Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311234
ทั่วไป:13180411
ทั้งหมด:13491645
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 190, 191, 192 ... 277, 278, 279  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 08/01/2019 12:48 pm    Post subject: Reply with quote

ม.ค.ประมูลด่วนพระราม3เชื่อมมหาชัย ปีหมูลุยเวนคืน 2 รถไฟฟ้า 3 หมื่นล.สร้างสีส้ม-ม่วงใต้
พร็อพเพอร์ตี้
วันอังคารที่ 8 มกราคม 2562 เวลา 08:55 น.


เปิดโผโปรเจ็กต์ยักษ์คมนาคมต้อนรับปีหมู ลุยเวนคืน ประมูลก่อสร้าง รถไฟฟ้า ทางด่วน มอเตอร์เวย์ กว่า 3.7 แสนล้าน รฟม.กดปุ่มสายสีส้มตะวันตก สีม่วงใต้ โมโนเรลภูเก็ต กทพ. แบ่งเคาะ 5 สัญญา 3 หมื่นล้านตัดด่วนใหม่ “พระราม 3-วงแหวน” ทางหลวงเร่งตอกเข็มมอเตอร์เวย์มหาชัย 1 หมื่นล้านเสร็จปี”64

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า แม้กระทรวงคมนาคมจะคัดโครงการเร่งด่วน หรือ action plan ปี 2562 จำนวน 41 โครงการ วงเงินกว่า 1.77 ล้านล้านบาทในบัญชี ซึ่งมีทั้งโครงการเก่าที่ผลักดันต่อเนื่องมาจากปี 2559-2561 จำนวน 29 โครงการ และโครงการใหม่ 12 โครงการ อย่างไรก็ตาม มีหลายโครงการที่พร้อมเปิดประมูลในทันที ไม่ว่ารถไฟฟ้า ทางด่วน มอเตอร์เวย์ คิดเป็นมูลค่ารวม 372,365 ล้านบาท

รฟม.กดปุ่ม 3 รถไฟฟ้า

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า แผนลงทุนปี 2562 ของ รฟม.จะมีเวนคืนที่ดินและเปิดประมูลก่อสร้างรถไฟฟ้า 3 โครงการ มูลค่ารวม 283,118 ล้านบาทประกอบด้วย รถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ ระยะทาง 23.6 กม. เงินลงทุน 101,112 ล้านบาท สายสีส้มตะวันตกช่วงบางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมฯ ระยะทาง 16.4 กม. เงินลงทุน 142,600 ล้านบาท และระบบขนส่งมวลชน จ.ภูเก็ต วงเงิน 39,406 ล้านบาท

“สายสีส้มตะวันตกทำความเข้าใจกับบอร์ดสภาพัฒน์แล้ว จะให้เอกชนร่วมลงทุน 1 สัญญา รูปแบบ PPP net cost 30 ปี ก่อสร้างช่วงบางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมฯ และเดินรถตลอดเส้นทางบางขุนนนท์-มีนบุรีรวม 34.6 กม. จะเสนอให้บอร์ด PPP พิจารณาในเร็ว ๆ นี้ ส่วนสีม่วงใต้ก็รอ พ.ร.ฎ.เวนคืน จากนั้นก็เปิดประมูลก่อสร้าง ส่วนการเดินรถจะให้เอกชนร่วมลงทุน PPP gross cost เหมือนสีม่วง ช่วงเตาปูน-คลองบางไผ่ จ้าง บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ หรือ BEM เดินรถให้ 30 ปี ด้านโมโนเรลภูเก็ตรอสรุปต้นทุนก่อสร้างเพื่อทำรายงาน PPP คาดว่าเปิดประมูลปลายปี”62 รูปแบบ PPP net cost 30 ปี”

สีม่วงใต้พาดผ่านพื้นที่ชั้นใน

นายภคพงศ์กล่าวอีกว่า ในปี 2562 จะเริ่มการเวนคืนที่ดินทั้งสายสีม่วงใต้ ซึ่งรอกฤษฎีกาตรวจร่าง พ.ร.ฎ.เวนคืน หลังคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติเมื่อวันที่ 9 ส.ค. 2560 ทั้งโครงการ มีค่าเวนคืน 15,913 ล้านบาท ตลอดเส้นทางมีเวนคืน 410 แปลง หรือ 102 ไร่ อาคารสิ่งปลูกสร้าง 267 หลังคาเรือน มีพื้นที่เวนคืนเป็นจุดขึ้น-ลง 17 สถานี จุดใหญ่อยู่ที่ด่านเก็บเงินสุขสวัสดิ์ ถนนกาญจนาภิเษก จะใช้พื้นที่สร้างที่จอดรถไฟฟ้า 50 ไร่ (เดโป้) ย่านสถานีเตาปูน แนวจะเริ่มต้นเป็นทางวิ่งยกระดับจากสถานีเตาปูนเชื่อมสายสีน้ำเงินต่อขยาย (บางซื่อ-ท่าพระ) และสีม่วง (เตาปูน-คลองบางไผ่) ไปตามแนวถนนตัดใหม่ แล้วลดระดับเป็นใต้ดิน ผ่านกรมสรรพาวุธทหารบก เลี้ยวเข้าถนนทหาร ถนนสามเสน ถนนพระสุเมรุ ถนนมหาไชย ลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยาเข้าสู่ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน

เมื่อลอดผ่านสี่แยกมไหสวรรย์ จะเปลี่ยนเป็นทางวิ่งยกระดับไปตามถนนสุขสวัสดิ์ สิ้นสุดที่บริเวณศูนย์ซ่อมบำรุงข้างด่านเก็บค่าผ่านทางถนนวงแหวนกาญจนาภิเษก รวม 23.6 กม. เป็นทางวิ่งใต้ดิน 12.6 กม. และทางวิ่งยกระดับ 11 กม. มี 17 สถานีเป็นสถานีใต้ดิน 10 สถานี (สถานี 1-10) ยกระดับ 7 สถานี (สถานี 11-17) ได้แก่ สถานีรัฐสภา ศรีย่าน สามเสน หอสมุดแห่งชาติ บางขุนพรหม ผ่านฟ้า วังบูรพา สะพานพุทธ วงเวียนใหญ่ สำเหร่ จอมทอง ดาวคะนอง บางปะกอก ประชาอุทิศ ราษฎร์บูรณะ พระประแดง และครุใน ตามแผนจะสร้างเสร็จในปี 2567 เชื่อมการเดินทาง 3 จังหวัด ได้แก่ สมุทรปราการ กรุงเทพฯ และนนทบุรี

สีส้มมุดใต้ดินผ่าเมือง

นายภคพงศ์กล่าวอีกว่า ส่วนสายสีส้มตะวันตกรอ ครม.อนุมัติโครงการ จากนั้นถึงจะเริ่มเวนคืนที่ดิน มีค่าเวนคืนจากศูนย์วัฒนธรรม-บางขุนนนท์ 14,600 ล้านบาท ตลอดเส้นทางมีเวนคืน 505 แปลง และสิ่งปลูกสร้าง 331 หลังคาเรือน รูปแบบจะสร้างลอดใต้ดินตลอดเส้นทาง มีจุดเริ่มต้นจากบางขุนนนท์บริเวณจุดตัดถนนจรัญสนิทวงศ์ ใช้แนวเขตรถไฟสายบางกอกน้อย ผ่านโรงพยาบาลศิริราช ลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณเชิงสะพานพระปิ่นเกล้า ผ่านใต้ถนนราชดำเนินแล้วเบี่ยงใช้แนวถนนหลานหลวง ผ่านยมราชแล้วเข้าสู่แนวถนนเพชรบุรี

จากนั้นเลี้ยวเข้าถนนราชปรารภ เมื่อถึงดินแดงแล้วเลี้ยวไปตามถนนวิภาวดีรังสิต ผ่านศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร 2 (ดินแดง) ตัดตรงไปเชื่อมกับรถไฟฟ้าใต้ดินและสายสีส้มตะวันออกที่สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย

ไลต์เรลภูเก็ตปักหมุด 24 สถานี

นายภคพงศ์กล่าวอีกว่า รถไฟฟ้าภูเก็ตจะสร้างเป็นรถไฟฟ้ารางเบาระบบไลต์เรล จะเริ่มเวนคืนในปี 2562 ในบางพื้นที่และเดโป้แนวมีจุดเริ่มต้นอยู่สถานีรถไฟท่านุ่น จ.พังงา เชื่อมกับระบบรถไฟสายใหม่เส้นทาง จ.สุราษฎร์ธานีถึง จ.พังงา ส่วนจุดสิ้นสุดโครงการอยู่ทางเหนือของห้าแยกฉลอง บน ถ.เจ้าฟ้าตะวันออก ห่างจากห้าแยกฉลองประมาณ 200 เมตร ระยะทางรวม 58.25 กม.มี 24 สถานี เป็นสถานียกระดับ 1 สถานี ที่สนามบินภูเก็ต เป็นสถานีใต้ดิน 1 สถานี ที่สถานีถลาง และมีศูนย์ซ่อมบำรุง 1 แห่ง บริเวณ อ.ถลาง แบ่งสร้าง 2 เฟส เฟสแรก ท่านุ่น-สนามบินภูเก็ต เฟสที่ 2 สนามบินภูเก็ต-ห้าแยกฉลอง ขณะที่รถไฟฟ้า จ.เชียงใหม่ และโคราชจะเริ่มดำเนินการในปี 2563
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 08/01/2019 1:22 pm    Post subject: Reply with quote

ทวงสัญญานายกฯตู่ สร้างขบวนรถไฟฟ้าใช้เอง
โดย ลม เปลี่ยนทิศ
อังคารที่ 8 มกราคม 2562 เวลา 05:01 น.

ทีมข่าวเศรษฐกิจไทยรัฐ ได้อัปเดตข้อมูล “รถไฟฟ้าในกรุงเทพมหานคร” ทุกสายเมื่อวานนี้ ทั้งที่สร้างเสร็จแล้ว สายที่กำลังก่อสร้าง สายที่จะสร้างในอนาคต เห็นแล้วก็ตื่นตะลึง กรุงเทพฯมีรถไฟฟ้าใต้ดินและบนดิน 14 สาย คือ สายสีแดงเข้ม สายสีแดงอ่อน แอร์พอร์ตลิงก์ สายสีเขียวเข้ม สายสีเขียวอ่อน สายสีน้ำเงิน สายสีม่วง สายสีส้ม สายสีชมพู สายสีเหลือง สายสีเทา สายสีน้ำตาล และ สายสีทอง ที่วิ่งไปไอคอนสยาม

แผนผังรถไฟฟ้าวิ่งตัดกันไปตัดกันมาเป็นตาข่ายเหมือนในโตเกียวลอนดอนไม่มีผิด

รถไฟฟ้าบนดินและใต้ดินที่เปิดใช้แล้วก็มี สายสีเขียวของบีทีเอส ที่เริ่มต้นจาก สถานีหมอชิต ปัจจุบันเป็นรถไฟฟ้าสายหลัก ปลายปีที่ผ่านมาก็ได้เปิดบริการส่วนต่อขยายไปยัง สถานีแบริ่ง สมุทรปราการ ทางเหนือกำลังสร้างต่อขยายไปยัง สะพานใหม่–คูคต จะเปิดให้บริการปีหน้า 2563 ใต้ดินก็มี รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ที่เป็นสายวงแหวนสายแรกของ กทม. เปิดให้บริการระหว่าง หัวลำโพง–บางซื่อ มานานแล้ว เดือนสิงหาคม นี้จะเปิดให้บริการอีกช่วงจาก หัวลำโพง–หลักสอง และ มีนาคมปีหน้า 2563 จะเปิดให้บริการช่วง เตาปูน–ท่าพระ ทำให้สายสีน้ำเงินวิ่งเป็นวงกลมครบทุกสถานี

เมื่อดูข้อมูลแต่ละสายแล้วจะเห็นว่า รถไฟฟ้าบนดินและใต้ดินในกรุงเทพมหานครจะทยอยสร้างเสร็จตั้งแต่ปีนี้เป็นต้นไป เมื่อระบบรางเสร็จก็ต้องซื้อระบบเดินรถซื้อขบวนรถ และตู้โดยสารจำนวนมาก เพื่อรองรับคนกรุงเทพฯ และนักท่องเที่ยวปีละหลายสิบล้านคน

ผมยังจำได้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เคยพูดผ่านรายการโทรทัศน์วันศุกร์ว่า จะให้บริษัทรถไฟฟ้าต่างชาติเข้ามาลงทุนสร้างรถไฟฟ้าและขบวนตู้โดยสารในเมืองไทย เพื่อให้มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีสร้างรถไฟฟ้า และตั้งโรงงานผลิตขบวนรถไฟฟ้าในเมืองไทย ในอนาคตไทยต้องใช้รถไฟฟ้าจำนวนมาก วันนี้รถไฟฟ้าหลายสายกำลังจะสร้างเสร็จแล้ว แต่นายกฯ พล.อ.ประยุทธ์กลับเงียบ ไม่พูดถึงเรื่องนี้เลย ทั้งที่ไทยกำลังจะซื้อรถไฟฟ้าจำนวนมากเพื่อรองรับรถไฟฟ้า 14 สาย

ความจริง การตั้งโรงงานผลิตรถไฟฟ้าในเมืองไทยก็ไม่ใช่เรื่องยากอะไร ขอเพียงรัฐบาลตั้งใจจริงเหมือนกับประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ผู้นำจีนที่ทุ่มเทเพื่อสร้างความเจริญยั่งยืนให้กับประเทศจีน ของไทยก็เหมือนกัน รัฐบาลไม่ต้องทำอะไรมาก แค่กำหนดในทีโออาร์การประมูลซื้อขบวนรถไฟฟ้าและตู้โดยสาร 14 เส้นทาง ผู้ประมูลได้ต้องตั้งโรงงานประกอบและผลิตรถไฟฟ้าและตู้โดยสารในประเทศไทย เท่านี้โรงงานผลิตรถไฟฟ้าก็เกิดทันที

ที่ผมบอกว่า การสร้างขบวนรถไฟฟ้าไม่ยาก เพราะเห็นตัวอย่าง รถไฟฟ้าบีทีเอสรุ่นล่าสุด ที่สั่งซื้อจากซีเมนส์ หลังจากที่บีทีเอสได้ “ปลดล็อกการผูกขาด” ด้วยการ “ใช้ระบบเดินรถแบบเปิด” คือ เป็นระบบเดินรถที่ใช้ขบวนรถไฟฟ้ายี่ห้ออะไรก็ได้ ไม่จำเป็นต้องผูกขาดซื้อกับบริษัทเจ้าของระบบเดินรถเพียงรายเดียว เหมือนกับที่ผมเป็นห่วง รถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ที่จะใช้ “ระบบเดินรถจีน” ถ้าไม่ใช้ “ระบบเปิด” ไทยจะเสียเปรียบจีนอีกมากมายแน่นอน

ทุกวันนี้ รถไฟฟ้าบีทีเอส สามารถซื้อขบวนรถโดยสารได้ถูกลงมาก หลังใช้ระบบเดินรถแบบเปิด ซื้อจากจีนบ้าง ซื้อจากซีเมนส์บ้าง ล่าสุด ซื้อจากบริษัทตุรกี ทำให้มีโอกาสเลือกมากขึ้น มีอำนาจต่อรองมากขึ้น ทั้งราคาและหน้าตาขบวนรถที่ทันสมัยและมีคุณภาพมากขึ้น

ผมอยากเห็น พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ทำตามคำสัญญาเรื่องนี้เพื่อประโยชน์สูงสุดของคนไทยและประเทศไทย เมื่อรถไฟฟ้า 14 สายทยอยสร้างเสร็จ โรงงานผลิตรถไฟฟ้าและตู้โดยสารก็น่าจะเสร็จทันในอีก 3-4 ปีข้างหน้า เพราะต้องซื้อรถไฟฟ้าจำนวนมาก รถไฟฟ้าบีทีเอสสายเดียว ปัจจุบันก็ต้อง ใช้ขบวนรถกว่า 80 ขบวน ตู้โดยสารกว่า 320 ตู้ รถไฟฟ้า 14 เส้นทางต้องใช้ขบวนรถและตู้โดยสารมากขนาดไหนลองคิดดู ผมว่าถึงเวลาที่ไทยต้องพึ่งตัวเองแล้วนะครับ ทั่นนายกฯ

“ลม เปลี่ยนทิศ”
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 10/01/2019 11:09 am    Post subject: Reply with quote

นับหนึ่ง"โมโนเรล"สายแรกของไทย
พุธที่ 9 มกราคม 2562 เวลา 12.30 น.


@Transport สัปดาห์นี้ EP.43 จะพาไปรู้จักกับรถไฟฟ้าโมโนเรล หรือรถไฟฟ้ารางเดี่ยว 2 สายแรกของประเทศไทยที่มีรูปแบบแตกต่างจากรถไฟฟ้าบีทีเอส และรถไฟฟ้าเอ็มอาร์ทีในปัจจุบัน จะเป็นอย่างไรตามไปดูกันเล้ย!!!
https://www.youtube.com/watch?v=Sv8NUyzp9YI
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 11/01/2019 10:44 am    Post subject: Reply with quote

รฟม.คาดเปิดประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ช่วง 'แคราย - ลำสาลี' มูลค่า 48,000 ล้านบาท ช่วงปลายปี 2562 - เร่งสร้างพร้อมทางด่วน กทพ.สร้างตอม่อรถไฟฟ้าสีน้ำตาลสับหว่างทางด่วน (กทพ.สร้างค่อยเก็บเงิน รฟม.)

https://www.thebangkokinsight.com/86898/
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 11/01/2019 10:54 am    Post subject: Reply with quote

แห่ชิงรถไฟภูธร1.5แสนล
ข่าวเศรษฐกิจ
หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ --
พฤหัสบดีที่ 10 มกราคม 2562 00:00:34 น.

รฟท.ฟุ้งไทย-จีนเพียบสิ้นปีเปิดประมูล/ผุดเมืองใหม่คลองเตย

พระรามเก้า * รฟม.ปลื้มเอกชนไทย-จีนสนชิงเค้กรถไฟฟ้าภูธร 3 เส้น กว่า 1.5 แสนล้านบาท ลุ้นเคาะเปิดประมูลปลายปี 2562 นี้ ด้าน กทท.ทุ่ม 7.5 พันล้านสร้างเมืองใหม่ย่านคลองเตย เล็งตอกเสาเข็มตึกแรกภายในปีนี้

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน แห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผย ว่า ภายในปี 2562 นี้จะเริ่มเห็นความชัดเจนของแผนพัฒนารถ ไฟฟ้ารางเบา (แทรม) ในหัวเมืองสำคัญทั้งขั้นตอนการประกวดราคาและแนวทางก่อสร้างเพื่อ ส่งเสริมการท่องเที่ยวและสนับ สนุนเศรษฐกิจฐานรากในระยะยาว โดยในระยะเริ่มมีแผนที่จะพัฒนาใน 3 เส้นทาง มูลค่ากว่า 1.5 แสนล้านบาท

โดยประกอบด้วยโครงการรถไฟรางเบา (แทรม) จ.ภูเก็ต ช่วงท่านุ่น-ท่าอากาศยานภูเก็ตห้าแยกฉลอง วงเงิน 3.94 หมื่นล้าน บาท ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างที่สำนัก งานนโยบายและแผนการขนส่ง และจราจร (สนข.) ปรับแบบ คาดว่า จะมีการจัดประชุมร่วมกับ รฟม. และกรมทางหลวง (ทล.) เพื่อหาข้อ สรุปภายในเดือน ม.ค.นี้ ก่อนเสนอ ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีต่อไป (ครม.) คาดภายในปลายปี 2562 นี้

ขณะที่โครงการรถไฟราง เบา (แทรม) จ.เชียงใหม่ วงเงิน 8 หมื่นล้านบาท ภายในเดือน ม.ค. นี้จะลงนามในสัญญากับบริษัทที่จะเข้ามาศึกษาแนวทางการก่อสร้างและรูปแบบการลงทุน, โครงการแทรม จ.นครราชสีมา วงเงิน 3.26 หมื่นล้านบาท อยู่ระหว่างขั้นตอนเตรียมเปิดประ กวดราคาหาตัวเอกชนศึกษาโครงการ หากไม่ติดปัญหาอะไรจะเริ่มเห็นความชัดเจนในการร่างทีโออาร์ในปี 2562 ก่อนทยอยประมูลช่วงปลายปีนี้หรือช่วงต้นปี 2563

รายงานข่าวจากกระทรวงคมนาคมระบุว่า บริษัท จงหยวนฉวง นิว อีเนอร์จี จำกัด, บริษัท จงถาง สกายเรลเวย์ กรุ๊พ จำกัด และบริษัท บริหารสินทรัพย์ เหอ จุน เหนียนหลุน (เซียะเหมิน) จำกัด ซึ่งเป็นกลุ่มพัฒนานวัตกรรมระบบขนส่งมวลชน ที่รัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีนให้การสนับสนุนนั้น สนใจเข้ามาลงทุนโครงการรถไฟฟ้ารางเบา (แทรม) ภูมิภาคในจังหวัดต่างๆ โดยเบื้องต้นฝ่ายจีนได้แจงสเปกมูลค่าก่อสร้าง โครงการไว้ที่ 750 ล้านบาท/กม.

นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รมช.คมนาคม กล่าวว่า การท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) ได้มีแผนลงทุน 7,500 ล้านบาท เพื่อพัฒนาย่านที่อยู่อาศัยแห่งใหม่ในรูปแบบสมาร์ท คอมมูนิตี้ ที่ชุมชนคลองเตย จำนวน 58 ไร่ บริเวณโรงฟอกหนังเก่า ซอยตรีมิตร ติดถนนริมทางรถ ไฟสายเก่า ซึ่งในย่านดังกล่าวถือว่าเป็นจุดเมืองอัจฉริยะขนาดย่อมใจกลางกรุงเทพมหานคร คาดใช้เวลาก่อสร้าง 3-4 ปี จะแล้วเสร็จพร้อมเข้าอยู่ทั้งโครงการ ซึ่งภายในปี 2562 นี้จะเริ่มตอกเสาเข็ม.
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 11/01/2019 7:02 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
รฟม.คาดเปิดประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ช่วง 'แคราย - ลำสาลี' มูลค่า 48,000 ล้านบาท ช่วงปลายปี 2562 - เร่งสร้างพร้อมทางด่วน กทพ.สร้างตอม่อรถไฟฟ้าสีน้ำตาลสับหว่างทางด่วน (กทพ.สร้างค่อยเก็บเงิน รฟม.)

https://www.thebangkokinsight.com/86898/

‘รฟม.’คาดเปิดประมูลรถไฟฟ้าสีน้ำตาลปีนี้
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ 11 ม.ค. 62

รฟม.ลั่นเปิดประมูลรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลช่วงแคราย-ลำสาลี เม็ดเงินกว่า 4.8 หมื่นล้านภายในปีนี้ เตรียมเจรจา “กทพ.” ลงทุนฐานรากโครงการก่อน ขณะส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีชมพู-เหลืองจ่อชงเข้าบอร์ด 25 ม.ค.นี้ ชี้มอบสิทธิ “บีทีเอส” พัฒนาเป็นทางออกดีสุด

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า หลังจากมติคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) เห็นชอบผลการศึกษาความเหมาะสมโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ช่วงแคราย-ลำสาลี (บึงกุ่ม) วงเงินลงทุน 4.8 หมื่นล้านบาท พร้อมมอบหมายให้ รฟม.เป็นผู้ดำเนินการ พบว่าขั้นตอนต่อไปจะต้องนำเสนอโครงการดังกล่าวให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณา หลังจากนั้นสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) จะจัดทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) และ รฟม.จะจัดทำรายงานการร่วมทุนกับเอกชน (พีพีพี) คู่ขนานกัน คาดว่าภายในปลายปีนี้จะสามารถเปิดประมูลได้

สำหรับการลงทุนจะเป็นรูปแบบพีพีพีเหมือนรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี และรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง โดยรัฐบาลเป็นผู้ลงทุนค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินส่วนเอกชนจะเป็นผู้ลงทุนงานก่อสร้าง ดูแลงานระบบ และขบวนรถไฟฟ้าให้บริการเดินรถและบำรุงรักษา รวมถึงเป็นผู้จัดเก็บค่าโดยสาร เบื้องต้น รฟม.อาจขอให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ลงทุนในส่วนของฐานรากไปก่อน เพราะรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลใช้งานฐานรากเดียวกับโครงการทางด่วนเกษตรนวมินทร์ เมื่อประมูลได้ผู้ชนะเอกชนจึงจะมาชำระเงินลงทุนคืนในภายหลัง

สำหรับความคืบหน้าของโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีชมพู (ส่วนต่อขยาย) ระยะทาง 2.8 กิโลเมตร และโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง (ส่วนต่อขยาย) ระยะทาง 2.6 กิโลเมตร วงเงินลงทุนประมาณ 6,000 ล้านบาท รฟม.จะเสนอที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) วันที่ 25 ม.ค.นี้ เพื่อพิจารณารายงานพีพีพี หากบอร์ดเห็นชอบก็จะเสนอเรื่องให้กระทรวงคมนาคมพิจารณาภายใน 60 วัน และจะเสนอคณะกรรมการนโยบายการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (คณะกรรมการพีพีพี) พิจารณารูปแบบการลงทุนตามลำดับ

อย่างไรก็ดี มีแนวโน้มว่าการให้ผู้ชนะการประมูลรถไฟฟ้าทั้ง 2 สายคือ กิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ ดำเนินการเส้นทางส่วนต่อขยายจะเป็นแนวทางที่ดีที่สุด เนื่องจากมีความพร้อมเรื่องสถานีซ่อมบำรุงและอื่นๆ ส่วนการจัดทำรายงานอีไอเอเส้นทางส่วนต่อขยายยังไม่แล้วเสร็จและอยู่ระหว่างการดำเนินการคู่ขนานกัน โดยคาดว่าจะเริ่มก่อสร้างส่วนต่อขยายดังกล่าวได้ภายในปี 2562 หรือช้าที่สุดไม่เกินต้นปี 2563 และเปิดให้บริการภายในปี 2564

ทั้งนี้ โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีชมพูและสายสีเหลืองส่วนต่อขยาย เป็นข้อเสนอพิเศษของกิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ ที่มีบริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) ถือสัดส่วนร่วมทุนมากที่สุด โดยข้อเสนอดังกล่าวทางกิจการร่วมค้าบีเอสอาร์จะเป็นผู้ลงทุนส่วนต่อขยายทั้งหมดด้วยตัวเอง
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 14/01/2019 11:33 am    Post subject: Reply with quote

เปิดพิมพ์เขียวรถไฟฟ้าฉบับใหม่ ขยายเส้นทางเชื่อมปริมณฑล-อยุธยา-ฉะเชิงเทรา
พร็อพเพอร์ตี้
วันที่ 14 มกราคม 2562 - 07:07 น.

ที่ประชุมคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) นัดแรกของปี 2562 มี “สมคิด จาตุศรีพิทักษ์” รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจเป็นประธาน วันที่ 3 ม.ค.ที่ผ่านมารับทราบผลการศึกษาการจัดทำทิศทางและนโยบายการพัฒนาแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล ระยะที่ 2 ที่เรียกสั้น ๆ ว่า “M-Map 2 Blueprint”

ใช้โมเดลญี่ปุ่นเป็นต้นแบบ

ร่างพิมพ์เขียวฉบับนี้มีองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (ไจก้า) และสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ร่วมกันศึกษาจนแล้วเสร็จเมื่อเดือน ก.ย. 2561

ขั้นตอนต่อจากนี้ “สนข.และไจก้า” ต้องรวมกันจัดทำแผนแม่บทฉบับสมบูรณ์ เพื่อนำมาทดแทนแผนแม่บทรถไฟฟ้า หรือ M-Map ปัจจุบันที่การพัฒนาใกล้ครบกำหนด 12 เส้นทาง ระยะทางรวม 509 กม. โดยมีสายสีน้ำตาล แคราย-ลำสาลี บรรจุในแผนเป็นสายที่ 13

ยึดเส้นทางเชื่อมอยุธยา-แปดริ้ว

สำหรับคอนเซ็ปต์ M-Map 2 ทาง “ไจก้า” ใช้โมเดลจากญี่ปุ่นมาเป็นต้นแบบกำหนดทิศทาง จะเป็นการพัฒนาพื้นที่ต่อเนื่องจากแผนแม่บทเดิม พร้อมกับขยายรัศมีพื้นที่ศึกษาจาก 20 กม. เป็น 40 กม. ครอบคลุมพื้นที่จังหวัดนครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสงคราม พื้นที่ 8 อำเภอทางใต้ของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และพื้นที่ 4 อำเภอของจังหวัดฉะเชิงเทรา (ดูแผนที่ประกอบ) คาดว่ามีผู้เดินทางโดยรถไฟฟ้าเพิ่มขึ้น 15% แบ่งการดำเนินงานออกเป็น 3 ระยะ ระยะสั้น 2561-2565 เช่น เพิ่มขีดความสามารถในการรองรับของโครงข่ายในปัจจุบัน, เร่งรัดโครงการให้ครบถ้วนตามแผนแม่บทปัจจุบัน, ส่งเสริมให้มีระบบขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบระยะกลาง 2566-2570 เช่น พัฒนาสถานีขนส่งให้มีประสิทธิภาพ, พัฒนาจุดเปลี่ยนถ่ายรูปแบบการเดินทาง, พัฒนาให้มีระบบฟีดเดอร์สาธารณะ, พัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานี, ดำเนินมาตรการจูงใจให้ประชาชนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมมาใช้ระบบขนส่งสาธารณะและ ระยะยาว 2570-2580 เป็นการเพิ่มโครงข่าย เช่น ในพื้นที่ศูนย์กลางเมืองที่จำเป็นและยังเข้าไม่ถึง, ตามแนวเส้นทางที่มีความต้องการเดินทางสูง, เชื่อมต่อพื้นที่ศูนย์กลางเมืองรอง, เข้าถึงสนามบิน

แนะรัฐจูงใจคนนั่งรถไฟฟ้า

ที่น่าสนใจ “ไจก้า” มีข้อเสนอแนะให้รัฐออกมาตรการจูงใจประชาชนให้เปลี่ยนพฤติกรรมมาใช้ระบบการขนส่งทางรางมากขึ้น เช่น สนับสนุนค่าใช้จ่ายให้พนักงานแต่ละบริษัทเดินทางมาทำงานโดยใช้ระบบขนส่งสาธารณะ ห้ามขับรถยนต์มาทำงานสำหรับพนักงานที่อาศัยอยู่ในรัศมีไม่เกิน 2 กม.จากที่ทำงาน, ลดค่าโดยสารในเวลาไม่เร่งด่วนและเมื่อใช้บัตรโดยสารอิเล็กทรอนิกส์และจำกัดการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล โดยเพิ่มค่าจอดรถย่านใจกลางเมือง กำหนดวันปลอดรถยนต์ หรือ car free day และเพิ่มอัตราภาษีรถยนต์

แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคมกล่าวว่า แผนแม่บทรถไฟฟ้าระยะที่ 2 เบื้องต้นยังไม่ลงรายละเอียดเส้นทางใหม่ที่กำหนดเพิ่มเติม เนื่องจากยังไม่นิ่ง แต่โดยหลักจะเป็นระบบขนส่งมวลชนรองที่จะเป็นฟีดเดอร์ให้กับรถไฟฟ้าสายหลัก รวมถึงเป็นเส้นทางต่อขยายกับเส้นทางเดิมที่ยังขาดการเชื่อมโยง หรือ missing link

แต่ละเส้นทางต้องสอดคล้องกับการจัดวางผังเมืองรวมกรุงเทพฯและปริมณฑล จะกำหนดพื้นที่เป็นเมืองรองไว้รายล้อมกรุงเทพฯ เพื่อเป็นการขยายเมืองจากใจกลางกรุงเทพฯไปยังชานเมืองมากขึ้น ในรัศมี 20-40 กม. ได้แก่ รังสิต มีนบุรี ลาดกระบัง สมุทรสาคร ศาลายา บางขุนเทียน สมุทรปราการ บางใหญ่ แคราย บางซื่อ มักกะสัน วงเวียนใหญ่ และสถานีแม่น้ำ อีกทั้งต้องเชื่อมต่อกับ 3 สถานีหลักที่จะเป็นศูนย์กลางการเดินทางในอนาคต คือ สถานีกลางบางซื่อ สถานีมักกะสัน และสถานีแม่น้ำ

เปิดโผ 5 เส้นทางใหม่

อย่างไรก็ตาม ในเบื้องต้นไจก้ากำหนดเส้นทางใหม่ไว้ 5 เส้นทาง รวม 131 กม. ได้แก่

1.สายสถานีแม่น้ำ-บางนา-สนามบินสุวรรณภูมิ 33 กม. รองรับกับการเติบโตของเมืองฝั่ง จ.สมุทรปราการ จะเชื่อมกับสายสีเขียวแบริ่ง-สมุทรปราการ การพัฒนาสถานีแม่น้ำและสนามบินสุวรรณภูมิ

2.ต่อขยายสายสีเทาช่วงรามอินทรา-ลำลูกกา 14 กม. รองรับการเติบโตของ จ.ปทุมธานี จะต่อเชื่อมกับสายสีเทา (วัชรพล-ทองหล่อ) และสายสีเขียว (หมอชิต-ลำลูกกา)

3.สายรังสิต-ธัญบุรี 12 กม. รองรับการเติบโตพื้นที่เทศบาลนครรังสิต และ อ.ธัญบุรี จ.ปทุมธานี ที่เป็นที่ตั้งของ 4 มหาวิทยาลัย ได้แก่ ธรรมศาสตร์ เทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี กรุงเทพ และรังสิต ต่อเชื่อมกับสายสีแดง (บางซื่อ-รังสิต-ม.ธรรมศาสตร์)

4.สายสถานีขนส่งสายใต้จากบรมราชชนนี-หลักสี่ จะพาดผ่านพื้นที่ที่ยังไม่มีระบบขนส่งทางรางเข้าสู่ตัวเมือง ระยะทาง 30 กม. และ

5.สายบางหว้า-ตลิ่งชัน-นนทบุรี-บางกะปิ แนวเส้นทางจะเป็นลักษณะวงแหวน ระยะทาง 42 กม. รองรับพื้นที่ที่ยังไม่มีระบบรถไฟฟ้าเข้าไปถึง และเป็นระบบสายรองที่รองรับโครงข่ายหลักทั้งรถไฟฟ้าสายสีเขียว สายสีส้ม และสายสีม่วง เบื้องต้นกำหนดไว้แบบนี้หลังการเมืองผลัดใบ ต้องลุ้นจะถูกรื้อหรือไม่


Last edited by Wisarut on 14/01/2019 2:18 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 14/01/2019 2:17 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
Wisarut wrote:
รฟม.คาดเปิดประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ช่วง 'แคราย - ลำสาลี' มูลค่า 48,000 ล้านบาท ช่วงปลายปี 2562 - เร่งสร้างพร้อมทางด่วน กทพ.สร้างตอม่อรถไฟฟ้าสีน้ำตาลสับหว่างทางด่วน (กทพ.สร้างค่อยเก็บเงิน รฟม.)

https://www.thebangkokinsight.com/86898/

‘รฟม.’คาดเปิดประมูลรถไฟฟ้าสีน้ำตาลปีนี้
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ 11 ม.ค. 62

ตอม่อรถไฟฟ้าน้ำตาลสับหว่างทางด่วน กทพ. สร้างก่อนค่อยเก็บเงิน รฟม.

ศุกร์ที่ 11 มกราคม 2562 เวลา 12.23 น.

รายงานข่าวแจ้งว่า ขณะนี้การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) เริ่มดำเนินการหาที่ปรึกษาออกแบบก่อสร้างเสาตอม่อ ฐานรากโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ช่วงแคราย -ลำสาลี (บึงกุ่ม) หลังจากที่ประชุมคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก(คจร.) ได้เห็นชอบผลการศึกษาความเหมาะสมโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล และมีมติให้กระทรวงคมนาคมมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กทพ. รวมทั้งกรมทางหลวง (ทล.) ดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล รวมทั้งโครงข่ายระบบทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ N1 (แนวคลองบางบัวและคลองบางเขน) ระยะทาง 7 กม, ตอน N2 (วงแหวนตะวันออก-แยกเกษตร) ระยะทาง 12 กม. งบประมาณ 2.5 หมื่นล้านบาท โดยให้พิจารณาวางแผนร่วมกัน

เนื่องจากต้องปรับรูปแบบการก่อสร้างจากที่มีตอม่อบริเวณถนนเกษตรนวมินทร์เพียงอย่างเดียว ซึ่ง กทพ.ได้สร้างรอไว้แล้ว เพื่อสร้างเสาตอม่อของรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลเพิ่มระยะทางประมาณ 5.7 กมโดยการก่อสร้างรถไฟฟ้าจะใช้คนละเสา วางสับหว่างเสาตอม่อทางด่วนเพื่อลดผลกระทบด้านการจราจรไม่ต้องสร้างล้ำออกจากแนวเสาตอม่อทางด่วนเดิม ส่วนค่าก่อสร้างเสาตอม่อรถไฟฟ้าฯที่ กทพ. ต้องดำเนินการนั้นอยู่ระหว่างการพิจารณา โดยจะออกค่าใช้จ่ายให้ก่อนเมื่อสร้างเสร็จ รฟม. ในฐานะผู้รับผิดชอบรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลจะจ่ายเงินคืนให้ วางแผนเริ่มประกวดราคาก่อสร้างเสาตอม่อกลางปีนี้

คาดว่าจะได้ผู้รับจ้างปลายปีจากนั้นจะเริ่มก่อสร้างภายในต้นปี 63 เพราะต้องรอสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) สผ. อนุมัติมาตรการลดผลกระทบด้านสิ่งแแวดล้อม (อีไอเอ) ใหม่ก่อนจึงจะเริ่มประกวดราคาได้ ส่วนการแก้ไขปัญหาจุดตัดบริเวณทางต่างระดับตัดกับถนนประเสริฐมนูกิจและประดิษฐ์มนูธรรมเพื่อตัดถนนใหม่หรือถนนบายพาสงบประมาณ 480 ล้านบาท ขนาด 2 ช่องจราจร 4 ทิศทาง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในโครงการทางด่วน N2 ช่วงวงแหวนรอบนอก-แยกเกษตร นั้นอยู่ระหว่างนำเสนอกระทรวงคมนาคมและคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาคาดว่าจะก่อสร้างได้ภายในปี นี้
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 15/01/2019 10:05 am    Post subject: Reply with quote

15 ม.ค.62 Update สถานะความคืบหน้างานก่อสร้างรถไฟฟ้าในความรับผิดชอบของกระทรวงคมนาคม 7 โครงการ 173กม. ส่วนใหญ่มีผลงานเร็วกว่าแผนงานที่กำหนดไว้

ป.ล.สายสีทอง (สถานีรถไฟฟ้ากรุงธนบุรี-เจริญนคร-สำนักงานเขตคลองสาน) บ. กรุงเทพธนาคม จำกัด รับผิดชอบ มีความคืบหน้ากว่าร้อยละสิบ แต่ยังล่าช้าจากแผนงาน
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=2114083018638632&set=a.2048582948521973&type=3&theater
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 15/01/2019 10:18 am    Post subject: Reply with quote

“อาคม”สั่งผู้รับเหมารถไฟฟ้า ทำความสะอาดพื้นที่ก่อสร้าง ช่วยลดฝุ่นละออง
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 14 มกราคม 2562 เวลา 20:49

“อาคม”สั่งรฟม.กำชับผู้รับเหมาก่อสร้างรถไฟฟ้า ทำความสะอาดพื้นที่ก่อสร้าง และหยุดงานก่อสร้างที่ทำให้เกิดฝุ่นละอองชั่วคราว ส่วนขสมก. บขส.ตรวจสภาพรถ ห้ามมีควันดำ เพื่อช่วยแก้ไขสถานการณ์ค่าฝุ่นละอองเกินมาตรฐาน ในพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑล

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า จากสถานการณ์ ค่าฝุ่นละออง PM 2.5 ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีปริมาณเกินค่ามาตรฐานที่กำหนดจนเริ่มส่งผลต่อสุขภาพประชาชน กระทรวงคมนาคมได้ร่วมดำเนินการแก้ไขปัญหาและบูรณาการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองดังกล่าวทันที ตามที่สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เสนอ ได้แก่

สั่งการให้ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) กำชับให้ผู้รับเหมาเข้มงวดเรื่องฝุ่นละอองจากการก่อสร้าง ล้างทำความสะอาดล้อรถขนดิน และทำความสะอาดไส้กรองรถบรรทุก เพื่อช่วยลดปริมาณฝุ่นละออง หรือหยุดกิจกรรมการก่อสร้างที่ทำให้เกิดฝุ่นละอองชั่วคราวในวันที่มีค่า PM 2.5 เกินมาตรฐาน

สำหรับพื้นที่การก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้า ให้ รฟม. ดำเนินการดูแลควบคุมเครื่องจักรไอเสีย ให้เป็นไปตามที่มาตรฐานกำหนด คืนพื้นผิวจราจรให้มากที่สุด โดยจะปิดช่องจราจรเฉพาะพื้นที่ก่อสร้างที่จำเป็นไม่ให้มีการใช้พื้นที่เกาะกลางเป็นที่เก็บของ และล้างผิวจราจรตามแนวพื้นที่ก่อสร้างทุกวันจนกว่าปัญหาฝุ่นละอองในกรุงเทพฯ จะมีค่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน รวมทั้งประสานตำรวจจราจรตามแนวพื้นที่ก่อสร้างเพื่อเพิ่มความคล่องตัวของการจัดจราจร ทั้งนี้ รฟม. ได้สั่งการให้ผู้รับเหมาทุกรายถือปฏิบัติและดำเนินการทันที

ให้องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) กรมการขนส่งทางบก (ขบ.)และบริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) แจ้งผู้ประกอบการรถโดยสารสาธารณะให้ดูแลสมรรถนะรถ ล้างเปลี่ยนไส้กรอง ตรวจสภาพรถให้มั่นใจตามมาตรฐาน และห้ามรถโดยสาร ที่มีควันดำเกินมาตรฐานวิ่งโดยเด็ดขาด สำหรับเรือโดยสารได้ให้กรมเจ้าท่า (จท.) ตรวจสอบการบำรุงรักษาเครื่องยนต์เรือที่ให้บริการในคลองต่างๆ อย่างเคร่งครัด

และให้หน่วยงานภาครัฐลดการใช้เครื่องยนต์ดีเซลและรณรงค์เชิญชวนให้ประชาชนลดการใช้พาหนะส่วนบุคคลด้วยการใช้บริการขนส่งมวลชนสาธารณะ และมาตรการการใช้รถร่วมกัน (car pool) โดยเน้นย้ำให้หน่วยงานด้านการให้บริการขนส่งสาธารณะเตรียมความพร้อมการให้บริการประชาชนอย่างเพียงพอ จัดเตรียมพื้นที่จุดจอดแล้วจรในบริเวณใกล้กับสถานีรถไฟฟ้า เพื่อเป็นทางเลือกในการเดินทางของประชาชน

//--------------



คมนาคมเข้มไซต์สร้างรถไฟฟ้า-ตรวจสมรรถนะรถโดยสารสาธารณะรับมือฝุ่นละอองท่วมกทม.และปริมณฑล
พร็อพเพอร์ตี้
เผยแพร่:วันที่ 14 มกราคม 2562 เวลา - 21:02 น.


​นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า จากสถานการณ์ค่าฝุ่นละออง PM 2.5 ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีปริมาณเกินค่ามาตรฐานที่กำหนดจนเริ่มส่งผลต่อสุขภาพประชาชน กระทรวงคมนาคมได้ร่วมดำเนินการแก้ไขปัญหาและบูรณาการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองดังกล่าวทันที ตามที่สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เสนอ ดังนี้

​1.หน่วยงานที่มีโครงการก่อสร้าง อาทิ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) การรถไฟแห่งประเทศไทย ให้ผู้รับเหมาเข้มงวดเรื่องฝุ่นละอองจากการก่อสร้าง ล้างทำความสะอาดล้อรถขนดิน และทําความสะอาดไส้กรองรถบรรทุก เพื่อช่วยลดปริมาณฝุ่นละออง หรือหยุดกิจกรรมการก่อสร้างที่ทําให้เกิดฝุ่นละอองชั่วคราวในวันที่มีค่า PM 2.5 เกินมาตรฐาน

​2.สำหรับพื้นที่การก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าให้ รฟม.ดำเนินการดูแลควบคุมเครื่องจักรไอเสีย ให้เป็นไปตามที่มาตรฐานกำหนด คืนพื้นผิวจราจรให้มากที่สุด โดยจะปิดช่องจราจรเฉพาะพื้นที่ก่อสร้างที่จำเป็นไม่ให้มีการใช้พื้นที่เกาะกลางเป็นที่เก็บของ และล้างผิวจราจรตามแนวพื้นที่ก่อสร้างทุกวันจนกว่าปัญหาฝุ่นละอองในกรุงเทพฯ จะมีค่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน รวมทั้งประสานตำรวจจราจรตามแนวพื้นที่ก่อสร้างเพื่อเพิ่มความคล่องตัวของการจัดจราจร ทั้งนี้ รฟม.ได้สั่งการให้ผู้รับเหมาทุกรายถือปฏิบัติและดำเนินการทันที

​3.ให้องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ กรมการขนส่งทางบก และบริษัท ขนส่ง จำกัด แจ้งผู้ประกอบการรถโดยสารสาธารณะให้ดูแลสมรรถนะรถ ล้างเปลี่ยนไส้กรอง ตรวจสภาพรถให้มั่นใจตามมาตรฐาน และห้ามรถโดยสาร ที่มีควันดําเกินมาตรฐานวิ่งโดยเด็ดขาด สำหรับเรือโดยสารได้ให้กรมเจ้าท่า (จท.) ตรวจสอบการบำรุงรักษาเครื่องยนต์เรือที่ให้บริการในคลองต่างๆ อย่างเคร่งครัด

​4.ให้หน่วยงานภาครัฐลดการใช้เครื่องยนต์ดีเซลและรณรงค์เชิญชวนให้ประชาชนลดการใช้พาหนะส่วนบุคคลด้วยการใช้บริการขนส่งมวลชนสาธารณะ และมาตรการการใช้รถร่วมกัน (car pool) โดยเน้นย้ำให้หน่วยงานด้านการให้บริการขนส่งสาธารณะเตรียมความพร้อมการให้บริการประชาชนอย่างเพียงพอ จัดเตรียมพื้นที่จุดจอดแล้วจรในบริเวณใกล้กับสถานีรถไฟฟ้า เพื่อเป็นทางเลือกในการเดินทางของประชาชน
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 190, 191, 192 ... 277, 278, 279  Next
Page 191 of 279

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©