Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311232
ทั่วไป:13179943
ทั้งหมด:13491175
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 318, 319, 320 ... 542, 543, 544  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 06/05/2019 7:39 pm    Post subject: Reply with quote

เบรกประมูลรถไฟไทย-จีนช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง รอเจรจา"ซีพี"ใช้ทางร่วม
โดย: ผู้จัดการออนไลน์

เผยแพร่: จันทร์ที่ 6 พฤษภาคม 2562 เวลา 07:35


ชะลอประมูล สัญญาช่วง “บางซื่อ-ดอนเมือง” รถไฟไทย-จีน รอเคลียร์ซีพี.จัดรูปแบบการเดินรถ ไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน หวังใช้ทางร่วมกัน (แชร์แทร็กซ์) เพื่อวางราง 1 คู่ ประหยัดค่าลงทุน ขณะที่คาดกลางพ.ค.ประกาศ TORและราคากลาง รถไฟไทย-จีน อีก 6 สัญญาได้

นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า การก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงเส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 253 กม. เงินลงทุน 179,421 ล้านบาท อยู่ในขั้นตอนประมูล ด้วยวิธีทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding) e-bidding จำนวน 5 สัญญา รวมระยะทาง 144 กม. วงเงินรวม 58,168 ล้านบาท ส่วนอีก 7 สัญญาที่เหลือ (งานทางวิ่งรวมงานสถานี งานอุโมงค์ และงานศูนย์ซ่อมบำรุง)อยู่ในขั้นตอนทำร่างTORและกำหนดราคากลาง

ทั้งนี้ เส้นทางช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง เป็นพื้นที่ทับซ้อนที่มี 3 โครงการวางอยู่ในแนวเดียวกันได้แก่ โครงการรถไฟไทย-จีน ,รถไฟรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ที่จะต้องดำเนินการการก่อสร้างรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ส่วนต่อขยาย ช่วงพญาไท-ดอนเมือง) และรถไฟความเร็วสูงไทย-ญี่ปุ่น ขณะที่พื้นที่เขตทางเพียงพอสำหรับก่อสร้างทาง 2 คู่ ดังนั้นจะต้องโครงการที่ต้องใช้ทางร่วมกัน

ส่วนโครงสร้างช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง นั้น หลักการโครงการใดมาก่อน ให้เป็นผู้ก่อสร้างซึ่งขณะนี้วางไว้ให้ รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน เป็นผู้ก่อสร้างโครงสร้าง ส่วนรถไฟไทย-จีน ช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง ระยะทาง 11.83 กม. อยู่ในส่วนของ 7 สัญญาหลัง จะชะลอการประมูลในสัญญานี้ไว้ก่อน

“ในเงื่อนไขรถไฟเชื่อม 3 สนามบินเอกชนทราบอยู่แล้วว่าต้องลงทุนโครงสร้างช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง ส่วนการใช้ทางร่วมจะหารือกันต่อไป ซึ่งหาก รถไฟ 3 สนามบิน สามารถใช้ร่วมกับรถไฟไทย-จีนได้ จะก่อสร้างและวางรางเพียง 1 คู่เท่านั้น ไม่ต้องลงทุนซ้ำซ้อน เพราะโครงการรถไฟเชื่อม 3 สนามบินจะวิ่งไปสิ้นสุดที่ดอนเมือง เท่านั้น “ นายวรวุฒิกล่าว

แหล่งข่าวจากรฟท.กล่าวว่า ร่างTOR และราคางานโยธา รถไฟไทย-จีน 7 สัญญา จะสรุปในเดือนพ.ค.นี้ และประกาศร่างTOR ขึ้นเวป ประชาพิจารณ์ได้ประมาณกลางเดือนพ.ค.นี้ คาดว่าประกาศประกวดราคาได้ปลายเดือนพ.ค. และจะออกประกาศประมูล 6 สัญญา ส่วนอีก 1 สัญญาช่วง บางซื่อ-ดอนเมือง จะชะลอการประมูลไว้ก่อน เนื่องจากต้องดูความชัดเจน ของรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน จะได้ดำเนินโครงการอย่างไรก่อน

ทั้งนี้ เมื่อออกจากสถานีกลางบางซื่อรถไฟเชื่อม 3 สนามบิน จะมีทาง 1 คู่ และรถไฟความเร็วสูง ไทย-จีน 1 คู่ โดยโครงสร้างจะเป็นทางรถไฟยกระดับ 2 ชั้น ซ้อนกันโดยกำหนดให้รถไฟเชื่อม 3 สนามบินวางอยู่ชั้นล่าง 1 คู่ ส่วนรถไฟความเร็วสูง อยู่ด้านบน มี 1 คู่

ประเด็นที่ต้องรอให้รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินชัดเจนก่อนคือ รูปแบบการบริหารการเดินรถ หากผู้บริหารรถไฟเชื่อม 3 สนามบิน สามารถเดินรถแอร์พอร์ตลิงก์ร่วมกับ รถไฟไทย-จีนได้หรือไม่ เพื่อใช้ แชร์แทร็กซ์ ส่วนรถไฟไทย-ญี่ปุ่น ขณะนี้ยังไม่มีความชัดเจน และมีประเด็นว่าญี่ปุ่นไม่ยอมใช้ทางร่วมกับใคร ซึ่งเป็นเรื่องอนาคต ดังนั้น รฟท.จะต้องบริหารจัดการโครงการที่มาก่อน คือ รถไฟ 3 สนามบิน และรถไฟไทย-จีนก่อน

อย่างไรก็ตามขณะนี้ยังมีเวลาอีกกว่า 1 ปี โดยงานวางรางและติดตั้งระบบของรถไฟไทย-จีน จะเข้าพื้นที่หลังจากงานโยธาก่อสร้างไปแล้วประมาณ 2 ปี หรือประมาณเดือนที่ 20 ซึ่งคาดว่าในเดือนก.ค.-ส.ค. 2562 จะได้ผู้รับเหมารถไฟไทย-จีนช่วงกรุงเทพ-นครราชสีมา ครบทุกสัญญา ยกเว้นช่วง บางซื่อ-รังสิต
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 07/05/2019 7:42 pm    Post subject: Reply with quote

คมนาคมขันนอต เบิกงบค้างท่อ-เร่งศึกษาขยายไฮสปีดถึงระยองและไทย-จีนเฟส 2
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 7 พฤษภาคม 2562 เวลา 17:44
ปรับปรุง: 7 พฤษภาคม 2562 เวลา 17:53




คมนาคมขันนอตหน่วยงาน เร่งงบค้างท่องบปี 62 ผ่าน 2 ไตรมาสยังต่ำเป้า ขณะที่ได้รับงบกลางอีกกว่า 295 ล้าน เร่งศึกษาต่อขยายทางคู่ และไฮสปีดไทย-จีน และรถไฟเชื่อม 3 สนามบิน

นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการเร่งรัดติดตามผลการดำเนินงานและการเบิกจ่ายงบประมาณของกระทรวงคมนาคม ครั้งที่ 1/2562 ว่า การเบิกจ่ายยังล่าช้ากว่าเป้าหมาย โดยถึงวันที่ 30 เม.ย. 2562 เบิกจ่ายงบได้ 45.21% ขณะที่เป้าหมายสิ้นสุด ไตรมาส 2/62 (มี.ค. 2562) กำหนดไว้ที่ 77% โดยวงเงินเบิกจ่ายล่าช้ามาจากหลายปัจจัย เช่น โครงการขนาดใหญ่มีวงเงินลงทุนที่เกิน 1,000 ล้านบาท ของกรมทางหลวง 22 รายการ สามารถเซ็นสัญญาไปได้ 9 โครงการ ทำให้ยังเบิกจ่ายเงินงวดแรก 15% ไม่ได้ นอกจากนี้ยังมีโครงการของกรมท่าอากาศยาน 2 รายการ ซึ่งรวมมูลค่าเกือบ 10,000 ล้านบาท

หากเปรียบเทียบรายไตรมาสปี 62 การเบิกจ่ายยังดีกว่าปี 61 ซึ่งโครงการส่วนใหญ่ในช่วง 1-2 ไตรมาสแรก การเบิกจ่ายมักต่ำกว่าเป้าเหมือนกันทุกปี และจะไปเร่งในช่วงปลายปีเพราะเป็นเรื่องของการก่อสร้าง ได้มอบหมายให้ 4 หน่วยงาน ได้แก่ กรมทางหลวง (ทล.) การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) กรมท่าอากาศยาน (ทย.) และกรมทางหลวงชนบท (ทช.) ทำแผนการเบิกจ่ายงบประมาณในช่วง 5 เดือนที่เหลือเป็นไปตามเป้าหมาย โดยให้ส่งแผนภายในวันที่ 10 พ.ค.นี้

*** ใช้งบกลางปี 62 เร่งศึกษาต่อขยายทางคู่ และไฮสปีดไทย-จีนเชื่อม 3 สนามบิน

นอกจากนี้ ยังได้รับอนุมัติงบกลางปี 2562 สำหรับ 5 โครงการ วงเงินรวมกว่า 295 ล้านบาท เพื่อดำเนินโครงการและลงนามสัญญาในปี 2562 ได้แก่ การศึกษาขยายโครงการรถไฟสูงเชื่อม 3 สนามบิน ต่อขยายจากอู่ตะเภา-ระยอง-ตราด วงเงิน 37 ล้านบาท ซึ่ง ร.ฟ.ท.อยู่ในขั้นตอนเร่งรัดจัดซื้อจัดจ้าง, โครงการศึกษา รถไฟทางคู่ เชื่อมตะวันตก-ตะวันออก ช่วง นครสวรรค์-อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น วงเงิน 36 ล้านบาท ร.ฟ.ท.คาดว่าจะลงนามสัญญาที่ปรึกษาได้ในเดือน มิ.ย. 2562

การศึกษาออกแบบรายละเอียด โครงการรถไฟไทย-จีน ระยะที่ 2 ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย 112 ล้านบาท อยู่ในขั้นตอนการเร่งทำ TOR ประมูล, โครงการปรับปรุงอาคาร ICAO ซึ่ง ทย.จะเป็นผู้ออกแบบ วงเงิน 10 ล้านบาท และการจ่ายค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ โครงการขยายทางวิ่งสนามบินแม่สอด วงเงิน 104 ล้าน

นอกจากนี้ ยังได้ติดตามเร่งรัดการเบิกจ่ายเงินกันเหลื่อมปี ที่ค้างตั้งแต่ปีงบประมาณ 2555-2561 วงเงิน 4.4 หมื่นล้านบาท ซึ่งสามารถเบิกจ่ายไปแล้ว 51% หรือประมาณ 2.2 หมื่นล้านบาท เหลือกว่า 48% หรือประมาณ 2 หมื่นล้านบาท โดยเงินที่ค้างจะต้องเบิกจ่ายให้ในเดือน ก.ย. 2562

ได้แก่ กรมทางหลวง (ทล.) ประมาณ 1.3 หมื่นล้านบาท ส่วนใหญ่เป็น ค่าเวนคืน มอเตอร์เวย์ 2 สาย, รถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) วงเงิน 2.8 พันล้านบาท โครงการรถไฟทางคู่ระยะแรก, สนข. วงเงิน 2.4 พันล้านบาท กรมเจ้าท่า (จท.) 1.8 พันล้านบาท โดยเงินที่ค้างจะต้องเบิกจ่ายภายในวันที่ 30 ก.ย. 2562 ดังนั้น แต่ละหน่วยต้องทำแผนการเร่งรัดเบิกจ่ายให้ชัดเจน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 10/05/2019 10:56 am    Post subject: Reply with quote

หวั่นรถไฟไฮสปีดสะดุด หลัง15รมต.ออก!ครม.อยู่ไม่ครบทีม
วันศุกร์ ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2562, 06.00 น.

นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก(สกพอ.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าการคัดเลือกผู้ชนะ 5 โครงสร้างพื้นฐานประกอบด้วย รถไฟความเร็วสูง(ไฮสปีดเทรน) เชื่อม 3 สนามบิน, ท่าเรือมาบตาพุด ระยะ 3 ท่าเรือแหลมฉบังระยะ 3 สนามบินอู่ตะเภาฯ และศูนย์ซ่อม-สร้างอากาศยาน ว่า ภายในวันที่10 พฤษภาคม 2562 นี้ จะมีการเจรจากับกลุ่มกิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง (กลุ่มซีพี) โครงการไฮสปีดเทรน เชื่อม 3 สนามบิน ในขั้นตอนสุดท้ายจะแล้วเสร็จ และจะเสนอสัญญาเข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) หรือบอร์ดอีอีซี ที่มีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานอนุมัติ วันที่ 13 พฤษภาคม พร้อมเสนอที่ประชุมครม.อนุมัติอีกครั้ง ก่อนเซ็นสัญญาระหว่างรัฐและกลุ่มซีพี

“หลังสัญญาผ่านการอนุมัติจากบอร์ดอีอีซี จะเสนอเข้าครม.อนุมัติอีกขั้นหนึ่ง แต่ยอมรับว่าปัจจุบันครม.มีจำนวนไม่มากจึงไม่มั่นใจว่าจะมีการประชุม หรืออาจต้องรอครม.ชุดใหม่เข้ามาอนุมัติหรือไม่ แต่จากสถานการณ์ปัจจุบันมั่นใจว่า จะไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงทั้งโครงการไฮสปีด และ 4 โครงการที่เหลือจะยังคงเดินหน้า และเข้าครม.เพื่ออนุมัติสัญญาทั้ง 5 โครงการ ได้ภายในเดือนมิถุนายน”นายคณิศ กล่าว

โดยก่อนหน้านี้มีกระแสข่าวรัฐมนตรี 15 ท่าน ได้ยื่นใบลาออกไปเป็น สมาชิกวุฒิสภา(สว.)

นายคณิศกล่าวถึงความคืบหน้าโครงการท่าเรือมาบตาพุดระยะ 3 หรือเฟส 3 ล่าสุดอยู่ระหว่างการเจรจากับกลุ่มกิจการ ร่วมค้ากัลฟ์ และพีทีที แทงค์(บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์จำกัด (มหาชน) และ บริษัท พีทีที แทงค์ เทอร์มินัล จำกัด) โดยประเด็นที่ต้องสรุปในขั้นสุดท้าย เช่น อัตราผลตอบแทนที่เดิมเอกชนต้องจ่าย 100% แต่จากการเจรจา เอกชนขอลดลงเหลือ 80% หลังจากนี้จะเสนอต่อบอร์ดอีอีซีอนุมัติสัญญาปลายเดือนพฤษภาคมนี้และเสนอครม.อนุมัติสัญญา คาดว่าครม.จะอนุมัติได้ในเดือนมิถุนายนเช่นกัน

สำหรับความคืบหน้าการประมูลโครงการสนามบินอู่ตะเภาฯที่ล่าสุดกลุ่มกิจการค้าร่วม บริษัท ธนโฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร ประกอบด้วย บริษัท ธนโฮลดิ้ง เครือซีพี ใช้สิทธิยื่นฟ้องต่อศาลปกครองกลาง เพื่อขอความเป็นธรรมเกี่ยวกับมติและคำสั่งของคณะกรรมการคัดเลือกโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก ที่ไม่รับพิจารณาเอกสารการยื่นประมูลเพราะส่งเอกสารบางส่วนไม่ทันนั้น ในภาพรวมจะมีการพิจารณากลุ่มที่ยื่นตามเกณฑ์เป็นหลักไปก่อน คือ กลุ่มกิจการร่วมค้าบีบีเอส(ประกอบด้วย บมจ.การบินกรุงเทพ บมจ.บีทีเอสกรุ๊ป โฮลดิ้งส์ และบมจ.ซิโน-ไทยเอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น แต่หากศาลมีมติให้รับพิจารณาก็ต้องดำเนินการพิจารณา ไม่น่ามีปัญหาอะไร
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 13/05/2019 12:16 pm    Post subject: Reply with quote

ไฮสปีดไทย-จีนยังไม่ลงตัว เร่งบอร์ด ร.ฟ.ท.เคาะปิดจ็อบสัญญา 2.3
โดย: ผู้จัดการออนไลน์

เผยแพร่: จันทร์ที่ 13 พฤษภาคม 2562 เวลา 06:38
ปรับปรุง: จันทร์ที่ 13 พฤษภาคม 2562 เวลา 12:01



“อาคม” บีบจีนรับเงื่อนไขสัญญา 2.3 ภายใต้ กม.ไทย โยนบอร์ด ร.ฟ.ท.เคลียร์ประเด็นอัตราค่าปรับ และค่าหลักประกัน ด้าน “วรวุฒิ” เผย 17 พ.ค.นี้เสนอบอร์ดขยายเวลาเจรจาสัญญา 2.3 ถึง ส.ค. หวั่นสรุปเงื่อนไขไม่ทัน

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า การเจรจาสัญญา 2.3 (งานระบบราง ระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมทั้งจัดหาขบวนรถไฟและฝึกอบรมบุคลากร) โครงการความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน เส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ได้ตกลงในกรอบวงเงินแล้วที่ 50,633.50 ล้านบาท โดยจะพยายามขออนุมัติคณะรัฐมนตรี (ครม.) พ.ค.นี้ ซึ่งร่างสัญญายังเหลืออีก 3 ประเด็นที่เป็นอำนาจคณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ต้องพิจารณา ได้แก่ ค่าปรับ, การประกันโครงการ ซึ่งจีนยอมรับเงื่อนไขภายใต้กฎหมายไทย เหลือเพียงการตกลงตัวเลขให้ตรงกัน

“วงเงินสัญญา 2.3 ได้เจรจาถึงที่สุดแล้ว ตกลงกันที่ 5.06 หมื่นล้านบาท สูงกว่ากรอบที่ ครม.อนุมัติ 3.85 หมื่นล้าน แต่เป็นการโยกเงินจากงานโยธามา 7 พันล้าน อีกส่วนเป็นการเปลี่ยนรุ่นรถไฟความเร็วสูง และรูปแบบก่อสร้าง ประมาณ 900 กว่าล้าน ซึ่งจะเกลี่ยจากค่างานโยธาที่ประหยัดได้หลังประมูลครบทุกตอน มั่นใจว่าจะไม่เกินกรอบโครงการรวม 179,413 ล้านบาท” นายอาคมกล่าว

นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าฯ ร.ฟ.ท.กล่าวว่า บอร์ด ร.ฟ.ท.จะประชุมวันที่ 17 พ.ค. ซึ่ง ร.ฟ.ท.จะเสนอบอร์ดขยายเวลาการเจรจารถไฟไทย-จีน สัญญา 2.3 ออกไปจนถึงเดือน ส.ค. 2562 ออกไปก่อน เนื่องจากตามคำสั่งหัวหน้า คสช. มาตรา 44 ที่ 30/2560 เมื่อวันที่ 15 มิ.ย. 2560 ให้เจรจาให้แล้วเสร็จภายใน 120 วัน หากยังดำเนินการไม่เสร็จให้รายงานกระทรวงคมนาคมเพื่อเสนอนายกรัฐมนตรี ที่ผ่านมาได้ขอขยายเวลามาหลายครั้งแล้ว ซึ่งยังไม่แน่ใจว่าเงื่อนไขในร่างสัญญา 2.3 ที่เหลืออีก 3 ประเด็นจะสรุปเสนอบอร์ดได้ทันหรือไม่ จึงขอขยายเวลาเอาไว้ก่อน

***จีนต่อรองลดประกันผลงาน และค่าปรับ-ชงบอร์ด ร.ฟ.ท.ตัดสิน

รายงานข่าวแจ้งว่า เงื่อนไขสัญญา 2.3 ที่ยังไม่สรุปนั้นเป็นอำนาจบอร์ด ร.ฟ.ท.ต้องพิจารณามี 3 ประเด็น คือ ไทยต้องการให้จีนรับประกันกรณีเกิดเหตุกับโครงการในอนาคตแบบไม่มีข้อจำกัด ซึ่งจีนไม่ยอม และขอให้ไทยร่วมรับความเสี่ยงด้วย, อัตราค่าปรับกรณีจีนทำงานล่าช้า ตามกฎหมายไทย กำหนด 0.01-0.1% ซึ่งก่อนหน้านี้จีนเสนอ 0.001% แต่ไทยรับไม่ได้ ขณะที่จีนไม่ยอมรับค่าปรับ 0.1% เพราะสูงเกินไป โดยให้เหตุผลว่าเป็นโครงการรัฐต่อรัฐ จึงต่อรองกันที่ 0.05%

นอกจากนี้ยังมีประเด็นรับประกันผลงาน หรือการันตี ซึ่งเรื่องระยะเวลาตกลงกันแล้วที่ 2 ปี จากเดิมที่จีนเสนอรับประกันให้ 1 ปี ยังเหลือวงเงินหลักประกัน ที่จะหักไว้ก่อนและจ่ายคืนภายหลัง อัตรา 5-10% จีนเสนอที่ 5% ที่ต้องให้บอร์ดพิจารณา
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 13/05/2019 12:54 pm    Post subject: Reply with quote

ซีพี ไฟเขียวร่างสัญญาไฮสปีด ชงบอร์ดอีอีซีเคาะก่อนลงนามสัญญาเดือนนี้
วันที่ 11 พฤษภาคม 2562 เวลา 14:54 น.


...รักษาการผู้ว่า รฟท.เผย ซีพี ไฟเขียวร่างสัญญาไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน ชงบอร์ดอีอีซีเคาะก่อนลงนามสัญญาเดือนนี้ ด้าน รมว.คมนาคมแง้มจ่อเปิดตัวอธิบดีกรมราง 14 พ.ค.นี้

...นายวรวุฒิ มาลา รักษาการผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) เปิดเผยว่าความคืบหน้าการคัดเลือกเอกชนร่วมทุนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบินอีอีซี วงเงิน 2.2 แสนล้านบาทว่าขณะนี้คู่เจรจาคือ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัดและพันธมิตร ได้ตอบกลับร่างสัญญาฉบับที่อัยการสูงสุดปรับแก้ หลังจากทั้งสองฝ่ายได้หารือเกี่ยวกับถ้อยคำในร่างสัญญาในการประชุมร่วมกันแล้ว เมื่อซีพีตกลงยอมรับร่างสัญญา จะถือว่าเสร็จสิ้นกระบวนการตรวจร่างสัญญาร่วมกัน เท่ากับทั้งสองฝ่ายตกลงร่วมกันและการเจรจาจบกันด้วยดี หลังจากนี้รฟท. นำผลสรุปการเจรจาเสนอให้คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือบอร์ดอีอีซีพิจารณาในการประชุมวันที่ 13 พฤษภาคมนี้ ก่อนเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติเพื่อลงนามสัญญาต่อไป โดยตั้งเป้าลงนามสัญญากับกลุ่มซีพีในเดือนมิ.ย.นี้

ด้านนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคมกล่าวว่าความคืบหน้าการจัดตั้งกรมการขนส่งทางราง(กรมราง)นั้น ขณะนี้มีความพร้อมมากแล้ว คาดว่าจะมีการเสนอรายชื่ออธิบดีกรมในวันที่ 14 พ.ค.นี้เข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) ขอมติเห็นชอบแต่งตั้งให้เข้าไปขับเคลื่อนแผนงานของกรมต่อไป

'ซีพี' รับสัญญาไฮสปีด ชงตั้งองค์กรบริหาร50ปี
12 พฤษภาคม 2562 6,525


“ซีพี” ตอบรับร่างสัญญารถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน รฟท.ชง กพอ.เคาะพรุ่งนี้ พร้อมเสนอตั้งองค์กรบริหารสัญญาโครงการ 50 ปี ทำงานควบคู่ “เอสพีวี” ของเอกชน เล็งคืนเงินหลักประกันซอง “ซีพี-บีเอสอาร์” รายละ 2,000 ล้านบาท



การประมูลรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา) ที่เปิดให้ยื่นซองไปเมื่อวันที่ 12 พ.น.2561 ได้สรุปเรียบร้อยหลังจากคณะกรรมการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน และกิจการร่วมค้าบริษัทเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด และพันธมิตร (กลุ่มซีพี) ร่วมกันเห็นชอบร่างสัญญาที่สำนักงานอัยการสูงสุดตรวจร่างแล้ว

นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า กลุ่มซีพีได้ส่งหนังสือตอบรับร่างสัญญาร่วมลงทุนมาในช่วงคืนวันที่ 10 พ.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งขณะนี้ รฟท.กำลังตรวจรายละเอียดร่างสัญญาที่กลุ่มซีพีส่งกลับมาให้เสร็จภายในวันนี้ (12 พ.ค.) โดยไม่มีการปรับแก้ในสาระสำคัญที่สำนักงานอัยการสูงสุดตรวจร่างมา แต่มีการตรวจสอบรายละเอียดย่อย เช่น วันกำหนดส่งมอบพื้นที่ก่อสร้าง

นายวรวุฒิ กล่าวว่า รฟท.จะรายงานการประมูลรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ให้คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในวันพรุ่งนี้ (13 พ.ค.) ประกอบด้วย 1.ผลการประมูลที่กลุ่มซีพีเป็นผู้ได้รับการคัดเลือก และเสนอขอรับเงินอุดหนุน 117,227 ล้านบาท ต่ำกว่าที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติวงเงินไว้ 119,425 ล้านบาท 2.ร่างสัญญาร่างลงทุนระหว่าง รฟท.กับกลุ่มซีพี

ชงเคาะข้อเสนอนอกเงื่อนไข

3.รายงานการเจรจาระหว่างคณะกรรมการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนฯ และกลุ่มซีพี ซึ่งครอบคลุมถึงประเด็นข้อเสนอของกลุ่มซีพีที่อยู่นอกเหนือเอกสารการเข้าร่วมโครงการ (อาร์เอฟพี) เช่น ข้อเสนอที่เกี่ยวข้องกับการเงิน

ทั้นี้ กพอ.จะเป็นผู้พิจารณาให้ความเห็นชอบตามข้อเสนอดังกล่าว แต่ถ้ามีประเด็นใดที่ กพอ.เห็นว่าควรมีการเจรจากับกลุ่มซีพีเพิ่มเติมก็ขึ้นกับการพิจารณาของ กพอ. และถ้า กพอ.เห็นชอบดังกล่าวก็คาดว่าจะเสนอ ครม.ได้ภายในวันที่ 15 มิ.ย.2562 ส่วนวันลงนามสัญญาร่วมลงทุนจะเป็นไปตามความเห็นร่วมของคู่สัญญา

เสนอตั้งองค์กรบริหารสัญญา

นอกจากนี้ การประชุม กพอ.จะมีการพิจารณาในหลักการจัดตั้งองค์กรบริหารโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน เพื่อทำหน้าที่บริหารสัญญา 50 ปี โดยจะกำกับดูแลการก่อสร้าง การเดินรถไฟความเร็วสูงและการบริหารพื้นที่เชิงพาณิชย์ให้เป็นไปตามสัญญา และโดยหลักการจะมีการออกกฎหมายรองรับการจัดตั้งองค์กรดังกล่าวเพื่อให้มีฐานะเป็นนิติบุคคล และมีอำนาจหน้าที่เป็นคู่สัญญากับเอกชนผู้ร่วมลงทุน

“รฟท.ไม่ได้เตรียมความพร้อมสำหรับการบริหารโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน รวมทั้งเป็นโครงการที่รัฐบาลผลักดันเพื่อขับเคลื่อนเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) จึงต้องตั้งองค์กรเฉพาะขึ้นมาบริหารโครงการ โดยรูปแบบและโครงสร้างองค์กรขึ้นกับการพิจารณาของ กพอ.และไม่ได้เป็นองค์กรที่ขึ้นตรงต่อ รฟท.” นายวรวุฒิ กล่าว

ทำงานควบคู่“เอสพีวี”เอกชน

รายงานข่าวจากกระทรวงคมนาคม ระบุว่า องค์กรบริหารโครงการที่จะจัดตั้งขึ้นมาใหม่จะทำงานร่วมกับเอกชนผู้ร่วมลงทุน ซึ่งภายหลังการลงนามสัญญาร่วมลงทุนจะต้องตั้งนิติบุคคลเฉพาะกิจ (เอสพีวี) ทุนจดทะเบียน 4,000 ล้านบาท เพื่อพัฒนาโครงการเกี่ยวกับการออกแบบงานโยธา ศูนย์ซ่อมบำรุง การติดตั้งระบบรถไฟความเร็วสูง การเดินและการบำรุงรักษารถไฟความเร็วสูง รวมถึงการพัฒนาที่ดินเพื่อสนับสนุนโครงการ และการดำเนินกิจการเชิงพาณิชย์บริเวณสถานี

ทั้งนี้ เอสพีวีที่ตั้งขึ้นมาใหม่จะต้องเป็นผู้ชนะการประมูลและมีนิติบุคคลไทยอย่างน้อย 1 ราย ถือหุ้นมากกว่า 25% รวมทั้งมีทุนจดทะเบียนชำระแล้วไม่น้อยกว่า 4,000 ล้านบาท ในวันลงนามสัญญาร่วมลงทุน รวมทั้งก่อนเริ่มเดินรถจะต้องมีทุนจดทะเบียนชำระแล้วไม่น้อยกว่า 25,000 ล้านบาท

รวมทั้ง ผู้ชนะประมูลจะได้สิทธิการบริหารแอร์พอร์ตเรลลิงค์ ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน โดยภาครัฐจะรับภาระหนี้งานโยธาแอร์พอร์ตเรลลิงก์ แต่ผู้ชนะประมูลจะต้องชำระค่าสิทธิบริหารแอร์พอร์ตเรลลิงก์เต็มจำนวน 10,671 ล้านบาท

เล็งคืนหลักประกันซอง2พันล้าน

นอกจากนี้ รฟท.จะมีการพิจารณาคืนหลักประกันซองให้ผู้ยื่นประมูลทั้ง 2 ราย คือ 1.กลุ่มซีพี 2.กลุ่มกิจการค้าบีเอสอาร์ ประกอบด้วย บมจ.บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ บมจ.ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์คอนสตรัคชั่น และ บมจ.ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง วงเงินรายละ 2,000 ล้านบาท ซึ่งทั้ง 2 กลุ่มยื่นไว้ในวันประมูลเมื่อวันที่ 12 พ.ย.2561

โดยจะคืนให้ภายใน 15 วันนับจาก กพอ.เห็นชอบร่างสัญญาร่วมลงทุน แต่ถ้ามีกรณีที่ รฟท.ริบเงินหลักประกันซองได้มี 3 กรณี คือ 1.ผู้ยื่นซองขอถอนเอกสารข้อเสนอของตัวเอง 2.ผู้ยื่นข้อเสนอไม่ยอมรับการแก้ไขข้อมูลที่ รฟท.เสนอ 3.ผู้ยื่นข้อเสนอที่ได้รับการคัดเลือกแต่ไม่ลงนามสัญญาร่วมลงทุน หรือไม่ยื่นหลักประกันสัญญาวงเงิน 4,500 ล้านบาท

ส่วนค่าธรรมเนียมการประเมินข้อเสนอที่เอกชนทั้ง 2 ราย ยื่นในวันประมูลเช่นกันให้ รฟท. 2 ล้านบาท ในวันที่ 12 พ.ย.2561 และเงินดังกล่าวจะไม่คืนในทุกกรณี
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 13/05/2019 4:38 pm    Post subject: Reply with quote

บอร์ดอีอีซีไฟเขียวซีพีลุยไฮสปีดเทรน ชง ครม.เคาะ 28 พ.ค.นี้
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 13 พฤษภาคม 2562 เวลา 14:08
ปรับปรุง: 13 พฤษภาคม 2562 เวลา 14:26


บอร์ดอีอีซีฉลุยรับทราบรายงานเจรจากลุ่มซีพีเดินหน้าลงทุนไฮสปีดเทรน บรรลุการเจรจา โดยเตรียมนำเสนอ ครม.เคาะร่วมลงทุนวันที่ 28 พ.ค.นี้ ขณะที่ท่าเรือมาบตาพุดจ่อชง ครม.สัปดาห์หน้า ปรับเงื่อนไขเดินหน้าถมทะเล พร้อมไฟเขียวโครงการพัฒนาศูนย์บริการทดสอบทางการแพทย์จีโนมิกส์ ในอีอีซีและแผนพัฒนากำลังคนด้านดิจิทัล



นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก(กพอ.) หรือบอร์ดอีอีซี เปิดเผยว่า บอร์ดอีอีซี ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานได้รับทราบผลการคัดเลือก การเจรจา และร่างสัญญาร่วมทุนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินซึ่งคณะกรรมการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนรูปแบบการร่วมทุนกับเอกชน (PPP) ที่ภาครัฐลงทุนน้อยที่สุดซึ่งได้พิจารณากลุ่มกิจการร่วมค้าบริษัทเจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร (กลุ่ม CPH) เข้าร่วมลงทุน เพราะเป็นผู้ยื่นข้อเสนอด้านการลงทุน ผลตอบแทนที่ผ่านการพิจารณา และบรรลุข้อตกลงในการเจรจา โดยจะนำเสนอให้การรถไฟแห่งประเทศไทยเข้าร่วมลงทุนในการประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)ได้ในวันที่ 28 พฤษภาคมนี้

“ ร่างสัญญาร่วมลงทุนได้ผ่านการตรวจพิจารณาจากสำนักงานอัยการสูงสุดแล้ว และมีมติให้เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบให้การรถไฟแห่งประเทศไทยหรือรฟท.เข้าร่วมลงทุนในโครงการฯ กับเอกชนที่ได้คัดเลือกดังกล่าวได้ในวันที่ 28 พ.ค.นี้โดยแม้ว่าครม.จะมีรัฐมนตรีหลายท่านลาออกก็ยังสามารถประชุมได้อยู่ ส่วนการลงนามในสัญญา 15 มิ.ย.ก็คงจะต้องรอผลการพิจารณารายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม(EIA) และการส่งมอบพื้นที่ด้วย”นายคณิศกล่าว

สำหรับโครงการท่าเรือมาบตาพุดเฟส 3 เตรียมเสนอครม.เร็วๆ นี้ช้าสุดไม่เกินสัปดาห์หน้าเกี่ยวกับการขอให้ครม.เห็นชอบปรับเงื่อนไขแนวทางให้การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(กนอ.) เกี่ยวกับเงื่อนไขให้เอกชนที่ชนะประมูล เป็นผู้ลงทุนถมทะเล 10,000 ล้านบาทซึ่งคิดดอกเบี้ย 2.5% ตลอด 30 ปี โดยกนอ.จะทยอยคืนเงินให้ปีละ 600 ล้านบาทเป็นคืนเงินให้ปีละ 720 ล้านบาทคิดดอกเบี้ยที่ 4.8% ส่วนโครงการซึ่งเบื้องต้นได้เจรจากับกลุ่มกิจการร่วมค้ากัลฟ์และพีทีที แทงค์ (บริษัทกัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์-บริษัทพีทีที แทงค์ เทอร์มินอล)ผู้ได้รับคัดเลือกเพียงรายเดียว

“ ในส่วนของโครงการท่าเรือแหลมฉบับเฟส 3 และสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก คาดว่าจะสามารถลงนามได้ภายในปลายมิ.ย. ซึ่งก็ล่าช้าไปกว่าแผนเดิมเล็กน้อยจากที่คิดว่าจะเป็นพ.ค.นี้ ขณะที่โครงการศูนย์ซ่อมอากาศยานหรือ MRO วันที่ 15 พ.ค.นี้จะมีการประชุมกับการบินไทยก็น่าจะไม่เกินมิ.ย.นี้เช่นกัน”นายคณิศกล่าว



นอกจากนี้บอร์ดยังได้เห็นชอบให้กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้ร่วมกันพัฒนาโครงการพัฒนาศูนย์บริการทดสอบทางการแพทย์จีโนมิกส์ ในอีอีซี จะเป็นการลงทุนเพื่อสร้างความรู้ทางการแพทย์จีโนมิกส์ (Genomic Medicine) ที่จำเป็นให้ประเทศที่มีความต้องการบริการการแพทย์แบบแม่นยำ (Precision Medicine) ให้สามารถนำไปสู่การรักษาพยาบาลที่มีประสิทธิภาพ ในอนาคตอันใกล้ประชาชนทุกคนสามารถเข้าถึงการรักษาพยาบาลดังกล่าวได้อย่างทั่วถึงในระบบประกันสุขภาพ และให้ สกพอ. ประสานหน่วยงานที่ เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป

พร้อมกันนี้ยังได้เห็นชอบการพัฒนากำลังคนด้านดิจิทัลเพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมและส่งเสริมการลงทุน ใน EECต่อเนื่องจากการประชุมครั้งก่อนที่รับทราบความต้องการในอุตสาหกรรมดิจิทัล กว่า 100,000 คน โดยสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ได้สานต่อโครงการพร้อมจัดทำการพัฒนาและผลิตกำลังคนดิจิทัล สำหรับพื้นที่ EEC คาดว่า ภายในปี 2566บุคลากรที่ได้รับการพัฒนากว่า 180,000 คน ประกอบด้วย นักศึกษาจบใหม่ด้านดิจิทัลที่เข้ามาทำงานในภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น 60,000 คน นักศึกษาสาขาอื่นๆ ที่มีศักยภาพในการเปลี่ยนหรือเรียนเพิ่มเติม ในสาขาวิชาด้านดิจิทัล จำนวน 120,000 คน
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44323
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 14/05/2019 11:24 am    Post subject: Reply with quote

รถไฟเร็วสูงเชื่อม3สนามบินลงนาม15มิ.ย.
INNNEWS
Published on May 13, 2019


https://www.youtube.com/watch?v=lQ5OGCEaCSc
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 14/05/2019 11:52 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
บอร์ดอีอีซีไฟเขียวซีพีลุยไฮสปีดเทรน ชง ครม.เคาะ 28 พ.ค.นี้
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 13 พฤษภาคม 2562 เวลา 14:08
ปรับปรุง: 13 พฤษภาคม 2562 เวลา 14:26


บอร์ดอีอีซีอนุมัติ ซีพีคว้าไฮสปีด3สนามบิน ชงครม.พิจารณา28พ.ค.นี้

วันอังคาร ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 เวลา 06.00 น.

บอร์ดอีอีซีเห็นชอบร่างสัญญารถไฟเชื่อม 3 สนามบิน เตรียมเสนอเข้าที่ประชุม ครม. วันที่ 28 พฤษภาคม ก่อนลงนามในสัญญา 15 มิถุนายนนี้ “คณิศ”เชื่อผ่านฉลุย ขณะที่ ผู้ว่าการ ร.ฟ.ท. ระบุ จะลงนามสัญญาได้หรือไม่ ขึ้นอยู่รายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม


เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคมนายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (คณะกรรมการ EEC) เปิดเผยว่าในที่ประชุมฯ ได้มีมติเห็นชอบร่างสัญญาโครงการร่วมลงทุนรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน(ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ระหว่างการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.)และ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัดและพันธมิตร และจะมีการเสนอให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาในวันที่ 28 พฤษภาคมนี้ ก่อนลงนามสัญญาในวันที่ 15 มิถุนายน 2562 ซึ่งเชื่อว่าจะผ่านการพิจารณาจาก ครม.และยังลดกรอบวงเงินโครงการได้อีกประมาณ 2,500 ล้านบาท

ทั้งนี้ ในส่วนของโครงการประมูลพัฒนาเมืองการบินอู่ตะเภาวงเงินประมาณ 200,000 ล้านบาทนั้นทาง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้มีการสั่งการให้เร่งรัดการดำเนินการให้ทันตามกรอบเวลาลงนามสัญญาภายในเดือนมิถุนายนนี้ ส่วนกรณีที่กลุ่มซีพีได้มีการร้องศาลปกครองขอรับการคุ้มครองกรณีถูกตัดสิทธิ์การยื่นซองข้อเสนอเนื่องจากช้ากว่าเวลาที่กำหนดไว้ใน TOR นั้น ทางคณะกรรมการคัดเลือกจะยึดตามเวลาที่กำหนดแม้ขั้นตอนการปิดรับซองจะเสร็จสิ้นที่เวลา 18.00 น. ซึ่งหลังจากนี้จะให้เอกชนทั้ง 3 กลุ่ม รวมถึงกลุ่มซีพีรวบรวมข้อมูลยื่นซองที่ 1 ซองคุณสมบัติ ก่อนนัดวันยื่นซองที่ 2 ซองเทคนิคต่อไปในช่วงสัปดาห์หน้า และในช่วงต้นเดือนมิถุนายนนี้จะเปิดให้ยื่นซองราคาที่เป็นซองสุดท้าย โดยระหว่างนี้จะรอคำตอบศาลปกครองว่าตัดสินออกมาอย่างไรและผู้ที่อยู่ภายใต้การคุ้มครองนั้นผิดจริงหรือไม่

ส่วนความคืบหน้าการเปิดประมูลโครงการท่าเรือแหลมฉบังระยะที่ 3 วงเงิน 84,000 ล้านบาท ที่อาจล่าช้ากว่าเป้าหมายที่วางไว้ เนื่องจากต้องรอการพิจารณาของศาลปกครองกรณีกลุ่มกิจการร่วมค้าเอ็นซีพี ประกอบด้วยบริษัท นทลิน จำกัด บริษัท พรีมารีน จำกัด (มหาชน) บริษัท แอโซซิเอท อินฟินิตี้ จำกัด และ บริษัท ไชน่าเรลเวย์ คอนสตรั๊คชั่น คอร์ปอเรชั่น จำกัด ยื่นฟ้องให้มีสิทธิร่วมประมูลหลังโดนตัดสิทธิเพราะเอกสารไม่ครบถ้วน ยืนยันว่ากระบวนการจะยังเดินหน้าต่อและเสนอให้พิจารณาได้ในเดือนมิถุนายนนี้ พร้อมเสนอให้ ครม.พิจารณาเพื่อขอปรับเพิ่มวงเงินลงทุนโครงการอีกครั้ง และโครงการท่าเรือมาบตาพุด วงเงิน 47,900 ล้านบาทนั้น จะต้องมีการดำเนินการเจรจากับกลุ่มกิจการร่วมค้ากัลฟ์ และพีทีที แทงค์ (บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) และ บริษัท พีทีที แทงค์ เทอร์มินัล จำกัด) เรื่องวงเงิน ดอกเบี้ย และผลตอบแทน โดยคาดว่าจะเสนอให้ ครม.พิจารณาได้ในวันที่ 14 พฤษภาคมนี้

นอกจากนี้ ในส่วนโครงการร่วมทุนศูนย์ซ่อมอากาศยาน(MRO) สนามบินอู่ตะเภา วงเงิน 11,600 หมื่นล้านบาทนั้นการบินไทยกำลังเจรจากับแอร์บัสคาดว่าจะสามารถเห็นชอบแนวทางร่วมกันก่อนเสนอให้ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (บอร์ด PPP) ในวันที่ 10 มิถุนายนนี้

ด้าน นายวรวุฒิ มาลา ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) กล่าวว่าโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินนั้น จะสามารถลงนามสัญญาได้หรือไม่ต้องขึ้นอยู่รายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม(EIA) โดยล่าสุด รฟท.ได้ส่งข้อมูลเพิ่มเติมให้หมดแล้ว รอที่ประชุมคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) พิจารณาเห็นชอบก่อนจึงจะลงนามสัญญาได้ และความพร้อมของการรถไฟฯในการส่งมอบพื้นที่เชิงพาณิชย์ ซึ่งหลังจากนี้จะเชิญกลุ่มซีพีและผู้ดูแลงานก่อสร้างโครงการฯประชุมร่วมกับการรถไฟฯเพื่อกำหนดแผนแม่บท(Master Plan) ในการก่อสร้างและส่งมอบพื้นที่ ส่วนพื้นที่ที่สามารถส่งมอบได้เลยคือ พื้นที่มักกะสัน 100 ไร่ และพื้นที่ศรีราชา ส่วนพื้นที่มักกะสันอีก 50 ไร่ ที่เหลือจะทยอยส่งมอบภายใน 5 ปี
ชง ครม.เห็นชอบ 28 พ.ค.นี้ "กลุ่มซีพี" คว้ารถไฟเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน
โดย ไทยรัฐฉบับพิมพ์
วันอังคาร ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 เวลา 09:30 น.

“บอร์ดอีอีซี” ผ่านฉลุยให้ “กลุ่มซีพี” คว้าไฮสปีดเทรนเชื่อม 3 สนามบิน รอเข้า ครม. 28 พ.ค.นี้ พร้อมมั่นใจคัดเลือกเอกชนลงทุนสนามบินอู่ตะเภาได้ใน มิ.ย.นี้ แม้มีคนร้องศาลปกครอง ไฟเขียวโครงการใหม่ศูนย์ทดสอบแพทย์จีโนมิกส์ 1,500 ล้านบาท


นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ว่า ที่ประชุมเห็นชอบตามที่คณะกรรมการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ได้คัดเลือกและบรรลุข้อตกลงเจรจากับกลุ่มกิจการร่วมค้าบริษัทเจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร (กลุ่มซีพีเอช) แล้ว

ทั้งนี้ คาดจะเสนอให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 28 พ.ค.นี้ พิจารณาร่างสัญญาการร่วมลงทุนกับรัฐในระบบการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน (พีพีพี) หลังจากนั้น การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) จะลงนามในสัญญากับกลุ่มซีพีเอชได้ โดยใช้เวลาทำงานตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงบัดนี้ 1 ปี และวงเงินต่ำกว่าที่เสนอ ครม.อนุมัติ 2,492 ล้านบาท หรือ ครม.อนุมัติกรอบวงเงินใส่ส่วนที่รัฐต้องลงทุน 152,457 ล้านบาท หรือตามมูลค่าปัจจุบัน (เอ็นพีวี) 119,425 ล้านบาท แต่กลุ่มซีพีเอช เสนอ 149,965 ล้านบาท หรือเอ็นพีวี 117,226 ล้านบาท จากมูลค่าทั้งโครงการตามมูลค่าปัจจุบัน 182,524 ล้านบาท โดยส่วนต่างที่เหลือคือส่วนที่เอกชนต้องลงทุน

ส่วนโครงการอื่นในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ได้แก่ โครงการท่าเรือมาบตาพุด ระยะที่ 3 ได้ภาคเอกชนที่ผ่านการคัดเลือกให้ร่วมลงทุนแล้ว แต่จะเสนอ ครม.พิจารณาวันที่ 14 พ.ค. นี้เพิ่มกรอบวงเงินจากที่เสนอ ครม. อีก 3,120 ล้านบาทในส่วนค่าถมทะเล โดยจะใช้เงินของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เนื่องจากเดิมคำนวณต้นทุนการกู้ยืมด้วยดอกเบี้ย 2.5% ต่อปี แต่เอกชนกู้ได้ที่ดอกเบี้ย 4.8% ทำให้เงินที่ กนอ.ต้องจ่ายคืนเอกชนเพิ่มขึ้นจากปีละ 616 ล้านบาท เป็น 720 ล้านบาท หรือเพิ่มปีละ 104 ล้านบาท รวม 30 ปี เป็นเงิน 3,120 ล้านบาท

นอกจากนี้ยังมีอีก 2 โครงการที่เอกชนยื่นฟ้องร้องต่อศาลปกครอง คือ สนามบินอู่ตะเภา และเมืองการบินตะวันออก ซึ่งคณะกรรมการคัดเลือกเอกชน มั่นใจจะเสร็จตามกำหนดเดิมเดือน ก.ค.62 แต่ สกพอ.ขอให้เสร็จในเดือน มิ.ย.นี้ โดยเกลุ่มกิจการค้าร่วม บริษัท ธนโฮลดิ้ง จำกัดและพันธมิตร ร้องให้อย่าเพิ่งตัดสิทธิ์กลุ่มของตนเอง ทำให้คณะกรรมการคัดเลือกยังทำงานได้ เพียงแต่ต้องรอศาลตัดสินก่อน จึงจะประกาศผลได้ ส่วนท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 ได้เอกชนผู้ดำเนินโครงการแล้ว ส่วนกรณีที่เอกชนอีกรายไปร้องศาลนั้น สกพอ.ยังไม่ทราบคำฟ้อง

ด้านนายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการ ร.ฟ.ท. รักษาการผู้ว่าการ ร.ฟ.ท. กล่าวว่า การลงนามสัญญารถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินจะเกิดขึ้นภายหลังจากรายงานการศึกษาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) ได้รับการอนุมัติ รวมถึงความพร้อมการส่งมอบพื้นที่และการก่อสร้าง ส่วนการเวนคืนพื้นที่เพื่อก่อสร้าง อยู่ระหว่างจัดทำรายละเอียด แต่จะมีไม่มาก เพราะแนวเส้นทางก่อสร้างอยู่ในเขตทางรถไฟอยู่แล้ว จะมีเพียงบางพื้นที่ เช่น สถานี ที่จะเวนคืน จึงกระทบประชาชนไม่มากนัก ส่วนนายสุเทพ เพชรมาก ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า กพอ. เห็นชอบแนวทางดำเนินงานของโครงการพัฒนาศูนย์บริการทดสอบทางการแพทย์จีโนมิกส์ในอีอีซี มูลค่าลงทุน 1,500 ล้านบาท.


รฟท.นัด “ซีพี” ตรวจร่างสัญญา คาดลงนามได้กลางเดือนหน้า
โดย ไทยรัฐฉบับพิมพ์
9 พฤษภาคม 2562 เวลา 05:50 น.

นายวรวุฒิ มาลา รักษาการผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าของโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา และธุรกิจที่เกี่ยวข้อง วงเงิน 2.2 แสนล้านว่า สำนักงานอัยการสูงสุดพิจารณาร่างสัญญาในโครงการเสร็จแล้วและส่งเรื่องกลับมาแล้ว โดยได้แก้ไขข้อกฎหมายบางส่วน แต่ไม่ได้แก้ไขหลักการใดๆในร่างสัญญา ส่วนขั้นตอนต่อไป คณะกรรมการคัดเลือกและเอกชนคือ กิจการร่วมค้าบริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร (กลุ่มซีพี) จะต้องร่วมกันพิจารณาและทบทวนร่างสัญญาดังกล่าวอีกครั้ง


ทั้งนี้ ทางคณะกรรมการคัดเลือกได้นัดประชุมเป็นการภายในเพื่อพิจารณาร่างสัญญาอีกครั้งในวันที่ 9 พ.ค. และจะเชิญกลุ่มซีพีเข้าร่วมหารือด้วย ซึ่งคาดว่าการประชุมน่าจะไม่มีอุปสรรคหรือประเด็นใดๆ เพิ่มเติม เพราะกฎหมายที่สำนักอัยการสูงสุดปรับแก้ไข ก็เป็นข้อกฎหมายทั่วไป ปัจจุบันคณะกรรมการคัดเลือกยังคงเป้าหมายของโครงการไว้เหมือนเดิม และคาดว่า รฟท.และกลุ่มซีพีจะร่วมลงนามสัญญาไม่เกินวันที่ 15 มิ.ย. 62.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 15/05/2019 8:54 pm    Post subject: Reply with quote

สรุปรายละเอียดรถไฟความเร็วสูง เชื่อม 3 สนามบิน ใน 5 โพสต์ ตามลิ้งค์นี้ครับ

พอดีมีลูกเพจถามหาข้อมูลรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ผมเลยขอทำเป็น รวมลิ้งค์โพสต์รายละเอียดโครงการ มาให้ชมนะครับ

ข้อมูล series รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน 3 ตอนครับ

ตอนที่ 1 https://www.facebook.com/491766874595130/posts/584586148646535/

ตอนที่ 2 https://www.facebook.com/491766874595130/posts/587405518364598/

ตอนที่ 3 https://www.facebook.com/491766874595130/posts/590711901367293/

ตอนพิเศษ ประเทศไหน มีรถไฟความเร็วสูงเข้าสนามบินบ้าง https://www.facebook.com/491766874595130/posts/595939407511209?s=1160002750&sfns=mo

ดราม่า ชัชชาติ กับรถไฟความเร็วสูง เชื่อม 3 สนามบิน https://www.facebook.com/491766874595130/posts/595196974252119?s=1160002750&sfns=mo
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 15/05/2019 8:57 pm    Post subject: Reply with quote

รอศาลปกครองชี้ชะตาอู่ตะเภา ยื้อเซ็นสัญญาไฮสปีด CP ส่อไม่ทัน 15 มิ.ย.
พร็อพเพอร์ตี้
วันที่ 12 พฤษภาคม 2562 เวลา 08:00 น.

กลุ่ม ซี.พี.รอลุ้นศาลปกครองชี้ชะตาประมูลเมืองการบินอู่ตะเภา มูลค่า 2.9 แสนล้าน ยื้อเซ็นสัญญาไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน ส่อไม่ทัน 15 มิ.ย. ขอแก้ไขสัญญาได้ ร.ฟ.ท.รายงานบอร์ดอีอีซีตามข้อเท็จจริง 13 พ.ค.นี้ กองทัพเรือให้ 3 รายชิงดำอู่ตะเภา ส่งเอกสารยืนยันคุณสมบัติเพิ่มเติม ก่อนประกาศผลปลาย พ.ค.นี้

รายงานข่าวเปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า หลังกองทัพเรือไม่รับพิจารณาซองข้อเสนอของกลุ่มกิจการค้าร่วม บริษัท ธนโฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร ประกอบด้วย บจ.ธนโฮลดิ้ง (เครือ ซี.พี.) บจ.Orient Success International Limited บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ บมจ.ช.การช่าง และ บจ.บี.กริม จอยน์ เว็นเจอร์ โฮลดิ้ง ซึ่งยื่นข้อเสนอหลังเวลา 15.00 น. ในการประมูลสนามบินอู่ตะเภา และเมืองการบินภาคตะวันออก มูลค่า 2.9 แสนล้านบาท และกลุ่ม ซี.พี.ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองกลางขอความเป็นธรรม ยังไม่รู้ว่าศาลจะรับพิจารณาหรือไม่รับ ล่าสุดการประชุมคณะกรรมการคัดเลือกรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา 220 กม. วงเงิน 224,544 ล้านบาท ร่วมกับกลุ่ม ซี.พี. วันที่ 9 พ.ค.มีท่าทีเปลี่ยนไป ไม่ยอมรับร่างสัญญาที่อัยการสูงสุดตรวจ ซึ่งมีปรับแก้ 50 ข้อ เช่น สัดส่วนถือหุ้นในบริษัทลูก (OPCO) บริหารโครงการ ซึ่ง ซี.พี.ขอถือ 51% แต่อัยการสูงสุดให้ไม่เกิน 49% เพื่อป้องกันไม่ให้มีการผ่องถ่ายไปยังช่องทางอื่น, การส่งมอบพื้นที่ที่ขอให้ระบุให้ชัดเจน, การขยายเวลาก่อสร้าง, ค่าปรับกรณีสร้างล่าช้า ซึ่ง ซี.พี.ขอลดจากวันละ 12 ล้านบาท เหลือวันละ 3-5 ล้านบาท, ขอแก้ไขสัญญาได้ระหว่างก่อสร้าง, การคิดอัตราดอกเบี้ย 2.85% หากรัฐจ่ายเงินช้า เป็นต้น


“คณะกรรมการคัดเลือกประชุมตั้งแต่เวลา 09.00-24.00น. รอให้ ซี.พี.ทำหนังสือยืนยันกลับมา”

นายวรวุฒิ มาลา รักษาการผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า ซี.พี.ยังมีประเด็นไม่เห็นด้วยกับร่างสัญญาที่อัยการสูงสุดปรับแก้ทั้งสัญญา ซึ่งตนมองว่าเป็นประเด็นที่เสียเวลาจะอธิบาย จึงให้ ซี.พี.หารือกับที่ปรึกษาฝ่ายกฎหมาย ถ้ามีข้อสรุปก็ให้ทำหนังสือตอบยืนยันกลับมาว่ายอมรับร่างสัญญาดังกล่าวหรือไม่

“คณะกรรมการคัดเลือกจะไม่สนใจว่า ซี.พี.มีท่าทีตอบรับหรือปฏิเสธ จะเสนอผลเจรจาให้ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือบอร์ดอีอีซี รับทราบในวันที่ 13 พ.ค.ถึงข้อเท็จจริงทั้งหมด ไม่ว่าการเจรจาจะสำเร็จหรือไม่ ส่วนการลงนามสัญญาจะทันวันที่ 15 มิ.ย. ขึ้นอยู่กับ ซี.พี.”

พลเรือเอกลือชัย รุดดิษฐ์ ผู้บัญชาการทหารเรือ ในฐานะประธานคณะกรรมการคัดเลือกโครงการสนามบินอู่ตะเภา และเมืองการบินภาคตะวันออก กล่าวว่า ได้พิจารณาข้อเสนอซองที่ 1 คุณสมบัติทั่วไปให้เอกชนทั้ง 3 ราย ส่งเอกสารชี้แจงเพิ่มเติมใน 15 วัน จะประกาศผลปลายเดือน พ.ค.นี้

รายงานข่าวแจ้งว่า คณะกรรมการคัดเลือกให้กลุ่ม ซี.พี.ยื่นเอกสารที่ไม่เป็นนัยสำคัญ ส่วนกลุ่มกิจการร่วมค้า BBS (การบินกรุงเทพ-บีทีเอส-ซิโน-ไทยฯ ยืนยันการเสนอนาริตะเป็นผู้บริหารสนามบิน ด้านกลุ่มแกรนด์คอนซอร์เตี้ยม ให้ยืนยัน บจ.GMR จากประเทศอินเดีย มีประสบการณ์บริหารสนามบิน 15 ปี ตามทีโออาร์กำหนด
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 318, 319, 320 ... 542, 543, 544  Next
Page 319 of 544

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©