RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311232
ทั่วไป:13179707
ทั้งหมด:13490939
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 313, 314, 315 ... 542, 543, 544  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 11/03/2019 4:59 pm    Post subject: Reply with quote

ยื้อไฮสปีดเทรน ระวังล้มเป็นโดมิโน
ออนไลน์เมื่อ 09 มีนาคม พ.ศ. 2562
ตีพิมพ์ใน บทบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
ฉบับ 3451 หน้า 6
ระหว่างวันที่ 10-13 มีนาคม พ.ศ. 2562


วันที่ 19 มีนาคมนี้ คณะกรรมการคัดเลือกโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง หรือ ไฮสปีดเทรน เชื่อม 3 สนามบิน ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา และธุรกิจที่เกี่ยวข้อง วงเงิน 2.2 แสนล้านบาท ที่มี่นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เป็นประธาน นัดเจรจากับกิจการร่วมค้าบริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัดและพันธมิตรหรือกลุ่มซีพี เพื่อชี้ขาดผลการประมูลไฮสปีดเทรนระหว่างรฟท.กับกลุ่มซีพี


ประเด็นสำคัญที่จะมีการเจรจาวันที่ 19 มีนาคมนี้ คือจะต้องดูว่ากลุ่มซีพีรับได้หรือไม่เกี่ยวกับผลการพิจารณาของคณะกรรมการคัดเลือกที่ปฏิเสธ 12 ข้อเสนอเพิ่มเติมของทางกลุ่มซีพี จากทั้งหมดที่เสนอมากว่า 100 ข้อ เนื่องจากขัดกับเอกสารเสนอโครงการ หรือ RFP และขัดกับมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) หลังกลุ่มซีพีขอเลื่อนการเจรจาเมื่อวันที่ 5 มีนาคมที่ผ่านมาออกไป โดยอ้างเหตุผลเรื่องยังไม่สามารถตกลงกับพันธมิตรได้


รักษาการผู้ว่าการรฟท.บอกว่า หากซีพียังมีการแจ้ง ขอเลื่อนการประชุมออกไปอีก โดยอ้างเหตุผลเรื่องยังไม่สามารถตกลงกับพันธมิตรได้ อาจจะพิจารณายุติการหารือกับซีพีและเชิญกลุ่มบีทีเอสมาหารือแทน เพราะถือว่าไม่สมเหตุสมผล เนื่องจากเมื่อวันที่ 13 มีนาคมที่ผ่านมา กลุ่มซีพี ได้เคยแจ้งคณะกรรมการคัดเลือกฯ แล้วว่ามีความพร้อมที่จะเจรจาแล้ว แต่คณะกรรมการคัดเลือกฯ เป็นฝ่ายที่ขอเลื่อนเวลาออกไปเป็นวันที่ 19 มีนาคมแทน เนื่องจากองค์ประชุมไม่ครบ


ต้องยอมรับว่าการคัดเลือกผู้ชนะการประมูลไฮสปีดเทรน ยืดเยื้อมาเกือบ 3 เดือน ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2561 หลังจากคณะกรรมการคัดเลือกฯประกาศข้อเสนอซอง 3 ด้านการเงิน ที่ปรากฏว่ากลุ่มซีพีมีการเสนอขอรับเงินอุดหนุนจากรัฐตํ่าสุดที่ 117,227 ล้านบาท จากนั้นในเดือนมกราคม 2562 คณะกรรมการคัดเลือกฯได้เปิดเจรจารายละเอียดของโครงการกับกลุ่มซีพีมาอย่างต่อเนื่อง แต่จนถึงวันนี้ก็ยังไม่ได้ข้อยุติ


ความล่าช้าในการประกาศผลผู้ชนะการประมูลไฮสปีดเทรน เริ่มส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ต่อ การเปิดประมูลโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก บนเนื้อที่ 6.5 พันไร่ มูลค่าลงทุนประมาณ 2.7 แสนล้านบาท ที่มีี 42 บริษัท จาก 8 ประเทศ เข้ามาซื้อซองประกวดราคา แต่ต้องเลื่อนออกไปจากเดิมที่กำหนดยื่นซองในวันที่ 1 มีนาคม เป็นวันที่ 21 มีนาคมแทน เพราะเอกชนต้องการรอดูความชัดเจนโครงการไฮสปีดเทรน ที่เป็นกุญแจดอกสำคัญในการพัฒนาพื้นที่ี่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก หรือ อีอีซี ดังนั้นการเจรจาระหว่างคณะกรรมการคัดเลือกฯกับกลุ่มซีพีในวันที่ 19 มีนาคมจะต้องมีคำตอบที่ชัดเจน เพื่อไม่ให้การพัฒนาโครงการต่างๆในอีอีซีที่รัฐบาลวางแผนไว้ล้มเป็นโดมิโน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 11/03/2019 9:18 pm    Post subject: Reply with quote

แบบสถานีรถไฟนครราชสีมา (โคราช) ล่าสุดออกมาแล้วครับ

ซึ่งสถานีนครราชสีมา จะมีลักษณะคล้ายกับสถานีบางซื่อรวมรถไฟทั้ง 2 ระบบ คือรถไฟทางไกล และรถไฟความเร็วสูง โดยจะมี3 ชั้น

ชั้นที่ 1 โถงพักรอคอย และทางเข้าอาคาร
ชั้นที่ 2 ชั้นจำหน่ายตั๋ว และชานชลารถไฟทางไกล
ชั้นที่ 3 ชานชลารถไฟความเร็วสูง

สถานที่ตั้งสถานีใหม่อยู่บริเวณย่านสถานีรถไฟนครราชสีมาในปัจจุบัน (ขยับไปทางชุมทางถนนจิระประมาณ 160เมตร) และมีการเวนคืนที่ดินเพิ่มเติมเล็กน้อย

จากรูปที่เห็น ยอมเลยครับ สวยมาก

แต่สุดท้ายช่วยเคลียร์ปัญหาทางรถไฟทางคู่ ยกระดับ แยกสีมาธานี ให้เรียบร้อย ทางคู่จะได้เดินต่อเพราะ เป็นคอขวดของทางคู่อยู่ตรงนี้ครับ
https://www.facebook.com/pages/%E0%B8%AA%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B8%A3%E0%B8%96%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%A1%E0%B8%B2-Nakhon-Ratchasima-SRT2114/347307616006466
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 14/03/2019 10:39 am    Post subject: Reply with quote

เผยแบบ4 สถานีรถไฟความเร็วสูงเสร็จแล้ว
พฤหัสบดีที่ 14 มีนาคม 2562 เวลา 08.10 น.

แบบสถานีรถไฟในโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง(ไฮสปีด) 4 สถานี ยุธยา สระบุรี ปากช่องและนคราชสีมาเสร็จแล้ว เน้นสร้างคร่อมสถานีเดิม ไม่รื้ออาคารอนุรักษ์

รายงานข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.)แจ้งว่าการออกแบบสถานีรถไฟในโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง(ไฮสปีด)สายแรกของประเทศไทยตามความร่วมมืออระหว่างรัฐบาลไทย-จีนระยะ(เฟส)แรกกรุงเทพ-นคราชสีมา  ระยะทาง 253กม. ทั้ง 6 สถานี ได้แก่ บางซื่อ ดอนเมือง อยุธยา สระบุรีปากช่องและนครราชสีมา  ได้ออกแบบสถานีใหม่รองรับรถไฟความเร็วสูง 4สถานี คืออยุธยา สระบุรี ปากช่องและนคราชสีมาเสร็จเรียบร้อยแล้ว พร้อมบรรจุในสัญญาการก่อสร้างได้แล้วทั้ง4 สถานี    ส่วนอีก2สถานีได้แก่สถานีบางซื่อ และดอนเมือง จะใช้เป็นสถานีร่วมกับรถไฟชานเมืองสายสีแดง(บางซื่อ-รังสิต) 



 สำหรับ4สถานีที่ต้องก่อสร้างเพิ่มเติมนั้น เนื่องจากสถานีเดิมมีสภาพเก่าไม่สามารถรองรับรถไฟความเร็วสูงได้จึงต้องออกแบบใหม่ รายงานข่าวแจ้งว่า สำหรับรูปแบบสถานีรถไฟทางไกลอยุธยาจะมีลักษณะเดียวกับสถานีรถไฟ บางซื่อซึ่งเป็นสถานีรวมกันระหว่างรถไฟ 3 ระบบทั้งรถไฟทางไกลและรถไฟความเร็วสูง และรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงสำหรับสถานีจะแบ่งออกเป็น 3 ชั้น ชั้นที่ 1 เป็นชานชาลารถไฟทางไกลและรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง  ชั้นที่ 2เป็นส่วนจำหน่ายตั๋วโดยสารและโถงพักคอย และชั้นที่ 3 เป็นชานชาลารถไฟความเร็วสูง  ทั้งนี้การออกแบบสถานีใหม่นั้นจะสร้างในเขตพื้นที่สถานีเดิมทั้งหมดคร่อมสถานีรถไฟอยุธยาโดยยังอนุรักษ์อาคารเก่าไว้ ด้วยความร่วมสมัยกับการก่อสร้างใหม่ให้กลมกลืนระหว่างสถานปัยตกรรมเก่ากับใหม่ภายในสถานีมีสิ่งอำนวยความสะดวกบันไดเลื่อนและร้านค้าเชิงพาณิชย์บริการนักท่องเที่ยว อีกทั้งสถานีจะเชื่อมกับแม่น้ำป่าสักซึ่งจะมีท่าน้ำเพื่อเชื่อมโยงกับเรือโดยสารภายในแม่น้ำเชื่อมโยงธรรมชาติและวิถีชีวิตผู้คนในท้องถิ่นด้วย



ส่วนสถานีรถไฟนครราชสีมา หรือ(โคราช)ซึ่งเป็นสถานีสุดท้ายของโครงการ มีรถไฟใช้บริการทั้ง 2ระบบ คือรถไฟทางไกล และรถไฟความเร็วสูง โดยจะมี3ชั้น  ชั้นที่ 1โถงพักรอคอย และทางเข้าอาคาร ชั้นที่ 2 ชั้นจำหน่ายตั๋ว และชานชาลารถไฟทางไกลชั้นที่ 3 ชานชาลารถไฟความเร็วสูง  สถานที่ตั้งสถานีใหม่อยู่บริเวณใกล้เคียงกับสถานีเดิมจะก่อสร้างเยื้องไปทางชุมทางถนนจิระประมาณ 160เมตรและมีการเวนคืนที่ดินเพิ่มเติมเล็กน้อย สำหรับสถานีรถไฟสระบุรีและปากช่องใช้รูปแบบเดียวกัน  แต่จะอยู่ในพื้นที่ใหม่สถานีสระบุรีอยู่ฝั่งตรงข้ามศูนย์การค้าโรบินสัน ถนนเลี่ยงเมือง ห่างจากสถานีเดิม 3กม.และสถานีปากช่อง สร้างบนที่ราชพัสดุปัจจุบันเป็นกองการสัตว์และเกษตรกรรมที่ 2ของกองทัพบก

รายงานข่าวแจ้งต่อว่า   การออกแบบสถานีได้ลงพื้นที่รับฟังความคิดเห็นจากสภาสถาปนิก และประชาชนในพื้นที่โดยเตรียมประกวดราคาแล้ว ทั้ง4สถานีนี้บรรจุในสัญญาก่อสร้างที่เหลือ 12 สัญญา จาก14สัญญาแบ่งเป็น 5สัญญาช่วงแรกกำลังอยู่ในกระบวนการอีบิดดิ้งอีก7ช่วงสัปดาห์หน้าคาดว่าจะเริ่มประกาศประชาพิจารณ์ร่างขอบเขตการประมูลหรือโออาร์ได้  
 
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 14/03/2019 10:48 am    Post subject: Reply with quote

นับถอยหลังเส้นตายไฮสปีด 12 พันธมิตร ซี.พี.สู้ไม่ถอย
พร็อพเพอร์ตี้
วันพฤหัสบดีที่ 14 มีนาคม 2562 เวลา 07:22 น.

ปล่อยให้ลุ้นตัวโก่งอยู่นานสองนาน ในที่สุดก็เป็นที่แน่ชัด “กลุ่ม ซี.พี.และพันธมิตร” มีบริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด ของ เจ้าสัวธนินท์ เจียรวนนท์ เป็นแกนนำด้วยสัดส่วน 70%

จะไม่ปล่อยมือจากโปรเจ็กต์รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา มูลค่า 224,544 ล้านบาท

ที่ปล่อยให้เวลาล่วงเลยมากว่า 2 เดือน เนื่องจากยื่นข้อเสนอพิเศษหวังปิดจุดเสี่ยงโครงการ เพราะแม้ว่ารัฐจะสนับสนุนเงินลงทุนให้จำนวน 117,227 ล้านบาทตามที่เสนอไป แลกกับสัมปทานที่รัฐยื่นให้ 50 ปี

แต่ยังไม่เพียงพอต่อการลงทุนโครงการไฮสปีดเทรนซึ่งใช้เวลาคืนทุนนานนับ 10 ปี ที่ประเทศไทยยังไม่เคยมีการดึงเอกชนร่วมทุนด้วยเงินก้อนใหญ่ขนาดนี้มาก่อน



ปัจจุบันการเจรจาได้ข้อยุติจากคณะกรรมการคัดเลือกโครงการมี “วรวุฒิ มาลา” รักษาการผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เป็นประธานปิดประตูทุกบานไม่รับ 12 ข้อเสนอด้านการเงินของกลุ่ม ซี.พี.

ขณะที่กลุ่ม ซี.พี.ขอขยายเวลาจากเดิมวันที่ 5 มี.ค.เป็น 19 มี.ค. เนื่องจากต้องรอคำตอบจากพันธมิตรต่างชาติหลายรายอาจจะต้องใช้เวลา

“เมื่อถึงเวลาประชุมกลุ่ม ซี.พี.จะต้องไม่มีข้อเสนอนอกเหนือทีโออาร์และมติคณะรัฐมนตรีนำมาพิจารณา หากมีจะขอเจรจายุติและเชิญกลุ่มบีเอสอาร์มาเจรจาต่อไป เพื่อให้โครงการเดินหน้าเซ็นสัญญาภายในเดือน มี.ค.นี้” นายวรวุฒิกล่าวย้ำ

จากเดดล็อกทำให้เป็นที่จับตาท่าทีของ “กลุ่ม ซี.พี.” หลังเจียระไนร่วมกับพันธมิตรแล้ว จะยอมถอนข้อเสนอพิสดารตามมติของคณะกรรมการคัดเลือกหรือจะมีข้อเสนอใหม่ที่เพิ่มเข้ามาอีกวันที่ 19 มี.ค.นี้

ความเคลื่อนไหวล่าสุด “ศุภชัย เจียรวนนท์” ประธานเครือเจริญโภคภัณฑ์ ในฐานะกลุ่มกิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์ จำกัด และพันธมิตร (กลุ่ม ซี.พี.) กล่าวว่า ที่ขอเลื่อนวันเจรจากับคณะกรรมการคัดเลือกรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินออกไปไม่สามารถเปิดเผยรายละเอียดและเหตุผลของการขอเลื่อนได้ เนื่องจากจะขัดกับทีโออาร์ที่ไม่ให้เปิดเผยรายละเอียดจนกว่าการเจราจาจะแล้วเสร็จ

“แต่ในเบื้องต้นทางกลุ่มยังไม่ถอดใจที่จะลงทุนโครงการ ส่วนพันธมิตรต่างประเทศก็ยังไม่มีกลุ่มใดตัดสินใจถอนตัวออกจากโครงการนี้ เพียงแต่อาจจะมีข้อกังวลบ้างเท่านั้น ซึ่งไม่สามารถเปิดเผยอะไรได้จริง ๆ”

ด้านแหล่งข่าวจาก บมจ.ช.การช่างและ บมจ.อิตาเลียนไทยฯกล่าวว่า ยังไม่ถอนตัวจากการประมูล แต่การตัดสินใจต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับ ซี.พี.เป็นหลัก

พลิกดู 12 พันธมิตรที่ “ซี.พี.” จะต้องกล่อม มีทั้งระดับแถวหน้าของประเทศไทยและระดับโลก แต่ร่วมหุ้นออกหน้ามี 4 ราย ได้แก่ บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ 5% บจ.ไชน่า คอนสตรักชั่น คอร์ปอเรชั่น จากประเทศจีน 10% บมจ.ช.การช่าง และ บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ หรือ BEM 15%

ที่เหลือมี JOIN หรือองค์กรความร่วมมือการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมและการพัฒนาเมืองในต่างประเทศแห่งประเทศญี่ปุ่น, บจ.ซิติกกรุ๊ป จากประเทศจีน

บจ.ไชน่า รีเสิร์ช (โฮลดิ้งส์) จากประเทศจีน, บจ.ซีเมนส์ จากประเทศเยอรมนี, บจ.ฮุนได จากประเทศเกาหลี, บจ.Ferrovie dello Stato Italiane (FS) จากประเทศอิตาลี, บจ.CRRC-Sifang จากประเทศจีน และธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น หรือ JBIC ประเทศญี่ปุ่น

เมื่อโปรเจ็กต์เป็นเมกะดีลระดับโลก จึงต้องใช้เวลาถกกันนานหน่อยกว่าจะลงตัว เพราะสิ่งที่คิดไม่ได้อย่างที่ต้องการ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 15/03/2019 3:37 pm    Post subject: Reply with quote

ซีพีลุยภาพใหญ่ “ไฮสปีด 3 สนามบิน” เดินหน้าดึงนักลงทุนญี่ปุ่น ร่วมดีอี ชูไทยเป็นศูนย์กลางเทคโนโลยี ต่อยอดไทยแลนด์ 4.0
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 15 มีนาคม 2562 เวลา 11:35
ปรับปรุง: 15 มีนาคม 2562 เวลา 11:55




เล็กๆ ไม่ ใหญ่ๆ ทำ การสร้างไทยสู่การเป็นศูนย์กลางด้านเศรษฐกิจภูมิภาค รถไฟอย่างเดียวไม่พอ แต่ต้องมองภาพใหญ่ ดึงนักลงทุนจากต่างประเทศมาร่วมพัฒนาโครงการให้สำเร็จ พร้อมสร้างความเชื่อมั่นระดับภูมิภาค โดยการพัฒนาโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ถือได้ว่าเป็นโครงการที่สำคัญอันดับแรกๆ ที่สร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนจากหลากหลายประเทศ และจะทำให้เกิดภาพใหญ่ของการสร้างเครื่องจักรเศรษฐกิจให้กับประเทศไทยในอีกหลายสิบปีข้างหน้า ซึ่งจะสำเร็จหรือไม่ขึ้นอยู่กับว่าสามารถดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศได้มากน้อยเพียงใด

หลังจากสัปดาห์ที่ผ่านมา นายทาดาชิ มาเอดะ ผู้ว่าการธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (Japan Bank for International Cooperation: JBIC) เข้าพบ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี โดยผู้ว่าการ JBIC กล่าวว่า การเข้าพบนายกรัฐมนตรีในครั้งนี้ เพื่อรายงานความคืบหน้าในการผลักดันโครงการต่างๆ ภายใต้โครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) และยืนยันให้การสนับสนุนซีพีในการทำโครงการไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน และโครงการอื่นๆ ในอีอีซี ซึ่งไม่เพียงแต่ประเทศญี่ปุ่นจะให้ความสำคัญในการทำรถไฟความความเร็วสูง การสร้างระบบนิเวศด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีก็มีความสำคัญ ซึ่งล่าสุดสถานทูตญี่ปุ่นจับมือกระทรวงดิจิทัลฯ เครือซีพี และทรู นำสุดยอด Startup แถวหน้าด้านเทคโนโลยีของญี่ปุ่น พบบริษัทชั้นนำของไทยกว่า 20 แห่ง ร่วมมือกันสร้างนวัตกรรมใหม่ ผลักดันประเทศไทยสู่ยุค 4.0 สู่ความเป็นจริง



เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2562 สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย ร่วมกับ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด และ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) จัดงาน Rock Thailand ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโปรแกรม Open Innovation Columbus (OIC) ภายใต้ความร่วมมือระหว่างรัฐบาลญี่ปุ่นและไทย เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้สตาร์ทอัปของญี่ปุ่นและไทย เกิดการแลกเปลี่ยนนวัตกรรมรองรับการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC โดยมีเป้าหมายให้ไทยเป็นศูนย์กลางนวัตกรรมแห่งใหม่ (New Innovation Hub) ของภูมิภาคอาเซียน สอดคล้องกับนโยบายประเทศไทย 4.0 ซึ่งได้นำสุดยอดสตาร์ทอัปแถวหน้าด้านเทคโนโลยีของญี่ปุ่น 10 บริษัท มาแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับบริษัทชั้นนำของไทยกว่า 20 บริษัท ซึ่งมี ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และ นายชิโร ซะโดะชิมะ เอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย ให้เกียรติร่วมงาน โดย นายสุภกิต เจียรวนนท์ ประธานคณะกรรมการเครือเจริญโภคภัณฑ์ และ นายศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหารเครือเจริญโภคภัณฑ์ ร่วมให้การต้อนรับ ณ Lobby ชั้น 28 ทรู ทาวเวอร์ ถนนรัชดาภิเษก

นายซะโดะชิมะ กล่าวว่า การจัดงานครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของความร่วมมือระหว่างไทย-ญี่ปุ่น ที่มีนโยบายส่งเสริมธุรกิจสตาร์ทอัพของญี่ปุ่นสู่ระดับสากล และสอดคล้องกับเป้าหมายของประเทศไทยที่จะก้าวสู่ยุค 4.0 เป็นการเปิดโอกาสให้มีการแสดงความคิดเห็นและแลกเปลี่ยนมุมมองทางธุรกิจ ภายใต้โครงการ Open Innovation Columbus ซึ่งส่งเสริมความร่วมมือทางธุรกิจระหว่างบริษัทชั้นนำของไทยกับสตาร์ทอัปของญี่ปุ่น รวมไปถึงการสนับสนุนให้เกิดความร่วมมือกับสตาร์ทอัปของไทยในอนาคตด้วย

ดร.พิเชฐ กล่าวว่า รัฐบาลมีนโยบายมุ่งส่งเสริมการขับเคลื่อนการสร้างนวัตกรรมเพื่อพัฒนาไปสู่การเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล (Digital Transformation) และดิจิทัล ไทยแลนด์ โดยเฉพาะโครงการสมาร์ทซิตี้และเมืองนวัตกรรมในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ที่สะท้อนถึงการก้าวสู่การเป็นไทยแลนด์ 4.0 และจะส่งผลให้ไทยเป็นผู้นำด้านการค้าการลงทุน และการพัฒนานวัตกรรมดิจิทัลของภูมิภาค โดยโครงการ Open Innovation Columbus เป็นโครงการที่ทางรัฐบาลญี่ปุ่นส่งเสริมสตาร์ทอัปญี่ปุ่นให้เข้ามาร่วมมือกับธุรกิจสตาร์ทอัปในประเทศไทยพัฒนาให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ โดยใช้พื้นที่เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EECi) เพื่อสร้างให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางนวัตกรรมใหม่ของภูมิภาคอาเซียนนอกประเทศญี่ปุ่น (New Innovation Hub) ตลอดจนส่งเสริมให้เอสเอ็มอีเข้าถึงเทคโนโลยี Internet of Things หรือ IoT ที่ใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตเชื่อมต่อระหว่างเอสเอ็มอีญี่ปุ่นกับไทยสู่ CLMVT (กัมพูชา ลาว เมียนมา เวียดนาม ไทย) และออกสู่เวทีโลกต่อไป

นายศุภชัย กล่าวว่า เครือซีพีให้ความสำคัญกับการปรับตัวสู่โลกดิจิทัล ซึ่งการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ของเครือซีพีไม่ใช่เพื่อองค์กรหรือบริษัทในเครือฯ เท่านั้น แต่ต้องสร้างและพัฒนาด้านนวัตกรรมสำหรับประเทศไทยโดยรวม โดยเฉพาะการวิจัยและพัฒนา การลงทุนในสตาร์ทอัป และการสร้างอีโคซิสเต็มแพลตฟอร์ม เพื่อให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ ซึ่งกุญแจสำคัญที่จะก้าวสู่ความสำเร็จคือ ความร่วมมือกับทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐและเอกชน โดยเครือซีพีในฐานะภาคเอกชนไทย พร้อมสนับสนุนการพัฒนาประเทศไทยให้มีอนาคตก้าวหน้า สามารถแข่งขันบนเวทีโลกได้ โดยเฉพาะการก้าวทันการเปลี่ยนแปลงของโลก ที่นวัตกรรมดิจิทัลจะมีบทบาทมากขึ้นในอนาคต



สำหรับความร่วมมือกับสถานทูตญี่ปุ่นในครั้งนี้ เป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับตัวแทนสตาร์ทอัปที่ประสบความสำเร็จระดับแถวหน้าของญี่ปุ่น ซึ่งเชื่อมั่นว่าพลังของสตาร์ทอัปญี่ปุ่น ที่ถือเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีอันดับ 1 ของโลก จะช่วยยกระดับการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีขั้นสูงให้ไทยก้าวสู่ประเทศไทย 4.0 และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะเกิดโอกาสในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ถ่ายทอดนวัตกรรมและเป็นประโยชน์กับสตาร์ทอัปของไทยต่อไป

ทั้งนี้ สุดยอดสตาร์ทอัปญี่ปุ่นที่เข้าร่วมงานครั้งนี้มีจำนวน 10 บริษัท ประกอบด้วย สตาร์ทอัปด้าน AI (ปัญญาประดิษฐ์) 4 แห่ง ได้แก่ ABEJA, PKHSA, LPIXEL และ SKYDiSC ด้าน Internet of Things (IoT) จำนวน 3 แห่ง ได้แก่ UMITRON, Smartdrive และ Smart Shopping และด้านเทคโนโลยีโลจิเทค (Logitech) อีก 3 แห่ง คือ GROUND, SOUCO และ MOVO โดย ABEJA เป็นหนึ่งในยูนิคอร์นด้านนวัตกรรมปัญญาประดิษฐ์ (AI) ของญี่ปุ่น หรือสตาร์ทอัปที่ประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็ว และมีมูลค่ามากกว่า 1 พันล้านเหรียญ ร่วมแลกเปลี่ยนข้อมูลและประสบการณ์

สำหรับผู้บริหารบริษัทชั้นนำของไทยที่เข้าร่วมงานครั้งนี้ ได้แก่ นายชาติศิริ โสภณพนิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) นายสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการและกรรมการผู้จัดการ บริษัท ศรีไทยซุปเปอร์แวร์ จำกัด (มหาชน) ดร.สุภามาส ตรีวิศวเวทย์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) นายจุตินันท์ ภิรมย์ภักดี รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด นายธรรมศักดิ์ จิตติมาพร ประธานเจ้าหน้าที่กลุ่มธุรกิจใหม่ กลุ่มมิตรผล

นอกจากนี้ ยังมีตัวแทนจาก บริษัท เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) โรงพยาบาลสมิติเวช ธนาคารไทยพาณิชย์ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) บริษัท ไทยซัมมิท โอโตพาร์ท อินดัสตรี จำกัด บริษัท ดับบลิวเอชเอคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ธนาคารกสิกรไทย บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) และ บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำกัด (มหาชน)


//--------------------


เล่นภาพใหญ่!'ซีพี'จับมือ'ญี่ปุ่น-ดีอี'ดึงสตาร์ทอัพญี่ปุ่นปั้นไทยสู่ฮับดิจิทัล-เทคโนโลยีระดับภูมิภาค
โลกธุรกิจ
วันศุกร์ ที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2562, 14.08 น.

ในระหว่างที่การเจรจารถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน เข้าสู่โค้งสุดท้าย และมีกระแสที่สร้างความสับสนมาอย่างต่อเนื่อง แต่ดูเหมือนว่า ซีพี จะมองภาพใหญ่ เดินหน้าสร้างความเชื่อมั่น ดึงดูดนักลงทุนเข้าสู่อีอีซี ทำอย่างไรให้ต่างประเทศมองไทยน่าลงทุน ถือได้ว่าเล็กๆ ไม่ ใหญ่ๆ ทำ การสร้างไทยสู่การเป็นศูนย์กลางด้านเศรษฐกิจภูมิภาค รถไฟอย่างเดียวไม่พอ แต่ต้องมองภาพใหญ่ ดึงนักลงทุนจากต่างประเทศมาร่วมพัฒนาโครงการให้สำเร็จ พร้อมสร้างความเชื่อมั่นระดับภูมิภาค



ทั้งนี้ การพัฒนาโครงการรถไฟเชื่อมสนาม 3 บิน ถือได้ว่าเป็นโครงการที่สำคัญอันดับแรกๆ ที่สร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนจากหลากหลายประเทศ และจะทำให้เกิดภาพใหญ่ของการสร้างเครื่องจักรเศรษฐกิจให้กับประเทศไทยในอีกหลายสิบปีข้างหน้า ซึ่งจะสำเร็จหรือไม่ขึ้นอยู่กับว่าสามารถดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศได้หรือไม่ หลังจากสัปดาห์ที่ผ่านมา นายทาดาชิ มาเอดะ ผู้ว่าการธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (Japan Bank for International Cooperation: JBIC) เข้าพบ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี โดยผู้ว่าการ JBIC กล่าวว่า การเข้าพบนายกฯ ในครั้งนี้ เพื่อรายงานความคืบหน้าในการผลักดันโครงการต่างๆ ภายใต้ โครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) และยืนยันการสนับสนุนซีพีในการทำโครงการไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน และโครงการอื่นๆ ในอีอีซี ซึ่งไม่เพียงแต่ประเทศญี่ปุ่นจะให้ความสำคัญในการทำรถไฟความความเร็วสูง การสร้างระบบนิเวศด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีก็มีความสำคัญ

ทั้งนี้ ล่าสุดสถานทูตฯ ญี่ปุ่น จับมือ ก.ดิจิทัล , เครือเจริญโภคภัณฑ์ และทรู คอร์ปอเรชั่น นำสุดยอด Start up แถวหน้าด้านเทคโนโลยีของญี่ปุ่น พบบริษัทชั้นนำของไทยกว่า 20 แห่ง ร่วมมือกันสร้างนวัตกรรมใหม่ ผลักดันประเทศไทยสู่ยุค 4.0 ให้สู่ความเป็นจริง



โดยเมื่อวันที่ 14 มี.ค.ที่ผ่านมา สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย ร่วมกับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด และบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) จัดงาน Rock Thailand ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโปรแกรม Open Innovation Columbus (OIC) ภายใต้ความร่วมมือระหว่างรัฐบาลญี่ปุ่นและไทย เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้สตาร์ทอัพของญี่ปุ่น - ไทย เกิดการแลกเปลี่ยนนวัตกรรมรองรับการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC โดยมีเป้าหมายให้ไทยเป็นศูนย์กลางนวัตกรรมแห่งใหม่ (New Innovation Hub) ของภูมิภาคอาเซียน สอดคล้องกับนโยบายประเทศไทย 4.0 ซึ่งได้นำสุดยอดสตาร์ทอัพแถวหน้าด้านเทคโนโลยีของญี่ปุ่น 10 บริษัท มาแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับบริษัทชั้นนำของไทยกว่า 20 บริษัท ที่ Lobby ชั้น 28 อาคารทรู ทาวเวอร์ ถนนรัชดาภิเษก โดยมี ฯพณฯ ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และ ฯพณฯ นายชิโร ซะโดะชิมะ เอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทยให้เกียรติร่วมงาน โดยมี นายสุภกิต เจียรวนนท์ ประธานคณะกรรมการ เครือเจริญโภคภัณฑ์ และนายศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์ ร่วมให้การต้อนรับ ณ อาคารทรูทาวเวอร์ ถนนรัชดาภิเษก

ฯพณฯ นายชิโร ซะโดะชิมะ เอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย กล่าวว่า การจัดงานครั้งนี้ เป็นส่วนหนึ่งของความร่วมมือระหว่างไทย-ญี่ปุ่น ที่มีนโยบายส่งเสริมธุรกิจสตาร์ทอัพของญี่ปุ่นสู่ระดับสากล และสอดคล้องกับเป้าหมายของประเทศไทยที่จะก้าวสู่ 4.0 เป็นการเปิดโอกาสแสดงความคิดเห็นและแลกเปลี่ยนมุมมองทางธุรกิจ ภายใต้โครงการ Open Innovation Columbus ซึ่งส่งเสริมการร่วมมือทางธุรกิจระหว่างบริษัทชั้นนำไทยกับสตาร์ทอัพของญี่ปุ่น รวมไปถึงการสนับสนุนให้เกิดความร่วมมือกับสตาร์ทอัพของไทยในอนาคตด้วย

ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) กล่าวว่า รัฐบาลมีนโยบายมุ่งส่งเสริมการขับคลื่อนการสร้างนวัตกรรมเพื่อพัฒนาไปสู่การเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล (Digital Transformation) และดิจิทัล ไทยแลนด์ โดยเฉพาะโครงการสมาร์ทซิตี้และเมืองนวัตกรรมในเขตเศรษฐกิจภาคตะวันออก (อีอีซี) ที่สะท้อนถึงการก้าวสู่การเป็นไทยแลนด์ 4.0 และจะส่งผลให้ไทยเป็นผู้นำด้านการค้าการลงทุน และการพัฒนานวัตกรรมดิจิทัลของภูมิภาค โดยโครงการ Open Innovation Columbus เป็นโครงการที่ทางรัฐบาลญี่ปุ่นส่งเสริมสตาร์ทอัพญี่ปุ่นให้เข้ามาร่วมมือกับธุรกิจสตาร์ทอัพในประเทศไทยพัฒนาให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ โดยใช้พื้นที่เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก(EECi)เพื่อสร้างให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางนวัตกรรมใหม่ของภูมิภาคอาเซียนนอกประเทศญี่ปุ่น (New Innovation Hub) ตลอดจนส่งเสริมให้เอสเอ็มอีเข้าถึงเทคโนโลยี Internet of Things หรือ IoT ที่ใช้เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตเชื่อมต่อระหว่างเอสเอ็มอีญี่ปุ่นกับไทยสู่ CLMVT (กัมพูชา ลาว เมียนมา เวียดนาม ไทย) และออกสู่เวทีโลกต่อไป

นายศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหาร บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด กล่าวว่า เครือซีพีให้ความสำคัญกับการปรับตัวสู่โลกดิจิทัล ซึ่งการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ของเครือซีพีไม่ใช่เพื่อองค์กรหรือบริษัทในเครือเท่านั้น แต่ต้องสร้างและพัฒนาด้านนวัตกรรมสำหรับประเทศไทยโดยรวม โดยเฉพาะการวิจัยและพัฒนา การลงทุนในสตาร์ทอัพและการสร้างอีโคซิสเต็มแพลตฟอร์มเพื่อให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ ซึ่งกุญแจสำคัญที่จะก้าวสู่ความสำเร็จคือ ความร่วมมือกับทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐและเอกชน โดยเครือซีพีในฐานะภาคเอกชนไทย พร้อมสนับสนุนการพัฒนาประเทศไทยให้มีอนาคตก้าวหน้า สามารถแข่งขันบนเวทีโลกได้ โดยเฉพาะการก้าวทันการเปลี่ยนแปลงของโลก ที่นวัตกรรมดิจิทัลจะมีบทบาทมากขึ้นในอนาคต

สำหรับความร่วมมือกับสถานทูตฯญี่ปุ่นในครั้งนี้ เป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับตัวแทนสตาร์ทอัพที่ประสบความสำเร็จระดับแถวหน้าของญี่ปุ่น ซึ่งเชื่อมั่นว่า พลังของสตาร์ทอัพญี่ปุ่น ที่ถือเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีอันดับ 1 ของโลก จะช่วยยกระดับการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีขั้นสูงให้ไทยก้าวสู่ประเทศไทย4.0 และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะเกิดโอกาสในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ถ่ายทอดนวัตกรรมและเป็นประโยชน์กับสตาร์ทอัพของไทยต่อไป

ทั้งนี้ สุดยอดสตาร์ทอัพญี่ปุ่นที่เข้าร่วมงานครั้งนี้มีจำนวน 10 บริษัท ประกอบด้วย สตาร์ทอัพด้าน AI (ปัญญาประดิษฐ์) 4 แห่ง ได้แก่ ABEJA , PKHSA , LPIXEL และ SKYDiSC ด้าน Internet of Things (IoT) จำนวน 3 แห่ง ได้แก่ UMITRON , Smartdrive และ Smart Shopping และด้านเทคโนโลยีโลจิเทค (Logitech) อีก 3 แห่ง คือ GROUND , SOUCO และ MOVO โดย ABEJA เป็นหนึ่งในยูนิคอร์นด้านนวัตกรรมปัญญาประดิษฐ์ (AI) ของญี่ปุ่น หรือสตาร์ทอัพที่ประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็ว และมีมูลค่ามากกว่า 1 พันล้านเหรียญ ร่วมแลกเปลี่ยนข้อมูลและประสบการณ์

สำหรับผู้บริหารบริษัทชั้นนำของไทยที่เข้าร่วมงานครั้งนี้ ได้แก่ นายชาติศิริ โสภณพนิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) , นายสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการและกรรมการผู้จัดการ บริษัท ศรีไทยซุปเปอร์แวร์ จำกัด (มหาชน) , ดร.สุภามาส ตรีวิศวเวทย์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) , นายจุตินันท์ ภิรมย์ภักดี รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด , นายธรรมศักดิ์ จิตติมาพร ประธานเจ้าหน้าที่กลุ่มธุรกิจใหม่ กลุ่มมิตรผล

นอกจากนี้ ยังมีตัวแทนจาก บริษัท เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) , โรงพยาบาลสมิติเวช , ธนาคารไทยพาณิชย์ , บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) บริษัท ไทยซัมมิท โอโตพาร์ท อินดัสตรี จำกัด , บริษัท ดับบลิวเอชเอคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) , ธนาคารกสิกรไทย , บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) , บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และบริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำกัด (มหาชน)


Last edited by Wisarut on 15/03/2019 5:21 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 15/03/2019 3:41 pm    Post subject: Reply with quote

ติง “ไทยพีบีเอส”ตีข่าวไฮเปอร์ลูป“ส้มหวาน”เป็นกลาง-ตรงข้อเท็จจริงหรือไม่
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 15 15 มีนาคม 2562 เวลา 15:23



นักวิชาการสื่อติง'ไทยพีบีเอส'พาดหัวข่าว พรรคอนาคตใหม่เสนอสร้าง“ไฮเปอร์ลูป”เป็นกลางและตรงข้อเท็จจริงหรือไม่ ใช้คำว่า “เล็งสร้าง”ทั้งที่แค่บอกจะตั้งคณะศึกษา ซ้ำยังเก็บเอาคำแถลงของพรรคมาเต็มๆ โดยไม่หาข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม ล่าสุดยอมเปลี่ยนพาดหัวแล้ว

วานนี้(14 มี.ค.) เมื่อเวลา 21.00 น. ผศ.ดร.วรัชญ์ ครุจิต ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายสื่อสารองค์กร สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์(นิด้า) ได้โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว Warat Karuchit เป็นภาพการพาดหัวข่าวของสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส กรณีการเสนอนโยบายสร้าง “ไฮเปอร์ลูป” ของพรรคอนาคตใหม่ พร้อมข้อความ ระบุว่า “อยากถามไทยพีบีเอสในฐานะสื่อสาธารณะว่า การนำเสนอข่าวนี้เป็นกลางและตรงกับข้อเท็จจริงแล้วหรือไม่ เหตุใดจึงพาดหัวว่า "เล็งสร้าง" แต่ในขณะที่ผู้แถลงผลก็ยังบอกเองว่า ยังไม่ได้สร้างตอนนี้ แต่จะตั้งคณะขึ้นมาศึกษาก่อน และยังบอกว่า อาจจะทำไม่ได้ก็ได้

ซึ่งในข่าว คือเก็บเอาคำแถลงของพรรคนี้มาเต็มที่ แต่ไม่มีการเพิ่มเติมข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญในไทย ว่าเป็นไปได้หรือไม่ เหมาะสมหรือไม่ การเปรียบเทียบกับประเทศอื่น รายงานความเป็นไปได้ใครเป็นคนทำ (คนทำคือ บริษัท TransPod ซึ่งเป็นบริษัททำ Hyperloop มันจะบอกว่าไม่ควรสร้างมั้ยล่ะ) พูดง่ายๆ เป็นข่าวหาเสียงเต็มๆในพื้นที่สื่อสาธารณะ

(เท่าที่หาข้อมูลเรื่อง Hyperloop ยังเป็นรูปแบบการขนส่งที่อยู่ในระหว่างการศึกษา ยังไม่เกิดขึ้นจริง แม้แนวคิดจะน่าสนใจ แต่ก็มีผู้เชี่ยวชาญหลายคน ทั้งจาก Harvard, MIT, Berkeley, USC ออกมาแสดงความไม่แน่ใจว่า Hyperloop จะสามารถตอบโจทย์ได้จริง คือส่วนใหญ่เห็นว่าสร้างได้ แต่จะคุ้มค่ามั้ย อันตรายมั้ย ทั้งเชิงเทคนิคและการก่อการร้าย คนนั่งจะเวียนหัวมั้ย และอื่นๆ)

ความเห็นจากผู้เชี่ยวชาญที่ไม่มั่นใจว่า Hyperloop จะตอบโจทย์ได้
https://phys.org/…/2013-08-elon-musk-hyperloop-hype-problem…
ข้อมูลที่มาของรายงานผลการศึกษา
https://www.blognone.com/node/108605



อย่างไรก็ตาม ในเวลาต่อมา พบว่า ไทยพีบีเอสได้มีการเปลี่ยนพาดหัวข่าวดังกล่าว โดยใช้คำว่า ชู “ไฮเปอร์ลูป” แทน

ภาพจากแฟนเพจ Thai PBS News
ภาพจากแฟนเพจ Thai PBS News

ทั้งนี้ ข่าวดังกล่าวของไทยพีบีเอสระบุว่า เมื่อวันที่ 14 มี.ค.ที่ผ่านมา พรรคอนาคตใหม่ได้จัดแถลงข่าว “ไฮเปอร์ลูป : ความเป็นไปได้ทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมไทย” สรุปได้ว่า เทคโนโลยีไฮเปอร์ลูป (Hyperloop) ถือเป็นหนึ่งในหลายความเป็นไปได้ที่ทำให้มุ่งสู่เส้นทางใหม่ในการพัฒนาอุตสาหกรรมไทย อย่างไรก็ตาม พรรคอนาคตใหม่ไม่ได้เสนอนโยบายให้สร้างไฮเปอร์ลูปทันที แต่จะเสนอนโยบายตั้งคณะทำงานเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุน และวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับไฮเปอร์ลูปทั้งหมด เตรียมความพร้อมในการสร้างอุตสาหกรรมไฮเปอร์ลูป หากพบว่าผลการศึกษาหรือการวิจัยพัฒนานั้นไม่สามารถทำได้จริง ก็ยังมีประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องอื่นๆ อีกมากมายที่ได้องค์ความรู้ในการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง เช่น เทคโนโลยีไฟฟ้า อวกาศ เกษตร คมนาคม ระบบการขึ้นรูปโลหะ ระบบปรับแรงดันอากาศ แต่หากเทคโนโลยีไฮเปอร์ลูปประสบความสำเร็จ ไทยจะเป็นประเทศที่ขยับจากผู้ตามไปเป็นผู้นำ สามารถผลิตเพื่อใช้ในประเทศและส่งออกไปยังประเทศอื่นๆ ได้ และเป็นแนวหน้าของประเทศอุตสาหกรรมโลก

ขณะที่นายสุรเชษฐ์ ประวีณวงศ์วุฒิ ผู้สมัคร ส.ส.บัญชีรายชื่อ และที่ปรึกษาโนบายคมนาคมพรรคอนาคตใหม่ กล่าวว่าไฮเปอร์ลูป เป็นระบบขนส่งมวลชนรูปแบบใหม่ที่กำลังอยู่ในขั้นตอนการศึกษาพัฒนา มีระบบการทำงานลักษณะคล้ายตู้ทรงกระบอกความยาวประมาณ 25 เมตร ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังแม่เหล็กไฟฟ้า ภายในท่อที่มีแรงกดอากาศต่ำใกล้เคียงสูญญากาศ เพื่อลดแรงเสียดทานจากปัจจัยต่างๆ โดยหวังว่าในอนาคตจะสามารถเดินทางได้ด้วยความเร็วถึง 1,100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง แต่ใช้พลังงานและปล่อยมลพิษน้อยกว่าการเดินทางแบบอื่นๆ

ส่วนรายละเอียดผลการศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนและประโยชน์ที่จะได้รับจากไฮเปอร์ลูปในประเทศไทย ต้นแบบการศึกษาเส้นทางกรุงเทพ-เชียงใหม่ และกรุงเทพ-ภูเก็ต พบว่าในอนาคตมีความเป็นไปได้สูง เพราะอาจมีต้นทุนการก่อสร้างที่ต่ำกว่ารถไฟความเร็วสูง และได้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่ไม่น้อยไปกว่ากัน คาดว่าอยู่ที่ 9.7 แสนล้านบาท สามารถสร้างงานในประเทศได้ถึง 1.8 แสนตำแหน่งงาน และไฮเปอร์ลูปมีความปลอดภัยและความเสถียร โดยเฉพาะความสะดวกรวดเร็วที่ถือว่าดีที่สุดเมือเปรียบเทียบกับการเดินทางแบบอื่นๆ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 19/03/2019 5:48 pm    Post subject: Reply with quote

'ซีพี' ยอมปรับข้อเสนอชิงไฮสปีด เดินหน้าเจรจาต่อ 28 มี.ค.นี้
19 มีนาคม 2562


คืบหน้าล่าสุด! "ซีพี" ยอมผ่อนปรน ปรับข้อเสนอชิงไฮสปีดเทรน เดินหน้าเจรจาต่อ 28 มี.ค.นี้ คลายปมการเงิน รฟท.ตั้งเป้าคุยจบก่อนสงกรานต์นี้

นายวรวุฒิ มาลา รักษาการผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เป็นประธานคณะกรรมการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนพัฒนารถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) เชื่อมสามสนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา) เพื่อหารือถึงข้อเสนอของกลุ่มซีพี วันนี้ (19 มี.ค.) โดยระบุว่า หลังจากที่คณะกรรมการคัดเลือกพิจารณาไม่รับ 12 ข้อเสนอ ที่ขัดต่อเอกสารเสนอโครงการ (RFP) ของกลุ่มซีพีแล้ว วันนี้ถือว่าการเจรจาได้ข้อสรุปว่ากลุ่มซีพีต้องการเดินหน้าเจรจาต่อ และยอมผ่อนปรนข้อเสนอที่ขัดต่อ RFP ไปบางส่วน แต่ยังขอเวลาในการเจรจาทางการเงินกับพันธมิตร ทำให้ต้องขยายเวลาการเจรจาออกไปอีกครั้ง เป็นวันที่ 28 มี.ค.นี้

อย่างไรก็ดี ทางคณะกรรมการคัดเลือกได้แบ่งหมวดหมู่ของข้อเสนอ 12 ข้อออกเป็น 3 กลุ่ม คือ 1.ข้อเสนอที่เกี่ยวข้องกับเงื่อนไขเวลา 2. ข้อเสนอที่เกี่ยวข้องกับการเงิน และ 3.ข้อเสนออื่นๆ ที่มีข้อความเจาะจงเกินไป โดยทางกลุ่มซีพีชี้แจงว่า ข้อเสนอที่เกี่ยวกับเงื่อนไขเวลา อาทิ การขอขยายระยะเวลาโครงการออกเป็น 99 ปี จากเดิม 50 นั้น ถือเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน เพราะทางซีพีไม่ได้ระบุบังคับว่าจะต้องขยายเวลาให้ ไม่ใช่ข้อเสนอผูกมัด เพียงแต่กำหนดเป็นข้อเสนอหากภาครัฐต้องการจะทำต่อก็สามารถเจรจาได้


ขณะที่ข้อเสนอในกลุ่มการเงิน ทางซีพีได้รายงานว่า ปัจจุบันยังไม่ได้ข้อสรุปจากการหารือร่วมกับพันธมิตรทางการเงิน เพราะถือเป็นความร่วมมือระหว่าง 3 รัฐบาล ประกอบไปด้วย ไทย จีน และญี่ปุ่น คือ ธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น หรือ JBIC ซึ่งปัจจุบันใกล้ได้ข้อเสนอเรื่องอัตราดอกเบี้ยแล้ว ดังนั้นจึงขอเวลาในการเจรจาการเงินเพิ่ม โดยในวันจันทร์ที่ 26 มี.ค.นี้ จะแจ้งผลการเจรจาร่วมพันธมิตร ทำให้คณะกรรมการคัดเลือกกำหนดวันเจรจาข้อเสนอดังกล่าวอีกรอบ ในวันพฤหัส ที่ 28 มี.ค.นี้

"วันนี้กระดูกชิ้นใหญ่ที่มันขวางอยู่ ถูกปลดล็อคแล้ว การเจรจาไม่ได้ถึงทางตัน ซีพีดูมีท่าทีที่อ่อนลง เขายอมผ่อนปรนข้อเสนอบางอย่างให้บ้าง เรื่องการเงินก็เข้าใจว่าเป็นความร่วมมือ 3 รัฐ ดังนั้นต้องใช้เวลา เราก็รอให้เขามาชี้แจงอีกครั้ง แต่ตอนนี้ก็สัมผัสบรรยากาศได้ว่าจะออกมาดี ทางซีพีบอกว่าทิศทางเรื่องการเงินน่าจะดี ถ้าคุยเรื่องนี้จบก็ถือว่าการเจรจาเดินหน้ามา 70% เรื่องใหญ่ๆ คุยจบหมดแล้ว ส่วนข้อเสนอที่มีเวิดดิ้งเจาะจง เช่น การย้ายสถานี การทำส่วนต่อขยายสเปอร์ไลน์ ก็สามารถปรับเวิดดิ้งให้คุยกันได้ในอนาคต ส่วนเรื่องข้อกังวลว่ารัฐจะสร้างทางแข่งขัน อันนี้เราก็ชี้แจงว่าเราไม่ทำ"

นายวรวุฒิ ยังกล่าวอีกว่า การเจรจาต้องเข้าใจว่าจะหาข้อสรุปโดยเร็ววัน มาเร่งรัดคงไม่ได้ เพราะต้องรอบคอบ แต่ตอนนี้ก็มีบรรยากาศการเจรจาที่ดีขึ้น เหลือแค่เรื่องการเงิน ถ้าซีพีได้ข้อสรุปมา ก็จะเคลียร์ทุกข้อที่เหลือได้ ทั้งนี้ประเมินว่า จะสามารถเจรจาร่วมซีพีแล้วเสร็จก่อนหยุดสงกรานต์ ในเดือน เม.ย.นี้ เพื่อเสนอขออนุมัติจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) โดยล่าช้ากว่ากำหนดเดิมที่ตั้งเป้าเจรจาแล้วเสร็จภายในเดือน มี.ค.นี้

//---------------

ผ่านครึ่งวัน! ไร้แวว 'ซีพี' ให้คำตอบ "รถไฟ 3 สนามบิน"
19 มีนาคม 2562

ยังได้ตามลุ้นผลเจรจารถไฟเชื่อม 3 สนามบิน ค่ากว่า 2 แสนล้าน หลังคณะกรรมการคัดเลือกเอกชนฯ เชิญ "กลุ่มซีพี" เข้าเริ่มหารือตั้งแต่ 09.00 น. ไม่มีวี่แววได้ข้อสรุปชัดเจน มีแนวโน้มแน่นอนในการเริ่มเจรจาในภาคบ่าย

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บรรยากาศในการเจรจาระหว่างคณะกรรมการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนใน "โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน
(ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ณ ห้องปฏิบัติการชั้น 3 ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ที่เริ่มมาตั้งแต่เวลา 09.00 น. ยังไม่สามารถสรุปความชัดเจนดังที่หลายฝ่ายคาดการณ์ว่า น่าจะได้ข้อสรุปภายในภาคเช้าของวันนี้ โดยในการเจรจารอบนี้คณะกรรมการได้เชิญกลุ่มซีพีเข้าร่วมด้วย

ทั้งนี้ นายวรวุติ มาลา รองผู้ว่าการด้านการบริหารทรัพย์สิน การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยก่อนเข้าร่วมหารือกับกลุ่มซีพี ว่า ครั้งนี้ยังไม่สามารถบอกชัดเจนว่า จะสรุปการเจรจาได้หรือไม่ แม้ว่าคณะกรรมการจะไม่ตอบรับข้อเสนอทั้ง 12 ข้อของกลุ่มซีพีไปแล้วก็ตาม

"ขอดูก่อนว่า ซีพีจะมีข้อเสนอหรือเงื่อนไขเพิ่มเติมอีกหรือไม่ หากไม่มี ก็คงจะเร่งสรุปรายละเอียด เพื่อนำเสนอคณะกรรมการอีอีซีต่อไป"

สำหรับบรรยากาศหน้าห้องปฏิบัติชั้น 3 อาคารการรถไฟแห่งประเทศไทยสำนักงานใหญ่ ยังมีกลุ่มผู้สื่อข่าวรอติดตามผลการหารืออยู่อย่างคึกคัก คาดว่า ภาคบ่ายน่าจะได้คำตอบของการเจรจาครั้งนี้ ว่า ผลจะออกมารูปแบบใด โดยช่วงเวลาประมาณ 12.30 น. กลุ่มซีพีได้ออกจากห้องประชุม เหลือเพียงคณะกรรมการคัดเลือกยังอยู่ภายในห้องครบทีม

ด้าน นายพรนริศ ชวนไชยสิทธิ์ นายกสมาคมมอสังหาริมทรัพย์ไทย กล่าวว่า เชื่อว่า กลุ่มซีพียังตื้อนำเสนอต่อรองต่อไปแน่ เชื่อว่าจะพยายามยื้อให้ผ่านการเลือกตั้งไปก่อน ทั้งนี้ มั่นใจว่า กลุ่มซีพียังรอการตัดสินใจของจีน เนื่องจาก บริษัท ไชน่าเรลเวย์ ที่เป็นพันธมิตรจากจีนจะเอาด้วยหรือไม่

//---------------------------------------------------

ยื้อ "รถไฟ 3 สนามบิน" ไปหลังเลือกตั้ง 28 มี.ค. 'ซีพี' อ้าง! รอเจรจาด้านการเงิน
19 มีนาคม 2562

'ซีพี' ยอมถอนข้อเสนอนอกทีโออาร์ รับขอสัมปทาน 50 ปี เร่งเครื่องเจรจา 28 มี.ค. เหตุขอหารือจีนและพันธมิตรด้านการเงินจากญี่ปุ่นเสร็จ 100% ก่อน คาดจบกลางเดือนหน้า ... 'วรวุฒิ' เผย "จีน-ญี่ปุ่น" หวั่นไทยยกเลิกโครงการไฮสปีดหลังเลือกตั้ง

นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่ากลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ในฐานะประธานคณะกรรมการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) เปิดเผยว่า เป็นการเจรจาต่อเนื่องกับกลุ่มซีพีเรื่องของโครงการรถไฟเชื่อม 3 สนามบิน ผลการเจรจาภาพรวมมีแนวโน้มดีขึ้น ข้อมูลที่กลุ่มซีพีนำมารายงานคณะกรรมการมีความคืบหน้าอย่างมากส่งผลให้เงื่อนไขต่าง ๆ ที่กลุ่มซีพียื่นเข้ามาให้พิจารณาสามารถผ่อนคลายลงไปได้

โดยจำนวน 12 ข้อนั้น จำแนกเป็น 3 กลุ่มหลัก ๆ คือ 1.กลุ่มเงื่อนไขระยะเวลา ยืนยันระยะเวลาสัมปทานยังกำหนดไว้ที่ 50 ปี, 2.กลุ่มเงื่อนไขด้านการเงิน ขณะนี้กลุ่มซีพีอยู่ระหว่างคุยกับพันธมิตรด้านการเงิน คือ 'เจบิก' ของญี่ปุ่น นั่นคือ ในครั้งนี้มี 3 ประเทศ เข้าไปเกี่ยวข้อง คือ ไทย จีน และญี่ปุ่น จึงต้องใช้ระยะเวลาในการเจรจากันพอสมควร คาดว่าจะสามารถสรุปผลการเจรจาได้ในสัปดาห์นี้ หรือ ช่วงสัปดาห์หน้า และกลุ่มที่ 3 คือ การปรับรายละเอียดให้เข้าใจตรงกัน จนส่งผลให้เกิดความกลัวในสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น หรือ ปัญหาที่มองไม่เห็นต่าง ๆ อาทิ การย้ายสถานี การทำส่วนต่อขยาย ฯลฯ

ทั้งนี้ ปมปัญหาด้านการเงิน คือ สิ่งที่ฝ่ายจีนยังไม่แล้วเสร็จ 100% ซึ่งจะแจ้งกลับมาให้คณะกรรมการภายใน 1-2 สัปดาห์นี้ ดังนั้น จึงนับเป็นการพยายามลดความเสี่ยงที่ภาครัฐและภาคเอกชนจะต้องลดความเสี่ยงให้ได้มากที่สุด โดยเฉพาะการกู้อัตราดอกเบี้ยต่ำ ในส่วนการเจรจาเงื่อนไขต่างๆที่คณะกรรมการไม่สามารถอนุมัติให้ได้นั้น ได้ให้เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องปรับแก้ไขรายละเอียดให้เป็นที่เข้าใจกันชัดเจนแล้ว โดยจะนัดหมายหารือร่วมกันรอบใหม่ในวันที่ 28 มี.ค. นี้

"การเจรจายังมีแนวโน้มจะดำเนินการต่อไปอีก แม้จะเป็นเรื่องของกลุ่มซีพีและพันธมิตรเอง แต่ก็เกี่ยวพันกับ 3 ประเทศ น่าจะเป็นขั้นตอนสุดท้ายสำหรับความชัดเจนของการหาข้อสรุปในเรื่องนี้ โดยเฉพาะเรื่องการเงิน เงื่อนไขต่าง ๆ ที่เสนอขอมา ก็ไม่ต่อรองแล้ว ซึ่งคณะกรรมการเห็นว่า สามารถลดภาระความเสี่ยงด้านการเงินลงไปได้อย่างมาก จึงผ่อนปรนไปได้อย่างมาก"


Last edited by Wisarut on 19/03/2019 5:50 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 19/03/2019 5:50 pm    Post subject: Reply with quote

ซี.พี.ได้ไปต่อ ! ขอเวลาคุย แหล่งทุน3 ประเทศ ต่อรอง ดอกเบี้ยรถไฟ3 สนามบิน
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 19 มีนาคม 2562 เวลา 14:59
ปรับปรุง: 19 มีนาคม 2562 เวลา 16:14


ซีพี. ขอเวลาเคลียร์เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ ลดความเสี่ยงลงทุนรถไฟความเร็วสูงเชื่อม3 สนามบิน รฟท.ให้เวลายืนยันคำตอบ 25 มี.ค”วรวุฒิ”เผยแนวโน้มดี ซีพี.เสียงอ่อนผ่อนปรนเงื่อนไข นอก RFP ยันสัมปทาน 50 ปี คาดสรุปเจรจาก่อนสงกรานต์


นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย ( รฟท.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะอนุกรรมการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง- สุวรรณภูมิ -อู่ตะเภา) ระยะทาง 220 กม. มูลค่า 224,544.36 ล้านบาท ว่า การเจรจากับกิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด (ซี.พี.) ในภาพรวม ล่าสุด มีแนวโน้มที่ดี โดยซีพี.ขอเวลาเจรจาทางด้านการเงินกับพันธมิตรอีกเล็กน้อย โดยจะแจ้งข้อสรุปมายังรฟท.อย่างช้าในวันจันทร์ที่ 25 มี.ค. ดังนั้น คณะกรรมการคัดเลือกฯ จะประชุม ในวันที่ 28 มี.ค. และเจรจากับซีพี.ด้วย หากไม่มีอุบัติเหตุ คาดว่าจะสามารถสรุป ผลการเจรจาทุกประเด็นได้ก่อนสงกรานต์ และเสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.) อนุมัติต่อไป

โดย ประเด็น12 ข้อ ที่อยู่นอกกรอบข้อเสนอโครงการ (RFP) และนอกเหนือจากมติคณะรัฐมนตรี(ครม.) แบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มมีเงื่อนไขด้านเเวลา เบื้องต้น ซี.พี.ได้ซึ่งได้ทำความเข้าใจ แล้ว ว่าเป็นการเข้าใจผิดในความหมาย ไม่ได้มีการผูกใัด เช่น เรื่องอายุสัญญา ยังเป็นไปตามกรอบ50 ปี กรณีที่เขียนว่า 99 ปีนั้น หมายถึงกรณีที่รัฐต้องการ ซีงพี.พร้อมเจรจา ซึ่งจะต้องปรับถ้อยคำให้ชัดเจน

กลุ่มที่2 เรื่องการเงิน ซึ่งเกี่ยวข้องกับหลายเรื่อง ประมาณ 3-4 ข้อ ซี.พี.ขอเวลาเจรจากับแหล่งทุน ที่เป็นพันธมิตรอีกเล็กน้อย เพื่อให้ได้เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ ซึ่งจะทำให้ต้นทุนทางการเงินต่ำลง ความเสี่ยงของโครงการจะลดลง ซีพี.ขอเวลาเพิ่มเนื่องจากเกี่ยวข้องกับรัฐบาล 3 ประเทศ คือ ไทย จีน ญี่ปุ่น ซึ่งซีพี.แจ้งว่าแนวโ้มดี และอยู่ในขั้นตอนสุดท้ายจะสรุปการเจรจาจะจบในสัปดาห์นี้ หรือต้นสัปดาห์น้า เป็นอย่างช้า

กลุ่มที่3 เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการใช้คำพูดที่เฉพาะเจาะจงเกินไป ซึ่งจะมีการพูดคุยเจรจา เพื่อปรับถ้อยคำให้ชัดเจน ไม่ใช่การใช้คำว่า”รัฐต้อง... เช่น เรื่องที่ ซีพี.ต้องการให้เปิดการเจรจากรณีที่มีการทำโครงการไปแล้ว มีปัญหาที่ไม่คาดคิดเกิดขึ้น หรือการที่รัฐทำโครงการแข่งขัน ซึ่งเป็นไปได้ยากที่จะทำรถไฟความเร็วสูงไประยองอีกเส้น เพราะปริมาณผู้โดยสารไม่คุ้มที่จะมี2 โครงการ เป็นต้น รวมถึงประเด็นการย้ายสถานี การทำสเปอร์ไลน์ เป็นต้น

“วันนี้ถือว่าซีพี.ได้ผ่อนคลายเงื่อนไขที่ รัฐไม่สามารถรับได้ไประดับหนึ่ง แต่ยังไม่จบ เพราะยังมีประเด็นการเงินที่ ซีพี.ต้องไปเจรจากับแหล่งเงินก่อน ทั้งอัตราดอกเบี้ยและเงื่อนไขต่างๆ หากจบประเด็นการเงิน จะผ่อนคลายเงื่อนไขอื่นๆ ไปด้วย วันนี้ถือว่ากระดูกชิ้นโตสลายแล้ว ทำให้ภาพรวมการเจรจากับคณะกรรมการคัดเลือกฯ ถือว่าไปต่อได้ ไม่อึมครึม ไม่ถึงทางตัน ความคืบหน้าไปได้ 70-80% แล้วแต่สุดท้าย ซีพี.ต้องถอนข้อเสนอที่นอกกรอบ RFP ทั้งหมด “ นายวรวุฒิกล่าว

นายวรวุฒิกล่าวว่า ซีพี ได้สอบถามความชัดเจนเนื่องจากพาร์ทเนอร์มีความกังวลกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองของไทย แล้วจะส่งผลกระทบต่อโครงการ เหมือนกรณีการดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูงในประเทศมาเลเซีย ที่ยกเลิกหลังการเมืองเปลี่ยน ซึ่งได้ยืนยันว่า ประเทศไทยมีวินัยการคลังสูงและเข้มแข็ง ซึ่งนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ได้ย้ำแล้วว่า กระทรวงการคลัง รักษาวินัยการคลังอย่างเคร่งครัด และขณะนี้ ยังมีการเจรจาในการดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูง ระหว่างไทย-จีนด้วย ไม่ได้มีโครงการเดียว
https://www.youtube.com/watch?v=3Fa_3wD2Kj8


เคาะก่อสร้างไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน

วันที่ 19 มีนาคม 2562 เวลา 11:17 น.


นายวรวุฒิ มาลา รักษาการผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย หรือ รฟท.เปิดเผยว่า วันนี้คณะกรรมการคัดเลือกโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน กับพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ EECช่วงดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา วงเงิน 2.2 แสนล้านบาท จะประชุมร่วมกับผู้แทนจาก บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง และพันธมิตร หรือกลุ่มซีพี เพื่อสรุปผลการเจรจาจนให้ได้ข้อยุติ หลังจากก่อนหน้านี้ได้มีการยื่นข้อเสนอเพิ่มเติมมาหลายรอบ

ทั้งนี้คาดว่า หากเจรจาเป็นไปได้ด้วยดี จะยังคงเป้าหมายเดิมไว้คือการลงนามสัญญาภายในเดือน มีนาคมนี้ และจะเริ่มก่อสร้างได้ภายใน 6 เดือน

มีรายงานข่าวจาก รฟท. เปิดเผยว่าการเจรจากับซีพีในครั้งนี้ ต้องจับตาดูว่าจะหาข้อสรุปได้หรือไม่ โดยเฉพาะการปฏิเสธข้อเสนอนอกเงื่อนไขการประกวดราคา (ทีโออาร์) ทั้ง 12 ข้อ ทางกลุ่ม ซีพีจะยอมรับได้มากน้อยเพียงใด ซึ่งข้อเสนอนอกทีโออาร์ที่อยู่ระหว่างการเจรจาต่อรองนั้นอาทิ การขยายสัมปทานจาก 50 ปี เป็น 99 ปี,การการันตีกำไร 6%,การให้ภาครัฐอุดหนุนตั้งแต่ปีแรก,การย้ายที่ตั้งสถานี ตลอดจนการขอให้รัฐช่วยหาแหล่งเงินทุนที่เหมาะสม หรือบางฝ่ายมองว่าเป็นการขอให้รัฐบาลขยายเพดานเงินกู้ในประเทศให้กับซีพี เป็นต้น
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 20/03/2019 10:54 am    Post subject: Reply with quote

ซีพีขอเวลาคุยเจ้าหนี้ไฮสปีดเทรน

โดย ไทยรัฐฉบับพิมพ์
วันพุธที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2562 08:47 น.

นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า รฟท. และคณะอนุกรรมการร่างสัญญาคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนในโครงการพัฒนารถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) เชื่อมสามสนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา) ได้เจรจาร่วมกับกลุ่มซีพี หรือกิจการร่วมค้าบริษัท เจริญโภคภัณฑ์ โฮลดิ้ง จำกัด (ซีพี) และพันธมิตร เพื่อรวบรวมข้อสรุปว่าจะรับเงื่อนไขของของกลุ่มซีพีได้หรือไม่ได้ โดยล่าสุด


การเจรจาเมื่อวันที่ 19 มี.ค.ที่ผ่านมา มีแนวโน้มเป็นไปด้วยดี ไม่อึมครึมและทางกลุ่มซีพี ก็มีท่าทีที่ผ่อนคลายลง ทำให้สามารถเจรจาต่อไปได้ โดยจะกลับมาเจรจากันอีกครั้งในวันที่ 28 มี.ค.นี้ และต้องได้ข้อสรุปในทุกประเด็นและลงนามได้ก่อนสงกรานต์ ซึ่งถือว่าล่าช้ากว่ากำหนดเดิมที่คาดว่าจะต้องเซ็นสัญญาภายในสิ้นเดือน มี.ค. 2562

“การเจรจา 12 ข้อลุล่วงไปมากแล้ว เหลือเพียง 3-4 ข้อที่ยังไม่ลงตัว แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มหลักๆ ประกอบด้วย กลุ่มเงื่อนเวลาที่จากเดิมจะเป็นข้อผูกมัดรถไฟ เช่น กรณีอายุสัมปทานโครงการ 50 ปี ซึ่งทางซีพีขอขยายเป็น 99 ปีนั้น ในเรื่องนี้ทางซีพีแจ้งว่าเป็นการเข้าใจผิด ทางรัฐสามารถปรับลดมา 50 ปีได้ หากเป็นความประสงค์ของภาครัฐ ส่วนกลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มทางการเงิน ซึ่งในส่วนนี้ทางซีพีและพันธมิตร ขอไปเจรจากับสถาบันการเงิน 3 ประเทศ ทั้งไทย, ธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่นหรือเจบิค และสถาบันการเงินจากประเทศจีน เนื่องจากเป็นโครงการที่ใช้เงินลงทุนมหาศาล โดยทางซีพีแจ้งว่าจะให้ได้ข้อสรุปในสัปดาห์นี้หรือต้นสัปดาห์หน้า และกลุ่มที่ 3 ด้านถ้อยคำหรือข้อความในสัญญาที่มีการเข้าใจผิด เช่น กรณีขอย้ายสถานีและเพิ่มสถานี จากเดิมที่กำหนดสิ้นสุดที่สถานีอู่ตะเภา

“เอกชนต่างชาติที่ร่วมทุนกับซีพี กำลังกังวลมากเกรงว่าโครงการจะไม่ต่อเนื่อง หากมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาล เช่น กรณีมาเลเซียที่มีการประมูลรถไฟความเร็วสูง แต่เมื่อเปลี่ยนแปลงรัฐบาลก็ยกเลิกโครงการ เป็นต้น ซึ่งได้แจ้งไปว่ารัฐบาลไทยมีความต่อเนื่องแน่ โดยหากสัปดาห์หน้า ซีพีไม่สามารถเจรจากับสถาบันการเงินได้จบ รฟท.ก็จะยอมเลื่อนเจรจาออกไปก่อน และจะไม่เจรจาซ้อนกับกลุ่มบีเอสอาร์ (นำโดยกลุ่มบีทีเอส) ซึ่งเป็นผู้ยื่นซองอีกรายแน่นอน”.

//-------------------------

รฟท.แจงซีพียอมถอนข้อเสนอ
อังคารที่ 19 มีนาคม 2562 เวลา 17.59 น.

รฟท.เผยซีพียอมผ่อนปรนข้อเสนอนอกกติการถไฟเชื่อมสนามบินแจงสัมปทาน 99 ปีไม่จริงขอคุยอีกรอบหลังเลือกตั้งคาดจะเจรจาเสร็จก่อนสงกรานต์

เมื่อเวลา 13.00 น. วันที่ 19 มี. ค. ที่การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) นายวรวุฒิ  มาลา  รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สินรักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท ) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการคัดเลือกโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินช่วงดอนเมือง - สุวรรณภูมิ - อู่ตะเภางบประมาณ 2.24 แสนล้านบาทกับบริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตรหรือกลุ่มซีพีว่า  ได้เชิญซีพีฯ  มาเจรจาเพื่อหารือร่างสัญญา โดยผลการเจรจาเป็นไปได้ด้วยดีมีแนวโน้มที่ดีขึ้นเงื่อนไขที่ทางคณะกรรมการฯ ไม่สามารถรับได้ 12 ข้อแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มแรกเงื่อนไขเวลากลุ่มที่ 2 ด้านการเงินกลุ่มที่ 3 เรื่องข้อความคำพูดที่ระบุเฉพาะเจาะจงกับภาครัฐมากเกินไป  เช่นการย้ายสถานีการทำสเปอร์ไลน์ (สถานีต่อเชื่อม) เป็นต้น  ทางซีพียอมผ่อนคลาย 8 ข้อหลัก ๆ ยอมปรับคำพูดที่อาจจะตีกรอบภาครัฐมากเกินไปอีก ทั้งซีพียังได้ชี้แจ้งด้านเงื่อนไขเวลาที่ทางรัฐเข้าใจผิดคือสัปทาน 99 ปีนั้นคลาดเคลื่อนในความเป็นจริง   โดยซีพียอมรับเงื่อนไขสัปทาน 50 ปี แต่หากในอนาคตได้ดำเนินธุรกิจครบสัปทานแล้วหากรัฐจะดำเนินกิจการต่อก็สามารถคุยกับทางซีพีให้รับสัปทานต่อได้ 

นายวรวุฒิกล่าวต่อว่า  ส่วนเงื่อนไข 3-4 ข้อนั้นเป็นเรื่องของด้านการเงินที่ทางซีพีต้องเจรจากับแบงค์เกอร์ 3 สถาบันไทยจีนและญี่ปุ่นเรื่องการกู้เงินมาดำเนินโครงการโดยทางซีพีรับปากว่าจะเจรจาอย่างเร็วภายในอาทิตย์นี้และช้าสุดภายในต้นอาทิตย์หน้า  คณะ กรรมการฯ จะนัดประชุมภายในวันที่ 28 มี. ค. นี้ แต่หากซีพียังเจรจากับทางสถาบันการเงินไม่จบก็สามารถเลื่อนเจรจาได้ซึ่งทิศทางการเจรจาเป็นไปได้ด้วยดีแล้ว  ภาพรวมการเจรจาคืบหน้าไป 70-80% ตั้งเป้าจะเจรจาจบก่อนสงกรานต์เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติต่อไป 
นายวรวุฒิกล่าวต่อว่าส่วนกรณีที่เอกชนไม่มั่นใจในการดำเนินโครงการซึ่งทางรถไฟฯ ได้ยืนยันกับทางเอกชนว่าทางรัฐบาลเดินหน้าทำโครงการจริงๆและรัฐบาลไทยไม่เคยมีประวัติล้มโครงการของประเทศและไทยเป็นประเทศที่มีวินัยการคลังสูงเคร่งครัดมากเป็นเรื่องจริงพิสูจน์ได้เทียบกับประเทศอื่น 
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 20/03/2019 12:51 pm    Post subject: Reply with quote

‘กลุ่มซีพี’ยอมถอย หดอายุสัมปทานรถไฟ3สนามบินเหลือ50ปี
โลกธุรกิจ
วันพุธ ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2562, 06.00 น.

เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2562 การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ได้เจรจากับกลุ่มกิจการร่วมค้าบริษัทเจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด (ซีพี) และพันธมิตร ผู้เสนอราคาต่ำสุดใน โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) อีกรอบ หลังจากก่อนหน้านี้ไม่สามารถเจรจาต่อรองกันได้



นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการในตำแหน่ง ผู้ว่าการ ร.ฟ.ท. เปิดภายหลังการหารือว่า การเจรจาในภาพรวมมีแนวโน้มที่ดีมีความคืบหน้าในประเด็นต่างๆ และมีทิศทางที่จะดำเนินการเจรจาต่อได้และทางกิจการร่วมค้าบริษัทเจริญโภคภัณฑ์ ได้ยอมผ่อนคลายไปในหลายๆประเด็น

ไม่พลาดข่าวสำคัญ ติตาม LINE@แนวหน้า ที่นี่

โดยกิจการร่วมค้าบริษัทเจริญโภคภัณฑ์ฯ ยอมปรับคำพูดที่อาจจะตีกรอบรัฐมากเกินไปและยอมผ่อนคลายเรื่องเงื่อนไขเวลาโดยยอมรับระยะสัมปทาน 50 ปี จากเดิมที่ยืนยัน 99 ปี เนื่องจากมีความเข้าในคลาดเคลื่อนในประเด็นด้านเงื่อนไขเวลา เหลือเรื่องการเงิน 3-4 ข้อ ต้องมีการปรับเนื้อหาข้อความที่เข้าใจไม่ตรงมีเรื่องเข้าใจผิดอยู่ แต่หากในอนาคตได้มีการดำเนินธุรกิจครบสัปทานแล้ว หากรัฐจะดำเนินกิจการต่อก็สามารถเจรจารับสัมปทานต่อได้ ซึ่งอยู่ระหว่างการสรุปผลการเจรจาและคาดว่าจะสรุปผลได้ภายในสัปดาห์นี้

ทั้งนี้ในส่วนที่ทางเอกชนได้ยื่นข้อเสนอมา 12 ข้อ ก่อนหน้านี้นั้นแบ่งเป็น 3 กลุ่มใหญ่ คือ 1.กลุ่มเงื่อนเวลาที่เอกชนได้มีการอธิบายว่าทำไมจึงขอมาแบบนั้นเนื่องจากมีความเข้าใจคลาดเคลื่อนกัน จึงทำให้เป็นเงื่อนไขที่ผูกมัด ซึ่งสามารถเจรจากันได้ทางเอกชนชี้แจงว่าประเด็นดังกล่าว หากเป็นความประสงค์ของรัฐ

2.กลุ่มที่เกี่ยวกับเรื่องการเงิน โดยขณะที่ทางเอกชนกำลังอยู่ระหว่างหารือภายในกลุ่มที่เป็นแหล่งการเงินที่มีรัฐบาลไทย จีน และญี่ปุ่นเกี่ยวข้องจึงจะต้องใช้เวลาในการเจรจา โดยมีเงื่อนไขเกี่ยวกับการเงินประมาณ 3-4 ข้อ และกลุ่ม 3 เรื่องข้อความคำพูดที่ระบุเฉพาะเจาะจงรัฐมากเกินไป เช่น การย้ายสถานี การเดินรถ ฯลฯ

สำหรับประเด็นที่ทางเอกชนไม่มั่นใจในการดำเนินโครงการ ซึ่งทางการรถไฟฯได้ยืนยันกับทางเอกชนว่า ทางรัฐบาลเดินหน้าทำโครงการจริงๆ และรัฐบาลไทยไม่เคยมีประวัติล้มโครงการของประเทศ และไทยเป็นประเทศที่มีวินัยการเงินสูงมากและรักษาวินัยทางการคลังที่เข้มแข็ง

อย่างไรก็ตาม หลังจากหารือกับแหล่งเงินในกลุ่มแล้วทางเอกชนจะแจ้งข้อมูลกลับมาให้ ร.ฟ.ท. ในวันที่ 25 มีนาคมนี้ จากนั้นจะมีการนัดคุยร่วมกันอีกที 28 มีนาคม 2562 แต่หากยังหารือด้านการเงินไม่จบก็สามารถเลื่อนเจรจาก็ได้ ซึ่งทิศทางการเจรจาเป็นไปได้ด้วยดีแล้วภาพรวมการเจรจาคืบหน้าไป 70-80% โดยตั้งเป้าจะเจรจาจบก่อนช่วงเทศกาลสงกรานต์ ก่อนจะเสนอให้คณะรัฐมนตรี(ครม.) อนุมัติต่อไป


'ซีพี' ยอมถอยถอน 12 ข้อเสนอ "รถไฟ 3 สนามบิน" หวังต่อยอด 'อู่ตะเภา'
19 มีนาคม พ.ศ. 2562,

'ซีพี' อ่อนข้อยอมถอย 12 ข้อเสนอนอกกรอบทีโออาร์ หวังต่อยอดชิงสนามบินอู่ตะเภา ... 'วรวุฒิ' เผย "จีน-ญี่ปุ่น" หวั่น! ไทยยกเลิกไฮสปีดหลังเลือกตั้ง ดีเดย์ 28 มี.ค. นี้ จบ-ไม่จบ

นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่ากลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ในฐานะประธานคณะกรรมการคัดเลือกเอกชน ร่วมลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) เปิดเผยว่า เป็นการเจรจาต่อเนื่องกับกลุ่มซีพีเรื่องของโครงการรถไฟเชื่อม 3 สนามบิน ล่าสุด กลุ่มซีพียอมถอน 12 ข้อเสนอที่อยู่นอกกรอบเงื่อนไขการลงทุนโครงการออกไป ทั้งนี้ ในจำนวน 12 ข้อนั้น จำแนกเป็น 3 กลุ่มหลัก ๆ คือ 1.กลุ่มเงื่อนไขระยะเวลา ยืนยันระยะเวลาสัมปทานยังกำหนดไว้ที่ 50 ปี, 2.กลุ่มเงื่อนไขด้านการเงิน ขณะนี้ กลุ่มซีพีอยู่ระหว่างคุยกับพันธมิตรด้านการเงิน คือ เจบิกของญี่ปุ่น นั่นคือ ในครั้งนี้มี 3 ประเทศ เข้าไปเกี่ยวข้อง คือ ไทย จีน และญี่ปุ่น จึงต้องใช้ระยะเวลาในการเจรจากันพอสมควร คาดว่าจะสามารถสรุปผลการเจรจาได้ในสัปดาห์นี้ หรือ ช่วงสัปดาห์หน้า และกลุ่มที่ 3 คือ การปรับรายละเอียดให้เข้าใจตรงกัน จนส่งผลให้เกิดความกลัวในสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น หรือ ปัญหาที่มองไม่เห็นต่าง ๆ อาทิ การย้ายสถานี การทำส่วนต่อขยาย ฯลฯ

"การเจรจายังมีแนวโน้มจะดำเนินการต่อไปอีก แม้จะเป็นเรื่องของกลุ่มซีพีและพันธมิตรเอง แต่ก็เกี่ยวพันกับ 3 ประเทศ น่าจะเป็นขั้นตอนสุดท้ายสำหรับความชัดเจนของการหาข้อสรุปในเรื่องนี้ โดยเฉพาะเรื่องการเงิน เงื่อนไขต่าง ๆ ที่เสนอขอมาก็ไม่ต่อรองแล้ว ซึ่งคณะกรรมการเห็นว่า สามารถลดภาระความเสี่ยงด้านการเงินลงไปได้อย่างมาก จึงผ่อนปรนไปได้อย่างมาก"
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 313, 314, 315 ... 542, 543, 544  Next
Page 314 of 544

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©