เกินจากเดิม จากนั้นจะเปิดประมูลก่อสร้างได้
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42625
Location: NECTEC

PostPosted: 06/12/2018 5:26 pm    Post subject: Reply with quote

6ธ.ค.61 สนข.จัดประชุมคณะทำงานด้านเทคนิคเพื่อประสารและติดตามการดำเนินงานโครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดง ....
โดยการประชุมเป็น
- การติดตามความคืบหน้าแผนการทำงาน
-การบริหารโครงการ และควบคุมงาน
- การส่งมอบพื้นที่ Floor Plan สถานีกลางบางซื่อ
- แผนงานการดำเนินงานสถานีจ่ายไฟย่อย
- งานติดตั้ง On Board Equipment บนขบวนรถไฟเดิมของ รฟท.
- ระบบสุขาภิบาล แนวทางการดำเนินการให้เป็นระบบปิดทั้งหมด และ
- จุดขึ้น-ลงทางพิเศษ ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทยบริเวณถนนพหลโยธิน
เพื่อเป็นข้อมูลในการดำเนินการปรับปรุง แก้ไขให้มีประสิทธิภาพในการเปิดให้บริการรถไฟชานเมืองสายสีแดงต่อไป
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=1934504909998452&id=372491272866498
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42625
Location: NECTEC

PostPosted: 12/12/2018 11:35 am    Post subject: Reply with quote

ลุยต่อขยาย “สายสีแดง” ครบลูป ผุดเพิ่ม 1 สถานีรับ มหา”ลัยกรุงเทพ
พร็อพเพอร์ตี้
วันพุธที่ 12 ธันวาคม 2561 เวลา 09:45 น.

ท่ามกลางการลุ้นระทึกเปิดหวูดรถไฟชานเมืองสายสีแดงช่วง “บางซื่อ-รังสิต” จะมาตามนัดในเดือน ม.ค. 2564 อย่างที่ “ร.ฟ.ท.-การรถไฟแห่งประเทศไทย” ได้การันตีไว้หรือไม่ ในเมื่อแต่ละโครงการภายใต้การบริหารงานของ ร.ฟ.ท.ที่ผ่านมาเป็นในท่วงทำนอง “ถึงก็ช่าง ไม่ถึงก็ช่าง”

ในส่วนของการผลักดันส่วนต่อขยายเพื่อให้โครงข่ายสายสีแดงครบถ้วนตามแผนแม่บทรถไฟฟ้า ล่าสุดมีเสียงยืนยันจาก “วรวุฒิ มาลา” รักษาการผู้ว่าการ ร.ฟ.ท.เตรียมจะเสนอส่วนต่อขยายที่ตกค้างมานานแรมปีให้ได้รับการอนุมัติภายในรัฐบาลชุดนี้

“วรวุฒิ” บอกว่า ร.ฟ.ท.มีแผนจะก่อสร้างส่วนต่อขยายของสายสีแดงช่วงรังสิต-ม.ธรรมศาสตร์ ระยะทาง 8.84 กม. เงินลงทุน 6,500 ล้านบาท ขณะนี้คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (บอร์ดสภาพัฒน์) ให้ความเห็นชอบแล้ว รอเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ดำเนินการควบคู่ไปกับรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) อยู่ระหว่างการพิจารณาของสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) เนื่องจากมหาวิทยาลัยกรุงเทพ เสนอขอเพิ่มสถานีด้านหลังมหาวิทยาลัย

“ไทม์ไลน์จะไปพร้อมสายสีแดงอ่อน ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา 14.8 กม. เงินลงทุน 10,000 ล้านบาท และช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช 5.7 กม. เงินลงทุน 7,500 ล้านบาท ซึ่ง EIA แล้ว”

ในส่วนสายสีแดง Missing Link ช่วงบางซื่อ-พญาไท-มักกะสัน-หัวหมาก ระยะทาง 25.9 กม. เงินลงทุน 44,000 ล้านบาท ซึ่งมีโครงสร้างทับซ้อนกับรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน จากเดิมจะให้ผู้ชนะประมูลสร้างโครงสร้างใต้ดินเผื่อไว้ช่วงสถานีจิตรลดา

โดยคณะกรรมการ ร.ฟ.ท.เกรงว่า ในอนาคตอาจจะมีอะไรไม่แน่นอนเกิดขึ้นกับรถไฟความเร็วสูง เช่น ต้องประมูลใหม่ จึงของบฯฉุกเฉินจากรัฐบาล 4,000 ล้านบาทเผื่อไว้ 1 ปี สำหรับสายสีแดงเผื่อเวลาไว้ หากทางรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน สามารถสร้างได้ก่อน สามารถคืนงบฯนี้คืนไปที่รัฐบาล

ขณะที่ส่วนต่อขยายสายสีแดงเข้มช่วง “หัวลำโพง-มหาชัย” ระยะทาง 38 กม. ยังคงเดินหน้าโครงการต่อไป ปัจจุบันได้ดำเนินการศึกษาออกแบบรายละเอียดแล้วตั้งแต่ปี 2550 ล่าสุดอยู่ระหว่างปรับแก้ไขตามที่คณะกรรมการผู้ชำนาญการ (คชก.) ให้ปรับแบบก่อสร้างช่วงข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาอาจจะปรับแผนการดำเนินงานโดยออกแบบเป็นอุโมงค์ลอดแม่น้ำเจ้าพระยาเชื่อมต่อระหว่างหัวลำโพง-วงเวียนใหญ่ก่อน และก่อสร้างเป็นทางวิ่งระดับดินและยกระดับตั้งแต่วงเวียนใหญ่-มหาชัย จะของบประมาณปี 2563 จำนวน 90 ล้านบาท ทบทวนแบบและจัดทำรายละเอียดการประกวดราคา

ทั้งนี้โครงการจะเป็นประโยชน์มากในการเชื่อมต่อโครงข่ายรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงสะพานตากสิน-บางหว้า สายสีม่วง ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ ตลอดจนบริเวณวงเวียนใหญ่ และเชื่อมต่อสายสีน้ำเงินที่แยกท่าพระ ซึ่งสายสีแดงหัวลำโพง-มหาชัย เป็นส่วนหนึ่งของโครงการภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงการรถไฟฟ้า 10 เส้นทาง

สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ศึกษาความเหมาะสมไว้แล้ว จะเป็นรถไฟฟ้าชานเมืองที่มีรูปแบบ commuter train มีระบบจ่ายไฟเหนือหัว ทำความเร็วได้สูงสุด 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เร็วกว่ารถไฟฟ้าในเมือง จึงมีความเหมาะสมที่จะเป็นรถไฟชานเมือง และสามารถต่อระยะทางให้ยาวขึ้นได้
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42625
Location: NECTEC

PostPosted: 13/12/2018 9:58 am    Post subject: Reply with quote

โฟกัส!สกายวอล์ก"สายสีแดง"
พุธที่ 12 ธันวาคม 2561 เวลา 13.00 น.


@Transport สัปดาห์นี้พาไปอัพเดทการก่อสร้างระบบทางวิ่ง ตัวสถานีของโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง(บางซื่อ-รังสิต) ขณะนี้แล้วเสร็จเกือบ 100% เตรียมเปิดให้บริการปี 64 รถไฟสายนี้ยังมีสกายวอล์กเดินข้ามถนนวิภาวดีรังสิตทั้ง 10 สถานีด้วย เติมเต็มการเดินเท้าบนถนนวิภาวดีฯ โดยเดินอยู่กลางอากาศ
https://www.youtube.com/watch?v=3Mqzvl3shq0
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 60, 61, 62 ... 147, 148, 149  Next
Page 61 of 149

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©