RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311232
ทั่วไป:13179844
ทั้งหมด:13491076
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานีกลางบางซื่อและรถไฟฟ้า
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานีกลางบางซื่อและรถไฟฟ้า
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 6, 7, 8 ... 63, 64, 65  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 27/02/2019 1:04 pm    Post subject: Reply with quote

“สถานีกลางบางซื่อ” คืบหน้าแล้วกว่า 77% เร่งเดินหน้าเชื่อมระบบถนน - ราง พลิกโฉมประเทศไทย

ทัน LINE ไทยคู่ฟ้า
วันจันทร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ 2562 14,868

ภาพ / ข่าว : กลุ่มสื่อสารเชิงกลยุทธ์ สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี

ปัจจุบันเศรษฐกิจของประเทศไทยมีการขยายตัวต่อเนื่อง เกิดการพัฒนาทั้งภาคอุตสาหกรรม เกษตรกรรม และการบริการ ดังนั้น การยกระดับโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งจึงเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่ง เพื่อรองรับความเจริญเติบโตของเมือง รวมทั้งเชื่อมโยงเครือข่ายการเดินทางและขนส่งทั้งในประเทศและประเทศเพื่อนบ้านแบบ “ไร้รอยต่อ”

ศูนย์คมนาคมพหลโยธิน (Phaholyothin Transport Center) โดยเฉพาะ “สถานีกลางบางซื่อ” ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของไทยปี 2558 - 2565 ที่ขณะนี้อยู่ระหว่างการก่อสร้าง จะกลายเป็นศูนย์กลางการเดินทางของประเทศ เชื่อมโยงทั้งระบบถนนและระบบราง เป็นสถานีต้นทางของรถไฟทางไกลและรถไฟความเร็วสูงไปทั่วประเทศแทนสถานีหัวลำโพง

เป็นจุดเปลี่ยนถ่ายไปสู่รถไฟฟ้าชานเมืองรถไฟฟ้าใต้ดินและรถไฟฟ้าบีทีเอส รวมทั้งเชื่อมโยงกับแอร์พอร์ตเรียลลิงค์ไปสนามบินสุวรรณภูมิและดอนเมือง

นอกจากนี้ ยังสามารถเชื่อมต่อไปยังประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคอาเซียน เช่น กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา และเวียดนาม สิงคโปร์ รวมทั้งไปไกลถึงจีน ยุโรป และตะวันออกกลางในอนาคต

สถานีกลางบางซื่อมีอาคารยาว 660 เมตร ซึ่งถือว่ายาวที่สุดในประเทศ จะถูกยกระดับให้เป็น “แกรนด์ สเตชั่น” หรือสถานีด้านการคมนาคม คล้ายกับโตเกียวสเตชั่นของญี่ปุ่น หรือคล้ายกับไทเป เมน สเตชั่นของไต้หวัน มีทั้งหมด 4 ชั้น ประกอบด้วย
• ชั้นใต้ดิน - เป็นลานจอดรถที่สามารถรองรับได้ 1,700 คัน
• ชั้น 1 - เป็นพื้นที่จำหน่ายตั๋ว พื้นที่พักคอย เขตร้านค้า และจุดเชื่อมต่อรถโดยสารขสมก. และ บขส.
• ชั้น 2 – เป็นชานชาลาของรถไฟสายต่าง ๆ รวมทั้งหมด 24 ชานชาลา เป็นชั้นชานชาลารถไฟชานเมืองสายสีแดง จำนวน 4 ชานชาลา และรถไฟทางไกลทุกเส้นทาง จำนวน 8 ชานชาลา
• ชั้น 3 - เป็นชั้นชานชาลารถไฟความเร็วสูงทุกเส้นทาง จำนวน 10 ชานชาลา และรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิ้งค์ จำนวน 2 ชานชาลา

โครงการรถไฟฟ้าสายต่าง ๆ ที่จะมาเชื่อมต่อกับสถานีกลางบางซื่อมีหลายเส้นทาง เช่น
• รถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน ส่วนต่อขยายช่วงบางซื่อ - ท่าพระ
• รถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม ช่วงบางซื่อ – รังสิต
• รถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อน
• รถไฟฟ้า Airport Rail Link ส่วนต่อขยายช่วงพญาไท - บางซื่อ
• รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง - สุวรรณภูมิ - อู่ตะเภา)

ขณะนี้การก่อสร้างสถานีกลางบางซื่อคืบหน้าไปกว่าร้อยละ 77.37 โดยเฉพาะงานก่อสร้างตัวสถานีและศูนย์ซ่อมบำรุง และอยู่ระหว่างการเก็บรายละเอียด เช่น ปูหินแกรนิต ติดกระจก และตกแต่งภายใน ส่วนงานก่อสร้างทางรถไฟฟ้าเสร็จเกือบสมบูรณ์ และกำลังเร่งงานระบบไฟฟ้าและเครื่องกล ซึ่งทั้งหมดจะเรียบร้อยและเปิดให้บริการได้ในปี 2563

นอกจากนี้ จะมีการพัฒนาพื้นที่โดยรอบเป็น Smart Business Complex สร้างธุรกิจใหม่ ๆ ให้เกิดขึ้น และยังช่วยกระจายความเจริญออกไปยังพื้นที่นอกเมืองมากขึ้น เช่น เชียงราก และรังสิต ส่วนพื้นที่เดิมอย่างหัวลำโพงจะกลายเป็นเขตเมืองเก่าและพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ของประชาชน

จากความมุ่งมั่นในการพัฒนาด้านระบบโลจิสติกส์ของประเทศตลอด 4 ปีที่ผ่านมา จึงทำให้ธนาคารโลกจัดอันดับให้ไทยเป็นประเทศที่มีศักยภาพด้านโลจิสติกส์สูงเป็นอันดับ 2 ของอาเซียน อันดับ 9 ของเอเชีย และอันดับ 32 ของโลก เมื่อปี 2561 นับว่าดีขึ้นถึง 13 อันดับจากปีก่อนหน้า

ซึ่งจะช่วยพลิกโฉมประเทศไทยภายใน 5 ปีนี้อีกด้วย...
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 01/03/2019 10:24 am    Post subject: Reply with quote

รถไฟไม่รอ EIA ลุยประมูลที่ดินบางซื่อ เดอะมอลล์-เซ็นทรัลปักหมุดชิงดำซื้อซองTORมี.ค.
พร็อพเพอร์ตี้
วันศุกร์ที่ 1 มีนาคม 2562 เวลา 08:20 น.

สถานีกลางบางซื่อ - การก่อสร้างสถานีกลางบางซื่อที่เป็นส่วนหนึ่งของรถไฟฟ้าสายสีแดงช่วงบางซื่อ-รังสิต ปัจจุบันมีความก้าวหน้าไปกว่า 60% ตามแผนจะแล้วเสร็จในปี 2563 พร้อมเปิดบริการ ม.ค. 2564 ซึ่งย่านนี้จะเป็นศูนย์กลางด้านระบบรางและธุรกิจครบวงจร ซึ่งการรถไฟฯเตรียมงัดที่ดิน 35 ไร่ใกล้สถานีเปิดประมูลพัฒนาเชิงพาณิชย์เร็ว ๆ นี้
โปรเจ็กต์มิกซ์ยูสแปลง A 35 ไร่ ติดสถานีกลางบางซื่อส่อทำอีไอเอ รถไฟหวั่นล่าช้า ลุยเดินหน้าเปิดประมูล PPP มี.ค.นี้ ดึงเอกชนไทย-เทศ ลงทุนกว่า 1 หมื่นล้าน แลกสัมปทาน 30 ปี เร่งศูนย์การค้าเปิดพร้อมรถไฟฟ้าสายสีแดง “ตลิ่งชัน-บางซื่อ-รังสิต” ม.ค. ปี’64 เผยเดอะมอลล์-เซ็นทรัล สนใจลงทุน รับฮับระบบราง และเมืองอัจฉริยะ


นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจบริหารทรัพย์สิน และรักษาการผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ภายในเดือน มี.ค.นี้ จะออกประกาศขายทีโออาร์ประมูลที่ดินโซน A จำนวน 35 ไร่ ใกล้กับสถานีกลางบางซื่อ จากนั้นในเดือน พ.ค. จะเปิดประมูล โดยให้เอกชนที่สนใจเข้ามาร่วมลงทุนรูปแบบ PPP net cost ระยะเวลา 30 ปี ก่อสร้าง 4 ปี รวม 34 ปี วงเงินลงทุน 11,573 ล้านบาท ตามที่คณะกรรมการ PPP มีมติเมื่อเดือน มี.ค. 2561

ไม่รอ EIA ลุยประมูล มี.ค.นี้

“ตามแผนจะออกทีโออาร์ภายในเดือน ก.พ.นี้ แต่ติดเรื่องขอความชัดเจนด้านการทำรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมหรืออีไอเอ ที่ตามกฎหมายใหม่จะต้องให้โครงการขนาดใหญ่ทำรายงานทุกโครงการ โดยรถไฟได้ทำหนังสือสอบถามไปยังสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หรือ สผ. แล้วแต่ก็ได้คำตอบที่ไม่ชัดเจน”

นายวรวุฒิกล่าวอีกว่า ดังนั้น เพื่อไม่ให้โครงการล่าช้าออกไปมากนัก จะเสนอให้คณะกรรมการคัดเลือกที่แต่งตั้งตาม พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ 2556 จะเดินหน้าเปิดประมูลไปก่อน ส่วนการจะทำอีไอเอหรือไม่ต้องทำแล้วค่อยมาพิจารณาภายหลัง เนื่องจากโครงการนี้เกิดมาก่อนที่จะมีกฎหมายอีไอเอฉบับใหม่ออกมา แต่ที่ต้องทำหนังสือสอบถามไปยัง สผ.ก็เพื่อความมั่นใจ


นายวรวุฒิกล่าวอีกว่า สำหรับที่ดินโซน A เนื้อที่ 35 ไร่ ห่างสถานีกลางบางซื่อ 50-100 เมตร ซึ่งคณะกรรมการ PPP เห็นชอบในหลักการของโครงการให้เอกชนเป็นผู้ลงทุนทั้งหมด ภายใต้รูปแบบ BOT คือ สร้าง บริหาร และโอนกรรมสิทธิ์ให้ ร.ฟ.ท. เมื่อครบกำหนดสัญญา

ศูนย์กลางธุรกิจครบวงจร

ตามผลศึกษาโซน A จะพัฒนาเป็นศูนย์กลางธุรกิจครบวงจร มีสำนักงานและธุรกิจบริการ เช่น โรงแรมระดับ 3-4 ดาว สำนักงานให้เช่า และดีพาร์ตเมนต์สโตร์ เป็นโมเดลให้เอกชนนำไปเป็นแนวทางการพัฒนา ซึ่งบริเวณนี้ในผังเมืองรวม กทม.สามารถพัฒนาได้เต็มที่ มี FAR (อัตราส่วนพื้นที่อาคารรวมต่อพื้นที่ดิน) 8 : 1 และ OSR (อัตราส่วนของที่ว่างต่อพื้นที่อาคารรวม) 4% โดยโซน A จะสร้างได้ 448,000 ตร.ม. และได้รับโบนัสเพิ่ม 20% เป็น 537,600 ตร.ม.

นายวรวุฒิกล่าวอีกว่า คาดว่าจะได้ผลตอบแทนทั้งหมด 2,000 ล้านบาท โดยเอกชนที่ชนะประมูลจะต้องจ่ายเงินก้อนแรกให้กับ ร.ฟ.ท. จำนวน 162 ล้านบาท จากนั้นจ่ายเป็นรายปี และมีปรับค่าเช่าเพิ่มขึ้นทุกปี

ยักษ์ค้าปลีกสนใจ

“เร่งโซน A ก่อน เพราะติดสถานีบางซื่อ ของรถไฟฟ้าสายสีแดงที่จะเปิดบริการในเดือน ม.ค. 2564 เพื่อให้ผู้ที่มาใช้บริการสะดวกขึ้น จะกำหนดให้เอกชนผู้ชนะประมูลเร่งเปิดพื้นที่ค้าปลีกก่อน ทั้งนี้ มีเอกชนรายใหญ่ให้ความสนใจจะลงทุนเป็นโครงการห้างสรรพสินค้า เช่น เซ็นทรัล เดอะมอลล์ ส่วนบริษัทอสังหาริมทรัพย์ยังไม่มี เพราะเป็นที่ดินให้เช่า อาจไม่จูงใจให้ลงทุนพัฒนาที่อยู่อาศัยระยะยาว แต่มีแนวคิดหากโซนไหนเป็นที่อยู่อาศัย หรือเป็นที่แปลงใหญ่ จะให้เอกชนเช่ายาว 50 ปี เป็นการจูงใจเหมือนกับโครงการอีอีซี”

เปิดพิมพ์เขียวไจก้า

นายวรวุฒิกล่าวว่า ปัจจุบันองค์การเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (ไจก้า) ทำรายงานแผนแม่บทย่านบางซื่อเสร็จแล้ว จะใช้เงินลงทุน 358,000 ล้านบาท (ไม่รวมย่าน กม.11) แยกเป็นส่วนก่อสร้าง 300,000 ล้านบาท อีก 58,000 ล้านบาท เป็นระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานและโครงสร้างพื้นฐานอื่น ๆ เช่น รถบีอาร์ที ซึ่งไจก้าแนะนำให้รถไฟเตรียมความพร้อมด้านสาธารณูปโภคพื้นฐาน เช่น น้ำประปา ไฟฟ้า ระบบโทรคมนาคมให้พร้อม รวมถึงต้องตั้งหน่วยงานเฉพาะมาดูแลพื้นที่โครงการแบบเบ็ดเสร็จ ใน 5 ปีแรก ไจก้าให้เริ่มพัฒนาโซน A 35 ไร่ ติดสถานีกลางบางซื่อ โซน D บางส่วนจะพัฒนาเป็นทางเดินลอยฟ้าเชื่อมระหว่างบางซื่อกับหมอชิตเก่า และโซน D ย่านตึกแดง 119 ไร่ เป็นลำดับแรก พัฒนาเป็นพื้นที่เชิงพาณิชย์ มีศูนย์การค้า โรงแรม สำนักงาน รองรับรถไฟฟ้าสายสีแดงตลิ่งชัน-บางซื่อ-รังสิต จะเปิดบริการถัดจากนั้นอีก 5 ปี จะพัฒนาโซน B (จตุจักร) โซน G ย่าน กม.11 และโซน C ตรง บขส. มีที่อยู่อาศัย สำนักงาน ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม ที่เหลือจะพัฒนาช่วง 5 ปีสุดท้าย เช่น โซน D อยู่ติดโรงซ่อม

ฮับระบบราง-เมืองอัจฉริยะ

ทั้งนี้ สถานีกลางบางซื่อทางญี่ปุ่นสนับสนุนเกิดการพัฒนาแบบบูรณาการ เพราะเป็นศูนย์กลางด้านการเดินทางด้านระบบรางมีทั้งรถไฟฟ้าในเมือง รถไฟฟ้าชานเมือง รถไฟความเร็วสูง และรถไฟขนส่งสินค้า คาดว่าจะใหญ่ที่สุดในอาเซียน และยังเป็นศูนย์กลางธุรกิจและช็อปปิ้งมอลล์ มีศูนย์การค้า โรงแรม สำนักงาน ศูนย์ประชุม รวมถึงเป็นย่านสมาร์ทซิตี้ หรือเมืองอัจฉริยะ ตามที่รัฐบาลกำหนดเป็นพื้นที่เป้าหมายไว้ด้วย

นอกจากนี้ยังให้สถานีบางซื่อเป็นต้นแบบการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชน (TOD) และพัฒนาเมืองอัจฉริยะแห่งแรกในประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 06/03/2019 10:19 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
รถไฟไม่รอ EIA ลุยประมูลที่ดินบางซื่อ เดอะมอลล์-เซ็นทรัลปักหมุดชิงดำซื้อซองTORมี.ค.
พร็อพเพอร์ตี้
วันศุกร์ที่ 1 มีนาคม 2562 เวลา 08:20 น.

ชูสมาร์ทซิตี้ “ศูนย์พหลโยธิน”
โดย ไทยรัฐฉบับพิมพ์
วันพุธที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2562 08:20 น.

นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยหลังประชุมร่วมกระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่งและการท่องเที่ยวญี่ปุ่น (MLIT) ว่า เดือน ต.ค.นี้ กระทรวง เตรียมเป็นประธานร่วมกับญี่ปุ่น และตัวแทนจาก 10 ประเทศในอาเซียนเพื่อจัดงานอาเซียนสมาร์ท ซิตี้ เน็ตเวิร์ค หรือโครงการเครือข่ายเมืองอัจฉริยะอาเซียน ซึ่งเป็นงานที่จะรวบรวมแนวทางการพัฒนาสมาร์ทซิตี้ของแต่ละประเทศ ถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ โดยในส่วนของกระทรวงคมนาคม จะนำแผนพัฒนาศูนย์คมนาคมพหลโยธิน ที่จะนำร่องพัฒนาเป็นสมาร์ทซิตี้เต็มรูปแบบของไทยไปถ่ายทอดในงานนี้ “กระทรวงต้องหารือร่วมกับ 2 กระทรวง คือกระทรวงพลังงานและกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เพื่อร่วมจัดงานนี้ตามที่ญี่ปุ่นเสนอมา เพราะหัวข้อที่จะพูดคุยเกี่ยวข้องกับหลายส่วน อาทิ การขนส่ง การพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ ส่วนนี้กระทรวงคมนาคมจะรับผิดชอบ และยังมีหัวข้อการจัดการพลังงาน การจัดการเทคโนโลยีและการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งเกี่ยวข้องกับกระทรวงพลังงานและกระทรวงดิจิทัลฯ”


สำหรับประเด็นหลักการพัฒนาสมาร์ทซิตี้ที่ไทยจะนำเสนอ คือเรื่องประโยชน์จากการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ พัฒนาเมืองแบบสมาร์ทซิตี้ที่ครบวงจร ซึ่งจะช่วยเพิ่มศักยภาพของพื้นที่และอำนวยความสะดวกการเดินทาง และการใช้ชีวิตของประชาชนอย่างไร ซึ่งปัจจุบันไทยให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ และได้เริ่มต้นพัฒนาสมาร์ทซิตี้ในพื้นที่ศูนย์คมนาคมพหลโยธินแล้ว โดยขณะนี้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เตรียมเปิดประมูลจัดหาเอกชนร่วมลงทุนพัฒนาแปลง A เป็นส่วนแรก โดยแปลง A ภายในศูนย์คมนาคมพหลโยธินนี้ มีพื้นที่ 32 ไร่ มูลค่า 10,000 ล้านบาท รฟท.จะพัฒนาในรูปแบบมิกซ์ยูส และห้างสรรพสินค้า

ด้านนายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการผู้ว่าการ รฟท. กล่าวว่า รฟท.เตรียมประกาศเอกสารประกวดราคา (ทีโออาร์) จัดหาเอกชนร่วมลงทุนพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ในศูนย์พหลโยธิน แปลง A เดือน มี.ค.นี้ โดยแผนพัฒนาศูนย์คมนาคมพหลโยธิน ถือเป็นโครงการนำร่องที่จะพัฒนาให้เป็นสมาร์ทซิตี้แห่งแรกของประเทศ โดย รฟท.ได้ลงนามความร่วมมือกับบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) เพื่อเข้ามาร่วมพัฒนาโครงการแล้ว โดยเนื้องานที่จะเกิดขึ้นในโครงการสมาร์ทซิตี้ จะมีทั้งการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน สิ่งอำนวยความสะดวกอุปโภคและบริโภค เช่น อินเตอร์เน็ต ระบบน้ำ ระบบไฟฟ้า การพัฒนาพลังงานทดแทน เป็นต้น.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 11/03/2019 11:21 pm    Post subject: Reply with quote

"ย่านพหลฯ" ศูนย์กลางเมืองใหม่ เชื่อมระบบราง
ออนไลน์เมื่อ 11 มีนาคม 2561
ตีพิมพ์ใน หน้า 12
หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
ปีที่ 39 ฉบับ 3,451 วันที่ 10-13 มีนาคม 2561

สนข. ดันย่านพหลโยธิน 2,325 ไร่ ทำเลทอง พัฒนาทีโอดีรอบสถานีกลางบางซื่อ เปิดให้บริการปี 64 เชื่อมศูนย์กลางระบบราง เพิ่มจุดจอดรถให้เข้าถึงขนส่งสาธารณะอย่างสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย




นายชยธรรม์ พรหมศร รองผู้อำนวยการ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กระทรวงคมนาคม กล่าวในรายการสัมมนา "พลิกโฉมไทย เปิดประตูสู่เศรษฐกิจนวัตกรรม" ภายใต้หัวข้อ "เชื่อมราง เชื่อมรถ เชื่อมคน ลดเหลื่อมลํ้า เข้าถึงคมนาคมไร้รอยต่อ" ที่จัดโดย หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ว่า กระทรวงคมนาคมมีเป้าหมายพัฒนาสถานีกลางบางซื่อ เชื่อมการเดินทาง ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างก่อสร้าง คาดว่าปลายปี 2563 จะแล้วเสร็จ พร้อมเปิดให้บริการต้นปี 2564 ดังนั้น จึงต้องเร่งพัฒนาพื้นที่โดยรอบย่านพหลโยธิน 2,325 ไร่ เป็นทำเลต่อยอดการพัฒนาให้เป็นศูนย์กลางเมืองใหม่ในอนาคต เชื่อมต่อกับระบบรถไฟชานเมืองเข้ากับรถไฟฟ้าในเมือง จำนวน 5 สาย ประกอบด้วย สายสีเขียวอ่อน, สายสีนํ้าเงิน, สายสีม่วง, แอร์พอร์ตเรลลิงค์ และสายสีแดง

"สิ่งสำคัญของการพัฒนาสถานีกลางบางซื่อและสถานีรถไฟฟ้าอื่น ๆ คือ พื้นที่โดยรอบของสถานี หรือ TOD เพราะพฤติกรรมการเดินทางของประชาชนจะเปลี่ยนไป ต้องเดินทางสะดวก ดังนั้น ต้องมีที่จอดรถ (พาร์กแอนด์ไรด์) เพื่อให้ประชาชนจอดรถและเปลี่ยนการเดินทาง"

นอกจากนี้ ยังต้องมีการวางระบบฟีดเดอร์ หรือ "สมาร์ท บัส" มีที่จอดรถแท็กซี่ ที่จอดรถบัส รถเมล์ ขณะเดียวกัน รัฐบาลต้องให้ความสำคัญกับระบบคมนาคมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สนับสนุนการเดินทางด้วยจักรยาน สิ่งอำนวยความสะดวกให้ผู้สูงอายุ ดังนั้น ต้องสร้างความเท่าเทียมให้ทุกวัยสามารถเดินทางได้สะดวก



โดยพิจารณาจากเสียงสะท้อนของประชาชน คือ
1) เข้าถึงรถโดยสารสาธารณะอย่างสะดวก,
2) ตรงเวลา,
3) ราคาสมเหตุผล และ
4) ต้องปลอดภัย

จากโจทย์นี้ กระทรวงคมนาคมกำหนดออกมาเป็น 3 เรื่องหลัก คือ

1) การเดินทางในเมืองและระหว่างเมืองต้องหันมาใช้ขนส่งสาธารณะ ใช้ระบบราง ไม่ว่าจะเป็น รถไฟฟ้า หรือ ระบบรถไฟทางคู่,
2) ความปลอดภัยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และ
3) การก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ให้ทุกคนเข้าถึงระบบได้ เน้นเชื่อมด้วยนวัตกรรมบริหารจัดการ ตามกรอบยุทธศาสตร์ 20 ปีของกระทรวงคมนาคม โดยมีเป้าหมายเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเดินทางของประชาชน โดยมีเป้าหมายพัฒนาระบบรางภายในปี 2565 จะมีระบบราง 16 สาย ระยะทาง 3,172 กิโลเมตร ซึ่งปัจจุบัน 2 โครงการแรกของรถไฟทางคู่ ช่วงฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย ก่อสร้างใกล้แล้วเสร็จ และยังมีอีก 5 โครงการ ที่กำลังก่อสร้างอยู่ เช่น เส้นทางนครปฐม-หัวหิน, ลพบุรี-ปากนํ้าโพ เป็นต้น และอีก 9 โครงการ ที่จะเสนอ ครม. อนุมัติต่อเนื่องกันไป
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 12/03/2019 8:40 pm    Post subject: Reply with quote

กรมการแพทย์ เตรียมร่วมทุน PPP กับเอกชน เพื่อพัฒนา ศูนย์การแพทย์เฉพาะทาง ด้านข้าง 'สถานีกลางบางซื่อ' มูลค่า 8,000 - 9,000 ล้านบาท
https://www.thebangkokinsight.com/115164/
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 20/03/2019 11:58 am    Post subject: Reply with quote

นายกฯ ลงพื้นที่ตรวจดูความก้าวหน้าสถานีกลางบางซื่อเตรียมพร้อมสู่การเป็นศูนย์กลางคมนาคมทางรางที่ใหญ่และทันสมัยที่สุดในอาเซียน
ทีมพีอาร์การรถไฟแห่งประเทศไทย
วันที่ 20 มีนาคม 2562

วันนี้ (20 มี.ค. 62) เวลา 09.30 น. ณ บริเวณสถานีกลางบางซื่อ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ลงพื้นที่เยี่ยมชมความก้าวหน้าการก่อสร้าง โดยมี นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และนายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย พร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงฯ ให้การต้อนรับและพาเยี่ยมชมโครงการก่อสร้าง
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้เดินทางถึงสถานีกลางบางซื่อ และรับฟังบรรยายสรุปความก้าวหน้าในการก่อสร้างโครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดงและสถานีกลางบางซื่อ โดยนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นผู้บรรยาย จากนั้นจึงพาชมพื้นที่สถานีกลางบางซื่อ ทั้ง 3 ชั้น
สำหรับ สถานีกลางบางซื่อ ได้ออกแบบให้รองรับและเชื่อมต่อการคมนาคมได้อย่างหลากหลาย เป็นศูนย์กลางระบบรางอย่างสมบูรณ์แบบ และยังนำหลักการพัฒนาพื้นที่โดยรอบศูนย์กลางคมนาคม (TOD) มาใช้เป็นต้นแบบในการพัฒนาพื้นที่ โดยมีรูปแบบการก่อสร้างแบ่งเป็นอาคาร 3 ชั้น ประกอบด้วย ชั้นใต้ดิน
เป็นพื้นที่สำหรับจอดรถประมาณ 1,700 คัน มีพื้นที่รวม 72,542 ตร.ม. โดยมีโถงเชื่อมต่อจากพื้นที่จอดรถขึ้นไปยังชั้นที่ 1 ชั้นที่ 1 มีพื้นที่รวม 86,700 ตร.ม. เป็นพื้นที่จำหน่ายตั๋ว มีโถงพักคอยและรับผู้โดยสาร รวมถึงพื้นที่พาณิชยกรรม และร้านค้า สามารถเชื่อมต่อกับ MRT ส่วนชั้นที่ 2 เป็นชานชาลาสำหรับรองรับรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) มี 4 ชานชาลา และรถไฟทางไกล มี 8 ชานชาลา มีพื้นที่รวม 42,000 ตร.ม. คาดว่าจะสามารถเปิดใช้บริการได้ในปี 2564 โดยที่ชั้น1 และชั้น 2 มีชั้นลอยซึ่งเป็นร้านค้าและห้องควบคุมมีพื้นที่รวม 12,020 ตร.ม. ส่วนชั้นที่ 3 มีพื้นที่รวม 42,300 ตร.ม. เป็นชานชาลาสำหรับรองรับรถไฟขนาดรางมาตรฐาน 1.435 เมตร เชื่อมภูมิภาค มีทั้งหมด 10 ชานชาลา แบ่งเป็น รถไฟสายใต้ 4 ชานชาลา รถไฟสายเหนือ และสายอีสานรวม 6 ชานชาลา นอกจากนี้ ยังสามารถรองรับรถไฟความเร็วสูงในอนาคตและรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยาน ได้อีก 2 ชานชาลา และมีทางเดินเชื่อมต่อกับสถานีบางซื่อของรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินด้วย โดยปัจจุบันสถานีกลางบางซื่อมีความคืบหน้าในการก่อสร้างร้อยละ 70.86
สำหรับรถไฟที่จะนำมาให้บริการ เป็นของ Hitachi ความเร็วสูงสุดในการออกแบบ 160 กม./ชม. ส่วนความเร็วสูงสุดในการให้บริการ อยู่ที่ 120 กม./ชม. ใช้ขนาดทาง 1,000 มม. มีขบวนรถไฟ 2 แบบ คือ 6 ตู้/ขบวน รองรับผู้โดยสารได้ 1,710 คน และ 4 ตู้/ขบวน รองรับผู้โดยสารได้ 1,120 คน และใช้ระบอาณัติสัญญาณรูปแบบ European Train Control System (ETCS) Level 1
นอกจากนี้ ยังมีเรื่องการบริหารจัดการสถานีที่ รฟท. ได้เตรียมดำเนินการ ไม่ว่าจะเป็น ด้านการเดินรถ ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างเสนอ ครม.พิจารณา งานซ่อมบำรุงตัวรถ อยู่ระหว่างคัดเลือกเอกชนร่วมดำเนินการ
งานด้านซ่อมบำรุงอาคารและสิ่งอำนวยความสะดวก อยู่ระหว่างคัดเลือกเอกชน ส่วนการบริหารจัดการพื้นที่เชิงพาณิชย์ รฟท. ได้ดำเนินการในสถานีกลางบางซื่อ ดอนเมือง และรังสิต ส่วนสถานีอื่นๆ อยู่ระหว่าง รอคัดเลือกเอกชนร่วมดำเนินการ ทั้งนี้ โครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ช่วงบางซื่อ-รังสิต สามารถรองรับปริมาณผู้โดยสารได้ถึง 300,000 คน/วัน รวมทั้งรองรับการเดินทางระบบรางทุกประเภท ทั้งรถไฟ ชานเมือง รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ และรถไฟความเร็วสูง และยังสามารถเชื่อมโยงการเดินทางกับระบบขนส่งทางรางอื่น ๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็น รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน รถไฟฟ้าสายสีชมพู รถไฟฟ้าสายสีเขียว รถไฟใต้ดิน
ซึ่งเป็นการพลิกโฉมการเดินทางด้วยระบบรางของประเทศไทย และกลายเป็นศูนย์กลางการเดินทางด้วยระบบรางที่ใหญ่และทันสมัยที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

นายกฯ พอใจโครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดง และการก่อสร้างสถานีกลางบางซื่อ
ผู้สื่อข่าว:ปิยะธิดา เพชรดี
เศรษฐกิจ
วันที่ 20 มีนาคม 2562 10:37น.

การติดตามการก่อสร้างสถานีกลางบางซื่อ เพื่อเตรียมพร้อมเป็นศูนย์กลางคมนาคมทางรางที่ใหญ่และทันสมัยที่สุดในอาเซียน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า กระทรวงคมนาคม ได้ดำเนินการตามแผนงาน ในอนาคตพื้นที่สถานีกลางบางซื่อจะเป็นจุดเชื่อมต่อรถไฟไปหลายเส้นทางและเชื่อมโยงไปยังภูมิภาคอาเซียนถือเป็นการยกระดับการเดินทางของประชาชน ยืนยันด้วยว่าการพัฒนาพื้นที่ไม่ได้ยกให้เอกชนทั้งหมด อีกทั้งบริเวณนี้จะมีการพัฒนาเป็นพื้นที่สีเขียวให้เป็นปอดของกรุงเทพฯ เพื่อให้ประชาชนได้ใช้พักผ่อน จึงอยากให้ร่วมกันสร้างประวัติ ศาสตร์ของการรถไฟไทย ขณะนี้มีความคืบหน้าร้อยละ 60.28 เป็นการออกแบบรองรับเชื่อมต่อการคมนาคมและเป็นศูนย์กลางระบบรางอย่างสมบูรณ์แบบ โดยมีรูปแบบการก่อสร้าง แบ่งเป็นอาคาร 3 ชั้น ประกอบด้วยชั้นใต้ดินที่เป็นพื้นที่สำหรับจอดรถประมาณ 1,700 คัน ชั้นที่ 1 เป็นพื้นที่จำหน่ายตั๋ว มีห้องพักคอยและรับผู้โดยสาร และสามารถเชื่อมต่อกับ MRT ส่วนชั้นที่ 2 เป็นชานชาลาสำหรับรองรับรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) มี 4 ชานชาลา และรถไฟทางไกลมี 8 ชานชาลา คาดว่า จะสามารถเปิดใช้บริการได้ในปี 2564 ส่วนชั้นที่ 3 เป็นชั้นสำหรับรองรับรถไฟขนาดรางมาตรฐานเชื่อมโยงภูมิภาค ซึ่งมีทั้งหมด 10 ชานชาลา แบ่งเป็นรถไฟสายใต้ 4 ชานชาลา สายเหนือและสายอีสานรวม 6 ชานชาลา นอกจากนี้ ยังสามารถรองรับรถไฟความเร็วสูงในอนาคตและ รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานได้อีก 2 ชานชาลา รวมถึงมีทางเดินเชื่อมต่อกับสถานีบางซื่อของรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินอีกด้วย



สำหรับรถไฟที่จะนำมาให้บริการเป็นของ Hitachi ความเร็วสูงสุดในการออกแบบ 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ส่วนความเร็วสูงสุดในการให้บริการอยู่ที่ 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง มีขบวนรถไฟ 2 แบบคือ 6 ตู้ขบวนรองรับผู้โดยสาร 1,710 คนและ 4 ตู้ขบวน รองรับผู้โดยสาร 1,120 คน

ทั้งนี้ โครงการระบบรถไฟชานเมือง(สายสีแดง)ช่วงบางซื่อ-รังสิต สามารถรองรับปริมาณผู้โดยสารสูงสุดได้ถึง 3 แสนคนต่อวัน รวมทั้งรองรับการเดินทางระบบรางทุกประเภท ทั้งทางรถไฟชานเมืองรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงค์ และรถไฟความเร็วสูง รวมถึงยังสามารถเชื่อมโยงการเดินทางกับระบบขนส่งรางอื่นๆได้ทั้งรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน รถไฟฟ้าสายสีชมพู รถไฟฟ้าสายสีเขียว รถไฟฟ้าใต้ดิน เป็นการพลิกโฉมการเดินทางด้วยระบบรางของไทย ให้กลายเป็นศูนย์กลางระบบรางที่ใหญ่และทันสมัยที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ส่วนการเปิดคัดเลือกให้เอกชนที่ประกอบกิจการจำหน่ายสินค้าปลอดภาษี หรือดิวตี้ฟรีในสนามบิน ร่วมประมูลครั้งใหม่ นายกรัฐมนตรี ระบุว่า ขณะนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำลังหารือกัน ต้องคำนึงถึงผลประโยชน์ทั้งผู้บริโภคและเอกชนที่จะเข้าประมูล และต้องเป็นไปตามขั้นตอนกฎหมาย ยืนยันไม่เอื้อผลประโยชน์ให้ใคร
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 20/03/2019 4:15 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
นายกฯตรวจคืบหน้าสร้างรถไฟสายสีแดง
INN News 20 มีนาคม 2019 - 12:46


“บิ๊กตู่” ดูงานก่อสร้าง “สถานีกลางบางซื่อ” รุดหน้ากว่า 70% ปี’64 ขึ้นแท่นฮับระบบรางใหญ่และทันสมัยที่สุดในอาเซียน
พร็อพเพอร์ตี้
วันที่ 20 มีนาคม 2562 - 10:54 น.

วันที่ 20 มี.ค. 2562 เวลา 09.30 น. ณ บริเวณสถานีกลางบางซื่อ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ลงพื้นที่เยี่ยมชมความก้าวหน้าการก่อสร้าง มีนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และนายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ให้การต้อนรับและพาเยี่ยมชมโครงการก่อสร้างบริเวณพื้นที่สถานีกลางบางซื่อ ทั้ง 3 ชั้น

สำหรับสถานีกลางบางซื่อได้ออกแบบให้รองรับและเชื่อมต่อการคมนาคมได้อย่างหลากหลาย เป็นศูนย์กลางระบบรางอย่างสมบูรณ์แบบ และยังนำหลักการพัฒนาพื้นที่โดยรอบศูนย์กลางคมนาคม (TOD) มาใช้เป็นต้นแบบในการพัฒนาพื้นที่





โดยมีรูปแบบการก่อสร้างแบ่งเป็นอาคาร 3 ชั้น ประกอบด้วย ชั้นใต้ดิน เป็นพื้นที่สำหรับจอดรถประมาณ 1,700 คัน มีพื้นที่รวม 72,542 ตร.ม. โดยมีโถงเชื่อมต่อจากพื้นที่จอดรถขึ้นไปยังชั้นที่ 1 ชั้นที่ 1 มีพื้นที่รวม 86,700 ตร.ม. เป็นพื้นที่จำหน่ายตั๋ว มีโถงพักคอยและรับผู้โดยสาร รวมถึงพื้นที่พาณิชยกรรม และร้านค้า สามารถเชื่อมต่อกับ MRT ส่วนชั้นที่ 2 เป็นชานชาลาสำหรับรองรับรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) มี 4 ชานชาลา และรถไฟทางไกล มี 8 ชานชาลา มีพื้นที่รวม 42,000 ตร.ม. คาดว่าจะสามารถเปิดใช้บริการได้ในปี 2564

โดยที่ชั้น 1 และชั้น 2 มีชั้นลอยซึ่งเป็นร้านค้าและห้องควบคุมมีพื้นที่รวม 12,020 ตร.ม. ส่วนชั้นที่ 3 มีพื้นที่รวม 42,300 ตร.ม. เป็นชานชาลาสำหรับรองรับรถไฟขนาดรางมาตรฐาน 1.435 เมตร เชื่อมภูมิภาค มีทั้งหมด 10 ชานชาลา แบ่งเป็นรถไฟสายใต้ 4 ชานชาลา รถไฟสายเหนือ และสายอีสาน รวม 6 ชานชาลา นอกจากนี้ยังสามารถรองรับรถไฟความเร็วสูงในอนาคตและรถไฟฟ้าเชื่อม 3 สนามบินได้อีก 2 ชานชาลา และมีทางเดินเชื่อมต่อกับสถานีบางซื่อของรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินด้วย โดยปัจจุบันสถานีกลางบางซื่อมีความคืบหน้าในการก่อสร้าง 70.86%



สำหรับรถไฟที่จะนำมาให้บริการเป็นของ Hitachi ความเร็วสูงสุดในการออกแบบ 160 กม./ชม. ส่วนความเร็วสูงสุดในการให้บริการอยู่ที่ 120 กม./ชม. ใช้ขนาดทาง 1,000 มม. มีขบวนรถไฟ 2 แบบ คือ 6 ตู้/ขบวน รองรับผู้โดยสารได้ 1,710 คน และ 4 ตู้/ขบวน รองรับผู้โดยสารได้ 1,120 คน และใช้ระบบอาณัติสัญญาณรูปแบบ European Train Control System (ETCS) Level 1

นอกจากนี้ ยังมีเรื่องการบริหารจัดการสถานีที่ ร.ฟ.ท.ได้เตรียมดำเนินการ ไม่ว่าจะเป็นด้านการเดินรถ ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณา งานซ่อมบำรุงตัวรถ อยู่ระหว่างคัดเลือกเอกชนร่วมดำเนินการ งานด้านซ่อมบำรุงอาคารและสิ่งอำนวยความสะดวก อยู่ระหว่างคัดเลือกเอกชน

ส่วนการบริหารจัดการพื้นที่เชิงพาณิชย์ ร.ฟ.ท.ได้ดำเนินการในสถานีกลางบางซื่อ ดอนเมือง และรังสิต ส่วนสถานีอื่นๆ อยู่ระหว่าง รอคัดเลือกเอกชนร่วมดำเนินการ



ทั้งนี้โครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ช่วงบางซื่อ-รังสิต สามารถรองรับปริมาณผู้โดยสารได้ถึง 300,000 คน/วัน รวมทั้งรองรับการเดินทางระบบรางทุกประเภท ทั้งรถไฟ ชานเมือง รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ และรถไฟความเร็วสูง และยังสามารถเชื่อมโยงการเดินทางกับระบบขนส่งทางรางอื่นๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็น รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน รถไฟฟ้าสายสีชมพู รถไฟฟ้าสายสีเขียว รถไฟใต้ดิน เป็นการพลิกโฉมการเดินทางด้วยระบบรางของประเทศไทย และกลายเป็นศูนย์กลางการเดินทางด้วยระบบรางที่ใหญ่และทันสมัยที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44320
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 20/03/2019 5:49 pm    Post subject: Reply with quote

นายกรัฐมนตรี ตรวจติดตามโครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดง ณ สถานีกลางบางซื่อ กรุงเทพฯ
ทำเนียบ รัฐบาล
Published on Mar 20, 2019

นายกรัฐมนตรี ตรวจติดตามโครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ – รังสิต บริเวณชานชาลา ชั้น 3
(ชานชาลารถไฟความเร็วสูง และรถไฟเชื่อม 3 สนามบิน) ณ สถานีกลางบางซื่อ กรุงเทพฯ วันที่ 20 มีนาคม 2562


https://www.youtube.com/watch?v=XPTOHErAP1k
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 21/03/2019 11:13 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
นายกรัฐมนตรี ตรวจติดตามโครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดง ณ สถานีกลางบางซื่อ กรุงเทพฯ
ทำเนียบ รัฐบาล
Published on Mar 20, 2019

นายกรัฐมนตรี ตรวจติดตามโครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ – รังสิต บริเวณชานชาลา ชั้น 3 (ชานชาลารถไฟความเร็วสูง และรถไฟเชื่อม 3 สนามบิน) ณ สถานีกลางบางซื่อ กรุงเทพฯ วันที่ 20 มีนาคม 2562

https://www.youtube.com/watch?v=XPTOHErAP1k


“บิ๊กตู่” ปลื้มสถานีกลางบางซื่อคืบหน้า ดันเป็นศูนย์กลางระบบรางของอาเซียน
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันที่ 20 มีนาคม 2562 เวลา 11:12
ปรับปรุง: วันที่ 20 มีนาคม 2562 เวลา 12:26


นายกฯ ตรวจความคืบหน้าสถานีกลางบางซื่อ พอใจงานมีความก้าวหน้าอย่างมาก หวังให้ไทยเป็นศูนย์กลางคมนาคมทางรางที่ใหญ่และทันสมัยที่สุดในอาเซียน

วันนี้ (20 มี.ค.) เวลา 09.30 น. ที่บริเวณสถานีกลางบางซื่อ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) นำคณะลงพื้นที่เยี่ยมชมความก้าวหน้าการก่อสร้าง โดยมีนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และนายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย พร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงฯ ให้การต้อนรับและพาเยี่ยมชมโครงการก่อสร้าง เมื่อเดินทางถึง พล.อ.ประยุทธ์ได้รับฟังบรรยายสรุปความก้าวหน้าในการก่อสร้างโครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดง และสถานีกลางบางซื่อ โดยนายอาคมเป็นผู้บรรยาย จากนั้นจึงพาชมพื้นที่สถานีกลางบางซื่อ ทั้ง 3 ชั้น

สำหรับสถานีกลางบางซื่อ ได้ออกแบบให้รองรับและเชื่อมต่อการคมนาคมได้อย่างหลากหลาย เป็นศูนย์กลางระบบรางอย่างสมบูรณ์แบบ และยังนำหลักการพัฒนาพื้นที่โดยรอบศูนย์กลางคมนาคม (TOD) มาใช้เป็นต้นแบบในการพัฒนาพื้นที่ โดยมีรูปแบบการก่อสร้างแบ่งเป็นอาคาร 3 ชั้น ประกอบด้วย ชั้นใต้ดิน เป็นพื้นที่สำหรับจอดรถประมาณ 1,700 คัน มีพื้นที่รวม 72,542 ตร.ม. โดยมีโถงเชื่อมต่อจากพื้นที่จอดรถ

ชั้นที่ 1 มีพื้นที่รวม 86,700 ตร.ม. เป็นพื้นที่จำหน่ายตั๋ว มีโถงพักคอยและรับผู้โดยสาร รวมถึงพื้นที่พาณิชยกรรม และร้านค้า สามารถเชื่อมต่อกับ MRT

ส่วนชั้นที่ 2 เป็นชานชาลาสำหรับรองรับรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) มี 4 ชานชาลา และรถไฟทางไกล มี 8 ชานชาลา มีพื้นที่รวม 42,000 ตร.ม. คาดว่าจะสามารถเปิดใช้บริการได้ในปี 2564

โดยที่ชั้น1 และชั้น 2 มีชั้นลอยซึ่งเป็นร้านค้าและห้องควบคุมมีพื้นที่รวม 12,020 ตร.ม.

ส่วนชั้นที่ 3 มีพื้นที่รวม 42,300 ตร.ม. เป็นชานชาลาสำหรับรองรับรถไฟขนาดรางมาตรฐาน 1.435 เมตร เชื่อมภูมิภาค มีทั้งหมด 10 ชานชาลา แบ่งเป็น รถไฟสายใต้ 4 ชานชาลา รถไฟสายเหนือ และสายอีสานรวม 6 ชานชาลา นอกจากนี้ ยังสามารถรองรับรถไฟความเร็วสูงในอนาคตและรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยาน ได้อีก 2 ชานชาลา และมีทางเดินเชื่อมต่อกับสถานีบางซื่อของรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินด้วย โดยปัจจุบันสถานีกลางบางซื่อมีความคืบหน้าในการก่อสร้างร้อยละ 70.86

สำหรับรถไฟที่จะนำมาให้บริการ เป็นของ Hitachi ความเร็วสูงสุดในการออกแบบ 160 กม./ชม. ส่วนความเร็วสูงสุดในการให้บริการ อยู่ที่ 120 กม./ชม. ใช้ขนาดทาง 1,000 มม. มีขบวนรถไฟ 2 แบบ คือ 6 ตู้/ขบวน รองรับผู้โดยสารได้ 1,710 คน และ 4 ตู้/ขบวน รองรับผู้โดยสารได้ 1,120 คน และใช้ระบบอาณัติสัญญาณรูปแบบ European Train Control System (ETCS) Level 1

นอกจากนี้ยังมีเรื่องการบริหารจัดการสถานีที่ ร.ฟ.ท.ได้เตรียมดำเนินการ ไม่ว่าจะเป็นด้านการเดินรถ ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างเสนอ ครม.พิจารณา งานซ่อมบำรุงตัวรถ อยู่ระหว่างคัดเลือกเอกชนร่วมดำเนินการ งานด้านซ่อมบำรุงอาคารและสิ่งอำนวยความสะดวก อยู่ระหว่างคัดเลือกเอกชน ส่วนการบริหารจัดการพื้นที่เชิงพาณิชย์ ร.ฟ.ท.ได้ดำเนินการในสถานีกลางบางซื่อ ดอนเมือง และรังสิต ส่วนสถานีอื่นๆ อยู่ระหว่าง รอคัดเลือกเอกชนร่วมดำเนินการ

ทั้งนี้ โครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ช่วงบางซื่อ-รังสิต สามารถรองรับปริมาณผู้โดยสารได้ถึง 300,000 คน/วัน รวมทั้งรองรับการเดินทางระบบรางทุกประเภท ทั้งรถไฟชานเมือง รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ และรถไฟความเร็วสูง และยังสามารถเชื่อมโยงการเดินทางกับระบบขนส่งทางรางอื่นๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็น รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน รถไฟฟ้าสายสีชมพู รถไฟฟ้าสายสีเขียว รถไฟใต้ดิน ซึ่งเป็นการพลิกโฉมการเดินทางด้วยระบบรางของประเทศไทย และกลายเป็นศูนย์กลางการเดินทางด้วยระบบรางที่ใหญ่และทันสมัยที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

หลังเสร็จสิ้นภารกิจ นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า การดำเนินงานมีความก้าวหน้าอย่างมาก ซึ่งไทยมุ่งหวังที่จะเป็นศูนย์กลางการคมนาคมของอาเซียนให้ได้ โดยเฉพาะศูนย์คมนาคมพหลโยธินแห่งนี้ มีการจัดทำพื้นที่เพื่อใช้ประโยชน์หลากหลายครบวงจร ไม่ได้ยกให้เอกชนดำเนินการทั้งหมด มีเพียงบางส่วน ที่แบ่งไปเท่านั้น

ส่วนความคืบหน้าการประมูลคัดเลือกเอกชน เข้ารับสัมปทานกิจการจำหน่ายสินค้าปลอดอากร หรือดิวตี้ฟรี ของ บริษัทท่าอากาศยานไทย จำกัด มหาชน นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ยังอยู่ระหว่างการพิจารณา ซึ่งต้องคำนึงถึงผู้ประกอบการ ผู้บริโภค และรายได้เข้าประเทศเป็นสำคัญ พร้อมรับรองว่าจะไม่มีการเอื้อประโยชน์ให้ใครทั้งสิ้น ทุกอย่างต้องดำเนินการไปตามขั้นตอนของกฎหมาย

//------------------------------

สถานีกลางบางซื่อคืบ70% เปิดบริการพร้อมรถไฟสายสีแดงปี’64

วันพฤหัสบดี ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2562, 06.00 น.




เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2562 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ลงพื้นที่เยี่ยมชมความก้าวหน้าการก่อสร้างสถานีกลางบางซื่อ โดยมี นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการในตำแหน่ง ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) พร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูงของกระทรวง ให้การต้อนรับ

ไม่พลาดข่าวสำคัญ ติดตาม LINE@แนวหน้า ที่นี่
ขณะที่ นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม รายงานว่า ปัจจุบันสถานีกลางบางซื่อมีความคืบหน้าในการก่อสร้างร้อยละ 70.86 คาดว่าจะสามารถเปิดใช้บริการได้ในปี 2564 โดยสถานีแห่งนี้ได้ออกแบบให้รองรับและเชื่อมต่อการคมนาคมได้อย่างหลากหลาย เป็นศูนย์กลางระบบราง อย่างสมบูรณ์แบบ และยังนำหลักการพัฒนาพื้นที่โดยรอบศูนย์กลางคมนาคม (TOD) มาใช้เป็นต้นแบบในการพัฒนาพื้นที่ โดยมีรูปแบบการก่อสร้างแบ่งเป็นอาคาร 3 ชั้น ประกอบด้วย ส่วนชั้น 1 และชั้น 2 มีชั้นลอยซึ่งเป็นร้านค้า และห้องควบคุมมีพื้นที่รวม 12,020 ตร.ม.

ส่วนชั้นใต้ดินเป็นพื้นที่สำหรับจอดรถประมาณ 1,700 คัน มีพื้นที่รวม 72,542 ตร.ม. โดยมีโถงเชื่อมต่อจากพื้นที่จอดรถขึ้นไปยังชั้นที่ 1 ซึ่งชั้นที่ 1 มีพื้นที่รวม 86,700 ตร.ม. เป็นพื้นที่จำหน่ายตั๋ว มีโถงพักคอยและรับผู้โดยสาร รวมถึงพื้นที่พาณิชยกรรม และร้านค้า สามารถเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้า MRT ส่วนชั้นที่ 2 เป็นชานชาลาสำหรับรองรับรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) มี 4 ชานชาลา และรถไฟทางไกล มี 8 ชานชาลา มีพื้นที่รวม 42,000 ตร.ม.

รมว.คมนาคม กล่าวว่า ในส่วนโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง รังสิต-บางซื่อ นั้น เมื่องานโยธาก่อสร้างเสร็จตั้งแต่ปลายปีนี้เป็นต้นไปก็จะมีการทยอยรับมอบขบวนรถเดือนมิถุนายน ปี 2563 ก่อนที่จะมาทำการทดสอบระบบ และคาดว่าจะเสร็จพร้อมเปิดให้บริการตามแผนปี 2564 เช่นกัน

ด้าน นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ในอนาคตสถานีกลางบางซื่อจะเป็นจุดเชื่อมต่อรถไฟไปในหลายเส้นทาง และเชื่อมโยงไปยังภูมิภาคอาเซียนถือเป็นการยกระดับการเดินทางและยืนยันด้วยว่าการพัฒนาพื้นที่ไม่ได้ยกให้เอกชนทั้งหมด โดยบริเวณดังกล่าวจะมีการพัฒนาเป็นพื้นที่สีเขียวให้เป็นปอดของกรุงเทพฯเพื่อให้ประชาชนได้ใช้พักผ่อนจึงอยากให้ร่วมกันสร้างประวัติศาสตร์ของการรถไฟไทย

นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรี แสดงความเห็นเพื่อเติ่มกรณีการเปิดให้เอกชนพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์และร้านค้าปลอดภาษี(Duty Free) ภายในสนามบินทั้ง 4 แห่ง ได้แก่ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ท่าอากาศยานเชียงใหม่ ท่าอากาศยานภูเก็ต และท่าอากาศยานหาดใหญ่ นั้น ขณะนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องอยู่ระหว่างสรุปแนวทางต้องคำนึงถึงผลประโยชน์ของผู้บริโภคและเอกชนที่จะเข้าประมูล รวมถึงจะต้องเป็นไปตามขั้นตอนกฎหมาย โดยยืนยันไม่เอื้อผลประโยชน์ให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 22/03/2019 3:27 pm    Post subject: Reply with quote

เสนอความเห็นในร่าง ประกาศเชิญชวนผู้ยื่นข้อเสนอร่วมลงทุน
บริหารโครงการ
วันที่โพส 18 มีนาคม 2562
ประกาศเชิญชวนผู้ยื่นข้อเสนอร่วมลงทุนโครงการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์บริเวณสถานีกลางบางซื่อ แปลง A การรถไฟแห่งประเทศไทยเปิดโอกาสให้บุคคลทั่วไปสามารถเสนอความเห็นในร่างประกาศเชิญชวนผู้ยื่นข้อเสนอ ร่วมทุน โครงการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์บริเวณสถานีกลางบางซื่อ แปลง A ระหว่างวันที่ 18 - 22 มีนาคม 2562 (5 วัน) ในรูปแบบจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ Email: megaproject.srt@gmail.com หรือลายลักษณ์อักษรถึงการรถไฟแห่งประเทศไทย

คลิกที่นี่ เพื่อดาวน์โหลดเอกสาร(ร่าง) ประกาศเชิญชวนผู้ยื่นข้อเสนอร่วมลงทุน
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 6, 7, 8 ... 63, 64, 65  Next
Page 7 of 65

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©