Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311234
ทั่วไป:13180324
ทั้งหมด:13491558
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวเกี่ยวกับ "ที่ดิน" ของ "รฟท."
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวเกี่ยวกับ "ที่ดิน" ของ "รฟท."
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 150, 151, 152 ... 197, 198, 199  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 21/01/2019 12:40 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
Mongwin wrote:
Wisarut wrote:
เปิดเอกชนพัฒนาพื้นที่ สถานีรถไฟขอนแก่น ทำสวนสนุกโมเดล ‘ยูนิเวอร์แซล’
เศรษฐกิจ
วันที่ 7 มกราคม 2562 - 15:55 น.
“รฟท.”ทำมาร์เก็ตซาวน์ดิ้ง รอบสถานีรถไฟขอนแก่นรับไฮสปีดเทรน (มีคลิป)
วันที่ 7 มกราคม 2562 - 18:05 น.

'รฟท.'พัฒนาสถานีขอนแก่น เอกชนร่วมลงทุน 8 พันล้าน
กรุงเทพธุรกิจ 8 ม.ค. 62


ร.ฟ.ท.เปิดรับฟังความเห็นนักลงทุน ร่วมทุนพัฒนาสถานีขอนแก่น108ไร่

วันที่ 7 มกราคม 2562 -




พลิกที่ดิน 108 ไร่ “สถานีขอนแก่น” ผุด “โรงแรม-สวนสนุก”
พร็อพเพอร์ตี้
วันจันทร์ที่ 21 มกราคม 2562 เวลา 11:14 น.


ไม่ใช่แค่ที่ดินทำเลทองในกรุงเทพฯ ที่ “ร.ฟ.ท.-การรถไฟแห่งประเทศไทย” จะนำมาเปิดให้เอกชนร่วมลงทุนพัฒนารูปแบบ PPP ทั้งย่านบางซื่อ มักกะสัน สถานีแม่น้ำ เพื่อสร้างรายได้ในระยะยาว

ล่าสุดเตรียมพลิกที่ดิน 108 ไร่ ย่าน “สถานีขอนแก่น” ปัจจุบันเป็นอาคารบ้านพักพนักงาน อาคารที่ทำการและสนามกอล์ฟ เปิดให้เอกชนที่สนใจลงทุนพัฒนาโครงการ รับรถไฟทางคู่ “ช่วงจิระ-ขอนแก่น” ที่กำลังเปิดใช้ในเดือน ก.พ.นี้ คาดว่าจะมีผู้ใช้บริการวันละ 2-3 หมื่นคน

โดยจ้างสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เป็นผู้ศึกษารูปแบบการพัฒนาโครงการและรูปแบบการลงทุนตาม พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ 2556 ซึ่งจัดการรับฟังความคิดเห็นทดสอบความสนใจของนักลงทุน (market sounding) ไปเมื่อวันที่ 7 ม.ค.ที่ผ่านมา ได้รับความสนใจจากยักษ์ใหญ่ด้านรับเหมาก่อสร้าง อสังหาฯ ค้าปลีก พลังงาน อาทิ บมจ.เซ็นทรัลพัฒนา บมจ.ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง บมจ.พฤกษา เรียลเอสเตท บมจ.ซี.พี.แลนด์ บมจ.สัมมากร บมจ.ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น บมจ.อิตาเลียนไทยดีเวล๊อปเมนต์ บมจ.ปตท. บมจ.ดิ เอราวัณ กรุ๊ป เป็นต้น

“วรวุฒิ มาลา” รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการแทนผู้ว่าการ ร.ฟ.ท.กล่าวว่า จะนำข้อคิดเห็นของภาคเอกชนมาจัดทำรายละเอียดของโครงการให้ตอบโจทย์การพัฒนาให้มากที่สุด คาดว่าจะสรุปรูปแบบการพัฒนาอีก 3-4 เดือนนี้ จากนั้นได้แนวคิดจะต้องศึกษารายละเอียด และทำรายงาน PPP คาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 2-3 ปี

ทั้งนี้ การที่นำที่ดินย่านดังกล่าวมาพัฒนา เนื่องจากตั้งอยู่ในทำเลที่มีศักยภาพใจกลางเมือง ทางที่ปรึกษาประเมินว่าที่ดินเหมาะจะพัฒนาโครงการเกี่ยวกับการท่องเที่ยวและการพาณิชย์ เบื้องต้นแบ่งการพัฒนาพื้นที่ 108.4 ไร่ เป็น 5 แปลง ไม่รวมโซน A ที่ประมูลไปแล้วจะพัฒนาเป็นตลาดและที่อยู่อาศัย มีมูลค่าการลงทุนประมาณ 5,000-8,000 ล้านบาท ระยะเวลาสัมปทาน 30-50 ปี

โดย “โซน B” เนื้อที่ 16.2 ไร่ ติดกับถนนรื่นรมย์ พัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์บริเวณย่านสถานีรถไฟ (TOD) เพื่อใช้ประโยชน์ที่ดินแบบผสมผสาน มีที่พักอาศัย อาคารพาณิชย์ สำนักงาน และการใช้ประโยชน์ประเภทอื่น ๆ เช่น ค้าปลีก

“โซน C และโซน D” เนื้อที่รวม 16.5 ไร่ พัฒนาเป็นโรงแรม ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้า เพื่อบริการผู้เดินทาง ขณะที่ “โซน E” เนื้อที่ 58.6 ไร่ พัฒนาเป็นพื้นที่สวนสนุกและพื้นที่สันทนาการ เช่น รถไฟเหาะตีลังกา เรือไวกิ้ง สวนน้ำ คอนเซ็ปต์คล้ายยูนิเวอร์แซล และ “โซน F” เนื้อที่ 8 ไร่ พัฒนาพื้นที่ประเภทกลุ่มอาคารสำนักงานและที่พักอาศัยของพนักงานการรถไฟฯ

นายวรวุฒิยังกล่าวถึงความคืบหน้าการพัฒนาที่ดินโซน A ของสถานีกลางบางซื่อ เนื้อที่ 35 ไร่ว่า ก.พ.นี้จะสรุปร่างทีโออาร์ คาดว่าจะเปิดประมูลภายในไตรมาส 2 และส่งมอบพื้นที่ได้ปลายปีนี้ โดยให้เอกชนเป็นผู้ลงทุนทั้งหมด ระยะเวลา 30 ปี ก่อสร้าง 4 ปี

พัฒนาจัดหาประโยชน์ 30 ปี ภายใต้รูปแบบ BOT คือ สร้าง บริหาร และโอนกรรมสิทธิ์ให้ ร.ฟ.ท.เมื่อครบกำหนดสัญญา มีมูลค่าลงทุนรวม 15,400 ล้านบาท คาดว่าจะได้รับความสนใจจากนักลงทุนทั้งธุรกิจอสังหาฯ ค้าปลีก เนื่องจากมีวัตถุประสงค์การพัฒนาโครงการชัดเจนว่าเป็นมิกซ์ยูสรับกับสถานีกลางบางซื่อ ศูนย์กลางการเดินทางของระบบราง
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 22/01/2019 10:43 am    Post subject: Reply with quote

พนักงานการรถไฟ ข้องใจตลาดนัด ขายของข้างทาง ชี้สุดอันตราย ใกล้จุดสับราง เท้าอาจเละได้
นิวส์มอนิเตอร์

วันที่ 21 มกราคม 2562 - 14:39 น.

พนักงานรถไฟ โพสต์ขายของข้างทาง สุดอันตราย
พนักงานการรถไฟ ข้องใจตลาดนัด ขายของข้างทาง ชี้สุดอันตราย ใกล้จุดสับราง เท้าอาจเละได้

พนักงานการรถไฟ / ผู้ใช้เฟซบุ๊ก Surapol Turongruang ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่การรถไฟแห่งประเทศไทย โพสต์ภาพการค้าขายในลักษณะตลาดนัด ใกล้กับทางรถไฟ บริเวณสถานีรถไฟคลองตัน

พร้อมเขียนข้อความบรรยายว่า ทางรถไฟหรือตลาดนัดว่ะ..งงไม่มีความสามารถที่จะทำอะไรได้เลยหรือ(อันตรายโครตๆ)

ทั้งนี้ในการค้าขายในจุดดังกล่าว ถือว่าเป็นจุดที่อันตราย เนื่องจากมีร้านค้าตั้งอยู่เป็นจำนวนมาก รวมทั้งยังมีคนที่มาเดินซื้อของอีก โดยยังตั้งในจุดสับราง ซึ่งหากมีรถไฟวิ่งผ่านมา และเจ้าหน้าที่ทำการสับราง อาจทำให้ถูกหนีบเท้าแตกละเอียดได้

ทั้งนี้ตลาดดังกล่าวน่าจะตั้งขายเฉพาะวันอาทิตย์ เนื่องจากในวันธรรมดาจะไม่มีการตั้งตลาดปรากฎขึ้น
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=2250223758634032&id=100009392881918

การรถไฟเล็งเลิกตลาดนัดข้างราง หวั่นจับจ่ายสุดอันตราย-ไม่ปลอดภัย
วันที่ 21 มกราคม 2562 - 22:10 น.


จากกรณีผู้ใช้เฟซบุ๊ก Surapol Turongruang ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่การรถไฟแห่งประเทศไทย โพสต์ภาพการค้าขายในลักษณะตลาดนัด ใกล้กับทางรถไฟ บริเวณสถานีรถไฟคลองตัน กทม.

พร้อมเขียนข้อความบรรยายว่า ทางรถไฟหรือตลาดนัดว่ะ..งงไม่มีความสามารถที่จะทำอะไรได้เลยหรือ (อันตรายโคตรๆ)

ทั้งนี้ในการค้าขายในจุดดังกล่าว ถือว่าเป็นจุดที่อันตราย เนื่องจากมีร้านค้าตั้งอยู่เป็นจำนวนมาก รวมทั้งยังมีคนที่มาเดินซื้อของอีก โดยยังตั้งในจุดสับราง ซึ่งหากมีรถไฟวิ่งผ่านมา และเจ้าหน้าที่ทำการสับราง อาจทำให้ถูกหนีบเท้าแตกละเอียดได้ โดยตลาดดังกล่าวน่าจะตั้งขายเฉพาะวันอาทิตย์ เนื่องจากในวันธรรมดาจะไม่มีการตั้งตลาดปรากฎขึ้น


ล่าสุดนายสมยุทธิ์ เรือนงาม รองผู้อำนวยการฝ่ายด้านปฏิบัติการ ฝ่ายปฏิบัติการเดินรถ การรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท) กล่าวถึงประเด็นนี้ว่า รฟท. ได้รับทราบปัญหากรณีที่มีแม่ค้ามาค้าขายสินค้าใกล้บนิเวณทางรถไฟ ระหว่างสถานีคลองตันและหัวหมาก ซึ่งอาจก่อให้เกิดความไม่ปลอดภัยต่อการเดินรถ และประชาชนที่มาจับจ่ายซื้อสินค้า

ทั้งนี้ รฟท. จะต้องแก้ไขปัญหาเร่งด่วน เพราะเป็นเรื่องเกี่ยวความปลอดภัย สำหรับแนวทางแก้ไขปัญหาแบ่งออกเป็น 2 แนวทางคือ 1.ห้ามไม่ให้ขายสินค้าบริเวณดังกล่าว เพื่อป้องกันอุบัติเหตุเฉี่ยวชนหรืออื่นๆ และ 2.ให้ขายได้ตามเดิม แต่รฟท.จะต้องทำการล้อมรั้วบริเวณที่เป็นเขตหวงห้าม หรือเขตทางที่เสี่ยงต่อการเฉี่ยวชนและกระทบต่อการเดินรถ

“เรื่องนี้เป็นเรื่องละเอียดอ่อน เพราะอาจจะกระทบกับประชาชนที่เป็นพ่อค้าแม่ค้า จึงต้องรอให้ผู้ว่ารฟท. ซึ่งเป็นฝ่ายนโยบายเป็นผู้ตัดสินใจว่าจะดำเนินการอย่างไร แต่ขณะนี้ผู้ว่าติดภารกิจเดินทางไปราชการในต่างประเทศ จึงต้องรอให้กลับมาก่อน”
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 23/01/2019 6:19 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
Wisarut wrote:
Mongwin wrote:
Wisarut wrote:
เปิดเอกชนพัฒนาพื้นที่ สถานีรถไฟขอนแก่น ทำสวนสนุกโมเดล ‘ยูนิเวอร์แซล’
เศรษฐกิจ
วันที่ 7 มกราคม 2562 - 15:55 น.
“รฟท.”ทำมาร์เก็ตซาวน์ดิ้ง รอบสถานีรถไฟขอนแก่นรับไฮสปีดเทรน (มีคลิป)
วันที่ 7 มกราคม 2562 - 18:05 น.

'รฟท.'พัฒนาสถานีขอนแก่น เอกชนร่วมลงทุน 8 พันล้าน
กรุงเทพธุรกิจ 8 ม.ค. 62


ร.ฟ.ท.เปิดรับฟังความเห็นนักลงทุน ร่วมทุนพัฒนาสถานีขอนแก่น108ไร่

วันที่ 7 มกราคม 2562 -




พลิกที่ดิน 108 ไร่ “สถานีขอนแก่น” ผุด “โรงแรม-สวนสนุก”
พร็อพเพอร์ตี้
วันจันทร์ที่ 21 มกราคม 2562 เวลา 11:14 น.


การรถไฟแห่งประเทศไทย เปิดประชุมรับฟังความคิดเห็น โครงการพัฒนาพื้นที่ บริเวณอาคาร บ้านพักพนักงาน อาคารที่ทำการ และสนามกอล์ฟที่สถานีขอนแก่น
ทีมพีอาร์การรถไฟแห่งประเทศไทย
23 มกราคม 2562

การรถไฟแห่งประเทศไทย เปิดประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน โครงการศึกษาความเหมาะสมและออกแบบเชิงความคิด โครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณอาคาร บ้านพักพนักงาน อาคารที่ทําการ และสนามกอล์ฟ
ที่สถานีขอนแก่น วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2562 ณ โรงแรม Vwish จังหวัดขอนแก่น

นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการแทนผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ตามที่การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้ดําเนินการจ้างสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)
เป็นที่ปรึกษา เพื่อดําเนินการศึกษาโครงการศึกษาความเหมาะสม และออกแบบเชิงความคิด โครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณอาคาร บ้านพักพนักงาน อาคารที่ทําการ และสนามกอล์ฟที่สถานีขอนแก่น การรถไฟแห่งประเทศไทย
ตามพระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. ๒๕๕๖ทั้งนี้ การรถไฟแห่งประเทศไทย
ได้ตระหนักถึงความสําคัญของการสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ เพื่อให้การจัดทำโครงการพัฒนาพื้นที่สถานีขอนแก่นเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด จึงได้กําหนดให้มีการประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน เพื่อนําเสนอข้อมูลรายละเอียดของการศึกษาโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย หน่วยงานราชการ หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ สถาบันการศึกษา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประชาชนในพื้นที่โครงการ และประชาชนทั่วไป ให้ได้รับทราบรายละเอียดของโครงการ พร้อมทั้งรับฟังความคิดเห็น และข้อเสนอแนะต่อการศึกษาโครงการ ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2562 เวลา 6.00 – 12. 00 น. ณ ห้อง Borrirak 1โรงแรม Vwish อําเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น สำหรับการประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน มีวัตถุประสงค์เพื่อประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารของโครงการให้กลุ่มเป้าหมายได้รับทราบอย่างถูกต้อง และชัดเจน รวมถึงให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการรับทราบข้อมูลข่าวสารการพัฒนาโครงการ และให้ข้อคิดเห็นต่างๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อชุมชน ตลอดจนให้มีส่วนร่วม และเข้าใจต่อมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาโครงการ เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาประเมินความคิดเห็นมากําหนดเป็นแผนการดําเนินงานต่อไป

นายวรวุฒิกล่าวด้วยว่า โครงการศึกษาความเหมาะสมและออกแบบเชิงความคิด โครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณอาคาร บ้านพักพนักงาน อาคารที่ทําการ และสนามกอล์ฟที่สถานีขอนแก่น ถือเป็นโครงการพัฒนาที่ดินที่มีศักยภาพสูงอีกแห่งหนึ่งของการรถไฟฯ เนื่องจากในอนาคตพื้นที่ดังกล่าวจะมีการพัฒนารถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ผ่านมายังสถานีแห่งนี้ อีกทั้งยังมีโครงการรถไฟทางคู่ที่อยู่ระหว่างพัฒนา รวมไปถึงโครงการพัฒนาระบบรถไฟฟ้ารางเบาอีกด้วย
สำหรับแผนพัฒนาพื้นที่สถานีขอนแก่น เบื้องต้นแบ่งการพัฒนาออกเป็น 5 แปลง บนพื้นที่ราว 108 ไร่ ประกอบด้วย โซนบี 16.2 ไร่ พัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์บริเวณย่านสถานีรถไฟ ด้วยการใช้ประโยชน์ที่ดินแบบผสมผสาน มีทั้งที่พักอาศัย อาคารพาณิชย์ สำนักงาน และค้าปลีก ขณะที่โซนซี และโซนดี 16.5 ไร่ พัฒนารองรับโรงแรม ศูนย์ประชุม และแสดงสินค้า โซนอี 58.6 ไร่ พัฒนาเป็นพื้นที่สวนสนุก และพื้นที่สันทนาการ พื้นที่โซนเอฟ 8 ไร่ พัฒนาเป็นพื้นที่ประเภทกลุ่มอาคารสำนักงาน และที่พักอาศัยของพนักงานการรถไฟ ส่วนพื้นที่โซนเอ ได้มีการประมูลไปก่อนหน้านี้แล้วจึงไม่นับรวมอยู่ในโครงการนี้

“สุดท้ายนี้การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้ตระหนักดีว่าขั้นตอนการจัดประชุมรับฟัง ความคิดเห็นของประชาชน เป็นกระบวนการที่มีความสําคัญมาก ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างประชาชนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับผู้ดําเนินโครงการ และหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง โดยการเปิดให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น และข้อเสนอแนะ เพื่อให้นําผลที่ได้ไปพิจารณาปรับเปลี่ยนลักษณะโครงการให้สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน รวมถึงนําไปปรับมาตรการในการป้องกัน แก้ไข และลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการให้สอดคล้องในทางปฏิบัติต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 25/01/2019 2:05 am    Post subject: Reply with quote

พัฒนาขุมทรัพย์ ที่ดินการรถไฟ สถานีเชียงใหม่
สังคม
24 มกราคม 2562

ในอดีตโรงแรมรถไฟเชียงใหม่ เป็นอาคารไม้ชั้นเดียว เปิดบริการเป็นที่พัก เมื่อปีพศ.2464 อยู่ฝั่งตรงข้ามสถานีรถไฟเชียงใหม่ปัจจุบัน ที่นี่เคยเป็นที่ประทับพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ร. 7 และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี เพื่อทอดพระเนตรขบวนแห่ช้างรับเสด็จระหว่างเสด็จประพาสนครเชียงใหม่ เมื่อ พ.ศ 2469ด้วย



ต่อมาปีพศ.2506 การรถไฟฯ (รฟท.)พัฒนา ก่อสร้าง อาคารทรงทันสมัยเพิ่มจากตึกเก่า เป็นอาคาร 6 ชั้น 76 ห้องนอน มีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการโดย พล.ท.พงษ์ ปุณณกันต์ รมว.คมนาคม เมื่อ 21 พย.06 ราคาห้องเดี่ยวคืนละ 70 บาท ห้องพิเศษ 3 เตียงคืนละ 300 บาท นับเป็นโรงแรมแห่งแรกของเชียงใหม่


ราวๆปี 2531รื้ออาคารไม้ ซึ่งเป็นที่พักการรถไฟออกไป ในอดีตรร.รถไฟถือเป็นชุมนุมนักท่องเที่ยว จุดนัดพบ ย่านบันเทิงเริงใจของเมือง เชื่อว่า มุมรอยัลปาร์ค คงจำกันได้ หากเป็นนักเที่ยว จากนั้นช่วงปีพศ. 2546 มีการรื้อรร.ตามแผนพัฒนาเพื่อสร้างเป็น”ห้องรับแขกเมือง” มีสวนสาธารณะ มุมนันทนาการ พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น ,ศุนย์เรียนรู้ แต่สามารถดำเนินการได้เพียงสวนสาธารณะ


โดยรฟท.อนุญาติให้ ทน.เชียงใหม่ พัฒนาพื้นที่ 47 ไร่ เป็นสวนสาธารณะ มีการจัดสรรงบกว่า 90 ล้านบาท พัฒนาพื้นที่อย่างที่เห็น และต้องส่งคืนเมื่อ30 กย.57 เนื่องจากรฟท.มีแผนจะพัฒนาที่ดิน 130 ไร่ ในเชิงพาณิชย์ ตามแผนเมื่อปี 60-61 นั้น รฟท.จะดำเนินโครงการเซอร์วิสอพาร์ตเมนต์ คอมมิวนิตี้มอลล์ อาคารสำนักงานให้เช่า อาคารพักอาศัยพนักงานการรถไฟฯ เป็นต้น แต่ด้วยเหตุผลโครงการรถไฟความเร็วสูงชลอไป จึงปรับแผน ประกอบกับบริเวณด้านติดสนง.ชลประทานเชียงใหม่ที่ 1 จะถูกสถาปนาเป็นเขตพระราชฐาน สถานที่ประทับทุกครั้งที่มีพระบรมวงศานุวงศ์เสด็จฯแปรพระราชฐาน ดังนั้นการพัฒนาจึงค่อนข้างละเอียดอ่อน


ทั้งนี้รฟท. ระบุว่าจะนำที่ดินที่มีทั่วประเทศราวๆ 234,976 ไร่ ที่สามารถพัฒนาให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยจะเปิดให้เอกชนร่วมลงทุนพัฒนา เบื้องต้นปีนี้จะนำ 4 หมื่นกว่าไร่ ที่มีศักยภาพมาพัฒนาซึ่ง จ.เชียงใหม่ เป็น 1 ใน 13 แปลงที่มีศักยภาพสูง ล่าสุดพื้นที่ย่านสถานีขอนแก่นมูลค่า 8 พันล้าน มีแผนจะให้เอกชนพัฒนาเป็น สวนสนุก โมเดลยูนิเวอร์แซล หนุนการท่องเที่ยว


ปีนี้แผนพัฒนาที่ดิน 130 ไร่รอบสถานีรถไฟเชียงใหม่เชิงพาณิชย์ จะให้ เอกชนเข้ามาร่วมลงทุนน่าจะได้ข้อสรุป ส่วนจะมีโครงการใดบ้างนั้น โดยภาพรวมคงไม่แตกต่างจากที่เคยจัดทำแผนแม่บทไว้แล้ว เพราะกระแสท้วงติง แนะนำ ให้จัดการพื้นทีซึ่งเปรียบเสมือนประตูสู่เมืองเชียงใหม่มีมานาน ทางรฟท.รับทราบปัญหามาโดยตลอด ซึ่งก็ไม่ได้ชี้แจงอะไร เนื่องจากต้องรอการพิจารณาอนุมัติตามขั้นตอน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 25/01/2019 10:21 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
พัฒนาขุมทรัพย์ ที่ดินการรถไฟ สถานีเชียงใหม่
สังคม
24 มกราคม 2562

เปิดพื้นที่ 130ไร่ ผุดฮับ..สถานีรถไฟเร็วสูงเชียงใหม่

ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

updated: 21 กันยายน 2558 เวลา 21:30:11 น.



ร.ฟ.ท.เดินหน้าพัฒนาที่ดิน 130 ไร่รอบสถานีรถไฟเชียงใหม่ วาดแผนลงทุนในเชิงพาณิชย์รองรับโครงการรถไฟความเร็วสูง เปิดรับภาคเอกชนเข้าร่วมลงทุน เตรียมนำร่องคอมมิวนิตี้มอลล์ และเซอร์วิสอพาร์ตเมนต์ภายใน 3 ปี เผยใช้แนวคิด TOD สถานีกลางบางซื่อเป็นต้นแบบ ด้านเอกชนเสนอเปิดพื้นที่สถานีรถไฟเชียงใหม่แห่งใหม่ไปกิ่งอำเภอแม่ออน


นายทนงศักดิ์ พงษ์ประเสริฐ หัวหน้าหน่วยธุรกิจการเดินรถ การรถไฟแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ในปี 2562 สถานีกลางบางซื่อจะก่อสร้างแล้วเสร็จ จะมีการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์บริเวณสถานีกลางบางซื่อที่มีพื้นที่ราว 2,300 ไร่ ภายใต้แนวคิด Transit Oriented Development (TOD) ซึ่ง ร.ฟ.ท.เล็งเห็นว่าจะนำแนวคิดการพัฒนา TOD มาพัฒนาที่ดินที่มีอยู่ทั่วประเทศราว 234,976 ไร่ ที่สามารถพัฒนาให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยจะเปิดให้เอกชนร่วมลงทุนพัฒนาโครงการ

ทั้งนี้ การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้มีการจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาที่ดินที่มีศักยภาพจำนวน 25 แปลง ซึ่งย่านสถานีเชียงใหม่เป็น 1 ใน 13 แปลงที่มีศักยภาพสูงมาก เนื่องจากเป็นสถานีปลายทางของเมืองใหญ่ที่สามารถพัฒนาเชิงพาณิชย์ตามแนวคิด TOD เพื่อให้มีการพัฒนาเมืองควบคู่กับการส่งเสริมการท่องเที่ยว

นางสิริมา หิรัญเจริญเวช ผู้อำนวยการฝ่ายการพาณิชย์ การรถไฟแห่งประเทศไทยกล่าวว่า แผนแม่บท (Master Plan) ย่านสถานีเชียงใหม่ เป็นแผนเดิมที่ทำไว้ตั้งแต่ปี 2552 และจะต้องมีการปรับปรุงใหม่ในหลายส่วนเพื่อให้ทันกับสถานการณ์ปัจจุบัน ทั้งนี้ ร.ฟ.ท.เตรียมเดินหน้าพัฒนาที่ดินบริเวณรอบสถานีรถไฟเชียงใหม่จำนวน 130 ไร่อย่างจริงจัง โดยจะเปิดให้เอกชนเข้ามาร่วมลงทุนกับการรถไฟแห่งประเทศไทยในรูปแบบ PPP-Public Private Partnership ซึ่งเป็นการรองรับโครงการรถไฟความเร็วสูง ที่คาดว่าจะเริ่มการก่อสร้างในราวปี 2561



สำหรับการพัฒนาพื้นที่และการใช้ที่ดินได้แบ่งออกเป็นหลายโซน อาทิ สวนสาธารณะบนที่ดินการรถไฟฯ (พัฒนาแล้ว) โครงการก่อสร้างเซอร์วิสอพาร์ตเมนต์ โครงการก่อสร้างคอมมิวนิตี้มอลล์ โครงการก่อสร้างอาคารสำนักงานให้เช่า โครงการก่อสร้าง Retail Shops และโครงการก่อสร้างอาคารพักอาศัยพนักงานการรถไฟฯ เป็นต้น ซึ่งโครงการที่มีความเป็นไปได้และจะเริ่มลงทุนก่อนภายใน 3 ปีก็คือ การลงทุนโครงการคอมมิวนิตี้มอลล์ และเซอร์วิสอพาร์ตเมนต์

ด้านรองศาสตราจารย์มานพ พงศทัต ผู้เชี่ยวชาญด้านผังเมือง และที่ปรึกษาโครงการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์บริเวณสถานีกลางบางซื่อ เพื่อเป็นศูนย์กลางการเดินรถไฟกล่าวว่า พื้นที่โดยรอบสถานีเชียงใหม่ที่มีอยู่ราว 130 ไร่ แม้จะเล็กกว่าที่สถานีบางซื่อ แต่สามารถพัฒนาในเชิงพาณิชย์ได้ด้วย เพราะเป็นพื้นที่ใจกลางเมือง และเป็นสถานีปลายทางของรถไฟความเร็วสูง โดยต้องยึดการเดินทางด้วยระบบรางเป็นตัวตั้ง หรือเป็นศูนย์กลางจากสถานีเชียงใหม่ที่เชื่อมต่อการเดินทางเข้าสู่เมืองด้วยระบบราง เช่น BRT เพื่อลดความแออัดของการจราจร และในอนาคตควรมองถึงการเปิดพื้นที่การพัฒนาระบบรางจากสถานีเชียงใหม่สู่จังหวัดเชียงราย เพื่อเปิดเส้นทางระบบรางเชื่อมต่อไปยังประเทศจีนตอนใต้ ซึ่งจะทำให้จังหวัดเชียงใหม่กลายเป็นศูนย์กลาง (HUB) การเดินทางด้วยระบบรางของภาคเหนือในอนาคต

นายนนท์ หิรัญเชรษฐ์ เลขาธิการสมาคมการค้าอสังหาริมทรัพย์จังหวัดเชียงใหม่-ลำพูนกล่าวว่า โครงการรถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ จะทำให้จังหวัดเชียงใหม่เกิดการเปลี่ยนแปลงในเชิงการพัฒนาเศรษฐกิจที่ดีขึ้นหลายด้าน โดยทางสมาคมมีข้อเสนอการรถไฟแห่งประเทศไทยว่า ควรมีการวางแผนเปิดพื้นที่ใหม่ในการก่อสร้างสถานีเชียงใหม่แห่งใหม่ เพื่อรองรับโครงการรถไฟความเร็วสูง เนื่องจากพื้นที่สถานีเชียงใหม่เดิมค่อนข้างคับแคบ ซึ่งพื้นที่ที่มีความเหมาะสมและมีศักยภาพ คือ กิ่งอำเภอแม่ออน คาดว่าต้องใช้ที่ดินราว 200-300 ไร่ ถือเป็นการลงทุนเพื่ออนาคต ขณะที่พื้นที่สถานีเชียงใหม่เดิมจะกลายเป็นสถานีเชื่อมต่อขนถ่ายคนจากสถานีใหม่เข้าสู่เมือง และการพัฒนาที่ดิน 130 ไร่โดยรอบสถานีเชียงใหม่ ก็มีความเป็นไปได้สูงมากในการลงทุน เพราะอยู่ย่านกลางเมือง
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 31/01/2019 11:55 am    Post subject: Reply with quote

การรถไฟแห่งประเทศไทย รับชําระเงินเพื่อประโยชน์ในการดําเนินกิจการของการรถไฟ ฯ จาก บริษัท ปตท. จํากัด (มหาชน) งวดที่ 4 เป็นเงินปีละ 100 ล้านบาท
ทีมพีอาร์การรถไฟแห่งประเทศไทย
31 มกราคม 2562

ปตท.จ่าย 100 ล้านตามสัญญาค่าใช้ประโยชน์ที่ดินรถไฟ 30 ปี
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 31 มกราคม 2562 13:42
ปรับปรุง: 31 มกราคม 2562 14:54

ปตท.จ่ายค่าใช้ประโยชน์ที่ดินให้รถไฟบริเวณสำนักงานใหญ่ งวดที่ 4 อีก 100 ล้านบาท กรณีต่อสัญญา 30 ปี

นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า วันนี้ (31 ม.ค.) ร.ฟ.ท.ได้รับเช็คชําระเงินเพื่อประโยชน์ในการดําเนินกิจการของการรถไฟแห่งประเทศไทยจาก บริษัท ปตท. จํากัด (มหาชน) งวดที่ 4 เป็นเงินปีละ 100,000,000 บาท (หนึ่งร้อยล้านบาทถ้วน) โดยมีนายวรวัฒน์ พิทยศิริ รองคณะกรรมการผู้จัดการใหญ่นวัตกรรมและดิจิตอล บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เป็นตัวแทนในการมอบ

เป็นไปตามที่ ร.ฟ.ท.ได้ทําบันทึกความเข้าใจระหว่างการถไฟฯ กับ บริษัท ปตท.ในการตกลงขยายอายุสัญญาเช่าที่ดินของการรถไฟฯ ให้กับบริษัท ปตท. บริเวณที่ตั้ง ปตท.สำนักงานใหญ่ ถนนพหลโยธิน เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2558 ออกไปอีก 30 ปี (สัญญาเช่ามีผลวันที่ 1 เมษายน 2556-31 มีนาคม 2586)

ทั้งนี้ ในบันทึกความเข้าใจดังกล่าวได้ระบุเงื่อนไขให้ บริษัท ปตท.ตกลงให้เงินช่วยเหลือเพื่อประโยชน์ในการดําเนินกิจการแก่การรถไฟฯ เป็นเงิน 757.7 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นการชําระเงินช่วยเหลืองวดแรกในวันที่จดทะเบียนสิทธิเหนือพื้นดินเมื่อปี 2558 เป็นเงิน 357.7 ล้านบาท และการชําระเงินช่วยเหลืองวดถัดไปเป็นรายปี (จํานวน 4 งวด) เป็นเงินปีละ 100 ล้านบาท ภายในเดือนมกราคมของทุกปี โดยอยู่นอกเหนือจากค่าเช่าที่ดิน ซึ่ง ปตท.ได้ชำระครั้งเดียวตลอดอายุสัญญา 30 ปีให้กับ ร.ฟ.ท.ครบถ้วนแล้ว 42.3 ล้านบาทถ้วน

ดังนั้น ส่งผลให้ปัจจุบันการรถไฟแห่งประเทศไทยได้รับเงินช่วยเหลือจาก บริษัท ปตท. จํากัด (มหาชน) เพื่อประโยชน์ในการดําเนินกิจการของการรถไฟแห่งประเทศไทย ตามบันทึกความเข้าใจระหว่างการรถไฟแห่งประเทศไทยกับ บริษัท ปตท. จํากัด (มหาชน) ในการตกลงขยายอายุสัญญาเช่าที่ดินของการรถไฟฯ ให้กับบริษัท ปตท. จํากัด (มหาชน) บริเวณที่ตั้ง ปตท.สำนักงานใหญ่ ถนนพหลโยธิน ออกไปอีก 30 ปี ครบถ้วนแล้วเป็นเงินจํานวน 757,700,000 บาท (เจ็ดร้อยห้าสิบเจ็ดล้านเจ็ดแสนบาทถ้วน) ซึ่งจะได้นำเงินไปใช้ประโยชน์ในกิจการของการรถไฟฯ ต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 07/02/2019 11:08 am    Post subject: Reply with quote

รฟท. ลั่นปลายปี’63 เปิดประมูลพื้นที่รอบสถานีชุมพร 130 ไร่ มูลค่า 2.6 พันล้าน
พร็อพเพอร์ตี้
วันพุธที่ 6 กุมภาพันธ์ 2562 เวลา 20:09 น.
รฟท. ลั่นปลายปี’63 เปิดประมูลพื้นที่รอบสถานีชุมพร 130 ไร่ มูลค่า 2.6 พันล้าน
วันพุธที่ 6 กุมภาพันธ์ 2562 เวลา19:17 น.


รายงานข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า ในปี 2563 รฟท. มีแผนที่จะดำเนินโครงการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์บริเวณสถานีชุมพร บนพื้นที่ 130 ไร่ วงเงินลงทุน 2,613 ล้านบาท โดยในช่วงต้นปี 2563 จะตั้งงบประมาณจัดจ้างที่ปรึกษาศึกษารายละเอียดความเหมาะสมโครงการเพิ่มเติมจากผลการศึกษาเดิม คาดว่าจะใช้ระยะเวลาประมาณ 4 เดือนแล้วเสร็จ ตั้งเป้าปลายปี 2563 จะสามารถเปิดประมูลพื้นที่เชิงพาณิชย์บริเวณสถานีชุมพรให้เอกชนเข้าร่วมลงทุนในรูปแบบพีพีพี

สำหรับย่านสถานีชุมพรมีพื้นที่โครงการประมาณ 208,053 ตารางเมตร หรือ 130 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดของการรถไฟบริเวณสถานีชุมพรตั้งแต่ริมถนนนวมินทร์ร่วมใจและถนนไตรรัตน์ไปจนถึงอีกฝั่งของสถานีชุมพรคือฝั่งบ้านพักพนักงานการรถไฟ เบื้องต้นตั้งเป้าพัฒนาเป็นย่านส่งเสริมพาณิชยกรรมและท่องเที่ยวนานาชาติ โดยจะมีการก่อสร้าอาคารที่พักอาศัยให้แก่กลุ่มผู้พักอาศัยในเมืองชุมพร รองรับนักท่องเที่ยวและผู้อยู่อาศัยของการรถไฟในพื้นที่เดิมด้วย เชื่อว่าจะสามารถกระตุ้นเศรษฐกิจการท่องเที่ยวพื้นที่ที่มีความหลากหลาย



รายงานข่าวจาก รฟท. สำหรับรูปแบบการพัฒนาจะแบ่งออกเป็น 5 โซน โซนที่ 1 SRT DEVELOPMENT พื้นที่ 91.46 ไร่ เป็นพื้นที่ภายใต้การใช้กิจกรรมของการรถไฟฯ เดิมจะเป็นการใช้ประโยชน์ประเภทพื้นที่สถานีรถไฟชุมพรและพื้นที่แนวทางรถไฟ, โซน 2 RENTED AREA พื้นที่ 13.57 ไร่ จะเปิดให้เอกชนเช่าเพื่อเตรียมพัฒนาเป็นพื้นที่เพื่อรองรับรถไฟความเร็วสูง ซึ่งสอดคล้องกับแผนแม่บทพัฒนารถไฟความเร็วสูง

โซน 3 NEW COMMERCIAL &ACTiviTY พื้น 16 ไร่ เป็นพื้นที่ที่ส่วนกลางที่เป็นส่วนตลาดและพื้นที่อยู่อาศัยเชิงพาณิชย์ ซึ่งจะจัดสร้างเป็นศูนย์กลางในการรองรับกิจกรรมสำหรับกลุ่มผู้พักอาศัยใหม่ในพื้นที่และรองรับกลุ่มผู้ค้าขายในพื้นที่เดิม โดยมีแนวเส้นทางการเชื่อมต่อที่เชื่อมกับศูนย์กลางด้านคมนาคมโดยเชื่อมโยงด้วยเส้นทางเดินเท้าเส้นทางคมนาคมทางบก ซึ่งจะพัฒนาเป็นลานกิจกรรมและพื้นที่สีเขียวด้วย

โซนที่ 4 City Hotel and Tourist Center จำนวน 2 ไร่ พื้นที่บริเวณโซนริมทะเลซึ่งจะเป็นพื้นที่โซนพาณิชยกรรมและการท่องเที่ยว จะพัฒนาเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวและผู้อยู่อาศัยในบริเวณโดยรอบ โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มอาคาร ได้แก่ โรงแรม อละอาคารพาณิชกรรม กำหนดสัดส่วนพื้นที่เปิดโล่ง มีลานกิจกรรม ลานออกกำลังกายและพื้นที่สีเขียว

โซนที่ 5 SRT Town &Residential Zone จำนวน 5 ไร่ เป็นจะพัฒนาเป็นพื้นที่บริเวณโซนพักอาศัยเป็นการรองรับกลุ่มผู้พักอาศัยใหม่ในบริเวณโดยแบ่งออกเป็นสองกลุ่มคือกลุ่มอาคารที่พักอาศัยพนักงานรถไฟและกลุ่มอาคารและผู้อยู่อาศัยใหม่ที่มีจุดเด่นการพัฒนาพื้นที่สีเขียวรองรับการเดินทางในระยะใกล้

รายงานข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย แจ้งว่า แผนพัฒนาจะแบ่งออกเป็น 2 ระยะ โดยจะเป็นการสร้างอาคารและโยกย้ายกลุ่มผู้เช่าอาคารอาคาร เพื่อเปิดพื้นที่ในการพัฒนาอาคารขึ้นมาใหม่ระยะเวลาดำเนินการรวมทั้งสิ้น 2 ปี โดยระยะที่ 1 มีแผนจะก่อสร้างกลุ่มอาคารที่พักอาศัยเป็นอาคารเพิ่มต้น ระยะเวลาก่อสร้าง 12 เดือน ประกอบด้วยที่พักอาศัยพนักงานรถไฟจำนวน 4 อาคาร บนพื้นที่ 456,000 ตารางเมตร และระยะที่ 2 มีแผนจะก่อสร้างกลุ่มอาคารพาณิชย์กรรมและโรงแรม ระยะเวลาก่อสร้าง 15 เดือน โดยก่อสร้างอาคารพาณิชย์กรรมจำนวน 3 อาคาร พื้นที่ก่อสร้าง รวมทั้งสิ้น 47,000 ตารางเมตร และก่อสร้างโรงแรมและพื้นที่รองรับนักท่องเที่ยว จำนวน 1 อาคาร บนพื้นที่ 14,400 ตารางเมตร




https://www.thebangkokinsight.com/100518/
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 11/02/2019 6:11 pm    Post subject: Reply with quote

เปิดกรุที่ดินรถไฟ 3 แสนล้าน ตั้งบริษัทลูกบริหารสัญญาสร้างรายได้แก้ขาดทุน
พร็อพเพอร์ตี้

วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2562- 19:45 น.


วันที่11ก.พ.2562 การรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.) จัดสัมมนาประชาสัมพันธ์โครงการงานจ้างที่ปรึกษาเตรียมการจัดตั้งบริษัทบริหารทรัพย์สิน ซึ่งมีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังเป็นที่ปรึกษาโครงการฯ ให้แก่ผู้บริหาร พนักงานการรถไฟฯ ได้รับทราบ

โดยเป็นการปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารทรัพย์สินเชิงพาณิชย์ที่ไม่เกี่ยวกับการเดินรถ (Non-Core Assets) เพื่อเพิ่มรายได้แก่องค์กรในระยะยาว คาดจัดตั้งได้สำเร็จในปี 2563

นายสุจิตต์ เชาว์ศิริกุล รองผู้ว่าการกลุ่มบริหารรถไฟฟ้า การรถไฟแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า การรถไฟฯมีภารกิจในการเป็นองค์กรหลักของประเทศ ที่ให้บริการระบบราง ทั้งการขนส่งผู้โดยสารและขนส่งสินค้า ซึ่งมีวิสัยทัศน์การพัฒนาสู่การเป็นผู้ให้บริการระบบรางของรัฐที่ดีที่สุดในอาเซียนในปี 2570

ขณะเดียวกันยังเป็นผู้ถือครองอสังหาริมทรัพย์ ที่ดินที่ไม่ใช้เพื่อการเดินรถ (Non-Core) ทั้งประเทศกว่า 39,419 ไร่ โดยมีมูลค่ารวมกว่า 300,000 ล้านบาท

อย่างไรก็ตาม ด้วยข้อจำกัดของโครงสร้างการบริหารงานขององค์กรที่มีต่อการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์
ในเชิงธุรกิจ ทั้งการขาดบุคลากร ข้อมูล และเทคโนโลยี ส่งผลให้รายได้ผลตอบแทนจากการบริหารทรัพย์สินเหล่านี้มีเพียงประมาณปีละ 3,636 ล้านบาท หรือไม่ถึง 1%

ดังนั้น การรถไฟฯจะจัดตั้ง บริษัทบริหารทรัพย์สินพิจารณาแนวทางเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการอสังหาริมทรัพย์ขององค์กรให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อเพิ่มรายได้ และแก้ปัญหาทางการเงินให้กับการรถไฟฯ ตามแนวทางแผนฟื้นฟูกิจการรถไฟฯ และสอดคล้องกับมติการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2559 ที่เห็นชอบแผนการจัดตั้งบริษัทลูกของการรถไฟฯขึ้น

นายสุจิตต์กล่าวต่อว่า การรถไฟฯยังได้ดำเนิน “โครงการจ้างที่ปรึกษาเพื่อเตรียมการ
จัดตั้งบริษัทบริหารทรัพย์สิน โดยมอบหมายให้สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังเป็นที่ปรึกษาของโครงการฯ

เพื่อเตรียมความพร้อมจัดตั้งบริษัทบริหารทรัพย์สินใน 5 ด้าน ได้แก่ ด้านเอกสารการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท รายละเอียดนโยบายการจัดการการบริหารทรัพย์สิน โครงสร้างการบริหารงาน โครงสร้างทางด้านบัญชีและการเงิน และวางแผนระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ

ทั้งนี้การจัดตั้งบริษัทบริหารทรัพย์สินการรถไฟฯ จะเป็นก้าวสำคัญในการพัฒนาหน่วยธุรกิจใหม่ที่เป็นกลไกในการสร้างรายได้อย่างยั่งยืนให้องค์กร และสามารถนำรายได้ไปแก้ไขปัญหาภาระบำเหน็จบำนาญ ปัญหากระแสเงินสด ปัญหาทางการเงิน และสามารถใช้เป็นแหล่งเงินทุนสำหรับการลงทุนในกิจการอื่นของการรถไฟฯต่อไปในอนาคต โดยมีการรถไฟฯ เป็นผู้ถือหุ้น 100 %

ซึ่งขณะนี้กระบวนการอยู่ระหว่างการพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) และคาดจะเสนอให้คณะรัฐมนตรี พิจารณาได้ประมาณเดือนกรกฎาคม 2562 และสามารถจัดตั้งบริษัทบริหารทรัพย์สินฯ ได้สำเร็จประมาณต้นปี 2563

//--------------------------------------------------


การรถไฟฯ จัดสัมมนาประชาสัมพันธ์โครงการงานจ้างที่ปรึกษาเตรียมการจัดตั้งบริษัทบริหาทรัพย์สิน ให้แก่ผู้บริหาร พนักงานการรถไฟฯ
ทีมพีอาร์การรถไฟแห่งประเทศไทย
วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2562

********************************
การรถไฟแห่งประเทศไทย จัดสัมมนาประชาสัมพันธ์โครงการงานจ้างที่ปรึกษาเตรียมการจัดตั้งบริษัทบริหารทรัพย์สิน ซึ่งมีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังเป็นที่ปรึกษาโครงการฯ ให้แก่ผู้บริหาร พนักงานการรถไฟฯ ได้รับทราบ โดยเป็นการปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารทรัพย์สินเชิงพาณิชย์ที่ไม่เกี่ยวกับการเดินรถ (Non-Core Assets) เพื่อเพิ่มรายได้แก่องค์กรในระยะยาว คาดจัดตั้งได้สำเร็จในปี 2563

เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2562 ณ โรงแรมปรินซ์ พาเลซ กรุงเทพมหานคร นายสุจิตต์ เชาว์ศิริกุล
รองผู้ว่าการ กลุ่มบริหารรถไฟฟ้า การรถไฟแห่งประเทศไทย เป็นประธานพิธีเปิดสัมมนาเพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสาร โครงการงานจ้างที่ปรึกษาเพื่อเตรียมการจัดตั้งบริษัทบริหารทรัพย์สินการรถไฟ
แห่งประเทศไทย ซึ่งมีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังเป็นที่ปรึกษาโครงการฯ ให้ผู้บริหาร พนักงานการรถไฟฯ ได้รับทราบข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับการดำเนินโครงการฯ

นายสุจิตต์ เชาว์ศิริกุล รองผู้ว่าการกลุ่มบริหารรถไฟฟ้า การรถไฟแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า การรถไฟแห่งประเทศไทยมีภารกิจในการเป็นองค์กรหลักของประเทศ ที่ให้บริการระบบราง ทั้งการขนส่งผู้โดยสารและขนส่งสินค้า ซึ่งมีวิสัยทัศน์การพัฒนาสู่การเป็นผู้ให้บริการระบบรางของรัฐที่ดีที่สุดในอาเซียนในปี 2570 ขณะเดียวกันยังเป็นผู้ถือครองอสังหาริมทรัพย์ ที่ดินที่ไม่ใช้เพื่อการเดินรถ (Non-Core) ทั้งประเทศกว่า 39,419 ไร่ โดยมีมูลค่ารวมกว่า 300,000 ล้านบาท

อย่างไรก็ตาม ด้วยข้อจำกัดของโครงสร้างการบริหารงานขององค์กรที่มีต่อการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์
ในเชิงธุรกิจ ทั้งการขาดบุคลากร ข้อมูล และเทคโนโลยี ส่งผลให้รายได้ผลตอบแทนจากการบริหารทรัพย์สินเหล่านี้มีเพียงประมาณปีละ 3,636 ล้านบาท หรือไม่ถึงร้อยละ 1 ดังนั้น การรถไฟแห่งประเทศไทย จัดตั้ง บริษัทบริหารทรัพย์สิน จึงได้พิจารณาแนวทางเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการอสังหาริมทรัพย์ขององค์กรให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อเพิ่มรายได้ และแก้ปัญหาทางการเงินให้กับการรถไฟฯ ตามแนวทางแผนฟื้นฟูกิจการรถไฟฯ และสอดคล้องกับมติการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2559 ที่เห็นชอบแผนการจัดตั้งบริษัทลูก
ของการรถไฟแห่งประเทศไทยขึ้น

นายสุจิตต์กล่าวต่อว่า การรถไฟแห่งประเทศไทยยังได้ดำเนิน "โครงการจ้างที่ปรึกษาเพื่อเตรียมการ
จัดตั้งบริษัทบริหารทรัพย์สิน โดยมอบหมายให้สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังเป็นที่ปรึกษาของโครงการฯ เพื่อเตรียมความพร้อมจัดตั้งบริษัทบริหารทรัพย์สินใน 5 ด้าน ได้แก่ ด้านเอกสารการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท รายละเอียดนโยบายการจัดการการบริหารทรัพย์สิน โครงสร้างการบริหารงาน โครงสร้างทางด้านบัญชีและการเงิน และวางแผนระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ

ทั้งนี้การจัดตั้งบริษัทบริหารทรัพย์สินการรถไฟฯ จะเป็นก้าวสำคัญในการพัฒนาหน่วยธุรกิจใหม่ที่เป็นกลไกในการสร้างรายได้อย่างยั่งยืนให้องค์กร และสามารถนำรายได้ไปแก้ไขปัญหาภาระบำเหน็จบำนาญ ปัญหากระแสเงินสด ปัญหาทางการเงิน และสามารถใช้เป็นแหล่งเงินทุนสำหรับการลงทุนในกิจการอื่นของการรถไฟฯต่อไปในอนาคต โดยมีการรถไฟฯ เป็นผู้ถือหุ้นร้อยละ 100 ซึ่งขณะนี้กระบวนการอยู่ระหว่างการพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) และคาดจะเสนอให้คณะรัฐมนตรี พิจารณาได้ประมาณเดือนกรกฎาคม 2562 และสามารถจัดตั้งบริษัทบริหารทรัพย์สินฯ ได้สำเร็จประมาณต้นปี 2563
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 12/02/2019 1:16 pm    Post subject: Reply with quote

หาดใหญ่ | ประชุมผู้เดือดร้อนได้รับผลกระทบจากการขยายรางรถไฟ
12 กุมภาพันธ์ 2562

วันนี้ (12 ก.พ.62) ที่เทศบาลนครหาดใหญ่ กลุ่มบ้านมั่นคงชุมทางหาดใหญ่ได้ร่วมกันจัดประชุมผู้ได้รับผลกระทบจากการขยายรถไฟรางคู่ไปสุดสุไหงโกลก ปาดังเบซาร์ หาดใหญ่ สงขลา ไปด้านละ 20 เมตร 40 เมตร โดยมีหน่วยงานรัฐภาคส่วนภาคต่าง ๆ มารับฟังความเดือดร้อนของชาวบ้านที่อาศัยอยู่บนพื้นดินของการรถไฟที่ต้องอพยพออกจากแนวเขตขยายไปอยู่ในที่ดินรองรับอื่น ๆ ของการรถไฟ ด้วยการเช่าพื้นที่ดินสร้างที่อยู่อาศัย ทัังนี้ ได้มีเจ้าหน้าที่การรถไฟฝ่ายกิจการพิเศษก่อสร้างรางรถไฟกลางรางคู่ มาชี้แจงให้ทราบถึงการขยายรางว่ากี่เมตร จ่ายค่าชดเชยเยียวยาการมีพื้นที่รองรับการอพยพของการรถไฟไปอยู่จุดไหน


ขอเชิญชวนผู้ได้รับผลกระทบจากการขยายทางรถไฟเข้าร่วมประชุม​ วันนี้ (12 ก.พ. 62)เวลา​ 8.00 - 12.00น​ ณ ห้องประชุมเทศบาลนครหาดใหญ่
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 12/02/2019 7:06 pm    Post subject: Reply with quote

ดัน กม. TOD พัฒนาที่รอบสถานี ลดความเสียเปรียบผู้ถูกเวนคืน
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 11 กุมภาพันธ์ 2562 เวลา 22:32
ปรับปรุง: 12 กุมภาพันธ์ 2562 เวลา 08:09


“ไพรินทร์” ดันออกกฎหมาย TOD หนุนพัฒนาเมืองรอบสถานีรถไฟเป็นการเฉพาะ แก้ปมกฎหมายเวนคืน ไม่เปิดช่อง และเพิ่มโอกาสผู้ถูกเวนคืนได้สิทธิ์ร่วมอยู่ในพื้นที่ได้ โดยใช้การจัดรูปที่ดินแบบญี่ปุ่น เล็งนำร่องพื้นที่ EEC

นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดการสัมมนาโครงการศึกษาพัฒนาเมืองกับระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคม ครั้งที่ 1 ปาฐกถาพิเศษ “ร่วมสร้างเมือง TOD เสริมศักยภาพพื้นที่ สร้างเศรษฐกิจไทยมั่นคง” ว่า สำนักนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) จัดสัมมนาฯ ขึ้นเพื่อเผยแพร่ข้อมูลโครงการและการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยได้ว่าจ้างกลุ่มที่ปรึกษาดำเนินการศึกษาพัฒนาเมืองกับระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง ซึ่งการพัฒนาเมืองโดยรอบสถานีขนส่ง (Transit-Oriented Development : TOD) ถือเป็นเครื่องมือใหม่ที่จะช่วยให้การพัฒนาระบบขนส่งมวลชนและการพัฒนาพื้นที่เกิดประโยชน์สมบูรณ์

ทั้งนี้ กระทรวงคมนาคมเห็นว่าควรมีการพัฒนากฎหมาย TOD ขึ้นมาเป็นการเฉพาะเพื่อใช้สำหรับการพัฒนาที่ดินควบคู่กับการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนเพื่อลดความขัดแย้งของสังคม เนื่องจากการใช้กฎหมายเวนคืนที่ผ่านมามีปัญหาเพราะมีผู้ได้ประโยชน์และเสียประโยชน์ คือคนที่ถูกเวนคืนเสียประโยชน์เพราะต้องออกจากพื้นที่ แต่คนที่ไม่ถูกเวนคืนแต่ที่อยู่ติดกับโครงการได้รับประโยชน์จากมูลค่าที่ดินที่เพิ่มขึ้น เป็นต้น

“ประโยชน์ของการมีกฎหมาย TOD คือเครื่องมือในการได้มาซึ่งที่ดิน และทำให้สถานีรถไฟ รถไฟฟ้า มีการพัฒนาพื้นที่หรือเมืองรอบสถานีอย่างครอบคลุม ไม่ใช่พัฒนาเมืองฝั่งใดฝั่งหนึ่ง ประชาชนโดยรวมได้ประโยชน์ ไม่ใช่การถูกรอนสิทธิ ซึ่งแตกต่างกันแบบกฎหมายเวนคืน เช่น คนถูกเวนคืนก็เสียประโยชน์ คนอยู่ติดกับพื้นที่เวนคืน ที่พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เช่น สถานีรถไฟฟ้า ได้ประโยชน์ โดยการให้กฎหมาย TOD จะทำให้ทุกคนได้ประโยชน์จากการเข้าร่วมโครงการพัฒนา จะขายที่ดินให้รัฐในราคาตลาดแล้วจะซื้อคืนเพื่อเข้ามาอยู่ที่ดินที่ได้รับการพัฒนาแล้วก็ย่อมได้ และมีมูลค่าเพิ่มของที่ดินด้วย” นายไพรินทร์กล่าว

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากในการพัฒนาพื้นที่ ECC ซึ่งมาตรา 34 ได้กำหนดเรื่อง TOD ไว้ด้วย โดย สนข.สามารถจะเลือกพื้นที่นำร่อง TOD ได้แก่ ฉะเชิงเทรา พัทยา อู่ตะเภา

นายชยธรรม์ พรหมศณ รองผู้อำนวยการ สนข.กล่าวว่า จะศึกษารายละเอียดหลักเกณฑ์ที่กฎหมาย TOD จะครอบคลุมอะไรบ้าง โดยจะสรุปการศึกษาในปี 2563

สำหรับการศึกษาเบื้องต้นจากประเทศญี่ปุ่นพบว่ามีการกระจายอำนาจให้ท้องถิ่น หรือมีการแก้กฎหมายบางส่วนเพื่อให้ท้องถิ่นสามารถดำเนินการได้ เช่น การเก็บภาษี นอกจากนี้ยังมีการปรับแก้กฎหมายบางส่วนเพื่อให้เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบันอีกด้วย ซึ่งทำให้โครงการประสบความสำเร็จ

ทั้งนี้ พบว่าพื้นที่ที่มีศักยภาพในการพัฒนาโครงการ TOD ทั่วประเทศตามแนวเส้นทางรถไฟของไทยมีประมาณ 235 พื้นที่ จากทั้งหมด 883 สถานี
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 150, 151, 152 ... 197, 198, 199  Next
Page 151 of 199

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©