Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311234
ทั่วไป:13180563
ทั้งหมด:13491797
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - แผนแม่บทรถไฟทางคู่เชื่อม 3 ท่าเรือ แหลมฉบัง-สัตหีบ-มาบตาพุด
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

แผนแม่บทรถไฟทางคู่เชื่อม 3 ท่าเรือ แหลมฉบัง-สัตหีบ-มาบตาพุด
Goto page Previous  1, 2, 3, 4  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 23/11/2018 12:37 pm    Post subject: Reply with quote

รฟท.เร่งสร้างทางคู่เชื่อม 3ท่าเรือ 'อีอีซี'
หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ
วันศุกร์ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561
“รฟท.” เข็น 4 โปรเจครถไฟหนุนภาคตะวันออก ประเดิมโครงการแรกจ่อประมูลปี 2562 สร้างทางคู่ศรีราชา-มาบตาพุด 8 พันล้านบาท เร่งศึกษาแนวเส้นทางเข้าหัวเมืองใหญ่ เชื่อม 3 ท่าเรือ พร้อมโชว์ผลงาน 4 ปีลงทุน 2.1 แสนล้าน

นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า รฟท.กำลังศึกษาโครงการรถไฟในพื้นที่ภาคตะวันออก เพื่อรองรับการขยายตัวของหัวเมืองใหญ่ รวมทั้ง สนับสนุนการเดินทางและการขนส่งในหัวเมืองหลักเข้าด้วยกัน ซึ่งโครงการที่จะพัฒนา 4 โครงการ คือ

1.รถไฟทางคู่ช่วงชุมทางศรีราชา - บ่อวิน - มาบตาพุด - ระยอง - จันทบุรี - ตราด ระยะทาง 230 กม. ซึ่งจะพัฒนาและเปิดให้บริการในปี 2568
2.รถไฟทางคู่ช่วงชุมทางคลองสิบเก้า- อรัญประเทศ ระยะทาง 170 กม. ซึ่งจะศึกษาความเหมาะสม และออกแบบในปี 2563 และเปิดให้บริการในปี 2570
3. รถไฟทางคู่เชื่อมสามท่าเรือ (แหลมฉบัง - สัตหีบ - มาบตาพุด) ระยะทาง 200 กม. ซึ่งจะศึกษาความเหมาะสม และออกแบบในปี 2562 และเปิดให้บริการในปี 2567 โดยใช้งบ 8000 ล้านบาท
4.รถไฟทางคู่เชื่อมท่าเรือทวาย ซึ่งจะศึกษาความเหมาะสม และออกแบบในปี 2563 และเปิดให้บริการในปี 2570

ตอนนี้ ทางคู่ ชุมทางฉะเชิงเทรา- ชุมทางศรีราชา - แหลมฉบัง (78 กิโลเมตร) และ ชุมทางฉะเชิงเทรา - ชุมทางคลองสืบเก้า (106 กิโลเมตร + คอร์ดไลน์อีก 6 กิโลเมตร) ระยะทางรวม 184 กิโลเมตร เสร็จไปแล้ว 87% โดยเปิดใช้งาน ทางคู่ ชุมทางฉะเชิงเทรา- ชุมทางศรีราชา - แหลมฉบัง ไปแล้วแต่ 12 มกราคม 2555

ส่วนทางรถไฟความไวสูงเชื่อมสามสนามบินจะลงนามเมื่อ 31 มกราคม 2562 และเปิดให้บริการปี 2567 และหมายใจจะต่อขยายไป ระยอง จันทบุรี - ตราดด้วย
https://www.facebook.com/ake.bluechifamily/posts/2037814096265525
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 21/12/2018 5:56 pm    Post subject: Reply with quote



21 ธ.ค.61 รฟท. จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นครั้งที่ 1 (ปฐมนิเทศ) โครงการเพิ่มประสิทธิภาพและเพิ่มความจุทางรถไฟ ช่วงหัวหมาก–ฉะเชิงเทรา–ศรีราชา และโครงการรถไฟทางคู่ช่วงศรีราชา–มาบตาพุด
สภาพปัจจุบัน ทางช่วงหัวหมาก-ฉะเชิงเทรามีทางรถไฟ 3 ทาง และทางรถไฟจากฉะเชิงเทรา-ศรีราชาเป็นทางคู่เข้าไปถึงในท่าเรือแหลมฉบัง ส่วนทางรถไฟช่วงศรีราชาลงมาถึงบ้านพลูตาหลวง บ้านฉาง มาบตาพุดเป็นทางเดี่ยว
การดำเนินโครงการฯ ประกอบด้วย
1. ปรับปรุงทางรถไฟเดิม ช่วงหัวหมาก-สถานีชุมทางศรีราชา 115 กิโลเมตร โดยปรับปรุงระบบอาณัติสัญญาณ และแก้ไขปัญหาจุดตัดทางผ่านเสมอระดับ ก่อสร้างรั้วตลอดแนวเส้นทาง
2. เพิ่มเส้นทางรถไฟอีก 1 ทาง ช่วงหัวหมาก-ฉะเชิงเทรา ระยะทาง 46 กิโลเมตร
3. ก่อสร้างทางคู่ ช่วงชุมทางศรีราชา-ชุมทางเขาชีจรรย์-มาบตาพุด และชุมทางเขาชีจรรย์-สัตหีบ ก่อสร้างทางเลี่ยงเมือง (Chord Line) บริเวณชุมทางศรีราชาและชุมทางเขาชีจรรย์ รวม 85 กิโลเมตร
รวมทั้งพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีรถไฟ เพื่อช่วยส่งเสริมให้การเดินทางและการขนส่งทางรางมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เอื้อประโยชน์ต่อการเดินทางของประชาชน สร้างรายได้เชิงพาณิชย์ให้กับการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) โดยมีพื้นที่ศึกษารัศมี 500 เมตร ถึง 1 กิโลเมตร และเสนอแนวทางการออกแบบเบื้องต้นและประมาณราคาต้นทุนการพัฒนาในเขตที่ดินของ รฟท.
https://www.youtube.com/watch?v=_MTEJNg2gwk
รายละเอียดเพิ่มเติมที่ http://www.doubletrackmaptatput.com/
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=2077364028977198&set=a.1878620525518217&type=3&theater

เดินหน้ารถไฟทางคู่อีอีซี เชื่อมท่าเรือ-นิคมฯ ลดต้นทุนขนส่ง
ศุกร์ที่ 21 ธันวาคม 2561

รฟท.เดินหน้าศึกษารถไฟทางคู่ เชื่อม 3 ท่าเรือ อีอีซี กระจายสินค้าทั่วประเทศ ลดต้นทุนการขนส่ง คาดเดือนมี.ค.2562 ได้ผลการศึกษาเบื้องต้น หากไฟเขียวใช้เวลาอีก 6 เดือนออกแบบรายละเอียด คาดใช้เวลาก่อสร้าง 3 ปี ทันรองรับโครงการอีอีซี

นายสมเกียรติ เตรียมแจ้งอรุณ วิศวกรโครงการเพิ่มประสิทธิภาพและเพิ่มความจุทางรถไฟ ช่วงหัวหมาก-ฉะเชิงเทรา-ศรีราชา และโครงการรถไฟทางคู่ ช่วงศรีราชา-มาบตาพุด การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยถึงการพัฒนาระบบรางเพื่อเพิ่มศักยภาพการขนส่งในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ว่า โครงการรถไฟทางคู่ในภาคตะวันออกนี้ จะเชื่อมท่าเรือที่สำคัญใน อีอีซี 3 ท่าเรือ ได้แก่ ท่าเรือมาบตาพุด ท่าเรือแหลมฉบัง และท่าเรือสัตหีบ ซึ่งเป็นท่าเรือหลักในการขนส่งสินค้าของประเทศ โดยเฉพาะท่าเรือแหลมฉบังมีสัดส่วนการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศสูงถึง 80% ของการขนส่งทั้งหมด ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการขยายท่าเรือแหลมฉบังเฟส 3 และท่าเรือมาบตาพุด เฟส 3 ซึ่งจะทำให้มีปริมาณขนส่งสินค้าเพิ่มสูงขึ้นมาก

ดังนั้นจึงต้องขยายเส้นทางรถไฟทางคู่เชื่อมโยงทั้ง 3 ท่าเรือ รองรับปริมาณสินค้าที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต ซึ่งจะมีตู้คอนเทนเนอร์จากท่าเรือแหลมฉบังจะเพิ่มจากในปี 2563 จะมีจำนวน 8.5 แสนตู้ ในปี 2568 จะเพิ่มเป็น 1.4 ล้านตู้ ในปี 2573 เพิ่มเป็น 2.3 ล้านตู้ ในปี 2583 เพิ่มเป็น 4.3 ล้านตู้ และในปี 2593 จะเพิ่มเป็น 4.8-5 ล้านตู้ ทั้งนี้ หากคาดการณ์รายจังหวัดในพื้นที่ อีอีซี จะพบว่า จ.ฉะเชิงเทรา ปริมาณสินค้าในปี 2565 จะมีปริมาณ 13.1 ล้านตันต่อปี ในปี 2580 จะเพิ่มเป็น 17 ล้านตันต่อปี จ.ระยองในปี 2565 จะมีสินค้าปริมาณ 35.6 ล้านตันต่อปี ในปี 2580 จะเพิ่มเป็น 44 ล้านตันต่อปี และจ.ชลบุรี ในปี 2565 จะมีสินค้าปริมาณ 78 ล้านตันต่อปี ในปี 2580 จะมีสินค้า 96 ล้านตันต่อปี รวมแล้วทั้ง 3 จังหวัด ในปี 2565 จะมีสินค้าปริมาณ 126 ล้านตันต่อปี และในปี 2580 จะมีปริมาณเพิ่มขึ้นเป็น 157 ล้านตันต่อปี



ในเบื้องต้นแนวเส้นทางรถไฟจากหัวหมากถึงฉะเชิงเทราจะมีทางรถไฟ 3 ทาง จากฉะเชิงเทราถึงศรีราชา จะมีทางรถไฟทางคู่ 2 ทาง และระยะจากศรีราชาถึงมาบตาพุดจะมีทางรถไฟทางคู่ 1 ทาง ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนของสินค้า เนื่องจากการขนส่งทางรางมีต้นทุนต่ำกว่าการขนส่งทางถนนอยู่มาก

“ท่าเรือแหลมฉบัง เฟส 3 จะเน้นการเพิ่มศักยภาพการขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ ท่าเรือมาบตาพุด จะเน้นเป็นท่าเรือขนส่งก๊าซ และท่าเรือสัตหีบจะยกระดับไปสู่การเป็นท่าเรือท่องเที่ยวที่ทันสมัย รองรับเรือสำราญขนาดใหญ่ และเรือเฟอร์รี่ โดยเส้นทางรถไฟจะเข้าไปช่วยขนส่งคน และสินค้าไปยังทุกที่ทั่วประเทศ”

โดยโครงการนี้ รัฐบาลได้อนุมัติงบประมาณ 145 ล้านบาท ในการจ้างบริษัทที่ปรึกษาเข้ามาศึกษาความเหมาะสมของโครงการ จะใช้เวลา 6 เดือน จะแล้วเสร็จในเดือนมี.ค.2562 ซึ่งจะมีรายละเอียดของงบการลงทุนทั้งหมด รูปแบบการลงทุน และการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีรถไฟ หากผลการศึกษาพบว่าโครงการมีความเหมาะสมก็จะเข้าสู่ขั้นตอนการออกแบบก่อสร้างในรายละเอียดใช้เวลาประมาณ 6 เดือน จะนั้นจะเสนอให้รัฐบาลพิจารณาเพื่ออนุมัติงบประมาณ ซึ่งหากรัฐบาลเห็นชอบก็จะใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 3 ปี ก็จะแล้วเสร็จใกล้เคียงกับโครงการโครงสร้างพื้นฐานอื่นๆ

สำหรับ แนวคิดการพัฒนาโครงข่ายคมนาคมขนส่งในพื้นที่ อีอีซี จะมีอยู่ 5 ด้าน ได้แก่ 1. ส่งเสริมการเดินทางของผู้โดยสารให้มีความรวดเร็ว โดยเน้นการใช้รถไฟความเร็วสูงเป็นเส้นทางหลัก และเสริมด้วยระบบ Feeder ภายในพื้นที่พัฒนาระบบขนส่งมวลชน 2. พัฒนารถไฟทางคู่เชื่อมท่าเรือ เพื่อเป็นแกนหลักของการขนส่งสินค้า 3. พัฒนารถไฟทางคู่เชื่อมท่าเรือกับย่านนิคมอุตสาหกรรม พัฒนารถไฟทางคู่ลักษณะรวมและกระจายการขนส่งสินค้าระหว่างนิคมอุตสาหกรรม เข้าสู่รถไฟแกนหลัก เพื่อเชื่อมออกประตูการค้า และ5. การขนส่งสินค้ามูลค่าสูง หรือขนาดเล็ก รองรับด้วยการขนส่งด่วนทางอากาศ

ในส่วนของโครงข่ายการคมนาคมระบบรางในพื้นที่ อีอีซี จะมี 3 ระบบ ได้แก่ โครงการระบบรถไฟฟ้าชานเมือง ร่วมกับรถไฟทางไกล โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) และโครงการรถไฟทางคู่ช่วงหัวหมาก-ฉะเชิงเทรา สถานีชุมทางศรีราชา-มาบตาพุด และชุมทางเขาชีจรรย์-สัตหีบ

โดยระบบรถไฟฟ้าชานเมืองจะเชื่อมโยงการเดินทางจากกรุงเทพฯสู่ปริมณฑล เป็นหนึ่งในโครงการส่งเสริมการเดินทางและการขนส่งเชื่อมโยงไปยังพื้นที่ อีอีซี โดยเชื่อมต่อระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในกรุงเทพฯ กับระบบรถไฟฟ้าชานเมือง และขยายแนวเส้นทางรถไฟต่อไปยัง 4 จังหวัดคือ พระนครศรีอยุธยา, ฉะเชิงเทรา, นครปฐม และจ.สมุทรปราการ เพื่อให้เกิดการเดินทางระหว่างเมือง กระจายความเจริญสู่ภูมิภาค และยังเชื่อมโยงพื้นที่กรุงเทพฯกับ อีอีซี ซึ่งโครงการรถไฟฟ้าชานเมืองร่วมกับรถไฟทางไกล ประกอบด้วย สายเหนือช่วงรังสิต-สถานีชุมทางบ้านภาชี ระยะทาง 60 กม. สายตะวันออกเชื่อมมักกะสัน-หัวหมาก ระยะทาง 12.6 กม. ช่วงหัวหมาก-ฉะเชิงเทรา ระยะทาง 43.2 กม. สายตะวันตก ช่วงตลิ่งชัน-นครปฐม ระยะทาง 43 กม. และสายใต้ ช่วงมหาชัย-ปากท่อ ระยะทาง 56 กม.

โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน เป็นโครงการสำคัญเพื่อสร้างโครงข่ายคมนาคมในพื้นที่ อีอีซี ให้สมบูรณ์ โดยรถไฟความเร็วสูงสามารถเดินทางจากสถานีระยองเข้าถึงสถานีสุวรรณภูมิ สถานีบางซื่อ และสถานีดอนเมืองได้โดยตรง ช่วยลดระยะเวลาในการเดินทางจากกรุงเทพฯ-ระยอง และเชื่อมต่อการเดินทางระหว่างสนามบินดอนเมือง สุวรรณภูมิ และอู่ตะเภาอย่างไร้รอยต่อ ซึ่งในเส้นทางรถไฟความเร็วสูงนี้จะมี 9 สถานี ได้แก่ สถานีดอนเมือง, บางซื่อ, มักกะสัน, สุวรรณภูมิ, ฉะเชิงเทรา, ชลบุรี, ศรีราชา, พัทยา และสถานีอู่ตะเภา

โครงการรถไฟทางคู่ จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งทางรางส่งเรือ ซึ่งจะศึกษาความเหมาะสม ออกแบบรายละเอียด และศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม ของโครงการรถไฟทางคู่ช่วงหัวหมาก-ฉะเชิงเทรา สถานีชุมทางศรีราชา-มาบตาพุด และชุมทางศรีราชา-สัตหีบ ซึ่งจะเป็นการปรับปรุงทางรถไฟเดิม ปรับปรุงระบบอาณัตสัญญาณ และแก้ไขจุดตัดทางผ่าน ช่วงหัวหมาก-สถานีชุมทางศรีราชา ระยะทางประมาณ 115 กม. เพิ่มเส้นทางรถไฟช่วงหัวหมาก-ฉะเชิงเทรา ระยะทาง 46 กม. ก่อสร้างทางคู่ ช่วงชุมทางศรีราชา-ชุมทางเขาชีจรรย์-มาบตาพุด และชุมทางเขาชีจรรย์-สัตหีบ ก่อสร้างทางเลี่ยงเมืองบริเวณชุมทางศรีราชา และชุมทางเขาชีจรรย์ ระยะทาง 85 กม.

นอกจากนี้ จะศึกษาการพัฒนาที่ดินโดยรอบสถานีรถไฟฟ้า เพื่อสร้างรายได้เชิงพาณิชย์ มีพื้นที่ศึกษา 500 เมตร-1 กม. รอบสถานีรถไฟ ซึ่งผลการศึกษาจะเสนอแนวทางออกแบบเบื้องต้น และประมาณราคาต้นทุนการพัฒนา ในเขตที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย โดยในพื้นที่นิ้จะประกอบด้วยย่านการค้าเพื่อเชื่อมต่อการเดินทาง ต้องมีพื้นที่สาธารณะเพียงพอตอบสนองการใช้งาน ซึ่งจะมีย่างการค้าเกาะตัวไปตามแนวแกนเชื่อมต่อหลัง และรอง หรือสถานีเชื่อมต่อการขนส่งโดยรอบ ย่านการขนส่งสินค้าต้องสอดคล้องกับประเภท รูปแบบ และปริมาณการขนส่งสินค้า



ซาวด์เสียง รถไฟเชื่อม 3 ท่าเรือ หนุนโลจิสติกส์รับอีอีซี
ศุกร์ที่ 21 ธันวาคม 2561 เวลา 12.50 น.

รฟท. เปิดเวทีสาธารณะรับฟังความเห็น ครั้งที่ 1 รถไฟเชื่อม 3 ท่าเรือ เพิ่มประสิทธิภาพโครงข่ายขนส่งโลจิสติกส์รองรับการพัฒนาอีอีซี

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าเมื่อ เวลา 09.00 น. วันที่ 21 ธ.ค. 61 ณ ห้องพาวิลเลี่ยน BCD โรงแรมแกรนด์โฟร์วิงค์ ศรีนครินทร์ กรุงเทพฯ นางชมจิตร พงษ์เสมา ผู้อำนวยการเขตบางกะปิ ให้เกียรติเป็นประธานเปิดการประชุมใหญ่ฟังความคิดเห็นของประชาชน (ปฐมนิเทศโครงการ) งานศึกษาความเหมาะสม ออกแบบรายละเอียด และศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการเพิ่มประสิทธิภาพและเพิ่มความจุทางรถไฟ ช่วงหัวหมาก-ฉะเชิงเทรา-ศรีราชา และโครงการรถไฟทางคู่ช่วงศรีราชา-มาบตาพุด เพื่อนำเสนอสาระสำคัญ วัตถุประสงค์ ขอบเขตการดำเนินการ แผนการดำเนินโครงการ และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับของโครงการ พร้อมรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะจากทุกภาคส่วน โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานราชการ สถาบันการศึกษาในพื้นที่ หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรธุรกิจเอกชน และภาคประชาชน เข้าร่วมการประชุม

โครงการเพิ่มประสิทธิภาพและเพิ่มความจุทางรถไฟ ช่วงหัวหมาก-ฉะเชิงเทรา-ศรีราชา และโครงการรถไฟทางคู่ ช่วงศรีราชา-มาบตาพุด ถือเป็นหนึ่งในเส้นทางเพื่อรองรับการพัฒนาเมืองฉะเชิงเทรา และการเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งทางรางสู่ 3 ท่าเรือ ประกอบด้วย ท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบัง ท่าเรือพาณิชย์สัตหีบ และท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ตามแนวทางการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก โดยกระทรวงคมนาคม มอบหมายให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เป็นผู้รับผิดชอบในการศึกษาความเหมาะสมและออกแบบรายละเอียดโครงการฯ มีระยะเวลาดำเนินโครงการ 12 เดือน (ตั้งแต่ ต.ค.6-ก.ย.62) ครอบคลุมพื้นที่ศึกษา 4 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพฯ, ฉะเชิงเทรา, ชลบุรี และ ระยอง โดยมีจุดเริ่มต้นศึกษาโครงการ บริเวณสถานีหัวหมาก และไปสิ้นสุดโครงการบริเวณสถานีมาบตาพุด มีระยะทางรวม 200 กม.



สำหรับขอบเขตการศึกษาโครงการแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ดังนี้ ส่วนที่ 1 ทบทวนแบบรายละเอียด ของโครงการระบบรถไฟฟ้าชานเมืองร่วมกับรถไฟทางไกลเชื่อมต่อระบบขนส่งมวลชนเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ช่วงหัวหมาก-ฉะเชิงเทรา และ ส่วนที่ 2 การศึกษาความเหมาะสม ออกแบบรายละเอียด และจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) โครงการทางคู่ช่วงหัวหมาก-ฉะเชิงเทรา-สถานีชุมทางศรีราชา-มาบตาพุด และชุมทางเขาชีจรรย์-สัตหีบ ทั้งนี้การพัฒนาโครงการดังกล่าว จะช่วยส่งเสริมให้ พื้นที่จังหวัดที่อยู่ตามแนวเส้นทางโครงการกลายเป็นศูนย์กลางด้านขนส่งโลจิสติกส์ที่สำคัญและมีบทบาทสำคัญช่วยกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจ การค้าการลงทุน และลดปัญหาการจราจรติดขัดในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ลดการนำเข้าเชื้อเพลิงที่ใช้ในการขนส่ง และลดอุบัติเหตุทางถนน

ทั้งนี้ รฟท. ให้ความสำคัญกับกระบวนการการมีส่วนร่วมโดยได้จัดการประชุมรับฟังความคิดเห็นในทุกจังหวัดตามแนวเส้นทางโครงการ ได้แก่ จ.ชลบุรี จ.ระยอง จัดเมื่อวันที่ 19-20 ธ.ค.61 และจะจัดขึ้นอีก 2 ครั้งที่ จ.ฉะเชิงเทรา และ จ.ชลบุรี ในวันที่ 24-25 ธ.ค.61 จากนั้นจะมีการจัดประชุมการมีส่วนร่วมของประชาชนอีก 2 ครั้ง เพื่อนำเสนอการศึกษาโครงการฯ ในขั้นตอนต่อไป โดยผู้สนใจสามารถติดตามความคืบหน้าและรายละเอียดของโครงการฯ ได้ที่ www.doubletracktomaptatphut.com


Last edited by Wisarut on 08/01/2019 12:14 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 21/12/2018 9:06 pm    Post subject: Reply with quote

รฟท. เปิดรับฟังความเห็นโครงการรถไฟเชื่อม 3 ท่าเรือ วันที่ 21 ธันวาคม 2561 ข่าวค่ำ #NBT2HD

NewsNBT THAILAND
Published on Dec 21, 2018
การรถไฟแห่งประเทศไทย เปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในจังหวัดชลบุรี เกี่ยวกับโครงการรถไฟเชื่อม 3 ท่าเรือ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพโครงข่ายขนส่งโลจิสติกส์ รองรับการพัฒนา EEC


https://www.youtube.com/watch?v=mEtvsnzY1iE
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 06/02/2019 12:44 pm    Post subject: Reply with quote

เปิดเเผนเส้นทางรถไฟเชื่อม 3 ท่าเรือ
5 กุมภาพันธ์ 2562

โครงการรถไฟทางคู่ในภาคตะวันออก จะเชื่อมท่าเรือที่สำคัญในอีอีซี 3 ท่าเรือ คือมาบตาพุด แหลมฉบัง และสัตหีบ ซึ่งเป็นท่าเรือหลักในการขนส่งสินค้าของประเทศ โดยเฉพาะท่าเรือแหลมฉบังมีสัดส่วนขนส่งสินค้าระหว่างประเทศสูงถึง 80% ของการขนส่งทั้งหมด

ขณะนี้อยู่ระหว่างการขยายท่าเรือแหลมฉบังเฟส 3 และท่าเรือมาบตาพุด เฟส 3 ซึ่งจะทำให้มีปริมาณขนส่งสินค้าเพิ่มสูงขึ้นมาก นำไปสู่การขยายเส้นทางรถไฟทางคู่เชื่อมโยงทั้ง 3 ท่าเรือ รองรับปริมาณสินค้าที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต


โดยตู้คอนเทนเนอร์จากท่าเรือแหลมฉบังจะเพิ่มขึ้น ซึ่งในปี 2563 จะมีจำนวน 8.5 แสนตู้ ปี 2568 จะเพิ่มเป็น 1.4 ล้านตู้ ปี 2573 เพิ่มเป็น 2.3 ล้านตู้ ปี 2583 เพิ่มเป็น 4.3 ล้านตู้ และปี 2593 จะเพิ่มเป็น 4.8-5 ล้านตู้ ทั้งนี้ชลบุรีจะมีปริมาณตู้สินค้ามากที่สุด
เบื้องต้น จะใช้แนวเส้นทางรถไฟจากหัวหมากถึงฉะเชิงเทรา มีทางรถไฟ 3 ทาง จากฉะเชิงเทราถึงศรีราชา มีทางรถไฟทางคู่ 2 ทาง และจากศรีราชาถึงมาบตาพุดซึ่งจะมีทางรถไฟทางคู่ 1 ทาง

ทั้งนี้ ท่าเรือแหลมฉบัง เฟส 3 จะเน้นการเพิ่มศักยภาพการขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ ท่าเรือมาบตาพุด เฟส 3 จะเน้นเป็นท่าเรือขนส่งก๊าซ ส่วนท่าเรือสัตหีบจะยกระดับเป็นท่าเรือท่องเที่ยวรองรับเรือสำราญขนาดใหญ่ และเรือเฟอร์รี
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 12/02/2019 1:40 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
ผุดทางคู่ 1.7 แสนล้าน กรศ.ดัน 10 โครงการเชื่อม 3 ท่าเรือแบบไร้รอยต่อ
ออนไลน์เมื่อ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2560
หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,259 วันที่ 7 - 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2560


นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะประธานการประชุมคณะกรรมการบริหารการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (กรศ.) เปิดเผยกับ"ฐานเศรษฐกิจ"ว่า สำหรับการพัฒนารถไฟทางคู่เพื่อเชื่อมโยงท่าเรือทั้ง 3 แห่งแบบไร้รอยต่อ จะใช้บงลงทุนประมาณ 1.7 แสนใน 10 โครงการ ระยะเวลา 10 ปี (2561-2570) แบ่งการก่อสร้างเป็น 3 ระยะ โดยระยะแรกจะดำเนินการเชื่อมโยง 3 ท่าเรือ จะดำเนินการ

โครงการเพิ่มประสิทธิภาพทางรถไฟช่วงหัวหมาก-ฉะเชิงเทรา-ศรีราชา ระยะทาง 125 กิโลเมตร มูลค่า 8000 ล้านบาท
โครงการเดินรถไฟขนสินค้าไทย-กัมพูชา
โครงการรถไฟทางคู่ ช่วงศรีราชา-มาบตาพุด ระยะทาง 70 กิโลเมตร มูลค่า 15000 ล้านบาท และ
โครงการเชื่อมสถานีบรรจุและแยกสินค้ากล่อง (ICD) ฉะเชิงเทรา - มูลค่า 10000 ล้านบาท

...


ปักหมุด “บ้านโพธิ์” ฉะเชิงเทรา ผุดไอซีดี เพิ่มศักยภาพขนส่งเชื่อม EEC
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 12 กุมภาพันธ์ 2562 เวลา 08:44


สนข.นำร่อง "บ้านโพธิ์" ฉะเชิงเทรา พื่นที่. 760 ไร่ ใกล้สถานีรถไฟดอนสีนนท์ พัฒนาสถานีไอซีดี เปิดร่วมทุนเอกชน ชงกก.EEC เริ่มเฟสแรกปี 2567

สนข. จัดสัมมนาเผยแพร่ผลการศึกษาความเหมาะสมโครงการพัฒนาสถานีขนส่งสินค้าคอนเทนเนอร์รองรับ EEC ที่จังหวัดฉะเชิงเทรา พร้อมนำเสนอคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก

สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ได้ จัดสัมมนาเพื่อเผยแพร่ผลการศึกษาและรับฟังความคิดเห็นต่อร่างรายงานฉบับสมบูรณ์ (Draft Final Report) จากผู้ที่เกี่ยวข้อง โครงการพัฒนาสถานีขนส่งสินค้าคอนเทนเนอร์รองรับ EEC ที่ จังหวัดฉะเชิงเทรา โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและสื่อมวลชนเข้าร่วมงาน

ทั้งนี้ สนข. ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ให้ดำเนินการศึกษา ความเหมาะสมโครงการพัฒนาสถานีขนส่งสินค้าคอนเทนเนอร์รองรับ EEC ให้ครอบคลุมครบทุกมิติ ทั้งด้านวิศวกรรม โครงข่ายถนนและทางรถไฟ ด้านเศรษฐกิจและการลงทุน ด้านสิ่งแวดล้อมและชุมชน การจัดทำแบบเบื้องต้น รูปแบบการลงทุน และการบริหารจัดการแบบไร้รอยต่อ (Seamless Operation) ในการพัฒนาสถานีขนส่งสินค้า คอนเทนเนอร์ (Inland Container Depot : ICD) ที่จังหวัดฉะเชิงเทรา หรือ ICD ฉะเชิงเทรา เนื่องจากฉะเชิงเทราเป็นจังหวัดที่อยู่ในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor : EEC) ที่ต่อยอดความสำเร็จ

มาจากโครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก (Eastern Seaboard Development)

จากผลการศึกษาเบื้องต้นได้ข้อสรุปการคัดเลือกพื้นที่ในการพัฒนาสถานีขนส่งสินค้าคอนเทนเนอร์ ประมาณ 760 ไร่ บริเวณตำบลหนองตีนนก อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งอยู่ห่างจากสถานีรถไฟดอนสีนนท์ประมาณ 1 กิโลเมตร สามารถเชื่อมต่อโครงข่ายกับทางหลวงหมายเลข 315 และทางหลวงชนบทหมายเลข 3122 โดยรายละเอียดของโครงการ แบ่งเป็น 4 ส่วนหลักๆ ได้แก่

1. พื้นที่ส่วนกลาง ประกอบด้วย อาคารสำนักงานกลาง, โรงอาหาร, อาคารพักสินค้าตกค้าง, อาคารตรวจสอบเอ็กซ์เรย์ พร้อมด้วยจุดพัก ซึ่งประกอบด้วยปั๊มน้ำมันและปั๊มแก๊ส, ลานจอดพักรถเทรลเลอร์ และร้านค้าต่างๆ

2. พื้นที่สถานีขนส่งสินค้าคอนเทนเนอร์ ประกอบด้วย ลานกองตู้คอนเทนเนอร์, โรงซ่อม, ลานทำความสะอาดตู้, โรงอาหาร, อาคารปฏิบัติการ, อาคารสำนักงาน, จุดคัดแยกและบรรจุสินค้ารวมทั้งโรงพักสินค้า

3. โครงข่ายถนนเชื่อมต่อเข้า-ออกโครงการ และ Service Road ประกอบด้วย ทางแยกต่างระดับขนาด 2 ช่องจราจรเชื่อมโครงการกับ ทางหลวงหมายเลข 315 , ถนนขนาด 6 ช่องจราจร บริเวณภายในและเข้าออกโครงการ , ถนนบริการ ขนาด 2 ช่องจราจร สำหรับอำนวยความสะดวกกับประชาชนในพื้นที่รอบๆ โครงการ

4. ทางรถไฟเชื่อมต่อเข้าพื้นที่โครงการและพื้นที่สถานีรถไฟ ประกอบด้วย อาคารสถานีรถไฟดอนสีนนท์ และหอสูงตรวจการณ์ พร้อมอาคารสำนักงาน โดยโครงการจะก่อสร้างทางเชื่อมรางรถไฟเข้ามาในพื้นที่ ICD เพื่ออำนวยความสะดวกสำหรับการขนถ่ายสินค้าด้วยตู้คอนเทนเนอร์ทั้งขาขึ้นและขาล่อง

ทั้งนี้ โดยในการพัฒนาโครงการได้ถูกออกแบบให้รองรับการขนส่งสินค้าเพื่อการนำเข้า-ส่งออก เชื่อมโยงกับระบบรางและท่าเรือแหลมฉบัง แบบไร้รอยต่อ (Seamless Operation) ให้บริการจัดการการขนส่งแบบเบ็ดเสร็จ (One-Stop Service) เพื่อให้เกิดความสะดวกและรวดเร็วในการนำเข้าและส่งออกสินค้า

สำหรับแนวทางลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและมวลชนนั้น ในเบื้องต้นได้เน้นการออกแบบที่ให้ความสำคัญกับการลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะปัญหาการจราจร น้ำท่วม การระบายน้ำ และการบำบัดน้ำเสีย ตลอดจนการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมที่ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชน การสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนโดยรอบโครงการ อาทิ การพัฒนาทักษะการประกอบอาชีพทำให้ชุมชนมีรายได้ รวมถึงการจัดเตรียมแผนงานความรับผิดชอบต่อสังคมโดยใช้แนวคิดอุตสาหกรรมสีเขียว และการจัดตั้งกองทุนช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบตามความเหมาะสม

สำหรับรูปแบบการลงทุนโครงการพัฒนาสถานีขนส่งสินค้าคอนเทนเนอร์รองรับ EEC จังหวัดฉะเชิงเทรา จะใช้วิธีการ

ให้สัมปทานเอกชนเข้ามาร่วมลงทุน ดำเนินงาน และบำรุงรักษา โดยแบ่งการดำเนินงานออกเป็น 2 ระยะ

โดยระยะที่ 1 คาดว่าจะเริ่มดำเนินการได้ในปี 2567 และระยะที่ 2 จะดำเนินการในปี 2577

ซึ่งจากผลการศึกษาคาดการณ์ว่า
ในปีแรกจะมีปริมาณตู้สินค้าที่เข้ามาใช้บริการสถานีขนส่งสินค้าคอนเทนเนอร์ที่จังหวัดฉะเชิงเทรา จำนวน 500,000 ทีอียู และเพิ่มขึ้นเป็น 1.9 ล้านทีอียูในปีที่ 30 โดยผลการวิเคราะห์ทางด้านเศรษฐกิจพบว่า โครงการพัฒนาสถานีขนส่งสินค้าคอนเทนเนอร์รองรับ EEC ที่จังหวัดฉะเชิงเทรา จะให้ผลตอบแทน ด้านเศรษฐกิจในอัตรา 15 %

โครงการพัฒนาสถานีขนส่งสินค้าคอนเทนเนอร์รองรับ EEC ที่จังหวัดฉะเชิงเทรา จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการเติมเต็มภาพรวมการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนให้ EEC เป็นประตูการค้าของภูมิภาค และที่สำคัญคือจะเป็นการผลักดันให้เกิดการปรับเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งไปสู่ระบบราง ส่งผลให้เกิดการลดต้นทุนโลจิสติกส์และความแออัดบริเวณท่าเรือ

นอกจากนี้ยังเป็นศูนย์กลางในการรวบรวมและกระจายสินค้า รวมถึงเชื่อมโยงการขนส่งระบบรางทั้งในประเทศและประเทศเพื่อนบ้านในกลุ่ม CLMV ประกอบด้วย กัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม ตลอดจนรองรับการเชื่อมโยงกับจีนตามโครงการรถไฟไทย-จีน และยุทธศาสตร์ Belt and Road Initiative

อย่างไรก็ตาม การศึกษาความเหมาะสมโครงการพัฒนาสถานีขนส่งสินค้าคอนเทนเนอร์รองรับ EEC ที่จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นผลการศึกษาเบื้องต้นทางวิชาการเท่านั้น แต่ในทางปฏิบัติจะต้องพิจารณาประเด็นข้อกังวลต่างๆ จากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องอย่างรอบคอบ ซึ่งถือเป็นสิ่งสำคัญอันจะนำไปสู่การตัดสินใจและขับเคลื่อนการดำเนินงาน ในขั้นตอนต่อไป

ทั้งนี้ ตลอดระยะเวลาการศึกษาความเหมาะสมของโครงการพัฒนาสถานีขนส่งสินค้าคอนเทนเนอร์
รองรับ EEC ที่จังหวัดฉะเชิงเทรา นอกจาก สนข. จะลงพื้นที่พบปะหารือเพื่อรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วนอย่างต่อเนื่องเพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลในการวิเคราะห์ พร้อมทั้งเปิดเว็บไซต์ www.icd4eec.com เพื่อประชาสัมพันธ์การดำเนินงานและสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องในทุกประเด็น

สำหรับขั้นตอนหลังจากนี้ สนข. จะรวบรวมความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากทุกภาคส่วนเพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลในการวิเคราะห์ ประเมินผล และสรุปผลการศึกษาความเหมาะสมโครงการพัฒนาสถานีขนส่งสินค้าคอนเทนเนอร์รองรับ EEC

ที่จังหวัดฉะเชิงเทรา เพื่อเสนอคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกพิจารณาในลำดับต่อไป



สนข.ปักธง “บ้านโพธิ์” 760 ไร่ เหมาะสร้างสถานีขนส่งสินค้าคอนเทนเนอร์รับ EEC เปิดร่วมทุนแลกสัมปทาน
พร็อพเพอร์ตี้
วันจันทร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ 2562 เวลา 21:30 น.

สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กระทรวงคมนาคม จัดสัมมนาเพื่อเผยแพร่ผลการศึกษาและรับฟังความคิดเห็นต่อร่างรายงานฉบับสมบูรณ์ (Draft Final Report) จากผู้ที่เกี่ยวข้อง โครงการพัฒนาสถานีขนส่งสินค้าคอนเทนเนอร์รองรับ EEC เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2562 ที่ จ.ฉะเชิงเทรา

เนื่องจาก สนข.ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ให้ดำเนินการศึกษา ความเหมาะสมโครงการพัฒนาสถานีขนส่งสินค้าคอนเทนเนอร์รองรับ EEC ให้ครอบคลุมครบทุกมิติ ทั้งด้านวิศวกรรม โครงข่ายถนนและทางรถไฟ ด้านเศรษฐกิจและการลงทุน ด้านสิ่งแวดล้อมและชุมชน การจัดทำแบบเบื้องต้น

เป็นรูปแบบการลงทุน และการบริหารจัดการแบบไร้รอยต่อ (Seamless Operation) ในการพัฒนาสถานีขนส่งสินค้า คอนเทนเนอร์ (Inland Container Depot : ICD) ที่จังหวัดฉะเชิงเทรา หรือ ICD ฉะเชิงเทรา

เนื่องจากฉะเชิงเทราเป็นจังหวัดที่อยู่ในพื้นที่เขต EEC ที่ต่อยอดความสำเร็จมาจากโครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก (Eastern Seaboard Development)

จากผลการศึกษาเบื้องต้นได้ข้อสรุปการคัดเลือกพื้นที่ในการพัฒนาสถานีขนส่งสินค้าคอนเทนเนอร์ ประมาณ 760 ไร่ บริเวณตำบลหนองตีนนก อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา ห่างจากสถานีรถไฟดอนสีนนท์ประมาณ 1 กิโลเมตร สามารถเชื่อมต่อโครงข่ายกับทางหลวงหมายเลข 315 และทางหลวงชนบทหมายเลข 3122

โดยรายละเอียดของโครงการ แบ่งเป็น 4 ส่วนหลักๆ ได้แก่

1. พื้นที่ส่วนกลาง ประกอบด้วย อาคารสำนักงานกลาง, โรงอาหาร, อาคารพักสินค้าตกค้าง, อาคารตรวจสอบเอ็กซเรย์ พร้อมด้วยจุดพัก ซึ่งประกอบด้วยปั๊มน้ำมันและปั๊มแก๊ส, ลานจอดพักรถเทรลเลอร์ และร้านค้าต่างๆ

2. พื้นที่สถานีขนส่งสินค้าคอนเทนเนอร์ ประกอบด้วย ลานกองตู้คอนเทนเนอร์, โรงซ่อม, ลานทำความสะอาดตู้, โรงอาหาร, อาคารปฏิบัติการ, อาคารสำนักงาน, จุดคัดแยกและบรรจุสินค้ารวมทั้งโรงพักสินค้า

3. โครงข่ายถนนเชื่อมต่อเข้า-ออกโครงการ และ Service Road ประกอบด้วย ทางแยกต่างระดับขนาด 2 ช่องจราจรเชื่อมโครงการกับทางหลวงหมายเลข 315, ถนนขนาด 6 ช่องจราจร บริเวณภายในและเข้าออกโครงการ, ถนนบริการ ขนาด 2 ช่องจราจร สำหรับอำนวยความสะดวกกับประชาชนในพื้นที่รอบๆ โครงการ

4. ทางรถไฟเชื่อมต่อเข้าพื้นที่โครงการและพื้นที่สถานีรถไฟ ประกอบด้วย อาคารสถานีรถไฟดอนสีนนท์ และหอสูงตรวจการณ์ พร้อมอาคารสำนักงาน โดยโครงการจะก่อสร้างทางเชื่อมรางรถไฟเข้ามาในพื้นที่ ICD เพื่ออำนวยความสะดวกสำหรับการขนถ่ายสินค้าด้วยตู้คอนเทนเนอร์ทั้งขาขึ้นและขาล่อง

โดยในการพัฒนาโครงการได้ถูกออกแบบให้รองรับการขนส่งสินค้าเพื่อการนำเข้า-ส่งออก เชื่อมโยงกับระบบรางและท่าเรือแหลมฉบัง แบบไร้รอยต่อให้บริการจัดการการขนส่งแบบเบ็ดเสร็จ (One-Stop Service) เพื่อให้เกิดความสะดวกและรวดเร็วในการนำเข้าและส่งออกสินค้า

สำหรับแนวทางลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและมวลชนนั้น ในเบื้องต้นได้เน้นการออกแบบที่ให้ความสำคัญกับการลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะปัญหาการจราจร น้ำท่วม การระบายน้ำ และการบำบัดน้ำเสีย ตลอดจนการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมที่ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชน การสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนโดยรอบโครงการ อาทิ การพัฒนาทักษะการประกอบอาชีพทำให้ชุมชนมีรายได้ รวมถึงการจัดเตรียมแผนงานความรับผิดชอบต่อสังคมโดยใช้แนวคิดอุตสาหกรรมสีเขียว และการจัดตั้งกองทุนช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบตามความเหมาะสม

สำหรับรูปแบบการลงทุนโครงการพัฒนาสถานีขนส่งสินค้าคอนเทนเนอร์รองรับ EEC จังหวัดฉะเชิงเทรา จะใช้วิธีการให้สัมปทานเอกชนเข้ามาร่วมลงทุน ดำเนินงาน และบำรุงรักษา

โดยแบ่งการดำเนินงานออกเป็น 2 ระยะ โดยระยะที่ 1 คาดว่าจะเริ่มดำเนินการได้ในปี 2567 และระยะที่ 2 จะดำเนินการในปี 2577 ซึ่งจากผลการศึกษาคาดการณ์ว่าในปีแรกจะมีปริมาณตู้สินค้าที่เข้ามาใช้บริการสถานีขนส่งสินค้าคอนเทนเนอร์ที่จังหวัดฉะเชิงเทรา จำนวน 500,000 ทีอียู และเพิ่มขึ้นเป็น 1.9 ล้านทีอียูในปีที่ 30

โดยผลการวิเคราะห์ทางด้านเศรษฐกิจพบว่า โครงการพัฒนาสถานีขนส่งสินค้าคอนเทนเนอร์รองรับ EEC ที่จังหวัดฉะเชิงเทรา จะให้ผลตอบแทน ด้านเศรษฐกิจในอัตราร้อยละ 15

โครงการพัฒนาสถานีขนส่งสินค้าคอนเทนเนอร์รองรับ EEC ที่จังหวัดฉะเชิงเทรา จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการเติมเต็มภาพรวมการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนให้ EEC เป็นประตูการค้าของภูมิภาค และที่สำคัญคือจะเป็นการผลักดันให้เกิดการปรับเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งไปสู่ระบบราง ส่งผลให้เกิดการลดต้นทุนโลจิสติกส์และความแออัดบริเวณท่าเรือ

นอกจากนี้ยังเป็นศูนย์กลางในการรวบรวมและกระจายสินค้า รวมถึงเชื่อมโยงการขนส่งระบบรางทั้งในประเทศและประเทศเพื่อนบ้านในกลุ่ม CLMV ประกอบด้วย กัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม ตลอดจนรองรับการเชื่อมโยงกับจีนตามโครงการรถไฟไทย-จีน และยุทธศาสตร์ Belt and Road Initiative

อย่างไรก็ตาม การศึกษาความเหมาะสมโครงการพัฒนาสถานีขนส่งสินค้าคอนเทนเนอร์รองรับ EEC ที่จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นผลการศึกษาเบื้องต้นทางวิชาการเท่านั้น แต่ในทางปฏิบัติจะต้องพิจารณาประเด็นข้อกังวลต่างๆ จากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องอย่างรอบคอบ ซึ่งถือเป็นสิ่งสำคัญอันจะนำไปสู่การตัดสินใจและขับเคลื่อนการดำเนินงาน ในขั้นตอนต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 22/02/2019 11:46 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:


ปักหมุด “บ้านโพธิ์” ฉะเชิงเทรา ผุดไอซีดี เพิ่มศักยภาพขนส่งเชื่อม EEC
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 12 กุมภาพันธ์ 2562 เวลา 08:44



สนข.ปักธง “บ้านโพธิ์” 760 ไร่ เหมาะสร้างสถานีขนส่งสินค้าคอนเทนเนอร์รับ EEC เปิดร่วมทุนแลกสัมปทาน
พร็อพเพอร์ตี้
วันจันทร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ 2562 เวลา 21:30 น.


Wisarut wrote:
1. หวยออกที่สถานีเนินมะกอก แต่ถ้า ปตท. ขอเลิกเช่าที่รถไฟทำคลังก๊าซธรรมชาติที่หนองปลิง (สถานีนครสวรรค์) เสียแล้ว ก็น่าจะเสนอที่ดินรถไฟที่ หนองปลิง (สถานีนครสวรรค์) ทำ ท่าเรือบกหรือ ICD ดีกว่า
2. หวยออกที่สถานีดอนสินนท์ครับ - งานนี้่ รถขบวนแหลมฉบังต้องจอดพ่วงตู้คอนเทนเนอร์เพิ่ม ที่สถานีดอนสินนท์แน่
3. หวยออกที่ สถา่นีสูงเนินแต่งานนี้ รฟท. อาจแย้งได้ว่าสู้ขยายสถานีกุดจิกเป็น ท่าเรือบก หรือ ICD ไม่ดีกว่าหรือ
4. หวยออกสถานีน้ำพองแต่ รฟท. อาจแย้งว่า น่าจะเอาที่สถานีท่าพระที่ มี CY อยู่มาขยายกิจการต่อเป็นท่าเรือบกหรือ ICD ก็ได้ แต่งานนี้ต้องมีรถ ขบวน 555/556 เดินประจำและ ต้องจอดที่ ท่าพระด้วย




เนรมิต “บ้านโพธิ์” 760 ไร่ 1.4 หมื่น ล. ศูนย์กลางเชื่อมต่อการค้าแบบไร้รอยต่อ
พร็อพเพอร์ตี้
วันพฤหัสบดีที่ 21 กุมภาพันธ์ 2562 เวลา 18:16 น.


ในร่างผังเมืองรวมเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ที่กรมโยธาธิการและผังเมืองวางผังการใช้ที่ดินไว้ ได้กันให้สร้างสถานีขนส่งสินค้าคอนเทนเนอร์ (ICD) หรือท่าเรือบกที่จังหวัดฉะเชิงเทรา 1,500 ไร่

เนื่องจากฉะเชิงเทราเป็นจังหวัดที่อยู่ในพื้นที่เขต EEC ที่ต่อยอดความสำเร็จมาจากโครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก

โดยโครงการได้ถูกออกแบบให้รองรับการขนส่งสินค้าเพื่อการนำเข้า-ส่งออกเชื่อมโยงกับระบบรางและท่าเรือแหลมฉบัง แบบไร้รอยต่อให้บริการจัดการการขนส่งแบบเบ็ดเสร็จ (one stop service) ให้เกิดความสะดวกและรวดเร็วในการนำเข้าและส่งออกสินค้า

ล่าสุด “สนข.-สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร” ได้เคาะพื้นที่จะดำเนินการแล้ว โดยปักหมุด ต.หนองตีนนก อ.บ้านโพธิ์ จ.ฉะเชิงเทรา พื้นที่ 760 ไร่ เป็นพื้นที่เหมาะจะพัฒนาโครงการ เนื่องจากอยู่ห่างจากสถานีรถไฟดอนสีนนท์ประมาณ 1 กม. สามารถเชื่อมต่อโครงข่ายกับทางหลวงหมายเลข 315 และทางหลวงชนบทหมายเลข 3122

รายละเอียดของโครงการ แบ่งเป็น 4 ส่วนหลัก 1.พื้นที่ส่วนกลาง ประกอบด้วย อาคารสำนักงานกลาง, โรงอาหาร, อาคารพักสินค้าตกค้าง, อาคารตรวจสอบเอกซเรย์ พร้อมด้วยจุดพัก ซึ่งประกอบด้วยปั๊มน้ำมันและปั๊มก๊าซ, ลานจอดพักรถเทรลเลอร์ และร้านค้าต่าง ๆ

2.พื้นที่สถานีขนส่งสินค้าคอนเทนเนอร์ ประกอบด้วย ลานกองตู้คอนเทนเนอร์, โรงซ่อม, ลานทำความสะอาดตู้, โรงอาหาร, อาคารปฏิบัติการ, อาคารสำนักงาน, จุดคัดแยกและบรรจุสินค้ารวมทั้งโรงพักสินค้า

3.โครงข่ายถนนเชื่อมต่อเข้า-ออกโครงการ และ service road ประกอบด้วย ทางแยกต่างระดับขนาด 2 ช่องจราจรเชื่อมโครงการกับทางหลวงหมายเลข 315, ถนนขนาด 6 ช่องจราจร บริเวณภายในและเข้า-ออกโครงการ, ถนนบริการ ขนาด 2 ช่องจราจร สำหรับอำนวยความสะดวกกับประชาชนในพื้นที่รอบ ๆ โครงการ

และ 4.ทางรถไฟเชื่อมต่อเข้าพื้นที่โครงการและพื้นที่สถานีรถไฟ ประกอบด้วย อาคารสถานีรถไฟดอนสีนนท์ และหอสูงตรวจการณ์ พร้อมอาคารสำนักงาน โดยโครงการจะก่อสร้างทางเชื่อมรางรถไฟเข้ามาในพื้นที่ ICD เพื่ออำนวยความสะดวกสำหรับการขนถ่ายสินค้าด้วยตู้คอนเทนเนอร์ทั้งขาขึ้นและขาล่อง

ทั้งนี้ จากผลการศึกษาประเมินว่าทั้งโครงการจะใช้เงินลงทุนรวม 14,506 ล้านบาท แบ่งการพัฒนา 2 ระยะ โดยระยะที่ 1 จะเปิดบริการในปี 2567 วงเงินลงทุน 10,940 ล้านบาท แยกเป็นค่าที่ดิน 469 ล้านบาท ค่าออกแบบและควบคุมงานก่อสร้าง 427 ล้านบาท ค่าก่อสร้างพื้นที่ส่วนกลาง 5,832 ล้านบาท ค่าลงทุนอุปกรณ์เริ่มต้น 593 ล้านบาท และค่าเผื่อเหลือเผื่อขาด 915 ล้านบาท

ส่วนระยะที่ 2 เปิดดำเนินการในปี 2577 จะใช้เงินลงทุน 3,566 ล้านบาท มีค่าออกแบบ 126 ล้านบาท ค่าก่อสร้างพื้นที่สถานี 2,524 ล้านบาท ค่าอุปกรณ์เริ่มต้น 603 ล้านบาท และค่าเผื่อเหลือเผื่อขาด 313 ล้านบาท

รูปแบบการลงทุนโครงการ จะให้สัมปทานเอกชนเข้ามาร่วมลงทุน ดำเนินงาน และบำรุงรักษา ระยะเวลา 30 ปี หลังเปิดดำเนินการในปีแรก 2567 คาดการณ์มีปริมาณตู้สินค้าที่เข้ามาใช้บริการ จำนวน 500,000 ทีอียู และเพิ่มขึ้นเป็น 1.9 ล้านทีอียู ในปีที่ 30 และให้ผลตอบแทนด้านเศรษฐกิจอยู่ที่ 15%

เมื่อโครงการแล้วเสร็จจะเป็นประตูการค้าอีอีซีและศูนย์กลางโลจิสติกส์เชื่อมโยงการขนส่งระบบรางทั้งในประเทศกัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม ตลอดจนโครงการรถไฟไทย-จีน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 07/03/2019 11:53 am    Post subject: Reply with quote

ปกโครงการรถไฟ สามท่าเรือ ที่ ได้จาก งานประชุมใหญ่รับฟังความคิดเห็นของประชาชนต่อสรุปผลการศึกษา โครงการเพิ่มประสิทธิภาพและเพิ่มความจุทางรถไฟ ช่วงหัวหมาก - ฉะเชิงเทรา - ศรีราชา และโครงการรถไฟทางคู่ช่วงศรีราชา - มาบตาพุด ที่ โรงแรมเอเชีย พัทยา
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=2946748802005832&set=a.213819491965457&type=3&theater

เนื้อหาดูได้ที่นี่ครับ
https://www.facebook.com/pichet.chamneam/posts/2946748845339161
http://www.doubletracktomaptaphut.com/files/06032562/2.PR2.pdf
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 08/03/2019 2:21 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
ปกโครงการรถไฟ สามท่าเรือ ที่ ได้จาก งานประชุมใหญ่รับฟังความคิดเห็นของประชาชนต่อสรุปผลการศึกษา โครงการเพิ่มประสิทธิภาพและเพิ่มความจุทางรถไฟ ช่วงหัวหมาก - ฉะเชิงเทรา - ศรีราชา และโครงการรถไฟทางคู่ช่วงศรีราชา - มาบตาพุด ที่ โรงแรมเอเชีย พัทยา
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=2946748802005832&set=a.213819491965457&type=3&theater

เนื้อหาดูได้ที่นี่ครับ
https://www.facebook.com/pichet.chamneam/posts/2946748845339161
http://www.doubletracktomaptaphut.com/files/06032562/2.PR2.pdf


ร.ฟ.ท.เดินหน้าศึกษารถไฟเชื่อม 3 ท่าเรือ รับพัฒนาอีอีซี
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วัน ศุกร์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2562 00:23
ปรับปรุง: วัน ศุกร์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2562 09:43

ศูนย์ข่าวศรีราชา - การรถไฟแห่งประเทศไทย เปิดรับฟังความเห็นชาวชลบุรี ศึกษารถไฟเชื่อม 3 ท่าเรือ เพิ่มศักยภาพการขนส่ง โลจิสติกส์ รองรับการพัฒนาพื้นที่อีอีซี

วานนี้ (7 มี.ค.) ที่ห้องประชุมโรงแรมเอเชีย พัทยา จ.ชลบุรี นายสุพจน์ ภูติเกียรติขจร หัวหน้าสานักงานจังหวัดชลบุรี ให้เกียรติเป็นประธานเปิดการประชุมใหญ่รับฟังความคิดเห็นของประชาชน สรุปผลการศึกษาโครงการงานศึกษาความเหมาะสม ออกแบบรายละเอียด และศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการเพิ่มประสิทธิภาพและเพิ่มความจุทางรถไฟ ช่วงหัวหมาก ฉะเชิงเทรา ศรีราชา และโครงการรถไฟทางคู่ ช่วงศรีราชา-มาบตาพุด เพื่อชี้แจงสรุปผลการศึกษาโครงการ พร้อมรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะจากทุกภาคส่วน โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานราชการ สถาบันการศึกษาในพื้นที่ หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรธุรกิจเอกชน และภาคประชาชนเข้าร่วมการประชุม

การประชุมครั้งนี้ได้นำเสนอแนวเส้นทางโครงการครอบคลุมพื้นที่ศึกษา 4 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร จ.ฉะเชิงเทรา จ.ชลบุรี และ จ.ระยอง โดยเชื่อมต่อพื้นที่อุตสาหกรรมหลักกับ 3 ท่าเรือ ได้แก่ ท่าเรือแหลมฉบัง ท่าเรือพาณิชย์สัตหีบ และท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะทางรวม 200 กิโลเมตร นอกจากนี้ ยังได้ออกแบบการแก้ไขปัญหาจุดตัดทางรถไฟ 5 แบบ ได้แก่ 1.สะพานรถไฟข้ามถนน
2.สะพานรถยนต์ข้ามทางรถไฟ
3.สะพานกลับรถรูปตัวยู
4.ทางลอดทางรถไฟ
5.ทางบริการข้างทางรถไฟ

ตลอดจนการออกแบบสะพานลอยคน และมอเตอร์ไซค์ข้าม เพื่อความปลอดภัยของประชาชนและสัตว์เลี้ยงในการข้ามทางรถไฟ

ด้านสิ่งแวดล้อม มีมาตรการป้องกันและลดผลกระทบหลากหลายรูปแบบ เช่น กำหนดให้มีการติดตั้งกำแพงกันเสียงชั่วคราวบริเวณพื้นที่อ่อนไหวต่อผลกระทบสิ่งแวดล้อม มีการฉีดพรมน้ำอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง บริเวณพื้นที่ก่อสร้างที่ถูกเปิดผิวหน้าดินและกองวัสดุก่อสร้าง เพื่อลดปัญหาฝุ่นละออง เป็นต้น

โครงการเพิ่มประสิทธิภาพและเพิ่มความจุทางรถไฟ ช่วงหัวหมาก ฉะเชิงเทรา ศรีราชา และโครงการรถไฟทางคู่ ช่วงศรีราชา-มาบตาพุด ถือเป็นโครงการสำคัญ ที่ช่วยสนับสนุนการพัฒนาพื้นที่ EEC และเสริมศักยภาพด้านการเดินทางและขนส่งให้แก่ จ.ชลบุรี และพื้นที่จังหวัดข้างเคียง ประหยัดเวลาการเดินทาง จากกรุงเทพฯ ถึงระยอง โดยใช้เวลาเพียง 2 ชั่วโมง อีกทั้งเพิ่มประสิทธิภาพในการขนส่งคนและสินค้า รองรับผู้โดยสารปริมาณ 4 ล้านคน/ปี และรองรับการขนส่งสินค้าปริมาณ 40 ล้านตัน/ปี ในปีเปิดให้บริการ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 11/03/2019 4:35 pm    Post subject: Reply with quote

ทุ่มปรับปรุงเส้นทางรถไฟ 200 กม. ใน 4 จังหวัด เชื่อม 3 ท่าเรือหนุนพื้นที่ EEC
พร็อพเพอร์ตี้
วันที่ 11 มีนาคม 2562 เวลา 13:50 น.


วันที่ 11 มีนาคม 2562 ที่โรงแรมแกรนด์โฟร์วิงค์ ศรีนครินทร์ กรุงเทพมหานคร การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) จัดการประชุมใหญ่รับฟังความคิดเห็นของประชาชนต่อสรุปผลการศึกษาโครงการงานศึกษาความเหมาะสมออกแบบรายละเอียดและศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการเพิ่มประสิทธิภาพและเพิ่มความจุทางรถไฟ ช่วงหัวหมาก – ฉะเชิงเทรา – ศรีราชา และโครงการรถไฟทางคู่ ช่วงศรีราชา – มาบตาพุด เพื่อชี้แจงสรุปผลการศึกษาโครงการ พร้อมรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะจากทุกภาคส่วน

โดยนำเสนอแนวเส้นทางโครงการ ครอบคลุมพื้นที่ศึกษา 4 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร จ.ฉะเชิงเทรา จ.ชลบุรี และ จ.ระยอง โดยเชื่อมต่อพื้นที่อุตสาหกรรมหลักกับ 3 ท่าเรือ ได้แก่ ท่าเรือแหลมฉบัง ท่าเรือพาณิชย์สัตหีบ และท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะทางรวม 200 กม.

นอกจากนี้ ยังได้ออกแบบการแก้ไขปัญหาจุดตัดทางรถไฟ 5 แบบ ได้แก่
1.สะพานรถไฟข้ามถนน
2.สะพานรถยนต์ข้ามทางรถไฟ
3.สะพานกลับรถรูปตัวยู
4.ทางลอดทางรถไฟ
5.ทางบริการข้างทางรถไฟ

ตลอดจนการออกแบบสะพานลอยคนและมอเตอร์ไซค์ข้าม เพื่อความปลอดภัยของประชาชนและสัตว์เลี้ยงในการข้ามทางรถไฟ

ด้านสิ่งแวดล้อม มีมาตรการป้องกันและลดผลกระทบหลากหลายรูปแบบ อาทิ กำหนดให้มีการติดตั้งกำแพงกั้นเสียงชั่วคราวบริเวณพื้นที่อ่อนไหวต่อผลกระทบสิ่งแวดล้อม มีการฉีดพรมน้ำอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง บริเวณพื้นที่ก่อสร้างที่ถูกเปิดผิวหน้าดินและกองวัสดุก่อสร้าง เพื่อลดปัญหาฝุ่นละอองเป็นต้น

โครงการเพิ่มประสิทธิภาพและเพิ่มความจุทางรถไฟช่วงหัวหมาก – ฉะเชิงเทรา – ศรีราชา และโครงการรถไฟทางคู่ ช่วงศรีราชา – มาบตาพุด ถือเป็นโครงการสำคัญ ที่ช่วยสนับสนุนการพัฒนาพื้นที่ EEC และเสริมศักยภาพด้านการเดินทางและขนส่งให้กับพื้นที่จังหวัดข้างเคียง ประหยัดเวลาการเดินทางจากกรุงเทพฯ ถึงระยอง

โดยใช้เวลาเพียง 2 ชั่วโมง อีกทั้งเพิ่มประสิทธิภาพในการขนส่งคนและสินค้ารองรับผู้โดยสารปริมาณ 4 ล้านคน/ปี และรองรับการขนส่งสินค้าปริมาณ 40 ล้านตัน/ปี ในปีเปิดให้บริการ

ทั้งนี้ ร.ฟ.ท.ให้ความสำคัญกับกระบวนการการมีส่วนร่วมโดยได้จัดการประชุมรับฟังความคิดเห็นในทุกจังหวัดตามแนวเส้นทางโครงการ ได้แก่ จ.ชลบุรี และ จ.ระยอง เมื่อวันที่ 7 – 8 มีนาคม 2562 ที่ผ่านมา และจะจัดขึ้นอีก 2 ครั้งที่ จ.ฉะเชิงเทรา และ จ.ชลบุรี ในวันที่ 12 – 13 มีนาคม 2562 โดยภายหลังการประชุมครั้งนี้ รฟท.จะนำข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะที่ได้จากผู้เข้าร่วมประชุม ไปพิจารณาประกอบในรายงานผลการศึกษา เพื่อเตรียมส่งมอบให้กับกระทรวงคมนาคมดำเนินการต่อไป

//-----------------------

บริษัทที่ปรึกษานำเสนอแนวคิดรูปแบบเบื้องต้นของการพัฒนา 4 ข้อ
1.ช่วงหัวหมาก-ฉะเชิงเทรา ทางรถไฟเดิมเป็น 3ทาง พัฒนาทางรถไฟเพิ่มอีก 1ทางเป็น 4 ทาง (สำหรับรถไฟโดยสารทางไกล2ทาง และรถไฟขนส่งสินค้า 2ทาง) และแก้ไขปัญหาจุดตัดทางรถไฟกับถนน

2.ช่วงฉะเชิงเทรา-ศรีราชา ทางรถไฟเดิมปัจจุบันเป็น 2ทาง (ทางคู่) จะปรับปรุงทางรถไฟและแก้ไขปัญหาจุดตัดทางรถไฟ

3.ช่วงศรีราชา-มาบตาพุด ทางรถไฟเดิมเป็นทางเดี่ยว (1ทาง) จะพัฒนาเพิ่มใหม่อีก 1ทาง (เป็นทางคู่) และแก้ไขปัญหาจุดตัดทางรถไฟกับถนน

4.ก่อสร้างทางเลี่ยงเมือง (Chord Line) บริเวณชุมทางศรีราชา-ชุมทางเขาชีจรรย์

การแก้ไขจุดตัดทางรถไฟเสมอระดับเป็นจุดตัดต่างระดับทั้งหมด มี 5 รูปแบบ และ แล้วป้ายหยุดรถ "พระจอมเกล้า" ก็หายไปกับโครงการนี้
http://www.doubletracktomaptaphut.com/files/06032562/2.PR2.pdf
https://www.facebook.com/ake.bluechifamily/posts/2198699396843660
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 11/03/2019 10:45 pm    Post subject: Reply with quote

รับฟัง 'ไอซีดี' ฉะเชิงเทราล่ม
12 กุมภาพันธ์ 2562



เวทีรับฟังความเห็น "ไอซีดี ฉะเชิงเทรา" ล่ม หลังชุมชนออกโรงค้านโครงการ สนข.เผย ต.หนองตีนนก อ.แปดริ้ว เหมาะสมที่สุด ใกล้เส้นทางคมนาคมหลัก กระทบชาวบ้านน้อยสุด เผยใช้งบก่อสร้าง 1.4 หมื่นล้านบาท รองรับตู้คอนเทนเนอร์ได้ถึง 1.9 ล้านทีอียู

โครงการพัฒนาสถานีขนส่งสินค้า (ไอซีดี) ฉะเชิงเทรา เพื่อรองรับการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) อยู่ในขั้นตอนการศึกษา ซึ่งที่ผ่านมามีการร้องคัดค้านของชุมชนบางส่วนใน ต.หนองตีนนก อ.บ้านโพธิ์ จ.ฉะเชิงเทรา โดยยื่นหนังสือคัดค้านต่อสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัมนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) เมื่อ 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา

วานนี้ (11 ก.พ.) ที่ผ่านมา สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) จัดสัมมนาเผยแพร่ผลการศึกษาและรับฟังความคิดเห็นต่อรายงานฉบับสมบูรณ์ โดยมีหน่วยงานและประชาชนใน จ.ฉะเชิงเทรา มารับฟังกว่า 200 คน ซึ่งเวทีนี้ได้ยุติลงก่อนที่จะถึงช่วงรับฟังความเห็น เพราะมีกลุ่มที่อ้างว่าจะได้รับผลกระทบจากโครงการนี้เข้ามาประท้วง

นายชุมโชค นันทวิชิต รองผู้จัดการโครงการพัฒนาสถานีขนส่งสินค้าคอนเทนเนอร์รองรับอีอีซี เปิดเผยว่า ได้ศึกษาศักยภาพความพร้อมของ 4 พื้นที่ คือ 1.พื้นที่ใกล้กับสถานีรถไฟโพรงอากาศ ติดกับเส้นทางรถไฟ ต.โพรงอากาศ อ.บางน้ำเปรี้ยว
2.พื้นที่บนถนนสุขาภิบาล 11 ติดแม่น้ำบางปะกง ต.บ้านโพธิ์ อ.บ้านโพธิ์ 3.พื้นที่ใกล้สถานีรถไฟดอนสีนนท์ อยู่ติดกับเส้นทางรถไฟ ต.หนองตีนนก อ.บ้านโพธิ์ (ด้านตะวันออกของทางรถไฟ) 4.พื้นที่ใกล้สถานีรถไฟดอนสีนนท์ เลียบคลองชลประทาน ต.หนองตีนนก อ.บ้านโพธิ์ (ด้านตะวันตกของทางรถไฟ)

เลือกจุดกระทบชุมชนน้อยสุด

นายชุมโชค กล่าวว่า พื้นที่ 3 ใกล้กับสถานีรถไฟดอนสีนนท์ (ด้านตะวันออกของทางรถไฟ) เหมาะสมที่สุด เพราะอยู่ใกล้กับเส้นทางคมนาคมสำคัญ ทั้งสถานีรถไฟ ถนนหลวงหมายเลข 315 ที่เป็นเส้นทางหลัก และทางหลวงชนบทหมายเลข 3122 ที่สำคัญในพื้นที่นี้ ซึ่งกระทบประชาชนน้อยที่สุด และพื้นที่เป็นที่ดินแปลงใหญ่ 120 แปลง กระทบชาวบ้าน 30 หลังคาเรือน หากสร้างพื้นที่อื่นจะกระทบชาวบ้านมากกว่านี้

“ในการคัดเลือกพื้นที่ที่เหมาะสม ต้องมีเส้นทางคมนาคมหลักเข้าถึงพื้นที่สะดวกที่สุด เพื่อลดต้นทุนขนส่ง และดึงดูดให้บริษัทขนส่งเข้ามาใช้บริการ ที่สำคัญจะต้องกระทบประชาชนน้อยที่สุด”

ส่วนทางเลือกในพื้นที่ 1 ใกล้สถานีรถไฟโพรงอากาศ ต.โพรงอากาศ อ.บางน้ำเปรี้ยว แม้จะมีพื้นที่เยอะแต่เป็นทางระบายน้ำหลากจากแม่น้ำเจ้าพระยา และการคมนาคมขนส่งไม่สะดวก ซึ่งทำให้ ต.หนองตีนนก อ.บางน้ำเปรี้ยวเหมาะสมที่สุด

ยืนยันชุมชนส่วนใหญ่เห็นด้วย

ทั้งนี้ การลงพื้นที่ประชุมกลุ่มย่อยในพื้นที่ดังกล่าวพบว่าประชาชนส่วนใหญ่เห็นด้วยกับโครงการนี้ ส่วนประชาชนที่ได้รับผลกระทบต้องเวนคืนพื้นที่ ก็จะชดเชยให้อย่างเหมาะสม

สำหรับโครงการ ไอซีดี จ.ฉะเชิงเทรา ประกอบด้วย 4 ส่วนหลัก ได้แก่ 1.พื้นที่ส่วนกลาง ประกอบด้วย อาคารสำนักงานกลาง, โรงอาหาร, อาคารพักสินค้าตกค้าง, อาคารตรวจสอบเอ็กซ์เรย์ พร้อมด้วยจุดพัก ซึ่งประกอบด้วยปั๊มน้ำมันและปั๊มแก๊ส, ลานจอดพักรถเทรลเลอร์ และร้านค้าต่างๆ

ADVERTISEMENT

2.พื้นที่สถานีขนส่งสินค้าคอนเทนเนอร์ ประกอบด้วย ลานกองตู้คอนเทนเนอร์, โรงซ่อม, ลานทำความสะอาดตู้, โรงอาหาร, อาคารปฏิบัติการ, อาคารสำนักงาน, จุดคัดแยกและบรรจุสินค้ารวมทั้งโรงพักสินค้า 3.โครงข่ายถนนเชื่อมต่อเข้า-ออกโครงการ และ Service Road เช่น ทางแยกต่างระดับขนาด 2 ช่องจราจรเชื่อมโครงการกับทางหลวงหมายเลข 315

4.ทางรถไฟเชื่อมต่อเข้าพื้นที่โครงการและพื้นที่สถานีรถไฟ ประกอบด้วย อาคารสถานีรถไฟดอนสีนนท์ และหอสูงตรวจการณ์ พร้อมอาคารสำนักงาน โดยโครงการจะก่อสร้างทางเชื่อมรางรถไฟเข้ามาในพื้นที่ไอซีดี เพื่ออำนวยความสะดวกสำหรับการขนถ่ายสินค้าด้วยตู้คอนเทนเนอร์ทั้งขาขึ้นและขาล่อง

เตรียมพื้นที่พัฒนา 760 ไร่

นอกจากนี้ ไอซีดี จ.ฉะเชิงเทรา มีพื้นที่โครงการรวม 760 ไร่ มีมูลค่าลงทุนรวมทั้งหมด 14,507 ล่านบาท โดยการก่อสร้างจะแบ่งเป็น 2 เฟส ในเฟส 1 จะใช้พื้นที่ 211 ไร่ ใช้เงินลงทุน 10,941 ล้านบาท รองรับปริมาณตู้คอนเทนเนอร์ได้ 10 ปี คาดว่าจะเริ่มดำเนินการได้ในปี 2567 ส่วนเฟส 2 ใช้พื้นที่ 160 ไร่ ใช้เงินลงทุน 3,566 ล้านบาท คาดว่าจะจะดำเนินการในปี 2577

ทั้งนี้ จากผลการศึกษาคาดการณ์ว่าในปีแรกจะมีปริมาณตู้สินค้าที่เข้ามาใช้บริการสถานีขนส่งสินค้าคอนเทนเนอร์ที่จ.ฉะเชิงเทรา จำนวน 5 แสนทีอียู และเพิ่มขึ้นเป็น 1.9 ล้านทีอียูในปีที่ 30 โดยการวิเคราะห์ทางด้านเศรษฐกิจพบว่า ให้ผลตอบแทนด้านเศรษฐกิจอัตรา 15% มีระยะเวลาสัมปทาน 30 ปี แต่การออกแบบรายละเอียดจะปรับตัวเลขให้เหมาะสมได้

ส่วนรูปแบบการลงทุนแบ่งออกเป็น 2 แบบ ได้แก่ 1. ภาครัฐลงทุน 7,178 ล้านบาท โดยจะลงทุนในส่วนของงานจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน โครงสร้างพื้นฐานส่วนกลาง ค่าที่ดิน ปรับปรุงพื้นที่ ทำถนนโดยรอบโครงการ และสร้างทางรถไฟเข้ามาในพื้นที่ ภาคเอกชนลงทุน 7,330 ล้านบาท ในเรื่องของโครงสร้างพื้นฐานภายในโครงการ งานจัดหาอุปกรณ์เครื่องยกตู้สินค้า ซึ่งคาดว่าเอกชนใช้เวลาคืนทุน 17-18 ปี

2.ภาครัฐลงทุน 13,192 ล้านบาท ครอบคลุมการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน ค่าที่ดินและโครงสร้างพื้นฐาน ส่วนเอกชนลงทุน 1,316 ล้านบาท ครอบคลุมอุปกรณ์ยกตู้คอนเทนเนอร์ ซึ่งจะคืนทุนใน 3-5 ปี

เล็งชง กพอ.เคาะเลือกพื้นที่

นายชุมโชค กล่าวว่า ขั้นตอนหลังจากนี้จะเสนอผลการศึกษาให้ กพอ.พิจารณา จากนั้นในช่วงปี 2562 ถึงต้นปี 2563 จะออกแบบในรายละเอียด จากนั้นปี 2563 จะอนุมัติโครงการ และปี 2564 คัดเลือกผู้รับสัมปทาน และจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน ปี 2565 ก่อสร้างโครงการ และปี 2567 เปิดดำเนินการ

นายชุมโชค กล่าวว่า ความกังวลในเรื่องของสิ่งแวดล้อมนั้น ขอยืนยันว่าโครงการนี้จะไม่กระทบต่อการระบายน้ำอย่างแน่นอน โดยในจุดที่คลองตัดผ่านโครงการจะมีการปรับปรุงดาดคอนกรีตให้น้ำไหลได้ดีขึ้น ขุดคลองด้านข้าง และขยายคลองช่วงตอหม้อสะพานรถไฟให้น้ำไหลได้อย่างสะดวก จะทำให้ทางน้ำสะดวกกว่าเดิม ส่วนผลกระทบจากการถมดินที่อาจทำให้น้ำท่วมสูงขึ้นนั้น จากการศึกษาปริมาณน้ำฝนและปริมาณน้ำท่วมตลอด 50 ปี พบว่าจะส่งผลน้อยมาก พื้นที่นี้ส่วนใหญ่เป็นแหล่งรับน้ำอยู่แล้ว จะมีน้ำท่วมตามฤดูการเป็นปกติ

https://www.youtube.com/watch?v=XbW2188LhFk
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3, 4  Next
Page 2 of 4

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©