Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311234
ทั่วไป:13180492
ทั้งหมด:13491726
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 299, 300, 301 ... 542, 543, 544  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 02/01/2019 4:50 pm    Post subject: Reply with quote

“ครม.บิ๊กตู่” ไฟเขียวเวนคืนที่ดิน 3 จังหวัด เชื่อมไฮสปีดเทรน 3 สนามบิน
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ วันที่ 2 January 2019 - 16:18 น.

เมื่อเวลา 13.30 น. ที่ตึกนารีสโมสร ทำเนียบรัฐบาล นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันนี้ (2 ม.ค.62) ว่า ครม.มีมติเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกา (พ.ร.ฎ.) การกำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน เพื่อดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน พ.ศ. …. ดังนี้ ในท้องที่แขวงคลองสามประเวศ แขวงลาดกระบัง เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร

ตำบลหนองปรือ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ตำบลบางเตย ตำบลวังตะเคียน ตำบลท่าไข่ ตำบลบางขวัญ ตำบลบ้านใหม่ ตำบลบางไผ่ อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา

ตำบลบ้านสวน ตำบลหนองข้างคอก ตำบลห้วยกะปิ อำเภอเมืองชลบุรี ตำบลบางพระ ตำบลสุรศักดิ์ อำเภอศรีราชา ตำบลนาเกลือ ตำบลหนองปรือ ตำบลห้วยใหญ่ อำเภอบางละมุง ตำบลนาจอมเทียน ตำบลบางเสร่ ตำบลพลูตาหลวง อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี และตำบลสำนักท้อน ตำบลพลา อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง

เพื่อก่อสร้างย่านสถานี ทางเข้าออกสถานี ทางรถไฟ และดำเนินกิจการที่เป็นประโยชน์ แก่กิจการรถไฟ ตามโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน หรืออยู่ภายใต้วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) โดยมีที่ดินที่จะต้องเวนคืนประมาณ 850-0-04.82 ไร่ และสิ่งปลูกสร้างประมาณ 245 หลัง
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 02/01/2019 5:07 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
รีวิวไฮสปีดเทรนไทยแลนด์ ซี.พี.ทุ่มแสนล้านปลุก EEC ไทย-จีนอืด “เจริญ” รอตีตั๋วสายใต้ไปสุราษฎร์ฯ
พร็อพเพอร์ตี้
วันพุธที่ 2 มกราคม 2562 เวลา 08:30 น.


30ธ.ค.61 เช็คความคืบหน้า "ไฮสปีดเทรน" 4สายของไทยรอบปี 61
https://www.facebook.com/ake.bluechifamily/posts/2089948997718701
https://www.thebangkokinsight.com/80799/
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 03/01/2019 10:37 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
“ครม.บิ๊กตู่” ไฟเขียวเวนคืนที่ดิน 3 จังหวัด เชื่อมไฮสปีดเทรน 3 สนามบิน
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ วันที่ 2 January 2019 - 16:18 น.


ครม.เห็นชอบ พ.ร.ฎ.เขตเวนคืน เปิดพื้นที่ก่อสร้าง “ไฮสปีด 3 สนามบิน”
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: พุธที่ 2 มกราคม 2562 เวลา 17:23
ปรับปรุง: พุธที่ 2 มกราคม 2562 เวลา 18:09


ครม.เห็นชอบ พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดิน ก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน โดย “คมนาคม-ร.ฟ.ท.” เร่งสำรวจพื้นที่เวนคืน ก่อนออก พ.ร.ฎ.บังคับใช้เวนคืนที่ดินต่อไป

นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 2 ม.ค. มีมติเห็นชอบในหลักการตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน เพื่อดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา)

โดยมอบหมายให้กระทรวงคมนาคมสำรวจเส้นทางพื้นที่ เพื่อออกพระราชกฤษฎีกาในการเวนคืนที่ดินในโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน โดยมีพื้นที่ที่ต้องเวนคืนทั้งในส่วนที่เป็นหน่วยงานรัฐและพื้นที่ประชาชน แบ่งเป็น 3 เส้นทาง (3 จุด) ครอบคลุมประมาณ 20 ตำบล (แห่ง) ในหลายจังหวัด เช่น พื้นที่บางส่วนในเขตแขวงคลอง 3 ประเวศ, แขวงลาดกระบัง หนองปรือ บางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ตำบลบางเตย ตำบลวังตะเคียน ตำบลบ้านใหม่ อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ตำบลท่าฉาง จังหวัดระยอง เป็นต้น

ทั้งนี้ ในแต่ละพื้นที่ที่จะต้องเวนคืนที่ดินมีความจำเป็นที่แตกต่างกันไป อย่างไรก็ตาม ไม่ได้มีกำหนดระยะเวลาแต่ทั้งนี้ได้ให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) กระทรวงคมนาคมดำเนินการสำรวจในเรื่องนี้ให้เป็นไปอย่างรอบคอบและเรียบร้อย โดยร่วมกับกระทรวงมหาดไทยในการสำรวจเส้นทางและพื้นที่ที่เกี่ยวข้อง

รายงานข่าวแจ้งว่า โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ระยะทาง 220 กม. วงเงินลงทุน 224,544.36 ล้านบาท ครม.ได้เคยอนุมัติมูลค่างานที่เกี่ยวข้องกับการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินและค่าสำรวจอสังหาริมทรัพย์โครงการรถไฟความเร็วสูงฯ ในกรอบวงเงินจำนวน 3,570.29 ล้านบาท ซึ่ง ร.ฟ.ท.ได้ประเมินพื้นที่เวนคืน 850 ไร่ มีเช่น พื้นที่ จ.ฉะเชิงเทรา 550 ไร่ โดยเป็นพื้นที่เกษตรกรรม อ.บางน้ำเปรี้ยว 116 ไร่ สถานีใหม่ 76 ไร่ ศูนย์ซ่อมบำรุง 358 ไร่ นอกจากนี้เป็นพื้นที่บริเวณสถานีลาดกระบัง ทางเข้าออกสถานีสุวรรณภูมิ และสถานีอู่ตะเภา เป็นต้น
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 03/01/2019 1:42 pm    Post subject: Reply with quote

ต่อเวลา! ซี.พี.ส่งข้อเสนอเพิ่มเติมถึง 9 ม.ค.นี้ รถไฟเร่งเวนคืนที่ดินเปิดไซต์ก่อสร้างให้ทันปีนี้
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ วันที่ 3 January 2019 - 13:04 น.

นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าฝ่ายบริหาร รักษาการผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า คณะกรรมการคัดเลือกโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง – สุวรรณภูมิ – อู่ตะเภา) ระยะทาง 220 กม. เงินลงทุน 224,544 ล้านบาท ยังไม่ได้มีการเจรจากับกลุ่มกิจการร่วมค้าบริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร หรือกลุ่มซี.พี. เพียงแต่มาพิจารณาข้อเสนอในซองที่ 4 (ข้อเสนอเพิ่มเติม) ร่วมกันเท่านั้น

โดยเป็นการแจ้งต่อที่ประชุมว่า คณะกรรมการคัดเลือกได้เปิดซองที่ 4 ของกลุ่มซี.พี.ไปแล้วเมื่อวันที่ 24 ธ.ค. 2561 ที่ผ่านมา และได้แจ้งให้ทางกลุ่ม ซี.พี.ว่า หากยังมีข้อเสนออื่นๆ เพิ่มเติมอีก ขอให้ส่งมาในวันที่ 27 ธ.ค. 2561 ทางกลุ่ม ซี.พี.ตอบกลับว่า ขอเลื่อนส่งข้อเสนอเพิ่มเติมออกไปก่อน เนื่องจากวันที่ 27 กระชั้นชิดเกินไปและอยู่ในช่วงเทศกาลปีใหม่

ทางคณะกรรมการคัดเลือกจึงเลื่อนให้ส่งข้อเสนอเพิ่มเติมเป็นวันที่ 9 ม.ค.นี้ หลังจากนั้นในวันที่ 15 ม.ค.จะมีการประชุมคณะกรรมการคัดเลือกเพื่อรับทราบข้อเสนอเพิ่มเติมต่อไป และจะมีการนัดกลุ่ม ซี.พี.มาเจรจาต่อไป

ส่วนข้อเสนอของกลุ่ม ซี.พี.นั้นยังไม่สามารถเปิดเผยรายละเอียดได้ เพราะที่ปรึกษายังจัดหมวดหมู่ข้อมูลไม่เสร็จ บวกกับติดข้อบังคับในภาคผนวกข้อ 44 ตามทีโออาร์ห้ามเปิดเผยข้อมูล

ทั้งนี้ไทม์ไลน์เดิมที่จะเซ็นสัญญาในวันที่ 31 ม.ค.นี้ ถ้าไม่ทันก็จะต้องแจ้งต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ให้รับทราบต่อไป ซึ่งถ้าเลื่อนก็คงเลื่อนไปนิดหน่อย ทั้งนี้ ต้องขึ้นอยู่กับการเจรจาด้วยว่าจะจบช้าหรือเร็ว เพราะการเจรจาของรัฐจะต้องรอบคอบที่สุด เนื่องจากโครงการมีมูลค่าหลายแสนล้านบาท ขณะที่เอกชนเขาก็ต้องการประโยชน์สูงสุดด้วย

ขณะที่การเวนคืนหลังจากที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบพระราชกฤษฎีกา (พ.ร.ฎ.) การกำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน เพื่อดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน พ.ศ. ….ในพื้นที่กรุงเทพฯ สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง มีเวนคืนที่ดิน 850 ไร่ และสิ่งปลูกสร้าง 245 หลัง วงเงิน 3,570ล้านบาท

จะมีขั้นตอนการดำเนินการอยู่แล้ว เมื่อ พ.ร.ฎ.ประกาศก็จะสามารถดำเนินการได้ทันที โดยจะเร่งให้เวนคืนให้เสร็จทันการก่อสร้าง แต่หากไม่ทันก็จะทยอยส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างในส่วนที่เวนคืนแล้วเสร็จไปก่อน

ส่วนการส่งมอบพื้นที่สำหรับพัฒนาเชิงพาณิชย์ทั้ง 2 ส่วนคือ พื้นที่มักกะสัน 150 ไร่ และพื้นที่ศรีราชา 25 ไร่ สำหรับศรีราชาเมื่อเซ็นสัญญาแล้ว สามารถส่งมอบได้ทั้งหมดทันที ส่วนพื้นที่มักกะสันเบื้องต้นจะส่งมอบก่อน 100 ไร่ หลังจากนั้นจะทยอยส่งมอบอีก 50 ไร่ ภายใน 5 ปี เนื่องจากจะต้องรื้อพ่วงรางรถไฟในบริเวณนี้ออกไปก่อน


https://www.youtube.com/watch?v=8Kv7oGtvx_0
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 03/01/2019 5:29 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
ต่อเวลา! ซี.พี.ส่งข้อเสนอเพิ่มเติมถึง 9 ม.ค.นี้ รถไฟเร่งเวนคืนที่ดินเปิดไซต์ก่อสร้างให้ทันปีนี้
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ วันที่ 3 มกราคม 2562 เวลา 13:04 น.


ยังไม่ปิดดีล! รถไฟ 3 สนามบินต่อรองซีพี ยันรัฐต้องไม่จ่ายเพิ่ม
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 3 มกราคม 2562 เวลา 15:21
ปรับปรุง: 3 มกราคม 2562 เวลา 16:41

กก.คัดเลือกฯ รถไฟความเร็วสูงรอ “ซีพี” ส่งข้อเสนอเพิ่มเติม 9 ม.ค.นี้ ก่อนเปิดโต๊ะเจรจารอบสุดท้าย “วรวุฒิ” เผยซอง 4 มีทั้งเสนอให้รัฐเพิ่มและขอจากรัฐ เน้นเรื่องเพิ่มประสิทธิภาพ เป็นไปตามหลักสากลของการร่วมลงทุน พร้อมเร่งสำรวจพื้นที่เวนคืน

นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยภายหลังประชุมคณะกรรมการคัดเลือกฯ โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา ระยะทาง 220 กม. มูลค่า 224,544.36 ล้านบาท ว่า ได้ประชุมเพื่อพิจารณาซอง 4 (ข้อเสนอเพิ่มเติม) ของกิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด (ซี.พี.) และพันธมิตร หลังจากที่ได้มีการเปิดซองข้อเสนอเพิ่มเติมไปเมื่อวันที่ 24 ธ.ค. 2561 และได้แจ้งกับ ซี.พี.กรณีที่มีข้อมูลเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องกับการเจรจาต่อรองให้เสนอภายในวันที่ 27 ธ.ค. 2561 แต่เนื่องจากมีเวลาน้อย ซี.พี.ขอขยายเวลาส่งข้อเสนอเพิ่มเติมวันที่ 9 ม.ค. 2562 ดังนั้น คณะกรรมการคัดเลือกฯ จึงนัดประชุมอีกครั้งในวันที่ 15 ม.ค. 2562

ทั้งนี้ คณะ กก.คัดเลือกฯ จะประชุมเพื่อประเมินข้อเสนอก่อน หลังจากนั้นจึงจะเรียก ซี.พี.มาเจรจาต่อรอง ซึ่งตามแผนกำหนดลงนามสัญญาภายในวันที่ 31 ม.ค. 2562 แต่หากการเจรจาต่อรองยังไม่สิ้นสุดอาจจะขยับกำหนดออกไปได้ ซึ่งจะรายงานสถานการณ์จริงต่อรัฐบาลเพราะโครงการนี้มีมูลค่าสูง ประโยชน์ของรัฐจะเสียหายไม่ได้ ขณะที่เป็นโครงการร่วมทุนเอกชน ตามหลักสากลจะต้องเจรจาเพื่อตกลงร่วมกัน

“ข้อเสนอเพิ่มเติมซองที่ 4 ของ ซี.พี.มีทั้งที่ให้เพิ่มและขอจากรัฐ ตอนนี้มีการจัดหมวดหมู่ไว้แล้ว รอข้อมูลที่เอกชนจะเสนอมาเพิ่มเติมหรือไม่ และข้อมูลมีการเชื่อมโยง เกี่ยวเนื่องกันอย่างไร มีเหตุผลหรือไม่ ส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพ กรณีที่รัฐต้องให้ก็จะไม่ใช่จ่ายเป็นตัวเงิน และหลักการรัฐจะไม่จ่ายอะไรเพิ่มนอกเหนือจากเงื่อนไขทีโออาร์”

ส่วนการเวนคืนที่ดินซึ่งคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติในหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนแล้วนั้น นายวรวุฒิกล่าวว่า กรณีที่เอกชนมีข้อเสนอที่จะต้องขยับจุดตั้งสถานีอยู่ที่ข้อเสนอ แต่ทั้งนี้จะต้องยึดตามกรอบ พ.ร.ฎ.กำหนดเขตพื้นที่ที่ ครม.อนุมัติไว้

ขณะนี้ ร.ฟ.ท.เตรียมลงพื้นที่เพื่อดำเนินการสำรวจตามมติ ครม.แล้ว ซึ่งหลังลงนามสัญญาจะสามารถส่งมอบพื้นที่มักกะสัน ซึ่งมีทั้งหมด 150 ไร่ โดยจะส่งมอบส่วนแรก 100 ไร่ก่อน และที่บริเวณศรีราชาจำนวน 25 ไร่ ส่วนที่ดินมักกะสันอีก 50 ไร่ที่เหลือทยอยมอบภายใน 5 ปี เนื่องจากจะต้องย้ายพวงรางออกจากพื้นที่ก่อน

“ขณะที่ที่ดินมักกะสันอยู่ระหว่างทำการังวัด ตรวจสอบขอบเขตพื้นที่ คาดว่าจะเสร็จกลางเดือน ม.ค. 2562 อย่างไรก็ตาม การเวนคืนจะดำเนินการตามขั้นตอน ซึ่งไม่กระทบต่อการก่อสร้างเพราะมีพื้นที่เขตทางรถไฟที่สามารถส่งมอบเพื่อให้เข้าพื้นที่ก่อสร้างได้ก่อน” นายวรวุฒิกล่าว
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 03/01/2019 11:43 pm    Post subject: Reply with quote

บทความว่าด้วยรถไฟความไวสูงเชื่อม 3 สนามบิน ที่ ต้องแย้งกะ ฐานเศรษฐกิจ โดย โครงสร้างพื้นฐาน ประเทศไทย Thailand Infrastructure
โครงสร้างพื้นฐาน ประเทศไทย Thailand Infrastructure wrote:
ขออธิบายจากข้อมูลจากการหาข้อมูลจาก TOR ของทางรฟท ตามนี้ครับ

1.ทั้งโครงการ 220 กม มีพื้นที่เวนคืนเพียง 850 ไร่ ซึ่งน้อยมากเทียบกับขนาดโครงการเนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่อยู่บนพื้นที่การรถไฟเดิมซะเป็นส่วนใหญ่ จะอยู่นอกพื้นที่ตามเอกสารแก้ไขโครงการของ รฟท ล่าสุดที่ผมเคยเสนอไปก่อนหน้านี้ใน 3 ส่วน ที่ต้องมีการเวนคืน คือ

1.1 ทางแยกสามเหลี่ยมสุวรรณภูมิ ขาออกจากสุวรรณภูมิ ออกไปทางฉะเชิงเทรา
1.2 พื้นที่ศูนย์ซ่อมบำรุง รถไฟความเร็วสูง บริเวณ ต.บางเตย ต.วังตะเคียน ต.บานใหม่ ซึ่งทั้งหมดอยู่ในอำเภอเมือง ฉะเชิงเทรา
ถ้าเอกชนต้องการจะพัฒนาพื้นที่โดยรอบก็ต้องตระเวนซื้อที่โดยรอบตัวสถานีเอง เพราะที่เวนคืนของราชการไม่สามารถใช้งานผิดวัตถุประสงค์ที่ขอ เช่น ขอเพื่อการก่อสร้างระบบรถไฟและโครงสร้างพื้นฐานโดยรอบตัวสถานีก็ห้ามใช้ในเชิงพาณิชย์อื่น
1.3 พื้นที่ทางเข้า-ออกสนามบินอู่ตะเภา ซึ่งตอนนี้ไม่มีทางเข้า-ออกทางรถไฟที่จะมาบริเวณที่จะก่อสร้าง Terminal 3 ใหม่ ซึ่งจะอยู่ระหว่าง Runway เดิม และ Runway ใหม่ซึ่งจะอยู่ทางตะวันออกของ Runway เดิม

2.ถ้าเอาแผนที่การรถไฟเคยทำเสนอช่วงที่ทำ EIA และ ชี้แจงผู้ได้รับผลกระทบมา จะซ้อนกันพอดีกับตำบลซึ่งมีชื่ออยู่ในข้อมูลที่ทางฐานเศรษฐกิจมาพูดถึงทั้งหมด
นั่นหมายความว่า ภาครัฐไม่ได้ทำเกินหน้าที่ ที่เวนคืนที่ดินไปเพื่อให้เอกชนหากินตามที่นักข่าวพูด แต่ถ้านอกเหนือโครงการนี้จะไปเช่าที่ของทหารเรือในการพัฒนาเมืองใหม่นั่นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง

3.เราน่าจะได้เห็นสถานี Shin-Chachoengsao ในโครงการนี้ แหละหวังว่าจะมีการพัฒนาเมืองใหม่โดยรอบสถานีอย่างเต็มที่อย่างควรจะเป็น
แต่ต้องไม่เกิดจากการขอมือรัฐบาลไปเวนคืนที่ดินอย่างที่นักข่าวตั้งท่าชี้นำไปในทางนั้น

4.ถ้าเป็นตามแผน น่าจะเปลี่ยนรูปเมืองฉะเชิงเทรา จากหน้ามือเป็นหลังมือเลย เพราะจากการพัฒนาตรงนี้ ที่โดยรอบอีกระยะนึงที่ยังอยู่ในมือประชาชนรายเล็ก ควรจะกำไว้ให้แน่น รอราคาขึ้นให้สุดก่อนปล่อยขายไปอยู่ในมือเอกชน

5. เรื่องที่ดิน ที่บอกว่าในมือรฟท มีเงินเวนคืนอยู่ 3,000 กว่าล้าน เพื่อจะเวนคืนที่ดิน 850 ไร่ซึ่ง ตกไร่ละ 3.2 ล้านบาท ที่ทางนักข่าวบอกว่ามันจะไม่พอ
ความคิดส่วนตัวผมว่าพอครับ เพราะพื้นที่ 550 ไร่เพื่อทำอู่ซ่อมบำรุงรถไฟ เป็นพื้นที่ไร่นาของชาวบ้านในเขตฉะเชิงเทรา ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ก้อนนี้เป็นตาบอด ตามปรกติ ราคาไม่น่าถึงล้าน แล้วส่วนที่เหลือจะถัวเฉลี่ยกับราคาพื้นที่ในเมือง ผมว่าน่าจะเพียงพอ หรือเกินด้วยครับ

ข้อมูลเพิ่มเติมดูได้จากรูปครับ


ลิงค์คลิปที่อ้างถึงครับ
https://youtu.be/NA-FmX18DW8

เอกสารข้อมูลของโครงการที่อ้างถึง
http://www.hsr3airports.com/wp-content/uploads/2017/11/PPTA-Presentation-PP2-16-17-%E0%B8%95.%E0%B8%84.-2560.pdf
https://www.facebook.com/Thailand.Infra/posts/593774241061059
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 04/01/2019 12:11 pm    Post subject: Reply with quote

โครงการเมืองใหม่ 'ซีพี' 'สะแกโดด-สิงโตทอง' ฝันที่เป็นจริง !?
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: ศุกร์ที่ 4 มกราคม 2562 เวลา 09:20

จับตาโครงการเมืองใหม่ 'ซีพี' ฉะเชิงเทรา ที่บรรดานักเก็งกำไรที่ดินแห่ตามไปซื้อจนหลายคนออกตัวไม่ทัน ถึงขั้นเจ๊งตามๆ กัน แถมราคาถูกปั่นขึ้นไปสูง จากไร่ละไม่กี่แสน ขยับเป็นนับ 10 ล้านบาทแถวบางคล้า ขณะที่บ้านสะแกโดด ตำบลสิงโตทอง และตำบลบึงน้ำรักษ์ กำลังถูกพัฒนาเป็นศูนย์ซ่อมของ ร.ฟ.ท.ขนาดใหญ่ เชื่อมต่อไปยัง EEC-หนองคายได้สะดวก คาดจะเป็นทำเลที่ 'ซีพี' เลือกพัฒนา หากโครงการเมืองใหม่ซีพีจะเกิดขึ้นจริง! ส่วนโครงการไฮสปีดเทรนเชื่อม 3 สนามบิน รอลุ้นอีก 2 สัปดาห์

ถึงวันนี้ก็ยังต้องลุ้นกันอยู่ว่า ผลการเจรจาของคณะกรรมการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา ระยะทาง 220 กิโลเมตร มูลค่า 224,544.36 ล้านบาท ซึ่งกลุ่มกิจการร่วมค้าบริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้งส์และพันธมิตร หรือกลุ่มซีพี เป็นผู้เสนอราคาต่ำสุดจะสามารถเจรจาต่อรองราคาตามขั้นตอนของการประกวดราคาจนได้ข้อยุติหรือไม่?

ทั้งนี้เพราะโครงการนี้มีรายละเอียด มีเงื่อนไข ทั้งในด้านกฎหมาย ด้านการเงิน และด้านเทคนิคมาก คณะกรรมการฯ จึงต้องดูให้ละเอียดรอบคอบ มีการจัดหมวดหมู่ชัดเจน เพื่อกำหนดให้เอกชนต้องส่งอะไร เมื่อไหร่ และจะเริ่มเจรจากันอย่างไร ซึ่งในวันที่ 10 ม.ค.ก็จะมีการเชิญกลุ่มซีพีมาเจรจาต่อรองกัน

ส่วนการเจรจานั้นคาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 2 สัปดาห์ หากได้ข้อยุติก็จะเสนอให้คณะรัฐมนตรีอนุมัติและลงนามในสัญญาไม่เกินวันที่ 31 ม.ค.นี้ แต่หากการเจรจากับกลุ่มซีพีไม่ได้ข้อสรุป ก็จะมีการเชิญกิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ หรือกลุ่มบีทีเอส มาเจรจาต่อไป


แต่ที่แน่ๆ จะมีการพัฒนาโครงการเมืองใหม่ควบคู่ไปกับการเกิดขึ้นของโครงการไฮสปีดเทรนเชื่อม 3 สนามบิน ซึ่งเป็นเรื่องที่กำลังได้รับความสนใจว่า 'เมืองใหม่ของซีพี” จะอยู่บริเวณตรงไหนของจังหวัดฉะเชิงเทรา ตามที่นายธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานอาวุโส เครือเจริญโภคภัณฑ์ ได้ประกาศไว้ว่ามีแผนลงทุนสร้างเมืองใหม่ที่แปดริ้ว (ฉะเชิงเทรา) บนพื้นที่ 10,000 ไร่ คอนเซ็ปต์เป็น “Smart City” ที่มีการวางผังเมือง และระบบสาธารณูปโภคเพียบพร้อม รวมถึงการบริการอื่นๆ ของเมืองให้รวมอยู่ในจุดเดียวกัน เช่น โรงพยาบาล มหาวิทยาลัย ศูนย์การค้า ด้วยงบประมาณหลายแสนล้านบาท เพื่อเป็นโครงการทดลองในการเชื่อมต่อกับโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือEEC

นายธนินท์ บอกอีกว่าการเลือกพื้นที่ฉะเชิงเทราเป็นสถานที่แรก เพราะอยู่ไม่ห่างจากกรุงเทพฯ โดยจะมีการก่อสร้างระบบรางเชื่อมไปยังสถานีมักกะสันเพื่อจะได้เดินทางจากเมืองเข้าถึงกรุงเทพฯภายใน 20 นาที รวมไปถึงภายในเมืองจะใช้ระบบ zero waste หรือการรีไซเคิลขยะให้เป็นศูนย์ และจะมีศูนย์การค้าขนาดใหญ่อยู่กลางเมือง พร้อมกับการสร้างถนนในเมืองเป็น 3 ชั้น ชั้นบนเป็นสวนสาธารณะ ชั้นกลางเป็นถนนและทางรถไฟ ชั้นล่างสุดเป็นส่วนของการบริการ เช่น ขยะ ท่อน้ำเสีย ท่อบริการของระบบ ไฟฟ้า-ประปา

อย่างไรก็ดีนักการเมืองท้องถิ่นซึ่งทำธุรกิจที่ดิน ในจังหวัดฉะเชิงเทรา เล่าว่า เวลานี้ที่ดินที่จะสร้างเมืองใหม่ของกลุ่มซีพี คาดว่าจะมีอยู่ด้วยกันเพียง 2 ทำเล คือ บริเวณ อ.บางคล้า ที่จะออกไปทาง อ.พนมสารคาม ซึ่งเป็นที่ดินเก่าที่บริษัทในเครือซีพีได้มีการซื้อไว้เพื่อทำธุรกิจเกี่ยวกับด้านการเกษตร ที่ยังมีเหลืออยู่ ส่วนที่มีการซื้อเพิ่มใหม่นั้น ค่อนข้างรวบรวมได้ยาก แต่ก็ยังพอหาได้เพิ่มไม่กี่แปลง แปลงละ ประมาณ 100 ไร่ เท่านั้น

“ที่ดินตรงนี้ขยับเร็วมาก เมื่อก่อนไร่ละ 5 แสนถึง 1 ล้านบาท ยังพอหาได้ พอประธานซีพี ออกมาพูดราคาไล่ไปถึง 5-10 ล้านบาท เพราะการคมนาคมสะดวก มีถนนบายพาสที่จะไปยังพื้นที่อีอีซี ได้ง่าย”

ส่วนจุดที่ 2 ที่ก่อนหน้ามีการพูดถึงบริเวณตำบลโยธะกา อ.บางน้ำเปรี้ยว ซึ่งเป็นที่ดินราชพัสดุ ที่ชาวบ้านเช่าทำการเกษตรอยู่ โดยมีการส่งมอบให้กองทัพเรือนำไปใช้ประโยชน์เพื่อทางราชการไปแล้ว จำนวน 4,000 ไร่ และบริเวณใกล้เคียงอีกจำนวนหนึ่ง แต่ก็ได้รับการปฏิเสธว่าไม่เป็นความจริง


แต่วันนี้ดูเหมือนว่าที่ดินบริเวณ อ.บางน้ำเปรี้ยว จะเป็นที่ดินที่มีความเป็นไปได้ที่สุดว่าจะมีการพัฒนาเป็นเมืองใหม่ โดยเฉพาะตรงบ้านสะแกโดด ตำบลสิงโตทอง ซึ่งอยู่ติดกับตำบลโยธะกา เพราะที่ดินบริเวณนี้ยังเป็นพื้นที่ชนบท เป็นที่โล่ง ทำการเกษตร และราคาที่ดินก็ยังไม่สูง

“ที่ดินตรงนี้เป็นท้องนา ไม่มีตลาด สามารถจะพัฒนาเป็นเมืองใหม่ได้ แต่ก็ต้องใช้งบประมาณในการพัฒนาสูงมาก เพราะเป็นที่การเกษตร ต้องมีการถมและปรับปรุงสูงมาก”

อีกทั้งที่ดินบริเวณนี้สามารถเชื่อมต่อไปยังตำบลบึงน้ำรักษ์ ซึ่งเป็นหนึ่งในตำบลของอ.บางน้ำเปรี้ยว ที่อยู่ติดกับเขตหนองจอก ของ กทม. และพื้นที่ อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี และนครนายก

“ราคาที่ดินบริเวณนี้ยังอยู่ไร่ละ 3-4 แสนบาทหากไปซื้อกับเจ้าของที่ แต่ถ้าผ่านนายหน้าราคาที่บอกกันมาก็จะไร่ละล้านบาท ส่วนใหญ่ก็ทำการเกษตร ชาวบ้านก็รู้ๆ กันว่าบริษัทซีพีเข้ามาก็มีทั้งซื้อและไม่ซื้อ แต่สิ่งที่ชาวบ้านต้องการคือถ้าซื้อกันแล้ว หากยังไม่ทำอะไรก็ขอทำการเกษตรก่อน ก็ต้องคุยๆ กันให้เข้าใจ“

แหล่งข่าวในพื้นที่ บอกว่า ที่ดินบริเวณ บ้านสะแกโดด ตำบลสิงโตทอง ซึ่งอยู่ติดกับตำบลโยธะกา จะเป็นพื้นที่ที่มีความเจริญแห่งใหม่ หลังจากที่การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เข้ามาสร้างโรงซ่อมหนักรถสินค้าแห่งใหม่ ประกอบด้วยพื้นที่โรงงาน, สำนักงาน, โรงจอดรถไฟรอซ่อม และส่วนสนับสนุนต่างๆ

“จะมีการย้ายโรงซ่อมรถสินค้าออกจากย่านพหลโยธิน จึงต้องก่อสร้างโรงซ่อมบำรุงรถสินค้าแห่งใหม่ ที่ต้องมีพื้นที่เพียงพอที่จะรองรับการขยายตัวของการขนส่งสินค้าทางรถไฟในอนาคต ซึ่งเวลานี้ก็อยู่ระหว่างการก่อสร้าง”

โดยเส้นทางนี้จะมีการพัฒนาเพื่อใช้ในการขนส่งสินค้าเส้นทางมาบตาพุด-แหลมฉบัง-ชุมทางฉะเชิงเทรา-ชุมทางแก่งคอย-ชุมทางบัวใหญ่ จ.นครราชสีมา และหนองคาย

“เวลานี้ก็มีการก่อสร้างรถไฟทางคู่บริเวณนี้ ที่จะเชื่อมไปถึงหนองคาย และเมื่อเร็วๆ นี้ได้มีการประชุมในจังหวัดบอกว่าจะมีโครงการถนนวงแหวนรอบที่ 3 ตัดผ่านบริเวณ อ.บางน้ำเปรี้ยว ด้วย”

อีกทั้งบริเวณที่ดิน อ.บางน้ำเปรี้ยว จะห่างจากสถานีรถไฟใหม่ของจังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งรองรับทั้งรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน และรถไฟระบบเดิม ซึ่งห่างจากสถานีรถไฟฉะเชิงเทราเก่าตรงขึ้นไปทางเหนือบริเวณบ้านท่าไข่ ประมาณ 2 กิโลเมตร

“จากสถานีใหม่ ไปบางน้ำเปรี้ยวจะห่างกันประมาณ 10 กิโลเมตร ซึ่งมีระบบถนนรองรับไว้แล้ว และสถานีใหม่จะห่างจากบางคล้าไปมากกว่า และราคาที่แถวบางคล้าก็แพงกว่าบางน้ำเปรี้ยวมาก”


แหล่งข่าวบอกอีกว่า โครงการก่อสร้างเมืองใหม่คอนเซ็ปต์ “Smart City” จะเป็นโครงการที่ใช้เงินลงทุนสูงมากและหากทำสำเร็จจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศมาก แต่การจะทำโครงการให้สำเร็จตามคอนเซ็ปต์ไม่ใช่เรื่องง่าย โดยเฉพาะในเรื่องของการจัดหาที่ดินเพื่อมาพัฒนาอาจจะเป็นเรื่องใหญ่อันดับต้นๆ

“ถ้ามีที่ดินไว้อยู่แล้ว การจะมาทำก็ยังมีความเป็นไปได้ แต่ถ้าจะทำแล้วมาเริ่มกว้านซื้อที่ดินเวลานี้ เป็นเรื่องที่ยากลำบากมาก”

โดยเฉพาะราคาที่ดินมีการปั่นขึ้นไปสูงมาก ที่การเกษตร ขึ้นไป 5 แสนถึง 1 -2 ล้านบาท หากต้องนำมาพัฒนาจะต้องมีการถมดินสูงขึ้นเป็น 1-2 เมตร ซึ่งประมาณการเบื้องต้นหากถมที่ดิน 1 เมตร จะเสียค่าถมดิน 5 แสนต่อไร่ แต่ถ้าถมดินสูง 2 เมตรจะเป็นค่าถมดินไร่ละ 1 ล้านบาท และยังมีค่าใช้จ่ายในการแก้ปัญหาหน้าดินไม่ให้ทรุดตัว รวมถึงการพัฒนาระบบถนนในโครงการและอื่นๆ

“ยิ่งที่ดินเป็นบ่อเลี้ยงกุ้ง เลี้ยงปลา จบกันเลย ต้นทุนบานมาก”

แหล่งข่าวในพื้นที่บอกอีกว่า ยังมีสิ่งที่นักพัฒนาที่ดินยุคใหม่ที่คิดจะซื้อที่ดินประเภทนี้มาทำโครงการต้องเผชิญก็คือ หากตกลงซื้อขายกับเจ้าของที่ดินตัวจริงโดยมีการจ่ายเงินครบไปแล้ว แต่ที่ดินที่ได้มีการซื้อไว้ยังมีคนเช่าทำการเกษตรอยู่ ก็อาจจะต้องเจอปัญหาใหญ่ ก็คือ คนที่เช่าอยู่ไม่ยอมออกจากพื้นที่ตรงนั้น และยังมีการเปลี่ยนรุ่นกันเข้ามายึดพื้นที่ทำการเกษตรต่อไป

“คนซื้อที่ประเภทนี้ปวดหัวแน่ ทางออกควรจะต้องให้คนขายจัดการให้คนเช่าออกไปหมดก่อน หรือมีระยะเวลาแล้วหักเงินประกันไว้ ถ้าไม่ได้ตามสัญญาก็ริบเงินประกัน เพื่อที่คนซื้อจะได้ใช้เงินที่หักไว้มาใช้ดำเนินการกับคนที่มาอยู่ในที่ดินที่มีการซื้อขายแล้ว”

นายธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานอาวุโส เครือเจริญโภคภัณฑ์
นายธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานอาวุโส เครือเจริญโภคภัณฑ์

ขณะเดียวกันสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นกับนักเก็งกำไรที่ดินไม่เว้นแม้กระทั่งที่จังหวัดฉะเชิงเทรา หลายคนก็ไม่สามารถปล่อยขายต่อได้ จนบางรายต้องถูกยึดทั้งเงินและที่ดินคืนไป เพราะวันนี้โครงการพัฒนาตามนโยบาย EEC หลายโครงการยังไม่เห็นเป็นรูปธรรมว่าจะเกิดขึ้นจริง ไม่เว้นแม้กระทั่งโครงการเมืองใหม่ของซีพี ที่วันนี้ทุกอย่างดูสงบเงียบ จนบรรดานักเก็งกำไรที่ดินและชาวบ้าน รวมไปถึงข้าราชการในพื้นที่ถึงกับออกอาการ 'งง' ว่าโครงการนี้จะเกิดขึ้นจริงหรือไม่?

แต่ที่ชัดเจนที่สุดหลังจากที่นายธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานอาวุโส เครือเจริญโภคภัณฑ์ ประกาศโครงการนี้ด้วยเจตนาดีเพื่อให้เกิดการพัฒนาประเทศไปแล้ว นอกจากที่ดินจะมีราคาสูงขึ้น ในส่วนของซีพีก็ดูเหมือนจะซื้อที่ดินได้ยากขึ้นเช่นกัน!
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 07/01/2019 12:00 pm    Post subject: Reply with quote

ตอกเข็ม “เวนคืน” ไฮสปีด 5 จว. เปิดข้อเสนอพิเศษ “ซีพี” เชื่อมสถานีเพิ่ม
วันที่ 5 มกราคม 2562 เวลา 22:01 น.

เปิดข้อเสนอพิเศษกลุ่ม ซี.พี. สร้างส่วนต่อขยาย เส้นทางย่อยเชื่อมสถานีเพิ่ม แลกขอรัฐอุดหนุน ชี้ยังไม่ตอบโจทย์คณะกรรมการคัดเลือกรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ขยายเวลาให้ยื่นข้อเสนอเพิ่มเติมถึง 9 ม.ค. ก่อนเจรจาต่อรอง 15 ม.ค. รถไฟเดินหน้าเวนคืนที่ดิน 5 จังหวัด 850 ไร่ เร่งส่งมอบพื้นที่ตอกเข็มภายในปีนี้

นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน และรักษาการผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า คณะกรรมการคัดเลือกโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ระยะทาง 220 กม. เงินลงทุน 224,544 ล้านบาท ได้พิจารณาซองที่ 4 ข้อเสนออื่น ๆ เพิ่มประสิทธิภาพโครงการของกลุ่ม ซี.พี.และพันธมิตร ผู้เสนอให้รัฐอุดหนุนต่ำสุด 117,227 ล้านบาท ต่ำกว่ากรอบวงเงินที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติไว้ 119,425 ล้าน 2,198 ล้านบาท เบื้องต้นข้อมูลยังไม่สมบูรณ์ จึงให้กลุ่ม ซี.พี.ยื่นข้อเสนอเพิ่มเติมได้ภายในวันที่ 9 ม.ค. 2562 เพื่อจะได้นำมาพิจารณาในวันที่ 15 ม.ค.นี้

“ยังเปิดเผยข้อเสนอที่กลุ่ม ซี.พี.บรรจุในซอง 4 ไม่ได้ ข้อมูลยังไม่สมบูรณ์ แต่มีทั้งที่รัฐให้และเอกชนขอเพิ่ม ถ้ากลุ่ม ซี.พี.มีข้อเสนอเพิ่มยังเสนอมาได้ ไม่ได้ปิดกั้น ที่คณะกรรมการให้ความสำคัญกับซอง 4 เพราะเป็นการร่วมลงทุนระหว่างรัฐกับเอกชน ถ้าไม่ฟังเอกชนก็ไม่ใช่การร่วมทุน ตามหลักสากลจึงต้องเปิดให้เจรจากัน รัฐมีสิทธิ์ที่จะให้หรือไม่ให้ก็ได้ ต้องยึดประโยชน์ของรัฐเป็นหลัก ซึ่งรัฐไม่จำเป็นต้องออกเงินเพิ่มเติมนอกเหนือจากทีโออาร์ ยังมีวิธีการอื่น ๆ เช่น อำนวยความสะดวกในขั้นตอนต่าง ๆ ก็ได้”



ผู้สื่อข่าวถามว่า กลุ่ม ซี.พี.เสนอให้รัฐการันตีผลตอบแทนหรือขยายเส้นทางเพิ่มหรือไม่ นายวรวุฒิกล่าวว่า เอกชนมีสิทธิ์จะเสนอได้ แต่รัฐก็มีสิทธิ์ไม่พิจารณาก็ได้ ทั้งหมดขึ้นอยู่กับการเจรจาต่อรอง คาดว่าจะเริ่มเจรจาหลังวันที่ 15 ม.ค. แต่ตอบไม่ได้ว่าจะเสร็จทันเซ็นสัญญาวันที่ 31 ม.ค.นี้ ที่กำหนดไว้หรือไม่ เพราะมูลค่าการลงทุนกว่า 2 แสนล้านบาท และเป็นการร่วมลงทุนรัฐและเอกชน รัฐจะเสียประโยชน์ไม่ได้ ด้านเอกชนก็ต้องต่อรองทางธุรกิจ หากเซ็นไม่ทันจะเสนอ ครม.รับทราบ

นายวรวุฒิกล่าวว่า เร็ว ๆ นี้คาดว่าจะเริ่มเวนคืนที่ดินได้ในพื้นที่กรุงเทพฯ สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง ซึ่งต้องเวนคืนที่ดิน 850 ไร่ สิ่งปลูกสร้าง 245 หลัง วงเงิน 3,570 ล้านบาทโดย 90% ใช้แนวเขตทางรถไฟเดิม จะมีเวนคืนจุดใหญ่ที่ฉะเชิงเทรา 550 ไร่ เพื่อสร้างสถานี ทางวิ่งและศูนย์ซ่อมบำรุง (เดโป้) โดยจะทยอยส่งมอบพื้นที่ให้กับเอกชนเพื่อดำเนินการก่อสร้างภายในปีนี้ หลังรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) ได้รับอนุมัติแล้ว

ส่วนการส่งมอบพื้นที่พัฒนาเชิงพาณิชย์ หลังเซ็นสัญญาจะส่งมอบสถานีมักกะสัน 100 ไร่ พร้อมสถานีศรีราชา 25 ไร่ และอีก 50 ไร่ที่เหลือของมักกะสันจะทยอยส่งมอบใน 5 ปี เพราะยังติดรื้อย้ายรางรถไฟ

รายงานข่าวแจ้งว่า ข้อเสนอซองที่ 4ของกลุ่ม ซี.พี. ไม่ได้มีรายละเอียดการลงทุนที่ชัดเจนเหมือนกับส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีชมพูและสายสีเหลือง โดยเสนอเพียงว่าจะมีส่วนต่อขยายเส้นทางเพิ่ม และสร้าง Spur Line (เส้นทางย่อย) เชื่อมสถานี ขณะเดียวกันก็ขอให้รัฐชดเชยบางรายการ แต่ยังไม่มีรายละเอียดข้อมูล ซึ่งรอให้กลุ่ม ซี.พี.เสนอเพิ่มเติม และต้องชี้แจงให้ได้ว่าข้อเสนอทั้งหมดนี้มีประโยชน์ต่อโครงการและภาพรวมอย่างไร ทั้งนี้ ข้อเสนอพิเศษของกลุ่ม ซี.พี.ยังเป็นข้อเสนอที่ยังไม่ตรงกับที่รัฐต้องการ ซึ่งรัฐต้องการในรูปแบบเดียวกับส่วนต่อขยายสายสีชมพูกับสีเหลืองที่เอกชนจะลงทุนทั้งหมด
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 09/01/2019 10:24 am    Post subject: Reply with quote

ครม.ปรับแหล่งเงินกู้ไฮสปีด “กรุงเทพฯ-หนองคาย” ทั้งใน และต่างประเทศ
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: อังคารที่ 8 มกราคม 2562 เวลา 18:43
ปรับปรุง: อังคารที่ 8 มกราคม 2562 เวลา 20:37

ครม.ทบทวนมติเดิมเห็นชอบปรับแหล่งเงินกู้โครงการรถไฟไทย-จีน “ไฮสปีด กรุงเทพฯ-หนองคาย 1.66 แสนล้าน เปิดกว้างคลังกู้ได้ทั้งใน และต่างประเทศ

นายณัฐพร จาตุศรีพิทักษ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 8 ม.ค. ได้มีมติอนุมัติทบทวนมติ ครม.เมื่อวันที่ 11 ก.ค. 2560 เกี่ยวกับการกู้เงินสำหรับโครงการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาคช่วงกรุงเทพมหานคร-หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา) โดยเห็นชอบให้กระทรวงการคลังจัดหาเงินกู้ทั้งในประเทศและต่างประเทศจากแหล่งเงินกู้ที่เหมาะสมและนำมาให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) กู้ต่อ สำหรับการดำเนินโครงการฯ ภายใต้กรอบวงเงิน 166,342.61 ล้านบาท จากเดิมที่ให้กู้เงินภายในประเทศเท่านั้น

โดยให้สำนักงบประมาณพิจารณาจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีเป็นงบชำระหนี้ให้แก่ ร.ฟ.ท.เพื่อใช้ชำระหนี้คืนแก่แหล่งเงินโดยตรงทั้งในส่วนเงินต้น ดอกเบี้ย และค่าใช้จ่ายอื่นที่เกี่ยวข้อง ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กระทรวงการคลังจะได้ตกลงกับ ร.ฟ.ท.ต่อไปตามที่กระทรวงการคลังเสนอ

เนื่องจากปัจจุบันสถานการณ์ดอกเบี้ยของเศรษฐกิจโลกเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งอัตราดอกเบี้ยในต่างประเทศถูกกว่าการกู้ในประเทศประมาณร้อยละ 0.5 ดังนั้น กระทรวงการคลังจึงขอแก้มติคณะรัฐมนตรีให้เป็นการสามารถจัดหาเงินกู้ทั้งใน และต่างประเทศจากแหล่งเงินกู้ที่เหมาะสม เพื่อนำมาให้การรถไฟแห่งประเทศไทยสามารถกู้ต่อได้

ครม.ไฟเขียว ปรับเงื่อนไขกู้เงินไฮสปีดเทรน 1.6 แสนล้าน ให้กู้ต่างประเทศได้

วัน อังคารที่ 8 มกราคม 2562 เวลา 19:46 น.


ครม.ไฟเขียวปรับเงื่อนไขการกู้เงินไฮสปีดเทรน กทม.-หนองคาย วงเงิน 1.6 แสนล้านบาท ให้กระทรวงการคลังพิจารณาแหล่งเงินกู้จากต่างประเทศได้ จากเดิมที่กำหนดให้กู้เฉพาะในประเทศ ชี้เงื่อนไขเงินกู้ในต่างประเทศดอกเบี้ยถูกกว่าในไทย ด้านเอ็กซิมแบงก์ของจีนเสนอดอกเบี้ย 2.3% ขณะที่คลังยังไม่สรุปว่าจะกู้จากแหล่งใดขอดูอัตราดอกเบี้ยจากแหล่งอื่นเปรียบเทียบก่อน

นายณัฐพร จาตุศรีพิทักษ์ ที่ปรึกษา รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) เมื่อวันที่8ม.ค.2562ที่ผ่านมามีมติเห็นชอบการทบทวนมติ ครม.เมื่อวันที่ 11 ก.ค.2560 เกี่ยวกับการกู้เงินสำหรับโครงการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาคช่วงกรุงเทพมหานคร – หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร – นครราชสีมา) วงเงินรวม 166,342.61 ล้านบาท (ไม่รวมค่าเวนคืนที่ดิน) จากเดิมที่ ครม.ได้กำหนดให้กระทรวงการคลังจัดหาเงินกู้ในประเทศสำหรับดำเนินโครงการเปลี่ยนเป็นให้กระทรวงการคลังสามารถจัดหาเงินกู้ทั้งในประเทศและต่างประเทศโดยให้พิจารณาถึงความเหมาะสมของแหล่งเงินกู้โดยพิจารณาจากเงื่อนไข อัตราดอกเบี้ยตลอดอายุสัญญาการกู้เงินโดยไม่จำกัดเพียงแค่แหล่งเงินกู้ในประเทศเท่านั้น

ทั้งนี้กระทรวงการคลังได้รายงานให้ที่ประชุมครม.ทราบว่าโครงการรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาคช่วงกรุงเทพมหานคร – หนองคาย ระยะที่ 1ได้ดำเนินการตามขั้นตอนและอยู่ระหว่างจัดหาแหล่งเงินกู้ในการดำเนินโครงการในสัญญาที่ 2.3 งานวางราง งานระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมทั้งจัดหาขบวนรถและฝึกอบรมบุคคลากร วงเงิน 3.85 หมื่นล้านบาท ซึ่งได้วางกรอบว่าจะมีการกู้เงินในประเทศ 15% และการกู้เงินต่างประเทศ 85%

โดยการกู้เงินในต่างประเทศกระทรวงการคลังได้รายงานว่าในปัจจุบันมีการข้อเสนอแหล่งกู้เงินจากต่างประเทศเพื่อดำเนินโครงการมีเงื่อนไขที่น่าสนใจโดยเฉพาะอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ต่ำกว่าเงินกู้ในประเทศ เช่นข้อเสนอของธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งสาธารณะรัฐประชาชนจีน (CEXIM) ซึ่งเสนออัตราเงินกู้ระยะยาว 20 ปีที่ 2.3% ขณะที่อัตราเงินกู้ในประเทศระยะยาว 20 ปีอยู่ที่ 2.86% จึงทำให้การดำเนินโครงการมีต้นทุนทางการเงินที่ต่ำกว่าการกู้เงินในประเทศ


อย่างไรก็ตาม กระทรวงการคลังรายงานว่ายังไม่ได้ตัดสินใจในการเลือกแหล่งเงินกู้จากแหล่งใด เนื่องจากต้องพิจารณาเปรียบเทียบอัตราแหล่งเงินกู้จากหน่วยงานและประเทศอื่นๆด้วย เช่น ธนาคารโลก (world bank) และธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) รวมทั้งข้อเสนอจากแหล่งเงินกู้อื่นๆด้วยก่อนที่จะตัดสินใจว่าจะมีการกู้เงินจากแหล่งใด ทั้งนี้ภายหลังจากที่กระทรวงการคลังหาแหล่งเงินกู้ที่เหมาะสมมากที่สุดได้ให้เสนอให้กับสำนักงบประมาณ และการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) และเสนอให้กับ ครม.รับทราบต่อไป ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการกู้เงินที่กระทรวงการคลังต้องกู้เงินเพื่อให้กับหน่วยงานรัฐวิสาหกิจกู้ต่อตามขั้นตอนต่อไป

ทั้งนี้สำนักงบประมาณให้ดำเนินงานตามระเบียบวิธี พ.ร.บ.งบประมาณ โดยหากเป็นการกู้เงินตราต่างประเทศให้นับรวมในวงเงินรวมต้องไม่เกิน 10%ของงบประมาณรายจ่ายประจำปี

สำหรับกรอบวงเงินงบประมาณโครงการรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาคช่วงกรุงเทพมหานคร – หนองคาย ระยะที่ 1 ที่ ครม.อนุมัติกรอบวงเงินในการดำเนินงานตั้งแต่วันที่ 29 ส.ค.2560 ที่ผ่านมาประกอบไปด้วย 1.ค่ารื้อย้ายและเวนคืน 1.3 หมื่นล้านบาท 2.สัญญา 1 งานโยธา วงเงิน 1.17 แสนล้านบาท 3.สัญญา 2 ประกอบด้วยสัญญาการสำรวจและออกแบบงานโยธา สัญญาควบคุมการก่อสร้างงานโยธา และสัญญางานวางราง งานระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมทั้งจัดหาขบวนรถและฝึกบอรมบุคลากร รวม 4.4 หมื่นล้านบาท 4.ค่าบริหารจัดการการก่อสร้างของฝ่ายไทย 1,233.33 ล้านบาท และ5.ค่าเผื่อเหลือเผื่อขาด (Contingency) 3430.04 ล้านบาท รวมมูลค่ากรอบวงเงินลงทุนโครงการ 179,412.21 ล้านบาท
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 10/01/2019 8:43 am    Post subject: Reply with quote

รฟท.เคาะซอง 4 ไฮสปีด 15 ม.ค.
กรุงเทพธุรกิจ 10 ม.ค. 62

ซีพีส่งข้อมูลชิงไฮสปีดเทรนเพิ่มตามนัด ร.ฟ.ท.ฟันธง 15 ม.ค.นี้ เคาะข้อเสนอพิเศษจบ พร้อมเดินหน้าเจรจา แย้มข้อเสนอเบื้องต้นมีทั้งให้และขอรับจากรัฐ ทั้งยังคงคอนเซปต์พัฒนาเพื่อสังคม

นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า วานนี้ (9 ม.ค.2562) กิจการร่วมค้าบริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตรหรือกลุ่มซีพี ได้ส่งข้อเสนอพิเศษและรายละเอียดประกอบการพิจารณาซอง 4 ข้อเสนอพิเศษเข้ามาเพิ่มเติม ตามที่คณะกรรมการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา) ได้ขยายเวลาให้ส่งข้อมูลภายในวันที่ 9 ม.ค.2562

โดยขั้นตอนหลังจากนี้ คณะกรรมการคัดเลือกฯ จะประชุมเพื่อพิจารณาข้อมูลในวันที่ 15 ม.ค.นี้ ก่อนเข้าสู่ขั้นตอนเจรจาร่วมกับผู้เสนอราคาต่ำสุด หรือทางกลุ่มซีพี เป็นไปตามขั้นตอนกำหนด ทั้งนี้ ร.ฟ.ท.ยังคงกำหนดเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาผลการประมูล พร้อมลงนามสัญญาในวันที่ 31 ม.ค.2562 แต่หากไม่สามารถดำเนินการแล้วเสร็จตามกรอบเวลาก็ชี้แจง ครม.ได้ เนื่องจากโครงการนี้ มูลค่าสูงจึงต้องใช้ความรอบคอบ และจะต้องประเมินข้อมูลของทางซีพีที่ส่งมาเพิ่มเติมในครั้งนี้ด้วย

"ในวันนี้เราจะเปิดข้อมูล จดหมายที่ซีพีส่งมาเพิ่มเติม โดยทีมที่ปรึกษาจะเป็นคนเปิดดูข้อมูลดังกล่าว เพื่อเตรียมสรุปข้อมูลเข้าประชุมคณะกรรมการคัดเลือกอีกครั้งในสัปดาห์หน้า ซึ่งจะเป็นการประชุมเพื่อสรุปข้อมูลทั้งหมด และน่าจะได้ทราบรายละเอียดของข้อเสนอพิเศษ ก่อนเข้าสู่ขั้นตอนเจรจา แต่ถ้าซีพีไม่มีข้อเสนอเพิ่มเติมจากเดิม เราก็จะยึดตามข้อเสนอในซอง 4 ที่เปิดไปก่อนหน้านี้แล้ว และเข้าสู่ขั้นตอนการเริ่มเจรจากับซีพี ซึ่งการพิจารณาข้อเสนอไม่เพียงจะรับหรือไม่รับ เป็นข้อๆ แต่จะดูเงื่อนไขที่อาจผูกพันกัน และเจรจาด้วย"

สำหรับข้อเสนอในซอง 4 ที่กลุ่มซีพีเสนอมาก่อนหน้านี้ พบว่าข้อเสนอทั้งหมด มีทั้งข้อเสนอให้และข้อเสนอรับจากรัฐ แต่ ร.ฟ.ท.ยังไม่สามารถชี้แจงรายละเอียดได้ เพราะข้อเสนอทั้งหมดเกี่ยวข้องกัน ดังนั้นจึงต้องรอดูข้อมูลเพิ่มเติมจากทางซีพีก่อน ส่วนประเด็นข้อกังวลของข้อเสนอจากซีพีจะกระทบต่อผลตอบแทนของภาครัฐหรือไม่ ยืนยันว่าจากการเปิดซอง 4 ข้อเสนอพิเศษเบื้องต้น พบว่าบางข้อยังไม่มีและบางข้อมี รวมทั้งมีข้อเสนอพัฒนาเพื่อสังคมด้วย

ทั้งนี้ เอกชนที่ชนะประมูลจะได้รับสิทธิ์พัฒนา บริหาร เดินรถไฟความเร็วสูง พร้อมทั้งพัฒนาและบริหารที่ดินมักกะสัน 50 ปี โดยมีมูลค่าโครงการลงทุนอยู่ที่ 2.24 แสนล้านบาท แบ่งออกเป็นการลงทุนเริ่มต้นในระบบขนส่งทางรถไฟ 1.68 แสนล้านบาท การพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟ 4.51 หมื่นล้านบาท และสิทธิการเดินรถไฟแอร์พอร์ตลิงก์ 1.06 หมื่นล้านบาท
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 299, 300, 301 ... 542, 543, 544  Next
Page 300 of 544

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©