Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311232
ทั่วไป:13179863
ทั้งหมด:13491095
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวเกี่ยวกับ "ที่ดิน" ของ "รฟท."
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวเกี่ยวกับ "ที่ดิน" ของ "รฟท."
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 149, 150, 151 ... 197, 198, 199  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 26/12/2018 9:02 pm    Post subject: Reply with quote

26 ธ.ค.61 นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานในพิธีมอบสัญญาเช่าที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทยให้กับชุมชนตลาดบ่อบัว ณ ชุมชนตลาดบ่อบัว อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา
โดยมีนายธีระพงษ์ รอดประเสริฐ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงคมนาคม พลเอก สุรศักดิ์ ศรีศักดิ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ นายจิรุตม์ วิศาลจิตร ผู้ตรวจราชการกระทรวงคมนาคม นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย นายวรพจน์ แววสิงห์งาม รองผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา นายกเทศมนตรีเมืองฉะเชิงเทรา นายอำเภอเมืองฉะเชิงเทรา ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน ผู้แทนหน่วยงานภาครัฐในจังหวัดฉะเชิงเทรา เครือข่ายสลัม 4 ภาค และชาวบ้านชุมชนตลาดบ่อบัว ประมาณ 200 คน ร่วมในพิธี การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ได้แบ่งพื้นที่บริเวณชุมชนตลาดบ่อบัว อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา จำนวน 6.7025 ไร่ ให้สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน(พอช.) เช่าที่ดินเพื่อพัฒนาเป็นที่อยู่อาศัยของประชาชนชุมชนบ่อบัว จำนวน 99 ครัวเรือน เพื่อแก้ไขปัญหาประชาชนไร้ที่อยู่อาศัย โดยมีระยะเวลาในการเช่าที่ดิน 30 ปี
https://www.facebook.com/ake.bluechifamily/posts/2084488084931459



“อาคม “มอบสัญญาเช่า 30 ปีที่ดินรถไฟให้ชุมชนตลาดบ่อบัว จ.ฉะเชิงเทรา อยู่อาศัย
พร็อพเพอร์ตี้
วันพุธที่ 26 ธันวาคม 2561 เวลา 18:40 น.

เมื่อวันที่ 26 ธ.ค. 2561 นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานในพิธีมอบสัญญาเช่าที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทยให้กับชุมชนตลาดบ่อบัว ณ ชุมชนตลาดบ่อบัว อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา

โดยมี นายธีระพงษ์ รอดประเสริฐ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงคมนาคม พลเอก สุรศักดิ์ ศรีศักดิ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ นายจิรุตม์ วิศาลจิตร ผู้ตรวจราชการกระทรวงคมนาคม นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย นายวรพจน์ แววสิงห์งาม รองผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา นายกเทศมนตรีเมืองฉะเชิงเทรา นายอำเภอเมืองฉะเชิงเทรา ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน ผู้แทนหน่วยงานภาครัฐในจังหวัดฉะเชิงเทรา เครือข่ายสลัม 4 ภาค และชาวบ้านชุมชนตลาดบ่อบัว ประมาณ 200 คน ร่วมในพิธี

การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ได้แบ่งพื้นที่บริเวณชุมชนตลาดบ่อบัว อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา จำนวน 6.7025 ไร่ ให้สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนเช่าที่ดินเพื่อพัฒนาเป็นที่อยู่อาศัยของประชาชนชุมชนบ่อบัว จำนวน 99 ครัวเรือน เพื่อแก้ไขปัญหาประชาชนไร้ที่อยู่อาศัย โดยมีระยะเวลาในการเช่าที่ดิน 30 ปี
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 27/12/2018 1:37 pm    Post subject: Reply with quote

รถไฟเปิดประมูล 120 ไร่”ย่านตึกแดง” รองรับรื้อย้ายบ้านพักพนง.-ดึงเอกชนผุดมิกซ์ยูส

วันที่ 26 ธันวาคม 2561 - 11:26 น.

เร่งเคลียร์พื้นที่ - การรถไฟฯกำลังเร่งเคลียร์พื้นที่ย่าน กม.11 เปิดให้เอกชนร่วมลงทุนพัฒนาเชิงพาณิชย์ โดยย้ายบ้านพักพนักงาน 2,000 ครัวเรือนออกไปอยู่อาคารหลังใหม่ที่สร้างบนพื้นที่ตึกแดง 120 ไร่ ใกล้สถานีกลางบางซื่อ

การรถไฟฯเปิดหน้าดินย่านตึกแดง 120 ไร่ ดึงเอกชนร่วมทุนสร้างที่อยู่อาศัย สำนักงาน พื้นที่เชิงพาณิชย์ รับสถานีกลางบางซื่อ พนักงานกว่า 2 พันครัวเรือน เร่งเคลียร์ที่ดิน 359 ไร่ย่าน กม.11 เปิดประมูล PPP ผุดมิกซ์ยูสกว่า 8 หมื่นล้าน จับตาบีทีเอสปัดฝุ่นโมเดลโมโนเรล คอนโดฯผู้มีรายได้ปานกลางแสนล้าน

นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สินและรักษาการผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า การรถไฟฯได้จ้างบริษัทที่ปรึกษาออกแบบความเป็นไปได้การพัฒนาที่ดินย่านตึกแดง ติดถนนเทอดดำริและคลองเปรมประชากร เนื้อที่ 120 ไร่ เพื่อประเมินมูลค่าโครงการ พร้อมจัดทำรายละเอียดการเปิดให้เอกชนเข้าร่วมลงทุนรูปแบบ PPP net cost เนื่องจากโครงการมีมูลค่าการลงทุนเกิน 1,000 ล้านบาท คาดว่าผลการศึกษาจะแล้วเสร็จภายใน 3-4 เดือนนี้

“โครงการนี้เป็นงานเร่งด่วนที่ต้องมีความชัดเจน เพื่อเป็นการรองรับการย้ายครอบครัวของพนักงานการรถไฟฯที่บ้านพักนิคมรถไฟ กม.11 ด้านหลังเอ็นเนอร์ยี่คอมเพล็กซ์ของ ปตท. ประมาณ 2,000 ครัวเรือน เพราะภายในปี 2562 การรถไฟฯเตรียมจะนำที่ดิน กม.11 พื้นที่ 359 ไร่ เปิดประมูลหาเอกชนร่วมลงทุน PPP พัฒนาเชิงพาณิชย์ สร้างรายได้เข้าองค์กรในระยะยาว”

นายวรวุฒิกล่าวอีกว่า สำหรับโมเดลการพัฒนาในเบื้องต้น คาดว่าจะเป็นอาคารที่พักอาศัยของพนักงานการรถไฟฯสำนักงานใหญ่การรถไฟฯ พื้นที่เชิงพาณิชย์และส่วนสนับสนุนโครงการ เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพอยู่ใกล้กับสถานีรถไฟบางซื่อ และโครงการพัฒนาสถานีกลางบางซื่อ ในอนาคตจะเป็นศูนย์กลางการเดินทางด้านระบบราง ดังนั้นรูปแบบการพัฒนาจะต้องรองรับกับโครงการต่าง ๆ เหล่านี้ด้วย





“โครงการนี้จะคนละส่วนกับที่เรา MOU กับ ปตท.ไปก่อนหน้านี้ ที่ ปตท.พร้อมสนับสนุนเงินกว่า 400 ล้านบาท สร้างที่พักอาศัยสำหรับพนักงานการรถไฟฯเพื่อเป็นการทดแทนการใช้พื้นที่ย่าน กม.11 ตามที่มีข้อตกลงกันไว้ จากเดิมจะสร้างที่ กม.11 แต่เนื่องจากมองว่า

การสร้างบ้านพักรถไฟภายในพื้นที่โครงการที่จะเปิดให้เอกชนร่วมลงทุนพัฒนาเชิงพาณิชย์ในอนาคตมีมูลค่า ผลตอบแทนโครงการลดลง จึงปรับแผนใหม่ไปสร้างบนที่ดินย่านตึกแดงแทน”



นายวรวุฒิกล่าวอีกว่า สำหรับที่ดินย่าน กม.11 มีมูลค่าลงทุนโครงการประมาณ 80,882 ล้านบาท พัฒนาเป็นโครงการมิกซ์ยูส มีคอนโดมิเนียมและพื้นที่เชิงพาณิชย์ เช่น สำนักงาน เนื่องจากบริเวณโดยรอบเป็นที่ตั้งของสำนักงาน ปตท. ศูนย์เอ็นเนอร์ยี่คอมเพล็กซ์ ศูนย์ประชุม โรงแรม ที่อยู่อาศัย รีเทล เป็นต้น

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า สำหรับรูปแบบการพัฒนาที่การรถไฟฯศึกษาไว้ จะประกอบด้วย 1.อาคารสำนักงานขนาดใหญ่ จำนวน 7-8 อาคาร 2.มินิออฟฟิศ จำนวน 2-3 อาคาร 3.ศูนย์ประชุมขนาดเทียบเท่าอิมแพ็ค พื้นที่ 1.5 แสนตารางเมตร 4.โรงแรมขนาด 4 ดาว จำนวน 250 ห้อง 5.คอนโดมิเนียมเกรด A จำนวน 1,000-2,000 ยูนิต ราคา 140,000-150,000 บาท/ตารางเมตร และเกรด B จำนวน 3,000 ยูนิต ราคา 90,000-100,000 บาท/ตารางเมตร โดยสร้างบางส่วนเป็นที่พักอาศัยเพื่อรองรับพนักงานการรถไฟฯประมาณ 2,500 ยูนิต 6.ซัพพอร์ตติ้งมอลล์หรือพื้นที่ค้าปลีกประมาณ 1 หมื่นตารางเมตร และมีบางส่วนอยู่ใต้ตึกที่พักอาศัยเป็นสวัสดิการให้พนักงานการรถไฟฯ และ 7.โรงพยาบาลและสนามกีฬา

ส่วนที่ดินย่านตึกแดง ก่อนหน้านี้การรถไฟฯเคยจะร่วมกับการเคหะแห่งชาติ (กคช.) ก่อสร้างโครงการที่อยู่อาศัยรูปแบบแฟลตเพื่อรองรับพนักงานของการรถไฟฯ ประมาณ 10,000 ยูนิต เงินลงทุน 7,000 ล้านบาท โดยให้เช่ายาว 30 ปี

ขณะที่ที่ดินย่าน กม.11 ก่อนหน้านี้ทาง บมจ.บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ เคยเสนอโมเดลพัฒนาเบื้องต้นให้กับกระทรวงคมนาคมพิจารณา ใช้เงินลงทุนรวมสร้างรถไฟฟ้าโมโนเรล ประมาณ 1 แสนล้านบาท มี 5 ส่วน คือ

1.ลงทุน 1 หมื่นล้านบาทสร้างคอนโดฯประมาณ 5,000 ยูนิต รองรับพนักงานการรถไฟฯ 5,000 ครัวเรือน ออกแบบเป็นห้องชุดพื้นที่ใช้สอย 42 และ 56 ตารางเมตร โดยบริษัทสร้างให้ฟรีเพื่อแลกเปลี่ยนกับการพัฒนาพื้นที่ส่วนที่เหลือ

2.พื้นที่ค้าขายสำหรับผู้ประกอบการ ที่ค้าขายบริเวณ กม.11 เดิม

3.สวนสาธารณะ

4.คอนโดฯให้เช่าสำหรับผู้มีรายได้ปานกลาง และ

5.พื้นที่เชิงพาณิชย์
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 07/01/2019 11:43 pm    Post subject: Reply with quote

เปิดเอกชนพัฒนาพื้นที่ สถานีรถไฟขอนแก่น ทำสวนสนุกโมเดล ‘ยูนิเวอร์แซล’
เศรษฐกิจ
วันที่ 7 มกราคม 2562 - 15:55 น.
“รฟท.”ทำมาร์เก็ตซาวน์ดิ้ง รอบสถานีรถไฟขอนแก่นรับไฮสปีดเทรน (มีคลิป)
วันที่ 7 มกราคม 2562 - 18:05 น.
รฟท.จ่อผุดบิ๊กโปรเจกต์ งัดที่ดิน108ไร่รอบสถานีขอนแก่นมูลค่า 8,000ล. ดึงเอกชนลงทุน

วันที่ 8 มกราคม 2562เวลา 08:07 น

รถไฟ เล็งเปิดประมูลพื้นที่ย่านสถานีขอนแก่นมูลค่า 8 พันล้าน ให้เอกชนพัฒนาเป็น สวนสนุกโมเดลยูนิเวอร์แซล หนุนท่องเที่ยว ฝันรายได้พัฒนาที่ดินปีนี้โต 10% แตะ 3,800ล้าน

นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่าที่ปรึกษาได้นำเสนอแผนการพัฒนาพื้นที่ย่านสถานีขอนแก่น สถานียกระดับของรถไฟทางคู่เส้นทางชุมทาง ถนนจิระ-ขอนแก่นและยังเชื่อมกับไฮสปีด ไทยจีน เส้นทางโคราช -หนองคาย โดยมีพื้นที่จะนำออกพัฒนาราว 108 ไร่ ซึ่งปัจจุบันเป็นที่ตั้งของบ้านพักพนักงาน และสนามกอล์ฟของ รฟท ตั้งอยู่บริเวณใกล้กับห้างสรรพสินค้า เซ็นทรัลขอนแก่น

เบื้องต้นที่ปรึกษาระบุว่าพื้นที่ดังกล่าวมีโอกาสการลงทุนที่ดีโดยคาดว่าจะมีประชาชนเข้ามาใช้บริการเฉพาะรถไฟทางคู่ประมาณ 2-3.8 หมื่นคนต่อวัน โดยจะแบ่งการพัฒนาพื้นที่ออกเป็น 5 แปลง คือโซนบี จำนวน 16.2 ไร่ จะพัฒนาเป็นที่พักอาศัย อาคารพาณิชย์ และธุรกิจค้าปลีก,โซนซีและดี รวมจำนวน 26.5 ไร่ พัฒนาเป็น โรงแรมรองรับผู้เดินทางมาทำธุรกิจศูนย์ประชุมและศูนย์แสดงสินค้า


โซนอี จำนวน 58.6 ไร่ ซึ่งปัจจุบันเป็นพื้นที่สนามกอล์ฟรถไฟให้เช่า จะพัฒนาเป็นพื้นที่ดึงดูดการท่องเที่ยวในจังหวัด โดยจะสร้างเป็นสวนสนุกที่จะให้บริการเครื่องเล่นต่างๆเช่น รถไฟเหาะตีลังกา สวนน้ำ เพื่อเป็นแหล่งพักผ่อน โดยจะนำแนวคิดเมืองภาพยนต์ เช่น มูฟวี่เวิลด์ และยูนิเวอร์แซลสตูดิโอ มาเป็นแนวคิดในการพัฒนาสวนสนุก และโซนเอฟ จำนวน8ไร่ ปัจจุบันเป็นที่พักพนักงาน จะพัฒนาเป็นกลุ่มอาคารสำนักงานและที่พักอาศัย

อย่างไรก็ตาม การนำพื้นที่ของ รฟท เปิดประมูลให้เอกชนเช่าพื้นที่เป็นนโยบายการเพิ่มรายได้เชิงพาณิชย์นอกเหนือตั๋วโดยสาร (นอนคอร์) คาดว่าปี 2562 จะสามารถมีรายนอนคอร์เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 10% คิดเป็นมูลค่ารวมทั้งสิ้น 3,800 ล้านบาท ส่วนรายได้จากธุรกิจหลัก(คอร์ บิสเนส) จะใกล้เคียงกับปีก่อนคือประมาณ 5,600-5,800 ล้านบาท หรือคิดรวมเป็นรายได้รวมทั้งสิ้น 9,400-9,600 ล้านบาท

นายประเสิรฐศึก สายพวรรณ์ รองผู้จัดการโครงการศึกษาแผนพัฒนาฯกล่าวว่าคาดว่าโครงการดังกล่าวจะมีมูลค่าลงทุนรวมราว 5-8 พันล้านบาท เบื้องต้นอาจจะให้เช่าพื้นที่ระยะเวลา 30-50 ปี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของ รฟท. ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการเปิดรับฟังความเห็นจากนักลงทุน เพื่อนำข้อมูลกลับมาปรับให้สอดคล้องกับความต้องการนักลงทุน คาดว่า รฟท จะสรุปแผนพัฒนาพื้นที่เสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติได้อย่างเร็วที่สุด ภายใน 18 เดือน

ผุดมูฟวี่เวิลด์สถานีขอนแก่น
จันทร์ที่ 7 มกราคม 2562 เวลา 18.15 น.

รฟท.เปิดมาร์เก็ตซาวน์ดิ้งเอกชนพัฒนาพื้นที่ตามแนวสายทางรถไฟทางคู่จิระ-ขอนแก่น เนรมิต 100ไร่ ดึงสวนสนุกมูฟวี่เวิลด์ เปิดสถานีขอนแก่น เผยสัปดาห์นี้เตรียมชงรถไฟทางคู่เฟส 2 อีก 3 เส้นให้สภาพัฒน์พิจารณา

เมื่อวันที่ 7 ม.ค. ที่โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ เซ็นทรัลลาดพร้าว นายวรวุฒิ มาลา รักษาการแทนผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) เปิดเผยหลังเป็นประธานเปิดงานสัมมนาทดสอบความสนใจของนักลงทุน(Market Sounding) โครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณอาคารบ้านพักพนักงาน,อาคารที่ทำการ และสนามกอล์ฟตามแนวสายทางรถไฟทางคู่ จิระ-ขอนแก่น และโครงการรถไฟความเร็วสูงในอนาคต ตามพระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ.2556 ว่า พื้นที่ดังกล่าวมีประมาณ 100 ไร่ อยู่ใจกลางเมืองขอนแก่น ติดกับถนนมิตรภาพ สามารถเชื่อมต่อไปยัง จ.หนองคาย และเวียงจันทน์ สปป.ลาว ได้

นางวรวุฒิ กล่าวต่อว่า พื้นที่แบ่งเป็นโซน ประกอบด้วย โซน B เป็นพื้นที่ TOD ศูนย์ขนส่งสาธารณะ มีที่พักอาศัย อาคารพาณิชย์ และสำนักงาน โซน C,D,E เป็นพื้นที่ศูนย์แสดงสินค้า มูฟวี่เวิลด์ ยูนิเวอร์แซลสตูดิโอ หรือสวนสัตว์ และโซน F พื้นที่สำนักงาน อย่างไรก็ตามโครงการเหล่านี้เป็นเพียงแนวคิด และต้องการสอบถามความคิดเห็นจากเอกชน เพื่อศึกษาเรื่องความสนใจว่ามีมากน้อยแค่ไหน และพื้นที่จะสามารถพัฒนาต่อได้อย่างไรบ้าง

นายวรวุฒิ ยังกล่าวถึงความคืบหน้าโครงการรถไฟทางคู่ ระยะที่ 2 ว่า รฟท. เตรียมเสนอโครงการรถไฟทางคู่สายตะวันออกเฉียงเหนือ 3 เส้นทาง ต่อคณะกรรมการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือสภาพัฒน์ ภายในสัปดาห์นี้ ได้แก่ ช่วงขอนแก่น-หนองคาย ระยะทาง 174 กม. วงเงิน 26,663 ล้านบาท, ช่วงชุมทางถนนจิระ-อุบลราชธานี ระยะทาง309กม. วงเงิน 37,527ล้านบาท และช่วงบ้านไผ่-นครพนม ระยะทาง355กม. วงเงิน 67,965 ล้านบาท ทั้งนี้หากบอร์ดสภาพัฒน์เห็นชอบจะเสนอสู่คณะรัฐมนตรี(ครม.) ต่อไป


Last edited by Wisarut on 08/01/2019 1:31 pm; edited 2 times in total
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44320
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 08/01/2019 9:15 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
เปิดเอกชนพัฒนาพื้นที่ สถานีรถไฟขอนแก่น ทำสวนสนุกโมเดล ‘ยูนิเวอร์แซล’
เศรษฐกิจ
วันที่ 7 มกราคม 2562 - 15:55 น.
“รฟท.”ทำมาร์เก็ตซาวน์ดิ้ง รอบสถานีรถไฟขอนแก่นรับไฮสปีดเทรน (มีคลิป)
วันที่ 7 มกราคม 2562 - 18:05 น.

'รฟท.'พัฒนาสถานีขอนแก่น เอกชนร่วมลงทุน 8 พันล้าน
กรุงเทพธุรกิจ 8 ม.ค. 62

Click on the image for full size

“ร.ฟ.ท.” กางแผนพีพีพีเชิงพาณิชย์สถานีขอนแก่น พื้นที่ 108 ไร่ มูลค่ากว่า 5-8 พันล้าน เล็งปั้นอสังหาริมทรัพย์ สำนักงานและสวนสนุก คาดอีก 3-4 เดือนศึกษาแล้วเสร็จ มั่นใจกลยุทธ์เพิ่มรายได้นอนคอร์จะหนุนธุรกิจเติบโตต่อเนื่อง ปีนี้คาดโต 10%

นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศ (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยถึงการจัดสัมมนาทดสอบความสนใจของนักลงทุน (มาร์เก็ตซาวดิ้ง) โครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณอาคารบ้านพักพนักงาน อาคารที่ทำการ และสนามกอล์ฟที่สถานีขอนแก่น ตาม พ.ร.บ.การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ.2556 ว่า แผนพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์สถานีขอนแก่น ได้แบ่งการพัฒนาออกเป็น 5 แปลง บนพื้นที่ 108 ไร่ มูลค่าที่ดินกว่า 1,000 ล้านบาท โดยจะแบ่งออกเป็นโซนบี 16.2 ไร่ พัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์บริเวณย่านสถานีรถไฟ (ทีโอดี) ใช้ประโยชน์ที่ดินแบบผสมผสาน มีที่พักอาศัย อาคารพาณิชย์ สำนักงาน และค้าปลีก โซนซีและโซนดี รวม 16.5 ไร่ พัฒนารองรับโรงแรม ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้า โซนอี 58.6 ไร่ พัฒนาเป็นพื้นที่สวนสนุกและพื้นที่สันทนาการ และพื้นที่โซนเอฟ 8 ไร่ พัฒนาเป็นพื้นที่ประเภทกลุ่มอาคารสำนักงานและที่พักอาศัยของพนักงานการรถไฟ ขณะที่พื้นที่โซนเอ มีการประมูลไปแล้วก่อนหน้านี้ จึงไม่รวมอยู่ในโครงการนี้ โดยจะพัฒนาเป็นตลาดและที่อยู่อาศัย

"หลังจากวันนี้เราก็จะลงพื้นที่ไปรับฟังความคิดเห็นของชุมชนโดยรอบสถานีขอนแก่นด้วย เพื่อทำให้โครงการพัฒนานี้ตอบโจทย์การใช้งานมากที่สุด ซึ่งคาดว่าหลังจากเปิดรับฟังความคิดเห็น ที่ปรึกษาจะสามารถสรุปรูปแบบแผนพัฒนาแล้วเสร็จในอีก 3-4 เดือน"

โดยสถานีขอนแก่นถือเป็นที่ดินที่มีศักยภาพสูง เนื่องจากในอนาคตจะมีการพัฒนารถไฟความเร็วสูงผ่านมายังสถานีนี้ ซึ่งเป็นโครงการที่มีแนวเส้นทางเชื่อมต่อไทย ลาว และจีน ประกอบกับมีโครงการรถไฟทางคู่ที่อยู่ระหว่างพัฒนา รวมไปถึงโครงการพัฒนาระบบขนไฟมวลชนรางเบา ที่ท้องถิ่นอยู่ระหว่างพัฒนา ดังนั้น สถานีขอนแก่นจะเป็นศูนย์กลางการเดินทางเชื่อมต่อหลายเส้นทาง มีผู้ให้บริการในจำนวนมาก โดยเฉพาะผู้โดยสารจากรถไฟทางคู่เส้นทางจิระ-ขอนแก่น ก็คาดว่าจะมีเฉลี่ย 2-3 หมื่นคนต่อวัน

ทั้งนี้ ร.ฟ.ท.ยังมีแผนพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์อีกหลายแห่ง เพื่อสร้างรายได้นอกเหนือจากการเดินรถ (นอนคอร์) เช่น ที่ดินสถานีแม่น้ำ ที่ดินสถานี กม.11 ที่ดินธนบุรี และที่ดินย่านอาร์ซีเอ ซึ่งกำลังจะหมดสัญญาเช่าในปี 2565 และ ร.ฟ.ท.มีแผนนำมาพัฒนาเพื่อการพาณิชย์ โดยมั่นใจว่าการมุ่งหารายได้นอนคอร์จะเป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์ที่ทำให้ ร.ฟ.ท.มีรายได้เติบโตอย่างยั่งยืน เฉพาะในปี 2562 คาดว่าจะสร้างรายได้ส่วนนี้เพิ่มขึ้น 10% หรือปิดตัวเลขราว 3,800 ล้านบาท ขณะที่รายได้ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจเดินรถ จะเฉลี่ยอยู่ที่ 5,800 ล้านบาท

ส่วนความคืบหน้าโครงการรถไฟทางคู่ระยะที่ 2 คาดว่าภายใน 1-2 สัปดาห์นี้ จะเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในส่วนแรก 3 โครงการ ซึ่งเป็นแนวเส้นทางในภาคอีสาน ประกอบไปด้วย เส้นทางขอนแก่น-หนองคาย เส้นทางจิระ-อุบลราชธานี และรถไฟทางคู่เส้นทางใหม่ช่วงบ้านไผ่-นครพนม เนื่องจากโครงการเหล่านี้เป็นแนวเส้นทางยุทธศาสตร์ที่จะเชื่อมต่อการขนถ่ายสินค้าจากพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) จึงถือเป็นโครงการเร่งด่วนที่ต้องพัฒนา

ด้านที่ปรึกษาโครงการ เผยว่า พื้นที่เชิงพาณิชย์บริเวณสถานีขอนแก่น มีอยู่ 108.4 ไร่ มูลค่าที่ดินกว่า 1,000 ล้านบาท ประเมินมูลค่าการลงทุนราว 5,000-8,000 ล้านบาท ซึ่งแนวคิดเบื้องต้นต้องการพัฒนาสถานีขอนแก่นให้เป็นศูนย์กลางการเดินทางของภาคอีสาน และประเทศเพื่อนบ้าน เนื่องจากจะมีโครงการรถไฟความเร็วสูงวิ่งผ่านแนวสถานีขอนแก่น ดังนั้น บริเวณนี้จะกลายเป็นเมืองใหม่รองรับการเติบโตของภาคอีสาน ซึ่งจากการประเมินกรอบเวลาดำเนินการ เนื่องจากเป็นโครงการพีพีพี จึงคาดว่าหลังจากนี้อีก 18-24 เดือน จะเข้าสู่ขั้นตอนเสนอ ครม.พิจารณาลงนามสัญญา

นายชาญณรงค์ บุริสตระกูล ตัวแทนจากบริษัท ขอนแก่นพัฒนาเมือง (เคเคทีที) จำกัด กล่าวว่า ในมุมมองส่วนตัวเล็งเห็นว่าการสร้างสวนสนุกอาจไม่ดึงดูดคนขอนแก่น และการพัฒนาโครงการควรมีรูปแบบเป้าหมายที่ชัดเจนก่อน ว่าต้องการดึงดูดคนประเภทใด รวมทั้งอยากให้มองการพัฒนาโครงการไม่เพียงรองรับการท่องเที่ยว แต่ควรมองพัฒนาคน พัฒนาภาคอีสาน และผสมผสานกับการพัฒนาวัฒนธรรมด้วย

นอกจากนี้อยากให้ ร.ฟ.ท.หารือร่วมกับเจ้าของที่ดินข้างๆ เพื่อการพัฒนาร่วมกันในอนาคต เพราะอยากให้มองเป้าหมายการพัฒนาเมืองขอนแก่นเป็นหลัก ควรจะพัฒนาไปในทิศทางเดียวกัน โดยให้ ร.ฟ.ท.เป็นแกนนำก็จะทำให้โครงการพัฒนาสู่เป้าหมายขอนแก่นเป็นศูนย์กลางการค้า ศูนย์กลางอุตสาหกรรม และเป็นสมาร์ทซิตี้
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 08/01/2019 12:26 pm    Post subject: Reply with quote

ร.ฟ.ท.เร่งทีโออาร์แปลง A เปิดประมูล มี.ค.
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: อังคารที่ 8 มกราคม 2562 เวลา 05:55
ปรับปรุง: อังคารที่ 8 มกราคม 2562 เวลา 09:53


ร.ฟ.ท.เร่งปั้นทีโออาร์พื้นที่แปลง A มูลค่า 1.1 หมื่นล้าน คาดเสร็จไม่เกิน ก.พ. เปิดประมูล มี.ค. 62 ดึงเอกชนร่วมทุน PPP รองรับรถไฟสีแดง สถานีกลางบางซื่อ และรถไฟเชื่อม 3 สนามบิน

นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ศูนย์คมนาคมพหลโยธิน แปลง A ว่า ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการจัดทำร่างTOR เพื่อเปิดประมูลหาเอกชนร่วมลงทุน (PPP) พื้นที่แปลง A โดยคณะกรรมการมาตรา35 แห่ง พ.ร.บ.การให้เอกชนเข้าร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556 (พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ2556) คาดว่าทีโออาร์จะแล้วเสร็จในเดือน ม.ค.-ก.พ. 2562 และประกาศเชิญชวนเอกชนร่วมลงทุนและขายเอกสารในเดือน มี.ค. 2562 และประกาศผลการประมูลลงนามสัญญาในช่วงปลายปี 2562 เพื่อเริ่มก่อสร้างช่วงต้นปี 2563

ทั้งนี้ เมื่อเดือน ต.ค. 2561 ร.ฟ.ท.ได้เปิดรับฟังความเห็นภาคเอกชนในการลงทุน (MarketSounding) โครงการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ศูนย์คมนาคมพหลโยธิน โดยจะนำร่องที่แปลง A เนื้อที่ประมาณ 32 ไร่ มูลค่าลงทุน 11,721 ล้านบาท ระยะเวลาสัมปทาน 30ปี กำหนดระยะเวลาก่อสร้าง 4 ปี ซึ่งได้รับความสนใจจากภาคเอกชนและนักลงทุนที่เล็งเห็นถึงศักยภาพของสถานีกลางบางซื่อและแผนการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานี

ทั้งนี้ ตามแผนงานพื้นที่แปลง A จะทยอยพัฒนาและเปิดให้บริการบางส่วนในกลางปี 2564 ซึ่งจะเปิดให้บริการเต็มแปลง A ในปี 2566 ซึ่งเป็นโครงการที่จะรองรับการเปิดเดินรถสายสีแดงและสถานีกลางบางซื่อ รวมถึงโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน และรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน เส้นทางกรุงเทพ-นครราชสีมา

//-------------------------------------

“รถไฟ” ขุดสมบัติเจ้าคุณปู่ปั๊มรายได้
โดย ไทยรัฐฉบับพิมพ์
อังคารที่ 8 มกราคม 2562 เวลา 09:01 น.

นายวรวุฒิ มาลา รักษาการผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า ปีงบประมาณ 2562 รฟท. คาดว่าจะมีรายได้ธุรกิจหลัก ราว 5,600-5,800 ล้านบาท ซึ่งใกล้เคียงกับปีงบประมาณ 2561 แบ่งเป็นรายได้จากการขนส่งผู้โดยสาร 3,800 ล้านบาท และขนส่งสินค้า 1,800-2,000 ล้านบาท ส่วนรายได้ที่ไม่ใช่ธุรกิจหลัก คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 10% เป็น 3,800 ล้านบาท เนื่องจาก รฟท.ได้เจรจาและทำสัญญาเช่าที่ดินที่หมดอายุกับผู้เช่ารายเดิมแล้ว โดยจะเป็นการทำสัญญาที่ดินขนาดเล็กหลายแปลงรวมกัน ซึ่งมั่นใจว่าจะทำให้ รฟท. มีรายได้เพิ่มขึ้นแน่นอน ขณะเดียวกัน รฟท.อยู่ระหว่างผลักดันโครงการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์แปลงใหม่ๆ เพื่อเพิ่มรายได้ให้มากยิ่งขึ้น คือ โครงการพัฒนาศูนย์คมนาคมพหลโยธิน แปลงเอขนาด 32 ไร่ มูลค่ากว่า 10,000 ล้านบาท ปัจจุบันอยู่ระหว่างร่างเงื่อนไขการประมูล (TOR) คาดว่าจะเปิดประมูลได้ในไตรมาสแรก ปี 2562

นอกจากนี้ รฟท.ยังได้ศึกษาพัฒนาพื้นที่รอบสถานีรถไฟขอนแก่น จ.ขอนแก่น ให้เป็นพื้นที่บริการเชิงพาณิชย์ เนื่องจากเป็นสถานีที่มีศักยภาพ มีการพัฒนารถไฟทางคู่, รถไฟความเร็วสูงไทย-จีน เฟส 2 และระบบขนส่งรางเบาในตัวเมืองขอนแก่นด้วย คาดว่าจะใช้เวลาศึกษาราว 3-4 เดือน หากโครงการมีความเป็นไปได้ก็จะศึกษาออกแบบและประเมินมูลค่าการลงทุนตามขั้นตอนต่อไป ทั้งนี้ ได้มีการประเมินมูลค่าการลงทุนเบื้องต้น จะอยู่ราว 5,000-8,000 ล้านบาท ให้สัมปทาน 30-50 ปี อย่างไรก็ตาม จะต้องนำผลการศึกษาไปรับฟังความคิดเห็นสาธารณะจากคนท้องถิ่นก่อนและ รฟท.ก็ต้องการสนับสนุนผู้ประกอบการท้องถิ่นให้เข้าร่วมพัฒนาโครงการนี้

นายวรวุฒิ กล่าวต่อว่า รฟท. ได้เตรียมแผนการลงทุนรถไฟทางคู่สายตะวันออกเฉียงเหนือ (อีสาน) รวม 3 เส้นทาง วงเงิน 122,000 ล้านบาท เพื่อให้สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) พิจารณาในเร็วๆนี้ ประกอบด้วย โครงการรถไฟทางคู่ เฟส 2 ช่วงชุมทางถนนจิระ-อุบลราชธานี มูลค่า 36,000 ล้านบาท, โครงการรถไฟทางคู่ ช่วงขอนแก่น-หนองคาย มูลค่า 26,000 ล้านบาท, รถไฟทางคู่สายใหม่ ช่วงบ้านไผ่-มหาสารคาม-ร้อยเอ็ด-มุกดาหาร-นครพนม มูลค่า 60,000 ล้านบาท ส่วนความคืบหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา และธุรกิจที่เกี่ยวข้องวงเงินลงทุน 220,000 ล้านบาทนั้น อยู่ระหว่างรอข้อเสนอเพิ่มเติมจากกิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด หรือซีพี และพันธมิตร (กลุ่มซีพี) ที่กำหนดจะยื่นข้อเสนอในวันที่ 9 ม.ค.นี้.
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44320
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 09/01/2019 5:51 am    Post subject: Reply with quote

รฟท.รื้อสัญญาเช่าที่ดันรายได้เชิงพาณิชย์โต 10%
TNN 24Published on Jan 7, 2019

การรถไฟฯ เตรียมรื้อสัญญาเช่าที่ดิน หวังดันรายได้เชิงพาณิชย์ในปีนี้ให้ได้ 3,800 ล้านบาท หรือเติบโต ร้อยละ 10 พร้อมเดินหน้าพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขอนแก่น รองรับโครงการโครงสร้างพื้นฐานระบบรางที่จะเกิดขึ้นในอนาคต


https://www.youtube.com/watch?v=TlQzhEQZzDM
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44320
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 09/01/2019 5:52 am    Post subject: Reply with quote

ร.ฟ.ท.เร่งพัฒนาพื้นที่ ดันรายได้เชิงพาณิชย์โต 10% | 8 ม.ค. 62
ห้องข่าวกรุงเทพธุรกิจ Published on Jan 7, 2019

การรถไฟฯตั้งเป้าดันรายได้เชิงพาณิชย์ขยายตัว 10% เพิ่มเป็น 3.8 พันล้านบาท เร่งพัฒนาเชิงพาณิชย์ศูนย์คมนาคมพหลโยธิน

รายการ ห้องข่าวกรุงเทพธุรกิจ “มือขวาของนักลงทุน” เจาะลึกข้อมูลข่าวสารทางธุรกิจ การเงิน การลงทุน ออกอากาศทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 10.05-11.00น. ทางเนชั่นทีวี ช่อง 22


https://www.youtube.com/watch?v=zl_SZQXvHu8
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 09/01/2019 10:45 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
Wisarut wrote:
เปิดเอกชนพัฒนาพื้นที่ สถานีรถไฟขอนแก่น ทำสวนสนุกโมเดล ‘ยูนิเวอร์แซล’
เศรษฐกิจ
วันที่ 7 มกราคม 2562 - 15:55 น.
“รฟท.”ทำมาร์เก็ตซาวน์ดิ้ง รอบสถานีรถไฟขอนแก่นรับไฮสปีดเทรน (มีคลิป)
วันที่ 7 มกราคม 2562 - 18:05 น.

'รฟท.'พัฒนาสถานีขอนแก่น เอกชนร่วมลงทุน 8 พันล้าน
กรุงเทพธุรกิจ 8 ม.ค. 62


ร.ฟ.ท.เปิดรับฟังความเห็นนักลงทุน ร่วมทุนพัฒนาสถานีขอนแก่น108ไร่

วันที่ 7 มกราคม 2562 -

ร.ฟ.ท.เปิดรับฟังความเห็นนักลงทุนพัฒนาโครงการพื้นที่บริเวณอาคารบ้านพักพนักงาน อาคารที่ทำการ และสนามกอล์ฟที่สถานีขอนแก่น ขนาดพื้นที่ 108 ไร่รับรถไฟทางคู่ ไฮสปีดเทรนและรางเบา รูปแบบศูนย์แสดงสินค้า สำนักงาน ที่อยู่อาศัย และสวนสนุก พร้อมเร่งขับเคลื่อนโครงการอื่นอีกเพียบ

นายวรวุฒิ มาลา รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณอาคารบ้านพักพนักงาน อาคารที่ทำการ และสนามกอล์ฟที่สถานีขอนแก่น ตามพระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ.2556 ว่า โครงการนี้ยังเป็นเพียงแนวคิดและเป็นการสอบถามนักลงทุนเพื่อศึกษาเรื่องความสนใจ ซึ่งมีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 108 ไร่ อยู่ใจกลางเมืองขอนแก่น ติดกับถนนมิตรภาพและสามารถเชื่อมต่อไปยังจังหวัดหนองคาย และเวียงจันทน์ สปป.ลาว

โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาให้พร้อมรองรับรถไฟทางคู่ รถไฟฟ้ารางเบา และโครงการรถไฟความเร็วสูง ไทย-จีน ซึ่งจะช่วยพัฒนาให้จังหวัดขอนแก่นมีความเจริญ คาดการณ์ผู้โดยสารที่ใช้บริการ 28,000-38,000 คนต่อวัน รถไฟฟ้ารางเบาวิ่งในตัวเมืองขอนแก่นระยะทาง 22 กิโลเมตร, โครงการรถไฟความเร็วสูง ไทย-จีน ระยะที่ 2, และโครงการขอนแก่นสมาร์ทซิตี้ ที่เชื่อมโยงกับสถานีขอนแก่นทั้งหมด ขณะที่เบื้องต้นบริษัทที่ปรึกษาตั้งเป้าไว้ว่าจะให้เป็นพื้นที่ ศูนย์แสดงสินค้า อาคารสำนักงาน ที่อยู่อาศัย และสวนสนุกหรือรูปแบบมิกซ์ยูส แต่จะต้องสอบถามความคิดเห็นจากเอกชนก่อนว่ามีความสนใจมากน้อยแค่ไหน และพื้นที่จะสามารถพัฒนาต่อไปได้อย่างไร

“โครงการนี้ยังเป็นเพียงแนวคิดและเป็นการสอบถามนักลงทุนเพื่อศึกษาเรื่องความสนใจในการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขอนแก่น โดยจะต้องสอบถามความคิดเห็นจากเอกชนว่ามีความสนใจมากน้อยแค่ไหน และพัฒนาต่อได้อย่างไร โดยเบื้องต้นโครงการนี้จะใช้รูปแบบการร่วมทุนรัฐและเอกชน หรือ PPP จากการประเมินราคาที่ดินเกิน1,000 ล้านบาท”

นายวรวุฒิกล่าวอีกว่าส่วนแผนนำที่ดินที่ไม่ใช้เพื่อการเดินรถของการรถไฟ (Non-Core) นั้นตั้งเป้าในปีนี้ว่าจะเพิ่มจากเดิม 10% โดยมาจากการเร่งรัดทำสัญญาเช่าโครงการที่ครบกำหนดสัญญา ส่วนธุรกิจหลักหรือ (Core-Business) คาดว่ารายได้จากค่าโดยสารปีนี้อยู่ที่ 3,800 ล้านบาท รายได้จากสินค้าอยู่ที่ 1,800 ล้านบาท และหากมีศูนย์ขนส่งสินค้าทางรถไฟจะอยู่ที่ 2,000 ล้านบาท
สำหรับแผนการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชน หรือ ทีโอดี หลังจากนี้จะพัฒนาพื้นที่รถไฟชานเมืองสายสีแดงส่วนต่อขยายตลิ่งชัน-ศิริราช / สถานีแม่น้ำ และพื้นที่ กม.11 ขณะที่ในปี 2564-2565 วางแผนจะพัฒนาพื้นที่รัชดาภิเษก ย่านอาร์ซีเอ ต่อเนื่องกันไป

ในส่วนความคืบหน้ารถไฟทางคู่สายอีสาน ขอนแก่น-หนองคาย ระยะทาง 174 กิโลเมตร งบประมาณ 26,663 ล้านบาท เส้นทางชุมทางถนนจิระ-อุบลราชธานี ระยะทาง 309 กิโลเมตร งบประมาณ 37,527 ล้านบาทและสายใหม่บ้านไผ่-นครพนม ระยะทาง 355 กิโลเมตร งบประมาณ 67,965 ล้านบาท ขณะอยู่ระหว่างการพิจารณาของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.) โดยเส้นทางขอนแก่น-หนองคายผ่านการพิจารณาผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติเรียบร้อยแล้ว

ขณะที่นายประเสริฐศึก สายพวรรณ์ รองผู้จัดการโครงการฯ กล่าวว่าโครงการดังกล่าวคาดว่าจะใช้วงเงินมูลค่าลงทุนประมาณ 5,000 -8,000 ล้านบาท โดยอาจจะให้เช่าพื้นที่ระยะเวลา 30-50 ปี แต่ก็ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของการรถไฟฯ ซึ่งจะต้องนำข้อมูลจากการรับฟังความคิดเห็นนักลงทุนมาปรับให้สอดคล้องกับความต้องการนักลงทุน และคาดว่าจะสรุปแผนพัฒนาพื้นที่ดังกล่าวเสนอให้ ครม.พิจารณาภายใน 18 เดือน

นอกจากนี้ทางด้านที่ปรึกษาการศึกษาโครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณสถานีขอนแก่น กล่าวว่าโครงการดังกล่าววัตถุประสงค์หลักๆในการประเมินความสนใจการลงทุนของภาคเอกชนในพื้นที่ เปิดโอกาสให้เอกชนสอบถามข้อมูลและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในส่วนของการพัฒนาโครงการเพื่อกำหนดรูปแบบการพัฒนาในอนาคตต่อไป โดยพื้นที่การพัฒนาดังกล่าวจะมีแบ่งการพัฒนาพื้นที่ได้แก่ 1.โซน B พื้นที่จำนวน 16.2 ไร่ โครงการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์บริเวณ 2.โซน C,D พื้นที่จำนวน 26.5 ไร่ โรงแรม,ศูนย์ประชุม และแสดงสินค้า 3.โซน E พื้นที่จำนวน 58.6 ไร่ พื้นที่สวนสนุกและพื้นที่สันทนาการ และ4.โซน F พื้นที่จำนวน 8 ไร่ พื้นที่ประเภทกลุ่มอาคารสำนักงาน และที่พักอาศัยของพนักงานการรถไฟ

ด้านนายชาญณรงค์ บุริสตระกูล นายกสมาคมอสังหาริมทรัพย์ขอนแก่น กล่าวว่า พื้นที่ของร.ฟ.ท.เป็นพื้นที่ที่น่าสนใจในการลงทุนเพราะอยู่ใจกลางเมือง สามารถสนับสนุนเศรษฐกิจและทิศทางของจังหวัดได้ในอนาคต โดยต้องการให้ร.ฟ.ท. มองเป้าหมายของการพัฒนา ในพื้นที่ดังกล่าวสำหรับรองรับการพัฒนาในกลุ่มอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง รองรับทั้งคนในจังหวัด ภูมิภาค และประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อให้การพัฒนาเดินหน้าได้อย่างตรงจุด

“ปัจจุบันในจังหวัดขอนแก่นมีที่ดินแปลงใหญ่ที่จะพัฒนาเป็นพื้นที่เชิงพาณิชย์ หรือ TOD 3-4 แปลง โดยเฉพาะ 200 ไร่ฝั่งตรงข้ามแปลงของร.ฟ.ท.มีแผนการพัฒนาไว้พร้อมแล้ว ดังนั้นหาก ร.ฟ.ท. ออกแบบร่วมกับเอกชนในการพัฒนาเมือง เพื่อให้แต่ละจุดสนับสนุนเชื่อมโยงซึ่งกันและกัน จะเป็นการพัฒนาที่ได้ประโยชน์ร่วมกัน”

นายพรนริศ ชวนไชยสิทธิ์ นายกสมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทย กล่าวว่า หากร.ฟ.ท.สามารถเปิดพื้นที่โซนติดกับถนนมิตรภาพได้กว้างมากขึ้นจะทำให้ที่ดินแปลงดึงกล่าวมีมูลค่าเพิ่มมากขึ้น ซึ่งคงจะต้องเจรจากับภาคเอกชนรูปแบบการพัฒนาร่วมกันจึงจะส่งผลให้ที่ดินทั้งแปลงเอกชนฝั่งตรงข้ามราว 200 ไร่ และแปลงที่ดินของร.ฟ.ท. 108 ไร่สามารถพัฒนารูปแบบศูนย์เศรษฐกิจรูปแบบใหม่ เนื่องจากมีศูนย์เศรษฐกิจใกล้เคียงแล้วยังมีโรงแรม ศูนย์การค้าเกิดขึ้นโดยรอบแล้วมากมาย
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 11/01/2019 10:27 am    Post subject: Reply with quote

คมนาคมตีกลับแผน “มักกะสัน” ติงรูปแบบ PPP แนวพัฒนายังไม่ชัดเจน
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: ศุกร์ที่ 11 มกราคม 2562 เวลา 07:43
ปรับปรุง: ศุกร์ที่ 11 มกราคม 2562 เวลา 10:17


“คมนาคม” สั่ง ร.ฟ.ท.ปรับปรุงแผนพัฒนาเชิงพาณิชย์ที่ดิน “มักกะสัน” ใหม่ ให้ตัดแปลง A ที่เป็นสัมปทานของรถไฟ 3 สนามบินไปแล้วออกจากแผน และวางรูปแบบ PPP ให้ชัดเจนว่าจะร่วมลงทุนเอกชนแบบแบ่งผลประโยชน์หรือให้เช่าใช้ที่ดิน แนะรอดูโมเดลพัฒนาของซีพี หวั่นซ้ำซ้อนกระทบ PPP เพราะพื้นที่ต่อเนื่องกัน

นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมโครงการตามพระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556 พื้นที่ย่านมักกะสันของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ว่า จากที่ ร.ฟ.ท.ได้ศึกษาและวิเคราะห์โครงการพัฒนาบริเวณพื้นที่ย่านมักกะสัน ซึ่งได้นำเสนอต่อกระทรวงคมนาคมนั้น ยังพบว่ามีรายละเอียดของแผนการพัฒนา เช่น รูปแบบ และมูลค่าโครงการที่อาจจะยังไม่สอดคล้องกับสภาพปัจจุบัน รวมถึงให้ ร.ฟ.ท.พิจารณาแนวทางที่ดำเนินโครงการที่เป็นผลประโยชน์ที่รัฐจะได้รับให้ดีที่สุด โดยให้ ร.ฟ.ท.ปรับปรุงรายงานการศึกษาร่วมลงทุน (PPP) พัฒนาเชิงพาณิชย์ที่ดินมักกะสันใหม่

ทั้งนี้ ในการพิจารณาผลการศึกษา สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) มีความเห็น แนวทางการพัฒนาที่ ร.ฟ.ท.นำเสนอ 2-3 ประเด็นยังไม่มีความชัดเจน เช่น มีการนำพื้นที่แปลง A ติดสถานีรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ มารวมในแผนการพัฒนามักกะสันทั้งหมด ซึ่งพื้นที่แปลง A ดังกล่าวนั้นเป็นส่วนของโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินพัฒนาไปแล้ว ร.ฟ.ท.ต้องแยกให้ชัดเจนเพราะจะมีผลต่อมูลค่าของผลประโยชน์ที่เกิดขึ้น

“ให้ ร.ฟ.ท.ทบทวนแผนพัฒนาที่ดินมักกะสัน ตอนนี้จะมีแปลง B, C, D, E โดยตัดแปลงA ออก ส่วนแปลง E จะต้องดูอีกทีเพราะมีพื้นที่ส่วนที่ ร.ฟ.ท.จะนำมาใช้ประโยชน์เอง ซึ่งจะต้องตัดออกจากการศึกษาร่วมลงทุน หรือการพัฒนาเชิงพาณิชย์ด้วยเพราะจะมีผลต่อมูลค่าโครงการทั้งสิ้น ส่วนการพัฒนายังเห็นว่าควรแบ่งเป็นเฟส โดยให้เร่งสรุปและนำเสนอคณะกรรมการ (บอร์ด) ร.ฟ.ท.เพื่อเสนอกระทรวงคมนาคมพิจารณาอีกครั้ง” นายชัยวัฒน์กล่าว

เรื่องพัฒนาที่ดินของรถไฟ โดยเฉพาะที่ดินมักกะสันที่มีความเกี่ยวเนื่องกับโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน เป็นโครงการที่มีมูลค่าสูงและอยู่ในความสนใจของประชาชน ดังนั้น การพิจารณาจะต้องรอบคอบ ต้องมีเหตุผลและต้องไม่ให้เกิดความสงสัย

รายงานข่าวแจ้งว่า แผนพัฒนาที่ดินมักกะสันที่ ร.ฟ.ท.เสนอยังมีความไม่ชัดเจนหลายเรื่อง เช่น โรงงานมักกะสัน ตามมติบอร์ด ร.ฟ.ท.ให้ปรับปรุงแต่แผนพัฒนาพื้นที่พบว่าจะเป็นการย้ายโรงงานออกไปที่อื่น, รูปแบบการร่วมลงทุนเอกชน (PPP) ซึ่งมีทั้งการร่วมทุนให้สัมปทานและแบ่งผลประโยชน์ให้ ร.ฟ.ท. หรือการร่วมทุนโดยให้เช่าพื้นที่ ร.ฟ.ท.รับผลประโยชน์จากค่าเช่า ซึ่งหลักการจะต้องเลือกแนวทางที่รัฐได้ประโยชน์มากที่สุด

กระทรวงคมนาคมได้รับความช่วยเหลือจากองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น หรือไจก้า ในการศึกษาแผนการพัฒนาพื้นที่สถานีกลางบางซื่อ และพื้นที่โดยรอบของ ร.ฟ.ท.เพื่อพัฒนาเป็นศูนย์คมนาคมพหลโยธิน รวมถึงพื้นที่มักกะสัน ซึ่ง ร.ฟ.ท.ได้นำแนวคิดของไจก้าไปปรับให้เหมาะสมกับการพัฒนาเชิงพาณิชย์พื้นที่แต่ละแห่ง โดยไจก้าได้ให้ความเห็นเบื้องต้นสำหรับการพัฒนาพื้นที่มักกะสันว่า หากเน้นเรื่องร้านค้ามากเกินไปอาจจะไม่คุ้มค่า เนื่องจากแนวโน้มของอนาคตจะเป็นการซื้อของออนไลน์มากขึ้น ดังนั้น ร.ฟ.ท.ควรพัฒนาเป็นที่อยู่อาศัยและสำนักงานด้วย

แนวทางการพัฒนาที่ดินมักกะสัน ล่าสุดมีพื้นที่ รวม 423.15 ไร่ ประกอบด้วย พื้นที่แปลง A ติดสถานีรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์มักกะสัน 92.7 ไร่ (อยู่ในโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน) แปลง B 141.43 ไร่ แปลง C 138.07 ไร่ แปลง D 36.95 ไร่ และแปลง E 11.30 ไร่

ทั้งนี้ แปลง B, C, D, E ร.ฟ.ท.จะดำเนินการพัฒนาเองแต่เนื่องจากเป็นพื้นที่ต่อเนื่องกับแปลง A ดังนั้น ต้องรอความชัดเจนของการพัฒนาพื้นที่มักกะสันแปลง A ของเอกชน3 สนามบินก่อน ซึ่งคณะกรรมการคัดเลือกรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินจะประชุมและเจรจากับกลุ่มซีพีในเงื่อนไขข้อเสนอเพิ่มเติม (ซอง 4) ในวันที่ 15 ม.ค.นี้ และหากตกลงกันได้จะสรุปผลการประมูลและจะได้เห็นแผนที่กลุ่มซีพี จะพัฒนาพื้นที่มักกะสัน รวมถึงมูลค่าที่จะเกิดขึ้น เพื่อ ร.ฟ.ท.จะได้นำมาเป็นข้อมูลในการพัฒนาพื้นที่แปลงอื่นๆ ที่อยู่ติดกันเพื่อให้เกิดผลประโยชน์สูงสุด

“การพัฒนาเชิงพาณิชย์เป็นเรื่องใหม่สำหรับ ร.ฟ.ท. ดังนั้นต้องดูข้อมูลให้รอบด้าน และเนื่องจากรถไฟ 3 สนามบินเพิ่งเกิด ดังนั้น ร.ฟ.ท.ต้องไปปรับปรุงใหม่ ให้ข้อมูลและรายละเอียดอัปเดตที่สุด และมูลค่าโครงการต้องลดลงด้วยเพราะพื้นที่น้อยลง”
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 14/01/2019 12:20 pm    Post subject: Reply with quote

บอร์ดร.ฟ.ท.ไฟเขียว สั่งลุยเคลียร์บุกรุกสถานีแม่น้ำ
12 มกราคม 2562

บอร์ดร.ฟ.ท.สั่งให้เร่งเคลียร์ผู้บุกรุกพ้นที่ดินแปลงสถานีแม่น้ำ บนพื้นที่ 86 ไร่เผยแจ้งความคดีอาญาแล้ว 35 ราย อยู่ระหว่างสอบสวน 34 ราย พร้อมฟ้องเพิ่มอีก 19 ราย เผยฟ้องแพ่งเรียกค่าเสียหายจำนวน 13 คดีทุนทรัพย์รวมกว่า 47 ล้านบาท



แหล่งข่าวระดับสูงของคณะกรรมการ(บอร์ด) การรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่ามติที่ประชุมเมื่อวันที่ 11 มกราคม 2562 ที่ผ่านมากรณีรายงานความคืบหน้าการดำเนินการกับผู้บุกรุกที่ดินบริเวณย่านสถานีแม่น้ำว่าเดิมมีการบุกรุกใช้ประโยชน์ในที่ดินคิดเป็นเนื้อที่ประมาณ 86 ไร่ โดยนายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจบริหารทรัพย์สิน รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการร.ฟ.ท.มีบันทึกสั่งการให้ฝ่ายการช่างโยธาพิจารราจัดทำรั้วหรือคันดินป้องกันการบุกรุกแล้ว จากปัจจุบันที่สามารถผลักดันผู้บุกรุกให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและขนย้ายทรัพย์สินออกไปจากพื้นที่แล้วคิดเป็นเนื้อที่ประมาณ 14 ไร่ หรือประมาณ 17% ของพื้นที่บุกรุกทั้งหมด

ปัจจุบันได้แจ้งความดำเนินคดีอาญาจำนวน 35 ราย อยู่ระหว่างการสอบสวนของพนักงานอีกจำนวน 34 ราย ศาลมีคำพิพากษาแล้ว 1 ราย ทั้งนี้ผู้บุกรุกจำนวน 12 รายรวมเนื้อที่ประมาณ 30 ไร่ได้ลงบันทึกประจำวันกับพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลทุ่งมหาเมฆว่ายินยอมรื้อถอนออกไปภายในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2562 นี้



นอกจากนี้ยังอยู่ระหว่างดำเนินการบังคับคดีขับไล่รื้อถอนตามคำพิพากษาศาลแพ่งกรุงเทพใต้ 1 คดี(ขอศาลออกหมายจับจำเลยและบริวารรวม 4 คน) เนื้อที่ 6,000 ตารางเมตร และภายในสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2562 คาดว่าจะได้พื้นที่คืนอีกประมาณ 47 ไร่ คิดเป็น 54% ของพื้นที่บุกรุกทั้งหมด พร้อมกับได้ยื่นฟ้องขับไล่เรียกค่าเสียหายจำนวน 13 คดี ทุนทรัพย์รวมกว่า 47 ล้านบาท และอยู่ระหว่างการฟ้องคดีแพ่งเพิ่มเติมอีกจำนวน 19 ราย

“เจ้าพนักงานที่ดินกรุงเทพมหานครนัดทำการรังวัดสอบเขตที่ดินในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2562 และพื้นที่บริเวณคลองขุดตั้งแต่วัดช่องลม จนถึงริมน้ำเจ้าพระยา มีสิ่งปลูกสร้างของผู้บุกรุกอยู่อาศัยเป็นชุมชนแออัดประมาณ 100 หลังคาเรือน อยู่ระหว่างสำรวจรายละเอียดผู้ครอบครองและรอการรังวัดสอบเขตแนวที่ดินให้แน่ชัด เนื่องจากมีแนวเขตติดกับที่ดินของผู้มีชื่อประมาณ 80 ราย”



ทั้งนี้จากการลงพื้นที่ของผู้สื่อข่าวพบว่ามีผู้บุกรุกทั้งนิติบุคล บริษัทเอกชน และผู้ประกอบการรายบุคคลเข้าไปบุกรุกพื้นที่ดังกล่าว อาทิ บริษัท ประทับใจ ทรานสปอร์ต จำกัด ทุนทรัพย์ 10 ล้านบาท บริษัท โอ แอน์ อแสโซซิเอท จำกัด ทุนทรัพย์ 12 ล้านบาท หจก.เดชประเสริฐ ขนส่ง ทุนทรัพย์ 3.4 ล้านบาท บริษัท จุฑาเพชร ทรานสปอร์ต จำกัด ทุนทรัพย์ 2.6 ล้านบาท นายนิรันดร์ ศรีวิบูลย์ ทุนทรัพย์ 3.2 ล้านบาท น.ส.วันดี หนูรอด ทุนทรัพย์ 3.6 ล้านบาท นายหนู สอดศรี ทุนทรัพย์ 3.5 ล้านบาท เป็นต้น
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 149, 150, 151 ... 197, 198, 199  Next
Page 150 of 199

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©