Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311283
ทั่วไป:13264457
ทั้งหมด:13575740
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวเกี่ยวกับ "ที่ดิน" ของ "รฟท."
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวเกี่ยวกับ "ที่ดิน" ของ "รฟท."
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 147, 148, 149 ... 197, 198, 199  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 21/11/2018 1:48 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
เร่งลงนามจ่อยกตลาดนัดสวนจตุจักรให้กทม. 1 ธันวาคม
https://www.thebangkokinsight.com/65854/

รถไฟจุก ประเคน "ตลาดนัดจตุจักร" 1 ธ.ค.นี้ ให้ กทม. กินรวบบริหาร
ข่าวเศรษฐกิจ
โดย ไทยรัฐออนไลน์
19 พฤศจิกายน 2561- 21:20 น.


ดีเดย์ 1 ธ.ค.นี้ ยาวไปจนถึงปี 71 อ้างทำเพื่อผู้ค้ารายย่อย ได้เช่าแผงในราคาต่ำกว่า...

เมื่อวันที่ 19 พ.ย. นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการ กลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน ในฐานะรักษาการผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า เมื่อ 9 พ.ย.ที่ผ่านมา คณะกรรมการการรถไฟแห่งประเทศไทย ได้มีมติเห็นชอบให้กรุงเทพมหานคร (กทม.) เข้าบริหารตลาดนัดจตุจักรตามมติ ครม. เมื่อ 6 พ.ย.ที่ผ่านมา เพื่อแก้ไขปัญหาเรื่องอัตราค่าเช่าแผงของผู้ค้าในตลาดนัดสวนจตุจักร โดยปัจจุบัน ร.ฟ.ท. ส่งเรื่องให้กระทรวงคมนาคมพิจารณาแล้ว และจะรายงานให้ที่ประชุม ครม. รับทราบต่อไป จากนั้นการรถไฟฯ และ กทม. จะลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MOU) เรื่องการโอนสิทธิ์บริหารจัดการตลาดนัดจตุจักรให้เร็วที่สุด

อย่างไรก็ตามในเบื้องต้น กทม. จะจัดเก็บค่าเช่าแผงจากผู้ค้ารายย่อย ในอัตรา 1,800 บาทต่อเดือน ต่ำกว่าค่าเช่า ร.ฟ.ท. ที่จัดเก็บในอัตรา 3,157 บาทต่อแผงต่อเดือน ขณะเดียวกัน กทม. จะต้องจ่ายค่าเช่าให้การ ร.ฟ.ท. ในอัตรา 169 ล้านบาทต่อปี พร้อมปฏิบัติตามเงื่อนไขอีก 3-4 ข้อ

“คิดว่าไม่มีอะไรเสียหาย ก็เป็นการปฏิบัติตามนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการช่วยเหลือผู้ค้ารายย่อย ปัจจุบันอยู่ระหว่างเจรจารายละเอียดและเขียนสัญญาให้รัดกุม โดยจะพยายามลงนาม MOU กับ กทม. ให้ได้ก่อนภายในเดือน พ.ย. เพื่อให้สิทธิ์ กทม.ไปบริหารตั้งแต่ 1 ธ.ค.นี้ จากนั้นจะลงนามสัญญากับ กทม.อีกครั้ง โดยสัญญาจะมีผลย้อนหลังตั้งแต่วันที่ 1 ธ.ค.เป็นต้นไป”

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กรณีดังกล่าวเป็นไปตามมติคณะกรรมการขับเคลื่อนและการปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดิน คณะที่ 5 มีพลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน เมื่อ 12 ก.ย.61 ซึ่งเห็นชอบให้ลดอัตราค่าเช่าแผงตลาดนัดจตุจักรเหลือ 1,800 บาทต่อแผงต่อเดือน จากปัจจุบันที่ ร.ฟ.ท. เก็บอยู่ในอัตรา 3,157 บาทต่อแผงต่อเดือน หากรถไฟบริหารตลาดเองและลดค่าเช่าแผงเหลือ 1,800 บาทต่อเดือน จะส่งผลให้กำไรสุทธิของตลาดนัดจตุจักร ลดลงจากเฉลี่ย 213.29 ล้านบาทต่อปี เหลือ 58.67 ล้านบาทต่อปี แต่ถ้าให้ กทม. เข้ามาบริหาร กทม. จะมีกำไรสุทธิเพียงพอและสามารถจ่ายค่าเช่าให้รถไฟในอัตราประมาณ 169 ล้านบาทต่อปี ดังนั้นเมื่อ 6 พ.ย.ที่ผ่านมา ครม.จึงเห็นชอบให้กระทรวงคมนาคมและกระทรวงมหาดไทยเร่งโอนความรับผิดชอบในการบริหารจัดการตลาดนัดจตุจักรของรถไฟไปให้ กทม.โดยเร็ว

นอกจากนี้ กทม.จะเช่าพื้นที่ตลาดจตุจักรขนาด 68 ไร่ 1 งาน 88 ตารางวา จากรถไฟจนถึงปี 2571 เพื่อให้สอดคล้องกับแผนแม่บทพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ศูนย์คมนาคมพหลโยธินแปลง D และให้มีการทบทวนค่าเช่าร่วมกันทุกๆ 3 ปี อย่างไรก็ตาม กทม. ไม่สามารถทำสัญญากับผู้เช่าแผงที่มีภาระหนี้สินติดค้างกับรถไฟได้ จนกว่าผู้เช่าแผงรายดังกล่าวจะชำระหนี้ทั้งหมด

อย่างไรก็ตาม การบริหารจัดการตลาดนัดจตุจักรของ กทม. ก่อนมอบคืนให้รถไฟในช่วงปี 47-54 พบว่า กทม.มีรายได้จากการบริหารสูงสุด 175 ล้านบาท และต่ำสุด 88 ล้านบาท โดย กทม.จ่ายค่าเช่าตลาดนัดจตุจักรให้รถไฟต่ำสุดที่ 1.6 ล้านบาทต่อปี และสูงสุดที่ 24 ล้านบาทเศษๆ ต่อปีเท่านั้น ซึ่งถือเป็นรายได้ที่น้อยมาก เมื่อเทียบมูลค่าเชิงพาณิชย์ที่เกิดในพื้นที่

ต่อมาเมื่อรถไฟเข้ามาบริหารจัดการตลาดนัดจตุจักรระหว่างปี 55-60 ปรากฏว่าองค์กรมีกำไรและรายได้เพิ่มขึ้นโดยตลอด โดยในปี 55 รถไฟมีรายได้ 238 ล้านบาท และกำไร 85 ล้านบาท, ปี 56 มีรายได้ 425 ล้านบาท และกำไร 226 ล้านบาท, ปี 57 มีรายได้ 434 ล้านบาท และกำไร 243 ล้านบาท, ปี 58 มีรายได้ 391 ล้านบาท และกำไร 229 ล้านบาท, ปี 59 มีรายได้ 381 ล้านบาท และกำไร 186 ล้านบาท, ปี 60 รายได้ 375 ล้านบาท และกำไร 177 ล้านบาท

สำหรับปัจจุบันตลาดนัดจตุจักร มีแผงค้าทั้งหมด 9,495 แผง โดยรถไฟเก็บค่าโดยสารจากผู้ค้าประมาณ 94% ของจำนวนแผงทั้งหมด ในอัตรา 3,157 บาทต่อแผง และเมื่อรวมกับรายได้อื่นๆ ส่งผลให้รถไฟมีรายได้จากตลาดนัดจตุจักรเฉลี่ยปีละ 389.31 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิเฉลี่ย 213.29 ล้านบาท.

//------------------------------------------------------------

“กทม.” ฟาดเรียบ “ตลาดนัดจตุจักร”
โดย ไทยรัฐฉบับพิมพ์
20 พฤศจิกายน 2561- 07:01 น.


นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 9 พ.ย.61 คณะกรรมการ (บอร์ด) รฟท. มีมติเห็นชอบให้กรุงเทพมหานคร (กทม.) บริหารตลาดนัดจตุจักร ตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 6 พ.ย. 61 เพื่อแก้ไขปัญหาค่าเช่าแผงของผู้ค้าในตลาดนัดสวนจตุจักร โดยปัจจุบัน รฟท. ส่งเรื่องให้กระทรวงคมนาคมพิจารณาแล้ว และจะรายงานให้ ครม.รับทราบต่อไป จากนั้น รฟท. และ กทม. จะลงนามในบันทึกความเข้าใจ (เอ็มโอยู) เรื่องการโอนสิทธิ์บริหารจัดการตลาดนัดจตุจักรให้เร็วที่สุด ในเบื้องต้น กทม.จะจัดเก็บค่าเช่าแผง 1,800 บาทต่อแผงต่อเดือน จากเดิมที่ รฟท.จัดเก็บ 3,157 บาทต่อแผงต่อเดือน และ กทม. ต้องจ่ายค่าเช่าให้ รฟท.อีก 169 ล้านบาทต่อปี พร้อมปฏิบัติตามเงื่อนไขอีก 3-4 ข้อ

“คิดว่าไม่มีอะไรเสียหาย เป็นการปฏิบัติตามนโยบายรัฐบาล ที่ต้องการช่วยเหลือผู้ค้ารายย่อย ปัจจุบันอยู่ระหว่างเจรจารายละเอียด และเขียนสัญญาให้รัดกุม โดยจะพยายามลงนามเอ็มโอยูภายในเดือน พ.ย.นี้ เพื่อให้สิทธิ์ กทม.ไปบริหารตั้งแต่วันที่ 1 ธ.ค.นี้ จากนั้นจะลงนามสัญญากับ กทม.จะมีผลย้อนหลังตั้งแต่วันที่ 1 ธ.ค.นี้เป็นต้นไป”

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กรณีดังกล่าวเป็นไปตามมติคณะกรรมการขับเคลื่อนและการปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดิน คณะที่ 5 ที่มีพลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน เมื่อวันที่ 12 ก.ย.61 ที่เห็นชอบให้ลดค่าเช่าแผงตลาดนัดจตุจักรเหลือ 1,800 บาทต่อแผงต่อเดือน จาก 3,157 บาทต่อแผงต่อเดือน โดยหาก รฟท.บริหารและลดค่าเช่าแผงเอง จะทำให้กำไรสุทธิของตลาดนัดลดลงจากเฉลี่ย 213.29 ล้านบาทต่อปี เหลือ 58.67 ล้านบาทต่อปี แต่หากให้ กทม. บริหาร จะมีกำไรสุทธิเพียงพอและจ่ายค่าเช่าให้ รฟท.ได้ 169 ล้านบาทต่อปี ดังนั้น ครม. จึงเห็นชอบให้กระทรวงคมนาคมและกระทรวงมหาดไทยโอนความรับผิดชอบในการบริหารจัดการตลาดนัดจตุจักรโดยเร็ว

ทั้งนี้ กทม.ได้เคยบริหารจัดการตลาดนัดจตุจักรมาแล้วในช่วงปี 47-54 โดยมีรายได้สูงสุด 175 ล้านบาท และต่ำสุด 88 ล้านบาท โดย กทม. จ่ายค่าเช่าให้ รฟท.ต่ำสุดที่ 1.6 ล้านบาทต่อปี และสูงสุด 24 ล้านบาทเศษ ถือว่าน้อยมากเมื่อเทียบมูลค่าเชิงพาณิชย์ และต่อมาปี 55-60 รฟท. ได้บริหารจัดการตลาดนัดดังกล่าวอีกครั้ง โดยมีรายได้และกำไรเพิ่มขึ้นทุกปี จากปี 55 มีรายได้ 238 ล้านบาท และกำไร 85 ล้านบาท มาเป็นมีรายได้ 375 ล้านบาท และกำไร 177 ล้านบาทในปี 60.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 23/11/2018 10:37 am    Post subject: Reply with quote

ปตท.เซ็น MOU รถไฟ รื้อลงทุน”สมาร์ทซิตี้” มุ่งทำเลบางซื่อ-อีอีซี

วันที่ 22 พฤศจิกายน 2561- 08:30 น.

“ปตท.-ร.ฟ.ท.” เซ็น MOU ร่วมกันพัฒนาการขนส่ง ซื้อหัวรถจักรหนุนโลจิสติกส์รับรถไฟทางคู่ จับคู่เป็นพี่เลี้ยงพัฒนาโครงการสมาร์ทซิตี้ รีวิวแผน 10 จังหวัด ลงทุน 3.6 แสนล้าน มุ่งปักหมุด “บางซื่อ-เมืองภาคตะวันออก” เกาะไฮสปีดอีอีซี

นายวรวุฒิ มาลา รักษาการผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) เมื่อวันที่ 15 พ.ย. 2561 ที่ผ่านมา อนุมัติให้ ร.ฟ.ท.เซ็นบันทึกกรอบความร่วมมือ (MOU) กับ บมจ.ปตท.เพื่อดำเนินการร่วมกันในด้านต่าง ๆ เช่น ด้านการขนส่ง โดยจัดซื้อหัวรถจักรและแคร่ขนส่งสินค้า พัฒนาโครงการสมาร์ทซิตี้ เป็นต้น

“เป็นกรอบความร่วมมือกว้าง ๆ ร.ฟ.ท.กับ ปตท.ต้องทำงานร่วมกันอีก ปีหน้าน่าจะเห็นเป็นรูปธรรม เช่น สมาร์ทซิตี้ที่บางซื่อ ที่ ปตท.สนใจลงทุน รวมถึงซื้อรถจักรขนสินค้าเหมือนที่ทีพีไอลงทุนซื้อมาก่อนหน้านี้”



นายชาญศิลป์ ตรีนุชกร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า โครงการสมาร์ทซิตี้บางซื่อ ทาง ร.ฟ.ท.เป็นผู้ทำมาสเตอร์แพลน จะเปิดประมูล PPP ซึ่ง ปตท.ดูที่โอกาส เงื่อนไขประมูล ถึงจะตอบได้จะเข้าร่วมหรือไม่ ทั้งนี้ ปตท.เป็นพี่เลี้ยงโครงการนี้ให้กับ ร.ฟ.ท. โดยร่วมกับประเทศญี่ปุ่นศึกษาโครงการสมาร์ทซิตี้ที่บางซื่อให้สำหรับสมาร์ทซิตี้แนวรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา ทาง ปตท.สนใจจะเข้าร่วมลงทุนภายหลังจากที่ได้ผู้ชนะประมูลแล้ว ซึ่ง ปตท.สามารถเจรจาได้ทั้งกลุ่ม ซี.พี. และกลุ่มบีทีเอส เรื่องการเข้าไปร่วมลงทุน


ชาญศิลป์ ตรีนุชกรรอ
โดย ปตท.สนใจการพัฒนาสมาร์ทซิตี้ เนื่องจากรัฐบาลให้ความสำคัญกับการพัฒนาโครงการในพื้นที่ระเบียงเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) เป็นหลัก ดังนั้น การลงทุนของ ปตท.ก็ต้องสอดรับกับนโยบายรัฐด้วย

“ปตท.เคยศึกษาสมาร์ทซิตี้ไว้ 10 พื้นที่แนวรถไฟทางคู่ รถไฟฟ้า รถไฟความเร็วสูงในภูมิภาค ตอนนี้ภาพการพัฒนาเปลี่ยนไปแล้ว เพราะรัฐมุ่งเป้าหมายในพื้นที่อีอีซี ทาง ปตท.คงต้องโฟกัสที่อีอีซีก่อน แต่ยังระบุไม่ได้ว่าจะลงทุนที่จังหวัดไหนเป็นแห่งแรก”

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า ผลศึกษาสมาร์ทซิตี้ 10 พื้นที่ของ ปตท. ใช้เวลาพัฒนา 10-15 ปี ลงทุน 362,843 ล้านบาท ประกอบด้วย 1.เชียงรากน้อย อ.บางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา เป็นสถานีรถไฟของสายสีแดง (รังสิต-ม.ธรรมศาสตร์) และรถไฟความเร็วสูง พัฒนาเป็นจุดเปลี่ยนถ่ายการสัญจร ย่านธุรกิจ การค้า บริการที่ทันสมัยและที่อยู่อาศัย ควบคู่ไปกับเทคโนโลยี เช่น การสื่อสารระบบไร้สาย

2.พหลโยธิน จะพัฒนาเมืองใหม่รอบสถานีต่อยอดโครงการเอ็นเนอร์ยี่คอมเพล็กซ์และพัฒนาพื้นที่ติดสถานีกลางบางซื่อเป็นย่านการค้าและบริการ มีรถบีอาร์ทีรองรับการเดินทาง และพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ สำนักงานและที่อยู่อาศัย

3.แหลมฉบัง จ.ชลบุรี พัฒนาเป็นย่านที่อยู่อาศัยของแรงงานนานาชาติ มีระบบคมนาคมขนส่งสาธารณะรองรับ มีจุดจอดรถรอบสถานี มีการพัฒนาพาณิชยกรรม ศูนย์ชุมชน 4.ภูเก็ต เป็นย่านวิจัยและพัฒนา 5.เชียงใหม่ พัฒนาเป็นย่านพาณิชย์และสำนักงานรองรับการท่องเที่ยว

6.เด่นชัย พัฒนาพื้นที่รอบสถานีเป็นจุดเปลี่ยนถ่ายการสัญจร 7.หนองคาย พัฒนาโดยรอบสถานีรถไฟเป็นพาณิชยกรรม สำนักงาน พร้อมขยายพื้นที่อยู่อาศัยโดยรอบ ส่วนบริเวณสถานีนาทาจะเป็นศูนย์รวบรวมสินค้าระบบตู้คอนเทนเนอร์ (CY) จากจีนและลาวเพื่อกระจายสินค้านำเข้าและส่งออก 8.ขอนแก่น จะขยายพื้นที่พาณิชยกรรมของเมืองให้ใหญ่ขึ้น รัศมีรอบสถานีรถไฟถึงถนนมิตรภาพ 9.แก่งคอย จะพัฒนาพาณิชยกรรมและที่อยู่อาศัยรอบสถานีรถไฟแก่งคอยและพื้นที่เมืองเดิม

และ 10.คลองหลวง เป็นย่านที่อยู่อาศัยมีโครงข่ายรถไฟเชื่อมไปยังสถานีเชียงราก ซึ่งใน 10 ปีแรก จะนำร่องที่พหลโยธิน เชียงรากน้อย แหลมฉบังและภูเก็ต ส่วนคลองหลวง เชียงใหม่ เด่นชัย ขอนแก่น หนองคายและแก่งคอย จะเป็นช่วง 5-15 ปี

สำหรับสมาร์ทซิตี้ย่านบางซื่อ 2,325 ไร่ ร.ฟ.ท.เปิดให้เอกชนร่วมลงทุน PPP 30-50 ปี ใน 15 ปีแรก ลงทุน 358,700 ล้านบาท แบ่งพัฒนา 3 เฟส เฟสละ 5 ปี มีองค์การเพื่อความมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (ไจก้า) ศึกษาให้ กำหนดการพัฒนา 9 โซน ระยะสั้นลงทุน 40,100 ล้านบาท ระยะกลาง 167,100 ล้านบาท และระยะยาว 151,500 ล้านบาท

ใน 5 ปีแรก เริ่มโซน A 35 ไร่ ติดสถานีกลางบางซื่อ เปิดประมูลในปี 2562 จากนั้นโซน D จะสร้างทางเดินลอยฟ้าเชื่อมบางซื่อกับหมอชิตเก่า และโซน D ย่านตึกแดง 119 ไร่ พัฒนาเป็นพื้นที่เชิงพาณิชย์ มีศูนย์การค้า โรงแรม สำนักงาน รองรับรถไฟฟ้าสายสีแดงตลิ่งชัน-บางซื่อ-รังสิต จะเปิดในปี 2563


Last edited by Wisarut on 25/11/2018 10:27 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 23/11/2018 10:54 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
Wisarut wrote:
เร่งลงนามจ่อยกตลาดนัดสวนจตุจักรให้กทม. 1 ธันวาคม
https://www.thebangkokinsight.com/65854/

รถไฟจุก ประเคน "ตลาดนัดจตุจักร" 1 ธ.ค.นี้ ให้ กทม. กินรวบบริหาร
ข่าวเศรษฐกิจ
โดย ไทยรัฐออนไลน์
19 พฤศจิกายน 2561- 21:20 น.



กทม.พร้อมเข้าบริหารตลาดจตุจักร 1ธ.ค.นี้
พุธที่ 21 พฤศจิกายน 2561 เวลา 15.26 น.

ผู้ว่าฯอัศวินหารือเตรียมเข้าบริหารตลาดนัดจตุจักร ลดค่าเช่าแผงเหลือ 1,8000 บาท ดึง กอ.รมน.กทม.ลงพื้นที่แก้ปัญหาเซ้งแผงต่อ

เมื่อวันที่ 21 พ.ย.61 พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร( กทม.) กล่าวถึงกรณีที่คณะกรรมการขับเคลื่อนและปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดิน คณะที่ 5 ซึ่งมี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม เป็นประธาน สรุปให้ กทม.กลับมาบริหารจัดการตลาดนัดจตุจักรแทนการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ว่า กทม. เข้าบริหารจัดการตลาดนัดจตุจักร ตั้งแต่วันที่ 1 ธ.ค.61 เป็นต้นไป เดิมผู้ค้าจะสิ้นสุดสัญญาเช่า ในวันที่ 28 ก.พ.62 แต่เมื่อมีมติให้สิทธิ กทม. เข้ามาบริหารจัดการตลาดนัดจตุจักร กทม. ก็พร้อมดำเนินการทันที โดยวันที่ 23 พ.ย.นี้ จะประชุมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการเข้าบริหารจัดการตลาดนัดจตุจักร เบื้องต้นกำหนดค่าเช่าแผงในอัตราประมาณ 1,800 บาทต่อเดือน ซึ่งลดลงจากเดิมที่เช่าแผงละประมาณกว่า 3,000 บาท ส่วนการให้สิทธิ์ผู้ค้าได้เช่าแผงค้าภายในสวนจตุจักรนั้น เบื้องต้นจะให้สิทธิ์ผู้เช่าเดิมก่อน โดยกำหนดเงื่อนไขให้ผู้ค้า 1 คน ต่อ 1 แผง และห้ามปล่อยเช่าช่วงต่อ เพื่อแก้ปัญหา เนื่องจากที่ผ่านมาเจ้าของแผงมักปล่อยเช่าช่วงต่อในอัตราเช่าสูงกว่าค่าเช่าจริง โดยจะมอบหมายให้กองอำนวยการักษาความมั่นคงภายในกรุงเทพมหานคร (กอ.รมน.กทม.) และเจ้าหน้าที่ทหาร เข้าไปตรวจสอบ ทั้งนี้หากลงพื้นที่แล้วพบว่าผู้ค้าที่เป็นผู้รับสิทธิ์ไม่เคยมาทำการค้าขาย แต่ให้สิทธิ์ผู้อื่นมาขายแทน จะทำการยกเลิกสิทธิ์ทันที อย่างไรก็ตาม การรถไฟแห่งประเทศไทย จะคิดค่าเช่าที่ดินพื้นที่ทั้งหมด 68 ไร่ 1 งาน 88 ตารางวา ในอัตราค่าเช่า ปีละ 169,423,250 บาท ระยะเวลาไม่เกินปี 2571 โดยจะพิจารณาทบทวนค่าเช่าทุกๆ3ปี ทั้งนี้ในวันที่ 1 ธ.ค.นี้ คาดว่าตนจะลงพื้นที่ตลาดนัดสวนจตุจักร เพื่อตรวจสอบสภาพพื้นที่ว่า จะดำเนินการอย่างไร จะมีการปรับปรุงหรือเพิ่มเติมในส่วนใดเพื่ออำนวยความสะดวก ให้แก่ประชาชนและนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวชมและซื้อสินค้า

รายงานข่าวแจ้งว่า สำหรับตลาดนัดจตุจักร กทม. ได้ยึดมติ ครม.วันที่ 24 ก.ค. 2522 และวันที่ 14 เม.ย. 2525 ให้ ใช้ที่ดินของ รฟท.เพื่อจัดตลาดนัดรองรับผู้ค้าที่ย้ายมาจากสนามหลวง จึงได้เช่าที่ดินของรฟท. พื้นที่ 68 ไร่ ปีละ 24.2 ล้านบาท มาเป็นเวลา 30 ปี ต่อมาวันที่ 27 ธ.ค.54 คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติให้ รฟท. เป็นผู้บริหารตลาดนัดสวนจตุจักรแทน กทม. หลังจาก กทม.หมดสัญญาเช่าในวันที่ 1 ม.ค.55 โดยกำหนดให้กทม. ส่งมอบพื้นที่ในวันที่ 2 ม.ค.55 ซึ่งระหว่างที่ รฟท. เข้ามาบริหารจัดการตลาดนัดจตุจักร ได้เกิดปัญหากับผู้ค้าอย่างต่อเนื่อง เช่น อัตราค่าเช่าสูง ไม่เป็นธรรม การบริหารจัดการห้องน้ำ และขยะ ไม่มีประสิทธิภาพ เป็นต้น จึงมีการพิจารณาให้ กทม.เข้ามาดำเนินการอีกครั้ง.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 25/11/2018 10:28 pm    Post subject: Reply with quote

ชิงเดือดพื้นที่มักกะสัน เค้ก2ล้านตร.ม.พัฒนาเชิงพาณิชย์-รัศมี4กม.ได้อานิสงส์
ออนไลน์เมื่อ 21 พฤศจิกายน 2561
หน้า 29-30 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
ปีที่ 38 ฉบับ 3,419 วันที่ 18-21 พฤศจิกายน 2561

ชิงประมูลรถไฟเชื่อม 3 สนามบิน บูมมักกะสัน คาด ทุ่ม 4 หมื่นล้าน ผุดมิกซ์ยูส 2 ล้านตร.ม. ดันที่โดยรอบ พลิกเป็นย่านพาณิชยกรรม พญาไท-แยกพระราม9-อโศก-เพชรที่พุ่งกว่า 1 ล้านต่อตารางวาพื้นที่ย่านมักกะสัน คึกคักมีสีสันอีกครั้งหลังโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ขยับ ยื่นซองประมูล จากคู่ท้าชิง ระหว่าง “ซีพีกับบีทีเอส”

นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญากรรมการบริษัท บีทีเอส กรุ๊ปโฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผย “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า จากการยื่นซองประมูล โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน หากใครชนะประมูล จะได้ที่ดิน 2 แปลงของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) นำไปพัฒนาเชิงพาณิชย์ ได้แก่แปลงบริเวณที่ตั้งสถานี ศรีราชา จังหวัด ชลบุรี และที่ดินแปลงใหญ่ที่ สนใจจะเป็นมักกะสันเนื้อที่ 128 ไร่ พัฒนารูปแบบมิกซ์ยูส ตามเงื่อนไขทีโออาร์ ส่วนโรงซ่อม ทางร.ฟ.ท.จะพัฒนาทำเป็นพิพิธภัณฑ์ อย่างไรก็ดีบริษัทมีทีเด็ด สร้างความจูงใจ พื้นที่โดยรอบ ทำให้เกิดการพัฒนาร่วมกัน อนาคตเชื่อว่าทำเลนี้จะมีศักยภาพสูงกลายเป็นย่านพาณิชยกรรมที่น่าสนใจ ราคาที่ดินขยับสูง เนื่องจากเป็นจุดเชื่อมต่อการเดินทางออกไปยังเมืองอีอีซีและจากอีอีซีเข้ากรุงเทพฯ ส่วนที่ดินในมือเป็นของบริษัทลูก บีทีเอส บริษัท ยูซิตี้ จำกัด (มหาชน) เนื้อที่ 7-8 ไร่ ติดสถานีีพญาไท (บีทีเอส) มีแผนพัฒนาเป็นมิกซ์ยูส โรงแรม ออฟฟิศ ที่อยู่อาศัยฯลฯ ขณะรถไฟความเร็วสูง จะมีส่วนของเส้นทางแอร์พอร์ตลิงค์ ที่จะใช้ทางร่วมกับรถไฟความเร็วสูง ซึ่งจะเป็นเกตเวย์ออกไปสู่อีอีซี ทั้งนี้หากชนะประมูล จะมีพันธมิตรชั้นนำทั้งไทยและต่างชาติจำนวนมากให้ความร่วมมือแต่ไม่สามารถเปิดรายชื่อได้ในขณะนี้



ขณะนายศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) ระบุว่า ที่ดินที่สนใจจะเป็นแปลงมักกะสัน มองว่ามีศักยภาพสูง รวมถึงที่ดินที่ศรีราชา จังหวัดชลบุรี ส่วนที่ดินของบริษัทส่วนใหญ่เป็นที่เกษตรที่มีอยู่เดิมและคงไม่ซื้อเพิ่ม

นายสุรเชษฐ กองชีพ นักวิจัยตลาดอสังหาริมทรัพย์ระบุว่า ย่านมักกะสัน จะกลายเป็นย่านพาณิชย์ จากการพัฒนาของเอกชนผู้ชนะประมูล ในรูปแบบมิกซ์ยูส ซึ่งที่ดินติดกับสถานีมักกะสัน อาจยังไม่ถึง 1 ล้านบาทต่อตารางวา แต่อนาคต เชื่อว่าจะขยับไปไกล นอกจากนี้แล้วพื้นที่โดยรอบอาจได้อานิสงส์ เช่น หากเดินขึ้นไปทางตอนเหนือของแปลงที่ดินมักกะสัน จะเชื่อมกับแยกพระราม 9 ติดกับรถไฟใต้ดิน MRT ซึ่งปัจจุบันมีการพัฒนาโครงการกันอย่างคึกคัก ราคาที่ดินทะลุกว่า 1 ล้านบาทต่อตารางวา หรือเดินลงมาทางใต้จะเจอแยกอโศก-เพชร ราคาที่ดิน 1 ล้านบาทต่อตารางวา อีกทำเลที่จะได้อานิสงส์จากรถไฟความเร็วสูงและโครงการมิกซ์ยูสมักกะสันคือ ทำเลบริเวณทางขึ้นทางด่วนบนถนนเพชรบุรี (ถนนวิทยุชนกับถนนเพชรบุรี) เป็นต้น

สอดคล้องกับ บริษัท คอลลิเออร์ส อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทยฯ ระบุว่า ที่ดินมักกะสันที่ร.ฟ.ท.
จะให้เอกชนเข้าไปพัฒนากว่า 120 ไร่ สัญญาเช่า 50 ปี พื้นที่ที่เป็นตัวอาคารทั้งหมดอยู่ที่ประมาณ 2.4 ล้านตร.ม. ความต้องการขั้นตํ่าสำหรับการพัฒนาอยู่ที่ประมาณ8.5 แสนตร.ม. ซึ่ง คอลลิเออร์ส มองว่าหากเอกชนเข้ามาพัฒนา คาดว่าจะใช้งบประมาณกว่า 40,000 ล้านบาท และใช้เวลากว่า 10 ปีถึงจะคืนทุน โดยต้องนำที่ดินแปลงดังกล่าวมาพัฒนาเป็นโครงการมิกซ์ยูสขนาดใหญ่ไม่ว่าจะเป็น อาคารสำนักงาน โรงแรม พื้นที่ค้าปลีก เซอร์วิส อพาร์ตเมนต์ รวมถึง คอนโดมิเนียม (เช่า) ลีสโฮลด์

สำหรับอาคารสำนักงาน อุปทานอาคารสำนักงานในย่านนี้ส่วนใหญ่เป็นอาคารสำนักงานเกรด A ราคาค่าเช่าอยู่ที่ประมาณ 850-1,200 บาทต่อตร.ม.ต่อเดือน ส่วนอาคารสำนักงานเกรด B ราคาค่าเช่าจะอยู่ที่ประมาณ 500-650 บาทต่อตร.ม.ต่อเดือน ดังนั้น อาคารสำนักงานเกรด A และ B จึงเป็นสิ่งที่น่าสนใจในการพัฒนาบนพื้นที่แปลงนี้

สำหรับธุรกิจโรงแรม ในพื้นที่โดยรอบที่ดินมักกะสันแวดล้อมไปด้วยโรงแรมระดับกลางและระดับบนมากถึง 5,302 ห้องพัก และมีอัตราพักเฉลี่ยสูงถึง 70-75% นอกจากนี้ที่ดินแปลงนี้ยังแวดล้อมไปด้วย เซอร์วิส อพาร์ตเมนต์ กว่า 3,376 ห้อง และมีอัตราการเช่าสูงถึง 86% โดยราคาค่าห้องพักต่อเดือนเฉลี่ยอยู่ที่ สตูดิโอ 38,000 -90,000 บาทต่อเดือน 1 ห้องนอน 42,000-110,000 บาทต่อเดือน 2 ห้องนอน 57,000-180,000 บาทต่อเดือน และ 3 ห้องนอน 140,000-247,000 บาทต่อเดือน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 27/11/2018 10:09 am    Post subject: Reply with quote

ผู้ค้าจตุจักรเฮ!กทม.ยื่นมือช่วย 2พันรายติดหนี้'รฟท.'
จันทร์ที่ 26 พฤศจิกายน 2561 เวลา 08.10 น.

"อัศวิน" ระดมทุกหน่วยงานช่วยเหลือผู้ค้า 2 พันราย ติดหนี้ รฟท.สั่งปรับโฉมตลาดนัดสวนจตุจักร ให้ดีขึ้นจะได้เห็น 1 ธ.ค.นี้

พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร(กทม.) เปิดเผยว่า ได้ประชุมหารือเตรียมความพร้อมการเข้าบริหารจัดการตลาดนัดจตุจักร ตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในวันที่ 1 ธ.ค. นี้ กับ พล.อ.ณัฐพล นาคพาณิชย์ รองผู้บัญชาการทหารบก พล.ต.มนัส จันทร์ดี รองผู้อำนวยการกองรักษาความมั่นคงภายในกรุงเทพมหานคร (กอ.รมน.กทม.) กระทรวงการคลัง ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส. ) ธนาคารออมสิน มาช่วยกันแก้ไขปัญหาหนี้สินของกลุ่มผู้ค้าตลาดนัดจตุจักร ซึ่งมีอยู่ประมาณ 2,000 ราย กับการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) โดยกทม.จะช่วยเจรจาขอให้ รฟท.ลดหย่อนดอกเบี้ยให้กับกลุ่มผู้ค้า รวมทั้งกลุ่มผู้ค้า ที่ติดหนี้สินเงินนอกระบบ ธนาคาร ธกส. ธนาคารออมสิน ก็จะแนวทางพิจารณาให้ความช่วยเหลือ เพื่อบรรเทาปัญหาความเดือดร้อนในเบื้องต้น ขณะเดียวกันในส่วนของ กทม. จะลดค่าเช่าแผงค้า เหลือ 1,800 บาท ต่อแผงค้า ตั้งแต่วันที่ 1 ธ.ค.61 เป็นต้นไป ตามนโยบายของ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม (กห.) ที่ต้องการช่วยเหลือและบรรเทาปัญหาความเดือดร้อนให้กับผู้ค้าจตุจักร ส่วนการให้สิทธิผู้เช่าแผงค้าตลาดนัดจตุจักร ผู้ค้าไม่ว่าจะเก่าหรือใหม่ จะต้องขึ้นทะเบียนผู้ค้าใหม่ทั้งหมด โดยจะกำหนดเงื่อนไขห้ามปล่อยเซ้ง หรือนำไปเช่าช่วงต่อ โดยจะให้สิทธิ 1 คนต่อ 1 แผงเท่านั้น ซึ่งกทม.จะร่วมกับ กอ.รมน.กทม.จัดทีมลงพื้นที่สำรวจ ตรวจสอบ และเก็บข้อมูล เพื่อพิสูจน์ผู้ค้าตัวจริง

พล.ต.อ.อัศวิน กล่าวต่อว่า ได้มอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าปรับปรุงภูมิทัศน์ตลาดนัดจตุจักร ให้มีความสะอาดและเป็นระเบียบเรียบร้อย อาทิ สำนักการโยธา (สนย.) เข้าดำเนินการปรับพื้นให้เท่ากัน พร้อมทั้งปูทางเดินแอสฟัลท์ สำนักการจราจรและขนส่ง (สจส.) ขีดสีตีเส้น ทั้งช่องจอดรถและช่องของผู้ค้า สำนักการระบายน้ำ (สนน.) ทำการขุดลอกท่อและล้างทำความสะอาดท่อระบายน้ำ สำนักสิ่งแวดล้อม (สสล.) จัดหาพื้นที่ทิ้งขยะ และตัดแต่งกิ่งไม้และต้นไม้ นอกจากนี้ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทาสีอาคารใหม่ ปรับปรุงและทำความสะอาดห้องน้ำ เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมให้ดีขึ้น โดยให้เห็นความเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจน ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จะต้องปรับปรุงให้ดีขึ้นกว่าเดิม ไม่น้อยกว่า 30-40% เพื่อสร้างภาพลักษณ์ตลาดจตุจักรใหม่ ซึ่งในวันที่ 1 ธ.ค.นี้ ตนจะลงพื้นที่ไปตรวจความเรียบร้อย
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44533
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 27/11/2018 10:43 pm    Post subject: Reply with quote

รถไฟปฎิบัติการยึดคืนที่”สถานีแม่น้ำ”เดดไลน์ไล่ฟ้องผู้บุกรุกออกจากพื้นที่ 2 เดือน คิวต่อไปกาญจนบุรี 1,610 ไร่
ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 27 November 2018 - 18:21 น.

นายสมยุทธิ์ เรือนงาม รองผู้อำนวยการฝ่ายด้าน ปฏิบัติการ ฝ่ายปฏิบัติการเดินรถ การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) กล่าวว่า พื้นที่บริเวณสถานีแม่น้ำเป็นที่ดินของ ร.ฟ.ท. โดยมีพื้นที่ทั้งสิ้น 260 ไ่ร่ เดิมบริษัท เชลล์แห่งประเทศไทย จำกัด เช่าพื้นที่บางส่วนสำหรับทำคลังเก็บน้ำมัน โดยลงนามในสัญญเช่าเมื่อ 2 พ.ค. 2536 และเมื่อสิ้นสุดสัญญาเช่าก็ได้คืนพื้นที่เช่าครบถ้วนแล้ว

แต่ปัจจุบันพบว่า พื้นที่สถานีแม่น้ำถูกบุกรุกเข้าใช้ประโยชน์โดยไม่ได้รับอนุญาต คิดเป็นเนื้อที่ 86 ไร่ หรือร้อยละ 33 ของพื้นที่ทั้งหมด โดยจากการสำรวจพบว่ามีการนำพื้นที่ไปใช้ประโยชน์ในหลายลักษณะ ได้แก่ ทำลานจอดรถบรรทุก, กองเก็บวัสดุก่อสร้างและบ่อคอนกรีต, ที่พักคนงาน, กองขยะขนาด 1 ล้านคิว, ที่พักคนงาน, กองเก็บทรายและหิน, อู่ซ่อมรถ และที่เก็บเครื่องจักรขนาดใหญ่

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 28/11/2018 11:48 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
รถไฟปฎิบัติการยึดคืนที่”สถานีแม่น้ำ”เดดไลน์ไล่ฟ้องผู้บุกรุกออกจากพื้นที่ 2 เดือน คิวต่อไปกาญจนบุรี 1,610 ไร่
ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 27 พฤศจิกายน 2561 เวลา 18:21 น.

รฟท.ลุยฟ้องขับไล่ผู้บุกรุกที่ดินสถานีแม่น้ำกว่า200ราย

วันที่ 27 พฤศจิกายน 2561 เวลา 19:22 น.

ร.ฟ.ท.ทวงพื้นที่แม่น้ำคืน จับมือกรมบังคับคดีปิดหมายขับไล่ผู้บุกรุก 200 ราย
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันที่ 27 พฤศจิกายน 2561 เวลา 16:32
ปรับปรุง: วันที่ 27 พฤศจิกายน 2561 เวลา16:39


การรถไฟฯ ลงพื้นที่ย่านสถานีแม่น้ำพร้อมเจ้าพนักงานบังคับคดี ปิดประกาศคำสั่งศาลขับไล่รื้อถอนผู้บุกรุกกว่า 200 ราย ทวงพื้นที่ 86 ไร่คืน เตรียมเดินหน้าเปิด PPP พัฒนาเชิงพาณิชย์

วันนี้ (27 พ.ย.) นายสมยุทธิ์ เรือนงาม รองผู้อำนวยการด้านปฏิบัติการ ฝ่ายปฏิบัติการเดินรถ การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ในฐานะประธานคณะทำงานเฉพาะกิจเพื่อดำเนินการต่อผู้บุกรุกหรือรุกล้ำที่ดินการรถไฟฯ พร้อมกับเจ้าพนักงานบังคับคดี ได้ลงพื้นที่ปิดประกาศขับไล่รื้อถอนตามคำสั่งศาลที่การรถไฟฯ ยื่นฟ้องขับไล่ผู้บุกรุกย่านสถานีแม่น้ำ จำนวนกว่า 200 ราย ซึ่งประกอบด้วย กลุ่มบริษัทผู้ประกอบการรายใหญ่ที่บุกรุกพื้นที่โดยไม่มีสัญญาเช่า 38 ราย กลุ่มบริษัทรายใหญ่มีสัญญาเช่า 19 ราย ซึ่งทยอยหมดอายุสัญญาเช่าในปี 2562 และกลุ่มผู้บุกรุกที่เป็นชาวบ้านรายย่อยอีกกว่า 150 ราย

ทั้งนี้ เป็นการดำเนินการตามนโยบายคณะกรรมการรถไฟฯ ในการแก้ปัญหาการบุกรุกหรือรุกล้ำที่ดินของการรถไฟฯ เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการพัฒนาที่ดินเชิงพาณิชย์ พื้นที่ย่านสถานีแม่น้ำของการรถไฟฯ มีเนื้อที่ทั้งหมด 260 ไร่ 1 งาน 7 ตารางวา ซึ่งพบผู้บุกรุกรุกล้ำพื้นที่ประมาณ 86 ไร่ 35 ตารางวา หรือคิดเป็น 137,740 ตารางเมตร เท่ากับ 33% ของที่ดินทั้งแปลง

การถไฟฯ ได้มีแผนพัฒนาโครงการดังกล่าวมาตั้งแต่ปี 2552 ที่เริ่มการศึกษาพัฒนาพื้นที่โดยว่าจ้างสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง (สจล.) ดำเนินการสำรวจศึกษาความเหมาะสมและออกแบบเบื้องต้น พร้อมจัดทำเอกสารสำหรับใช้ในการขออนุมัติและหาผู้ลงทุนในโครงการตามพระราชบัญญัติการให้เอกชนเข้าร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556 พื้นที่เดิมใช้เป็นย่านคลังสินค้า คลังนํ้ามัน และการขนส่งสินค้าต่อเนื่องทางนํ้าเชื่อมต่อทางรถไฟและทางถนนสายที่เรียกว่า “ถนนเชื้อเพลิง” ผ่านถนนพระราม 4 ออกไปเชื่อมกับเส้นทางรถไฟสายตะวันออกที่มักกะสัน

สำหรับการศึกษารูปแบบการพัฒนาโครงการที่ดินดังกล่าวมี 6 รูปแบบ ประกอบด้วย อาคารพาณิชยกรรมและค้าปลีก อาคารพักอาศัย สำนักงาน ศูนย์ประชุมและจัดแสดงสินค้านานาชาติ และโรงแรม พร้อมกับแบ่งออกเป็น 5 โซนการพัฒนา ดังนี้

โซนที่ 1 Gateway Commercial Park จำนวน 77 ไร่ อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ เชื่อมโยงด้วยระบบขนส่งสาธารณะ นอกจากนี้ยังเหมาะสำหรับเป็นพื้นที่เพื่อการพาณิชยกรรม ที่พักอาศัย และบริการประเภทของอาคาร ประกอบด้วย ห้างสรรพสินค้า (Lifestyle Mall) สำนักงาน

โซนที่ 2 Iconic Marina พื้นที่จำนวน 44 ไร่ เหมาะสำหรับก่อสร้างอาคารสูงขนาดใหญ่พิเศษ พื้นที่สำนักงาน ศูนย์ประชุมสัมมนา ที่พักอาศัย ศูนย์การค้า พาณิชยกรรม การแสดงสินค้า ธุรกิจการค้า ที่ทำการองค์กรการค้าเอกชน ศูนย์ข้อมูลธุรกิจ ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว และท่าเทียบเรือสำราญขนาดกลาง

โซนที่ 3 Cultural Promenade พื้นที่รวม 78 ไร่ เหมาะสำหรับพัฒนาเป็นพื้นที่พาณิชยกรรมค้าปลีก และศูนย์กิจกรรมทั้งด้านบันเทิง ด้านการสร้างสรรค์ ร้านอาหารภัตตาคาร สปา คลับ และอาคารใช้งานแบบผสมผสาน (Mixed Use Tower)

โซนที่ 4 Riverfront Residence พื้นที่รวม 55 ไร่ เหมาะสำหรับก่อสร้างกลุ่มคอนโดมิเนียมหรือกลุ่มอาคารที่พักอาศัย สามารถเชื่อมต่อกับการใช้งานในพื้นที่อื่นของพื้นที่โครงการส่วนอื่นได้อย่างสะดวก

โซนที่ 5 Affordable Community พื้นที่รวม 22 ไร่ อยู่บริเวณริมคลองด้านทิศเหนือเหมาะสำหรับพัฒนารองรับธุรกิจการค้าระดับชุมชน สินค้าหัตถกรรม ร้านอาหารตามแนวริมคลองขุด

ภายหลังจากคณะกรรมการการรถไฟฯ ให้ปรับปรุงข้อมูลเพื่อให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการร่วมทุนในกิจการของรัฐแล้ว การรถไฟฯ เสนอสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เพื่อดำเนินการเปิดสัมปทานให้เอกชนเข้ามาลงทุนพัฒนาในระยะยาวต่อไป

เดินหน้าฟ้องดะเอกชน 40 ราย รฟท.ทวงคืนพื้นที่ขาใหญ่บุกรุก หวั่นพัฒนา "สถานีแม่น้ำ" ไม่คืบ
ข่าวเศรษฐกิจ

โดย ไทยรัฐฉบับพิมพ์
28 พฤศจิกายน 2561 เวลา 08:50 น.

นายสมยุทธิ์ เรือนงาม รองผู้อํานวยการด้านปฏิบัติการ ฝ่ายปฏิบัติการเดินรถการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ในฐานะประธานคณะทํางานเฉพาะกิจเพื่อดําเนินการกับผู้บุกรุกหรือรุกล้ำที่ดินรถไฟย่านสถานีแม่น้ำ 86 ไร่ เปิดเผยหลังนำคณะสื่อมวลชน พร้อมเจ้าหน้าที่บังคับคดี ลงพื้นที่สำรวจการบุกรุกสถานีแม่น้ำ เมื่อวันที่ 27 พ.ย.ที่ผ่านมา ว่า เจ้าหน้าที่จากกรมบังคับคดีได้เข้าทำการปิดประกาศขับไล่ผู้บุกรุก 1 ราย พร้อมยื่นฟ้องแพ่งเรียกค่าเสียหาย 4.9 ล้านบาทด้วย โดยเอกชนรายดังกล่าวประกอบธุรกิจรถหัวลากบนพื้นที่ 3.75 ไร่ของการรถไฟ ถือเป็นการบังคับคดีรายแรกโดย รฟท.ได้ขอให้เจ้าของกิจการออกจากพื้นที่ภายใน 15 วัน หากขัดขืนจะทำการรื้อถอนทันที

“รฟท.จะทยอยฟ้องขับไล่ผู้บุกรุกรายอื่นๆ ซึ่งเท่าที่สำรวจมีอยู่ถึง 40 รายให้แล้วเสร็จภายใน 3 เดือน หรือภายในกลางเดือน ม.ค.ปี 62 พร้อมฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายรวมกว่า 113 ล้านบาท มั่นใจว่าจะสามารถผลักดันผู้บุกรุกออกจากพื้นที่ได้ภายใน 2 ปี จากนั้นจะเริ่มเจรจากับผู้บุกรุกรายย่อยอีกประมาณ 150 ครัวเรือนบริเวณวัดช่องลม ซึ่งส่วนนี้คาดว่าน่าจะตกลงกันได้”

นายสมยุทธ์ กล่าวว่า นอกเหนือจากผู้บุกรุกแล้ว ยังมีผู้ประกอบการเอกชนอีกส่วนหนึ่งที่ยังอยู่ในพื้นที่ของสถานีแม่น้ำ แบ่งออกเป็นเอกชนที่สัญญาเช่าที่ดินหมดอายุแล้วแต่ยังไม่ออกจากพื้นที่จำนวน 6 ราย คณะทำงานได้ประสานให้ฝ่ายบริหารทรัพย์สินของ รฟท.ส่งหนังสือบอกเลิกสัญญาเป็นทางการและแจ้งขอให้ย้ายออกจากพื้นที่ภายใน 30 วันไปแล้ว หากไม่ย้ายออกจะดำเนินการฟ้องแพ่งเรียกค่าเสียหายต่อไป ส่วนเอกชนอีก 9 ราย ส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการรายใหญ่ อาทิ บริษัท นครหลวงคอนกรีต จำกัด (ปูนอินทรีย์), บริษัท เชลล์ แห่งประเทศไทย จำกัด, บริษัท ยูนิคแก๊ส แอนด์ ปิโตเคมีคัลส์ จำกัด (มหาชน) เป็นต้น ซึ่งมีทั้งที่ยังไม่หมดสัญญา หรือใกล้หมดสัญญา ซึ่ง รฟท.ยืนยันแล้วจะไม่มีการต่อสัญญาอีก ยกเว้นบริษัท ขนส่งน้ำมันทางท่อ จำกัด หรือเอฟพีทีที่จะหมดสัญญาในเดือน ก.พ.65.

รฟท.ลุยไล่รื้อที่ สร้าง‘แลนด์มาร์ค’สถานีแม่น้ำ8.8หมื่นล.
วันพุธ ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561, 06.00 น.

ที่สถานีรถไฟแม่น้ำ เขตยานนาวา เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2561 นายสมยุทธิ์เรือนงาม รองผู้อํานวยการด้านปฏิบัติการฝ่ายปฏิบัติการเดินรถ การรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.)ในฐานะประธานคณะทํางานเฉพาะกิจเพื่อดําเนินการกับผู้บุกรุกหรือรุกล้ำที่ดินการรถไฟฯ พร้อมกับเจ้าพนักงานบังคับคดีลงพื้นที่ปิดประกาศขับไล่รื้อถอนตามคำสั่งศาลที่การรถไฟฯ ยื่นฟ้องขับไล่ผู้บุกรุกย่านสถานีแม่น้ำ จำนวนกว่า 200 ราย บนพื้นที่ประมาณ 86 ไร่ 35 ตารางวา หรือเท่ากับร้อยละ 33 ของที่ดินทั้งแปลง

สำหรับพื้นที่ย่านสถานีแม่น้ำของการรถไฟฯ มีเนื้อที่ทั้งหมด 260 ไร่ 1 งาน 7 ตารางวา มีแผนพัฒนาโครงการมาตั้งแต่ปี 2552 ที่เริ่มการศึกษาพัฒนาพื้นที่โดยว่าจ้างสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ดำเนินการสำรวจศึกษาความเหมาะสมและออกแบบเบื้องต้นพร้อมจัดทำเอกสารสำหรับใช้ในการขออนุมัติและหาผู้ลงทุนในโครงการตามพระราชบัญญัติการให้เอกชนเข้าร่วมลงทุนในกิจการของรัฐพ.ศ. 2556 พื้นที่เดิมใช้เป็นย่านคลังสินค้า คลังนํ้ามัน และ การขนส่งสินค้าต่อเนื่องทางนํ้าเชื่อมต่อทางรถไฟและทางถนนสายที่เรียกว่า “ถนนเชื้อเพลิง” ผ่านถนนพระราม 4ออกไปเชื่อมกับเส้นทางรถไฟสายตะวันออกที่มักกะสัน

สำหรับการศึกษารูปแบบการพัฒนาโครงการที่ดินดังกล่าวมี 6 รูปแบบ ประกอบด้วย คือ อาคารพาณิชยกรรมและค้าปลีก อาคารพักอาศัย สำนักงาน ศูนย์ประชุมและจัดแสดงสินค้านานาชาติ และโรงแรม พร้อมกับแบ่งออกเป็น 5 โซนการพัฒนา ดังนี้

โซนที่ 1 Gateway Commercial Park จำนวน 77 ไร่ อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ เชื่อมโยงด้วยระบบขนส่งสาธารณะ นอกจากนี้ ยังเหมาะสำหรับเป็นพื้นที่เพื่อการพาณิชยกรรม ที่พักอาศัยและบริการประเภทของอาคารประกอบด้วย ห้างสรรพสินค้า (Lifestyle Mall) สำนักงาน

โซนที่ 2 Iconic Marina พื้นที่ จำนวน 44 ไร่ เหมาะสำหรับก่อสร้างอาคารสูงขนาดใหญ่พิเศษ พื้นที่ สำนักงาน ศูนย์ประชุมสัมมนาที่พักอาศัย ศูนย์การค้า พาณิชยกรรม การแสดงสินค้า ธุรกิจการค้าที่ทำการขององค์กรการค้าเอกชนศูนย์ข้อมูลธุรกิจ ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว และ ท่าเทียบเรือสำราญขนาดกลาง

โซนที่ 3 Cultural Promenade พื้นที่รวม 78 ไร่ เหมาะสำหรับพัฒนาเป็นพื้นที่พาณิชยกรรมค้าปลีก และศูนย์กิจกรรมทั้งด้านบันเทิง ด้านการสร้างสรรค์ ร้านอาหารภัตตาคาร สปา คลับ และอาคารใช้งานแบบผสมผสาน(Mixed Use Tower)

โซนที่ 4 Riverfront Residence พื้นที่รวม 55 ไร่ เหมาะสำหรับก่อสร้างกลุ่มคอนโดมิเนียมหรือกลุ่มอาคารที่พักอาศัย สามารถเชื่อมต่อกับการใช้งานในพื้นที่อื่นของพื้นที่โครงการส่วนอื่นได้อย่างสะดวก

โซนที่ 5 Affordable Community พื้นที่รวม 22 ไร่ อยู่บริเวณริมคลองด้านทิศเหนือเหมาะสำหรับพัฒนารองรับธุรกิจการค้าระดับชุมชน สินค้าหัตถกรรม ร้านอาหารตามแนวริมคลองขุดภายหลังจากคณะกรรมการรถไฟฯ ให้ปรับปรุงข้อมูลเพื่อให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการร่วมทุนในกิจการของรัฐแล้ว การรถไฟฯเสนอสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เพื่อดำเนินการเปิดสัมปทานให้เอกชนเข้ามาลงทุนพัฒนาในระยะยาวต่อไป

มีรายงานแจ้งว่า สำหรับผลการศึกษาความเหมาะสมและออกแบบเบื้องต้นฯก่อนหน้านี้ ได้ประเมินมูลค่าก่อสร้างโครงการ และสาธารณูปโภค ซึ่งไม่รวมค่าตกแต่งภายในและการปรับภูมิทัศน์ 88,780 ล้านบาท เพื่อให้เป็นแลนด์มาร์คแห่งใหม่


Last edited by Wisarut on 29/11/2018 6:40 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 28/11/2018 4:18 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
ผู้ค้าจตุจักรเฮ!กทม.ยื่นมือช่วย 2พันรายติดหนี้'รฟท.'
จันทร์ที่ 26 พฤศจิกายน 2561 เวลา 08.10 น.

ผู้ค้าจตุจักรขอบคุณ'บิ๊กป้อม'หลังคืนพื้นที่ให้กทม.

อังคารที่ 27 พฤศจิกายน 2561 เวลา 19.26 น.

เมื่อวันที่ 27 พ.ย. ที่สโมสรทหารบก ถนนวิภาวดีรังสิต ตัวแทนกลุ่มสหกรณ์บริการผู้ค้าตลาดนัดจตุจักรจำกัดกว่า 100 คน นำโดยน.ส.นฤมล แซ่หุ้น ประธานสหกรณ์ผู้ค้าตลาดนัดจตุจักร เดินทางมาเข้าพบพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคงและรมว.กลาโหม ในฐานะประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนและปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดินคณะที่ 5 (กขป.5) เพื่อขอบคุณรัฐบาลที่เข้ามาช่วยแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของผู้ค้าในตลาดจตุจักรจนได้ข้อยุติเป็นที่พอใจของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะสามารถลดค่าเช่าแผงค้ารายเดือนและให้กทม.เข้ามาบริหารจัดการตลาดนัดจตุจักรแทนการรถไฟแห่งประเทศไทย โดยมีพล.อ.ณัฐ อินทรเจริญ ปลัดกระทรวงกลาโหม พล.อ.ณัฐพล นาคพาณิชย์ รองผู้บัญชาการทหารบก พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร นายพุทธิพงษ์ปุณณกันต์ รองเลขาธิการนายกฯ ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เข้าร่วม

น.ส.นฤมล กล่าวว่า ขอขอบคุณที่ช่วยแก้ไขปัญหาโดยทุกฝ่ายได้รับประโยชน์อย่างแท้จริง รู้สึกซาบซึ้งใจและขอบคุณโดยไม่สามารถบรรยายความรู้สึกของผู้ค้าได้ ที่ผ่านมาเราทุกข์ทรมานมา7 ปี ซึ่งทางกขป.5เข้ามาช่วย จึงอยากเชิญพล.อ.ประวิตรไปตลาดนัดจตุจักร หากพล.อ.ประวิตรไปเราจะไม่ให้เดิน แต่เราจะแห่พล.อ.ประวิตรรอบตลาดนัดจตุจักร อย่างไรก็ตามตอนนี้เรายังมีปัญหาเรื่องค่าใช้จ่ายในตลาดนัดจตุจักร ที่ผ่านมามีค่าใช้จ่ายสูง ทำให้มีต้นมูลหนี้ที่ไม่เป็นธรรม จึงเหมือนฝันที่พล.อ.ประวิตรเข้ามาช่วยเหลือเรา ขอบคุณที่เมตตาช่วยเหลือประชาชน เรื่องของมูลหนี้เรายอมรับได้ แต่เรื่องดอกเบี้ยโหดร้อยละ20 เรารับไม่ได้ จึงอยากขอความเมตตาช่วยเหลือ

โดยพล.อ.ประวิตร ได้กล่าวขึ้นทันทีว่า “ได้ๆ” ทำให้ได้รับเสียงปรบมือจากผู้ค้าตลาดนัดจตุจักรเป็นจำนวนมาก พล.อ.ประวิตร กล่าวอีกว่า วันนี้ได้เห็นทุกคนดีใจ ตนคงไม่มีอะไรจะพูด ในเรื่องของตลาดนัดจตุจักรเป็นความต้องการของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคสช. อยากช่วยทำให้เกิดความเป็นธรรมขึ้นในสังคม ซึ่งทราบว่าทางการรถไฟแห่งประเทศไทยเก็บค่าเช่าแพงกว่าของกทม.ที่ทำเอาไว้ตั้งแต่แรก จึงมีการไปพูดคุยเพื่อหาข้อตกลง ก็ยื้อกันอยู่นานกว่าจะมาเป็นวันนี้ ทำให้พ่อค้าแม่ค้าจ่ายค่าเช่าที่จากเดิมเดือนละ 3,000 กว่าบาท เหลือ 1,800 บาทซึ่งนายกรัฐมนตรีอยากจะสร้างความเป็นธรรมในสังคมทั่วประเทศ ไม่ใช่เฉพาะพื้นที่ตลาดนัดจตุจักรเท่านั้น และให้กขป.5 ทำในหลายเรื่อง ซึ่งเรื่องตลาดนัดจัตุจักรถือเป็นเรื่องหนึ่งที่ตนได้รับมาดำเนินการ และมอบให้รองผบ.ทบ. เป็นคนรับเรื่องดังกล่าวไปเจรจาและมาเล่าให้ตนฟัง เพื่อแก้ไขปัญหาไปทีละข้อ เพื่อให้การรถไฟแห่งประเทศไทยคืนพื้นที่นี้ให้กับกทม.

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากพล.อ.ประวิตร เดินลงจากเวทีได้เดินกล่าวทักทายผู้ค้าตลาดนัดจตุจักร ซึ่งผู้ค้าได้มอบผ้ายันต์ และนวมนักมวยเป็นของที่ระลึก โดยมีเสียงตะโกนขอบคุณ ขอให้พล.อ.ประวิตรมีสุขภาพแข็งแรง ขอให้นายกฯเป็นนายกฯต่อ และขอให้เป็นรัฐบาลต่ออีกสมัย ซึ่งพล.อ.ประวิตร กล่าวตอบว่า "อย่างนั้นประชาชนก็ต้องเลือกสิ" พร้อมอวยพรให้ผู้ค้าทุกคนโชคดีร่ำรวย.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 28/11/2018 4:44 pm    Post subject: Reply with quote

สถานีแม่นํ้าบูมทำเลทองริมเจ้าพระยา

หน้า 12 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 3,419 วันที่ 18 - 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561


ผ่านความเห็นชอบผลการศึกษาด้านการร่วมลงทุนของคณะกรรมการบอร์ดการรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.) เรียบร้อยแล้ว ก่อนที่จะส่งเรื่องดังกล่าวไปยังกระทรวงคมนาคมเพื่อนำเสนอเข้าสู่การพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) และคณะกรรมการนโยบายให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (คณะกรรมการพีพีพี) เห็นชอบก่อนเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติให้ร.ฟ.ท. เปิดประมูลหาผู้ร่วมลงทุนภายในอีก 2 ปีนี้

พื้นที่สถานีแม่นํ้าร.ฟ.ท.มีแผนการพัฒนาโครงการดังกล่าวมาตั้งแต่ปี 2552 ที่เริ่มการศึกษาพัฒนาพื้นที่โดยว่าจ้างสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง(สจล.) ดำเนินการสำรวจศึกษาความเหมาะสมและออกแบบเบื้องต้นพร้อมจัดทำเอกสารสำหรับใช้ในการขออนุมัติและหาผู้ลงทุนในโครงการตามพระราชบัญญัติการให้เอกชนเข้าร่วมลงทุนในกิจการของรัฐพ.ศ. 2556


ทำเลทองแปลงดังกล่าวนี้ตั้งอยู่ริมแม่นํ้าเจ้าพระยา โดยช่วงที่เรียกว่า “คุ้งนํ้า” คือช่วงที่เป็นโค้งแม่นํ้าเจ้าพระยามีความยาวประมาณ 1.16 กิโลเมตร ในเขตยานนาวา ล้อมรอบด้วยถนนพระราม3 โดยมีพื้นที่ประมาณ 277.5 ไร่ เดิมใช้เป็นย่านคลังสินค้า คลังนํ้ามัน และการขนส่งสินค้าต่อเนื่องทางนํ้ากับทางรถไฟ ผ่านทางรถไฟและทางถนนสายที่เรียกว่า “ถนนเชื้อเพลิง” ผ่านถนนพระราม 4 ออกไปเชื่อมกับเส้นทางรถไฟสายตะวันออกที่มักกะสัน

พื้นที่ตรงข้ามเป็นผืนป่าอันเขียวขจีที่เรียกกันว่า “บางกระเจ้า” ในพื้นที่ตำบลบางกระเจ้า จังหวัดสมุทรปราการที่จัดให้เป็น Best Oasis of Asia โดยนิตยสารไทม์ มีขอบเขตที่ดินทิศเหนือติดกับพื้นที่ของกรมธนารักษ์ และพื้นที่ของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ทิศตะวันออกติดกับพื้นที่คลังนํ้ามันเชลล์ ส่วนทิศตะวันตกติดกับวัดช่องลม และทิศใต้ติดกับแม่นํ้าเจ้าพระยา

การเข้าถึงพื้นที่โครงการสามารถเข้าได้ด้วย 4 ทางเข้า-ออก หลักคือ

1.ทางถนนเชื้อเพลิงเลียบทางรถไฟ

2.บริเวณถนนเชื้อเพลิงเก่าจากถนนพระราม 3 (ระหว่างถนนพระราม 3 ซอย 74 และพระรามที่ 3 ซอย 72)

3.เข้าทางบริเวณวัดช่องลมริมถนนพระราม 3 และ

4.คือทางนํ้า

สำหรับการศึกษารูปแบบการพัฒนาโครงการที่ดินทำเลทองแปลงดังกล่าวนี้มี 6 รูปแบบด้วยกัน คือ อาคารพาณิชยกรรมและค้าปลีก อาคารพักอาศัย สำนักงาน ศูนย์ประชุมและจัดแสดงสินค้านานาชาติ และโรงแรม พร้อมกับแบ่งออกเป็น 5 โซนการพัฒนา คือ

โซนที่ 1 Gateway Commercial Park 77 ไร่ อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ จะเชื่อมโยงด้วยระบบขนส่งสาธารณะ

โซนที่ 2 Iconic Marina พื้นที่ 44 ไร่ เหมาะสำหรับก่อสร้างอาคารสูงขนาดใหญ่พิเศษ

โซนที่ 3 Cultural Promenade พื้นที่รวม78 ไร่ เหมาะสำหรับพัฒนาเป็นพื้นที่พาณิชย กรรมและค้าปลีก

โซนที่ 4 Riverfront Residence พื้นที่รวม 55 ไร่ เหมาะสำหรับก่อสร้างกลุ่มคอนโดมิเนียมหรือกลุ่มอาคารที่พักอาศัย และ

โซนที่ 5 Affordable Community พื้นที่รวม 22 ไร่ อยู่บริเวณริมคลองด้านทิศเหนือ เหมาะสำหรับพัฒนารองรับธุรกิจการค้าระดับชุมชน สินค้าหัตถกรรม ร้านอาหารตามแนวริมคลองขุด

รวมมูลค่าทรัพย์สินทั้ง 5 โซน คิดเป็นมูลค่ากว่า 1.3 หมื่นล้านบาท (เทียบราคาประเมิน 1.2 แสนบาทต่อตารางวา)

จัดเป็นอีกหนึ่งเมกะโปรเจ็กต์ที่ฝากความหวังให้รัฐบาลชุดใหม่เข้ามาเร่งผลักดันให้แล้วเสร็จภายใน 2 ปีต่อจากนี้หลังจากที่บอร์ดร.ฟ.ท.ให้ปรับปรุงข้อมูลให้สอดคล้องกับพ.ร.บ.การร่วมลงทุนในกิจการของรัฐแล้วเสนอสคร.เร่งผลักดันโดยเร็วต่อไปแม้จะเป็นอีกหนึ่งทำเลทองแต่หากสามารถย้ายคลังนํ้ามันเชลล์ออกไปจากพื้นที่คาดว่าจะปลดข้อกังวลของนักลงทุนได้อย่างมาก
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44533
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 29/11/2018 12:19 pm    Post subject: Reply with quote

เด้งข้าราชการเซ่นรุกที่รถไฟเอี่ยวรับสินบน
โพสต์ทูเดย์ วันที่ 29 พ.ย. 2561 เวลา 08:32 น.

รฟท.สั่งเด้งข้าราชการระดับหัวหน้า เผยเอกสารชัดเอี่ยว รับสินบนเอกชน พัวพันทุนใหญ่ภาคขนส่งและก่อสร้าง

นายสมยุทธิ์ เรือนงาม รองผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการเดินรถ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า กรณีการบุกรุกสถานีแม่น้ำนั้น ได้เริ่มดำเนินการสืบสวนสาเหตุและหาตัวผู้กระทำผิดมาได้ระยะหนึ่งแล้วภายหลังจากคณะกรรมการบริหาร (บอร์ด) รฟท.ได้ดำเนินการแต่งตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจเพื่อดำเนินการกับผู้บุกรุกที่ดินรถไฟสถานีแม่น้ำ ตั้งแต่วันที่ 27 มิ.ย.ที่ผ่านมา โดยมีตนเป็นประธาน

สำหรับสาเหตุของปัญหาดังกล่าวนั้นมาจากการที่เอกชนฉกฉวยโอกาสโดยไม่ชอบธรรมประกอบกับเจ้าหน้าที่มีเอี่ยวเรื่องการรับสินบนเพื่อเปิดทางให้บริษัทเอกชนลักลอบใช้พื้นที่ ซึ่งถือว่าเป็นโทษร้ายแรงทั้งทางกฎหมายและทางวินัยราชการ ตามมาตรา 157 เจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ

ทั้งนี้ ปัจจุบันพบว่ามีการบุกรุกพื้นที่ราว 86 ไร่ รวม 137,740 ตารางเมตร ลักษณะการใช้ประโยชน์ส่วนใหญ่เป็นลานเทกองขยะและวัสดุก่อสร้าง ที่พักคนงานก่อสร้าง ลานรถบรรทุกและลานเครื่องจักรขนาดใหญ่ ทั้งหมดนี้ถือว่าเป็นความ เสียหายในการพัฒนาอย่างมาก โดยเฉพาะตัวถนนที่พุพังอย่างรวดเร็ว

แหล่งข่าวกระทรวงคมนาคม ระบุว่า ขณะนี้ผลสอบของคณะกรรมการดังกล่าวได้ออกมาแล้วโดยระบุว่ามีการลงโทษข้าราชการที่เกี่ยวข้องจำนวน 2 นาย หลังจากที่มีขั้นตอนการรับสินบนระบุชื่อผู้กระทำผิดไว้อย่างชัดเจนในเอกสารที่ทำข้อตกลงกับบริษัทเอกชน
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 147, 148, 149 ... 197, 198, 199  Next
Page 148 of 199

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©