RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311280
ทั่วไป:13261525
ทั้งหมด:13572805
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - โครงการรถไฟฟ้าภูเก็ต
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

โครงการรถไฟฟ้าภูเก็ต
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 16, 17, 18 ... 25, 26, 27  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42702
Location: NECTEC

PostPosted: 15/01/2019 10:12 am    Post subject: Reply with quote

"ภูเก็ต-เชียงใหม่-โคราช" ยิ้มรอรถไฟฟ้าสร้างในปี63
คอลัมน์ : มุมคนเมือง
โดย “เทียนหยด”
อังคารที่ 15 มกราคม 2562 เวลา 08.00 น.

สัปดาห์นี้ไปส่องโครงการของรัฐ ความหวังคนต่างจังหวัดได้นั่งรถไฟฟ้าเหมือนคนกรุง เปิดประมูลเริ่มก่อสร้างกลางปี 63 คาดแล้วเสร็จปี 66 วางแผนเอกชนสัมปทาน 30 ปี

สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ศึกษาระบบขนส่งมวลชนในรูปแบบของรถไฟฟ้าใน 6 จังหวัดเสร็จเรียบร้อยแล้ว ประกอบด้วย จ.ภูเก็ต เชียงใหม่ นครราชสีมา ขอนแก่น สงขลา และ พิษณุโลก อยู่ระหว่างศึกษาเพิ่มอีก 1 จังหวัด คือ อุดรธานี แต่ผลการศึกษาระบุให้เป็นรถเมล์ไฟฟ้า ซึ่งเหมาะสมกับสภาพของเมืองในปัจจุบันมากกว่า

ในจำนวน 6 จังหวัดที่ประชุมคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) มอบหมายให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน (รฟม.) รับผิดชอบ 4 จังหวัด ส่วนอีก 2 จังหวัด สงขลาและขอนแก่น ให้ท้องถิ่นรับผิดชอบ ขณะนี้รฟม.อยู่ระหว่างศึกษารูปแบบการลงทุน หมายความว่านอกจากรฟม.จะมีหน้าที่รับผิดชอบโครงการรถไฟฟ้าในกรุงเทพฯ และปริมณฑลแล้ว ยังก่อสร้างรถไฟฟ้าได้ทั่วประเทศทั้งเหนือ ใต้ อีสานและภาคกลาง



นายธีรพันธ์ เตชะศิรินุกูล รองผู้ว่าการ (ฝ่ายกลยุทธ์และแผน) รฟม. บอกว่า ความคืบหน้า โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าภูเก็ต ล่าสุดเมื่อวันที่ 11 ม.ค.ที่ผ่านมา ได้จัดสัมมนาการทดสอบความสนใจของนักลงทุน (Market Sounding) ที่โรงแรมแกรนด์ เมอร์เคียว กรุงเทพ ฟอร์จูน โครงการระยะ (เฟส) 1 ช่วงท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต-ห้าแยกฉลอง ระยะทาง 42 กม. 21 สถานี งบประมาณ 34,000 ล้านบาท หลังจากได้จัดที่จ.ภูเก็ตเมื่อวันที่ 8 ม.ค.ที่ผ่านมา ภาพรวมการจัดงานทั้ง 2 จุด ได้รับความสนใจจากนักลงทุนไทยและต่างประเทศจำนวนมาก ทั้งฝรั่งเศส อิตาลี เยอรมัน และจีน ในส่วนของไทยมีทั้งบริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ บีทีเอส และบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีอีเอ็ม รวมทั้งบริษัทก่อสร้างยักษ์ใหญ่ด้วย

รฟม.กำลังเร่งหารือกรมทางหลวง (ทล.) ในรายละเอียดของการปรับแบบก่อสร้างเป็นระบบใต้ดินหรือยกระดับแทนระดับดินบริเวณจุดกลับรถ 2 จุด เพราะทล.ห่วงอันตรายหากแชร์เลนร่วมกับรถประเภทอื่นเนื่องจากเขตทางหลวงแคบ แต่ค่าก่อสร้างเพิ่มจุดละประมาณ 500-800 ล้านบาท หรือรวมแล้ว 1-1.6 พันล้านบาท โดยจะทำอุโมงค์ให้รถไฟฟ้าวิ่งลอดถนนคล้ายอุโมงค์รัชโยธิน คาดว่าต้องใช้เวลาผ่านกระบวนการต่างๆ เพื่อเปิดประมูลให้ได้ภายในต้นปี 63 และเริ่มก่อสร้างกลางปี 63 ให้แล้วเสร็จภายในปี 66

“รฟม.จะใช้รูปแบบการลงทุนแบบ PPP Net Cost โดยรัฐจะเป็นผู้จัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน และสนับสนุนค่างานโยธาไม่เกิน 17,000-18,000 ล้านบาทให้เอกชนสัมปทาน 30 ปี ค่าโดยสาร18 -137 บาท แต่บริษัทที่ปรึกษาได้เคาะค่าโดยสารสูงสุดไม่เกิน 123 บาท ประมาณการผู้โดยสารปีแรก (ปี 66) 3,190 คน/วัน และอีก 30 ปี ในปี 96 จะมีผู้โดยสารใช้บริกร 120,420 คน/วัน” รองผู้ว่าฯ รฟม. แจงค่าโดยสารรถไฟฟ้าเมืองภูเก็ต



ด้านรถไฟฟ้า จ.เชียงใหม่ (แทรม) สายสีแดง (รพ.นครพิงค์-บิ๊กซีหางดง) 12 สถานี 12.54 กม. ได้บริษัทที่ปรึกษาศึกษาแนวทางการก่อสร้างและรูปแบบการลงทุนแล้ว คาดว่าจะลงนามสัญญาภายในเดือนม.ค.นี้

สำหรับจ.นครราชสีมา สายสีเขียวเข้ม ตลาดเซฟวัน-ถึงสถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์ 11.17 กม. 18 สถานี วงเงิน 3.26 หมื่นล้านบาท เตรียมเปิดประกวดราคาหาที่ปรึกษาเช่นกัน ทั้ง 2 โครงการนี้จะใช้เวลาศึกษา 6 เดือน หากไม่ติดปัญหาจะเริ่มเห็นความชัดเจนในการร่างเงื่อนไขการประมูล หรือทีโออาร์ในปี 62 ด้วยเช่นกัน เพื่อทยอยประมูลพร้อมกันปลายปีนี้หรือต้นปีหน้า ให้ประชาชนได้เห็นการก่อสร้างในปี 63 ทั้ง 3 เส้นทาง

แจงรายละเอียดโครงการแทรมเชียงใหม่ มี 3เส้นทางหลัก รวมระยะทาง 34.93 กม. มูลค่าการลงทุนรวม 95,321.66 ล้านบาท เกือบแสนล้าน ประกอบด้วย 1.สายสีแดง (รพ.นครพิงค์-บิ๊กซีหางดง) 12 สถานี 12.54 กม. 2.สายสีน้ำเงิน (สวนสัตว์เชียงใหม่-ห้างพรอมเมนาดา) 13 สถานี 10.47 กม. และ 3.สายสีเขียว (แยกรวมโชค-สนามบินเชียงใหม่) 10 สถานี 11.92 กม.

จะนำร่องสายสีแดงก่อนมีทางวิ่งระดับดิน (เขตชานเมืองวิ่งร่วมกับการจราจรปกติบางส่วน) ผสมกับใต้ดิน(เขตเมือง) เริ่มต้นจาก รพ.นครพิงค์ ผ่านศูนย์ราชการเชียงใหม่ และสนามกีฬา 700 ปีต่อไปศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเชียงใหม่ และเริ่มใช้ทางวิ่งใต้ดินบริเวณแยกข่วงสิงห์สู่ รพ.มหาราชนครเชียงใหม่ และท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่ เมื่อพ้นเขตท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่ จะกลับขึ้นใช้ทางวิ่งบนดินสิ้นสุดที่แยกแม่เหียะสมานสามัคคี (แยกบิ๊กซีหางดง)



ปิดท้ายกับรถไฟฟ้ารางเบานครราชสีมา ระยะทางรวม 50.09 กม. มี 3 แนวเส้นทาง คือ 1.สายสีเขียว ช่วงตลาดเซฟวัน-ถนนมุขมนตรี-สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์ ระยะทาง 11.17 กม. 2.สายสีส้ม ช่วงแยกประโดก-ถนนช้างเผือก-คูเมืองเก่า 9.81 กม.และ 3.สายสีม่วง ช่วงตลาดเซฟวัน-ถนนมิตรภาพ-สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์ 7.14 กม. และส่วนต่อขยาย ช่วงมหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล-แยกจอหอ-ค่ายสุรนารายณ์ 4.48 กม.มี 22 สถานี โดยนำร่องก่อสร้างสายสีเขียวเป็นอันดับแรก

คนต่างจังหวัดยังรอคอยอย่างมีความหวัง ให้ฝันที่จะนั่งรถไฟฟ้าเหมือนคนกรุงเทพฯ ได้เป็นจริง เพื่อยกระดับให้บริการระบบขนส่งสาธารณะ และจูงใจให้ประชาชนหันไปใช้แทนรถยนต์ส่วนตัว ลดปัญหารถติดซึ่งในตัวเมืองของหลายจังหวัดกำลังวิกฤติเหมือนในกรุงเทพฯ
................................
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42702
Location: NECTEC

PostPosted: 15/01/2019 10:13 am    Post subject: Reply with quote

แผ่นพับโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต

ระยะที่ 1 ท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต - ห้าแยกฉลองระยะทางประมาณ 42 กิโลเมตร
จำนวนสถานี 21 สถานี
- ระดับพื้นดิน 19 สถานี
- ยกระดับ 1 สถานี
- ใต้ดิน 1 สถานี
ใช้ระบบทางคู่ (Double Track) และใช้ช่องจราจรร่วมกับรถยนต์ในบางช่วง
https://www.facebook.com/ake.bluechifamily/posts/2114074188639515
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42702
Location: NECTEC

PostPosted: 18/01/2019 2:53 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
แผ่นพับโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต

ระยะที่ 1 ท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต - ห้าแยกฉลองระยะทางประมาณ 42 กิโลเมตร
จำนวนสถานี 21 สถานี
- ระดับพื้นดิน 19 สถานี
- ยกระดับ 1 สถานี
- ใต้ดิน 1 สถานี
ใช้ระบบทางคู่ (Double Track) และใช้ช่องจราจรร่วมกับรถยนต์ในบางช่วง
https://www.facebook.com/ake.bluechifamily/posts/2114074188639515

รฟม.ดันประมูลPPP รถไฟฟ้าภูเก็ต Q3/62 ก่อสร้าง3 ปีครึ่ง เปิดวิ่งปี 66
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 12 มกราคม 2562 เวลา 09:44


รฟม.ฟังเสียงเอกชนไทย/เทศ เตรียมเปิดประมูลรถไฟฟ้าภูเก็ตกว่า 3.48 หมื่นล. ในไตรมาส3/62 เร่งคุย กรมทางหลวง ปรับแบบช่วงทางแยก เป็นใต้ดิน อีก2 แห่ง คาดงบเวนคืน1.5 พันล. เปิดเฟสแรก”สนามบินภูเก็ต-ห้าแยกฉลอง คดส. 100-137 บาท

นายธีรพันธ์ เตชะศิรินุกูล รองผู้ว่าฝ่ายกลยุทธ์และแผน การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กล่าวว่า รฟม.ได้จัดงานสัมมนาการทดสอบความสนใจของภาคเอกชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (Market Sounding) โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต เพื่อรับฟังความเห็นและข้อเสนอแนะจากตัวแทนเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) และผู้ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ เพื่อนำไปประกอบการศึกษารูปแบบการให้เอกชนร่วมลงทุนโครงการต่อไป

ซึ่งตามขั้นตอนหลังจากสรุปผล จะนำเสนอต่อคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟม. กระทรวงคมนาคม คณะกรรมการนโยบายการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (คณะกรรมการ PPP) โดยคาดว่าจะนำเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) เพื่อพิจารณาอนุมัติโครงการได้ในกลางปี 2562

ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวเป็นโครงการ PPP Fast Track คาดว่าจะสามารถเชิญชวนร่วมลงทุนได้ในไตรมาส 3 ปี 2562 และจะใช้ระยะเวลาพิจารณาข้อเสนอ ซึ่งจะรู้ผลผู้ชนะและลงนามสัญญาได้ประมาณกลางปี 2563 เริ่มดำเนินการก่อสร้างภายในปี 2563 และเปิดให้บริการได้ในปี 2566

สำหรับโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต มีมูลค่าโครงการประมาณ 3.48 หมื่นล้านบาท ขณะนี้อยู่ระหว่างการปรับแบบตามข้อเสนอกรมทางหลวง เพื่อลดผลกระทบการจราจร ประมาณ 2 จุด โดยปรับให้เป็นทางลอด เลี่ยงช่วงยูเทิร์นและทางแยก ซึ่งอาจจะทำให้มี

ค่าก่อสร้างเพิ่มแห่งละประมาณ 500-800 ล้านบาท

ส่วนการศึกษารายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) นั้นขณะเดียวกันอยู่ในขั้นตอนคณะกรรมการผู้ชำนาญการ(คชก.) พิจารณารายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม.

"โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต รฟม.รับมาดำเนินการจากสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ซึ่งเป็นผู้ออกแบบ โดยได้จัดรับฟังความคิดเห็นของคนในพื้นที่ จ.ภูเก็ต บางส่วนกังวลโครงการตั้งอยู่ระดับเดียวกับพื้นดิน จะทำให้เกิดปัญหาจรจาจร รฟม.จะดูเส้นทางเดินรถให้เหมาะสมที่สุด" รองผู้ว่า รฟม.กล่าว

ทั้งนี้ โครงการเป็น PPP รูปแบบคล้ายกับสายสีชมพูและสายสีเหลือง โดยภาครัฐจะอุดหนุนค่าก่อสร้างงานโยธา วงเงิน 1.78 หมื่นล้านบาท ค่างานที่เกี่ยวข้องกับการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน 1.5 พันล้านบาท โดยให้เอกชนลงทุนไปก่อน รวมทั้งลงทุนระบบรถไฟฟ้า และจัดหาขบวนรถไฟฟ้า การเดินรถและการซ่อมบำรุงรักษา ส่วนงานก่อสร้างคาดว่าจะใช้ระยะเวลา 3-3.5 ปี และให้ระยะเวลาสัมปทาน 30 ปี ในการให้บริการ โดยในช่วงเวลา 30 ปี (ปี 66-96) ประมาณการรายได้โครงการจากค่าโดยสารรวม 7.45 หมื่นล้านบาท

โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต มีระบบรถไฟฟ้ารางเบา (LRT/Tram) แบ่งการดำเนินการออกเป็น 2 ระยะ โดยระยะที่ 1 ช่วงท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต-ห้าแยกฉลอง ระยะทาง 41.7 กม. และระยะที่ 2 ช่วงท่านุ่น-เมืองใหม่ ระยะทาง 16.8 กม. ซึ่ง รฟม.จะเริ่มดำเนินการระยะที่ 1 ก่อนที่มีจำนวนสถานี 21 สถานี แบ่งเป็นระดับพื้นดิน 19 สถานี สถานียกระดับ 1 สถานี และสถานีใต้ดิน 1 สถานี

กำหนดอัตราค่าโดยสารแบบระยะทาง สูงสุดประมาณ 100-137 บาทต่อเที่ยว หรือแรกเข้า 18 บาท เก็บตามระยะทาง กม.ละ 2 บาท โดยจากวิเคราะห์พบว่าโครงการนี้จะให้ผลตอบแทนการลงทุนทางเศรษฐศาสตร์ (EIRR) ประมาณ 12.5%

นายธีรพันธ์ กล่าวว่า โครงการนี้ถือว่าเป็นโครงการใหญ่ มีนักลงทุนจากต่างประเทศให้ความสนใจ ได้แก่ ฝรั่งเศส อิตาลี จีน ญี่ปุ่น ส่วนเอกชนไทย มีผู้ให้บริการรถไฟฟ้าทั้ง 2 ราย ได้แก่ บมจ.บีทีเอส กรุ๊ปโฮลดิ้ง (BTS) และ บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM) ให้ความสนใจ และบริษัทผู้รับเหมารายใหญ่ รวมทั้งกลุ่มทุนท้องถิ่น เช่น บริษัท ภูเก็ตพัฒนาเมือง จำกัด

นอกจากนี้ รฟม.ยังมีโครงการระบบขนส่งมวลชนในภูมิภาคอีก ได้แก่ เชียงใหม่ นครราชสีมา และพิษณุโลก โดยเป็นระบบรถไฟฟ้ารางเบาเช่นกัน ในส่วน จ.เชียงใหม่ ขณะนี้ รฟม.กำลังว่าจ้างที่ปรึกษาออกแบบ คาดเริ่มดำเนินการและออกแบบแล้วเสร็จกลางปี 2563, จ.นครราชสีมา คาดว่าจะคัดเลือกที่ปรึกษาออกแบบในอีก 3 เดือน และ จ.พิษณุโลก เตรียมเสนอ ครม.ออก พ.ร.ฎ.มอบอำนาจให้ รฟม.ดำเนินโครงการ โดยจะเสนอบอร์ด รฟม.พิจารณาในที่ 25 ม.ค.2562


https://www.youtube.com/watch?v=clSvmpqI9zo
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42702
Location: NECTEC

PostPosted: 04/03/2019 10:46 am    Post subject: Reply with quote

IRTIชิงแน่!รถไฟฟ้ารางเบา คนภูเก็ตหนุนโครงการรับท่องเที่ยว
วันจันทร์ ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2562, 06.00 น.

แหล่งข่าวจากบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือทอท. เปิดเผยว่าเมื่อเร็วๆ นี้ กลุ่มกิจการร่วมค้า IRTI
ซึ่งประกอบด้วย บมจ.อินเตอร์ลิ้งค์ คอมมิวนิเคชั่น (ILINK) บริษัท เรืองณรงค์ จำกัด และกลุ่มทุนจากประเทศเกาหลีใต้ ได้ชนะการประมูลระบบขนส่งผู้โดยสารอัตโนมัติ (Automated People Mover : APM) ภายในสนามบินสุวรรณภูมิ ล่าสุด IRTI สนใจเข้าลงทุนในโครงการรถไฟฟ้ารางเบา(Tram) จังหวัดภูเก็ต ด้วย ซึ่งโครงการนี้มีมูลค่าลงทุน 34,800 ล้านบาท โดยทางกระทรวงคมนาคมอยู่ระหว่างปรับแบบก่อสร้างและออกแบบรายละเอียดก่อนเปิดให้เอกชนยื่นข้อเสนอการร่วมทุนรัฐและเอกชนในรูปแบบ PPP ในช่วงปลายปีนี้



ด้านนายก้าน ประชุมพรรณ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เค.ดับบลิว.พลาซ่า จำกัด หนึ่งในบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในจังหวัดภูเก็ตกล่าวว่าโครงการระบบรถไฟฟ้ารางเบาเป็นสิ่งจำเป็นที่ท้องถิ่นต้องการเร่งด่วนเพื่อรองรับด้านการท่องเที่ยวในการขนส่งนักท่องเที่ยวเข้ามายังตัวเมืองและการขยายตัวด้านการท่องเที่ยว

สำหรับโครงการพัฒนาระบบรถไฟฟ้ารางเบาถือว่าจะตอบโจทย์ได้บางส่วน แต่พบว่าแนวเส้นทางของโครงการนี้ยังไม่ตอบโจทย์ลักษณะเมืองและพื้นที่ 100% ดังนั้น อยากจะเห็นการพัฒนาระบบขนส่งที่จะทำให้เกิดการพัฒนาพื้นที่โดยรอบ (TOD) ทำให้เกิดการพัฒนาด้านอสังหาริมทรัพย์ตามมา

ด้าน นางสาวเฉลิมลักษณ์ เก็บทรัพย์ นายกเทศมนตรีเมืองป่าตอง แสดงความเห็นเกี่ยวกับโครงการรถไฟฟ้ารางเบาของจังหวัดภูเก็ตว่า จะช่วยอำนวยสะดวกให้นักท่องเที่ยวจากสนามบินด้วยรถขนส่งมวลชนและลดปริมาณความหนาแน่นของการจราจร โดยภูเก็ตมีเที่ยวบินประมาณ 200 กว่าเที่ยวบินต่อวัน คนเข้าเมืองประมาณ 60,000-70,000 คนต่อวัน แต่การเดินทางเข้าที่พักแต่ละแห่งไม่สะดวกเนื่องจากระบบขนส่งมวลชนมีน้อยในภูเก็ตและส่งผลให้การจราจรติดขัด จึงสนับสนุนให้มีการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว

รวมถึงมองว่าการจัดแนวเส้นทางของรถไฟฟ้ารางเบาดังกล่าวเป็นเส้นทางจากสนามบินเข้าเมืองไปทางห้าแยกฉลอง ไม่สอดรับกันเพราะปัจจุบันนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่อยู่ทางฝั่งตะวันตกของเกาะคือตั้งแต่หาดไม้ขาว หาดสุรินทร์ หาดกมลา หาดป่าตอง หาดกะตะ หาดกะรน ไปจนถึงหาดราไวย์ เป็นต้น รวมถึงแหล่งที่พักต่างๆ แต่แนวเส้นทางของรถไฟฟ้ารางเบานั้นวิ่งเข้าสู่กลางเมืองและไปออกทางใต้ จึงไม่ไปเป็นไปตามวัตถุประสงค์ และก่อนหน้านี้ก็มีผลศึกษาในหลายเส้นทางที่มาทางป่าตองแต่ผลการศึกษาระบุว่าไม่คุ้มทุน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42702
Location: NECTEC

PostPosted: 08/04/2019 11:58 pm    Post subject: Reply with quote

พระราชกฤษฎีกาให้อำนาจ รฟม. เดินรถไฟฟ้าเชียงใหม่-พังงา-ภูเก็ต-นครราชสีมา
ประชาไท / ข่าว
Submitted on วันจันทร์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2562 15:59
พ.ร.ฎ.ออกแล้ว สร้างรถไฟฟ้า 4 จังหวัด "เชียงใหม่-พังงา-ภูเก็ต-โคราช"
โดย ไทยรัฐออนไลน์
วันจันทร์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2562 15:33 น.
ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ พระราชกฤษฎีกา กําหนดจังหวัดให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ดําเนินกิจการรถไฟฟ้า พ.ศ. 2562 ให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ดําเนินกิจการรถไฟฟ้าใน 'เชียงใหม่-พังงา-ภูเก็ต-นครราชสีมา โดยระบุว่า

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรกําหนดให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยดําเนินกิจการรถไฟฟ้า ในบางจังหวัดได้

อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 175 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา 7 (2) แห่งพระราชบัญญัติการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2543 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้

มาตรา 1 พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “ พระราชกฤษฎีกากําหนดจังหวัดให้การรถไฟฟ้า ขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยดําเนินกิจการรถไฟฟ้า พ.ศ. 2562 ”
มาตรา 2 พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป
มาตรา 3 ให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยดําเนินกิจการรถไฟฟ้าในจังหวัด ดังต่อไปนี้ได้
(1) จังหวัดเชียงใหม่
(2) จังหวัดพังงา
(3) จังหวัดภูเก็ต
(4) จังหวัดนครราชสีมา
มาตรา 4 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42702
Location: NECTEC

PostPosted: 08/04/2019 11:58 pm    Post subject: Reply with quote

พระราชกฤษฎีกาให้อำนาจ รฟม. เดินรถไฟฟ้าเชียงใหม่-พังงา-ภูเก็ต-นครราชสีมา
ประชาไท / ข่าว
Submitted on วันจันทร์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2562 15:59
พ.ร.ฎ.ออกแล้ว สร้างรถไฟฟ้า 4 จังหวัด "เชียงใหม่-พังงา-ภูเก็ต-โคราช"
โดย ไทยรัฐออนไลน์
วันจันทร์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2562 15:33 น.
ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ พระราชกฤษฎีกา กําหนดจังหวัดให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ดําเนินกิจการรถไฟฟ้า พ.ศ. 2562 ให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ดําเนินกิจการรถไฟฟ้าใน 'เชียงใหม่-พังงา-ภูเก็ต-นครราชสีมา โดยระบุว่า

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรกําหนดให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยดําเนินกิจการรถไฟฟ้า ในบางจังหวัดได้

อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 175 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา 7 (2) แห่งพระราชบัญญัติการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2543 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้

มาตรา 1 พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “ พระราชกฤษฎีกากําหนดจังหวัดให้การรถไฟฟ้า ขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยดําเนินกิจการรถไฟฟ้า พ.ศ. 2562 ”
มาตรา 2 พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป
มาตรา 3 ให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยดําเนินกิจการรถไฟฟ้าในจังหวัด ดังต่อไปนี้ได้
(1) จังหวัดเชียงใหม่
(2) จังหวัดพังงา
(3) จังหวัดภูเก็ต
(4) จังหวัดนครราชสีมา
มาตรา 4 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้

ผู้รับสนองพระราชโองการ

พลเอกประยุทธ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรี
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42702
Location: NECTEC

PostPosted: 10/04/2019 3:09 pm    Post subject: Reply with quote

อนรอยโครงการรถไฟฟ้ารางเบา กว่า 10 ปีที่คนภูเก็ตรอคอย
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันพุธที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2562 12:24
ปรับปรุง: วันพุธที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2562 12:59
ศูนย์ข่าวภูเก็ต - ย้อนรอย กว่า 10 ปี ที่คนภูเก็ตรอคอยรถไฟฟ้ารางเบา เตรียมเฮ! มีพระราชกฤษฎีกา กำหนดให้ รฟม. ดำเนินกิจการรถไฟฟ้าให้แก่จังหวัดภูเก็ต พังงา เชียงใหม่ และ นครราชสีมาแล้ว





นับเป็นข่าวที่น่ายินดีสำหรับคนจังหวัดภูเก็ต พังงา เชียงใหม่ และนครราชสีมา หลังสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 มีพระราชกฤษฎีกา กำหนดจังหวัดให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ดำเนินกิจการรถไฟฟ้าให้แก่จังหวัดภูเก็ต พังงา เชียงใหม่ และนครราชสีมา เมื่อวันที่ 4 เม.ย.ที่ผ่านมา

สำหรับภูเก็ต เป็นอีกหนึ่งจังหวัด ที่มีความพยายามในการผลักดันให้โครงการรถไฟฟ้ารางเบาเกิดขึ้นในพื้นที่ เพื่อแก้ไขปัญหาการจราจร และระบบขนส่งมวลชนในพื้นที่ โดยความพยายามดังกล่าวเกิดขึ้นมายาวนานกว่า 10 ปีแล้ว มีการใช้งบประมาณในการศึกษาความเป็นไปได้จำนวนมหาศาล ที่ผ่านมา มีภาคเอกชน และนักลงทุนชาวต่างชาติเดินพบกับผู้ว่าราชการจังหวัดหลายคน รวมทั้งการเดินทางไปศึกษาดูงานที่ต่างประเทศเพื่อผลักดันให้โครงการนี้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม



เนื่องจากจังหวัดภูเก็ต เป็นแหล่งท่องเที่ยวหลักของประเทศและมีชื่อเสียงในระดับโลก ด้วยความเป็นแหล่งท่องเที่ยวชื่อดังทำให้ความเจริญเติบโตแบบก้าวกระโดด มีธุรกิจน้อยใหญ่เกิดขึ้นในพื้นที่มากมาย รวมไปถึงธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง บวกกับผู้คนที่เข้ามาอาศัยและท่องเที่ยวมากขึ้นในทุกๆ ปี ทำให้เกิดปัญหาด้านการสัญจรที่ไม่สะดวกมากมาย ซึ่งที่ผ่านมา มีการศึกษาความเหมาะสมของโครงการมาแล้วหลายครั้ง จนกระทั่งล่าสุด ทางกระทรวงคมนาคม มอบหมายให้ทางการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เป็นเจ้าภาพในการดำเนินโครงการ

หลังได้รับมอบหมาย การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ได้เข้าหารือจังหวัดภูเก็ต เพื่อเร่งศึกษา PPP ร่วมทุนโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต เตรียมเสนอ ครม. ในเดือน เม.ย.นี้ ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวเป็นโครงการ PPP Fast Track คาดว่าจะสามารถเชิญชวนร่วมลงทุนได้ในไตรมาส 3 ปี 2562 และจะใช้ระยะเวลาพิจารณาข้อเสนอ ซึ่งจะรู้ผลผู้ชนะและลงนามสัญญาได้ประมาณกลางปี 2563 และมีแผนจะเริ่มก่อสร้างในปีเดียวกัน โดยใช้เวลาในการก่อสร้าง 3.5 ปี สามารถเปิดให้บริการได้ภายในปี 66



โดยให้ระยะเวลาสัมปทาน 30 ปี ในการให้บริการ ในช่วงเวลา 30 ปี (ปี 66-96) ประมาณการรายได้โครงการจากค่าโดยสารรวม 7.45 หมื่นล้านบาท ทั้งนี้ โครงการเป็น PPP รูปแบบคล้ายกับสายสีชมพูและสายสีเหลือง โดยภาครัฐจะอุดหนุนค่าก่อสร้างงานโยธา วงเงิน 1.78 หมื่นล้านบาท ค่างานที่เกี่ยวข้องกับการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน 1.5 พันล้านบาท โดยให้เอกชนลงทุนไปก่อน รวมทั้งลงทุนระบบรถไฟฟ้า และจัดหาขบวนรถไฟฟ้า การเดินรถและการซ่อมบำรุงรักษา

สำหรับการดำเนินโครงการ แบ่งออกเป็น 2 ระยะ โดย รฟม. จะเริ่มดำเนินการในระยะที่ 1 ก่อน ซึ่งเป็นช่วงท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต-ห้าแยกฉลอง ระยะทาง 41.7 กม. โดยมีสถานีทั้งหมด 21 สถานี แบ่งเป็นสถานีระดับพื้นดิน 19 สถานี สถานียกระดับ 1 สถานี และสถานีใต้ดิน 1 สถานี ซึ่งการปรับเปลี่ยนสถานีจะทำให้มูลค่าการก่อสร้างเพิ่มขึ้นอีกจุดละ 500-800 ล้านบาท ที่ผ่านมาสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ได้ดำเนินการศึกษาความเหมาะสม ออกแบบ ดำเนินการด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน และจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมเรียบร้อยแล้ว ส่วนระยะที่ 2 เริ่มจากช่วงท่านุ่น-เมืองใหม่ ระยะทาง 16.8 กม.



อย่างไรก็ตาม โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต มีมูลค่าโครงการ ประมาณ 3.48 หมื่นล้านบาท ส่วนค่าเวนคืนคาดว่าจะอยู่ที่ประมาณ 1.5 พันล้านบาท โดยขณะนี้โครงการดังกล่าวยังอยู่ระหว่างการดำเนินการ และยังไม่มีการเปิดให้ประมูลแต่อย่างใด ซึ่งตามแผนการดำเนินงาน ทาง รฟม.คาดว่าจะสามารถขออนุมัติดำเนินโครงการจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้ราวเดือนเมษายนนี้



ทั้งนี้ ในส่วนของการกำหนดอัตราค่าโดยสารแบบระยะทาง สูงสุดประมาณ 100-137 บาทต่อเที่ยว หรือแรกเข้า 18 บาท เก็บตามระยะทาง กม.ละ 2 บาท โดยจากการวิเคราะห์พบว่า โครงการนี้จะให้ผลตอบแทนการลงทุนทางเศรษฐศาสตร์ (EIRR) ประมาณ 12.5%



โครงการนี้ถือว่าเป็นโครงการใหญ่ มีนักลงทุนจากต่างประเทศให้ความสนใจ ได้แก่ ฝรั่งเศส อิตาลี จีน ญี่ปุ่น ส่วนเอกชนไทย มีผู้ให้บริการรถไฟฟ้าทั้ง 2 ราย ได้แก่ บมจ.บีทีเอส กรุ๊ปโฮลดิ้ง (BTS) และ บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM) ให้ความสนใจ และบริษัทผู้รับเหมารายใหญ่ รวมทั้งกลุ่มทุนท้องถิ่น เช่น บริษัท ภูเก็ตพัฒนาเมือง จำกัด
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42702
Location: NECTEC

PostPosted: 29/04/2019 7:56 pm    Post subject: Reply with quote

“ไพรินทร์” นั่งหัวโต๊ะเคลียร์ รฟม.-ทล.ปรับแบบ “แทรมป์ภูเก็ต”
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 29 เมษายน พ.ศ. 2562 17:41
ปรับปรุง: 29 เมษายน พ.ศ. 2562 18:16




“ไพรินทร์” นั่งหัวโต๊ะเคลียร์ “รฟม.-กรมทางหลวง” แก้ปัญหาพื้นที่ก่อสร้างรถไฟฟ้าแทรมป์ภูเก็ต ให้เวลา 2 หน่วยหาข้อสรุป 10 วัน ก่อนเดินหน้าสรุปผลศึกษา PPP ต่อไป

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กล่าวว่า นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ได้เรียกประชุมเพื่อหาข้อยุติในการดำเนินโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต ระบบรถไฟฟ้ารางเบา (LRT/Tram) ระยะที่ 1 ช่วงท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต-ห้าแยกฉลอง ระยะทาง 41.7 กม. ซึ่งมีการพิจารณาปรับแบบตามข้อเสนอกรมทางหลวง (ทล.) เพื่อลดผลกระทบการจราจร บนทางหลวงหมายเลข 402 เนื่องจากมีการใช้ช่องจราจรร่วมกันระหว่าง แทรมป์กับรถยนต์ ประมาณ 4 จุดหลัก ได้แก่ แยกวงเวียนอนุสาวรีย์ท้าวเทพกษัตรีและท้าวศรีสุนทร, แยกบางคู, ทางเข้าสนามบินภูเก็ต, ถนนศรีสุนทร

ทั้งนี้ รถไฟฟ้าแทรมป์ต้องใช้พื้นที่บนถนนของกรมทางหลวงซึ่งจะเป็นรูปแบบของการใช้ช่องจราจรร่วมกัน หลักการจะให้คงช่องจราจรไป 3 กลับ 3 ช่องจราจร โดยการปรับแบบในบางจุดอาจทำให้ค่าก่อสร้างโครงการเพิ่มขึ้น ขณะที่รมช.คมนาคม ได้หาแนวทางออกให้ทั้งสองฝ่าย เช่น ให้กรมทางหลวงปรับรูปแบบถนน 402 จากทางหลวงแผ่นดิน ที่กำหนดความเร็วมาตรฐานไว้ที่ 90 กม./ชม. ปรับเป็นถนนในเขตเมืองที่ความเร็วรถต่ำกว่าประมาณ 60 กม./ชม. เนื่องจากในปัจจุบันถนน 402 มีสภาพจราจรติดขัดมาก และมีสัญญาณไฟจราจร 11 จุด

“รมช.คมนาคมได้ช่วยหาทางไกล่เกลี่ยเพื่อให้ปรับรูปแบบให้เหมาะสม ซึ่งรูปแบบยกระดับหรืออุโมงค์ มีค่าก่อสร้างสูง พยายามให้เป็นทางระดับดินมากที่สุด แต่หากทำไม่ได้ เช่น แยกวงเวียนอนุสาวรีย์ท้าวเทพกษัตรีและท้าวศรีสุนทร อาจจะใช้เป็นแบบคลองแห้งซึ่งอาจกระทบต้นทุนค่าก่อสร้างเพิ่มขึ้น”

โดย รฟม.และกรมทางหลวงนำหลักการไปหารือรายละเอียดให้ได้ข้อยุติภายใน 10 วัน เพื่อนำเสนอ รมช.คมนาคม เมื่อรูปแบบการก่อสร้างที่ชัดเจนแล้ว รฟม.จะปรับแบบและประเมินต้นทุนโครงการว่าเพิ่มขึ้นเท่าไหร่ หลังจากจะทำรายงาน PPP เพื่อสรุปต้นทุนโครงการ ค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการ คำนวณความคุ้มค่าการลงทุนที่ชัดเจนได้ต่อไป โดยประเมินมูลค่าโครงการประมาณ 3.48 หมื่นล้านบาท
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42702
Location: NECTEC

PostPosted: 01/05/2019 4:59 pm    Post subject: Reply with quote

“ไพรินทร์” บี้ “รฟม.-ทางหลวง” ยุติปมพื้นที่ทับซ้อนรถไฟฟ้าภูเก็ตใน 10 วัน เร่งเปิดประมูลให้ทันปีนี้
พร็อพเพอร์ตี้
วันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2562 - 21:35 น.


นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า ความคืบหน้าโครงการระบบรถไฟฟ้ารางเบา จ.ภูเก็ต เงินลงทุน 39,406 ล้านบาท ที่ประชุมโครงการที่มีนายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ได้ให้ รฟม.ไปดำเนินการหารือถึงรายละเอียดเรื่องของแบบโครงการ การจัดเลนจราจรให้ยังคงเป็น 3 เลน จุดอ่อนไหว เช่น วงเวียนท้าวเทพกษัตรี – ท้าวศรีสุนทร, ถ.ศรีสุนทร และต้นทุนโครงการกับทางกรมทางหลวง (ทล.) ซึ่งยังมีความเห็นไม่ตรงกันในบางประเด็น ให้สรุปให้ได้ภายใน 10 วัน แล้วกลับมานำเสนอใหม่

“รมช.ไพรินทร์ให้หลักการว่า เนื่องจากโครงการที่เป็น Tram (รถไฟฟ้ารางเบา) ต้องใช้เนื้อที่บนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 402 (สายโคกกลอย– เมืองภูเก็ต) หรือถนนเทพกระษัตรี ซึ่งมีปัญหารถติดมากอยู่แล้ว จึงให้ ทล.ไปปรับความเข้าใจใหม่ว่า จากเดิมถนนนี้คือทางหลวง (Highway) ที่สามารถใช้ความเร็วได้ ต้องเปลี่ยนให้มาเป็นถนนในเขตเมือง (Urban) แทน อาจจะต้องมีการปรับการจำกัดความเร็วอีกครั่งหนึ่ง จากจำกัดความเร็วที่ 90 กม./ชม. เป็น 60 กม./ชม.แทน”

รูปแบบของ Tram เบื้องต้นจะเป็นลักษณะที่รางขนานไปกับพื้นถนน ไม่มีโครงสร้างยกระดับ เนื่องจากประชาชนในพื้นที่คัดค้าน อาจจะให้มีการจอดติดไฟแดง เหมือนกับบริการรถ BRT ในกรุงเทพฯ หากรถไฟ Tram ยังไม่วิ่ง รถจากเลนอื่นสามารถใช้เลนของ Tram ได้ (Share Lane)

หลังจากทำข้อมูลสรุปได้ภายใน 10 วันตามกำหนดแล้ว หากงบประมาณไม่มีการปรับเพิ่ม ก็จะเข้าสู่ขั้นตอนการทำรายงาน PPP เพราะหากงบประมาณเปลี่ยน จะต้องมีการคำนวณต้นทุนใหม่

ทั้งนี้ จากผลการศึกษาเดิมที่สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เคยศึกษาไว้ รูปแบบที่เหมาะสมเป็นระบบรถไฟฟ้ารางเบาระบบ tram แบ่งก่อสร้าง 2 ระยะ ในระยะที่ 1 ช่วงสนามบินภูเก็ต-ห้าแยกฉลอง 41.7 กม. และระยะที่ 2 ช่วงท่านุ่น-เมืองใหม่ 16.8 กม.

โดย รฟม.จะเริ่มก่อสร้างระยะที่ 1 มี 21 สถานี เป็นระดับพื้นดิน 19 สถานี ยกระดับ 1 สถานี และใต้ดิน 1 สถานี ลงทุน 34,827.28 ล้านบาท แยกเป็น ค่าเวนคืน 1,521 ล้านบาท สร้างเดโป้ 46 ไร่ ตรงโลตัสถลาง สถานีจ่ายระบบไฟฟ้า และจุดเป็นทางโค้งงานโยธา 17,797 ล้านบาท ระบบรถไฟฟ้า 9,508 ล้านบาท จัดหาขบวนรถเริ่มต้น 2,492 ล้านบาท ค่าสิ่งอำนวยความสะดวกในการเชื่อมต่อการเดินทาง 13.65 ล้านบาท ค่าจ้างที่ปรึกษาออกแบบรายละเอียด 303 ล้านบาท ค่าจ้างที่ปรึกษาบริหารโครงการ 1,452 ล้านบาท และค่าเผื่อเหลือเผื่อขาด 1,737 ล้านบาท
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42702
Location: NECTEC

PostPosted: 31/05/2019 11:23 am    Post subject: Reply with quote

"แทรมภูเก็ต"มาพร้อมประกันอุบัติเหตุ
พฤหัสบดีที่ 30 พฤษภาคม 2562 เวลา 17.18 น.

จบปัญหาแทรมภูเก็ต รฟม.ปรับแบบก่อสร้างไม่กระทบช่องจราจร ที่ปรึกษาห่วงอุบัติเหตุรถรางกับรถอื่น มอบกรมขนส่งทางราง ศึกษาข้อกฎหมายประกันอุบัติเหตุ ก่อนใช้เป็นต้นแบบแทรมในจังหวัดอื่นต่อไป

นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รมช.คมนาคม เปิดเผยภายหลังประชุมแก้ไขปัญหาโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต ระยะที่ 1 ช่วงท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต-ห้าแยกฉลองว่า ที่ประชุมได้ข้อสรุปเบื้องต้นเกี่ยวกับแบบก่อสร้างรถไฟฟ้ารางเบาระดับพื้นดิน (แทรม) จ.ภูเก็ต เพื่อลดปัญหาการจราจรบนถนน โดยการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ได้ปรับแบบก่อสร้างให้สอดคล้องกับข้อกำหนดของกรมทางหลวง(ทล.) เรื่องการใช้เขตพื้นที่เขตทาง ส่วนในจุดอื่นบริเวณแยกต่างๆ รฟม.และทล.จะร่วมมือกันแก้ไขปัญหาไปตามหลักวิศวกรรมทีละจุดให้แล้วเสร็จ และนำเสนอที่ประชุมอีกครั้งในสัปดาห์หน้า คาดว่าจะได้ข้อยุติที่ชัดเจน อย่างไรก็ตามเมื่อแบบก่อสร้างแทรมที่ จ.ภูเก็ต แล้วเสร็จจะสามารถใช้เป็นต้นแบบในการออกแบบแทรมในอีก 3 จังหวัด ซึ่งมีลักษณะปัญหาคล้ายกัน ได้ ทั้งจ.เชียงใหม่ จ.ขอนแก่น และ จ.นครราชสีมา
           
นายพิศักดิ์ พิศักดิ์ จิตวิริยะวศิน รองปลัดกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า ขณะนี้ รฟม.และ ทล.สามารถตกลงกันได้แล้ว ในเรื่องการใช้พื้นที่ โดย รฟม.ได้นำเสนอแบบก่อสร้างที่ปรับปรุงแล้วซึ่งไม่กระทบต่อช่องจราจรที่มีอยู่เดิม ซึ่งเป็นไปตามที่ทล.ต้องการ ที่ไม่ต้องการให้เกิดปัญหาการจราจรติดขัดมากกว่าที่เป็นอยู่หากต้องมีการลดช่องจราจร แต่ยอมรับว่าในช่วงเวลาที่มีการก่อสร้างอาจส่งผลกระทบต่อการจราจรบ้างเช่นเดียวกับการก่อสร้างรถไฟฟ้าในกรุงเทพฯ โดยอาจต้องลดขนาดช่องจราจรจาก 3.50 เมตร เหลือ 3 เมตร และเมื่อแล้วเสร็จก็จะคืนพื้นผิวจราจรให้เท่าเดิม ทั้งนี้ รฟม.และทล.อาจต้องลงนามข้อตกลงความร่วมมือกัน (MOU) ในการอนุญาตและการขอใช้พื้นที่ต่อไป
           
นายพิศักดิ์ กล่าวต่อว่า ที่ประชุมยังหารือประเด็นข้องห่วงใยของที่ปรึกษาเรื่องข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องที่จำเป็นต้องปรับแก้เมื่อมีระบบรางแล้ว โดยมีข้อเสนอให้จัดทำประกันอุบัติเหตุของรถราง เนื่องจากมีโอกาสเกิดอุบัติเหตุระหว่างรถรางกับรถอื่นได้ เพราะมีการแชร์เลนถนนกัน ดังนั้นที่ประชุมจึงมอบหมายให้กรมการขนส่งทางรางไปศึกษาข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องว่าต้องปรับแก้ไขหรือไม่อย่างไร เพื่อให้เกิดความปลอดภัยสูงสุดกับและเป็นประโยชน์กับทุกฝ่าย เพราะหากไม่มีกฎหมายชัดเจนเมื่อเกิดเหตุอาจเกิดการฟ้องร้องเรื่องความรับผิดได้ และแม้ว่าที่ผ่านมาไทยจะเคยมีรถรางแล้วก็ตามแต่ก็ผ่านไปนานมากจึงถือว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องใหม่ที่ต้องดำเนินการให้ชัดเจน.
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 16, 17, 18 ... 25, 26, 27  Next
Page 17 of 27

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©