RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311235
ทั่วไป:13181310
ทั้งหมด:13492545
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 192, 193, 194 ... 277, 278, 279  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42625
Location: NECTEC

PostPosted: 05/02/2019 11:04 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
“คค.-อุต”ดันแผนตั้งรง.ผลิตรถไฟฟ้าในปท. ชงครม.เคาะเป็นเงื่อนไขประมูล
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: อังคารที่ 5 กุมภาพันธ์ 2562 เวลา 18:28



ดูข่าวนี้นึกถึง พรบ. Buy American ที่บังคับให้ประกอบรถไฟฟ้าในสหรัฐจริงๆ
https://www.thebangkokinsight.com/100013




เปิดแผน 8 ปี บูมอุตฯรถไฟไทย บังคับโปรเจ็กต์ใหม่ใช้ของในประเทศ เล็งเสนอ”บิ๊กตู่”เคาะก่อนหมดวาระ
พร็อพเพอร์ตี้
วันอังคารที่ 5 กุมภาพันธ์ 2562 เวลา21:32 น.

คมนาคม-คลัง-อุตฯ รับบัญชา “สมคิด” ร่างแผนบูมอุตฯระบบรางไทย 8 ปีรับสารพัดโครงการราง เผยบังคับทีโออาร์โปรเจ็กต์ใหม่ต้องใช้ของในประเทศ ชี้ถ้าทำได้ลดต้นทุนได้กว่าหมื่นล้าน ปลัดคมนาคมคาดเสนอ ครม.บิ๊กตู่ทันก่อนหมดวาระ

นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า ผลการประชุมแนวทางการพัฒนาผลอุตสาหกรรมระบบราง เป็นการหารือร่วมกับกระทรวงการคลัง กระทรวงคมนาคม กระทรวงอุตสาหกรรม และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) หลังจากที่คณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) ที่มีนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน มีมติเห็นชอบรายงานการศึกษาแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมระบบรางและอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องให้เป็นรูปธรรม ไปเมื่อวันที่ 3 ม.ค.2562 ที่ผ่านมา และมอบหมายให้กระทรวงอุตสาหกรรมไปจัดทำผลการศึกษาแนวทางพัฒนาดังกล่าว โดยกระทรวงคมนาคมสนับสนุนข้อมูลด้านตัวเลขประมาณการต่างๆไปให้

ผลการศึกษาดังกล่าวของกระทรวงอุตสาหกรรมจะครอบคลุมทั้งรถไฟทางคู่ รถไฟฟ้า และรถไฟความเร็วสูง เพราะคาดการณ์ว่าในอีก 20 ปี ประเทศไทยจะมีความต้องการปริมาณตู้รถไฟรวม 1,000 ตู้ จากปัจจุบันประเทศไทยมีปริมาณตู้รถไฟรวม 1,596 ตู้ แบ่งเป็นตู้รถไฟปกติ 1,183 ตู้ และตู้รถไฟฟ้าอีก 413 ตู้ และประเทศไทยกำลังลงทุนในโครงสร้างระบบรางเป็นจำนวนมาก อีกทั้งในอนาคตระบบรางจะเป็นระบบขนส่งมวลชนหลักภายในประเทศ ดังนั้น จะไปพึ่งพาต่างประเทศทั้งหมดแบบเดิมอีกไม่ได้

ที่สำคัญจะทำให้ต้นทุนด้านการบริหารจัดการเดินรถและการซ่อมบำรุงลดลง คาดว่าเมื่อแผนนี้สามารถบังคับใช้ได้จริง จะสามารถลดการนำเข้าตู้รถไฟและรถไฟฟ้าจากต่างประเทศ คิดเป็นค่าใช้จ่ายประมาณ 18,000 ล้านบาท/การจัดซื้อตู้รถไฟและรถไฟฟ้้า 1,000 ตู้ และจะทำให้ลดค่าใช้จ่ายด้านการบำรุงรักษารวมถึงค่าจ้างบุคลากรได้ 4,300 ล้านบาท โดยแบ่งระยะเวลาการพัฒนาได้ดังนี้

1.ภายในปี 2563 การจัดซื้อจัดจ้างระบบขนส่งมวลชนทางรางของรัฐทั้งหมด กำหนดให้ซื้อตู้รถไฟและรถไฟฟ้าที่ผลิตภายในประเทศ หรือผู้ผลิตที่มีแผนจะเข้ามาผลิตในประเทศเท่านั้น โดยในขั้นนี้ผู้ผลิตจะต้องมีแผนลงทุนด้านการผลิตภายในประเทศไทยและต้องไปขอส่งเสริมการลงทุนจากบีโอไอ ยังไม่จำเป็นที่จะต้องก่อสร้างโรงงานเสร็จ

2.ภายในปี 2565 การจัดซื้อจัดจ้างระบบขนส่งมวลชนทางรางของรัฐทั้งหมด กำหนดให้ส่งมอบตู้รถไฟและรถไฟฟ้าจากผู้ผลิตที่มีการประกอบขั้นสุดท้ายภายในประเทศ ความหมายก็คือ ผู้ผลิตที่มีแผนลงทุนและขอส่งเสริมการลงทุนแล้ว จะต้องก่อสร้างโรงงานให้แล้วเสร็จ เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการประกอบตู้รถไฟสำเร็จรูปภายในประเทศ จากปัจจุบันมีเพียงผู้ประกอบการที่ผลิตชิ้นส่วนบางประเภทเท่านั้น เช่น สายไฟ หม้อแปลง แอร์ ลูกถ้วย เป็นต้น แล้วส่งออกไปประกอบในต่างประเทศ

3.ภายในปี 2567 การจัดซื้อจัดจ้างระบบขนส่งมวลชนทางรางของรัฐทั้งหมด กำหนดให้ส่งมอบตู้รถไฟและรถไฟฟ้าที่ผลิตในประเทศทั้งหมด กำหนดให้ใช้วัสดุชิ้นส่วนภายในประเทศไม่น้อยกว่าร้อยละ 40 ของมูลค่างานทั้งหมด

4.ภายในปี 2568 ส่งมอบตู้รถไฟและรถไฟฟ้า รวมถึงระบบอาณัติสัญญาณที่ผลิตในประเทศไทยทั้งหมด กำหนดให้ชิ้นส่วนหลัก เช่น ตัวรถ โครงสร้างต่างๆ ตู้โดยสาร ห้องควบคุมรถ ระบบช่วงล่าง โบกี้ ระบบห้ามล้อ ระบบเชื่อมต่อขบวนรถ ระบบขับเคลื่อน ระบบไฟฟ้า และการจ่ายไฟ ต้องผลิตในประเทศทั้งหมด

แนวทางทั้งหมดที่กล่าวมา จะนำไปใส่ไว้ในทีโออาร์โครงการลงทุนใหม่ทั้งหมดด้วย แต่จะไม่มีผลย้อนหลังกับโครงการลงทุนในขณะนี้ เนื่องจากโครงการส่วนใหญ่มีความคืบหน้าตามทีโออาร์ไปมากแล้ว หากมีผลย้อนหลังอาจจะมีผลกระทบได้

หลังจากนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมด จะประมวลและสรุปข้อมูลต่างๆ อีกครั้ง เพื่อนำเสนอคณะรฐมนตรี (ครม.) โดยจะเสนอให้ทันภายในคณะรัฐบาลชุดนี้ เนื่องจากเป็นข้อสั่งการมา
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42625
Location: NECTEC

PostPosted: 06/02/2019 11:59 am    Post subject: Reply with quote

คมนาคม-อุตฯจับมือผลักดันพัฒนาอุตสาหกรรมระบบราง เล็งเสนอ ครม.พิจารณาเงื่อนไข TOR
วันอังคาร ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562, 21.02 น.

คมนาคม-อุตสาหกรรม จับมือเร่งผลักดันพัฒนาอุตสาหกรรมระบบรางเล็งเสนอ ครม.พิจารณาเงื่อนไข TOR กำหนดให้วัสดุและผลิต ในประเทศของโครงการระบบรางให้ทันภายในรัฐบาลชุดนี้้

5 ม.ค.62 นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่าที่ประชุมคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) ที่ได้มีการมอบหมายให้ทางกระทรวงคมนาคม กระทรวงอุตสาหกรรม และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ร่วมกันผลักดันส่งเสริมเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมระบบรางและอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่อง จึงได้มีการประชุมร่วมกันเพื่อสรุปแนวทางดำเนินงานโดยตั้งเป้าหมายว่าจะเสนอแผนแม่บทและเงื่อนไขเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) พิจารณา ภายในรัฐบาลชุดนี้ ซึ่งแผนแม่บทดังกล่าวนั้นจะบังคับใช้ครอบคลุมโครงการรถไฟฟ้าในเมือง โครงการรถไฟฟ้าทางคู่ และโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงรวมถึงโครงการระบบรางทุกชนิดที่เกี่ยวข้องกับภาครัฐที่จะเกิดในอนาคตแบ่งเป็น 4 ระยะได้แก่ ระยะที่ 1 ภายในปี 2563 การจัดซื้อจัดจ้างและเปิดประมูลโครงการระบบรางทั้งหมดจะกำหนดให้มีการซื้อตู้รถไฟและตู้รถไฟฟ้าจากผู้ผลิตภายในประเทศ หรือผู้ผลิตที่มีแผนจะลงทุนผลิตในประเทศเท่านั้นโดยระบุเป็นเงื่อนไขไว้ในร่างขอบเขตเงื่อนไขการประกวดราคา(TOR)

ทั้งนี้ระยะที่ 2 ภายในปี 2565 กำหนดให้การส่งมอบตู้รถไฟและตู้รถไฟฟ้าในโครงการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐทั้งหมดจะต้องประกอบชิ้นสุดท้ายในโรงงานภายในประเทศ ระยะที่ 3 ภายในปี 2567 กำหนดให้การส่งมอบตู้รถไฟและตู้รถไฟฟ้าในโครงการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐทั้งหมดจะต้องใช้ชิ้นส่วนภายในประเทศ โดยราคาของมูลค่าชิ้นส่วน (Local Content) จะต้องไม่น้อยกว่า 40% และ 4.ภายในปี 2568 เป็นต้นไป กำหนดให้การส่งมอบตู้รถไฟและตู้รถไฟฟ้า การซ่อมบำรุง รวมถึงระบบอาณัติสัญญาณ ในโครงการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐทั้งหมด จะต้องผลิตภายในประเทศทั้งหมด และต้องมีการผลิตชิ้นส่วนหลัก ที่เป็นสาระสำคัญ อาทิ ตัวรถ ตู้โดยสาร ห้องควบคุม ระบบช่วงล่าง โบกี้ ระบบห้ามล้อ ระบบเชื่อมต่อ ระบบไฟฟ้า เป็นต้น อย่างไรก็ตามด้านการส่งเสริมการลงทุนของ BOI นั้นจะให้สิทธิพิเศษด้านการยกเว้นภาษีการจัดตั้งโรงงานและสิทธิพิเศษด้านอื่นๆให้กับผู้ประกอบการที่สนใจเข้ามาก่อตั้งโรงงานใน 3 พื้นทีได้แก่ พื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก( EEC) นครราชสีมาและขอนแก่นจึงมองว่าจะเห็นโรงงานผลิตแห่งแรกในปี 2565

ด้านนายพิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานโครงการพัฒนาระบบราง สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.) เปิดเผยว่าข้อมูลจากทางกระทรวงอุตสาหกรรมระบุว่าในอีก 20 ปีข้างหน้าจะมีปริมาณของตู้รถไฟและรถไฟฟ้า มากกว่า 1,000 ตู้ โดยในปัจจุบันมีตู้รถไฟและตู้รถไฟฟ้าอยู่แล้วได้แก่ รถไฟฟ้า(BTS ,รฟม.,แอร์พอร์ท เรล ลิ้งก์)จำนวน 413 ตู้ รถไฟของการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.)จำนวน 3,308 ตู้แบ่งเป็นรถไฟตู้โดยสารจำนวน 1,183 ตู้ รถไฟชุดจำนวน 228 ตู้ และแคร่จำนวน 1,897 ตู้

ทั้งนี้ในปี 2563 ได้มีการกำหนดให้เอกชนที่จะเข้าร่วมลงทุนในโครงการนั้นต้องมีแผนผลิตตู้ขบวนรถในประเทศจึงจะสามารถขอรับการส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานส่งเสริมการลงทุน (BOI)ได้ ส่วนในปี 2565 ต้องมีการจัดตั้งโรงงานผลิต ประกอบตัวรถ และส่งมอบในประเทศแต่ในการประกอบยังไม่จำเป็นต้องเป็นของในประเทศทั้งหมด รวมถึงได้มีการอ้างอิงข้อมูลการศึกษาจากองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น(JICA) ที่มีการระบุว่าถ้าหากโรงงานมีกำลังการผลิตเกินกว่า 300 ตู้ต่อปีก็มีความคุ้มค่าแล้วในการจัดตั้งโรงงาน เนื่องจากปัจจุบันโรงงานที่ผลิตตู้รถไฟขายยังไม่มีมีแต่ผลิตชิ้นส่วนเช่น ประแจ ตัวยึดราง สายไฟ หม้อแปลง มือจับ กระจก เป็นต้น ที่มีโรงงานผลิตอยู่ที่ปราจีนบุรี สระบุรี โดยส่งออกไปต่างประเทศเพื่อนำไปประกอบตัวรถ

อย่างไรก็ตามทางกระทรวงอุตสาหกรรมได้มีการประมาณการณ์โดยคำนวณต่อหน่วย 1,000 ตู้จะเกิดการลงทุนไม่น้อยกว่า 500 ล้านบาทต่อปีเฉพาะในส่วนของการลงทุน หากรวมการกำหนดการลดการนำเข้าจากต่างประเทศ 40% จะลดการนำเข้าคิดเป็นเงินประมาณ 18,000 ล้านบาทต่อ 1,000 ตู้ เบื้องต้นจะช่วยประหยัดค่าบำรุงรักษาประมาณ 4,300 ล้านบาทต่อปี ค่าจ้างผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ รวมถึงค่าบุคลากรด้วย


เข็นให้ทันรัฐบาลนี้!คมนาคมจ่อชงครม.ตั้งรง.ผลิตรถไฟ เล็งพื้นที่'ขอนแก่น'
วันอังคาร ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562, 21.05 น.

5 ก.พ.62 นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานประชุมการพัฒนาระบบอุตสาหกรรมระบบรางว่า ขณะนี้เป็นที่สรุปแล้วว่า กระทรวงคมนาคมร่วมกับกระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงการคลัง จะเดินหน้าผลักดันให้มีการจัดตั้งโรงงานผลิตรถไฟ รถไฟฟ้า อุปกรณ์ชิ้นส่วน ระบบอาณัติสัญญาณที่เกี่ยวข้องกับรถไฟทั้งหมด และเกิดโรงงานแรกให้ได้ภายในปี 2565 โดยทางกระทรวงคมนาคมจะเสนอให้ ครม.พิจารณาอนุมัติการจัดตั้งภายในรัฐบาลนี้

ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดการจัดตั้งโรงงานผลิตในไทยอย่างจริงจัง กระทรวงคมนาคมจะกำหนดให้ภายในปี 2563 การกำหนดเงื่อนไขในเอกสารประกวดราคา (ทีโออาร์) การจัดซื้อจัดจ้างระบบขนส่งมวลชนทางรางของภาครัฐทั้งหมด ต้องระบุให้มีการซื้อตู้รถไฟและรถไฟฟ้าจากผู้ผลิตในประเทศหรือผู้ผลิตที่มีแผนลงทุนผลิตในประเทศไทยเท่านั้น

นายชัยวัฒน์ กล่าวว่า ส่วนภายในปี 2565 กำหนดให้มีการจัดซื้อและส่งมอบตู้รถไฟและรถไฟฟ้าจากผู้ผลิตที่มีการประกอบขั้นสุดท้ายในประเทศ ภายในปี 2567 กำหนดให้ต้องซื้อตู้รถไฟและรถไฟฟ้าที่ผลิตโดยชิ้นส่วนในประเทศไม่น้อยกว่าร้อยละ 40 ของมูลค่ารถที่สั่งซื้อ และภายในปี 2568 กำหนดให้ต้องซื้อตู้รถไฟและรถไฟฟ้า รวมทั้งระบบอาณัติสัญญาณที่ผลิตในประเทศไทยทั้งหมด และต้องมีการผลิตชิ้นส่วนหลักสำคัญ เช่น ตัวรถ โบกี้ ระบบห้ามล้อ ระบบขับเคลื่อน ระบบจ่ายไฟ ระบบช่วงล่าง เป็นต้น

สำหรับสาเหตุที่ต้องมีการจัดตั้งโรงงานผลิตรถไฟ รถไฟฟ้า อุปกรณ์ชิ้นส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวเนื่อง เนื่องจากผลการศึกษาของอุตสาหกรรมพบว่าใน 20 ปีข้างหน้าไทยมีความต้องการใช้รถไฟ รถไฟฟ้ามากว่า 1,000 ตู้ ประกอบกับปัจจุบันระบบขนส่งมวลชนทางรางในไทยทั้งของบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (บีทีเอส) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิ้ง การรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) ใช้ตู้รถไฟมากว่า 413 ตู้ และในอนาคตไทยมีจะการลงทุนรถไฟฟ้าในเมือง รถไฟทางคู่ทั่วประเทศ รถไฟความเร็วสูงอีกจำนวนมาก

"หากมีการตั้งโรงงานผลิตรถไฟ รถไฟฟ้าในไทยจะช่วยลดต้นทุนการผลิต นำเข้า บำรุงรักษาทั้งระบบหากมีการจัดซื้อตู้รถไฟ 1,000 ตู้ รวมกว่า 22,300 ล้านบาท แยกออกเป็นลดการนำเข้าอุปกรณ์ ชิ้นส่วน อะไหล่ต่างๆกว่า 18,000 ล้านบาทต่อ 1,000 ตู้ ลดต้นทุนการบำรุงรักษา จ้างผู้เชี่ยวชาญ และซ่อมบำรุงกว่า 4,300 ล้านบาทต่อปี และหากมีการตั้งโรงงานจะเกิดการลงทุนไม่น้อยกว่า 500 ล้านบาทต่อปี ส่วนพื้นที่ที่มีความเหมาะสมในการจัดตั้งโรงงานรถไฟฟ้านั้น มองว่า ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีความเหมาะสม เช่น ขอนแก่น เป็นต้น"นายชัยวัฒน์ กล่าวย้ำ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42625
Location: NECTEC

PostPosted: 06/02/2019 4:33 pm    Post subject: Reply with quote

คมนาคมเตรียมเสนอ ครม.ตั้งโรงงานผลิตรถไฟ


เศรษฐกิจ
วันอังคารที่ 5 กุมภาพันธ์ 2562 - 17:58:13
กรุงเทพฯ 5 ก.พ. - คมนาคมได้ฤกษ์เสนอตั้งโรงงานผลิตรถไฟ-ชิ้นส่วนอะไหล่รถไฟ รถไฟฟ้า หวังลดต้นทุนผลิต-นำเข้า อุปกรณ์-ซ่อมบำรุงรวมกว่า 2.2 หมื่นล้านบาท เตรียมเสนอ ครม.อนุมัติรัฐบาลนี้ มั่นใจสร้างงานได้มหาศาล

นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานประชุมการพัฒนาระบบอุตสาหกรรมระบบราง ว่า ขณะนี้เป็นที่สรุปแล้วว่ากระทรวงคมนาคมร่วมกับกระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงการคลังจะเดินหน้าผลักดันให้มีการจัดตั้งโรงงานผลิตรถไฟ รถไฟฟ้า อุปกรณ์ชิ้นส่วน ระบบอาณัติสัญญาณที่เกี่ยวข้องกับรถไฟทั้งหมด และเกิดโรงงานแรกให้ได้ภายในปี 2565 โดยทางกระทรวงคมนาคมจะเสนอให้ ครม.พิจารณาอนุมัติการจัดตั้งภายในรัฐบาลนี้

ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดการจัดตั้งโรงงานผลิตในไทยอย่างจริงจัง กระทรวงคมนาคมจะกำหนดให้ภายในปี 2563 การกำหนดเงื่อนไขในเอกสารประกวดราคา (ทีโออาร์) การจัดซื้อจัดจ้างระบบขนส่งมวลชนทางรางของภาครัฐทั้งหมด ต้องระบุให้มีการซื้อตู้รถไฟและรถไฟฟ้าจากผู้ผลิตในประเทศหรือผู้ผลิตที่มีแผนลงทุนผลิตในประเทศไทยเท่านั้น ส่วนภายในปี 2565 กำหนดให้มีการจัดซื้อและส่งมอบตู้รถไฟและรถไฟฟ้าจากผู้ผลิตที่มีการประกอบขั้นสุดท้ายในประเทศ ภายในปี 2567 กำหนดให้ต้องซื้อตู้รถไฟและรถไฟฟ้าที่ผลิตโดยชิ้นส่วนในประเทศไม่น้อยกว่าร้อยละ 40 ของมูลค่ารถที่สั่งซื้อ และภายในปี 2568 กำหนดให้ต้องซื้อตู้รถไฟและรถไฟฟ้า รวมทั้งระบบอาณัติสัญญาณที่ผลิตในประเทศไทยทั้งหมด และต้องมีการผลิตชิ้นส่วนหลักสำคัญ เช่น ตัวรถ โบกี้ ระบบห้ามล้อ ระบบขับเคลื่อน ระบบจ่ายไฟ ระบบช่วงล่าง เป็นต้น

สำหรับสาเหตุที่ต้องมีการจัดตั้งโรงงานผลิตรถไฟ รถไฟฟ้า อุปกรณ์ชิ้นส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวเนื่อง เนื่องจากผลการศึกษาของอุตสาหกรรมพบว่าใน 20 ปีข้างหน้าไทยมีความต้องการใช้รถไฟ รถไฟฟ้ามากว่า 1,000 ตู้ ประกอบกับปัจจุบันระบบขนส่งมวลชนทางรางในไทยทั้งของบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (บีทีเอส) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิ้ง การรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) ใช้ตู้รถไฟมากว่า 413 ตู้ และในอนาคตไทยมีจะการลงทุนรถไฟฟ้าในเมือง รถไฟทางคู่ทั่วประเทศ รถไฟความเร็วสูงอีกจำนวนมาก

นอกจากนี้ หากมีการตั้งโรงงานผลิตรถไฟ รถไฟฟ้าในไทยจะช่วยลดต้นทุนการผลิต นำเข้า บำรุงรักษาทั้งระบบหากมีการจัดซื้อตู้รถไฟ 1,000 ตู้ รวมกว่า 22,300 ล้านบาท แยกออกเป็นลดการนำเข้าอุปกรณ์ ชิ้นส่วน อะไหล่ต่าง ๆ กว่า 18,000 ล้านบาทต่อ 1,000 ตู้ ลดต้นทุนการบำรุงรักษา จ้างผู้เชี่ยวชาญ และซ่อมบำรุงกว่า 4,300 ล้านบาทต่อปี และหากมีการตั้งโรงงานจะเกิดการลงทุนไม่น้อยกว่า 500 ล้านบาทต่อปี ส่วนพื้นที่ที่มีความเหมาะสมในการจัดตั้งโรงงานรถไฟฟ้านั้น มองว่าทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีความเหมาะสม เช่น ขอนแก่น เป็นต้น.-สำนักข่าวไทย

คมนาคม-อุตสาหกรรม ร่วมวางแนวทางพัฒนาระบบราง เล็งโอกาสตั้งโรงงานผลิตในประเทศ
--อินโฟเควสท์ โดย คคฦ/กษมาพร/รัชดา โทร.02-2535000 ต่อ 317 อีเมล์: rachada@infoquest.co.th--
ข่าวเศรษฐกิจ
สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) --
วันอังคารที่ 5 กุมภาพันธ์ 2562 -18:43:09 น.
คมนาคมจ่อชง ครม.บังคับภาครัฐทั้งหมด ประมูลงานทางราง ต้องใช้ตู้รถไฟผลิตในประเทศ
วันอังคารที่ 5 กุมภาพันธ์ 2562 - 17:13 น

นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ได้ประชุมร่วมกับกระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงการคลัง และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ถึงแนวทางการพัฒนาการผลิตระบบขนส่งมวลชนทางราง และอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องในประเทศไทย โดยได้มีการคาดการณ์ความต้องการใช้รถของโครงการระบบราง 3 ประเภท คือ รถไฟฟ้า รถไฟทางไกลและรถไฟความเร็วสูง พัฒนาอุตสาหกรรมระบบรางในประเทศ และกำหนดเป็นแผนงานเพื่อสรุปและนำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาต่อไป

ปัจจุบัน การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) มีรถโดยสาร 1,183 ตู้ ส่วนรถไฟฟ้าทุกระบบมี 413 ตู้ และคาดการณ์ในอีก 20 ปีข้างหน้าจะมีความต้องการตู้รถไฟไม่น้อยกว่า 1,000 ตู้ ซึ่งข้อมูลอุตสาหกรรมการผลิตรถไฟของไจก้า ระบุว่า จุดคุ้มทุนในการตั้งโรงงานประกอบรถไฟอยู่ที่ 300 ตู้/โรงงาน/ปี ขณะที่นโยบายรัฐมีการลงทุนระบบรางจำนวนมาก และวางแผนเป็นระบบขนส่งหลักของประเทศทั้งผู้โดยสารและสินค้า ต้องการขบวนรถจำนวนมาก จะซื้ออย่างเดียวไม่ได้ ต้องพัฒนาอุตสาหกรรมในประเทศควบคู่ไปด้วย และจากปริมาณดังกล่าว มีความเป็นไปได้ในการตั้งโรงงานผลิตรถไฟฟ้าในประเทศ ซึ่งหาก ครม.อนุมัติจะกำหนดเป็นเงื่อนไข TOR ในการจัดซื้อจัดจ้างระบบขนส่งมวลชนทางรางของภาครัฐทั้งหมด

อย่างไรก็ดี จากการศึกษาพบว่าการผลิตรถไฟทุก 1,000 ตู้ จะทำให้เกิดการลงทุนในประเทศไม่น้อยกว่า 500 ล้านบาท/ปี ใช้ชิ้นส่วนในประเทศ 40% จะลดการนำเข้าได้มูลค่า 18,000 ล้านบาท ประหยัดค่าซ่อมบำรุง และค่าจ้างผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศได้ 4,300 ล้านบาท/ปี

นอกจากนี้ ที่ประชุมได้พิจารณาข้อมูลและผลการศึกษาแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนและอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องในประเทศไทย สอดคล้องกับ พ.ร.บ.การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 และความสอดคล้องกับ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานภาครัฐ พ.ศ. 2542 โดยมีแนวทางการดำเนินงาน กำหนดเวลา และเงื่อนไขการพัฒนาอุตสาหกรรมระบบรางฯ เป็นช่วงเวลา ซึ่งภายในปี 2563 การจัดซื้อจัดจ้างระบบขนส่งมวลชนทางรางของภาครัฐทั้งหมด จะกำหนดให้มีการซื้อตู้รถไฟและรถไฟฟ้าจากผู้ผลิตในประเทศ หรือบริษัทที่มีแผนจะลงทุนผลิตในประเทศเท่านั้น ส่วนภายในปี 2565 การจัดซื้อจัดจ้างระบบขนส่งมวลชนทางรางของภาครัฐทั้งหมด จะกำหนดให้มีการส่งมอบตู้รถไฟและรถไฟฟ้าที่มีการประกอบขั้นสุดท้ายในประเทศ

จากนั้นภายในปี 2567 การจัดซื้อจัดจ้างระบบขนส่งมวลชนทางรางของภาครัฐทั้งหมด จะกำหนดให้ต้องส่งมอบตู้รถไฟและรถไฟฟ้าที่ผลิตในประเทศทั้งหมด โดยใช้ชิ้นส่วนในประเทศไม่น้อยกว่า 40% ของราคารถไฟและรถไฟฟ้า และภายใน 2568 เป็นต้นไป การจัดซื้อจัดจ้างระบบขนส่งมวลชนทางรางของภาครัฐทั้งหมด จะกำหนดให้ต้องส่งมอบตู้รถไฟและรถไฟฟ้า รวมทั้งระบบอาณัติสัญญาณที่ผลิตในประเทศทั้งหมด และต้องมีการผลิตชิ้นส่วนหลักที่เป็นสาระสำคัญ ได้แก่ ระบบตัวรถ ระบบช่วงล่างของโครงสร้างตัวรถ และระบบขับและควบคุม

คมนาคมชงครม.เริ่มปี63 จัดซื้อรถไฟฟ้าจากผู้ผลิต/ลงทุนในไทยเท่านั้น

อังคารที่ 5 กุมภาพันธ์ 2562



กระทรวงคมนาคม กำหนดแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมระบบรางและอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องหลัง ‘สมคิด’สั่งพัฒนาอุตฯผลิตตัวรถไฟในประเทศ ชูลดต้นทุนไมต่ำกว่า 2 หมื่นล้านบาทต่อปี ชงครม.ภายใน 2 เดือน เริ่มปี 63 กำหนดเงื่อนไขทีโออาร์ทางคู่-รถไฟฟ้า-ไฮสปีด ต้องใช้วัสดุ+ผลิตในประเทศ


นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่าที่ประชุมคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) ซึ่งมีนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ เป็นประธานได้มีข้อสั่งการให้กระทรวงคมนาคม กระทรวงอุตสาหกรรมและสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ร่วมส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมระบบรางและอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่อง เพื่อความยั่งยืนในระบบรางของประเทศ
ดังนั้นจึงได้มีการประชุมร่วมกันเพื่อสรุปแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมระบบรางและอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่อง ว่าที่ประชุมได้พิจารณาข้อมูลและผลการศึกษาแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนและอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องในประเทศไทย ความสอดคล้องกับพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 และความสอดคล้องกับพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานภาครัฐ พ.ศ. 2542


เบื้องต้นนั้นตั้งเป้าหมายว่าจะเสนอแผนแม่บทและเงื่อนไขเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาภายในรัฐบาลชุดนี้ หรือภายใน 2-3 เดือนนับจากนี้ก่อนที่จะสรุปผลการเลือกตั้ง สำหรับแผนแม่บทดังกล่าวนั้นจะบังคับใช้ครอบคลุมโครงการรถไฟฟ้าในเมือง โครงการรถไฟฟ้าทางคู่ และโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูง รวมถึงโครงการระบบรางทุกชนิดที่เกี่ยวข้องกับภาครัฐ

โดยแบ่งเป็น 4 ระยะ ประกอบด้วย 1.ภายในปี 2563 การจัดซื้อจัดจ้างและเปิดประมูลโครงการระบบรางทั้งหมด จะกำหนดให้มีการซื้อตู้รถไฟและตู้รถไฟฟ้าจากผู้ผลิตภายในประเทศ หรือผู้ผลิตที่มีแผนจะลงทุนผลิตในประเทศเท่านั้น โดยเขียนระบุเป็นเงื่อนไขไว้ในร่างขอบเขตเงื่อนไขการประกวดราคา(TOR) 2.ภายในปี 2565 กำหนดให้การส่งมอบตู้รถไฟและตู้รถไฟฟ้าในโครงการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐทั้งหมด จะต้องประกอบชิ้นสุดท้ายในโรงงานภายในประเทศ 3.ภายในปี 2567 กำหนดให้การส่งมอบตู้รถไฟและตู้รถไฟฟ้าในโครงการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐทั้งหมดจะต้องใช้ชิ้นส่วนภายในประเทศ โดยราคาของมูลค่าชิ้นส่วน (Local Content) จะต้องไม่น้อยกว่า 40% และ 4.ภายในปี 2568 เป็นต้นไป กำหนดให้การส่งมอบตู้รถไฟและตู้รถไฟฟ้า การซ่อมบำรุง รวมถึงระบบอาณัติสัญญาณ ในโครงการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐทั้งหมด จะต้องผลิตภายในประเทศทั้งหมด และต้องมีการผลิตชิ้นส่วนหลักที่เป็นสาระสำคัญ อาทิ ตัวรถ ตู้โดยสาร ห้องควบคุม ระบบช่วงล่าง โบกี้ ระบบห้ามล้อ ระบบเชื่อมต่อ ระบบไฟฟ้า เป็นต้น

นายชัยวัฒน์กล่าวต่อว่าสำหรับผลการศึกษาตัวเลขของกระทรวงอุตสาหกรรมนั้นพบว่าในอนาคตเมื่อกำหนดการใช้ Local Content 40% แล้วจะส่งผลให้ประเทศไทยสามารถลดต้นทุนการผลิตรถไฟฟ้าและการนำเข้าอุปกรณืชิ้นส่วนได้ไม่ต่ำกว่าปีละ 2 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็น 1. การลดต้นทุนจากการผลิตตัวรถและต้นทุนการนำเข้าชิ้นส่วน 1.8 หมื่นล้านบาท/ปี/รถไฟ 1,000 ตู้ 2.การลดต้นทุนค่าซ่อมบำรุงและค่าบุคลากรผู้เชี่ยวชาญอีกราว 4.3 พันล้านบาท/ปี


ทั้งนี้ข้อมูลจากกระทรวงอุตสาหกรรมพบว่าในอีก 20 ปีข้างหน้าจะมีปริมาณของตู้รถไฟและรถไฟฟ้ามากกว่า 1,000 ตู้ โดยในปัจจุบันมีตู้รถไฟและตู้รถไฟฟ้าอยู่แล้วได้แก่ รถไฟฟ้าจำนวน 413 ตู้ รถไฟของการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.)จำนวน 3,308 ตู้ แบ่งเป็นรถไฟตู้โดยสารจำนวน 1,183 ตู้ รถไฟชุดจำนวน 228 ตู้ และแคร่จำนวน 1,897 ตู้

อย่างไรก็ตามด้านการส่งเสริมการลงทุนของ BOI นั้นจะให้สิทธิพิเศษด้านการยกเว้นภาษีการจัดตั้งโรงงานและสิทธิพิเศาด้านอื่นๆให้กับผู้ประกอบการที่สนใจเข้ามาก่อตั้งโรงงานใน 3 พื้นที่ ได้แก่ พื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก(อีอีซี) จังหวัดนครราชสีมาและจังหวัดขอนแก่น จึงมองว่าจะเห็นโรงงานผลิตแห่งแรกในปี 2565


“เราลงทุนระบบรางเยอะ เราตั้งใจว่าต่อไประบบรางจะเป็นระบบหลักของประเทศ ทั้งการขนส่งคนและการขนส่งสินค้า เพราะว่าการพัฒนาระบบรางจะต้องพัฒนาอุตสาหกรรมระบบรางด้วย ซึ่งจากแผนดังกล่าวสมมติว่าการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) มีโครงการร่วมลงทุนหรือ PPP ในสายไหน จะต้องใส่เงื่อนไขเข้าไปใน TOR ให้คนที่จะเข้ามาประมูล รวมไปถึงโครงการของกรุงเทพมหานคร (กทม.) ในอนาคตด้วย เพราะเป็นโครงการของภาครัฐ” นายชัยวัฒน์ กล่าว

โดยการประชุมในครั้งนี้มีนายสราวุธ ทรงศิวิไล ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร ผู้แทนการรถไฟแห่งประเทศไทย การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย กระทรวงอุตสาหกรรม กรมบัญชีกลาง สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ และสำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม เข้าร่วมประชุม

คมนาคมเตรียมเสนอ ครม.ตั้งโรงงานผลิตรถไฟ


เศรษฐกิจ
.-สำนักข่าวไทย
อังคารที่ 5 กุมภาพันธ์ 2562 เวลา 17:58:13
กรุงเทพฯ 5 ก.พ. - คมนาคมได้ฤกษ์เสนอตั้งโรงงานผลิตรถไฟ-ชิ้นส่วนอะไหล่รถไฟ รถไฟฟ้า หวังลดต้นทุนผลิต-นำเข้า อุปกรณ์-ซ่อมบำรุงรวมกว่า 2.2 หมื่นล้านบาท เตรียมเสนอ ครม.อนุมัติรัฐบาลนี้ มั่นใจสร้างงานได้มหาศาล

นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานประชุมการพัฒนาระบบอุตสาหกรรมระบบราง ว่า ขณะนี้เป็นที่สรุปแล้วว่ากระทรวงคมนาคมร่วมกับกระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงการคลังจะเดินหน้าผลักดันให้มีการจัดตั้งโรงงานผลิตรถไฟ รถไฟฟ้า อุปกรณ์ชิ้นส่วน ระบบอาณัติสัญญาณที่เกี่ยวข้องกับรถไฟทั้งหมด และเกิดโรงงานแรกให้ได้ภายในปี 2565 โดยทางกระทรวงคมนาคมจะเสนอให้ ครม.พิจารณาอนุมัติการจัดตั้งภายในรัฐบาลนี้

ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดการจัดตั้งโรงงานผลิตในไทยอย่างจริงจัง กระทรวงคมนาคมจะกำหนดให้ภายในปี 2563 การกำหนดเงื่อนไขในเอกสารประกวดราคา (ทีโออาร์) การจัดซื้อจัดจ้างระบบขนส่งมวลชนทางรางของภาครัฐทั้งหมด ต้องระบุให้มีการซื้อตู้รถไฟและรถไฟฟ้าจากผู้ผลิตในประเทศหรือผู้ผลิตที่มีแผนลงทุนผลิตในประเทศไทยเท่านั้น ส่วนภายในปี 2565 กำหนดให้มีการจัดซื้อและส่งมอบตู้รถไฟและรถไฟฟ้าจากผู้ผลิตที่มีการประกอบขั้นสุดท้ายในประเทศ ภายในปี 2567 กำหนดให้ต้องซื้อตู้รถไฟและรถไฟฟ้าที่ผลิตโดยชิ้นส่วนในประเทศไม่น้อยกว่าร้อยละ 40 ของมูลค่ารถที่สั่งซื้อ และภายในปี 2568 กำหนดให้ต้องซื้อตู้รถไฟและรถไฟฟ้า รวมทั้งระบบอาณัติสัญญาณที่ผลิตในประเทศไทยทั้งหมด และต้องมีการผลิตชิ้นส่วนหลักสำคัญ เช่น ตัวรถ โบกี้ ระบบห้ามล้อ ระบบขับเคลื่อน ระบบจ่ายไฟ ระบบช่วงล่าง เป็นต้น

สำหรับสาเหตุที่ต้องมีการจัดตั้งโรงงานผลิตรถไฟ รถไฟฟ้า อุปกรณ์ชิ้นส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวเนื่อง เนื่องจากผลการศึกษาของอุตสาหกรรมพบว่าใน 20 ปีข้างหน้าไทยมีความต้องการใช้รถไฟ รถไฟฟ้ามากว่า 1,000 ตู้ ประกอบกับปัจจุบันระบบขนส่งมวลชนทางรางในไทยทั้งของบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (บีทีเอส) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิ้ง การรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) ใช้ตู้รถไฟมากว่า 413 ตู้ และในอนาคตไทยมีจะการลงทุนรถไฟฟ้าในเมือง รถไฟทางคู่ทั่วประเทศ รถไฟความเร็วสูงอีกจำนวนมาก

นอกจากนี้ หากมีการตั้งโรงงานผลิตรถไฟ รถไฟฟ้าในไทยจะช่วยลดต้นทุนการผลิต นำเข้า บำรุงรักษาทั้งระบบหากมีการจัดซื้อตู้รถไฟ 1,000 ตู้ รวมกว่า 22,300 ล้านบาท แยกออกเป็นลดการนำเข้าอุปกรณ์ ชิ้นส่วน อะไหล่ต่าง ๆ กว่า 18,000 ล้านบาทต่อ 1,000 ตู้ ลดต้นทุนการบำรุงรักษา จ้างผู้เชี่ยวชาญ และซ่อมบำรุงกว่า 4,300 ล้านบาทต่อปี และหากมีการตั้งโรงงานจะเกิดการลงทุนไม่น้อยกว่า 500 ล้านบาทต่อปี ส่วนพื้นที่ที่มีความเหมาะสมในการจัดตั้งโรงงานรถไฟฟ้านั้น มองว่าทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีความเหมาะสม เช่น ขอนแก่น เป็นต้น

คมนาคม ลุยตั้งโรงงานผลิตชิ้นส่วนรถไฟหวังลดต้นทุน2.2หมื่นล้าน

06 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 เวลา 07:30 น.



6 ก.พ. 2562 นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยหลังเป็นประธานประชุมการพัฒนาระบบอุตสาหกรรมระบบราง ว่า ขณะนี้เป็นที่สรุปแล้วว่า กระทรวงคมนาคมร่วมกับกระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงการคลัง จะเดินหน้าผลักดันให้มีการจัดตั้งโรงงานผลิต รถไฟ รถไฟฟ้า อุปกรณ์ชิ้นส่วน ระบบอาณัติสัญญาณที่เกี่ยวข้องกับรถไฟทั้งหมด และให้เกิดโรงงานแรกให้ได้ภายในปี 65โดยทางกระทรวงคมนาคมจะเสนอให้ ครม. พิจารณาอนุมัติการจัดตั้งภายในรัฐบาลนี้
ทั้งนี้เพื่อให้เกิดการจัดตั้งโรงงานผลิตในไทยอย่างจริงจัง คมนาคมจะกำหนดให้ภายในปี63 การกำหนดเงื่อนไขในเอกสารประกวดราคา(ทีโออาร์) การจัดซื้อจัดจ้างระบบขนส่งมวลชนทางรางของภาครัฐทั้งหมด ต้องระบุให้มีการซื้อตู้รถไฟและรถไฟฟ้าจากผู้ผลิตในประเทศหรือผู้ผลิตที่มีแผนลงทุนผลิตในประเทศไทยเท่านั้น ส่วนภายในปี65 กำหนดให้มีการจัดซื้อและส่งมอบตู้รถไฟและรถไฟฟ้าจากผู้ผลิตที่มีการประกอบขั้นสุดท้ายในประเทศภายในปี67 กำหนดให้ต้องซื้อตู้รถไฟและรถไฟฟ้าที่ผลิตโดยชิ้นส่วนในประเทศไม่น้อยกว่า40% ของมูลค่ารถที่สั่งซื้อ และภายในปี68 กำหนดให้ต้องซื้อตู้รถไฟและรถไฟฟ้า รวมทั้งระบบอาณัติสัญญาณที่ผลิตในประเทศไทยทั้งหมด และต้องมีการผลิตชิ้นส่วนหลักสำคัญ เช่น ตัวรถ โบกี้ ระบบห้ามล้อ ระบบขับเคลื่อน ระบบจ่ายไฟ ระบบช่วงล่าง เป็นต้น

สำหรับสาเหตุที่ต้องมีการจัดตั้งโรงงานผลิตรถไฟ รถไฟฟ้า อุปกรณ์ชิ้นส่วนต่างๆที่เกี่ยวเนื่อง เนื่องจากผลการศึกษาของอุตสาหกรรมพบว่า ใน20ปีข้างหน้า ไทยมีความต้องการใช้รถไฟ รถไฟฟ้ามากว่า 1,000 ตู้ ประกอบกับในปัจจุบันระบบขนส่งมวลชนทางรางในไทยทั้งของ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด(บีทีเอส),การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.),รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิ้ง,การรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.)ใช้ตู้รถไฟมากว่า 413 ตู้ และในอนาคตไทยมีจะการลงทุนรถไฟฟ้าในเมือง รถไฟทางคู่ทั่วประเทศ รถไฟความเร็วสูงอีกจำนวนมาก

“เราลงทุนระบบรางเยอะ เราตั้งใจว่า ต่อไประบบรางจะเป็นระบบหลักของประเทศ ทั้งการขนส่งคนและการขนส่งสินค้า เพราะว่าการพัฒนาระบบราง จะต้องพัฒนาอุตสาหกรรมระบบรางด้วย ซึ่งจากแผนนั้น สมมติว่าการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) มีโครงการ PPP ในสายไหน จะต้องใส่เงื่อนไขเข้าไปในทีโออาร์ให้คนที่จะเข้ามาประมูล รวมไปถึงโครงการของกรุงเทพมหานคร (กทม.) ในอนาคตด้วย เพราะเป็นโครงการของภาครัฐ” นายชัยวัฒน์ กล่าว

นอกจากนั้น หากมีการตั้งโรงงานผลิตรถไฟ รถไฟฟ้าในไทย จะช่วยลดต้นทุนการผลิต นำเข้า บำรุงรักษาทั้งระบบหากมีการจัดซื้อตู้รถไฟ1,000 ตู้ รวมกว่า 22,300 ล้านบาท แยกออกเป็น ลดการนำเข้าอุปกรณ์ ชิ้นส่วน อะไหล่ต่างๆกว่า 18,000 ล้านบาท/1,000ตู้,ลดต้นทุนการบำรุงรักษา จ้างผู้เชี่ยวชาญ และซ่อมบำรุงกว่า 4,300ล้านบาท/ปี และหากมีการตั้งโรงงาน จะเกิดการลงทุนไม่น้อยกว่า 500 ล้านบาท/ปีส่วนพื้นที่ที่มีความเหมาะสมในการจัดตั้งโรงงานรถไฟฟ้านั้น มองว่าทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีความเหมาะสม เช่น จังหวัดขอนแก่น จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นต้น


Last edited by Wisarut on 07/02/2019 12:18 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42625
Location: NECTEC

PostPosted: 07/02/2019 11:37 am    Post subject: Reply with quote

แผนแม่บทการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์ (ฉบับใหม่) กับชุมชนตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้า 3 สาย (น้ำเงิน - ส้ม - ม่วง)

แผนแม่บทกรุงรัตนโกสินทร์ (ใหม่) กับเสียงมนุษย์ (เก่า) ในม่านฝุ่นการพัฒนาเมือง
โดย เยี่ยมยุทธ สุทธิฉายา
ประชาไท / ข่าว
Submitted on อังคารที่ 5 กุมภาพันธ์ 2562 เวลา 12:15


แผนแม่บทการพัฒนาและอนุรักษ์กรุงรัตนโกสินทร์กำลังมีเวอร์ชันใหม่ที่ยังไม่เปิดเผยสาธารณะ ศึกษาเสร็จแล้วเหลือเพียงผ่าน ครม. ขยายพื้นที่อนุรักษ์ให้กว้างขึ้นกว่าเดิม คลุมอย่างน้อย 77 ชุมชน เราชวนสำรวจปัญหาของการจัดทำแผนที่มีเวลาสั้นมาก แต่ก็มีคอนเซ็ปท์ใหม่เรื่องชุมชน คนทำแผนยืนยันไม่เหมือนกรณีป้อมมหากาฬ –ช่วยอนุรักษ์ชุมชนเก่าได้แน่ ขณะที่ชาวชุมชนในหลายแห่งยังหวาดหวั่น แม้แผนดีแต่ กทม.อาจจัดการอีกแบบ และอย่าว่าแต่แผนแม่บทฯ อนาคตเดือนหน้ายังยากจะเดา เมื่อไม่รู้ว่าเจ้าของที่อย่างสำนักทรัพย์สิน ฯลฯ จะจัดการกับชุมชนอย่างไร



กรุง​เทพฯ ดุจ​เทพสร้าง เมืองศูนย์กลาง​การปกครอง
วัด วัง งาม​เรืองรอง เมืองหลวงของประ​เทศ​ไทย
อาจไม่น่าแปลกใจที่คำขวัญของกรุงเทพมหานครจะไม่ปรากฏร่องรอยมนุษย์ปุถุชนอยู่ในนั้น

“ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมเยอะมาก เจ็ดปีที่ต้องทนกับรถติด ฝุ่นละออง ลูกค้าก็ไม่มา” เสียงบ่นดังขึ้นท่ามกลางอากาศร้อนอบอ้าวของเมืองหลวง

ลงโฆษณากับประชาไท
ระดมทุน 1 ล้าน พิมพ์หนังสือ ‘รู้ก่อนกา กลเกมเลือกตั้ง 62’ แสนเล่ม
เป็นอีกหนึ่งวันเหงาๆ ของฉัตรชัย เติมธีรพจน์ อายุ 51 ปี เจ้าของร้านขายโคมเจ้า อุปกรณ์ที่ใช้ในศาลเจ้าคนจีน รวมถึงกล้องถ่ายรูปต่างๆ เขาเป็นชาวชุมชนเจริญไชยที่อยู่บ้านหลังนี้มาตั้งแต่เกิด บ้านที่อยู่กันมาสามชั่วอายุคน จนกระทั่ง 7 ปีก่อนเจริญไชยอยู่ในเส้นทางการก่อสร้างของรถไฟฟ้าใต้ดินสายสีน้ำเงิน สถานีวัดมังกร

การก่อสร้างรถไฟฟ้าใต้ดินส่งผลกระทบกับชีวิตชีวาทางเศรษฐกิจของชุมชนเจริญไชย ชุมชนที่โด่งดังเรื่องผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ในพิธีกรรมจีน และเป็นแหล่งซื้อขายที่ใหญ่อันดับต้นๆ ของประเทศตั้งแต่สมัยอากงอาม่าของฉัตรชัย



ฉัตรชัยเล่าต่อไปว่า หลังมีโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าใต้ดิน มูลนิธิจุมภฏ-พันธุ์ทิพย์ เจ้าของที่ดินได้ยกเลิกสัญญาเช่ากับผู้อยู่อาศัยในชุมชนเจริญไชย พวกเขาอยู่ด้วยการจ่ายค่าเช่าเดือนต่อเดือนโดยไม่ทราบชะตากรรมว่าเดือนหน้าจะยังได้อยู่ในพื้นที่หรือไม่ สถานะผู้เช่าที่อยู่มายาวนานไม่ได้นำไปสู่การเจรจาพูดคุยกับเจ้าของที่ดิน

ที่ผ่านมาชาวชุมชนพยายามส่งเสียงเพื่อหาทางออกไปพร้อมกับการพัฒนาที่เกิดขึ้น หนึ่งในหลักฐานสำคัญคือพิพิธภัณฑ์บ้านเก่าเล่าเรื่อง บ้านหนึ่งหลังที่อุทิศพื้นที่เพื่อนำเสนอความเป็นมา ผ่านข่าว ข้อมูล และวัตถุเก่าแก่ต่างๆ

เจริญไชยเป็นภาพสะท้อนของชุมชนจำนวนมากในพื้นที่เมืองหลวงชั้นในที่พยายามอยู่กับการเปลี่ยนแปลงรอบด้าน นอกจากนี้มันกำลังถูกผนวกเอาไว้เป็นหนึ่งในอาณาเขตของแผนแม่บทการพัฒนาและอนุรักษ์กรุงรัตนโกสินทร์ฉบับใหม่ที่ขยายพื้นที่ออกมาถึงคลองผดุงกรุงเกษมด้วย




ส่วนหนึ่งของพิพิธภัณฑ์บ้านเก่าเล่าเรื่อง

รู้จักแผนแม่บทกรุงฯ แอบดูเล่มใหม่ที่ยังไม่เปิดเผย
แผนแม่บทเพื่อการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์ คือ แผนที่จัดทำโดย คณะกรรมการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์และเมืองเก่า (ชื่อเดิม-คณะกรรมการโครงการกรุงรัตนโกสินทร์ ต่อมาในปี 2546 ขยายขอบเขตงานไปยังพื้นที่เมืองเก่าในจังหวัดอื่นๆ)
แผนแม่บททำหน้าที่วางกรอบแนวทางอนุรักษ์คุณค่าของมรดกทางวัฒนธรรมของกรุงรัตนโกสินทร์
แผนที่กำลังใช้อยู่ในปัจจุบันคือ ฉบับที่ได้รับอนุมัติจาก ครม. เมื่อปี 2540
ปี 2560 สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ซึ่งเลขานุการของคณะกรรมการกรุงฯ ว่าจ้างให้ศูนย์บริการทางวิชาการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยทำร่างแผนแม่บทฉบับใหม่
ขณะนี้ร่างแผนแม่บทฉบับใหม่เสร็จสิ้นแล้ว สผ. ส่งให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) พิจารณาก่อนส่งให้ ครม. พิจารณาขั้นสุดท้าย
ทาง สศช. รับร่างแผนแม่บทนี้ไปตั้งแต่เดือนกันยายน 2560 ตามกรอบเวลาที่กำหนด สศช.มีเวลาพิจารณา 30-45 วัน แต่ปัจจุบันเรื่องยังคงเงียบ
เมื่อสอบถามไปยัง สศช. ได้ข้อมูลว่า ต้องรอให้ ‘แผนแม่บทยุทธศาสตร์ชาติ’ ประกาศใช้อย่างเป็นทางการก่อน เมื่อประกาศแล้วจึงจะพิจารณาแผนแม่บทกรุงฯ ซึ่งเป็นแผนระดับรองลงมาเพื่อให้สอดคล้องกับแผนแม่บทยุทธศาสตร์ชาติ สศช.คาดหวังว่าแผนแม่บทยุทธศาสตร์ชาติน่าจะประกาศใช้ภายในไม่เกินสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2562 หรือภายในรัฐบาล คสช.
ในแผนแม่บทฉบับปัจจุบัน (2540) การเปลี่ยนแปลงรูปธรรมที่เห็นชัดในแผนก็คือ โครงการพัฒนาพื้นที่ทั้ง 20 โครงการ เช่นปรับปรุงพื้นที่ต่อเนื่องบริเวณวัด มัสยิด พื้นที่คุ้มครอง ปรับปรุงพื้นที่รอบโบราณสถาน โดยกำหนดกรอบเวลาเอาไว้ 20 ปี แต่ละโครงการใช้เวลาไม่เท่ากัน

ตัวอย่างผลกระทบต่อชุมชนที่ชัดเจนและโด่งดังที่สุดคือ การรื้อชุมชนป้อมมหากาฬ หนึ่งในย่านอยู่อาศัยเก่าแก่แล้วแทนที่ด้วยสวนหย่อมภายใต้แผนแม่บท (2540) โดยการให้เหตุผลว่าคนในชุมชนไม่ได้เป็นผู้อยู่อาศัยดั้งเดิม เจ้าของที่ดินที่แท้จริงได้รับเงินค่าชดเชยตามกฤษฎีกาเวนคืนที่ดิน พ.ศ. 2535 ไปแล้ว กระบวนการเจรจาต่อรองในระดับรากหญ้า รวมถึงความพยายามรื้อฟื้นอัตลักษณ์วัฒนธรรมสารพัดตลอด 26 ปีของคนใน-นอกชุมชนไม่สามารถเปลี่ยนความมุ่งมั่นของ กทม. ในการทำสวนหย่อมให้ได้ตามแผน



ขณะปรับพื้นที่ทำสวนหย่อมในชุมชนมหากาฬ

กทม.คือตัวเอกในการจัดการเมืองตามแผน เมื่อ ครม.เห็นชอบแผนแม่บทก็จะนำมาสู่การออกข้อบัญญัติ กทม. ในพื้นที่กรุงรัตนโกสินทร์เพื่อควบคุมการใช้พื้นที่ เช่น การจำกัดความสูงอาคาร ประเภทของสิ่งปลูกสร้าง เงื่อนไขการดัดแปลงอาคารซึ่งหากมีเทศบัญญัติชัดเจนก็จะสามารถบังคับใช้กับเอกชนในพื้นที่ได้

ในส่วนหน่วยงานรัฐนั้น ตามมติ ครม.ปี 2558 ก่อนการก่อสร้างใดๆ ของภาครัฐบาล รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานรัฐอื่นๆ ที่อาจพึงมีในบริเวณกรุงรัตนโกสินทร์และในบริเวณเมืองเก่าจะต้องส่งเรื่องและแบบแปลนให้คณะกรรมการกรุงฯ ผ่านทาง สผ. เพื่อพิจารณาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม เมื่อได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการกรุงฯ แล้วถึงจะขอตั้งงบประมาณจากสำนักงบประมาณได้

แม้แต่กรณีการทำสถานีรถไฟฟ้าเข้าพื้นที่กรุงรัตนโกสินทร์ก็มีการส่งเรื่องให้คณะกรรมการกรุงฯ พิจารณา โดยสิ่งที่เห็นในวันนี้คือการย้ายออกของหน่วยงานราชการซึ่งอาจจะเกี่ยวเนื่องกับการรองรับแผนแม่บทฯ ใหม่ ศักดิ์ชัย บุญมา ผู้อำนวยการสำนักผังเมืองกรุงเทพมหานคร (กทม.) ระบุว่า ทาง กทม.กำลังย้ายหน่วยงานในสังกัดบางส่วนไปอยู่ที่ศาลาว่าการ กทม. 2 ที่ดินแดง ในอนาคตศาลาว่าการ กทม. 1 บริเวณเสาชิงช้าจะถูกใช้เป็นพิพิธภัณฑ์ ขณะเดียวกันหน่วยงานราชการบางส่วนที่ต้องย้ายออกไปอยู่บริเวณอื่น เพื่อลดความแออัด เช่น กระทรวงมหาดไทย

แผนแม่บทใหม่ หน้าตาเป็นอย่างไร
แผนแม่บทฯ ใหม่มีจุดสำคัญคือ การขยายขอบเขตครอบคลุมพื้นที่กว้างขึ้น
1.กรุงรัตนโกสินทร์ชั้นใน
2.กรุงรัตนโกสินทร์ชั้นนอก
3.ฝั่งธนบุรี ตรงข้ามบริเวณกรุงรัตนโกสินทร์
4.พื้นที่ต่อเนื่องบริเวณกรุงรัตนโกสินทร์ชั้นนอก ตั้งแต่แนวคลองรอบกรุงถึงแนวคลองผดุงกรุงเกษม
5.บริเวณพื้นที่ต่อเนื่องบริเวณฝั่งธนบุรีตรงข้ามกรุงรัตนโกสินทร์

การขยายพื้นที่มาถึงริมคลองผดุงกรุงเกษมจะทำให้อาณาเขตของกรุงรัตนโกสินทร์ กินพื้นที่ราว 8,000 ไร่ หรือ 12.8 ตร.กม. จากปัจจุบันเนื้อที่ประมาณ 5.8 ตร.กม.และจะมีชุมชนที่อยู่ในอาณาเขตอย่างน้อย 77 ชุมชน

แผนฉบับใหม่ยังไม่เป็นที่เปิดเผยต่อสาธารณชนเนื่องจากยังไม่ได้รับการรับรองจาก ครม.


ภาพโดย นัฐพล ไก่แก้ว
คลิ๊กเพื่อดูภาพขนาดใหญ่

จากการสอบถาม บวรเวท รุ่งรุจี คณะกรรมการกรุงรัตนโกสินทร์ ได้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า การขยายแผนแม่บทออกมาถึงคลองผดุงกรุงเกษมนั้นเป็นเพราะคลองแห่งนี้ขุดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 เป็นการขยายพื้นที่เมืองหลวงในแบบเก่า ผ่านเส้นทางสัญจรทางน้ำ ซึ่งน่าจะเป็นครั้งสุดท้าย ก่อนที่จะเปลี่ยนเป็นการขยายเมืองด้วยถนนในรัชกาลที่ 5

“แผนแม่บทเกาะกรุงฯ จะทำให้หน่วยราชการที่เป็นกรรมการร่วมด้วยไปดำเนินการในภารกิจหน้าที่ของตัวเอง เช่น กรมศิลปากรก็ต้องไปดูว่ามีโบราณสถานหรือบ้านที่จะสำรวจหรือขึ้นทะเบียนไหม จะส่งเสริมเขาไหม จะอนุรักษ์ก็ไปทำ กทม. จะช่วยเขายังไง เพราะ กทม. เหมือนเป็นพี่เลี้ยง เป็นคนดูแลพื้นที่ ถ้าไปทำโดยไม่มีข้อมูลทางวิชาการสนับสนุน เราจะหลงในข้อมูล และคิดว่าเขาเป็นคนดั้งเดิมกันหมด” บวรเวทกล่าว

ไม่(น่า)มีไล่รื้ออย่างป้อมมหากาฬ
บวรเวทย้ำว่า ไม่น่ามีการดำเนินการซ้ำรอยกับการไล่รื้อชุมชนแล้วแทนที่ด้วยสวน แบบกรณีชุมชนป้อมมหากาฬแล้ว เพราะภายใต้แผนแม่บทใหม่มีแต่เพียงโครงการเล็กๆ

“คงไม่ (มีแบบป้อมหากาฬ) แล้วล่ะ เราคุยกันว่าในบางพื้นที่ถ้ามีสวน ต้องมองสวนแบบไม่ใช่ park ใหญ่ๆ แต่มองที่ว่างย่อยๆ แค่เป็นห้องแถวห้องหนึ่งก็ทำเป็นสวนหย่อมแทรกไปได้ แต่เท่าที่เช็คดูมันไม่มีที่ว่างแล้ว เป็นบ้านคนเต็มพรืดไปหมด มีเพียงที่ป้อมมหากาฬที่เป็นที่ราชพัสดุ” บวรเวทกล่าว

อย่างไรก็ตาม ด้วยประสบการณ์ของป้อมมหากาฬ ทำให้ภาคประชาชนอาจมองว่าแผนแม่บทนั้นเป็น “ความเสี่ยง” หนึ่งที่ชุมชนอาจถูกไล่รื้อเพื่อจัดระเบียบใหม่ แต่มุมมองของผู้ศึกษาและจัดทำแผนแม่บทฉบับใหม่กลับต่างออกไป โดยเห็นว่ามันจะเป็นการช่วยคุ้มครองชุมชนดั้งเดิมไว้ได้ต่างหาก


รศ.วรรณศิลป์ พีรพันธุ์

รศ.วรรณศิลป์ พีรพันธุ์ หัวหน้าโครงการจัดทำแผนผังแม่บทฯ ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และอาจารย์คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ หน่วยงานวิชาการที่รับทำร่างแผนแม่บทจาก สผ. เล่าว่า แผนแม่บทคือกรอบการพัฒนาเขตกรุงรัตนโกสินทร์ในหลายมิติ ไม่ว่าเรื่องสิ่งปลูกสร้าง การจราจร วัฒนธรรม เศรษฐกิจของชุมชน เขามองว่าแผนแม่บทมีความสำคัญในฐานะกรอบการกำกับพื้นที่ ซึ่งท้ายที่สุดจะส่งผลดีต่อผู้อาศัยในพื้นที่เมื่อการพัฒนาพุ่งกลับเข้าสู่พระนครเดิมตามเส้นทางรถไฟฟ้าใต้ดิน

“อีกหน่อยชุมชนก็ถูกรื้อไล่หมด แล้วมันจะกลายเป็นอะไร มันไม่ใช่มิวเซียม มันจะกลายเป็นแหล่งช็อปปิ้งที่ชาวบ้านอยู่ไม่ได้เพราะถูกไล่ที่หมด ถ้าจะเก็บชุมชนคุณก็มีทางเดียวคือต้องไปคุมไม่ให้มีโครงการยักษ์ใหญ่เกิดขึ้น ที่จริงมันก็มี แต่มันก็ไม่เยอะ โครงการใหญ่พิเศษทำไม่ได้ ตึกสูงก็ทำได้แค่ 5-7 ชั้น สูงกว่านั้นทำไม่ได้ ถ้าคุณไม่วางกรอบด้วยแผนแม่บทแบบนี้ อีกหน่อยมีทำไอคอนสยามกลางเยาวราชจะเกิดอะไรขึ้น” วรรณศิลป์กล่าว

“ไม่ใช่การอนุรักษ์สุดกู่จนกลายเป็นพิพิธภัณฑ์ ไม่ใช่พัฒนาจนกระทั่งคุณค่ามรดกวัฒนธรรมหายไป เราพยายามที่จะผสานสมดุล” วรรณศิลป์กล่าวถึงแนวคิดการวางกรอบ

คุมสิ่งปลูกสร้าง แต่ไม่อาจบังคับเอกชนไม่ให้ไล่ชุมชน
กระนั้นวรรณศิลป์ก็ยังย้ำว่า ในทางปฏิบัติคงอยู่ที่การออกเทศบัญญัติและการบังคับใช้แผนโดย กทม. และแนวทางการอนุรักษ์ที่วางกรอบไว้นี้ก็ใช่ว่าจะสามารถไปสั่งเอกชนไม่ให้รื้อไล่ชุมชนที่เป็นผู้เช่าได้

ในปัจจุบัน โครงการรถไฟฟ้าที่ผ่านเข้ามาพื้นที่กรุงรัตนโกสินทร์ฉบับปัจจุบันและฉบับใหม่ที่กำลังใกล้คลอดนี้มี 3 สาย ได้แก่ สายสีน้ำเงิน จากสถานีหัวลำโพงถึงสามแยกท่าพระ-บางแค หัวลำโพง ท่าพระ-บางซื่อ-หัวลำโพง สายสีส้มในสถานียมราช-บางขุนนนท์ และสายสีม่วงช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ

รศ.วรรณศิลป์ย้ำว่า ในช่วงการจัดทำร่างแผนแม่บทฉบับใหม่นี้ได้จัดทำการสำรวจและประเมินค่าไปแล้วทั้งแหล่งมรดกที่จับต้องได้ เช่น สถาปัตยกรรม และส่วนที่จับต้องไม่ได้ เช่น วิถีชีวิต องค์ประกอบความเป็นชุมชนผ่านการใช้งานสถานที่ เช่น ร้านอาหารโบราณ เทศกาลระดับท้องถิ่นหรือระดับชาติที่จัดในที่นั้น


ตัวอย่างการประเมินคุณค่าสิ่งปลูกสร้าง
ที่มา: https://www.facebook.com/MasterPlanofPhayaooldtown/

รศ.ยงธนิศร์ พิมลเสถียร คณะกรรมการกรุงรัตนโกสินทร์อีกคนหนึ่งกล่าวว่า โครงการปรับปรุงพื้นที่ในแผนแม่บทเป็นเพียงแนวทาง ไม่ได้ฟันธงว่าที่ไหนต้องกลายเป็นอะไร เพราะการทำแผนแม่บทสมัยใหม่ไม่สามารถทำเช่นนั้นได้แล้ว

“แม่บทเดิมเน้นการรักษาอาคารที่เป็นโบราณสถานที่มีคุณค่าสูงๆ ทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม สถาปัตยกรรม วัด แต่แม่บทเดิมมันขาดสาระของชุมชน ที่จะเป็นชุมชนที่อาศัยในพื้นที่เก่า เน้นพื้นที่โล่ง ทำสวนสาธารณะ แต่หลังๆ มันก็มีปัญหา บางชุมชนที่เขาไม่สะดวกทำ แผนใหม่จึงต้องใส่ความสำคัญของชุมชน สาระของชุมชนเข้าไปด้วย” ยงธนิศร์กล่าว

ยืนยันให้ความสำคัญกับชุมชนมากกว่าแผนเก่า
การเปลี่ยนแปลงในแผนแม่บทใหม่นี้คือการให้ความสำคัญกับชุมชน อาคาร บ้านเรือนที่ไม่มีความสำคัญระดับชาติ แต่เป็นท้องถิ่น เบื้องต้นยงธนิศร์ระบุว่ามีการสำรวจบ้านเก่า อาคารเก่านับพันๆ แห่ง ซึ่งจะมีรายละเอียดและสิทธิประโยชน์ในการอนุรักษ์ให้กับผู้อยู่อาศัยและเจ้าของอาคารเหล่านั้นต่อมา เช่น การลดหย่อนภาษี หรือการขายสิทธิ์ให้นักพัฒนาเอกชนนำพื้นที่ไปพัฒนาต่อ

เท่าที่สำรวจแผนแม่บทฉบับใหม่ที่ยังไม่เปิดเผยต่อสาธารณะคร่าวๆ นั้น จะเห็นโครงการย่อยมากมาย เช่น การปรับปรุงทางเท้า ติดตั้งไฟถนน จำกัดปริมาณการจราจรในพื้นที่กรุงรัตนโกสินทร์ การปรับปรุงพื้นที่โรงเรียนในชุมชน และยังไม่เห็นโครงการรื้อย้ายชุมชนที่ชัดเจน

อย่างไรก็ตาม ยงธนิศร์ยังมีข้อกังวลว่าหน่วยงานรัฐที่รับผิดชอบพื้นที่อาจไม่เข้าใจการทำงานของแผนแม่บทใหม่นี้ เพราะเป็นการเน้นเรื่องกระบวนการที่นำไปสู่การตัดสินใจในพื้นที่ต่างๆ มุ่งลดข้อขัดแย้งของชุมชนผ่านกระบวนการการมีส่วนร่วมซึ่งยากกว่าการดำเนินการแบบเดิม

แม้การรื้อย้ายชุมชนอาจไม่เกิดขึ้นแบบตรงๆ เหมือนชุมชนป้อมมหากาฬ แต่ประสบการณ์ที่แล้วมาบอกเราว่า มีการนำคนออกจากพื้นที่กรุงรัตนโกสินทร์ในแบบอื่นๆ ด้วย เช่นในปี 2525 กทม.-คณะกรรมการกรุงฯ ย้ายตลาดนัดสนามหลวงออกไปอยู่จตุจักร และขณะนี้กำลังจะโยกย้ายหน่วยงานราชการออกไปจากพื้นที่ราชดำเนิน ในเรื่องนี้ รศ.ชาตรี ประกิตนนทการ อาจารย์คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากรให้ความเห็นไว้ว่า มองอีกแง่หนึ่ง มันเป็นการเขี่ยคนธรรมดาออกไป ทั้งทางตรงคือผู้ค้าขายสินค้าในตลาดนัด และทางอ้อมคือคนที่หารายได้กับการกินการอยู่ของข้าราชการจำนวนมาก

ลุ้น กทม.เข้าใจคอนเซ็ปต์อนุรักษ์หรือไม่
การดำเนินการของ กทม.เป็นประเด็นพอสมควร แม้แต่บวรเวทเองก็กังวลว่าการมีส่วนร่วมของประชาชนอาจไม่เกิดขึ้นตามที่วาดฝัน ยกตัวอย่างกรณีโครงการพัฒนาริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาที่ทางสำนักการโยธา กทม. เป็นผู้รับผิดชอบหลัก มีเสียงคัดค้านเรื่อยมาจากทั้งกลุ่มสถาปนิก ชุมชน รวมถึงคณะกรรรมการกรุงฯ เองก็ตามเมื่อมีบางส่วนของถนนริมแม่น้ำจะถูกสร้างอยู่ในอาณาเขตกรุงรัตนโกสินทร์

“การเปลี่ยนแปลงความเข้าใจของหน่วยงานรัฐเป็นเรื่องยาก ดูอย่างถนนแม่น้ำเจ้าพระยา เปลี่ยนคอนเซ็ปต์ที่ไหน ไม่ต้องไปมองไกลเลย” บวรเวทกล่าว

“ขนาดพูดกันแรงๆ ว่า เขาไม่ได้สั่งให้คุณทำถนน คุณก็ไปคิดทำถนนขึ้นมา ผู้ใหญ่บอกเพียงให้เข้าถึงแม่น้ำเจ้าพระยามากขึ้น ถ้าโจทย์เป็นอย่างนั้นทำไมไม่ไปพัฒนาในเขตพื้นที่ชุมชนริมฝั่งแม่น้ำ ไปทำถนนในชุมชนให้ดีขึ้น” บวรเวทเล่า

มีส่วนร่วมในระยะเวลาสั้นเกิน
แผนแม่บทฉบับใหม่มีการรับฟังความเห็นทั้งสิ้น 9 ครั้ง เป็นการประชุมใหญ่ 3 ครั้ง ประชุมโฟกัสกรุ๊ปอีก 6 ครั้ง แม้แต่ผู้จัดทำแผนเองก็มองว่ายังมีปัญหาเรื่องการมีส่วนร่วม ด้วยเวลาของการจัดทำที่สั้นเกินไป

วรรณศิลป์ระบุถึงปัญหาเรื่องกรอบเวลาที่ทาง สผ. กำหนดให้ทีมจัดทำต้องทำร่างแผนแม่บทให้เสร็จใน 270 วัน หรือปิดงานให้ได้ภายใน 1 ปีงบประมาณ กรอบเวลาที่สั้นเช่นนี้ทำให้การจัดรับฟังความเห็นกระชั้นเกินไป เขาประเมินว่าถ้าจะทำให้ดีต้องใช้เวลาอย่างต่ำ 2 ปีสำหรับการศึกษาพื้นที่กว้างเช่นนี้

“ควรให้เวลาเยอะๆ แล้วไปตกผลึกให้ชัดขึ้น การรีบสรุปก็ต้องมีอะไรที่ตกหล่น ด้วยกรอบเวลาที่ให้ก็ทำดีที่สุดได้เท่านี้ เคยบอกเขาว่าถ้าอยากได้ผังที่ดีหรือผังที่เสร็จ ถ้าเอาผังที่เสร็จ 5 เดือนก็ได้ แต่ถ้าผังดีๆ อย่างน้อยต้องใช้เวลา 2 ปี”

“แผนขนาดใหญ่ต้องรอบคอบมาก ต่อให้เป็นการบังคับให้มีการมีส่วนร่วม จำนวนครั้งไม่ใช่เรื่องสำคัญเท่ากับประสิทธิผลของการประชุม ถ้าประชุมถี่เกินไป ยังไม่ทันมีไอเดียอะไรใหม่ก็ประชุมอีกแล้วอาจไม่เกิดประโยชน์ ต้องให้เวลาเขาตกผลึก คิดและเพิ่มอะไรขึ้นมา การเร่งประชุมทำให้ได้ข้อเสนอน้อย เพิ่งประชุมไปเมื่อเดือนที่แล้ว เดือนนี้ประชุมอีกแล้ว ชาวบ้านต้องทำมาหากิน ประชุมติดๆ กัน คนเก่าก็ไม่มา ถ้าเว้นระยะห่างกันนิดหนึ่ง แล้วสื่อสารกันด้วยเฟสบุ๊ค มีอะไรก็ส่งมารวบรวมไว้ด้วย เชื่อว่าจะมีไอเดียใหม่ๆ เกิดเยอะขึ้น”

ชุมชนวัดแค ผู้เช่าที่สำนักทรัพย์สินฯ
ในระดับชุมชนเองก็มีกระบวนการต่อรองในระดับชุมชนด้วยเครื่องมือที่แตกต่าง เพื่อรับมือกับความตึงเครียดที่คืบคลานเข้ามาในเมื่อแผนแม่บทฉบับใหม่ขยายขอบเขตครอบคลุมพื้นที่กว้างขึ้นอีก

ชุมชนวัดสุนทรธรรมทาน (วัดแค นางเลิ้ง) เป็นชุมชนที่ผู้อยู่อาศัยเช่าที่ของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์และวัดกันเป็นส่วนใหญ่ ปัจจุบันมูลค่าที่ดินสูงขึ้นอย่างรวดเร็วจากโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม สถานีหลานหลวงที่จะมาขึ้นบริเวณ ถ.หลานหลวง และชุมชนเองก็จะถูกผนวกเข้าเป็นพื้นที่ในพื้นที่ของแผนแม่บทใหม่ด้วย



สุวัน แววพลอยงาม ประธานชุมชนวัดแคกล่าวว่า ที่ผ่านมาในการรับฟังความคิดเห็นของแผนแม่บท มีหลายคนรวมถึงเธอด้วยที่เสนอให้มีการจัดผังชุมชนแต่ไม่มีผลใดๆ เธออยากให้ชุมชนร่วมเป็นคณะกรรมการในโครงการเกี่ยวเนื่องกับชุมชน แต่จากการทำงานที่ผ่านมา เธอได้ข้อสรุปว่าเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้

สำหรับเรื่องความสัมพันธ์กับสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ เจ้าของที่ดินแปลงใหญ่และยังเป็นหน่วยงานที่มีตัวแทนเป็นหนึ่งในกรรมการของคณะกรรมการกรุงฯ นั้น สุวันบอกว่าในทางปฏิบัติมีการพัฒนาชุมชนร่วมกัน แต่การตัดสินใจในระดับนโยบายว่าจะเกิดอะไรกับพื้นที่ที่เช่าอยู่ เป็นเรื่องที่ชาวชุมชนไม่มีส่วนร่วมใดๆ แม้แต่การจัดกิจกรรมในชุมชนก็ต้องแจ้งเจ้าของที่อย่างละเอียด ส่วนการเข้ามาของรถไฟฟ้าสายสีส้ม แม้แต่ประธานชุมชนเองก็ยังไม่รู้ทิศทางของสำนักทรัพย์สินฯ ว่าจะทำอะไรกับที่ดินแปลงนี้ต่อไป




ทางเดินในชุมชน และบ้านหลังวัดสุนทรธรรมทาน

“ทำงานร่วมกับ(สำนัก)ทรัพย์สินฯ ตลอด และเป็นแบบนี้ตลอด ทำเรื่องพัฒนาคุณภาพชีวิตตามนโยบายด้วยกัน เช่น เรื่องบ้านมั่นคง แต่ตอนนี้เริ่มได้ยินข่าวว่าจะยกเลิกสัญญาเช่า 30 ปีและจะยกเลิก MOU ด้วย” สุวันพูดถึงโครงการบ้านมั่นคงที่ชุมชนวัดแคเป็นหนึ่งในชุมชนนำร่องในที่ดินสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ โครงการนี้กำหนดให้สัญญาเช่าในพื้นที่โดยไม่ต้องย้ายออก แต่ปัจจุบันยังไม่มีความคืบหน้าใดๆ หลังมีการเปลี่ยนตัวผู้อำนวยการสำนักงานทรัพย์สินฯ จากจิรายุ อิศรางกูล ณ อยุธยา เป็นพลอากาศเอก สถิตย์พงษ์ สุขวิมล

สุวันยังมีความหวังในการทำงานร่วมกับภาครัฐภายใต้แผนแม่บทฯ ใหม่ แม้จะยังไม่เห็นความคืบหน้านับจากวันที่ไปออกความเห็นในเวทีรับฟัง แต่ความทรงจำเรื่องชุมชนป้อมมหากาฬ เครือข่ายและเพื่อนที่ทำงานชุมชนร่วมกันมายาวนานยังคงเป็นบาดแผลที่ทำให้เธอไม่ไว้วางใจการทำงานของภาครัฐ

“กับโครงการแผนแม่บทฯ ไม่อยากคาดหวัง มันน่าจะเป็นสมหวังของคณะกรรมการกรุงฯ มากกว่า เพราะถ้าเรามองย้อนหลังไปมันมีแต่ความเจ็บปวด ที่ผ่านมามันเห็นอยู่แล้วว่าคนละแนวคิด บางอย่างเราไม่สามารถที่จะสู้ได้ เช่น ต้องการหมู่บ้านวัฒนธรรม แต่ไล่คนออกไปหมดเลย ป้อมมหากาฬแทนที่จะให้คนช่วยกันดูแลตัวเอง บ้านนู้นบ้านนี้เป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิต แต่มันก็ไม่สามารถเป็นอย่างนั้นได้”

แต่อย่างน้อยที่สุด การเป็นชุมชนนำร่องก็ทำให้สุวันมีความหวัง และเธอมองเป็นมุมบวกต่อชุมชนเมื่อ พ.ร.บ. การจัดการทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์โยกย้ายที่ดินที่ชาวนางเลิ้งอาศัยอยู่ไปอยู่ใต้พระปรมาภิธัยของพระมหากษัตริย์องค์ปัจจุบัน

“พี่ว่าน่าจะโชคดีนะ การเป็นระบบนี้กลับมารวมศูนย์อำนาจมาไว้ที่องค์เดียว ก็อยู่ที่ว่าพวกเราจะทำให้เข้าใจเราได้แค่ไหน เพราะเราเป็นพสกนิกร ที่ผ่านมาระบบประชาธิปไตย ความถูกต้อง ระบบศาลก็ไม่ได้ช่วย” สุวันกล่าว

ชุมชนนางเลิ้ง ต้นแบบการอนุรักษ์แบบช่วยตัวเอง
นางเลิ้ง หนึ่งในย่านที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน 200 ปีได้รับการยอมรับในฐานะหนึ่งในชุมชนนำร่องจาก 7 ย่านประวัติศาสตร์ใน กทม. ตามโครงการพัฒนาย่านประวัติศาสตร์เมืองสู่การท่องเที่ยวสร้างสรรรค์ ของ กทม. ที่มุ่งให้คนในชุมชนพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวของเมืองให้ดำรงอยู่อย่างมีคุณค่า และสร้างรายได้ให้พวกเขาผ่านการพัฒนาเพื่อการท่องเที่ยวอีกทาง

โชคร้ายที่การยอมรับดังกล่าวยังไม่นำมาซึ่งงบประมาณสนับสนุนจากภาครัฐ โครงการดังกล่าวจัดทำในลักษณะร่วมกันระหว่างเครือข่ายชุมชนมาเป็น 10 ปีแล้ว ทว่าการดำเนินการยังเป็นไปในลักษณะพึ่งพากัน จัดทำการท่องเที่ยวในชุมชนในแบบที่ไม่ต้องใช้งบประมาณ

นางเลิ้งจัดนิทรรศการปลุกกลิ่นอายชุมชนเก่า หวังกระตุ้นคนในพื้นที่หาคุณค่า
เดินดูนางเลิ้ง เมื่อวัฒนธรรมถูกใช้รองรับการพัฒนา สู่คำถามสิทธิในเมืองที่เท่าเทียม
สำนักงานทรัพย์สินฯ บอกเลิกสัญญาสนามม้านางเลิ้ง ย้ายทรัพย์สินออกภายใน 180 วัน




กิจกรรมนางเลิ้งที่รักนำเสนอวัฒนธรรมชุมชน ของดีในชุมชน
ได้รับความร่วมมือจากย่านอื่นๆในกรุงเทพฯ มาร่วมออกบูธนิทรรศการ

ระพีพัฒน์ เกษโกศล นักพัฒนาการท่องเที่ยวชำนาญการพิเศษ หัวหน้ากลุ่มงานพัฒนาการท่องเที่ยว กองการท่องเที่ยวกรุงเทพมหานคร ในฐานะเลขานุการเครือข่ายการท่องเที่ยวภาคประชาสังคม ให้สัมภาษณ์ในงาน นางเลิ้งที่รัก เมื่อปลายปี 2561 ว่างานลักษณะนี้ถูกจัดขึ้นเป็นครั้งแรกเพราะได้งบประมาณจากสำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยวของทาง กทม. ซึ่งมีให้เพียงปี 2561 ปีเดียว

“การมีงบประมาณนั้นทำให้สามารถเอางบไปกระจายเกื้อหนุนคนทำงานในพื้นที่ได้ ถ้าเราไม่มีงบสนับสนุน บางทีชาวชุมชนก็ต้องหางบจากการจัดกิจกรรมเล็กๆ น้อยๆ ซึ่งมันดูไม่ยุติธรรมสำหรับคนที่ทำงานอนุรักษ์มานาน พวกเขาต้องมาเหนื่อยในขณะที่ปากท้องยังหิวอยู่ แต่สุดท้ายเราก็สนับสนุนไม่ได้มากนัก” ระพีพัฒน์กล่าว

ชุมชนเจริญไชย เชื่อตึกยังอยู่ แต่คนอาจอยู่ไม่ได้
ชุมชนเจริญไชย อยู่ในเขตกรุงรัตนโกสินทร์ตามแผนแม่บทฉบับใหม่ที่ขยายออกมาครอบคลุม มันเป็นชุมชนชาวจีนเก่าแก่นับร้อยปี และมีสมาชิกชุมชนราว 80 ครัวเรือน

การมีส่วนร่วมของชาวชุมชนกับเจ้าของที่อย่างมูลนิธิจุมพฏ-พันธุ์ทิพย์ เคยเกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวหลังมีโครงการรถไฟฟ้าสถานีวัดมังกร จากนั้นการติดต่อก็หยุดชะงัก


ตึกเก่าชุมชนเจริญไชย

แนวคิดเรื่องการพัฒนาชุมชนผ่านการท่องเที่ยวและแผนแม่บทที่พูดเรื่องการกระจายนักท่องเที่ยวตามแนวรถไฟฟ้ายังเป็นทิศทางที่คนที่นั่นตั้งคำถาม สำหรับชุมชนที่มีอาชีพหลักเป็นการค้าขายสินค้าวัฒนธรรมจีน ฉัตรชัย-คนขายโคมจีนประเมินว่าการเข้ามาของนักท่องเที่ยวด้วยรถไฟฟ้าใต้ดินอาจไม่เป็นประโยชน์กับการค้าขายของชุมชน ก็ในเมื่อโคมกระดาษ ประทัด ไก่ต้ม ฯลฯ ไม่ใช่สิ่งที่คนจะหิ้วขึ้นรถไฟฟ้ากัน




สถานีวัดมังกร (บน) ที่ยังไม่ได้อยู่ในเขตแผนแม่บท
มีขนาดใหญ่โตกว่าสถานีสนามไชย (ล่าง) ที่อยู่ในแผนแม่บท
เนื่องจากคณะกรรมการกรุงฯ พิจารณารูปแบบสถานีรถไฟใต้ดินส่วนที่โผล่ขึ้นมาบนดิน
กรณีสนามไชยหน้าพิพิธภัณฑ์มิวเซียมสยาม มีการจำกัดความสูงเพื่อไม่ให้บดบังทัศนวิสัย
ความกว้างของส่วนที่ยื่นมาก็ไม่กินพื้นที่ใหญ่โต

ศิริณี อุรุนานนท์ (เล็ก) ชาวชุมชนเจริญไชยอายุ 48 ปี อาชีพค้าขายกรอบรูป อัลบั้ม อุปกรณ์ ฟิล์ม เป็นอีกคนที่พูดถึงปัญหาชุมชนเรื่องความมั่นคงทางที่อยู่มานาน

เธอเล่าว่ามีการพูดคุยกับที่ประชุมคณะกรรมการศึกษาแผนแม่บทในส่วนขยายต่อเนื่องมานาน ตึกในชุมชนก็เป็นตึกที่ได้รับการศึกษาว่าเป็นตึกเก่าที่ควรอนุรักษ์เอาไว้ แต่เมื่อศึกษาแล้วยื่นไปทาง กทม.ในทางปฏิบัติก็ยังไม่รู้ว่าจะเป็นอย่างไรต่อไป ประสบการณ์ที่ผ่านมาทำให้ยังห่วงกังวลว่า การอนุรักษ์อาคารกับวิถีชุมชนอาจเป็นหนังคนละม้วน


ทางเดินภายในชุมชน เต็มไปด้วยร้านค้าและสินค้าที่ใช้ในพิธีกรรมทางความเชื่อแบบจีน

“ถ้าแผนแม่บทมันอาจรักษาตัวอาคารตรงนี้ไว้ ซ่อมแซมให้ดี แต่บางแห่งที่เราก็เห็นว่าเขารักษาอาคาร แต่ค่าเช่ามันทำให้คนอยู่ไม่ได้ก็มี ก็เลยทำให้ยังไม่รู้ว่าจะรักษาได้แต่อาคารหรือเปล่า มันอาจเป็นเหมือนกับหลายที่ อาคารยังอยู่ แต่เป็นร้านค้าสมัยใหม่ เป็นแมคโดนัลด์” ศิริณีกล่าว

000

แผนแม่บทฉบับใหม่ที่ขยายพื้นที่กรุงรัตนโกสินทร์นี้ แม้ยังไม่คลอดอย่างเป็นทางการ แต่หลายฝ่ายยังคงคาดหวังในทางที่ดี บทบาท กทม. ในการอำนวยการพัฒนาเป็นกุญแจสำคัญอย่างยิ่งต่อการทำตามวิสัยทัศน์การพัฒนาที่ผู้จัดทำร่างแผนแม่บทอธิบายไว้สวยหรู ในตอนต่อไปจะชวนผู้อ่านดูความพร้อมของ กทม. ต่อการพัฒนาอย่างมีส่วนร่วมผ่านโครงการทางเลียบแม่น้ำเจ้าพระยา โครงการถนนในแม่น้ำเส้นยาวที่โฆษณาว่าจะเป็นการทำให้ทุกคนเข้าถึงแม่น้ำได้

ขอขอบคุณ คุณอินทิรา วิทยาสมบูรณ์ นักเคลื่อนไหวเพื่อสังคม ที่มีส่วนร่วมช่วยเหลือด้านการประสานงานเครือข่ายในงานเขียนชิ้นนี้
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42625
Location: NECTEC

PostPosted: 07/02/2019 11:40 am    Post subject: Reply with quote

การพัฒนาเมืองแบบTOD มีความจำเป็นต่ออนาคตของเราอย่างไร? จะแก้ปัญหาเมืองได้จริงหรือไม่? และจะเกิดขึ้นได้จริงอย่างไร?

หาคำตอบได้ใน สารคดีชุด คมนาคมสร้างเมือง เมืองสร้างสุข สุขสร้างได้ รวม 4 ตอน
...
ตอน 1
รถติด มลพิษ คุณภาพชีวิตแย่!!!
กระทรวงคมนาคมเผย การพัฒนาเมืองยุคใหม่เพื่อแก้ปัญหาและนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน
ต้องพัฒนาเมืองควบคู่ไปกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง
Clip TOD ตอน TOD แก้ปัญหา พัฒนาเมือง เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน
https://youtu.be/HWb-ThaDnhg

ตอน 2
กระทรวงคมนาคมเผย แนวคิดสร้างเมืองน่าอยู่ตามหลัก TOD ต้องเป็นเมืองที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน เอื้อต่อการใช้ชีวิตสำหรับทุกคน ทุกเพศวัย และส่งเสริมการเดินทางโดยไม่ใช้เครื่องยนต์ เพื่อลดการใช้พลังงาน ลดมลพิษ ลดโลกร้อน
Clip TOD ตอน TOD เมืองอยู่สบาย ลงตัวกับการใช้ชีวิต
https://youtu.be/VKz4thIZQWc

ตอน 3
กระทรวงคมนาคมเผยแผนพัฒนา EEC ดึงแนวคิด TOD มาร่วมสร้างมูลค่าเพิ่มให้โครงการ
Clip TOD ตอน TOD เสริมศักยภาพ EEC สร้างเศรษฐกิจไทยมั่นคง
https://youtu.be/zSdhG9oKa3I

ตอน 4
กระทรวงคมนาคมเผย TOD เป็นจริงได้ ถ้าทุกฝ่าย ทั้งรัฐ เอกชน ประชาชน ร่วมมือ ร่วมใจกัน
Clip TOD ตอน TOD สร้างได้ ด้วยความร่วมมือร่วมใจของทุกคน
https://youtu.be/bBcxuOFQCvs
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=2148250838555183&set=a.2147322085314725&type=3&theater

VDO นำเสนอ TOD ตอน 2

กระทรวงคมนาคมเผย แนวคิดสร้างเมืองน่าอยู่ตามหลัก TOD ต้องเป็นเมืองที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน เอื้อต่อการใช้ชีวิตสำหรับทุกคน ทุกเพศวัย และส่งเสริมการเดินทางโดยไม่ใช้เครื่องยนต์ เพื่อลดการใช้พลังงาน ลดมลพิษ ลดโลกร้อน

ใครที่ลงทะเบียนไว้ มาเจอกันวันจันทร์นะครับ

Clip TOD ตอน TOD เมืองอยู่สบาย ลงตัวกับการใช้ชีวิต
https://youtu.be/VKz4thIZQWc

โพสต์ ตอนที่ 1
https://www.facebook.com/491766874595130/posts/611785262593290/

โพสต์แรกโครงการ
https://www.facebook.com/491766874595130/posts/607318916373258/
https://www.facebook.com/Thailand.Infra/posts/612339192537897
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42625
Location: NECTEC

PostPosted: 11/02/2019 3:41 pm    Post subject: Reply with quote

"สมคิด"สั่งคมคมนาคมปิดจ๊อบ 21 โปรเจกท์ยักษ์
จันทร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ 2562 เวลา 15.21 น.

“สมคิด”ไล่บี้คมนาคมเบิกจ่ายงบฯด่วน สั่งปิดจ๊อบ 21 โปรเจกท์ยักษ์ก่อนเลือกตั้ง สร้างความมั่นใจนักลงทุน เชื่อครึ่งปีหลังทุกอย่างจะดีขึ้นไม่ต้องกังวลอีกต่อไป


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 11 ก.พ.ที่กระทรวงคมนาคม นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังการเดินทางมาตรวจเยี่ยมและติดตามโครงการสำคัญของ 24 หน่วยงานสังกัดกระทรวงคมนาคม โดยมีนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม พร้อมด้วยผู้บริหาร ร่วมประชุมอย่างพร้อมเพรียง ซึ่งใช้เวลากว่า 2 ชั่วโมงว่า โครงการส่วนใหญ่ของรัฐบาลชุดนี้ขับเคลื่อนโดยหน่วยงานที่อยู่ภายใต้กระทรวงคมนาคม ซึ่งพบว่าหลายหน่วยงานมีการเบิกจ่ายล่าช้าจึงได้เร่งรัด โดยเฉพาะการบินไทย ได้กำชับนายสุเมธ ดำรงชัยธรรม ดีดีบินไทย ว่าไม่มีเวลาอีกแล้ว ขอให้ชัดเจนเรื่องการจัดหาฝูงบินใหม่ให้แล้วเสร็จภายในสิ้นเดือน ก.พ.นี้ ส่วนโครงการศูนย์ซ่อมอากาศยานและชิ้นส่วนอากาศยาน (MRO) ต้องไม่ดีเลย์ ให้เร่งเจรจากับแอร์บัสโดยเร็วจะช้าไม่ได้ รวมถึงโครงการพัฒนาประสิทธิภาพต่างๆ ต้องเร่งเสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.)เร็วที่สุด

สำหรับบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. พบว่ามีบางโครงการที่ล่าช้าสะสม รวมถึงเทอร์มินัล 2 หากจำเป็นต้องยุติก็เดินไปตามแผนของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ จึงมอบหมายให้นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคม ไปหารือกับทอท.และสภาพัฒน์ ให้ได้คำตอบเร็วที่สุด รวมถึงให้พิจารณาการปรับปรุงสนามบินต่างจังหวัดเพิ่มเติม เพื่อให้งบประมาณที่คั่งค้างเบิกจ่ายได้ ส่วนการท่าเรือแห่งประเทศไทย(กทท.) อยู่ระหว่างการประมูลโครงการท่าเรือแหลมฉบังระยะที่ 2 ซึ่งมีข่าวดีว่ามีผู้ซื้อซองเอกสารประกวดราคาเพิ่มขึ้น ทำให้ค่อนข้างมั่นใจว่าครั้งนี้ไม่มีอะไรให้น่าวิตก และโครงการพัฒนาท่าเรือคลองเตยที่จะทำให้มีคุณภาพเป็นท่าเรือพาณิชย์ระดับโลก ได้ย้ำว่าจะต้องดูแลผู้อยู่อาศัยโดยรอบให้ดีด้วย

ขณะที่โครงการรถไฟความเร็วสูง(ไฮสปีด) ไทย-จีน ก็เร่งรัดว่าอย่าช้า ให้เป็นไปตามแผนโดยไม่ต้องชะลอ ส่วนการทางพิเศษแห่งประเทศ(กพท.)ให้เร่งโครงการทางพิเศษ พระราม 3-ดาวคะนอง - วงแหวนรอบนอกด้านทิศตะวันตก ที่ต้องไม่ดีเลย์ เพราะจะกระทบเป็นหางว่าว ส่วนการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) ต้องดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตกและออก อย่างโปร่งใส อย่างไรก็ตามในภาวะที่ต่างประเทศต้องการความชัดเจนเรื่องการเลือกตั้งก่อนลงทุนนั้น คมนาคมจะต้องดำเนินโครงการตามแผนให้เร็ว เพื่อให้เกิดความสมดุล และหวังว่าหากเร่งเต็มที่ครึ่งปีแรกจะสามารถประคองให้ให้ผ่านพ้นไปได้ เพื่อครึ่งปีหลังหลังเลือกตั้งทุกอย่างจะดีขึ้นอย่างที่ไม่ต้องกังวลอีกต่อไป

ด้านนายอาคม กล่าวว่า กระทรวงคมนาคมได้ตั้งเป้านำเสนอโครงการให้ครม.พิจารณาภายในเดือน ก.พ. - มี.ค.นี้ ตามนโยบายของนายสมคิด เบื้องต้นมีจำนวน 21 โครงการ ประกอบด้วย โครงการ ทางอากาศ ได้แก่ 1. การจัดหาฝูงบินล็อตใหม่ จำนวน 38 ลำ ของบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) 2.โครงการศูนย์ซ่อมอากาศยานและชิ้นส่วนอากาศยาน (MRO) ของการบินไทย 3.เร่งสร้างอาคารแซทเทิลไลท์ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ 4. ขยายท่าอากาศยานเชียงใหม่

โครงการทางน้ำ ได้แก่ 1. ท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 ที่ปัจจุบันเปิดขายซองรอบใหม่แล้ว มีเอกชนซื้อซองรายใหม่ 9 ราย และรายเดิม 25 ราย รวม 34 ราย คาดว่าภายใน มี.ค.นี้จะสรุปได้ 2. โครงการขยายขีดความสามารถท่าเรือคลองเตย 3. ปรับปรุงท่าเรือระนอง

โครงการทางราง ได้แก่ 1. รถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) ไทย – จีน ส่วนของงานก่อสร้าง สัญญา 2 ซึ่งขณะนี้ได้ตัวผู้ชนะการประมูลแล้ว จะเร่งลงนามสัญญาภายใน 1 – 2 สัปดาห์นี้ ขณะที่รถไฟทางคู่ คาดว่าภายในเดือน ก.พ. - ต้นเดือน มี.ค.นี้ จะเสนอ ครม.พิจารณา รถไฟทางคู่สายใหม่ ช่วงบ้านไผ่ - นครพนม และทางคู่อีก 7 โครงการที่เหลือก็จะทยอยเสนอ ครม.ให้แล้วเสร็จภายในเดือน มี.ค.นี้ ประกอบไปด้วย รถไฟทางคู่ช่วงชุมทางถนนจิระ-อุบลราชธานี รถไฟทางคู่ช่วงขอนแก่น-หนองคาย รถไฟทางคู่ช่วงหาดใหญ่-ปาดังเบซาร์ รถไฟทางคู่ช่วงปากน้ำโพ – เด่นชัย รถไฟทางคู่ช่วงชุมพร-สุราษฎร์ธานี รถไฟทางคู่ช่วงสุราษฎร์ธานี-สงขลา และ รถไฟทางคู่ช่วงเด่นชัย - เชียงใหม่

ขณะที่โครงการรถไฟฟ้าในกรุงเทพฯ และปริมณฑล มีจำนวน 2 โครงการ ได้แก่ โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มศูนย์วัฒนธรรม - มีนบุรี และรถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม ช่วงรังสิต - ม.ธรรมศาสตร์ และรถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อน ตลิ่งชัน – ศาลายา และตลิ่งชัน - ศิริราช ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างรอปรับแก้ข้อมูลช่วงตลิ่งชัน - ศิริราช หากแล้วเสร็จก็จะเสนอขอ ครม.พร้อมกันทั้ง 3 ตอน เช่นเดียวกับ โครงการทางพิเศษ พระราม 3 - ดาวคะนอง - วงแหวนรอบนอกด้านทิศตะวันตก ก็จะเร่งประกวดราคาภายในเดือน ก.พ.นี้ทั้งนี้ยังได้เร่งรัดแผนฟื้นฟูขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ( ขสมก.)และแผนจัดหารถโดยสารใหม่ให้เสร็จโดยเร็วด้วย
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42625
Location: NECTEC

PostPosted: 11/02/2019 6:01 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
"สมคิด"สั่งคมคมนาคมปิดจ๊อบ 21 โปรเจกท์ยักษ์
จันทร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ 2562 เวลา 15.21 น.


‘สมคิด’ บี้คมนาคมสปีดลงทุน กระตุ้นศก.ก่อนเลือกตั้ง ‘อาคม’ เด้งรับชง 21 โปรเจ็กต์
วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2562 - 15:04 น.

‘สมคิด’ บี้คมนาคมเร่งสปีดลงทุน กระตุ้นเศรษฐกิจช่วงก่อนเลือกตั้ง ยอมรับรับส่งออกไม่ดี ด้าน ‘อาคม’ เด้งรับชง 21 โปรเจ็กต์ ให้ ครม.ไฟเขียว มี.ค.นี้

นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังตรวจเยี่ยมและติดตามงานสำคัญ ของกระทรวงคมนาคม เมื่อวันที่ 11 ก.พ.นี้ ว่า ได้เร่งรัดให้ทุกหน่วยงานในสังกัดของกระทรวงคมนาคเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณลงทุนภาครัฐ เพราะว่าเป็นกลไกลขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สำคัญ
เนื่องจากการส่งออกของโลกไม่ค่อยดี ขณะที่นักลงทุนต่างประเทศ กำลังรอดูการความชัดเจนเรื่องการเลือกตั้งของไทย ครึ่งปีแรก หากเร่งลงทุนเต็มที่ก็จะประคองได้จะผ่านพ้นไปได้ เชื่อว่า หลังเลือกตั้งเสร็จเศรษฐกิจไทย จะเดินหน้าต่อไปได้ โดยไม่ต้องกังวลต่อไป

สำหรับ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) นั้นได้เร่งรัดให้ การบินไทยไปหารือ กับสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร หรือ สนข. เพื่อทำข้อสรุปการจัดกาเครื่องบินจำนวน 38 ลำ วงเงินรวม 1.5-1.6 แสนล้านบาทให้แล้วเสร็จภายในสิ้นเดือนก.พ. และเร่งคุยกับแอร์บัสเพื่อผลักดันไม่ให้โครกการศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยาน(เอ็มอาร์โอ) มีความล่าช้า

ส่วนบริษัทท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ให้กลับไปจัดทำมาตรการส่งเสริมและสนับสนุน สายการบินไทยให้มีจุดเด่นในการแข่งขันกับสายการบินอื่นได้ให้แล้วเสร็จ ภายในสิ้นเดือน ก.พ.นี้ และเร่งแก้ปัญหาเบิกจ่ายล่าช้าโดยมอบให้ ปลัดกระทรวงคมนาคม ทอท. ไปหารือร่วมกับ สคร. เพื่อเร่งรัดงบลงทุนที่จ่ายได้ก่อนเพื่อให้เงินไหลเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจโดยเร็วที่สุด

ส่วนโครงการก่อสร้างอาคารผู้โดยสารแห่งที่ 2 สุวรรณภูมิให้ ปลัดกระทรวงคมนาคม ทอท. และสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ ไปเร่งหาข้อสรุปร่วมกันให้ได้ภายในเดือน ก.พ.นี้ โดยหากว่า ทอท.จะต้องยุติโครงการ ก็ขอให้เดินไปตามแผนสภาพัฒน์ ที่ระบุว่าแผนแม่บทเดิมดีอยู่แล้ว เพื่อให้โครงการเดินต่อไปให้ได้ รวมทั้งให้เร่งรัดการก่อสร้างรันเวย์ 3 ทันที และเร่งรัดแผนปรับปรุงสนามบินต่างจังหวัดให้เร็วขึ้นเพื่อชดเชยส่วนเบิกจ่ายที่ล่าช้า

นายสมคิด กล่าวว่า ส่วนการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) นั้น ได้รับรายงานว่าการประมูลท่าเรือแหลมฉบังระยะที่ 3 มีข่าวดีเพราะมีเอกชนสนใจเข้าร่วมประมูลเพิ่มขึ้นมั่นใจว่าเป็นไปด้วยดี รวมทั้ง กทท. ยังมีแผนที่จะเร่งพัฒนาท่าเรือคลองเตยให้เป็นท่าเรือพาณิชย์ระดับโลกอีกด้วย โดยจะต้องดูการอยู่อาศัยของชุมชนโดยรอบด้วย

ส่วนงานของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) นั้น สำหรับโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง ไทย-จีน กทม.-โคราช ระยะที่ 2 ช่วงสีคิ้ว-กุดจิก ระยะทาง 11 กม. นั้น เร็วๆ นี้ รฟท.จะลงนามในสัญญากับผู้ชนะประมูลเร็วๆ นี้

ส่วนการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.)ได้กำชับให้เปิดประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ซึ่งประกอบด้วย งานก่อสร้างด้านตะวันตกช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-บางขุนนนท์ ระยะทาง 16.4 กม. และเดินรถสายสีส้มตลอดเส้นทางจากมีนบุรี-ศูนย์วัฒนธรรม-บางขุนนนท์ รวมระยะทาง 36 กม. เป็นไปด้วยความโปร่งใสให้รายที่ผ่านคุณสมบัติทุกรายเข้าร่วมประมูลได้ เนื่องจากเป็นโครงการที่มี มูลค่าลงทุนสูงถึง 1.1 แสนล้านบาท

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคมกล่าวว่า ได้ตั้งเป้าที่จะเร่งรัดให้ทุกโครงการเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติโครงการได้ภายใน เดือน ก.พ. – มี.ค.นี้ ตามนโยบายของรองนายกฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 21 โครงการ เช่น โครงการใหญ่อาทิ การจัดหาฝูงบิน 38 ลำ ของบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ,ศูนย์ซ่อมอากาศยานและชิ้นส่วนอากาศยาน (MRO) ,พัฒนาท่าเรือคลองเตย ,ปรับปรุงท่าเรือระนอง ,ไฮสปีดเทรนเชื่อมสามสนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา),ไฮสปีดเทรน กรุงเทพฯ – หัวหิน

รถไฟทางคู่ บ้านไผ่ – นครพนม ,รถไฟทางคู่ช่วงชุมทางถนนจิระ-อุบลราชธานี ,รถไฟทางคู่ ช่วงหาดใหญ่-ปาดังเบซาร์ ,ทางคู่ช่วงปากน้ำโพ – เด่นชัย ,รถไฟทางคู่ช่วงชุมพร-สุราษฎร์ธานี ,รถไฟทางคู่ช่วงสุราษฎร์ธานี-สงขลา ,รถไฟทางคู่ช่วงเด่นชัย – เชียงใหม่ ,รถไฟฟ้าสายสีส้มศูนย์วัฒนธรรม – มีนบุรี ,รถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม ช่วงรังสิต – ม.ธรรมศาสตร์ และรถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อน ตลิ่งชัน – ศาลายา และตลิ่งชัน – ศิริราช เป็นต้น

รถไฟฟ้า10สายฉลุย! สภาพัฒน์เห็นชอบ2เส้นสุดท้ายชงครม.ก่อนเลือกตั้ง
วันจันทร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ 2562 เวลา 10:11 น.
แผนลงทุนรถไฟฟ้า 10 สาย รัฐบาล “บิ๊กตู่” จบ สภาพัฒน์ผ่าน 2 เส้นสุดท้าย ชงเข้า ครม.ก่อนเลือกตั้ง

ทั้งนี้ ช่วงที่นำเสนอเข้าสู่ ครม. จะใกล้เคียงกับรถไฟฟ้าสายสีแดงส่วนต่อขยาย สีแดงอ่อน ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช และช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา วงเงิน 17,500 ล้านบาท และสีแดงเข้ม ช่วงรังสิต-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต วงเงิน 6,500 ล้านบาท ที่ขณะนี้ผ่านบอร์ด สศช. แล้วรอการเสนอเข้าที่ประชุม ครม.เช่นกัน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42625
Location: NECTEC

PostPosted: 12/02/2019 6:49 pm    Post subject: Reply with quote

โครงการรถไฟฟ้าที่อยู่ในความรับผิดชอบของ รฟม. ในเขตเมืองหลักภูมิภาค (ภูเก็ต เชียงใหม่ พิษณุโลก)
รฟม. พุธที่ 30 มกราคม 2562 เวลา 14:58:20
http://km.mrta.co.th/MRTA_KM/public/article.do?cmd=goView&id=187


"โครงการรถไฟฟ้าที่อยู่ในความรับผิดชอบของ รฟม. ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล"

ศุกร์ที่ 18 มกราคม 2562 เวลา 17:19:13
http://km.mrta.co.th/MRTA_KM/public/article.do?cmd=goView&id=186
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42625
Location: NECTEC

PostPosted: 13/02/2019 10:39 am    Post subject: Reply with quote

รถไฟฟ้าล่าช้าเกิน'5นาที' ขอชัดๆเยียวยาผู้โดยสาร
คอลัมน์ : มุมคนเมือง
โดย “เทียนหยด”
อังคารที่ 5 กุมภาพันธ์ 2562 เวลา 08.00 น.


สัปดาห์นี้พาไปส่องเงื่อนไข KPI พร้อมบทลงโทษที่กำลังออกเป็นกฎหมาย ถ้ารถไฟฟ้าล่าช้าเกิน 5 นาที ต้องชดใช้ผู้โดยสารทุกกรณีโดยไม่มีผ่อนปรน

สัปดาห์ที่ผ่านมา สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) จัดสัมมนาปิดจ็อบ “โครงการศึกษาการวางแผนเชิงระบบการจัดการเดินรถ เพื่อยกระดับการให้บริการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน” เพื่อรองรับการเปิดให้บริการรถไฟฟ้าหลากสีตามแผนแม่บทอีก10 สาย ระยะทางกว่า 400 กม. ในปี 2568 รวมถึงรถไฟฟ้าตามแผนแม่บทเฟส 2 ในอนาคต และจัดการเดินรถไฟฟ้าที่เปิดให้บริการแล้ว5 สายกว่า 100 กม. ให้มีประสิทธิภาพขึ้น

หัวใจของโครงการวางแผนเชิงระบบการเดินรถเพื่อยกระดับการให้บริการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนมี 5 เรื่อง ประกอบด้วย 1.การกำหนดชื่อและรหัสสถานีรถไฟฟ้าให้เป็นมาตรฐาน เข้าใจง่าย รูปแบบชัดเจน 2.การกำหนดตัวชี้วัด (KPI) ที่เป็นมาตรฐาน เพื่อใช้กำกับ ดูแล เช่น ความตรงต่อเวลา (ล่าช้าไม่เกิน 5 นาที/จำนวนเที่ยวทั้งหมด) ความปลอดภัย การให้บริการของพนักงานจะมีค่ามาตรฐานชี้วัด หากโครงการใดมีปัญหาจะต้องปรับปรุงหรือมีบทลงโทษ 3.พัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการวางแผนเชิงระบบในการจัดการเดินรถ 4.จัดทำแอปพลิเคชันข้อมูลระบบรถไฟฟ้า 5.การกำกับ ดูแล การปฏิบัติการเดินรถเชิงดิจิทัลของหน่วยงานภาครัฐ ให้ทันต่อสถานการณ์

ไล่เรียงหัวข้อแรกกับการจัดทำแอปฯ ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่ ด้วยการพัฒนาแอปฯ “BKK RAIL” ให้เป็นศูนย์รวมข้อมูลระบบรถไฟฟ้าทั้งหมด กำลังอยู่ในขั้นตอนการทดสอบระบบจะเปิดให้ประชาชนใช้งานเดือนมี.ค.นี้ สามารถดาวน์โหลดได้ทั้งระบบแอนดรอยด์และไอโอเอสฟรี แอปฯ นี้จะประกอบด้วย ข้อมูลเส้นทาง ตำแหน่ง ชื่อและรหัสสถานี ตารางการเดินรถ ราคาค่าโดยสาร สถานะโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าในแต่ละสาย แผนที่เข้าออกในแต่ละสถานี รวมทั้งไม่ลืมที่จะเปิดรับคอมเมนต์หรือความคิดเห็นจากผู้ใช้บริการด้วย



ช่วงแรกจะเป็นระบบออฟไลน์ บอกการเดินทางตามประมาณการณ์ที่ตั้งไว้ อาทิ ความถี่ที่จะไปถึงแต่ละสถานี แต่อนาคตจะพัฒนาให้เป็นแอปฯ ระบบเรียลไทม์คำนวณการเดินทางได้ทันทีทันใดตรงกับเวลาจริงมากที่สุด โดยต้องทำข้อตกลงร่วมกับผู้ให้บริการรถไฟฟ้าทุกเส้นทาง เพื่อแชร์ข้อมูลรถไฟฟ้าให้ที่ปรึกษานำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาแอปฯ ต่อไป โดยจะใช้ได้ในปี 63 นอกจากนี้เดือนเม.ย. สนข.ยังเปิดใช้แอปฯ ระบบนำทาง ซึ่งเป็นระบบขนส่งเชื่อมต่อ (ฟีดเดอร์) ทั้งรถรางเรือ เชื่อมโยงทุกโหมดเดินทางแบบไร้รอยต่อ

ต่อกันด้วยการกำหนดชื่อและรหัสสถานีรถไฟฟ้าแต่ละโครงการให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน เข้าใจง่าย รูปแบบชัดเจน เนื่องจากสถานีบางแห่งอยู่ใกล้กัน แต่ใช้ชื่อต่างกันทำให้สับสน อาทิ ย่านหัวหมาก มีรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ สถานีหัวหมาก ส่วนรถไฟฟ้าสายสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง) ที่กำลังก่อสร้าง กลับใช้ชื่อสถานีพัฒนาการ จะเปลี่ยนเป็นชื่อสถานีหัวหมาก โดยสนข. จะหารือผู้ประกอบการรถไฟฟ้าทุกสายเพื่อตั้งชื่อกันใหม่

สำหรับสถานีที่เปิดให้บริการไปแล้วอยู่ใกล้กันแต่ชื่อไม่เหมือนกัน อาทิ รถไฟฟ้าบีทีเอสสถานีศาลาแดง กับรถไฟฟ้าเอ็มอาร์ทีสายสีน้ำเงิน (หัวลำโพง-เตาปูน) ใช้ชื่อสถานีสีลม บีทีเอสสถานีหมอชิต เอ็มอาร์ทีสถานีจตุจักร บีทีเอสสถานีอโศกกับเอ็มอาร์ทีสถานีสุขุมวิท และเอ็มอาร์ทีสถานีเพชรบุรีกับแอร์พอร์ตลิงก์สถานีมักกะสัน จะไม่เปลี่ยนชื่อเพราะประชาชนคุ้นเคยแล้ว

มาดูเรื่องตัวชี้วัดการให้บริการของผู้ประกอบการแต่ละราย ที่ผ่านมาผู้โดยสารเกิดอาการเซ็ง! เมื่อรถไฟฟ้าเจ๊ง!!!บ่อยๆๆ

ดร.จิรพรรณ เลี่ยงโรคาพาธ อาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (มม.) ที่ปรึกษาโครงการศึกษาฯ ให้รายละเอียดว่า ผลสำรวจผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าในประเด็นเรื่องของความตรงเวลาโดยมีความล่าช้าได้ไม่เกิน 5 นาที ซึ่งเป็นค่าเวลามาตรฐานสากลที่ใช้ประเมินคุณภาพบริการรถไฟฟ้าทั่วโลก และใช้เกณฑ์การวัดคะแนนตั้งแต่ 1-10 พบว่า...รถไฟฟ้าที่มีคะแนนตรงเวลาน้อยที่สุด ได้แก่ รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ช่วงพญาไท-สุวรรณภูมิ ได้คะแนน 3.98 คิดเป็น 39.8% รถไฟฟ้าสายสีเขียวช่วงหมอชิต-อ่อนนุช ได้คะแนน 9.59 คิดเป็น 95.9% รถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้ม ช่วงสนามกีฬาแห่งชาติ-บางหว้า ได้คะแนน 9.76 คิดเป็น 97.6% รถไฟฟ้าสายสีม่วงเหนือช่วงบางใหญ่-เตาปูน ได้คะแนน 9.79 คิดเป็น 97.9%



รถไฟฟ้าที่มีความตรงต่อเวลามากที่สุด คือ รถไฟฟ้าใต้ดินช่วงเตาปูน-หัวลำโพงได้คะแนน 9.93 คิดเป็น 99.3% สอดคล้องกับผลสำรวจเหตุการณ์รถไฟฟ้าล่าช้า (ดีเลย์) มากกว่า30 นาทีนั้นพบว่ารถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์มีโอกาสเกิดมากกว่าสายสีม่วง 2 เท่าตัว จากการเก็บข้อมูลพบรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ดีเลย์หนัก 3 ครั้งและรถไฟฟ้าสายสีม่วง 1 ครั้ง

ดร.จิรพรรณ ยังแตกย่อย KPI ที่กำหนดไว้มีทั้งหมด 9 ด้าน คือ 1.จำนวนครั้งที่ผู้โดยสารเดินทาง 2.ความตรงเวลาโดยมีความล่าช้าได้ไม่เกิน 5 นาที 3.ความล่าช้าต่อจำนวนชม.ที่ให้บริการ4.จำนวนครั้งที่มีความล่าช้ามากกว่า 30 นาที 5.ระยะทางเดินรถในช่วงระหว่างความล่าช้าที่เกิน5 นาที 6.ร้อยละของจำนวนเที่ยวที่ให้บริการจริงต่อจำนวนเที่ยวทั้งหมดที่ให้บริการตามสัญญา 7.ความเพียงพอของจำนวนรถที่ให้บริการและความสอดคล้องชม.เร่งด่วน8.จำนวนเที่ยวโดยสารต่อชม.การทำงานของพนักงาน และ 9.ความพึงพอใจทั่วไปของผู้ใช้เช่น ราคาค่าโดยสาร สิ่งอำนวยความสะดวก ความพร้อมอุปกรณ์และสถานีความปลอดภัยและปัญหาข้อร้องเรียน

“ทั้งหมดนี้จะช่วยพัฒนาคุณภาพของบริการรถไฟฟ้าให้กับประชาชน ในทางกลับกันรัฐบาลยังมีหลักประกันควบคุมประสิทธิภาพให้คุ้มค่ากับการลงทุนระบบรถไฟฟ้าหลายแสนล้านบาท” อาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ย้ำประโยชน์ของตัวชี้วัด

ด้านนายสราวุธ ทรงศิวิไล ผอ.สนข. กล่าวสำทับว่า ในอนาคต สนข. เตรียมเสนอให้บริษัทผู้ประกอบการรถไฟฟ้าทุกสายนำ KPI ไปใช้วัดประสิทธิภาพของงานบริการรถไฟฟ้าว่าเป็นไปตามที่สัญญาไว้กับประชาชนหรือไม่ และต้องได้รับบทลงโทษหากคุณภาพต่ำกว่าเกณฑ์

กระทรวงคมนาคมกำลังเร่งก่อตั้งกรมการขนส่งทางรางให้แล้วเสร็จในปี 62 นี้ โดยล่าสุดผ่านการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติหรือสนช.แล้ว มีรูปแบบคล้ายกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) เพื่อมากำกับดูแล กำหนดกติกา และดูแลมาตรฐานต่างๆ ของระบบรางทั่วประเทศ จะทำให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) และการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) มีฐานะเป็นแค่ผู้ประกอบการ

ดังนั้นกรมการขนส่งทางราง จะออกกฎหมายบังคับให้ผู้ประกอบการปฏิบัติตาม KPI พร้อมบทลงโทษ อาทิรัฐบาลปรับเอกชนเมื่อล่าช้าหรือเสียเวลาบ่อยและซ้ำซ้อน หรือกำหนดเกณฑ์การชดเชยที่ตายตัวในกรณีล่าช้า เช่น ชดเชยค่าโดยสารให้ประชาชน เปิดใช้บริการฟรี ลดค่าโดยสารผู้ที่ได้รับผลกระทบ ออกโปรโมชันชดเชยแบบบัตรรายเดือนรายวัน ดังนั้นอนาคตหากมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้น เอกชนผู้ให้บริการต้องชดใช้ประชาชนทุกกรณีไม่มีข้อยกเว้น เพราะกำหนดเป็นกฎระเบียบไว้ชัดเจน โดยไม่มีผ่อนปรน

เชื่อว่าจะถูกใจประชาชนแน่นอน เพราะทำให้ผู้ประกอบการมีความรับผิดชอบต่อผู้โดยสารมากขึ้น ไม่ใช่พอรถไฟฟ้าเจ๊ง...ก็แค่แจ้งข่าวว่าขออภัยรถไฟฟ้าขัดข้อง แต่ไม่พร้อมเยียวยา ต้องรอให้เกิดกระแสดราม่าต่อว่า ถึงออกมารับผิดชอบ...ต่อไปขอชัดๆ เยียวยาผู้โดยสาร.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42625
Location: NECTEC

PostPosted: 15/02/2019 10:44 am    Post subject: Reply with quote

“ขอนแก่น-โคราช” ฮับผลิตรถจักร-โบกี้ ปี”63 บังคับโปรเจ็กต์ใหม่เมดอินไทยแลนด์
พร็อพเพอร์ตี้
วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2562 เวลา 19:04 น.

หลัง “สมคิด จาตุศรีพิทักษ์” รองนายกรัฐมนตรี ประธานคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) มีมติเห็นชอบรายงานการศึกษาแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมระบบราง และอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องให้เป็นรูปธรรม รับการพัฒนาระบบรางของไทยใน 8 ปี เมื่อวันที่ 3 ม.ค. 2562 ที่ผ่านมา

ล่าสุด 3 กระทรวงหลัก “คมนาคม-คลัง-อุตสาหกรรม” กำลังร่างแผนเตรียมบังคับในทีโออาร์โปรเจ็กต์ใหม่ต้องใช้ของในประเทศ จากปัจจุบันต้องใช้รถไฟที่นำเข้าจากนานาประเทศ เช่น จีน เยอรมนี ญี่ปุ่นแคนาดา

“ชัยวัฒน์ ทองคำคูณ” ปลัดกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า ผลการประชุมแนวทางการพัฒนาผลอุตสาหกรรมระบบราง เป็นการหารือร่วมกับกระทรวงการคลัง กระทรวงคมนาคม กระทรวงอุตสาหกรรม และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) หลังจากที่ คจร.มอบกระทรวงอุตสาหกรรมจัดทำผลการศึกษาแนวทางพัฒนาดังกล่าว โดยกระทรวงคมนาคมสนับสนุนข้อมูลด้านตัวเลขประมาณการความต้องการ

ผลการศึกษาจะครอบคลุมทั้งรถไฟทางคู่ รถไฟฟ้า และรถไฟความเร็วสูง ซึ่งคาดการณ์อีก 20 ปีประเทศไทยจะมีความต้องการปริมาณตู้รถไฟรวม 1,000 ตู้ จากปัจจุบันประเทศไทยมีปริมาณตู้รถไฟรวม 1,596 ตู้ แบ่งเป็นตู้รถไฟปกติ 1,183 ตู้ และตู้รถไฟฟ้าทุกระบบ 413 ตู้

“ประเทศไทยกำลังลงทุนโครงสร้างระบบรางจำนวนมาก และอนาคตระบบรางจะเป็นระบบขนส่งมวลชนหลักภายในประเทศ ดังนั้น จะไปพึ่งพาต่างประเทศทั้งหมดแบบเดิมอีกไม่ได้ ที่สำคัญจะทำให้ต้นทุนด้านการบริหารจัดการเดินรถและการซ่อมบำรุงลดลง ซึ่งข้อมูลการผลิตรถไฟฟ้าของไจก้าระบุว่า จุดคุ้มทุนตั้งโรงงานประกอบรถไฟอยู่ที่ 300 ตู้ต่อโรงงานต่อปี”

คาดว่าเมื่อแผนสามารถบังคับใช้ได้จริง จะสามารถลดการนำเข้าตู้รถไฟและรถไฟฟ้าจากต่างประเทศคิดเป็นค่าใช้จ่ายประมาณ 18,000 ล้านบาทต่อการซื้อตู้รถไฟและรถไฟฟ้า 1,000 ตู้ ลดค่าใช้จ่ายด้านการบำรุงรักษารวมถึงค่าจ้างบุคลากรได้ 4,300 ล้านบาท รวมเป็นวงเงิน 22,300 ล้านบาท

ปลัดคมนาคมขยายความถึงไทม์ไลน์แผนงาน ภายในปี 2563 การจัดซื้อจัดจ้างระบบขนส่งมวลชนทางรางของรัฐทั้งหมด กำหนดให้ซื้อตู้รถไฟและรถไฟฟ้าที่ผลิตภายในประเทศ หรือผู้ผลิตที่มีแผนจะเข้ามาผลิตในประเทศเท่านั้น ในขั้นนี้ผู้ผลิตจะต้องมีแผนลงทุนด้านการผลิตภายในประเทศไทยและต้องไปขอส่งเสริมการลงทุนจากบีโอไอ ยังไม่จำเป็นที่จะต้องก่อสร้างโรงงานเสร็จภายในปี 2565 การจัดซื้อจัดจ้างระบบขนส่งมวลชนทางรางของรัฐทั้งหมด กำหนดให้ส่งมอบตู้รถไฟและรถไฟฟ้าจากผู้ผลิตที่มีการประกอบขั้นสุดท้ายภายในประเทศ ซึ่งผู้ผลิตที่มีแผนลงทุนและขอส่งเสริมการลงทุนแล้วจะต้องก่อสร้างโรงงานให้แล้วเสร็จ

เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการประกอบตู้รถไฟสำเร็จรูปภายในประเทศ จากปัจจุบันมีเพียงผู้ประกอบการที่ผลิตชิ้นส่วนบางประเภทเท่านั้น เช่น สายไฟ หม้อแปลง แอร์ ลูกถ้วย เป็นต้น แล้วส่งออกไปประกอบในต่างประเทศ

“หากมีการตั้งโรงงานจะเกิดการลงทุนไม่น้อยกว่า 500 ล้านบาทต่อปี ขณะที่พื้นที่มีความเหมาะสมที่จะจัดตั้งโรงงานผลิตรถไฟ คาดว่าจะอยู่ที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น ขอนแก่น และนครราชสีมา”

ภายในปี 2567 การจัดซื้อจัดจ้างระบบขนส่งมวลชนทางรางของรัฐทั้งหมด กำหนดให้ส่งมอบตู้รถไฟและรถไฟฟ้าที่ผลิตในประเทศทั้งหมด กำหนดให้ใช้วัสดุชิ้นส่วนภายในประเทศ

ไม่น้อยกว่า 40% ของมูลค่างานทั้งหมดภายในปี 2568 ส่งมอบตู้รถไฟและรถไฟฟ้า รวมถึงระบบอาณัติสัญญาณที่ผลิตในประเทศไทยทั้งหมด กำหนดให้ชิ้นส่วนหลัก เช่น ตัวรถ โครงสร้างต่าง ๆ ตู้โดยสาร ห้องควบคุมรถ ระบบช่วงล่าง โบกี้ ระบบห้ามล้อ ระบบเชื่อมต่อขบวนรถ ระบบขับเคลื่อน ระบบไฟฟ้าและการจ่ายไฟ ต้องผลิตในประเทศทั้งหมด

“แนวทางทั้งหมดจะนำไปใส่ไว้ในทีโออาร์โครงการลงทุนใหม่ทั้งหมด แต่จะไม่มีผลย้อนหลังกับโครงการลงทุนในขณะนี้ เพราะส่วนใหญ่มีความคืบหน้าตามในทีโออาร์ไปมากแล้ว” นายชัยวัฒน์กล่าวและว่า

หลังจากนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมดจะจัดทำสรุปข้อมูลต่าง ๆ อีกครั้ง นำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ตั้งเป้าจะเสนอให้ทันภายในรัฐบาลชุดนี้ เนื่องจากเป็นนโยบายที่สั่งการมาให้ดำเนินการ
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 192, 193, 194 ... 277, 278, 279  Next
Page 193 of 279

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©