RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311235
ทั่วไป:13180640
ทั้งหมด:13491875
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 195, 196, 197 ... 277, 278, 279  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 27/03/2019 12:48 pm    Post subject: Reply with quote

ไอเดียพุ่งคมนาคมหนุนใช้ค่ารถไฟฟ้าลดหย่อนภาษีได้

25 มีนาคม พ.ศ. 2562 เวลา 09:36 น.


25 มี.ค. 2562 นายสราวุธ ทรงศิวิไล ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายแผลการขนส่งและจราจร(สนข.) เปิดเผยว่าโครงการรถไฟฟ้าถือเป็นหนึ่งในหัวใจสำคัญของการแก้ปัญหาจราจรในเมืองหลวง ทว่ารูปแบบการขนส่งดังกล่าวมีราคาที่สูงมากเมื่อเทียบกับระบบขนส่งรถเมล์จนอาจเป็นภาระของประชาชน

อย่างไรก็ตามสนข.จึงมีแนวคิดมาตรการจูงใจให้คนหันมาใช้รถไฟฟ้าเตรียมเสนอให้รัฐบาลพิจารณา โดยกำหนดให้ค่ารถไฟฟ้าสามารถใช้ลดหย่อนภาษีหรือหักภาษีได้ ในกรณีที่เป็นบริษัทเอกชนหากมีค่าเดินทางรายเดือนให้พนักงานนั้นสามารถนำค่ารถไฟฟ้าในส่วนดังกล่าวมาหักภาษีได้ เช่นเดียวกับพนักงานทั่วไปหรือข้าราชการต้องมีสิทธิพิเศษค่ารถไฟฟ้าในทำนองเดียวกัน

อย่างไรก็ตามแนวทางนี้ถือว่าเป็นการวิน-วินทุกฝ่าย ทั้งลดภาระค่าใช้จ่ายประชาชน ส่วนรัฐบาลได้แก้ปัญหารถติด ลดจำนวนรถบนถนนและไม่เป็นภาระของภาคเอกชนอีกด้วยนอกจากนี้ในอนาคตควรคิดโปรโมชั่นส่งเสริมให้คนมาใช้โดยรัฐบาลเป็นคนออกเงินสนับสนุน(Subsidy) เช่นการเปิดให้ทดลองใช้รถไฟฟ้าฟรีในเส้นทางที่เปิดให้บริการในช่วงแรก ตลอดจนการลดราคา 5-10 บาท เพื่อกระตุ้นยอดผู้ใช้

นายสราวุธกล่าวต่อว่าตนเชื่อว่าการควบคุมราคาค่าโดยสารรถไฟฟ้าเป็นสิ่งที่ทุกรัฐบาลคิด เช่นเดียวกับรัฐบาลใหม่ในอนาคตที่จะส่งเสริมเรื่องนี้ไม่ว่าจะเป็นพรรคใด เพราะถ้าต้องการส่งเสริมให้คนใช้มันก็ต้องมีข้อแลกเปลี่ยนหรือสิทธิพิเศษมาเสนอเพื่อให้ประชาชนเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล ทั้งนี้หากมีมาตรการส่งเสริมดังกล่าวแล้วเชื่อว่าสัดส่วนผู้ใช้รถไฟฟ้าจะเพิ่มขึ้น เพราะปัจจุบันคิดเป็น 3-4% ของสัดส่วนทั้งหมด หากรถไฟฟ้าเฟส 1 แล้วเสร็จจะเพิ่มเป็น 10% จากนั้นขยายสัดส่วนเป็น 15% เมื่อรถไฟฟ้าเฟส 2 แล้วเสร็จ ทั้งนี้ในอนาคตจะมีพระราชบัญญัติการบริหารจัดการระบบร่วม หรือ พรบ.ตั๋วร่วม พศ.... และมีเรื่องของกติกาการคิดค่าโดยสารร่วม (Common Fare) ของระบบตั๋วร่วม (บัตรแมงมุม) เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายเรื่องการเดินทางของประชาชน


แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคมกล่าวว่าแนวทางดังกล่าวคงไม่ยากเกินไปเนื่องจากทุกวันนี้รัฐบาลเทงบประมาณไปกับการก่อสร้างและซ่อมแซมถนนปีละไม่น้อยกว่า 1 แสนล้านบาท แต่กลับยังไม่มีงบสนับสนุนระบบขนส่งรถไฟฟ้าเพื่อแก้ปัญหารถติดในกรุงเทพซึ่งถูกจัดอันดับให้เป็นหนึ่งในลำดับต้นๆ เชื่อว่ารัฐบาลจะสามารถลดภาระงบประมาณแผ่นดินในส่วนที่ไม่จำเป็นเพื่อมาสนับสนุนเรื่องนี้ได้

ทั้งนี้จากกานศึกษาพบว่า ระบบรถไฟฟ้ามีอัตราค่าใช้จ่ายมากที่สุด คิดเป็นค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 2,500 บาท/เดือน รองลงมาคือรถตู้สาธารณะ มีค่าเฉลี่ยที่ 2,100 บาท/เดือน ต่อมา คือเรือด่วนคลองแสนแสบ มีค่าเฉลี่ยที่ 1,700 บาท/เดือน ส่วนด้านรถเมล์ปรับอากาศอยู่ที 1,400 บาท/เดิอน และรถเมล์ไม่ปรับอากาศ 1,200 บาท/เดือน เช่นเดียวกันกับอัตราค่าโดยสารเรือด่วนเจ้าพระยาเฉลี่ยอยู่ที่ 1,200 บาท/เดือน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 08/04/2019 11:57 pm    Post subject: Reply with quote

พระราชกฤษฎีกาให้อำนาจ รฟม. เดินรถไฟฟ้าเชียงใหม่-พังงา-ภูเก็ต-นครราชสีมา
ประชาไท / ข่าว
Submitted on วันจันทร์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2562 15:59
พ.ร.ฎ.ออกแล้ว สร้างรถไฟฟ้า 4 จังหวัด "เชียงใหม่-พังงา-ภูเก็ต-โคราช"
โดย ไทยรัฐออนไลน์
วันจันทร์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2562 15:33 น.
ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ พระราชกฤษฎีกา กําหนดจังหวัดให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ดําเนินกิจการรถไฟฟ้า พ.ศ. 2562 ให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ดําเนินกิจการรถไฟฟ้าใน 'เชียงใหม่-พังงา-ภูเก็ต-นครราชสีมา โดยระบุว่า

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรกําหนดให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยดําเนินกิจการรถไฟฟ้า ในบางจังหวัดได้

อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 175 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา 7 (2) แห่งพระราชบัญญัติการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2543 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้

มาตรา 1 พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “ พระราชกฤษฎีกากําหนดจังหวัดให้การรถไฟฟ้า ขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยดําเนินกิจการรถไฟฟ้า พ.ศ. 2562 ”
มาตรา 2 พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป
มาตรา 3 ให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยดําเนินกิจการรถไฟฟ้าในจังหวัด ดังต่อไปนี้ได้
(1) จังหวัดเชียงใหม่
(2) จังหวัดพังงา
(3) จังหวัดภูเก็ต
(4) จังหวัดนครราชสีมา
มาตรา 4 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 09/04/2019 8:54 pm    Post subject: Reply with quote

ญี่ปุ่นแนะไทยสร้างรถไฟฟ้าอีก3สายเชื่อมเมืองหลวง-แก้รถติด
วันจันทร์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2562 เวลา 07:18 น.

1. บางนา - สุวรรณภูมิ - 25 กิโลเมตร มูลค่า 2 หมื่นล้านบาท
2. บางหว้า - ตลิ่งชัน - นนทบุรี - บางกะปิ 40 กิโลเมตร ที่ 5 หมื่นล้านบาท - ส่วแววว่าส่วนต่อขยายบีทีเอสระคนกะสายสีม่วงและสีน้ำตาลแน่ๆ เว้นแต่จะใช้การเลี่ยงทางช่วงพระราม 5 ไปออก เทคโนพระนครเหนือ วงศ์สว่าง เลียบคลองประปา แยกพงษ์เพชร ก่อนไปตามเส้นสีน้ำตาล
3. รถไฟฟ้าสายสีเทาที่ กทม. จะทำใตามเส้นเลียบด่วน ห้ได้ จาก รามอินทรา ไปถนนพระราม 9 ก่อนต่อขยายจากรามอินทราไปเชื่อมลำลูกกาเมื่อรถไฟฟ้าบีทีเอสขยายมาถึงลำลูกกาแล้ว และ ต่อจากพระราม 9 ผ่านสถานีรถไฟคลองตันไปเชื่อมสถานีเอกมัย งานนี้ไม่ดันทุรังจะไปต่อถึงเส้นพระราม 3 สะพานพระราม 9 แฮะ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 17/04/2019 2:33 am    Post subject: Reply with quote

ตอกเข็มรถไฟฟ้า 10 สายเสร็จพลิกโฉม กทม.- ลุ้นรัฐบาลใหม่สานต่อหรือจะดับฝันคนกรุง
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 16 เมษายน พ.ศ. 2562 เวลา 10:11
ปรับปรุง: 16 เมษายน พ.ศ. 2562 เวลา 11:06


เช็กลิสต์บิ๊กโปรเจกต์คมนาคมยุค คสช. รถไฟทางคู่บ้านไผ่-นครพนม 6.7 หมื่นล้าน รันเวย์ 3 สุวรรณภูมิ วงเงิน 2.1 หมื่นล้านบาท เตรียมเข้า ครม.เร็วๆ นี้ เช่นเดียวกับ 3 โครงการ PPP รถไฟฟ้าสีส้ม ศูนย์วัฒนธรรมฯ-บางขุนนนท์ 1.1 แสนล้านบาท, มอเตอร์เวย์นครปฐม-ชะอำ 7.9 หมื่นล้าน และรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-หัวหิน 7.7 หมื่นล้าน ขณะรถไฟทางคู่อีก 7 โครงการ มูลค่า 2.14 แสนล้านบาท เข้าคิวรอบอร์ดสภาพัฒน์พิจารณา ส่วนรถไฟฟ้าใน กทม.ลงมือก่อสร้างพร้อมมีกำหนดการเปิดแน่นอนแล้ว 10 สาย ไล่ไปตั้งแต่ปี 2562 ถึง 2568

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ภายในเดือน เม.ย.นี้คาดว่าจะเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อขออนุมัติโครงการรถไฟทางคู่สายใหม่ บ้านไผ่-นครพนม ระยะทาง 355 กม. วงเงิน 6.7 หมื่นล้านบาท และโครงการก่อสร้างทางวิ่งเส้นที่ 3 (รันเวย์ 3) ของสนามบินสุวรรณภูมิ วงเงินประมาณ 2.1 หมื่นล้านบาทได้ เนื่องจากคณะกรรมการ (บอร์ด) สภาพัฒน์ฯ ได้ให้ความเห็นชอบแล้ว

โดยในส่วนของทางคู่สายบ้านไผ่-นครพนมนั้นเป็นรถไฟสายใหม่ ยังไม่มีเขตทางรถไฟเดิม จึงต้องเวนคืน ซึ่งพบว่าบางช่วงต้องใช้พื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษนครพนมประมาณ 33 ไร่ ซึ่งทางกรมธนารักษ์ได้นำออกประมูลให้เอกชนไปแล้ว ดังนั้น จะเร่งหารือกับกรมธนารักษ์เพื่อเจรจาในการขอใช้พื้นที่ต่อไป

“เบื้องต้นได้หารือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) เพื่อขอเสนอ ครม.ก่อนแบบมีเงื่อนไขในเรื่องพื้นที่ทับซ้อนเพื่อไม่ให้โครงการล่าช้า ซึ่งรถไฟทางคู่ขอใช้พื้นที่ไม่มากประมาณ 2% จากพื้นที่ทั้งหมด 1,000 ไร่ ที่สำคัญ เขต ศก.พิเศษจะได้ประโยชน์เมื่อมีรถไฟทางคู่ เป็นการมองผลประโยชน์ในภาพรวมร่วมกัน”

*** 3 โครงการ PPP มูลค่า 2.66 แสนล้าน เข้าคิวรอ คสช.ทิ้งทวน

สำหรับโครงการร่วมลงทุนกับเอกชน (PPP) ซึ่งอยู่ในขั้นตอนของคณะกรรมการ PPP และเตรียมเสนอ ครม.อนุมัติมีอย่างน้อย 3 โครงการ ได้แก่ รถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-บางขุนนนท์ มูลค่า 1.1 แสนล้านบาท, มอเตอร์เวย์สายนครปฐม-ชะอำ มูลค่า 7.9 หมื่นล้านบาท และรถไฟความเร็วสูง เส้นทางกรุงเทพฯ-หัวหิน มูลค่า 7.7 หมื่นล้านบาท

*** ค้างเติ่ง รอบอร์ด สศช.อีกเพียบ

ส่วนรถไฟทางคู่อีก 7 โครงการ มูลค่ากว่า 2.14 แสนล้านบาท อยู่ในขั้นตอนจัดทำรายละเอียดเสนอบอร์ด สศช.พิจารณา รวมถึงโครงการจัดหาฝูงบินใหม่ จำนวน 38 ลำ วงเงิน 1.6 แสนล้านบาท ของบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ที่เข้าคิวรอบอร์ด สศช.พิจารณา

ทั้งนี้ กระทรวงคมนาคมได้ทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของไทยในปี 2558-2565 ระยะเวลา 8 ปี และได้ทำเป็นโครงการเร่งด่วนรายปี เป็นแผนปฏิบัติการ (Action Plan) ด้วย โดยใน Action Plan ปี 2562 มีทั้งสิ้น 21 โครงการ มูลค่ารวมกว่า 1.29 ล้านล้านบาท ที่ต้องขับเคลื่อนต่อเนื่อง และหวังว่ารัฐบาลใหม่จะให้ความสำคัญและผลักดันเพื่อให้สำเร็จตามเป้าหมาย

ย้อนถอยไปเกือบ 20 ปี ประเทศไทยมีรถไฟฟ้าให้บริการเพียง 3 สาย นับจากปี 2542 ที่รถไฟฟ้าบีทีเอส เปิดให้บริการ ต้องรออีก 5 ปีถึงได้ใช้รถไฟฟ้าสายเฉลิมมหานคร (สีน้ำเงิน) (เปิดปี 2547) ปี 2553 เปิด รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ เปิดสวนทางกับปริมาณรถยนต์ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะรถยนต์ส่วนตัวจาก “นโยบายรถคันแรก” กทม.จึงกลายเป็นเมืองหลวงที่รถติดเบอร์ต้นๆ ของโลก

“ระบบขนส่งมวลชนเท่านั้นที่จะช่วยได้ แต่การก่อสร้างไม่ต่อเนื่อง เพราะนอกจากปัญหาอุปสรรคด้านงบประมาณ การต่อต้าน ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ฯลฯ แล้ว ความไม่แน่นอนของฝ่ายนโยบาย การเปลี่ยนรัฐบาลบ่อย เป็นปัญหาใหญ่แผนงานสะดุด”

*** รัวประมูล-ระดมตอกเข็ม “รับเหมา” งานล้นมือ

การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเป็นหนึ่งในนโยบายสำคัญของรัฐบาล “คสช.” แต่เพราะ! รถไฟฟ้าต้องใช้เงินมหาศาล การใช้งบประมาณอย่างเดียวยากที่จะสำเร็จได้ รัฐบาลจึงมุ่งใช้รูปแบบเปิดให้เอกชนร่วมลงทุน (PPP) เพื่อลดภาระการลงทุนภาครัฐ ซึ่งหากเกิดการลงทุนโครงการใหญ่จะช่วยขับเคลื่อนธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องได้อีกด้วย

ในปี 2559 มีการเร่งรัดเปิดให้บริการรถไฟฟ้าสีม่วง ช่วงบางใหญ่-เตาปูน

ต่อด้วยการเชื่อมต่อ 1 สถานี ช่วงเตาปูน-บางซื่อ เมื่อ 11 ส.ค. 2560

เปิดเดินรถสายสีเขียว 1 สถานี ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ เมื่อ 3 เม.ย. 2560

และวิ่งตลอดสาย จากแบริ่ง-สมุทรปราการ เมื่อ 6 ธ.ค. 2561

ส่วนโครงการที่กำลังเร่งก่อสร้าง เช่น สีเขียวเหนือ ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต, สีน้ำเงินช่วง หัวลำโพง-บางแค และบางซื่อ-ท่าพระ, สีส้ม (ตะวันออก) ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี (สุวินทวงศ์), สีแดงเข้ม ช่วงบางซื่อ-รังสิต, สีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี,สีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง

เตรียมประมูลอีก 4 สาย ได้แก่ สีม่วงใต้ ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ 25.9 กม., สีแดงเข้ม ช่วงรังสิต-มธ.รังสิต 6.5 พันล้านบาท, สีแดงอ่อน ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช 16.6 พันล้านบาท และช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา 1.02 หมื่นล้านบาท

ช่วงของการปลดล็อก! แผนแม่บทรถไฟฟ้า 10 สาย ทำได้จริง... และเตรียมเปิดให้บริการรายปี

ปี 2562-เปิดสีน้ำเงินต่อขยาย ช่วงหัวลำโพง-บางแค ภายใน ส.ค. 2562 และสายสีเขียวใต้ ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ ทยอยเปิด เดือน ส.ค. 2562 เปิดบริการจากสถานีหมอชิต-ห้าแยกลาดพร้าว และในเดือนธ.ค. 2562 เปิดต่ออีก 4 สถานี จากห้าแยกลาดพร้าว-แยกเกษตร

ปี 2563-เปิดสายสีน้ำเงินต่อขยาย ช่วงเตาปูน-ท่าพระ 30 มี.ค. 2563

ขณะที่สายสีเขียวเหนือจะเปิดต่อจากแยกเกษตร ถึงคูคตได้ราวสิ้นปี 2563

ปี 2564-เปิดสายสีแดงเข้ม ช่วงบางซื่อ-รังสิต



- สายสีแดงอ่อน ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน

- สายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี

- สายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง

ปี 2565-เปิดสายสีแดงเข้ม ช่วงรังสิต-มธ.ศูนย์รังสิต

- สายสีแดงอ่อน ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช

- สายสีแดงอ่อน ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา

ปี 2566-เปิด สายสีส้ม ด้านตะวันออก ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี

ปี 2567-เปิดสายสีม่วงใต้ ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ

ปี 2568-เปิดสายสีส้ม ด้านตะวันตก ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-บางขุนนนท์

อีก 6 ปี กรุงเทพฯ จะพลิกโฉม! หากไม่สะดุด...ติดกับดัก...ปัญหาเดิมๆ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 20/05/2019 3:53 am    Post subject: Reply with quote

สื่อมาเลย์ตีข่าวรถไฟฟ้าเมืองหลวงไทยแพงเกินไปสำหรับคนรากหญ้า

วันอาทิตย์ ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2562, 11.59 น.


19 พ.ค. 2562 เว็บไซต์ นสพ. The Star ของมาเลเซีย เสนอข่าว "Mass transit not keeping up with ‘poor’ reality" โดยระบุว่า การก่อสร้างระบบขนส่งมวลชนในเมืองหลวงและปริมณฑลของไทย อาจไม่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนกลุ่มผู้มีรายได้น้อยมากนัก โดยอ้างอิงความเห็นของ สุเมธ องกิตติกุล (Sumet Ongkittikul) นักวิจัยด้านการคมนาคม สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ที่กล่าวว่า แม้รถไฟฟ้าจะขยายออกไปถึงชานเมือง แต่คนที่อยู่บริเวณนั้นอาจไม่ใช้งานเพราะค่าโดยสารแพงเกินไป



โดยปัจจุบันโครงการรถไฟฟ้าสายต่างๆ ที่เปิดให้บริการแล้วมีระยะทาง 120 กิโลเมตร และอยู่ระหว่างการก่อสร้างอีก 173 กิโลเมตร เช่น ในส่วนของการรถไฟแห่งประเทศไทย แบ่งเป็นสายบางซื่อ - รังสิต กับบางซื่อ - ตลิ่งชัน ในส่วนของ MRT มีสายหัวลำโพง - บางแค กับบางซื่อ - ท่าพระ ทั้งนี้กรุงเทพมหานคร (กทม.) อันเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่รับผิดชอบพื้นที่เมืองหลวงของไทย เคยวางนโยบายไว้ว่าค่าโดยสารรถไฟฟ้าตลอดสายไม่ควรเกิน 65 บาท ซึ่งคาดว่าคงมาจากการคำนวณพบว่าหากไม่จำกัดเพดานไว้ค่าโดยสารอาจสูงถึง 158 บาท

ไม่พลาดข่าวสำคัญ ติดตาม LINE@แนวหน้า ที่นี่

ถึงกระนั้น นักวิชาการจาก TDRI ก็มองว่า 65 บาทเป็นค่าโดยสารที่ค่อนข้างแพงในสายตาผู้มีรายได้น้อยอยู่ดี เช่น เดินทางไป - กลับอยู่ที่ 130 บาท เมื่อเทียบกับค่าแรงขั้นต่ำ 325 บาทต่อวัน ทั้งนี้ยังไม่รวมค่าโดยสารการต่อยานพาหนะอื่นๆ อย่างรถเมล์หรือมอเตอร์ไซค์รับจ้างจากบ้านไปยังสถานีรถไฟฟ้าที่ใกล้ที่สุดเพื่อนั่งรถไฟฟ้าไปทำงาน

ขณะที่ ชยธรรม์ พรหมศร (Chayatan Phromsorn) รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กระทรวงคมนาคม กล่าวว่า กระทรวงคมนาคมคาดหวังเรื่องการเพิ่มจำนวนรถเมล์เพื่อเชื่อมต่อระหว่างที่พักกับสถานีรถไฟฟ้า และจากสถานีรถไฟฟ้าถึงที่ทำงานและอื่นๆ ให้มากขึ้น

ขอบคุณเรื่องจาก : https://www.thestar.com.my/news/regional/2019/05/19/mass-transit-not-keeping-up-with-poor-reality/

แม้ว่ารถไฟฟ้าหรือรถไฟใต้ดินจะเพิ่มส่วนขยายเส้นทางจากใจกลางเมืองไปสู่ชานเมือง แต่ปัญหาสำคัญคือ ราคาโดยสารนี้แพงไปสำหรับคนรายได้น้อย ซึ่งอาจอาศัยอยู่ชานเมืองเป็นจำนวนหนึ่ง และทำให้คนกลุ่มนี้หลีกเลี่ยงหันไปพึ่งบริการขนส่งอื่นแทนอยู่ดี
.
เว็บไซต์ The Star ของมาเลเซีย ได้เปิดเผยรายงานที่อ้างอิงจากสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ระบุว่าระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนของประเทศไทยนั้น มีค่าโดยสารที่แพงเกินไป โดยเฉพาะกับผู้มีรายได้น้อย ซึ่งแม้ว่าจะสร้างเส้นทางใหม่ขยายไปหลายสายสู่ชานเมือง แต่กลุ่มคนเหล่านั้นก็จะหลีกเลี่ยงไปพึ่งพาระบบขนส่งอื่น เช่น รถเมล์ แทน

"ประชาชนที่อาศัยอยู่ตามชานเมือง อาจจะหลบเลี่ยงการเดินทางโดยบีทีเอส แม้ว่าจะมีการขยายเส้นทางไป เนื่องจากค่าโดยสารที่แพงเกินไป" สุเมธ องกิตติกุล ผู้อำนวยการสถาบัน TDRI กล่าว
.
ก่อนหน้านี้ทาง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่รับผิดชอบพื้นที่กรุงเทพมหานคร ได้เปิดเผยว่าตั้งเป้าเพดานค่าโดยสารไว้ที่ไม่เกิน 65 บาท อย่างน้อยถึงปี พ.ศ. 2572 ซึ่งหากไม่มีการกำหนดเพดาน ค่าโดยสารอาจพุ่งไปแตะ 158 บาท ตามระยะเส้นทางที่ยาวขึ้น
.
อ้างอิง:
https://www.thestar.com.my/news/regional/2019/05/19/mass-transit-not-keeping-up-with-poor-reality/
https://www.facebook.com/Posttoday/photos/a.10151514915819835/10157426970489835/?type=3&theater


Last edited by Wisarut on 29/05/2019 10:22 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 22/05/2019 4:13 pm    Post subject: Reply with quote

ไอเดียพุ่งคมนาคมหนุนใช้ค่ารถไฟฟ้าลดหย่อนภาษีได้

25 มีนาคม พ.ศ. 2562 เวลา 09:36 น.



25 มี.ค. 2562 นายสราวุธ ทรงศิวิไล ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายแผลการขนส่งและจราจร(สนข.) เปิดเผยว่าโครงการรถไฟฟ้าถือเป็นหนึ่งในหัวใจสำคัญของการแก้ปัญหาจราจรในเมืองหลวง ทว่ารูปแบบการขนส่งดังกล่าวมีราคาที่สูงมากเมื่อเทียบกับระบบขนส่งรถเมล์จนอาจเป็นภาระของประชาชน

อย่างไรก็ตามสนข.จึงมีแนวคิดมาตรการจูงใจให้คนหันมาใช้รถไฟฟ้าเตรียมเสนอให้รัฐบาลพิจารณา โดยกำหนดให้ค่ารถไฟฟ้าสามารถใช้ลดหย่อนภาษีหรือหักภาษีได้ ในกรณีที่เป็นบริษัทเอกชนหากมีค่าเดินทางรายเดือนให้พนักงานนั้นสามารถนำค่ารถไฟฟ้าในส่วนดังกล่าวมาหักภาษีได้ เช่นเดียวกับพนักงานทั่วไปหรือข้าราชการต้องมีสิทธิพิเศษค่ารถไฟฟ้าในทำนองเดียวกัน

อย่างไรก็ตามแนวทางนี้ถือว่าเป็นการวิน-วินทุกฝ่าย ทั้งลดภาระค่าใช้จ่ายประชาชน ส่วนรัฐบาลได้แก้ปัญหารถติด ลดจำนวนรถบนถนนและไม่เป็นภาระของภาคเอกชนอีกด้วยนอกจากนี้ในอนาคตควรคิดโปรโมชั่นส่งเสริมให้คนมาใช้โดยรัฐบาลเป็นคนออกเงินสนับสนุน(Subsidy) เช่นการเปิดให้ทดลองใช้รถไฟฟ้าฟรีในเส้นทางที่เปิดให้บริการในช่วงแรก ตลอดจนการลดราคา 5-10 บาท เพื่อกระตุ้นยอดผู้ใช้

นายสราวุธกล่าวต่อว่าตนเชื่อว่าการควบคุมราคาค่าโดยสารรถไฟฟ้าเป็นสิ่งที่ทุกรัฐบาลคิด เช่นเดียวกับรัฐบาลใหม่ในอนาคตที่จะส่งเสริมเรื่องนี้ไม่ว่าจะเป็นพรรคใด เพราะถ้าต้องการส่งเสริมให้คนใช้มันก็ต้องมีข้อแลกเปลี่ยนหรือสิทธิพิเศษมาเสนอเพื่อให้ประชาชนเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล ทั้งนี้หากมีมาตรการส่งเสริมดังกล่าวแล้วเชื่อว่าสัดส่วนผู้ใช้รถไฟฟ้าจะเพิ่มขึ้น เพราะปัจจุบันคิดเป็น 3-4% ของสัดส่วนทั้งหมด หากรถไฟฟ้าเฟส 1 แล้วเสร็จจะเพิ่มเป็น 10% จากนั้นขยายสัดส่วนเป็น 15% เมื่อรถไฟฟ้าเฟส 2 แล้วเสร็จ ทั้งนี้ในอนาคตจะมีพระราชบัญญัติการบริหารจัดการระบบร่วม หรือ พรบ.ตั๋วร่วม พศ.... และมีเรื่องของกติกาการคิดค่าโดยสารร่วม (Common Fare) ของระบบตั๋วร่วม (บัตรแมงมุม) เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายเรื่องการเดินทางของประชาชน

แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคมกล่าวว่าแนวทางดังกล่าวคงไม่ยากเกินไปเนื่องจากทุกวันนี้รัฐบาลเทงบประมาณไปกับการก่อสร้างและซ่อมแซมถนนปีละไม่น้อยกว่า 1 แสนล้านบาท แต่กลับยังไม่มีงบสนับสนุนระบบขนส่งรถไฟฟ้าเพื่อแก้ปัญหารถติดในกรุงเทพซึ่งถูกจัดอันดับให้เป็นหนึ่งในลำดับต้นๆ เชื่อว่ารัฐบาลจะสามารถลดภาระงบประมาณแผ่นดินในส่วนที่ไม่จำเป็นเพื่อมาสนับสนุนเรื่องนี้ได้

ทั้งนี้จากกานศึกษาพบว่า ระบบรถไฟฟ้ามีอัตราค่าใช้จ่ายมากที่สุด คิดเป็นค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 2,500 บาท/เดือน รองลงมาคือรถตู้สาธารณะ มีค่าเฉลี่ยที่ 2,100 บาท/เดือน ต่อมา คือเรือด่วนคลองแสนแสบ มีค่าเฉลี่ยที่ 1,700 บาท/เดือน ส่วนด้านรถเมล์ปรับอากาศอยู่ที 1,400 บาท/เดิอน และรถเมล์ไม่ปรับอากาศ 1,200 บาท/เดือน เช่นเดียวกันกับอัตราค่าโดยสารเรือด่วนเจ้าพระยาเฉลี่ยอยู่ที่ 1,200 บาท/เดือน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 27/05/2019 8:55 pm    Post subject: Reply with quote

รฟม.ลุยตอกเสาเข็มรถไฟฟ้ากทม.-ตจว. ลั่นปี’63 เริ่มสายสีส้ม-แทรมภูเก็ต
พร็อพเพอร์ตี้
วันจันทร์ที่ 27 พฤษภาคม 2562 เวลา 16:11 น.


รฟม.เดินหน้ารถไฟฟ้า กทม.-ตจว. รอ ครม.ไฟเขียวสายสีส้ม ยันตอกเสาเข็มต้นปี’63 เร่งเคลียร์รถไฟฟ้าภูเก็ตจบสัปดาห์หน้า ก่อสร้างกลางปีหน้า ส่วนเชียงใหม่ช้ากว่า 6 เดือน

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยเกี่ยวกับการดำเนินโครงการรถไฟฟ้าของ รฟม.ว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างรอสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ(สคร.) ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการคณะกรรมการนโยบายการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ(คณะกรรมการพีพีพี) นำเสนอโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี(สุวินทวงศ์) เข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี(ครม.) เนื่องจากโครงการดังกล่าวได้ผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการพีพีพีตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2562 ที่ผ่านมาแล้ว ซึ่งหาก ครม.อนุมัติ รฟม.ก็จะเดินหน้าตั้งคณะกรรมการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนโครงการดังกล่าว เพื่อหาบริษัทเข้ามาก่อสร้างส่วนต่อขยายช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-บางขุนนนท์ ระยะทางประมาณ 13.4 กิโลเมตร วงเงินประมาณ 1.4 แสนล้านบาทได้ทันที

“เมื่อตั้งคณะกรรมการคัดเลือกเอกชนขึ้นมาแล้ว จะใช้เวลาประมาณ 6 เดือนในการดำเนินการ หลังจากนั้นจึงจะได้ตัวบริษัทที่ชนะการประกวดราคาและก่อสร้างประมาณต้นปี 2563”นายภคพงศ์กล่าว


นายภคพงศ์กล่าวว่า สำหรับรูปแบบการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนในโครงการดังกล่าว จะมีลักษณะคล้ายกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง และรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี โดยจะให้บริษัทที่ชนะเป็นผู้เดินรถตลอดทั้งเส้นทางจากมีนบุรี-บางขุนนนท์ ที่มีการก่อสร้างมาประมาณ 2 ปี โดยปัจจุบันการก่อสร้างช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี มีความคืบหน้าแล้วกว่า 30% ส่วนช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-บางขุนนนท์ ทางบริษัทที่ชนะจะเป็นผู้รับผิดชอบก่อสร้างงานโยธาทั้งหมดไปก่อน จากนั้น รฟม.จึงจะทยอยจ่ายคืนเป็นระยะเวลา 10 ปี

นายภคพงศ์กล่าวว่า ในส่วนรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม(อีไอเอ)นั้น ยังอยู่ระหว่างดำเนินการตามขั้นตอน แต่มั่นใจว่าจะได้รับการอนุมัติทันตามกำหนดการที่วางไว้ เพราะขณะนี้ยังเหลือระยะเวลาอีกนานหลายเดือน

นายภคพงศ์กล่าวว่า ตามแผนการดำเนินงานยังมีโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ(วงแหวนกาญจนาภิเษก) ระยะทาง 23.6 กม. วงเงินประมาณ 1 แสนล้านบาทที่จะต้องดำเนินการก่อสร้างเช่นเดียวกัน ที่ผ่านมาผ่านอีไอเอแล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างรอทางสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์อนุญาตให้ใช้พื้นที่ก่อน เพราะแนวเส้นทางการก่อสร้างบางส่วนต้องผ่านพื้นที่ดังกล่าว

นายภคพงศ์กล่าวว่า ยังมีรถไฟฟ้ารางเบา(แทรม)ในจังหวัดภูเก็ต ระยะแรก ช่วงท่าอากาศยานภูเก็ต-ห้าแยกฉลอง ระยะทาง 41.7 กิโลเมตร(กม.) ที่อยู่ในแผนงานที่ รฟม.จะต้องดำเนินการเช่นเดียวกัน โดยขณะนี้ได้หารือกับกรมทางหลวง(ทล.) ในฐานะเจ้าของพื้นที่ที่ รฟม.จะต้องเข้าไปดำเนินการก่อสร้างคืบหน้าไปมากแล้ว โดยสัปดาห์หน้าจะมีการหารือเพื่อให้ได้ข้อสรุปที่ชัดเจนร่วมกันอีกครั้ง เบื้องต้นแนวเส้นทางจะมีทั้งทางยกระดับและทางลอดข้ามแยกต่างๆ ซึ่งจะส่งผลให้วงเงินเพิ่มสูงขึ้น ดังนั้นก็จะต้องหารือกับทางกระทรวงการคลังด้วย

“โครงการนี้เป็นแบบพีพีพี ดังนั้นจะต้องเสนอคณะกรรมการพีพีพี และ สคร.ด้วย ดังนั้นคาดว่าจะได้จะเริ่มลงมือก่อสร้างได้ประมาณกลางปี 2563 นอกจากนี้ยังมีรถไฟฟ้าเชียงใหม่ ที่มีแผนจะดำเนินการเช่นเดียวกัน โดยการก่อสร้างจะล่าช้ากว่ารถไฟฟ้าภูเก็ตประมาณ 6 เดือน เนื่องจากยังอยู่ในขั้นตอนการศึกษารายละเอียดโครงการอยู่”นายภคพงศ์กล่าว
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 28/05/2019 12:04 am    Post subject: Reply with quote

ไกรฤทธิ์ อุชุกานนท์ชัย สมัย2-ปธ.บอร์ด‘รฟม.’ : ข่าวทะลุคน
วันที่ 27 พฤษภาคม 2562 - 08:30 น.

ครม.เห็นชอบแต่งตั้ง ไกรฤทธิ์ อุชุกานนท์ชัย เป็นประธานคณะกรรมการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เป็นสมัยที่ 2 ติดต่อกัน

จากสมัยแรกที่รับตำแหน่งเมื่อเดือนพ.ย. 2560

ทั้งยังเป็นประธานบอร์ดบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ในปี 2561 ทำหน้าที่แทน ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ ที่ครบวาระ

วัย 63 ปี สำเร็จปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปริญญาโท บริหารธุรกิจ (การเงินการธนาคาร) มหาวิทยาลัยนอร์ท เท็กซัส สหรัฐอเมริกา

ปี 2539-2540 กรรมการควบคุม ธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การ, กรรมการอำนวยการองค์การบริหารสินเชื่อสังหาริมทรัพย์ (อบส.) สังกัดกระทรวงการคลัง

2545 กรรมการบริษัทท่าอากาศยานสากลกรุงเทพแห่งใหม่ จำกัด

เคยเป็นกรรมการตรวจสอบ บมจ.ปตท., กรรมการ บมจ.ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม

ประธานคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง บมจ.หลักทรัพย์จัดการกองทุนกรุงไทย

12 ต.ค. 2558 เป็นประธานกรรมการบริหาร ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)

และเป็นกรรมการอิสระ บริษัทแอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน)

ประธานกรรมการ บริษัท วี. กรุ๊ป ฮอนด้าคาร์ส จำกัด และบริษัทในเครือ

7 พ.ย. 2560 เป็นประธานบอร์ด รฟม.สมัยแรก

ล่าสุด 21 พ.ค. นั่งหัวขบวนคุมรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 28/05/2019 12:05 am    Post subject: Reply with quote

แห่ค้านร่างผังเมือง กทม.ใหม่ เอื้อกลุ่มนายทุน “วิชาญ มีนชัยนันท์” ขอปรับสีเขียวรับรถไฟฟ้า
พร็อพเพอร์ตี้
วันที่ 24 พฤษภาคม 2562 - 11:56 น.


วันที่ 24 พ.ค.2562 เวลา 09.00 น. ณ อาคารกีฬาเวสน์ 2 ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย-ญี่ปุ่น) นายทวีศักดิ์ เลิศประพันธ์ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นประธานเปิดการประชุมรับฟังข้อคิดเห็นของประชาชนต่อร่างผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร (ปรับปรุงครั้งที่ 4) มี นายสมชาย เดชากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักการวางผังและพัฒนาเมือง กล่าวรายงาน โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมกว่า 1,000 คน

การประชุมครั้งนี้ จัดขึ้นเพื่อนำเสนอสาระสำคัญของร่างผังเมืองรวมกรุงเทพมหานครให้ประชาชนได้รับทราบ พร้อมทั้งรับฟังข้อคิดเห็นจากประชาชนทุกภาคส่วน เพื่อนำมาปรับปรุงร่างผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นขั้นตอนตามมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2518 เพื่อพัฒนากรุงเทพมหานครสู่ “เมืองสร้างสุข” อย่างยั่งยืน

ที่ผ่านมากรุงเทพมหานคร ได้มีการปรับปรุงผังเมืองรวมมาอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันถือเป็นครั้งที่ 4
โดยการจัดทำผังเมืองรวม ประกอบด้วย 4 แผนผัง คือ 1.แผนผังกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการใช้ที่ดินให้เป็นไปตามทิศทางการพัฒนาเมืองในอนาคตสอดคล้องกับการขยายตัวของประชากร เศรษฐกิจ สังคมระบบโครงสร้างพื้นฐานโดยสอดคล้องกับการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนทางราง เพื่อส่งเสริมสภาพแวดล้อมและยกระดับคุณภาพชีวิตของทุกคน




2.แผนผังแสดงที่โล่งเพื่อประโยชน์ในการรักษาสภาพแวดล้อม และการนันทนาการ 3.แผนผังแสดงโครงการคมนาคมและขนส่ง แสดงโครงข่ายการคมนาคมขนส่งในอนาคต เพื่อให้สอดคล้องกับการพัฒนาและขยายตัวของเมือง มีการเพิ่มโครงข่ายถนนมากขึ้นเป็นฟีดเดอร์ให้รถไฟฟ้า

4.แผนผังแสดงโครงการกิจการสาธารณูปโภค เพื่อส่งเสริมและพัฒนาระบบสาธารณูปโภคให้เพียงพอเหมาะสมกับการให้บริการ

นอกจากนี้ยังได้เพิ่มเติมแนวคิด “การพัฒนาพื้นที่โดยรอบ สถานีขนส่งมวลชน หรือ (TOD)” เพื่อส่งเสริมให้เกิดการใช้ประโยชน์ที่ดินแบบผสมผสานและมีความหนาแน่นสูงในพื้นที่โดยรอบสถานีรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน

และมีการเพิ่มอัตราส่วนพื้นที่อาคารรวมต่อพื้นที่ดิน หรือ FAR Bonus จาก 5 รูปแบบ เป็น 8 รูปแบบ และเพิ่มมาตรการโอนสิทธิการพัฒนา (TDR) ซึ่งเป็นมาตรการสร้างความเป็นธรรมให้กับเจ้าของอาคารอนุรักษ์และพื้นที่อนุรักษ์ชนบทและเกษตรกรรม และมาตรการโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ (PUD) ถือเป็นมาตรการส่งเสริมการพัฒนาที่ดินสำหรับโครงการขนาดใหญ่ให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น

หลังจากการประชุมในวันนี้ กรุงเทพมหานครจะนำข้อคิดเห็น ไปปรับแก้ไขร่างผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร จากนั้นจึงเสนอต่อคณะที่ปรึกษาผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร คณะกรรมการผังเมือง เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ ก่อนเข้าสู่ขั้นตอนการปิดประกาศฯ 90 วัน



จะเป็นอีกขั้นตอนหนึ่งที่ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการแสดงข้อคิดเห็นได้ ต่อจากนั้นก็จะเข้าสู่ขั้นตอนที่เกี่ยวข้องกับการประกาศราชกิจจานุเบกษาบังคับใช้กฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมกรุงเทพมหานครฉบับใหม่ต่อไป ซึ่งคาดว่ากรุงเทพมหานครจะมีผังเมืองรวมฉบับใหม่ใช้บังคับแทนฉบับปัจจุบัน ประมาณปลายปี 2563

นายวิชาญ มีนชัยนันท์ กล่าวว่า พื้นที่ฝั่งตะวันตกมีการยกเลิกพื้นที่สีเขียวและเขียวลายเป็นพื้นที่สีเหลืองพัฒนาที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย มีแค่พื้นที่เขียวลายบริเวณเขตบางขุนเทียน ขณะที่ฝั่งตะวันออกแม้จะลดพื้นที่ฟลัดเวย์เหลือ 1 ใน 3 แต่ยังมีอยู่ในแนวถนนสายหลักเช่น ถนนสุวินทวงศ์ ถนนหทัยราษฎร์ ถนนนิมิตรใหม่ ถ้าเป็นไปได้อยากจะให้ยกเลิกเนื่องจากมีการก่อสร้างรถไฟฟ้ามาถึงแล้ว การเดินทางสะดวกขึ้น สวนทางกับพื้นที่ชั้นในที่ผังเมืองส่งเสริมให้มีการพัฒนาและแชร์ริ่งพื้นที่ได้

“อยากจะให้นำพื้นที่ค่ายทหาร เรือนจำ มารวมกันเป็นสวนสาธารณะ อย่าหวังการพัฒนาจากภาคธุรกิจที่จะขอพื้นที่มากขึ้นเป็นการแลกเปลี่ยน”



ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขณะที่ความคิดเห็นอื่นๆที่มีต่อผังเมืองรวมกรุงเทพมหานครฉบับใหม่มีหลากหลาย. เช่น กรณีการลดพื้นที่ก่อสร้างที่จอดรถในอาคารพื้นที่ในเมืองจาก 40% เหลือ 25% เป็นการตอบสนองกลุ่มทุนมากกว่าจะพัฒนาเมือง, ทางด้านประชนในเขตลาดกระบังอยากจะขอให้ปรับสีผังเมืองการใช้ประโยชน์ที่ดินให้พัฒนาที่อยู่อาศัยรวมได้ เนื่องจากเป็นแหล่งงานและการศึกษา

ทั้งนี้มีทางศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภคมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (มพบ.) นำโดยนางนฤมล เมฆบริสุทธิ์ เป็นผู้นำยื่นหนังสือร้องเรียนกรณีผังเมืองใหม่เอื้อต่อการพัฒนาอาคารสูงในซอย เนื่องจากที่ผ่านมามีผู้ได้รับความเสียหายจากการก่อสร้างอาคารสูงจำนวนมาก จีงขอให้มีการทบทวนใหม่
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 29/05/2019 10:01 am    Post subject: Reply with quote

ทีดีอาร์ไอชี้ "ค่ารถไฟฟ้าไทย" แพงกว่าสิงคโปร์20% ทำคนจนเข้าไม่ถึง
วันอังคารที่ 28 พฤษภาคม 2562 เวลา 12:53 น.

"ทีดีอาร์ไอ" ชี้ค่าโดยสารรถไฟฟ้าไทยสูงกว่าสิงคโปร์ 20% จี้รัฐเร่งอุดหนุนค่าโดยสารหลังคนจนเข้าไม่ถึง เสนอค่ารถไฟฟ้าลดหย่อนภาษีปีละ 10,000 บาท

"กรมรางฯ"จะพิจารณาค่าโดยสารรถไฟฟ้าไทยแพงจริง
อังคารที่ 28 พฤษภาคม 2562 เวลา 18.30 น.

เปิดภารกิจด่วนกรมรางฯ แก้ปัญหาจุดตัดรถไฟ พร้อมปรับปรุงค่าโดยสารรถไฟฟ้าในอนาคตต้องให้คนทิ้งรถส่วนตัวมาใช้ขนส่งสาธารณะ ทีดีอาร์ไอเสนอเพิ่มวงเงินบัตรคนจน


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 28 พ.ค. ที่โรงแรมพูลแมน บางกอก คิงเพาเวอร์ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ร่วมกับ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) จัดประชุมกลุ่มย่อยรับฟังความคิดเห็น ครั้งที่ 1 โครงการศึกษาระบบกำกับดูแลกิจการขนส่งทางรางสำหรับประเทศไทย เรื่อง “บทบาทของกรมการขนส่งทางราง” ซึ่งมีผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมประชุมกว่า 80 คน โดยนายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ รองอธิบดีกรมการขนส่งทางราง กล่าวว่า กรมการขนส่งทางรางกำลังขับเคลื่อนกฎหมายเพื่อให้มีอำนาจในการกำกับ ทั้งความปลอดภัย คุณภาพการให้บริการ และอัตราค่าโดยสารที่เป็นธรรม ขณะนี้คณะกรรมการกฤษฎีกา กำลังพิจารณาร่าง พ.ร.บ.กรมการขนส่งทางบก ซึ่งจะนำความคิดเห็นครั้งนี้รายงานต่อคณะกรรมการกฤษฎีกาด้วย คาดว่าภายในปีนี้กฎหมายน่าจะผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภาได้

นายสรพงศ์ กล่าวต่อว่า กรมการขนส่งทางราง พร้อมขับเคลื่อนผลักดันให้ประชาชนโดยเฉพาะในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ทิ้งรถส่วนตัวหันมาใช้ระบบขนส่งสาธารณะ โดยเฉพาะระบบรางมากขึ้น เพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรติดขัด แต่ทั้งนี้หากจะให้เห็นผลชัดเจนขึ้นคงต้องรอให้โครงข่ายรถไฟฟ้าหลากสีก่อสร้างแล้วเสร็จทั้งหมดก่อนประมาณปี 63 ซึ่งเมื่อนั้นกรมราง ก็จะออกมาตรการต่างๆ เพื่อจูงใจให้คนมาใช้บริการมากขึ้น เช่น ลดหย่อนภาษีให้กับประชาชนที่ใช้บริการรถไฟฟ้า หรือการนำภาษีที่ได้จากการต่อภาษีรถยนต์ประจำปี หรือกองทุนอื่นๆ มาอุดหนุนค่าโดยสาร เหล่านี้เป็นแนวทางที่ต้องหารือกันต่อไป
ด้านนายสุเมธ องกิตติกุล ผู้อำนวยการวิจัย นโยบายด้านการขนส่งและโลจิสติกส์ ทีดีอาร์ไอ กล่าวว่า ภารกิจเร่งด่วนที่กรมรางต้องดำเนินการคือ 1.มาตรฐานความปลอดภัย โดยเฉพาะปัญหาจุดตัดรถไฟในต่างจังหวัด ปัจจุบันมีอุบัติเหตุเกิดขึ้นบ่อยมาก และ 2.การปรับปรุงอัตราค่าโดยสาร ซึ่งเรื่องนี้คงไม่สามารถดำเนินการได้ทันที เพราะยังติดสัญญาสัมปทานต่างๆ จึงต้องใช้เวลาสักระยะ แต่ก็ต้องเริ่มเข้าไปดูและหาแนวทางในการปรับปรุงไว้ก่อน อย่างไรก็ตามจากการศึกษาวิจัยค่าโดยสารรถไฟฟ้าของไทย เมื่อเทียบกับประเทศสิงคโปร์ พบว่า ประเทศไทยเก็บแพงกว่าสิงคโปร์กว่า 20% โดยปัจจุบันประชาชนที่ใช้บริการรถไฟฟ้าเกือบทุกวัน จะมีค่าใช้จ่าย20 วันประมาณ 1,200-1,300 บาท หรือปีละหมื่นกว่าบาท




นายสุเมธ กล่าวต่อว่า ทีดีอาร์ไอมีแนวคิดว่าควรให้ประชาชนสามารถนำค่าใช้จ่ายในการโดยสารรถไฟฟ้ามาลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลประจำปีได้ ซึ่งมาตรการดังกล่าวประเทศญี่ปุ่นได้ใช้ดำเนินการแล้ว และประสบผลสำเร็จอย่างมาก นอกจากนี้รัฐบาลควรเพิ่มวงเงินในบัตรสวัสดิการแห่งรัฐจาก 500 บาท เป็น 700-800 บาท เพื่ออุดหนุนการเดินทางให้แก่ประชาชนทุกกลุ่มได้ใช้บริการ เพราะทุกวันนี้ประชาชนที่ใช้บริการส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มคนรายได้ปานกลาง ถึงค่อนข้างสูง

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การรับฟังความคิดเห็นครั้งนี้ มีการแสดงความคิดเห็นกันอย่างกว้างขวาง ส่วนใหญ่อยากเห็นกรมรางเป็นหน่วยงานเดียวที่กำหนดค่าโดยสาร ไม่ใช่เหมือนในปัจจุบันที่ขึ้นอยู่กับแต่ละหน่วยงาน ส่งผลให้ค่าโดยสารปรับเพิ่มไม่พร้อมกัน และสูงมากยิ่งขึ้นในอนาคต โดยอยากให้ยึดโมเดลของประเทศสิงคโปร์ที่มีหน่วยงาน PUBLIC TRANSPORT COUNCIL เป็นผู้กำหนดอัตราค่าโดยสาร ซึ่งในหน่วยงานนี้จะมีตัวแทนของเอ็นจีโอ สื่อมวลชน และนักวิชาการร่วมอยู่ด้วย เพื่อให้การพิจารณาค่าโดยสารเป็นธรรม และเป็นที่ยอมรับ ไม่ต้องเกิดการฟ้องร้องต่อศาลกันเมื่อมีการขึ้นค่าโดยสา...
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 195, 196, 197 ... 277, 278, 279  Next
Page 196 of 279

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©