RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311239
ทั่วไป:13181789
ทั้งหมด:13493028
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวแผนโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่งของประเทศ 2558-65
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวแผนโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่งของประเทศ 2558-65
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 98, 99, 100 ... 121, 122, 123  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44335
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 12/12/2018 5:49 am    Post subject: Reply with quote

คมนาคมเคาะปี 62 อัดฉีดลงทุน 3.7 แสนล้าน ลุย 41 โปรเจคยักษ์
ข่าวสดออนไลน์ วันที่ 10 ธันวาคม 2561 - 18:30 น.

คมนาคมเคาะปี 62 อัดฉีดลงทุน 3.7 แสนล้าน ลุย 41 โปรเจคยักษ์ เน้นหนัก“ทางบก-ทางราง”

รายงานข่าวจากกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ปีงบประมาณ 2562 กระทรวงคมนาคมได้รับจัดสรรงบงบลงทุนทั้งหมด 369,199 ล้านบาท มีจำนวนสูงกว่างบประมาณที่ได้รับในปี 2561 ราว 44,990 ล้านบาท ทั้งนี้แบ่งออกเป็นงบแผ่นดิน 174,935.98 ล้านบาท และงบรัฐวิสาหกิจ 194,263.06 ล้านบาท

โดยมีโครงการที่จะต้องเร่งลงทุนต่อเนื่อง รวมทั้งสิ้น 41 โครงการ แบ่งเป็นโครงการที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง จำนวน 17 โครงการ ,โครงการที่รอและอยู่ระหว่างการประกวดราคา จำนวน 5 โครงการ และโครงการที่รอนำเสนอให้ คณะรัฐมนตรี(ครม.)พิจารณาอนุมัติ จำนวน 19 โครงการ โครงการที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง จำนวน 17 โครงการ

รายงานข่าวจากกระทรวงคมนาคม แจ้งว่าการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางบกได้รับวงเงินลงทุนสูงสุด 165,189.07 ล้านบาท คิดเป็น 44.74% รองลงมาได้แก่ทางราง 153,984.69 ล้านบาท คิดเป็น 41.71% ทางอากาศ 44,150.50 ล้านบาท คิดเป็น 11.96% ทางน้ำ 5,546.61 ล้านบาท คิดเป็น 1.50% และงานด้านนโยบาย 328.17 ล้านบาท คิดเป็น 0.09%

สำหรับหน่วยงานทางบกได้จัดสรรงบรวม 6 หน่วยงาน คือกรมทางหลวง 111,461.43 ล้านบาท คิดเป็น 30.19% ,กรมทางหลวงชนบท 45,229.02 ล้านบาท คิดเป็น 12.25%, การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) 6,824.83 ล้านบาท คิดเป็น 1.85%, กรมการขนส่งทางบก 1,428.93 ล้านบาท คิดเป็น 0.39%
องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสกม.) 223.14 ล้านบาท คิดเป็น 0.06% และบริษัท ขนส่ง จำกัด 21.72 ล้านบาท คิดเป็น 0.01% ส่วนทางรางมี 2 หน่วยงานที่ได้รับจัดสรรคือ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) 88,974.82 ล้านบาท คิดเป็น 24.10% และการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนกรุงเทพ (รฟม.) 65,009.87 ล้านบาท คิดเป็น 17.76%

ส่วนทางน้ำ จัดสรรให้ 2 หน่วยงาน คือกรมเจ้าท่า 3,623.23 ล้านบาท คิดเป็น 0.98% และการท่าเรือแห่งประเทศไทย 1,923.38 ล้านบาท คิดเป็น 0.52% ส่วนทางอากาศ จัดสรรให้ 8 หน่วยงานคือ บริษัท ท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย (ทอท.) 29,558.55 ล้านบาท คิดเป็น 8.01%, บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) 7,090.20 ล้านบาท คิดเป็น 1.92%, กรมท่าอากาศยาน 5,388.84 ล้านบาท คิดเป็น 1.46%,
บริษัทวิทยุการบินแห่งประเทศไทย 1,405 ล้านบาท คิดเป็น 0.38%, สถาบันการบินพลเรือน 466.47 ล้านบาท คิดเป็น 0.313%, บริษัทโรงแรมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ จำกัด 194.29 ล้านบาท คิดเป็น 0.05%, บริษัท ไทยสมายล์แอร์เวย์ จำกัด 45 ล้านบาท คิดเป็น 0.01% และบริษัทไทย-อะมาดิอุส เซาท์อีส์ตเอเชีย จำกัด 2.15 ล้านบาท คิดเป็น 0.00%

สำหรับโครงการที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง จำนวน 17 โครงการประกอบด้วย มอเตอร์เวย์ พัทยา-มาบตพุด วงเงิน 20,200 ล้านบาท คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปี 2562, มอเตอร์เวย์ บางปะอิน-โคราช วงเงิน 84,600 ล้านบาท แล้วเสร็จภายในปี 2563, มอเตอร์เวย์ บางใหญ่-กาญจนบุรี วงเงิน 55,620 ล้านบาท แล้วเสร็จภายในปี 2564, รถไฟทางคู่ ชุมทางถนนจิระ-ขอนแก่น วงเงิน 24,326 ล้านบาท เปิดให้บริการ ส.ค.2562, รถไฟทางคู่ สายอีสาน มาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ 26,459 ล้านบาท เปิดให้บริการ ก.ค.2566


รถไฟทางคู่ สายใต้ ช่วงนครปฐม-หัวหิน 15,718 ล้านบาท เปิดให้บริการ ก.ค.2564 เปิดให้บริการ ก.พ.2564, รถไฟทางคู่สายใต้ ช่วงหัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์ วงเงิน 5,807 ล้านบาท เปิดให้บริการ ก.พ.2564, รถไฟทางคู่ สายใต้ ช่วงประจวบ-ชุมพร วงเงิน 12,457 ล้านบาท เปิดให้บริการ ก.ค.2565, รถไฟทางคู่ สายเหนือ ลพบุรี-ปากน้ำโพ วงเงิน 21,687 ล้านบาท เปิดให้บริการ ธ.ค.2565, รถไฟฟ้าความเร็วสูง ไทย-จีน เส้นทาง กรุงเทพ-นครราชสีมา วงเงินลงทุน 179,412 ล้านบาท คาดว่า จะเปิดให้บริการ ปี 2565

รถไฟฟ้าสายสีส้ม ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี วงเงิน 110,116 ล้านบาท คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2566, รถไฟฟ้าสายสีชมพู แคราย-มีนบุรี วงเงิน 56,690 ล้านบาท คาดแล้วเสร็จภายในปี 2564, รถไฟฟ้าสายสีเหลือง ลาดพร้าว-สำโรง วงเงิน 54,644 ล้านบาท คาดแล้วเสร็จในปี 2564, ท่าเทียบเรือชายฝั่งAท่าเรือแหลมฉบัง วงเงิน 1,607 ล้านบาท คาดว่า จะเปิดให้บริการได้ใน ม.ค.2562

ศูนย์การขนส่งสินค้าทางรถไฟ SRTO ระยะที่ 1 วงเงิน 2,031 ล้านบาท เปิดให้บริการไปแล้วเดือนต.ค.ที่ผ่านมา,โครงการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิระยะที่ 2 ที่มีการขอเปลี่ยนมาก่อสร้างส่วนต่อขยายอาคารผู้โดยสารทางด้านทิศตะวันตกแทนฝั่งตะวันออก วงเงิน 31,819 ล้านบาท คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปี 2563 และโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา วงเงิน 120,000 ล้านบาท

ส่วนโครงการที่อยู่ระหว่างรอการประกวดราคาในปี 2562 มี จำนวน 5 โครงการประกอบด้วย รถไฟฟ้าชายเมืองสายสีแดงอ่อน บางซื่อ-หัวหมากและสายสีแดงเข้ม ช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง คาดว่าจะประกวดราคาได้ ม.ค.-มี.ค.2562, รถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ(งานโยธา), รถไฟทางคู่เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ คาดว่า จะประกวดราคา มี.ค.2562, มอร์เตอร์เวย์ พระราม3-ดาวคะนอง-วงแหวนรอบนอก กทม.ด้านตะวันตก คาดว่าจะประกวดราคา ธ.ค.2561-ก.พ.2562 และโครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง เฟส3

ส่วนโครงการที่อยู่ระหว่างเสนอให้ ครม.พิจารณาอนุมัติ จำนวน 19 โครงการได้แก่ ศูนย์ซ่อมอากาศยานและชิ้นส่วนอากาศยาน (MRO) ที่สนามบินอู่ตะเภา, มอเตอร์เวย์ นครปฐม-ชะอำ ศูนย์ขนส่งชายแดน จ.นครพนม ศูนย์เปลี่ยนถ่ายรูปแบบการขนส่งสินค้า เชียงของ จ.เชียงรา
รถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม รังสิต-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อน ตลิ่งชัน-ศิริราช และตลิ่งชัน-ศาลายา รถไฟทางคู่ ชุมทางจิระ-อุบล รถไฟทางคู่ ขอนแก่น-หนองคาย รถไฟทางคู่หาดใหญ่-ปาดังเบซาร์

รถไฟสายใหม่ บ้านไผ่-นครพนม, อาคารผู้โดยสารหลังที่ 2 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ, ทางวิ่งหรือรันเวย์ที่ 3 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ, ระบบเดินรถไฟฟ้าสายสีม่วง เตาปูน-ราษฎร์บูรณะ, รถไฟทางคู่ ปากน้ำโพ-เด่นชัย, รถไฟทางคู่ ชุมพร-สุราษฎร์ธานี, รถไฟทางคู่ราษฎร์ธานี-หาดใหญ่-สงขลา, รถไฟทางคู่ เด่นชัย-เชียงใหม่
โครงการจัดหาเครื่องบินของบริษัทการบินไทยจำกัด (มหาชน) และโครงการก่อสร้างงานโยธา รถไฟฟ้าสายสีส้มช่วง ศูนย์วัฒนธรรม-บางขุนนนท์ และโครงการติดตั้งระบบไฟฟ้า และการเดินรถฟ้าสายสีส้มช่วงศูนย์วัฒนธรรม-มินบุรี
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 12/12/2018 3:07 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
คมนาคมเคาะปี 62 อัดฉีดลงทุน 3.7 แสนล้าน ลุย 41 โปรเจคยักษ์
ข่าวสดออนไลน์ วันที่ 10 ธันวาคม 2561 - 18:30 น.


อินฟราฟันด์ : เช็กอาการเมกะโปรเจ็กต์ :
โดย นายขันตี
วันที่ 12 ธันวาคม 2561 - 14:25 น.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 19/12/2018 12:04 pm    Post subject: Reply with quote

สรุปโครงการระบบราง ปี 2562
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=2074287355951532&set=a.1878620525518217&type=3&theater
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 25/12/2018 12:42 pm    Post subject: Reply with quote

42 โปรเจ็กต์รับเลือกตั้ง ปีหน้ากดปุ่มพรึ่บ ชะลอไฮสปีด “กทม.-หัวหิน”
พร็อพเพอร์ตี้
วันที่ 25 ธันวาคม 2561 08:36 น.

โค้งสุดท้ายของปี 2561 ยังมีโครงการขนาดใหญ่ภายใต้การขับเคลื่อนของกระทรวงคมนาคม ที่บรรจุเป็นแผนปฏิบัติการด้านคมนาคมขนส่งระยะเร่งด่วน (Action Plan) ปี 2561 จำนวน 44 โครงการ กรอบวงเงินลงทุนกว่า 2 ล้านล้านบาท ยังไม่สามารถผลักดันได้สำเร็จร่วม 30 โครงการ

ล่าสุด “สนข.-สำนักงานโยบายและแผนการขนส่งและจราจร” กำลังดันเป็นแผนการลงทุนเร่งด่วนปี 2562 เตรียมเสนอกระทรวงคมนาคมพิจารณา ก่อนเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติภายในเดือน ธ.ค.นี้

แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคมเปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ขณะนี้ สนข.กำลังคัดเลือกโครงการภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งของไทยปี 2558-2565 จัดทำเป็นโครงการเร่งด่วน 2562 ผลักดันการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานของประเทศให้มีความต่อเนื่อง ในเบื้องต้นมี 42 โครงการ มูลค่าการลงทุนไม่ถึง 2 ล้านล้าน คาดว่าจะอยู่ที่ประมาณ 1.9 ล้านล้านบาท จะยังไม่นำโครงการรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-หัวหิน วงเงินลงทุน 94,673 ล้านบาท มาบรรจุไว้ในแผน เนื่องจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) จะศึกษาต่อขยายเส้นทางไปถึง จ.สุราษฎร์ธานี ซึ่งโครงการยังไม่ตรงเป้าหมายที่ต้องการให้เป็นโครงการมีความพร้อมจะเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) และคณะกรรมการ PPP อนุมัติ

สำหรับ 42 โครงการที่กำหนดไว้ในเบื้องต้น ส่วนใหญ่เป็นโครงการเก่าที่ยังไม่ได้ดำเนินการ และมีโครงการใหม่บางส่วน โดยเป็นโครงการที่มีมูลค่าเกิน 1,000 ล้านบาท และมีความพร้อมนำเสนอให้หน่วยงานกลางพิจารณาได้ เช่น คณะกรรมการ PPP สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.)

“โครงการที่บรรจุในแผนเร่งด่วนปี 2562 มีเป้าหมายจะต้องเสนอให้บอร์ด PPP และคณะรัฐมนตรีอนุมัติให้ได้ เพื่อนำไปสู่การประมูลและเริ่มก่อสร้างได้”

แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า สำหรับ 42 โครงการ แบ่งเป็น โครงการที่ผลักดันต่อเนื่องปี 2559-2561 ประมาณ 30 โครงการ อาทิ โครงการศูนย์การขนส่งชายแดน จ.นครพนม, มอเตอร์เวย์นครปฐม-ชะอำ, มอเตอร์เวย์หาดใหญ่-ปาดังเบซาร์, ส่วนต่อขยายโทลล์เวย์ช่วงรังสิต-บางปะอิน, ทางด่วนกะทู้-ป่าตอง จ.ภูเก็ต, จัดซื้อรถโดยสารดีเซล-ไฮบริด จำนวน 1,452 คัน และรถโดยสารไฟฟ้า จำนวน 35 คัน

รถไฟความเร็วสูงไทย-จีน กรุงเทพฯ-นครราชสีมา, รถไฟความเร็วสูงไทย-ญี่ปุ่น กรุงเทพฯ-เชียงใหม่, รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน, รถไฟทางคู่ช่วงปากน้ำโพ-เด่นชัย, ช่วงจิระ-อุบลราชธานี, ช่วงขอนแก่น-หนองคาย, ช่วงชุมพร-สุราษฎร์ธานี, ช่วงสุราษฎร์ธานี-หาดใหญ่-สงขลา, ช่วงหาดใหญ่-ปาดังเบซาร์, ช่วงเด่นชัย-เชียงใหม่, ช่วงเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ และช่วงบ้านไผ่-นครพนม

รถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงรังสิต-ธรรมศาสตร์, สายสีแดงอ่อน ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา และช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช, สายสีแดงอ่อน ช่วงบางซื่อ-หัวหมาก และสีแดงเข้ม ช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง, รถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย, รถไฟฟ้า จ.ภูเก็ต, รถไฟฟ้า จ.นครราชสีมาโครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังขั้นที่ 3, โครงการก่อสร้างทางวิ่งเส้นที่ 3 สนามบินสุวรรณภูมิ, โครงการก่อสร้างอาคารผู้โดยสารหลังที่ 2 สนามบินสุวรรณภูมิ และโครงการศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยานสนามบินอู่ตะเภา

ส่วนโครงการใหม่ 12 โครงการ อาทิ โครงการที่พักริมทางมอเตอร์เวย์ สายพัทยา-มาบตาพุด, สายบางใหญ่-กาญจนบุรี, สายบางปะอิน-นครราชสีมา, โครงการศูนย์บริการทางหลวง ศรีราชา จ.ชลบุรี, โครงการไทยแลนด์ริเวียร่า เชื่อมเมืองรอง จ.ชุมพร-สงขลา, ส่วนต่อขยายทางด่วนบางนา-ชลบุรี เชื่อมต่อกับทางเลี่ยงเมืองชลบุรี

โครงการปรับปรุงท่าเทียบเรือเฟอรี่เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี, โครงการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกท่าเรือท่าช้าง และท่าเรือท่าเตียน, โครงการพัฒนาปรับปรุงสนามบิน จ.ตรัง และนครราชสีมา, โครงการพัฒนาสนามบินเชียงใหม่ ระยะที่ 1 และสนามบินดอนเมือง ระยะที่ 3
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 31/12/2018 11:05 pm    Post subject: Reply with quote

ผ่า 4 ปี คมนาคม อัดงบกว่า 2 ลล.ปั้นเมกะโปรเจ็กต์ วาง Action Plan 62 ทิ้งทวน”คสช. “
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 31 ธันวาคม 2561 13:33
ปรับปรุง: 31 ธันวาคม 2561 14:49




ผ่า 4 ปี คมนาคม ทุมงบกว่า 2 ลล. ปั้นเมกะโปรเจ็กต์ อัดยาแรงแก้จราจร พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์ ทิ้งทวน โค้งสุดท้ายรัฐบาล “คสช.” ครม.”ประยุทธ์” เทกระจาด Action Plan ปี 62 จำนวน 41 โครงการ มูลค่า 1.77 ลล. เร่งงานตกค้างจัดไทม์ไลน์ ชงครม.อนุมัติ เปิดประมูล

กระทรวงคมนาคม ได้จัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของไทย 8 ปี (พ.ศ. 2558-2565) มีวงเงินลงทุนรวมกว่า 2 ล้านล้านบาท ซึ่งเป็นไปตามนโยบายรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) ที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ระบบการคมนาคมขนส่ง ทางบก ทางน้ำ ทางอากาศและทางราง อย่างมาก เนื่องจากเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาและขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ เพราะการมีระบบคมนาคมขนส่งที่ดี ช่วยลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์ของประเทศ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ


ในห้วงเวลา 4 ปีที่ผ่านมา กระทรวงคมนาคมได้จัดทำแผนปฏิบัติการด้านคมนาคมขนส่ง ระยะเร่งด่วน (Action Plan) ปี 2558- 2559 จำนวน 20 โครงการ วงเงินรวมประมาณ 1.79 ล้านล้านบาท มีการผลักดันหลายโครงการที่เคยหยุดชะงัก ให้เกิดการขัดเคลื่อน และอัดเม็ดเงินเข้าสู่ระบบ กระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศผ่านการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน

โดย ต่อยอดแผนงาน ผลักดันโครงการให้ต่อเนื่อง ภายใต้ Action Planปี 2560 ที่มี 36 โครงการ วงเงินลงทุน 895,757.55 ล้านบาท และ Action Plan ปี 2561จำนวน 44โครงการ กรอบวงเงินลงทุน จำนวน 2,021,283.52ล้านบาท ซึ่งได้พิจารณาคัดเลือกโครงการลงทุนขนาดใหญ่ ภายใต้แผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของไทย พ.ศ. 2558-2565และโครงการที่มีความสำคัญเร่งด่วนตามนโยบายรัฐบาลและมีความพร้อมในการดำเนินโครงการ

เข้าสู่โค้งสุดท้าย ของรัฐบาล คสช. กระทรวงคมนาคมได้จีดทำโครงการภายใต้ Action Plan ปี 2562 จำนวน 41 โครงการ กรอบวงเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 1,778,213.38 ล้านบาท โดยเป็นโครงการใหม่ 12 โครงการ วงเงินลงทุน 5.82 หมื่นล้านบาท ประกอบด้วย กลุ่มโครงการที่คณะกรรมการนโยบายการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (คนร.) หรือคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบ วงเงินรวม 5.5 หมื่นล้านบาท

ได้แก่ โครงการสถานที่บริการทางหลวง บางละมุง มอเตอร์เวย์ ช่วงพัทยา-มาบตาพุด วงเงิน 620 ล้านบาท , โครงการที่พักริมทางบนมอเตอร์เวย์ สายบางใหญ่-กาญจนบุรี วงเงิน 1,486 ล้านบาท, โครงการที่พักริมทางบนมอเตอร์เวย์ สายบางปะอิน-นครราชสีมา วงเงิน 1,579.88 ล้านบาท, โครงการศูนย์บริการทางหลวงศรีราชาบนมอเตอร์เวย์ สาย 7 ช่วงชลบุรี-พัทยา วงเงิน 1,504 ล้านบาท ,โครงการก่อสร้างอาคารผู้โดยสารหลังที่ 2 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ วงเงิน 35,377.19 ล้านบาท ,โครงการพัฒนาท่าอากาศยานเชียงใหม่ ระยะที่ 1 วงเงิน 14,473.31 ล้านบาท

ขณะที่ อีก 5 โครงการ วงเงิน 3,180 ล้านบาท จะเปิดประกวดราคา/คัดเลือกเอกชน/เริ่มก่อสร้าง ได้แก่ โครงการก่อสร้างปรับปรุงท่าเทียบเรือเฟอร์รี่เกาะสมุย วงเงิน 80 ล้านบาท ,โครงการก่อสร้างเพื่อพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกในบริเวณท่าเทียบเรือท่าช้าง วงเงิน 60 ล้านบาท และท่าเรือท่าเตียน วงเงิน 40 ล้านบาท ,โครงการพัฒนาสนามบินนครศรีธรรมราช 1,800 ล้านบาท,โครงการพัฒนาสนามบินตรัง วงเงิน 1,200 ล้านบาท

นอกจากนี้ ยังมี โครงการศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาถนนท่องเที่ยวเลียบชายฝั่งทะเลภาคใต้ (Thailand Southern Riviera) ช่วงชุมพร-สงขลา วงเงิน 9.50 ล้านบาท

ส่วนอีก 29 โครงการ วงเงินรวม 1.71 ล้านล้านบาท เป็นโครงการที่ตกค้างจาก Action Plan ปี 58-61 ที่ต้องผลักดันต่อเนื่อง. เช่น มอเตอร์เวย์ สายนครปฐม-ชะอำ,สาย หาดใหญ่-ชายแดนไทย/มาเลเซีย,ทางยกระดับอุตราภิมุขช่วงรังสิต-บางปะอิน,ทางยกระดับบนทางหลวง หมายเลข 35 สายบางขุนเทียน-ปากท่อ ช่วงบางขุนเทียน-บ้านแพ้ว ,ทางด่วนสายกะทู้-ป่าตอง จังหวัดภูเก็ต

รถไฟรถไฟความเร็วสูง ช่วงกรุงเทพฯ-เชียงใหม่,รถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพฯ-หนองคาย (ระยะที่ 2ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย)

รถไฟทางคู่ ช่วงชุมทางถนนจิระ-อุบลราชธานี ,ช่วงขอนแก่น-หนองคาย,ช่วงขอนแก่น-หนองคาย,ช่วงชุมพร-สุราษฎร์ธานี,ช่วงสุราษฎร์ธานี-หาดใหญ่-สงขลา ,ช่วงหาดใหญ่-ปาดังเบซาร์,ช่วงปากน้าโพ-เด่นชัย,ช่วงเด่นชัย-เชียงใหม่,สายใหม่ ช่วงบ้านไผ่-นครพนม

ระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต,โครงการพัฒนาท่าอากาศยานดอนเมือง ระยะที่ 3
***ไทม์ไลน์ปี62 ชงครม. ประมูล กว่า 3.8 แสนล.

โครงการที่อยู่ในไทม์ไลน์ ชงครม. อนุมัติ และโครงการเร่งประมูลและก่อสร้าง ในปี 62 วงเงินรวม 382,939.73 ล้านบาท

ได้แก่ โครงการศูนย์การขนส่งชายแดนจังหวัดนครพนม,ทางด่วนสายพระราม3-ดาวคะนอง-วงแหวนรอบนอก กรุงเทพมหานครด้านตะวันตก ,โครงการจัดซื้อรถโดยสารไฟฟ้า จานวน 35 คัน พร้อมสถานีอัดประจุไฟฟ้า จำนวน 1 แห่ง

รถไฟทางคู่ สายใหม่ ช่วงเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ,รถไฟชานเมืองสายสีแดงเข้ม ช่วงรังสิต-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ,รถไฟชานเมืองสายสีแดงอ่อน ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายาและเพิ่มเติม 3 สถานี (สถานีพระรามหก สถานีบางกรวย-การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และสถานีบ้านฉิมพลี) ,รถไฟชานเมืองสายสีแดงอ่อน ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช ,รถไฟชานเมืองสายสีแดงอ่อน บางซื่อ-หัวหมาก และสายสีแดงเข้ม บางซื่อ-หัวลาโพง

รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินแบบไร้รอยต่อ(ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ,โครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ขั้นที่ 3 ,โครงการก่อสร้างทางวิ่งเส้นที่ 3 สนามบินสุวรรณภูมิ ,โครงการศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยานอู่ตะเภา (Maintenance Repair and Overhaul: MRO)
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 31/12/2018 11:05 pm    Post subject: Reply with quote

ลุยเมกะโปรเจกท์ ทั้งรถไฟฟ้า-ทางด่วนสร้างแน่ปี’62
วันจันทร์ ที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561, 06.00 น.

นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า กระทรวงคมนาคมได้ประชุมหารือและสั่งการให้หน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคมทั้งส่วนราชการ และรัฐวิสาหกิจเร่งรัดเบิกจ่ายงบประมาณตั้งแต่ปี 2556-2561 ที่ค้างการเบิกจ่ายวงเงินรวม 38,600 ล้านบาท โดยได้ตั้งเป้าหมายให้ทุกหน่วยงานในสังกัด เร่งเบิกจ่ายให้แล้วเสร็จภายในเดือนกันยายน 2562

สำหรับงบประมาณค้างการเบิกจ่ายดังกล่าวนั้น แบ่งออกเป็นของหน่วยงานราชการวงเงิน 36,200 ล้านบาท เช่น กรมทางหลวง (ทล.) 25,000 ล้านบาท, กรมทางหลวงชนบท (ทช.) 5,400 ล้านบาท และกรมเจ้าท่า (จท.) 3,500 ล้านบาท ส่วนของหน่วยงานรัฐวิสาหกิจค้างเบิกจ่ายวงเงิน 2,400 ล้านบาท เช่น การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) 1,200 ล้านบาท และองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) 800 ล้านบาท

นายชัยวัฒน์กล่าวอีกว่า สำหรับโครงการลงทุนที่ ประกวดราคาแล้วเสร็จ/ประกาศคัดเลือกเอกชน และใช้งบในส่วนของภาครัฐ คาดว่าเริ่มก่อสร้างได้ภายในปีงบประมาณ 2562 มีอยู่ 12 โครงการ

1.โครงการศูนย์การขนส่งชายแดนจังหวัดนครพนม วงเงินลงทุน 1,154.50 ล้านบาท 2.โครงการทางพิเศษสายพระราม 3-ดาวคะนอง-วงแหวนรอบนอก กรุงเทพมหานคร ด้านตะวันตก วงเงินลงทุน 31,244 ล้านบาท 3.โครงการจัดซื้อรถโดยสารไฟฟ้าจำนวน 35 คัน พร้อมสถานีอัดประจุไฟฟ้าจำนวน 1 แห่ง วงเงินลงทุน 466.94 ล้านบาท

4.โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่สายใหม่ ช่วงเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ วงเงินลงทุน 85,345 ล้านบาท 5.โครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดงเข้ม ช่วงรังสิต-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วงเงินลงทุน 6,570.40 ล้านบาท 6.โครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดงอ่อน ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา และเพิ่มเติม 3 สถานี (สถานีพระรามหก สถานีบางกรวย-การไฟฟ้า ฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และสถานีบ้านฉิมพลี) วงเงิน 10,202.18 ล้านบาท

7.โครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดงอ่อน ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช วงเงินลงทุน 7,469.43 ล้านบาท 8.โครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดงอ่อน บางซื่อ-หัวหมาก และสายสีแดงเข้ม บางซื่อ-หัวลำโพง วงเงินลงทุน 44,144.32 ล้านบาท

9.โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินแบบไร้รอยต่อ (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) วงเงินลงทุน122,996.04 ล้านบาท 10.โครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ขั้นที่ 3 วงเงินลงทุน 49,630.75 ล้านบาท 11.โครงการก่อสร้างทางวิ่ง(รันเวย์)เส้นที่ 3 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ วงเงินลงทุน 19,422.17 ล้านบาท และ12.โครงการศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยานอู่ตะเภา (Maintenance Repair and Overhaul : MRO) วงเงินลงทุน 4,294 ล้านบาท


Last edited by Wisarut on 03/01/2019 5:51 pm; edited 2 times in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 02/01/2019 10:45 am    Post subject: Reply with quote

โปรเจ็กต์ไฮไลต์-เผือกร้อน คมนาคม ปี 2561
ข่าวพร็อพเพอร์ตี้
วันที่ 31 ธันวาคม 2561 20:14 น.


คมนาคมกระทรวงเศรษฐกิจเกรดเอ มีเม็ดเงินลงทุนโครงการขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านล้านบาท ตลอดปี 2561 ที่ผ่านมา เรียกว่าเป็นปีที่เร่งสปีดผลงานกันอย่างเต็มสูบ

หวังปักหมุดทุกโปรเจ็กต์ในมือให้ครบถ้วนกระบวนความ ก่อนจะเปลี่ยนผ่านจาก “รัฐบาล คสช.” สู่ “รัฐบาลมาจากการเลือกตั้ง” ที่จะมารับไม้ต่อขับเคลื่อนงานในปี 2562

“ประชาชาติธุรกิจ” พาย้อนดูไฮไลต์ที่น่าสนใจในตลอดปีที่ผ่านมา

ขยันที่สุดในปฐพี

เริ่มจากเจ้ากระทรวง “อาคม เติมพิทยาไพสิฐ” นับว่าเป็นรัฐมนตรีในคณะรัฐมนตรีรัฐบาล คสช.ที่ขาเก้าอี้เสริมเหล็ก นั่งมานานร่วม 4 ปี นับจากก้าวแรกเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการวันที่ 30 ส.ค. 2557 และได้ขยับขึ้นเบอร์หนึ่งเมื่อวันที่ 19 ส.ค. 2558 แทน “บิ๊กจิน-พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง”

ใน 3 ปี “อาคม” มีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงถึง 3 คน ล่าสุด “ไพรินทร์ ชูโชติถาวร” อดีตซีอีโอ ปตท. ที่คุมทางน้ำ อากาศ ทางด่วนและระบบราง

ตลอดปีที่ผ่านมา “อาคม” เดินสายลงพื้นที่อย่างต่อเนื่องตั้งแต่เหนือ อีสาน กลาง ตะวันออก จดใต้ ไม่เว้นแม้แต่วันหยุดสุดสัปดาห์ เอกซเรย์งานทุกสิ่งทุกอย่างแม้แต่การปลูกต้นไม้ใบหญ้า จนมีฉายาประจำตัว “รัฐมนตรีที่ขยันที่สุดในปฐพี”

ขณะที่งานโครงการขนาดใหญ่ในแผนเร่งด่วนปี 2561 ทั้งบก ราง น้ำ อากาศ จัดเซตไว้ 44 โครงการ วงเงินลงทุนกว่า 2 ล้านบาท ยังไปไม่ถึงเป้าหมาย ต้องยกยอดมาผลักดันกันต่อในปี 2562

โยกสลับเก้าอี้วุ่น

ไม่ใช่แค่เก้าอี้รัฐมนตรีที่น่าสนใจ ในส่วนของเก้าอี้ปลัดกระทรวงก็เป็นที่ถูกจับตาไม่น้อย เมื่อมีม้ามืดโผล่วินาทีสุดท้ายจนทำให้ใครหลายคนที่อกหักจนต้องโบกมืออำลา เป็นที่มาการแต่งตั้งโยกย้าย 9 เก้าอี้ใหญ่

เริ่มที่เก้าอี้แม่บ้านกระทรวง ที่หวยมาออก “ชัยวัฒน์ ทองคำคูณ” ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร ที่รั้งเก้าอี้นี้ไปครองแบบโค้งสุดท้าย

ส่งผลสะเทือน 2 แคนดิเดต “ธานินทร์ สมบูรณ์” อธิบดีกรมทางหลวง และ “สนิท พรหมวงษ์” อดีตอธิบดีกรมการขนส่งทางบก จนต้องยื่นใบลาออกทันทีหลังมีมติคณะรัฐมนตรีออกมา

เมื่ออธิบดีกรมใหญ่ลาออก 2 คน บิ๊กคมนาคมจึงต้องโยกสลับ 8 เก้าอี้ใหม่

ตั้ง “สราวุธ ทรงศิวิไล” ผู้ตรวจราชการกระทรวงคมนาคม นั่งผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร

ย้าย “อัมพวัน วรรณโก” จากผู้ตรวจราชการกระทรวงคมนาคมเป็นอธิบดีกรมท่าอากาศยาน (ทย.) ย้าย “จิรุตม์ วิศาลจิตร” อธิบดีกรมเจ้าท่าเป็นผู้ตรวจกระทรวง และ “สมศักดิ์ ห่มม่วง” จากรองปลัดกระทรวงเป็นอธิบดี

กรมเจ้าท่าแทน โปรโมต “อานนท์ เหลืองบริบูรณ์” จากผู้ตรวจกระทรวงนั่งอธิบดีกรมทางหลวง ตั้ง “พีระพล ถาวรสุภเจริญ” รองปลัดกระทรวงเป็นอธิบดีกรมการขนส่งทางบก

ถูกวิจารณ์มากที่สุด

มาดูโปรเจ็กต์ร้อนแรงแห่งปีของคมนาคม ที่เรียกเสียงวิจารณ์จากสังคมมากที่สุดตลอดปี ต้องยกให้กับ โครงการก่อสร้างอาคารผู้โดยสารหลังที่ 2 (เทอร์มินอล 2) มูลค่าก่อสร้าง 35,000 ล้านบาท ของ บมจ.การท่าอากาศยานไทย (ทอท.)

กระแสวิจารณ์ถูกจุดพลุหลัง “ทอท.” ประกาศผลให้กลุ่มนิติบุคคลร่วมทำงาน ดีบีเอแอลพี-นิเคนเซกเก-อีเอ็มเอส-เอ็มเอชพีเอ็ม-เอ็มเอสเอ-เออาร์เจ

หรือกลุ่ม “ดวงฤทธิ์ บุนนาค” เป็นผู้ชนะฟาวล์การออกแบบ หลังผู้ได้คะแนนสูงสุดไม่ได้แนบ “ต้นฉบับใบเสนอราคาที่ได้รับจากทาง ทอท.” ตามที่ระบุ

ขณะที่แบบของ “กลุ่มดวงฤทธิ์” ที่ใช้โครงสร้างไม้เป็นหลัก หลังปรากฏสู่สายตาสาธารณชน มีเสียงดังกระหึ่มถึงการดีไซน์ที่ไปละม้ายคล้ายกับโมเดลศาลเจ้าแห่งหนึ่งของญี่ปุ่นและจีน

อีกทั้งยังถูกถล่มปมที่ใช้ไม้จะทำให้เกิดการติดไฟได้ง่าย และบานปลายนำไปสู่การวิพากษ์การเสกเทอร์มินอลของ ทอท. ทำให้แผนแม่บทการพัฒนาสนามบินสุวรรณภูมิผิดเพี้ยน

แม้ ทอท.ยืนกรานแต่เสียงทักท้วงยังไม่คลี่คลาย ทำให้ ทอท.ขอความเห็นจากองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) ล่าสุด บอร์ด ทอท.ระบุ ICAO ยืนยันการดำเนินเป็นไปตามแผนแม่บท จึงมีมติให้ ทอท.เดินหน้าโครงการนี้ต่อ

เพื่อความรอบคอบให้หารือคณะกรรมการ Airport Consultative Committee (ACC) มีสายการบินและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับกิจการการบินเป็นกรรมการให้ความเห็นและพิจารณาความเหมาะสมของขนาดอาคารให้สอดคล้องรับกับดีมานด์ต่อไป

ปิดดีลยักษ์ 2 แสน ล.ส่งท้ายปี

ปิดท้ายกับโปรเจ็กต์ยักษ์ที่ลุ้นกันตั้งแต่เปิดตัวโครงการระเบียงเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) กับโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา ระยะทาง 220 กม. มูลค่า 224,544 ล้านบาท ที่แปลงร่างมาจากรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-ระยอง มีการรถไฟแห่งประเทศไทยเป็นแม่งาน

โดยรัฐบาล คสช.หวังจะใช้รถไฟความเร็วสูงสายนี้จุดพลุแจ้งเกิดอีอีซี และนับว่าเป็นโครงการที่เนื้อหอมไม่น้อย มีเอกชนไทยและต่างประเทศมาซื้อซองประมูลมากถึง 31 ราย

ช่วงฟอร์มทีมยื่นประมูล เรียกว่า ฝุ่นตลบพอสมควร เพราะมีหลายข่าว หลายกระแสจับคู่จับกลุ่มกันอลหม่าน จนมาหยุดสุดท้ายที่ 2 กลุ่มทุนยักษ์ “กลุ่ม ซี.พี.และพันธมิตร” และ “กลุ่มบีเอสอาร์” มีบีทีเอสเป็นหัวหอก ตบเท้ายื่นซองประมูลในวันที่ 12 พ.ย.ที่ผ่านมา

ส่วน “กลุ่ม ปตท.” ที่มาแผ่วปลาย ถอย 1 ก้าวไปตั้งหลักขอเวลาศึกษาเทคนิคและรูปแบบธุรกิจ รอร่วมทุนกับผู้ชนะภายหลัง

ผลพิจารณาขับเคี่ยวมาถึงซองที่ 3 ข้อเสนอด้านราคาที่มีเงื่อนไขผู้เสนอให้รัฐสนับสนุนน้อยที่สุดจะเป็นผู้ชนะ ซึ่งมีกรอบวงเงินที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติไว้ 119,425 ล้านบาท

โดยผู้เสนอราคาต่ำสุดเป็นตัวตั้ง คือ กลุ่ม ซี.พี.และพันธมิตร ประกอบด้วย บจ.เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง ถือหุ้น 70% บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ 5% บจ.ไชน่า เรลเวย์ คอนสตรั๊คชั่น (CRCC) 10% และ บมจ.ช.การช่าง กับ บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM) 15% ขอเงินสนับสนุนจากรัฐคิดเป็นมูลค่าปัจจุบัน 117,227 ล้านบาท หรือต่ำกว่าเพดาน ครม. 2,198 ล้านบาท

และต่ำกว่ากลุ่มบีทีเอส 52,707 ล้านบาท ที่เสนอขอให้รัฐสนับสนุน 169,934 ล้านบาท หากคิดเป็นจำนวนเงินรวมดอกเบี้ย 10 ปี ราคากลุ่ม ซี.พี.อยู่ที่ 149,652 ล้านบาท ต่ำกว่ากลุ่มบีทีเอสที่เสนอ 238,330 ล้านบาท อยู่ที่ 88,678 ล้านบาท เพื่อให้การเซ็นสัญญาเป็นไปตามแผนวันที่ 31 ม.ค. 2562 ตั้งแต่วันที่ 3 ม.ค.คณะกรรมการคัดเลือกจะเจรจากลุ่ม ซี.พี.ในรายละเอียดต่าง ๆ รวมถึงข้อเสนอพิเศษในซองที่ 4 ให้ข้อสรุปสุดท้ายที่ “วินวิน” กันทั้งคู่

เป็นการพิจารณารวดเร็วสมกับชื่อโครงการไฮสปีดเทรน ส่วนราคาจะถูกจริงอย่างที่ปรากฏคงต้องดูกันต่อไปยาว ๆ เพราะเป็นโครงการใหญ่

ที่ไม่หมูอย่างที่คิด !
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44335
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 02/01/2019 4:45 pm    Post subject: Reply with quote

คมนาคมดันประมูลบิ๊กโปรเจกต์ 3.9 แสนล้านในไตรมาส 1/62
เผยแพร่: 2 ม.ค. 2562 16:19 โดย: ผู้จัดการออนไลน์

“คมนาคม”เดินหน้าประมูลบิ๊กโปรเจกต์ ดันล็อตแรก ไตรมาส 1/62 วงเงินกว่า 3.9 แสนล้าน รับเหมางานแน่น ต่อเนื่อง ด้านผู้ว่าฯ รฟท.เร่งทีโออาร์อาณัติสัญญาณทางคู่ 1.1 หมื่นล. และรถไฟไทย-จีน อีก 12 สัญญา ขณะที่ ทล.จ่อขายซอง "ทางยกระดับพระราม 2" กว่า 1 หมื่นล้าน

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ในช่วงไตรมาสที่ 1/2562 หรือตั้งแต่เดือนม.ค.-มี.ค. 2562 มีโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของคมนาคม ที่อยู่ในขั้นตอนนำเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติ และโครงการที่เตรียมเปิดประมูล เพื่อเริ่มการเบิกจ่ายงบประมาณและการใช้งบลงทุน ในโครงการที่ใช้รูปแบบ การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (Public Private Partnership: PPP) ซึ่งล้วนทำให้เกิดเม็ดเงินกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ

เช่น โครงการรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพมหานคร-หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา) ค่าก่อสร้างงานโยธา ประมาณ 125,000 ล้านบาท ซึ่งได้ทยอยเปิดประมูลตอนที่1 ช่วงกลางดง-ปางอโศก ระยะทาง3.5 กม. และตอนที่ 2 ช่วงสีคิ้ว - กุดจิก ระยะทาง 11 กม. ไปแล้ว ส่วนที่เหลืออีก 12 ตอน จะทยอยประมูลหมดภายในต้นปี 2562

โครงการ ท่าเรือแหลมฉบังเฟส 3 ระยะที่ 1 ซึ่งการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) จะลงทุนโครงสร้างพื้นฐานให้ 53,490 ล้านบาท เอกชนจะลงทุน 30,871 ล้านบาท

นอกจากนี้ ยังมีโครงการทางพิเศษพระราม 3-ดาวคะนอง-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันตก วงเงินลงทุน 30,437 ล้านบาท ซึ่งใช้เงินค่าก่อสร้างจากการระดมทุนผ่าน กองทุนโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทย (ไทยแลนด์ฟิวเจอร์ฟันด์) หรือ TFF

โครงการทางยกระดับบนทางหลวงหมายเลข 35 สายธนบุรี - ปากท่อ ช่วง บางขุนเทียน-มหาชัยก่อน ระยะทางประมาณ 10 กม. งบประมาณ 10,500 ล้านบาท และโครงการ ติดตั้งระบบ จัดเก็บค่าผ่านทางและบำรุงรักษาโครงการ (O&M) มอเตอร์เวย์ สายบางปะอิน-นครราชสีมา วงเงิน 33,258 ล้านบาท และทางหลวงพิเศษหมายเลข 81 (สายบางใหญ่-กาญจนบุรี) วงเงิน 27,828 ล้านบาท

ส่วนโครงการที่อยู่ในขั้นตอนการนำเสนอ บอร์ดสภาพัฒน์ฯ และขออนุมัติ ครม. ได้แก่ รถไฟทางคู่เฟส 2 จำนวน 8 เส้นทาง ได้แก่ หาดใหญ่-ปาดังเบซาร์, ชุมพร-สุราษฎร์ธานี, สุราษฎร์ธานี-หาดใหญ่-สงขลา, ปากน้ำโพ-เด่นชัย, จิระ-อุบลราชธานี, ขอนแก่น-หนองคาย, เด่นชัย-เชียงใหม่, และบ้านไผ่-มุกดาหาร-นครพนม

โครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) 3 เส้นทาง ได้แก่ สายสีแดงเข้ม ช่วงรังสิต-มธ.รังสิต ระยะทาง 8.9 กม. วงเงิน 6,570.40 ล้านบาท และสายสีแดงอ่อน ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช ระยะทาง 6 กม. ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา ระยะทาง 19.7 กม. วงเงิน 17,671.61 ล้านบาท

***รถไฟ เร่งคลอด ทีโออาร์ “อาณัติสัญญาณทางคู่เฟสแรก และ ก่อสร้างสายเด่นชัย-เชียงราย

นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการ รฟท.กล่าวว่า โครงการที่ผ่านการอนุมัติและอยู่ในไทม์ไลน์ สามารถเปิดประมูลได้ภายในช่วงไตรมาสแรกของปี 2562 ได้แก่ รถไฟไทย-จีน อีก12 ตอนที่เหลือ โดยจะทยอยประกาศทีโออาร์ประกวดราคาก่อสร้างงานโยธา โดยในเดือนม.ค. 2562 จะประกาศทีโออาร์ประมูล 5 สัญญา เดือนก.พ. 2562 ประมูล 7 สัญญา

ขณะที่จะเร่งจัดทำร่างทีโออาร์ ระบบอาณัติสัญญาณสายใต้ รถไฟทางคู่ เส้นทาง นครปฐม-ชุมพร จำนวน 59 สถานี ราคากลาง 6.2 พันล้านบาท ซึ่งได้ผ่านการพิจารณาคณะกำกับการจัดซื้อจัดจ้าง (ซุปเปอร์บอร์ดจัดซื้อจัดจ้าง) แล้ว ซึ่งคาดว่าจะเปิดประมูลระบบอาณัติสัญญาของสายเหนือ เส้นทางลพบุรี-ปากน้ำโพ จำนวน 20 สถานี วงเงิน 2.9 พันบ้านบาท, และสายตะวันเฉียงเหนือ เส้นทางมาบกระเบา- ชุมทางจิระ จำนวน 20 สถานี วงเงิน 2.5 พันล้านบาท พร้อมๆกัน

และทีโออาร์ รถไฟทางคู่ เส้นทางเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ระยะทาง 323 กม. วงเงิน ค่างานโยธา 72,921 ล้านบาท

***กรมทางหลวง เร่งสรุปทีโออาร์ O&M มอเตอร์เวย์

นายอานนท์ เหลืองบริบูรณ์ อธิบดีกรมทางหลวง (ทล.) กล่าวว่า ทางยกระดับพระราม 2 ช่วง 10 กม.แรก จะเปิดประมูลได้ในเดือ นม.ค.2562 ขณะที่ ระบบ O&M มอเตอร์เวย์ 2 สาย ต้องรอคณะกรรมการมาตรา 35 แห่งพ.ร.บ.ร่วมทุนฯ 2556 ประชุมสรุปร่างทีโออาร์ แต่เชื่อว่าจะเปิดประมูลได้ในไตรมาสแรก ปี 2562 ทั้งนี้ อาจจะเปิดประมูลระบบ O&M สายบางปะอิน-นครราชสีมา ก่อน ส่วนระบบ O&M สายบางใหญ่-กาญจนบุรี อาจจะต้องพิจารณาความก้าวหน้าของงานโยธา เนื่องจากอยู่ระหว่างปรับเพิ่มวงเงินค่าเวนคืนที่อยู่ในขั้นตอนเสนอครม. เพื่อให้การก่อสร้างมีความสอดคล้องกัน
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 03/01/2019 6:00 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
คมนาคมดันประมูลบิ๊กโปรเจกต์ 3.9 แสนล้านในไตรมาส 1/62
เผยแพร่: วันพุธที่ 2 มกราคม 2562 เวลา 16:19 โดย: ผู้จัดการออนไลน์




โหมโรงแต่ต้นปี! คมนาคมลุ้นบอร์ดสภาพัฒน์ไฟเขียวทางคู่อีสาน-สายสีแดง-ค่าเวนคืนบางใหญ่ ชงครม.เคาะม.ค.นี้
พร็อพเพอร์ตี้
วันพุธที่ 2 มกราคม 2562 เวลา 15:25 น.

นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า เดือน ม.ค.นี้ กระทรวงมี 4 โครงการสำคัญที่จะเสนอให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาให้ความเห็นชอบ เพื่อเร่งให้เข้าสู่ขั้นตอนการจัดซื้อจัดจ้างและก่อสร้างต่อไป

โดยทั้ง 4 โครงการเป็นโครงการรถไฟทางคู่ 3 โครงการ ได้แก่
1.รถไฟทางคู่ช่วงชุมทางถนนจิระ – อุบลราชธานี ระยะทาง 307 กม. เงินลงทุน 37,523 ล้านบาท
2.รถไฟทางคู่ช่วงขอนแก่น – หนองคาย ระยะทาง 167 กม. เงินลงทุน 26,654 ล้านบาท และ
3.รถไฟทางคู่สายใหม่ ช่วงบ้านไผ่ – นครพนม ระยะทาง 354 กม. เงินลงทุน 67,965 ล้านบาท

และโครงการส่วนต่อขยายส่วนสีแดง 3 เส้นทาง ได้แก่
ส่วนต่อขยาย ช่วงรังสิต – ม.ธรรมศาสตร์ ระยะทาง 8.84 กม. เงินลงทุน 6,500 ล้านบาท,
ส่วนต่อขยายช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา ระยะทาง 14.8 กม. เงินลงทุน 10,000 ล้านบาท และ
ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช ระยะทาง 5.7 กม. เงินลงทุน 7,500 ล้านบาท

“ขณะนี้คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (บอร์ดสภาพัฒน์) มีข้อแนะนำให้การรถไฟฯไปทำข้อมูลเพิ่มในส่วนของทางคู่ เพราะต้องดูทั้งความคุ้มค่าและรายละเอียดอื่นๆ อีก ส่วนสายสีแดงยังเหลือรายละเอียดบางส่วนอีกไม่มากที่จะต้องส่งตามไป ทั้งหมดจะเสนอให้บอร์ดสภาพัฒน์พิจารณาในช่วงต้นเดือนนี้ แต่อย่างไรก็ตามทั้งหมดน่าจะเสนอให้ ครม.ให้ความเห็นชอบได้ในเดือน ม.ค.นี้” ปลัดกระทรวงคมนาคมระบุ

ส่วนความคืบหน้าการการปรับกรอบวงเงินค่าจัดการกรรมสิทธิ์ (เวนคืน) ที่ดินในโครงการมอเตอร์เวย์บางใหญ่-กาญจนบุรีนั้น กระทรวงก็พยายามจะเสนอให้ได้ภายในเดือนนี้เช่นกัน เบื้องต้นวงเงินที่ขอเพิ่มลดลงจากเดิมมาก จากเดิมที่ขอเพิ่ม 14,217 ล้านบาท มาเหลือประมาณ 7,000 – 8,000 ล้านบาทเท่านั้น โดยตอนนี้กระทรวงจะส่งไปให้บอร์ดสภาพัฒน์พิจารณาช่วงต้นเดือนนี้เช่นกัน
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44335
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 16/01/2019 11:19 am    Post subject: Reply with quote

‘สนข.’เร่งเคาะไอซีดีฉะเชิงเทรา
กรุงเทพธุรกิจ 16 ม.ค. 62

Click on the image for full size


“สนข.” เร่งศึกษาสถานีขนส่งสินค้าคอนเทนเนอร์ ฉะเชิงเทรา คาดแล้วเสร็จภายใน ก.พ.นี้ ก่อนดันเข้าขั้นตอนพีพีพี เผยเลือกพื้นที่ ต.บ้านโพธิ์ 600-700 ไร่ กางแผนปั้นศูนย์กลางกระจายสินค้าเชื่อมอีอีซี-อาเซียน อธิบดีกรมโยธาฯ แนะปักหมุด อ.บางน้ำเปรี้ยว เผย อ.บ้านโพธิ์ เหมาะพัฒนาเมืองใหม่

นางวิไลรัตน์ ศิริโสภณศิลป์ รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยว่า สนข.อยู่ระหว่างทำร่างรายงานการศึกษาฉบับสมบูรณ์ โครงการพัฒนาสถานีขนส่งสินค้าคอนเทนเนอร์ (ไอซีดี) จ.ฉะเชิงเทรา โดยข้อมูลผลการศึกษายังคงยืนยันพัฒนาโครงการดังกล่าวในพื้นที่ ต.หนองตีนนก อ.บ้านโพธิ์ จ.ฉะเชิงเทรา และคาดว่าภายในเดือน ก.พ.นี้ ผลการศึกษาฉบับสมบูรณ์จะแล้วเสร็จ เพื่อเริ่มต้นขั้นตอนเสนอกระทรวงคมนาคม คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) และคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณา

"ก่อนหน้านี้ สนข.ได้ลงพื้นที่รับฟังความคิดเห็นจากภาคประชาชนแล้ว ว่าจะปรับพื้นที่อย่างไร ดูแลชาวบ้านอย่างไร และในวันที่ 26 ม.ค.นี้ ก็จะลงพื้นที่อีกรอบเพื่อคุยกับชาวบ้านเพิ่มเติม ส่วนประเด็นของการใช้พื้นที่ ตอนนี้แน่ชัดแล้วว่าจะเป็น อ.บ้านโพธิ์ แผนพัฒนาก็จะทำเป็นพื้นที่รองรับเกี่ยวกับศุลกากร มีสิ่งอำนวยความสะดวกผู้ประกอบการขนส่งสินค้า และโครงการรถไฟก็จะเข้ามาสนับสนุนการขนส่งทางรางด้วย"

เล็งเปิดเอกชนร่วมลงทุน

ทั้งนี้ สนข.ได้รับหน้าที่ศึกษาโครงการไอซีดีฉะเชิงเทรา หลังจากโครงการได้รับอนุมัติแล้ว สนข.จะต้องส่งต่อผลการศึกษาให้แก่ กพอ.เพื่อนำไปสู่ขั้นตอนเปิดประกวดราคา ในลักษณะเปิดให้เอกชนร่วมลงทุนโครงการรัฐ (พีพีพี) โดยเอกชนในธุรกิจเดินเรือ หากสนใจเป็นผู้รับสัมปทานบริหารสถานีขนส่งสินค้า ก็อาจจะเข้ามาร่วมลงทุนได้

สำหรับรูปแบบการพัฒนาในเบื้องต้น คาดว่าจะใช้พื้นที่ 600-700 ไร่ ในส่วนนี้กว่า 50% จะแบ่งเป็นการพัฒนากิจกรรมศุลกากร การนำเข้าและส่งออก ส่วนอีก 50% จะเป็นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน สิ่งอำนวยความสะดวก เส้นทางถนนเพื่อการคมนาคม ซึ่งจะมีการแบ่งให้เอกชนพัฒนาส่วนใดนั้น อาจจะต้องเป็นอำนาจการตัดสินใจของทางคณะกรรมการอีอีซี โดยมั่นใจว่าเมื่อผลการศึกษาแล้วเสร็จก็จะสามารถเร่งรัดขั้นตอนเพื่อเริ่มการลงทุนได้ เนื่องจากเป็นโครงการที่สนับสนุนการขยายตัวของเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี)

สนข.ศึกษาเสร็จ ก.พ.62

รายงานข่าวจาก สนข.ระบุว่า ผลการศึกษาที่เลือกพื้นที่บริเวณพื้นที่หมู่ 4 ต.หนองตีนนก อ.บ้านโพธิ์ จ.ฉะเชิงเทรา เป็นพื้นที่พัฒนา พิจารณาจากความเหมาะสมทั้งในด้านสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ การลงทุน และวิศวกรรม อีกทั้งพื้นที่ดังกล่าวยังอยู่ในจุดยุทธศาสตร์ที่รวบรวมและกระจายสินค้าไปภาคตะวันออกเฉียงเหนือและกลุ่มประเทศ CLMV ได้แก่ กัมพูชา ลาว เมียนมาและเวียดนาม

นอกจากนี้ ไอซีดี ฉะเชิงเทรา จะเป็นศูนย์กลางรองรับการรวบรวม และกระจายสินค้าเชื่อมโยงการขนส่งสินค้าระหว่างนิคมอุตสาหกรรมรอบพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑลภาคตะวันออกเฉียงเหนือเพื่อเข้าสู่พื้นที่อีอีซี ไปยังท่าเรือแหลมฉบังท่าเรือพาณิชย์สัตหีบและท่าเรือมาบตาพุด โดยจะเชื่อมต่อการขนส่งผ่านระบบรางในเส้นทางฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย ที่ขณะนี้อยู่ระหว่างการก่อสร้าง

สำหรับรูปแบบการลงทุนลักษณะพีพีพี จากการศึกษาความเหมาะสมในเบื้องต้น ภาครัฐจะเป็นฝ่ายสนับสนุนพื้นที่ และระบบสาธารณูปโภคต่างๆ ส่วนเอกชนลงทุนพัฒนาโครงการ โดย สนข.จะศึกษาผลักดันโครงการเข้าสู่พีพีพี อีอีซี ฟาสต์แทรคเพื่อลดขั้นตอนและรวดเร็วในการดำเนินงาน มีเป้าหมายเริ่มขั้นตอนเปิดประมูลหลังศึกษาโครงการแล้วเสร็จในเดือน ก.พ.2562

ผังเมืองชี้บางน้ำเปรี้ยวเหมาะสม

นายมณฑล สุดประเสริฐ อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง กล่าวว่า การใช้ประโยชน์พื้นที่อีอีซีทั้ง 3 จังหวัดนั้น ในผังเมืองได้กำหนดให้ จ.ฉะเชิงเทรา จะเน้นในการพัฒนาให้เป็นเมืองรองรับการขยายตัวของกรุงเทพฯ ให้เป็นเมืองน่าอยู่อาศัยและเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์

สำหรับการพัฒนาพื้นที่โครงการไอซีดี จ.ฉะเชิงเทรา ที่ สนข.ได้กำหนดไว้ที่ อ.บ้านโพธิ์ จ.ฉะเชิงเทรานั้น มองว่าในพื้นที่นี้ไม่เหมาะสมที่จะจัดทำไอซีดี เพราะ อ.บ้านโพธิ์ เป็นพื้นที่เหมาะกับการเป็นเมืองที่พักอาศัยที่น่าอยู่มากกว่า ซึ่งทำให้ไม่เหมาะที่จะมีรถบรรทุกและรถคอนเทนเทนอร์มาวิ่งในเมืองนี้

เตรียมพื้นที่1.5พันไร่รองรับ

ทั้งนี้ มองว่าพื้นที่ที่เหมาะสมน่าจะอยู่ทางด้านเหนือของ จ.ฉะเชิงเทรา เช่น อ.บางน้ำเปรี้ยว ที่อยู่ติดเส้นทางรถไฟ และถนนสายหลัก ซึ่งใกล้กรุงเทพฯ ชุมชนเมืองไม่หนาแน่น ซึ่งกรมโยธาธิการและผังเมืองจะร่วมกับ สกพอ.ผลักดันเรื่องนี้อย่างเต็มที่ เพื่อเตรียมพื้นที่รองรับการพัฒนารองรับศูนย์กลางโลจิสติกส์ 1,500 ไร่ ในพื้นที่ จ.ฉะเชิงเทรา 

นอกจากนี้ การร่างแผนผังอีอีซียังมีพื้นที่เกษตร แหล่งน้ำ พื้นที่อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 8.2 ล้านไร่ ซึ่งแม้ว่าพื้นที่เกษตรจะลดลงบ้าง แต่เป็นสัดส่วนที่เหมาะสม โดยจะไม่แตะพื้นที่เกษตรที่มีคุณภาพ

"พื้นที่อุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้น ส่วนใหญ่จะขยายเพิ่มจากเขตนิคมอุตสาหกรรมเดิม ที่ไม่ส่งผลกระทบต่อชุมชน ซึ่งการขยายพื้นที่อุตสาหกรรมเดิมให้เพิ่มขึ้น เพื่อรวมกลุ่มโรงงานต่างๆ ไว้ในนิคมฯ เพื่อให้สะดวกในการดูแลเรื่องสิ่งแวดล้อมได้ดีกว่า รวมทั้งอุตสาหกรรมที่ได้รับการส่งเสริมใน อีอีซี จะเป็นอุตสาหกรรมใหม่ที่กระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อย"

นอกจากนี้ ในผังเมืองยังได้กำหนดพื้นที่ ที่ควรจะสร้างบ่อบำบัดน้ำเสีย และกำจัดขยะทั้งจากครัวเรือนและอุตสาหกรรม เพื่อรองรับการขยายตัวของตัวเมือง และอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้น

ทั้งนี้ กรมโยธาธิการได้นำข้อมูลประชากรที่ สกอพ.ศึกษามาใช้ในการออกแบบผังด้านการใช้ประโยชน์ที่ดิน และผังโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อรองรับจำนวนประชากรในอนาคตได้อย่างเพียงพอ โดยจากการคาดการณ์ประชากรในอีอีซี โดยปี 2580 จะมีประชากรรวม 6.29 ล้านคน หรือเพิ่มขึ้น 1 เท่าจากประชากรปี 2560 ที่มี 2.93 ล้านคน โดยในปี 2580 จ.ชลบุรีจะมีประชากร 3,422,620 คน จ.ระยอง 1,030,405 คน และ จ.ฉะเชิงเทรา 1,844,679 คน อัตราการเพิ่มเฉลี่ย 4% ต่อปี นักท่องเที่ยวคาดว่าจะมี 51.3 ล้านคน เพิ่มขึ้น 1.1 เท่า จากปัจจุบัน
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 98, 99, 100 ... 121, 122, 123  Next
Page 99 of 123

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©