RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311232
ทั่วไป:13179801
ทั้งหมด:13491033
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 191, 192, 193 ... 277, 278, 279  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 15/01/2019 8:29 pm    Post subject: Reply with quote

15ม.ค.62 รฟม.สรุปความก้าวหน้าการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าในความรับผิดชอบของ รฟม. โดยเป็นความก้าวหน้าของงานโยธา(Civil Work) และงานวางระบบรถไฟฟ้า(M&E) ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2561

....โครงการรถไฟฟ้าในความรับผิดชอบของ รฟม. ที่อยู่ในระหว่างการก่อสร้าง ทั้งสิ้น 5 โครงการ

1. โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว (เหนือ) ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ความก้าวหน้าของงานโยธา(Civil Work) อยู่ที่ร้อยละ 92.86
2. โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ส่วนต่อขยาย ช่วงหัวลำโพง-บางเเค เเละช่วงเตาปูน-ท่าพระ ความก้าวหน้าของงานโยธา(Civil Work)เสร็จสมบูรณ์ 100% ณ ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนของงานวางระบบรถไฟฟ้า(M&E) อยู่ที่ร้อยละ 67.84
3. โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงเเคราย-มีนบุรี ความก้าวหน้าของงานโยธา(Civil Work) อยู่ที่ร้อยละ 21.29 และงานวางระบบรถไฟฟ้า(M&E) อยู่ที่ร้อยละ 7.46
4. โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง ความก้าวหน้าของงานโยธา(Civil Work) อยู่ที่ร้อยละ 11.69 และงานวางระบบรถไฟฟ้า(M&E) อยู่ที่ร้อยละ 3.16
5. โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม (ตะวันออก) ช่วงศูนย์วัฒนธรรมเเห่งประเทศไทย-มีนบุรี ความก้าวหน้าของงานโยธา(Civil Work) อยู่ที่ร้อยละ 24.59 และเมื่อวันที่ 9 มกราคม 2562 ทางโครงการฯได้เริ่มเดินเครื่องหัวเจาะอุโมงค์รถไฟฟ้าใต้ดิน บริเวณสถานีคลองบ้านม้า ไปยัง สถานีหัวหมาก(สัญญา3)

**โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว (ใต้) ช่วงเเบริ่ง-สมุทรปราการ ได้เปิดให้ประชาชนทดลองใช้บริการแล้วเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2561
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=2114690558577878&set=a.1775055352541402&type=3&theater
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 18/01/2019 10:47 am    Post subject: Reply with quote

รฟม.ช่วยบรรเทาฝุ่นละออง หยุดสร้างรถไฟฟ้าถึง 22 ม.ค. ฟรีค่าจอดรถ MRT และสายสีม่วง
พร็อพเพอร์ตี้
วันพฤหัสบดีที่ 17 มกราคม 2562 เวลา 19:28 น.

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กล่าวว่า ตามที่ กระทรวงคมนาคมได้กำหนดมาตรการเพื่อบรรเทาสถานการณ์ค่าฝุ่นละออง PM 2.5 เกินมาตรฐาน โดยให้หน่วยงานในสังกัดถือปฏิบัติโดยเร่งด่วนนั้น การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ได้ดำเนินการตามมาตรการดังกล่าวเพื่อร่วมแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองเกินค่ามาตรฐาน ดังนี้



1. การงดเว้นกิจกรรมก่อสร้างที่ก่อให้เกิดฝุ่นละอองในพื้นที่ก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้า 3 โครงการ ได้แก่ โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม สีชมพู และสีเหลือง เช่น งานถมดิน ในช่วงวันที่ 16 – 22 มกราคม 2562 รวมถึงให้ผู้รับจ้างก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าทุกสายดำเนินมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมอย่างเคร่งครัดเพื่อลดฝุ่นละอองในพื้นที่ก่อสร้าง เช่น การทำความสะอาดพื้นที่ก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าและถนนสาธารณะด้วยรถกวาดดูดฝุ่นและการฉีดล้างถนน การทำความสะอาดล้อรถก่อนออกจากพื้นที่ก่อสร้าง การปิดคลุมกระบะรถบรรทุกและการปิดคลุมกองวัสดุก่อสร้างให้มิดชิด การหมั่นตรวจสอบ สภาพเครื่องจักร และการติดตั้งรั้วทึบสูงอย่างน้อย 2 เมตรรอบพื้นที่ก่อสร้าง เป็นต้น

2. การยกเว้นค่าบริการจอดรถยนต์ สำหรับผู้ใช้บริการรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม (MRT สายสีม่วง) ตั้งแต่วันศุกร์ที่ 18 มกราคม 2562 ถึงวันพฤหัสบดีที่ 28 กุมภาพันธ์ 2562 เพื่อเป็นการเชิญชวนให้ประชาชนหันมาใช้บริการรถไฟฟ้าแทนการใช้รถยนต์ ซึ่งจะช่วยลดปริมาณฝุ่นละอองและบรรเทาปัญหาสถานการณ์ดังกล่าวได้ โดยประชาชนสามารถนำรถยนต์ไปจอดและเดินทางต่อด้วยรถไฟฟ้า MRT สายสีม่วงได้ ณ อาคารจอดแล้วจรทั้ง 4 แห่ง ได้แก่ อาคารจอดแล้วจรสถานีคลองบางไผ่ รองรับรถยนต์ได้ 1,986 คัน อาคารจอดแล้วจรสถานีสามแยกบางใหญ่ รองรับรถยนต์ได้ 1,296 คัน อาคารจอดแล้วจรสถานีบางรักน้อยท่าอิฐ รองรับรถยนต์ได้ 1,076 คัน อาคารจอดแล้วจรสถานีแยกนนทบุรี 1 รองรับรถยนต์ได้ 565 คัน โดยเปิดให้บริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 05.00 – 01.00 น.


รฟม.เปิดฟรีอาคารจอดรถสายสีม่วง 18 ม.ค.-28 ก.พ. งดใช้รถยนต์-ลดฝุ่น
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันพฤหัสบดีที่ 17 มกราคม 2562 เวลา 18:51
ปรับปรุง: ศุกร์ที่ 18 มกราคม 2562 เวลา 10:43

รฟม.คุมเข้มผู้รับเหมารถไฟฟ้า งดงานถมดินรถไฟฟ้า 3 สายชั่วคราว 16-22 ม.ค.นี้ แก้ปัญหาฝุ่นละอองเกินมาตรฐาน พร้อมให้บริการอาคารจอดรถฟรีสายสีม่วง ตั้งแต่ 18 ม.ค.-28 ก.พ. จูงใจใช้รถไฟฟ้าแทนรถยนต์ส่วนตัว

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กล่าวว่า ตามที่กระทรวงคมนาคมได้กำหนดมาตรการเพื่อบรรเทาสถานการณ์ค่าฝุ่นละออง PM 2.5 เกินมาตรฐาน โดยให้หน่วยงานในสังกัดถือปฏิบัติโดยเร่งด่วนนั้น การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ได้ดำเนินการตามมาตรการดังกล่าวเพื่อร่วมแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองเกินค่ามาตรฐาน

ในส่วนของ รฟม.ได้มีการงดเว้นกิจกรรมก่อสร้างที่ก่อให้เกิดฝุ่นละอองในพื้นที่ก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้า 3 โครงการ ได้แก่ โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม สีชมพู และสีเหลือง เช่น งานถมดิน ในช่วงวันที่ 16-22 มกราคม 2562 รวมถึงให้ผู้รับจ้างก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าทุกสายดำเนินมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมอย่างเคร่งครัดเพื่อลดฝุ่นละอองในพื้นที่ก่อสร้าง

เช่น การทำความสะอาดพื้นที่ก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าและถนนสาธารณะด้วยรถกวาดดูดฝุ่นและการฉีดล้างถนน การทำความสะอาดล้อรถก่อนออกจากพื้นที่ก่อสร้าง การปิดคลุมกระบะรถบรรทุกและการปิดคลุมกองวัสดุก่อสร้างให้มิดชิด การหมั่นตรวจสอบสภาพเครื่องจักร และการติดตั้งรั้วทึบสูงอย่างน้อย 2 เมตรรอบพื้นที่ก่อสร้าง เป็นต้น

นอกจากนี้ จะมีการยกเว้นค่าบริการจอดรถยนต์สำหรับผู้ใช้บริการรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม (MRT สายสีม่วง) ตั้งแต่วันศุกร์ที่ 18 ม.ค. 2562 ถึงวันพฤหัสบดีที่ 28 ก.พ. 2562 เพื่อเป็นการเชิญชวนให้ประชาชนหันมาใช้บริการรถไฟฟ้าแทนการใช้รถยนต์ ซึ่งจะช่วยลดปริมาณฝุ่นละอองและบรรเทาปัญหาสถานการณ์ดังกล่าวได้

โดยประชาชนสามารถนำรถยนต์ไปจอดและเดินทางต่อด้วยรถไฟฟ้า MRT สายสีม่วงได้ ณ อาคารจอดแล้วจรทั้ง 4 แห่ง ได้แก่ อาคารจอดแล้วจรสถานีคลองบางไผ่ รองรับรถยนต์ได้ 1,986 คัน อาคารจอดแล้วจรสถานีสามแยกบางใหญ่ รองรับรถยนต์ได้ 1,296 คัน อาคารจอดแล้วจรสถานีบางรักน้อยท่าอิฐ รองรับรถยนต์ได้ 1,076 คัน อาคารจอดแล้วจรสถานีแยกนนทบุรี 1 รองรับรถยนต์ได้ 565 คัน โดยเปิดให้บริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 05.00-01.00 น.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 21/01/2019 12:52 pm    Post subject: Reply with quote

3 ปีรถไฟฟ้าเสร็จ ไม่ใช่คำตอบสุดท้ายแก้ฝุ่น
วันที่ 21 มกราคม 2562 เวลา 08:15 น.
การสร้างรถไฟฟ้าเสร็จใน 3 ปี ข้างหน้าไม่ใช่คำตอบในการแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง หากยังไม่สามารถแก้เรื่องปริมาณยานพาหนะบนท้องถนนได้
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 23/01/2019 12:26 pm    Post subject: Reply with quote

เปิดไทม์ไลน์ รถไฟฟ้า-ทางคู่สายใหม่
พร็อพเพอร์ตี้
วันพุธ ที่ 23 มกราคม 2562 - 09:45 น.


2562 เป็นอีกปีที่ประเทศไทยจะมีรถไฟฟ้าและรถไฟทางคู่เปิดบริการ หลังรัฐบาลอัดงบประมาณโหมก่อสร้างมานานร่วม 3-4 ปี

ดีเดย์ภายในเดือน ก.พ.นี้ คนภาคอีสานจะได้ใช้รถไฟทางคู่สายแรกช่วงชุมทางถนนจิระ-ขอนแก่น ระยะทาง 187 กม. ที่ “ร.ฟ.ท.-การรถไฟแห่งประเทศไทย” ใช้งบประมาณก่อสร้าง 23,430 ล้านบาท มีกิจการร่วมค้า CKCS (ช.การช่างและ ช.ทวี ก่อสร้าง) เป็นผู้ก่อสร้าง เริ่มงานก่อสร้างเมื่อวันที่ 19 ก.พ. 2559 ตามสัญญาจะเสร็จวันที่ 18 ก.พ. 2562 แม้งานก่อสร้างช่วงสถานีบ้านไผ่ที่ปรับแบบใหม่จะเสร็จในเดือน ส.ค.นี้ แต่ ร.ฟ.ท.จะเปิดให้บริการบางส่วนก่อนเป็นแนวเส้นทางสร้างใหม่ขนานไปกับทางรถไฟเดิม พาดผ่านพื้นที่ 2 จังหวัด คือ นครราชสีมาและขอนแก่น หลังเปิดใช้จะลดปัญหาจุดทางรถไฟและแก้ปัญหาจราจรในเมืองของจังหวัดต่าง ๆ จำนวน 114 จุด

อีกทั้งช่วยร่นระยะเวลาเดินทางจาก 3 ชั่วโมงเหลือ 1 ชั่วโมง 20 นาที และช่วยลดเวลาการขนส่งสินค้าจากเดิม 6 ชั่วโมงเหลือ 2 ชั่วโมง 30 นาที เพิ่มการขนส่งสินค้าจากปีละ 4 แสนตันเป็นปีละ 4 ล้านตัน รองรับผู้โดยสารจาก 2 ล้านคนต่อปีเป็น 10 ล้านคนต่อปี ในปีแรกคาดว่าจะมีผู้โดยสาร 27,200-38,800 คนต่อวัน

ตามมาติด ๆ รถไฟทางคู่สายตะวันออกช่วง “ฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย” ระยะทาง 109 กม. ที่ ร.ฟ.ท.ทุ่มสร้าง 10,232 ล้านบาท ตามสัญญามีกำหนดเสร็จวันที่ 18 ก.พ. 2562 แบ่งสร้าง 2 สัญญา งานก่อสร้างทางรถไฟมี “บมจ.ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น” ก่อสร้าง สัญญาที่ 2 งานสร้างทางรถไฟช่วงวิหารแดง-บุใหญ่ พร้อมอุโมงค์ มี บจ.ไร้ท์ทันเน็ลลิ่ง เป็นผู้ก่อสร้าง แต่ติดปัญหาบางช่วงที่ยังเข้าพื้นที่ไม่ได้ ทาง ร.ฟ.ท.จะเปิดใช้เป็นบางช่วงไปก่อน

แนวเส้นทางจะสร้างขนานไปกับทางรถไฟเดิม พาดผ่านพื้นที่ 3 จังหวัด คือ ฉะเชิงเทรา นครนายก และสระบุรี จะช่วยลดต้นทุนการขนส่งและโลจิสติกส์ รองรับการขนส่งสินค้าจากชายฝั่งทะเลตะวันออกและท่าเรือแหลมฉบัง

จากรถไฟทางคู่มาสู่รถไฟฟ้าในพื้นที่กรุงเทพฯ ที่ “รฟม.-การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย” กำลังเร่งตอกเข็มก่อสร้างให้เสร็จตามกำหนด เพื่อเป็นการช่วยบรรเทาการจราจรติดขัด หลังที่มีรถไฟฟ้าสายใหม่เปิดหน้าดินก่อสร้างอยู่ไม่ขาดสาย ทาง รฟม.จึงปรับแผนจะทยอยเปิดบริการตามความพร้อมของการก่อสร้าง

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการ รฟม. กล่าวว่า ภายในเดือน ส.ค.ที่จะถึงนี้ รฟม.จะเปิดบริการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายช่วง “หัวลำโพง-หลักสอง” ซึ่งจะเปิดเร็วขึ้นจากเดิมในเดือน ก.ย. 2562 เมื่อเปิดใช้จะเป็นรถไฟฟ้าสายแรกที่ลอดน้ำเจ้าพระยา เชื่อมการเดินทางฝั่งธนบุรีกับฝั่งพระนคร ยังมี 4 สถานีใต้ดินที่มีสถาปัตยกรรมสวยงามและส่งเสริมการท่องเที่ยว ได้แก่ สถานีวัดมังกรฯ สามยอด สนามไชย และอิสรภาพ

“ช่วงเปิดบริการยังอยู่ระหว่างพิจารณาจะเปิดให้ใช้ฟรีหรือเก็บค่าโดยสารเลย ซึ่งค่าโดยสารจะอยู่ที่ 16-42 บาท”

ผู้ว่าการ รฟม.กล่าวอีกว่า จากนั้นในวันที่ 25 ธ.ค. 2562 จะเปิดช่วงสถานีเตาปูน-สถานีสิรินธร ให้เร็วขึ้นจากแผนเดิมภายในเดือน มี.ค. 2563 และเร่งช่วงสถานีสิรินธร-สถานีท่าพระ ให้เร็วเป็นวันที่ 2 มี.ค. 2563 จากเดิมภายในเดือน มี.ค. 2563

อีกสายทางที่ประกาศชัดแล้ว “สายสีเขียวต่อขยาย” ช่วง “หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต” ทั้งโครงการพร้อมเปิดบริการในปี 2563

แต่มีเสียงยืนยันจาก “สุรพงษ์ เลาหะอัญญา” กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ หรือ BTSC พร้อมสุดขีดจะเปิดบริการ 1 สถานีจากหมอชิต-ห้าแยกลาดพร้าวในเดือน ส.ค. 2562 เพื่อช่วยบรรเทาการจราจรบริเวณถนนพหลโยธินและลาดพร้าว

อีกทั้งยังอยู่ระหว่างประเมินจะทยอยเปิดบริการตามความพร้อมของงานก่อสร้าง ภายในปีนี้อาจจะได้เห็นการเปิดบริการเพิ่มอีก 4 สถานี จากห้าแยกลาดพร้าว สถานีต่อไปเป็นสถานีพหลโยธิน 24 รัชโยธิน เสนาฯ และเกษตรศาสตร์

ขณะที่ค่าโดยสาร “กทม.-กรุงเทพมหานคร” เจ้าของโครงการอยู่ระหว่างเจรจากับบีทีเอส จะปฏิวัติค่าโดยสารใหม่ เก็บค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียวทั้งโครงข่ายตามระยะทาง เริ่มต้น 15-65 บาท ในเร็ว ๆ นี้คงจะมีคำตอบ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 23/01/2019 12:54 pm    Post subject: Reply with quote

นักวิชาการแนะคุมค่าโดยสารรถไฟฟ้า ชี้คนกรุงจ่ายเฉลี่ย 3พันบาทต่อเดือน

18 มกราคม พ.ศ. 2562 เวลา 10:11 น.



18 ม.ค. 2562 นายสุเมธ องกิตติกุล ผู้อำนวยการวิจัยด้านนโยบายการขนส่งและโลจิสติกส์ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI)เปิดเผยว่าผลการศึกษาโครงสร้างค่าโดยสารรถไฟและรถไฟฟ้าในปัจจุบันนั้นดำเนินการมาแล้ว 5-6 เดือนคาดว่าจะเสนอกรมการขนส่งทางบก(ขบ.)ได้ภายใน 1 เดือนนับจากนี้ก่อนส่งต่อไปยังกระทรวงคมนาคมพิจารณาต่อไป เริ่มจากรถไฟฟ้านั้นพบว่าจากการเก็บข้อมูลด้านเศรษฐกิจ รายได้และกำลังการบริโภคของคนกรุงเทพนั้นพบว่าประชากรครึ่งหนึ่งหรือราว 4-5 ล้านคนนั้นไม่สามารถรับภาระค่าโดยสารรถไฟฟ้าในปัจจุบันได้

อย่างไรก็ตามปัญหาดังกล่าวจะยิ่งทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นเมื่อมีการเปิดเดินรถไฟฟ้าสายใหม่ ดังนั้นจึงต้องการเสนอให้รัฐบาลควบคุมโครงสร้างค่าโดยสารอย่างเป็นระบบทั้งเส้นทางเดิมและเส้นทางใหม่ในอนาคต เช่นเดียวกับการคุมค่าโดยสารรถเมล์ในช่วงที่ผ่านมา หรืออย่างน้อยต้องไม่ปล่อยให้ค่าโดยสารลอยตัวเหมือนในปัจจุบัน ดังนั้นจึงยกตัวอย่างผู้มีรายได้ขั้นต่ำราว 10,000-15,000 บาท อาทิ ค่าเฉลี่ยของค่าโดยสารรถไฟฟ้าตลอดสายอยู่ที่ 42 บาท หากเดินทางเข้าเมืองต้องมีการเชื่อมต่อรถไฟฟ้าอีกสายจะเป็น 84 บาท/เที่ยว หรือ 168 บาท/วัน และ คิดเป็น 3,360 บาท/เดือน ในกรณีที่มีวันทำงาน 20 วัน/เดือน ดังนั้นจึงพบว่าเฉพาะแค่ค่ารถไฟฟ้านั้นคิดเป็นสัดส่วน 33.6%-22.4% ของรายได้ทั้งหมด 1-1.5 หมื่นบาทต่อเดือน ซึ่งถือว่าค่อนข้างสูงเกินไป

นายสุเมธกล่าวอีกว่าส่วนด้านค่าโดยสารรถไฟธรรมดานั้นพบว่าควรปรับเพิ่มขึ้นให้สะท้อนต้นทุนที่แท้จริงในปัจจุบัน โดยเฉพาะรถไฟชั้น 3 มีราคาค่าโดยสารเริ่มต้นเพียง 2 บาท เป็นเรทราคาซึ่งไม่ได้ปรับเพิ่มมามากกว่า 20 ปีแล้ว ดังนั้นจึงเห็นควรให้ปรับเพิ่มตามที่การรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.)เสนอราคามาที่ 10 บาท

สำหรับโครงสร้างราคารถไฟชานเมืองสายสีแดงช่วงบางซื่อ-รังสิตนั้นควรมีค่าโดยสารเฉลี่ยอยู่ที่ 20-30 บาท/เที่ยว และควรจะเป็นรถไฟฟ้าเส้นทางที่ถูกมากที่สุดเพราะสนับสนุนการเดินทางของผู้มีรายได้น้อยตามชานเมือง เช่นเดียวกับรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ที่มีราคา 45 บาทตลอดสายรวมระยะทาง 28 กม. คิดเป็นค่าเฉลี่ย 1.7 บาทถือว่าถูกที่สุดในปัจจุบัน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 28/01/2019 5:36 pm    Post subject: Reply with quote

คมนาคมเร่งแก้จุดบกพร่องเชื่อมต่อรถไฟฟ้าและฟีดเดอร์
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 28 มกราคม พ.ศ. 2562 เวลา16:13
ปรับปรุง: 28 มกราคม พ.ศ. 2562 เวลา17:23


“คมนาคม” เร่งแก้ปัญหาการเชื่อมต่อระบบรถไฟฟ้ากับขนส่งสาธารณะ พบหลายจุดยังมีข้อบกพร่อง สั่ง รฟม.สำรวจกายภาพ เชื่อมสถานีรถไฟฟ้า 10 สาย กับฟีดเดอร์ทั้งรถเมล์และเรือให้สมบูรณ์ เพื่อเร่งทำแผนรวมเสนอ คจร.อนุมัติ

นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการพิจารณาการเชื่อมต่อระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนกับระบบขนส่งสาธารณะรูปแบบอื่น ว่าได้ติดตามความคืบหน้าการดำเนินงานของปี 2559 ซึ่งกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) ได้จัดทำแผนแม่บทพัฒนาระบบรถโดยสารสาธารณะในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล มีเส้นทางรถโดยสารในพื้นที่จำนวน 269 เส้นทาง และให้สำนักงานขนส่งจังหวัด ปรับปรุงเส้นทางรถโดยสารประจำทางเพื่อเชื่อมต่อสถานีรถไฟฟ้าที่อยู่นอกเขตกรุงเทพฯ รวมถึงเร่งรัดการดำเนินการ และเสนอแนะแนวทางการดำเนินโครงการเพื่อพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะทางรถและทางเรือให้เชื่อมต่อกับสถานีรถไฟฟ้าทั้ง 10 สาย ที่เปิดให้บริการและที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง และโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลที่กำลังจะดำเนินการ

“ที่ผ่านมาการเชื่อมต่อยังไม่สมบูรณ์ซึ่งต้องให้รถไฟฟ้าเป็นระบบหลัก และขนส่งสาธารณะอื่น เช่น รถเมล์ เรือเป็นฟีดเดอร์ที่ผู้โดยสารสามารถเชื่อมต่อการเดินทางไปยังรถไฟฟ้าได้”

ทั้งนี้ การเชื่อมต่อกับระบบขนส่งทางรางที่สมบูรณ์ จะดำเนินการ 2 ลักษณะ คือ 1.ปรับปรุงทางกายภาพเพื่อให้การบริการที่เชื่อมได้อย่างสมบูรณ์ 2. การเชื่อมต่อระบบเพื่อเป็นการส่งเสริมด้านการเดินทาง เช่น การใช้บัตรแมงมุม ซึ่งได้มอบหมายในส่วนของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) สำรวจว่าได้มีการออกแบบให้เป็นลักษณะของสถานีร่วมหรือไม่ โดยจะแบ่งเป็นสถานีที่มีในปัจจุบัน และแบบสถานีในอนาคต

ส่วนองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) สำรวจเส้นทางการเดินรถ จัดให้มีป้ายหยุดรถโดยสารใกล้กับสถานีรถไฟฟ้า และจัดการเดินรถที่เหมาะสม ให้กรมเจ้าท่า (จท.) สำรวจเส้นทางการเชื่อมต่อระหว่างท่าเรือกับการ ระบบขนส่งสาธารณะรูปแบบอื่น เช่น สำรวจทางเดินเท้าระหว่างท่าเรือให้ประชาชนสามารถขึ้นจากเรือและเดินทางไปยังป้ายรถโดยสารได้ และสำรวจระยะห่างระหว่างท่าเรือกับสถานีรถไฟฟ้าเพื่อพิจารณาพัฒนาท่าเรือต่างๆ ตลอดจนการเชื่อมต่อระหว่างรถกับเรือ เพื่อรองรับการเดินทางแบบไร้ร้อยต่อของประชาชน สร้างความสะดวก รวดเร็ว และประหยัดค่าเดินทาง

อย่างไรก็ตาม รฟม.จะต้องสำรวจรายละเอียดสถานีรถไฟฟ้าทั้งที่เปิดใช้แล้ว และอยู่ระหว่างการก่อสร้าง เพื่อให้ผู้ใช้บริการมีความสะดวกมากที่สุด เช่น ปัจจุบัน สถานีรถไฟฟ้า MRT จตุจักร (รถไฟฟ้าใต้ดิน) กับสถานีรถไฟฟ้า BTS หมอชิต อยู่บริเวณเดียวกันแต่หลังคาไม่เชื่อมต่อกัน ถือว่าไม่สมบูรณ์ในการให้บริการ ฝนตกผู้โดยสารเปียก ซึ่งให้สรุปรายละเอียดทั้งหมดเสนอที่ประชุมครั้งต่อไป ขณะที่สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจาราจร (สนข.) จะทำแผนรายละเอียด ก่อนจะเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) เพื่อขออนุมัติก่อนจะดำเนินการต่อไป เพื่อให้เห็นภาพรวมของการแก้ปัญหา จุดบกพร่องบ้าง และหน่วยงานที่รับผิดชอบจะดำเนินการ งบประมาณ ระยะเวลา
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 29/01/2019 6:24 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
คมนาคมเร่งแก้จุดบกพร่องเชื่อมต่อรถไฟฟ้าและฟีดเดอร์
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 28 มกราคม พ.ศ. 2562 เวลา16:13
ปรับปรุง: 28 มกราคม พ.ศ. 2562 เวลา17:23



คมนาคมเร่งแผนเดินทางไร้รอยต่อ
อังคารที่ 29 มกราคม 2562 เวลา 10.38 น.
“คมนาคม” เร่งแผนเดินทางแบบไร้รอยต่อ สแกนจุดเชื่อมต่อรถไฟฟ้า-รถเมล์-เรือ ผุดสถานีร่วมรถเมล์มีที่จอดเฉพาะ กันกีดขวางจราจร เน้นจุดคนใช้เยอะ ทำง่าย งบน้อย

นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคม (คค.) เปิดเผยหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการพิจารณาการเชื่อมต่อระบบรถไฟฟ้ากับขนส่งสาธารณะรูปแบบอื่นว่า การประชุมครั้งนี้เพื่อหารือแผนเชื่อมต่อระบบขนส่งสาธารณะโดยให้รถไฟฟ้าเป็นระบบหลักเชื่อมเรือและรถเมล์เป็น 2 รูปแบบ คือ เชื่อมทางกายภาพและเชื่อมโดยใช้ระบบที่ส่งเสริมการเดินทาง อาทิ ตั๋วร่วมหรือบัตรแมงมุม โดยมอบการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ไปพิจาณาสถานีที่มีรถไฟฟ้าหลากสีตัดกัน ทั้งสถานีเดิมที่มีอยู่ และสถานีในอนาคตนำมาทำเป็นสถานีร่วมเช่น สถานีสวนจตุจักร และสถานีหมอชิต อยู่ในที่เดียวกัน แต่ยังไม่เชื่อมกันฝนตกต้องเดินตากฝนมาโบกรถเมล์
ทั้งนี้ป้ายรถเมล์ต้นทาง-ปลายทางให้ทำเป็นสถานีร่วมมีพื้นที่จุดจอดสำหรับรถเมล์แต่ละสาย ป้ายรถเมล์ต้องตั้งในตำแหน่งเหมาะสมสะดวกต่อการใช้งานและอยู่ใกล้ระบบขนส่งสาธารณะ รวมทั้งสร้างศาลาพักคอยโดยนำแผนมาเสนอที่ประชุมครั้งหน้าเพื่อนำเสนอที่ประชุมคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก(คจร.) มอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปดำเนินการต่อ เน้นจุดเชื่อมต่อการเดินทางหนาแน่นทำง่ายและใช้งบประมาณไม่มากก่อน เช่น สถานีหมอชิต ให้เห็นภาพการเดินทางแบบไร้รอยต่อรถไฟฟ้ากับระบบขนส่งสาธารณะอื่นๆต่อไป

ด้านนายสราวุธ ทรงศิวิไล ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.) กล่าวว่า ปลัดฯมีข้อสั่งการให้รถไฟฟ้ากับระบบสาธารณะอื่นๆเชื่อมต่อการใช้งานได้จริง ปัจจุบันการเดินเรือโดยสารคลองแสนแสบมีทั้งหมด28 ท่า ขณะที่เรือด่วนเจ้าพระยา และเรือข้ามฟาก รวมกัน 100 ท่า ได้มอบหมายกรมเจ้าท่า (จท.)พิจารณาศักยภาพของท่าเรือ และจุดเชื่อมต่อท่าเรือกับรถไฟฟ้าได้ มี 2 แบบ คือ 1.ท่าเรือกับรถไฟฟ้าอยู่ตำแหน่งเดียวกันมี 5 ท่า คือ ท่าเรือสาทร ท่าบางโพ ท่าพระนั่งเกล้า ท่าราชินี และท่าพระราม 7ซึ่งท่าเรือบางโพและพระนั่งเกล้ามอบให้ รฟม. ไปออกแบบ ส่วนท่าเรือพระราม 7 ต้องหารือกรุงเทพมหานคร(กทม.) ก่อน ขณะที่ท่าสาทรและท่าราชินีปัจจุบันเชื่อมต่อแล้ว

นายสราวุธ กล่าวต่อว่า และ 2.ท่าเรืออื่นๆ ที่ไม่เชื่อมกับสถานีรถไฟฟ้าโดยตรง เช่น ท่าเรือรามคำแหง และหัวลำโพงต้องไปพิจารณาต่อ เมื่อลงเรือแล้วให้นั่งรถเมล์ต่อระยะทางสั้นๆ มาสถานีรถไฟฟ้าได้โดยมอบกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) และองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ใช้รถเมล์เป็นฟีดเดอร์รับส่งผู้โดยสารจากท่าเรือไปสถานีรถไฟฟ้าได้รวมทั้งให้ ขบ. นำแผนปฏิรูปเส้นทางรถเมล์ 269 เส้นทางมาพิจารณาให้สอดคล้องกับแผนแม่บทรถไฟฟ้าและท่าเรือควบคู่ไปด้วย นำร่องใช้กับรถไฟฟ้าสายสีแดง(บางซื่อ-รังสิต)ก่อนเพราะเป็นถนนสายหลักและจะเปิดให้บริการต้นปี 64
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 30/01/2019 7:30 pm    Post subject: Reply with quote

สนข.ผุดแอป “BKK RAIL” มี.ค.นี้ ลิงก์ข้อมูลรถไฟฟ้าทุกสาย
เผยแพร่: 30 มกราคม พ.ศ. 2562 เวลา 17:13
ปรับปรุง: 30 มกราคม พ.ศ. 2562 เวลา 18:31 โดย: ผู้จัดการออนไลน์


สนข.ผุดแอปฯ “BKK RAIL” ศูนย์รวมข้อมูลโครงข่ายรถไฟฟ้า เชื่อมข้อมูลการเดินทาง ยกระดับชีวิตคนเมืองเปิดตัวใน มี.ค. พร้อมแอประบบฟีดเดอร์ เชื่อมราง-รถ-เรือ ไร้รอยต่อ พร้อมแก้ปมตั้งชื่อสถานีรถไฟฟ้า สร้างมาตรฐานกลาง ลดซ้ำซ้อน เข้าใจง่าย

นายสราวุธ ทรงศิวิไล ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยภายหลังเป็นประธานปิดสัมมนา “โครงการศึกษาการวางแผนเชิงระบบการจัดการเดินรถเพื่อยกระดับการให้บริการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน” ว่าขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการสรุปการศึกษาซึ่งมีการการวางแผนระบบการจัดการเดินรถเพื่อยกระดับการให้บริการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน และรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และเสนอกระทรวงคมนาคมในเดือน มี.ค. และคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) และคณะรัฐมนตรี (ครม.) ต่อไป

ในการศึกษาได้มุ่งให้ประชาชนสามารถใช้ระบบรถไฟฟ้าให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต และขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ โดยจะนำแผนพัฒนาเส้นทางรถไฟฟ้ารวมกว่า 400 กม.ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ซึ่งเปิดให้บริการแล้ว 5 เส้นทาง และจะแล้วเสร็จครบ 10 เส้นทางตามแผนแม่บท ในปี 2568 ซึ่งได้พัฒนาแอปพลิเคชัน “BKK RAIL” เป็นศูนย์ข้อมูลระบบรถไฟฟ้าทั้งหมด เพื่ออำนวยความสะดวกในการใช้บริการ ขณะนี้อยู่ระหว่างทดสอบระบบและจะเปิดให้ใช้งานได้อย่างเป็นทางการเดือน มี.ค. 2562

นอกจากนี้ ในเดือน เม.ย. สนข.ยังจะเปิดใช้แอปพลิเคชันระบบนำทางซึ่งเป็นระบบขนส่งเชื่อมต่อ (ฟีดเดอร์) เช่น เรือ รถเมล์ จะทำให้มีข้อมูลในการเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะที่เชื่อมโยงอย่างสมบูรณ์ ทั้งนี้ ในการศึกษาได้เก็บข้อมูลศึกษาตั้งแต่ปี 2560 กำหนดรูปแบบในการพัฒนาและตัวชี้วัด ได้แก่ ปริมาณการเดินทาง, การใช้ประโยชน์พื้นที่เขตทาง เป็นต้น

ขณะที่การวางแผนเชิงระบบการเดินรถเพื่อยกระดับบริการนั้น มี 5 เรื่อง คือ 1. การกำหนดชื่อและรหัสสถานีรถไฟฟ้าให้เป็นมาตรฐาน เข้าใจง่าย รูปแบบชัดเจน 2. การกำหนดตัวชี้วัด (KPI) ที่เป็นมาตรฐาน เพื่อใช้ในการกำกับ ดูแล เช่น ความตรงต่อเวลา (ล่าช้าไม่เกิน 5 นาที/จำนวนเที่ยวทั้งหมด) ความปลอดภัย การให้บริการของพนักงานจะมีค่ามาตรฐานชี้วัด หากโครงการใดมีปัญหาจะต้องปรับปรุงอย่างไร หรือมีบทลงโทษอย่างไร

3. พัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการวางแผนเชิงระบบในการจัดการเดินรถ 4. จัดทำแอปพลิเคชันข้อมูลระบบรถไฟฟ้า 5. การกำกับ ดูแล การปฏิบัติการเดินรถเชิง Digital ของหน่วยงานภาครัฐ ให้ทันต่อสถานการณ์

“ช่วงแรกแอปฯ จะเป็นข้อมูลมาตรฐาน บอกสามารถค้นหาข้อมูลเส้นทาง Offline Mode รวมถึงการแสดงสถานะโครงการรถไฟฟ้าที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างได้ อนาคตจะพัฒนาเป็นข้อมูลแบบ Real Time บอกเวลาที่รถจะมาถึง, เวลาถึงปลายทาง,คำนวณค่าโดยสาร ซึ่งจะลงนาม MOU กับผู้ให้บริการทุกราย เพื่อเชื่อมต่อข้อมูลเข้ามายังศูนย์กลาง คาดว่าจะพัฒนาและใช้ได้ในปี 2563”

กำหนดมาตรฐานการตั้งชื่อสถานีรถไฟฟ้า

สำหรับการกำหนดชื่อและรหัสสถานีรถไฟฟ้านั้น ในแผนยังมีการแก้ปัญหาการกำหนดชื่อและรหัสสถานีรถไฟฟ้าแต่ละโครงการให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน เข้าใจง่าย รูปแบบชัดเจน เนื่องจากสถานีบางแห่งอยู่ใกล้กัน แต่ใช้ชื่อต่างกันทำให้สับสน เช่น ย่านหัวหมาก มีแอร์พอร์ตลิงก์ สถานีหัวหมาก ส่วนรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ใช้ชื่อสถานีพัฒนาการ จึงให้เปลี่ยนเป็นชื่อสถานีหัวหมาก, ย่านบางขุนนนท์ มี MRT สีน้ำเงิน สถานีบางขุนนนท์ มีสายสีส้ม ใช้ชื่อสถานีจรัญสนิทวงศ์ มีสายสีแดง ใช้ชื่อสถานีธนบุรี-จรัญฯ ก็ให้เปลี่ยนเป็นชื่อสถานีบางขุนนนท์เหมือนกัน เป็นต้น และยังมีอีกหลายจุดที่สถานีตั้งใกล้กันหรือเชื่อมกันเป็นสถานีร่วมแต่ใช้ชื่อต่างกัน เช่น วงเวียนใหญ่มีสายสีแดง กับบีทีเอส ซึ่งจะมีการหารือถือกำหนดชื่อใหม่ให้เหมาะสม

ส่วนรถไฟฟ้า MRT และบีทีเอสที่เปิดให้บริการแล้ว มีสถานีร่วม 4 จุด ชื่อไม่เหมือนกัน บีทีเอส (ศาลาแดง) กับ MRT (สีลม), บีทีเอส (หมอชิต) กับ MRT จตุจักร, บีทีเอส (อโศก) กับ MRT (สุขุมวิท) และ MRT (เพชรบุรี) กับแอร์พอร์ตลิงก์ (มักกะสัน) จะยังไม่มีการเปลี่ยนชื่อเพราะประชาชนคุ้นเคยแล้ว

นอกจากนี้ ได้กำหนดตัวชี้วัด (KPI) มาตรฐาน เพื่อใช้ในการกำกับดูแล เช่น ความตรงต่อเวลา (ล่าช้าไม่เกิน 5 นาที/จำนวนเที่ยวทั้งหมด) ความปลอดภัย การให้บริการของพนักงานจะมีค่ามาตรฐานชี้วัด หากโครงการใดมีปัญหาจะต้องปรับปรุงอย่างไร หรือมีบทลงโทษอย่างไรอีกด้วย


เรื่องการกำหนดมาตรฐานการตั้งชื่อสถานีรถไฟฟ้า ดูนี่เลย
https://www.facebook.com/Thailand.Infra/posts/607706689667814
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 31/01/2019 1:11 pm    Post subject: Reply with quote

ยกระดับมาตรฐานรถไฟฟ้าไทย สนข.ออก KPIการบริการ-แอปฯนำทาง-ปรับชื่อสถานี-ดีเดย์เม.ย.นี้กรมรางเกิด

พร็อพเพอร์ตี้
วันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2562 เวลา 21:34 น.


นายสราวุธ ทรงศิวิไล ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กล่าวว่า ได้นำเสนอผลการศึกษา “โครงการศึกษาการวางแผนเชิงระบบการจัดการเดินรถเพื่อยกระดับการให้บริการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน”โดยว่าจ้างมหาลัยมหิดล ทำการศึกษา คาดว่าภายในเดือนมี.ค.นี้จะสามารถส่งรายงานที่เป็นร่างสุดท้าย (Final Report) มาที่สนข.ได้

ปัจจุบันมีโครงการรถไฟฟ้าที่เปิดดำเนินการไปแล้ว 6 เส้นทาง ได้แก่ สายสีเขียว ช่วงหมอชิต – สำโรง, ช่วงสนามกีฬาแห่งชาติ – บางหว้า, ช่วงสำโรง – เคหะสมุทรปราการ สายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง – บางซื่อ, สายสีม่วง ช่วงคลองบางไผ่ – เตาปูน และแอร์พอร์ตเรลลิ้งค์ พญาไท – สนามบินสุวรรณภูมิ โดยในอนาคตจะมีอีก 10 สายที่กำลังอยู่ระหว่างการก่อสร้าง ซึ่งจะทยอยเปิดจนครบทั้งหมดในปี 2568 ตามแผน M-MAP ที่ สนข.เคยจัดทำไว้ ประกอบกับผลการศึกษาจะแล้วเสร็จใกล้เคียงกับช่วงเวลาที่ สนข. กำลังผลักดัน “กรมการขนส่งราง” ขึ้นมาพอดี การศึกษาดังกล่าวจึงเป็นการรองรับหน่วยงานใหม่นี้ไปด้วยในทางหนึ่ง

กรอบการศึกษาของโครงการมีด้วยกัน 3 กรอบสำคัญ คือ 1. การกำหนดชื่อและรหัสของสถานีรถไฟฟ้าให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน เน้นไปที่สถานีรถไฟฟ้าที่กำลังก่อสร้างและสถานีที่เป็นสถานีร่วม (Interchange) เป็นหลัก เนื่องจากยังสามารถกำหนดกฎเกณฑ์ได้ แต่จะไม่ไปเปลี่ยนชื่อในสถานีรถไฟฟ้าที่เปิดใช้งานไปแล้ว

โดยเฉพาะ 4 จุดสำคัญ คือ BTSศาลาแดง-MRT สีลม, BTSหมอชิต-MRTสวนจตุจักร, BTSอโศก-MRTสุขุมวิท และMRT เพชรบุรี-APL มักกะสัน เนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่มีความคุ้นชินกับชื่อสถานีไปแล้ว

เบื้องต้นจะพยายามกำหนดให้แต่ละสถานีมีชื่อที่เป็นไปในทางเดียวกัน แต่อย่างไรก็ตามการตั้งชื่อสถานีรถไฟฟ้าต้องคำนึงถึงปัจจัยหลายประการ เช่น สถานที่สำคัญที่อยู่ใกล้เคียง หรือ ใกล้กับย่านหรือชื่อที่เป็นชื่อเฉพาะที่คนรู้จักทั่วไป เป็นต้น

นอกจากนี้ยังมีเรื่องตำแหน่งที่ตั้งของสถานีด้วยว่า ตั้งอยู่บนทิศทางใด เช่น กรณีสถานีตั้งอยู่บนถ.สีลม ก็ต้องไปตรวจสอบว่าอยู่ริเวณใดของถนน โดยจะอ้างอิงรูปแบบของการตั้งชื่อสถานีในต่างประเทศ เช่น อเมริกา ฮ่องกง สิงคโปร์ เป็นต้น

@วัดKPIการบริการ

2. การกำหนดตัวชี้วัด (KPI) มาตรฐานการบริหารจัดการการเดินรถ เพื่อวัดระดับการให้บริการของรถไฟฟ้าในแต่ละสาย โดยจะใช้กับทั้งรถไฟฟ้าสายที่ให้บริการและกำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต เบื้องต้นคณะทำงานได้กำหนดตัวชี้วัดไว้ 9 ข้อ

ได้แก่ 1. จำนวนครั้งที่ผู้โดยสารเดินทาง 2. จำนวนเที่ยวที่ให้บริการตรงเวลา โดยกำหนดระยะเวลาล่าช้าสูงสุดที่ 5 นาที/จำนวนเที่ยวทั้งหมดที่ให้บริการ (คิดเป็นร้อยละ) 3. จำนวนชั่วโมงที่ให้บริการตรงเวลา โดยกำหนดระยะเวลาล่าช้าสูงสุดไม่เกิน 5 นาที/จำนวนชั่วโมงทั้งหมดที่ให้บริการ (คิดเป็นร้อยละ)

4. จำนวนครั้งที่มีความล่าช้ามากกว่า 30 นาที 5. ระยะทางเดินรถในช่วงระหว่างที่เกิดความล่าช้าเกิน 5 นาที 2 ครั้ง 6. จำนวนเที่ยวที่ให้บริการ/จำนวนเที่ยวทั้งหใมดที่ให้บริการตามสัญญา 7. จำนวนรถที่มี/ตำนวนรถที่ให้บริการในช่วงเร่งด่วน 8.จำนวนเที่ยวของผู้โดยสาร/จำนวนชั่วโมงทำงานของพนักงานภายในสถานี และ 9. ความพึงพอใจของผู้รับบริการ

และ 3. การทำแอปพลิเคชั่น BKK RAIL Application ซึ่งได้เปิดทดลองให้ดาวน์โหลดแล้ว แต่ยังอยู่ในระหว่างเก็บข้อมูลในรายละเอียดบางส่วน แอปฯจึงแสดงผลในลักษณะออฟไลน์ไไปก่อน ยังไม่สามารถแสดงผลแบบเรียลไทมืได้คาดว่าจะเปิดตัวอย่างเป็นทางการได้ในเดือน มี.ค.นี้

โดยแอปนี้จะมีข้อมูลของสถานีรถไฟฟ้าทุกโครงการ สามารถวางแผนการเดินทางได้ โดยเลือกสถานีต้นทางและปลายทางที่ต้องการจะเดินทาง เมื่อเลือกแล้วแอปจะแสดงระยะทาง ราคาค่าโดยสารที่ต้องชำระ จำนวนสถานีที่จะต้องผ่าน ระยะเวลาการเดินทาง ทางออกที่มี สถานที่ใกล้เคียง สิ่งอำนวยความสะดวกภายในสถานี เป็นต้นโดยในระยะต่อไปจะมีการทำบันทึกข้อตกลง (MOU) กับผู้ให้บริการรถไฟฟ้าแต่ละสาย เพื่อรวบรวมข้อมูลทั้งหมด มาแสดงในแอปแบบเรียลไทม์ต่อไป

@กรมรางมาแน่เม.ย.นี้

ผอ.สนข. กล่าวต่อว่า ส่วนความคืบหน้าการก่อตั้ง “กรมการขนส่งทางราง” สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)ได้ผ่านการพิจารณาในวาระ 3 ร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ปรับปรุงกระทรวงทบวง กรม (ฉบับที่..) พ.ศ (การจัดตั้งกรมการขนส่งทางราง)เมื่อวันที่ 7 ม.ค.ที่ผ่านมา อนู่ในขั้นตอนการประกาศในราชกิจจานุเบกษา และรอการแก้กฎกระทรวงที่เกี่ยวข้อง 3 ฉบับ ซึ่งกระทรวงคมนาคมและคณะกรรมการกฤษฎีกา ได้ให้ความเห็นประกอบครบถ้วนแล้ว รอเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.)พิจารณาภายในเดือนก.พ.นี้ ก่อนที่ในเดือน เม.ย.จะมีการจัดวางอัตรากำลังภายในกรมฯจำนวนทั้งสิ้น 203 คน แบ่งเป็นข้าราชการ 176 คน และพนักงานราชการอีก 27 ตำแหน่ง โดยขณะนี้มีพนักงานที่อยู่ประจำเพียง 42 ตำแหน่ง

สำหรับกฎกระทรวง 3 ฉบับดังกล่าว ได้แก่ กฎกระทรวงการแบ่งกลุ่มภารกิจงาน กฎกระทรวงการแบ่งส่วนราชการของกรมการขนส่งทางราง และกฎกระทรวงการแบ่งส่วนราชการของสนข. เพื่อยกเลิก “สำนักงานโครงการพัฒนาระบบราง” ที่ถูกยกฐานะเป็นกรมฯออก สำหรับที่ตั้งของกรมรางคาดว่าจะอยู่ในบริเวณเดียวกับที่ตั้งของกระทรวงคมนาคมแห่งใหม่ที่ย่านพหลโยธิน

ภารกิจแรกที่ต้องทำ คือจะต้องรอร่างพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)การขนส่งทางราง พ.ศ. …. ประกาศใช้ก่อน เพื่อดำเนินการวางมาตรฐานและความปลอดภัย และเตรียมกฎหมายลูกสำหรับรองรับ พ.ร.บ.กรมรางฉบับใหม่ โดยร่างพ.ร.บ.ดังกล่าวมีความคืบหน้าไปแล้ว 70% และจะประกาศใช้ได้ประมาณเดือน ธ.ค. นี้ และจะมีการเรียกบรรดาผู้ให้บริการรถไฟฟ้าแต่ละเส้นทางมาพูดคุยทำความเข้าใจ ก่อนที่พ.ร.บ.กรมรางจะประกาศใช้

อย่างไรก็ตาม พ.ร.บ.ฉบับนี้จะไม่มีผลย้อนหลัง ดังนั้น ในช่วงแรกอาจจะต้องรอให้สัญญาสัมปทานรถไฟฟ้าแต่ละสายหมดอายุลงก่อน กรมรางจึงจะเข้าไปกำกับดูแลได้

“กรมรางไม่ได้ดูแค่รถไฟฟ้า แต่จะดูทั้งรถไฟปกติ และรถไฟความเร็วสูงด้วย ดังนั้นความสะดวก ปลอดภัย ค่าโดยสาร มาตรฐานการเดินรถและซ่อมบำรุง พูดง่ายๆกรมรางจะเป็นผู้กำหนดกติกาทั้งหมด ส่วน ร.ฟ.ท.และรฟม.ก็จะเป็นผู้โอปอเรเตอร์ไป ตอนนี้ก็ถือว่ามาเกิน 60% เหลือแค่พ.ร.บ.ประกาศใช้ก็จะสามารถดำเนินการได้ 100% เต็ม”
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 05/02/2019 6:59 pm    Post subject: Reply with quote

“คค.-อุต”ดันแผนตั้งรง.ผลิตรถไฟฟ้าในปท. ชงครม.เคาะเป็นเงื่อนไขประมูล
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: อังคารที่ 5 กุมภาพันธ์ 2562 เวลา 22:10
ปรับปรุง: พุธที่ 6 กุมภาพันธ์ 2562 เวลา 08:56

“คมนาคม-ก.อุตฯ” รับลูก คจร.เคาะแผนพัฒนาอุตฯ ระบบราง ดันตั้งโรงงานผลิตรถไฟฟ้าใน ปท. คาด 20 ปีต้องการกว่า 1,000 ตู้ เร่งชง ครม.กำหนดเป็นเงื่อนไขทีโออาร์ เริ่มใช้ประมูลปี 63 คาดสร้างเม็ดเงินลงทุนไม่ต่ำกว่าปีละ 500 ล้าน ประหยัดค่าซ่อมบำรุง 4.3 พันล้าน

นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ได้หารือถึงแนวทางการพัฒนาการผลิตระบบขนส่งมวลชนทางรางและอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องในประเทศไทยให้เป็นรูปธรรมร่วมกับกระทรวงอุตสาหกรรม, กระทรวงการคลัง, สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ตามมติคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) ครั้งที่ 1/2562 (วันที่ 3 ม.ค. 62) ซึ่งกระทรวงอุตสาหกรรมได้ใช้ข้อมูลจากการพัฒนาโครงการระบบรางของกระทรวงคมนาคมไปทำการศึกษาแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมระบบรางในประเทศ

ปัจจุบันการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) มีรถโดยสารประมาณ 1,183 ตู้ ส่วนรถไฟฟ้าทุกระบบมีประมาณ 413 ตู้ และคาดการณ์ในอีก 20 ปีข้างหน้าจะมีความต้องการตู้รถไฟไม่น้อยกว่า 1,000 ตู้ ซึ่งข้อมูลอุตสาหกรรมการผลิตรถไฟของไจก้าระบุว่า จุดคุ้มทุนในการตั้งโรงงานประกอบรถไฟอยู่ที่ 300 ตู้/โรงงาน/ปี

ทั้งนี้ จากปริมาณดังกล่าวมีความเป็นไปได้ในการตั้งโรงงานผลิตรถไฟฟ้าในประเทศ โดยกำหนดให้การจัดซื้อจัดจ้างระบบขนส่งมวลชนทางรางของภาครัฐทั้งหมดจะต้องพิจารณาจากผู้ผลิตในประเทศที่ได้รับบัตรส่งเสริมการลงทุนตามโครงการส่งเสริมการผลิตรถไฟ หรือรถไฟฟ้า หรืออุปกรณ์หรือชิ้นส่วน (เฉพาะระบบราง) จากบีโอไอ และสอดคล้องกับพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 และความสอดคล้องกับพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานภาครัฐ พ.ศ. 2542

ภายในปี 2563 การจัดซื้อจัดจ้างระบบขนส่งมวลชนทางรางของภาครัฐทั้งหมดจะกำหนดให้มีการซื้อตู้รถไฟและรถไฟฟ้าจากผู้ผลิตในประเทศหรือบริษัทที่มีแผนจะลงทุนผลิตในประเทศเท่านั้น, ภายในปี 2565 จะขยายข้อกำหนดการจัดซื้อจัดจ้างฯ ให้มีการส่งมอบตู้รถไฟและรถไฟฟ้าจากผู้ผลิตที่มีการประกอบขั้นสุดท้ายในประเทศ

ภายในปี 2567 การจัดซื้อจัดจ้างฯ จะกำหนดให้ต้องส่งมอบตู้รถไฟและรถไฟฟ้าที่ผลิตในประเทศทั้งหมด โดยใช้ชิ้นส่วนในประเทศ (Local Content) ไม่น้อยกว่า 40% ของราคารถไฟและรถไฟฟ้า

และตั้งแต่ปี 2568 การจัดซื้อจัดจ้างฯ จะกำหนดให้ต้องส่งมอบตู้รถไฟและรถไฟฟ้า รวมทั้งระบบอาณัติสัญญาณ (Signaling System) ที่ผลิตในประเทศทั้งหมด และต้องมีการผลิตชิ้นส่วนหลักที่เป็นสาระสำคัญ ได้แก่ 1. ระบบตัวรถ ประกอบด้วย โครงสร้างหลัก (Car Train main Frame) ตู้โดยสาร (Car Body Main Structure) และห้องควบคุมรถ (Operator’s cab)

2. ระบบช่วงล่างของโครงสร้างตัวรถ ประกอบด้วย โบกี้ (Bogie) ระบบห้ามล้อ (Brake System) และอุปกรณ์เชื่อมต่อตู้โดยสาร (Coupler)

3. ระบบขับและควบคุม (Traction and Control System) ประกอบด้วย ระบบไฟฟ้าและระบบจ่ายไฟ (Electrification & Power Supply System) ระบบขับเคลื่อน (Traction System) ระบบสื่อสาร และเฝ้าสังเกตการณ์ (Communication & Monitoring System) และระบบควบคุมและอาณัติสัญญาณ (Train Control & Signaling System)

ทั้งนี้ จะสรุปข้อมูลเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติ และกำหนดเป็นเงื่อนไขในทีโออาร์เปิดประมูลโครงการรถไฟฟ้าต่อไป ซึ่งคาดว่าจะเริ่มใช้กับโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ระบบการเดินรถที่ใช้รูปแบบ PPP และการจัดหารถไฟของ ร.ฟ.ท. ซึ่งการศึกษาพบว่าการผลิตรถไฟทุก 1,000 ตู้จะทำให้เกิดการลงทุนในประเทศไม่น้อยกว่า 500 ล้านบาท/ปี ใช้ชิ้นส่วนในประเทศ 40% จะลดการนำเข้าได้มูลค่า 18,000 ล้านบาท ประหยัดค่าซ่อมบำรุงและค่าจ้างผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศได้ 4,300 ล้านบาท/ปี

“ตอนนี้รัฐลงทุนระบบรางจำนวนมาก และวางแผนเป็นระบบขนส่งหลักของประเทศทั้งผู้โดยสารและสินค้า ต้องการขบวนรถจำนวนมาก จะซื้ออย่างเดียวไม่ได้ ต้องพัฒนาอุตสาหกรรมในประเทศควบคู่ไปด้วย ซึ่งนอกจากลดต้นทุนต่างๆ แล้วจะทำให้มีการพัฒนา วิจัยระบบรางและต่อยอดไปยังอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องได้อีกมาก ซึ่งประเมินมูลค่าไม่ได้”


ดูข่าวนี้นึกถึง พรบ. Buy American ที่บังคับให้ประกอบรถไฟฟ้าในสหรัฐจริงๆ
https://www.thebangkokinsight.com/100013


Last edited by Wisarut on 06/02/2019 10:32 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 191, 192, 193 ... 277, 278, 279  Next
Page 192 of 279

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©