Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311276
ทั่วไป:13257801
ทั้งหมด:13569077
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมบันทึกมักกะสัน
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมบันทึกมักกะสัน
Goto page Previous  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42686
Location: NECTEC

PostPosted: 25/01/2019 10:07 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
“อาคม” บุกโรงซ่อมรถไฟมักกะสัน จี้ปรับปรุงหัวรถจักรรับ B20

พร็อพเพอร์ตี้
วันที่ 24 มกราคม 2562 เวลา 20:05 น.


การรถไฟฯ ร่วมแก้ปัญหาลดปริมาณฝุ่นละอองเกินค่ามาตรฐาน สั่งให้ชะลอการซ่อมแซมรถโดยสารในโรงงานมักกะสัน
วันอังคารที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2562



การรถไฟฯ ร่วมแก้ปัญหาลดปริมาณฝุ่นละอองเกินค่ามาตรฐานในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล สั่งชะลอการซ่อมแซมรถโดยสารในโรงงานมักกะสันออกไปก่อน และเตรียมหารือร่วมกับกรมควบคุมมลพิษ เพื่อปรับหาวิธีการซ่อมแซมสภาพตัวรถให้ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด

ผศ.ดร.ศิริพงศ์ พฤทธิพันธุ์ รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการซ่อมบำรุงรถจักรและล้อเลื่อน การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า การรถไฟฯ ได้คำนึงถึงการรักษาสิ่งแวดล้อม และเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมแก้ปัญหาฝุ่นละอองในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลเกินค่ามาตรฐานอย่างเต็มที่ โดยได้สั่งให้บริษัทเอกชนที่ได้รับว่าจ้างจากการรถไฟฯ ให้เข้ามาปรับปรุงสภาพภายนอกของรถโดยสาร ในโรงงานมักกะสัน ชะลอการซ่อมรถโดยสารดังกล่าวในช่วงที่เกิดปัญหาฝุ่นละอองเกินค่ามาตรฐานในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลออกไปก่อนขณะเดียวกัน การรถไฟฯ ยังเตรียมร่วมหารือกับกรมควบคุมมลพิษ เพื่อปรับหาวิธีการซ่อมแซมสภาพตัวรถใหม่ ที่จะส่งผลกระทบต่อชุมชนข้างเคียงและสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุดอีกด้วย

นอกจากนี้ การรถไฟฯ ได้สั่งการให้บริษัทเอกชน ชะลอการซ่อมแซมรถโดยสารที่โรงงานมักกะสันเพื่อลดปัญหาฝุ่นละอองแล้ว การรถไฟแห่งประเทศไทย ยังสนับสนุนให้การเดินรถของการรถไฟฯ เป็นการเดินรถไฟแบบสีเขียวเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และลดการเผาไหม้จากเชื้อเพลิงในระยะยาว ด้วยการมอบหมายให้ฝ่ายการช่างกลของการรถไฟฯ พัฒนาระบบรถพาวเวอร์คาร์ขึ้นมาใช้งาน โดยใช้พลังงานจากรถพาวเวอร์คาร์เพียงคันเดียวในการจ่ายไฟไปใช้ในขบวนรถโดยสารทั้งขบวน ซึ่งทำให้สามารถประหยัดพลังงานและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ตลอดจนยังรับนโยบายจากนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในการนำน้ำมันบี 20 มาทดสอบใช้เป็นเชื้อเพลิงในการเดินรถขบวนรถโดยสาร เพื่อลดปัญหาการปล่อยมลพิษ แก้ปัญหาการเกิดฝุ่นละอองในอากาศให้ลดลง และคาดว่าจะเริ่มทดสอบนำมาวิ่งเปิดให้บริการได้ในเร็วๆ นี้ด้วย



ผศ.ดร.ศิริพงศ์ฯ กล่าวต่อว่า ส่วนกรณีมีการเผยแพร่ภาพที่บริเวณโรงงานมักกะสัน โดยมีช่างกำลังดำเนินการซ่อมแซมรถโดยสาร โดยใช้แก๊สเผาสีด้านนอกจนเกิดควัน และเกรงว่าจะส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมนั้น ขอชี้แจงว่า เป็นภาพของช่างซ่อมจากบริษัทเอกชนที่การรถไฟฯ มีการว่าจ้างมาปรับปรุงสภาพภายนอกของรถโดยสารให้มีคุณภาพดีขึ้น ซึ่งเป็นกระบวนการซ่อมวาระหนักของรถโดยสารประเภทเหล็กธรรมดา ด้วยการลอกสีโป๊วเดิมออกให้ถึงเนื้อเหล็ก ซึ่งตามขั้นตอนจะมีการให้ความร้อนบริเวณผิวบางส่วนที่จำเป็นเท่านั้น ไม่ได้เป็นการเผาไหม้หมดทั้งคัน ซึ่งอาจจะมีการเกิดควันขึ้นบ้างเล็กน้อย

“ที่ผ่านมาการเปิดให้โรงงานมักกะสันซ่อมวาระหนักของรถโดยสารประเภทเหล็กธรรมดา จะมีการเปิดซ่อมรอบหนึ่งต่อ 4 ปี และทำการซ่อมเฉพาะช่วงที่มีสัญญาซ่อมเท่านั้น ซึ่งไม่ได้มีปริมาณการซ่อมแซมปริมาณที่มาก เพราะเฉลี่ยแล้ว เดือนหนึ่งมีการซ่อมแซมไม่ถึงสิบคัน โดยเฉลี่ยคันหนึ่งจะใช้เวลาลอกสีประมาณ 2-3 ชั่วโมงเท่านั้น และรถโดยสารบางส่วนก็มีการกระจายนำไปซ่อมแซมตามโรงงานต่างจังหวัดอื่นๆ อีกด้วย”

โรงซ่อมมักกะสันชะลอกิจกรรมหวังลดฝุ่น “อาคม” สั่ง ร.ฟ.ท.เร่งขยายใช้น้ำมัน B20
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันที่ 24 มกราคม 2562 เวลา 23:51
ปรับปรุง: วันที่ 25 มกราคม 2562 เวลา 09:12

“อาคม” สั่ง ร.ฟ.ท.ขยายผลการใช้น้ำมันไบโอดีเซล B20 จ่อหารือ ปตท.ช่วยสนับสนุนปริมาณน้ำมันให้เพียงพอต่อความต้องการตามแนวเส้นทาง พร้อมสั่งโรงงานมักกะสันชะลอซ่อมรถบางกิจกรรม เพื่อลดปริมาณฝุ่นละออง

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ได้ติดตามมาตรการรองรับแก้ไขปัญหามลพิษจากปัญหาฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ที่โรงงานมักกะสัน และพื้นที่ก่อสร้างสถานีกลางบางซื่อ ว่า ที่ผ่านมาการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ได้มีการทดสอบการใช้น้ำมันไบโอดีเซล B10 ในเครื่องยนต์รถไฟ เพื่อสนับสนุนนโยบายภาครัฐในการเพิ่มส่วนผสมของไบโอดีเซลในน้ำมันดีเซลจากปัจจุบันที่ 7% (B7) เป็นส่วนผสมที่ 10% (B10) ซึ่งได้ทดลองใช้กับรถดีเซลรางทั่วประเทศประมาณ 100 คัน ระยะเวลา 6 เดือน สามารถใช้แทนน้ำมันดีเซลได้ ไม่ส่งผลกระทบต่อเครื่องยนต์ จึงสั่งการให้เปลี่ยนใช้ B10 ในวันที่ 1 ก.พ. 2562 ก่อนเป็นเบื้องต้น

ทั้งนี้ ในส่วนของการใช้น้ำมัน B10 นั้นยังมีปัญหาติดขัดเรื่องปริมาณน้ำมัน ซึ่งจะช่วยหารือกับ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ในการสนับสนุนน้ำมัน B10 ให้เพียงพอต่อความต้องการของรถไฟที่มี 18 แห่งทั่วประเทศ นอกจากนี้ จะให้เร่งขยายการทดลองใช้น้ำมัน B20 เพิ่มเติมต่อไปด้วย

สำหรับการแก้ไขสถานการณ์ลดฝุ่นละออง PM 2.5 ในพื้นที่ก่อสร้างสถานีกลางบางซื่อ ได้กำชับให้ ร.ฟ.ท. และบริษัทผู้รับเหมาก่อสร้างในพื้นที่สถานีกลางบางซื่อฉีดน้ำทำความสะอาดทางเท้ารอบพื้นที่บริเวณสถานีฯ แผ่นปูพื้นภายในสถานีฯ จัดเก็บกองดิน กองวัสดุก่อสร้างที่อยู่ในพื้นที่ ฉีดน้ำเพื่อป้องกันฝุ่นละอองอย่างสม่ำเสมอ ติดตั้งรั้วรอบสถานีฯ เพื่อป้องกันรถที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการก่อสร้างเข้าภายในสถานีและติดเศษดินทรายออกมาสร้างปัญหาฝุ่นละอองนอกพื้นที่ ทั้งนี้ สถานีกลางบางซื่อได้ดำเนินมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมตามรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) อย่างเข้มงวดอยู่แล้ว

ด้านนายศิริพงศ์ พฤทธิพันธุ์ รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการซ่อมบำรุงรถจักรและล้อเลื่อน ร.ฟ.ท. กล่าวว่า ในส่วนของการลดปัญหาฝุ่นขนาดเล็กนั้น ขณะนี้ได้สั่งให้บริษัทเอกชนที่ได้รับว่าจ้างจากการรถไฟฯ ให้เข้ามาปรับปรุงสภาพภายนอกของรถโดยสารในโรงงานมักกะสัน ชะลอการซ่อมรถโดยสารดังกล่าวในช่วงที่เกิดปัญหาฝุ่นละอองเกินค่ามาตรฐานในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลออกไปก่อน ขณะเดียวกัน การรถไฟฯ ยังเตรียมร่วมหารือกับกรมควบคุมมลพิษเพื่อปรับหาวิธีการซ่อมแซมสภาพตัวรถใหม่ที่จะส่งผลกระทบต่อชุมชนข้างเคียงและสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุดอีกด้วย

นอกจากนี้ ในด้านการเดินรถไฟนั้น ยังเริ่มระบบเดินรถแบบสีเขียวเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และลดการเผาไหม้จากเชื้อเพลิงในระยะยาว ซึ่งฝ่ายการช่างกลได้พัฒนาระบบรถเพาเวอร์คาร์ขึ้นมาใช้งาน โดยใช้พลังงานจากรถเพาเวอร์คาร์เพียงคันเดียวในการจ่ายไฟไปใช้ในขบวนรถโดยสารทั้งขบวน ซึ่งยังทำให้สามารถประหยัดพลังงานอีกด้วย

สำหรับนโยบายการนำน้ำมัน B20 มาทดสอบใช้เป็นเชื้อเพลิงในการเดินรถขบวนรถโดยสารเพื่อลดปัญหาการปล่อยมลพิษ และแก้ปัญหาการเกิดฝุ่นละอองนั้น คาดว่าจะเริ่มทดสอบนำมาวิ่งเปิดให้บริการได้ในเร็วๆ นี้

ส่วนกรณีมีการเผยแพร่ภาพที่บริเวณโรงงานมักกะสัน โดยมีช่างกำลังดำเนินการซ่อมแซมรถโดยสาร โดยใช้แก๊สเผาสีด้านนอกจนเกิดควัน และเกรงว่าจะส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมนั้น นายศิริพงศ์ชี้แจงว่า เป็นภาพของช่างซ่อมจากบริษัทเอกชนที่การรถไฟฯ มีการว่าจ้างมาปรับปรุงสภาพภายนอกของรถโดยสารให้มีคุณภาพดีขึ้น ซึ่งเป็นกระบวนการซ่อมวาระหนักของรถโดยสารประเภทเหล็กธรรมดา ด้วยการลอกสีโป๊วเดิมออกให้ถึงเนื้อเหล็ก ซึ่งตามขั้นตอนจะมีการให้ความร้อนบริเวณผิวบางส่วนที่จำเป็นเท่านั้น ไม่ได้เป็นการเผาไหม้หมดทั้งคัน อาจจะมีการเกิดควันขึ้นบ้างเล็กน้อย

“ที่ผ่านมาการเปิดให้โรงงานมักกะสันซ่อมวาระหนักของรถโดยสารประเภทเหล็กธรรมดา จะมีการเปิดซ่อมรอบหนึ่งต่อ 4 ปี เฉพาะช่วงที่มีสัญญาซ่อมเท่านั้น ซึ่งมีปริมาณการซ่อมแซมไม่มาก เฉลี่ย เดือนละไม่ถึงสิบคัน และคันหนึ่งจะใช้เวลาลอกสีประมาณ 2-3 ชั่วโมงเท่านั้น”


Last edited by Wisarut on 31/01/2019 12:19 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42686
Location: NECTEC

PostPosted: 31/01/2019 12:18 pm    Post subject: Reply with quote

การรถไฟฯ แจงความโปร่งใสเรื่องพื้นที่มักกะสัน ยันทำเพื่อประโยชน์ของประเทศ-องค์กร
วันพุธที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2562

ตามที่ผู้ใช้เฟสบุ๊คชื่อ Pramote Nakornthab โพสต์ข้อความเกี่ยวกับที่ดินรถไฟมักกะสัน ความว่า “ 5 ปี แห่งความทุกข์ระทมของประชาชน 5 ปีแห่งความหายนะของชาติบ้านเมือง ที่ดินรถไฟมักกะสันปอดของกรุงเทพฯ ที่ ร.5 ท่านประทานไว้เป็นสาธารณะประโยชน์กับคนไทย ก็ใส่พานประเคนให้เจ้าสัวซี.พี.” นั้น

ตามเรื่องดังกล่าวการรถไฟแห่งประเทศไทย ขอเรียนชี้แจงว่า พื้นที่บริเวณโรงงานมักกะสันของการรถไฟฯ ที่กล่าวถึง เคยใช้เป็นที่จอดพักขบวนรถรอการซ่อมของโรงงานมักกะสัน แต่ปัจจุบันไม่ได้ใช้แล้ว การรถไฟฯ จึงจำเป็นต้องวางแผนการพัฒนาใช้ประโยชน์ในพื้นที่เพื่อให้เกิดความคุ้มค่ามากที่สุด โดยบรรจุแผนดังกล่าวเข้าสู่แผนฟื้นฟูกิจการรถไฟแห่งประเทศไทย โดยเปลี่ยนที่รกร้างให้เป็นสวนสาธารณะ และการใช้ประโยชน์ที่ดินแบบผสมผสานกล่าวคือประชาชนทั่วไปสามารถเข้ามาใช้ประโยชน์เป็นปอดของกทม.ได้อย่างแท้จริง

และการรถไฟฯ สามารถมีรายได้เพื่อสนับสนุนกิจการรถไฟ โดยพื้นที่บริเวณดังกล่าวได้ดำเนินการในลักษณะที่ให้เอกชนเช่าพื้นที่ โดยมีการคิดค่าเช่าตามระเบียบของการรถไฟฯ และตามผลการศึกษาเมื่อปี 2561 ของบริษัทที่ปรึกษาที่มีวิชาชีพประเมินราคาที่ดิน ตามกฎหมายเป็นผู้ประเมิน

ทั้งนี้ การรถไฟฯ มีแผนที่จะดำเนินการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ในบริเวณดังกล่าวอยู่แล้ว ถึงแม้จะไม่มีโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบินก็ตาม โดยการรถไฟฯ จะได้ค่าเช่า/ผลตอบแทนตลอดอายุสัญญาเช่า ในระดับที่ใกล้เคียงกับที่ได้ศึกษาไว้ รวมทั้งเมื่อสัญญาเช่าสิ้นสุดลงทรัพย์สินทั้งหมดจะตกเป็นของรัฐอีกด้วย
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42686
Location: NECTEC

PostPosted: 07/02/2019 4:45 pm    Post subject: Reply with quote

สนทนาเรื่องราวเกี่ยวกะการเปิดประวัติ้ศาสตร์การสร้างรถไฟที่โรงงานมักกะสัน ที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2562 ใครlสนใจจะไปก็ลงชื่อได้นะครับ https://www.facebook.com/events/2528084763886549/
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42686
Location: NECTEC

PostPosted: 10/05/2019 11:12 am    Post subject: Reply with quote

109 ปีโรงงานมักกะสัน ต้นกำเนิดการรถไฟไทย
โดย ไทยรัฐฉบับพิมพ์
ศุกร์ที่ 10 พฤษภาคม 2562 เวลา 05:01 น.

“ที่ดินโรงงานมักกะสัน” เปิดดำเนินงานควบคู่กับการรถไฟแห่งประเทศไทย เคียงข้างวิถีชีวิตคนไทยมายาวนาน กำลังกลายเป็นกระแส...ถูกยกขึ้นมาพูดคุยเป็นประเด็นอีกครั้งในเรื่องทิศทางการพัฒนาพื้นที่ 497 ไร่ นำไปสู่การใช้ประโยชน์...พัฒนาเชิงพาณิชย์...ให้เกิดความคุ้มค่า


จากการนำพื้นที่มักกะสัน 150 ไร่ และพื้นที่โดยรอบสถานีศรีราชา 25 ไร่ ผนวกเข้ากับการพัฒนาพื้นที่สนับสนุนการพัฒนารถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน คือ สนามบินดอนเมือง สุวรรณภูมิ และอู่ตะเภา หนึ่งในแผนพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก อีอีซี

ทว่ากว่าล้อเหล็กหมุนเคลื่อนตัวกระทบรางเหล็ก...ไปตามเส้นทางกระจายทุกพื้นที่ภูมิภาคของประเทศ เพื่อตอบสนองภาคคมนาคมการขนส่งให้ประชาชนเดินทางสะดวกนั้น...ไม่ใช่เรื่องง่าย!

เห็นได้จาก “ขบวนรถไฟ” เคยเป็น “กรมรถไฟ” เดินทางยาวนาน...มาถึงวันนี้เป็น “การรถไฟแห่งประเทศไทย”...ใกล้เข้าสู่ครบรอบ 122 ปี ในวันที่ 26 มิถุนายน 2562

เมื่อมองย้อนไปในปี 2433 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนากรมรถไฟขึ้นเป็นครั้งแรก ในสังกัดกระทรวงโยธาธิการ และเริ่มก่อสร้างทางรถไฟเส้นทางสายแรกของประเทศสยาม สายกรุงเทพฯ–นครราชสีมา

ต่อมาวันที่ 26 มีนาคม 2434 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินประกอบพระราชพิธีกระทำพระฤกษ์ เริ่มการก่อสร้างทางรถไฟหลวงในราชอาณาจักรไทย ที่ปะรำพิธีฝั่งคลองผดุงกรุงเกษม ตรงข้ามวัดเทพศิรินทราวาส นั่นก็คือ...ที่ทำการรถไฟแห่งประเทศไทยในปัจจุบันนี้

นับจากจุดเริ่มต้น “กรมรถไฟ” กลายมาเป็น “กรมรถไฟหลวง” มีการเริ่มขยายความรุ่งเรืองของกิจการรถไฟ ด้วยการสร้างสถานีรถไฟกรุงเทพใหม่ เพื่อเป็นสถานีศูนย์กลางของรถไฟสายสำคัญทุกสาย ที่มีการเปิดเดินรถไฟไปยังภูมิภาคต่างๆของประเทศ และเชื่อมต่อเส้นทางคมนาคมได้สะดวกมากขึ้นกว่าเดิม

หากกลับมาพูดถึง “โรงงานมักกะสัน” ต่างเต็มไปด้วยเรื่องราว เรื่องเล่า และกลิ่นอายของ “ความเป็นประวัติศาสตร์ ต้นกำเนิด...ความรุ่งเรืองของกิจการรถไฟ” ถูกถ่ายทอดอยู่เบื้องหลังกำแพงล้อมรอบบนพื้นที่ใจกลางเมืองกรุงเทพฯ และกำลังจะถูกลบออกจากความทรงจำของสังคมไทย...

นำไปสู่...ความเจริญเชิงพาณิชย์จากนักธุรกิจ

ย้อนประวัติถึงการก่อกำเนิดเกิดขึ้น ในปี 2453 สาระสำคัญคือกรมรถไฟหาพื้นที่สร้างโรงงานรถไฟแห่งใหม่ รองรับโรงงานซ่อมรถจักร และรถพ่วง...แทนสถานีรถไฟกรุงเทพหัวลำโพงที่ถูกรื้อลง

กระทั่งปี 2481 มีการออกพระราชกฤษฎีกา และพระราชบัญญัติหลายฉบับ เพื่อการเวนคืนที่ดินขยายโรงงานมักกะสัน สร้างโรงซ่อมเครื่องไฟฟ้าใหม่ และโรงงานเพิ่มเติมอีกมากมาย และสร้างโรงเรียนวิศวกรรมรถไฟ บ้านพักคนงาน และบ้านเจ้าหน้าที่ในโรงงานมักกะสัน

เมื่อการดำเนินงานก่อสร้างโรงงานนี้เสร็จสิ้นลง...ต้องมาพบเจอกับ “สงครามมหาเอเชียบูรพา” และโรงงานมักกะสันถูกทิ้งระเบิดทางอากาศ 4 ครั้ง ทำให้อาคารโรงงานและสิ่งปลูกสร้างหลายอย่างเสียหาย

ในยุค 2494 รัฐบาลสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม เริ่มบูรณะกิจการรถไฟให้กลับเข้าสภาพใช้การได้ดีอย่างเดิม และติดตั้งเครื่องจักร เครื่องมือกลใหม่ อาทิ โรงล้อ โรงซ่อมรถจักรดีเซล และเครื่องมือกลรถโดยสาร โรงซ่อมรถบรรทุก 1 และ 2 และเครื่องมือกลรถบรรทุกโรงหล่อและกระสวนโรงช่างไม้ โรงเลื่อย โรงบุหนัง

เปลี่ยนสถานะของ “กรมรถไฟหลวง” เป็นรัฐวิสาหกิจภายใต้ชื่อ “การรถไฟแห่งประเทศไทย”

เวลาผ่านไปนับร้อยปี...ปัจจุบัน “โรงงานมักกะสัน” มีหน้าที่หลัก คือ งานซ่อมหนักรถจักรดีเซล รถดีเซล รางรถโดยสาร การซ่อมดัดแปลงล้อเลื่อนและอุปกรณ์ต่างๆ ผลิตอุปกรณ์ส่วนประกอบบางชนิด และสนับสนุนงานซ่อมบำรุงในส่วนภูมิภาค รวมถึงรับผิดชอบงานด้านบริหารบุคคลจัดสวัสดิการ

ตามข้อมูลของสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ เคยสำรวจอาคารที่มีคุณค่าควรแก่การอนุรักษ์ในพื้นที่ย่านโรงงานมักกะสันพบสิ่งก่อสร้างมีคุณค่าพิเศษคู่ควรอนุรักษ์ อาทิ อาคาร 2465 คลังพัสดุโรงงาน อาคารโรงงานซ่อมรถจักร อาคารโรงหล่อและกระสวน อาคารสถานีรถไฟมักกะสัน บ้านพักไม้ในพื้นที่นิคมรถไฟมักกะสัน และโรงพยาบาลบุรฉัตร–ไชยากร

สิ่งก่อสร้างนี้มีความสำคัญเชิงหลักฐานทางประวัติศาสตร์ บ่งชี้ถึง “ยุคเฟื่องฟู...กิจการรถไฟ” ตลอดระยะเวลาการดำเนินงานของโรงงานมักกะสัน 109 ปี สามารถผลิตรถไฟใช้ในประเทศ ก่อนมาถึงยุคนี้...ที่การเดินทางสะดวกมากกว่าเดิม จนถูกลดทอนบทบาทลงอย่างต่อเนื่อง

อินทร์ แย้มบริบูรณ์ พนักงานเทคนิค 6 โรงงานมักกะสัน เล่าให้ฟังว่า ที่ดินมักกะสัน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้พระราชทานที่ดินแห่งนี้เพื่อเป็นโรงงานซ่อมบำรุงหัวจักรไอน้ำ พื้นที่แห่งนี้ในอดีตเป็นโรงงานรถไฟขนาดใหญ่ และสำคัญยิ่งแห่งหนึ่งของประเทศไทย

สถานที่แห่งนี้สมัยก่อนเป็นอุตสาหกรรมโรงงานเครื่องจักรครบวงจร มีศักยภาพสร้างได้ทุกอย่าง ทั้งมีโรงล้อ โรงยาง อุปกรณ์นำเข้าจากประเทศยุโรปทั้งหมด เมื่อครั้งปี 2480 เคยเป็นเมืองอุตสาหกรรมเครื่องจักรใหญ่ที่สุดของเอเชีย และประเทศในแถบอาเซียนต้องมาดูงานที่โรงงานมักกะสัน

แม้แต่ประเทศเกาหลียังเคยสั่งซื้อเครื่องห้ามล้อรถไฟของประเทศไทย

ภายในยังมีโรงงานยุคเก่าทั้งตัวสถาปัตยกรรมของอาคาร รวมถึงการตกแต่งด้านในคงรูปแบบเดิมไว้หลายอย่าง ไม่ว่า...จะเป็นอาคารเก่าแก่ที่สุด คือ อาคาร ร.ฟ.ผ.๒๔๖๕ โรงซ่อมรถจักรไอน้ำ หรือโรงซ่อมรถดีเซลรางรถปรับอากาศ ที่มีเครื่องมือเก่าใช้กันทั่วโลก รวมถึงโรงเก็บไม้ 1 และ 2 โครงสร้างทำด้วยไม้เนื้อแข็งทั้งหลัง อาทิ ไม้สัก ไม้พะยูง ไม้เต็งไม้ประดู่ และไม้ตะเคียน

ทั้งหมดมีความสำคัญหลายด้าน ในด้านประวัติศาสตร์ เกี่ยวกับการพัฒนาเมืองและประเทศ ด้านสถาปัตยกรรม มีอาคาร...สิ่งปลูกสร้างที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ถือว่ามีความสำคัญเป็นแหล่งมรดกทางอุตสาหกรรม

แต่ในอนาคตกำลังจะถูกพัฒนาที่ดินมักกะสันไปในเชิงพาณิชย์...ตามที่การรถไฟฯ เปิดให้ภาคเอกชนยื่นข้อเสนอร่วมลงทุน (ทีโออาร์) โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ในแผนโครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ อีอีซี และกำหนดให้ที่ดินมักกะสันเป็นจุดศูนย์กลางเชื่อมต่อรถไฟฟ้าความเร็วสูง

มีการ “มอบสิทธิ์การเช่าที่ดิน” ของการรถไฟฯ ให้กับ “เอกชนผู้ชนะการประมูล” ก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน เป็นระยะเวลา 50 ปี ประกอบด้วย ที่ดินศรีราชา 25 ไร่ และที่ดินมักกะสัน 150 ไร่ ในการ “พัฒนาที่ดินในเชิงพาณิชย์” โดยที่ดินมักกะสันกำหนดในโซนเอ เป็นส่วนโรงงานซ่อมรถไฟ ที่ใช้ทำสับเปลี่ยนลำเลียงรถจักร และรถพ่วง เข้ามาซ่อมในโรงงานมักกะสัน...

ข้อกังวลมีว่าหากมีการส่งมอบพื้นที่แปลงโซนเอ ให้กับทางเอกชน... อาจจะเกิดผลกระทบต่อระบบซ่อมบำรุงรถจักร รถดีเซลราง รถพ่วง ทำให้เกิดปัญหาในการส่งรถเข้าซ่อมในงานสนับสนุนด้านการขนส่งพัสดุ...อะไหล่

สิ่งสำคัญคือ อาจทำลายความเป็นมรดกทางอุตสาหกรรม หลักฐานวัฒนธรรมที่มีคุณค่าทางด้านประวัติศาสตร์ ทางเทคโนโลยี สังคม ทั้งอาคาร เครื่องจักรกล ที่ต้องได้รับการเก็บข้อมูลให้เป็นมรดก

ถือว่าเป็นสิ่งล้ำค่า...ทางจิตใจที่ไม่สามารถประเมินได้ และยังเป็นอีกความภูมิใจของ “คนการรถไฟ” และ “คนไทย” ทั้งชาติ ที่ควรหวงแหน อนุรักษ์...เก็บรักษาไว้ให้เป็นมรดกตกทอดสู่ลูกหลาน

กลายเป็นแหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์อันมีคุณค่า...ผ่านสถานที่นี้ ที่มีเรื่องราวสำคัญของ “การรถไฟแห่งประเทศไทย” ซึ่งคนส่วนใหญ่อาจไม่เคยทราบเรื่องราวนี้เลยด้วยซ้ำ.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42686
Location: NECTEC

PostPosted: 14/05/2019 12:34 pm    Post subject: Reply with quote

จาก...ร่วมทุนรถไฟเร็วสูง หยิบชิ้นปลามันมักกะสัน
โดย ไทยรัฐฉบับพิมพ์
วัน เสาร์ ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 เวลา 05:01 น.

การพัฒนาที่ดินมักกะสัน 150 ไร่ ถูกผนวกเข้ากับโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก หรืออีอีซี ที่นำ “ที่ดินมักกะสัน” มาเป็นเครื่องต่อรองให้เกิด “แรงจูงใจกับนักลงทุน” เข้ามาร่วมประมูลโครงการรถไฟความเร็วสูง

ทั้งที่เดิมที...พื้นที่นี้คือโรงงานซ่อมบำรุงรถไฟทั่วประเทศ

โครงการนี้มีภาคเอกชนชนะการประมูลได้สิทธิพัฒนาพื้นที่ “ทำเลทอง...ใจกลาง” ในที่ดินมักกะสัน 150 ไร่ ระยะเวลา 50 ปี เรียบร้อยแล้ว และกำลังจะกลายเป็นส่วนหนึ่งให้มีการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เชิงพาณิชย์...

ส่วนต้นสายปลายเหตุ...ความเป็นมาของโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินกับที่ดินมักกะสัน มีการเชื่อมโยงเกี่ยวข้องกันนั้น สาวิทย์ แก้วหวาน ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการรถไฟแห่งประเทศไทย บอกว่า รัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ มีแนวคิดขยายเศรษฐกิจในพื้นที่ภาคตะวันออก ตามโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor : EEC) มีเป้าหมายหลักในการเติมเต็มภาพรวมในการส่งเสริมการลงทุน และยกระดับอุตสาหกรรมของประเทศ

สิ่งสำคัญเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน การสร้างโครงข่ายคมนาคมขนส่ง และโลจิสติกส์ที่สมบูรณ์ ในพื้นที่เป้าหมายนำร่องใน 3 จังหวัด คือ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง

ต่อมา ครม.มีมติในวันที่ 28 มิ.ย.2559 เห็นชอบหลักการข้อเสนอ 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย กลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพื่ออนาคต ได้แก่ 5 อุตสาหกรรมเดิมที่มีศักยภาพ และการเติม 5 อุตสาหกรรมในอนาคต

ในตัวโครงการได้มีการออกแบบการขนส่งและการคมนาคมไว้อย่างครอบคลุม ทั้งทางถนน ทางราง ทางอากาศ ทางน้ำ รวมถึงให้สิทธิประโยชน์เพื่อดึงดูดให้บริษัทข้ามชาติจากทั่วทุกมุมโลกสนใจมาลงทุนตั้งฐานการผลิตที่ไทย มีแผนการลงทุนของรัฐบาลตามกรอบการลงทุนรวมของภาครัฐและเอกชน ระยะเวลา 5 ปี ตั้งแต่ พ.ศ.2560-2564 ใช้เม็ดเงินลงทุนกว่า 1.5 ล้านล้านบาท

ตามข้อมูลยังพบอีกว่า มีแผนพัฒนาด้านเส้นทางคมนาคม เพื่อสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจภาคตะวันออก ตามการลงทุนทางด้านโครงสร้างพื้นฐานจากภาครัฐบาล คือ 1.ทางถนน ก่อสร้างมอเตอร์เวย์ 3 เส้นทาง ได้แก่ กรุงเทพฯ-ชลบุรี, พัทยา-มาบตาพุด และแหลมฉบัง-นครราชสีมา

2.ทางราง รถไฟทางคู่ ช่วงฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย และโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา 3.ทางอากาศ โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา และเมืองการบินภาคตะวันออก 4.พัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง และพัฒนาท่าเรือมาบตาพุด

ในเวลาเดียวกันรัฐบาลออกกฎหมายเฉพาะเพื่อให้แผนโครงการมีความรวดเร็ว กระชับ ชัดเจน และมีทิศทางมากขึ้น แต่ก็มีบุคคลหลายฝ่าย ไม่เห็นด้วยกับการออกกฎหมายฉบับนี้

เพราะเอื้อประโยชน์ให้เอกสิทธิ์กับนักลงทุนมากมาย อาทิ การเช่าพื้นที่ดินขยายได้นานถึง 99 ปี สามารถเป็นเจ้าของอาคารชุด และนำเข้าแรงงานต่างด้าว มีทักษะได้โดยตรง ไม่จำเป็นต้องผ่านกฎหมายหลักที่มีอยู่

ทำให้นักธุรกิจ นักลงทุนมีอำนาจเบ็ดเสร็จ แม้แต่บทบัญญัติกฎหมายที่มีอยู่ของประเทศ หากเห็นว่าขัดกฎหมายเฉพาะ อีอีซีต้องถูกยกเว้นโดยปริยาย เพื่อให้โครงการขับเคลื่อนต่อไปได้

สาวิทย์ บอกอีกว่า ส่วนโครงการรถไฟความเร็วสูง 3 สนามบิน...เกิดจากรัฐบาลมองว่าสนามบินดอนเมืองและสนามบินสุวรรณภูมิมีพื้นที่จำกัดเกิดความแออัดคับแคบ เต็มไปด้วยผู้มาใช้บริการมากเกินไป ทำให้ไม่สอดคล้องกับการขับเคลื่อนพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ “อีอีซี” ที่จะมีนักธุรกิจและแรงงาน มาเสริมสนับสนุน

จึงต้องปรับโครงสร้างพัฒนาด้านคมนาคมใหม่...

มีแผนการเชื่อมเมืองกรุงเทพฯ และเขตเศรษฐกิจพิเศษ อีอีซี จ.ชลบุรี ให้การเดินทางมีความสะดวกรวดเร็ว จนเกิดแนวคิดส่งเสริมสนามบินอู่ตะเภา ในการสนับสนุนโครงสร้างพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษ อีอีซี ระยะทาง 220 กม. มูลค่าโครงการ 224,544.36 ล้านบาท ใช้ระยะเวลาการเดินทางประมาณ 1.40 ชม. ราคาค่าโดยสาร 476 บาท

และรัฐบาลส่งไม้ต่อให้...การรถไฟแห่งประเทศไทยเป็นเจ้าภาพรับผิดชอบโครงการ และในช่วงปลายปี 2561 ได้เปิดขายเอกสารการคัดเลือกเอกชน มีผู้ซื้อซองประมูลราคาและสนใจซื้อเอกสารการคัดเลือก 31 ราย ต่อมามีผู้ยื่นซองข้อเสนอราคาประมูล 2 ราย จนได้ผู้ชนะการประมูลที่เสนอขอรับเงินอุดหนุนจากรัฐบาลต่ำสุดในราคา 117,227 ล้านบาท ต่ำกว่ากลุ่มเสนอขอรับ 196,934 ล้านบาท ถึง 52,707 ล้านบาท

ทว่าสิทธิประโยชน์ที่เอกชน “ชนะประมูล” จากการเข้าดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน คือ บริหารรูปแบบโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ได้สัมปทานบริหารแอร์พอร์ตลิงก์ที่มีฐานคนใช้กว่า 8 หมื่นคนต่อวัน และมีโอกาสในการเดินรถต่อเฟส 2 ช่วงอู่ตะเภา-ตราด

แต่สาระสำคัญคือ...มีส่วนเกี่ยวข้องกับที่ดินมักกะสัน ได้สัมปทานในการครอบครองพื้นที่มักกะสัน 100 ไร่ และพื้นที่รอบสถานีศรีราชา 25 ไร่ เพื่อพัฒนาเชิงพาณิชย์ และรับมอบพื้นที่มักกะสันอีก 50 ไร่ ที่อยู่ติดกับโรงซ่อมบำรุงรถไฟ และพื้นที่เวนคืนอื่นๆ ให้กับเอกชนภายใน 5 ปี

สาเหตุที่ที่ดินมักกะสันเป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษ อีอีซี เพราะมีการประเมินกันว่า “การสร้างรถไฟความเร็วสูง...กว่าจะเกิดผลกำไร ต้องใช้เวลานาน...จากผลการลงทุนก่อสร้างมูลค่าสูง ส่งผลให้นักลงทุนไม่มีใครสนใจ” จนนำที่ดินของการรถไฟฯ ทั้งที่ดินมักมะสัน ที่ดินศรีราชา เป็นตัวล่อสร้างแรงบันดาลใจ...ดึงดูด...ความสนใจ ให้นักลงทุนเข้ามาร่วมประมูล โดยเฉพาะที่ดินมักกะสัน เป็นพื้นที่แปลงใหญ่ใจกลางย่านธุรกิจ หรืออยู่ที่ใจกลางเมือง ถูกจับจ้องจากนักลงทุนขนาดใหญ่หวังเข้ามาลงทุนครอบครอง หาผลประโยชน์จากพื้นที่แห่งนี้อยู่แล้ว ผลก็คือทำให้มีกลุ่มทุนขนาดใหญ่เข้ามาประมูลโครงการอย่างล้นหลาม

ประเด็นสำคัญ...เมื่อที่ดินมักกะสันเชื่อมกับรถไฟความเร็วสูง 3 สนามบิน ในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ จะทำให้ที่ดินมักกะสันถูกผนวกมาเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษโดยปริยาย สามารถใช้กฎหมายของเศรษฐกิจพิเศษหลายฉบับ

ตอนนี้ได้รับรายงานว่าผู้ชนะประมูลได้สิทธิเช่าที่ดินของการรถไฟฯ 50 ปี และกำลังพยายามต่อรองเพิ่มเติม จากการใช้ข้อกฎหมายของการพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ...ขยายเวลาเช่าอีกยาวๆเป็น 99 ปี

ถ้าเปรียบเทียบผลประโยชน์ที่การรถไฟฯให้บริษัทเอกชนเช่าที่ดินบริเวณพหลโยธิน บริเวณห้าแยกลาดพร้าว เมื่อปี 2550 บนเนื้อที่ 47 ไร่เศษ สัญญาเช่า 20 ปี ในราคา 21,000 ล้านบาท ส่วนที่ดินมักกะสัน 150 ไร่ มีพื้นที่มากกว่า 3 เท่า หากเอาราคาค่าเช่า 21,000 ล้านบาทเป็นตัวตั้ง คูณด้วย 3 ราคาค่าเช่าจะอยู่ที่ประมาณ 63,000 ล้าน คิดเป็นแบบช่วง ช่วงละ 20 ปี ก็ประมาณ 5 ช่วง 99 ปี จะเป็นเงินประมาณ 3 แสนกว่าล้านบาท

จับตาดูกันให้ดีๆในการให้เอกชนเข้ามาพัฒนาพื้นที่มักกะสันในเชิงพาณิชย์นั้น ยังไม่มีความชัดเจนว่าการรถไฟฯได้รับผลตอบแทนอย่างไร ระยะเวลาใช้ประโยชน์ยาวนานกี่ปี และ...เป็นเพียงแค่เช่าที่ดิน หรือมีผลตอบแทนจากการพัฒนาที่ดินในอัตราก้าวหน้าหรือไม่

เบื้องต้นพื้นที่ 150 ไร่ ตรงกับโรงงานมักกะสันแปลง A อาจมีผลกระทบต่อกระบวนการซ่อมบำรุงไม่เป็นไปตามเป้าหมาย ส่งผลต่อภารกิจหลักของการรถไฟฯ ในการให้บริการขนส่งทางรางกับประชาชน

การพัฒนาที่ดินมักกะสันของการรถไฟฯเป็นเพียงส่วนหนึ่งในการสนับสนุนภารกิจหลัก ผู้ปฏิบัติงานไม่มีเจตนาขัดขวางการพัฒนา แต่ต้องไม่กระทบต่อภารกิจหลักของการรถไฟฯ และผลประโยชน์ของประเทศชาติ...

ค่าเช่าที่ดิน 5.2 หมื่นล้านบาท ในเวลา 50 ปี หรืออาจขยาย 99 ปี คุ้มค่ามากน้อยเพียงใด ไม่มีใครรู้

แต่สิ่งสำคัญการดำเนินงานต้องโปร่งใส ตรงไป...ตรงมา เพราะมีบทเรียนอันยิ่งใหญ่ของโครงการโฮปเวลล์ ประเทศชาติสูญเสียผลประโยชน์อย่างมหาศาล...หวังว่าคงไม่ผิดพลาดซ้ำรอย.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42686
Location: NECTEC

PostPosted: 17/05/2019 4:11 pm    Post subject: Reply with quote

ยุทธภูมิที่ดินมักกะสัน ทำเลทอง..360 องศา
โดย ไทยรัฐฉบับพิมพ์
วัน ศุกร์ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 05:01 น.

นับจากมติการรถไฟแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 21/2559 เห็นชอบให้ดำเนินการพัฒนาที่ดินมักกะสันของการรถไฟฯ และกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจครั้งที่ 1/2560 มีมติให้เร่งพัฒนาดำเนินงานแผนบริหารจัดการ เพื่อสร้างให้เกิดรายได้ ตามโครงการศึกษาความเหมาะสมด้านธุรกิจ และการลงทุนโครงการพัฒนาพื้นที่ย่านมักกะสัน


ที่ดินมักกะสัน 479 ไร่ กำลังจะกลายเป็น “ทำเลทอง...ใจกลางเมือง” ล้อมรอบด้วยถนน ระบบรางรถไฟ และรถไฟบนดิน รถไฟใต้ดิน เชื่อมต่อทุกทิศทาง จนถูกจัดว่าเป็นจุดเด่นให้กลุ่มนักธุรกิจ นักลงทุน จับจ้องเข้ามาครอบครองหาประโยชน์ทันที!

ความเปลี่ยนแปลงนี้เองกลายเป็นจุดเริ่มต้น เปิดช่องให้นักธุรกิจ มีโอกาสเข้าร่วมพัฒนาลงทุนในที่ดินมักกะสัน...ประเดิมโครงการแรก 150 ไร่ ผนวกกับแผนพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) เชื่อมการสร้างรถไฟความเร็วสูง 3 สนามบิน คือ สนามบินดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา

จากเดิมเคยเป็นศูนย์กลางการผลิต การซ่อมของการรถไฟฯ ทั้งยังมีโรงพยาบาล ที่พักพนักงานการรถไฟฯ เต็มไปด้วยเรื่องราวความสำคัญหลายมิติทางประวัติศาสตร์...การก่อกำเนิดความรุ่งเรือง...เส้นทางรถไฟ 122 ปี

ถือว่าเป็นหนึ่งในสถานที่สำคัญคู่กับการพัฒนาประเทศ มีสถาปัตยกรรมสิ่งปลูกสร้างอาคารในเอกลักษณ์เฉพาะ คู่ควรแก่การอนุรักษ์เป็นมรดกตลอดกาล...

แต่ตอนนี้กำลังจะถูกแปรสภาพเป็น “อาคารพาณิชย์ ศูนย์กลางธุรกิจขนาดใหญ่” ที่เรียกกันว่า “คอมเพล็กซ์” หรืออาจจะเป็น “สวนสาธารณะ” และ “พิพิธภัณฑ์” หรือจัดสรรพื้นที่ให้ผสมกลมกลืนอยู่ร่วมกันระหว่างศูนย์กลางธุรกิจ สวนสาธารณะ พิพิธภัณฑ์...

สาวิทย์ แก้วหวาน ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งประเทศไทย ย้ำว่า ที่ดินมักกะสันแห่งนี้...พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 พระราชทานเพื่อสร้างทางรถไฟสายตะวันออก และโรงงานมักกะสัน ให้เป็นโรงงานซ่อมบำรุงรถจักรไอน้ำ และรถโดยสาร มีความสามารถประกอบรถจักร รถพ่วงรางทุกชนิด ในการพัฒนาเส้นทางรถไฟของประเทศสยาม

เดิมโรงงานนี้ตั้งอยู่ในพื้นที่ชานเมือง ไม่มีถนนหนทางตัดผ่าน และที่ดินก็ไม่มีราคามูลค่ามากมาย เมื่อความเจริญรุ่งเรืองของตัวเมืองขยายตัวออกมาอย่างกว้างขวาง จนที่ดินมักกะสันเป็นส่วนหนึ่งของเมืองหลวง

กลายเป็นตั้งอยู่ใจกลางเมือง....ถูกจัดเป็นย่านธุรกิจทำเลทองล้อมรอบ

ปัจจุบันภารกิจหลักยังทำหน้าที่ศูนย์ซ่อมวาระหนักรถจักร รถดีเซลราง และรถโดยสาร ส่งกลับไปใช้งานขนส่งโดยสาร ให้บริการประชาชน ขนส่งสินค้าให้ผู้ประกอบการต่างๆ แต่กลับถูกลดบทบาทลงด้วยความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี เพราะมีเส้นทางคมนาคมสะดวกสบายแล้ว...

จนกำลังถูกปล่อยทิ้งแทบ...ไม่หลงเหลือความสำคัญ ทั้งที่ผ่านมาในครึ่งยุคหนึ่งเคยสร้างประโยชน์และพัฒนาให้กับประเทศ

ก่อนหน้านี้เคยให้มหาวิทยาลัยหลายแห่งศึกษาความเหมาะสมด้านธุรกิจและการลงทุน พัฒนาพื้นที่มักกะสัน การรถไฟแห่งประเทศไทย พบว่า ในทางภูมิศาสตร์ ถือว่าเป็นที่ดินตั้งอยู่ใจกลางเมืองกรุงเทพฯ “จุดยุทธภูมิ” กับการพัฒนาด้านธุรกิจหลากหลายด้านที่มีความได้เปรียบมากกว่าพื้นที่อื่น

เพราะเป็นที่ดินทำเลโดดเด่นทางเศรษฐกิจมาก มีศักยภาพสูงเหมาะสมกับการลงทุนธุรกิจ ทำให้ที่ดินมีมูลค่าพุ่งสูงอย่างมหาศาล

จนนำมาสู่ทำเลทองที่ดินมักกะสัน 497 ไร่ พื้นที่แปลงใหญ่สวยตระหง่านผืนสุดท้าย...ใจกลางย่านธุรกิจสำคัญ...ราชปรารภ ประตูน้ำ สีลม ราชประสงค์ ทองหล่อ สุขุมวิท ที่บรรดานักลงทุน...กลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่จับจ้องหวังเข้ามาลงทุนครอบครอง หาผลประโยชน์

ด้วยมีเส้นทางคมนาคมเชื่อมโยงสุดแสนสะดวกหลายรูปแบบ ทั้งถนนหลายสาย ทางรถไฟ รถไฟฟ้า ตัดผ่านล้อมรอบทุกทิศ...ทุกช่องทาง เช่น ทิศเหนือ จดถนนจตุรทิศ...บึงมักกะสันติดกับทางพิเศษศรีรัชที่ใช้วิ่งไปมอเตอร์เวย์และสุวรรณภูมิได้

ด้านทิศตะวันออก จดถนนอโศก-ดินแดง เชื่อมแยกพระราม 9 ใกล้ห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่แถวแยกพระราม 9 และอีกฝั่งไปแยกเพชรบุรี มี MRT สายสีน้ำเงิน สามารถมุ่งสู่ถนนสุขุมวิทแถวอโศก ไปยังศูนย์กลางการค้าและธุรกิจใจกลาง กทม.

ส่วนฝั่งทิศตะวันตก จดถนนราชปรารภ และแนวทางด่านเฉลิมมหานคร ใช้วิ่งลงใต้ไปเพลินจิต หรือขึ้นเหนือไปดอนเมืองโทลล์เวย์วิภาวดีรังสิต ส่วนทิศใต้มีถนนนิคมมักกะสันตัดผ่ากลาง มีรางรถไฟสายตะวันออก และรางรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ส่วนที่เชื่อมอยู่ระหว่างสถานีราชปรารภและสถานีมักกะสัน เข้าสู่สนามบินสุวรรณภูมิ

ในอนาคตยังมีแผนเชื่อมกับรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ-ระยอง เชื่อมต่อ 3 สนามบินหลัก คือ สนามบินดอนเมือง สนามบินสุวรรณภูมิ สนามบินอู่ตะเภา รองรับผู้โดยสาร 110 ล้านคนต่อปี

หากมองถึงพื้นที่ใกล้เคียงรอบทิศทาง 360 องศา หลายพื้นที่มีแผนพัฒนา...เช่น โครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพิ่มขึ้นอีกมากมาย อาทิ โครงการเดอะ ซุปเปอร์ ทาวเวอร์ โครงการเบ็ลแกรนด์พระราม 9 โครงการอาคารเดอะไนน์ ทาวเวอร์ โครงการสำนักงาน จี แลนด์ ทาวเวอร์ โครงการอาคารพักอาศัย รวม Life Asoke โครงการ Singha Complex 7 โครงการ Lumpini Suite โครงการ Life One Wireless โครงการ Ashton Asoke

“ผมเคยคุยกับคณะอนุกรรมการทรัพย์สินของบอร์ดการรถไฟฯ รวมถึงกลุ่มนักลงทุนอสังหาริมทรัพย์ ด้วยการนำที่ดินมักกะสันไปเทียบเคียงพื้นที่ในกรุงเทพฯ เรื่องราคาค่าเช่า และราคาซื้อขาย พบว่า ในยุคนี้ไม่มีสถานที่แห่งใดมีที่ดินแปลงใหญ่สวยเทียบเคียงเหมาะแก่การลงทุน...เท่ากับที่ดินมักกะสันอีกแล้ว” สาวิทย์ ว่า

ตามที่เคยสำรวจที่ดินโดยรอบใกล้เคียงย่านประตูน้ำ ย่านราชปรารภ ย่านเพชรบุรี ยังพบมีที่ดินประกาศขายตารางวาละประมาณ 1 ล้านบาท และนำไปเทียบเคียงราคาค่าเช่ากับ...ที่ดินห้าแยกลาดพร้าว ถ.พหลโยธิน การรถไฟฯให้บริษัทเอกชนเช่าต่อสัญญาเมื่อปี 2550 บนเนื้อที่ 47 ไร่ 3 งาน อายุสัญญาเช่า 20 ปี ราคา 21,000 ล้านบาท แต่ที่ดินมักกะสัน 497 ไร่ มีพื้นที่มากกว่า 10 เท่า การประเมินค่าเช่าน่าจะสูงถึงหลักแสนล้านบาท

ในช่วงที่ผ่านมามีนักลงทุนขนาดใหญ่เสนอแผนเข้ามาใช้ประโยชน์มากมาย ยกตัวอย่าง...ในปี 2558 เคยมีแผนส่งมอบพื้นที่ให้กระทรวงการคลัง ให้กรมธนารักษ์เข้ามาบริหารจัดการที่ดิน แลกกับหนี้ของการรถไฟฯ 6 หมื่นล้านบาท...ด้วยการหยิบยกภาระหนี้ที่มีอยู่ 1 แสน 3 หมื่นล้านบาท มาเป็นข้อต่อรอง

แต่หนี้สินเหล่านี้เกิดจากเรื่องการบริการในราคาที่ต่ำกว่าต้นทุน คือ ต้นทุนต่อ 1 กิโลเมตร ต้นทุนค่าบริการอยู่ที่ 2.50 บาทต่อคน แต่รัฐบาลให้การรถไฟฯให้เก็บค่าโดยสาร 24 สตางค์ต่อ 1 กิโลเมตร มาตั้งแต่ปี 2528 จนปัจจุบันผ่านมา 34 ปี การรถไฟฯไม่เคยปรับค่าโดยสาร จึงส่งผลกระทบลากยาวต่อภาวะหนี้สิน...

นอกจากนี้...ยังมีนักลงทุนภาคเอกชนต้องการเข้ามาลงทุน...ทำธุรกิจ ในที่ดินแปลงนี้ แต่ด้วยเหตุขัดกับข้อกฎหมาย และในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา มีการเคลื่อนไหวในลักษณะแสดงความจำนงผ่านบุคคลต่างๆ

กระทั่งเกิดมติการรถไฟฯ พัฒนาพื้นที่ย่านมักกะสัน เปิดช่องให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมทุนลงพื้นที่ด้วยการใช้กฎหมายอีอีซีเป็นตัวขับเคลื่อนเข้ามาหวังผลประโยชน์...

แม้ว่าที่ดินรถไฟมักกะสันจะเป็นแหล่งทำเลทอง แต่ยังมีจุดยุทธศาสตร์สำคัญต่อการพัฒนากิจการรถไฟในอนาคต มีความจำเป็นต้องดำรงคงอยู่ควบคู่กันกับภารกิจหลักสำคัญด้วย...ที่มีจุดยืนความมุ่งมั่นแจ่มชัดปกป้องผลประโยชน์ของการรถไฟฯ และผลประโยชน์ของประเทศชาติ

การพัฒนาที่ดินผืนนี้ คงต้องบริหารจัดการให้ดี มิฉะนั้นอาจเสีย “ค่าโง่” เหมือนหลายโครงการที่ผ่านมา...และหัวใจหลักต้องคำนึงถึงผลประโยชน์ของ “ประชาชน” และ “ประเทศชาติ”.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42686
Location: NECTEC

PostPosted: 19/05/2019 4:29 am    Post subject: Reply with quote

อาคารทรงงานในหลวง ร.9 สิ่งล้ำค่าบนที่ดินมักกะสัน
โดย ไทยรัฐฉบับพิมพ์
เสาร์ที่ 18 พฤษภาคม 2562 เวลา 05:01 น.

“บึงมักกะสัน” มีความสำคัญ ต่อกรุงเทพฯ หลังถูกใช้ประโยชน์เป็น “แก้มลิง” และเป็นแหล่งพักน้ำ รอบำบัดด้วยการใช้เครื่องกรองน้ำธรรมชาติ คือ “ผักตบชวา” ในการพัฒนาแหล่งน้ำเน่าเสียโครงการแห่งแรกของประเทศไทย


นับจากวันที่ 20 เม.ย.2528 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในหลวงรัชกาลที่ 9 ได้พระราชทานพระราชดำริ ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมปรับปรุงบึงมักกะสันของพื้นที่การรถไฟแห่งประเทศไทย เพื่อช่วยระบายน้ำ และบรรเทาสภาพน้ำเสียในคลองสามเสน ตามโครงการบำบัดน้ำเสียบึงมักกะสัน อันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ

ในครั้งนั้น...พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพล อดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จฯเป็นการส่วนพระองค์ มาในที่ดินโรงงานมักกะสัน ทอดพระเนตรบึงมักกะสันในการพัฒนาโครงการ

ทว่า...มีน้อยคนนักที่จะทราบถึงเรื่องราว “อาคารพลับพลาที่ประทับทรงงาน” ถูกสร้างขึ้นแบบเรียบง่าย ที่ไม่ใหญ่โตหรูหรา ลักษณะคล้ายศาลามุงด้วยจาก ใช้บังแดดบังฝน ในการเป็นสถานที่ประทับทรงงานชั่วคราว ตั้งอยู่ในที่ดินโรงงานมักกะสัน กลายเป็นสิ่งถาวรวัตถุล้ำค่า แหล่งให้เยาวชนรุ่นหลังได้ศึกษาเรียนรู้...

สมบุญ แดงอร่าม ที่ปรึกษาคณะผู้แทนโรงงานรถไฟมักกะสัน เล่าให้ฟังว่า ย้อนไปในปี 2475 โรงงานรถไฟมักกะสันของการรถไฟฯขุดดินพื้นที่มักกะสันขึ้นมา ใช้เป็นแหล่งระบายน้ำและรองรับน้ำเสีย รวมทั้งน้ำมันเครื่องจากโรงงาน ทำให้บึงนี้มีขนาดกว้างใหญ่อยู่ใจกลางกรุงเทพฯ มีพื้นที่ 92 ไร่ ก่อนถูกทอดทิ้งให้รกร้างมาเป็นเวลานานหลายสิบปี จนมีพันธุ์ไม้ขึ้นปกคลุมหนาแน่น

กระทั่งบึงมักกะสันเกิดการตื้นเขินจากการตกตะกอน ประกอบกับยุคนั้นมีชาวบ้านบุกรุก สร้างที่อยู่อาศัยทั้งบริเวณขอบบึงจนกลายเป็นชุมชนแออัด 3 ชุมชน ต่างถ่ายสิ่งปฏิกูล รวมถึงทิ้งขยะมูลฝอยลงบึงน้ำแห่งนี้ จนเป็นปัญหาภาวะสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรม น้ำเน่าเสีย และเป็นแหล่งเพาะเชื้อโรคของกรุงเทพฯ

ต่อมาประมาณวันที่ 20 เม.ย.2528 ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงตระหนักถึงภาวะมลพิษนี้ เสด็จฯเป็นการส่วนพระองค์มายังบึงมักกะสัน ผ่านเข้าทางประตู 1 โรงงานมักกะสัน เพื่อทอดพระเนตรปัญหาน้ำเน่าเสียด้วยพระองค์เองถึง 2 ครั้ง

ทั้งนี้ มีพระราชประสงค์ใช้บึงมักกะสัน ที่มีป่ารกร้างไม่ได้ใช้ประโยชน์ให้เป็นแหล่งเก็บน้ำ หรือระบายน้ำในยามมีภัยน้ำท่วม และใช้เป็นแหล่งทำให้น้ำที่โสโครกใสขึ้น จากการใช้วิธีธรรมชาติด้วยผักตบชวา และนำผักตบชวามาใช้ให้เกิดประโยชน์

“การรถไฟฯทราบว่า ในหลวงรัชกาลที่ 9 ได้เสด็จฯเป็นการส่วนพระองค์มาทอดพระเนตรบริเวณริมบึงมักกะสัน การรถไฟฯจึงได้สนองพระราชดำริด้วยการรื้อถอนป่ารกร้างในบึงมักกะสัน และปรับหน้าดินโดยรอบบริเวณแปลงโซนเอของที่ดินมักกะสัน ให้ฝ่ายช่างโยธาสร้างอาคารที่ประทับทรงงานชั่วคราว ขนาดความยาว 30 เมตร และความกว้าง 10 เมตร ด้วยไม้เนื้อแข็ง ลักษณะคล้ายศาลามุงด้วยจาก ใช้บังแดดบังฝน ในการเป็นสถานที่ประทับทรงงาน” สมบุญ ว่า

ถัดจากนั้นไม่กี่วัน...ในหลวงรัชกาลที่ 9 เสด็จฯมาทอดพระเนตรบริเวณริมบึงมักกะสันเป็นครั้งที่ 3 ได้พระราชทานพระราชดำริให้หน่วยงานต่างๆร่วมกันปรับปรุงบึงมักกะสัน เพื่อใช้เป็นสถานที่กักเก็บน้ำ ช่วยในการระบายน้ำในหน้าฝน และบรรเทาสภาพน้ำเสียในคลองสามเสน

พร้อมกับเยี่ยมเยียนราษฎร และเสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรทัศนียภาพบริเวณบึงมักกะสันด้วยเรือท้องแบน ในครั้งนั้นมีประชาชนอาศัยอยู่บริเวณริมบึง ทราบข่าวต่างออกมาเฝ้าฯรอรับเสด็จกันเป็นจำนวนมาก

ในหลวงรัชกาลที่ 9 ตรัสกับผู้ว่าการการรถไฟฯ และ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง ในขณะนั้นยังดำรงตำแหน่งผู้ว่าฯ กทม. ร่วมเดินทางตรวจเยี่ยมประชาชน มีข้อความตอนหนึ่งว่า “อย่าไปไล่ชาวบ้านที่รุกล้ำเหล่านี้นะ ให้เขาอยู่ดูแลบึงแห่งนี้ด้วยการปลูกผักบุ้ง เพื่อมาช่วยบำบัดน้ำเสียอีกทางหนึ่งด้วย”

พร้อมพระราชทานคำแนะนำให้ใช้ผักตบชวากรองน้ำเสีย เพราะผักตบชวามีคุณสมบัติทำหน้าที่เป็นตัวกรอง เรียกว่าเครื่องกรองน้ำธรรมชาติ คือ ใช้ผักตบชวา...วัชพืชที่มีอยู่มากมาทำหน้าที่ดูดซับความโสโครกและสารพิษจากแหล่งน้ำเน่าเสีย และหมั่นนำผักตบชวาออกจากบึง นำมาทำเป็นปุ๋ยหมัก หรือเชื้อเพลิง และอาหารสัตว์ตามเหมาะสม เพื่อไม่ให้ผักตบชวาเจริญพันธุ์ รวมทั้งพัฒนาสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่รอบบริเวณบึงมักกะสันให้ดีขึ้นด้วย

เมื่อการกำจัดน้ำเน่าเสียด้วยผักตบชวาในบึงมักกะสันแห่งนี้ได้ผลดี ได้มีการนำไปใช้เป็นแบบอย่างในการแก้ไขปัญหาน้ำเน่าเสียที่แหล่งน้ำ หรือลำคลองอื่น

ปัจจุบันอาคารพลับพลาที่ประทับทรงงาน โครงการบำบัดน้ำเสียบึงมักกะสันอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ มีสภาพเก่าแก่ ทรุดโทรม เนื่องจากผ่านมานานถึง 34 ปี ทำให้โครงสร้างที่เป็นไม้เสื่อมสภาพลง ตอนนี้อยู่ติดกับกำแพงเขตที่ดินการรถไฟฯ ก่อสร้างใหม่...กั้นพื้นที่ไว้หลังมีการสร้างถนนจตุรทิศ

สมบุญ เล่าต่ออีกว่า ในปี 2559 คณะผู้แทนโรงงานมักกะสันมีหนังสือถึงผู้ว่าการการรถไฟฯ พยายามเสนอให้บูรณะปรับปรุงพลับพลาที่ประทับทรงงาน และอาคารประกอบพื้นที่โดยรอบ เพราะถือว่าเป็นสิริมงคลแก่การรถไฟฯ เพื่อให้เป็นการเทิดทูนที่ครั้งหนึ่งในหลวงรัชกาลที่ 9 เสด็จฯที่บึงมักกะสัน สมควรบูรณะปรับปรุง

ในการให้เป็นอาคารถาวร สภาพแวดล้อมสวยงาม เพื่อเป็นสิ่งถาวรวัตถุ และเป็นแหล่งเรียนรู้ให้อนุชนรุ่นหลังได้ศึกษา และระลึกถึงพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และยุคนั้น นายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร อดีตผู้ว่าการการรถไฟฯ สั่งการให้ฝ่ายช่างโยธา การรถไฟฯ สำรวจพื้นที่อาคารพลับพลาที่ประทับทรงงาน เพื่อปรับปรุงสร้างเป็นอนุสรณ์ แต่เรื่องเงียบไปจนถึงปัจจุบันนี้...

ประเด็นสำคัญน่าสนใจ...จุดตั้งอาคารพลับพลาที่ประทับทรงงาน ในที่ดินมักกะสัน อยู่บริเวณแปลงโซนเอ ถูกผนวกเข้ากับโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน คือ สนามบินดอนเมือง สุวรรณภูมิ และอู่ตะเภา ให้สิทธิ์เอกชนชนะประมูลโครงการเข้ามาพัฒนาสนับสนุนเชิงพาณิชย์ 150 ไร่

อาจจะต้องส่งมอบพื้นที่นี้ให้กับโครงการ

เท่าที่ทราบๆกันมาบ้างว่า...เดิมมีแผนพัฒนาที่ดินมักกะสันเพียง 105 ไร่ แต่มีการปรับเปลี่ยนโครงการ 150 ไร่ ผนวกพื้นที่ตั้งอาคารพลับพลาที่ประทับทรงงานไปด้วย ทำให้พนักงานการรถไฟฯมีความวิตกกังวลใจเป็นอย่างยิ่ง รู้สึกเสียดายสิ่งถาวรวัตถุล้ำค่ากำลังจะถูกทำลายหายไป

ที่ดินมักกะสันเป็นสถานที่ล้วนเต็มไปด้วยเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ที่ล้ำค่า และเป็นหัวใจสำคัญในภารกิจหลักของการเป็นศูนย์ซ่อมบำรุงรถไฟ ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 พระราชทานให้กับกิจการรถไฟ เพื่อหาประโยชน์มาบำรุงกิจการ

“สิ่งมีค่านี้ไม่ได้ถูกตีราคาให้มีมูลค่าเป็นตัวเงินตามความต้องการของนายทุน แต่มีคุณค่า...มีความหมาย ทั้งประวัติศาสตร์ บ่งบอกถึงความเป็นอารยประเทศ เป็นพื้นที่ทรัพย์สมบัติล้ำค่าของชาติของประชาชน จึงจำเป็นให้คงอยู่อย่างยั่งยืนตลอดไป”

ดูเหมือนการพัฒนาที่ดินมักกะสัน...ต้องควบคู่กับวัตถุล้ำค่าทางใจ ...ที่มีอยู่เดิมในพื้นที่ ไม่ให้เกิดผลกระทบ เพราะหากเกิดความเสียหาย การพัฒนาทั้งหมด อาจจะไม่เกิดประโยชน์ต่อคนส่วนรวม...ก็เป็นไปได้...
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42686
Location: NECTEC

PostPosted: 31/05/2019 6:44 pm    Post subject: Reply with quote

Mall or Park? In Crowded Bangkok, 'Last' Open Space Stirs Debate - กรณีมักกะสันทำท่าจะเป็น Dilemma เอาอยู่เหมือนกัน
https://www.irrawaddy.com/news/asia/mall-park-crowded-bangkok-last-open-space-stirs-debate.html
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42686
Location: NECTEC

PostPosted: 21/01/2020 4:55 pm    Post subject: Reply with quote

เจ้าสัวซีพีเดินหน้า ปั้นมักกะสัน สร้างศูนย์การค้าอันดับต้นๆของโลก
ที่มา หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ

2 ธันวาคม 2562 เวลา 2019

กลุ่มซีพีเนรมิตเมืองไฮสปีด มักกะสัน 2 ล้านตร.ม. ศูนย์ช็อปปิ้งโลก คอนเวนชันฮอลล์ ศูนย์การประชุมนานาชาติ สถานพยาบาลที่มีความเป็นเลิศ



เจ้าสัวซีพีซีพีเดินหน้า ปั้นมักกะสัน สร้างศูนย์การค้าอันดับต้นๆของโลก
ที่ดินแปลงว่างไร้การทำประโยชน์ บริเวณสถานีแอร์พอร์ตลิงค์ “มักกะสัน” กำลังกลายเป็นขุมทองสร้างความมั่งคั่งให้กับกลุ่มซีพี หลัง บริษัทรถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน จำกัด (กลุ่มกิจการร่วมค้าบริษัทเจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้งฯ) เซ็นสัญญากับการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เดินหน้าก่อสร้างเส้นทางไฮสปีด ดึงคนทั่วทุกมุมโลกผ่าน 3 สนามบิน ทั้งดอนเมือง- สุวรรณภูมิ และอู่ตะเภา เข้ากลางใจพื้นที่ที่จะพัฒนาเป็นอาณาจักรมิกซ์ยูส ประตูเชื่อมโยงระหว่างกรุงเทพมหานคร กับเขตพัฒนาเศรษฐกิจภาคตะวันออกหรืออีอีซี โดยเฉพาะพื้นที่รอบสถานีศรีราชาที่วันนี้ดีเวลอปเปอร์ พลิกเมืองพัฒนารองรับสถานีแห่งใหม่ ที่กำลังจะเกิดขึ้น ปลุกราคาที่ดินพุ่งสูงไม่เพียงแต่จะปลุกพื้นที่อีอีซีให้เกิดความตื่นตัว แต่พื้นที่โดยรอบมักกะสันอย่าง อโศก – ดินแดง เพชรบุรี รัชดาฯ พระราม 9 ประตูนํ้า พญาไท ราชเทวี ดีเวลอปเปอร์รายใหญ่ต่างขยับขึ้นโครงการต่อเนื่อง อีกทั้งภาครัฐก็ขยับลงทุนเส้นทางรถไฟฟ้าสายใหม่ๆ อย่างสายสีส้มตะวันตก รองรับการเกิดขึ้นของเมืองมักกะสัน ที่ว่ากันว่าจะเป็นเมืองที่มีอัตลักษณ์ สร้างการจดจำคล้ายคลึงกับ โครงการวัน แบงค็อก ตึกที่สูงที่สุดในไทยของเจ้าสัวเจริญเจ้าอาณาจักรถนนพระราม 4 ที่ นายศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์ บริษัท รถไฟความเร็วสูงฯ ยืนยันจะเนรมิตพื้นที่นี้ให้มีพื้นที่ใช้สอยมากถึง 2 ล้านตารางเมตร มากกว่าที่รฟท.กำหนด ถึง 2 เท่าตัว โดยเน้นเป็นศูนย์กลางช็อปปิ้งโลก สถานพยาบาลที่มีความเป็นเลิศ ทั้งด้านการบริการและเทคโนโลยีชั้นสูง อีกทั้งยังเป็นแหล่งรวมของความบันเทิง ศูนย์การประชุมระดับนานาชาติ เป็นจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยว นักธุรกิจ แน่นอนว่าต้องลงทุนสูงเพื่อออกแบบแม่เหล็กให้สะกดคนทั้งโลก



ทำเลใจกลางเมืองล้อมรอบด้วยรถไฟฟ้า
มักกะสัน

ขณะคนในแวดวงธุรกิจประเมินว่ากลุ่มซีพีมาถูกทาง เนื่องจากที่ดินแปลงนี้เป็นลีสโฮลด์เช่าระยะยาว และทำเลอยู่กลางใจเมืองล้อมรอบด้วยรถไฟฟ้ามี คอนโดมิเนียม แหล่งงาน เกิดขึ้นหนาแน่น จึงต้องพัฒนาเป็นเมืองช็อปปิ้ง โรงแรม รองรับนักท่องเที่ยว ที่สามารถเดินทางถึงสนามบินได้อย่างสะดวกรวดเร็วโดยรถไฟความเร็วสูงอีกทั้งคนทำงานและนักธุรกิจที่เดินทางไปกลับยังเมืองอีอีซีเช่นเดียวกับนายวิทูรย์ หทัยรัตนา รองกรรมการผู้จัดการ บริษัททางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM ในฐานะผู้ถือหุ้น บริษัทรถไฟฯยืนยันว่า เมืองมักกะสันจะมีทั้งโรงแรม อาคารสำนักงาน ค้าปลีก เซอร์วิสอพาร์ตเมนต์ มีพื้นที่สีเขียวขนาดใหญ่ มีความทันสมัยด้านเทคโนโลยี ไม่ต่างจากโครงการวัน แบงค็อก แต่รถไฟฟ้าสายสีนํ้าเงิน สถานีเพชรบุรี จะได้อานิสงส์จากการดึงคนจากมักกะสันเข้าสู่ระบบมากขึ้น แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคม ระบุว่าที่ผ่านมาได้กำหนดโฉมหน้าของเมืองมักกะสันเป็นศูนย์ช็อปปิ้งโลก เนื่องจากอยู่ใกล้กับประตูนํ้า ย่านค้าปลีกค้าส่งมีห้างสรรพสินค้าชั้นนำจำนวนมาก ทำให้เกิดการเชื่อมโยง ระหว่างกัน อีกทั้งยังพุ่งเป้าไปที่สถานพยาบาลระดับโลกที่มากด้วยความทันสมัย การบริการครบวงจรสำหรับผู้ป่วยตลอดจนผู้มาใช้บริการทั้งในประเทศและต่างประเทศแหล่งข่าวจากรฟท. ยํ้าว่า รฟท.จะส่งมอบพื้นที่มักกะสันให้กับกลุ่มซีพี พร้อมกับการเวนคืนช่วงสุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา หรือภายใน 2 ปีนับจากเซ็นสัญญา เพราะหากส่งมอบพื้นที่ส่วนนี้ก่อน เกรงว่าเอกชนจะให้ความสนใจ แต่การลงทุนมักกะสันเพื่อเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ ดังนั้นทั้งการสร้างเมืองและเส้นทางไฮสปีด ต้องเสร็จในเวลาใกล้เคียงกัน
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44454
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 23/08/2022 10:43 am    Post subject: Reply with quote

เปิด 3 พื้นที่ศึกษาทำศูนย์ซ่อมบำรุงรถไฟแห่งใหม่แทนมักกะสัน | เศรษฐกิจInsight 23 ส.ค. 65
Aug 23, 2022
TNN Online

รถไฟแห่งประเทศไทย เปิดเวทีสัมมนารับฟังความคิดเห็นจากประชาชน ในโครงการจ้างที่ปรึกษาเพื่อศึกษาความเหมาะ

สมงานซ่อมบำรุงรถจักรและล้อเลื่อน ออกแบบรายละเอียด โรงงานมักกะสันแห่งใหม่ เบื้องต้นได้ศึกษาสถานที่ก่อสร้างใหม่ใน 3 แห่ง


https://www.youtube.com/watch?v=kdmVzRXMIGo
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9  Next
Page 8 of 9

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©