Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311232
ทั่วไป:13180083
ทั้งหมด:13491315
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 296, 297, 298 ... 542, 543, 544  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 13/12/2018 6:34 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
“อาคม” ลงพื้นที่ตรวจความคืบหน้าสร้างโครงการรถไฟไทย-จีน
เศรษฐกิจ
วันอังคาร ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2561, 15.53 น.



ออกแบบ800ล.ไฮสปีด"โคราช-หนองคาย"
อังคารที่ 11 ธันวาคม 2561 เวลา 17.44 น.

//--------------------------------

“อาคม” มั่นใจปี 64 รถไฟทางคู่ถึงหนองคาย ส่วนความเร็วสูงร่นเวลาวิ่ง กทม.-หนองคายเหลือแค่ 3 ชม.
หน้าภูมิภาค - ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: อังคารที่ 11 ธันวาคม 2561 เวลา 20:23
ปรับปรุง: พุธที่ 12 ธันวาคม 2561 เวลา 06:38



ครม.รับทราบรถไฟเชื่อมหนองคาย - เร่งชงสศช.เคาะทางคู่เฟส2
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 13 ธันวาคม 2561 เวลา 17:49



ครม.รับทราบ ความคืบหน้ารถไฟทางคู่ “ขอนแก่น-หนองคาย”วงเงิน 2.66 หมื่นล. และรถไฟไทย-จีน เฟส2 “วรวุฒิ”เผยชงบอร์ดสศช.อนุมัติ ทางคู่เฟส2 สายอีสานเป็นแพคเกจ 3สาย ขณะที่ ใช้งบกลาง 800 ล. เร่งออกแบบไฮสปีดไทย-จีน ช่วง โคราช-หนองคาย ตั้งเป้าก่อสร้างเสร็จในปี 2570

นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ในฐานะโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังผลการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1 จ.หนองคาย วันที่ 13 ธ.ค.ว่า ที่ประชุมได้รับทราบ รายงานแผนการดำเนินโครงการรถไฟทางคู่ เส้นทางขอนแก่น-หนองคาย ระยะทาง 167กิโลเมตร วงเงินลงทุน 26,647ล้านบาท โดยกระทรวงคมนาคมยืนยันว่าจะเริ่มดำเนินการก่อสร้างให้ได้ภายในปี 2562 และคาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2565 โดยจะนำเสนอรายละเอียดโครงการต่อที่ประชุม ครม.อีกครั้ง ภายในเดือนมกราคม 2562 เพื่อขออนุมัติโครงการ

โดยจะก่อสร้างทางรถไฟเพิ่ม 1 ทาง ขนานไปกับเส้นทางรถไฟเดิม มี15 สถานี โดยส่วนใหญ่เป็นทางระดับดิน จะมีโครงสร้างยกระดับประมาณ 11 กม. ศึ่งจากการศึกษาความเหมาะสมโครงการคาดว่าจะมีปริมาณผู้โดยสาร มีย่านเก็บกองและขนถ่ายตู้สินค้า (CY) 3 แห่ง คือ สถานีเขาสวนกวาง สถานีหนองตะโก้ สถานีนาทา เบื้องต้นคากการณ์ปริมาณผู้โดยสารในปีที่เปิดให้บริการที่1.16 ล้านคน/ปี ปริมาณสินค้า 3.2 ล้านตัน/ปี

นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) กล่าวว่าโครงการรถไฟทางคู่ เส้นทางขอนแก่น-หนองคาย อยู่ในแผนโครงการรถไฟทางคู่ระยะที่2 ซึ่ง ขณะนี้รฟท.อยู่ระหว่าง เสนอขออนุมัติจาก คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(บอร์ด สศช.) ซึ่งในโครงข่ายทางคู่ระยะที่2 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ เส้นทางขอนแก่น-หนองคาย ,เส้นทาง ชุมทางถนนจิระ- อุบลราชธานี ระยะทาง308 กม. วงเงิน 3.75 หมื่นล้านบาท และเส้นทางใหม่ บ้านไผ่-มุกดาหาร-นครพนม ระยะทาง355 กม. วงเงิน 6.79 หมื่นล้านบาท โดยหลังจากผ่านบอร์ดสศช.แล้วจะเสนอครม.เพื่อพิจารณาต่อไป

***รายงานความคืบหน้ารถไฟไทย-จีน เฟส2 ไทยทำเองใช้งบกลาง 800 ล. ออกแบบ

ขณะเดียวกันได้มีการรายงานความคืบหน้าการดำเนินการโครงการรถไฟความเร็วสูงภายใต้ความร่วมมือ ไทย- จีน ระยะที่2 ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย ระยะทาง 355 กม. มี6 สถานีวงเงินลงทุนเบื้องต้นประมาณ 2แสนบาทล้านบาท ซึ่งกระทรวงคมนาคมได้ยืนยันการดำเนินการยังเป็นไปตามแผนงาน และจะก่อสร้างแล้วเสร็จในปี 2570

นายวรวุฒิกล่าวว่า รถไฟความเร็วสูง ไทย-จีน ระยะที่ 2 ช่วง นครราชสีมา - หนองคาย กำหนดเป้าหมายในการเริ่มดำเนินการภายในปี 2562 ซึ่งได้รายงานครม.ว่า ไทยจะเป็นผู้ดำเนินการออกแบบรายละเอียดงานโยธาเอง โดยใช้งบกลาง จำนวน 800 ล้านบาท

รายงานข่าวแจ้งว่า ขณะนี้ โครงการ ระยะที่ 1 ช่วง กรุงเทพฯ - นครราชสีมา ระยะทาง 252.35 กิโลเมตร วงเงินลงทุนรวม 179,412.21 ล้านบาท มี

วงเงินค่าก่อสร้างงานโยธา 119,163 ล้านบาทนั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างเปิดประมูล ตอนที่ 2 ช่วงสีคิ้ว - กุดจิก ระยะทาง 11 กม. ราคากลาง 3,350,475,000 บาทซึ่งจะเคาะราคาในวันที่ 18 ธ.ค.2561 เริ่มการก่อสร้างต้นปี 2562ส่วนที่เหลือ จำนวน 12 ตอน ระยะทาง 238.5 กม. รฟท.จะทยอยประกาศทีโออาร์ประกวดราคาก่อสร้างงานโยธา โดยในเดือนม.ค. 2562

ทั้งนี้ งานโยธาในเฟสแรก กรุงเทพ-นครราชสีมา จะใช้เวลาก่อสร้าง 36 เดือน คาดว่าจะแล้วเสร็จในปลายปี 2564 ขณะที่ในส่วนของงานระบบ สัญญา2.3 นั้น จะทยอยเข้าติดตั้ง โดยตั้งเป้า เปิดเดินรถตั้งแต่กรุงเทพ-นครราชสีมา ภายในปี 2565
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 13/12/2018 6:46 pm    Post subject: Reply with quote

ซื้อเวลาหาผู้ชนะไฮสปีดเทรนเชื่อม3สนามบิน ซีพีตัวเต็ง เฉือนBTSเฉียดฉิว!
พร็อพเพอร์ตี้
วันที่ 13 ธันวาคม 2561 เวลา 16:21 น.


จับตา “ซีพี” นอนมาคว้าอภิไฮสปีดเทรน 2.2 แสนล้านเฉือนเจ้าพ่อรถไฟฟ้าบีทีเอสเฉียดฉิว รอ “ร.ฟ.ท.” แถลง พร้อมต่อรองราคาก่อนเสนอ ครม. ซีพีผนึก 10 แบงก์ “ไทย-จีน-ญี่ปุ่น” กู้ดอกเบี้ยต่ำให้รัฐอุดหนุน 1.19 แสนล้าน สัมปทาน 50 ปีสร้างเมืองใหม่แปดริ้ว ปลุกอสังหาฯ EEC ตั้ง 4 เขตส่งเสริมฯ “โตโยต้าเกตเวย์-บ้านโพธิ์-WHA ธรรมศาสตร์”

ผู้สื่อข่าว “ประชาชาติธุรกิจ” รายงานว่า เมื่อวันที่ 11 ธ.ค. 2561 การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดซองที่ 3 ข้อเสนอราคางานประมูลก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูง 3 สนามบิน ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา ระยะทาง 220 กม. วงเงินลงทุน 224,544 ล้านบาท ของเอกชน 2 กลุ่มผ่านการพิจารณาซองที่ 2 ข้อเสนอด้านเทคนิค

เลขาฯอีอีซีร่วมเป็นสักขีพยาน

ประกอบด้วย

1.กิจการร่วมค้า บีเอสอาร์ ประกอบด้วย บมจ.บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์, บมจ.ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น, บมจ.ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้งและ

2.กิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร ประกอบด้วย บจ.เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด, บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์, บจ.ไชน่าเรลเวย์ คอนสตรัคชั่น คอปอร์เรชั่น (CRCC), บมจ.ช.การช่าง และ บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM) โดยมี นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) ร่วมเป็นสักขีพยานด้วย

รถไฟรอต่อรองราคา

นายวรวุฒิ มาลา รักษาการผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย ในฐานะประธานคณะกรรมการคัดเลือก กล่าวว่า คณะกรรมการได้เปิดซองราคาแล้ว โดยให้ทั้ง 2 ฝ่ายตรวจสอบราคาว่าถูกต้องหรือไม่ และเพื่อความโปร่งใส ให้ทั้ง 2 ฝ่ายแลกเอกชนตรวจสอบและดูราคาของแต่ละฝ่ายกันแล้ว แต่มีข้อตกร่วมกันจะยังไม่สามารถเปิดเผยราคาได้ จนกว่าที่ปรึกษาจะทำการตรวจสอบเอกสารราคาจนครบถ้วนเรียบร้อย คาดว่าจะสามารถประกาศผลราคาที่แน่นอนได้ภายในวันที่ 14 ธ.ค.นี้ จากนั้นก่อนจะประกาศผลผู้ชนะจะเจรจาต่อรองกันก่อน คาดว่าจะสามารถประกาศผลการประมูลเสร็จได้ภายในเดือน ม.ค. 2562

รัฐอุดหนุนไม่เกิน 1.2 แสนล้าน

“ผู้ชนะคือผู้ที่ให้รัฐอุดหนุนค่าก่อสร้างน้อยที่สุด ซึ่งคณะรัฐมนตรีอนุมัติกรอบไว้ที่ 119,425.75 ล้านบาท ซึ่งทั้ง 2 กลุ่มเสนอราคาไม่เกินจากกรอบนี้อย่างแน่นอน แต่ไม่สามารถบอกได้ว่าใครเสนอเท่าไหร่ และมีความเป็นไปได้น้อยมากที่จะเสนอราคาเท่ากัน อย่างไรก็ตาม หากรายใดเสนอราคามาดี แต่ถ้าคำนวณผลผิด สุดท้ายก็อาจจะเป็นผู้แพ้ก็ได้”

นายวรวุฒิกล่าวว่า สำหรับซองที่ 3 เป็นข้อเสนอด้านการลงทุนและผลตอบแทน จะพิจารณา 8 ด้าน ได้แก่ 1.บัญชีปริมาณงาน รวมภาษีอากร ค่าธรรมเนียม และค่าใช้จ่ายทั้งหมด 2.แผนธุรกิจในการดำเนินโครงการ 3.แผนการเงิน 4.การจัดหาแหล่งเงินทุนที่ใช้ในการดำเนินโครงการ 5.ทรัพย์สินที่ใช้ในการดำเนินโครงการและกรรมสิทธิ์ของทรัพย์สินดังกล่าว

6.การคำนวณผลตอบแทนทางการเงินของโครงการตลอดอายุของสัญญาร่วมทุน 50 ปี 7.การคำนวณผลประโยชน์ที่ภาครัฐจะได้รับและการขอรับเงินที่รัฐร่วมลงทุนในโครงการ และ 8.อัตราค่าโดยสาร ขณะที่ซองที่ 4 ข้อเสนออื่น ๆ ของผู้ชนะ ทางคณะกรรมการจะนำมาพิจารณาหรือไม่ก็ได้

กลุ่ม ซี.พี.เต็งจ๋า

รายงานข่าวแจ้งว่า มีความเป็นไปได้สูงที่กลุ่ม ซี.พี.จะเป็นผู้ชนะประมูลรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน เนื่องจากมีความพร้อมทั้งด้านการก่อสร้างที่มีอิตาเลียนไทย ช.การช่าง และ CRCC ยักษ์รับเหมาจากจีนเป็นผู้ก่อสร้างให้ ส่วนการเงินก็ใช้แหล่งเงินกู้จากหลายแห่งร่วม 10 แห่ง ได้แก่ Japan Overseas Infrastructure Investment Corporation for Transport and Urban Development (JOIN) จากประเทศญี่ปุ่น, ธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (เจบิก), ธนาคาร ICBC จากประเทศจีน และสถาบันการเงินในประเทศอีก 4-5 ราย

ส่วนการบริหารโครงการยังได้ บริษัท Ferrovie dello Stato Italiane หรือ FS จากอิตาลี มีรัฐบาลถือหุ้น 100% มีความเชี่ยวชาญด้านบริหาร บำรุงรักษาระบบรางและรถไฟความเร็วสูงมายาวนาน อาจจะช่วยเลือกระบบและบริหารต้นทุนโครงการได้

ขณะที่ตัวระบบและขบวนรถ มีซัพพลายเออร์หลายรายให้เลือก ทั้งเอเชียและยุโรป ไม่ว่าซีเมนส์จากเยอรมนี, ฮุนได โรเทม จากเกาหลี ที่ได้ไลเซนส์อัลสตรอมของฝรั่งเศส, ทาลาสผู้ผลิตระบบจากฝรั่งเศส และ CRRC รัฐวิสาหกิจและผู้ผลิตระบบรถไฟฟ้ารายใหญ่ของจีนที่สนใจร่วมติดตั้งและผลิตขบวนรถให้

นอกจากนี้ ทาง ซี.พี.ยังมีที่ดินจำนวนมากหลาย 10,000 ไร่ ในแนวเส้นทาง เช่น ฉะเชิงเทรา จะสามารถนำมาพัฒนาเชิงพาณิชย์หรือพัฒนาโครงการเพื่อต่อยอดกับโครงการได้ นอกจากที่ดินสถานีมักกะสัน 150 ไร่ และศรีราชา 25 ไร่ ดังนั้น จึงเป็นไปได้ว่าทางกลุ่ม ซี.พี.อาจจะให้รัฐอุดหนุนไม่มากก็ได้ ขณะที่บีทีเอสมีประสบการณ์ด้านการเดินรถไฟฟ้ามานาน จะลดต้นทุนตรงนี้ได้ แต่ไม่มีที่ดินจำนวนมากที่จะนำมาพัฒนาเชิงพาณิชย์ต่อยอดโครงการได้ ซึ่งโครงการรถไฟความเร็วสูงจะประสบความสำเร็จเหมือนกับโมเดลต่างประเทศจะต้องมีรายได้จากเชิงพาณิชย์ด้วยถึงจะอยู่ได้

ให้รัฐอุดหนุนปีละ 2 หมื่นล้าน

“ทั้ง ซี.พี.และบีทีเอสเสนอให้รัฐอุดหนุนไม่เกินกรอบ 119,425 ล้านบาท แต่เมื่อรวมดอกเบี้ย 10 ปี น่าจะเกิน 1.2 แสนล้านบาท ทั้งนี้ อยู่ที่การเจรจาจะต่อรองได้อีกหรือไม่ เพราะรัฐจะต้องจ่ายคืนให้เอกชนในระยะเวลา 10 ปี ในวงเงินที่เท่ากัน นับจากเปิดบริการ ซึ่งหากใครสามารถหาแหล่งเงินที่อัตราดอกเบี้ยต่ำและให้รัฐจ่ายไม่เกินปีละ 20,000 ล้านบาท จะเป็นผู้ชนะไป”

นายภาคภูมิ ศรีชำนิ กรรมการผู้จัดการ บมจ.ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น ตัวแทนกลุ่มบีทีเอสอาร์ กล่าวว่า ไม่สามารถจะบอกผลชนะได้ ต้องรอคณะกรรมการพิจารณาอย่างเป็นทางการก่อน อย่างไรก็ตาม ทางกลุ่มบีเอสอาร์ก็ทุ่มเทให้กับโครงการนี้มาอย่างเต็มที่ และมีความพร้อมทั้งด้านก่อสร้างและการเงิน ถึงสุดท้ายจะไม่เป็นผู้ชนะก็ตาม

ด้านแหล่งข่าวจาก กลุ่ม ซี.พี.กล่าวว่า การเสนอราคาอยู่ในวงเงินที่ทั้งรัฐและเอกชนรับได้

ตั้งเขตส่งเสริมพิเศษเพิ่ม 4 แห่ง

นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวในฐานะประธานการประชุมคณะกรรมการเฉพาะกิจเพื่อบริหารการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ว่า ที่ประชุมเสนอให้ตั้งเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ 4 แห่ง ประกอบด้วย เขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ “เพื่อกิจการอุตสาหกรรม” 3 แห่ง คือ เขตส่งเสริมฯ Toyota อ.บ้านโพธิ์ จ.ฉะเชิงเทรา พื้นที่ 1,640 ไร่ รองรับการลงทุนอุตสาหกรรมยานยนต์อนาคต เงินลงทุน 1,000 ล้านบาท, เขตส่งเสริมฯ Toyota เกตเวย์ จ.ฉะเชิงเทรา พื้นที่ 625 ไร่ รองรับการลงทุนอุตสาหกรรมยานยนต์อนาคต เงินลงทุน 20,000 ล้านบาท เขตส่งเสริมฯพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ อ.บางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา เสนอโดย บมจ.ดับบลิวเอชเอ คอร์ปอเรชั่น พื้นที่ 232 ไร่ รองรับการลงทุนอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ ดิจิทัล โลจิสติกส์ เงินลงทุน 13,480 ล้านบาท สิทธิประโยชน์ลดหย่อนภาษี 50% เป็นเวลา 5 ปี เขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ “เพื่อกิจการพิเศษ” อีก 1 แห่ง คือ เขตส่งเสริมฯ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จ.ชลบุรี หรือการแพทย์ครบวงจรธรรมศาสตร์ (EECmd) พื้นที่ 566 ไร่ เพื่อตั้งเป็นศูนย์นวัตกรรมด้านการแพทย์ ยานยนต์ และดิจิทัล เงินลงทุน 8,000 ล้านบาท สิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีรายได้นิติบุคคลเพิ่ม 2 ปีจากปกติ แต่ไม่เกิน 13 ปี ลดหย่อนภาษี 50% 5 ปี

วันที่ 23 ม.ค. 2562 เตรียมนำเสนอตั้งเขตส่งเสริมฯ และจัดตั้งกองทุนพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก 1,000 ล้านบาท ให้ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก(บอร์ด EEC) ซึ่งมีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน เพื่อพิจารณาเห็นชอบ

สรุปผลขายทีโออาร์ EEC

นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการ คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) กล่าวว่า การประชุมครั้งนี้ได้รายงานภาพรวมการดำเนินงานในพื้นที่ EEC ตลอดปี 2561 ซึ่ง 4 โครงการ (project list) ได้ขายซอง TOR ให้เอกชนแล้ว ได้แก่ โครงการสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก เอกชนซื้อซอง 42 ราย, โครงการท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 เอกชนซื้อซอง 32 ราย, โครงการท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะที่ 3 เอกชนซื้อซอง 18 ราย และโครงการศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยานอู่ตะเภา (MRO) ได้ประกาศรายละเอียดท่าเกี่ยวข้องกับการคัดเลือกเอกชน โดยไม่ใช้วิธีการประมูล และวันที่ 13 พ.ย.ที่ผ่านมาให้เอกชนที่จะได้รับการคัดเลือกส่งเอกสารกลับมาภายในกลางเดือน ก.พ. 2562

ส่วนเขตนวัตกรรมเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EECi) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กำหนดแผนแม่บทการพัฒนา EECi โดยจะเน้นการเกษตรแปรรูป การเพิ่มมูลค่าผลิตผลการเกษตรเชื่อมโยงไปสู่การวิจัยพัฒนาอุตสาหกรรมเคมีชีวภาพ โดยใช้เทคโนโลยีขั้นสูงและนวัตกรรมใหม่ ๆ เป็นกลไกพัฒนา ระยะเวลา 20 ปี เงินลงทุนภาครัฐ 33,170 ล้านบาท คาดจะเกิดการลงทุนภาคเอกชน 110,000 ล้านบาท เกิดผลหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจโดยรวม 271,000 ล้านบาท

ขณะที่กรมโยธาธิการและผังเมืองเตรียมความพร้อมด้านกายภาพ ปรับปรุงแก้ไขผังเมืองรองรับการพัฒนา EECi มีการออกแบบโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภค คาดจะเริ่มก่อสร้างภายในเดือน ม.ค. 2562 รวมทั้งศึกษาและวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ปรับปรุงระบบโครงข่ายคมนาคมในพื้นที่ พัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวและปรับปรุงภูมิทัศน์ การสนับสนุนยุทธศาสตร์โลจิสติกส์และคมนาคมทั่วไป เพื่อแก้ปัญหาการจราจรติดขัดและรองรับการขยายเมืองต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 13/12/2018 7:55 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
“อาคม” ลงพื้นที่ตรวจความคืบหน้าสร้างโครงการรถไฟไทย-จีน
เศรษฐกิจ
วันอังคาร ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2561, 15.53 น.



ออกแบบ800ล.ไฮสปีด"โคราช-หนองคาย"
อังคารที่ 11 ธันวาคม 2561 เวลา 17.44 น.

//--------------------------------

“อาคม” มั่นใจปี 64 รถไฟทางคู่ถึงหนองคาย ส่วนความเร็วสูงร่นเวลาวิ่ง กทม.-หนองคายเหลือแค่ 3 ชม.
หน้าภูมิภาค - ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: อังคารที่ 11 ธันวาคม 2561 เวลา 20:23
ปรับปรุง: พุธที่ 12 ธันวาคม 2561 เวลา 06:38


ครม.รับทราบรถไฟเชื่อมหนองคาย - เร่งชงสศช.เคาะทางคู่เฟส2
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 13 ธันวาคม 2561 เวลา 17:49



ประชุมครม.ร่วมไทย-ลาว 13-14 ธ.ค. เล็งศึกษาสร้างสะพานรถไฟข้ามน้ำโขงเชื่อม ’รถไฟความเร็วสูง’ ลาว-จีน
วันที่ 12 ธันวาคม 2561 - 19:10 น
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 13/12/2018 9:58 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
ซื้อเวลาหาผู้ชนะไฮสปีดเทรนเชื่อม3สนามบิน ซีพีตัวเต็ง เฉือนBTSเฉียดฉิว!
พร็อพเพอร์ตี้
วันที่ 13 ธันวาคม 2561 เวลา 16:21 น.



'บีทีเอส' มาแรง! ลุ้นคว้าไฮสปีดเทรน
ออนไลน์เมื่อ 13 ธันวาคม 2561
ตีพิมพ์ใน หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,426 วันที่ 13 - 15 ธันวาคม 2561 หน้า 02

เข้าโค้งสุดท้ายประมูลโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน วงเงิน 2.15 แสนล้านบาท เมกะโปรเจ็กต์ที่ถูกจับตามองมากที่สุด เพราะเป็นการสัประยุทธ์ระหว่าง 2 กิจการร่วมค้าที่มีทุนยักษ์ระดับประเทศและต่างชาติมารวมตัวกัน ก็คือ กิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ ที่มีบริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน), บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) และบริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรี โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) อีกกลุ่มหนึ่ง คือ กิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้งส์ จำกัด และพันธมิตร ซึ่งประกอบด้วย บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน), ไชน่า เรลเวย์ คอนสตรัคชั่น คอร์ปอเรชั่น (สาธารณรัฐประชาชนจีน), บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) และบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน)

สำหรับโครงการประมูลนี้ การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เจ้าภาพเริ่มเปิดขายเอกสารการคัดเลือกเอกชน เบื้องต้น เมื่อวันที่ 18 มิ.ย. - 9 ก.ค. 2561 โดยมีบริษัทที่ให้ความสนใจเข้าซื้อเอกสารถึง 31 ราย หลังจากนั้นได้จัดให้มีการประชุมชี้แจง เพื่อทำความเข้าใจไปเมื่อวันที่ 23-24 ก.ค. 2561 และกำหนดรับซองข้อเสนอราคาเมื่อวันที่ 12 พ.ย. 2561 ล่าสุด วันที่ 11 ธ.ค. ที่ผ่านมา ผ่านเข้าสู่วาระการประเมินซองข้อเสนอเอกชน (ซองราคา) โดย ร.ฟ.ท. เชิญ 2 กลุ่ม เข้าร่วมรับฟังการประเมินด้วย



วรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย


ภายหลังพิธีการประเมินซอง นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย เปิดเผยความคืบหน้าว่า ได้มีการเปิดซองที่ 3 ด้านราคา เป็นไปอย่างเรียบร้อย ไม่มีการร้องเรียน

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ยังไม่ทราบผลประมูล เนื่องจากต้องนำรายละเอียดตัวเลขที่ทั้ง 2 กิจการร่วมค้า ได้เสนอนำกลับไปพิจารณาในรายละเอียด คาดว่าจะประกาศผลที่แน่ชัดภายใน 7 วัน ก่อนเจรจากับผู้ชระโครงการให้จบภายในเดือนนี้ เพื่อเสนอผลการคัดเลือกเอกชนเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ภายในช่วงกลางเดือน ม.ค. ปี 2562 ก่อนลงนามสัญญาตามเป้าหมายช่วงปลายเดือนเดียวกัน

"ตัวชี้วัดสำคัญที่จะตัดสินผลประมูลนั้นจะอยู่ที่ 1.การเสนอขอรับเงินอุดหนุนจากรัฐบาลน้อยที่สุด โดยห้ามเกิน 1.2 แสนล้านบาท 2.การเสนอผลตอบแทนตลอดโครงการให้รัฐบาลมากที่สุด โดยจะดูที่ตัวเลขบรรทัดสุดท้าย (Net Value) ดังนั้น ฝ่ายไหนเสนอตัวเลขดังกล่าวได้ดีที่สุดจะเป็นผู้ชนะโครงการไป" นายวรวุฒิ กล่าวย้ำ

ด้าน แหล่งข่าวการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า การเปิดซองราคาโครงการรถไฟความเร็วสูงในครั้งนี้ บริษัทที่เสนอราคาดีที่สุด ได้แก่ กิจการร่วมค้า บีเอสอาร์ (BSR Joint Venture) ซึ่งทางฝ่ายผู้บริหารเอกชนดังกล่าวก็ได้แสดงความมั่นใจ พร้อมกล่าวด้วยว่า ผลการประมูลครั้งนี้จะมีแต่ข่าวดี ไม่มีข่าวร้าย
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 15/12/2018 4:09 am    Post subject: Reply with quote

ถกมาราธอน 9 ชั่วโมง รฟท.ประกาศ 'ซีพี' คว้าไฮสปีด

14 ธันวาคม 2561

บอร์ดไฮสปีด 3 สนามบิน ถกมาราธอนกว่า 9 ชั่วโมง ก่อนตัดสินให้ “ซีพี” ชนะประมูล เหตุเสนอราคาต่ำสุด


นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยภายหลังประชุมคณะกรรมการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูงว่า หลังจาก รฟท.เปิดซอง 3 (ด้านการเงิน) เมื่อวันที่ 11 ธ.ค.ที่ผ่านมา พบว่ากลุ่มกิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร เป็นผู้เสนอราคาต่ำสุด โดยต่ำกว่าเกณฑ์ข้อกำหนดตามเอกสารประกวดราคา (ทีโออาร์) ส่วนของเงินอุดหนุนรัฐตามที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) กำหนดไว้ไม่เกิน 1.19 แสนล้านบาท

“ยังไม่สามารถบอกวงเงินที่ซีพีเสนอได้ เพราะต้องพิจารณาข้อมูลความเชื่อมโยง วันนี้จึงได้เชิญมาตรวจสอบตัวเลขบางตัว ซึ่งทางซีพีเข้าร่วมชี้แจง แต่จะให้คำตอบข้อมูลที่ รฟท.ยื่นขอไปในสัปดาห์หน้า ดังนั้นจึงจะมีการประชุมอีกครั้งในสัปดาห์หน้า ส่วนราคาที่ซีพีเสนอมานั้นต่ำเป็นไปตามข่าว”

รายงานข่าวระบุว่า การเปิดซอง 3 เมื่อวันที่ 11 ธ.ค.ที่ผ่านมา การเปิดซองพบว่า กลุ่มซีพีเสนอค่าก่อสร้างที่ให้รัฐอุดหนุนต่ำกว่าผู้ประมูลอีกรายประมาณ 1 แสนล้านบาท

สำหรับ การประชุมคณะกรรมการคัดเลือกฯ วันนี้ (14 ธ.ค.) หารือเพื่อพิจารณาส่วนประกอบของซอง 3 ซึ่งประกอบด้วย 8 ด้าน คือ 1.บัญชีปริมาณงาน 2.แผนธุรกิจในการดำเนินโครงการ 3.แผนการเงิน 4.การจัดหาแหล่งเงินทุนที่ใช้ในการดำเนินโครงการ 5.ทรัพย์สินที่ใช้ในการดำเนินโครงการและกรรมสิทธิ์ของทรัพย์สิน 6.ผลตอบแทนทางการเงินของโครงการตลอดอายุของสัญญาร่วมลงทุน 7.จำนวนเงินที่ขอรับการสนับสนุนจากรัฐและจำนวนเงินที่รัฐได้รับจากเอกชน 8.การกำหนดอัตราค่าโดยสาร โดยทั้ง 8 ข้อ ต้องเชื่อมโยงกัน เพื่อแสดงถึงความเป็นไปได้ และความเหมาะสมของการพัฒนาโครงการ

ส่วนบรรยากาศการประชุมคณะกรรมการฯ เป็นไปอย่างตึงเครียด เริ่มการประชุมตั้งแต่เวลา 11.00 น. จนถึงเวลา 20.00 น. รวม 9 ชั่วโมง โดยมีนายวรวุฒิ มาลา ผู้แทนหน่วยงานเจ้าของโครงการ เป็นประธานกรรมการ และประกอบไปด้วย ผู้แทนสำนักงบประมาณ ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) ผู้แทนสำนักงานอัยการสูงสุด และผู้ทรงคุณวุฒิไม่เกิน 4 คน เป็นกรรมการ

นอกจากนี้ ระหว่างการประชุมคณะกรรมการคัดเลือกฯ เวลาประมาณ เวลา 18.44 น. พบตัวแทนของกลุ่มซีพี คือ นายพรเจริญ ธนานาถ และนายพิรุณห์ วัชรามนตรี เข้าร่วมในห้องประชุม หลังจากนั้นเวลาประมาณ 19.15 น. นายนพปฎล เดชอุดม รองประธาน สำนักบริหารความยั่งยืน ธรรมาภิบาลและสื่อสารองค์กร เครือเจริญโภคภัณฑ์ ได้เดินทางมาเข้าร่วมที่ประชุม


สำหรับโครงการไฮสปีดเทรนเชื่อม 3 สนามบิน มีมูลค่าการลงทุนรวม 2.2 แสนล้านบาท แบ่งออกเป็นการลงทุนเริ่มต้นในระบบขนส่งทางรถไฟ 1.68 แสนล้านบาท การพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟ 4.51 หมื่นล้านบาท และสิทธิการเดินรถไฟแอร์พอร์ตลิงก์ 1.06 หมื่นล้านบาท โดยเอกชนจะได้รับสัมปทานอายุ 50 ปี เป็นการออกแบบและก่อสร้างจำนวน 5 ปี และดำเนินการให้บริการอีก 45 ปี ขณะที่ผลการวิเคราะห์ผลตอบแทนทางด้านเศรษฐกิจตลอดทั้งโครงการประมาณ 7 แสนล้านบาท

โดยเอกชนผู้เสนอซองประมูลโครงการดังกล่าว มีจำนวน 2 ราย ประกอบด้วย 1. กิจการร่วมค้า บีเอสอาร์ (BSR Joint Venture) ประกอบด้วย บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) , บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) , บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน)

2.กิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร ประกอบด้วย บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด , บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) , China Railway Construction Corporation Limited (สาธารณรัฐประชาชนจีน) , บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน), บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44324
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 15/12/2018 3:19 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
ถกมาราธอน 9 ชั่วโมง รฟท.ประกาศ 'ซีพี' คว้าไฮสปีด

“ซีพี”ทุ่มสุดตัว คว้าสัมปทานรถไฟความเร็วสูง 3 สนามบิน 2.24 แสนล.
เผยแพร่: 15 ธ.ค. 2561 00:22 โดย: ผู้จัดการออนไลน์

รฟท.ถกเครียด ก่อนเคาะ “ซีพี” ชนะประมูลรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน มูลค่า 2.24 แสนล. คว้า สัมปทาน 50 ปี โดยเสนอขอรัฐอุดหนุนต่ำกว่า กลุ่มบีเอสอาร์ แต่“รฟท.”ยังอุบราคา เร่งเจรจาต่อรองเคลียร์ตัวเลขรอบสุดท้ายสัปดาห์หน้า

นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) เปิดเผยว่า การประชุมคณะกรรมการ พิจารณาการประกวดราคาโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา ระยะทาง 220 กม. มูลค่า 224,544.36 ล้านบาท ซึ่งได้มีการพิจารณา ประเมินซองข้อเสนอซองที่ 3(ด้านการเงิน) ของ กลุ่ม กิจการร่วมค้า บีเอสอาร์ (BSR Joint Venture) และ กิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัดหรือซีพี และพันธมิตร ซึ่งผ่านเกณฑ์คะแนนด้านเทคนิคมาแล้ว ซึ่งผลการเปิดซองด้านการเงิน ซึ่งมีกรอบวงเงินการร่วมลงทุนของรัฐกับเอกชนไม่เกิน 119,425.75 ล้านบาท พบว่า กลุ่มซีพี เสนอวงเงินที่ขอรับการสนับสนุนจากภาครัฐ น้อยกว่า กลุ่ม บีเอสอาร์

ดังนั้นเท่ากับ กลุ่มซีพี เป็นผู้ได้รับคัดเลือกเป็นอันดับ1 ซึ่งคณะกรรมการจะเรียกซีพี มาเจรจาต่อรองต่อไป อย่างไรภายในสัปดาห์หน้าทางซีพีและพันธมิตร จะต้องเข้ามาชี้แจงตัวเลขบางจุดที่คณะกรรมการสงสัย ให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 21 ธ.ค.นี้

“ตัวเลขที่ซีพีเสนอมานั้น ยังไม่สามารถเปิดเผยออกมาได้ เนื่องจากยังไม่เสร็จสิ้นกระบวนการพิจารณา โดยภายในสัปดาห์หน้าจะทราบผู้ชนะอย่างเป็นทางการ ก่อนที่จะเข้าสู่กระบวนการเจรจาต่อรองเงื่อนไขในซองที่4 ในสัปดาห์ถัดไป”

สำหรับการพิจารณา ข้อเสนอด้านการเงินนั้น มีเอกสาร 8 ฉบับได้แก่ เรื่องการเงิน บัญชีปริมาณงาน แผนธุรกิจในการดำเนินการโครงการ แผนการเงิน การจัดหาแหล่งเงินทุนที่ใช้ดำเนินโครงการ ทรัพย์สินที่ใช้ดำเนินโครงการ และกรรมสิทธิ์ของทรัพท์สิน แบบฟอร์มผลตอบแทนทางการเงินของโครงการตลอดอายุของสัญญาร่วมลงทุน แบบฟอร์มจำนวนเงินที่ขอรับการสนับสนุนจากรัฐ และจำนวนเงินที่รัฐได้เอกชน อัตราค่าโดยสาร

โดยคณะกรรมการพิจารณาผลฯ ได้เริ่มการประชุมตั้งแต่เวลา 11.00 น. จนถึงเวลา 20.00 น. รวม 9 ชั่วโมง โดยบรรยากาศค่อนข้างตึงเครียด มีผู้แทนจากบริษัทซีพี เข้าร่วมประชุมในช่วงค่ำ ก่อนที่คณะกรรมการฯจะสรุปผลเบื้องต้น

สำหรับมูลค่าโครงการที่ 224,544.36 ล้านบาทนั้น ประกอบด้วยค่าลงทุนรถไฟฟ้าเชื่อม 3 สนามบิน 168,718 ล้านบาท ค่าลงทุนแอร์พอร์ตลิงก์ ในส่วนค่าระบบอาณัติสัญญาและล้อเลื่อน 10,671.09 ล้านบาท โดยรัฐจะรับภาระโครงสร้างพื้นฐานแอร์พอร์ต เรลลิงก์ 22,558.06 ล้านบาทเอง นอกจากนี้ จะมีค่าพัฒนาที่ดิน (TOD) การพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟ บริเวณสถานีมักกะสัน 150 ไร่ และสถานีศรีราชา 25 ไร่อีกประมาณ 45,155.27ล้านบาท

โดยหลังจากเจรจา กับผู้เสนอราคาต่ำสุด เรียบร้อย ขั้นตอนสุดท้ายจะร่างสัญญาโครงการ ส่งให้สำนักงานอัยการสูงสุดตรวจสอบรายละเอียดอีกครั้ง คาดว่าสามารถประกาศผลการประมูลเสร็จได้ภายในต้นเดือนม.ค. 62 เสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.) ภายในกลางเดือนม.ค.62และจะลงนามสัญญาได้ภายใน 31 ม.ค.62 นี้
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44324
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 15/12/2018 7:29 pm    Post subject: Reply with quote

รฟท.ยื้อต่อรองรถไฟเร็วสูง
โพสต์ทูเดย์ วันที่ 15 ธ.ค. 2561 เวลา 08:15 น.

รฟท.ยันซีพีเสนอราคาต่ำกว่า แต่ผ่านซอง 3 ทั้งคู่ เตรียมเรียกเจรจาเปิดซอง 4 เทคนิค

นายวรวุฒิ มาลา ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยความคืบหน้าการประมูลโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน วงเงิน 2.15 แสนล้านบาท ว่า ภายหลังจากคณะกรรมการคัดเลือกได้พิจารณาผลการเปิดซองที่ 3 ด้านราคาของโครงการโดยพิจารณาตัวเลขสำคัญ คือ 1.การเสนอขอรับเงินอุดหนุนจากรัฐบาลน้อยที่สุด โดยห้ามเกิน 1.2 แสนล้านบาท 2.การเสนอผลตอบแทนตลอดโครงการให้รัฐบาลมากที่สุด ซึ่งขณะนี้ยังสรุปไม่ได้

อย่างไรก็ตาม ในเบื้องต้นพบว่าเอกชนทั้งสองเจ้า คือ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์ โฮลดิ้ง และพันธมิตร และกิจการร่วมค้า บีเอสอาร์ (BSR Joint Venture) คาดว่าจะผ่านคุณสมบัติซองที่ 3 ทั้งสองราย แต่ทว่าฝ่ายซีพีได้เสนอตัวเลขการขอรับค่าชดเชยและเงื่อนไขเรื่องผลตอบแทนได้ดีกว่าทางฝ่ายบีทีเอส ดังนั้นหลังจากนี้จะเร่งสรุปกลับไปทบทวนก่อนว่าตัวเลขบรรทัดสุดท้ายจะเป็นอย่างไร

นายวรวุฒิ กล่าวต่อว่า หลังจากนี้จะมีการเชิญเอกชนทั้งสองเจ้าเข้ายื่นซองประมูลที่ 4 เป็นซองด้านเทคนิคเพื่อเป็นข้อมูลประกอบการคัดเลือกเป็นลำดับ ต่อไป โดยจะเชิญเอกชนที่เสนอตัวเลขของซองที่ 3 ดีกว่าเข้าเจรจาเงื่อนไขเทคนิคก่อน หากเจรจาจบจะคัดเลือกทันที แต่ถ้าหากเจรจากับรายแรกไม่จบจะเชิญผู้ได้คะแนนต่ำกว่าอีกรายเข้าเจรจาเงื่อนไขโครงการ

"สำหรับสาเหตุที่ รฟท.ยังไม่ตัดสินผลแพ้ชนะกันที่ซอง 3 นั้น เพราะหากคัดทิ้งเอกชนเพื่อเจรจาเพียงรายเดียว หากมีข้อผิดพลาดเจรจาไม่จบทำให้ยืดเยื้อ อาจต้องพับโครงการเพื่อร่างทีโออาร์และเปิดประมูลใหม่ ทำให้เสียเวลามาก ดังนั้นการมีเอกชนอีกเจ้าเป็นคู่เจรจาแข่งขัน จะทำให้การเจรจาเป็นไปได้ง่ายขึ้น" นายวรวุฒิ กล่าว
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 17/12/2018 2:25 am    Post subject: Reply with quote

ร.ฟ.ท.ยันซีพียังไม่ชนะประมูลไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน แม้เสนอราคาต่ำสุด
พร็อพเพอร์ตี้

วันเสาร์ที่ 15 ธันวาคม 2561 เวลา 19:16 น.

นายวรวุฒิ มาลา รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) กล่าวว่า ร.ฟ.ท.ยังไม่ระบุว่า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด (ซีพี) โดยกิจการร่วมค้าของซีพี เป็นผู้ชนะการประมูลโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ และอู่ตะเภา) แม้ว่าซีพีจะยื่นข้อเสนอราคาต่ำสุดมาก็ตาม เนื่องจากคณะกรรมการฯต้องพิสูจน์ตัวเลขที่เสนอมาว่าคำนวณอย่างไร ทำได้จริงไหม มีที่มาที่ไปของตัวเลขอย่างไร



ทั้งนี้จะเชิญซีพีมาหารือถึงตัวเลขที่เสนอราคามาช่วงสัปดาห์หน้า แต่ถ้าพิสูจน์ตัวเลขกันแล้วไม่มีปัญหาจะเชิญซีพีมาเปิดซองที่ 4 เกี่ยวกับเงื่อนไขพิเศษและเจรจาต่อรองต่อไป

“ขั้นตอนการประมูลยังไม่จบ แม้ซีพีเสนอราคามาต่ำที่สุด แต่ยังมีรายละเอียดที่ต้องพิจารณา เช่นตัวเลขที่ซีพีเสนอมาต้องดูว่าสามารถทำได้จริงหรือไม่ เพราะถ้าดำเนินโครงการมีปัญหา อาจสร้างผลกระทบในภาพรวมได้ จะเชิญรายที่ 2 มาเปิดซองที่ 4 แทน” นายวรวุฒิกล่าว

เร่งปิดดีลไฮสปีด CP จ่ายเพิ่มหมื่นล้าน
พร็อพเพอร์ตี้

วันเสาร์ที่ 15 ธันวาคม 2561 เวลา 21:55 น.

คณะกรรมการร่วมทุนเร่งปิดดีลไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน 2.24 แสนล้าน ซี.พี.แบเบอร์ ทิ้งห่างเจ้าพ่อบีทีเอส 8.9 หมื่นล้าน ขอรัฐอุดหนุนไม่ถึง 1.19 แสนล้าน ใจป้ำจ่ายผลตอบแทนให้อีก 1 หมื่นล้าน จับตาโยกสถานีเข้าที่ดินเมืองใหม่แปดริ้ว ร.ฟ.ท.คาดเซ็นสัญญาเดือน ม.ค. 62

ผู้สื่อข่าว “ประชาชาติธุรกิจ” รายงานว่า หลังจากเมื่อวันที่ 3 ธ.ค. 2561 การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ได้มีการเปิดซองที่ 3 ข้อเสนอด้านราคางานประมูลก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา ระยะทาง 220 กม.วงเงินลงทุน 224,544 ล้านบาท ของกิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ ประกอบด้วย บมจ.บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์, บมจ.ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น, บมจ.ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้งและกิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร ประกอบด้วย บจ.เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด, บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์, บจ.ไชน่าเรลเวย์ คอนสตรัคชั่น คอปอร์เรชั่น (CRCC), บมจ.ช.การช่าง และ บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM)

กรรมการร่วมทุนเจียระไนราคา

สำหรับซองที่ 3 เป็นข้อเสนอด้านการลงทุนและผลตอบแทน จะพิจารณา 8 ด้าน ได้แก่ 1.บัญชีปริมาณงาน รวมภาษีอากร ค่าธรรมเนียม และค่าใช้จ่ายทั้งหมด 2.แผนธุรกิจในการดำเนินโครงการ 3.แผนการเงิน 4.การจัดหาแหล่งเงินทุนที่ใช้ในการดำเนินโครงการ 5.ทรัพย์สินที่ใช้ในการดำเนินโครงการและกรรมสิทธิ์ของทรัพย์สินดังกล่าว

6.การคำนวณผลตอบแทนทางการเงินของโครงการตลอดอายุของสัญญาร่วมทุน 50 ปี 7.การคำนวณผลประโยชน์ที่ภาครัฐจะได้รับและการขอรับเงินที่รัฐร่วมลงทุนในโครงการ และ 8.อัตราค่าโดยสาร

ล่าสุด เมื่อวันที่ 14 ธ.ค. 2561 คณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 35 ตาม พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ 2556 มีนายวรวุฒิ มาลา รักษาการผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เป็นประธาน ได้ประชุมพิจารณาราคาของทั้ง 2 กลุ่มเพื่อสรุปผลผู้ชนะประมูล เพื่อนำไปสู่การเจรจาต่อรองต่อไป โดยจะให้ได้ข้อสรุปและเซ็นสัญญาภายในเดือน ม.ค. 2562

โดยที่ประชุมมีนายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาฯคณะกรรมการ นโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก(EEC) เข้าร่วมประชุมด้วย ซึ่งนายคณิศกล่าวสั้น ๆ ว่า “วันนี้ยังไงการพิจารณาจะต้องจบ”



รายงานข่าวแจ้งว่า การพิจารณาข้อเสนอด้านการเงินจะต้องนำ “จำนวนเงินที่ขอรับการสนับสนุนจากรัฐ” ซึ่งมีกรอบวงเงินตามที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้อนุมัติไว้สูงสุดที่ 119,425 ล้านบาท กับ “จำนวนเงินที่รัฐได้รับจากเอกชน” มาคำนวณเพื่อให้ได้เป็น “จำนวนเงินที่รัฐร่วมลงทุนในโครงการ” กลุ่มใดที่มีตัวเลขออกมาน้อยที่สุดจะเป็นผู้ชนะในโครงการนี้ไป ซึ่งจากผลสรุปโดยรวมทางกลุ่ม ซี.พี.ขอรัฐสนับสนุนน้อยกว่ากลุ่มบีทีเอส

ซี.พี.เฉือนบีทีเอส 8.9 หมื่นล้าน

“ผลต่างโดยรวมของทั้งกลุ่มบีทีเอสกับกลุ่ม ซี.พี.คิดเป็นวงเงินในอนาคต 10 ปี ห่างกันกว่า 89,000 ล้านบาท แต่เมื่อคำนวณทอนกลับมาเป็นมูลค่าปัจจุบันคาดว่าไม่ถึง 50,000 ล้านบาทโดยกลุ่ม ซี.พี.ขอรับการสนับสนุนจากรัฐไม่ถึง 119,425 ล้านบาท แบ่งจ่าย 10 ปี เฉลี่ยปีละ 10,000 ล้านบาท ตั้งแต่ปีที่ 6-15 ส่วนกลุ่มบีทีเอสขอเงินสนับสนุนจากรัฐเกินจากกรอบวงเงินที่ ครม.อนุมัติอยู่มากพอสมควร เนื่องจากมีต้นทุนการเงินสูง เช่น ดอกเบี้ยจะสูงกว่ากลุ่ม ซี.พี.”

โดยกลุ่มซี.พี.ใช้แหล่งเงินทุนทั้งจากรัฐบาลญี่ปุ่น จีน และไทย ร่วม 10 แห่ง ที่พร้อมซัพพอร์ตเงินกู้ในอัตราดอกเบี้ยต่ำ ได้แก่ Japan Overseas Infrastructure Investment Corporation for Transport and Urban Development (JOIN) จากประเทศญี่ปุ่น, องค์กรเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (ไจก้า), ธนาคาร ICBC จากประเทศจีน และสถาบันการเงินในประเทศอีก 4-5 ราย

จ่ายผลตอบแทนเพิ่มเฉียดหมื่น ล.

รายงานข่าวกล่าวอีกว่า นอกจากนี้ทางกลุ่ม ซี.พี.ยังจ่ายผลตอบแทนจากการพัฒนาเชิงพาณิชย์ (TOD) ของพื้นที่สถานีมักกะสัน 150 ไร่ และสถานีศรีราชา 25ไร่ ให้รัฐเพิ่มในระยะเวลา 10 ปี คิดเป็นเม็ดเงินเกือบ 10,000 ล้านบาท

นอกเหนือจากค่าเช่าที่ต้องจ่ายให้รัฐแล้วตลอดอายุสัมปทาน 50 ปี โดยสถานีมักกะสันอยู่ที่ 55,608 ล้านบาท และสถานีศรีราชา 530 ล้านบาท ขณะที่กลุ่มบีทีเอสเสนอแต่ค่าเช่าประมาณ 40,000-50,000 ล้านบาท แต่ไม่ได้เสนอผลตอบแทนให้รัฐ จึงทำให้เป็นจุดชี้ขาดที่ทำให้กลุ่มบีทีเอสแพ้เนื่องจากจะต้องมีการนำรายได้ส่วนนี้มาคิดด้วย แม้ว่าจะเป็นรายได้ไม่มากก็ตาม

โยกสถานีเข้าเมืองใหม่แปดริ้ว

“การที่กลุ่ม ซี.พี.เสนอขอเงินรัฐอุดหนุนน้อยกว่าบีทีเอส เพราะมีที่ดินในแนวเส้นทางที่สามารถนำมาพัฒนาต่อยอดโครงการได้ เช่น ฉะเชิงเทราที่มีอยู่เป็น 10,000 ไร่ อยู่ใกล้กับสถานีรถไฟความเร็วสูง ที่สามารถนำมาพัฒนาเป็นเมืองใหม่สร้างมูลค่าได้ เพราะในทีโออาร์เปิดช่องให้เอกชนที่มีที่ดินสามารถย้ายตำแหน่งสถานีได้ หากเกิดประโยชน์ต่อโครงการ ซึ่งทาง ซี.พี.สามารถย้ายสถานีที่จะสร้างใหม่ไปไว้บนที่ดินผืนดังกล่าวได้ นอกจากนี้ยังมีข้อเสนอพิเศษในซองที่ 4 ที่คาดว่า ซี.พี.เสนอเรื่องการพัฒนาเชิงพานิชย์และระบบฟีดเดอร์เชื่อมสถานีเพื่อสนับสนุนโครงการในอนาคต ซึ่งหากเป็นประโยชน์ทางคณะกรรมการจะนำมาพิจารณาเช่นกัน”

รายงานข่าวกล่าวอีกว่า สำหรับผลตอบแทนในระยะยาว ที่ผู้ชนะจะต้องแบ่งรายได้ให้รัฐนั้น ในทีโออาร์กำหนดไว้เป็นขั้นบันได ต่อเมื่อปริมาณผู้โดยสารเกินจากที่ประมาณการไว้ ด้านค่าโดยสารที่เป็น 1 ใน 8 ข้อที่นำมาพิจาราณาด้วยนั้น คาดว่าจะเสนอไม่เกินจากที่รัฐกำหนดไว้ คือ จากมักกะสัน-พัทยา ราคา 270 บาทต่อเที่ยว และจากมักกะสัน-อู่ตะเภา อยู่ที่ 330 บาทต่อเที่ยว

ซี.พี.แบ่งงานถ้วนหน้า

แหล่งข่าวจากกลุ่ม ซี.พี.กล่าวว่า ทางกลุ่มมีความพร้อมทั้งการก่อสร้าง แหล่งเงินทุนและความเชี่ยวชาญด้านการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ โดยทาง ซี.พี.จะเป็นผู้พัฒนาเชิงพาณิชย์และอสังหาริมทรัพย์ทั้งที่มักกะสัน ศรีราชาและที่ดินแปลงอื่น ๆ งานการก่อสร้างจะให้ บมจ.อิตาเลียนไทย ช.การช่าง และ CRCC เป็นผู้ก่อสร้าง

ส่วนการบริหารโครงการให้บริษัท Ferrovie dello Stato Italiane หรือ FS จากอิตาลี มีรัฐบาลถือหุ้น 100% มีความเชี่ยวชาญด้านบริหาร บำรุงรักษาระบบรางและรถไฟความเร็วสูงมายาวนาน คัดเลือกระบบและบริหารต้นทุนโครงการให้ ทั้งรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ที่จะต้องยกเครื่องใหม่และรถไฟความเร็วสูง โดยจะมี BEM มาช่วยดำเนินการ

ขณะที่ตัวระบบและขบวนรถ ทาง ซี.พี.มีซัพพลายเออร์หลายรายให้เลือก ทั้งเอเชียและยุโรป ไม่ว่าซีเมนส์จากเยอรมนี, ฮุนได โรเทม จากเกาหลี ที่ได้ไลเซนส์อัลสตรอมของฝรั่งเศส, ทาลาส ผู้ผลิตระบบจากฝรั่งเศส และ CRRC รัฐวิสาหกิจและผู้ผลิตระบบรถไฟฟ้ารายใหญ่ของจีนที่สนใจร่วมติดตั้งและผลิตขบวนรถให้ ทั้งนี้ คาดว่าจะใช้ระบบและรถของจีน

บิ๊ก BTS ยอมรับสู้เขาไม่ได้

นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการบริหาร บมจ.บีทีเอสกรุ๊ป โฮลดิ้งส์ (BTS) กล่าวว่า ไม่สามารถบอกข้อเสนอด้านการเงินได้ เนื่องจากมีข้อตกลงไว้ห้ามเอกชนทั้ง 2 กลุ่มเปิดเผยราคาต่อสาธารณะ ต้องรอฟังผลเป็นทางการจากคณะกรรมการการคัดเลือกที่จะประกาศผลเป็นทางการ หากผลออกมาว่า กลุ่มบีทีเอสไม่ชนะ เนื่องจากเราสู้เขาไม่ได้จริง ๆ โดยเฉพาะเรื่องการพัฒนาที่ดิน แต่ขอยืนยันว่า ข้อเสนอด้านการเงินเป็นสิ่งที่คำนวณบนพื้นฐานที่มีการอ้างอิงได้ ทั้งต้นทุนก่อสร้างและการเงิน


'ซีพี'ลุ้นขึ้นแท่นอันดับ1 คว้าประมูลรถไฟเชื่อม3สนามบิน
ศุกร์ที่ 14 ธันวาคม 2561 เวลา 20.50 น.


รฟท. เผย "ซีพี" ขึ้นแท่นอันดับ 1 คว้าประมูลรถไฟความเร็วสูง 3 สนามบิน โดยจะเรียกมาเจรจาต่อรองก่อน คาดสัปดาห์หน้าประกาศผลผู้ชนะอย่างเป็นทางการ

เมื่อเวลา 20.00 น. วันที่ 14 ธ.ค. ที่ห้องชั้น 3 ตึกบัญชาการรถไฟ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.)  นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการในตำแหน่งผู้ว่า รฟท.เปิดเผยภายหลังคณะกรรมการฯ ประเมินซองข้อเสนอเอกชนร่วมลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน ดอนเมือง – สุวรรณภูมิ – อู่ตะเภา งบประมาณ 2.15 แสนล้านบาท ซองที่ 3(ด้านการเงิน) ระหว่าง กลุ่มบริษัทที่เข้าร่วมยื่นเสนอราคา คือ กิจการร่วมค้า บีเอสอาร์ (BSR Joint Venture)  และ กิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัดหรือซีพี และพันธมิตรว่าจากการพิจารณา เอกสาร 8 ฉบับ อาทิ เรื่องการเงิน บัญชีปริมาณงาน แผนธุรกิจในการดำเนินการโครงการ แผนการเงิน การจัดหาแหล่งเงินทุนที่ใช้ดำเนินโครงการ ทรัพย์สินที่ใช้ดำเนินโครงการ และกรรมสิทธิ์ของทรัพท์สิน แบบฟอร์มผลตอบแทนทางการเงินของโครงการตลอดอายุของสัญญาร่วมลงทุน แบบฟอร์มจำนวนเงินที่ขอรับการสนับสนุนจากรัฐ และจำนวนเงินที่รัฐได้เอกชน อัตราค่าโดยสารนั้นพบว่า กลุ่มซีพีเสนอราคาต่ำกลุ่มบีเอสอาร์ โดยซีพีเสนอราคาต่ำกว่า 1.19 แสนล้านบาท ซึ่งเป็นเงินที่ขอสนับสนุนจากภาครัฐ ส่วนตัวเลขนั้นยังไม่สามารถระบุได้ เนื่องจากยังไม่เสร็จสิ้นกระบวนการพิจารณา แต่ในขณะนี้ "ซีพี" ขึ้นมาเป็นอันดับ1 ที่ทางคณะกรรมการจะเรียกมาเจรจาต่อรองก่อน  แต่อย่างไรภายในสัปดาห์หน้าทางซีพีจะต้องเข้ามาชี้แจงตัวเลขบางจุดที่คณะกรรมการสงสัยกับพัธมิตรให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 21 ธ.ค.นี้ ซึ่งภายในสัปดาห์หน้าจะทราบผู้ชนะอย่างเป็นทางการ ก่อนที่จะเข้าสู่กระบวนการเจรจาต่อรองเงื่อนไขในซองที่ 4 หรือซองเทคนิค ในสัปดาห์ถัดไป แต่หากในขั้นนี้ซีพีไม่สามารถยอมรับเงื่อนไข ทางคณะกรรมการจะเรียกกลุ่มบีเอสอาร์เข้ามาเจรจาต่อไป 

นายวรวุฒิ เปิดเผยต่อว่า หลังจากนั้นขั้นตอนสุดท้ายจะร่างสัญญาโครงการ ส่งให้สำนักงานอัยการสูงสุดตรวจสอบรายละเอียดอีกครั้ง คาดว่าสามารถประกาศผลการประมูลเสร็จได้ภายในต้นเดือนม.ค. 62  เข้าคณะรัฐมนตรี(ครม.)ภายในกลางเดือน ม.ค.62และจะลงนามสัญญาได้ภายใน 31 ม.ค.62 นี้
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 17/12/2018 10:30 am    Post subject: Reply with quote

คว้าที่ 'มักกะสัน' โคตรถูก! เจ้าสัวทุ่มลงทุนไฮสปีดเทรน 2.2 แสนล้าน
ตีพิมพ์ใน หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,427
วันที่ 16 - 19 ธันวาคม 2561 หน้า 01-02

ร.ฟ.ท. อุบไต๋ผู้ชนะประมูลรถไฟเชื่อม 3 สนามบิน วงในระบุ 2 "เจ้าสัวบีทีเอส-ซีพี" ดัมพ์ราคา หวังคว้าขุมทรัพย์มักกะสัน 128 ไร่ แสนถูกแค่ปีละ 820 ล้าน พัฒนาพื้นที่ได้กว่า 1 ล้าน ตร.ม. มูลค่ากว่าแสนล้าน

หลังจากรอมาหนึ่งสัปดาห์ที่คาดว่า วันที่ 14 ธ.ค. 2561 ที่ผ่านมา จะสามารถทราบรายชื่อกลุ่มกิจการร่วมค้าที่ชนะการประมูลรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ซึ่งเป็นเมกะโปรเจ็กต์ที่มีมูลค่าสูงที่สุด 2.2 แสนล้านบาท แต่ในที่สุดการตรวจสอบเอกสารของคณะกรรมการคัดเลือกยังไม่สะเด็ดน้ำ คาดว่าไม่เกินวันที่ 18 ธ.ค. นี้ รู้ผล กลุ่มซีพีหรือบีเอสอาร์จะคว้าเค้กชิ้นงาม


ขอเงินรัฐน้อยสุดชนะ

นายอานนท์ เหลืองบริบูรณ์ อธิบดีกรมทางหลวง อดีตคณะกรรมการการรถไฟแห่งประเทศไทย (บอร์ด ร.ฟ.ท.) วิเคราะห์ถึงเงื่อนไขการประมูลโครงการรถไฟเชื่อม 3 สนามบิน ว่า หากเอกชนรายใดผ่านเทคนิคและขอเงินสนับสนุนจากรัฐน้อยที่สุด ถือว่ารายนั้นชนะประมูล อย่างไรก็ดี มองว่าทั้งคู่ต่างมีสายป่านที่แข็งแกร่ง สามารถพัฒนาโครงการขนาดใหญ่ได้

ขณะนายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (บีทีเอส) กล่าวว่า มั่นใจกลุ่มบีทีเอสเสนอราคาดีที่สุด แต่ทั้งนี้จะต้องฟังคำประกาศจาก ร.ฟ.ท. อีกครั้ง ต่อข้อถามที่ว่า เปิดซองราคาถือว่าชนะประมูลหรือไม่ นายสุรพงษ์ย้ำว่า คงต้องดูเงื่อนไขอื่นประกอบด้วย

ขณะแผนพัฒนาพื้นที่มักกะสัน เนื้อที่ 128 ไร่ เป็นทำเลทองที่มีศักยภาพ ซึ่งเป็นไฮไลต์ของการประมูลโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินครั้งนี้ ซึ่งจะลงทุนพัฒนาเป็นเมืองมิกซ์ยูส มีทั้งโรงแรม อาคารสำนักงาน ศูนย์การค้า ที่พักอาศัยแบบครบวงจร ขณะเดียวกัน ที่ดินอีกแปลงของ ร.ฟ.ท. พื้นที่ 150 ไร่ เชื่อว่าจะส่งเสริมให้ทำเลโดยรอบได้อานิสงส์ไปด้วย


ด้านแหล่งข่าวจาก ร.ฟ.ท. ระบุว่า แม้จะทราบว่ากลุ่มใดชนะประมูลในเบื้องต้น แต่จะต้องตรวจสอบเอกสารหลักฐาน คาดว่าวันที่ 17 ธ.ค. นี้ จะทราบผู้ชนะประมูลอย่างเป็นทางการ แต่ทั้งนี้เอกชนไม่ได้คาดหวังกำไรจากรถไฟเชื่อม 3 สนามบิน เนื่องจากเป็นการบริการการจัดเก็บค่าโดยสาร ไม่สามารถตั้งราคาสูงได้ แต่โดยเบื้องลึกแล้ว ต้องการที่ดินแปลงมักกะสัน เพราะให้ผลตอบแทนระยะยาว 50 ปีที่สูง ซึ่งแถมพ่วงจากการประมูลรถไฟ โดยนำที่ดินมาพัฒนาเป็นเมืองมิกซ์ยูสมูลค่าลงทุนเบื้องต้นกว่า 4 หมื่นล้านบาท


ลงทุนมักกะสันสุดคุ้ม

นายวสันต์ คงจันทร์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท โมเดอร์น พร็อพเพอร์ตี้ คอนซัลแทนส์ จำกัด บริษัทที่ปรึกษาด้านวิเคราะห์ราคาที่ดินแปลงมักกะสันให้กับ ร.ฟ.ท. วิเคราะห์ว่า ใครชนะไม่แน่ใจ เพราะแต่ละฝ่ายค่อนข้างสูสี แต่สำหรับผู้ชนะประมูลจะได้พื้นที่พัฒนาที่เป็นเป้าหมายสำคัญ เพราะที่ดินมักกะสันของ ร.ฟ.ท. ที่ต้องบอกว่า "สุดคุ้ม" เนื่องจากตั้งอยู่ใจกลางเมือง ล้อมรอบด้วยรถไฟฟ้า และอนาคตจะมีสถานีรถไฟเชื่อม 3 สนามบิน


ผังเมือง กทม. กำหนดเป็นพื้นที่สีแดง ย่านพาณิชยกรรม พ.4 FAR 8 ต่อ 1 สร้างได้ 8 เท่าของแปลงที่ดิน และได้ FAR เพิ่มอีก 20% เนื่องจากที่ตั้งแปลงที่ดินอยู่ในรัศมีรถไฟฟ้า 500 เมตร นอกจากนี้ ที่ดินอีกแปลง 150 ไร่ ที่มักกะสัน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มีมติให้พัฒนาเป็นสวนสาธารณะ ดังนั้น เอกชนที่ชนะประมูลรถไฟเชื่อม 3 สนามบิน จะได้ FAR จากการโอนซื้อขายสิทธิ์เพิ่มอีก 20% สามารถพัฒนาพื้นที่ได้มากขึ้น รวมกว่า 1 ล้านตารางเมตร มูลค่านับแสนล้านบาท

สามารถเก็บกินระยะยาวบนพื้นที่เช่า เพราะประเภทโรงแรม ศูนย์การค้า ออฟฟิศ เซอร์วิสอพาร์ตเมนต์ ส่วนใหญ่เอกชนจะใช้วิธีเช่าแทนการซื้อ ซึ่งต่างจากคอนโดมิเนียม บ้านจัดสรร และหากเทียบการซื้อที่ดินเพื่อทำโครงการมิกซ์ยูสขนาดใหญ่ 128 ไร่ ย่อมหาที่ดินยากและราคาต้องไม่ต่ำกว่า 2 ล้านบาทต่อตารางวาแน่นอน


ค่าเช่า 50 ปี กว่า 4 หมื่นล้าน

แหล่งข่าวจากวงการอสังหาริมทรัพย์ กล่าวว่า ในจำนวนที่ดิน 2 แปลงใหญ่ ที่รัฐบาลนำมาเป็นของแถมให้กับผู้ชนะการประมูล คือ มักกะสันและศรีราชานั้น แปลงที่ได้รับความสนใจมาก ได้แก่ มักกะสัน นอกจากขนาดพื้นที่ใหญ่ 128 ไร่แล้ว ทำเลที่ตั้งอยู่ใจกลางเมือง พัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ 1 ล้าน ตร.ม. ส่วนศรีราชาแม้จะอยู่บริเวณสถานีรถไฟก็ตาม แต่ขนาดพื้นที่ไม่ใหญ่ 25 ไร่ ซึ่งทั้ง 2 แปลง จะพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์เชิงพาณิชย์ หรือ มิกซ์ยูส ครบทั้งที่อยู่อาศัย อาคารสำนักงาน ค้าปลีก และโรงแรม


สำหรับอัตราค่าเช่าที่ดินนั้น ทางการรถไฟแห่งประเทศไทย ในช่วง 5 ปีแรก ซึ่งเป็นระยะเวลาของการก่อสร้าง โดยปีแรกเมื่อทำสัญญาการร่วมลงทุนพีพีพี เรียกเก็บอัตรา 21.5 ล้านบาทต่อไร่ต่อปี คิดเป็นมูลค่า 2,582.4 ล้านบาท และตั้งแต่ปีที่ 6 เป็นต้นไป อัตราค่าเช่าจะปรับเพิ่มขึ้นทุก ๆ 3 ปี ครั้งละ 10% ตลอด 50 ปี ค่าเช่าที่ดินมักกะสันรวมมูลค่าประมาณ 4.1 หมื่นล้านบาท หรือตกเฉลี่ยปีละ 6 ล้านบาทต่อไร่ หรือรวม 820 ล้านต่อปี เมื่อเทียบกับที่สิงห์ เอสเตท ซื้อที่ดิน 8 ไร่ สี่แยกอโศก ราคา 3.7 แสนบาทต่อ ตร.ว. หรือ 1,184 ล้านบาท

"ค่าเช่าคิดแล้วเกือบ 70% ของราคาซื้อขาย ซึ่งปัจจุบันในย่านพระราม 9 ราคาตารางวาละกว่า 1 ล้านบาท แม้จะมองว่าราคาค่อนข้างสูงสำหรับสิทธิการเช่าที่ดิน แต่ผู้ชนะการประมูลยังได้รับสิทธิประโยชน์อื่น ๆ เช่น ยื่นขอสิทธิลดหย่อนภาษีตามเกณฑ์บีโอไอได้ และสิทธิอื่น ๆ อีก ถ้าหากโครงการระเบียงพัฒนาเศรษฐกิจอีอีซีเกิด มักกะสันจะเป็นแปลงที่มีศักยภาพอย่างมาก"


มักกะสันเจริญกว่าสุขุมวิท

นายวสันต์ วิเคราะห์ต่อว่า ที่ดินมักกะสันของการรถไฟฯ หากพัฒนาแล้ว จะส่งผลให้พื้นที่โดยรอบ อาทิ อโศก-เพชรบุรี พระราม 9-รัชดาฯ เจริญขึ้น ทั้งนี้ หากรวมที่ดินมักกะสันทั้งผืน จำนวนเกือบ 500 ไร่ จะมีพื้นที่เชิงพาณิชย์มากถึง 7 ล้านตารางเมตร หาก ร.ฟ.ท. ต้องการเปิดใช้พื้นที่ทั้งหมด หรือ อาจมีการประมูลแปลงต่อเนื่อง และวิเคราะห์ระยะยาวว่า ทำเลย่านมักกะสันจะเจริญมากกว่าสุขุมวิท

สำหรับพื้นที่เกี่ยวเนื่อง กรณีมักกะสัน อนาคตจะเป็นประตูสู่อีอีซี ขณะที่ ที่ดินโดยรอบสนามบินดอนเมือง ทำเลสรงประภา วิภาวดีฯ มองว่ามีการพัฒนาเต็มพื้นที่แล้ว อีกทั้งเป็นเพียงทางผ่าน ไม่ใช่จุดสิ้นสุด ยังสามารถเดินทางไปต่อได้ จากจุดเริ่มต้น คือ มักกะสัน และจุดสิ้นสุดยังไปได้ถึงพัทยา สนามบินอู่ตะเภา

แต่น่าเสียดายที่สุด คือ พื้นที่สนามบินสุวรรณภูมิ 20,000 ไร่ บมจ.ท่าอากาศยานไทย ใช้พื้นที่ 4,000 ไร่ ส่วนที่เหลือไม่พัฒนาเป็นเมืองสนามบิน หรือ ภายในเขตสนามบิน ซึ่งประกอบด้วย ศูนย์การค้า โรงแรม ออฟฟิศ โรงพยาบาล เหมือนต่างประเทศ เป็นแม่เหล็กตามเงื่อนไขของกรมธนารักษ์ ปัจจุบัน มีเพียงตัวสนามบินและพื้นที่เชิงพาณิชย์เล็ก ๆ และโรงแรมบางส่วนเท่านั้น ส่วนพื้นที่นอกพื้นที่สนามบิน ซึ่งเป็นที่ดินเอกชนกลับพัฒนาได้น้อย เพราะติดข้อกำหนดผังเมือง กทม.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 17/12/2018 12:04 pm    Post subject: Reply with quote

ซีพี ศึกษาต่อเนื่อง ส่วนต่อขยาย “อู่ตะเภา-ระยอง” เชื่อมโยงอีอีซี สร้างความเจริญอย่างยั่งยืน
16 ธันวาคม 2561 เวลา (19:42 น.)

ผู้ร่วมประมูลตัวเต็ง ชู ระยอง เป็นเมืองที่มีศักยภาพทุกด้าน ทั้งธุรกิจ ท่องเที่ยว และความพร้อม ทั้งนี้ได้เริ่มมีการศึกษาส่วนต่อขยายไปยังระยองแล้ว เพื่อความต่อเนื่องของโครงการ และจะศึกษาไปถึง จันทบุรี และ ตราด” โดยในส่วนต่อขยายช่วงแรก การออกแบบวางแผนสถานี จะเน้นไปที่ใกล้ตัวเมืองระยอง ระยะศูนย์กลางเมืองไม่เกิน 4 กม. และระบบขนส่งย่อยออกเป็นรัศมี 20 กม. เพื่อให้จำนวนผู้โดยสารเพียงพอ

โดยนอกจากจะออกแบบการบริหารรถไฟความเร็วสูงแล้ว จะมีการออกแบบระบบขนส่งย่อยที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มารองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจของระยอง ซึ่งถือได้ว่า ระยองเป็นเมืองที่มีศักยภาพในการเติบโต

ทั้งนี้หลายภาคส่วนได้เริ่มศึกษา ในระบบขนส่งรองด้วย อาทิเช่น ระบบขนส่งรถรางก็มีความเป็นไปได้ เพื่อให้ผู้โดยสารสะดวกในการโดยสารแบบเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ยืนยันเริ่มมีการลงพื้นที่วิจัยเพื่อให้คนระยองได้ประโยชน์สูงสุดในการเดินทาง และสร้างความเจริญให้คนระยองให้มากที่สุด

นายวรวุฒิ มาลา รักษาการผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) กล่าวว่า ตามแผนเดิมจะสร้างจากกรุงเทพฯ-ระยองอยู่แล้ว แต่เมื่อมี EEC จึงตัดสร้างถึงอู่ตะเภาก่อน เพราะช่วงจากอู่ตะเภา-ระยอง แนวเส้นทางจะต้องตัดผ่านพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จะต้องใช้เวลาพิจารณารายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) นาน

จำเป็นที่จะต้องปรับแนวใหม่ไม่ให้เข้าไปในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด โดยแนวใหม่อาจจะขยับไปตรงพื้นที่ว่างที่อยู่ด้านซ้ายและด้านขวาแทน จะต้องมีการเวนคืนที่ดินเพิ่มหรือจะเบี่ยงแนวไปใช้พื้นที่ทางหลวงหมายเลข 3 สัตหีบ-บ้านฉาง-ระยอง ของกรมทางหลวง

ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับผลการศึกษา ขณะที่ที่ตั้งสถานีรถไฟความเร็วสูงระยองจะห่างจากศูนย์กลางเมืองประมาณ 4 กม. ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของจุดตัดของถนน 36 กับถนน 3138” นายวรวุฒิกล่าว
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 296, 297, 298 ... 542, 543, 544  Next
Page 297 of 544

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©