RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311283
ทั่วไป:13263900
ทั้งหมด:13575183
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 193, 194, 195 ... 278, 279, 280  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 18/02/2019 12:37 pm    Post subject: Reply with quote

จุดพลุพัฒนาที่ดินมิกซ์ยูส235สถานี เกาะรัศมีไฮสปีด-รถไฟฟ้าทั่วประเทศ
พร็อพเพอร์ตี้
วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2562 เวลา 09:01 น.

ไพรินทร์ ชูโชติถาวร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม (แฟ้มภาพ)
คมนาคมคัดพื้นที่รอบสถานีรถไฟฟ้า ทางคู่ รถไฟความเร็วสูง จุดพลุพัฒนาเชิงพาณิชย์ ยึดโมเดลญี่ปุ่นสร้างมูลค่าที่ดิน รีดภาษีเพิ่มรายได้เข้ารัฐ เปิดทางเอกชนพัฒนาร่วมท้องถิ่น รัฐจัดรูปที่ดิน บูม 27 จุดตัดรถไฟฟ้า หัวเมืองใหญ่ ปัดฝุ่น 17 เมืองใหม่ไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน ศูนย์กลางธุรกิจ

นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ช่วง 5 ปีที่ผ่านมารัฐบาลลงทุนครั้งใหญ่กว่า 1.2 ล้านล้านบาท พัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งทั้งทางถนน ราง น้ำ และอากาศ มีมอเตอร์เวย์ รถไฟฟ้า ทางคู่ รถไฟความเร็วสูง สถานีขนส่ง ท่าเรือ สนามบิน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ต้องมีการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีขนส่งมวลชน (TOD) เป็นเครื่องมือชี้นำการพัฒนาเมือง ให้สอดคล้องกับเส้นทางโครงการ จะเชื่อมการเดินทางและกระจายความเจริญจากกรุงเทพฯไปสู่ภูมิภาค

TOD เครื่องมือสร้างรายได้เพิ่ม

“การพัฒนา TOD จะเพิ่มมูลค่าที่ดินสองข้างทางหรือโดยรอบสถานี จากการพัฒนาพาณิชยกรรม แหล่งงาน ที่อยู่อาศัย ทำให้รัฐลงทุนไม่สูญเปล่า มีรายได้เพิ่มจากเก็บภาษีที่ดินเหมือนโมเดลของต่างประเทศ เช่น ญี่ปุ่น”

ปัจจุบันสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กำลังให้ที่ปรึกษาร่างเป็นแผนแม่บทพัฒนา TOD จะแล้วเสร็จในเดือน เม.ย. 2563 ทั้งนี้การพัฒนาจะสำเร็จได้ รัฐ เอกชน และประชาชนในพื้นที่ต้องร่วมกันผลักดันโครงการ ซึ่งรูปแบบการพัฒนาจะเป็นมิกซ์ยูสผสมผสานพาณิชยกรรม ที่อยู่อาศัย สำนักงาน หรือสร้างระบบคมนาคมขนาดรองเชื่อมการเดินทางภายในโครงการ

“TOD ไม่ใช่เรื่องใหม่ การรถไฟขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย เคยศึกษา TOD แนวรถไฟฟ้าไว้ แต่ติดกฎหมายไม่ให้นำที่ดินเวนคืนพัฒนาเชิงพาณิชย์ได้ ขณะที่การจัดรูปที่ดินก็ไม่ง่าย ดังนั้นต้องออกเป็นกฎหมาย TOD เป็นการเฉพาะ คล้ายกับกฎหมาย BOI ทุกฝ่ายได้ประโยชน์ เช่น จะขายที่ดินให้รัฐในราคาตลาด หรือจะเข้าร่วมการพัฒนาก็ได้ แต่การออกกฎหมายอาจจะใช้เวลานาน ที่น่าจะเกิดได้เร็วเป็น 3 จังหวัดใน EEC ที่กฎหมาย EEC ในมาตรา 34 บอกคอนเซ็ปต์พัฒนาที่ดินไว้ เช่น ฉะเชิงเทรา พัทยา ศรีราชา อู่ตะเภา น่าจะเกิดขึ้นได้ก่อน”

นายชยธรรม์ พรหมศร รองผู้อำนวยการ สนข. เปิดเผยว่า บริเวณมีศักยภาพจะพัฒนา TOD เป็นพื้นที่รอบสถานีหรือจุดเปลี่ยนถ่ายการเดินทางของผู้โดยสาร ซึ่งต้องกำหนดกรอบชี้การพัฒนาไว้ให้ชัดเจน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถการใช้ประโยชน์ที่ดินของเมืองและบริเวณโดยรอบ ตั้งเป้าจะมีอย่างน้อย 3 แห่งพัฒนาเป็นเมืองต้นแบบ

ผุด 235 แห่งทั่วประเทศ

นายยงธนิศร์ พิมลเสถียร ผู้จัดการโครงการ เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า แผนแม่บท TOD จะเรียนรู้โมเดลของญี่ปุ่นมาปรับใช้ให้เข้ากับไทย จะเกาะไปตามเส้นทางรถไฟความเร็วสูง 4 สายทาง รถไฟทางคู่ 16 สายทาง รถไฟฟ้า 10 สายทางในกรุงเทพฯและปริมณฑล

สำหรับพื้นที่สถานี 883 สถานีทั่วประเทศ มีศักยภาพพัฒนาได้ 235 แห่ง แยกเป็น กทม. 27 แห่ง สายเหนือ 67 แห่ง สายตะวันออกเฉียงเหนือ 60 แห่ง สายตะวันออกรวม EEC 25 แห่ง สายใต้ 41 แห่ง และสายตะวันตก/แม่กลอง 15 แห่ง ซึ่งจะลงพื้นที่รับฟังความคิดเห็นของท้องถิ่นเพื่อกำหนดพื้นที่จะพัฒนาต่อไป เช่น ระยะเวลา ขนาดพื้นที่จะเป็นขนาดเล็ก (S) กลาง (M) และใหญ่ (L)

บางซื่อ-มักกะสันเกิดแน่

“กทม. 27 แห่ง จะอยู่รอบสถานีที่เป็นจุดตัด จุดต้นทางและจุดสิ้นสุดของรถไฟฟ้า เช่น สถานีอโศก สถานีร่มเกล้า สถานีบางหว้า สถานีศูนย์วัฒนธรรม สถานีคูคต เป็นต้น เกิดแน่ ๆ คือ ย่านบางซื่อ-พหลโยธินและมักกะสัน ซึ่งย่านพหลโยธินเป็นเมกะโปรเจ็กต์ TOD เพราะพื้นที่ใหญ่สุดกว่า 2,300 ไร่ สนข.ออกแบบแล้ว การรถไฟฯกำลังเปิดประมูลพัฒนาที่ดินรอบสถานีกลางบางซื่อ ซึ่งจะเป็นศูนย์กลางการเดินทางด้านระบบรางในอนาคต ส่วนมักกะสันจะเป็นศูนย์กลางเมืองและเกตเวย์สู่อีอีซี” นายยงธนิศร์กล่าวและว่า

สำหรับพื้นที่ภูมิภาคหากแนวรถไฟพาดผ่านตัวจังหวัดและใช้สถานีเดิมเป็นจุดเปลี่ยนถ่ายคน การพัฒนาเป็นรูปแบบศูนย์กลางเมือง เช่น ขอนแก่น ถ้าเป็นพื้นที่เปิดใหม่ เช่น แนวรถไฟความเร็วสูง ที่มีเบี่ยงแนว และสร้างสถานีใหม่ จะเป็นรูปแบบเมืองใหม่ เตรียมหารือร่วมกับกรมโยธาธิการและผังเมือง ถึงแนวคิดการพัฒนาเมืองใหม่รถไฟความเร็วสูงที่เคยศึกษาไว้ 17 สถานี จะสามารถนำข้อมูลปรับใช้ด้วยกันอย่างไรได้บ้าง

ปัดฝุ่น 17 เมืองใหม่ไฮสปีด

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ผ่านมากรมโยธาฯร่วมกับ สนข. ศึกษาโมเดลเมืองใหม่รถไฟความเร็วสูง 4 เส้นทาง มี 17 สถานี ทั้งพัฒนาสถานีเดิมและเปิดพื้นที่ใหม่ มีเมือง 3 ขนาด คือ S-M-L พื้นที่ตั้งแต่ 2,000-5,000 ไร่ ในรัศมี 5-10 กม.รอบสถานี ได้แก่ 1.กทม.-นครราชสีมา 3 แห่ง มีสระบุรี 3,000 ไร่ ปากช่อง 3,000 ไร่ และ 3.นครราชสีมา 7,000 ไร่ 2.กทม.-พิษณุโลก มี 5 แห่ง ที่พระนครศรีอยุธยา 5,000 ไร่ ลพบุรี 5,000 ไร่ นครสวรรค์ 5,000 ไร่ พิจิตร 5,000 ไร่ และพิษณุโลก 5,000 ไร่ 3.กทม.-หัวหิน มี 4 แห่ง ที่นครปฐม 3,000-4,000 ไร่ ราชบุรี 3,000 ไร่ เพชรบุรี 3,000-4,000 ไร่ และหัวหิน 5,000 ไร่ และ 4.กทม.-พัทยา-ระยอง ปัจจุบันเป็นไฮสปีดเทรนเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) มี 5 แห่ง ที่ฉะเชิงเทรา 2,500 ไร่ ชลบุรี 3,000-4,000 ไร่ ศรีราชา 7,000 ไร่ พัทยา 5,000-6,000 ไร่ และระยอง 4,000-5,000 ไร่

อีอีซีดันแปดริ้ว-พัทยา-อู่ตะเภา

นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) กล่าวว่า TOD จะสำเร็จต้องมีหน่ายงานกำกับและเดินหน้าอย่างจริงจังเหมือน EEC อย่าให้เหมือนสถานีรังสิตของสายสีแดงช่วงบางซื่อ-รังสิตที่รถไฟจะเปิดใช้ปี 2564 แต่ยังไม่มีเจ้าภาพคิดการพัฒนารอบสถานีทั้งที่เป็นพื้นที่มีศักยภาพ เป็นแหล่งงาน ชุมชน และการศึกษา

“EEC ให้เอกชนพัฒนา TOD ที่มักกะสัน 150 ไร่ ศรีราชา 25 ไร่ แนวรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ยังมีที่ฉะเชิงเทรา พัทยา ซึ่งฉะเชิงเทราจะเป็นชุมทางไปยัง EEC กัมพูชา ภาคอีสานทะลุถึงจีน อาจจะมีพัฒนาเมืองใหม่มาเชื่อมกับโลจิสติกส์ ต้องหานักลงทุนที่สนใจมาพัฒนาร่วมชุมชนท้องถิ่น”

อีกทั้งจะพัฒนารอบสนามบินอู่ตะเภาเป็นเมืองใหม่ รองรับการขยายตัวของเมือง แหล่งงาน การอยู่อาศัย ใน 5 ปีแรกรัศมี 10 กม. รอบสนามบิน พื้นที่ 140,000 ไร่ ย่านสัตหีบ บ้านฉาง บางเสร่ จอมเทียน อีก 5-10 ปี ขยายออกเขตชั้นกลาง 30 30 30 กม. จาก เมืองพัทยา ถึงเมืองระยอง เป็นเขตพัฒนาเดียวกันและช่วง 10-15 ปี ขยายสู่เขตชั้นนอก 60 กม. เป็นการพัฒนาต่อยอดโครงการรถไฟความเร็วสูงที่กำลังเจรจากับกลุ่ม ซี.พี.และโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาที่กองทัพเรือจะเปิดยื่นซองประมูลกลางเดือน มี.ค.นี้ ทั้งนี้ถึงจะเปลี่ยนรัฐบาลใหม่ยังมั่นใจว่าโครงการลงทุนขนาดใหญ่ด้านโครงสร้างพื้นฐานใน EEC ยังได้เดินหน้าต่อเนื่อง

เอกชนแนะเช่า 99 ปี

“คมนาคมต้องผลักดันโครงการ TOD อย่างเป็นเรื่องเป็นราว ไม่ต้องรอผลศึกษา จะออกหรือจะแก้กฎหมายหรือจะใช้การจัดรูปที่ดินก็ต้องรีบทำ และต้องเข้าใจโมเดลการลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนที่ต้องไปด้วยกัน รัฐต้องเข้าใจเอกชน เขาอยากได้อะไร ไม่ใช่ห้ามเขาทำแบบนั้นแบบนี้ จะทำให้การพัฒนาเกิดยาก”

นายอธิป พีชานนท์ นายกสมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร กล่าวว่า ภาคเอกชนมีข้อเสนอแนะคือ รัฐต้องบูรณาการด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องด้วย เช่น กฎหมายผังเมือง กฎหมายควบคุมอาคาร ระยะเวลาการพัฒนาโครงการต้องให้เกิดแรงจูงใจให้เข้าไปลงทุน เช่น กรณีเป็นที่เช่าควรจะให้ 90-99 ปี จากปัจจุบัน 50 ปี
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 18/02/2019 1:22 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
คมนาคม-อุตฯจับมือผลักดันพัฒนาอุตสาหกรรมระบบราง เล็งเสนอ ครม.พิจารณาเงื่อนไข TOR
วันอังคาร ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562, 21.02 น.

เข็นให้ทันรัฐบาลนี้!คมนาคมจ่อชงครม.ตั้งรง.ผลิตรถไฟ เล็งพื้นที่'ขอนแก่น'
วันอังคาร ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562, 21.05 น.



อนาคตโรงงานผลิตรถไฟ

18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 เวลา 00:01 น.

เป็นที่รับรู้กันว่าขณะนี้รัฐบาลได้มีการสนับสนุนการขนส่งระบบราง ไม่ว่าจะเป็นรถไฟความเร็วสูง รถไฟทางคู่ รถไฟฟ้า และล่าสุดรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน ทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวมองว่าความต้องการของส่วนประกอบและชิ้นส่วนของรถไฟฟ้ามีความต้องการมากขึ้น เพื่อเป็นการคุมด้านการสั่งซื้อในต่างประเทศ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงเล็งเห็นถึงศักยภาพการจัดตั้งโรงงานผลิตในประเทศแทนการสั่งซื้อจากต่างประเทศ
ล่าสุดกระทรวงคมนาคมได้หารือถึงแนวทางการพัฒนาการผลิตระบบขนส่งมวลชนทางรางและอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องในประเทศไทยให้เป็นรูปธรรมร่วมกับกระทรวงอุตสาหกรรม, กระทรวงการคลัง, สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ตามมติคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) ครั้งที่ 1/2562 วันที่ 3 ม.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งกระทรวงอุตสาหกรรมได้ใช้ข้อมูลจากการพัฒนาโครงการระบบรางของกระทรวงคมนาคมไปทำการศึกษาแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมระบบรางในประเทศ
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) มีรถโดยสารประมาณ 1,183 ตู้ ส่วนรถไฟฟ้าทุกระบบมีประมาณ 413 ตู้ และคาดการณ์ในอีก 20 ปีข้างหน้าจะมีความต้องการตู้รถไฟไม่น้อยกว่า 1,000 ตู้ ซึ่งข้อมูลอุตสาหกรรมการผลิตรถไฟของไจการะบุว่า จุดคุ้มทุนในการตั้งโรงงานประกอบรถไฟอยู่ที่ 300 ตู้/โรงงาน/ปี
ดังนั้น ภายในปี 2563 การจัดซื้อจัดจ้างระบบขนส่งมวลชนทางรางของภาครัฐทั้งหมดจะกำหนดให้มีการซื้อตู้รถไฟและรถไฟฟ้าจากผู้ผลิตในประเทศหรือบริษัทที่มีแผนจะลงทุนผลิตในประเทศเท่านั้น ภายในปี 2565 จะขยายข้อกำหนดการจัดซื้อจัดจ้างให้มีการส่งมอบตู้รถไฟและรถไฟฟ้าจากผู้ผลิตที่มีการประกอบขั้นสุดท้ายในประเทศ ภายในปี 2567 การจัดซื้อจัดจ้างจะกำหนดให้ต้องส่งมอบตู้รถไฟและรถไฟฟ้าที่ผลิตในประเทศทั้งหมด โดยใช้ชิ้นส่วนในประเทศ (Local Content) ไม่น้อยกว่า 40% ของราคารถไฟและรถไฟฟ้า
ทั้งนี้ทั้งนั้น ตั้งแต่ปี 68 การจัดซื้อจัดจ้างจะกำหนดให้ต้องส่งมอบตู้รถไฟและรถไฟฟ้า รวมทั้งระบบอาณัติสัญญาณ ที่ผลิตในประเทศทั้งหมด และต้องมีการผลิตชิ้นส่วนหลักที่เป็นสาระสำคัญ ได้แก่ 1.ระบบตัวรถ 2.ระบบช่วงล่างของโครงสร้างตัวรถ และ 3.ระบบขับและควบคุม
ทั้งนี้ จะสรุปข้อมูลเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติ และกำหนดเป็นเงื่อนไขในทีโออาร์เปิดประมูลโครงการรถไฟฟ้าต่อไป ซึ่งคาดว่าจะเริ่มใช้กับโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ระบบการเดินรถที่ใช้รูปแบบ PPP และการจัดหารถไฟของ รฟท. ซึ่งการศึกษาพบว่าการผลิตรถไฟทุก 1,000 ตู้จะทำให้เกิดการลงทุนในประเทศไม่น้อยกว่า 500 ล้านบาท/ปี ใช้ชิ้นส่วนในประเทศ 40% จะลดการนำเข้าได้มูลค่า 18,000 ล้านบาท ประหยัดค่าซ่อมบำรุงและค่าจ้างผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศได้ 4,300 ล้านบาท/ปี
อย่างไรก็ตาม ล่าสุดเมื่อวันที่ 12 มี.ค.ที่ผ่านมา ได้มีมติเห็นชอบรับร่างกฎกระทรวง รวม 3 ฉบับ ได้แก่ ร่างกฎกระทรวงว่าด้วยกลุ่มภารกิจ (ฉบับที่...) พ.ศ..... ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมการขนส่งทางรางกระทรวงคมนาคม พ.ศ..... และร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กระทรวงคมนาคม (ฉบับที่...) พ.ศ..... แล้ว รองรับการจัดตั้งกรมการขนส่งทางราง
สำหรับขอบเขตอำนาจของกรมรางนั้นจะเป็นหน่วยงานกำกับดูแล (Regulator) คล้ายกับกรมการขนส่งทางบก ส่งผลให้ รฟท.และ รฟม. รวมถึงบริษัทเอกชนเป็นเพียงผู้ประกอบการ (Operator) ภายใต้กำกับดูแลของรัฐบาล และกฎหมายที่กำหนด ดังนั้น จึงมีอำนาจควบคุมรถไฟทั่วไป รถไฟฟ้าและรถไฟความเร็วสูง อาทิ ด้านการวางแผนพัฒนาระบบราง การควบคุมมาตรฐานงานเดินรถและบริการ คาดว่าจะสามารถจัดตั้งได้ภายในเดือนเมษายน 62 นี้
จะเห็นได้ว่าอนาคตแผนการตั้งโรงงานผลิตชิ้นส่วนรถไฟ ดูจะเป็นโอกาสดีของหลายๆ ฝ่าย สร้างงานสร้างเงิน เพราะว่าล่าสุดจะมีการตั้งโรงงานที่จังหวัดนครราชสีมาและขอนแก่น หากเป็นอย่างนั้นจริง แน่นอนว่าจะทำให้เกิดการสร้างงานแก่คนในพื้นที่ และที่สำคัญจะทำให้ประเทศของเราเป็นประเทศเดียวในอาเซียนที่ตั้งโรงงานผลิตชิ้นส่วนรถไฟ ถือเป็นเรื่องราวดีๆ.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 22/02/2019 11:33 am    Post subject: Reply with quote

22 ก.พ. 62 Update สถานะความคืบหน้างานก่อสร้างรถไฟฟ้าในความรับผิดชอบของกระทรวงคมนาคม 7 โครงการ 173กม. ส่วนใหญ่มีผลงานช้ากว่าแผนงานที่กำหนดไว้เล็กน้อย ยกเว้นสายสีส้มตะวันออกและงานระบบสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายช่วงเตาปูน-ท่าพระที่เร็วกว่าแผนงาน

ป.ล. 1. สายสีทอง (สถานีรถไฟฟ้ากรุงธนบุรี-เจริญนคร-สำนักงานเขตคลองสาน) บ. กรุงเทพธนาคม จำกัด รับผิดชอบ มีความคืบหน้ากว่าร้อยละสิบ แต่ยังล่าช้าจากแผนงาน
2. สำหรับสายสีแดงอ่อนช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน และสายน้ำเงินส่วนต่อขยาย งานโยธาเสร็จแล้ว 100 % ปัจจุบันเหลือแต่งานระบบ
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=2172199946160272&set=a.2048582948521973&type=3&theater
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 22/02/2019 3:09 pm    Post subject: Reply with quote

21ก.พ.62 สจล. จับมือ BTS เตรียมปั้นรถไฟรางเดี่ยวสายใหม่ ให้บริการนักศึกษา และประชาชน

....นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTS ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าสายแรกของประเทศไทย ได้นำทีมผู้บริหาร ทีมสถาปนิก และวิศวกรเข้าพบผู้บริหารของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เพื่อหารือเรื่องการทำรถไฟ monorail เชื่อมต่อระหว่างสถานีรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิ้งค์ลาดกระบัง สจล. และตลาดหัวตะเข้ เขตลาดกระบัง ทั้งนี้เพื่อเพิ่มพื้นที่การให้บริการ และเพิ่มความสะดวกสบายในการเดินทางให้กับผู้ใช้บริการในพื้นที่ นักศึกษา ลดปริณมาณการใช้รถยนต์ส่วนบุคคลซึ่งนำมาซึ่งปัญหาการจราจร และมลพิษ
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=2172437459469854&set=a.1775055352541402&type=3&theater
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44522
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 22/02/2019 8:57 pm    Post subject: Reply with quote

“คมนาคม” นั่งไม่ติด ปั๊มเมกะโปรเจ็กต์ ทิ้งทวน 5 ปี รัฐบาล คสช. 1.3 ล้านล้าน
ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 22 February 2019 - 19:06 น.

Click on the image for full size

หมุดหมายการเลือกตั้ง 24 มี.ค. 2562 ใกล้เข้ามาทุกขณะ ไม่เกินกลางปีนี้น่าจะเห็นโฉมหน้ารัฐบาลใหม่ ยังไม่รู้จะเป็นผู้นำหน้าเดิมหรือหน้าใหม่

โค้งสุดท้ายรัฐบาล คสช.

ทำให้ห้วงเวลาไม่ถึง 2 เดือนนี้ “รัฐบาล คสช.” ภายใต้บังเหียน “พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา” นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช. ต้องใช้ทุกช่วงเวลาเร่งสปีดเค้นทุกผลงานให้ได้มากที่สุดหวังหวนคืนสู่การรั้งเก้าอี้ “นายกฯสมัยที่ 2”

ท่ามกลางความอืมครึมทางการเมืองและเศรษฐกิจที่เจอมรสุมทั้งปัจจัยภายในและภายนอกรุมเร้า “สมคิด จาตุศรีพิทักษ์” แม่ทัพใหญ่ด้านเศรษฐกิจรัฐบาล คสช. จึงเดินสายไล่ขันนอตกระทรวงเศรษฐกิจ เร่งสารพัดโครงการและมาตรการต่าง ๆ สร้างความเชื่อมั่น

ทั้ง “อุตสาหกรรม-พาณิชย์-คลัง” ล่าสุดเป็นคิว “คมนาคม” ซึ่งกุมเม็ดเงินลงทุนเมกะโปรเจ็กต์ลงทุนนับล้านล้านแม้ที่ผ่านมาคมนาคมจะคลอด action plan หรือแผนปฏิบัติการเร่งด่วนประจำปี ขีดไทม์ไลน์ลงทุนรายโครงการแต่ยังติด ๆ ขัด ๆ ยกขบวนประมูลทุกปี

เร่งลงทุนสร้างความเชื่อมั่น

“โครงการส่วนใหญ่ของรัฐบาล ขับเคลื่อนโดยกระทรวงคมนาคม หลังไปเร่งรัดการเบิกจ่ายกับกระทรวงการคลังมา ผมเห็นว่าในช่วงไตรมาส 1-2 ของปีนี้การลงทุนของภาครัฐเป็นสิ่งสำคัญ แม้ว่านักลงทุนต่างประเทศยัง wait and see เพราะต้องการเห็นความชัดเจนด้านการเลือกตั้ง แต่ไทยจะต้องเร่งลงทุนให้เกิดบาลานซ์กับการส่งออกซึ่งยังไม่ดีนัก หวังว่าครึ่งปีแรกไทยจะสามารถประคองตัวเองให้ผ่านพ้นไปสู่ครี่งปีหลังที่เรามีรัฐบาลหลังการเลือกตั้ง จะทำให้ทุกอย่างกระเตื้องขึ้นมาได้” นายสมคิดกล่าวหลังประชุมร่วมกับผู้บริหารกระทรวงคมนาคม

26 โครงการ 1.3 ล้านล้าน


ขณะที่ “อาคม เติมพิทยาไพสิฐ” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวเพิ่มเติมว่า โครงการลงทุนที่นายสมคิดเร่งรัดในครั้งนี้มีทั้งสิ้น 26 โครงการ รวมเม็ดเงินลงทุน 1.36 ล้านล้านบาท คาดว่าแต่ละโครงการจะทยอยเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ก.พ.-มี.ค.นี้ เร่ง บมจ.การบินไทยจัดหาเครื่องบิน 38 ลำ มูลค่า 200,000 ล้านบาทเสนอให้ ครม.อนุมัติสิ้นเดือน ก.พ.นี้ ส่วนศูนย์ซ่อมบำรุงเครื่องบิน (MRO) ที่สนามบินอู่ตะเภา วงเงิน 4,294 ล้านบาท เร่งบินไทยเจรจากับแอร์บัสกรุ๊ปให้ได้ความคืบหน้าเร็วที่สุดเพื่อเสนอ ครม.

เค้น 4 โปรเจ็กต์ ทอท.

ให้ บมจ.ท่าอากาศยานไทย (ทอท.) เร่งรัด 4 โครงการสำคัญ ได้แก่ เร่งเบิกจ่ายงานก่อสร้าง อาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 1 และส่วนต่อเชื่อมอุโมงค์ด้านทิศใต้ สนามบินสุวรรณภูมิ เฟส 2 เงินลงทุน 16,176 ล้านบาทพัฒนาสนามบินเชียงใหม่แห่งที่ 2 วงเงิน 60,000 ล้านบาท อยู่ระหว่างเสนอกระทรวงพิจารณาควบคู่ไปกับเร่งทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) ให้แล้วเสร็จก่อนเสนอให้ ครม.เห็นชอบต่อไป

เดินหน้าสนามบินสุวรรณภูมิ เฟส 2 ก่อสร้างทางวิ่งเส้นที่ 3 19,422 ล้านบาท ส่วนขยายอาคารผู้โดยสารด้านทิศตะวันออก 8,000 ล้านบาทตามแผนแม่บทเดิมปี 2553

ปิดดีลแหลมฉบัง-ไฮสปีด EEC

ส่วนทางน้ำมี 2 โครงการ คือ ท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 ท่าเทียบเรือ F วงเงิน 84,361 ล้านบาท การท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) เปิดให้ซื้อซองใหม่ มีเอกชนซื้อ 34 ราย จะให้สรุปผลการคัดเลือก มี.ค.นี้ และปรับปรุงท่าเรือระนอง 1,000 ล้านบาท กำลังจัดซื้อจัดจ้าง

ขณะที่โปรเจ็กต์รถไฟความเร็วสูง 3 เส้นทาง ในส่วนรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา) ระยะทาง 220 กม. เงินลงทุน 224,544 ล้านบาท ขั้นตอนการเจรจากับกลุ่มกิจการร่วมค้าบริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตรจะต้องแล้วเสร็จภายในเดือน ก.พ.นี้ เพื่อให้เป็นไปตามกรอบที่คณะกรรมการอีอีซีได้วางเอาไว้

ไทย-จีนคลอด TOR 5 สัญญา

ส่วนรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา เงินลงทุน 179,412 ล้านบาท ในเร็ว ๆ นี้จะเซ็นสัญญาที่ 2 ช่วงสีคิ้ว-กุดจิก ระยะทาง 11 กม. กับบริษัท ซีวิลเอ็นจิเนียริ่ง จำกัด เสนอราคาต่ำสุด 3,115 ล้านบาท อีก 12 สัญญาค่าก่อสร้างกว่า 100,000 ล้านบาท ล่าสุดการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ออกประกาศร่างทีโออาร์ 5 สัญญา รวมระยะทาง 144 กม. เงินลงทุนรวม 58,425 ล้านบาท แล้วอีก 7 ตอนที่เหลือจะทยอยออกให้ครบภายในเดือน พ.ค.นี้

ขณะที่รถไฟความเร็วสูงช่วงกรุงเทพฯ-หัวหิน ระยะทาง 211 กม. เงินลงทุน 77,906 ล้านบาท อยู่ระหว่างปรับปรุงการจัดทำรายงาน PPP เสนอคณะกรรมการการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (บอร์ด PPP) พิจารณา และศึกษาขยายเส้นทางไปถึงสุราษฎร์ธานีเพื่อให้โครงการเกิดความคุ้มค่า

ทางคู่ 8 เส้น มี.ค.มาแน่

ด้านรถไฟทางคู่เฟส 2 จำนวน 8 เส้นทาง 1,851 กม. วงเงิน 340,129 ล้านบาท “อาคม” แจกแจงว่า คืบหน้ามากที่สุด คือ บ้านไผ่-มุกดาหาร-นครพนม 355 กม. 67,965 ล้านบาท จะเสนอ ก.พ.นี้

อีก 7 เส้นทาง จะเสนอ ครม.ได้ ก.พ.-มี.ค. ได้แก่ ขอนแก่น-หนองคาย 26,654 ล้านบาท, จิระ-อุบลราชธานี 37,523 ล้านบาท, ปากน้ำโพ-เด่นชัย 62,848 ล้านบาท, เด่นชัย-เชียงใหม่ 56,826 ล้านบาท, ชุมพร-สุราษฎร์ธานี 24,287 ล้านบาท, สุราษฎร์ธานี-สงขลา 57,369 ล้านบาท และหาดใหญ่-ปาดังเบซาร์ 6,657 ล้านบาท

รถไฟฟ้าจ่อเข้า ครม.

ในส่วนของรถไฟฟ้าในกรุงเทพฯและปริมณฑลสายสีส้มตะวันตก ช่วงบางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมฯ ระยะทาง 13.4 กม. เงินลงทุน 120,459 ล้านบาท อยู่ระหว่างการพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เพื่อเสนอ ครม.ให้ความเห็นชอบก่อนจะจัดตั้งคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 35 แห่ง พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ 2556

สายสีแดง 3 เส้นทาง ได้แก่ สายสีแดงเข้มช่วงรังสิต-ม.ธรรมศาสตร์ ระยะทาง 8.84 กม. เงินลงทุน 6,570 ล้านบาท, สายสีแดงอ่อน ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา ระยะทาง 14.8 กม. เงินลงทุน 10,202 ล้านบาท และช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช ระยะทาง 5.7 กม. เงินลงทุน 7,469 ล้านบาท ในส่วน 2 สายแรก อยู่ระหว่างบรรจุวาระเข้า ครม.

เร่งงาน ทล.-กทพ.

“ยังมี 2 โครงการลงทุนที่รองนายกฯสมคิดให้ความสำคัญ คือ การเวนคืนมอเตอร์เวย์บางใหญ่-กาญจนบุรี จะขอ ครม.ขยายกรอบค่าเวนคืน 8,000 ล้านบาท กำชับให้กรมทางหลวงเร่งทำข้อมูลเสนอบอร์ดสภาพัฒน์ และสำนักงบประมาณเห็นชอบก่อนจะเสนอ ครม.อนุมัติโดยเร็วที่สุด”

นอกจากนี้ กำชับให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ประมูลทางด่วนช่วงพระราม 3-ดาวคะนอง 31,244 ล้านบาท ให้เสร็จเดือน ก.พ.นี้ หลังได้เงินลงทุนจากกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทย (TFF) แล้ว จะช้าไม่ได้เด็ดขาด

โปรเจ็กต์ปิดท้ายจัดหารถเมล์จำนวน 3,000 คันขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) วงเงินรวม 12,000 ล้านบาท ตอนนี้กำลังรับมอบรถเมล์ NGV ใหม่จำนวน 489 คัน วงเงิน 4,261 ล้านบาท โดยจะรับมอบครบทั้งหมดในช่วงเดือน ก.พ.-กลางเดือน มี.ค.นี้

ส่วนที่เหลือ 2,511 คัน วงเงิน 7,731 ล้านบาท จะเสนอ ครม.ภายในเดือน มี.ค.นี้

ทุกโครงการมีไทม์ไลน์ชัดเจน หากสับเกียร์เดินหน้าเต็มสูบ ผูกโครงการไว้ก่อนหมดวาระ เชื่อว่าน่าจะได้รับการเดินหน้ามากกว่าที่จะถูกรื้อยกแผง
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 04/03/2019 1:44 am    Post subject: Reply with quote

นำร่อง "สมาร์ทบัส" เส้นแรก! เชื่อม 2 ท่าเรือ - ฮับรถไฟฟ้า 3 สายนนทบุรี
ออนไลน์เมื่อ 03 มีนาคม 2562
ตีพิมพ์ใน หน้า 12 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
ฉบับ 3449 ระหว่างวันที่ 3 - 6 มีนาคม 2562

Click on the image for full size
ประเดิมขนส่งมวลชนรองเส้นแรก "สมาร์ทบัส" ของ RTC 33 กม. ป้อนสายสีม่วง 5 พันคนต่อวัน จุดเด่นเชื่อม 2 ท่าเรือนนทบุรี-ปากเกร็ด รวมฮับรถไฟฟ้า 3 สายที่แคราย ไปยังสถานีกลางบางซื่อรวดเร็วขึ้น ดีเดย์เริ่มให้บริการวันที่ 10 เม.ย. นี้

นายภานุ แย้มศรี ผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี เปิดเผย "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า ร่วมกับ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) มอบหมายให้ บริษัท รีเจียนนอลทรานซิท โคเปอร์เรชั่น จำกัด หรือ RTC เปิดบริการเส้นทางขนส่งมวลชนรอง (Feeder System) สายแรกของ จ.นนทบุรี ในเส้นทาง "ราชพฤกษ์-ติวานนท์-แคราย-ท่านํ้านนท์" ระยะทาง 33 กิโลเมตร


"เส้นทางสายแรกนี้ ผ่านสถานที่สำคัญ ๆ ทั้งพื้นที่ศูนย์เศรษฐกิจและหน่วยราชการ ได้แก่ กระทรวงสาธารณสุข ท่านํ้านนทบุรี ท่านํ้าปากเกร็ด เมเจอร์ปากเกร็ด สถานีขนส่งนนทบุรี ตลาด 18 คอร์ด ห้างบิ๊กซีติวานนท์ สำหรับสถานีรถไฟฟ้าสายสีม่วงที่โครงข่ายรถบัสผ่าน ได้แก่ สถานีกระทรวงสาธารณสุข สถานีบางรักน้อย-ท่าอิฐ และสถานีไทรม้า และในอนาคตยังจะมีรถไฟฟ้าสายสีนํ้าตาลและสายสีชมพูผ่านในพื้นที่ช่วงแยกแครายอีกด้วย"

ด้าน นายฐาปนา บุณยประวิตร กรรมการผู้จัดการ RTC กล่าวว่า ได้รับอนุญาตอย่างเป็นทางการจาก จ.นนทบุรี เรียบร้อยแล้ว โดยในการให้บริการของ RTC นั้น เป้าหมายเพื่อป้อนคนเข้าสู่รถไฟฟ้าสายสีม่วงของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ให้ได้ไม่น้อยกว่า 5 พันคนต่อวัน โดยในช่วงปีแรกประมาณการไว้ 3 พันคนต่อวัน ปีที่ 2 ได้ 5 พันคนต่อวัน

นอกจากนั้น ยังมีเป้าหมายในการเชื่อมต่อการเดินทางทางเรือกับรถไฟฟ้าให้เกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพื่อให้ประชาชนจากท่านํ้านนทบุรีและท่าเรือปากเกร็ดไปยังสถานีกระทรวงสาธารณสุข หรือ เดินทางต่อไปยังสถานีกลางบางซื่อ และใจกลางของกรุงเทพฯ ได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นการเติมประสิทธิภาพและความสามารถในการเชื่อมต่อการเดินทาง (Connectivity) การเดินทางมากขึ้น โดยกำหนดราคาบริการราคาเดียว 24 บาท

"กำหนดเริ่มเปิดให้บริการตั้งแต่วันที่ 10 เม.ย. นี้เป็นต้นไป สำหรับการบริการในเส้นทางนี้ RTC ใช้รถบัสประเภทพื้นชานตํ่า (Low-floor Transit Bus) จำนวน 12 คัน โดยวิ่งสวนทางวนซ้ายและวนขวา มีป้ายจอดรถ จำนวน 56 ป้าย ให้บริการทุกวันในเวลา 06.00-23.00 น. โดยร่วมมือกับ Viabus ติดตั้งซอฟต์แวร์ระบบติดตามตำแหน่งรถ นอกจากนั้น รถซึ่งเป็นสมาร์สบัสจะมีระบบมาตรฐาน ทั้งอินเตอร์เน็ต ไว-ไฟ พร้อมกล้องวงจรปิดในรถทุกคัน"
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 04/03/2019 10:36 am    Post subject: Reply with quote

“ตั๋วร่วมแมงมุม”สะดุดผลปย.ทับซ้อน ติงรัฐเอื้อกรุงไทย-ส่อหลุดเป้าธ.ค.62
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: จันทร์ที่ 4 มีนาคม 2562 เวลา 09:38




ระบบตั๋วร่วมแมงมุม สุดอืด ติงรฟม. ไม่เป็นธรรมเอื้อประโยชน์กรุงไทย สงสัยมีผลประโยชน์ทับซ้อนหรือไม่ แนะรฟม.จ้างพัฒนาระบบเอง สร้างมาตรฐานกลาง ดึงทุกแบงก์เข้าร่วมบนฐานเดียวกัน ใช้เงินและเวลาน้อยกว่า

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าระบบตั๋วร่วมว่า ขณะนี้ ธนาคารกรุงไทย อยู่ระหว่างพูดคุยกับสถาบันการเงิน ธนาคารต่างๆ ในด้านการเงิน เพื่อเข้าร่วมโครงการ โดยจะมีการพัฒนาระบบจาก แมงมุม เวอร์ชั่น 2.5 ซึ่งเป็นระบบปิด (Closed Loop) เป็นแมงมุม 4.0 ซึ่งเป็นระบบเปิด (Open Loop) เป็นเทคโนโลยีใหม่ที่ใช้งานผ่านบัตร EMV (Euro/ Master/ Visa Card ) ซึ่งกระทรวงคมนาคมกำหนดเป้าหมาย ให้เปิดใช้ในเดือน ธ.ค. 2562

โดยในส่วนของผู้ประกอบการแต่ละรายจะต้อง ปรับปรุงระบบจาก เวอร์ชั่น 2.5 ให้รองรับระบบ 4.0 ซึ่งรถไฟฟ้าMRT สายสีม่วง ฉลองรัชธรรม(ช่วงเตาปูน – บางใหญ่) รฟม.จะดำเนินการเอง ดยคาดว่าจะใช้เงินลงทุนปรับปรุงหัวอ่านทั้ง 17 สถานีประมาณ 50 ล้านบาท ส่วน รถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน เฉลิมมหานคร (ช่วงหัวลำโพง – บางซื่อ-ท่าพระ -หลักสอง ) ซึ่งเป็นสัญญาร่วมทุน PPP Net Cost บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM จะเป็นผู้ดำเนินการปรับปรุงทั้งหมด 38 สถานี คาดว่าจะลงทุนกว่า 100 ล้านบาท

สำหรับ รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์นั้น ได้ดำเนินการปรับแผนติดตั้งหัวอ่าน พัฒนาซอฟต์แวร์ระบบตั๋วร่วม จากเวอร์ชัน 2.5เป็น 4.0 ส่วนรถไฟฟ้า บีทีเอสนั้น จากการเจรจาที่ผ่านมา บีทีเอสยังปฎิเสธที่จะเข้าร่วม แต่ระบบที่รับบัตร EMV เป็นระบบเปิดซึ่งบีทีเอสสามารถพัฒนาและเข้าร่วมได้ ทั้งนี้ต้องยอมรับว่า การพัฒนาระบบตั๋วร่วมของรัฐ เป็นภาคสมัครใจ ไม่ได้บังคับ ซึ่งบีทีเอสอยู่ภายใต้การกำกับสัญญาของกรุงเทพมหานคร(กทม.) ไม่ได้ขึ้นตรงกับกระทรวงคมนาคม

แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า มีแนวโน้มสูงที่จะไม่สามารถพัฒนาระบบแมงมุม 4.0 ให้ใช้ได้ทันเดือนธ.ค.2562 โดยหลังจากที่คณะรัฐมนตรี(ครม.) มอบหมายให้รฟม.รับโอนหน้าที่ในการดำเนินการระบบตั๋วร่วมจาก สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.). ซึ่งต่อมา คณะกรรมการ(บอร์ด) รฟม.ได้มีมติให้ธนาคารกรุงไทยเป็นผู้ดำเนินการพัฒนาระบบโดยจะมีการเซ็นสัญญาว่าจ้างเป็นเงินกว่า 800 ล้านบาท นั้น ขณะนี้ถูกตั้งคำถามว่า เป็นการดำเนินการที่ไม่เป็นธรรม ไม่โปร่งใส และเป็นการดำเนินการที่มีผลประโยชน์ทับซ้อนระหว่างรฟม.และกรุงไทย หรือไม่

เนื่องจาก รฟม.ควรเป็นผู้ดำเนินการเอง โดยสามารถว่าจ้างผู้พัฒนาระบบหลังบ้านโดยตรง และให้ธนาคารทุกแห่งเข้ามารวมบนฐานเดียวกันซึ่งการจ้างเองนอกจากใช้เงินน้อยกว่าแล้วยังใช้เวลาสั้นกว่าอีกด้วย เพราะสามารถอัฟเกรดระบบแมงมุม 2.5 ที่รฟม.มีอยู่ในขณะนี้ไปเป็น 4.0 ได้เลย และมีเคลียร์ริ่งเฮ้าท์ ของระบบที่สายสีม่วงแห่งเดียว

ขณะที่ให้กรุงไทยพัฒนาจะทำให้ มีเคลียร์ริ่งเฮ้าท์ ทั้งที่สีม่วงของรฟม.และที่กรุงไทย โดยหากเซ็นสัญญาจ้างกรุงไทยแล้ว ต้องใช้เวลาอีกประมาณ 18 เดือน เนื่องจากกรุงไทยจะต้องไปจ้างผู้พัฒนาระบบต่อเช่นกัน ใช้เวลาอย่างน้อย 5 เดือน จากนั้นเป็นการปรับปรุงระบบ 8 เดือน และทดสอบอีก 3-5 เดือน

นอกจากนี้ อัตรา ค่าธรรมเนียมการใช้บัตรระบบตั๋วร่วม ต่อ 1 ธุรกรรม ซึ่งคิดจากยอดค่าโดยสารร่วม โดยคิดอัตราค่าแรกเข้าเพียงครั้งเดียว ที่ 0.8% รายได้นี้จะแบ่งให้ธนาคารเจ้าของบัตรที่ผู้โดยสารใช้ อัตรา 0.3% และอีกส่วน เป็นของ กรุงไทยในฐานะผู้พัฒนาระบบหลังบ้าน ได้อัตรา 0.38% ส่วนรฟม.ได้ 0.12% ซึ่งหากผู้โดยสารใช้บัตรของกรุงไทย เท่ากับกรุงไทยจะได้ถึง 0.68%

“ตอนนี้ตั๋วร่วมยังมีปัญหาเพราะธนาคารต่างๆ ตั้งคำถามว่าทำไมรฟม.ไม่ทำเอง. เพราะธนาคารอื่นๆ เสียเปรียบ โดยเฉพาะเรื่องฐานลูกค้าที่จะใช้ระบบตั๋วร่วม ผ่าน Master/ Visa Card ขณะที่

อยากให้ภาครัฐสร้างระบบที่มีความยุติธรรมกับผู้ให้บริการทุกราย เรื่องการคมนาคมขนส่ง รฟม. รู้และมีข้อมูลความตัองการของผู้โดยสารดีกว่าจึงควรทำเอง”
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 06/03/2019 10:35 pm    Post subject: Reply with quote

บูมคนเมืองนั่งรถไฟฟ้า ตั้งเป้ายอดใช้พุ่ง2.7ล้านคนใน5ปี
6 มีนาคม 2562

นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รมช.คมนาคม เปิดเผยว่า ระบบขนส่งมวลชนทางรางภายในเมืองหลวงเป็นปัจจัยหลักในการแก้ไขปัญหารถติดอย่างยั่งยืน ในอนาคตอาจมีการส่งเสริมให้หน่วยงานราชการและบริษัทเอกชนแจกคูปองค่าโดยสารรถไฟฟ้า เพื่อจูงใจให้พนักงานใช้ระบบขนส่งสาธารณะพร้อมสิทธิพิเศษ โดยคาดการณ์เมื่อระบบรถไฟฟ้าเฟส 1 เปิดให้บริการครบทั้งหมด 10 สาย ในช่วงปี 2567-2568 ส่งผลให้มีปริมาณ ผู้โดยสารเพิ่มขึ้นเป็นวันละ 2.7 ล้านคน เพิ่มขึ้น 132%

ปัจจุบันจำนวนผู้โดยสารรถไฟฟ้าภายในกรุงเทพมหานครเฉลี่ยอยู่ที่วันละ 1.16 ล้านคน แบ่งเป็น สายสีเขียว 7.4 แสนคน/วัน สายสีน้ำเงิน 4 แสนคน/วัน รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงค์ 7.5 หมื่นคน/วัน และรถไฟฟ้าสายสีม่วง 5 หมื่นคน/วัน ขณะที่การเปิดใช้รถไฟฟ้าเฟส 1 จะทำให้มียอดใช้บริการดังนี้รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายบางซื่อ-ท่าพระ และหัวลำโพง-บางแค รวม 4.9 แสนคน/วัน รถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายเหนือใต้ 3.3 แสนคน/วัน รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง 3 แสนคน/วัน รถไฟฟ้าสายสีเหลืองช่วงลาดพร้าว-สำโรง 2 แสนคน/วัน รถไฟฟ้าสายสีชมพูช่วงปากเกร็ด- มีนบุรี 1.2 แสนคน/วัน และสายสีส้มตะวันออก ช่วงศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี 1.1 แสนคน/วัน

นอกจากนี้ กระทรวงคมนาคมได้วางแผนพัฒนารถไฟฟ้าเฟส 2 เพื่อขยายรัศมีโครงข่ายของรถไฟฟ้าเพิ่มขึ้น 100% จากเดิมรัศมี 20 กิโลเมตร (กม.) เป็นรัศมี 40 กม. เน้นไปที่พัฒนาสถานีเพื่อเชื่อมต่อการขนส่งทุกรูปแบบ ทั้งรถเมล์ เรือโดยสาร และท่าอากาศยาน

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้มี 4 เส้นทางที่พร้อมดำเนินการแล้ว คาดจะเริ่มทยอยเสนอขออนุมัติเพื่อเดินหน้าโครงการได้ภายในปีนี้ ประกอบด้วย
1.รถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ช่วงแคราย-ลำสาลี วงเงิน 5 หมื่นล้านบาทนั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างสรุปข้อมูลเพื่อเสนอขออนุมัติโครงการ เพื่อเริ่มต้นก่อสร้างโครงการไปพร้อมกับทางด่วน N2 ในปีนี้
2.รถไฟฟ้าสายสีทอง ช่วงกรุงธนบุรี-แยกคลองสาน วงเงิน 2,000 ล้านบาท อยู่ระหว่างก่อสร้างเพื่อเปิดใช้ต่อไป 3.รถไฟฟ้าสายสีเทา ช่วงรามอินทรา-พระราม 3 จะก่อสร้างเฟสแรกช่วงรามอินทรา-พระราม 9 และ
4.เส้นทางเดินเรือด่วนเจ้าพระยา ช่วงสำโรง-ปากเกร็ด

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม กล่าวว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบโครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดงอ่อน ช่วงตลิ่งชันศิริราช วงเงิน 6,600 ล้านบาท ระยะทาง 5.7 กม. โดยหลังจากนี้จะนำเข้าสู่ขั้นตอนการประกวดราคาต่อไป เพื่อให้ได้ตัวเอกชนและก่อสร้างภายในปี 2562 ไปพร้อมกับโครงการรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีแดงอีก 2 สาย และรถไฟฟ้าสาย สีแดง ช่วงมิสซิ่งลิงค์อีก 2 สาย ใช้เวลาก่อสร้างทั้งหมด 5 ปี และเปิดบริการพร้อมกันในปี 2567

ขณะที่ นายณัฐพร จาตุศรีพิทักษ์ โฆษกประจำรองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ กล่าวว่า กระทรวงคมนาคมได้รายงานให้ ครม.ทราบถึงผลการประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน ครั้งที่ 24-26 พ.ค.-พ.ย. 2561 โดยทั้งสองฝ่ายรับทราบความคืบหน้าการก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน กรุงเทพฯ-หนองคาย ซึ่งระยะที่ 1 กรุงเทพฯ-นครราชสีมา แบ่งเป็นทั้งหมด 14 สัญญา ขณะนี้เริ่ม ต้นไปแล้ว 2 สัญญา โดยสัญญาแรก กลางดง-ป่าอโศก ระยะทาง 3.5 กม. ดำเนินการไปแล้ว 45% ส่วนสัญญาที่ 2 ช่วงสีคิ้ว-กุดจิก ระยะทาง 11 กม. ได้ผู้ชนะการประมูลแล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างเตรียมการลงนาม ส่วนอีก 14 สัญญา วงเงินลงทุนประมาณ 1.1 แสนล้านบาท จะเริ่มการประมูลในเดือน มิ.ย. 2562 และคาดว่าจะเริ่มเปิดให้บริการได้ในปี 2566 เป็นต้นไป
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 06/03/2019 11:30 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
นำร่อง "สมาร์ทบัส" เส้นแรก! เชื่อม 2 ท่าเรือ - ฮับรถไฟฟ้า 3 สายนนทบุรี
ออนไลน์เมื่อ 03 มีนาคม 2562
ตีพิมพ์ใน หน้า 12 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
ฉบับ 3449 ระหว่างวันที่ 3 - 6 มีนาคม 2562


นนทบุรี จ่อเปิดระบบขนส่งมวลชนรองสายแรก เส้น ‘ราชพฤกษ์-ติวานนท์’ เชื่อมการเดินทาง
พร็อพเพอร์ตี้
วันที่ 6 มีนาคม 2562 21:08 น.

เมื่อเวลา 15.30 น. วันที่ 6 มีนาคม ที่ห้อง Peridot ชั้น 3 โรงแรมริชมอนด์ อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี นายภานุ แย้มศรี ผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี พร้อมด้วยนายถนอม รัตนเศรษฐ ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาและบริหารพื้นที่ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย นายภูวนารถ ยกฉวี รองกรรมการผู้จัดการบริษัท รีเจียนนอล ทรานซิสท์ คอร์เปอร์เรชั่น จำกัด และนายวิศิษฎ์ มูลทรัพย์ รองกรรมการผู้จัดการบริษัท บางกอก สมาร์ทการ์ด ซิสเทม จำกัด ร่วมแถลงข่าว “การเปิดบริการระบบขนส่งมวลชนรอง สายแรกของจังหวัดนนทบุรี (ถนนราชพฤกษ์-ติวานนท์)” โดยมีนายชลธี ยังตรง รองผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี หัวหน้าส่วนราชการ หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี นายกเทศมนตรีนครนนทบุรี รองนายกเทศมนตรีนครปากเกร็ด ภาคเอกชน ภาคประชาชน และสื่อมวลชนจำนวนมากร่วมรับฟังการแถลงข่าวและสอบถามในประเด็นที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งร่วมรับชมสาธิตการใช้อุปกรณ์บนรถโดยสารสาธารณะที่จะนำมาใช้ให้บริการประชาชน

นายภานุกล่าวว่า จังหวัดนนทบุรีเป็นเมืองที่อยู่อาศัยชั้นดี มีประชาชนพักอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก สิ่งที่ตามมา คือ ปัญหาการจราจรติดขัด โดยเฉพาะในช่วงเวลาเร่งด่วนเช้าและเย็น ซึ่งแม้ว่าจะมีรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม รถไฟฟ้าสายสีม่วง ผ่านในพื้นที่จังหวัดนนทบุรี แต่รัศมีการให้บริการของรถไฟฟ้าดังกล่าวอยู่ในบริเวณจำกัด และยังขาดการเชื่อมต่อการขนส่งประเภทอื่น ประชาชนจำนวนมากจึงยังเดินทางโดยรถยนต์ส่วนบุคคลเป็นสำคัญ ปัญหาการจราจรติดขัดจึงยังไม่เบาบางลงเท่าไรนัก ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีระบบขนส่งมวลชนรอง (Feeder System) เพื่อรับประชาชนมาส่งขึ้นรถไฟฟ้าได้อย่างสะดวกสบาย ซึ่งรถโดยสารสาธารณะดังกล่าวควรจะต้องมีคุณภาพสูง มีเทคโนโลยีและระบบของซิตี้บัส (City Bus) เพื่อจูงใจให้ประชาชนสนใจใช้บริการรถโดยสารสาธารณะเพิ่มขึ้น ลดการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล อันจะช่วยบรรเทาปัญหาการจราจรติดขัดได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้ ระบบขนส่งมวลชนรองสายแรกของจังหวัดนนทบุรี ถนนราชพฤกษ์-ติวานนท์ คาดว่าจะเปิดให้บริการแก่ประชาชนในวันที่ 19 เมษายน 2562
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 07/03/2019 6:11 pm    Post subject: Reply with quote

ตารางเปิดเดินรถไฟฟ้า (2562 - 2564):

1. ปี 2562
1.1. สิงหาคม (ส่วนต่อขยาย) BTS สายสีเขียวเข้ม ช่วงหมอชิต–ห้าแยกลาดพร้าว
หมอชิต (เปิดแล้ว)
ห้าแยกลาดพร้าว

1.2. กันยายน (ส่วนต่อขยาย) สายสีน้ำเงิน หัวลำโพง–หลักสอง
หัวลำโพง (เปิดแล้ว)
วัดมังกร
วังบูรพา
สนามไชย
อิสรภาพ
ท่าพระ
บางไผ่
บางหว้า (เชื่อมสถานีบางหว้าบีทีเอส)
เพชรเกษม
ภาษีเจริญ
บางแค
หลักสอง

1.3. ธันวาคม (ส่วนต่อขยาย) สายสีน้ำเงิน เตาปูน–สิรินธร
เตาปูน (เปิดแล้ว)
บางโพ
บางอ้อ
บางพลัด
สิรินธร - ไปแยกซังฮี้ลงที่นี่ได้

2. ปี 2563
2.1. มีนาคม สายสีน้ำเงิน ช่วงเตาปูน–ท่าพระ
เตาปูน (เปิดแล้ว)
บางโพ
บางอ้อ
บางพลัด
สิรินธร
บางยี่ขัน
บางขุนนนท์
แยกไฟฉาย
จรัญสนิทวงศ์ 13
ท่าพระ

2.2 ธันวาคม BTS สายสีเขียวเข้ม ช่วงห้าแยกลาดพร้าว-แยกเกษตร
ห้าแยกลาดพร้าว
พหลโยธิน 24
รัชโยธิน
เสนานิคม
แยกเกษตร

2.3 ปลายปี สายสีทอง กรุงธนบุรี–คลองสาน
กรุงธนบุรี
เจริญนคร (ไอคอนสยาม)
คลองสาน
สะพานพุทธ

3. ปี 2564
3.1. มกราคม สายสีแดงอ่อน ช่วงตลิ่งชัน–บางซื่อ
ตลิ่งชัน (เปิดแล้ว)
บางบำหรุ (เปิดแล้ว)
บางกรวย–กฟผ.
สะพานพระราม 6
บางซ่อน
บางซื่อ

3.2. มกราคม สายสีแดงเข้ม ช่วงบางซื่อ–รังสิต
บางซื่อ
จตุจักร
วัดเสมียนนารี
บางเขน
ทุ่งสองห้อง
หลักสี่
การเคหะ
ดอนเมือง
หลักหก
รังสิต

3.3. (ไม่ระบุ) สายสีชมพู ศูนย์ราชการนนทบุรี–มีนบุรี
ศูนย์ราชการนนทบุรี
แคราย
สนามบินน้ำ
สามัคคี
ชลประทาน
ปากเกร็ด
เลี่ยงเมืองปากเกร็ด
แจ้งวัฒนะ–ปากเกร็ด 28
เมืองทองธานี
ศรีรัช
เมืองทอง 1
ศูนย์ราชการฯ
ทีโอที
หลักสี่
ราชภัฏพระนคร
วงเวียนหลักสี่
รามอินทรา 3
ลาดปลาเค้า
รามอินทรา 31
มัยลาภ
วัชรพล
รามอินทรา 40
คู้บอน
รามอินทรา 83
วงแหวนตะวันออก
นพรัตนราชธานี
บางชัน
เศรฐบุตรบำเพ็ญ
ตลาดมีนบุรี
มีนบุรี

3.4. (ไม่ระบุ) สายสีเหลือง ลาดพร้าว–สำโรง
รัชดา–ลาดพร้าว
ภาวนา
โชคชัย 4
ลาดพร้าว 65
ฉลองรัช
วังทองหลาง
ลาดพร้าว 101
บางกะปิ
ลำสาลี
ศรีกรีฑา
พัฒนาการ
คลองกลันตัน
ศรีนุช
ศรีนครินทร์ 38
สวนหลวง ร.9
ศรีอุดม
ศรีเอี่ยม
ศรีลาชาล
ศรีแบริ่ง
ศรีด่าน
ศรีเทพา
ทิพวัล
สำโรง

3.5. ธันวาคม BTS สายสีเขียวเข้ม ช่วงมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์–คูคต
แยกเกษตร
กรมป่าไม้
บางบัว
กรมทหารราบที่ 11
วงเวียนหลักสี่
พหลโยธิน 59
สายหยุด
สะพานใหม่
โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช
พิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศ
ก.ม. 25
คูคต
https://www.mangozero.com/mass-transit-next-3-year/
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 193, 194, 195 ... 278, 279, 280  Next
Page 194 of 280

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©