RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311238
ทั่วไป:13181692
ทั้งหมด:13492930
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - การสร้างทางรถไฟเชื่อมกับเพื่อนบ้านของจีนแผ่นดินใหญ่
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

การสร้างทางรถไฟเชื่อมกับเพื่อนบ้านของจีนแผ่นดินใหญ่
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 44, 45, 46 ... 134, 135, 136  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> เกี่ยวกับรถไฟต่างประเทศ
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 20/03/2019 5:30 pm    Post subject: Reply with quote

ไทยถาม จีนตอบ : โครงการ “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” ไทยได้หรือเสีย?

วันที่ 16 มีนาคม 2562 - 16:11 น.


พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ร่วมพิธีเปิดการก่อสร้างรถไฟไทย-จีน

ชนชาติจีนตั้งแต่สมัยโบราณ มีความพยายามเชื่อมต่อบ้านเมืองของตนกับชนชาติและอารยธรรมอื่นๆ

ดังที่เห็นได้จากทั้งการเดินทางสำรวจทางทะเลของ “เจิ้งเหอ” และการบุกเบิก “เส้นทางสายไหม” อันโด่งดัง ที่ลากผ่านทะเลทรายและถิ่นทุรกันดาร ไปเชื่อมต่อกับโลกตะวันตก ทำให้ชาวตะวันตกได้เรียนรู้เทคโนโลยีและอารยธรรมของจีนอย่างแพร่หลาย

เมื่อจีนเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 ในฐานะมหาอำนาจสำคัญของโลกเอเชีย ก็ไม่ได้ละทิ้งความพยายามดังกล่าว รัฐบาลจีนจึงได้เปิดตัวโครงการเส้นทางสายใหม่ยุคใหม่ ที่เรียกว่า “一带一路” หรือ “หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง” ในภาษาไทย และ “One Belt One Road” ในภาษาอังกฤษ โครงการนี้มิได้มุ่งหวังเพียงแค่จะเชื่อมต่อจีนกับประเทศอื่นๆ แต่จะเชื่อมต่อภูมิภาคเอเชีย ยุโรป และแอฟริกาด้วยกัน เป็นหนึ่งเดียวด้วยระบบรถไฟ สะพาน ถนน ท่าเรือ และสาธารณูปโภคอื่นๆ

ประเมินกันว่าจีนจะลงทุนในโครงการ “หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง” นี้กว่า 4.3 ล้านล้านบาท นับเป็นการลงทุนที่มหึมาที่สุดในโลกยุคปัจจุบัน

“ชาวจีนมักพูดกันว่า ‘ก้าวแรกคือก้าวที่ยากที่สุด’ ในวันนี้ ก้าวแรกที่มั่นคงได้เกิดขึ้นแล้วในการบรรลุโครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง กล่าวเมื่อปี 2560

ประเทศไทยก็จะเข้าร่วมเป็นหนึ่งในเส้นทางเชื่อมต่อของโครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางด้วย โดยจะมีรถไฟความเร็วสูงวิ่งเชื่อมกรุงเทพมหานคร กับภาคอีสาน และต่อไปยังกัมพูชาและลาว ไปบรรจบกับเส้นทางรถไฟของจีน ณ นครคุนหมิง

อย่างไรก็ตาม มีข้อกังขาจากหลายส่วนว่า โครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางนี้ จะเป็นผลดีต่อไทยหรือไม่ ไทยจะเสียเปรียบจีนหรือไม่ บางคนถึงกับเตือนว่าไทยอาจจะกลายเป็น “เมืองขึ้น” ของจีนเลยทีเดียว


แผนที่แสดงโครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง
บรรดาหน่วยงานของจีนจึงได้จัดตีพิมพ์หนังสือคู่มือ “คำสำคัญเพื่อเข้าใจประเทศจีน ฉบับหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” เพื่อชี้แจงให้ชาวไทยได้เข้าใจโครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางมากขึ้น ซึ่งในงานเปิดตัวหนังสือดังกล่าว ได้มีการจัดเสวนาร่วมกันทั้งฝ่ายจีน และฝ่ายไทย เมื่อวันที่ 14 มีนาคมที่่ผ่านมา เพื่อพูดคุยแลกเปลี่ยนให้เห็นมุมมองทั้งสองฝ่าย

“ความคิดได้วางรากฐานแล้ว ต่อไปนี้คือลงรายละเอียด เหมือนเวลาวาดภาพ เราวาดลวดลายขึ้นมาแล้ว จากนี้จะใช้ปากกาลงสี” คุณหวัง หลิงกุ้ย รองประธานคณะกรรมการจากสภาวิทยาศาสตร์สังคมจีน กล่าวบนเวทีเสวนา “เราเห็นความต้องการของประเทศกลุ่มกำลังพัฒนา เราต้องการสันติและการพัฒนา”

คุณหวังระบุว่าโครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางได้สร้างทางรถไฟเชื่อมต่อจีนกับยุโรปแล้ว ทุกวันนี้มีรถไฟจีน-ยุโรปถึงกว่า 14,000 เที่ยว ขนส่งสินค้าและผู้คนอย่างสะดวก กลายเป็นเม็ดเงินทางการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งจีนก็อยากให้ไทยอยู่ในโครงข่ายเช่นนี้ด้วย เพื่อประโยชน์ของทั้งสองฝ่าย

“โครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางคือการสร้างเศรษฐกิจระดับภูมิภาค ไม่ใช่แค่จีน ไม่ใช่เป็นการเล่นเกมใดๆ ไม่ใช่การแบ่งแยกความคิด” คุณหวังกล่าวสรุป

ทั้งนี้ ปัจจุบันจีนเป็นประเทศที่มีรถไฟความเร็วสูงรวมกันยาวที่สุดในโลก และจีนยังได้ร่วมมือกับหลายประเทศในการสร้างรถไฟความเร็วสูงเพื่อขยายความเจริญทางสาธารณูปโภคไปทั่วโลก

ในคู่มือคำสำคัญที่เปิดตัวในงาน ก็ได้อธิบายความสำเร็จของโครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางใน 171 ประเทศรวมทั้งไทย ล่าสุด รถไฟความเร็วสูงระหว่างกรุงจาการ์ต้าและนครบันดุงในประเทศอินโดนีเซีย ก็ได้สำเร็จลุล่วงด้วยความร่วมมือของจีน




คุณหวังยังตั้งข้อสังเกตด้วยว่า โครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางมีความสำเร็จมากมาย อาจจะพบกับอุปสรรคหรือไม่เป็นไปดังคาดบ้าง แต่ก็ถือว่าเป็นส่วนน้อย ไม่เกินร้อยละ 5 หรือ 6 ซึ่งสื่อตะวันตกมักเอาไปประโคมข่าวใหญ่โต จึงอยากให้คนไทยมองที่ผลลัพธ์โดยรวมในระยะยาวมากกว่า

“คนตะวันตกยังไม่ค่อยเข้าใจโครงการนี้อย่างถ่องแท้เท่าไหร่นัก ผมเชื่อว่าร้อยละ 60-70 มองไม่ตรงกับความเป็นจริง” ดร.หวังอธิบาย “ทั้งๆที่โครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางมีไว้ให้คนทั้งโลก สร้างงานมาแล้ว 2 ล้านตำแหน่ง การค้ามูลค่ากว่า 3 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ”

อ.หวังกล่าวด้วยว่า โครงการขนาดใหญ่เช่นนี้ไม่ใช่ว่าวันเดียวหรือสองวันจะเห็นผล

“ตอนเด็กๆ คนจีนคิดตลอดว่าจะทำอย่างไรถึงจะอิ่มท้อง แต่ทุกวันนี้เรากินดีอยู่ดีทุกอย่าง แต่ไม่ใช่ว่าเรากินข้าวคำเดียวแล้วกลายเป็นผู้ใหญ่ ต้องค่อยเป็นค่อยไป ดูอย่างรถไฟในจีน เมื่อก่อนต้องนั่งกัน 13 ชั่วโมง ตอนนี้เหลือ 2 ชั่วโมงเอง”

สำหรับประเทศไทยนั้น ถึงแม้จะได้ลงนามร่วมมือกับจีนในโครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางมาหลายปีแล้ว แต่ยังไม่มีความคืบหน้านัก โดยถึงทุกวันนี้ เส้นทางรถไฟ 3.5 กิโลเมตรแรก ยังดำเนินการก่อสร้างไม่เสร็จ ขณะที่นักวิชาการและนักการเมืองบางส่วนในไทย ไม่ไว้ใจเทคโนโลยีของจีน บ้างก็ว่าล้าหลังหรือไม่ปลอดภัย บ้างก็กลัวว่าโครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางจะกลายเป็นแผนครอบงำประเทศไทย



รศ.ดร. อัชกรณ์ วงศ์ปรีดี อ.ประจำคณะรัฐประศาสนศาสตร์จากนิด้า กล่าวในงานเสวนาว่า คนไทยมีภาพลักษณ์เชิงลบเกี่ยวกับโครงการนี้จริงๆ แม้แต่นักศึกษาของตนหลายคนก็ทำรายงานและศึกษาโครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางในเชิงตั้งคำถามว่า ไทยจะได้อะไรบ้าง ดังนั้น จึงอยากเห็นทั้งสองประเทศร่วมมือกันในรูปแบบใหม่ไปมากกว่าที่เคยกับประเทศอื่นๆ

“จีนมีความตั้งใจสร้างความเจริญให้มนุษยชาติ อ่านแล้วก็เห็นความตั้งใจนี้ หนังสือพยายามบอกว่าทำอะไรมาแล้วบ้าง” อ.อัชกรณ์กล่าว “แต่ผมอยากเห็นความร่วมมือใหม่ๆบ้าง ที่ผ่านมาไทยร่วมมือกับญี่ปุ่น กับสหรัฐ ก็คล้ายๆกัน ให้ทุน ให้กู้เงิน อยากเห็นอะไรใหม่ๆบ้าง”

เมื่อได้ยินฝั่งไทยเสนอเช่นนี้ ดร.จ้าว เจียงหลิน นักวิจัยอีกท่านจากสภาวิทยาศาสตร์สังคมจีนจึงกล่าวว่า ควรจะมีความร่วมมือและแลกเปลี่ยนระหว่างไทยกับจีนมากขึ้นอีก โดยเฉพาะการแลกเปลี่ยนทางวิชาการระหว่างมหาวิทยาลัยในสองประเทศ ทำคลังสมองหรือ think tank ร่วมกันทั้งสองฝ่าย เพื่อให้เข้าใจกันมากขึ้น

ด้านศจ.สวู หงกัง คณบดีคณะการท่องเที่ยว จากมหาวิทยาลัยซุนยัดเซ็น ให้มุมมองว่า ดูตัวอย่างจากการท่องเที่ยวระหว่างไทยกับจีน ถึงแม้บางครั้งจะไม่เข้าใจกันหรือกระทบกระทั่งกัน แต่ในเนื้อแท้แล้ว เป็นอุตสาหกรรมที่ให้ประโยชน์ทั้งคนไทยและคนจีน ทั้งสองประเทศสามารถร่วมมือกันให้ธุรกิจท่องเที่ยวโตได้มากกว่านี้

“ความสัมพันธ์สองประเทศเป็นหนทางที่ยาวไกล ประเด็นสำคัญคือถ้ามีความแตกต่าง เราต้องหารือกัน ทำวิจัยการท่องเที่ยว เข้าใจบทบาทของการท่องเที่ยว … ผู้ประกอบการจีนควรมาดูงานที่ภูเก็ต ดูว่าเขาเที่ยวกันอย่างไร เป็นต้น” ศจ.สวูระบุ ก่อนกล่าวปิดท้ายว่า

“โครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางนั้น ไม่ใช่ว่าจีนอยากเปลี่ยนโลกให้เป็นของจีน ไม่ใช่การยัดเยียดแต่อย่างใด”
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 20/03/2019 5:35 pm    Post subject: Reply with quote

เตรียมสร้างทางรถไฟรางมาตรฐานจากสถานีเหอโควเป่ย (河口北站) ในฝั่งประเทศจีนเชื่อมกะ สถานีลาวกาย (Ga Lào Cai) ในฝั่งเวียดนามระยะทาง 5.6 กิโลเมตร ส่วนทางจากด่านลาวกาย (Ga Lào Cai) ไปเมืองท่าไฮฟอง (Ga Hải Phòng) ระยะทาง 392 กิโลเมตร ซึ่งมีอยู่แล้ว ที่ทำความเร็วสูงสุดๆได้ 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จะทำให้เป็นทางคู่รางมาตรฐานทำความเร็วสูงสุดได้ 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เพื่อให้รถโดยสารและรถสินค้าจีนแดงสามารถใช้ท่าเรือไฮฟองได้ ถ้าศึกษาเสร็จในปีหน้าก็จะหาเอกชนมาดำเนินการในเรื่องนี้ - งานนี้ รอให้ที่ปรึกษาชาวจีน เขาแนะนำให้ญวนทำดีกว่าว่าจะเอาแบบไหน เพราะ จะว่าไปแล้วญวนเองก็คิออยากปรับปรุงทางรถไฟรอบกรุงฮานอยเป็นทางลอยฟ้า แบบ triple track แบบ mix gauge เหมือนกัน แต่ยังไม่ได้ทำเสียกะที แต่ทางจากลาวกายไปฮายฟองคงต้องปรับปรุงอีกเยอะ เพราะ ทางจาก ฮานอยไปลาวกาย ระยะทาง 296 กิโลเมตร กะทางจากฮานอยไปเมืองท่าไฮฟอง อีก 102 กิโลเมตร ยังเป็นราง 1 เมตรที่ทำขบวนได้อย่างเร็วที่สุดก็ 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และ สะพาน ที่ต้องพ่วงรถจักรแบบพิเศษจึงจะผ่านไปได้
https://www.railjournal.com/regions/asia/vietnam-considers-china-hai-phong-line/
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44335
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 04/04/2019 1:41 pm    Post subject: Reply with quote

เปิดสะพานรถไฟเชื่อมต่อ จีน-รัสเซีย
NEW18
Published on Apr 3, 2019

สะพานทางรถไฟข้ามแดนสายแรก เชื่อมต่อจีนกับรัสเซีย 2 ช่วงเริ่มเปิดใช้อย่างเป็นทางการแล้ว เมื่อวันอังคารที่ 2 เม.ย. โดยสะพานความยาว 2,215.02 เมตร ซึ่ง 1,886.45 เมตรอยู่ในฝั่งดินแดนจีน และอีก 328.57 เมตรอยู่ทางฝั่งรัสเซีย


https://www.youtube.com/watch?v=7bx7n4d2psY
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 05/04/2019 6:34 pm    Post subject: Reply with quote

กองทัพปะหล่อง(ตะอาง) ต้องการให้ จีนเจรจาด้วยในการสร้างทางรถไฟความเร็วสูง มัณฑะเลย์ - หมู่แจ้ ผ่านเขตอิทธิพลของกองทัพปะหล่อง แทนที่จะเจรจากับรัฐบาลพม่าฝ่ายเดียว
https://www.irrawaddy.com/news/taang-armed-group-wants-talks-china-rail-project.html
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44335
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 24/04/2019 7:56 am    Post subject: Reply with quote

รถไฟจีน-ลาว-ไทย ช่วงภายในประเทศจีน ติดตั้งคานสะพานข้ามแม่น้ำโขงช่วงที่ยาวที่สุดแล้ว พร้อมปูรางรถไฟ
23 APR 2019

เมื่อช่วงต้นเดือน เม.ย. 2562 การก่อสร้างเส้นทางรถไฟจีน-ลาว-ไทย ช่วงภายในประเทศจีน (มณฑลยูนนาน) ได้มีการติตตั้ง “คานตัวที” (T-beam) ซึ่งแต่ละชิ้นมีความยาว 32 เมตร และหนัก 134 ตัน บนฐานตอม่อของสะพานยักษ์ก๋านหล่านป้า ซึ่งมีความยาว 3.5 กม. ประกอบด้วยฐานตอม่อ 108 หลัก

สะพานยักษ์ก๋านหล่านป้า ตั้งอยู่ในเมืองจิ่งหง เขตปกครองตนเองชนชาติไทลื้อสิบสองปันนา เริ่มก่อสร้างเมื่อเดือน ก.ย. 2559 หลังจากติดตั้ง “คานตัวที” จะเริ่มขั้นตอนการติดตั้งรางรถไฟ ซึ่งใช้ระยะเวลา 3 เดือน คาดว่าจะแล้วเสร็จในช่วงปลายเดือน มิ.ย. 2562

ทั้งนี้ เส้นทางรถไฟจีน-ลาว-ไทย ช่วงจีน-ลาว เป็นเส้นทางคมนาคมระบบรางระหว่างประเทศสายแรก ภายใต้แนวคิด “BRI” ที่จีนเป็นผู้ลงทุนหลักในการก่อสร้างใช้มาตรฐานเทคโนโลยีของจีนตลอดเส้นทาง ใช้วัสดุอุปกรณ์ของจีน และเชื่อมโยงกับโครงข่ายคมนาคมระบบรางของจีนโดยตรง โดยมีระยะทางกว่า 1,000 กม. ใช้เวลาเดินทางจากนครคุนหมิงไปยังเมืองจิ่งหงเพียง 3 ชั่วโมง และ ใช้เวลาเดินทางจากนครคุนหมิงถึงนครหลวงเวียงจันทน์เพียง 1 คืน (ออกเดินทางช่วงเย็นของวันแรก ไปถึงปลายทางช่วงเช้าของวันที่สอง)

http://yn.yunnan.cn/system/2019/04/04/030244670.shtml
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 26/04/2019 11:58 am    Post subject: Reply with quote

"บิ๊กตู่"ถึงปักกิ่งร่วมประชุมเวทีสายไหมใหม่
26 เมษายน 2562


นายกรัฐมนตรีเดินทางถึงกรุงปักกิ่งเพื่อเข้าร่วมการประชุมเวทีข้อริเริ่มสายแถบและเส้นทางครั้งที่ 2


วันนี้ (26 เม.ย.62) เวลา 6.15 น. พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และภริยา เดินทางถึงท่าอากาศยานนานาชาติ กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน เพื่อเข้าร่วมการประชุมเวทีข้อริเริ่มสายแถบและเส้นทางครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 26-27 เมษายน 2562 โดยมีนางหลิว ยู่ฟาง รองเลขาธิการสภาประชาชนกรุงปักกิ่ง รอให้การต้อนรับ โดยพลโท วีรชน สุคนธปฏิภาค รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึงภารกิจสำคัญของนายกรัฐมนตรี ดังนี้


การบรรยายสรุปการเข้าร่วมการประชุมเวทีข้อริเริ่มสายแถบและ เส้นทาง (Belt and Road Forum for International Cooperation – BRF) ครั้งที่ 2

เวลา 8.00 น. นายกรัฐมนตรี พร้อมด้วย นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี นายดอน ปรมัตถ์วินัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม นายพิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และ นางสาวชุติมา บุณยประภัศร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เข้าร่วมรับฟังการบรรยายสรุปเกี่ยวกับการประชุมฯ ณ โรงแรมที่พัก


จากนั้นเวลา 9.30 น. นายกรัฐมนตรีจะร่วมพิธีเปิดการประชุมเวทีข้อริเริ่มสายแถบและเส้นทางครั้งที่ 2 และกล่าวสุนทรพจน์ระหว่างการประชุมระดับสูง (High-Level Meeting) ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติจีน โดย นายหาน เจิ้ง รองนายกรัฐมนตรีจีน จะเป็นเจ้าภาพงานเลี้ยงอาหารกลางวันเพื่อเป็นเกียรติแก่นายกรัฐมนตรี ณ เรือนรับรองเตี้ยวหยูไถ


ในช่วงบ่าย นายกรัฐมนตรีจะได้พบหารือทวิภาคีกับผู้นำระดับสูงของจีน ได้แก่ นายหลี่ เค่อเฉียง นายกรัฐมนตรีจีน และนายสี จิ้นผิง ประธานาธิบดีจีน โดยในช่วงค่ำ นายสี จิ้นผิง ประธานาธิบดีจีน และภริยา จะเป็นเจ้าภาพงานเลี้ยงอาหารค่ำเพื่อเป็นเกียรติแก่ผู้นำประเทศที่เข้าร่วมการประชุมฯ และคู่สมรส ณ มหาศาลาประชาชน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 26/04/2019 12:49 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
"บิ๊กตู่"ถึงปักกิ่งร่วมประชุมเวทีสายไหมใหม่
26 เมษายน 2562


จีนพร้อมอัดฉีด 12,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ให้ไทยขยายทางรถไฟความเร็วสูง ไทยจะติดกับดักหนี้สินหรือไม่
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 25 เมษายน 2562 18:36



เซาท์ ไชน่า มอร์นิ่งโพสต์--แม้ไทยประกาศใช้เงินทุนภายในประเทศในโครงการขยายเครือข่ายรถไฟความเร็วสูง แต่ก็คงไม่แคล้วต้องยอมรับเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำจากธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งจีน (Export-Import Bank of China ชื่อย่อ CEXIM) ซึ่งสร้างกระแสวิตกต่อการลื่นไถลสู่กับดักหนี้สิน

สืบเนื่องจากบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือจีน-ลาว-ไทย ทั้งสามฝ่ายจะลงนามข้อตกลงคู่หุ้นส่วนโครงการรถไฟความเร็วสูง ซึ่งเป็นหัวใจของความริเริ่มหนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง (Belt and Road Initiative ชื่อย่อ BRI) ในสัปดาห์นี้ระหว่างการประชุมสุดยอด Belt and Road Forum (25-27 พ.ค.) ที่กรุงปักกิ่ง

เครือข่ายรถไฟความเร็วสูงสายนี้เชื่อมโยงนครคุนหมิงในมณฑลยูนนาน เข้ากับลาว และไทย และจะเป็นเส้นทางเข้าสู่ตลาดในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แห่งศตวรรษใหม่

ในส่วนของไทย เมื่อเร็วๆนี้ได้เริ่มก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงสายอิสาน ที่จะเชื่อมกับเส้นทางรถไฟความเร็วสูงในลาว และต่อไปยังจุดหมายปลายทางในนครคุนหมิงเส้นทางรถไฟความเร็วสูงสายแรกของไทยและลาวนี้ จะเป็นช่องทางให้จีนขนส่งสินค้าไปยังเอเชียใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อนุภูมิภาคแม่น้ำโขง (Greater Mekong Subregion /GMS) และคาบสมุทรมาเลย์

แต่การเจรจาและการก่อสร้างที่ดำเนินควบคู่กันไปอยู่ขณะนี้ มุ่งประเด็นไปที่ไทยและลาวจะได้รับผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจจากเส้นทางรถไฟความเร็วสูงอย่างเม็ดเต็มหน่วยอย่างไร ขณะเดียวกันไทยจะวางท่าทีและปฏิบัติต่อวิสัยทัศน์การฟื้นเส้นทางสายไหมยุคโบราณของจีนอย่างไรในขณะที่ดำเนินภารกิจที่ถูกเรียกว่า “การทูตที่มีชนักภาระหนี้สินติดหลังอยู่”

ในเดือน ม.ค. รัฐบาลไทยเปิดเผยว่า CEXIM ได้เสนอเงินกู้อัตราดอกเบี้ย 2.3 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งถูกกว่าอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยที่ 2.86 เปอร์เซ็นต์ของสถาบันการเงินภายในประเทศ

จนถึงขณะนี้ยังไม่มีการประกาศข้อตกลงกับธนาคารจีนใดออกมา มีเพียงรายงานข่าวของสื่อท้องถิ่นที่ระบุว่า ไทยได้บรรลุรายละเอียดในข้อตกลงแล้ว แต่ยังไม่มีการเปิดเผยสู่สาธารณะ

ขณะนี้ไทยกำลังดำเนินการก่อสร้างเส้นทางรถไฟความเร็วสูง ความยาว 607 กม. จากกรุงเทพฯไปถึงหนองคาย โดยการก่อสร้างเฟสแรกคือ เส้นทางจากกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ความยาว 252 กม. ทุนสร้าง เท่ากับ 179,000 ล้านบาท

ขณะเดียวกันก็มีกระแสวิตกเรื่องการขยายการลงทุนของจีน และปักกิ่งจะเข้ามาใช้ที่ดินสองข้างทางรถไฟอย่างไรเมื่อเปิดใช้เส้นทาง

แหล่งข่าวกระทรวงการคลังไทยเผยว่า 80 เปอร์เซ็นต์ของเงินกู้จะเป็นสกุลเงินบาท จีนเพียงแต่รับผิดชอบจัดการการฝึกฝนด้านเทคนิกให้กับบุคคลากรที่จะมาปฏิบัติงานระบบรถไฟความเร็วสูง

การก่อสร้างเส้นทางรถไฟความเร็วสูงเฟสแรกเสร็จไปอย่างคร่าวๆราวกึ่งหนึ่งแล้ว ทั้งนี้ก่อนลงมือก่อสร้างฯในปลายปี 2017 ไทยต้องเผชิญแรงกดดันอย่างหนักจากจีนซึ่งเรียกร้องสิทธิในการควบคุมปฏิบัติการ พาณิชย์ และการเงินของโครงการฯ

สำหรับการก่อสร้างเส้นทางรถไฟเฟสที่สอง งบลงทุน 211,000 ล้านบาท เป็นที่คาดว่า 85 เปอร์เซ็นต์ของงบลงทุนจะมาจากเงินกู้ระหว่างประเทศ เส้นทางฯนี้มีความยาว 355 กม. เชื่อมจากนครราชสีมาไปยังหนองคาย รวมงบลงทุนในโครงการเส้นทางรถไฟในไทย ทั้งสิ้น 390,000 ล้านบาท

สำหรับเส้นทางรถไฟความเร็วสูงในลาว ซึ่งได้ทุนสนับสนุนจากจีน ความยาว 409 กม. จากนครเวียงจันทน์ไปยังคุนหมิง การก่อสร้างเริ่มก่อนไทยหนึ่งปี เป็นที่คาดว่าจะเปิดใช้ในปี 2022

โครงการก่อสร้างเส้นทางรถไฟความเร็วสูงในไทยนั้น จุดกระแสถกเถียงกันได้แก่ ไทยจะรับภาระหนี้กองโตจากสินเชื่อระหว่างประเทศอย่างไร รวมทั้งผลประโยชน์กำไรที่จะได้จากเส้นทางรถไฟฯเมื่อเปิดใช้แล้ว

ด้านรัฐบาลไทยได้โปรโมทเส้นทางรถไฟความเร็วสูงจะเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของประเทศ เป็นศูนย์กลางในอนุภูมิภาคแม่น้ำโขง ฮับโลจิสติกส์ และประตูสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของจีน

ไทยยังหวังบรรลุวิสัยทัศน์ “เส้นทางสายไหมทางทะเล” ของจีน โดยการผลักดันการเชื่อมโยงกับท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบัง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเมกะโปรเจ็ท “ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก” หรือ อีอีซี (Eastern Economic Corridor)

นักวิเคราะห์ประจำศูนย์วิจัยธนาคารกสิกรไทย นาย ศิวัสน์ เหลืองสมบูรณ์ กล่าวว่าการได้รับผลประโยชน์จากเส้นทางฯยังต้องเผชิญปัญหา แต่มันก็จะเปิดโอกาสทางอ้อม ในที่สุดไทยไม่อาจตก “ขบวนรถไฟสายหนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง”นี้ได้



“จากมุมมองของจีน เส้นทางนี้จะเป็นประโยชน์ในแง่ของค่าใช้จ่ายด้านเทคโนโลยีและโครงสร้างพื้นฐาน แต่สำหรับไทยและลาวนั้น มีพื้นที่ที่เล็กกว่ามาก เส้นทางไม่ได้ผ่านเขตการผลิตหรือเขตที่มีความหนาแน่นประชากรสูง ซึ่งจะส่งผลระยะยาวต่อบริการรถไฟ”

“ส่วนผลประโยชนทางอ้อมที่จะได้รับ ได้แก่ การพัฒนาเครือข่ายโลจิสติกส์ การค้าปลีก การก่อสร้าง อสังหาริมทรัพย์ การพัฒนาเขตเมือง และการจ้างงาน”

นาย ศิวัสน์ คิดว่าไทยจะหลีกเลี่ยงกับดักหนี้สินได้ แม้ว่าจะต้องพึ่งพิงเงินกู้จากสถาบันการเงินจีน

“ไทยมีเครดิตด้านการเงิน ที่จะหาแหล่งเงินกู้ได้หลายทาง ซึ่งแตกต่างจากลาว และประเทศในเอเชียกลาง ดังนั้นจะไม่เกิดปัญหาระดับหนี้ที่ไม่สมส่วน” นาย ศิวัสน์ กล่าว

ผู้เชี่ยวชาญด้านคมนาคม นาย สุรเชษฐ์ ประวีณวงศ์วุฒิ ชี้ว่ามีความเป็นไปได้ต่ำที่เส้นทางจะก่อผลประโยชน์ เนื่องจากในท้องถิ่นยังขาดโครงสร้างพื้นฐานสำหรับให้ประชาชนเข้าถึงเส้นทางรถไฟความเร็วสูง “เมื่อไม่นานมานี้รัฐบาลไทยได้ไฟเขียวโครงการก่อสร้างมอเตอร์เวย์ในบริเวณใกล้ๆเส้นทางรถไฟความเร็วสูง”

การประชุมสุดยอด BRI ครั้งที่สอง จัดขึ้น 3 วันในปักกิ่งจากวันพฤหัสฯ-วันเสาร์นี้ ไทยเข้าร่วมซัมมิตฯเป็นครั้งแรก โดย พล เอก ประยุทธ จันทร์โอชา ได้เดินทางไปร่วมประชุม และจะพบปะกับประธานาธิบดี สี จิ้นผิง นายกรัฐมนตรีหลี่ เค่อเฉียง และรองนายกรัฐมนตรี หัน เจิ้ง

ทั้งนี้ จีนไม่ได้เชิญไทยเข้าร่วมซัมมิต BRI ครั้งแรกที่จัดในปี 2017 เนื่องจากรัฐบาลไทยยังไม่ประกาศคำมั่นสัญญาเข้าร่วมความริเริ่ม BRI
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 26/04/2019 5:15 pm    Post subject: Reply with quote

นายกฯไทย-จีน หารือเห็นพ้องEECขับเคลื่อนศก. หนุนสรุปเจรจาRCEPในปีนี้
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 25 เมษายน 2562 16:25


"ประยุทธ์" หารือ นายกฯจีน ช่วงระหว่างประชุมBRF พร้อมเป็นสะพานเชื่อมโยงอาเซียน ปลื้มความสัมพันธ์ มุ่งพัฒนาความร่วมมือศก. เร่งโครงการรถไฟไทย-จีน เห็นพ้องEECขับเคลื่อนศก.ไทยและภูมิภาค หนุนสรุปเจรจาRCEPในปีนี้

วันนี้ (26เม.ย.) เวลา 15.55 น. ตามเวลาท้องถิ่น ณ กรุงปักกิ่ง พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้พบหารือกับนายหลี่ เค่อเฉียง นายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐประชาชนจีน ในระหว่างเข้าร่วมการประชุมเวทีข้อริเริ่มสายแถบและเส้นทาง (Belt and Road Forum for International Cooperation - BRF) ครั้งที่ 2 ณ กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน โดยภายหลังการหารือพลโท วีรชน สุคนธปฏิภาค รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี สรุปสาระสำคัญดังนี้

นายกรัฐมตรีกล่าวขอบคุณรัฐบาลจีนสำหรับการต้อนรับที่อบอุ่นในการเยือนจีนครั้งนี้ และยินดีที่ได้เข้าร่วมการประชุมเวทีข้อริเริ่มสายแถบและเส้นทาง (Belt and Road Forum for International Cooperation - BRF) ครั้งที่ 2 สะท้อนให้เห็นถึงความตั้งใจของจีนและประเทศผู้เข้าร่วมอื่น ๆ ในการสนับสนุนข้อริเริ่มหนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของไทยที่ให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงในภูมิภาค ไทยพร้อมเป็นสะพานเชื่อมโยงระหว่างจีน ประเทศกลุ่ม ACMECS และอาเซียน นายกรัฐมนตรีหวังว่า ทุกฝ่ายจะร่วมกันส่งเสริมความเชื่อมโยงด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ดิจิทัล เทคโนโลยีและนวัตกรรม และโครงสร้างพื้นฐานระหว่างกัน ในโอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีกล่าวชื่นชมวิสัยทัศน์ของผู้นำจีนที่พัฒนาและปฏิรูปประเทศจนมีความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วและยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนชาวจีน ไทยหวังว่าจะได้ร่วมมือกับจีนเพื่อเรียนรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างกันต่อไป

ทั้งสองฝ่ายได้หารือถึงความสัมพันธ์ทวิภาคี โดยผู้นำไทยและจีนต่างยินดีที่ทั้งสองประเทศ มีความสัมพันธ์ที่ราบรื่นและใกล้ชิดกันมาอย่างยาวนาน ซึ่งเป็นพื้นฐานที่ดีสำหรับการสร้างความร่วมมือที่ใกล้ชิดและผลักดันความร่วมมือเชิงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ที่รอบด้าน โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจและความเชื่อมโยงให้มีผลเป็นรูปธรรม นายกรัฐมนตรีกล่าวขอบคุณรัฐบาลจีนในการรับเสด็จพระราชวงศืและการต้อนรับการเยือนระดับสูงของไทยในช่วงปีที่ผ่านมา พร้อมกล่าวเชิญนายหลี่ เค่อเฉียง นายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐประชาชนจีน เยือนไทยอย่างเป็นทางการ ในห้วงการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก (East Asia Summit) ครั้งที่ 14 ที่ประเทศไทยด้วย

สำหรับความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ ทั้งสองฝ่ายต่างมองว่า ไทยและจีนยังมีศักยภาพในการพัฒนาความร่วมมือด้านเศรษฐกิจได้อีกมาก เพื่อบรรลุเป้าหมายการค้าทวิภาคีที่ตั้งไว้ที่ 140,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2564 นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ไทยยินดีอย่างยิ่งที่มีส่วนสนับสนุนการจัดงานแสดงสินค้านำเข้านานาชาติ (China International Import Expo) ครั้งที่ 1 และไทยพร้อมเข้าร่วมงานดังกล่าวในปีต่อไป โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรียังกล่าวเชิญชวนผู้ประกอบการของจีนเข้ามาลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายของไทย ซึ่งสอดคล้องกับนโยบาย Made in China 2025 ของจีนด้วย อาทิ อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ หุ่นยนต์ การซ่อมบำรุงอากาศยาน ระบบราง เป็นต้น ในส่วนของความร่วมมือโครงการรถไฟไทย – จีน นายกรัฐมนตรียินดีที่มีการลงนามบันทึกความร่วมมือเส้นทางเชื่อมต่อทางรถไฟระหว่างหนองคายและเวียงจันทน์ พร้อมเน้นย้ำว่า ไทยได้เร่งรัดให้โครงการรถไฟไทย – จีน ให้คืบหน้าตามกำหนด จึงขอให้ทั้งสองฝ่ายร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดต่อไป

เรื่องความร่วมมือ 3 ฝ่าย (ไทย – จีน – ญี่ปุ่น) ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องกันว่า การพัฒนาโครงการ EEC จะเป็นกลจักรสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยและภูมิภาค รวมทั้งเป็นประตูเชื่อมโยงจีนผ่านเขตอ่าวกวางตุ้ง – ฮ่องกง – มาเก๊า และเขตเศรษฐกิจสามเหลี่ยมลุ่มแม่น้ำจูเจียงต่อไป นายกรัฐมนตรีเชิญชวนจีนให้นำคณะเข้ามาศึกษาดูงานในพื้นที่ EEC ใน 12 สาขาอุตสาหกรรมเป้าหมาย โดยไทยมีสิทธิประโยชน์ให้แก่นักลงทุนต่างชาติในพื้นที่ดังกล่าว อาทิ การยกเว้นหรือลดหย่อนภาษีอากร การถือครองกรรมสิทธิในที่ดิน เป็นต้น

ในช่วงท้าย นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ไทยในฐานะประธานอาเซียน ได้ให้ความสำคัญกับวิสัยทัศน์ความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์อาเซียน – จีน ค.ศ. 2030 ซึ่งจะเสริมสร้างรากฐานที่แข็งแกร่งและส่งเสริมความร่วมมือบนผลประโยชน์ร่วมกัน รวมทั้งสนับสนุนให้มีการสรุปผลการเจรจาความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค หรือ RCEP ภายในปีนี้ ซึ่งต้องใช้ความร่วมมือจากทุกฝ่าย โดยไทยยินดีที่จีนตอบรับเป็นเจ้าภาพการประชุมรัฐมนตรี RCEP สมัยพิเศษในเดือนสิงหาคมปีนี้ นอกจากนี้ ไทยสนับสนุนปีการแลกเปลี่ยนสื่อมวลชนอาเซียน – จีน ซึ่งจะเป็นช่องทางสำคัญในการสร้างความเข้าใจในระดับประชาชนของทั้งสองประเทศ ผ่านการร่วมผลิตภาพยนตร์และสารคดี กิจกรรมสัมมนาสื่อมวลชนอาเซียน – จีน เป็นต้น

//----------------------------------------

อ่านทุกตัวอักษร สุนทรพจน์ “สี จิ้นผิง” ในพิธีเปิดการประชุมสุดยอด ‘หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง’ ครั้งที่ 2 เน้นปฏิรูปประเทศ เปิดเสรีมากขึ้น [ชมคลิป]
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 26 เมษายน 2562 14:08



MGR Online – ประธานาธิบดีจีนกล่าวสุนทรพจน์ในพิธีเปิดการประชุมสุดยอดว่าด้วยความร่วมมือระหว่างประเทศ ‘หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง’ ครั้งที่ 2 ที่กรุงปักกิ่ง ย้ำ 5 มาตรการปฏิรูปและเปิดเสรีทั้งในเชิงระบบและเชิงโครงสร้าง เพิ่มความร่วมมือด้านทรัพย์สินทางปัญญา การนำเข้าสินค้าและบริการ รวมถึงสินค้าเกษตร ปรับปรุงกลไลการแลกเปลี่ยนเงินหยวน

วันนี้ (26 เม.ย.) ในการเปิดประชุมสุดยอดว่าด้วยความร่วมมือระหว่างประเทศ ‘หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง’ ครั้งที่ 2 ที่กรุงปักกิ่ง ซึ่งผู้นำสูงสุดจาก 37 ประเทศ รวมไปถึงเลขาธิการใหญ่สหประชาชาติ ผู้อำนวยการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ และผู้แทนต่างชาติกว่า 5,000 คน เข้าร่วมประชุม โดยจะมีการอภิปรายประเด็นสำคัญต่าง ๆ เช่น การผลักดัน ‘หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง’ ให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างมีคุณภาพสูง การขับเคลื่อนการเชื่อมต่อระหว่างกัน การบุกเบิกพลังใหม่เพื่อกระตุ้นการเติบโต การเสริมสร้างการเชื่อมโยงทางนโยบาย ตลอดจนการสร้างความสัมพันธ์แบบหุ้นส่วนที่ใกล้ชิดกันมากขึ้น



นายสี จิ้นผิง ประธานาธิบดีจีน ผู้ริเริ่มนโยบายดังกล่าวได้กล่าวสุนทรพจน์ในพิธีเปิดการประชุมฯ ความว่า

“เมื่อสองปีก่อน เราได้จัดการประชุมสุดยอดว่าด้วยความร่วมมือระหว่างประเทศครั้งแรกที่นี่ วางแผนพิมพ์เขียวความร่วมมือที่เกี่ยวกับการติดต่อทางนโยบาย การเชื่อมโยง สิ่งอำนวยความสะดวก การคล่องตัวทางการค้า การผสมผสานของเงินทุน และการเชื่อมใจถึงกันของประชาชน ข้าพเจ้าหวังว่าจะร่วมมือกับทุกท่าน ปีนสู่ที่สูงมองไปให้ไกล จับมือก้าวหน้ากันไป ร่วมกันบุกเบิกพัฒนาอนาคตดีงามของ ‘หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง’

“ข้อริเริ่มเกี่ยวกับการร่วมกันพัฒนา ‘หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง’ มีวัตถุประสงค์รวมตัวกันเพื่อเชื่อมโยงและติดต่อกัน กระชับความร่วมมือที่เป็นรูปธรรมให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น จับมือกันรับมือกับความท้าทายและความเสี่ยงประเภทต่าง ๆ ที่มนุษยชาติกำลังเผชิญหน้าอยู่ เพื่อให้บรรลุซึ่งประโยชน์แก่กันและร่วมกันได้รับชัยชนะ ร่วมพัฒนาไปด้วยกัน ภายใต้ความพยายามร่วมกันของฝ่ายต่าง ๆ ความเชื่อมโยงกันได้เกิดขึ้นในหลายประเทศ และ หลายท่าเรือของ 6 ระเบียง 6 เส้นทาง โครงการความร่วมมือจำนวนมากได้เริ่มลงมือปฏิบัติ ผลประชุมประการต่าง ๆ ของการประชุมสุดยอดครั้งแรกได้ดำเนินการไปอย่างราบรื่นดี จีนกับกว่า 150 ประเทศและองค์การระหว่างประเทศได้ลงนามในข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือ ‘หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง’ ข้อริเริ่มเกี่ยวกับการร่วมกันพัฒนา’หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง’ได้เชื่อมกับแผนการความร่วมมือและการพัฒนาและขององค์การระหว่างประเทศและองค์การภูมิภาคต่าง ๆ เช่น สหประชาชาติ อาเซียน สหภาพแอฟริกา สหภาพยุโรป และสหภาพเศรษฐกิจยูเรเซีย เป็นต้น และได้เชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์การพัฒนาของประเทศต่าง ๆ นับจากแผ่นดินใหญ่เอเชีย-ยุโรปไปถึงแอฟริกา อเมริกา โอเชียเนีย

“การร่วมกันพัฒนา ‘หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง’ ได้เปิดโอกาสใหม่ให้กับการเติบโตทางเศรษฐกิจของโลก ได้สร้างเวทีใหม่เพื่อการลงทุนและการค้าระหว่างประเทศ ได้ขยายการลงมือปฏิบัติที่ได้ผลจริงใหม่เพื่อปรับปรุงการบริหารจัดการทั่วโลกให้มีความสมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น ได้สร้างคุณูปการใหม่เพื่อเพิ่มพูนความผาสุกของประชาชนประเทศต่าง ๆ ได้กลายเป็นหนทางแห่งโอกาสความร่วมมือกัน และหนทางแห่งความเจริญรุ่งเรือง ข้อเท็จจริงแสดงให้เห็นว่า การร่วมกันพัฒนา’หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง’ ไม่เพียงแต่ได้เสนอโอกาสใหม่ให้กับการพัฒนาของประเทศต่าง ๆ เท่านั้น หากยังได้เปิดบันทึกหน้าใหม่ให้กับการพัฒนาและการเปิดประเทศของจีนอีกด้วย

ภาพเอเอฟพี
ภาพเอเอฟพี

“จีนมีสำนวนโบราณว่า สรรพสิ่งล้วนมีที่มาจึงจะกำเนิดได้ ทุกเรื่องล้วนต้องอาศัยสัจธรรมจึงจะประสบความสำเร็จ การร่วมกันพัฒนา ‘หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง’ เป็นการคล้อยตามกระแสแห่งโลกาภิวัตน์ทางเศรษฐกิจ คล้อยตามข้อเรียกร้องแห่งยุคสมัยในการปฏิรูประบบบริหารจัดการทั่วโลก คล้อยตามข้อเรียกร้องอย่างแรงกล้าของประชาชนประเทศต่าง ๆ ที่อยากดำรงชีวิตที่ดียิ่งขึ้น

“ในการมุ่งหน้าสู่อนาคต เราต้องโฟกัสกับจุดสำคัญ ทำงานอย่างละเอียด ร่วมกันวาด ‘ภาพอันวิจิตรประณีต’ ผลักดันการร่วมสร้าง ‘หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง’ ให้เดินหน้าตามทิศทางการพัฒนาแห่งคุณภาพสูงอย่างต่อเนื่อง

“เราต้องยึดมั่นในหลักการแห่งการร่วมหารือและร่วมสร้างสรรค์ ส่งเสริมลัทธิพหุภาคี ภารกิจร่วมกันของพวกเราก็ต้องทำร่วมกัน ผลักดันทุกฝ่ายให้แสดงความได้เปรียบของตนเอง ใช้ความสามารถของแต่ละฝ่าย ดำเนินความร่วมมือทุกรูปแบบ เช่น แบบทวิภาคี ไตรภาคี และพหุภาคี แสดงความเหนือกว่าและศักยภาพของทุกฝ่ายให้เต็มที่ ระดมพลให้เกิดขุมพลังที่ยิ่งใหญ่

“เราต้องยืนหยัดแนวคิดแห่งการเปิดสู่ภายนอก เน้นการรักษาสิ่งแวดล้อม และ สร้างความสุจริตโปร่งใส ไม่ปิดกั้นคนอื่น กำหนดยึดหลักสีเขียวอันเป็นเรื่องของการรักษาสิ่งแวดล้อมให้เป็นพื้นฐานความคิด ขับเคลื่อนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การลงทุนแบบสีเขียว การเงินแบบสีเขียว ปกป้องบ้านเกิดที่พวกเราอาศัยอยู่ร่วมกัน ยืนหยัดให้ความร่วมมือทุกด้านทุกรายให้ดำเนินการภายใต้มาตรฐานเดียวกัน เน้นการปราบปรามทุจริตคอรัปชั่น พวกเราจึงเสนอ “ข้อริเริ่มปักกิ่งว่าด้วยเส้นทางสายไหมแห่งความสุจริตโปร่งใส”

“เราต้องพยายามบรรลุเป้าหมายที่มีมาตรฐานสูง เป็นประโยชน์ต่อคุณภาพชีวิตของประชาชน และยั่งยืน นำกฎเกณฑ์และมาตรฐานทั่วไปที่ทุกฝ่ายสนับสนุนมาใช้ ส่งเสริมวิสาหกิจให้ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์กับมาตรฐานสากลที่เป็นที่ยอมรับทั่วไปในการบริหารจัดการ การเปิดรับและการประมูลแข่งขันกัน เป็นต้น ขณะเดียวกัน ต้องเคารพกฎหมายและข้อบังคับของประเทศต่างๆ ต้องยึดมั่นในความคิดการพัฒนาที่ถือประชาชนเป็นศูนย์กลาง มุ่งใช้ความพยายามขจัดความยากจน เพิ่มตำแหน่งงาน ยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ ทำให้ผลงานจากการร่วมสร้าง ‘หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง’ กระจายสู่ประชาชนทั้งปวงอย่างทั่วถึง สร้างคุณูปการที่แท้จริงต่อการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมในท้องถิ่น พร้อมกันนั้น ต้องประกันความยั่งยืนด้านพาณิชยกรรมและการคลัง ทำให้ดีตั้งแต่จุดเริ่มต้นจนถึงปลายทาง และคว้าความสำเร็จให้ได้ในงานทุกอย่างที่ทำ

“จุดสำคัญของการร่วมสร้างหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางคือ การเชื่อมโยงกัน เราควรสร้างความสัมพันธ์แบบหุ้นส่วนที่มีการเชื่อมโยงถึงกันทั่วโลก บรรลุการพัฒนาและความเจริญรุ่งเรืองด้วยกัน ข้าพเจ้าเชื่อมั่นว่า ขอแต่ให้พวกเราทุกคนสามัคคีเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ใช้ความพยายามร่วมกัน คอยอำนวยความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ถึงแม้ห่างกันไกลหมื่นลี้ ก็สามารถเดินหน้าไปพร้อมกันบนหนทางแห่งการได้รับผลประโยชน์ร่วมกันได้


“โครงสร้างพื้นฐานเป็นรากฐานแห่งการเชื่อมโยงกัน และหากขาดโครงสร้างพื้นฐาน ก็จะเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาที่หลายประเทศเผชิญอยู่ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่มีคุณภาพสูง ใช้ได้ยั่งยืน โดยต้องต้านทานความเสี่ยงได้ มีราคาสมเหตุสมผล มีความกลมกลืน และเข้าถึงได้ อำนวยให้ทุกประเทศใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่ตนมี ปรับตัวให้เข้ากับห่วงโซ่อุปทาน ห่วงโซ่การผลิต ห่วงโซ่มูลค่า และบรรลุการพัฒนาแบบประสานกัน จีนจะใช้ความพยายามอย่างต่อเนื่องกับทุกฝ่าย นำร่องด้วยการสร้างระเบียงเศรษฐกิจต่างๆ เช่น ช่องทางทางบกข้ามทวีปเอเชีย-ยุโรป อาศัยขบวนรถไฟขนส่งสินค้าเส้นทางระหว่างจีน-ยุโรป ด้วยช่องทางคมนาคมขนาดใหญ่ อาทิ ช่องทางใหม่ทั้งทางบกและทางทะเล และมีทางด่วนสารนิเทศเป็นโครงกระดูก ถือทางรถไฟ ท่าเรือ เครือข่ายท่อน้ำมันกับก๊าซเป็นหลักประกัน เราจะแสดงบทบาทสนับสนุนทางการเงินเพื่อร่วมสร้างหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง ผ่านมูลนิธิเส้นทางสายไหม กองทุนเฉพาะกิจทุกประเภท พันธบัตรเส้นทางสายไหม เพื่อสนับสนุนศูนย์ความร่วมมือเพื่อการบุกเบิกและระดมทุนให้ดำเนินการอย่างมีประสิทธิผล พวกเรายินดีต้อนรับองค์กรการเงินพหุภาคี องค์กรการเงินของทุกประเทศให้มีส่วนร่วมในการระดมทุนกับการลงทุนในโครงการร่วมสร้างหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง ส่งเสริมให้ดำเนินความร่วมมือด้านการตลาดแบบภาคีหลายฝ่าย เพื่อบรรลุเป้าหมายที่ให้ทุกฝ่ายได้รับประโยชน์ร่วมกันผ่านรูปแบบที่ให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วม

“การไหลเวียนทั้งของสินค้า กองทุน เทคโนโลยี และบุคคล สามารถสร้างแรงขับเคลื่อนที่ทรงพลัง และโอกาสการพัฒนาอันกว้างไกลให้กับการเติบโตของเศรษฐกิจ “แม่น้ำสายใหญ่ไม่ปฏิเสธให้สายธารเล็กๆไหลเข้าร่วม จึงจะมีน้ำมากได้”

“เราจะส่งเสริมเสรีภาพและความสะดวกทางการค้าและการลงทุน คัดค้านลัทธิกีดกันทางการค้าอย่างเด็ดเดี่ยวแน่วแน่ ขับเคลื่อนให้การพัฒนาเศรษฐกิจโลกาภิวัตน์เป็นไปตามแนวทางที่เปิดกว้างยิ่งขึ้น เกื้อกูลกัน เป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่าย สมดุลกัน และมีชัยชนะร่วมกัน เราจะทำข้อตกลงการค้าเสรีที่มีมาตรฐานสูงกับประเทศต่างๆมากขึ้น เสริมสร้างความร่วมมือด้านด่านศุลกากร การจัดเก็บภาษี และการตรวจสอบ สร้างกลไกความร่วมมือการจัดเก็บภาษี ‘หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง’ เร่งขยายความร่วมมือในการรับรองคุณสมบัติของผู้ประกอบการระหว่างประเทศ เรายังได้ร่างกฎระเบียบเกี่ยวกับความร่วมมือในการระดมเงินทุน ‘หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง’ ปีนี้ จีนจะจัดงานมหกรรมนำเข้าสินค้านานาชาติครั้งที่ 2 สร้างช่องทางให้ทุกฝ่ายสะดวกในการเข้าสู่ตลาดจีนมากขึ้น

“นวัตกรรมเป็นพลังการผลิต วิสาหกิจจะแข็งแกร่งขึ้นก็เพราะการสร้างนวัตกรรม ประเทศจะมีความเจริญรุ่งเรืองขึ้น ก็เพราะการสร้างนวัตกรรมเช่นกัน เราจะดำเนินการให้สอดคล้องกับแนวโน้มแห่งการพัฒนาของการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่สี่ ร่วมกันกุมโอกาสการพัฒนาจากความเป็นดิจิทัล ความเป็นระบบอินเทอร์ร์เน็ต และความเป็นอัจฉริยะ ร่วมกันแสวงหาเทคโนโลยีใหม่ ธุรกิจใหม่ และรูปแบบการพัฒนาใหม่ แสวงหาพลังขับเคลื่อนการพัฒนา และหนทางการพัฒนาใหม่ สร้างเส้นทางสายไหมดิจิทัล และเส้นทางสายไหมแห่งการสร้างนวัตกรรม


“จีนจะปฏิบัติตามแผนปฏิบัติการเกี่ยวกับการร่วมสร้างนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ‘หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง’ จะร่วมกับทุกฝ่ายขับเคลื่อนสี่โครงการ ได้แก่ การแลกเปลี่ยนทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และบุคลากร ร่วมสร้างห้องทดลองทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีผสม ดำเนินความร่วมมือในการดำเนินศูนย์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และการโอนเทคโนโลยี เราจะปฏิบัติตามโครงการแลกเปลี่ยนบุคลากร ช่วงห้าปีข้างหน้า จะสนับสนุนให้บุคลากรด้านนวัตกรรมทั้งจีนและต่างชาติรวมห้าพันคนดำเนินการแลกเปลี่ยน การฝึกอบรม และความร่วมมือด้านการวิจัย เรายังจะสนับสนุนวิสาหกิจประเทศต่างๆ ร่วมมือกันในการขับเคลื่อนการสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านการสื่อสารโทรคมนาคม ยกระดับการเชื่อมต่อทางอินเทอร์เน็ต

“ความไม่สมดุลด้านการพัฒนาเป็นความไม่สมดุลใหญ่ที่สุดของโลกในปัจจุบัน การร่วมสร้าง ‘หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง’ ควรมองปัญหาจากมุมมองการพัฒนาอย่างเสมอต้นเสมอปลาย หลอมรวมแนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืนอยู่ในโครงการตั้งแต่การคัดเลือก การดำเนินการ และการกำกับดูแลทุกด้าน เราควรมุ่งกระชับความร่วมมือเพื่อการพัฒนานานาชาติ สร้างโอกาสการพัฒนาแก่ประเทศกำลังพัฒนามากขึ้น ช่วยประเทศเหล่านี้พ้นจากความยากจน และบรรลุการพัฒนาที่ยั่งยืน เพื่อการนี้ เราจะร่วมกับทุกฝ่ายในการสร้างสหพันธ์เมืองที่ยั่งยืน’หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง’ สหพันธ์ระหว่างประเทศเพื่อการพัฒนาสีเขียว กำหนดหลักการการลงทุนสีเขียว’หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง’ เสนอข้อริเริ่มความร่วมมือว่าด้วยการเอาใจใส่เด็ก แบ่งปันผลการพัฒนา และส่งเสริมการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เราจะเริ่มต้นสร้างเวทีบริการบิ๊กดาต้าอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศ จะดำเนินโครงการทูตเส้นทางสายไหมสีเขียวต่อไป และร่วมกับประเทศที่เกี่ยวข้อง ดำเนินโครงการความร่วมมือใต้ใต้ว่าด้วยการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ‘หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง’ เรายังจะลงลึกความร่วมมือด้านการเกษตร สาธารณสุข การบรรเทาภัย ทรัพยากรน้ำ และอื่นๆ เพิ่มความร่วมมือกับสหประชาชาติในการส่งเสริมการพัฒนา พยายามลดความเหลื่อมล้ำด้านการพัฒนาให้น้อยลง

“เราควรสร้างสะพานแห่งการเรียนรู้กันและเป็นแบบอย่างกันระหว่างอารยธรรมที่ต่างกันอย่างจริงจัง ดำเนินความร่วมมือด้านการศึกษา วิทยาศาสตร์ วัฒนธรรม การกีฬา การท่องเที่ยว สาธารณสุข โบราณคดี และอื่นๆ ทุกสาขา เพิ่มการไปมาหาสู่กันระดับรัฐสภา พรรคการเมือง และกลุ่มองค์การภาคประชาชน เพิ่มการแลกเปลี่ยนกลุ่มชนต่างๆ เช่น สตรี วัยหนุ่มสาว และผู้พิการ เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนทางบุคคลที่หลากหลาย ในเวลา 5 ปีข้างหน้า จีนจะเชิญผู้แทนพรรคการเมือง คลังสมอง และกลุ่มองค์การภาคประชาชน จากประเทศที่มีส่วนร่วมใน ‘หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง’ จำนวน 10,000 คน มาดำเนินการแลกเปลี่ยนในจีน เราจะส่งเสริมและสนับสนุนกลุ่มสังคมของประเทศรายทางดำเนินความร่วมมือเพื่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนอย่างกว้างขวาง ร่วมดำเนินโครงการอบรมด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การปราบปรามคอรัปชั่น และด้านอื่น ๆ ลงลึกความร่วมมือด้านการพัฒนาทรัพยากรบุคคลต่างๆ เราจะดำเนินโครงการทุนการศึกษาภาครัฐบาล “เส้นทางสายไหม” อย่างต่อเนื่อง จัดเวทีแสดงความคิดสร้างสรรค์ของเยาวชน ‘หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง’ ค่ายฤดูร้อน “สะพานภาษาจีน” สำหรับนักเรียนนักศึกษาวัยหนุ่มสาว และกิจกรรมอื่น ๆ เรายังจะตั้งคณะกรรมการความร่วมมือคลังสมองนานาชาติ ‘หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง’ สหพันธ์ความร่วมมือข่าวสาร และกลไกอื่น เพื่อรวบรวมภูมิปัญญาและกำลังของทุกฝ่าย

“ปีนี้เป็นปีครบรอบ 70 ปีแห่งการสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีน เมื่อ 70 ปีก่อน ประชาชนจีนหลายชั่วอายุคนพยายามแสวงหา และได้ก่อตั้งจีนใหม่ ภายใต้การนำของพรรคคอมมิวนิสต์จีนในที่สุด จากนั้นมา ประชาชนจีนได้ยืนขึ้นแล้ว และนับแต่นั้นชะตากรรมของประชาชนก็อยู่ในมือของตนเอง ด้วยการต่อสู้อย่างทรหดอดทนเป็นเวลา 70 ปี ประชาชนจีนยืนหยัดตามสภาพที่เป็นจริงของประเทศตน แสวงหาทิศทางก้าวหน้าท่ามกลางภาคการปฏิบัติ บุกเบิกหนทางสังคมนิยมที่มีเอกลักษณ์ของจีน จีนในทุกวันนี้ ได้ยืนอยู่บนจุดเริ่มต้นใหม่ทางประวัติศาสตร์ เรารู้ซึ้งว่า ถึงแม้มีผลงานรุ่งโรจน์ แต่ยังมีภูเขาหลายต่อหลายลูกที่ต้องก้าวข้ามในทางข้างหน้า และยังมีชายหาดอันตรายหลายต่อหลายแห่งที่ต้องลุย เราจะย่างก้าวใหญ่บนหนทางสังคมนิยมที่มีเอกลักษณ์ของจีนต่อไป ยืนหยัดลงลึกการปฏิรูปทุกด้าน ยืนหยัดการพัฒนาด้วยคุณภาพสูง ยืนหยัดเปิดเสรีมากขึ้น ยืนหยัดเดินทางพัฒนาที่สันติ เดินหน้าสร้างประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันของมวลมนุษยชาติ ในขั้นต่อไป จีนจะใช้มาตรการปฏิรูปและเปิดเสรีสำคัญ ๆ ทั้งในเชิงระบบและเชิงโครงสร้าง เพื่อยกระดับการเปิดเสรีให้สูงขึ้น


“ประการที่หนึ่ง อนุมัติทุนต่างชาติเข้าตลาดได้กว้างขวางมากขึ้น การสร้างความเป็นธรรมด้านการแข่งขันจะสามารถยกระดับประสิทธิภาพให้สูงขึ้น และนำมาซึ่งความเจริญรุ่งเรืองได้ จีนได้ให้ปฏิบัติการที่เท่าเทียมกับทุกคนก่อนอนุมัติเข้าตลาดพร้อมกับตัดบัญชีรายการข้อห้ามสำหรับการเข้าตลาดให้น้อยลง โดยจะเดินหน้าเปิดเสรีภาคบริการ ภาคการผลิต และภาคการเกษตรสมัยใหม่ในทุกด้าน และอนุมัติให้ทุนต่างชาติเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่หรือเป็นผู้ประกอบการทุนเอกเทศในหลากหลายแวดวงมากขึ้น เราจะวางแผนเปิดเขตทดลองการค้าเสรีอีกหลายเขต เร่งหารือเปิดเมืองท่าการค้าเสรีให้เร็วขึ้น เราจะเร่งบัญญัติกฎข้อบังคับที่เกี่ยวข้องให้เร็วขึ้น ประกันให้ดำเนิน “กฎหมายว่าด้วยการลงทุนต่างชาติ” อย่างเข้มงวด เราจะเดินหน้าปฏิรูปโครงสร้างจากแง่อุปทานภายในประเทศด้วยการสร้างความเป็นธรรมด้านการแข่งขัน การเปิดเสรี และการให้ความร่วมมือ ยกเลิกการผลิตที่ล้าสมัยและล้นตลาด ยกระดับคุณภาพและประสิทธิภาพของระบบอุปทานให้สูงขึ้น

“ประการที่สอง ทุ่มกำลังในการเพิ่มความร่วมมือระหว่างประเทศด้านการคุ้มครองสิทธิทรัพย์สินทางปัญญาให้มากขึ้น หากไม่มีความคิดสร้างสรรค์ก็จะไม่มีความก้าวหน้า การคุ้มครองสิทธิทรัพย์สินทางปัญญาให้มากขึ้น ไม่เพียงแต่คุ้มครองสิทธิประโยชน์ที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้ประกอบการทั้งในและต่างประเทศเท่านั้น แต่ยังส่งเสริมความต้องการจากข้างใน ในการเดินหน้าสร้างประเทศให้เป็นประเทศที่มีความคิดสร้างสรรค์และพัฒนาด้วยคุณภาพสูงด้วย จีนจะมุ่งสร้างบรรยากาศการทำธุรกิจที่เคารพคุณค่าของความรู้ ปรับระบบกฎหมายการคุ้มครองสิทธิทรัพย์สินทางปัญญาให้สมบูรณ์ขึ้นทุกด้าน บังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด คุ้มครองสิทธิประโยชน์ที่ชอบด้วยกฎหมายของเจ้าของสิทธิทรัพย์สินทางปัญญาต่างชาติมากขึ้น ระงับการถ่ายโอนเทคโนโลยีแบบบังคับ ปรับระบบการรักษาความลับทางการค้าให้สมบูรณ์ขึ้น และปราบปรามการละเมิดสิทธิทรัพย์สินทางปัญญาอย่างเข้มงวดตามกฎหมาย จีนยินดีเพิ่มความร่วมมือด้านการคุ้มครองสิทธิทรัพย์สินทางปัญญากับทุกประเทศทั่วโลก สร้างระบบนิเวศที่ดีด้วยความคิดสร้างสรรค์ ดำเนินการแลกเปลี่ยนความร่วมมือกับทุกประเทศตามหลักการทางการตลาดและระบบการบริหารตามกฎหมาย

“ประการที่สาม เพิ่มการนำเข้าสินค้าและบริการอย่างขนานใหญ่ จีนเป็นทั้งโรงงานผลิตสินค้า และตลาดบริโภคของโลก จีนมีประชากรผู้บริโภครายได้ปานกลางที่มีขนาดใหญ่และเติบโตเร็วที่สุดในโลก จึงมีศักยภาพมหาศาลในการเติบโตด้านบริโภค เพื่อสนองความต้องการทั้งด้านวัตถุและวัฒนธรรมในชีวิตความเป็นอยู่ที่นับวันเพิ่มมากขึ้นของประชาชน ทำให้ผู้บริโภคมีทางเลือกและสวัสดิการมากขึ้น เราจะลดภาษีศุลกากรมากขึ้น ขจัดอุปสรรคทางการค้าต่างๆ ที่ไม่ใช่ภาษีศุลกากร เปิดตลาดจีนให้กว้างขึ้นอย่างต่อเนื่อง จีนยินดีที่จะนำเข้าสินค้าที่มีคุณภาพดีจากประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก จีนไม่แสวงหาการเกินดุลทางการค้า ยินดีที่จะนำเข้าผลิตผลการเกษตร ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป และบริการที่มีคุณภาพดี และมีพลังการแข่งขันจากต่างชาติ ส่งเสริมการพัฒนาการค้าอย่างสมดุล

“ประการที่สี่ ดำเนินการประสานนโยบายเศรษฐกิจมหภาคระหว่างประเทศอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เศรษฐกิจโลกาภิวัตน์ต้องการการบริหารแบบโลกาภิวัตน์ จีนจะเสริมประสานนโยบายเศรษฐกิจมหภาคกับเขตเศรษฐกิจสำคัญต่าง ๆ ทั่วโลก พยายามทำให้การประสานนโยบายนั้นเกิดผลในทางบวกมากขึ้น ร่วมกันส่งเสริมให้เศรษฐกิจโลกเติบโตอย่างแข็งแกร่ง ยั่งยืน มีความสมดุล และเกื้อกูลกัน จีนจะปรับปรุงกลไกอัตราแลกเปลี่ยนของเงินหยวนให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น จะให้ตลาดมีบทบาทชี้นำในการจัดสรรทรัพยากร ให้อัตราแลกเปลี่ยนของเงินหยวนมีเสถียรภาพและอยู่ในขอบเขตที่สมเหตุสมผล ส่งเสริมความมั่นคงของเศรษฐกิจโลก กฎเกณฑ์และเครดิตเป็นพื้นฐานการดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพของระบบบริหารจัดการโลก และเป็นเงื่อนไขบังคับประการแรกในการพัฒนาความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและการค้าโลก จีนสนับสนุนและเข้าร่วมการปฏิรูปองค์การการค้าโลก ร่วมสร้างกฎเกณฑ์ทางเศรษฐกิจและการค้าโลกที่มีระดับสูงขึ้น

“ประการที่ห้า จีนให้ความสำคัญมากขึ้นกับการปฏิบัติตามนโยบายการปฏิรูปและเปิดประเทศ ชาวจีนถือคำมั่นสัญญาเป็นสิ่งล้ำค่ามาโดยตลอด เราให้ความสำคัญมากกับการปฏิบัติตามข้อตกลงทางเศรษฐกิจ การค้าพหุภาคี และทวิภาคีที่ลงนามกับประเทศต่างๆทั่วโลก เสริมสร้างรัฐบาลที่ดำเนินการตามระบบกฎหมาย และมีเครดิต ก่อตั้งกลไกที่บังคับให้ฝ่ายที่เกี่ยวข้องต้องปฏิบัติตามข้อตกลงระหว่างประเทศ จะแก้ไขปรับปรุงกฎหมายและข้อบังคับตามความต้องการในการดำเนินการปฏิรูปและเปิดประเทศ จะให้รัฐบาลระดับต่าง ๆ ดำเนินการตามข้อบังคับเกี่ยวกับการอนุมัติและการตรวจการเข้าตลาด จะยกเลิกข้อบังคับ การอุดหนุน และการกระทำใด ๆ ที่เป็นอุปสรรคต่อการแข่งขันที่เที่ยงธรรม หรือส่งผลทางลบต่อการตลาด จะปฏิบัติต่อวิสาหกิจ และผู้ประกอบการอย่างเที่ยงธรรม ปรับปรุงสภาวะแวดล้อมการประกอบธุรกิจให้เป็นไปตามระบบกฎหมาย และมีความสะดวก

“จีนเลือกขยายการเปิดสู่ภายนอกอย่างเป็นอิสระ โดยเป็นไปตามความต้องการแห่งการปฏิรูปและการพัฒนาของจีน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างมีคุณภาพสูง เป็นประโยชน์ต่อการสนองความต้องการของประชาชนที่อยากมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น อีกทั้งยังเป็นประโยชน์ต่อสันติภาพ เสถียรภาพ และการพัฒนาของโลก ขณะเดียวกัน เราก็หวังว่า ประเทศต่าง ๆ จะสร้างสภาวะแวดล้อมการลงทุนที่ดีให้แก่ผู้ประกอบการจีน จะปฏิบัติต่อภาคธุรกิจ ภาคการศึกษาของจีนอย่างเสมอภาคเท่าเทียมกัน จะสร้างสภาวะแวดล้อมที่เที่ยงธรรมและเป็นมิตรให้แก่พวกเขา ในการดำเนินการแลกเปลี่ยนและความร่วมมือระหว่างประเทศ เราเชื่อมั่นว่า จีนที่เปิดสู่ภายนอกมากขึ้นจะร่วมมือกับประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกได้ดียิ่งขึ้น และจะทำให้จีนและประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกมีความก้าวหน้า และความเจริญรุ่งเรืองมากขึ้น

“ขอให้เราร่วมมือกัน ร่วมกันหว่านเมล็ดพันธุ์ ร่วมกันรับความสำเร็จแห่งการพัฒนา เพื่อให้ประชาชนประเทศต่างๆ ทั่วโลกมีความสุขมากขึ้น และโลกมีความดีงามมากขึ้น”

https://www.youtube.com/watch?v=iCXx0wAhKNE
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 26/04/2019 5:59 pm    Post subject: Reply with quote

เปิดบริการแล้ว...ระบบขนส่งแบบควบคุมอุณหภูมิทางทะเล+รถไฟ ขนผลไม้ไทยไปขายในตลาดจีน
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 26 เม.ย. 2562 11:15
ขบวนรถไฟขนส่งผลไม้ไทย ทุเรียน มะพร้าว และสัปปะรด 200 ตัน มูลค่ากว่า 1 ล้านหยวน หรือราว 5 ล้านบาท กำลังเดินทางออกจากท่าเรือฝางเฉิงกั่งในมณฑลกว่างซี ไปยังตลาดเมืองกว่างอันในมณฑลเสฉวน


MGR ONLINE—ผลไม้ไทย 200,000 ตัน เดินทางถึงตลาดจีนด้วยระบบการขนส่งห่วงโซ่ความเย็นเป็นครั้งแรก จากรยงานข่าวของสื่อจีน ไชน่า เดลี่

เมื่อวันอังคาร(23 เม.ย.) ขบวนรถไฟระบบการขนส่งแบบควบคุมอุณหภูมิ ได้ขนผลไม้ไทยได้แก่ ทุเรียน มะพร้าว และสับปะรด รวมทั้งสิ้น 200 ตัน เดินทางไปยังเป้าหมายปลายทางเมืองกว่างอันในมณฑลเสฉวน ผลไม้เหล่านี้จะถูกนำออกขายในตลาดท้องถิ่น หรือไม่ก็นำไปขายในนครฉงชิ่ง และเฉิงตู มณฑลเสฉวน

นับเป็นครั้งแรกของการส่งผลไม้ไทยไปตลาดจีนด้วยระบบขนส่งเทคโนโลยีใหม่ที่เรียกว่า การจัดการห่วงโซ่ความเย็น (Cold Chain Management) หรือระบบการขนส่งและคลังสินค้าแบบควบคุมอุณหภูมิ ระบบฯนี้จะช่วยขนส่งสินค้าประเภทอาหารและเครื่องดื่มโดยรักษาคุณภาพและลดอัตราการเสียของสินค้า

การขนส่งผลไม้ไทย 200 ตันเที่ยวนี้ ถูกขนส่งทางเรือจากท่าเรือแหลมฉบังในไทย มาขึ้นที่ท่าเรือฝางเฉิงกั่งในเขตปกครองตัวเองจ้วงมณฑลกว่างซี จากนั้นก็ถูกขนขึ้นรถไฟต่อไปยังตลาดเมืองกว่างอัน ซึ่งตั้งอยู่ตอนในของมณฑลเสฉวน เป็นตลาดผลไม้ใหญ่ที่แข็งแกร่ง เฉพาะปี 2018 ผลไม้จากประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประมาณ 600,000 ตัน ถูกนำมาขายที่นี่

สำหรับไทยเป็นซับพลายผลไม้เมืองร้อนรายใหญ่รายหนึ่งของจีน โดยเฉพาะทุเรียนและมังคุด

เจ้าหน้าที่สำนักงานพาณิชย์ในกว่างอัน กล่าวว่า ขบวนรถไฟระบบการขนส่งและคลังสินค้าแบบควบคุมอุณหภูมิ (cold-chain freight train) จะยิ่งขยายตัวในอนาคต และเป็นที่คาดว่ารถไฟเที่ยวขากลับ จะขนผลิตภัณฑ์เกษตรในท้องถิ่น มอเตอร์ไซต์ และชิ้นส่วนรถยนต์ไปยังต่างแดน โดยผ่านมณฑลกว่างซี

ปัจจุบัน ฝางเฉิงกั่งได้ให้บริการระบบการขนส่งและคลังสินค้าแบบควบคุมอุณหภูมิโดยเส้นทางรถไฟ ไปยังปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ เสิ่นหยัง จี๋หนัน และฉงชิ่ง และกำลังจะขยายเส้นทางไปยังนครเฉิงตู และเมืองอี๋ปิน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 29/04/2019 5:26 pm    Post subject: Reply with quote

One Belt One Road บทเรียนที่ทำให้จีนเปลี่ยนไป
โดย: นพ นรนารถ
เผยแพร่: 28 เมษายน 2562 19:23



การประชุมสุดยอดว่าด้วยความร่วมมือระหว่างประเทศหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง หรือ One Belt One Road ครั้งที่สอง ที่กรุงปักกิ่ง ระหว่างวันที่ 21-27 เมษายน ได้จบลงแล้ว

สุนทรพจน์ในพิธีเปิดการประชุมของประธานาธิบดีสี จิ้นผิง เป็นสัญญาณการเปลี่ยนแปลงนโยบายของจีนที่มีต่อโครงการนี้ว่า จะมีความโปร่งใส ตรวจสอบได้ และเปิดให้ประเทศที่เข้าร่วมโครงการมีส่วนร่วมอย่างเท่าเทียมกัน

ตอนหนึ่งของสุนทร

“เราต้องยืนหยัดแนวคิดแห่งการเปิดสู่ภายนอก เน้นการรักษาสิ่งแวดล้อม และ สร้างความสุจริตโปร่งใส ไม่ปิดกั้นคนอื่น กำหนดยึดหลักสีเขียวอันเป็นเรื่องของการรักษาสิ่งแวดล้อมให้เป็นพื้นฐานความคิด ขับเคลื่อนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การลงทุนแบบสีเขียว การเงินแบบสีเขียว ปกป้องบ้านเกิดที่พวกเราอาศัยอยู่ร่วมกัน ยืนหยัดให้ความร่วมมือทุกด้านทุกรายให้ดำเนินการภายใต้มาตรฐานเดียวกัน เน้นการปราบปรามทุจริตคอร์รัปชัน”

พวกเราจึงเสนอ “ข้อริเริ่มปักกิ่งว่าด้วยเส้นทางสายไหมแห่งความสุจริตโปร่งใส”

ข้อริเริ่มปักกิ่งว่าด้วยเส้นทางสายไหมแห่งความสุจริตโปร่งใส ยังไม่มีรายละเอียด แต่นับว่า เป็นครั้งแรกที่สี จิ้นผิง พูดถึงความโปร่งใสของการดำเนินโครงการนี้

One Belt One Road ที่ผ่านมา ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่า นอกจากจะเป็นยุทธศาสตร์ในการสร้างความเป็นมหาอำนาจแข่งกับสหรัฐอเมริกาแล้ว ยังเป็นการแก้ปัญหาการเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนที่มีการขยายตัวภายในประเทศลดลง จึงต้องชดเชยด้วยการใช้โครงการนี้เป็นเครื่องมือในการส่งออกเทคโนโลยีสินค้าแรงงาน และทุนการเงิน เพื่อสร้างรายได้ให้กับวิสาหกิจของรัฐ

โครงการในหลายประเทศ จีนเป็นผู้กำหนดทุกอย่าง โครงการมีต้นทุนที่สูงเกินความเป็นจริง หลายโครงการไม่มีความจำเป็น ไม่มีประโยชน์ ทำให้ประเทศที่เป็นเจ้าของโครงการมีภาระหนี้สูงมากซึ่งเจ้าหนี้คือ จีน

ศรีลังกาต้องยกท่าเรือน้ำลึกแห่งใหม่ให้จีน เพื่อชดใช้หนี้ที่กู้มาสร้าง เพราะสร้างเสร็จแล้วไม่มีเรือมาใช้ ทำให้ไม่มีรายได้พอชำระหนี้

หลายประเทศในเอเชีย และแอฟริกา ขอยกเลิกหรือชะลอโครงการออกไป เพราะจีนคิดค่าก่อสร้าง และดอกเบี้ยเงินกู้สูงมาก จนเกรงว่า จะเป็นภาระหนี้ที่เกินกำลัง

เมื่อนายกรัฐมนตรีมหาเธร์ โมฮัมหมัด ของมาเลเซีย ชนะการเลือกตั้งเมื่อปีที่แล้ว เขาได้ยกเลิก และชะลอโครงการท่าเรือ ท่อส่งแก๊สธรรมชาติ และรถไฟเชื่อมฝั่งตะวันออกกับตะวันตกของมาเลเซีย ที่รัฐบาลนาจิบ ราซัค เซ็นสัญญาให้บริษัทจีนเป็นผู้ก่อสร้างเพราะมีราคาสูง จนทำให้เป็นภาระหนี้สิน และมีความไม่โปร่งใส

ก่อนหน้าการประชุม หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางครั้งนี้ไม่นาน มหาเธร์เปลี่ยนใจ สร้างรถไฟเชื่อมฝั่งตะวันออกกับตะวันตกตามเดิม โดยให้เหตุผลว่า เป็นโครงการที่เซ็นสัญญาไปแล้ว หากยกเลิก มาเลเซียจะโดนจีนปรับสูงมาก แต่สิ่งที่ทำให้มหาเธร์เปลี่ยนใจคือ จีนยอมลดค่าก่อสร้างลงจากเดิมถึง 1 ใน 3 จาก 65,500 ล้านริงกิต ลดลงมาเหลือ 44,000 ล้านริงกิต

สุนทรพจน์ของสี จิ้นผิง ยังพูดถึงโครงสร้างพื้นฐานใน One Belt One Road ว่า ต้อง “มีราคาสมเหตุสมผล มีความกลมกลืน และเข้าถึงได้ อำนวยให้ทุกประเทศใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่ตนมี ปรับตัวให้เข้ากับห่วงโซ่อุปทาน ห่วงโซ่การผลิต ห่วงโซ่มูลค่า และบรรลุการพัฒนาแบบประสานกัน”



นอกจากนี้ ยังบอกว่า ต้องเคารพข้อบังคับและกฎหมายของประเทศต่างๆ

สัญญาณการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญอีกเรื่องหนึ่งคือ การเปิดให้สถาบันการเงินที่ไม่ใช่ของจีน มีบทบาทในการสนับสนุนการเงินแก่โครงการลงทุนในประเทศต่างๆ ได้ จากเดิมที่ต้องใช้เงินกู้จากจีนเท่านั้น

“พวกเรายินดีต้อนรับองค์กรการเงินพหุภาคี องค์กรการเงินของทุกประเทศให้มีส่วนร่วมในการระดมทุนกับการลงทุนในโครงการร่วมสร้างหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง ส่งเสริมให้ดำเนินความร่วมมือด้านการตลาดแบบภาคีหลายฝ่าย เพื่อบรรลุเป้าหมายที่ให้ทุกฝ่ายได้รับประโยชน์ร่วมกันผ่านรูปแบบที่ให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วม”

สำหรับประเทศไทยเรา ซึ่งมีโครงการรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ-โคราช และโคราช-หนองคาย เป็นส่วนหนึ่งของ One Belt One Road ที่เป็นเส้นทางสายไหมทางบก ดำเนินไปอย่างล่าช้า ผ่านไปแล้วเกือบ 5 ปี เท่าๆ กับอายุ คสช.แทบไม่มีความคืบหน้าเลย เพราะรัฐบาลไทยไม่ยอมให้จีนเป็นผู้กำหนดฝ่ายเดียว แต่ใช้การเจรจาต่อรองทุกเรื่องเพื่อรักษาผลประโยชน์ให้มากที่สุด ต่างกับ One Belt One Road ในประเทศอื่นๆ ที่เดินหน้าไปอย่างรวดเร็ว เพราะประเทศเหล่านั้นยอมตามความต้องการของจีนทุกอย่าง ตัวเองมีหน้าที่ชำระหนี้คืนจีน เมื่อโครงการเสร็จแล้วเท่านั้น

เรื่องความล่าช้านั้น ไม่ใช่ปัญหาของไทย ตราบใดที่การเจรจายังไม่ลงตัว แต่เป็นปัญหาของจีน เพราะมันจะทำให้เส้นทางสายไหมทางบกจากภาคใต้ของจีนออกสู่มหาสมุทรอินเดียไม่สมบูรณ์ เพราะมี Missing Link คือ ช่วงที่ต้องผ่านประเทศไทย
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> เกี่ยวกับรถไฟต่างประเทศ All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 44, 45, 46 ... 134, 135, 136  Next
Page 45 of 136

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©