RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311238
ทั่วไป:13181559
ทั้งหมด:13492797
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - เชียงใหม่อยากมีรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

เชียงใหม่อยากมีรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 6, 7, 8 ... 10, 11, 12  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 24/10/2018 11:10 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
ผุดย่านการค้าสายสีแดง พัฒนาพื้นที่รอบสถานีรับรถไฟฟ้ารางเบาเชียงใหม่
ออนไลน์เมื่อ 24 ตุลาคม 2561
ตีพิมพ์ใน หน้า 21 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,411 วันที่ 21-24 ตุลาคม 2561


Click on the image for full size

“เชียงใหม่พัฒนาเมือง” เล็งยกระดับพื้นที่รอบสถานีรถไฟฟ้ารางเบาสายสีแดง เชียงใหม่ พร้อมประสานร่วมลงทุนกับเจ้าของที่ดินทั้งรัฐและเอกชน ผุดย่านการค้าใหม่ ด้านกรีนบัสเตรียมลงทุนทำสเตชันพลาซาและลิฟวิ่ง



นายณรงค์ ตนานุวัฒน์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เชียงใหม่พัฒนาเมือง จำกัด เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า จากการที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2561 มีมติเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกาให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ดำเนินกิจการรถไฟฟ้าในจังหวัดเชียงใหม่ พังงา และภูเก็ต ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ โดยในส่วนของจังหวัดเชียงใหม่ รฟม.จะดำเนินการในเส้นทางสายสีแดงก่อน ระยะทาง 12 กิโลเมตร วงเงิน 24,257 ล้านบาท โดยบริษัทเชียงใหม่พัฒนาเมืองฯ มีความสนใจในการลงทุนพัฒนาพื้นที่รอบสถานี หรือ TOD (Transit Oriented Development) รถไฟฟ้าสายสีแดง ไม่ว่าสถานีจะเกิดขึ้นตรงไหน ก็จะพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานี ไม่ว่าจะเป็นในที่เอกชนหรือในพื้นที่ของกรมธนารักษ์ ของส่วนราชการ พร้อมจะเข้าไปร่วมทุนกับเจ้าของพื้นที่ในการพัฒนาให้เป็นย่านการค้าใหม่

“บริษัท เชียงใหม่พัฒนาเมืองฯมีความสนใจเป็นอย่างยิ่งที่จะประสานผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย ทำให้เมืองกระจายออกไป เกิดย่านการค้าในแต่ละสถานี ดังนั้นบริษัท เชียงใหม่พัฒนาเมืองฯ เราจะต้องติดตามต่อไปถึงสถานีต่างๆ ที่เกิดขึ้น”

นายณรงค์ กล่าวต่อไปว่า เห็นด้วยอย่างยิ่งที่จะทำรถไฟฟ้าสายสีแดงก่อน เพราะถ้าไม่นำร่องทำสายเดียวก่อน แต่ทำพร้อมๆกันทั้ง 3 สาย (สายสีแดง ศูนย์ราชการ-สนามบิน-แม่เหียะสายสีนํ้าเงิน สวนสัตว์เชียงใหม่-ท่าแพ-ดอนจั่น และสายสีเขียว แม่โจ้-กาดหลวง-สนามบิน) ก็จะต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมาก


ทั้งนี้จากการศึกษา ระบบขนส่งมวลชนที่เหมาะสมกับเมืองเชียงใหม่เป็นระบบรถไฟฟ้ารางเบา หรือ LightRail Transit System (LRT) มีทั้งระบบบนดินและใต้ดิน โดยรถไฟฟ้ารางเบาสายสีแดง มีระยะทางรวม 12 กิโลเมตร เป็นระบบรถรางไฟฟ้าระบบใต้ดิน 70% และระบบบนดิน 30% เริ่มต้นจากโรงพยาบาลนครพิงค์-ศูนย์ราชการเชียงใหม่-สนามกีฬาสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี-ศูนย์ประชุมนานาชาติ-สถานีตำรวจช้างเผือก-แยกข่วงสิงห์-มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่-สถานีขนส่งช้างเผือก-โรงพยาบาลเชียงใหม่ราม-โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่-ร.ร.วัฒโนทัยพายัพ-สนามบินเชียงใหม่-สำนักงานขนส่งจังหวัดเชียงใหม่-ห้างสรรพสินค้าบิ๊กซีหางดง

ด้านนายสมชาย ทองคําคูณ กรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัท ชัยพัฒนาขนส่งเชียงใหม่ จำกัด หรือกรีนบัส เปิดเผยว่า กรีนบัสมีที่ดินที่อยู่ในบริเวณนี้ เมื่อมีรถไฟฟ้าเกิดขึ้น ก็จะลงทุนพัฒนา การลงทุนอาจจะมีการผสมผสานกัน เช่น เรื่องของสเตชันพลาซาและลิฟวิ่งเข้าไป ซึ่งจะทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการลงทุน จะเป็นสถานีที่มีความทันสมัยมากขึ้นให้บริการผู้โดยสารระหว่างจังหวัด มีพลาซา มีที่พักอาศัย มีออฟฟิศเข้าไปด้วย แผนการลงทุนคงไม่เกิน 10 ปีนี้ แต่ถ้าระบบขนส่งมวลชนแล้วเสร็จ การลงทุนก็ชัดเจนมากขึ้น โอกาสในเรื่องของการลงทุนก็มีมากขึ้น

“สำหรับพื้นที่มีอยู่ประมาณ 15 ไร่และฝั่งตรงข้ามมีพื้นที่อีก 5 ไร่ ที่จะทำคือ ฝั่ง 15 ไร่ ส่วนการลงทุน ในส่วนพลาซาต้องหาผู้ร่วมทุน แต่ในอนาคตอาจจะเปลี่ยนแปลงเป็นรูปแบบอื่นได้ เพราะก่อนการลงทุน ต้องทำการศึกษาก่อน เนื่องจากต้องใช้เงินลงทุนหลัก 1,000 ล้านบาท ฉะนั้นจะต้องหาแหล่งเงินทุนเข้ามาร่วมด้วย” นายสมชาย กล่าว


ก็ลองดูว่าจะพัฒนาสายแดงเมืองเชียงใหม่ได้แค่ไหน ก่อน จะเพิ่มสายเขียว และ สายน้ำเงินเข้ามาแม้ว่าสายน้ำเงินจะรอทางคู่และ รถไฟความไวสูงอยู่ก็ตามที
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44333
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 06/11/2018 9:07 am    Post subject: Reply with quote

เดินหน้ารถไฟฟ้า2แสนล้านเร่งตอกเสาเข็มระบบแทรมปี'62
โพสต์ทูเดย์ วันที่ 06 พ.ย. 2561 เวลา 08:39 น.

รฟม.ยันรถไฟฟ้า 2.4 แสนล้าน ไม่สะดุด แม้ประมูลไม่ทันเลือกตั้ง เร่งชงแทรม 1 แสนล้าน เข้า ครม. เตรียมตอกเสาเข็มปีหน้า

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า โครงการรถไฟฟ้าเมืองหลวงสองเส้นทาง ได้แก่ โครงการรถไฟสายสีส้มตะวันตก ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-บางขุนนนท์ วงเงิน 1.4 แสนล้านบาท และโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ วงเงิน 1.01 แสนล้านบาทนั้น แม้ว่าจะมีความล่าช้าไปบ้างในขั้นตอนการเสนอโครงการเพื่อเปิดประกวดราคา แต่ขอให้มั่นใจว่าจะสามารถดำเนินการได้ตามแผน ไม่มีล้มเลิกโครงการแน่นอน แม้จะเปิดประมูลไม่ทันก่อนการเลือกหรือในช่วงเดือน มี.ค. 2562 แต่หากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติแล้ว ถือว่าเป็นอันเสร็จสิ้น

"แม้จะเปิดประมูลไม่ทันก่อนการเลือกตั้ง ก็ไม่เป็นผล สามารถเดินหน้าต่อไปได้เลยทั้งเปิดประมูลและลงนามสัญญาระหว่างช่วงเลือกตั้งไปจนถึงการได้รัฐบาลใหม่ โดยร่างเอกสารประกวดราคา (ทีโออาร์) ของรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตกนั้นจะเสนอ ครม.ในเดือน ธ.ค.นี้ เพื่อขอความเห็นชอบก่อนแต่งตั้งคณะกรรมการร่วมทุนมาตรา 35 เข้ามาพิจารณาเห็นชอบให้ทันภายในเดือน ก.พ. 2562 เช่นเดียวกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ก่อนเปิดประมูลต่อไป" นายภคพงศ์ กล่าว

สำหรับความคืบหน้าโครงการรถไฟฟ้ารางเบา (แทรม) จ.เชียงใหม่ วงเงิน 8 หมื่นล้านบาท และแทรม จ.นครราชสีมา วงเงิน 3.26 หมื่นล้านบาทนั้น จะได้ตัวบริษัทที่จะเข้ามาศึกษาแนวทางร่วมทุนภายในเดือนนี้ ซึ่งจะใช้ระยะเวลาศึกษาประมาณ 6 เดือนก่อนเสนอโครงการให้ ครม.ของรัฐบาลชุดใหม่อนุมัติภายในเดือน มิ.ย.ปีหน้า เพื่อเข้าสู่ขั้นตอนการประมูลและก่อสร้างต่อไปในปี 2562

อย่างไรก็ตาม ในปี 2562 จะมีการเปิดเดินรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายช่วงหัวลำโพง-บางแค ในเดือน ก.ย. 2562 ก่อนเปิดเดินรถช่วงบางซื่อ-ท่าพระ-บางแค ในช่วงกลางปี 2563 คาดว่าเมื่อเปิดครบลูปแล้วจะมีผู้โดยสารถึง 5 แสนคน/วัน จากปัจจุบัน 3.5 แสนคน/วัน ทั้งนี้ยืนยันว่าราคาค่าโดยสารจะคงเก็บในอัตราเดิม 14-42 บาทตลอดสาย แม้จะมีการเพิ่มส่วนต่อขยายแต่ราคาไม่เพิ่มขึ้นตามไปด้วย เพื่อสนับสนุนให้ประชาชนใช้ระบบขนส่งสาธารณะมากขึ้น

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม กล่าวว่า มีแผนจะเปิดเดินรถสายสีเขียวเหนือ 1 สถานี ภายในเดือน ส.ค. 2562 ช่วงสถานีหมอชิต-สถานี ห้าแยกลาดพร้าว เพื่อแบ่งเบาความแออัดและปัญหาจราจรบริเวณแยกดังกล่าว ซึ่งขณะนี้สถานีห้าแยกลาดพร้าวการก่อสร้างคืบหน้าไปแล้ว 90%

ด้านความคืบหน้าการก่อสร้างสะพานข้ามแยก 3 จุด ตามแนวรถไฟฟ้าสาย สีเขียวนั้น เริ่มจากสะพานข้ามแยกเกษตรจะเปิดให้บริการภายในเดือน ธ.ค.นี้ เพื่ออำนวยความสะดวกการเดินทางช่วงปีใหม่ ส่วนสะพานข้ามแยกเสนาและแยกรัชโยธินนั้น คาดว่าจะเปิดใช้งานได้ทันภายในเดือน ก.พ. 2562
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 07/11/2018 11:11 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
เดินหน้ารถไฟฟ้า2แสนล้านเร่งตอกเสาเข็มระบบแทรมปี'62
โพสต์ทูเดย์ วันที่ 06 พ.ย. 2561 เวลา 08:39 น.



อดใจรอแทรมเชียงใหม่-โคราช

อังคารที่ 6 พฤศจิกายน 2561 เวลา 12.39 น.

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) เปิดเผยความคืบหน้าโครงการ ระบบขนส่งมวลชน จ.จังหวัดเชียงใหม่(รถไฟฟ้ารางเบาหรือแทรมจ.เชียงใหม่ ) วงเงิน 9 หมื่นล้านบาทและแทรม จ.นครราชสีมา วงเงิน 3.26 หมื่นล้านบาทว่า รฟม.อยู่ระหว่างหาบริษัทที่ปรึกษาเข้ามาศึกษาแนวทางร่วมทุนให้ได้ภายในเดือนพ.ย.นี้ คาดว่าจะใช้เวลาศึกษาประมาณ 6 เดือนก่อนเสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.) อนุมัติโครงการภายในเดือน มิ.ย. 62 หากอนุมัติจะเข้าสู่ขั้นตอนการประมูลและก่อสร้างได้ภายในปี62

โครงการแทรมเชียงใหม่นี้มี 3 เส้นทางหลัก รวมระยะทาง 34.93 กม. มูลค่าการลงทุนทั้งโครงการ 95,321.66 ล้านบาท ประกอบด้วย

สายสีแดง (โรงพยาบาลนครพิงค์-บิ๊กซีหางดง ) 12 สถานี 12.54 กม. มูลค่าการลงทุน 28,726.80 ล้านบาท
สายสีน้ำเงิน(สวนสัตว์เชียงใหม่-ห้างพรอมเมนาดา) 13 สถานี 10.47 กม. มูลค่าการลงทุน 30,399.82 ล้านบาท และ
สายสีเขียว( แยกรวมโชค-สนามบินเชียงใหม่) 10 สถานี 11.92 กม.มูลค่าการลงทุน 36,195.04 ล้านบาท

โดยรฟม.จะนำร่องสายสีแดงก่อน มีทางวิ่งระดับดิน (เขตชานเมืองวิ่งร่วมกับการจราจรปกติบางส่วน) ผสมกับใต้ดิน (เขตเมือง) เริ่มต้นจากรพ.นครพิงค์ ผ่านศูนย์ราชการเชียงใหม่และสนามกีฬา 700 ปี ต่อไปศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเชียงใหม่ และเริ่มใช้ทางวิ่งใต้ดินบริเวณแยกข่วงสิงห์สู่รพ.มหาราชนครเชียงใหม่ และท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่ เมื่อพ้นเขตท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่จะกลับขึ้นใช้ทางวิ่งบนดินสิ้นสุดที่แยกแม่เหียะสมานสามัคคี(แยกบิ๊กซีหางดง)

ส่วนโครงการแทรมนครราชสีมา มี 3 เส้นทางหลัก รวมระยะทาง 28.12 กม. มูลค่ารวม 32,600 ล้านบาท ประกอบด้วย มี 3 เฟส
ระยะแรก 14,000 ล้านบาท มี
สายสีส้มเข้ม (แยกประโดก-ถนนช้างเผือก-คูเมืองเก่า) 9.81 กม. 17 สถานี
สีเขียวเข้ม (ตลาดเซฟวัน-ถนนมุขมนตรี-สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์ )11.17 กม. 18 สถานี
ระยะที่ 2 ลงทุน 4,900 ล้านบาท
สายสีม่วงเข้ม (ตลาดเซฟวัน-ถนนมิตรภาพ-สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์) 11.92 กม. 9 สถานี
ระยะที่ 3 ลงทุน 13,600 ล้านบาท
สายสีส้มอ่อน( ร.ร.เทศบาล 1-หัวทะเล-ดูโฮม) 5.37 กม. 4 สถานี
สายสีเขียวอ่อน(สถานีทดลองการใช้น้ำชลประทานที่ 3 ห้วยบ้านยาง-ตลาดเซฟวัน) และ(สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์-สำนักงานขนส่ง จ.นครราชสีมาสาขา 2) ระยะทาง 12.12 กม. 13 สถานี
สายสีม่วงอ่อน (ม.วงษ์ชวลิตกุล-แยกจอหอ-ค่ายสุรนารายณ์) 4.48 กม. 3 สถานี

โดยรฟม.นำร่องก่อสร้างก่อนในสายสีเขียวก่อนเป็นอันดับแรก
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 06/12/2018 10:01 am    Post subject: Reply with quote

เร่งรถไฟฟ้ารางเบานครพิงค์ ครม.เคาะ‘พีพีพี’ปลายปี62
ออนไลน์เมื่อ 5 ธันวาคม 2561
ตีพิมพ์ใน หน้า 21 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,423 วันที่ 2-5 ธันวาคม 2561

รถไฟฟ้ารางเบาเชียงใหม่คืบหน้า รฟม.เร่งคัดเลือกที่ปรึกษาออกแบบ ก่อนสรุปเสนอครม.พิจารณารูปแบบร่วมลงทุนได้ปลายปี เตรียมเสนอครม.พิจารณารูปแบบการร่วมลงทุน สายแรกร.พ.นครพิงค์-หางดง คาดเริ่มก่อสร้างต้นปี 2564

นายคมสัน สุวรรณอัมพา รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2561 ที่อาคารอำนวยการ ศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่ ได้เป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก จังหวัดเชียงใหม่ ครั้งที่ 3/2561 ติดตามความคืบหน้าของผลการศึกษาแผนแม่บทการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะของจังหวัดเชียงใหม่ รวมทั้งแนวทางการบริการจัดการความเร็วในพื้นที่ชุมชน ตลอดจนผลกระทบกับปัญหาการจราจรในตัวเมือง

ทั้งนี้ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) รายงานความคืบหน้า การดำเนินโครงการศึกษาและจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเสร็จสมบูรณ์แล้วเมื่อปลายเดือนตุลาคม 2561 ที่ผ่านมา โดยมีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นที่ปรึกษาการดำเนินการศึกษา และได้มอบหมายให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) ดำเนินโครงการระบบขนส่งมวลชน ในรูปแบบการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ(PPP) ได้มีความคิดเห็นว่าควรดำเนินการก่อสร้างครั้งละ 1 เส้นทาง

โดยรฟม.ศึกษารายละเอียดความเหมาะสมรูปแบบโครงสร้างทางวิ่งผสมระหว่างใต้ดินและระดับดิน (โครงข่าย A) เป็นระบบรถไฟฟ้าแบบรางเบา (Light Rail Transit : LRT) อยู่ในแนวทิศเหนือ-ใต้ ผ่านพื้นที่กิจกรรมหลักสำคัญ ได้แก่ โรงพยาบาลนครพิงค์ , ศูนย์ราชการเชียงใหม่, สนามกีฬาสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี, ศูนย์ประชุมนานาชาติ, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียง ใหม่, สถานีขนส่งช้างเผือก, โรงพยาบาลเชียงใหม่ราม, โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่, โรงเรียนวัฒโนทัยพายัพ, สนามบินนานาชาติเชียงใหม่, ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล พลาซ่า เชียงใหม่แอร์พอร์ต, สำนักงานขนส่งจังหวัด และห้างสรรพสินค้าบิ๊กซีหางดง

ด้าน การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศ ไทย (รฟม.) ได้อยู่ในระหว่างการคัดเลือกที่ปรึกษาเพื่อศึกษาการออกแบบ และการดำเนินตาม พ.ร.บ. การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของภาครัฐ จัดทำรายงาน EIA คาดว่าจะเริ่มงานประมาณต้นปี 2562 และเสนอครม.พิจารณารูปแบบ การร่วมลงทุนประมาณปลายปี 2562 หลังจากนั้นจะประกาศเชิญชวนเอกชนร่วมลงทุนประมาณต้นปี 2563 และจะเริ่มงานการก่อสร้างประมาณต้นปี 2564 ซึ่งมีระยะเวลาในการก่อสร้าง 69 เดือน โดยคาดว่าจะเปิดให้บริการในต้นปี 2570
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 17/12/2018 2:51 am    Post subject: Reply with quote

ลุยรถไฟฟ้าเชียงใหม่ 3 สาย เปิดทำเลทองบูมสมาร์ทซิตี้
เศรษฐกิจภูมิภาค
วันที่ 15 ธันวาคม 2561 21:09 น.

เวทีสัมมนา “เชียงใหม่ 2019 Smart Economy Smart City ก้าวใหม่สู่อนาคตที่มั่นคง” คึกคัก ปลัดคมนาคมดันระบบรางแก้วิกฤตจราจร เปิดแผนลงทุนรถไฟฟ้า 3 สาย จุดพลุทำเลทองเมืองเชียงใหม่ แนะรัฐบูมครีเอทีฟอีโคโนมี ปั้นอีคอมเมิร์ซแพลตฟอร์มนำร่องให้ไทย

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า งานสัมมนา “เชียงใหม่ 2019 Smart Economy Smart City ก้าวใหม่สู่อนาคตที่มั่นคง” ซึ่งจังหวัดเชียงใหม่ หอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ สภาอุตสหกรรมจังหวัดเชียงใหม่ ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) และหนังสือพิมพ์ประชาชาชาติธุรกิจ ร่วมกันจัดขึ้น ณ ลานนา บอลรูม โรงแรมแชงกรี-ลา เชียงใหม่ เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2561 มีผู้เข้าร่วมรับฟังการสัมมนาจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชนจำนวนมาก ส่วนใหญ่ต้องการทราบทิศทางในอนาคตของเมืองเชียงใหม่ สถานการณ์เศรษฐกิจ การเมือง รวมทั้งเทคโนโลยีที่กำลังปรับเปลี่ยนโลกสู่ยุคดิจิทัล

ดันเชียงใหม่เมือง ศก.ยั่งยืน

นายมนัส ขันใส รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า เชียงใหม่เป็นจังหวัดที่มีความสมบูรณ์หลายด้าน นับเป็นจังหวัดศูนย์กลางของภาคเหนือ มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 2 ของประเทศ และมีศักยภาพในความเป็น “ฮับ” ด้านต่าง ๆ ทั้งการค้าการลงทุน การท่องเที่ยว การรรักษาพยาบาล การขนส่ง การบริการ เป็นต้น ซึ่งแนวโน้มธุรกิจเหล่านี้มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องทุกปี ประกอบกับนโยบายของรัฐบาลที่มุ่งยกระดับโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญของจังหวัดเชียงใหม่ เช่น แผนการลงทุนสร้างสนามบินแห่งที่ 2 เนื่องจากสนามบินเชียงใหม่ในปัจจุบัน จำนวนผู้โดยสารถือว่าเต็มจำนวนที่รองรับได้แล้ว จากที่ประมาณการไว้ 8 ล้านคนต่อปี แต่ขณะนี้ตัวเลขผู้โดยสารผ่านท่าอากาศยานเชียงใหม่สูงถึง 10 ล้านคน และตามแผนแม่บทของการพัฒนาท่าอากาศยานเชียงใหม่ระยะที่ 2 จะรองรับผู้โดยสารได้เต็มศักยภาพ 20 ล้านคนในปี 2568 จึงจำเป็นต้องเตรียมพื้นที่สนามบินแห่งใหม่รองรับ



นอกจากนี้ ยังได้รับการผลักดันให้มีการพัฒนาโครงการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน (light rail transit) 3 เส้นทาง เพื่อรองรับการเดินทาง และแก้ปัญหาการจราจร รวมถึงยกระดับการพัฒนาจังหวัดเชียงใหม่สู่เมืองอัจฉริยะ (smart city) และพัฒนาให้เป็นเมืองสุขภาพ wellness city และ medical health hub ซึ่งจะทำให้เชียงใหม่ได้รับความสนใจจากนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ นำไปสู่เศรษฐกิจที่อย่างยั่งยืน (smart economy)

ชูระบบรางตอบโจทย์เดินทาง

นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคม บรรยายพิเศษเรื่อง Mass Transit พัฒนาเศรษฐกิจ พัฒนาเมือง…รถไฟฟ้ามาหานะเชียงใหม่ ว่า สมัยก่อนกรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบท การทางพิเศษฯ คิดแต่การสร้างทาง กรมเจ้าท่าก็ทำท่าเรือ เราวางกันไว้ 4 เรื่องกรีนแอนด์เซฟ เราเอาความปลอดภัยการคมนาคมทั้งหมด ให้คนใช้รู้สึกปลอดภัย เราอยากจะปรับเป็นรถไฟฟ้า ต้องหาระบบที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และเรื่องอินคลูซีฟทรานสปอร์ต ทำยังไงให้คนทุกกลุ่มต้องสามารถเข้าถึงระบบคมนาคมได้ และเรื่องคมนาคมมีประสิทธิภาพ เมืองใดที่ไม่มีประสิทธิภาพสร้างปัญหาเยอะมาก เช่น พลังงานที่สูญเสีย มลพิษ ดังนั้น เราอยากพัฒนาระบบที่มีคุณภาพ เน้นเรื่องระบบการขนส่งสาธารณะ และเรื่องเทคโนโลยีอินโนเวชั่น ซึ่งต้องมีนวัตกรรม อยากปฏิรูปองค์กรให้มีความกระชับ

จากยุทธศาสตร์ในแผนการพัฒนาคมนาคม ไทยเปลี่ยนวิธีคิดใหม่แล้ว ต้องใช้ระบบรางแทนการร้องขอมอเตอร์เวย์ โดยจะพัฒนาระบบราง 3 ราง คือ 1.รางเดิม ซึ่งจะปฏิวัติเป็นรางคู่ เช่น เชียงใหม่จะมีรางคู่ เน้นการขนส่งสินค้า 2.รถไฟความเร็วสูง ที่เน้นขนส่งคน และ 3.รางที่เป็นพวกรถไฟฟ้าที่อยู่ในเมือง ดังนั้น ปริมาณความต้องการในการเดินทางสูงมาก โดยมีการวางแผน 8 ปี ระยะทางประมาณ 3,150 กิโลเมตร 5.5 แสนล้านบาท และทำแผนแม่บทรถไฟความเร็วสูง 2,506 กิโลเมตร 1.6 ล้านบ้านบาท เป็นโครงข่ายที่เชื่อมพัฒนาเมือง

ชูคมนาคมตัวนำพัฒนาเมือง

ปัญหาระบบคมนาคมในภูมิภาค ถูกพัฒนาในรูปแบบสังคมเมือง แต่ปัจจุบันเป็นสังคมเมืองสมัยใหม่ ดังนั้น วิธีคิดแบบเดิมตอบโจทย์ไม่ได้ ถนนที่เหมาะสมกับพื้นที่เมืองอยู่ที่ 20-25% ประเทศพัฒนาแล้วมีถนน 40 กว่า% แต่ของกรุงเทพฯมี 7% บางคนบอกว่าถึงทำให้รถติด แต่จะเอาเงินที่ไหนมาสร้าง ไม่มีทางสร้างได้ ระบบพื้นที่ทั้งหมดถูกพัฒนาหมดแล้ว แค่เวนคืนที่ดินยังทำไม่ได้เลย แค่คิดก็ไม่มีเงินแล้ว มาคิดวิธีอื่นดีกว่า มาทำระบบขนส่งสาธารณะดีกว่าไหม เราแพ้ระบบขนส่งสาธารณะ หรือการเดิน จักรยาน ตอนนี้สังคมเริ่มวนกลับมาที่เดิมแล้ว เราอยากส่งเสริมการเดินการใช้จักรยาน วันนี้บ้านเมืองจะน่าอยู่ขึ้น

สำหรับเชียงใหม่ ปี 2543-2553 เชียงใหม่เหมือนถูกฉีดยากระตุ้น โตเร็วมากเชียงใหม่มีรัศมีถนนโตไป 6 แฉก เมืองพัฒนาหรือโตขึ้นไม่ได้อยู่ภายใต้การควบคุม เราลงทุนถนนทำให้เมืองโต มีการพัฒนา แต่เกิดการจราจร ความเร็วเฉลี่ย 5-6 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งถือว่าการจัดการล้มเหลวแล้ว ดังนั้นจะต้องพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะขึ้นมา ต้องมาแก้ปัญหาจราจร รวมถึงสิ่งแวดล้อม พลังงานของประเทศประมาณ 42%ถูกใช้ในภาคคมนาคม ซึ่งน่ากลัวมากและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เราอยากให้ระบบคมนาคมเป็นตัวนำในการพัฒนาเมือง

พัฒนาโครงข่ายสายรองหนุน

สถานีรถไฟฟ้าถือเป็นเป็นจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดการเดินทาง สามารถทำกิจกรรม รถไฟฟ้าจะไม่ใช่แค่รถไฟฟ้า แต่จะเป็นเครื่องมือในการพัฒนาเมือง สำหรับเชียงใหม่มีการวางแผนการจัดทำศักยภาพในการพัฒนารอบสถานี หรือ TOD ไว้แล้ว ดังนี้ ตอนนี้เรากำลังทำแผนแม่บทระยะที่ 2 น่าจะอีก 5 ปี จะต้องคิดว่าจะเป็นอย่างไร โดยเฉพาะรอบรัศมี 2 กม. ใน กทม.มีคนกลุ่ม A คือ MRT และ BTS และ ARL กลุ่ม B คือ BRT และกลุ่ม C คือ รถประจำทาง เช่น แท็กซี่ 2 แถว แต่เชียงใหม่มีกลุ่ม C เพราะปริมาณผู้โดยสารไม่มาก และกำลังจะทำ B แต่ไปไม่ถึง A ต้องทำโครงข่ายขนส่งสาธารณะ หากรถไฟฟ้าเสร็จ จำเป็นต้องมีระบบก้างปลา โครงข่ายรองมาสนับสนุน เชียงใหม่เราต้องศึกษาระบบรถเดิมที่มาสนับสนุนระบบขนส่งสาธารณะ คนต้องคิดใช้แค่ 2 อย่าง คือ ขนส่งสาธารณะและรถส่วนตัว อนาคตบัตรแมงมุงจาก กทม.จะสามารถใช้ที่เชียงใหม่ได้ด้วย

ปักหมุดสายสีแดงปี 2563

หากทำได้จะเกิดประโยชน์ รถไฟฟ้าจะกลายมาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาเมือง กระทรวงคมนาคมได้ทำแผนแม่บทรถไฟขึ้นมาแล้ว และเสนอ ครม.แล้ว แบ่งเป็น 3 สาย สายสีแดง 12 สถานี น้ำเงิน 13 และเขียว 10 และระบบฟีดเดอระบบรอง 7 เส้นทาง เสริม 7 เส้นทาง ในส่วนสายสีแดงนั้นกำลังออกแบบ น่าจะเริ่มก่อสร้างปี 2563 หรืออีก 2 ปีข้างหน้า และเสร็จสิ้น

ปี 2567 ซึ่งหลายท่านอยากให้ลงดิน ทำให้มีราคาแพงกว่า 3 เท่า แต่จะมีข้อดีด้านการไม่บดบังทิวทัศน์ของเชียงใหม่ ส่วนเส้นที่ 2 สีน้ำเงิน และสายสีเขียว โดยมีวงเงินรวม 80,320 ล้านบาท ระบบฟีดเดอร์ 6,336 ล้านบาท และพื้นที่พัฒนารอบสถานี หรือ TOD ประกอบด้วย 1.สถานีศูนย์แสดงสินค้านานาชาติ (ศูนย์กลางการประชุมและแสดงสินค้า) 2.สถานีตลาดมีโชค (ธุรกิจ ศูนย์กลางเมืองใหม่) 3.สถานีขนส่งอาเขต (ธุรกิจ ศูนย์กลางเมืองใหม่) 4.สถานีไร่ฟอร์ด (การศึกษา) 5.สถานีขนส่งช้างเผือก (การอนุรักษ์ย่านเมืองเก่า) 6.สถานีไนท์บาซาร์ (ธุรกิจ และการอนุรักษ์ย่านเมืองเก่า) 7.สถานีรถไฟ (ธุรกิจ ศูนย์กลางเมืองใหม่) 8.สถานีท่าอากาศยานเชียงใหม่ (ธุรกิจ ศูนย์กลางเมืองใหม่) 9.สถานีศรีบัวเงินพัฒนา (ที่พักอาศัยชานเมือง) ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือท้องถิ่นและภาคประชาชนถึงจะพัฒนาพื้นที่ได้

“สำหรับเชียงใหม่การทำเรื่องสมาร์ทซิตี้มีสมาร์ทโมบิลิตี้เป็นเรื่องสำคัญ ต้องมีเงินลงทุนและความเข้าใจกับทุกภาคส่วน เพราะจะเป็นจุดเริ่มต้นสำหรับอนาคตของเมือง และเป็นเมืองที่ยั่งยืนต่อไป” ปลัดคมนาคมกล่าว
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44333
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 21/12/2018 6:15 pm    Post subject: Reply with quote

คมนาคมจุดพลุ “เชียงใหม่” วางข่ายรถไฟ-ฟีดเดอร์เสริม TOD พัฒนาเมือง
ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 21 December 2018 - 15:32 น.

เมื่อช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา “หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ” ได้เป็นเจ้าภาพจัดงานสัมมนาที่จังหวัดเชียงใหม่ ภายใต้หัวข้อ “เชียงใหม่ 2019 Smart Economy Smart City” โดยได้รับเกียรติจาก “ชัยวัฒน์ ทองคำคูณ” ปลัดกระทรวงคมนาคม มาเป็นวิทยากรในการฉายภาพทิศทาง และนโยบายของรัฐบาลในการพัฒนาหัวเมืองหลักของพื้นที่ภาคเหนือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระทรวงคมนาคมกำลังเตรียมผลักดันโครงการระบบขนส่งมวลชน เพื่อตอบรับการเติบโตของจังหวัดเชียงใหม่

Click on the image for full size

โดย “ชัยวัฒน์” กล่าวว่า ที่ผ่านมากระทรวงคมนาคมได้ทำแผนแม่บทขนส่งสาธารณะในจังหวัดเชียงใหม่ขึ้นมา และเสนอต่อคณะรัฐมนตรีแล้ว แบ่งเป็น 3 สาย 1.สายสีแดง 12 สถานี ระยะทาง 12.54 กม. 2.สายสีน้ำเงิน 13 สถานี ระยะทาง 10.47 กม. 3.สายสีเขียว 10 สถานี ระยะทาง 11.92 กม. รวม 35 สถานี รวมระยะทาง 34.93 กม.

นอกจากนี้ยังมีระบบฟีดเดอร์ แบ่งเป็นฟีดเดอร์ระบบรอง 7 เส้นทาง ระยะทาง 89 กม. และฟีดเดอร์ระบบเสริมอีก 7 เส้นทาง ระยะทาง 85 กม. โดยมีวงเงินในการจัดทำระบบหลักทั้ง 3 เส้น อยู่ที่ 80,320 ล้านบาท และระบบฟีดเดอร์ 6,336 ล้านบาท

“ปัจจุบันกำลังออกแบบเส้นทางสายสีแดง คาดว่าน่าจะเริ่มก่อสร้างปี 2563 และปี 2567 จะก่อสร้างเสร็จสิ้นพร้อมให้บริการ ซึ่งชาวเชียงใหม่มีข้อเรียกร้องให้ทำเป็นรถไฟใต้ดิน เนื่องจากหากเป็นรถไฟลอยฟ้าอาจจะบดบังทิวทัศน์ของเมืองเก่า ซึ่งการลงไปใต้ดินจะทำให้ราคาแพงขึ้น 3 เท่า”

ขยายโครงข่ายบัตรแมงมุม
ชัยวัฒน์ยังกล่าวอีกว่า อนาคตบัตรแมงมุงจาก กทม.จะสามารถใช้ที่จังหวัดเชียงใหม่ได้อีกด้วย เพื่อให้เกิดความสะดวกสบาย และให้ประชาชนเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินชีวิต จากเดิมคิดว่าจะไปสายไหนต่อสายไหน เป็นการเดินทางออกนอกบ้านด้วยขนส่งสาธารณะ หรือรถส่วนตัว โดยหากรถไฟฟ้าเสร็จจำเป็นต้องมีระบบก้างปลามาสนับสนุน ผ่านการเป็นฟีดเดอร์ ซึ่งจะดึงขนส่งสาธารณะแบบเดิม เช่น รถแดง เข้ามาร่วมในการพัฒนาส่วนนี้ด้วย

โดยขณะนี้การพัฒนาระบบขนส่งมวลชนของจังหวัดเชียงใหม่ อยู่ในขั้นตอนการทำแผนแม่บทระยะที่ 2 คาดว่าอีก 5 ปีจึงจะเสร็จสิ้น ซึ่งจะต้องคิดว่าจะเป็นอย่างไร โดยเฉพาะรอบรัศมี 2 กม.ของจังหวัดเชียงใหม่

ทั้งนี้ หากประเมินสภาพการสัญจรเทียบเคียงกับในกรุงเทพฯ แบ่งเป็น กลุ่ม A คือ MRT BTS และ ARL กลุ่ม B คือ BRT และคนกลุ่ม C คือ รถประจำทาง เช่น แท็กซี่ สองแถวแล้วนั้น พบว่าในจังหวัดเชียงใหม่จะเน้นหลักในกลุ่ม C เพราะปริมาณผู้โดยสารไม่มากนัก โดยแผนที่จะจัดทำจะอยู่ในระดับกลุ่ม B แต่ไปไม่ถึงกลุ่ม A

หนุนปรับผังเมืองสู่ TOD
ชัยวัฒน์ยังเปิดเผยเพิ่มเติมว่า ด้านการพัฒนาพื้นที่ เมื่อมีรถไฟฟ้าแล้วจำเป็นต้องมีสถานีที่นำไปสู่การพัฒนาพื้นที่ในแต่ละจุด เหมือนต้นแบบของพื้นที่พัฒนารอบสถานี หรือ TOD ในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมีการร่วมมือกันระหว่างเอกชน กับรัฐบาลกลาง รวมถึงประชาชนที่ยอมเสียพื้นที่และย้ายไปอยู่พื้นที่อื่น หลังจากการปรับผังเมืองในการใช้พื้นที่ ภายใต้ข้อแลกเปลี่ยนบางประการ

ทั้งนี้ ในประเทศไทยคงเป็นไปได้ยาก แต่ตนอยากเห็นความร่วมมือดังกล่าวเกิดขึ้นในจังหวัดเชียงใหม่ โดยทางกระทรวงคมนาคมมีแนวทางจัดทำ TOD เพื่อสนับสนุนการพัฒนาเมืองในจังหวัดเชียงใหม่แบ่งพื้นที่เป็น 9 จุดได้แก่

1.สถานีศูนย์แสดงสินค้านานาชาติ (ศูนย์กลางการประชุมและแสดงสินค้า) 2.สถานีตลาดมีโชค (ธุรกิจ ศูนย์กลางเมืองใหม่) 3.สถานีขนส่งอาเขต (ธุรกิจ ศูนย์กลางเมืองใหม่) 4.สถานีไร่ฟอร์ด (การศึกษา) 5.สถานีขนส่งช้างเผือก (การอนุรักษ์ย่านเมืองเก่า)

6.สถานีไนท์บาซาร์ (ธุรกิจ และการอนุรักษ์ย่านเมืองเก่า) 7.สถานีรถไฟ (ธุรกิจ ศูนย์กลางเมืองใหม่) 8.สถานีท่าอากาศยานเชียงใหม่ (ธุรกิจ ศูนย์กลางเมืองใหม่) 9.สถานีศรีบัวเงินพัฒนา (ที่พักอาศัยชานเมือง) ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือของท้องถิ่นและภาคประชาชนถึงจะพัฒนาพื้นที่ได้

พัฒนาสู่คมนาคมระบบราง
นอกจากนี้ ชัยวัฒน์ยังกล่าวอีกว่า กรอบยุทธศาสตร์แผนการพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งชาติต้องเปลี่ยน เพราะโลกเปลี่ยนไปเร็วขึ้น แต่คมนาคมไทย 20 ปีที่ผ่านมาติดกับดักจราจรติดขัด จึงมุ่งเน้นแต่การสร้างถนน โดยจากยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีนั้น กระทรวงคมนาคมนำมาย่อยเขียนเป็นยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งของไทย ระยะ 20 ปี (2560-2579) มีโครงการมาก ใช้เงินมหาศาล จึงมีการแบ่งออกมาเป็นแผน 8 ปี ทำแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของไทย (2558-2565) มี 111 โครงการรถไฟใน กทม. ภูมิภาค รวมถึงท่าเรือที่ทยอยตามมา

“ต่อไปองค์กรด้านคมนาคมจะปรับวิธีคิด ไม่ทำถนนเยอะ แต่เราจะทำระบบราง ด้วยการเพิ่มรถไฟรางคู่ 3,150 กม. 5.5 แสนล้านบาท (2558-2565) เพิ่มเส้นทางรถไฟความเร็วสูง 2,506 กม. 1.6 ล้านล้านบาท (2560-2579) เพื่อทำการเชื่อมโยงกับการพัฒนาเมืองหลัก เป็นการเปลี่ยนโฉมขนส่งของไทยเป็นโครงข่ายเชื่อมการพัฒนา” ชัยวัฒน์กล่าว

ถือได้ว่าเป็นเป้าหมายสำคัญของการเติบโตในจังหวัดเชียงใหม่ ที่เปิดให้ “เอกชน” และ “ประชาชน” ได้มีส่วนร่วมกับการพัฒน
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 15/01/2019 10:26 am    Post subject: Reply with quote

"ภูเก็ต-เชียงใหม่-โคราช" ยิ้มรอรถไฟฟ้าสร้างในปี63
คอลัมน์ : มุมคนเมือง
โดย “เทียนหยด”
อังคารที่ 15 มกราคม 2562 เวลา 08.00 น.

สัปดาห์นี้ไปส่องโครงการของรัฐ ความหวังคนต่างจังหวัดได้นั่งรถไฟฟ้าเหมือนคนกรุง เปิดประมูลเริ่มก่อสร้างกลางปี 63 คาดแล้วเสร็จปี 66 วางแผนเอกชนสัมปทาน 30 ปี

สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ศึกษาระบบขนส่งมวลชนในรูปแบบของรถไฟฟ้าใน 6 จังหวัดเสร็จเรียบร้อยแล้ว ประกอบด้วย จ.ภูเก็ต เชียงใหม่ นครราชสีมา ขอนแก่น สงขลา และ พิษณุโลก อยู่ระหว่างศึกษาเพิ่มอีก 1 จังหวัด คือ อุดรธานี แต่ผลการศึกษาระบุให้เป็นรถเมล์ไฟฟ้า ซึ่งเหมาะสมกับสภาพของเมืองในปัจจุบันมากกว่า

ในจำนวน 6 จังหวัดที่ประชุมคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) มอบหมายให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน (รฟม.) รับผิดชอบ 4 จังหวัด ส่วนอีก 2 จังหวัด สงขลาและขอนแก่น ให้ท้องถิ่นรับผิดชอบ ขณะนี้รฟม.อยู่ระหว่างศึกษารูปแบบการลงทุน หมายความว่านอกจากรฟม.จะมีหน้าที่รับผิดชอบโครงการรถไฟฟ้าในกรุงเทพฯ และปริมณฑลแล้ว ยังก่อสร้างรถไฟฟ้าได้ทั่วประเทศทั้งเหนือ ใต้ อีสานและภาคกลาง



นายธีรพันธ์ เตชะศิรินุกูล รองผู้ว่าการ (ฝ่ายกลยุทธ์และแผน) รฟม. บอกว่า ความคืบหน้า โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าภูเก็ต ล่าสุดเมื่อวันที่ 11 ม.ค.ที่ผ่านมา ได้จัดสัมมนาการทดสอบความสนใจของนักลงทุน (Market Sounding) ที่โรงแรมแกรนด์ เมอร์เคียว กรุงเทพ ฟอร์จูน โครงการระยะ (เฟส) 1 ช่วงท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต-ห้าแยกฉลอง ระยะทาง 42 กม. 21 สถานี งบประมาณ 34,000 ล้านบาท หลังจากได้จัดที่จ.ภูเก็ตเมื่อวันที่ 8 ม.ค.ที่ผ่านมา ภาพรวมการจัดงานทั้ง 2 จุด ได้รับความสนใจจากนักลงทุนไทยและต่างประเทศจำนวนมาก ทั้งฝรั่งเศส อิตาลี เยอรมัน และจีน ในส่วนของไทยมีทั้งบริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ บีทีเอส และบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีอีเอ็ม รวมทั้งบริษัทก่อสร้างยักษ์ใหญ่ด้วย

รฟม.กำลังเร่งหารือกรมทางหลวง (ทล.) ในรายละเอียดของการปรับแบบก่อสร้างเป็นระบบใต้ดินหรือยกระดับแทนระดับดินบริเวณจุดกลับรถ 2 จุด เพราะทล.ห่วงอันตรายหากแชร์เลนร่วมกับรถประเภทอื่นเนื่องจากเขตทางหลวงแคบ แต่ค่าก่อสร้างเพิ่มจุดละประมาณ 500-800 ล้านบาท หรือรวมแล้ว 1-1.6 พันล้านบาท โดยจะทำอุโมงค์ให้รถไฟฟ้าวิ่งลอดถนนคล้ายอุโมงค์รัชโยธิน คาดว่าต้องใช้เวลาผ่านกระบวนการต่างๆ เพื่อเปิดประมูลให้ได้ภายในต้นปี 63 และเริ่มก่อสร้างกลางปี 63 ให้แล้วเสร็จภายในปี 66

“รฟม.จะใช้รูปแบบการลงทุนแบบ PPP Net Cost โดยรัฐจะเป็นผู้จัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน และสนับสนุนค่างานโยธาไม่เกิน 17,000-18,000 ล้านบาทให้เอกชนสัมปทาน 30 ปี ค่าโดยสาร18 -137 บาท แต่บริษัทที่ปรึกษาได้เคาะค่าโดยสารสูงสุดไม่เกิน 123 บาท ประมาณการผู้โดยสารปีแรก (ปี 66) 3,190 คน/วัน และอีก 30 ปี ในปี 96 จะมีผู้โดยสารใช้บริกร 120,420 คน/วัน” รองผู้ว่าฯ รฟม. แจงค่าโดยสารรถไฟฟ้าเมืองภูเก็ต



ด้านรถไฟฟ้า จ.เชียงใหม่ (แทรม) สายสีแดง (รพ.นครพิงค์-บิ๊กซีหางดง) 12 สถานี 12.54 กม. ได้บริษัทที่ปรึกษาศึกษาแนวทางการก่อสร้างและรูปแบบการลงทุนแล้ว คาดว่าจะลงนามสัญญาภายในเดือนม.ค.นี้

สำหรับจ.นครราชสีมา สายสีเขียวเข้ม ตลาดเซฟวัน-ถึงสถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์ 11.17 กม. 18 สถานี วงเงิน 3.26 หมื่นล้านบาท เตรียมเปิดประกวดราคาหาที่ปรึกษาเช่นกัน ทั้ง 2 โครงการนี้จะใช้เวลาศึกษา 6 เดือน หากไม่ติดปัญหาจะเริ่มเห็นความชัดเจนในการร่างเงื่อนไขการประมูล หรือทีโออาร์ในปี 62 ด้วยเช่นกัน เพื่อทยอยประมูลพร้อมกันปลายปีนี้หรือต้นปีหน้า ให้ประชาชนได้เห็นการก่อสร้างในปี 63 ทั้ง 3 เส้นทาง

แจงรายละเอียดโครงการแทรมเชียงใหม่ มี 3เส้นทางหลัก รวมระยะทาง 34.93 กม. มูลค่าการลงทุนรวม 95,321.66 ล้านบาท เกือบแสนล้าน ประกอบด้วย 1.สายสีแดง (รพ.นครพิงค์-บิ๊กซีหางดง) 12 สถานี 12.54 กม. 2.สายสีน้ำเงิน (สวนสัตว์เชียงใหม่-ห้างพรอมเมนาดา) 13 สถานี 10.47 กม. และ 3.สายสีเขียว (แยกรวมโชค-สนามบินเชียงใหม่) 10 สถานี 11.92 กม.

จะนำร่องสายสีแดงก่อนมีทางวิ่งระดับดิน (เขตชานเมืองวิ่งร่วมกับการจราจรปกติบางส่วน) ผสมกับใต้ดิน(เขตเมือง) เริ่มต้นจาก รพ.นครพิงค์ ผ่านศูนย์ราชการเชียงใหม่ และสนามกีฬา 700 ปีต่อไปศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเชียงใหม่ และเริ่มใช้ทางวิ่งใต้ดินบริเวณแยกข่วงสิงห์สู่ รพ.มหาราชนครเชียงใหม่ และท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่ เมื่อพ้นเขตท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่ จะกลับขึ้นใช้ทางวิ่งบนดินสิ้นสุดที่แยกแม่เหียะสมานสามัคคี (แยกบิ๊กซีหางดง)



ปิดท้ายกับรถไฟฟ้ารางเบานครราชสีมา ระยะทางรวม 50.09 กม. มี 3 แนวเส้นทาง คือ 1.สายสีเขียว ช่วงตลาดเซฟวัน-ถนนมุขมนตรี-สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์ ระยะทาง 11.17 กม. 2.สายสีส้ม ช่วงแยกประโดก-ถนนช้างเผือก-คูเมืองเก่า 9.81 กม.และ 3.สายสีม่วง ช่วงตลาดเซฟวัน-ถนนมิตรภาพ-สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์ 7.14 กม. และส่วนต่อขยาย ช่วงมหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล-แยกจอหอ-ค่ายสุรนารายณ์ 4.48 กม.มี 22 สถานี โดยนำร่องก่อสร้างสายสีเขียวเป็นอันดับแรก

คนต่างจังหวัดยังรอคอยอย่างมีความหวัง ให้ฝันที่จะนั่งรถไฟฟ้าเหมือนคนกรุงเทพฯ ได้เป็นจริง เพื่อยกระดับให้บริการระบบขนส่งสาธารณะ และจูงใจให้ประชาชนหันไปใช้แทนรถยนต์ส่วนตัว ลดปัญหารถติดซึ่งในตัวเมืองของหลายจังหวัดกำลังวิกฤติเหมือนในกรุงเทพฯ
................................
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 20/02/2019 5:07 pm    Post subject: Reply with quote

การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) จัดพิธีลงนามสัญญาจ้างที่ปรึกษาศึกษารายละเอียดความเหมาะสม ออกแบบและจัดเตรียมเอกสารประกวดราคา โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดเชียงใหม่ สายสีแดง (โรงพยาบาลนครพิงค์ - แยกแม่เหียะสมานสามัคคี)
การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
20 กุมภาพันธ์ 2562

จ้าง 98 ล้านออกแบบรายละเอียดรถไฟฟ้าเชียงใหม่สายสีแดง “รพ.นครพิงค์-แยกแม่เหียะ”
พร็อพเพอร์ตี้

วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2562 16:24 น.

จ้าง 98 ล้านออกแบบรายละเอียดรถไฟฟ้าเชียงใหม่สายสีแดง “รพ.นครพิงค์-แยกแม่เหียะ” ปีนี้เปิด PPP 4 หมื่นล้าน ลุ้นภูเก็ตคลอดไตรมาส 3

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 20 ก.พ.2562 รฟม.ได้เซ็นสัญญากับกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา 6 บริษัท ประกอบด้วย ได้แก่ บริษัท อินเด็กซ์ อินเตอร์เนชั่นแนล กรุ๊ป จำกัด บริษัท เอ็ม เอ เอ คอนซัลแตนท์ จำกัด บริษัท พี เอส เค คอนซัลแทนส์ จำกัด บริษัท อีจีส เรล (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท เอ็นริช คอนซัลแตนท์ จำกัด และมหาวิทยาลัยนเรศวร วงเงิน 98.2 ล้านบาท

เพื่อศึกษารายละเอียดความเหมาะสม ออกแบบและจัดเตรียมเอกสารประกวดราคาโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดเชียงใหม่ สายสีแดงช่วงโรงพยาบาลนครพิงค์ – แยกแม่เหียะสมานสามัคคี จะใช้เวลาดำเนินการ 12 เดือน คาดว่าจะเริ่มต้นในเดือน มี.ค.นี้เป็นต้นไป





สำหรับขอบเขตของงานจ้างประกอบด้วยเนื้องาน 2 ส่วน คือ งานศึกษารายละเอียดความเหมาะสม ออกแบบ จัดทำรายงานการศึกษา และวิเคราะห์การให้เอกชนร่วมลงทุนโครงการ และทำหน้าที่ที่ปรึกษาตามที่กำหนดใน พ.ร.บ.การให้เอกชนร่วมลงทุนฯ 2556 คาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 1 ปี

โดยจะดำเนินการคู่ขนานไปกับงานจัดเตรียมเอกสารประกวดราคาเพื่อคัดเลือกผู้รับจ้างงานก่อสร้างโครงการ และเอกสารประกวดข้อเสนอเพื่อคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนงานโยธา งานระบบรถไฟฟ้า งานบำรุงรักษาและงานให้บริการเดินรถ และทำหน้าที่ที่ปรึกษาตามที่กำหนดใน พ.ร.บ.การให้เอกชนร่วมลงทุนฯ พ.ศ. 2556

“มติคณะกรรมการจัดระบบจราจรทางบกครั้งที่ 1 เมื่อปี 2561 มีมติให้ รฟม.เป็นผู้ดำเนินการศึกษารูปแบบ PPP ที่เหมาะสมกับโครงการนี้ จะเร่งที่ปรึกษาให้จัดทำรายงาน PPP ให้แล้วเสร็จภายใน 3-4 เดือนนี้ เพื่อนำเสนอให้บอร์ด กระทรวงคมนาคม บอร์ด PPP และ ครม.อนุมัติโครงการต่อไป จะใช้โมเดลเดียวกับรถไฟฟ้าสายสีชมพู สีเหลือง สายสีส้มตะวันตกและรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ที่ให้เอกชนร่วมลงทุนงานโยธาและงานระบบและรับสัมปทานโครงการ 30 ปี ส่วนรัฐออกค่าใช้จ่ายเวนคืนที่ดิน คาดว่าปลายปีจะเปิดประกาศเชิญชวนให้เอกชนเข้าร่ามลงทุนได้”



นายภคพงศ์กล่าวอีกว่า ในเบื้องต้นที่สำนักงานนโบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ศึกษาความเหมาะสมไว้จะใช้เงินลงทุนโครงการประมาณ 30,000 ล้านบาท แต่ยังไม่มีการสำรวจการเวนคืนที่ดิน ซึ่งที่ปรึกษาจะต้องไปทบทวนผลการศึกษาและประเมินมูลค่าโครงการใหม่ให้สอดคล้องกับสภาพปัจจุบันที่ราคาที่ดินมีมูลค่าสูงขึ้น การเวนคืนที่ดิน คาดว่าจะทำให้มูลค่าการลงทุนโครงการเพิ่มขึ้นอยู่ระหว่าง 30,000-40,000 ล้านบาท

สำหรับโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดเชียงใหม่ สายสีแดง ช่วงโรงพยาบาลนครพิงค์ – แยกแม่เหียะสมานสามัคคี เป็นระบบรถไฟฟ้ารางเบา (Light Rail Transit) รูปแบบโครงสร้างทางวิ่งผสมระดับใต้ดินและระดับดิน มีแนวเส้นทางตามแนวเหนือ-ใต้ ระยะทางประมาณ 12.54 กม. เป็นโครงสร้างใต้ดินประมาณ 7-8 กม. ใช้เวลาก่อสร้าง 5 ปี

ตลอดเส้นทางมี 12 สถานี ผ่านสถานที่สำคัญ เช่น โรงพยาบาลนครพิงค์ สนามกีฬาสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี ศูนย์ประชุมนานาชาติฯ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ สถานีขนส่งช้างเผือก โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ โรงเรียนวัฒโนทัยพายัพ สนามบินนานาชาติเชียงใหม่ ห้างสรรพสินค้าบิ๊กซีหางดง (แยกแม่เหียะสมานสามัคคี)



นายภคพงศ์ยังกล่าวถึงความคืบหน้ารถไฟฟ้าในจังหวัดภูมิภาค ในส่วนของรถไฟฟ้าจังหวัดภูเก็ตยืนยันจะไม่มีการปรับเส้นทางตามที่นักธุรกิจในจังหวัดมีข้อเสนอแนะ ปัจจุบันอยู่ระหว่างจัดทำรายงาน PPP แล้วเสร็จเพื่อเสนอให้คณะกรรมการ PPP พิจารณา และหารือร่วมกับกรมทางหลวง (ทล.) ปรับรูปแบบก่อสร้างบางช่วงที่เป็นบริเวณแยก เพื่อก่อสร้างเกือกม้ากลับรถอำนวยความสะดวกให้กับประชาชาชนในจังหวัด ซึ่งอาจจะส่งผลให้มูลค่าการลงทุนโครงการเพิ่มขึ้นจากเดิมอยู่ที่ 34,827 ล้านบาท คาดว่าจะเปิดประมูลภายในไตรมาส 3 ของปีนี้ เป็นรูปแบบ PPP net cost 30 ปี ส่วนรถไฟฟ้าจังหวัดนครราชสีมาและพิษณุโลก อยู่ระหว่างดำเนินการจัดจ้างที่ปรึกษาดำเนินการศึกษาโครงการ


เปิดPPPรถไฟฟ้าเชียงใหม่ ปลายปี62 -รฟม.เซ็นจ้างออกแบบ เร่งรายงาน EIA
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 20 กุมภาพันธ์ 2562 18:52



รฟม.เซ็นจ้างที่ปรึกษาออกแบบรถไฟฟ้าเชียงใหม่ เร่งทำ EIA พร้อม เสนอกก.PPP อนุมัติ คู่ขนาน คาดเปิดประมูลเอกชนร่วมทุน 100% ได้ปลายปี62 ก่อสร้าง 5 ปี ส่วนรถไฟฟ้าภูเก็ต เร่งเจรจาทล.ปรับแบบลดผลกระทบจราจร คาดประมูลQ 3 /62

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่ารฟม.ได้ลงนามสัญญาจ้างบริษัท อินเด็กซ์ อินเตอร์เนชั่นแนล กรุ๊ป จำกัด ซึ่งประกอบด้วย 6 บริษัท ได้แก่ บริษัท อินเด็กซ์ อินเตอร์เนชั่นแนล กรุ๊ป จำกัด บริษัท เอ็ม เอ เอ คอนซัลแตนท์ จำกัด บริษัท พี เอส เค คอนซัลแทนส์ จำกัด บริษัท อีจีส เรล (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท เอ็นริช คอนซัลแตนท์ จำกัด และมหาวิทยาลัยนเรศวร วงเงินค่าจ้าง 98.2 ล้านบาท เป็นที่ปรึกษาศึกษารายละเอียดความเหมาะสม ออกแบบและจัดเตรียมเอกสารประกวดราคา โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดเชียงใหม่ สายสีแดง (โรงพยาบาล นครพิงค์ - แยกแม่เหียะสมานสามัคคี) ระยะเวลา 1 ปี

ซึ่งโครงการนี้ จะให้เอกชนร่วมลงทุนเอกชน ทั้งงานโยธา ระบบและเดินรถ (PPP Net Cost) 100%เช่นเดียวกัน รถไฟฟ้าสายสีชมพูและสีเหลือง และโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน เพื่อลดภาระการลงทุนภาครัฐ อายุสัมปทาน 30 ปี (ระยะเวลาก่อสร้าง5 ปี) โดยภาครัฐทยอยชำระค่าก่อสร้างคืนเมื่อก่อสร้างเสร็จ เป็นเวลา 10 ปี

โดยที่ปรึกษาจะศึกษารายละเอียดความเหมาะสม (Feasibility Study) ออกแบบ จัดทำรายงานการศึกษา และวิเคราะห์การให้เอกชนร่วมลงทุนโครงการ และทำหน้าที่ที่ปรึกษาตามที่กำหนดใน พ.ร.บ. การให้เอกชนร่วมลงทุนฯ พ.ศ. 2556 หมวด 4 (การเสนอโครงการ) และจัดเตรียมเอกสารประกวดราคา ข้อเสนอเพื่อคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนงานโยธา งานระบบรถไฟฟ้า งานบำรุงรักษาและงานให้บริการเดินรถ ซึ่งคาดว่าจเริ่มงานได้ในเดือนมี.ค. เนื่องจาก รฟม.อยู่ระหว่างรอประกาศพระราชกฤษฎีกาให้รฟม.ดำเนินกิจการรถไฟฟ้าในจังหวัดเชียงใหม่

ในขณะเดียวกัน รฟม.จะนำเสนอรายงาน PPP ต่อคณะกรรมการ(บอร์ด)รฟม. เพื่อเสนอขออนุมัติจากคระกรรมการ PPP ในช่วง 3-4 เดือนนี้ คู่ขนาน ซึ่งเป็นไปตามขั้นตอนพ.ร.บ.ร่วมทุนฯ ปี 56 โดยตั้งเป้าจะเปิดประมูลได้ในช่วงปลายปี 2562 มูลค่าโครงการเบื้องต้นกว่า 3 หมื่นล้านบาท

“ก่อนหน้านี้ทางสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ได้ศึกษาแนวเส้นทาง รฟม.จะ ออกแบบรายละเอียด ตำแหน่งจุดที่ตั้งสถานีและพื้นที่เวนคืน รวมถึงการทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) คู่ขนาน เพราะจะต้องทำประชาพิจารณ์เรื่อง EIA ด้วย “

สำหรับโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดเชียงใหม่ สายสีแดง (โรงพยาบาลนครพิงค์ - แยกแม่เหียะสมานสามัคคี) เป็นระบบรถไฟฟ้ารางเบา (Light Rail Transit) รูปแบบโครงสร้างทางวิ่งผสมระดับใต้ดินและระดับดิน มีแนวเส้นทางตามแนวเหนือ-ใต้ ระยะทางประมาณ 12.54 กม. จำนวน 12 สถานี เริ่มใจาก โรงพยาบาลนครพิงค์ สนามกีฬาสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี ศูนย์ประชุมนานาชาติฯ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ สถานีขนส่งช้างเผือก โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ โรงเรียนวัฒโนทัยพายัพ สนามบินนานาชาติเชียงใหม่ ห้างสรรพสินค้าบิ๊กซีหางดง (แยกแม่เหียะสมานสามัคคี)

ส่วนโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต (Tram) ช่วงสนามบินภูเก็ต-ห้าแยกฉลอง 41.7 กม. วงเงิน 34,828 ล้านบาท อยู่ระหว่างนำเสนอคณะกรรมการ PPP โดยรฟม.กำลังหารือกับกรมทางหลวง (ทล.) เพื่อปรับแบบในจุดที่ต้องใช้พื้นที่เขตทาง เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อจราจร เช่น ทำทางกลับรถหรือ ปรับเป็นใต้ดิน เป็นต้น ซึ่งอาจจะกระทบต่อมูลค่าโครงการบ้าง แต่จะไม่ขยับแนวเส้นทาง ซึ่งคาดว่าจะเปิดประมูลได้ในไตรมาส3/62 ส่วนรถไฟฟ้าโคราชและพิษณุโลก อยู่ระหว่างการว่าจ้างที่ปรึกษาออกแบบรายละเอียด
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 12/03/2019 7:13 pm    Post subject: Reply with quote

เอกชนหวั่นคนใช้บริการรถไฟฟ้ารางเบาเชียงใหม่น้อยในช่วงแรก

จันทร์ที่ 11 มีนาคม 2562 เวลา 14:14 น.

นายภูวนารถ ยกฉวี กรรมการรองผู้จัดการ บริษัท รีเจียนนอล ทรานซิท โคเปอร์เรชั่น จำกัด หรือ RTC เปิดเผยว่าโครงการรถไฟรางเบา(แทรม)เชียงใหม่ รวม 3 เส้นทาง วงเงิน 8 หมื่นล้านบาทนั้นจากประสบการณ์เป็นผู้ประกอบการเดินรถโดยสารสาธารณะสมาร์ทบัสภายในเมืองเชียงใหม่นั้นพบว่าปริมาณผู้โดยสารหรือดีมานต์การเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะนั้นไม่สามารถสร้างได้ด้วยเวลาอันรวดเร็ว ทำให้ในช่วงแรกจะมีผู้โดยสารมาใช้น้อย ประกอบกับราคาค่าโดยสารที่ต้องไม่สูงเกินไปสำหรับชาวบ้านในท้องถิ่น ซึ่งคาดว่าราคาค่าโดยสารที่ไม่เกิน 30 เป็นตัวเลขที่ชาวบ้านรับได้เพราะใกล้เคียงกับค่าโดยสารรถประจำทางในตัวเมืองที่ 20-30 บาท

ทั้งนี้ถ้าค่าโดยสารตลอดสายราคาสูงเกินไปก็คงจะได้เห็นนักท่องเที่ยวมาใช้บริการเป็นส่วนใหญ่แต่ชาวบ้านคงไม่ขึ้น นอกจากนี้ยังต้องให้ความสำคัญกับเรื่องความคุ้มค่าของโครงการที่มีมูลค่าลงทุนสูงคงต้องใช้เวลาคืนทุนนานพอสมควร ทั้งนี้หลังจากเปิดใจห้บริการมา 1 ปี ปัจจุบันสมาร์ทบัสเชียงใหม่มีผู้โดยสารเฉลี่ย 2,000 คน/วัน ส่วนในช่วง 3 เดือนแรกมีผู้โดยสาร 500 คน/วัน

นายภูวนารถ กล่าวอีกว่าการพัฒนาแทรมในจ.เชียงใหม่สามารถแก้ไขปัญหาจราจรได้อย่างยั่งยืนควบคู่ไปกับการสนับสนุนให้ลดปริมาณยานพาหนะบนท้องถนนโดยเฉพาะในตัวเมือง เนื่องจากผู้ปกครองและวัยทำงานสามารถนำรถไปจอดตามจุดจอดแล้วจรขนาดใหญ่เช่น ห้างสรรพสินค้า ก่อนใช้แทรมไปยังจุดหมายปลายทาง สำหรับปัญหาจราจรระหว่างก่อสร้างนั้นคงไม่กระทบต่อการสัญจรและการท่องเที่ยวมากนัก เนื่องจากระบบรถไฟฟ้าแทรมสมัยใหม่มีแบบเป็นล้อยาง ดังนั้นจึงไม่ต้องเสียพื้นที่ก่อสร้างในการวางระบบรางบนพื้นผิวถนน เพียงแต่ปิดพื้นผิวถนนบริเวณการก่อสร้างสถานีและทางยกระดับ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 09/04/2019 12:01 am    Post subject: Reply with quote

พระราชกฤษฎีกาให้อำนาจ รฟม. เดินรถไฟฟ้าเชียงใหม่-พังงา-ภูเก็ต-นครราชสีมา
ประชาไท / ข่าว
Submitted on วันจันทร์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2562 15:59
พ.ร.ฎ.ออกแล้ว สร้างรถไฟฟ้า 4 จังหวัด "เชียงใหม่-พังงา-ภูเก็ต-โคราช"
โดย ไทยรัฐออนไลน์
วันจันทร์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2562 15:33 น.
ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ พระราชกฤษฎีกา กําหนดจังหวัดให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ดําเนินกิจการรถไฟฟ้า พ.ศ. 2562 ให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ดําเนินกิจการรถไฟฟ้าใน 'เชียงใหม่-พังงา-ภูเก็ต-นครราชสีมา โดยระบุว่า

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรกําหนดให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยดําเนินกิจการรถไฟฟ้า ในบางจังหวัดได้

อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 175 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา 7 (2) แห่งพระราชบัญญัติการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2543 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้

มาตรา 1 พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “ พระราชกฤษฎีกากําหนดจังหวัดให้การรถไฟฟ้า ขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยดําเนินกิจการรถไฟฟ้า พ.ศ. 2562 ”
มาตรา 2 พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป
มาตรา 3 ให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยดําเนินกิจการรถไฟฟ้าในจังหวัด ดังต่อไปนี้ได้
(1) จังหวัดเชียงใหม่
(2) จังหวัดพังงา
(3) จังหวัดภูเก็ต
(4) จังหวัดนครราชสีมา
มาตรา 4 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้

ผู้รับสนองพระราชโองการ

พลเอกประยุทธ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรี
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 6, 7, 8 ... 10, 11, 12  Next
Page 7 of 12

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©