RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311232
ทั่วไป:13180019
ทั้งหมด:13491251
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 294, 295, 296 ... 542, 543, 544  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44323
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 25/11/2018 12:26 pm    Post subject: Reply with quote

นัดเซ็นสัญญา "รถไฟความเร็วสูง" ไทย-จีน ม.ค.62
Thai PBS News Published on Nov 23, 2018


https://www.youtube.com/watch?v=qKSk-UqnSR8
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 25/11/2018 10:27 pm    Post subject: Reply with quote

ชิงเดือดพื้นที่มักกะสัน เค้ก2ล้านตร.ม.พัฒนาเชิงพาณิชย์-รัศมี4กม.ได้อานิสงส์
ออนไลน์เมื่อ 21 พฤศจิกายน 2561
หน้า 29-30 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
ปีที่ 38 ฉบับ 3,419 วันที่ 18-21 พฤศจิกายน 2561

ชิงประมูลรถไฟเชื่อม 3 สนามบิน บูมมักกะสัน คาด ทุ่ม 4 หมื่นล้าน ผุดมิกซ์ยูส 2 ล้านตร.ม. ดันที่โดยรอบ พลิกเป็นย่านพาณิชยกรรม พญาไท-แยกพระราม9-อโศก-เพชรที่พุ่งกว่า 1 ล้านต่อตารางวาพื้นที่ย่านมักกะสัน คึกคักมีสีสันอีกครั้งหลังโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ขยับ ยื่นซองประมูล จากคู่ท้าชิง ระหว่าง “ซีพีกับบีทีเอส”

นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญากรรมการบริษัท บีทีเอส กรุ๊ปโฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผย “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า จากการยื่นซองประมูล โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน หากใครชนะประมูล จะได้ที่ดิน 2 แปลงของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) นำไปพัฒนาเชิงพาณิชย์ ได้แก่แปลงบริเวณที่ตั้งสถานี ศรีราชา จังหวัด ชลบุรี และที่ดินแปลงใหญ่ที่ สนใจจะเป็นมักกะสันเนื้อที่ 128 ไร่ พัฒนารูปแบบมิกซ์ยูส ตามเงื่อนไขทีโออาร์ ส่วนโรงซ่อม ทางร.ฟ.ท.จะพัฒนาทำเป็นพิพิธภัณฑ์ อย่างไรก็ดีบริษัทมีทีเด็ด สร้างความจูงใจ พื้นที่โดยรอบ ทำให้เกิดการพัฒนาร่วมกัน อนาคตเชื่อว่าทำเลนี้จะมีศักยภาพสูงกลายเป็นย่านพาณิชยกรรมที่น่าสนใจ ราคาที่ดินขยับสูง เนื่องจากเป็นจุดเชื่อมต่อการเดินทางออกไปยังเมืองอีอีซีและจากอีอีซีเข้ากรุงเทพฯ ส่วนที่ดินในมือเป็นของบริษัทลูก บีทีเอส บริษัท ยูซิตี้ จำกัด (มหาชน) เนื้อที่ 7-8 ไร่ ติดสถานีีพญาไท (บีทีเอส) มีแผนพัฒนาเป็นมิกซ์ยูส โรงแรม ออฟฟิศ ที่อยู่อาศัยฯลฯ ขณะรถไฟความเร็วสูง จะมีส่วนของเส้นทางแอร์พอร์ตลิงค์ ที่จะใช้ทางร่วมกับรถไฟความเร็วสูง ซึ่งจะเป็นเกตเวย์ออกไปสู่อีอีซี ทั้งนี้หากชนะประมูล จะมีพันธมิตรชั้นนำทั้งไทยและต่างชาติจำนวนมากให้ความร่วมมือแต่ไม่สามารถเปิดรายชื่อได้ในขณะนี้



ขณะนายศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) ระบุว่า ที่ดินที่สนใจจะเป็นแปลงมักกะสัน มองว่ามีศักยภาพสูง รวมถึงที่ดินที่ศรีราชา จังหวัดชลบุรี ส่วนที่ดินของบริษัทส่วนใหญ่เป็นที่เกษตรที่มีอยู่เดิมและคงไม่ซื้อเพิ่ม

นายสุรเชษฐ กองชีพ นักวิจัยตลาดอสังหาริมทรัพย์ระบุว่า ย่านมักกะสัน จะกลายเป็นย่านพาณิชย์ จากการพัฒนาของเอกชนผู้ชนะประมูล ในรูปแบบมิกซ์ยูส ซึ่งที่ดินติดกับสถานีมักกะสัน อาจยังไม่ถึง 1 ล้านบาทต่อตารางวา แต่อนาคต เชื่อว่าจะขยับไปไกล นอกจากนี้แล้วพื้นที่โดยรอบอาจได้อานิสงส์ เช่น หากเดินขึ้นไปทางตอนเหนือของแปลงที่ดินมักกะสัน จะเชื่อมกับแยกพระราม 9 ติดกับรถไฟใต้ดิน MRT ซึ่งปัจจุบันมีการพัฒนาโครงการกันอย่างคึกคัก ราคาที่ดินทะลุกว่า 1 ล้านบาทต่อตารางวา หรือเดินลงมาทางใต้จะเจอแยกอโศก-เพชร ราคาที่ดิน 1 ล้านบาทต่อตารางวา อีกทำเลที่จะได้อานิสงส์จากรถไฟความเร็วสูงและโครงการมิกซ์ยูสมักกะสันคือ ทำเลบริเวณทางขึ้นทางด่วนบนถนนเพชรบุรี (ถนนวิทยุชนกับถนนเพชรบุรี) เป็นต้น

สอดคล้องกับ บริษัท คอลลิเออร์ส อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทยฯ ระบุว่า ที่ดินมักกะสันที่ร.ฟ.ท.
จะให้เอกชนเข้าไปพัฒนากว่า 120 ไร่ สัญญาเช่า 50 ปี พื้นที่ที่เป็นตัวอาคารทั้งหมดอยู่ที่ประมาณ 2.4 ล้านตร.ม. ความต้องการขั้นตํ่าสำหรับการพัฒนาอยู่ที่ประมาณ8.5 แสนตร.ม. ซึ่ง คอลลิเออร์ส มองว่าหากเอกชนเข้ามาพัฒนา คาดว่าจะใช้งบประมาณกว่า 40,000 ล้านบาท และใช้เวลากว่า 10 ปีถึงจะคืนทุน โดยต้องนำที่ดินแปลงดังกล่าวมาพัฒนาเป็นโครงการมิกซ์ยูสขนาดใหญ่ไม่ว่าจะเป็น อาคารสำนักงาน โรงแรม พื้นที่ค้าปลีก เซอร์วิส อพาร์ตเมนต์ รวมถึง คอนโดมิเนียม (เช่า) ลีสโฮลด์

สำหรับอาคารสำนักงาน อุปทานอาคารสำนักงานในย่านนี้ส่วนใหญ่เป็นอาคารสำนักงานเกรด A ราคาค่าเช่าอยู่ที่ประมาณ 850-1,200 บาทต่อตร.ม.ต่อเดือน ส่วนอาคารสำนักงานเกรด B ราคาค่าเช่าจะอยู่ที่ประมาณ 500-650 บาทต่อตร.ม.ต่อเดือน ดังนั้น อาคารสำนักงานเกรด A และ B จึงเป็นสิ่งที่น่าสนใจในการพัฒนาบนพื้นที่แปลงนี้

สำหรับธุรกิจโรงแรม ในพื้นที่โดยรอบที่ดินมักกะสันแวดล้อมไปด้วยโรงแรมระดับกลางและระดับบนมากถึง 5,302 ห้องพัก และมีอัตราพักเฉลี่ยสูงถึง 70-75% นอกจากนี้ที่ดินแปลงนี้ยังแวดล้อมไปด้วย เซอร์วิส อพาร์ตเมนต์ กว่า 3,376 ห้อง และมีอัตราการเช่าสูงถึง 86% โดยราคาค่าห้องพักต่อเดือนเฉลี่ยอยู่ที่ สตูดิโอ 38,000 -90,000 บาทต่อเดือน 1 ห้องนอน 42,000-110,000 บาทต่อเดือน 2 ห้องนอน 57,000-180,000 บาทต่อเดือน และ 3 ห้องนอน 140,000-247,000 บาทต่อเดือน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 25/11/2018 11:57 pm    Post subject: Reply with quote

“ซี.พี.แลนด์” 6 ปีที่รอคอย เปิดหน้าดิน 3,000 ไร่ ฮับ EEC

วันที่ 23 พฤศจิกายน 2561 - 10:03 น.


ที่ดินผืนใหญ่กว่า 3,000 ไร่ ต.มาบข่า อ.นิคมพัฒนาและ ต.หนองละลอก อ.บ้านค่าย จ.ระยอง ของ “บมจ.ซี.พี.แลนด์” บริษัทอสังหาริมทรัพย์ใต้ปีกเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซี.พี.) ที่ใช้เวลา 30 ปี ซื้อเก็บสะสมจนกลายเป็นผืนเดียวกัน ปัจจุบันตั้งอยู่ในทำเลที่มีจุดเชื่อมโยงโครงข่ายคมนาคมล้อมรอบ ทั้งถนนสายหลัก 4-6 ช่องจราจร ห่างจากสนามบินอู่ตะเภา 35 กม. สนามบินสุวรรณภูมิ 145 กม. ท่าเรือมาบตาพุด 16 กม. ท่าเรือแหลมฉบัง 60 กม. สถานีรถไฟความเร็วสูงอู่ตะเภา 35 กม.

ล่าสุดที่ดินถูกนำมาพัฒนานิคมอุตสาหกรรมไทย-จีน บนพื้นที่ 3,068 ไร่ มีชื่อว่า “ซีพีจีซี” เป็นการร่วมทุนระหว่าง ซี.พี.แลนด์กับบริษัท กว่างซี คอนสตรัคชั่น เอ็นจิเนียริ่ง กรุ๊ป จำกัด รัฐวิสาหกิจจากมณฑลหนานหนิงของประเทศจีน วงเงิน 3,500 ล้านบาท สัดส่วน 50:50 จัดตั้งบริษัท ซีจี คอร์ปอเรชั่น จำกัด ขับเคลื่อนโครงการ รับพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ที่โครงการได้รับสิทธิพิเศษพัฒนาอย่างเต็มที่

ขณะนี้นิคมแห่งนี้กำลังเป็นรูปเป็นร่าง หลังใช้เวลาร่วม 6 ปีผลักดันในการปรับเปลี่ยนการใช้ประโยชน์ที่ดินในผังเมืองรวมใหม่ จนมาสำเร็จเมื่อปีที่ผ่านมา หลังรัฐบาลประกาศ จ.ระยองเป็นเขตเศรษฐกิจอีอีซี ทำให้กฎเหล็กที่ค้างคาถูกคลายลงโดยปริยาย





“สุนทร อรุณานนท์ชัย” ประธานกรรมการ บริษัท ซีจี คอร์ปอเรชั่น จำกัด และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ซี.พี.แลนด์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า โครงการนี้ใช้เงินลงทุนทั้งหมด 8,800 ล้านบาท จะเริ่มก่อสร้างระบบสาธารณูปโภคในปี 2562 เปิดขายพื้นที่ภายในไตรมาส 2 ของปี 2562 เนื่องจากต้องรอการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ประกาศเป็นเขตนิคมอุตสาหกรรมและอนุมัติรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) ขณะนี้ออกแบบโครงการเสร็จแล้วเตรียมจะยื่นขออนุมัติโครงการ

“หลังรอมา 6 ปี วันนี้นิคมอุตสาหกรรมแห่งนี้เริ่มเป็นรูปเป็นร่าง เราเคลียร์ทุกอย่างแล้ว ทั้งผังเมืองรวมที่ปรับสีการใช้ประโยชน์ที่ดินจากสีเขียวเป็นสีม่วง ขั้นตอนการดำเนินงานเงื่อนไขทุกอย่างร่วมกับ กนอ.เสร็จแล้ว รออีไอเออย่างเดียว คาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 6 เดือน จะเริ่มก่อสร้างปีหน้าและเปิดพัฒนาในปี 2563”

การที่ ซี.พี.แลนด์ลงทุนพัฒนานิคมอุตสาหกรรมเนื่องจากมองเห็นโอกาสและที่ดินแปลงดังกล่าวก็อยู่ในพื้นที่อีสเทิร์นซีบอร์ด เป็นจุดที่เหมาะกับการลงทุน ซึ่งบริษัทเตรียมตัวมาหลายปีโดยพื้นที่พัฒนาเบื้องต้นวางไว้ที่ประมาณ 3,000 ไร่ จะพัฒนาให้เต็มพื้นที่ มีพื้นที่อุตสาหกรรม 2,205 ไร่ พาณิชยกรรม 112 ไร่ พื้นที่สีเขียว 309 ไร่ และสาธารณูปโภค 443 ไร่ จะเลือก 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย (S-curve กับ new S-curve) ที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงตามที่รัฐบาลไทยประชาสัมพันธ์มาลงทุนภายในประเทศ เช่น อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ การแพทย์ครบวงจร คาดว่ามีบริษัทจากจีนประมาณ 100 แห่งจะมาลงทุน แต่อาจจะใช้พื้นที่ไม่มาก ประมาณรายละ 10 ไร่ขึ้นไป

ขณะนี้ได้เซ็นบันทึกความร่วมมือ (MOU) กับ 3 องค์กรใหญ่ของจีน คือ 1.สถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีน เป็นการร่วมมือด้านโนว์ฮาวและสนับสนุนให้อุตสาหกรรมของประเทศจีนที่ใช้เทคโนโลยีสูงมาลงทุน

2. บริษัท ไชน่า เอ็นเนอร์จี้ เอ็นจิเนียริ่ง กรุ๊ป สนใจจะลงทุนด้านธุรกิจพลังงาน และ 3.บริษัท CAS ION MEDICAL TECHNOLOGY ECONOMIC AND COMMERCIAL COUNSELOR ที่สนใจจะลงทุนอุปกรณ์ทางการแพทย์ เช่น ระบบตรวจวินิจฉัยโรคด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan) และระบบการตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) เป็นต้น



“การลงทุนทางจีนจะพิจารณาต่อไป เพราะจีนเป็นคนทำตลาด กำหนดราคาขายและเช่า ทาง ซี.พี.แลนด์จะเป็นผู้ก่อสร้างและบริหาร จีนบอกว่า มีผู้สนใจจะมาลงทุนในนิคม 20-30 ราย เป็นหน่วยงานที่ประกอบกิจการตามนโยบาย 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายของรัฐบาลไทยทั้งหมด แต่ยังไม่ได้เซ็นสัญญากัน ส่วนการร่วมมือกับกลุ่มอื่น เช่น อาลีบาบา ยังไม่ถึงขั้นนั้น แต่ไม่ได้หมายความว่าจะไม่ร่วมมือกัน ขณะที่ประเทศอื่นๆ เช่น ญี่ปุ่น ก็มีการคุยกันบ่อยครั้งและให้ความสนใจในทุกประเภทงาน เราคุยได้ทั้ง 3 ปาร์ตี้”

นายสุนทรกล่าวว่า ยังมีพื้นที่ส่วนที่เหลืออีกประมาณ 100 ไร่ ที่จะนำมาพัฒนากิจการอื่น ๆ รองรับกับนิคมอุตสาหกรรม เช่น พื้นที่เชิงพาณิชย์ ศูนย์การเรียนรู้ รวมถึงอาจจะซื้อที่ดินเพิ่ม

“บริเวณตรงข้ามกับนิคมมีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า วิทยาเขตระยอง ทำให้ได้รับโอกาสถ่ายทอดเทคโนโลยีจากจีน เพราะมีเทคโนโลยีที่ก้าวกระโดดในระดับโลกอยู่แล้ว คาดว่า 2-3 ปีจะเริ่มเห็นรูปร่าง โดยการร่วมลงทุนครั้งนี้จะต้องทำให้จีนเห็นว่า การลงทุนครั้งนี้ประสบความสำเร็จ ซึ่งจะทำให้เรามีชื่อเสียง ดึงดูดนักลงทุนเข้ามาเพิ่ม”

ส่วนแผนการพัฒนาเมืองใหม่มารองรับรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินและเมืองการบินอู่ตะเภา นายสุนทรกล่าวว่า ซี.พี.แลนด์ยังไม่มีแผนลงทุนอะไร แต่เชื่อว่าบริษัทอื่นในเครือ ซี.พี.น่าจะมีแผนพัฒนาอยู่ ถึงจะไม่มีโครงการพัฒนามารองรับ แต่หลายคนคาดว่านิคมอุตสาหกรรมซีจีพีจีจะได้รับอานิสงส์จากการปรับแนวรถไฟความเร็วสูงจะสร้างจากอู่ตะเภา-ระยองที่บอร์ดอีอีซีอนุมัติให้เบี่ยงแนวหลบนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด

ปัจจุบันการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) อยู่ระหว่างพิจารณาแนวเส้นทางขยับขึ้นไปทางถนนหมายเลข 36 ดูจากระยะห่างมีแนวโน้มจะเข้าไปใกล้กับที่ดิน ซี.พี.ไม่มากก็น้อย
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 30/11/2018 10:56 am    Post subject: Reply with quote

'บีทีเอส-ซีพี' ฉลุยซองเทคนิคชี้ซองราคาแข่งเดือด!
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: ศุกร์ที่ 30 พฤศจิกายน 2561 เวลา 09:51

วงใน ระบุ การพิจารณาซองเทคนิคโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ประกาศผล 11 ธ.ค.นี้ ทั้งซีพี และบีทีเอส คะแนนเกิน 80% ผ่านฉลุย โดยเฉพาะข้อ ค.และ ง.กลุ่มบีทีเอส มีภาษีดีกว่า ส่วนข้อ ฉ.เป็นการพัฒนาพื้นที่ หรือ TOD กลุ่มซีพีมีโอกาสสูง ยิ่งได้ญี่ปุ่นเข้าร่วมจะทำให้ 'คอมเพล็กซ์มักกะสัน' ประสบความสำเร็จได้ง่าย ขณะที่ ซองที่ 3 เรื่องการเงินเชื่อจะแข่งกันรุนแรง เพราะใครเสนอผลประโยชน์ให้รัฐสูงสุดและรัฐจ่ายน้อยสุด จะได้โครงการนี้ไปครอง!

ถึงเวลาต้องมาลุ้นกันอีกแล้วว่า 2 กลุ่มกิจการร่วมค้าที่ได้ยื่นเอกสารร่วมลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา ระยะทาง 220 กิโลเมตร มูลค่า 224,544.36 ล้านบาท กลุ่มใดจะผ่านหรือกลุ่มใดจะสอบตกซองที่ 2 ซึ่งเป็นข้อเสนอด้านเทคนิค หรือจะสามารถสอบผ่านไปได้ทั้ง 2 ราย ซึ่งจะรู้ผลในวันที่ 11 ธันวาคม ที่จะถึงนี้ เช่นเดียวกับที่ทั้ง 2 ราย ได้ผ่านซองที่ 1 ในเรื่องคุณสมบัติตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในทีโออาร์ไปแล้ว

แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคม บอกว่า ทั้ง 2 กลุ่มกิจการร่วมค้าไม่ว่าจะเป็น

1. กิจการร่วมค้า บีเอสอาร์ (BSR Joint Venture) ประกอบด้วย บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน), บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน): STEC, บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน)

2. กิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร ประกอบด้วย บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด (ประเทศไทย), บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) หรือ ITD, China Railway Construction Corporation Limited, บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) : CK, บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM มีจุดแข็งและจุดอ่อนที่ต่างกัน

“ถ้าเรานำทั้ง 6 หมวดในซองที่ 2 ด้านเทคนิคมาพิจารณาจะเห็นว่าทั้ง 2 กลุ่มจะมีคะแนนสูสีกันมาก ไม่มีใครเป็นรองใคร คะแนนก็ไม่น่าจะทิ้งห่าง หรือถ้าจะทิ้งกันก็ไม่น่าเกิน 5% แต่เชื่อว่าจะผ่านคุณสมบัติด้านเทคนิคทั้ง 2 กลุ่ม แล้วให้ไปต่อสู้กันจริงๆ ในซองที่ 3 ซึ่งเป็นข้อเสนอด้านการลงทุน และผลตอบแทน พูดง่ายๆ เป็นเรื่องการเงินที่รัฐจะควักน้อยที่สุด”

สำหรับข้อเสนอในซองที่ 2 ด้านเทคนิค ทั้ง 6 หมวด ประกอบด้วย

ก. โครงสร้างองค์กรและความสามารถของบุคลากรในการบริหารงานรวมถึงแผนงานรวม

ข. แนวทางและวิธีการดำเนินงาน และความสอดคล้องของเอกสารด้านเทคนิคงานโยธา

ค. แนวทางและวิธีการดำเนินงาน และความสอดคล้องของเอกสารด้านเทคนิคงานระบบ เครื่องกลและไฟฟ้าและขบวนรถไฟ

ง. แนวทางและวิธีการดำเนินงาน และความสอดคล้องของเอกสารด้านเทคนิคการให้บริการเดินรถและบำรุงรักษา

จ. แนวทางและวิธีการดำเนินงาน และความสอดคล้องของเอกสารด้านการถ่ายทอดเทคโนโลยีและกิจกรรมการฝึกอบรม

ฉ. การพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการและการดำเนินกิจการทางพาณิชย์

แหล่งข่าวระบุว่า ใน 6 หมวดนั้น ไม่ใช่ประเด็นชี้ขาดเนื่องจากทั้ง 2 กลุ่ม ได้มอบหมายให้บริษัทที่ปรึกษาที่มีประสบการณ์ในการทำงานด้านรถไฟความเร็วสูงเป็นผู้จัดทำ แต่หากจะพิจารณาลึกลงไปในแต่ละหมวดก็จะเห็นถึงความชำนาญที่แตกต่างกัน โดยข้อ ก.ทั้ง 2 กลุ่มได้มีการจัดหาผู้ที่มีประสบการณ์ทั้งในประเทศและต่างประเทศมานำเสนอได้อยู่แล้ว


ส่วนในข้อ ข. เทคนิคด้านโยธา ทั้ง 2 กลุ่มก็มีผู้รับเหมารายใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มซีพี ที่มี CK และ ITD ส่วนบีทีเอส ก็มี STEC แม้ทั้ง 2 กลุ่มจะไม่เคยก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง แต่ก็มีประสบการณ์ในการก่อสร้างระบบสาธารณูปโภคขนาดใหญ่มากมาย รวมทั้ง 2 กลุ่มก็มีบริษัทต่างชาติที่มีความเชี่ยวชาญด้านการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงเข้ามาร่วมอยู่แล้ว

สำหรับข้อ จ. ในเรื่องการถ่ายทอดเทคโนโลยีนั้น เป็นเรื่องที่ทั้งซีพีและบีทีเอส ผ่านฉลุย เพราะการถ่ายทอดเทคโนโลยีนั้นก็เป็นเรื่องที่เข้าใจและพร้อมปฏิบัติอยู่แล้ว ซึ่งการถ่ายทอดเทคโนโลยีไม่ใช่หมายความถึงว่าจะต้องทำให้ประเทศไทยตั้งโรงงานผลิตรถไฟความเร็วสูงขึ้นมาเองได้ เพราะกว่าที่ประเทศจีนจะผลิตและส่งออกระบบรถไฟความเร็วสูงได้ก็ใช้เวลาเกือบ 20 ปี ด้วยการลงทุนและแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีความเร็วสูงจาก 4 ประเทศ ทั้ง บริษัท Kawasaki Heavy Industries หรือรถไฟชิงกันเซ็งของญี่ปุ่น บริษัท Bombardier แคนาดา บริษัท Siemens เยอรมนี และบริษัท Alsyom แห่งฝรั่งเศส จนกลายมาเป็นเทคโนโลยีของจีนทุกวันนี้

“ข้อ ค, ง และ ฉ. จะเป็นข้อสำคัญที่จะส่งผลถึงการแพ้ชนะในการเปิดซองที่ 3 เพราะข้อ ก.ถึง จ. จะเป็นการใช้เงิน แต่ข้อ ฉ. เพียงข้อเดียวที่เป็นการสร้างรายได้ ที่จะส่งผลให้รัฐควักกระเป๋าน้อยที่สุด จะเป็นผู้ชนะ“

แหล่งข่าวบอกอีกว่า ด้านงานโยธาตามข้อ ข. เรื่องต้นทุนการดำเนินการงานด้านเทคนิคงานโยธา ทั้งของซีพี และบีทีเอส จะไม่ต่างกัน แต่ถ้าจะมีความต่าง จะอยู่ที่ข้อ ค.และ ง. ที่ความจริงแล้ว เป็นเรื่องเดียวกัน เพราะขึ้นอยู่กับค่ายใดจะหยิบเทคโนโลยีของประเทศใดมาใช้ ซึ่งจะมีผลต่อต้นทุนเพราะจะต้องคำนึงถึงต้นทุนระยะยาวในเรื่องการบำรุงรักษา เพราะต้องไม่ลืมว่าเมื่อเลือกเทคโนโลยีค่ายใดแล้วก็จะเป็นการผูกขาดไปตลอด

“ตัวอย่าง ถ้าค่ายใดเลือกเทคโนโลยีจีน อาจจะถูกตอนต้น แต่ Life time cost จะเจอค่าบำรุงรักษาตลอดไป ก็อาจจะแพงได้ แต่ถ้าเลือกของยุโรป จะราคาแพงในตอนต้น เพราะทนกว่า แต่ Life time cost อาจจะไม่เท่าจีน ซึ่งมีการศึกษาแล้วก็เชื่อว่า Life time cost ของค่าย Siemens น่าจะดีที่สุด”

ดังนั้น ข้อ ค.และ ง. จึงเป็นเรื่องที่ผู้ลงทุนต้องนำมาคำนวณ Life Cycle Cost ซึ่งเป็นต้นทุนตลอดอายุสัมปทานให้เป็นมูลค่าปัจจุบัน โดยใช้ตัวคูณลด ซึ่งแต่ละค่ายก็มีสูตรในการคำนวณชัดเจนอยู่แล้ว ซึ่งเป็นต้นทุนตลอดอายุสัมปทาน ประกอบด้วย เงินลงทุน (Capital Cost) ค่าใช้จ่ายทางการเงิน (Financial Cost) ค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติการ (Operational Cost) และค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา (Maintenance Cost) เป็นต้น


โดยกลุ่มซีพี ได้เปิดกลุ่ม SUPPLIER ทั้งSiemens (ประเทศเยอรมนี), บริษัท Hyundai Rotem (ประเทศเกาหลี) ซึ่งเป็นเทคโนโลยี Alstom ของฝรั่งเศส และได้นำไปพัฒนาเป็นเทคโนโลยีของเกาหลีเอง ที่ผลิตได้ทั้งรถไฟและระบบในรถ, CRRC-Sifang (สาธารณรัฐประชาชนจีน) ที่ผลิตตู้รถไฟส่งขายทั่วโลก

อย่างไรก็ดี การที่กลุ่มบีทีเอสไม่ยอมเปิดตัวพันธมิตรและ SUPPLIER นั่นเป็นเพราะบีทีเอสเชื่อว่าหากมีการเปิดตัวจะสามารถทำให้คู่ต่อสู้ซึ่งหมายถึงกลุ่มซีพี ประมาณต้นทุนในข้อ ค.และ ง.ได้ เพราะข้อ ค. และ ง. ต้องถือว่าเป็นจุดแข็งของกลุ่มบีทีเอสในการทำธุรกิจขนส่งทางรางที่เชื่อว่าเชี่ยวชาญกว่าบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM ที่เป็นพันธมิตรของซีพี อีกทั้ง บีทีเอส ได้ใช้ทั้งเทคโนโลยีของ Siemens, Bombardier แคนาดา มาแล้วจึงรู้ถึงข้อดี ข้อเสีย และค่าใช้จ่ายทุกอย่าง พร้อมกันนั้น บีทีเอสยังมีการเจรจาพูดคุยกับพันธมิตรทั่วโลกไว้แล้ว

“การหยิบเทคโนโลยีใดมาใช้จะมีผลต่อต้นทุน ค.และ ง.จึงเป็นเรื่องของฝ่ายเทคนิค และฝ่ายจัดซื้อ ที่จะต้องมีประสิทธิภาพในการเจรจา วันนี้บีทีเอสมีความได้เปรียบข้อนี้เพราะดีลกันมาก่อน แม้กระทั่งบริษัท CRCC และ CRRC ที่ร่วมอยู่กับซีพี ทางกลุ่มบีทีเอสก็คุยแล้ว และบีทีเอสยังมีศูนย์ซ่อมบำรุงรถไฟเป็น 100 ตู้ มีคนที่เชี่ยวชาญในเทคโนโลยี หากบีทีเอสชนะก็ส่งคนพวกนี้ไปอบรมเรื่องรถไฟความเร็วสูงได้ทันที”

แหล่งข่าวระบุว่า บีทีเอส สามารถบริหารต้นทุนได้ดีกว่า ซึ่งดูได้จากผลประกอบการ แต่ก็ใช่ว่ากลุ่มซีพีจะพ่ายแพ้เพราะต้องไม่ลืมว่าคะแนนในซองเทคนิคผู้เสนอราคาต้องได้เกินร้อยละ 80 ถึงจะผ่าน ซึ่งทางซีพีก็มีทีมที่ปรึกษาที่มีความเชี่ยวชาญเป็นผู้ดำเนินการให้อยู่แล้ว โดยเฉพาะ SUPPLIER งานระบบ ส่งผลให้ราคาย่อมมีความใกล้เคียงกันไม่ว่าจะเป็นของค่าย Siemens, Bombardier รวมไปถึงระบบอาณัติสัญญาณที่ใช้ ETC 2 ก็ตาม


ดังนั้นสิ่งที่จะทำให้กลุ่มใดเป็นผู้ชนะในท้ายที่สุด จะอยู่ที่ข้อ ฉ.เป็นการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการและการดำเนินกิจการทางพาณิชย์ ซึ่งจะมีผลต่อไปถึงซองที่ 3 แหล่งข่าว ระบุว่า ข้อ ฉ.จะเป็นการวัดความสามารถของคนที่เป็น CEO ที่มีอำนาจตัดสินใจสูงสุด และฝ่าย Marketing ว่าจะสามารถสร้างรายได้ให้กับโครงการก่อสร้างคอมเพล็กซ์ขนาดใหญ่บริเวณมักกะสันได้อย่างไร

โดยทีโออาร์ระบุชัดเจนว่า บริเวณมักกะสันจำนวน 150 ไร่ จะต้องพัฒนาโครงการมีพื้นที่รวมกันต้องไม่น้อยกว่า 850,000 ตารางเมตร มูลค่าการลงทุนไม่น้อยกว่า 42,000 ล้านบาท ส่วนที่ดินบริเวณสถานีศรีราชา จำนวน 25 ไร่ มีพื้นที่อาคารรวมกันไม่น้อยกว่า 2 หมื่นตารางเมตร และมีมูลค่าการลงทุนไม่น้อยกว่า 300 ล้านบาท

ดังนั้นสิ่งที่จะสร้างรายได้ไม่ใช่เรื่องของค่าโดยสารรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน แต่อยู่ที่การบริหารและพัฒนาพื้นที่รอบสถานีหรือที่เรียกว่า TOD :Transit-Oriented Development :TOD) ซึ่งทั้ง 2 รายต้องสู้กันตรงนี้ว่าจะสร้างรายได้จากตรงไหน อย่างไร เพื่อจะใช้เงินของรัฐน้อยที่สุดและให้ผลประโยชน์สูงสุดกับรัฐเมื่อสิ้นสัมปทาน

แหล่งข่าวบอกว่า เรื่องของ TOD ถือเป็นจุดแข็งที่สุดของกลุ่มซีพีเพราะมีความเชี่ยวชาญในการทำธุรกิจด้านการค้าการลงทุนอยู่แล้ว และยิ่งได้ญี่ปุ่นซึ่งเป็นประเทศที่ประสบความสำเร็จในการพัฒนาพื้นที่บริเวณรอบสถานีอยู่แล้วเข้ามาเป็นผู้ลงทุนและบริหารจัดการ 'คอมเพล็กซ์มักกะสัน' ซึ่งเป็นอาคารที่มีความทันสมัยทั้งรูปแบบและเทคโนโลยีพร้อม ประกอบด้วยโรงแรม อาคารสำนักงาน ศูนย์ประชุม/สัมมนาขนาดใหญ่ คอนโดมิเนียมพักอาศัย สนามกีฬา ศูนย์การค้าครบวงจร ที่จะสามารถเป็นจุดเชื่อมต่อไปยังพื้นที่ต่างๆ ได้อย่างสะดวกสบายตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในทีโออาร์ ก็ย่อมมีโอกาสสูง

'ในกลุ่มวิศวกรมีการพูดคุยกัน ไม่ว่าจะเป็นซีพี หรือบีทีเอสได้ ก็ถือว่าเหมาะสมทั้งคู่ เพราะทั้งสองก็ถือเป็นกลุ่มทุนขนาดใหญ่ ที่สามารถแข่งขันกันได้จริงๆ บีทีเอส มีจุดแข็ง มีประสบการณ์การเดินรถ ส่วนซีพี ก็เป็นทุนใหญ่ดึงพันธมิตรที่เชี่ยวชาญมาได้ทั่วโลก”

แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคม ย้ำด้วยว่า การพิจารณาซองที่ 2 ซึ่งเป็นข้อเสนอด้านเทคนิคน่าจะผ่านทั้งกลุ่มบีทีเอส และกลุ่มซีพี เพราะคะแนนในซองเทคนิคไม่ได้แข่งขันกันโดยตรง แต่เงื่อนไขคือแค่ให้ผ่านตามหลักเกณฑ์เกิน 80% ขึ้นไป แล้วไปสู้กันที่ราคาต่อไป

สอดคล้องกับความเห็นของ ผศ.ดร.รัฐภูมิ ปริชาตปรีชา ประธานวิศวกรรมระบบราง วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) ที่ได้ติดตามข้อมูลในการยื่นซองและประเมินว่าซองที่ 2 ด้านเทคนิคจะผ่าน 80% ทั้ง 2 ราย เพราะแต่ละหมวดในข้อ 2 ตั้งแต่ข้อ ก.-ฉ. จะเป็นการ 'ล็อกราคา'ซึ่งจะมีความสัมพันธ์กันหมดเพื่อนำไปสู่การพิจารณาซองที่ 3 ที่เป็นเรื่องของการเงินจริงๆ

“ผ่านทั้งคู่ คะแนนน่าจะสูสีกันมาก ถ้าจะห่างก็ไม่เกิน 5% ซึ่งจะเป็นผลมาจากการเจรจาซัปพลายเออร์ ซึ่งจะต้องดัมป์ราคากันสุดๆ เพื่อให้ได้โครงการนี้ และหาช่องทางชดเชยกันในภายหลัง”

โดยซองที่ 2 จะประกาศผลประมาณวันที่ 11 ธันวาคม และเข้าสู่การพิจารณาในซองที่ 3 เป็นเรื่องของการเงิน จะใช้เวลาพิจารณา 6 วัน ซึ่งจะประกาศผลได้ในวันที่ 17 ธันวาคม เพื่อดูว่าใครเสนอผลประโยชน์ให้รัฐสูงสุดหรือขอการสนับสนุนน้อยที่สุดจะเป็นผู้ชนะได้โครงการนี้ไป

อย่างไรก็ดี หากเปิดซองราคาแล้ว ปรากฏว่าทั้งซีพีและบีทีเอสเสนอราคามาเท่ากันพอดี ก็จะเรียกผู้ที่ได้คะแนนเทคนิคสูงกว่ามาเจรจาต่อรองกันอีกครั้ง และนำไปสู่ขั้นตอนการเซ็นสัญญาโครงการนี้ภายในมกราคม 2562!
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 30/11/2018 5:31 pm    Post subject: Reply with quote

สนข. จัดประชุมคณะทำงานด้านเทคนิค โครงการรถไฟความเร็วสูง เส้นทางกรุงเทพฯ – เชียงใหม่ ครั้งที่ 15
27 พฤศจิกายน 2561
นายชยธรรม์ พรหมศร รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร เป็นประธานการประชุมคณะทำงานด้านเทคนิค โครงการรถไฟความเร็วสูง เส้นทางกรุงเทพฯ – เชียงใหม่

ภายใต้คณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการพัฒนาระบบราง ภายใต้บันทึกความร่วมมือด้านระบบรางระหว่างกระทรวงคมนาคมแห่งราชอาณาจักรไทยและกระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่งและการท่องเที่ยวแห่งญี่ปุ่น ครั้งที่ 15 เมื่อวันอังคารที่ 27 พฤศจิกายน 2561 ณ ห้องประชุม 501 อาคาร สนข.

โดยมีผู้แทนจากฝ่ายไทย ประกอบด้วย สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ การรถไฟแห่งประเทศไทย สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ และฝ่ายญี่ปุ่น ประกอบด้วย Mr.Kenji HAMAMATO ผู้อำนวยการสำนักงานโครงการพัฒนานโยบายความร่วมมือระหว่างประเทศ กรมรถไฟ กระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐานการขนส่งและการท่องเที่ยว (MLIT) สถานเอกราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (JICA) เข้าร่วมประชุม

โดยคณะทำงานฝ่ายญี่ปุ่นได้นำเสนอแผนการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีรถไฟความเร็วสูงนครสวรรค์ และพิษณุโลก ให้คณะทำงานฯ พิจารณา ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบในหลักการของแผนตามที่ JICA นำเสนอ แต่ทั้งนี้ จะต้องมีการหารือในรายละเอียดร่วมกันต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 03/12/2018 3:11 am    Post subject: Reply with quote

ไทยบี้จีนลดดอกเบี้ย 2.6% แลกปล่อยกู้ 3 หมื่นล้านซื้อระบบไฮสปีด
ข่าวพร็อพเพอร์ตี้
วันเสาร์ที่ 1 ธันวาคม 2561 เวลา 12:50 น.

“อาคม” เปิดไทม์ไลน์ประมูลไฮสปีดไทย-จีน “กรุงเทพฯ-โคราช” ลั่น มี.ค.ปีหน้ากดปุ่มเกลี่้ยง 12 สัญญา วงเงินกว่า 1.1 แสนล้าน เดินหน้าตอกเข็ม เม.ย. ตั้งเป้าเสร็จปี”64 วัดใจจีนลดดอกเบี้ยเหลือ 2.6% แลกปล่อยกู้ซื้อระบบ โบกี้ 3.2 หมื่นล้าน คาด ธ.ค.นี้สรุป เซ็นสัญญาบนเวทีประชุม JC ที่ปักกิ่ง 25 ม.ค. 62

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ผลการประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน ครั้งที่ 26 เพื่อเดินหน้าก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 253 กม. วงเงิน 179,412 ล้านบาท จะเร่งเปิดประมูลงานส่วนที่เหลือ 12 สัญญา รวมระยะทาง 235 กม. วงเงินกว่า 1.1 แสนล้านบาท ให้เสร็จภายในเดือน มี.ค. 2562 และเริ่มก่อสร้างในเดือน เม.ย. ใช้เวลา 36 เดือน เสร็จปลายปี 2564 เปิดเดินรถปี 2565

“กรมทางหลวงกำลังก่อสร้างช่วงกลางดง-ปางอโศก 3.5 กม.ให้เสร็จปีหน้า สัญญาที่ 2 ช่วงสีคิ้ว-กุดจิก 11 กม. วงเงิน 3,350 ล้านบาท การรถไฟฯกำลังเปิดประมูลด้วยระบบอีบิดดิ้ง จะเคาะราคาวันที่ 18 ธ.ค.นี้ เริ่มสร้างภายในปี 2562”

สำหรับ 12 สัญญาที่จะทยอยเปิดประมูล ภายในเดือน ธ.ค. 2561-ม.ค. 2562 จำนวน 5 สัญญา อีก 7 สัญญาทยอยออกทีโออาร์ในเดือน ม.ค.-ก.พ. 2562



นอกจากนี้ ที่ประชุมยังหารือสัญญา 2.3 งานระบบราง ระบบไฟฟ้า และเครื่องกล รวมทั้งจัดหาขบวนรถไฟและจัดฝึกอบรมบุคลากร มูลค่ารวม 38,558 ล้านบาท ทั้งไทยและจีนมีความเห็นร่วมกันจะต้องได้ข้อสรุปทุกประเด็นภายในเดือน ธ.ค.นี้ และลงนามในสัญญาร่วมกันในการประชุมคณะกรรมการร่วมว่าด้วยการค้า การลงทุน และความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างไทย-จีน (JC) ที่กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน วันที่ 25 ม.ค. 2562

“เงินลงทุนงานระบบจะใช้เงินกู้จากจีน เพราะโครงการนี้เป็นความร่วมมือของ 2 ประเทศ อยู่ระหว่างเจรจา โดยกระทรวงการคลังเสนอให้จีนลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จาก 3% เหลือ 2.6% ทางจีนรับไปพิจารณาแล้ว รอเพียงการตอบรับว่าจะรับข้อเสนอของไทยหรือไม่ จะสรุปตัวเลขมูลค่าสัญญา 2.3 อีกครั้ง ธ.ค.นี้”

รายงานข่าวแจ้งว่า ไทยจะเจรจากู้เงินจากจีนในส่วนของงานระบบ 85% หรือประมาณ 32,300 ล้านบาท ทั้งนี้ รอข้อสรุปอัตราดอกเบี้ยที่เสนอให้จีนลดเหลือ 2.6% หากจีนไม่ตกลง ฝ่ายไทยจะกู้เงินในประเทศทั้งหมดมาลงทุน

นายอาคมยังกล่าวถึงความคืบหน้าการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง ระยะที่ 2 นครราชสีมา-หนองคาย ระยะทาง 355 กม. โดยฝ่ายไทยกำลังทบทวนผลศึกษาและออกแบบ จะของบฯ 1,200 ล้านบาท ศึกษาและใช้เวลา 10-12 เดือน ซึ่งฝ่ายจีนจะเป็นที่ปรึกษาให้ และยังหารือการเชื่อมต่อกับรถไฟความเร็วสูงของลาว-จีน

ช่วงเวียงจันทน์-หลวงน้ำทา-คุนหมิง ระยะทาง 427 กม. ทั้ง 2 ฝ่ายมีความเห็นว่า จะกำหนดจุดเปลี่ยนถ่ายรถที่ จ.หนองคาย แต่จีนมองว่ารูปแบบการเปลี่ยนถ่ายรถมีหลายรูปแบบที่สามารถเชื่อมต่อกัน จึงเสนอให้มีประชุมร่วมกัน 3 ฝ่าย ไทย-ลาว-จีน หาข้อสรุปร่วมกันในเดือน ม.ค. 2562 โดยฝ่ายไทยขอให้จีนเป็นผู้ศึกษารูปแบบที่เหมาะสมจะเชื่อมต่อกันทั้งไทยและลาวด้วย

แหล่งข่าวจากวงการรับเหมาก่อสร้างเปิดเผยว่า งานประมูลสัญญาที่ 2 รถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ที่การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) กำลังเปิดขายทีโออาร์
ถึงวันที่ 17 ธ.ค.นี้ คาดว่ามีรับเหมา

รายใหญ่หลายรายให้ความสนใจ เช่น บมจ.อิตาเลียนไทยฯ บมจ.ช.การช่าง บมจ.ยูนิคฯ เป็นต้น อาจจะมีบริษัทรับเหมาจากต่างชาติด้วย เช่น จีน นายภาคภูมิ ศรีชำนิ กรรมการผู้จัดการ บมจ.ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น กล่าวว่า บริษัทได้ซื้อซองประมูลด้วย จะทราบผลผู้ชนะวันที่ 18 ธ.ค.นี้
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 06/12/2018 12:04 pm    Post subject: Reply with quote

ปีหน้าเปิดประมูล15สัญญา คมนาคมลุยโครงการรถไฟไทย-จีน
วันพฤหัสบดี ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2561, 06.00 น.


นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคมเปิดเผยว่าโครงการรถไฟไทย-จีนโดยภาพรวมปัจจุบันยังไม่มีความล่าช้าแต่ที่ผ่านมาเป็นช่วงหน้าฝนจึงทำให้เกิดอุปสรรคในการดำเนินการก่อสร้างช่วงที่ 1 (ช่วงกลางดง – ปางอโศก)ระยะทาง 3.5 กิโลเมตรบ้างเล็กน้อยเนื่องจากมีฝนตกชุกแต่ไม่ได้ทำให้งานล่าช้า ขณะที่ในส่วนของความคืบหน้าอีก 14 ตอนที่เหลือนั้นก็อยู่ระหว่างการเร่งรัดการดำเนินการโดยทางจีนได้มีการทยอยส่งแบบมาแล้ว โดยในปีหน้าทั้ง 15 สัญญาก็คาดว่าจะสามารถเปิดประมูลได้

ขณะที่สัญญา 2.3 เรื่องงานระบบราง ระบบไฟฟ้า และเครื่องกล รวมทั้งจัดหาขบวนรถไฟและจัดฝึกอบรมบุคลากรนั้น ในส่วนของการจัดซื้อระบบอาณัติสัญญาณและตัวขบวนรถ
เป็นเรื่องที่สามารถดำเนินการได้เลยหากมีการพิจารณารายละเอียดและตกลงในสเปกคุณสมบัติราคาก็สามารถดำเนินการจัดซื้อได้เลยเพราะกว่าจะผลิตตัวรถออกมาต้องใช้เวลาประมาณ 2 ปี

ทั้งนี้ตามแผนเดิมคาดว่าจะสามารถเร่งรัดดำเนินการดังกล่าวได้ในปีนี้แต่เนื่องจากทางจีนทำรายการแสดงปริมาณวัสดุและแรงงานที่จะใช้ในการก่อสร้างที่เป็นราคาในประเทศไทย (BOQ) ที่จะต้องมีรายการแยกประเภท เช่น สายไฟขนาดเท่าไหร่ จำนวนเท่าไหร่ และราคาเท่าไหร่ ต่อกิโลเมตร เป็นต้น

โดยก่อนหน้านี้ที่ทางจีนได้ทำ BOQ ให้นั้นเป็นแค่ในส่วนของกรอบวงเงินแต่ในขั้นตอนการเริ่มดำเนินงานจะต้องมีรายละเอียดเพื่อตรวจสอบราคาที่มีการเสนอว่ามีความแตกต่างกันหรือไม่จึงต้องมีราคาเพื่อเปรียบเทียบรายการต่อรายการเพราะหากมีบางรายการที่แพงไปจะได้ต่อรองราคาได้และเพื่อจะได้ทราบว่าในสัญญา 2.3 ที่มีกรอบวงเงินอยู่จริงๆจะต้องลงนามในสัญญากับทางจีนจำนวนเงินเท่าไหร่ ซึ่งทางจีนก็อยู่ระหว่างการทยอยส่งรายละเอียด BOQ สาเหตุที่ทำให้ส่วนนี้มีการดำเนินการล่าช้าเกิดจากองค์กรรัฐวิสาหกิจของจีนไม่ได้ผลิตรถเองแต่ได้ว่าจ้างบริษัทผลิตตัวรถจึงต้องเอาข้อมูลมาจากบริษัทดังกล่าวและเนื่องจากบริษัทผลิตรถของจีนมีหลายรายจึงยังไม่ได้ประกวดราคาว่าจะเลือกรายใด

นอกจากนี้สำหรับในส่วนของการเดินรถและการซ่อมบำรุงนั้นทางไทยก็อยู่ระหว่างการต่อรองเรื่องการรับประกันเพราะทางจีนรับประกันให้ 1 ปี ซึ่งไม่ได้เพราะขัดกับเงื่อนไขข้อกฎหมายไทยที่ทางภาครัฐจัดซื้ออย่างน้อยต้องรับประกัน 2 ปีเพราะกรณีนี้เป็นหลักของการรับประกันทั่วไป
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 06/12/2018 12:24 pm    Post subject: Reply with quote

งานระบบรถไฟไทย-จีนชง ครม.สัญจรไม่ทัน
พฤหัสบดีที่ 6 ธันวาคม 2561 เวลา 09.04 น.

รถไฟไทย-จีน ตกขบวน ครม. สัญจรอีสาน หลังติดปมสเปคงานระบบ 4 หมื่นล้าน เผยจีนไม่แจงรายละเอียดทำเปรียบเทียบราคาไม่ได้ คมนาคมปัดข้อเสนอจีนการันตีไฮสปีดแค่ 1 ปี แจงเวลาน้อยเกินไปไม่สอดคล้องมูลค่าสินค้า

นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยความคืบหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูงช่วงกรุงเทพ-นครราชสีมาว่า ขณะนี้กระทรวงคมนาคมอยู่ระหว่างสรุปรายละเอียดสัญญา 2.3 งานระบบราง ระบบไฟฟ้า และเครื่องกล รวมทั้งจัดหาขบวนรถไฟและจัดฝึกอบรมบุคลากร วงเงิน 4 หมื่นล้านบาท ซึ่งพบว่ายังติดปัญหาในหลายประเด็น รวมถึงต้องรอฝ่ายจีนส่งข้อมูลายละเอียดต่างๆกลับมา ดังนั้นจึงยังไม่สามารถเสนอร่างสัญญาให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) สัญจรที่ จ.บึงกาฬ และจ.หนองคาย ระหว่างวันที่ 12-13 ธ.ค.นี้พิจารณาได้ ทั้งนี้จะเร่งสรุปเพื่อขอความเห็นชอบภายในเดือน ม.ค. 62 ก่อนที่จะมีการลงนามสัญญาดังกล่าวในงานการประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน ซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 25 ม.ค.62 ณ กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน

นายชัยวัฒน์ กล่าวต่อว่า ข้อติดขัดเรื่องสัญญา 2.3 นั้นเป็นเรื่องสเปครายละเอียดการถอดแบบและมูลค่าของสัญญา (BOQ) เนื่องจากฝ่ายจีนได้ให้รายละเอียดของตัวเลขค่าใช้จ่ายในแต่ละส่วนแบบเหมารวมเป็นตัวเลขก้อนใหญ่ แต่ไม่มีการชี้แจงว่าแต่ละจุดนั้นมีรายละเอียดแยกย่อยอะไรบ้าง ดังนั้นจึงตรวจสอบเปรียบเทียบราคาระหว่างสินค้าสเปคที่จีนเสนอกับสินค้าทั่วไปตามท้องตลาด อีกทั้งยังอาจขัดกับหลักกฎหมายการจัดซื้อจัดจ้างของประเทศไทยที่ต้องชี้แจงค่าใช้จ่ายได้เพื่อความโปร่งใสของโครงการ อย่างไรก็ตามต้องรีบลงนามสัญญาให้จบเพราะรถใช้เวลาผลิตนานถึง 6 ปีและทยอยนำเข้ามาประกอบทีละชิ้น เพื่อให้ทันกับการเปิดเดินรถในปี 65-66 แต่ทั้งนี้ยังสรุปราคาไม่ได้ เพราะบริษัทรัฐวิสาหกิจจีนที่เป็นคู่สัญญานั้นไม่สามารถผลิตตัวรถเองได้และต้องเปิดประมูลจ้างเอกชนจีนผลิต

นอกจากนี้ยังมีประเด็นเรื่องการประกันสินค้ารถไฟความเร็วสูง ซึ่งจีนเสนอมาเพียงปีเดียวนั้นกระทรวงคมนาคมมองว่าไม่เหมาะสมเนื่องจากเป็นสินค้าเทคโนโลยีขั้นสูงและเป็นสินค้ามูลค่ามากจึงควรให้หลักประกันตามมาตรฐานสากล ซึ่งต้องมีอย่างน้อย 2 ปีขึ้นไป ขณะที่งานสัญญาก่อสร้างนั้นจะเร่งทยอยประมูลให้ครบทั้ง 14 สัญญา มูลค่าราว 1.2 แสนล้านบาทให้ครบทั้งหมดภายในไตรมาสแรกปี 62
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 06/12/2018 10:09 pm    Post subject: Reply with quote

“บีทีเอส-ซีพี” ผ่านซอง 2 ไฮสปีดเชื่อมสนามบิน กำหนดเปิดซองราคาตัดสิน 11 ธ.ค. นี้

วันพฤหัสบดีที่ 6 ธันวาคม 2561 -21:11 น.

นายวรวุฒิ มาลา รักษาการผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย เปิดเผยความคืบหน้าในการประมูลโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบินและการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟ วงเงินลงทุน 2.2 แสนล้านบาทว่า

ผู้ยื่นประมูลทั้ง 2 ราย ได้แก่ 1) กิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้งส์ จำกัด และพันธมิตร และ 2) กิจการร่วมค้า บีเอสอาร์ (BSR Joint Venture) ได้ผ่านเกณฑ์การประเมินข้อเสนอซองที่ 2 ด้านเทคนิคเรียบร้อยแล้ว โดยผู้ผ่านเกณฑ์จะได้เปิดข้อเสนอซองที่ 3 ด้านราคาต่อไป

ทั้งนี้ การรถไฟฯ ได้กำหนดวันเปิดข้อเสนอซองที่ 3 ในเวลา 14.00 น. วันอังคาร ที่ 11 ธันวาคมนี้ ณ ตึกบัญชาการ การรถไฟแห่งประเทศไทย โดยมีสักขีพยานเป็น ผู้เข้าร่วมประมูลทั้ง 2 ราย, ตัวแทนจากเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) และตัวแทนจากโครงการจัดทำข้อตกลงคุณธรรม (IP)



สำหรับการประมูลในครั้งนี้ การรถไฟฯ ได้บันทึกเทปวีดิโอการประมูลไว้ทุกขั้นตอนและในช่วงที่ผ่านก็ยังไม่มีการร้องเรียนใดๆ เกิดขึ้น

รายงานข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า การเปิดข้อเสนอซองที่ 3 ด้านราคา จะเป็นการตัดสินผลแพ้-ชนะในการประมูลครั้งนี้ โดยเอกชนที่ขอรับเงินอุดหนุนในการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงจากรัฐบาลน้อยที่สุด จากวงเงินเต็ม 1.19 แสนล้านบาทจะเป็นผู้ได้คะแนนอันดับ 1

แต่บริษัทที่ปรึกษาจะต้องพิจารณารายละเอียดในเอกสารทั้งหมดให้ถูกต้องก่อน จากนั้นการรถไฟฯ จึงเจรจากับผู้ได้คะแนนอันดับ 1 และเสนอให้ผลการประมูลให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเห็นชอบได้ โดยการรถไฟฯ ยังคงเป้าหมายจะเสนอรายชื่อผู้ชนะการประมูลให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบในกลางเดือนมกราคม 2562


__________________

ฉลุย! "บีเอสอาร์-ซีพี" ผ่านซอง 2 (ด้านเทคนิค) ไฮสปีดเชื่อมสามสนามบิน กำหนดเปิดซองราคาตัดสิน วันที่11ธ.ค.61 เวลา 14.00น.

https://www.thebangkokinsight.com/72045/

รฟท. เผยกลุ่ม BSR-กลุ่มซีพี ผ่านข้อเสนอเทคนิครถไฟเชื่อม 3 สนามบิน
ข่าวเศรษฐกิจ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) --
วันพฤหัสบดีที่ 6 ธันวาคม 2561 18:10:52 น.


บีทีเอส เฮ! สอบผ่านซองเทคนิค ชิงไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน
วันพฤหัสบดีที่ 6 ธันวาคม 2561 - 15:49 น.

'บีเอสอาร์-ซีพี' ผ่านเทคนิค 11 ธ.ค.รู้ผลชิงไฮสปีด
วันพฤหัสบดีที่ 6 ธันวาคม 2561 -

บีทีเอส เฮ! สอบผ่านซองเทคนิค ไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน คาดสัปดาห์หน้าเปิดซองราคา

บีทีเอส เฮ! สอบผ่านซองเทคนิค – รายงานข่าวจากกลุ่มบริษัทบีทีเอส เปิดเผยว่า ขณะนี้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ได้แจ้งมายังบีทีเอสไม่เป็นทางการว่า บีทีเอสสอบผ่านการประเมินข้อเสนอซองที่ 2 ด้านเทคนิคในโครงการประมูลโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีด) เชื่อม 3 สนามบินและการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟ วงเงินลงทุน 2.2 แสนล้านบาทแล้ว โดย รฟท. จะประกาศผลการประเมินข้อเสนอซองที่ 2 เร็วๆ นี้ ส่วนข้อเสนอซองที่ 3 ด้านราคาซึ่งจะมีผลต่อการตัดสินผู้แพ้ และผู้ชนะในการแข่งขันประมูลนั้น รฟท.จะเปิดซองช่วงสัปดาห์หน้าคาดว่าประกาศผลการประมูลอย่างเป็นทางการภายในเดือนธ.ค. ปี 2561

รายงานข่าวจาก รฟท. แจ้งว่า รฟท. ได้เปิดให้เอกชนยื่นเอกสารข้อเสนอประมูล ไปเมื่อวันที่ 12 พ.ย. ที่ผ่านมา ซึ่งมีผู้ยื่นประมูล 2 ราย คือ กลุ่มซีพีและกลุ่มบีทีเอส

สำหรับข้อเสนอในการประมูลอีก 4 ซองประกอบด้วย
1. ข้อเสนอทั่วไป (ด้านคุณสมบัติ)
2. ข้อเสนอด้านเทคนิค
3. ข้อเสนอด้านราคา โดยเอกชนที่ขอรับเงินอุดหนุนในการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงจากรัฐบาลน้อยที่สุด จากวงเงินเต็ม 1.19 แสนล้านบาท จะเป็นผู้ชนะการประมูล ด้านการเช่าพื้นที่เชิงพาณิชย์จะเป็นไปตามราคาที่กำหนดไว้แล้ว ไม่มียื่นข้อเสนอหรือต่อรองแต่อย่างใด
4. ข้อเสนด้านอื่นๆ ซึ่งเป็นข้อเสนอเพิ่มเติม ไม่มีผลกระทบต่อการแพ้-ชนะในการประมูล
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 07/12/2018 10:15 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
“บีทีเอส-ซีพี” ผ่านซอง 2 ไฮสปีดเชื่อมสนามบิน กำหนดเปิดซองราคาตัดสิน 11 ธ.ค. นี้

วันพฤหัสบดีที่ 6 ธันวาคม 2561 -21:11 น.


รฟท. เผยกลุ่ม BSR-กลุ่มซีพี ผ่านข้อเสนอเทคนิครถไฟเชื่อม 3 สนามบิน
ข่าวเศรษฐกิจ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) --
วันพฤหัสบดีที่ 6 ธันวาคม 2561 18:10:52 น.


บีทีเอส เฮ! สอบผ่านซองเทคนิค ชิงไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน
วันพฤหัสบดีที่ 6 ธันวาคม 2561 - 15:49 น.

'บีเอสอาร์-ซีพี' ผ่านเทคนิค 11 ธ.ค.รู้ผลชิงไฮสปีด
วันพฤหัสบดีที่ 6 ธันวาคม 2561 -


"ซีพี-บีทีเอส"ผ่านเทคนิครถไฟฟ้าเชื่อม 3สนามบิน
ศุกร์ที่ 7 ธันวาคม 2561 เวลา 08.17 น.

เปิดซองด้านเทคนิคประมูลรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ‘ซีพี-บีทีเอส’ ผ่านฉลุยสัปดาห์หน้าเปิดซองด้านราคา เผยรู้ผู้ชนะการประมูลรถไฟ3สนามบิน ปลายธ.ค.นี้


นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สินในฐานะ รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน(ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา)หรืออีอีซี งบประมาณ 2.15 แสนล้านบาทนั้น ขณะนี้ได้ทำการเปิดซองที่2 ด้านเทคนิคเรียบร้อยนแล้วพบว่ากลุ่มเอกชนที่เข้ายื่นประมูล คือ 1. กิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้งส์ จำกัด และพันธมิตร และ 2. กิจการร่วมค้า บีเอสอาร์ (BSR Joint Venture)นั้นได้รับการพิจารณาเห็นชอบให้ผ่านหลักเกณฑ์เรื่องซองเทคนิคแล้ว หลังจากคณะกรรมการได้ใช้เวลาในการตัดสินประมาณ 22 วัน ระหว่างวันที่ 19พ.ย.-10ธ.ค. ที่ผ่านมา

นายวรวุฒิกล่าวต่อว่าสำหรับเกณฑ์การตัดสินของซองที่ 2 ด้านเทคนิคนั้นเอกชนต้องมีคะแนนไม่น้อยกว่า80% โดยการพิจารณา แบ่งออกเป็น 6 ข้อ

1.โครงสร้างองค์การและความสามารถของบุคลากรในการบริการงาน
2. แนวทางและวิธีการดำเนินงาน
3. แนวการดำเนินงาน ด้านเทคนิคงานระบบ เครื่องกล และไฟฟ้า และขบวนรถไฟ
4. วิธีการดำเนินงาน ด้านเทคนิคการให้บริการเดินรถ และบำรุงรักษา
5.แนวทางการดำเนินงานด้านการถ่ายทอดเทคโนโลยีและกิจกรรมการฝึกอบรม และ
6. การพัฒนาพื้นที่ทางพาณิชย์

ขณะที่ซองที่ 3 ด้านราคานั้นคณะกรรรมการคัดเลือกจะทำการเปิดซองข้อเสนอพร้อมพิจารณาในวันที่ 11 ธ.ค. นี้ ซึ่งถือว่าเป็นการแข่งขันเปิดซองสุดท้าย ของการประมูล โดยเอกชนที่ยื่นข้อเสนอขอรับเงินค่าชดเชยโครงการจากรัฐบาลน้อยที่สุดจะเป็นผู้ชนะโครงการ ดังนั้นคาดว่าโครงการประมูลรถไฟความเร็วสูงสายแรกของประเทศจะรู้ผลผู้ชนะโครงการเบื้องต้นในช่วงปลายเดือนธ.ค.นี้หรืออย่างช้าภายในเดือน ม.ค. ก่อนเร่งลงนามสัญญาและก่อสร้างต่อไปในปี 62 ระยะเวลาก่อสร้าง 5 ปีก่อนเปิดใช้ในปี 67
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 294, 295, 296 ... 542, 543, 544  Next
Page 295 of 544

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©