Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311238
ทั่วไป:13181737
ทั้งหมด:13492975
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 315, 316, 317 ... 542, 543, 544  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44335
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 03/04/2019 1:31 pm    Post subject: Reply with quote

วิทยาลัยการอาชีพบ้านไผ่เปิดสถาบันรถไฟความเร็วสูงหลู่ปัน
เผยแพร่: 3 เม.ย. 2562 13:22 โดย: ผู้จัดการออนไลน์

Click on the image for full size

ศูนย์ข่าวขอนแก่น-วิทยาลัยการอาชีพบ้านไผ่ร่วมวิทยาลัยเทคโนฯการรถไฟหวู่ฮั่น ประเทศจีน เปิดสถาบันรถไฟความเร็วสูงหลู่ปันเพื่อพัฒนาต่อยอดความร่วมมือด้านวิชาการระบบขนส่งทางราง เผยจัดการเรียนการสอนระดับ ปวส.เป็นรุ่นที่ 4 แล้ว

เมื่อเวลา 11.00 น.วันนี้( 3 เม.ย.)ที่หอประชุม วิทยาลัยการอาชีพบ้านไผ่ อ.บ้านไผ่ จ.ขอนแก่น ดร.สาโรจน์ ขอจวนเตี๋ยว ที่ปรึกษาด้านมาตรฐานช่างอุตสาหกรรม สำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา เป็นประธานในพิธีเปิดสถาบันรถไฟความเร็วสูงหลู่ปัน โดยมี นายปานทอง สระคูพันธุ์ รอง ผู้ว่าราชการ จ.ขอนแก่น นายเหลี้ยว จุ้นหยุ๋น กงสุลใหญ่แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ประจำจังหวัดขอนแก่น นายเฉิง สือ ซิง อธิการบดีวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาการรถไฟหวู่ฮั่น ดร.อนุศาสตร์ สอนศิลพงศ์ ผอ.ส พป.ขอนแก่น เขต 2 ดร.ศุภสิน ภูศรีโสม ผอ.สพป. ขอนแก่น เขต 3

รวมถึง พ.ต.อ.สุวัฒน์ สมจิตต์ ผกก.สภ.บ้านไผ่ ว่าที่ร้อยตรีจรรยา พาบุ ผอ.วิทยาลัยการอาชีพบ้านไผ่ นายเหอ เฉิง ฉาย ผอ.สถาบันรถไฟความเร็วสูงหลู่ปัน(ฝ่ายจีน) นายทรงศักดิ์ ทองไทย ประธานสภาอุตสาหกรรม จ.ขอนแก่น นายธรรมปพน เกษนอก ผอ.สถาบันรถไฟความเร็วสูงหลู่ปัน(ฝ่ายไทย) คณะผู้บริหารคณาจารย์และนักศึกษา ร่วมงาน

ว่าที่ร้อยตรีจรรยา พาบุ ผู้อำนวยการวิทยาลัยการอาชีพบ้านไผ่ เปิดเผยถึงการเปิดป้ายสถาบันรถไฟความเร็วสูงหลู่ปัน ในวันนี้ สืบเนื่องมาจากวิทยาลัยการอาชีพบ้านไผ่ เป็นสถาบันศึกษาต้นแบบในการจัดการเรียนการสอนในสาขาระบบรางขนส่ง ระบบรถไฟความเร็วสูง เป็นหลักสูตรที่เน้นการเรียนการสอน เกี่ยวกับระบบขนส่ง โดยมุ่งหวังที่จะผลิตนักศึกษา เพื่อรองรับการพัฒนาประเทศชาติ ในด้านระบบรางขนส่ง ทางรางรถไฟความเร็วสูง

ดังนั้น วิทยาลัยการอาชีพบ้านไผ่จึงต้องแสวงหาความร่วมมือ ทั้งภาครัฐ เอกชน ทั้งภายในและต่างประเทศ เพื่อสร้างองค์ความรู้ ในระบบขนส่งทางรางของวิทยาลัยการอาชีพบ้านไผ่และวิทยาลัยเครือข่ายในสังกัด สำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา โดยในปี พ.ศ 2558 ได้ร่วมมือกับวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาการรถไฟหวู่ฮั่น สาธารณรัฐประชาชนจีน จัดการเรียนการสอนในระดับ ปวส.ในสาขางานระบบขนส่งทางราง จนถึงปัจจุบัน

“ศิษย์ที่เรียนอยู่ปัจจุบันถือเป็นรุ่นที่ 4 ที่เรียนหลักสูตรงานระบบขนส่งทางราง อันเป็นผลจากการทำความร่วมมือวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาการรถไฟหวู่ฮั่น ของจีน และนำมาสู่การจัดตั้งสถาบันรถไฟความเร็วสูงหลู่ปัน ที่ วิทยาลัยการอาชีพบ้านไผ่จังหวัดขอนแก่นในวันนี้ เพื่อพัฒนาต่อยอดความร่วมมือร่วมกันในอนาคต”ว่าที่ร้อยตรีจรรยากล่าว
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 04/04/2019 5:35 pm    Post subject: Reply with quote

ชงบอร์ดอีอีซีปลายเม.ย. เคาะ"ซีพี"คว้าไฮสปีด3สนามบิน
04 เมษายน พ.ศ. 2562,


“วรวุฒิ” คาดลงนามสัญญารถไฟ 3 สนามบินพค.นี้หลังเจรจาซีพีปลด 12 ข้อเสนอยอมรับเงื่อนไขพร้อมนัดวันเจรจาขัดเกลาสำนวนสัญญา เร่งเสนอคณะกรรมการอีอีซีภายในเม.ย.นี้ก่อนเสนอครม.อนุมัติ

นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) เปิดเผยภายหลังการเจรจากับกลุ่มซีพีว่าเป็นการเจรจาตามนัดรายงานความคืบหน้าผลต่อเนื่องการเจรจาครั้งที่ผ่านมาที่ยอมผ่อนปรนในบางข้อจากจำนวน 12 ข้อเสนอ ครั้งนี้กลุ่มซีพียอมรับตามที่คณะกรรมการนำเสนอใน 12 ข้อหลักตามที่เอกสารเสนอเงื่อนไขโครงการ RFP กำหนดไว้แต่มีปรับบางคำในสาระบางข้อให้สื่อความได้ชัดเจนเข้าใจในแนวทางเดียวกันของทั้ง 2ฝ่ายโดยหลังจากนี้จะนัดวันเจรจาคัดเกลาสำนวนทั้งหมดและรายละเอียดปลีกย่อยต่อไปภายใน 2 สัปดาห์นี้จะนัดคัดเกลาสำนวนสาระข้อมูลในสัญญาให้ชัดเจนและเข้าใจกันทั้ง 2 ฝ่ายโดยให้ฝ่ายกฎหมาย วิศวกรรม และส่วนที่เกี่ยวข้องรับไปดำเนินการเจรจารายละเอียดต่อไปก่อนส่งร่างสัญญาให้สำนักงานอัยการสูงสุด(อสส.)พิจารณาพร้อมเสนอคณะกรรมการอีอีซีช่วงปลายเดือนเมษายนนี้และเสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.)เป็นขั้นตอนสุดท้ายคาดว่าช่วงหลังสงกรานต์น่าจะส่งให้อสส.พิจารณาและลงนามสัญญาภายในเดือนพฤษภาคมนี้
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 04/04/2019 9:52 pm    Post subject: Reply with quote

ปิดดีล ไฮสปีด 3 สนามบิน! ซีพีปลดล็อกเงื่อน 12 ข้อ คาดเซ็นสัญญา ในพ.ค.
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 4 เมษายน พ.ศ. 2562, 18:41



รฟท.เตรียมปิดดีล รถไฟเชื่อม 3 สนามบิน เจรจา “ซีพี“ยอมปลดเงื่อนไข12 ข้อ หลังหารือพันธมิตรการเงินปรับลดความเสี่ยงการลงทุนได้ คาด 2 สัปดาห์เคลียร์รายละเอียดปลีกย่อย สรุปร่างสัญญา ชงบอร์ด อีอีซีปลายเม.ย.ตั้งเป้า พ.ค.เซ็นสัญญาได้

นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ระยะทาง 220 กม. มูลค่า 224,544.36 ล้านบาท วานนี้ (4 เม.ย.) ว่า คณะกรรมการคัดเลือกฯ ได้เจรจากับกิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด (ซี.พี.) ในประเด็นที่อยู่นอกกรอบข้อเสนอโครงการ (RFP) และนอกเหนือจากมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ซึ่งทางซีพี ได้แจ้งผลการหารือทางด้านการเงินกับพันธมิตรว่า ได้ข้อตกลงแล้ว และ ทาง ซีพี ยอมปลด ข้อเสนอเงื่อนไขที่อยู่นอกกรอบ RFP จำนวน 12 ข้อ ซึ่งเป็นไปตามที่คณะกรรมการฯได้ยืนยันไปก่อนหน้านี้

โดยหลังจากนี้ จะเหลือเพียงประเด็นปลีกย่อย เช่นเรื่องการยกเลิกสัญญา เหตุสุดวิสัยต่างๆ เรื่องบทปรับ ในกรณีต่างๆ ซึ่งเป็นเรื่องของสัญญาทั่วไปตามปกติ ซึ่งคณะกรรมการฯได้มอบหมายให้อนุฯด้านกฎหมาย เจรจากับฝ่ายกฎหมายของ กลุ่มซีพี เพื่อขัดเกลาถ้อยคำ ต่างๆ ให้สอดคล้องเหมาะสมกับความต้องการของทั้ง2 ฝ่าย โดยตั้งเป้า จะเจรจาได้เรียบร้อยภายใน2 สัปดาห์ จากนั้น คณะกรรมการคัดเลือกฯ จะประชุมอีกครั้ง ในช่วงหลังสงกรานต์ เพื่อสรุปผลการเจรจา ขณะเดียวกันจะส่งร่างสัญญา ให้อัยการตรวจสอบ คู่ขนานไปด้วย

ทั้งนี้ คาดว่า จะเสนอผลการเจรจาต่อคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (กศน.) หรือคณะกรรมการอีอีซี ได้ภายในปลายเดือนเม.ย.นี้ ซึ่งยังเป็นตามเป้าหมาย เดิม หลังจากนั้นจะเป็นการเสนอต่อคณะรัฐมนตรี(ครม.) เพื่ออนุมัติ คาดว่าจะสามารถลงนามได้ในเดือนพ.ค. 2562

“วันนี้ถือว่าการเจรจาในประเด็นหลัก ที่เป็นกระดูกชิ้นใหญ่ จบลงแล้ว ทางซีพี ถอนออกทั้งหมด ซึ่งประเด็นทางการเงินนั้น เป็นเรื่องของเอกชนที่หารือกับพันธมิตรทางการเงินของกลุ่ม ซึ่ง.ีพี บอกว่าได้ตกลงกับแบงก์แล้ว ก็เชื่อว่า น่าจะลดความเสี่ยงลงได้แล้ว จึงได้ยืนยันกับคณะกรรมการฯว่า ปลดเงื่อนไข12 ข้อที่เสนอมา ตอนนี้ ถือว่า เจรจาไปกว่า 80% แล้ว เหลือรายละเอียดปลีกย่อย และขัดเกลาถ้อยคำ สำนวน ต่างๆ เท่านั้น”

สำหรับประเด็นค่าปรับ ในการทำผิดสัญญา และการยกเลิกสัญญา ในกรณีต่างๆ นั้น จะเจรจากันว่า มีหลักคิด ที่มาอย่างไร เหมาะสมหรือไม่ เพื่อตกลงร่วมกันทั้ง 2 ฝ่าย เพื่อให้สัญญามีความสมบูรณ์มากที่สุด เพราะอายุสัญญาโครงการยาวถึง 50 ปี ซึ่งโครงการนี้การร่วมทุนกับเอกชน ดังนั้น จะใช้ฐานการคำนวนค่าปรับจากมูลค่าที่รัฐจะลงทุนซึ่งโครงการนี้ มีวงเงินที่คณะรัฐมนตรี(ครม.)อนุมัติลงทุนที่ 119,425 ล้านบาท จะไม่ได้ใช้ หลักเกณฑ์ตามระเบียบจัดซื้อจัดจ้าง ที่เป็นเรื่องที่รัฐซื้อของ โดยตรง

นายวรวุฒิกล่าวว่า หากการเจรจาเป็นไปตามแผน และ ผ่านการอนุมัติจากครม.แล้ว คาดว่าจะสามารถลงนามได้ในเดือนพ.ค. อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ รฟท. อยู่ในขั้นตอนการเสนอรายงานการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ต่อคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวลล้อม(คชก.) ซึ่งหากในเดือนพ.ค.นี้ยังไม่อนุมัติ EIA จะต้องชะลอการลงนามสัญญาไปก่อนจนกว่า EIA จะผ่าน ซึ่ง เป็นไปตามกฎหมายและทางเอกชนรับทราบในประเด็นนี้แล้ว ว่าหาก EIA Pังไม่ผ่านจะลงนามในสัญญาไม่ได้ ดังนั้น หน้าที่ของรฟท.จะต้องเร่งดำเนินการในเรื่องการส่งมอบพื้นที่ เพื่ออำนวยความสะดวกให้เอกชนมากที่สุด

*** ซีพีต่อรอง กว่า 3 เดือน หวังรฟท.รับงื่อนไขนอก RFP ลดความเสี่ยงลงทุน

สำหรับ โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม3 สนามบิน เปิดให้ยื่นประมูลเมื่อวันที่ 12 พ.ย. 2561 โดยมีเอกชนยื่นประมูล จำนวน 2 กลุ่ม คือ

1. กิจการร่วมค้า บีเอสอาร์ (BSR Joint Venture) ประกอบด้วย บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) , บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) , บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน)

2. กิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร ประกอบด้วย บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด (ประเทศไทย) , บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน)หรือ ITD , China Railway Construction Corporation Limited , บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) , บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน)หรือ BEM

โดยทั้ง 2 กลุ่มผ่านการพิจารณา ข้อเสนอซองที่1 (คุณสมบัติ) และข้อเสนอซองที่ 2 (เทคนิค) และในวันที่ 11 ธ.ค. 2561 คณะกรรมการคัดเลือกฯ ได้เปิดข้อเสนอซองที่ 3(ด้านการเงิน) ของทั้ง 2 กลุ่ม โดยตัดสินที่กลุ่มใดที่ขอรัฐอุดหนุนน้อยที่สุด จะเป็นผู้ชนะ

ซึ่ง ได้ประกาศผลการพิจารณาข้อเสนอด้านการเงิน เมื่อวันที่ 14 ธ.ค. 2561 ว่า กลุ่มซี.พี.ขอเงินสนับสนุนจากรัฐคิดเป็นมูลค่าปัจจุบันอยู่ที่ 117,227 ล้านบาท ต่ำกว่ากรอบวงเงินที่คณะรัฐมนตรี(ครม.)อนุม้ติไว้ 119,425 ล้านบาท อยู่ที่ 2,198 ล้านบาท ส่วนกลุ่มBSR เสนอวงเงินขอให้รัฐสนับสนุนคิดเป็นมูลค่าปัจจุบันอยู่ที่ 169,934 ล้านบาท

จากนั้นเมื่อวันที่ 24 ธ.ค.25 61 ได้ทำการเปิดซอง4 (ข้อเสนอเพิ่มเติม) ของกลุ่มซีพี ได้เสนอเงื่อนไขที่อยู่นอกกรอบ RFP ถึง 12 ข้อ และได้มีการเจรจาต่อรองกันอย่างเข้มข้น ใช้เวลากว่า 3 เดือน แล้ว
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 04/04/2019 9:59 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
วิทยาลัยการอาชีพบ้านไผ่เปิดสถาบันรถไฟความเร็วสูงหลู่ปัน
เผยแพร่: 3 เม.ย. 2562 13:22 โดย: ผู้จัดการออนไลน์


เปิดหลักสูตรใหม่! 'มทร.อีสาน' ยกระดับหลักสูตร เปิดสาขาวิชาใหม่ 'สาขาวิชาช่างเทคนิคระบบขนส่งทางราง' ระดับ ปวส. เพื่อต่อยอดพัฒนาระบบขนส่งทางรางในประเทศ โดยเฉพาะ 'รถไฟความเร็วสูง' ที่กำลังจะเปิดให้บริการสาย กทม.-โคราช ในอนาคต โดยเปิดรับสมัครนักศึกษาใหม่ ปีการศึกษา 2562 เเล้ววันนี้

ดูรายละเอียดประกาศรับสมัครและคุณสมบัติ
http://www.oapr.rmuti.ac.th/2016/wp-content/uploads/2019/04/รับตรง-รอบ-2.pdf
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 04/04/2019 10:00 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
ปิดดีล ไฮสปีด 3 สนามบิน! ซีพีปลดล็อกเงื่อน 12 ข้อ คาดเซ็นสัญญา ในพ.ค.
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2562, เวลา 18:41

พร็อพเพอร์ตี้
ฉลุย! ซี.พี.ยอมปลดล็อกทุกเงื่อนไขไฮสปีด อุบไต๋แหล่งเงินกู้คาดเซ็นสัญญา พ.ค.นี้
วันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2562, เวลา 18:59 น.


นายวรวุฒิ มาลา รักษาการผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ในฐานะประธานคณะกรรมการคัดเลือกโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ระยะทาง 220 กม. เงินลงทุน 224,544 ล้านบาท เปิดเผยว่า ผลการเจรจากับกลุ่มกิจการร่วมค้าบริษัท เจริญโภคภัณฑ์ จำกัดและพันธมิตรหรือกลุ่มซี.พี. เอกชนที่เสนอให้รัฐอุดหนุน 117,227 ล้านบาท น้อยกว่ากรอบวงเงินที่รัฐบาลอนุมัติที่ 119,425 ล้านบาท ในวันทึ่4 เม.ย.ตั้งแต่เวลา 09.30 น.ที่ผ่านมา

ผลสรุปกลุ่มซี.พี.ยอมรับเงื่อนไขอย่างไม่มีข้อโต้แย้ง ตามที่คณะกรรมการคัดเลือกได้ชี้แจงไปแล้ว 2 ข้อคือด้านเงื่อนเวลาและการเงิน ที่จะต้องพิจารณาตามประกาศเชิญชวนลงทุน (RFP) ทั้งหมด จึงขอให้คณะกรรมการคัดเลือกนัดหมาย เพื่อขัดเกลาถ้อยคำและสำนวนในร่างสัญญา และเจรจากันต่อในส่วนที่เป็นข้อปลีกย่อย เช่น การกำหนดเงื่อนไขกรณียกเลิกสัญญา หรือการชดเชยกรณีเหตุสุดวิสัยที่กระทบกับโครงการ เป็นต้น



“คณะกรรมการคัดเลือกจะนัดหมายกลุ่มซี.พี.ไม่เกิน 2 สัปดาห์ข้างหน้า เพื่อเจรจาในข้อปลีกย่อย และขัดเกลาสำนวนและถ้อยคำที่ยังไม่ชัดเจนในร่างสัญญาให้เป็นไปตามความเห็นของทั้งสองฝ่าย “

ทั้งนี้คาดว่าคณะทำงานของทั้งสองฝ่ายอาจจะตั้งคณะทำงานด้านกฎหมายมาร่วมกันตรวจสอบ ก่อนที่คณะกรรมการคัดเลือกจะตรวจสอบอีกรอบหลังเทศกาลสงกรานต์ ก่อนส่งให้อัยการสูงสุดตรวจร่างสัญญาต่อไป และคาดว่าจะเสนอคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (บอร์ดอีอีซี) เห็นชอบได้ภายในเดือนเม.ย.นี้ ก่อนจะเสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.)ในลำดับถัดไป โดยจะลงนามในสัญญาได้ประมาณเดือน พ.ค.

“ตอนนี้ถือว่าเดินมา 70-80% อยู่ในกระบวนการเจรจาขั้นสุดท้ายแล้ว เพราะเงื่อนไชข12 ข้อ กลุ่มซี.พี.ยอมปลดทั้งหมดแล้ว แต่ยังพูดไม่เต็มปากว่าซี.พี.ได้แล้ว เพราะยังเหลือคุยเรื่องปลีกย่อยอีกนิดหน่อย “

ส่วนการตรวจร่างสัญญาหากทั้งสองฝ่ายอยากได้ผู้เชี่ยวชาญช่วยอธิบายข้อสงสัยเพิ่มเติม เช่น ข้อสงสัยด้านวิศวกรรม เราก็มีฝ่ายช่างช่วยอธิบาย หรือเรื่องนโยบาย เราก็ขอความร่วมมือไปยัง สำนักงานนโยบายแบะแผนดฝการขนส่งและจราจร(สนข).ให้ได้ ส่วนจะนัดหมายกันเมื่อไหร่นั้น เบื้องต้นวางไว้เป็นหลังาสงกรานต์แต่ต้องดูก่อนว่าแต่ละฝ่ายจะสะดวกเมื่อใด

ขณะที่การชี้แจงเรื่องแหล่งเงินทุนจากต่างประเทศ นายวรวุฒิ กล่าวว่า กลุ่มซี.พี.บอกแต่เพียงว่าได้ตกลงกับแหล่งเงินทุนที่มีเรียบร้อยแล้ว ส่วนซี.พี.ไปคุยกับแหล่งเงินทุนรายใด สื่อต้องไปหาเอง เพราะเป็นเรื่องของฝั่งซี.พี. ส่วนความกังวลด้านการเมืองของพันธมิตรต่างประเทศ เบื้องต้นไม่มีแล้ว

ด้านการส่งมอบพื้นที่เพื่อดำเนินการก่อสร้าง เหลือเพียงคำนวณรางวัดโฉนดบริเวณมักกะสัน ส่วนที่เหลือก็ดำเนินการไปตามพ.ร.ฎ.เวนคืนที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาไปแล้ว ขณะที่รายงานวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) อยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของคณะกรรมการผู้ชำนาญการ (คชก.) โดยเป็นการขอข้อมูลเพิ่มเติมในบางส่วน ซึ่งร.ฟ.ท.ก็ได้เพิ่มเติมไปแล้ว อย่างไรก็ตามการลงนามในสัญญาจะต้องรอให้ EIA ผ่านก่อน ซึ่งซี.พี.ก็รับทราบถึงเงื่อนไขนี้แล้ว

ไฮสปีดจบ 80% 'ซีพี' จ่อคว้าโครงการ
4 เมษายน 2562
"ซีพี" เตรียมคว้าไฮสปีดเทรนเชื่อมสามสนามบิน หลังยอมถอด 12 ข้อเสนอขัดทีโออาร์ออกยกแผง รฟท.ตั้งเป้าเสนออีอีซีเห็นชอบหลังสงกรานต์ ปักธงเซ็นสัญญา พ.ค.นี้



นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า วันนี้ (4 เม.ย.) กลุ่มซีพีได้มาชี้แจงถึงผลการหารือกับพันธมิตรในประเด็นการเงินแล้ว ซึ่งระบุว่าได้ข้อสรุปทั้งหมด และยอมถอด 12 ข้อเสนอที่ขัดต่อเอกสารเสนอโครงการ (RFP) ออก ทำให้การเจรจาระหว่างคณะกรรมการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนฯ และกลุ่มซีพี ขณะนี้ถือว่าเดินทางมา 80% เหลือเพียงการเจรจารายละเอียดร่างสัญญา ประเด็นของค่าปรับกรณีทำผิดสัญญากระทบต่อภาครัฐ หลังจากนี้จะมีการตั้งคณะทำงานร่วมชุดย่อยเพื่อหารือต่อ คาดว่าหลังสงกรานต์จะแล้วเสร็จ ก่อนประชุมคณะกรรมการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนฯ อีกครั้ง และสรุปร่างสัญญาเสนอต่อคณะกรรมการอีอีซี

"วันนี้ยังพูดไม่ได้ว่าซีพีเป็นผู้ชนะการประมูล จนกว่าจะได้บรรลุข้อตกลง แต่การเจรจาคืบหน้าไปมาก เรื่องใหญ่ๆ คุยจบหมดแล้ว คงไม่มีอะไรมาเซอร์ไพร์สอีก เพราะที่ผ่านมาเราก็คุยเรื่องการเงินกันมาตั้งเป็นเดือน เจรจาอะไรกันมาก็เยอะ ตอนนี้เราก็คาดว่าหลังสรุปร่างสัญญาแล้ว น่าจะลงนามสัญญากันได้ในเดือน พ.ค.นี้ เพราะยังต้องรอการวิเคราะห์ทางสิ่งแวดล้อมด้วย ถ้าผ่านถึงจะลงนามสัญญาได้"

ปิดจ๊อบ! 'CP' ยอมถอน 12 ข้อเสนอแลกสัญญา 'ไฮสปีด' https://www.thebangkokinsight.com/126407/

"ซีพี"ปิดจ็อบคว้ารถไฟไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน
https://www.posttoday.com/economy/585555

ซี.พี. ยอมรับข้อเสนอลงทุนรถไฟ เชื่อม 3 สนามบิน
วันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2562, เวลา 18:41 น.


https://s.ch7.com/335222

นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน และรักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยภายหลังการประชุมหารือร่วมกับกิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด (ซี.พี.) และพันธมิตร เกี่ยวกับการคัดเลือกโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ระยะทาง 220 กิโลเมตร วงเงินลงทุนมูลค่า 224,544.36 ล้านบาท ว่าในการประชุมครั้งนี้เป็นการเจรจาตามนัด กับตัวแทนกลุ่มกิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน)และพันธมิตร โดยครั้งนี้เป็นการเจรจาในขั้นตอนสุดท้ายและถือว่ามีความคืบหน้าในการเจรจาประมาณ 70% จากกระบวนการทั้งหมด ซึ่งทางเอกชนได้มีการรายงานความคืบหน้าให้คณะกรรมการฯ ทราบเกี่ยวกับการหารือเรื่องการเงินภายในกลุ่มที่ร่วมลงทุน

ทั้งนี้ ทางเอกชนได้ยอมรับข้อเสนอการร่วมลงทุน Request for Proposal (RFP) ทั้งหมด 12 ข้อ ตามที่ทางคณะกรรมการชี้แจงไปในการประชุมร่วมกันครั้งที่ผ่านมา โดยจะต้องมีการปรับถ้อยคำบางถ้อยคำในเนื่อหาให้สอดคล้องกันได้ในหลักการและไม่มีประเด็นอื่นใดที่จะมาโต้แย้ง รวมถึงขอให้ทางคณะกรรมการ ซึ่งในการประชุมครั้งต่อไป จะเป็นการขัดเกลาสำนวน เรื่องการยกเลิกสัญญา เรื่องเหตุสุดวิสัย ฯ ที่ส่วนใหญ่เป็นรายละเอียดที่ฝ่ายกฎหมายของเอกชนและฝ่ายกฎหมายของ EEC จะต้องหารือร่วมกัน คาดว่าจะสามารถหารือร่วมกันได้หลังจากช่วงเทศกาลสงกรานต์แล้ว

อย่างไรก็ตาม จะดำเนินการเจรจาเกี่ยวกับการปรับถ้อยคำ สำนวน ที่ไม่ชัดเจนเช่น เรื่องค่าปรับ เป็นต้น ให้สอดคล้องความต้องการทั้ง 2 ฝ่ายภายใน 2 สัปดาห์นี้ โดยหลังจากนั้นจะส่งตัวร่างสัญญาให้อัยการสูงสุดพิจารณา และนำเสนอร่างฯให้ทางคณะกรรมการ EEC พิจารณาตามหลักการภายในเดือนนี้ก่อนเสนอให้คณะรัฐมนตรี(ครม.)พิจารณาต่อไป อย่างไรก็ตามคาดว่าน่าจะสามารถลงนามสัญญาได้ภายใน พ.ค.นี้
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 05/04/2019 5:42 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
Wisarut wrote:
ปิดดีล ไฮสปีด 3 สนามบิน! ซีพีปลดล็อกเงื่อน 12 ข้อ คาดเซ็นสัญญา ในพ.ค.
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2562, เวลา 18:41

พร็อพเพอร์ตี้
ฉลุย! ซี.พี.ยอมปลดล็อกทุกเงื่อนไขไฮสปีด อุบไต๋แหล่งเงินกู้คาดเซ็นสัญญา พ.ค.นี้
วันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2562, เวลา 18:59 น.


ถกรถไฟ3สนามบินคืบ ‘ซีพี’ถอย!จ่อลงนามเดือนหน้า

วันศุกร์ ที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2562, 06.00 น.





นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยความคืบหน้าของโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) วงเงินลงทุน 215,000 ล้านบาทว่า เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2562 ที่ผ่านมา ได้มีการเจรจากับทางกลุ่มกิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์ โฮลดิ้ง จำกัด (ซีพี) และพันธมิตรว่า การเจรจาคืบหน้าประมาณร้อยละ 70-80 หลังจากกลุ่มซีพียอมถอนข้อเสนอที่คณะกรรมการ เคยปฏิเสธไปทั้ง 12 ข้อ และหลังจากนี้จะเป็นการเจรจารายละเอียดข้อย่อยในข้อกฎหมาย เช่น เบี้ยปรับแต่ละกรณีหากมีการผิดสัญญา ซึ่งการเจรจารายละเอียดเหล่านี้จะดำเนินการทันทีหลังเทศกาลสงกรานต์

ทั้งนี้ เมื่อได้ข้อสรุปจะส่งรายละเอียดทั้งหมดให้ สำนักงานอัยการสูงสุดตรวจสอบ เชื่อว่าขั้นตอนดังกล่าวจะไม่ล่าช้า หลังจากนั้นจะมีการส่งให้ คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก(บอร์ดอีอีซี)อนุมัติผลการเจรจาในโครงการก่อนที่จะมีการเสนอให้คณะรัฐมนตรี(ครม.)พิจารณาอนุมัติเดินหน้าโครงการต่อไป

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับการลงนามกับเอกชนนั้น คาดว่าจะลงนามได้ประมาณเดือนพฤษภาคม 2562อย่างช้า

ซีพียอมถอนข้อเสนอ"รถไฟเชื่อม 3สนามบิน"
-โลจิสติกส์
พฤหัสบดีที่ 4 เมษายน 2562 เวลา 19.25 น.
ซีพียอมถอนข้อเสนอ 12 ข้อเจ้าปัญหา จบการเจรจารถไฟเชื่อม 3สนามบิน ตั้งเป้าลงนามสัญญาภายในรัฐบาลชุดนี้ 



นายวรวุฒิ มาลา รักษาการผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ในฐานะประธานคณะกรรมการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ช่วงดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา งบประมาณ 2.24 แสนล้านบาท เปิดเผยว่าภายหลังการประชุมเจรจากับกลุ่มซีพี ที่ยืดเยื้อมากว่า3เดือน ล่าสุดมีความคืบหน้าไปมากกว่า70-80% แล้ว ถือว่าสามารถเจรจาข้อเสนอ ที่เป็นประเด็นปัญหา นอกขอบเขตการประกวดราคา(ทีโออาร์) ทั้ง 12 ประเด็น ออกไปหมดแล้ว หลังจากที่ทางกลุ่มซีพีได้ไปหารือร่วมกับ กลุ่มพันธมิตรร่วมลงทุนซึ่งมีอยู่ด้วยกันหลายประเทศ รวมถึงพันธมิตรสถาบันการเงินของเอกชนต่างเห็นตรงกันว่ าสามารถจัดการกับตัวเลขความเสี่ยงได้ดีขึ้นแล้ว จึงยอมถอนข้อเสนอดังกล่าวทั้งหมด หลังจากนี้จะนัดเจรจาคณะอนุกรรมการด้านกฏหมายกับกลุ่มซีพีเพื่อปรับรายละเอียดตัวอักษรของข้อเสนอต่างๆให้เข้าใจตรงกัน ซึ่งเป็นการปรับเพียงเนื้อหาปลีกย่อยจะไม่กระทบกับข้อเสนอนอกทีโออาร แน่นอน 

นายวรวุฒิกล่าวต่อว่าเมื่อได้ข้อสรุปแล้วคาดว่า จะนัดประชุมคณะกรรมการชุดใหญ่อีกครั้งหลังจากช่วงเทศกาลสงกรานต์ เพื่อสรุปสาระสำคัญก่อนเสนอไปยังอัยการให้ตรวจสอบร่างสัญญาและส่งต่อไปที่คณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาค ตะวันออก(บอร์ดอีอีซี) ภายในปลายเดือนนี้ เพื่อนำเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)ต่อไป ดังนั้นจึงน่าจะลงนามสัญญาได้ภายใน พ.ค.นี้ อย่างไรก็ตามแม้ว่าจะเจรจาเสร็จแล้ว ยังคงต้องเร่งรัดเรื่องการเสนอรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม(EIA)ให้ได้รับความเห็นชอบจาก คณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายผลกระทบสิ่งแวดล้อม (คชก.) จึงจะสามารถลงนามสัญญาด้วย
รายงานข่าวแจ้งต่อว่า สำหรับเงื่อนไขที่ทางกลุ่ม CP ได้ยื่นข้อเสนอนอก ทีโออาร์ 11 ข้อที่เปิดเผยได้  ประกอบไปด้วย
1.ขอขยายโครงการจากเดิม 50 ปี เป็น 99 ปี
2.ขอให้รัฐอุดหนุนเงินโครงการตั้งแต่ปีแรกที่เปิดดำเนินการ รวมไปถึงการการันตีผลตอบแทน IRR 6.75% ต่อปี
3.รัฐบาลต้องจ่ายเงินอุดหนุนในปีที่ 1-6 จากเดิมที่ต้องจ่ายในวันที่เปิดดำเนินการ
4.สามารถลดสัดส่วนผู้ถือหุ้นใหญ่โครงการลงมาเหลือ 5% ได้ในอนาคต เนื่องจากบริษัทอาจนำโครงการเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
5.ขอให้ธนาคารแห่งประเทศไทยผ่อนปรนเพดานกู้เงินเครือ CP เนื่องจากปัจจุบัน CP ติดเรื่องเพดานเงินกู้หรือ Single Lending Limit ของธปท.
6.ขอให้รัฐบาลค้ำประกันการรถไฟแห่งประเทศไทย ถ้าหากมีปัญหาในภายหลัง
7.ผ่อนชำระโครงการแอร์พอร์ตลิงก์ 11 ปี ด้วยดอกเบี้ย 3% จากเดิมต้องจ่ายเงินทันทีถ้าหากรัฐบาลโอนโครงการให้
8.รัฐบาลต้องสนับสนุนจัดหาเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำที่ระดับ 4% ให้กับโครงการด้วย
9.ขอชำระเงินค่าเช่าที่ดินมักกะสันและศรีราชา เมื่อวันที่ถึงจุดที่มีผลตอบแทน
10.ถ้าหากโครงการสนามบินอู่ตะเภาล่าช้า รัฐบาลต้องจ่ายค่าชดเชยความเสียหายด้วย
11.ห้ามการรถไฟฯ ทำธุรกิจหรือเดินรถแข่งขันกับเอกชน

ส่วนข้อที่12นั้นยังไม่สามารถเปิดเผยได้ 
..
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 09/04/2019 7:12 pm    Post subject: Reply with quote

เปิดผลประโยชน์ "รฟท. - ซีพี" ไฮสปีด 2.2 แสนล้าน
ออนไลน์เมื่อ 08 เมษายน 2562
หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ หน้า 12
ฉบับ 3459 ระหว่างวันที่ 7-10 เมษายน 2562

เอกสารคัดเลือกเอกชนเข้าร่วมลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) วงเงิน 2.2 แสนล้านบาท ระบุ ผลประโยชน์ตอบแทนการลงทุนที่การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) และภาคเอกชนที่ชนะการประมูลได้รับจากการดำเนินโครงการนี้ ไว้ว่า ในส่วนของ รฟท. ที่จะได้รับประกอบด้วย 1.เงินค่าให้สิทธิร่วมลงทุนใน "แอร์พอร์ต เรลลิงค์" โดยเอกชนคู่สัญญาจะชำระให้ รฟท. 10,671,090,000 บาท ก่อนที่เอกชนคู่สัญญาจะได้รับสิทธิการให้บริการเดินรถและบำรุงรักษาโครงการเกี่ยวกับรถไฟในส่วนของ "แอร์พอร์ต เรลลิงค์"

2.รฟท. จะได้ค่าเช่าที่ดินจากการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการบริเวณสถานี "แอร์พอร์ต เรลลิงค์ มักกะสัน" และสถานีศรีราชา โดยเอกชนจะชำระให้ รฟท. ตลอดระยะเวลา 50 ปี เป็นจำนวนเงิน 52,336.77 ล้านบาท แบ่งเป็น ค่าเช่าพื้นที่ สถานี "แอร์พอร์ต เรลลิงค์ มักกะสัน" เป็นจำนวนเงิน 51,834.08 ล้านบาท และค่าเช่าพื้นที่สถานีศรีราชา เป็นจำนวนเงิน 502.69 ล้านบาท 3.รฟท. จะได้รับผลประโยชน์ของโครงการ ซึ่งประกอบด้วย การดำเนินโครงการเกี่ยวกับรถไฟ การพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการ และการดำเนินกิจการทางพาณิชย์ และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยกรณีที่รายได้รวมก่อนหักภาษีที่เกิดขึ้นในแต่ละปีสูงกว่ารายได้ที่เอกชนคู่สัญญาเสนอมามากกว่า 30% แต่ไม่เกิน 50% ให้แบ่งรายได้ให้ รฟท. 20% ของส่วนที่เกิน

กรณีที่รายได้รวมก่อนหักภาษีที่เกิดขึ้นในแต่ละปีสูงกว่ารายได้ที่เอกชนคู่สัญญาเสนอมามากกว่า 50% ขึ้นไป ให้แบ่งรายได้ให้ รฟท. 40% ของส่วนที่เกิน


4.รฟท. จะได้รับส่วนแบ่งรายได้ ในกรณีที่เอกชนคู่สัญญาต้องการเปิดเดินรถและมีรายได้จากค่าโดยสารและการดำเนินกิจการทางพาณิชย์ก่อนระยะเวลาของโครงการ โดยส่วนแบ่งรายได้ที่ รฟท. จะได้รับข้างต้นขึ้นอยู่กับการเจรจาระหว่าง รฟท. กับเอกชนคู่สัญญา

5.รฟท. ได้รับทรัพย์สินที่ใช้ในการดำเนินโครงการ ในส่วนของรถไฟความเร็วสูง และ "แอร์พอร์ต เรลลิงค์" ส่วนต่อขยาย ตามรูปแบบ BTO (Build - Transfer - Operate) ก่อนที่เอกชนคู่สัญญาจะได้รับสิทธิในการให้บริการเดินรถและบำรุงรักษาโครงการเกี่ยวกับรถไฟในส่วนของรถไฟความเร็วสูงและแอร์พอร์ตเรลลิงค์ส่วนต่อขยาย

6.รฟท. ได้รับทรัพย์สินจากส่วนการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการ บริเวณสถานี "แอร์พอร์ต เรลลิงค์ มักกะสัน" และสถานีศรีราชา ตามรูปแบบ BOT (Build - Operate - Transfer) หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาของโครงการ

ส่วนผลประโยชน์ตอบแทนของเอกชนคู่สัญญาจะได้รับเงินที่รัฐร่วมลงทุนในโครงการ กรณีนี้ กลุ่มซีพีเสนอขอวงเงินที่รับการสนับสนุนจากรัฐ 117,227 ล้านบาท ได้รับรายได้จากค่าโดยสารของโครงการเกี่ยวกับรถไฟการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการ และการดำเนินกิจการทางพาณิชย์ และในกรณีที่คู่สัญญาประสงค์จะเปิดเดินรถและจัดเก็บค่าโดยสารในส่วนของ "แอร์พอร์ต เรลลิงค์" ส่วนต่อขยายหรือช่วงอื่น ๆ ของโครงการฯ ก่อนระยะเวลาของโครงการ โดยส่วนแบ่งรายได้ขึ้นอยู่กับการเจรจาระหว่าง รฟท. กับเอกชนคู่สัญญา

ในเอกสารยังระบุว่า รฟท. จะชำระเงินที่รัฐร่วมลงทุนในโครงการ โดยแบ่งชำระให้แก่เอกชนคู่สัญญาเท่ากันทุกปีต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 10 ปี และเป็นไปตามเงื่อนไขการชำระเงินที่รัฐร่วมลงทุนในโครงการ ตามผลการดำเนินงาน เกณฑ์ประเมินผลผลิตที่เอกชนต้องส่งมอบ (Output Specification) และระดับในการบริการ (Level of Service) และระยะทางของการเดินรถ โดยจะเริ่มชำระเงินดังกล่าวภายหลังเอกชนคู่สัญญาเริ่มต้นการให้บริการเดินรถและบำรุงรักษาโครงการเกี่ยวกับรถไฟแล้ว ทั้งนี้ กรณีมีเหตุจำเป็นอาจให้ทยอยจ่ายเงินดังกล่าวให้เอกชนคู่สัญญาหลังจากเริ่มเปิดเดินรถไฟความเร็วสูงบางส่วน โดยแบ่งจ่ายเงินที่รัฐร่วมลงทุนในโครงการ ตามระยะทางของการเดินรถไฟความเร็วสูง โดยในกรณีดังกล่าวคณะกรรมการนโยบายจะเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติต่อไป

นอกจากนี้ ยังระบุว่า รฟท. จะใช้งบเพื่อการเวนคืนที่ดินเป็นจำนวนเงิน 3,570.290 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายที่ภาครัฐรับภาระหนี้โครงสร้างพื้นฐานของแอร์พอร์ต เรลลิงค์ ของ รฟท. เป็นจำนวนเงิน 22,558.06 ล้านบาท โดยภาครัฐจะใช้งบประมาณประจำปี หรือ เงินกู้ เพื่อใช้เป็นเงินลงทุนและค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการในส่วนของรัฐ ซึ่งในการยื่นข้อเสนอการร่วมลงทุน ผู้ยื่นข้อเสนอสามารถเสนอขอรับเงินที่รัฐร่วมลงทุนในโครงการ ในจำนวนที่น้อยกว่านี้ได้ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับข้อตกลงในสัญญาร่วมลงทุน โดยกำหนดระยะเวลาแบ่งจ่ายไม่ตํ่ากว่า 10 ปี เริ่มชำระเงินภายหลังเอกชนคู่สัญญาเริ่มต้นการให้บริการเดินรถและบำรุงรักษาโครงการเกี่ยวกับรถไฟ (Operation - Maintenance) และเป็นไปตามเงื่อนไขการชำระเงินที่รัฐร่วมลงทุนในโครงการ ตามผลการดำเนินงานเกณฑ์ประเมินผลผลิตที่เอกชนต้องส่งมอบ (Output Specification) ระดับในการบริการ (Level of Service) และระยะทางของการเดินรถ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 10/04/2019 10:42 am    Post subject: Reply with quote

ทางออกนอกตำรา : ทุกขลาภ ‘ไฮสปีด3สนามบิน’ กลุ่มซีพีแบกดอกเบี้ยบานตะไท
09 เมษายน 2562


นับตั้งแต่วันที่ 12 พฤศจิกายน 2561 ถึงตอนนี้เป็นเวลาร่วม 4 เดือน ที่มีการเปิดซองประมูลโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน เพื่อรองรับการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (อีอีซี) ที่รัฐบาลภายใต้การนำของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกฯ ได้สร้าง “Golden Gate” ในการลงทุนเพื่อสร้างศักยภาพของประเทศไทย ถึงตอนนี้ต้องบอกว่า “จบเกมมหากาพย์การประมูลเค้กการลงทุนก้อนโต 2.24 แสนล้านบาท” ก็คงจะไม่ผิดพลาดเท่าใดนัก

กลุ่มกิจการร่วมค้าซีพี อันประกอบด้วย บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้งฯ, บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ฯถือหุ้น 5% บริษัท ไชน่า เรลเวย์ คอนสตรัคชั่น คอร์ปอเรชั่นฯ จากประเทศจีน ถือหุ้น 10% บริษัท ช.การช่างฯ และ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพฯ (BEM) ถือหุ้น 15% เป็นผู้ชนะการประมูลไป แต่ข้อมูลภายในบอกว่า ซีพี ได้ไฮสปีดไปแล้วแต่แลกไปด้วยความยากลำบากเกินกว่าที่หุ้นส่วนพันธมิตรจะคาดคิด

ข้อมูลที่เปิดออกมา คือ กลุ่มซีพี เสนอให้รัฐสนับสนุนเงินลงทุนน้อยที่สุดแค่ 117,227 ล้านบาท ตํ่าจากกรอบที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติไว้ว่าจะรับผิดชอบ 119,425 ล้านบาท ถึง 2,198 ล้านบาท และได้ถอนข้อเสนออื่นๆ 12 ข้อ ที่อยู่เหนือกรอบทีโออาร์ และมติครม.ออกไป ซึ่งทำให้การเจรจายาวนานกว่าจะได้ข้อสรุปในวันที่ 4 เมษายน 2562

ข้อมูลที่เก็บเอาไว้และกำลังกลายเป็นเรื่องจุกอก“ซีพี และพันธมิตร” คือ โครงการนี้อาจต้องเผชิญปัญหาการขาดทุนอย่างแน่นอน แม้ว่าจะได้รับเงินกู้ดอกเบี้ยผ่อนปรนพิเศษแค่ 3% และการเสนอราคาสินค้าที่เป็น “Special Supply Loan” จากพันธมิตร

อันประกอบด้วย 1.องค์กรความร่วมมือการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคม และการพัฒนาเมืองในต่างประเทศแห่งประเทศญี่ปุ่น (JOIN) 2. บริษัท ซิติกกรุ๊ป จากประเทศจีน 3.บริษัท ไชน่า รีเสิร์ช (โฮลดิงส์) จากจีน 4.บริษัท.ซีเมนส์ จากเยอรมนี 5.บริษัท ฮุนได จากเกาหลี, 6.บริษัท Ferrovie dello Stato Italiane (FS) จากอิตาลี 7. บริษัท CRRC Sifang จากจีน 8. องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น JBIC ซึ่งว่ากันว่ากว่าจะได้ “เงื่อนไขพิเศษ” ทั้ง “เจ้าสัวธนินท์ เจียรวนนท์-ศุภชัย เจียรวนนท์” ต้องใช้ศิลปะการเจรจาอย่างหนักหน่วงทีเดียว

หลายคนอาจจะบอกว่า ในที่สุดรัฐบาลลุงตู่ก็ประเคนโครงการรถไฟไฮสปีดเทรนให้กับทุนใหญ่ซีพีตามที่คาด... ใครจะว่าอย่างไร ผมไม่รู้ แต่ผมรู้มาว่า การคว้าชัยการประมูลรถไฟไฮสปีดเทรนครั้งนี้ อาจกลายเป็นทุกขลาภของกลุ่มซีพี ไปอย่างน้อย 20-30 ปี เสียแล้ว...
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44335
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 11/04/2019 1:23 pm    Post subject: Reply with quote

ประมูลสายสีแดง/รถไฟไทย-จีนสะดุด รอไฮสปีด ซี.พี.เคลียร์จุดทับซ้อน” บางซื่อ-ดอนเมือง
ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 11 April 2019 - 09:50 น.

มาก่อนสร้างก่อน - ภาพจำลองสถานีดอนเมือง จุดทัพซ้อนของ 3 โครงการ คือ รถไฟความเร็วสูงไทย-จีน รถไฟความเร็วสูงไทย-ญี่ปุ่น และรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินซึ่งทางการรถไฟฯมีข้อสรุปแล้วว่า โครงการไหนที่พร้อมจะก่อสร้างก่อนจะเป็นผู้ลงทุน ซึ่งจุดนี้ทางกลุ่ม ซี.พี.จะเป็นผู้ลงทุนไปก่อน คิดเป็นวงเงินประมาณ 4 พันล้านบาท
เจรจาไฮสปีด ซี.พี.ยืดเยื้อ กระทบชิ่งประมูลรถไฟไทย-จีนช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง และรถไฟฟ้าสายสีแดง Missing Link ดีเลย์ รอเคลียร์แบบก่อสร้างพื้นที่ทับซ้อน 3 โครงการ หลังโยกงบฯสร้างอุโมงค์-งานโยธา 10 กม. กว่า 7.2 พันล้านรวมกับรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ร.ฟ.ท.ให้เวลา 1 ปีทุกอย่างต้องจบ คมนาคมหวั่นฉุดงานหลุดเป้า จ่อชง ครม.ขอเดินหน้าประมูลสายสีแดงไปก่อน เร่งตอกเข็มให้ทันเป้าปี’62
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ผลจากการที่ใช้เวลาเจรจากับกลุ่ม ซี.พี.และพันธมิตร ผู้เสนอราคาต่ำสุดในการประมูลรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา ระยะทาง 220 กม. วงเงิน 224,544 ล้านบาท ทำให้โครงการที่อยู่ในพื้นที่ทับซ้อนกับแนวเส้นทางต้องชะลอการประมูลโครงการออกไปก่อน เพื่อรอความชัดเจนของโครงการประกอบด้วย รถไฟสายสีแดง Missing Link และส่วนต่อขยายแอร์พอร์ตลิงก์ช่วงพญาไท-ดอนเมือง และรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน

เว้นประมูลบางซื่อ-ดอนเมือง

แหล่งข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างเปิดขายซองประมูลก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงเส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 253 กม. เงินลงทุน 179,421 ล้านบาท จำนวน 5 สัญญา รวมระยะทาง 144 กม. วงเงินรวม 58,168 ล้านบาท โดยเป็นการประมูลรูปแบบ e-Bidding

จะให้ยื่นซองวันที่ 11 เม.ย.นี้ จำนวน 2 สัญญา ได้แก่ ช่วงนวนคร-บ้านโพ ระยะทาง 23 กม. วงเงิน 13,293 ล้านบาท และช่วงดอนเมือง-นวนคร ระยะทาง 21.80 กม. เงินลงทุน 10,917 ล้านบาท อีก 3 สัญญากำลังเปิดขายทีโออาร์ประมูล รวมระยะทาง 99.26 กม. วงเงินรวม 33,958 ล้านบาท

ได้แก่ ช่วงแก่งคอย-กลางดง และปางอโศก-บ้านม้า ระยะทาง 30.21 กม. เงินลงทุน 11,063 ล้านบาท, ช่วงลำตะคอง-สีคิ้ว และกุดจิก-โคกกรวด ระยะทาง 37.45 กม. เงินลงทุน 11,655 ล้านบาท และช่วงพระแก้ว-สระบุรี ระยะทาง 31.60 กม. เงินลงทุน 11,240 ล้านบาท จะเปิดขายทีโออาร์ถึงวันที่ 13 พ.ค. และยื่นซองประมูลวันที่ 14 พ.ค.นี้



อีก 7 สัญญาที่เหลืออยู่ระหว่างปรับรายละเอียดและจัดทำราคากลางร่วมกับจีน ได้แก่ 1.อุโมงค์ช่วงมวกเหล็ก-ลำตะคอง 2.ช่วงบันไดม้า-ลำตะคอง 3.ช่วงโคกกรวด-นครราชสีมา 4.บางซื่อ-ดอนเมือง 5.งานก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุงเชียงรากน้อย 6.ช่วงบ้านโพ-พระแก้ว และช่วงสระบุรี-แก่งคอย ตั้งเป้าจะประมูลให้เสร็จในเดือน พ.ค. และเริ่มก่อสร้างในเดือน ส.ค.เป็นต้นไป

“ภายในเดือน เม.ย.นี้จะเปิดรับฟังทีโออาร์ของ 6 สัญญา อีก 1 สัญญาที่ยังเหลือคือช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง วงเงินกว่า 10,000 ล้านบาท อยู่ระหว่างรอความชัดเจนของโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินที่กำลังเจรจากับกลุ่ม ซี.พี. เพราะมีโครงสร้างที่ทับซ้อนกันอยู่”

สร้างไปก่อน 7 พันล้าน

นายวรวุฒิ มาลา รักษาการผู้ว่าการ ร.ฟ.ท.กล่าวว่า เอกชนผู้ชนะประมูลรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน จะต้องรับผิดชอบค่าก่อสร้าง จำนวน 7,210 ล้านบาท ในส่วนที่เป็นพื้นที่ทับซ้อนกับโครงการอื่น ๆ ไปก่อน แบ่งเป็นมูลค่าเงินลงทุนในส่วนของอุโมงค์ของโครงการแอร์พอร์ตเรลลิงก์ส่วนต่อขยาย และสายสีแดง Missing Link จำนวน 3,200.86 ล้านบาท และโครงสร้างงานโยธาช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง จำนวน 4,009.81 ล้านบาท

“ช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง ระยะทาง 10 กม. ซึ่งรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน จะมีการใช้ระบบรางร่วมกับ 3 โครงการ ได้แก่ สายสีแดง รถไฟความเร็วสูงไทย-จีน และรถไฟความเร็วสูงไทย-ญี่ปุ่น”

นายวรวุฒิกล่าวว่า ตามหลักการแล้วโครงการใดที่มีความพร้อมที่สุดก็ต้องลงทุนก่อสร้างโครงสร้างรองรับไว้ก่อน จากนั้นถึงมาชำระค่าก่อสร้างภายหลัง คาดว่าช่วงนี้จะมีค่าก่อสร้างประมาณ 4,000 ล้านบาท เนื่องจากพื้นที่ดอนเมืองมีค่อนข้างจำกัดจึงจำเป็นต้องใช้รางร่วมกัน

จีน-ญี่ปุ่นยังไม่เฟิร์มใช้รางร่วม

“มีแนวโน้มที่รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินจะเริ่มก่อสร้างก่อน เนื่องจากรถไฟไทย-จีนยังต้องออกแบบและการเจรจากับจีนยังไม่แล้วเสร็จ ส่วนรถไฟไทย-ญี่ปุ่นยังไม่มีข้อสรุปรูปแบบการลงทุนร่วมกับญี่ปุ่น ไม่ว่าจีนหรือญี่ปุ่นยังไงจะต้องใช้ราง ระบบอาณัติสัญญาณและระบบการเดินรถร่วมกัน ซึ่งเจ้าของเทคโนโลยีจะต้องมาคุยกัน”

ในเส้นทางที่มุ่งหน้าไปสนามบินดอนเมือง เมื่อออกจากสถานีกลางบางซื่อจะมีราง 2 คู่ แบ่งแยกไว้สำหรับรถไฟความเร็วสูงอยู่แล้ว 1 คู่ วิ่งขนานกันไปจนเมื่อใกล้จะถึงดอนเมืองทั้ง 2 คู่จะมีคู่หนึ่งยกระดับขึ้นมาซ้อนกัน เพราะบริเวณดอนเมืองมีข้อจำกัดด้านพื้นที่ โดยรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินจะอยู่ชั้นล่าง ส่วนรถไฟไทย-จีนจะอยู่ข้างบน

นายวรวุฒิกล่าวอีกว่า สำหรับสายสีแดง Missing Link ช่วงบางซื่อ-พญาไท-มักกะสัน-หัวหมาก และช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง ระยะทาง 25.9 กม. วงเงิน 44,157 ล้านบาท ได้ปรับกรอบเวลาการประมูลใหม่ให้อยู่ภายในกรอบเวลาในปี 2562 หลังจากโครงการล่าช้ามานานแล้ว นับจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติอนุมัติไปแล้วเมื่อปี 2559 ล่าสุดเสนอเรื่องให้กระทรวงคมนาคมพิจารณาก่อนเสนอให้ ครม.รับทราบแล้ว

ให้เวลา 1 ปีเคลียร์ให้จบ

“มีพื้นที่ช่วงสร้างเป็นอุโมงค์คลองแห้ง ช่วงสถานีจิตรลดาที่ต้องใช้เขตทางร่วมกัน จะให้เอกชนที่ชนะประมูลก่อสร้างงานส่วนนี้ไปก่อน มีมูลค่างานประมาณ 3,200 ล้านบาท ซึ่งแนวทางเพื่อให้รถไฟฟ้าสายสีแดงส่วนนี้เดินหน้าประมูลจะเว้นงานช่วงนี้ไป และให้ผู้รับเหมาที่ชนะก่อสร้างพื้นที่ไปก่อน ในช่วง 1 ปีที่รอความชัดเจนของรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน”

ด้านนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า พื้นที่ช่วงที่เป็นอุโมงค์ตรงสถานีจิตรลดาที่ออกแบบเป็นคลองแห้ง เดิมแยกสร้าง 3 โครงการ คือ รถไฟฟ้าสายสีแดง ส่วนต่อขยายแอร์พอร์ตลิงก์และรถไฟความเร็วสูงสายตะวันออก ด้วยพื้นที่มีจำกัด ที่ผ่านมายังไม่รู้ว่าจะแชร์พื้นที่ร่วมกันอย่างไร

คมนาคมชง ครม.ขอลุยสายสีแดง

ตอนนี้รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินที่เอกชนจะเป็นผู้ลงทุนและได้สิทธิโครงการแอร์พอร์ตลิงก์ไปด้วย ทำให้เหลือ 2 โครงการ และนำงานก่อสร้างส่วนอุโมงค์ไปรวมกับรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน หากล่าช้ากระทรวงกำลังพิจารณาว่าจะเดินหน้าสายสีแดงไปก่อน เนื่องจากมีความพร้อมมากที่สุด
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 14/04/2019 10:52 pm    Post subject: Reply with quote

ดุเดือด! เคาะประมูลรถไฟไทย-จีน 2 สัญญา 2.4 หมื่นล.หั่นราคา13-20% ทิพากรจ่อคว้าช่วง ”ดอนเมือง-นวนคร”
พร็อพเพอร์ตี้
วันที่ 11 เมษายน 2562 - 19:03 น.

รายงานข่าวแจ้งว่า เมื่อวันที่ 11 เม.ย. 2562 การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.)ได้เปิดยื่นซองประมูลก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงเส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา จำนวน 2 สัญญา เป็นการประมูลรูปแบบ e-bidding



ได้แก่ ช่วงนวนคร-บ้านโพ ระยะทาง 23 กม. ราคากลาง 13,293 ล้านบาท มีผู้รับเหมายื่นซองประมูล 8 ราย จากมาซื้อทีโออาร์ทั้งหมด 29 ราย โดยผู้เสนอราคาต่ำสุดอยู่ที่ 11,525 ล้านบาท ต่ำกว่าราคากลาง 1,768 ล้านบาทหรือ 13.30%

อีกสัญญาเป็นช่วงดอนเมือง-นวนคร ระยะทาง 21.80 กม. ราคากลาง 10,917 ล้านบาท มีผู้รับเหมายื่นซองประมูล 6 ราย จากมาซื้อทีโออาร์ทั้งหมด 27 ราย โดยผู้เสนอราคาต่ำสุด คือ บริษัท ทิพากร จำกัด เสนอราคาอยู่ที่ 8,626 ล้านบาท ต่ำกว่าราคากลาง 2,291 ล้านบาทหรือ 20.98%

โดยกรมบัญชีกลางจะตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ยื่นเสนอราคาต่ำสุดก่อนถึงจะประกาศผลผู้ชนะอย่างเป็นทางการได้ คาดว่าจะทราบผลหลังสงกรานต์นี้
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 315, 316, 317 ... 542, 543, 544  Next
Page 316 of 544

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©