RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311238
ทั่วไป:13181710
ทั้งหมด:13492948
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวเกี่ยวกับรถไฟฟ้า BTS
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวเกี่ยวกับรถไฟฟ้า BTS
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 85, 86, 87 ... 155, 156, 157  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> รถไฟฟ้า (BTS) และรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT)
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 25/02/2019 6:38 pm    Post subject: Reply with quote

อย่าเกาผิดที่คัน! ค่ารถไฟฟ้า BTS ถูกที่สุด ส่วนของรัฐแพงสุด
ช่องวัน
ประจำวันที่ 26 มกราคม 2562

ก่อนหน้านี้มีพรรคการเมืองเริ่มทยอยหาเสียง โดยบางพรรค ได้พาขุนพลสมาชิกไปขึ้นรถไฟฟ้าบีทีเอส สำรวจการเดินทางด้วยรถสาธารณะ และชูประเด็นจะลดค่าโดยสารลงให้ได้จากปัจจุบัน เนื่องจากมีเสียงกร่นด่าในโลกโซเชียลออกมาสม่ำเสมอว่า ค่ารถไฟฟ้า BTS แพงเกินไปไม่เหมาะสมกับค่าครองชีพ จนกลายเป็นอีกหนึ่งประเด็นยอดฮิตที่ถูกหยิบมาถกกันไม่ถ้วนในรอบหลายปีที่ผ่านมา

ทีมข่าวช่องวัน พบว่า ในความเป็นจริงแล้วระบบรถไฟฟ้าสายสุขุมวิท ช่วงหมอชิต-อ่อนนุช และสายสีลม ช่วงสนามกีฬาแห่งชาติ – วงเวียนใหญ่ ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ บีทีเอส ค่าโดยสารปัจจุบันอยู่ที่ 16-44 บาท และยังมีโปรโมชั่นตั๋วเติมเที่ยวสำหรับผู้ใช้บริการประจำ โดยเฉพาะกลุ่มมนุษย์เงินเดือน

สำหรับบุคคลทั่วไป

15 เที่ยว 465 บาท เฉลี่ย 31 บาท/เที่ยว
25 เที่ยว 725 บาท เฉลี่ย 29 บาท/เที่ยว
40 เที่ยว 1,080 บาท เฉลี่ย 27 บาท/เที่ยว
50 เที่ยว 1,300 บาท เฉลี่ย 26 บาท/เที่ยว

สำหรับนักเรียน นักศึกษา

15 เที่ยว 360 บาท เฉลี่ย 24 บาท/เที่ยว
25 เที่ยว 550 บาท เฉลี่ย 22 บาท/เที่ยว
40 เที่ยว 800 บาท เฉลี่ย 20 บาท/เที่ยว
50 เที่ยว 950 บาท เฉลี่ย 19 บาท/เที่ยว

สำหรับส่วนต่อขยายสายสุขุมวิท ช่วงบางจาก-สำโรง และสายสีลม ช่วงโพธิ์นิมิตร-บางหว้า ซึ่งเป็นของกรุงเทพมหานคร ปัจจุบันจะมีการเรียกเก็บเงินเพิ่มอีก 15 บาท เข้ากระเป๋าของ กทม. โดยหากผู้ใช้ประจำในเส้นทางส่วนต่อขยายเติมเที่ยวโดยสารอยู่แล้ว จะจ่ายค่าโดยสารเพิ่มอีก 15 บาทสำหรับบุคคลทั่วไป และ 10 บาทสำหรับนักเรียนนักศึกษา

นั่นหมายความว่า หากเดินทางเป็นประจำด้วยระบบรถไฟฟ้าบีทีเอสที่ไม่ใช่ส่วนต่อขยาย บุคคลทั่วไปควรเลือกที่จะเติมเที่ยวโดยสารเป็นจำนวน 50 เที่ยวต่อเดือน เพราะจะทำให้เสียค่าเดินทางสูงสุดเพียง 26 บาทต่อเที่ยวเท่านั้น หรือหากเป็นนักศึกษาเดินทางเป็นประจำทุกวัน ก็จะเสียค่าโดยสารเพียง 19 บาทต่อเที่ยว แต่เมื่อหันมาดูระบบขนส่งมวลชนอื่นๆ ที่อยู่ในกำมือของภาครัฐ จะพบว่าไม่มีโปรโมชั่นสนับสนุนดึงดูดให้คนใช้บริการสักรายเดียว อาทิ

รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ พญาไท – สุวรรณภูมิ ที่อยู่ภายใต้การกำกับโดยการรถไฟแห่งประเทศ (รฟท.) มีค่าโดยสารอยู่ที่ 15-45 บาท ไม่มีส่วนลดสำหรับผู้เดินทางประจำ แต่ยังมีส่วนลดพิเศษสำหรับนักเรียน นักศึกษา และผู้สูงอายุ

รถไฟฟ้ามหานคร สายสีน้ำเงิน หัวลำโพง-เตาปูน ที่อยู่ภายใต้การกำกับโดยการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) มีค่าโดยสาร 16-42 บาท ไม่มีส่วนลดสำหรับผู้เดินทางประจำ แต่ยังมีส่วนลดพิเศษสำหรับนักเรียน นักศึกษา และผู้สูงอายุ

รถไฟฟ้าสายสีม่วง คลองบางไผ่-เตาปูน ที่อยู่ภายใต้การกำกับโดยการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) มีค่าโดยสาร 14-42 บาท ซึ่งหากเดินทางข้ามสายระหว่างสายสีน้ำเงินและสีม่วง จะมีอัตราค่าโดยสารสูงสุดที่ 70 บาท ไม่มีส่วนลดสำหรับบุคคลทั่วไป แต่ยังมีส่วนลดพิเศษสำหรับนักเรียน นักศึกษา และผู้สูงอายุ เช่นเดียวกับสายอื่นๆ

อย่างไรก็ตาม มีรายงานว่า รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน หัวลำโพง-บางซื่อ อดีตเคยมีตั๋วโปรโมชั่นที่หลากหลาย ทั้งตั๋วประเภท 1 วัน 3 วัน และ 30 วันไม่จำกัดเที่ยว รวมไปถึงโปรโมชั่นเติมเที่ยวโดยสารต่างๆ แต่ก็ถูกยกเลิกออกไปจนหมด เหลือเพียงแต่ราคาในปัจจุบัน ที่ไม่ว่าจะใช้บัตรโดยสาร หรือ หยอดเหรียญ ก็ไม่มีความแตกต่างในด้านค่าโดยสารแม้แต่สตางค์เดียว ส่งผลให้ผู้ที่เคยใช้บริการ มองหาทางเลือกอื่นๆ ในการเดินทาง


เมื่อเย็นวันศุกร์ที่ผ่านมา (25 ม.ค.) ทีมข่าวช่องวัน ได้ไปสังเกตเห็นพบว่า คิวรถตู้จตุจักร-บางใหญ่ ยังคงแออัดไปด้วยผู้โดยสารที่ยืนต่อคิวจำนวนมากเช่นเดิม จากการสอบถามบางส่วนให้เหตุผลว่า ที่พักอาศัยไม่ใกล้กับสถานีรถไฟฟ้า แต่รถตู้สามารถเลือกลงจุดที่ใกล้พักอาศัยได้ และรถตู้ยังมีค่าโดยสารที่ถูกกว่า ขณะที่บางคนก็นั่งไปลงกลางทาง เช่น งามวงศ์วาน ที่ไม่มีรถไฟฟ้าผ่าน หรือแม้แต่บางรายก็เลือกที่จะไปใช้บริการรถประจำทางอย่างสาย 134 ที่นั่งต่อเดียวจากจตุจักรถึงบางใหญ่ในราคา 19 บาท ถูกกว่ารถไฟฟ้าสายสีม่วง ที่ค่าโดยสารอยู่ที่ 49 บาท

จึงเป็นที่น่าสังเกตว่า ในยุคที่ภาครัฐออกมาสนับสนุนให้คนใช้ระบบขนส่งมวลชน เพื่อลดปัญหาฝุ่นพิษในอากาศที่นับวันยิ่งทวีความรุนแรงขึ้น แต่เหตุไฉน ระบบขนส่งมวลชนโดยเฉพาะรถไฟฟ้าที่ขนคนได้มหาศาล และอยู่ภายใต้การกำกับของภาครัฐ กลับไม่มีการลดค่าโดยสารใดๆ ทั้งที่มีอำนาจอยู่ในมือ.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 04/03/2019 3:35 pm    Post subject: Reply with quote

ไฟเขียว BTS ขึ้นค่าตั๋วส่วนต่อขยาย 16 เมษาฯ เร่งเครื่องเชื่อม’หมอชิต-เซ็นทรัลลาดพร้าว’ สิงหาฯนี้
พร็อพเพอร์ตี้
วันจันทร์ที่ 4 มีนาคม 2562 เวลา 12:41 น.


คนใช้บีทีเอสอ่วม ดีเดย์ 16 เม.ย. กทม.ไฟเขียวขึ้นค่าตั๋วส่วนต่อขยายเพิ่ม 6 บาท จาก 15 บาทตลอดสาย เป็น 15-21 บาท ขานรับเปิดวิ่ง “แบริ่ง-ปากน้ำ” เดินหน้ารวบสัมปทานสายสีเขียว ดึงเอกชนร่วมทุน PPP 30 ปี โปะหนี้แสนล้าน จ่อรื้อโครงสร้างราคาใหม่ 68 กม. 59 สถานี เก็บแรกเข้าครั้งเดียว สูงสุด 65 บาท ด้าน BTS ควัก 650 ล้าน ผุดสถานีใหม่ “ศึกษาวิทยา” เตรียมเชื่อมหมอชิต-เซ็นทรัลลาดพร้าวสิงหาฯนี้ ส่วนรถไฟฟ้าลอดเจ้าพระยา “หัวลำโพง-บางแค” ได้ใช้หลังสงกรานต์

นายสมพงษ์ เวียงแก้ว รองปลัดกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ได้ส่งรายละเอียดการเปิดประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวสายหลักและส่วนต่อขยายหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต และแบริ่ง-สมุทรปราการ ซึ่ง กทม.รับโอนจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) โดยเปิดให้เอกชนร่วมลงทุน PPP net cost 30 ปี (2562-2602) วงเงิน 127,000 ล้านบาท ให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) และคณะกรรมการ PPP พิจารณา

“ถ้าอนุมัติแล้วจะตั้งคณะกรรมการมาตรา 35 พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ เพื่อดูแนวทางจะเปิดประมูลใหม่หรือเจรจาตรง BTSC เพราะต้องรวมการเดินรถ 23.5 กม. ซึ่งสัมปทานบีทีเอสจะหมดปี 2572”

เปิด PPP โปะหนี้แสนล้าน
การร่วมทุนต้องใช้เวลาเจรจากับเอกชน เช่น การเก็บค่าโดยสารทั้งโครงการ ที่ พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าฯ กทม.ให้เก็บค่าแรกเข้าครั้งเดียวและเก็บอัตราสูงสุดไม่เกิน 65 บาท คาดปลายปีนี้จะแล้วเสร็จ แต่คงไม่ทันกับเป้าหมายที่ผู้ว่าฯ กทม.ให้เก็บค่าโดยสารใหม่ พร้อมเปิดใช้สายสีเขียวแบริ่ง-ปากน้ำ 16 เม.ย.นี้

“เปิด PPP เพราะ กทม.ไม่มีงบประมาณรับภาระค่าโครงสร้างและทรัพย์สินที่รับโอนจาก รฟม.กว่า 1.1 แสนล้านบาท ต้องให้เอกชนหาเงินชำระหนี้ให้ก่อน แล้ว กทม.คืนภายหลัง” นายสมพงษ์กล่าวและว่า

ปัจจุบัน กทม.เดินรถไฟฟ้าสายสีเขียว 2 รูปแบบคือ 1.บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (BTSC) รับสัมปทาน 23.5 กม.หมอชิต-อ่อนนุช (สายสุขุมวิท) และสนามกีฬา-สะพานตากสิน (สายสีลม) ค่าโดยสาร 16-44 บาท อีก 10 ปีสัมปทานหมด และ 2. กรุงเทพธนาคม (เคที) จ้าง BTSC เดินรถส่วนต่อขยายสะพานตากสิน-บางหว้า, อ่อนนุช-แบริ่ง, แบริ่ง-สมุทรปราการ และหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต เวลา 30 ปี หมดสัญญาปี 2585

ขึ้นค่าโดยสารส่วนต่อขยาย 6 บาท

นายพานุรักษ์ กลั่นนุรักษ์ ผู้อำนวยการสำนักการจราจรและขนส่ง (สจส.) กทม. กล่าวว่า กทม.จะปรับโครงสร้างค่าโดยสารบีทีเอสส่วนต่อขยายใหม่ ทั้งอ่อนนุช-แบริ่ง และวงเวียนใหญ่-บางหว้า จาก15 บาทตลอดสาย เป็นตามระยะทาง 15-21 บาท หรือเพิ่มขึ้นอีก 6 บาท จะเริ่มเก็บวันที่ 16 เม.ย.นี้ พร้อมเปิดใช้ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ ซึ่งผ่านคณะผู้บริหารแล้ว อยู่ระหว่างยกร่างประกาศ กทม. คาดเดือน มี.ค.จะประกาศได้



“กทม.เก็บค่าโดยสารตลอดสายมาตั้งแต่ปี 2556 โดยรับภาระแทนประชาชน ที่ต้องเก็บเพิ่มเพราะสายสุขุมวิทมีระยะทางเพิ่มอีก 13 กม.รวม 9 สถานี ที่ไปถึงปากน้ำ จึงต้องปรับโครงสร้างกันใหม่ ค่าโดยสารส่วนต่อขยายที่ กทม.ดำเนินการทั้งระบบเป็นแบบชั่วคราว เราต้องรอเอกชนรายใหม่ที่จะมารับสัมปทานทั้งโครงการ”

แหล่งข่าวจาก กทม.กล่าวว่า ค่าโดยสารใหม่ที่จะประกาศใช้วันที่ 16 เม.ย.นี้ถือเป็นโครงสร้างชั่วคราว ระหว่างรอเอกชนที่จะมารับสัมปทานเดินรถทั้งโครงการ ซึ่งต้องเก็บค่าโดยสารเริ่มต้นที่ 15-65 บาท หากยังไม่ได้เอกชน ผู้ใช้บริการบีทีเอสก็ต้องเสียค่าโดยสารตามที่กำหนด โดยเส้นทางสัมปทานบีทีเอสในปัจจุบันอยู่ที่ 16-44 บาท หากใช้ส่วนต่อขยายอ่อนนุช-แบริ่ง-สมุทรปราการ 15-21 บาท วงเวียนใหญ่-บางหว้า 15-21 บาท และหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต 15-21 บาท ถ้าได้เอกชนมาบริหารแล้วจะไม่เกิน 65 บาทตลอดสาย

“ส่วนจะเก็บสูงสุด 65 บาทในช่วงกี่สถานียังไม่ได้ข้อสรุป เพราะกลัวจะกระทบต่อผู้โดยสารที่ใช้ระยะทางสั้น ๆ แต่ผู้ที่นั่งยาวจะได้ประโยชน์ เมื่อเปิดส่วนต่อขยายครบ จะมีระยะทางรวม 68 กม. 59 สถานี คาดมีผู้โดยสาร 1.1 ล้านเที่ยวคน/วัน แยกเป็นสัมปทานบีทีเอส 23.5 กม. 23 สถานี ส่วนต่อขยายกทม.ลงทุนเอง 12.75 กม. 11 สถานี และส่วนต่อขยายรับโอน รฟม. 31.20 กม. 25 สถานี”

ส.ค.ถึงเซ็นทรัลลาดพร้าว

นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ BTSC เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า พร้อมร่วมประมูลเดินรถสายสีเขียวทั้งโครงการ แต่เรื่องค่าโดยสารสูงสุดไม่เกิน 65 บาท ต้องคุยละเอียด เช่น กทม.จะช่วยรับภาระอะไรบ้าง แต่กระบวนการ PPP ยังไม่เริ่ม ปัจจุบันบีทีเอสรับจ้าง กทม.เดินรถส่วนต่อขยายทั้งเก่าใหม่อยู่แล้ว

“หลังเปิดแบริ่ง-ปากน้ำ ส.ค.นี้ จะเปิดส่วนต่อขยายอีก 1 สถานีจากหมอชิต-เซ็นทรัลลาดพร้าว เพื่อช่วยแก้จราจรติดขัดห้าแยกลาดพร้าว แล้วปี 2563 จะเปิด 4 สถานีถึง ม.เกษตรศาสตร์ เปิดตลอดสายปี 2564”

อีกแห่งที่ก่อสร้างเพิ่มคือ สถานีศึกษาวิทยา (S4) ระหว่างสุรศักดิ์-ช่องนนทรี ซึ่งคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติอนุมัติแล้ว จะสร้างในเดือน มี.ค.นี้ ใช้เวลาสร้าง 18 เดือน แล้วเสร็จปี 2563

หุ้น AIA ผุดสถานีใหม่

“บีทีเอสลงทุนคนละครึ่งกับเอไอเอ650 ล้านบาท เราใช้เงินกองทุนโครงสร้างพื้นฐานระบบขนส่งมวลชนทางราง บีทีเอสโกรท มาสร้าง ส่วนค่าโดยสารไม่ปรับเพิ่ม เพราะสถานีนี้กำหนดไว้แต่แรกแล้ว แต่ตอนนั้นยังไม่มีความเหมาะสมที่จะสร้าง เพราะไม่คุ้มค่าจึงชะลอไปก่อน แต่ปัจจุบันสภาพพื้นที่เปลี่ยนไปมาก ที่อยู่อาศัยและอาคารสำนักงานเกิดขึ้นมาก จึงกลับมาสร้าง เพื่อลดความแออัดของสถานีช่องนนทรี”

สถานีใหม่มีระยะห่างระหว่าง 2 สถานี 1.7 กม. บริเวณปากซอยสาทร 12 คาดจำนวนเที่ยวการเดินทางเพิ่มขึ้น 9,500-12,000 เที่ยวคนต่อวัน

อนาคตมีแผนลงทุนก่อสร้างสถานีเสนาร่วม ระหว่างสถานีอารีย์-สะพานควาย ระยะทางจาก 2 สถานี 2.3 กม. อยู่หน้าสถานีตำรวจบางซื่อและธนาคารออมสิน

ลุ้นสีน้ำเงินต่อขยายเปิด เม.ย.นี้

แหล่งข่าวจาก รฟม.เปิดเผยว่า กำลังพิจารณาเปิดใช้สายสีน้ำเงินต่อขยาย หัวลำโพง-บางแค ที่วิ่งลอดแม่น้ำเจ้าพระยาเร็วขึ้นในเดือน ส.ค.นี้ หลังนายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ให้นโยบายเร่งเปิด ทั้งนี้ต้องดูความพร้อม เนื่องจากรถขบวนใหม่ที่ บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM) สั่งซื้อ 35 ขบวน จะมาถึงต้นเดือน เม.ย.นี้

“ถ้าระบบไฟฟ้าพร้อม แล้วใช้รถเก่าวิ่งก็เปิดเร็วขึ้นได้ หลังสงกรานต์ ส่วนเตาปูน-ท่าพระจะเปิด เม.ย. 2563 ค่าโดยสารเท่าเดิม 16-42 บาท แต่ช่วงทดลองอาจฟรี คาดมีผู้โดยสารกว่า 4 แสนเที่ยวคน/วัน จากปัจจุบันช่วงหัวลำโพง-บางซื่อ มีผู้ใช้บริการ 3.1 แสนเที่ยวคน/วัน”

แหล่งข่าวกล่าวว่า การเปิดใช้สายสีเขียวส่วนต่อขยาย งานก่อสร้างจะเสร็จทั้งโครงการในเดือน เม.ย.นี้ ปัจจุบันบีทีเอสทยอยติดตั้งงานระบบแล้ว ซึ่ง กทม. บีทีเอสและ รฟม.จะร่วมเปิดให้บริการก่อน 1 สถานี เดือนส.ค.นี้ จากสถานีหมอชิต-เซ็นทรัลลาดพร้าว จากนั้นเดือน ธ.ค. 2563 เปิดอีก 4 สถานี คือพหลโยธิน 24 รัชโยธิน เสนานิคม และ ม.เกษตรศาสตร์ และเดือน ก.ค. 2564 จะเปิดครบถึงสถานีคูคต รวม 16 สถานี คาดมีผู้ใช้บริการ 250,000 เที่ยวคน/วัน ส่วนแบริ่ง-สมุทรปราการ คาดมีผู้โดยสาร 97,100 เที่ยวคน/วัน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 05/03/2019 12:13 pm    Post subject: Reply with quote

กทม.รอด! ศาลยกคำฟ้องคนพิการเรียกค่าเสียหายทำลิฟต์ผู้พิการ BTS ล่าช้า
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: จันทร์ที่ 4 มีนาคม 2562 เวลา 16:09
ปรับปรุง: จันทร์ที่ 4 มีนาคม 2562 เวลา 17:08




ศาลปกครองกลาง ยกคำฟ้องคนพิการเรียกค่าเสียหาย หลัง กทม.ทำลิฟต์ผู้พิการในสถานีบีทีเอส 23 สถานีล่าช้า เหตุ กทม.รายงานปัญหาอุปสรรคศาลทราบตลอด ไม่ถือเป็นการละเมิด

วันนี้ (4 มี.ค.) ศาลปกครองกลางมีคำพิพากษายกฟ้องในคดีที่ นายสุภรธรรม มงคลสวัสดิ์ ยื่นฟ้องกรุงเทพมหานคร และคดีที่นายธีรยุทธ สุคนธวิท กับพวกรวม 430 คน ยื่นฟ้องกรุงเทพมหานคร กรณีไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่สั่งให้กรุงเทพมหานครจัดทำลิฟต์รับ-ส่งคนพิการ อุปกรณ์ และสิ่งอำนวยความสะดวกโดยตรงแก่คนพิการ ที่สถานีขนส่งทั้ง 23 สถานีของรถไฟฟ้าบีทีเอส ให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปีนับแต่มีคำพิพากษาเมื่อปี 2558 โดยศาลฯ เห็นว่า นับแต่วันที่ศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษาในคดีหมายเลขแดงที่ อ.650/2557 แม้กรุงเทพมหานคร จะได้จัดทำลิฟต์รับ-ส่งคนพิการ อุปกรณ์ และสิ่งอำนวยความสะดวกโดยตรงแก่คนพิการในสถานีขนส่งเป็นบางสถานีแล้ว แต่เมื่อกรุงเทพมหานครไม่ปฏิบัติ ตามคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดให้ครบถ้วนในสถานีขนส่งทั้ง 23 สถานี ภายใน 1 ปี นับแต่วันที่มีคำพิพากษา คือ ภายในวันที่ 21 ม.ค. 59 จึงเป็นกรณีที่กรุงเทพมหานครปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายและตามคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดล่าช้าเกินสมควร เป็นผลให้นายสุภรธรรมและนายธีรยุทธกับพวกซึ่งเป็น คนพิการ ไม่สามารถใช้ประโยชน์จากลิฟต์รับ-ส่งคนพิการ อุปกรณ์ และสิ่งอำนวยความสะดวกดังกล่าวในสถานีขนส่งทั้ง 23 สถานี เพื่อเดินทางหรือปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวันได้อย่างบุคคลทั่วไป

ตามสิทธิที่ได้รับการรับรองโดยกฎหมาย อันย่อมก่อให้เกิดความเสียหายต่อสิทธิของผู้ฟ้องคดีทั้งหมดที่ต้องได้รับความช่วยเหลือในเรื่องดังกล่าวจากรัฐ

อย่างไรก็ตาม ข้อเท็จจริงปรากฏว่า ในระหว่างที่กรุงเทพมหานครได้ดำเนินการก่อสร้างและติดตั้งลิฟต์รับ-ส่งคนพิการ อุปกรณ์ และสิ่งอำนวยความสะดวกโดยตรงแก่คนพิการในสถานีขนส่งต่างๆ เพื่อให้เป็นไปตามคำพิพากษา กรุงเทพมหานครต้องประสบปัญหาและอุปสรรคในการทำงานที่ทำให้ เกิดความล่าช้าจนเกินระยะเวลาตามคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดโดยกรุงเทพมหานครได้รายงาน ผลการดำเนินการพร้อมปัญหาอุปสรรคดังกล่าวให้สำนักบังคับคดีปกครอง สำนักงานศาลปกครองทราบเป็นระยะๆ มาโดยตลอด จึงเห็นได้ว่ากรุงเทพมหานครไม่ได้จงใจหรือประมาทเลินเล่อที่จะไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดและกรุงเทพมหานครก็ได้มีการขอจัดสรรงบประมาณ เพื่อก่อสร้างและติดตั้งลิฟต์เพิ่มเติมให้ครบทั้งสองฝั่งชานชาลา อันเป็นกรณีกรุงเทพมหานครยังคงมีแผนงานที่จะดำเนินการก่อสร้างและติดตั้งลิฟต์เพิ่มเติมให้แล้วเสร็จต่อไปดังนั้นแม้ แม้กรุงเทพมหานครจะปฏิบัติหน้าที่จัดทำลิฟต์รับ-ส่งคนพิการ อุปกรณ์ และสิ่งอำนวยความสะดวกโดยตรงแก่คนพิการตามคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดล่าช้าเกินสมควร แต่เมื่อเหตุดังกล่าวมิได้เกิดจากการจงใจหรือประมาทเลินเล่อของกรุงเทพมหานคร จึงไม่ครบองค์ประกอบตามกฎหมายที่จะถือว่ากรุงเทพมหานครกระทำละเมิดต่อนายสุภรธรรรม และนายธีรยุทธกับพวก ดังนั้นกรุงเทพมหานครจึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่นายสุภรธรรรม และนายธีรยุทธกับพวก
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 06/03/2019 12:27 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
กทม.รอด! ศาลยกคำฟ้องคนพิการเรียกค่าเสียหายทำลิฟต์ผู้พิการ BTS ล่าช้า
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: จันทร์ที่ 4 มีนาคม 2562 เวลา 16:09
ปรับปรุง: จันทร์ที่ 4 มีนาคม 2562 เวลา 17:08


ศาลฯ ยกฟ้อง กทม.ไม่ต้องชดใช้คนพิการ กรณีไม่ติดตั้งลิฟต์ ฯลฯ บีทีเอส ครบทุกสถานี
สังคม
เขียนโดย Workpoint News
จันทร์ที่ 4 มีนาคม 2562



ศาลปกครองกลางยกฟ้อง กทม.ไม่ต้องชดใช้ค่าเสียหาย 1,400 ล้านบาท กรณีไม่ติดตั้งลิฟต์และสิ่งอำนวยความสะดวกให้กับคนพิการ ที่สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส ครบทั้ง 23 สถานี

วันที่ 4 มี.ค. 62 ศาลปกครองกลาง มีคำพิพากษาให้ยกฟ้อง กรุงเทพมหานคร ฐานละเมิดไม่จัดสิ่งอำนวยความสะดวก ในสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส ให้คนพิการเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ ตามคำสั่งศาลปกครองสูงสุด ที่กำหนดให้ กทม.ต้องดำเนินการให้เสร็จภายในต้นปี 2559



เนื่องจากเห็นว่า ระหว่างการฟ้องดำเนินคดี กทม.ได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง แต่ติดปัญหาหลายประการ

ด้านเครือข่ายคนพิการ ยืนยันว่า จะเดินหน้าอุทธรณ์ ตามกำหนดเวลา 30 วัน เนื่องจากเห็นว่า แม้ศาลจะมีคำพิพากษาว่า กทม.ไม่มีเจตนาและจงใจที่จะไม่ดำเนินการ แต่จากปัญหาที่ผ่านมา เครือข่ายฯ เห็นว่า ตลอดระยะเวลาที่เรียกร้องมากว่า 20 ปี กทม.ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐ จงใจละเลยต่อการสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกให้คนพิการ
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44335
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 07/03/2019 9:31 am    Post subject: Reply with quote

มาแล้วรถไฟฟ้าบีทีเอสใหม่จากจีน ขบวนแรก จาก 24 ขบวน
โดย ไทยรัฐฉบับพิมพ์7 มี.ค. 2562 08:20 น.

ทดสอบ 2 เดือน ส่งวิ่งจริงหมอชิต-ลาดพร้าว

Click on the image for full size

เมื่อวันที่ 6 มี.ค. นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) BTSC เปิดเผยว่า เมื่อวันอาทิตย์ที่ 3 มี.ค.ที่ผ่านมา รถไฟฟ้ารุ่นใหม่ที่บริษัทสั่งซื้อจากบริษัท ซีอาร์ซี ฉางชุน เรลเวย์ เวฮิเคิล จำกัด สาธารณรัฐประชาชนจีน จำนวน 24 ขบวน ได้ถูกลำเลียงถึงประเทศไทยเป็นขบวนแรก ที่ท่าเรือแหลมฉบัง จ.ชลบุรี โดยจะทยอยส่งจนครบ 24 ขบวนภายในปี 2563 ทั้งนี้ บริษัทจะทดสอบความพร้อมของรถรุ่นใหม่นี้ภายใน 2 เดือน ก่อนนำมาให้บริการเพิ่มเติมในเส้นทางสายแบริ่ง-สมุทรปราการ รวมทั้งในเส้นทางจากหมอชิตไปสถานีห้าแยกลาดพร้าว ที่จะเปิดในเดือนสิงหาคม 62 นี้

Click on the image for full size

วันเดียวกัน นายจักกพันธุ์ ผิวงาม รองผู้ว่าฯ กทม. กล่าวระหว่างตรวจจุดก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเขียว หน้าโรงเรียนไทยนิยมสงเคราะห์ ถ.พหลโยธิน หน้ากรมทหารราบที่ 11 และสถานีเกษตร ซ.พหลโยธิน 32 เขตจตุจักร ว่า ปัญหาหลักๆที่พบคือผู้รับเหมาวางแบริเออร์ทับตะแกรงช่องรับน้ำฝน จึงสั่งให้ย้ายแบริเออร์พ้นจากแนวช่องรับน้ำฝนแล้ว ขณะเดียวกัน พบว่ามีหลายจุดไม่มีการป้องกันเศษวัสดุตกลงบ่อพัก และภายในบ่อมีปริมาณดินทับ จึงขอให้ผู้รับเหมาทำการลอกท่อและทำความสะอาด นอกจากนี้ มีปัญหาจุดก่อสร้างบ่อพักน้ำทับซ้อนกับจุดก่อสร้างทางขึ้น-ลงสถานี จำนวน 121 บ่อ ปัจจุบันแก้ไขไปแล้ว 73 บ่อ เหลืออีก 48 บ่อ ทั้งนี้ กทม.ได้ขอให้ผู้รับเหมาเร่งแก้ไขปัญหาทั้งหมดให้แล้วเสร็จภายในเดือนเมษายนนี้.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 13/03/2019 8:38 pm    Post subject: Reply with quote

ก.ค.นี้เปิดใช้สายสีน้ำเงินหัวลำโพง–บางแค
จันทร์ที่ 11 มีนาคม 2562 เวลา 18.19 น.


สรุปนะ!! สายสีน้ำเงิน หัวลำโพง-บางแค เปิดให้ประชาชนทดลองใช้ก.ค. นั่งฟรี2 เดือน รฟม.คาดเปิดเต็มลูป บริการ 7 แสนคนต่อวัน พร้อมชงครม.ดันรถไฟฟ้า3สาย

เมื่อเวลา16.00น.วันที่11มี.ค.ที่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รมช.คมนาคม กล่าวภายหลังการตรวจเยี่ยมและติดตามการดำเนินการ ของรฟม. โดยมีนายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการ รฟม.และคณะผู้บริหาร รฟม.ให้การต้อนรับ

นายไพรินทร์ กล่าวว่า โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายช่วงหัวลำโพง–บางแค ระยะทาง 5.4 กม. ประกอบด้วยสถานีใต้ดิน 4 สถานี มีกำหนดเปิดทดลองเดินรถอย่างเป็นทางการภายในเดือนเม.ย.หลังจากที่รับรถขบวนแรกมาแล้ว โดยภายในเดือนก.ค.ถึงเดือนส.ค.รฟม.จะเปิดให้ประชาชนทดสอบระบบนั่งรถไฟฟ้าฟรี 2 เดือน ก่อนเปิดให้บริการจริงและเก็บค่าโดยสารภายในเดือนก.ย. โดยค่าโดยสารมีอัตรา 16-42 บาท ส่วนช่วงเตาปูน–ท่าพระ ทางวิ่งยกระดับระยะทาง 21.5 กม. มี15 สถานี กำหนดเปิด มี.ค.63 ทั้งนี้หากเปิดให้บริการครบลูปรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินจะเทียบชั้นกับรถไฟฟ้ายามาโนเตะ ของรถไฟฟ้าประเทศญี่ปุ่นที่มีผู้โดยสารใช้บริการ 1ล้านคนต่อวัน สำหรับรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินจากเดิมมีปริมาณผู้โดยสารใช้บริการ 360,000คนต่อวัน หากเปิดให้บริการส่วนต่อขยายครบจะทำให้ผู้โดยสารเพิ่มอีก400,000คนต่อวัน รวมทั้งสายเป็น 700,000คนต่อวัน

ด้าน นายภคพงศ์ กล่าวว่า สำหรับอัตราค่าโดยสารของสายสีน้ำเงิน รฟม.จะคิดอัตราค่าโดยสารสูงสุด 12 สถานี ถึงแม้ระยะทางจะยาวขึ้นทั้งหมด 38สถานี เนื่องจากหากคิดตามระยะทางจะเกินอัตราที่กำหนดไว้ เพราะสัญญาการเดินรถมีเงื่อนไขที่ระบุว่าจะต้องมีการพิจารณาค่าโดยสารทุกๆ2ปี โดยคิดจากตัวเลขดัชนีผู้บริโภคในปีนั้นๆ ส่วนความคืบหน้าการส่งมอบขบวนรถนั้นหลังจากที่รับมอบรถ 1 ขบวนแรก ในเดือนเม.ย.แล้วจะทยอยส่งมอบรถทุกเดือน จนครบ16 ขบวนในเดือนก.ย. หลังจากนั้นขบวนรถล็อต2 อีก19 ขบวนจะทยอยส่งมอบจนครบภายในมี.ค.63 ซึ่งจะครบทั้งหมด 35 ขบวน ดังนั้นหากมีการส่งมอบครบ และเปิดให้บริการครบ สายสีน้ำเงินจะมีรถรับผู้โดยสารทั้งหมด 54 ขบวน ส่วนสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายบางแค-พุทธมณฑลสาย4 ระยะทาง 5กม. นั้นรฟม. ขอดูผลการตอบรับจากประชาชนก่อน หากผลตอบรับดีอาจให้เอกชนเป็นผู้ลงทุน

นายภคพงศ์ ยังกล่าวถึงความคืบหน้าแผนลงทุนรถไฟฟ้าว่า ขณะนี้จะเร่งเสนอให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)เห็นชอบโครงการก่อสร้างและงานระบบบริหารรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตกช่วงศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี งบประมาณ 2.35 แสนล้านบาท ภายในเดือนมี.ค.นี้ จากนั้นจะเสนอตามขั้นตอนการร่วมทุนพีพีพีก่อนเปิดเชิญชวนเอกชนซื้อซองทีโออาร์ในเดือน มิ.ย. เช่นเดียวกับรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ งบประมาณ 1.01 แสนล้านบาท ที่จะเร่งรัดเสนอครม.เช่นกัน ส่วนด้านรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลช่วงแคราย-ลำสาลี งบประมาณ 5 หมื่นล้านบาทนั้น จะเสนอครม.ในปี 64 ขณะที่โครงการรถไฟฟ้าที่อยู่ระหว่างก่อสร้างนั้น คือโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันออก ปัจจุบันคืบหน้า 25% ยังถือว่าเป็นไปตามแผน ส่วนด้านรถไฟฟ้าโมโนเรลสายสีชมพูและสายสีเหลืองนั้นมีความล่าช้าในการก่อสร้างเพราะติดปัญหาการใช้พื้นที่และรื้อย้ายสาธารณูปโภคในบางจุด อาทิ ถนนแจ้งวัฒนะ ถนนศรีนครินทร์และถนนบริเวณพื้นที่สำโรง จ.สมุทรปราการ

นายภคพงศ์ กล่าวอีกว่า รฟม.ได้ยกเลิกขั้นตอนการประมูลโครงการพัฒนาพื้นที่ท่าเรือพระนั่งเกล้าเพื่อเชื่อมต่อสถานีรถไฟฟ้า วงเงิน 90 ล้านบาท หลังจากที่ไม่มีเอกชนเข้ายื่นข้อเสนอ หลังจากนี้จะเสนอที่ประชุมคณะกรรมการ(บอร์ด)เพื่อขอปรับเพิ่มวงเงินราคากลางก่อนเปิดประมูลใหม่ สำหรับแผนดังกล่าวนั้นจะมีการลงทุนก่อสร้างท่าเรือเพิ่ม 3 จุดควบคู่ไปกับอาคารที่พักผู้โดยสารเป็นจุดพักคอยเรือพร้อมระบบบริหารจัดการที่ทันสมัย ทั้งนี้แผนลงทุนนี้เป็นหนึ่งในนโยบายเชื่อมต่อการเดินทางแบบ ล้อ-ราง-เรือ โดยจะมีการลงทุนพัฒนาท่าเรือขนาดใหญ่ที่เชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสำคัญอีก 3 แห่ง ได้แก่ 1.ท่าเรือ ปากเกร็ด เชื่อมกับรถไฟฟ้าสายสีชมพู (แคราย-มีนบุรี) 2. ท่าเรือบางโพ เชื่อมกับรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน (บางซื่อ- ท่าพระ และหัวลำโพง-บางแค) และ 3. ท่าเรือสาทร เชื่อมกับรถไฟฟ้าบีทีเอส ที่สถานีตากสิน

นายภคพงศ์กล่าวด้วยว่า ในส่วนของการดำเนินการพัฒนาปรับระบบบัตรให้เป็นเทคโนโลยีแบบ EMV นั้น คาดว่าจะใช้เวลาเกือบ 10 เดือนในการติดตั้งงานระบบและพัฒนาระบบศูนย์บริหารจัดการรายได้กลาง (Central Clearing House : CCH) ซึ่งคาดว่าภายในช่วงปลายปีนี้หรือต้นปี 63 จะสามารถเปิดให้บริการในส่วนของบัตรแมงมุม 4.0 ได้ โดยวงเงินของการปรับปรุงหัวอ่านแบบ EMV นั้น ขั้นแรกจะใช้งบประมาณ 250 ล้านบาท และการพัฒนาระบบฯ CCH ที่ใช้งบประมาณเกือบ 400 ล้านบาท เนื่องจากทางธนาคารกรุงไทยจะต้องทำระบบเพิ่มในส่วนของระบบทางเดินทางอื่นๆเช่น ทางด่วน เรือ รถเมล์ รวมถึงระบบการเดินทางในต่างจังหวัดด้วย เพื่อให้สามารถแยกระบบการจัดเก็บรายได้ได้เร็วขึ้น ขณะที่บัตรสวัสดิการแห่งรัฐนั้นปัจจุบันได้มีการพัฒนาเป็นระบบ EMV ไปแล้ว
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 20/03/2019 11:08 am    Post subject: Reply with quote

เฮ!ผู้ถือบัตรคนจน ใช้ขึ้นบีทีเอสได้ทุกสถานี
อังคารที่ 19 มีนาคม 2562 เวลา 18.26 น.

ผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐแบบบัตรแมงมุม และบัตร EMV Contactless สามารถ ชำระค่าโดยสารรถไฟฟ้า BTS ได้ทุกสถานี 



ผู้สื่อข่าวรายงานว่า น.ส.สุทธิรัตน์ รัตนโชติ อธิบดีกรมบัญชีกลาง พร้อมด้วยนายผยง ศรีวณิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย และนายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (BTS) ร่วมเปิดการใช้ช่องทางการรับชำระเงินค่าโดยสารรถไฟฟ้า BTS สำหรับผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐที่ลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ ครั้งแรกในปี 2560 ประเภทบัตรแมงมุม เวอร์ชั่น 2.0 , 2.5 จำนวน 1.3 ล้านราย และผู้ที่ลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐเพิ่มเติมในปี 61 ประเภทบัตร Contactless (EMV 4.0) จำนวน 0.16 ล้านราย รวมทั้งสิ้นจำนวน 1.46 ล้านราย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายรัฐบาลที่ช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายในการเดินทางของผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐที่ลงทะเบียนในเขตกรุงเทพมหานครฯ จังหวัดนนทบุรี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดปทุมธานี จังหวัดนครปฐม จังหวัดสมุทรปราการ และจังหวัดสมุทรสาคร โดยมีวงเงินในบัตรฯ เพื่อใช้บริการขนส่งสาธารณะ  เดือนละ 500 บาท 

ทั้งนี้ ผู้ถือบัตรฯ ทั้ง 1.46 ล้านราย สามารถนำบัตรฯ ไปซื้อบัตรโดยสารรถไฟฟ้า BTS ผ่านเครื่อง EDC ของธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ณ ห้องจำหน่ายบัตรโดยสารฯ บนสถานีรถไฟฟ้า BTS ทุกสถานี จำนวน 43 สถานี เริ่มให้บริการแล้วตั้งแต่วันที่ 15 มี.ค. 62 ซึ่งเป็นการเพิ่มช่องทางให้แก่ผู้ถือบัตรฯ อีกช่องทางหนึ่ง เพื่อความสะดวกในการเดินทางและแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายเพื่อการดำรงชีวิตในแต่ละวัน นอกเหนือจากการใช้บัตรฯ ชำระค่าโดยสารรถเมล์ (ขสมก.) และรถไฟฟ้า (รฟม.) ทั้งสายสีม่วงและสีน้ำเงิน ที่ได้ให้บริการมาก่อนแล้ว

น.ส.สุทธิรัตน์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ในการใช้บัตรสวัสดิการแห่งรัฐเพื่อการเดินทาง นั้น ผู้ถือบัตรฯ ที่ได้รับบัตรแมงมุม และบัตร Contactless จะได้รับวงเงินค่าโดยสารรถเมล์ (ขสมก.)/รถไฟฟ้า (รฟม.)/รถไฟฟ้า (BTS) จำนวนเงิน 500 บาท/คน/เดือน เมื่อมีการใช้จ่ายไปจำนวนเท่าใด รัฐบาลก็จะเติมวงเงินเท่ากับจำนวนเงินที่ผู้ถือบัตรฯ ได้ใช้จ่ายไป เพื่อให้มีเงินวงเงินไว้ใช้จ่ายเต็มจำนวน 500 บาท ทุกเดือน หากผู้ใช้บัตรมีข้อสงสัยสามารถติดต่อ Call Center บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ หมายเลขโทรศัพท์ 02-109-2345 หรือ Call Center กรมบัญชีกลาง หมายเลขโทรศัพท์ 02-270-6400 กด 3 ในวันและเวลาราชการ..
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 20/03/2019 12:11 pm    Post subject: Reply with quote

คู่รัก รถไฟฟ้าเมืองไทย BTS & MRT
.
BTS เปิดบริการวันแรกคือ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2542 โดยมีกลุ่มบริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) เป็นเจ้าของ

.
แต่...เชื่อหรือไม่ว่าช่วงแรกๆ ที่ BTS เปิดให้บริการมีจำนวนผู้โดยสารน้อย และต้องแบกภาระขาดทุนมานานกว่า 10 ปี

.
อีกทั้งยังต้องผ่านช่วงเวลาที่เลวร้ายผ่านระบบฟื้นฟูกิจการจากศาลล้มละลาย เหตุผลเพราะตอนประมูลสัมปทานต้องใช้เงินจำนวนมหาศาล
.
แม้ในอีก 5 ปี ต่อมาการเปิดบริการของ MRT รถไฟฟ้าใต้ดิน จาก หัวลำโพง - บางซื่อ ที่มีส่วนเชื่อมต่อกับ BTS 3 สถานี คือ ศาลาแดง,อโศก,และ จัตุจักร
.
แต่ก็ไม่ได้ทำให้สถานการณ์จำนวนผู้โดยสารของ BTS และ MRT ดีขึ้นแบบเห็นผลชัดเจนในเวลานั้น

.
แต่...เมื่อได้สัมปทานและลงทุนสร้างมาแล้วก็ต้องการให้รถไฟฟ้า MRT วิ่งสร้างรายได้ให้แก่ตัวเอง ซึ่งแนวคิดนี้ก็ไม่ต่างจากรถไฟฟ้า BTS
.
ทั้ง 2 บริษัทเลยใช้สารพัดวิธีการตลาดเพื่อกระตุ้นให้คนกรุงเทพฯ มาใช้บริการรถไฟฟ้ามากขึ้น พร้อมกับขยายเส้นทางเดินรถเพิ่มมากขึ้น

BTS ต่อขยายจาก สะพานตากสิน - บางหว้า และ จากอ่อนนุช - สมุทรปราการ

MRT เปิดบริการเส้นทางเพิ่มจาก บางใหญ่-เตาปูน
.
การกระตุ้นให้คนกรุงเทพฯ ใช้รถไฟฟ้า บวกกับการต่อขยายเส้นทางเพิ่ม ทำให้อัตราจำนวนผู้โดยสารของรถไฟฟ้าสองขบวนนี้ทั้ง MRT และ BTS เพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดดในทุกๆ ปี

.
BTS จากปี พ.ศ. 2555 มีผู้โดยสาร 4.8 แสนเที่ยวต่อวัน แต่ ณ วันนี้ มีผู้โดยสาร 6.6 แสนเที่ยว/วัน

MRT จากปี พ.ศ. 2555 มีผู้โดยสาร 1.9 แสนเที่ยวต่อวัน แต่ ณ วันนี้ มีผู้โดยสารเกือบ 3 แสนเที่ยว/วัน

.
เพราะรถไฟฟ้าทั้ง 2 ขบวนรู้ดีว่าจริงๆ แล้วแนวทางการทำธุรกิจ “ไม่ใช่คู่แข่ง” แต่คือการพึ่งพาซึ่งกันและกัน

โดยหาก BTS มีจำนวนผู้โดยสารมากขึ้นก็จะส่งผลให้จำนวนผู้โดยสาร MRT เพิ่มขึ้นเช่นกัน

.
โดยจากข้อมูลระบุว่าในจำนวน 6.6 แสนเที่ยว/วันของ BTS มีผู้โดยสารประมาณ 30 % ที่การเดินทาง 1 เที่ยวนั้นใช้ทั้ง BTS และ MRT

.
และเมื่อจำนวนผู้โดยสารเติบโตมหาศาล ทั้ง BTS และ MRT ก็สามารถต่อยอดหารายได้จากช่องทางการขายโฆษณาและให้เช่าพื้นที่บนสถานีเป็นกอบเป็นกำ

.
จากในช่วงเริ่มต้นปีแรกที่เปิดให้บริการรายได้ส่วนนี้ไม่ถึง 10 ล้านบาท แต่ ณ วันนี้ BTS มีรายได้จากการโฆษณาและเช่าพื้นที่ 3,902 ล้านบาท

ส่วน MRT มีรายได้ส่วนดังกล่าว 705 ล้านบาท

.
จะเห็นได้ว่าทั้งในแง่จำนวนผู้โดยสารและรายได้จากการขายโฆษณา BTS “กินขาด” MRT มากอยู่พอสมควร

.
ส่วนหนึ่งต้องยอมรับว่าเส้นทางของ BTS นั้นผ่านศูนย์การค้าชื่อดังและสถานที่เที่ยวในกรุงเทพฯ มากกว่ารถไฟฟ้า MRT นั้นเอง และเมื่อมีจำนวนผู้โดยสารมากกว่าก็ย่อมขายโฆษณาได้มากกว่า MRT

.
อย่างไรก็ตามรายได้จากการเดินรถของทั้งคู่ก็ไม่ได้มากมายมหาศาลอย่างที่ใครหลายคนคิด โดย BTS นั้นรายได้ในส่วนธุรกิจขนส่งอยู่ที่ 9,112 ล้านบาท แต่มีเพียง 20% หรือคิดเป็น 1,822 ล้านบาทที่เป็นรายได้จากการเดินรถ ที่เหลืออีก 80% คือรายได้ในส่วนอื่นๆ

.
บริษัท BEM เจ้าของ MRT นั้นธุรกิจที่สร้างรายได้หลักอันดับ 1 คือ ธุรกิจทางพิเศษหรือทางด่วนนั้นเองโดยมีรายได้ 10,174 ล้านบาทหรือคิดเป็นประมาณ 60% จากรายได้ทั้งหมดของบริษัท

.
ส่วนประเด็นที่มีข้อถกเถียงกันมาโดยตลอดว่ารถไฟฟ้า BTS และ MRT นั้นหากเทียบค่าโดยสารกับรถไฟฟ้าในหลายๆ ประเทศ มีราคาที่แพงกว่า

.
ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่ารถไฟฟ้าในหลายๆ ประเทศนั้นรัฐบาลมีการให้งบประมาณสนับสนุน หรือที่เรียกว่า “subsidize”

.
ทำให้ค่าโดยสารถูก ในขณะที่ BTS นั้นได้สัมปทานมาและเป็นบริษัท เอกชน อยู่ในตลาดหลักทรัพย์

.
ก็ย่อมต้องแสวงหาผลกำไรในการทำธุรกิจซึ่งเป็นเรื่องธรรมดา

.
แต่หากสัมปทานในหลายๆ เส้นทางที่จะหมดอายุลงในปีพ.ศ 2572 กรุงเทพมหานคร จะเป็นผู้กำหนดค่าโดยสารเอง และจ้างให้ BTS ทำหน้าที่ให้บริการเดินรถในเส้นทางหลักๆ ต่อไปอีกอย่างน้อยๆ 13 ปี

ซึ่งตอนนั้นก็ต้องมาดูกันว่า ค่าโดยสาร BTS จะถูกลงหรือเปล่าเมื่อเปลี่ยนตัวเจ้าของ ?

.
ส่วนรถไฟฟ้า MRT นั้นโมเดลธุรกิจก็ไม่ได้ “แตกต่าง” จาก BTS มากนั้น คือเป็นผุ้กำหนดราคาค่าโดยสารเองจนกว่าจะหมดสัมปทาน

.
แต่สิ่งที่ MRT แตกต่างกับ BTS ก็คือมี การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย หรือที่เราเรียกสั้นๆ ว่า รฟม. ถือหุ้นอยู่ 8.2% ในบริษัท BEM ซึ่งเป็นเจ้าของรถไฟฟ้า MRT นั้นเอง

.
และ รฟม. ก็คือรัฐวิสาหกิจ ที่เคยกระตุ้นผู้ใช้บริการด้วยการ "ลดราคา" ค่าเดินทางจากสถานีละ 2 บาท เหลือ 1 บาท
https://www.facebook.com/marketeeronline/photos/a.115858001799638/2306458769406206/?type=3&theater
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 21/03/2019 10:16 am    Post subject: Reply with quote

แฉช่องโหว่ที่นั่งบีทีเอส “ป้ายคนท้อง” ไม่ช่วยกระตุ้นจิตสำนึก!!
ข่าวโดย ทีมข่าว MGR Live
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 20 มีนาคม 2562 เวลา 19:54


เกิดอะไรขึ้นกับสังคมไทย!? หนุ่มขอระบายความในใจลงโซเชียลฯ หลังภรรยาตั้งท้องแก่โดยสารรถไฟฟ้า แต่ไม่มีใครลุกให้นั่ง ทั้งที่บีทีเอสมีโครงการ “ติดเข็มกลัดสัญลักษณ์คนท้อง-ทำที่นั่งพิเศษ-ทำสติ๊กเกอร์ติดพนักพิง” แต่ไม่ช่วยแถมไม่ตอบโจทย์! ด้านกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ลงความเห็นเป็นเสียงเดียวกัน 'ติดเข็มกลัดไปก็ไม่ช่วยอะไร ถ้าจิตสำนึกไม่มี!'

ไม่ได้อยู่ที่เข็มกลัด แต่อยู่ที่จิตใต้สำนึก!

คนไร้น้ำใจหรือที่นั่งสำรองพิเศษไม่เพียงพอกันแน่! เสียงครวญจากคุณพ่อรายหนึ่ง ตั้งคำถามต่อจิตใต้สำนึกของคนในสังคม เมื่อภรรยาที่ตั้งครรภ์ขึ้นรถโดยสารบีทีเอสไปทำงานทุกวัน แต่กลับไม่มีคนลุกให้นั่งทั้งที่ท้องแก่จนเห็นได้ชัด!

“ขอโพสต์ระบายหน่อยละกัน ตอนนี้แฟนผมท้อง 6-7 เดือน ต้องนั่งรถเมล์ ต่อด้วย BTS แล้วก็วินมอเตอร์ไซค์ จนถึงที่ทำงาน จากห้องพักซอยเพชรเกษม112 จนไปถึงที่ทำงาน ธ.กรุงไทย สาขาพระรามสี่ คือแฟนก็บ่นให้ฟังบ่อยๆ ว่า ไม่ค่อยมีคนลุกให้นั่งเลย

ทั้งรถเมล์ และ BTS ผมก็สงสารแฟน แต่ก็อดสงสัยไม่ได้ว่าสังคมไทยทุกวันนี้เปลี่ยนไปมาก คนไร้น้ำใจหรือเป็นเพราะเทคโนโลยีที่ทำให้ต่างคนต่างก้มหน้าก้มตาดูจอของตนเอง จนลืมหันมองคนรอบข้าง ส่วนตัวผมเองก็ไม่รู้จะช่วยแฟนยังไง เพราะต่างคนต่างทำงาน

ตัวผมเองก็ทำงานเป็นกะ จะให้ไปรับไปส่งตลอดก็คงไม่ได้ และอีกอย่างเข็มกลัดคนท้องBTS ต้องลงทะเบียนเอาใบรับรองแพทย์ไปยืนรับ จะมีกี่คนที่รู้จัก หรือรู้แล้วแกล้งทำเป็นไม่เห็น หรือ สังคมไทยการเสียเปรียบเป็นเรื่องยอมกันไม่ได้ แม้แค่ลุกให้คนท้องนั่ง”

หลังจากที่ข้อความระบายความในใจถูกเผยแพร่ออกไปก็นำมาสู่เสียงวิจารณ์อย่างครุกรุ่น โดยเฉพาะความคิดเห็นจากกลุ่มคนท้องที่หลั่งไหลเข้ามาจำนวนมาก แถมยังย้ำอีกว่าการแก้ปัญหาดังกล่าวด้วยวิธีการติดเข็มกลัดคนท้องตามโครงการของบีทีเอส ไม่ช่วยอำนวยความสะดวกได้ร้อยเปอร์เซ็นต์!

“วันนี้ตอนนี้เจอเองกับตัว ท้อง5เดือนกว่าท้องก็ไม่เล็กนะ ห้อยป้าย พุงยื่นก้อไม่เห็นมีใครลุกเลยคะ มันอยู่ที่จิตใต้สำนึกของคนไทยแท้ๆ เพราะเอาท้องไปยื่นแทงหน้าเก้าอี้ที่สำหรับ เด็ก สตรีมีครรภ์ คนชรา คนพิการ คนที่นั่งก็นั่งไม่สนใจโลก จริงๆ ควรมีโบกี้เฉพาะไปเลย เพราะคนไทยสมัยนี้ต่อให้จะห้อยป้าย หรือมีเสียงประกาศ สำนึกไม่มีหรอกค่ะ”

“ปัญหาคือทุกคนก้มมองแต่โทรศัพท์ ต้องรณรงค์เมื่อถึงสถานี ให้หยุดก้มมองโทรศัพท์ หันขึ้นมามองคนที่ขึ้นมา และมีความจำเป็นต้องนั่ง หรือมองหาที่ว่างแล้วขยับเข้าข้างในครับ”

“การแก้ปัญหาโดยการติดเข็มกลัดคนท้องแก้ปัญหาได้ในระดับหนึ่งเท่านั้น หรือทำสติกเกอร์พนักพิงก็ไม่มีประโยชน์หรอกค่ะ ถ้าคนนั่งไม่สละที่นั่งซะอย่าง มันอยู่ที่จิตสำนึกคนจริงๆ ซึ่งการปลูกจิตสำนึกคนมันอาจจะใช้เวลานาน แต่ถ้าทำได้มันจะมีผลดีในระยะยาวต่อผู้ร่วมทางทุกคนค่ะ”

ทั้งนี้ เสียงวิพากษ์วิจารณ์อีกด้านหนึ่งมองว่าในบางสถานการณ์ผู้ที่โดยสารขบวนเดียวกันนั้นไม่อาจรู้หรือมองเห็นได้ว่ามีผู้ที่ต้องการที่นั่งอยู่ โดยมีการเสนอแนะว่าหากต้องการที่นั่ง ควรเอ่ยปากขอที่นั่งสำหรับโซน Priority Seat น่าจะเป็นการแก้ปัญหาที่ดีอีกทางหนึ่ง

“คนท้อง และคนป่วยไม่ว่าจะเพศชาย-หญิง ถ้าไม่ไหว ก็เดินไปที่นั่ง Priority Seat แล้วเอ่ยปากขอเลยก็ได้ เราว่าบางคนไม่ได้ตั้งใจจะไม่ลุก แต่บางทีเขาไม่รู้ว่าคุณต้องการ บางคนก็แค่ก้มหน้าอ่านหนังสือ เล่นมือถือจนไม่ได้เงยหน้า

ซึ่งก็ไม่ได้ผิดอะไร หรือ เค้าไม่ได้สังเกต บางคนเคยลุกให้คนท้อง คนท้องดันบอกว่าไม่นั่ง (เขินไปอีก) บางทีก็โดนสวนว่าไม่ได้ท้องค่ะ (หน้าแหกอีก)

เพราะงั้น ถ้าป่วย ถ้าท้อง ถ้าไม่ไหว ก็เดินไปบอกเลยว่าจะนั่ง ส่งเสียงดังๆ ก็ได้ว่า ขอที่นั่งหน่อย ไม่ไหวแล้ว นั่งกันเป็นสิบ ก็ต้องมีคนลุกให้สักคน คนไทยไม่ได้ไร้น้ำใจขนาดนั้น”

ส่องต่างแดน 'วัฒนธรรมลุกให้นั่ง'

จากกรณีที่เกิดขึ้นนำมาสู่คำถามที่ตามมาคือ ปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นเพราะระบบอำนวยความสะดวกของรถไฟฟ้าบีทีเอสหรือการไร้จิตสำนึกของคนในสังคมกันแน่ เพราะหากเป็นที่จิตสำนึกที่บกพร่อง ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดก็คงมีปัญหาอยู่ดี!

แน่นอนว่าก่อนหน้านี้ทางบีทีเอสเองก็มีการแก้ไขเรื่องนี้จากที่ได้มีกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ออกมาเรียกร้องเรื่องที่นั่งสำรองพิเศษในขบวนรถโดยสาร จนนำมาสู่โครงการ 'ติดเข็มกลัดสัญลักษณ์คนท้อง' โดยให้สุภาพสตรีที่ตั้งครรภ์มารับเข็มกลัดสัญลักษณ์คนท้องได้ฟรีที่ห้องจำหน่ายตั๋วทุกสถานี

โดยนำไปติดแสดงตนระหว่างเดินทาง เพื่อให้ผู้โดยสารท่านอื่นๆ ทราบ และช่วยอำนวยความสะดวกในระหว่างเดินทาง ทั้งการสละที่นั่งให้ หลีกทางเมื่อเข้าออกขบวนรถ หรือเมื่อใช้งานลิฟต์ และบันไดเลื่อน นอกจากนี้ ยังมีประโยชน์เมื่อต้องเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะประเภทอื่นๆ ด้วย ไม่เฉพาะในระบบรถไฟฟ้าบีทีเอส

จากตรงนี้แม้โครงการนี้จะเป็นก้าวแรกของการเริ่มต้นที่ดีในช่วงสิ้นปีที่ผ่านมาที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่กลุ่ม 'Priority Case' อย่าง เด็ก ผู้พิการ ผู้สูงอายุ สตรีมีครรภ์ รวมถึงผู้บาดเจ็บที่ยืนไม่สะดวก

แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าปัญหาการไม่ลุกให้นั่งยังมีให้เห็นอยู่เสมอ นี่จึงนำมาสู่การตั้งข้อสงสัยว่าสิ่งอำนวยความสะดวกในไทยไม่ได้ทำให้ผู้ใช้บริการสะดวกสบายขึ้นจริงหรือไม่ ขณะที่ประเทศอื่น โดยเฉพาะกับประเทศญี่ปุ่นที่ขึ้นชื่อว่าเป็นประเทศที่มีระบบการคมนาคมและอำนวยความสะดวกกับคนทุกกลุ่มอย่างเท่าเทียมและดีเยี่ยม!

เพื่อหาคำตอบของประเด็นนี้ ทีมข่าวได้ติดต่อไปยัง 'ปริพนธ์ นำพบสันติ' เจ้าของแฟนเพจชื่อดังที่มีผู้ติดตามเกือบแสนคน 'JapanPerspective' ว่าด้วยเรื่องราวของประเทศญี่ปุ่นในมุมมองที่แตกต่าง

โดยเจ้าของเพจได้ให้คำตอบกับทีมข่าวว่า ระบบการอำนวยความสะดวกแก่ผู้ที่ต้องการใช้ Priority Seat (ที่นั่งสำรองพิเศษ) ในประเทศญี่ปุ่นถือว่าสมบูรณ์แบบมาก

“ก่อนอื่นผมต้องขอแยกออกเป็นสองประเด็น นั่นคือ ประเด็น 'การจัดให้มี' ในรถไฟฟ้าญี่ปุ่นจะแบ่งโซนชัดเจนว่าเป็นโซน Priority Seat รวมทั้งหญิงตั้งครรภ์ คนชรา หรือคนพิการ จะมีการแบ่งพื้นที่ในตู้รถไฟฟ้าชัดเจนเลย

ส่วนที่นั่งจะมีการทาสี รวมถึงราวจับด้านบนด้วย ที่ต้องทาสีเพื่อให้สะดุดตาแก่คนชราที่การมองเห็นไม่ค่อยดี ซึ่งโดยรวมการจัดให้มีของที่ญี่ปุ่นผมว่าค่อนข้างดีเลย อีกจุดหนึ่งที่ผมประทับใจคือการมีบริการดูแลคนที่ต้องการความช่วยเหลือ แบบ Free Service

ตั้งแต่ก่อนเข้าสถานีจะมีลิฟต์สำหรับขึ้น-ลง มีการทำทางลาดทั้งพื้นทางเดินและเสริมที่บันได ถ้าคุณเป็นคนตาบอด หรือเป็นคนที่ต้องนั่งรถเข็น จะสามารถเดินทาง-ซื้อตั๋ว-ขึ้นรถไฟได้ เช่น คนที่นั่งรถเข็นเดินทางไม่สะดวกก็สามารถไปบอกเจ้าหน้าที่สถานีได้ เขาจะดูแลตั้งแต่พาเราไปที่ชานชาลา ขึ้นรถไฟ และส่งต่อให้เจ้าหน้าที่ปลายทางที่รออยู่เลย”

ขณะที่อีกประเด็นที่น่าสนใจ คือ วัฒนธรรมของคนญี่ปุ่น ซึ่งในสายตาของผู้ที่หลงใหลดินแดนปลาดิบ เปิดใจว่า 'วัฒนธรรมการลุกให้นั่ง' ของคนญี่ปุ่นแทบไม่ต่างจากคนไทย ทั้งนี้เพราะสังคมญี่ปุ่นจะถูกปลูกฝังว่าให้เข้มแข็ง ไม่ว่าใครก็มีสิทธิ์เท่าเทียมกัน

“ส่วนอีกเรื่องที่อยากพูดถึงคือ 'วัฒนธรรมญี่ปุ่น' ซึ่งเราอาจจะมองว่าที่ญี่ปุ่นมีระเบียบวินัยหรือมารยาทดี แต่ในความเห็นของผมในเรื่องการลุกให้นั่งก็ค่อนข้างมีปัญหาเหมือนกันนะครับ มันมีหลายมุมมอง เช่น คนที่นั่งอยู่กลัวว่าถ้าลุกให้คนชรานั่งก็อาจทำให้คนที่ยืนอยู่รู้สึกเสียหน้าว่าเขาแก่หรือเปล่า

เพราะคนสูงอายุที่ญี่ปุ่นต่อให้อายุ 60-70 ปีขึ้นไป แต่มีร่างกายแข็งแรงมาก ทางกายภาพยังเดินเหินได้ปกติ เขาไม่ได้มองว่าเขาจะต้องนั่ง แต่เขาสามารถยืนปกติได้

ส่วนประเด็นเรื่องการไม่ลุกให้นั่งผมว่าตรงนี้อาจจะเป็นข้อบกพร่องของสังคมญี่ปุ่นก็ได้ครับ เพราะถ้าลองเสิร์ชดูในโซเชียลฯ จริงๆ จะมีการตั้งกระทู้เกี่ยวกับการไม่ลุกให้นั่งของคนญี่ปุ่นด้วยเหมือนกัน ไม่ใช่แค่กับประเทศไทย แต่ผมมองว่าอยู่ที่จิตสำนึกของคนในสังคมด้วย

ส่วนในบ้านเรา สำหรับกรณีที่เกิดขึ้น การติดเข็มกลัดที่ช่วยให้ผู้โดยสารคนอื่นมองเห็นก็อาจไม่ทั่วถึง ผมอยากเสริมเรื่องสิ่งอำนวยความสะดวกและการเข้าถึงมากกว่าว่าบ้านเราน่าจะพัฒนาและทำได้ดีกว่านี้

คิดว่าน่าจะยังมีช่องโหว่ช่องใหญ่ที่ควรปรับปรุงอยู่ เช่น ลิฟต์ขึ้น-ลง ที่เราก็เห็นว่ามีกลุ่มผู้พิการ หรือผู้ที่มีความจำเป็นต้องใช้จริงๆ ออกมาเรียกร้องกันเยอะมาก แต่สุดท้ายก็ยังไม่สามารถสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกที่เหมาะสมกับการใช้งานได้จริงๆ เสียที ต้องไม่ใช่แค่ 'มี' แต่ใช้งานได้ 'ไม่ดี' แบบนี้”
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 27/03/2019 12:18 pm    Post subject: Reply with quote

อัศวินทบทวนค่าโดยสารแบริ่ง ให้เก็บต่อเนื่องไม่คิดแรกเข้าซํ้า-ขยายนั่งฟรีรอเอกชนร่วมทุน
โดย ไทยรัฐฉบับพิมพ์
27 มีนาคม 2562 เวลา 08:13 น.

ตามที่ กทม. เตรียมจัดเก็บค่าโดยสารรถไฟฟ้า สายสีเขียว ส่วนต่อขยาย เป็นแบบเก็บตามระยะทาง ทั้งช่วงอ่อนนุช-สมุทรปราการ และวงเวียนใหญ่-บางหว้า โดยกำหนดเก็บ 15-21 บาท จากเดิมที่เก็บในอัตรา 15 บาทตลอดสาย ตั้งแต่ 16 เม.ย.นี้ เป็นต้นไป ทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงาน นโยบายและแผนจราจรและขนส่ง กระทรวงคมนาคม และการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย รฟม. ออกมาตั้งข้อสังเกตว่า รถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายอ่อนนุช-สมุทรปราการ เป็นรถไฟฟ้า สายเดียวกับรถไฟฟ้าบีทีเอส ในส่วนที่มีสัญญาสัมปทาน กับ บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (หมอชิต-อ่อนนุช-สะพานตากสิน) ที่กำหนดเก็บอัตราค่าโดยสาร 16-44 บาทแล้ว หาก กทม.กำหนดเก็บอัตราค่าโดยสารในส่วนต่อขยายเป็น 15-21 บาทอีก เท่ากับว่า กทม.เริ่มคิดค่าโดยสารใหม่ ในเส้นทางเดียวกัน 2 ครั้ง หรือเรียกเก็บค่าแรกเข้า 2 ครั้ง ในขณะที่รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินของ รฟม. ในส่วนที่ต่อเชื่อมกับรถไฟฟ้าสายสีม่วง ที่เตาปูน ไม่มีการเริ่มเก็บค่าโดยสารใหม่ หรือค่าแรกเข้าใหม่ แต่เก็บในอัตราต่อเนื่องเหมือนเป็นเส้นทางเดียวกัน เช่นเดียวกับส่วนต่อขยายจากหัวลำโพงไปท่าพระที่จะเปิดบริการในปีนี้ ก็จะเก็บอัตราต่อเนื่อง ไม่มี การเริ่มเก็บค่าโดยสารใหม่แต่อย่างใด

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การเริ่มคิดค่าโดยสารใหม่ ในเส้นทางเดียวกัน 2 ครั้ง หรือเก็บค่าแรกเข้า 2 ครั้ง จะทำให้ผู้โดยสารเสียค่าโดยสารแพงขึ้นเกินจริง เช่น หากผู้โดยสารเริ่มโดยสารจากสถานีพระโขนง ซึ่งอยู่ในเส้นทางสัมปทานไปลงที่สถานี บางจาก ซึ่งเป็นเส้นทางส่วนต่อขยาย โดยเดินทางเพียง 2 สถานี แต่จะต้องเสียค่าโดยสารถึง 31 บาท เนื่องจากต้องเสียค่าโดยสารเริ่มต้น 16 บาท จากพระโขนงไปอ่อนนุช จากนั้นต้องมาเริ่มต้นเสียอีก 15 บาท จากอ่อนนุชไปบางจาก ทั้งๆที่หากคิดแบบ ต่อเนื่องของรถไฟฟ้า MRT จากรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน เชื่อมรถไฟฟ้าสีม่วง จะเสียเพิ่มอีกสถานีละ 2 บาท เท่านั้น

เกี่ยวกับเรื่องนี้ เมื่อวันที่ 26 มี.ค.62 พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าฯ กทม. ชี้แจงว่า การจัดเก็บ ค่าโดยสารดังกล่าว เป็นอัตราค่าโดยสารชั่วคราว ระหว่างที่โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวอยู่ในขั้นตอน การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ หรือ PPP อย่างไรก็ตาม จากข้อสงสัยเกี่ยวกับการจัดเก็บค่า โดยสารนี้ ตนจะให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาใหม่ ระหว่างนี้จะยังไม่มีการจัดเก็บค่าโดยสารในส่วนต่อขยายช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ ไปจนกว่า กทม. จะได้คู่สัญญาตามกระบวนการให้เอกชนร่วมลงทุน ในโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ส่วนที่มีการจัดเก็บ 15 บาทนั้น เริ่มเก็บมาตั้งแต่ปี 2555 ก่อนที่ตนมา ดำรงตำแหน่งผู้ว่าฯ กทม. ตนจึงไม่ทราบว่าคิดไว้ อย่างไร แต่ตนได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไปพิจารณา ทบทวนการจัดเก็บค่าโดยสารใหม่ให้ต่อเนื่องกับเส้นทางหลักแล้ว โดยตลอดสายต้องจัดเก็บไม่เกิน 65 บาท.
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> รถไฟฟ้า (BTS) และรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT) All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 85, 86, 87 ... 155, 156, 157  Next
Page 86 of 157

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©