RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311238
ทั่วไป:13181593
ทั้งหมด:13492831
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวเกี่ยวกับ "ที่ดิน" ของ "รฟท."
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวเกี่ยวกับ "ที่ดิน" ของ "รฟท."
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 151, 152, 153 ... 197, 198, 199  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 12/02/2019 7:08 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
เปิดกรุที่ดินรถไฟ 3 แสนล้าน ตั้งบริษัทลูกบริหารสัญญาสร้างรายได้แก้ขาดทุน
พร็อพเพอร์ตี้

วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2562 เวลา 19:45 น.

การรถไฟฯ จัดสัมมนาประชาสัมพันธ์โครงการงานจ้างที่ปรึกษาเตรียมการจัดตั้งบริษัทบริหาทรัพย์สิน ให้แก่ผู้บริหาร พนักงานการรถไฟฯ
ทีมพีอาร์การรถไฟแห่งประเทศไทย
วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2562



ร.ฟ.ท.ลุยตั้ง บ.บริหารทรัพย์สิน ปั้นรายได้ 3 แสนล้าน
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 11 กุมภาพันธ์ 2562 เวลา 19:18
ปรับปรุง: 12 กุมภาพันธ์ 2562 เวลา 08:05


ร.ฟ.ท.คาดชง ครม. ก.ค.นี้ เคาะตั้งบริษัทบริหารทรัพย์สิน เดินหน้าพัฒนาที่ดินทำเลทอง 3.9 หมื่นไร่ทั่วประเทศมูลค่ากว่า 3 แสนล้าน เปิดเวทีชี้แจงพนักงานร่วมพลิกฟื้นองค์กร

นายสุจิตต์ เชาว์ศิริกุล รองผู้ว่าการ กลุ่มบริหารรถไฟฟ้า การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) กล่าวว่า ร.ฟ.ท.ได้จัดสัมมนาเพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสาร ครงการงานจ้างที่ปรึกษาเพื่อเตรียมการจัดตั้งบริษัทบริหารทรัพย์สิน ให้ผู้บริหาร พนักงานการรถไฟฯ ได้รับทราบข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับการดำเนินโครงการฯ ซึ่งมีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ลาดกระบังเป็นที่ปรึกษาโครงการฯ

ที่ปรึกษาจะเตรียมความพร้อมจัดตั้งบริษัทบริหารทรัพย์สินใน 5 ด้าน ได้แก่ ด้านเอกสารการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท รายละเอียดนโยบายการจัดการการบริหารทรัพย์สิน โครงสร้างการบริหารงาน โครงสร้างทางด้านบัญชีและการเงิน และวางแผนระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ

สำหรับบริษัทบริหารทรัพย์สิน การรถไฟฯ เป็นผู้ถือหุ้น 100% ซึ่งขณะนี้กระบวนการอยู่ระหว่างการพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) และคาดจะเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาได้ประมาณเดือนกรกฎาคม 2562 และสามารถจัดตั้งบริษัทบริหารทรัพย์สินฯ ได้ประมาณต้นปี 2563

ทั้งนี้ ร.ฟ.ท.มีวิสัยทัศน์การพัฒนาสู่การเป็นผู้ให้บริการระบบรางของรัฐที่ดีที่สุดในอาเซียนในปี 2570 ซึ่งร.ฟ.ท.เป็นผู้ถือครองอสังหาริมทรัพย์ ที่ดินที่ไม่ใช้เพื่อการเดินรถ (Non-Core Assets) ทั้งประเทศกว่า 39,419 ไร่ โดยมีมูลค่ารวมกว่า 300,000 ล้านบาท แต่ด้วยข้อจำกัดของโครงสร้างการบริหารงานขององค์กรที่มีต่อการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในเชิงธุรกิจ ทั้งการขาดบุคลากร ข้อมูล และเทคโนโลยี ส่งผลให้รายได้ผลตอบแทนจากการบริหารทรัพย์สินเหล่านี้มีเพียงประมาณปีละ 3,636 ล้านบาท หรือไม่ถึง 1%

ดังนั้น แนวทางการจัดตั้งบริษัทบริหารทรัพย์สินเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการอสังหาริมทรัพย์ขององค์กรให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อเพิ่มรายได้ และแก้ปัญหาทางการเงินให้กับการรถไฟฯ ตามแนวทางแผนฟื้นฟูกิจการรถไฟฯ และสอดคล้องกับมติการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2559 ที่เห็นชอบแผนการจัดตั้งบริษัทลูกของการรถไฟแห่งประเทศไทยขึ้น

“บริษัทบริหารทรัพย์สินจะเป็นก้าวสำคัญในการพัฒนาหน่วยธุรกิจใหม่ที่เป็นกลไกในการสร้างรายได้อย่างยั่งยืนให้องค์กร และสามารถนำรายได้ไปแก้ไขปัญหาภาระบำเหน็จบำนาญ ปัญหากระแสเงินสด ปัญหาทางการเงิน และสามารถใช้เป็นแหล่งเงินทุนสำหรับการลงทุนในกิจการอื่นของการรถไฟฯ ต่อไปในอนาคต”
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 14/02/2019 2:01 pm    Post subject: Reply with quote

ส่งซิกเซ็นทรัลพลิกโมเดล”ลาดพร้าว” ร.ฟ.ท.เร่งศึกษาสัญญาเช่าเคาะรายเดิม-ประมูลใหม่
ข่าว พร็อพเพอร์ตี้
วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2562 เวลา 07:20 น.

เหลือ 9 ปี - ที่ดินสามเหลี่ยมพหลโยธิน 47.22 ไร่ ที่ตั้งศูนย์การค้าเซ็นทรัลลาดพร้าว หลังได้ต่อสัญญา 20 ปี ล่าสุดการรถไฟฯเตรียมพิจารณาจะเจรจารายเดิมหรือขอคืนพื้นที่เปิดประมูลใหม่หลังหมดสัญญาปี 2571 เพราะสัญญาไม่ได้ระบุต้องเจรจาเซ็นทรัลเป็นรายแรก

ผู้ว่าการการรถไฟฯฮึ่ม ! สั่งหาแนวทางพิจารณาที่ดินลาดพร้าว 47.22 ไร่ ก่อนครบสัญญาปี”71 เจรจารายเดิมหรือยึดคืนเปิดประมูลใหม่ จับตาเซ็นทรัลรื้อโมเดลลงทุนใหม่ จ่อทุบทิ้งศูนย์การค้า หวั่นอาคารเก่า 50 ปี รีโนเวตไม่คุ้ม ซุ่มผนึกบีทีเอสผุดโปรเจ็กต์ยักษ์ย่านพหลโยธินรับรถไฟฟ้าสายสีเขียวต่อขยายหมอชิต-คูคต ดีเดย์ มี.ค.นี้ ร.ฟ.ท.ประมูลที่ดินบางซื่อแปลง A 32 ไร่ กว่าหมื่นล้าน รับสายสีแดงเปิดหวูดปี”64 ขาใหญ่จ้องตาเป็นมัน


นายวรวุฒิ มาลา รักษาการผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า ในแผนฟื้นฟูกิจการรถไฟ จะมีการนำที่ดินแปลงใหญ่มีศักยภาพมาพัฒนาเชิงพาณิชย์สร้างรายได้ในระยะยาว ได้แก่ ย่านสถานีกลางบางซื่อ 1,100 ไร่ ในอนาคตจะพัฒนาเป็นเมืองใหญ่เมืองหนึ่ง

แปลง 32 ไร่ ขายซอง มี.ค.นี้

จะเริ่มพื้นที่แปลง A 32 ไร่ ติดสถานีกลางบางซื่อจะเปิดประกาศเชิญชวนเอกชนร่วมลงทุน PPP ในเดือน มี.ค.นี้ พัฒนาเป็นศูนย์การค้า สำนักงาน โรงแรม ที่อยู่อาศัยมูลค่ากว่า 10,000 ล้านบาท รับกับการเปิดใช้รถไฟชานเมืองสายสีแดงช่วงบางซื่อ-รังสิตและบางซื่อ-ตลิ่งชัน จะเปิดเดือน ม.ค. 2564

ยังมีย่านมักกะสัน 497 ไร่ ที่ยังมีพื้นที่เหลือจากที่ส่งมอบให้กับโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน สถานีแม่น้ำ 227 ไร่ โรงแรมรถไฟหัวหิน 72 ไร่ พื้นที่ย่านสถานีรถไฟชานเมืองสายสีแดง 7 สถานี 97 ไร่ ย่านสถานีรถไฟทางคู่ 25 สถานี เช่น หนองคาย ขอนแก่น โดยจะมีบริษัท บริหารสินทรัพย์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทลูกของรถไฟมาบริหารจัดการ

จ่อคุยเซ็นทรัลที่ดินลาดพร้าว

“การจัดหารายได้จากการพัฒนาเชิงพาณิชย์ในช่วง 10-20 ปีแรก จะมีรายได้ไม่มาก เพราะเป็นช่วงการลงทุนพัฒนา เช่น ศูนย์การค้าเซ็นทรัลลาดพร้าว การทำสัญญารอบแรกจะมีรายได้น้อย เพราะช่วงที่ทำสัญญากับเซ็นทรัล ที่ดินยังเป็นทุ่งนาให้ควายเดิน ยังไม่มีความเจริญเหมือนอย่างปัจจุบัน แต่การต่อสัญญาครั้งที่ 2 อีก 20 ปี มีประเมินมูลค่าทรัพย์สินและค่าเช่ากันใหม่ รถไฟได้รายได้เข้ามา 20 ปี กว่า 2 หมื่นล้านบาท เฉลี่ยรายได้ปีละกว่า 1,000 ล้านบาท ตอนนี้เข้าสู่ปีที่ 11 แล้ว อีก 9 ปี ที่เหลือมอบให้รถไฟเร่งหาแนวทางจะทำยังไงต่อไป ต้องเริ่มคุยกับเซ็นทรัลได้แล้ว จะทุบทิ้งหรือจะนำที่ดินแปลงนี้คืนหรือคิดโมเดลการพัฒนาใหม่ พิจารณาตามเงื่อนไขสัญญาเพราะโลกเปลี่ยนไป ศูนย์การค้าอาจจะไม่มีก็ได้ตรงนี้”

แหล่งข่าวจากการรถไฟฯกล่าวเพิ่มเติมว่า บริษัท เซ็นทรัลอินเตอร์พัฒนา จำกัด ในเครือกลุ่มเซ็นทรัล เช่าที่ดินบริเวณสามเหลี่ยมย่านพหลโยธิน เนื้อที่ 47.22 ไร่ พัฒนาเป็นศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว และโรงแรมเซ็นทาราแกรนด์แอทเซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว ตั้งแต่ปี 2521 ครบสัญญารอบแรก 30 ปี เมื่อวันที่ 18 ธ.ค. 2551 จากนั้นได้เจรจาต่อสัญญาอีก 20 ปี ตั้งแต่วันที่ 19 ธ.ค. 2551-วันที่ 18 ธ.ค. 2571 โดยการรถไฟฯได้ผลตอบแทนคิดเป็นวงเงินรวมตลอดอายุสัญญา 21,298 ล้านบาท

เปิดค่าเช่าปี”63-71

ปัจจุบันการรถไฟฯได้ค่าเช่าระหว่างปี 2551-2561 เป็นวงเงิน 8,668 ล้านบาท โดยปี 2562 จ่ายแล้วเมื่อวันที่ 18 ธ.ค.ที่ผ่านมา จำนวน 1,036 ล้านบาท เหลืออีก 9 ปี จะครบกำหนดสัญญา โดยเซ็นทรัลจะจ่ายค่าเช่าให้อีกกว่า 10,000 ล้านบาท เป็นค่าเช่าปี 2563 จำนวน 1,099.111 ล้านบาท

ปี 2564 จำนวน 1,165.058 ล้านบาท ปี 2565 จำนวน 1,234.961 ล้านบาท ปี 2566 จำนวน 1,309.059 ล้านบาท ปี 2567 จำนวน 1,387.603 ล้านบาท ปี 2568 จำนวน 1,470.859 ล้านบาท

ปี 2569 จำนวน 1,559.111 ล้านบาท ปี 2570 จำนวน 1,652.658 ล้านบาท และปี 2571 จำนวน 1,751.817 ล้านบาท

โดยจ่ายภายในวันที่ 18 ธ.ค.ของปีก่อนวันเริ่มต้นสัญญา เช่น ของปี 2563 ต้องจ่าย 18 ธ.ค. 2562

“การต่อสัญญาครั้งที่ 2 ดำเนินการตาม พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ นอกจากค่าเช่า ทางเซ็นทรัลได้ลงทุนปรับปรุงอาคารให้ใหม่ 2 ครั้ง เพราะอาคารที่สร้างมีอายุ 30 ปีแล้ว ในปี 2554 วงเงิน 2,400 ล้านบาท และปี 2556

ทั้งนี้ ในสัญญาที่ต่อครั้งที่ 2 จะครบกำหนดปี 2571 ไม่ได้ระบุว่า จะต้องเจรจากับเซ็นทรัล จะบอกแค่ว่าในช่วง 3 ปีก่อนหมดสัญญาจะต้องเตรียมส่งมอบอะไรให้รถไฟบ้าง จะต่างจากครั้งแรกที่ระบุว่า จะต้องเจรจากับเซ็นทรัลเป็นรายแรก”

เซ็นทรัลส่งคนดูลาดเลา

แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า ทั้งนี้ การพิจารณาครั้งใหม่นี้ คาดว่าจะต้องดำเนินการตาม พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ จะต้องจ้างที่ปรึกษามาประเมินมูลค่าทรัพย์สิน และแนวทางการต่อสัญญาจะใช้วิธีการไหน ระหว่างเจรจากับรายเดิมหรือเปิดประมูลใหม่

“ทางเซ็นทรัลก็เริ่มเข้ามาคุยกับทางการรถไฟฯบ้างแล้ว ยังมีความประสงค์ที่จะเช่าที่ดินต่อ แต่ว่าการพัฒนาอาจจะมีการปรับเปลี่ยนไป เพราะจะมีรถไฟฟ้าพาดผ่าน ปัจจุบันกำลังจะสร้างสกายวอล์กเชื่อม แต่ยังไม่เปิดเผยรายละเอียด เพราะอายุอาคารศูนย์การค้าก็ค่อนข้างเก่า เมื่อครบกำหนดสัญญาก็ 50 ปีพอดี อาจต้องรีโนเวตครั้งใหญ่และใช้เงินลงทุนค่อนข้างสูง สู้ทุบทิ้งแล้วสร้างใหม่น่าจะคุ้มค่ากว่า ถามว่าอายุตึกอยู่ได้นานกว่านี้ไหม ก็ได้แต่ว่าศูนย์การค้าเป็นอาคารที่มีคนเดินพลุกพล่านจำนวนมากจะต้องมีความปลอดภัยค่อนข้างสูง และไม่รู้ว่าเทรนด์การพัฒนาในอนาคตข้างหน้าจะเป็นยังไง”

ชิงดำ “เดอะมอลล์” ที่ดินบางซื่อ

แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า นอกจากนี้ ทางกลุ่มเซ็นทรัลยังสนใจจะร่วมประมูลพัฒนาที่ดินแปลง A ติดสถานีกลางบางซื่อด้วย ซึ่งที่ดินแปลงนี้มีเอกชนรายใหญ่รายหลายสนใจ เช่น เดอะมอลล์

อนึ่ง ก่อนหน้านี้ นายปรีชา เอกคุณากูล กรรมการผู้จัดการใหญ่ และประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) หรือ CPN เปิดเผยว่า มีแผนจะซินเนอร์ยี่ที่ดินตรงศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว กับโครงการจะพัฒนาบนที่ดินเยื้องแดนเนรมิตของจีแลนด์และบีทีเอสที่เซ็นทรัลเข้าไปซื้อหุ้นเป็นโครงการมิกซ์ยูสบีทีเอสแย้มร่วมทุนมิกซ์ยูสพหลฯ

ด้านนายคีรี กาญจนพาสน์ ประธานกรรมการบริษัท บีทีเอสกรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ BTS เปิดเผยว่า ที่ดิน 48 ไร่ ใกล้พหลโยธิน 24 ที่ซื้อร่วมกับจีแลนด์ มีแผนจะพัฒนาร่วมกับกลุ่มเซ็นทรัลในอนาคต รับกับรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต แต่ยังไม่สามารถบอกรายละเอียดได้ในขณะนี้
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 18/02/2019 12:36 pm    Post subject: Reply with quote

จุดพลุพัฒนาที่ดินมิกซ์ยูส235สถานี เกาะรัศมีไฮสปีด-รถไฟฟ้าทั่วประเทศ
พร็อพเพอร์ตี้
วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2562 เวลา 09:01 น.

ไพรินทร์ ชูโชติถาวร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม (แฟ้มภาพ)
คมนาคมคัดพื้นที่รอบสถานีรถไฟฟ้า ทางคู่ รถไฟความเร็วสูง จุดพลุพัฒนาเชิงพาณิชย์ ยึดโมเดลญี่ปุ่นสร้างมูลค่าที่ดิน รีดภาษีเพิ่มรายได้เข้ารัฐ เปิดทางเอกชนพัฒนาร่วมท้องถิ่น รัฐจัดรูปที่ดิน บูม 27 จุดตัดรถไฟฟ้า หัวเมืองใหญ่ ปัดฝุ่น 17 เมืองใหม่ไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน ศูนย์กลางธุรกิจ

นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ช่วง 5 ปีที่ผ่านมารัฐบาลลงทุนครั้งใหญ่กว่า 1.2 ล้านล้านบาท พัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งทั้งทางถนน ราง น้ำ และอากาศ มีมอเตอร์เวย์ รถไฟฟ้า ทางคู่ รถไฟความเร็วสูง สถานีขนส่ง ท่าเรือ สนามบิน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ต้องมีการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีขนส่งมวลชน (TOD) เป็นเครื่องมือชี้นำการพัฒนาเมือง ให้สอดคล้องกับเส้นทางโครงการ จะเชื่อมการเดินทางและกระจายความเจริญจากกรุงเทพฯไปสู่ภูมิภาค

TOD เครื่องมือสร้างรายได้เพิ่ม

“การพัฒนา TOD จะเพิ่มมูลค่าที่ดินสองข้างทางหรือโดยรอบสถานี จากการพัฒนาพาณิชยกรรม แหล่งงาน ที่อยู่อาศัย ทำให้รัฐลงทุนไม่สูญเปล่า มีรายได้เพิ่มจากเก็บภาษีที่ดินเหมือนโมเดลของต่างประเทศ เช่น ญี่ปุ่น”

ปัจจุบันสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กำลังให้ที่ปรึกษาร่างเป็นแผนแม่บทพัฒนา TOD จะแล้วเสร็จในเดือน เม.ย. 2563 ทั้งนี้การพัฒนาจะสำเร็จได้ รัฐ เอกชน และประชาชนในพื้นที่ต้องร่วมกันผลักดันโครงการ ซึ่งรูปแบบการพัฒนาจะเป็นมิกซ์ยูสผสมผสานพาณิชยกรรม ที่อยู่อาศัย สำนักงาน หรือสร้างระบบคมนาคมขนาดรองเชื่อมการเดินทางภายในโครงการ

“TOD ไม่ใช่เรื่องใหม่ การรถไฟขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย เคยศึกษา TOD แนวรถไฟฟ้าไว้ แต่ติดกฎหมายไม่ให้นำที่ดินเวนคืนพัฒนาเชิงพาณิชย์ได้ ขณะที่การจัดรูปที่ดินก็ไม่ง่าย ดังนั้นต้องออกเป็นกฎหมาย TOD เป็นการเฉพาะ คล้ายกับกฎหมาย BOI ทุกฝ่ายได้ประโยชน์ เช่น จะขายที่ดินให้รัฐในราคาตลาด หรือจะเข้าร่วมการพัฒนาก็ได้ แต่การออกกฎหมายอาจจะใช้เวลานาน ที่น่าจะเกิดได้เร็วเป็น 3 จังหวัดใน EEC ที่กฎหมาย EEC ในมาตรา 34 บอกคอนเซ็ปต์พัฒนาที่ดินไว้ เช่น ฉะเชิงเทรา พัทยา ศรีราชา อู่ตะเภา น่าจะเกิดขึ้นได้ก่อน”

นายชยธรรม์ พรหมศร รองผู้อำนวยการ สนข. เปิดเผยว่า บริเวณมีศักยภาพจะพัฒนา TOD เป็นพื้นที่รอบสถานีหรือจุดเปลี่ยนถ่ายการเดินทางของผู้โดยสาร ซึ่งต้องกำหนดกรอบชี้การพัฒนาไว้ให้ชัดเจน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถการใช้ประโยชน์ที่ดินของเมืองและบริเวณโดยรอบ ตั้งเป้าจะมีอย่างน้อย 3 แห่งพัฒนาเป็นเมืองต้นแบบ

ผุด 235 แห่งทั่วประเทศ

นายยงธนิศร์ พิมลเสถียร ผู้จัดการโครงการ เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า แผนแม่บท TOD จะเรียนรู้โมเดลของญี่ปุ่นมาปรับใช้ให้เข้ากับไทย จะเกาะไปตามเส้นทางรถไฟความเร็วสูง 4 สายทาง รถไฟทางคู่ 16 สายทาง รถไฟฟ้า 10 สายทางในกรุงเทพฯและปริมณฑล

สำหรับพื้นที่สถานี 883 สถานีทั่วประเทศ มีศักยภาพพัฒนาได้ 235 แห่ง แยกเป็น กทม. 27 แห่ง สายเหนือ 67 แห่ง สายตะวันออกเฉียงเหนือ 60 แห่ง สายตะวันออกรวม EEC 25 แห่ง สายใต้ 41 แห่ง และสายตะวันตก/แม่กลอง 15 แห่ง ซึ่งจะลงพื้นที่รับฟังความคิดเห็นของท้องถิ่นเพื่อกำหนดพื้นที่จะพัฒนาต่อไป เช่น ระยะเวลา ขนาดพื้นที่จะเป็นขนาดเล็ก (S) กลาง (M) และใหญ่ (L)

บางซื่อ-มักกะสันเกิดแน่

“กทม. 27 แห่ง จะอยู่รอบสถานีที่เป็นจุดตัด จุดต้นทางและจุดสิ้นสุดของรถไฟฟ้า เช่น สถานีอโศก สถานีร่มเกล้า สถานีบางหว้า สถานีศูนย์วัฒนธรรม สถานีคูคต เป็นต้น เกิดแน่ ๆ คือ ย่านบางซื่อ-พหลโยธินและมักกะสัน ซึ่งย่านพหลโยธินเป็นเมกะโปรเจ็กต์ TOD เพราะพื้นที่ใหญ่สุดกว่า 2,300 ไร่ สนข.ออกแบบแล้ว การรถไฟฯกำลังเปิดประมูลพัฒนาที่ดินรอบสถานีกลางบางซื่อ ซึ่งจะเป็นศูนย์กลางการเดินทางด้านระบบรางในอนาคต ส่วนมักกะสันจะเป็นศูนย์กลางเมืองและเกตเวย์สู่อีอีซี” นายยงธนิศร์กล่าวและว่า

สำหรับพื้นที่ภูมิภาคหากแนวรถไฟพาดผ่านตัวจังหวัดและใช้สถานีเดิมเป็นจุดเปลี่ยนถ่ายคน การพัฒนาเป็นรูปแบบศูนย์กลางเมือง เช่น ขอนแก่น ถ้าเป็นพื้นที่เปิดใหม่ เช่น แนวรถไฟความเร็วสูง ที่มีเบี่ยงแนว และสร้างสถานีใหม่ จะเป็นรูปแบบเมืองใหม่ เตรียมหารือร่วมกับกรมโยธาธิการและผังเมือง ถึงแนวคิดการพัฒนาเมืองใหม่รถไฟความเร็วสูงที่เคยศึกษาไว้ 17 สถานี จะสามารถนำข้อมูลปรับใช้ด้วยกันอย่างไรได้บ้าง

ปัดฝุ่น 17 เมืองใหม่ไฮสปีด

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ผ่านมากรมโยธาฯร่วมกับ สนข. ศึกษาโมเดลเมืองใหม่รถไฟความเร็วสูง 4 เส้นทาง มี 17 สถานี ทั้งพัฒนาสถานีเดิมและเปิดพื้นที่ใหม่ มีเมือง 3 ขนาด คือ S-M-L พื้นที่ตั้งแต่ 2,000-5,000 ไร่ ในรัศมี 5-10 กม.รอบสถานี ได้แก่ 1.กทม.-นครราชสีมา 3 แห่ง มีสระบุรี 3,000 ไร่ ปากช่อง 3,000 ไร่ และ 3.นครราชสีมา 7,000 ไร่ 2.กทม.-พิษณุโลก มี 5 แห่ง ที่พระนครศรีอยุธยา 5,000 ไร่ ลพบุรี 5,000 ไร่ นครสวรรค์ 5,000 ไร่ พิจิตร 5,000 ไร่ และพิษณุโลก 5,000 ไร่ 3.กทม.-หัวหิน มี 4 แห่ง ที่นครปฐม 3,000-4,000 ไร่ ราชบุรี 3,000 ไร่ เพชรบุรี 3,000-4,000 ไร่ และหัวหิน 5,000 ไร่ และ 4.กทม.-พัทยา-ระยอง ปัจจุบันเป็นไฮสปีดเทรนเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) มี 5 แห่ง ที่ฉะเชิงเทรา 2,500 ไร่ ชลบุรี 3,000-4,000 ไร่ ศรีราชา 7,000 ไร่ พัทยา 5,000-6,000 ไร่ และระยอง 4,000-5,000 ไร่

อีอีซีดันแปดริ้ว-พัทยา-อู่ตะเภา

นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) กล่าวว่า TOD จะสำเร็จต้องมีหน่ายงานกำกับและเดินหน้าอย่างจริงจังเหมือน EEC อย่าให้เหมือนสถานีรังสิตของสายสีแดงช่วงบางซื่อ-รังสิตที่รถไฟจะเปิดใช้ปี 2564 แต่ยังไม่มีเจ้าภาพคิดการพัฒนารอบสถานีทั้งที่เป็นพื้นที่มีศักยภาพ เป็นแหล่งงาน ชุมชน และการศึกษา

“EEC ให้เอกชนพัฒนา TOD ที่มักกะสัน 150 ไร่ ศรีราชา 25 ไร่ แนวรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ยังมีที่ฉะเชิงเทรา พัทยา ซึ่งฉะเชิงเทราจะเป็นชุมทางไปยัง EEC กัมพูชา ภาคอีสานทะลุถึงจีน อาจจะมีพัฒนาเมืองใหม่มาเชื่อมกับโลจิสติกส์ ต้องหานักลงทุนที่สนใจมาพัฒนาร่วมชุมชนท้องถิ่น”

อีกทั้งจะพัฒนารอบสนามบินอู่ตะเภาเป็นเมืองใหม่ รองรับการขยายตัวของเมือง แหล่งงาน การอยู่อาศัย ใน 5 ปีแรกรัศมี 10 กม. รอบสนามบิน พื้นที่ 140,000 ไร่ ย่านสัตหีบ บ้านฉาง บางเสร่ จอมเทียน อีก 5-10 ปี ขยายออกเขตชั้นกลาง 30 30 30 กม. จาก เมืองพัทยา ถึงเมืองระยอง เป็นเขตพัฒนาเดียวกันและช่วง 10-15 ปี ขยายสู่เขตชั้นนอก 60 กม. เป็นการพัฒนาต่อยอดโครงการรถไฟความเร็วสูงที่กำลังเจรจากับกลุ่ม ซี.พี.และโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาที่กองทัพเรือจะเปิดยื่นซองประมูลกลางเดือน มี.ค.นี้ ทั้งนี้ถึงจะเปลี่ยนรัฐบาลใหม่ยังมั่นใจว่าโครงการลงทุนขนาดใหญ่ด้านโครงสร้างพื้นฐานใน EEC ยังได้เดินหน้าต่อเนื่อง

เอกชนแนะเช่า 99 ปี

“คมนาคมต้องผลักดันโครงการ TOD อย่างเป็นเรื่องเป็นราว ไม่ต้องรอผลศึกษา จะออกหรือจะแก้กฎหมายหรือจะใช้การจัดรูปที่ดินก็ต้องรีบทำ และต้องเข้าใจโมเดลการลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนที่ต้องไปด้วยกัน รัฐต้องเข้าใจเอกชน เขาอยากได้อะไร ไม่ใช่ห้ามเขาทำแบบนั้นแบบนี้ จะทำให้การพัฒนาเกิดยาก”

นายอธิป พีชานนท์ นายกสมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร กล่าวว่า ภาคเอกชนมีข้อเสนอแนะคือ รัฐต้องบูรณาการด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องด้วย เช่น กฎหมายผังเมือง กฎหมายควบคุมอาคาร ระยะเวลาการพัฒนาโครงการต้องให้เกิดแรงจูงใจให้เข้าไปลงทุน เช่น กรณีเป็นที่เช่าควรจะให้ 90-99 ปี จากปัจจุบัน 50 ปี
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 20/02/2019 9:56 pm    Post subject: Reply with quote

รฟท. ดันPPPสถานีขอนแก่น ชูจุดแข็ง ฮับทางคู่ & ไฮสปีดไทย-จีน
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 20 กุมภาพันธ์ 2562 เวลา 19:42



รฟท.เปิดรับฟังความเห็น รอบ2 ก่อนเปิด PPP ดึงเอกชนพัฒนาสถานีรถไฟขอนแก่น แบ่ง 5 แปลง พื้นที่ 108 ไร่ เนรมิต โรงแรม ที่พักอาศัย และศูนย์การค้า ชูจุดชายเมืองศูนย์กลาง ทางคู่ และไฮสปีดไทย-จีน

นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท ) เปิดเผยว่า รฟท.จะจัด ประชุมการรับฟังความเห็น โครงการศึกษาความเหมาะสม และออกแบบเชิงความคิด โครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณอาคารบ้านพักพนักงาน อาคารที่ทำการ

และสนามกอล์ฟที่สถานีขอนแก่น ตามพระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556 ครั้งที่สอง วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2562 ณ โรงแรม Vwish จังหวัดขอนแก่น

ทั้งนี้ เพื่อนำเสนอข้อมูลรายละเอียดของการศึกษาโครงการให้หน่วยงานภาครัฐ ประชาชนในพื้นที่ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้รับทราบพร้อมทั้งเปิดรับฟังความคิดเห็น และข้อเสนอแนะต่อการศึกษาโครงการเพื่อให้นำผลที่ได้ไปพิจารณาปรับเปลี่ยนลักษณะโครงการให้สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน ตลอดจนนำไปปรับใช้ในการป้องกัน แก้ไข และลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการ เพื่อนำมาใช้ในการดำเนินโครงการให้เกิดประโยชน์สูงสุด

โดยรฟท. ได้ดำเนินการจ้างสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)เป็นที่ปรึกษาเพื่อดำเนินการศึกษาโครงการศึกษาความเหมาะสม และออกแบบเชิงความคิด โครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณอาคาร บ้านพักพนักงาน อาคารที่ทำการ และสนามกอล์ฟที่สถานีขอนแก่น ตามพระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (PPP) พ.ศ. 2556

สำหรับแผนพัฒนาพื้นที่สถานีขอนแก่น เบื้องต้นแบ่งการพัฒนาเป็น 5 แปลงบนพื้นที่ 108 ไร่ ประกอบด้วย โซนบี 16.2 ไร่ พัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์บริเวณย่านสถานีรถไฟ ด้วยการใช้ประโยชน์ที่ดินแบบผสมผสาน มีทั้งที่พักอาศัย อาคารพาณิชย์ สำนักงาน และค้าปลีก

ขณะที่โซนซีและโซนดี16.5 ไร่ พัฒนารองรับโรงแรม ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้า

โซนอี 58.6 ไร่ พัฒนาเป็นพื้นที่สวนสนุก และพื้นที่สันทนาการ

และพื้นที่โซนเอฟ 8 ไร่ พัฒนาเป็นพื้นที่ประเภทกลุ่มอาคารสำนักงาน และที่พักอาศัยของพนักงาน
การรถไฟฯ

ส่วนพื้นที่โซนเอได้มีการประมูลไปก่อนหน้านี้แล้วจึงไม่นับรวมอยู่ในโครงการนี้

“โครงการศึกษาความเหมาะสม และออกแบบเชิงความคิดโครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณอาคาร บ้านพักพนักงาน อาคารที่ทำการ และสนามกอล์ฟที่สถานีขอนแก่น ถือเป็นโครงการพัฒนาที่ดินที่มีศักยภาพสูง ของการรถไฟฯ โดยจะมีโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน โครงการรถไฟทางคู่ รวมไปถึงโครงการพัฒนาระบบรถไฟฟ้ารางเบา ผ่านมายังสถานีในอนาคต”
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 01/03/2019 6:53 pm    Post subject: Reply with quote

นี่ไม่ใช่แค่การปลูกพืชปลูกผัก แต่มันเป็นการปลูกมิตรภาพ ปลูกความสามัคคี ปลูกความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ปลูกความพอเพียง ปลูกความผูกพัน ปลูกความดี เรากำลังปลูกความรักความสามัคคีในหน่วยงาน…การรถไฟแห่งประเทศไทย
#โครงการสถานี ซุ้มสวยงาม พืชผักกินได้

มาช่วยกันแชร์ผลงานดีๆ ที่เกิดจากน้ำพักน้ำแรงของคนรถไฟ #ดีกว่าปล่อยให้เป็นพื้นที่รกร้างว่างเปล่า
https://www.facebook.com/pr.railway/videos/vb.129946050353608/2310550465656666/?type=2&theater
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 04/03/2019 1:50 am    Post subject: Reply with quote

ชิงเดือด! "ทำเลทองรถไฟ" เปิดร่วมทุนปั้น "ศูนย์การแพทย์" เชื่อมระบบราง
01 มีนาคม พ.ศ. 2562

รฟท. ดันโมเดลนำร่องการพัฒนาเชิงพาณิชย์รูปแบบร่วมลงทุนพัฒนา 5 ศูนย์บริการแพทย์ เชื่อมด้วยระบบราง ผนึกกรมการแพทย์และเอกชนร่วมลงทุนที่ดิน 2 ทำเล "ศิริราช - แปลง D สถานีกลางบางซื่อ" รับรายได้กว่า 6 พันล้าน ดีเดย์! เปิดรับฟังความเห็น

นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจบริหารทรัพย์สิน ในฐานะรักษาการผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า อยู่ระหว่างการเร่งผลักดันโครงการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ที่ดินแปลงย่อย จำนวน 2 แปลง คือ แปลงใกล้สถานีรถไฟธนบุรี จำนวน 22 ไร่ ใกล้ ร.พ.ศิริราช และแปลง D ในสถานีกลางบางซื่อ จำนวน 15 ไร่ รูปแบบการเปิดให้เอกชนเช่าระยะยาว 30 ปี เพื่อนำไปร่วมลงทุนพัฒนาพื้นที่นั้น ๆ ให้เป็นศูนย์บริการด้านการแพทย์ขนาดใหญ่ รองรับความต้องการของประชาชน คาดว่าจะสร้างรายได้ให้ รฟท. ไม่น้อยกว่า 6,000 ล้านบาท
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 06/03/2019 11:23 pm    Post subject: Reply with quote

เดอะมอลล์-เซ็นทรัล สนประมูลพัฒนาที่ดินสถานีธนบุรีย่านศิริราช ผุดห้าง
พร็อพเพอร์ตี้
ที่มา ข่าวสดออนไลน์

วันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2562 22:23 น.


นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า วันที่ 7 มี.ค. ที่ปรึกษาโครงการพัฒนาพื้นที่ย่านสถานีธนบุรี ได้จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นจากภาคเอกชนในกลุ่มเป้าหมาย (มาร์เก็ตซาวดิ้ง) ครั้งที่ 1 ในโครงการเปิดให้เอกชนเข้าร่วมลงทุนพัฒนาที่ดินย่านสถานีธนบุรี มีเนื้อที่ประมาณ 148 ไร่ ซึ่ง รฟท. จะนำร่องเปิดประมูลก่อนส่วนแรก 22 ไร่ มูลค่าที่ดินราว 1.2 พันล้านบาท ในช่วงปลายปีนี้

เบื้องต้นจะพัฒนาเป็นคอมมูนิตี้มอลล์ พื้นที่ค้าขาย และที่อยู่อาศัย เนื่องจากอยู่ติดกับโรงพยาบาลศิริราช และเป็นย่านชุมชน อีกทั้งยังอยู่ติดกับแม่น้ำเจ้าพระยา สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวได้ จึงมั่นใจว่าเอกชนจะตอบรับเข้าร่วมประมูลพัฒนาพื้นที่ดังกล่าว โดยเฉพาะเอกชนที่มีประสบการณ์พัฒนาคอมมูนิตี้มอลล์ และห้างสรรพสินค้าอยู่แล้ว

รายงานข่าวการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ระบุว่า ย่านสถานีธนบุรีเป็นพื้นที่ทำเลทอง ตั้งอยู่เขตเมืองชั้นใน ใกล้บริเวณเกาะรัตนโกสินทร์ มีโครงข่ายคมนาคมขนส่งที่เข้าถึงสะดวกทั้งถนน ราง และน้ำ โดย รฟท. แบ่งพื้นที่การพัฒนาสถานีธนบุรีออกเป็น 4 โซนคือ

โซน 1 พื้นที่ภายใต้การใช้กิจกรรมรถไฟ เดิมเป็นการใช้ประโยชน์ประเภทพื้นที่สถานีธนบุรี สถานีรถไฟฟ้าสายสีส้ม รถไฟชานเมืองสายสีแดง พื้นที่แนวรถไฟ ศูนย์ซ่อมบำรุง


โซน 2 รฟท. จะเป็นผู้กำกับดูแล และปล่อยเช่าให้กับภาคเอกชน หรือภาครัฐในการใช้ประโยชน์ ได้แก่โรงพยาบาลศิริราช ตลาดศาลาน้ำเย็น ปั๊มน้ำมัน ลานจอดรถ หอพักโรงพยาบาลศิริราช

ขณะที่โซน 3 พื้นที่โซนพักอาศัยเป็นการรองรับกลุ่มผู้อยู่อาศัยใหม่ในบริเวณพื้นที่ โดยแบ่งออกเป็น 3 อาคาร ที่พักอาศัยพนักงานและที่พักอาศัยนักศึกษาแพทย์ มีจุดเด่นในการพัฒนาพื้นที่สีเขียวและพื้นที่สาธารณะเพื่อรองรับกลุ่มที่มีความต้องการในการเดินทางระยะใกล้ การใช้เวลาเดินทางไม่มากนักจากที่พักไปยังที่ทำงาน

และโซน 4 พื้นที่ส่วนกลางที่เป็นส่วนของตลาด เพื่อเป็นศูนย์กลางในการรองรับผู้อาศัยใหม่ในพื้นที่ และรองรับผู้ค้าขายในพื้นที่เดิม โดยมีแนวเส้นทางการเชื่อมต่อที่เชื่อมกับศูนย์กลางด้านคมนาคม ได้แก่ สถานีธนบุรี ศิริราช และสถานีรถไฟฟ้าศิริราช ที่จะมีการก่อสร้างในอนาคต การพัฒนาจุดนี้จะเน้นพัฒนาศูนย์ที่อยู่อาศัยและพาณิชย์กรรมสำหรับชุมชน โดยเชื่อมโยงด้วยเส้นทางเดินเท้า และเส้นทางคมนาคมทางบก

รายงานข่าวแจ้งว่า ขณะนี้นักลงทุนภาคเอกชนหลายรายได้แสดงความสนใจที่จะเข้ามาพัฒนาพื้นที่ดังกล่าว อาทิ กลุ่มโรงพยาบาลจำนวนมาก เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวติดกับโรงพยาบาลศิริราช จึงมีศักยภาพจะพัฒนาเป็นศูนย์กลางการแพทย์ ขณะเดียวกันกลุ่มค้าปลีก ได้แก่ เดอะมอลล์ และเซ็นทรัล ก็ให้ความสนใจพัฒนาพื้นที่ค้าปลีกในบริเวณนี้ด้วย
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44333
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 07/03/2019 7:11 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
เดอะมอลล์-เซ็นทรัล สนประมูลพัฒนาที่ดินสถานีธนบุรีย่านศิริราช ผุดห้าง
พร็อพเพอร์ตี้
ที่มา ข่าวสดออนไลน์
วันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2562 22:23 น.

รถไฟเปิดหน้าดินสถานีธนบุรี 21 ไร่ ดึงบิ๊กลงทุนผุดศูนย์สุขภาพ 3 พันล้าน รับสายสีแดง”ตลิ่งชัน-ศิริราช”
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ วันที่ 7 March 2019 - 16:18 น.

Click on the image for full size

การรถไฟฯเตรียมพัฒนาที่ดินย่านสถานีธนบุรี 21 ไร่ ใกล้สถานีบางกอกน้อย-ศิริราช เป็นศูนย์สุขภาพ คาดลงทุนกว่า 3,200 ล้าน รับโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง”ตลิ่งชัน-ศิริราช” ที่ครม.เพิ่งอนุมัติ ระบุมีเอกชนที่สนใจ ทั้งกลุ่มเซ็นทรัล เดอะมอลล์ ทีซีซีแลนด์ และกลุ่มรพ.ธนบุรี
นายวรวุฒิ มาลา รักษาการผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 7 มี.ค.2562 ได้จัดทดสอบความสนใจภาคเอกชนต่อโครงการพัฒนาที่ดินย่านสถานีธนบุรีประมาณ 21 ไร่ ใกล้สถานีบางกอกน้อยและโรงพยาบาลศิริราช ซึ่งปัจจุบันเป็นบ้านพักพนักงานรถไฟจำนวน 305 ครัวเรือน มาพัฒนาเป็นศูนย์สุขภาพ (Health&Wellness Hub) มูลค่าการลงทุน 3,232 ล้านบาท

ซึ่งมีแผนจะเปิดให้เอกชนร่วมลงทุน PPP net cost ระยะเวลา 34 ปี แยกเป็นก่อสร้าง 4 ปี และจัดหาประโยชน์ 30 ปี โดย ร.ฟ.ท.จะได้ผลตอบแทนตลอดอายุสัญญาคิดเป็นมูลค่าปัจจุบัน 992 ล้านบาท และค่าธรรมเนียมการเช่า 20% ประมาณ 198 ล้านบาท

Click on the image for full size

“ปัจจุบันราคาที่ดินย่านนี้อยู่ที่ 220,000 บาท/ตร.ว. รวม 21 ไร่ อยู่ที่ 1,836 ล้านบาท ซึ่งนับว่าเป็นทำเลมีศักยภาพจะนำมาพัฒนาพาณิชย์สร้างรายได้เข้าองค์กรได้ เนื่องจากอยู่ใกล้แม่น้ำเจ้าพระยาและแหล่งชุมชน และรถไฟฟ้าสายสีแดงที่คณะรัฐมนตรีเพิ่งอนุม้ติโครงการ คือ ส่วนต่อขยายตลิ่งชัน-ศิริราช และตลิ่งชัน-ศาลายา”

รูปแบบการพัฒนา ทางบริษัทที่ปรึกษาออกแบบการพัฒนาเป็นโครงการมิกซ์ยูส มีพื้นที่ก่อสร้างรวม 110,458 ตร.ม. ประกอบด้วย 1.โซนโรงแรม และรีเทลอยู่ด้านบนโครงการ เป็นอาคารสูง 13 ชั้น จำนวน 720 ห้อง ที่จอดรถ 501 คัน รองรับญาติผู้ป่วย จากโรงพยาบาลศิริราชและโรงพยาบาลธนบุรี จำนวน 8,000-10,000 คน เป็นโรงแรมระดับ 3 ดาว หรือบัดเจ็ดโฮเต็ล ค่าพักไม่เกิน 1,000 บาท/คืน

2.โซนศูนย์พักฟื้นสุขภาพ จะสร้างเป็นอาคารสูง 13 ชั้น จำนวน 280 ห้อง ที่จอดรถ 232 คัน รองรับผู้พักฟื้นและดูแลสุขภาพจากโรงพยาบาลศิริราชและโรงพยาบาลธนบุรี ค่าห้องประมาณ 40,000-60,000 บาท/เดือน

Click on the image for full size

3.โซนเซอร์วิสอพาร์ตเมนต์ และผู้สูงวัย เป็นอาคารสูง 13 ชั้น จำนวน 300 ห้อง ที่จอดรถ 235 คัน รองรับกลุ่มแพทย์และผู้สูงวัยในย่านฝั่งธนบุรี ค่าเช่า 30,000-50,000 บาท/เดือน

และ 4.โซนบ้านพักพนักงานรถไฟ ที่ผู้ลงทุนจะต้องสร้างที่พักอาศัยรูปแบบตึกสูง 13 ชั้น จำนวน 315 ห้อง ทดแทนจากเดิมเป็นบ้านพักแนวราบ พร้อมที่จอดรถ 265 คัน ซึ่งจะใช้เงินลงทุนประมาณ 300 กว่าล้านบาทที่จะเป็นต้นทุนของเอกชน แต่ ร.ฟ.ท.จะหักจากผลตอบแทนที่จะได้ให้กับเอกชนเป็นการทดแทน

“ตั้งเป้าจะให้โครงการนี้แล้วเสร็จพร้อมกับรถไฟฟ้าสายสีแดงส่วนต่อขยายตลิ่งชัน-ศิริราช สร้างเสร็จในปี 2565 ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขั้นตอนต่างๆ เพราะต้องเข้าคณะกรรมการ PPP ซึ่งมีโครงการรอพิจารณาจำนวนมาก”

นายวสันต์ คงจันทร์ กรรมการผู้จัดการ บริษยา โมเดอร์น พร็อพ เพอร์ตี้ คอนซัลแตนท์ จำกัด เปิดเผยว่า โครงการนี้มีผลตอบแทนโครงการประมาณ 12% จะใช้เวลา 10 ปีจะถึงจุดคุ้มทุน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับเอกชนที่แสดงความสนใจเข้าร่วมลงทุน เช่น เซ็นทรัล เดอะมอลล์ ทีซีซีแลนด์ กลุ่ม รพ.ธนบุรี เป็นต้น

Click on the image for full size

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 08/03/2019 2:16 pm    Post subject: Reply with quote

กลุ่มเซ็นทรัลฯแย้มสนใจลงทุน108ไร่สถานีรถไฟขอนแก่น มูลค่าโครงการสูงกว่า7พันล้าน
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 8 มีนาคม พ.ศ. 2562 13:04



ศูนย์ข่าวขอนแก่น-รฟท.เตรียมเปิดทำเลทองย่านสถานีรถไฟขอนแก่น 108 ไร่ ให้เอกชนร่วมลงทุนพัฒนาเชิงพาณิชย์ใจกลางเมือง ทั้งโรงแรม ศูนย์ประชุม-แสดงสินค้า สวนสนุกฯลฯ มูลค่าโครงการกว่า 7,000 ล้านบาท แย้มเบื้องต้นกลุ่มเซ็นทรัลมีท่าทีสนใจ



เมื่อเร็วๆนี้ ที่ห้องประชุมบริรักษ์ 1 โรงแรมวิวิช อ.เมืองขอนแก่น การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน (ครั้งที่ 2) โครงการศึกษาความเหมาะสมและออกแบบเชิงความคิด โครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณอาคารบ้านพักพนักงาน อาคารที่ทำการและสนามกอล์ฟที่สถานีขอนแก่น การรถไฟแห่งประเทศ ตามพระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556 โดยมีน.ส.จิตรเลขา เดชเจริญ รองผู้อำนวยการฝ่ายด้านบริหารโครงการ ฝ่ายบริหารทรัพย์สิน การรถไฟแห่งประเทศไทย พร้อมบริษัทที่ปรึกษา หน่วยงานรัฐ และชุมชนที่มีส่วนได้ส่วนเสีย เข้าร่วมประชุม

ทั้งนี้พื้นที่ย่านสถานีรถไฟขอนแก่น ประกอบด้วยพื้นที่บริเวณอาคารบ้านพักพนักงาน อาคารที่ทำการ สนามกอล์ฟสถานีรถไฟขอนแก่น รวมจำนวน 108 ไร่ เป็นหนึ่งในผืนที่ดินที่มีศักยภาพพัฒนาเพิ่มรายได้ให้กับ รฟท. เพื่อรองรับกับโครงการรถไฟทางคู่ชุมทาง ถนนจิระ-ขอนแก่น ระบบขนส่งรถไฟรางเบา และโครงการรถไฟความเร็วสูงในอนาคต โดยมีเป้าหมายพัฒนาเป็นศูนย์แสดงสินค้า โรงแรม สวนสนุก ฯลฯ

น.ส.จิตรเลขา เดชเจริญ รองผู้อำนวยการฝ่ายด้านบริหารโครงการ ฝ่ายบริหารทรัพย์สิน การรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท)เปิดเผยถึงผลการระดมความคิดเห็นจากเวทีดังกล่าว รฟท. จะประมวลข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะต่างๆ ไปปรับปรุงผลการศึกษาฯ ทั้งนี้แผนพัฒนาโครงการเชิงพาณิชย์น่าสถานีรถไฟขอนแก่นจะหลีกเลี่ยงให้เกิดผลกระทบกับชุมชนน้อยที่สุด และให้เกิดประโยชน์ต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และการรถไฟแห่งประเทศไทยมากที่สุด

น.ส.จิตรเลขา ระบุว่า โครงการพัฒนาพื้นที่ของสถานีรถไฟขอนแก่น มีมูลค่ามากกว่า 5,000 ล้านบาท จะต้องดำเนินการตามกฎหมายร่วมทุน โดยให้เอกชนเข้ามาร่วมลงทุนกับรฟท. แต่ พ.ร.บ.จะยกเลิกให้เอกชนเข้ามาเช่าที่ดิน อสังหาริมทรัพย์ จะต้องดำเนินการตามระเบียบของ รฟท. โดยจะนำเสนอโครงการฯเข้าสู่บอร์ดการรถไฟให้เร็วที่สุด หากเห็นชอบ ก็จะเข้าสู่ขั้นตอนร่างประกาศเชิญชวนเอกชนเสนอตัวเข้าร่วมลงทุนกับ รฟท.

ตามผลการศึกษาของศูนย์วิจัยขีดความสามารถในการแข่งขัน สำนักวิจัยสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) พบว่าพื้นที่ของสถานีรถไฟขอนแก่นที่จะนำมาพัฒนาในเชิงพาณิชย์นั้น เฉพาะที่ดินมีมูลค่าประเมินกว่า 2,800 ล้านบาท ส่วนมูลค่าการลงทุนในแต่ละโซน รวมถึงค่าใช้จ่ายรื้อย้าย ก่อสร้างที่อยู่อาศัย อาคารที่ทำการให้กับพนักงานร่วม 200 ยูนิต รวมมูลค่าแล้วสูงกว่า 7,000 ล้านบาท โดยสามารถแยกพื้นที่การพัฒนาได้ทั้งหมดโซน 5 โซน ประกอบด้วยโซน B, C, D, E และF รวมพื้นที่ทั้งหมด 108.4 ไร่

โดยพื้นที่ย่านสถานีรถไฟขอนแก่นแยกเป็น โซน B จำนวน 16.2 ไร่ จะพัฒนาเป็นพื้นที่เชิงพาณิชย์, โซน C จำนวน 15.6 ไร่ และโซน D จำนวน10 ไร่ ทั้ง 2 โซน จะพัฒนาให้เป็นโรงแรม ศูนย์ประชุมและการแสดงสินค้า, โซน E พื้นที่กว่า 58.6 ไร่ จะพัฒนาให้เป็นสวนสนุกขนาดย่อมทันสมัยใจกลางเมืองรวมถึงเป็นพื้นที่สันทนาการ และโซนสุดท้ายโซน F ขนาด 8 ไร่ พัฒนาให้เป็นที่พักอาศัยของพนักงานการรถไฟ และกลุ่มอาคารสำนักงาน โดยโซน F จะได้รับการพัฒนาขึ้นก่อนโซนอื่น





อย่างไรก็ตาม จากการจัดเวทีรับฟังสาธารณะด้านการตลาด (Market Sharing)ไปก่อนหน้านี้ น.ส.จิตรเลขา บอกว่าก็เริ่มมีภาคเอกชนแสดงความสนใจเข้ามาร่วมพัฒนาที่ดินผืนนี้เช่นกัน เช่น กลุ่มเซ็นทรัลฯ และกลุ่มนักธุรกิจในขอนแก่น กระนั้นก็ตาม รูปแบบการพัฒนาที่ดินการรถไฟนั้น ไม่จำเป็นต้องเป็นไปตามสเป็กที่ รฟท.กำหนดไว้ ขึ้นอยู่กับเอกชนนักลงทุนจะประเมินศักยภาพที่ดิน ความเป็นไปได้ทางธุรกิจ ว่าทำเลที่ตั้งมีความเหมาะสมพัฒนาโครงการรูปแบบใด เพียงแค่โครงการพัฒนาควรอยู่ในกรอบเงื่อนไขขั้นต่ำที่ รฟท.กำหนดเบื้องต้น ว่าควรจะมีศูนย์ประชุมศูนย์แสดงสินค้า โรงแรม พื้นที่เชิงพาณิชย์ นอกเหนือจากนั้นขึ้นอยู่กับเอกชน

“กรณีกลุ่มเซ็นทรัล ยังไม่เสนอรูปแบบการพัฒนาเข้ามา แนวคิดของเซ็นทรัลเท่าที่ทราบเขาต้องการเปิดพื้นที่ย่านสถานีรถไฟ เชื่อมต่อทะลุกับถนนมิตรภาพ แต่รายละเอียดต่างๆยังไม่มีเพราะขั้นตอนยังมีอีกเยอะ ภาพจะชัดเจนมากขึ้นหลังจากที่ประกาศหาผู้ร่วมทุนไปแล้ว ส่วนโซน A มีเอกชนประมูลได้ไปแล้ว ณ ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนเสนอบอร์ดรถไฟ ให้ได้รับสิทธิ”น.ส.จิตรเลขา กล่าว

สำหรับข้อกังวลที่ได้รับการสะท้อนจากการจัดเวทีรับฟังความเห็นนั้น คือกรณีของชุมชน ที่อยู่ใกล้เคียงกับพื้นที่พัฒนาเชิงพาณิชย์ ของสถานีรถไฟขอนแก่น มีข้อเสนอแนะว่าโครงการฯอาจส่งผลกระทบกับการใช้ชีวิต ทั้งเรื่องระบบสาธารณูปโภคที่จะมารองรับโครงการพัฒนาพื้นที่รถไฟขอนแก่น ทั้ง 108 ไร่ จะเพียงพอหรือไม่ ระบบการจราจรที่ติดขัดอยู่แล้ว เมื่อก่อสร้างจะยิ่งทำให้รถติดมากขึ้นหรือไม่ ซึ่งประเด็นเหล่านี้ทางการรถไฟไม่ได้มองข้าม





ขั้นตอนขณะนี้ รฟท.ได้ประชาสัมพันธ์โครงการดังกล่าว ไปถึงนักลงทุนหลายกลุ่มที่มีศักยภาพ ที่พร้อมสนใจเข้ามาลงทุน ซึ่งมูลค่าโครงการสูงหลายพันล้านบาท อาจต้องใช้นักลงทุนหลายราย แต่ละรายอาจถนัดลงทุนในธุรกิจที่แตกต่างกัน ส่วนกรอบระยะเวลาโครงการหากเป็นไปตามแผนที่วางไว้เบื้องต้น น่าจะสามารถเชิญชวนเอกชนเข้ามาประมูล และทราบผลว่ากลุ่มทุนใดได้รับสิทธิร่วมทุนที่ชัดเจนได้ราวปลายปี 2564
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 08/03/2019 2:18 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
Wisarut wrote:
เดอะมอลล์-เซ็นทรัล สนประมูลพัฒนาที่ดินสถานีธนบุรีย่านศิริราช ผุดห้าง
พร็อพเพอร์ตี้
ที่มา ข่าวสดออนไลน์
วันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2562 22:23 น.

รถไฟเปิดหน้าดินสถานีธนบุรี 21 ไร่ ดึงบิ๊กลงทุนผุดศูนย์สุขภาพ 3 พันล้าน รับสายสีแดง”ตลิ่งชัน-ศิริราช”
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ วันที่ 7 March 2019 - 16:18 น.

รฟท.รุกพัฒนาที่ดินสถานีธนบุรี21ไร่ ผุดโรงแรม-ศูนย์สุขภาพกว่า3พันล.
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 7 มีนาคม พ.ศ. 2562 23:05
ปรับปรุง: 8 มีนาคม พ.ศ. 2562 05:51

รฟท.เปิดพื้นที่ “สถานีรถไฟธนบุรี” แปลงใหญ่ 21 ไร่ ดึงนักลงทุนพัฒนาผุดศูนย์สุขภาพ-โรงแรม 3 ดาว รองรับผู้ป่วย ผู้สูงอายุ พร้อมผุดพื้นที่เชิงพาณิชย์ 1 หมื่น ตร.ม.พลิกโฉมที่ดินย่านฝั่งธนบุรี คาดลงทุนกว่า 3.3 พันล้านบาท ชูศักยภาพสูง เชื่อมต่อรถไฟสายสีแดง-สีส้มสุดสะดวก



วานนี้ (7 มี.ค.) นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการ การถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) กลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการแทนผู้ว่าการ รฟท.เปิดเผยว่า รฟท.ได้จัดการสัมมนา รับฟังความคิดเห็นของนักลงทุน(Market Sounding) ในโครงการศึกษาความเหมาะสมและออกแบบเบื้องต้น การพัฒนาพื้นที่ย่านสถานีธนบุรี ตามพ.ร.บ.การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ.2556 ซึ่งในย่านสถานีธนบุรีมีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 120 ไร่ ซึ่งแบ่งเป็น 4 โซน โดยจะนำโซน 3 มีเนื้อที่ 21 ไร่ 3 งาน 65.22 ตรว.เปิดประมูลก่อน โดยแนวคิดการพัฒนารูปแบบ Mixed User Project ธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับโรงพยาบาล หรือ Health & Wellness และโรงแรมที่พักอาศัย ศูนย์สุขภาพ ร้านค้า เพราะพื้นที่รอบข้างมีศักยภาพสูง ซึ่งจะสรุปการศึกษาในเดือนเม.ย.และนำเสนอตามขั้นตอน PPP โดยมีเป้าหมาย เปิดให้บริการในปี 2565-2566 เพื่อให้พร้อมกับการเปิดเดินรถไฟสายสีแดง ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช และรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงศูนย์วัฒนธรรม-บางขุนนนท์

“โดยโครงการมี มูลค่าลงทุน 3,332 ล้านบาท พื้นที่พัฒนา 1.1 แสนตารางเมตร ระยะเวลาก่อสร้าง 4 ปี มีอายุสัญญา 30 ปี โดยที่ดินมีมูลค่าประมาณ 1,800 ล้านบาท หรือ 2.2 แสนบาท/ตารางวา โดยแบงชำระค่าธรรมเนียมการเช่าครั้งแรก 20% (198 ล้านบาท) และจ่ายค่าเช่ารายปี เริ่มต้นที่ 36 ล้านบาทในปีที่ 1 และปรับขึ้นทุกปีๆละ 5% โดยค่าเช่ารวมตลอดอายุสัญญา 30 ปี กว่า 2,400 ล้านบาท” นายวรวุฒิ กล่าว

นายวรวุฒิ กล่าวต่อว่า เบื้องต้น มีผู้ประกอบการโรงแรม โรงพยาบาลให้ความสนใจโครงการ โดยแบ่งการพัฒนาเป็น4 ส่วน คือ 1. โรงแรมและร้านค้า เพื่อรองรับญาติผู้ป่วยที่มาใช้บริการรพ.ศิริราช เป็นโรงแรมระดับ 3 ดาว หรือ Budget Hotel ราคาห้องไม่เกิน 1,000บาท 2. ศูนย์ด้านสุขภาพ รองรับผู้พักฟื้น ที่ต้องดูแลสุขภาพ ของรพ.ศิริราชและรพ.ธนบุรี 3. ที่พัก( Serviced Apartment & Retirement) รองรับกลุ่มแพทย์ และผู้สูงวัย 4. อาคารที่พักอาศัยพนักงานรถไฟ โดยทั้ง 4 ส่วน จะก่อสร้างเป็นอาคารสูง 13 ชั้น หรือความสูงไม่เกิน40 เมตร ตามข้อบัญญัติ กทม. โดยปัจจุบันพื้นที่ 21 ไร่ เป็นบ้านพักพนักงานรถไฟ จำนวน 305 ครอบครัว ดังนั้น เฟสแรก จะต้องพัฒนาในส่วนของอาคารที่พักพนักงานรถไฟก่อน เพื่อย้ายพนักงานจากพื้นราบขึ้นตึกสูง ซึ่งในส่วนนี้ ยังป็นสวัสดิการของรถไฟ ที่จะหักออกจากรายได้ของโครงการ

“ในโครงการจะพื้นที่เชิงพาณิชย์ ร้านค้าต่างๆ ประมาณ 10,000 ตรม. มีพื้นที่สีเขียว ซึ่งพื้นที่มีศักยภาพแต่เนื่องจากเป็นจุดที่มีบุคลากรทางการแพทย์ ผู้ป่วย กลุ่มผู้สูงวัย ซึ่งมีรายได้ปานกลาง-สูง กำหนดรูปแบบบริการที่เหมาะสม เป็นโรงแรม3ดาว เพราะเก็บแพงมากจะขายไม่ออก อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ภาครัฐอยู่ระหว่างปรับแก้พ.ร.บ.ร่วมทุน 2556 ซึ่งโครงการที่ให้เช่าพื้นที่ อาจจะไม่ต้องเข้าพ.ร.บ.ร่วมทุน ฯ2556. ซึ่งจะทำให้การดำเนินโครงการได้เร็วขึ้น แต่ขณะนี้ การปรับแก้ยังไม่เสร็จ จะต้องดำเนินการตามพ.ร.บ.ร่วมทุนฯ2556 ไปก่อน” นายวรวุฒิ ระบุ

ทั้งนี้ ผลการศึกษาพบว่า พื้นที่สถานีธนบุรีเหมาะกับการพัฒนาเป็นศูนย์กลางด้านสุขภาพและโรงแรมที่พัก มีกลุ่มเป้าหมาย แพทย์ กลุ่มผู้ป่วยที่ต้องนอนพักรักษาตัว กลุ่มญาติ ผู้สูงอายุ ที่ไม่ต้องการเดินทางไปกลับ ซึ่งคาดหมายว่าจะมีประมาณ 2,000-3,000 คน/วัน หรือ 5 ล้านคน/ปี นอกจากนี้ยังมีกลุ่มเป้าหมายรอบโครงการรัศมี 2-5 กม. อีกกว่า 2 แสนคน โดยประเมินการลงทุน 3,332 ล้านบาท มีผลตอบแทนการลงทุน ( IRR) 12% โดยในส่วนของกลุ่มโรงแรม ร้านค้า พื้นที่กว่า 4 หมื่นตรม. ค่าพัฒนา 1,300 ล้านบาท กลุ่ม Serviced Apartmen พื้นที่ 2.2 ตรม. ค่าพัฒนา 754 ล้านบาท กลุ่มบริการด้านสุขภาพ พื้นที่ กว่า 2 หมื่นตรม. ค่าพัฒนา 880 ล้านบาท และกลุ่มที่พักอาศัยพนักงานรถไฟ พื้นที่ 2.6 หมื่นตรม. ค่าพัฒนา กว่า 425 ล้านบาท

“การพัฒนาพื้นที่แปลงอื่นๆ เช่น สถานีแม่น้ำ, กม.11 ,มักกะสัน ,ย่านพหลโยธิน อยู่ในขั้นตอนเสนอคณะกรรมการ PPP อนุมัติ ส่วนพื้นที่ศูนย์พหลโยธิน แปลง A จำนวน 35 ไร่ ซึ่งอยู่ติดสถานีกลางบางซื่อ จะสรุปร่างTOR ในวันที่ 7 มี.ค.นี้ โดยคาดว่าจะประกาศTOR เพื่อรับฟังความคิดเห็นได้ในมี.ค.-เม.ย. โดยจะใช้เวลาประมาณ 2 สัปดาห์ หากไม่มีความเห็นเพิ่มเติม คาดว่าจะประกาศประกวดราคา ตามขั้นตอนการประกวดราคา PPP ได้ ซึ่งจะร่วมลงทุน PPP Net Cosy ระยะเวลา 30 ปี ก่อสร้าง 4 ปี วงเงินลงทุนกว่า 1.1 หมื่นล้านบาท ซึ่งจะเป็นศูนย์กลางธุรกิจ โรงแรมระดับ 3 ดาว เพื่อรองรับนักเดินทาง โดยตั้งเป้าเปิดให้บริการเฟสแรกในปี 2564 พร้อมกับการเปิดใช้สถานีกลางบางซื่อ เพื่อให้ผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าสายสีแดง มีความสะดวก” นายวรวุฒิ กล่าวทิ้งท้าย
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 151, 152, 153 ... 197, 198, 199  Next
Page 152 of 199

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©