RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311283
ทั่วไป:13263264
ทั้งหมด:13574547
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานีกลางบางซื่อและรถไฟฟ้า
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานีกลางบางซื่อและรถไฟฟ้า
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 8, 9, 10 ... 63, 64, 65  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44522
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 15/05/2019 4:01 pm    Post subject: Reply with quote

รฟท.ได้แค่คิดเก็บค่าใช้สถานีรถไฟ
โดย ไทยรัฐฉบับพิมพ์15 พ.ค. 2562 08:31 น.

นายฐากูร อินทร์ชม ผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการเดินรถ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยหลังเปิดงานสัมมนารับฟังความเห็นภาคเอกชนในการลงทุนโครงการศึกษารูปแบบการบริหารจัดการและแนวทางการพัฒนาพื้นที่สถานีกลางบางซื่อว่า สถานีกลางบางซื่อจะก่อสร้างแล้วเสร็จปี 2564 โดยรูปแบบจะแบ่งออกเป็น 2 สัญญาคือ 1.สัญญาพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์สถานีกลางบางซื่อ พื้นที่กว่า 13,000 ตร.ม. ซึ่งจะเป็นสัญญาร่วมทุน 2.สัญญาจ้างเอกชนมาบริหารสถานีกลางบางซื่อ ซึ่งเป็นสัญญาจัดซื้อ-จัดจ้าง โดยทั้งสองสัญญาจะมีอายุ 5 ปี และจะเริ่มเปิดประมูลได้สิ้นปีและได้เอกชนเข้ามาบริหารจัดการในช่วงกลางปี 2563 เพื่อเปิดบริการและเปิดใช้สถานีในปี 2564


ทั้งนี้ พื้นที่เชิงพาณิชย์สถานีกลางบางซื่อ มีพื้นที่รวม 17,000 ตร.ม. แต่ระยะแรกจะจัดสรรให้เอกชนเข้ามาพัฒนา 13,000 ตร.ม. ได้แก่ พื้นที่ชั้นใต้ดิน-ชั้น 1 และ 2 ส่วนพื้นที่ชั้น 3 ซึ่งเป็นพื้นที่ให้บริการรถไฟความเร็วสูงและรถไฟเชื่อมสนามบิน มีพื้นที่พัฒนาเชิงพาณิชย์ประมาณ 3,000- 4,000 ตร.ม. ซึ่งในส่วนนี้หากแล้วเสร็จทันภายใน 5 ปี ที่เอกชนเข้าพัฒนาพื้นที่แล้ว ก็สามารถนำมารวมในสัญญาเดิมได้ โดยคาดว่าในช่วงปีแรกจะมีผู้โดยสารผ่านเข้า-ออกสถานีกลางบางซื่อ 80,000 คน/วัน และใน 3 ปีของการเปิดให้บริการจะมีผู้โดยสารใช้บริการผ่านเข้า-ออกกว่า 140,000 คน/วัน ซึ่งขณะนี้มีเอกชนที่สนใจจะเข้ามาพัฒนาและบริการพื้นที่เชิงพาณิชย์ ได้แก่ เซ็นทรัล, เดอะมอลล์ และบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีอีเอ็ม

ด้านนายวรวุฒิ มาลา รักษาการผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เผยว่า ในส่วนของการบริหารจัดการสถานีกลางบางซื่อนั้น ยอมรับว่า รฟท.จะมีต้นทุนมากโดยเฉพาะค่าไฟ จึงมีแนวคิดที่จะให้กระทรวงพลังงานเข้ามาศึกษาในการใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์หรือโซลาร์รูฟ เพื่อนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ทั้งในเรื่องของการให้ความเย็น และไฟฟ้า และยังมีแนวคิดที่จะจัดเก็บค่าธรรมเนียมการใช้สถานีรถไฟ เช่นเดียวกับกรณีการจัดเก็บค่าธรรมเนียมสนามบิน เพื่อนำเงินมาสนับสนุนค่าใช้จ่าย แต่สถานีรถไฟทั่วโลกก็ยังไม่มีใครเคยเก็บ จึงอาจทำได้เพียงคิด.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 15/05/2019 5:13 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
รฟท.ได้แค่คิดเก็บค่าใช้สถานีรถไฟ
โดย ไทยรัฐฉบับพิมพ์15 พ.ค. 2562 08:31 น.


“บิ๊กตู่” ประชุม คนร.ฟังแผนฟื้นฟู ร.ฟ.ท.-รับคนเพิ่มทำรถไฟทางคู่-จด บ.ลูกดูแลรถไฟฟ้าสีแดง
โดย: ผู้จัดการออนไลน์

เผยแพร่: 15 พฤษภาคม 2562 - 10:25
ปรับปรุง: 15 พฤษภาคม 2562 - 12:27

นายกฯ ประชุม คนร.รับทราบรายงานความคืบหน้าฟื้นฟูกิจการ ร.ฟ.ท. รับคนเพิ่ม 1,900 รองรับรถไฟทางคู่ จดทะเบียนบริษัทลูก 3,400 ล้าน นำเงินหมุนเวียนบริหารรถไฟฟ้าสีแดง

วันนี้ (15 พ.ค.) เมื่อเวลา 09.00 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้า คสช. เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ หรือ คนร. ที่ทำเนียบรัฐบาล ซึ่งคาดว่าจะมีการรายงานความคืบหน้าแผนฟื้นฟูกิจการของการรถไฟแห่งประเทศไทย หรือ ร.ฟ.ท. รวมถึงการรับบุคลากรเพิ่มกว่า 1,900 คน ภายในปีนี้ เพื่อรองรับโครงการรถไฟทางคู่ และพิจารณางบประมาณในการจดทะเบียนบริษัทลูกด้านเดินรถ วงเงิน 3,400 ล้านบาท เพื่อนำไปเป็นเงินหมุนเวียนในการบริหารรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง ก่อนเสนอขอความเห็นชอบที่ประชุมคณะรัฐมนตรีต่อไป


ร.ฟ.ท.ใกล้แจ้งเกิดบริษัทลูก “ทรัพย์สินและเดินรถ”-ปลายปีประมูลเชิงพาณิชย์สถานีบางซื่อ
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 14 พฤษภาคม 2562 - 19:04
ปรับปรุง: 15 พฤษภาคม 2562 - 13:09




ร.ฟ.ท.ชง คนร.เคาะแผนฟื้นฟู พร้อมลุยตั้ง 2 บริษัทลูก “ทรัพย์สินและสายสีแดง” ยอมรับสีแดงจะเห็นกำไรหลังปีที่ 13 ต้องวางแผนเพิ่มรายได้ลดรายจ่าย คาดมีเก็บค่าธรรมเนียมช่วยลดขาดทุน ขณะที่ปลายปี 62 เปิดประมูลเช่าพื้นที่เชิงพาณิชย์สถานีกลางบางซื่อ

นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า ในวันที่ 15 พ.ค. คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) จะมีการประชุมเพื่อพิจารณาแผนฟื้นฟู ร.ฟ.ท.และการจัดตั้งบริษัทลูกด้านบริหารสินทรัพย์ และบริษัทลูกรถไฟสายสีแดง ซึ่ง ร.ฟ.ท.ได้เตรียมพร้อมข้อมูลและการชี้แจงเพิ่มเติม ซึ่งการจัดตั้งบริษัทลูกเดินรถไฟสายสีแดงจะเป็นการอัปเกรดบริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท.จำกัด (ผู้บริหารการเดินรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์) เพิ่มพันธกิจขอบเขตงาน กำหนด ซึ่งจะใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนที่ 3,400 ล้านบาท ซึ่งหาก คนร.เห็นชอบจะเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติ และจัดตั้งบริษัทลูกต่อไป

สำหรับบริษัทลูกสายสีแดงนั้น ประเมินว่าจะมีกำไรในปีที่ 13-14 โดยคาดว่าจะต้องมีผู้โดยสารมากกว่า 8-9 หมื่นคน/วัน ขณะที่จะเปิดให้บริการในเดือน ม.ค. 2564 ตั้งเป้าผู้โดยสารไว้ที่ 8 หมื่นคน/วัน แต่ปีที่เปิดให้บริการคาดว่าจะยังมีผู้โดยสารไม่มากนัก ซึ่งบริษัทลูกสายสีแดงจะทำหน้าที่บริหารการเดินรถไฟสายสีแดง (Operator) และได้รับสิทธิในการบริหารพื้นที่ของสถานีรายทางของสายสีแดงเพื่อหารายได้เสริม ยกเว้นสถานีกลางบางซื่อ สถานีดอนเมือง สถานีรังสิต

*** หาทางเพิ่มรายได้โปะรายจ่าย บริหารสถานีกลางบางซื่อ

นายวรวุฒิกล่าวว่า ในส่วนสถานีกลางบางซื่อ ร.ฟ.ท.อยู่ระหว่างศึกษา โดยเปิดรับฟังความเห็นและความสนใจภาคเอกชนในการลงทุน (Market Sounding) โครงการศึกษารูปแบบการบริหารจัดการและแนวทางการพัฒนาพื้นที่ และจัดทำร่างเอกสารประกอบการจัดจ้างเอกชนเพื่อบริหารจัดการพื้นที่สถานีกลางบางซื่อ ซึ่งจะมีกิจกรรมเชิงพาณิชย์ที่มีรายได้ และส่วนของบริการที่เป็นค่าใช้จ่าย โดยประเมินว่าส่วนของรายได้จะต่ำกว่ารายจ่าย ดังนั้น จะศึกษากำหนดรูปแบบการบริหารจัดการที่เหมาะสมเพื่อลดต้นทุน และหารายได้เพิ่ม โดยไม่ให้กระทบต่อ Level of Service

“สถานีรถไฟจะต้องมีสิ่งอำนวยความสะดวกครบถ้วน และให้ทุกคนเข้าถึงบริการได้เท่าเทียมกัน และเป็นบริการที่ไม่เรียกเก็บค่าธรรมเนียม ทำให้มีรายได้ไม่มากนัก ไม่เหมือนสนามบินที่มีค่าธรรมเนียมการใช้สนามบิน ดังนั้น จะต้องหาแนวทางการบริหารจัดการลดรายจ่าย และต้นทุน และหากจำเป็นต้องเก็บค่าธรรมเนียมจะต้องกำหนดอัตราที่เหมาะสมและนำเสนอรัฐบาลเพื่อขออนุมัติต่อไป”

***รับฟังความเห็นนักลงทุน บริหารเชิงพาณิชย์สถานีกลางบางซื่อ

ด้าน นายฐากูร อินทรชม ผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการเดินรถ ร.ฟ.ท. กล่าวว่า สถานีกลางบางซื่อจะเปิดให้บริการเต็มรูปแบบในเดือน ม.ค. 2564 พร้อมกับรถไฟสายสีแดง ซึ่ง ร.ฟ.ท.ได้กำหนดรูปแบบการบริหารจัดการและแนวทางการพัฒนาพื้นที่กิจกรรมเชิงพาณิชย์ที่สร้างรายได้เบื้องต้นแล้ว โดยจะรับฟังความคิดเห็นและความสนใจของนักลงทุนและสรุปเสนอบอร์ด ร.ฟ.ท.ในเดือน มิ.ย. ตั้งเป้าเปิดประมูลปลายปี 2562 เพื่อให้ได้ตัวผู้รับจ้างในกลางปี 2563

เบื้องต้นกำหนดสัญญาระยะ 5 ปี แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ การพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ พื้นที่ในอาคาร 13,000 ตร.ม. รูปแบบให้เช่าพื้นที่ โดยเปิดประมูลภายใต้ระเบียบการรถไฟฯ เลือกผู้ให้ผลประโยชน์ตอบแทน ร.ฟ.ท.สูงสุด ประเมินจะมีรายได้จากค่าเช่าในระยะเวลา 5 ปี ประมาณ 100 ล้านบาท (ประเมินจากมูลค่าเช่าที่ 1,400 บาท/ตร.ม.) และสัญญาจ้างบริหารจัดการพื้นที่ส่วนกลาง เช่น งานรักษาความสะอาด รักษาความปลอดภัย ที่จอดรถ ประมูล พ.ร.บ.จัดซื้อจัดจ้าง 2560 ส่วนนี้ประเมินค่าใช้จ่ายประมาณ 300 ล้านบาทต่อปี โดยจะรับฟังความเห็นเอกชนเพื่อปรับให้มีความเป็นไปได้มากที่สุด

สำหรับการบริหารจัดการและแนวทางการพัฒนาพื้นที่กิจกรรมเชิงพาณิชย์ที่สร้างรายได้ทั้งในส่วนพื้นที่พาณิชยกรรมร้านค้า พื้นที่ป้ายโฆษณา และกิจกรรมบริหารสถานี ได้แก่ การรักษาความปลอดภัย การทำความสะอาด การบริหารอาคาร โดยเมื่อเปิดให้บริการ สถานีกลางบางซื่อจะกลายเป็นศูนย์กลางการเดินทางหลักของประเทศที่เชื่อมโยงโครงข่ายคมนาคมโดยระบบต่างๆ (Multi-Modal Transportation) ได้แก่ รถไฟทางไกล (Inter-City Train) รถไฟฟ้าชานเมือง (Commuter Train Red Line) รถไฟฟ้าความเร็วสูง (High-Speed Railway) รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยาน (Airport Rail Link)

สำหรับขอบเขตของพื้นที่อาคารสถานีกลางบางซื่อเป็นอาคารสูง 3 ชั้น ประกอบด้วย ชั้นใต้ดิน เป็นพื้นที่จอดรถประมาณ 1,613 คัน มีโถงเชื่อมต่อจากพื้นที่จอดรถ (58,210 ตร.ม.) ทางเดินขึ้นไปยังชั้นจำหน่ายตั๋วโดยสาร ชั้น 1 (พื้นที่ประมาณ 122,810 ตารางเมตร) ประกอบด้วย โถงพักคอยของผู้โดยสาร และโถงชานชาลาผู้โดยสาร มีจุดเชื่อมต่อกับสถานีบางซื่อของ MRT ในปัจจุบัน

และพื้นที่ส่วนพาณิชยกรรมร้านค้า ชั้นลอยที่ 1 (พื้นที่ประมาณ 9,800 ตารางเมตร) เป็นพื้นที่ส่วนพาณิชยกรรมร้านค้า ชั้น 2 รวมชั้นลอย 2 (พื้นที่ประมาณ 50,860 ตารางเมตร) ประกอบด้วย พื้นที่ต้อนรับบุคคลสำคัญ (VIP) ส่วนควบคุมระบบการเดินรถและพื้นที่ทำงานของเจ้าหน้าที่อาคาร ส่วนชานชาลารถไฟทางไกล (LD Platform Level) ชานชาลารถไฟชานเมือง (CT Platform Level) ชั้น 3 (พื้นที่ประมาณ 43,800 ตารางเมตร) ประกอบด้วย ชานชาลารถไฟมาตรฐานและรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 16/05/2019 12:47 pm    Post subject: Reply with quote

แบ่งเค้กสถานีบางซื่อ8สัญญา จ้างเอกชนบริหาร5ปี รับสายสีแดงปี’64
พร็อพเพอร์ตี้
วันที่ 16 พฤษภาคม 2562 - 06:56 น.

รถไฟเปิดประมูลหาเอกชนมืออาชีพบริหารพื้นที่สถานีกลางบางซื่อ “เชิงพาณิชย์-การบริการ” แบ่งจ้าง 8 สัญญา ระยะเวลา 5 ปี คาดได้เอกชนกลางปีหน้า รับเปิดหวูดสายสีแดง ม.ค.ปี’64
นายวรวุฒิ มาลา รักษาการผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า เพื่อรับเปิดให้บริการสถานีกลางบางซื่อในเดือน ม.ค. 2564 ซึ่งเป็นศูนย์กลางการเดินทางด้านระบบรางใหญ่สุดในประเทศและอาเซียน เพราะมีพื้นที่ใช้สอย 264,862 ตร.ม. มีขนาดใหญ่น้อง ๆ สนามบินสุวรรณภูมิ ล่าสุด ร.ฟ.ท.ได้จัดทดสอบความสนใจเอกชนหารูปแบบการบริหารจัดการและแนวทางการพัฒนาพื้นที่

“มี 2 แนวทาง 1.กลุ่มกิจกรรมที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ ได้แก่ งาน รปภ., แม่บ้านทำความสะอาด, งานบริหารอาคารและสถานที่ และงานบริหารกลาง กับ 2.กิจกรรมที่ก่อให้เกิดรายได้ ได้แก่ พื้นที่การค้าเชิงพาณิชย์และศูนย์อาหาร, ป้ายโฆษณาและสื่อโฆษณาในและนอกสถานี, ลานจอดรถ คิวรถแท็กซี่และ รปภ.ลานจอดรถ และงานบริการอินเทอร์เน็ตไวไฟ ในสถานี”


เบื้องต้นแบ่ง 8 กลุ่มงาน มีการพัฒนา 5 แบบ อายุสัญญาจ้าง 5 ปีต่อสัญญา ได้แก่ แบบที่ 1 สัญญาเดียวรวบทุกงาน แบบที่ 2 แบ่งให้ 2 สัญญาคือ บริหารสถานีกลางกับติดตั้งระบบอินเทอร์เน็ต แบบที่ 3 แบ่งให้ 3 สัญญาคือ งานบริหารสถานี มีรปภ. แม่บ้าน อาคาร บริหารกลาง งานเชิงพาณิชย์ ที่จอดรถ แท็กซี่ และงานติดตั้งระบบอินเทอร์เน็ต แบบที่ 4 แบ่งให้เอกชน 5 สัญญาคือ งานแม่บ้าน พื้นที่เชิงพาณิชย์ โฆษณา ที่จอดรถ และระบบอินเทอร์เน็ต และแบบที่ 5 แบ่งให้เอกชนทุกสัญญา ขณะนี้ยังไม่สรุป

พื้นที่เชิงพาณิชย์ภายในสถานี มีประมาณ 13,208 ตร.ม. อยู่บริเวณชั้นลอยของสถานีและมีกระจายตามจุดต่าง ๆ โดยรอบสถานี เช่น ร้านคีออสก์ตามลานจอดรถ เป็นต้น มีมูลค่าประเมินอยู่ที่ 100 ล้านบาท จะประมูลให้เอกชนรายเดียว ส่วนเอกชนจะนำไปซอยแบ่งลอตต่อก็สามารถทำได้ แต่ต้องทำหนังสือชี้แจงกลับมาที่ ร.ฟ.ท.ก่อน ตามผลการศึกษาคาดว่าจะมีกำไรสุทธิที่ 10-15%

ทั้งนี้ ร.ฟ.ท.จะนำพื้นที่ชั้น 3 พื้นที่ของรถไฟความเร็วสูงที่อยู่ระหว่างก่อสร้าง มีพื้นที่51,774 ตร.ม. เปิดให้พัฒนาพื้นที่ไปก่อนช่วงรอรถไฟความเร็วสูงสร้างเสร็จใช้เวลาอย่างน้อยอีก 4-5 ปี ส่วนพื้นที่สินค้าปลอดภาษี (ดิวตี้ฟรี) รถไฟไม่ได้กำหนด หากเอกชนเห็นว่าพื้นที่มีศักยภาพก็เสนอเพิ่มภายหลังได้ สำหรับงานบริหารสถานีภายใน เช่น รปภ. แม่บ้านทางที่ปรึกษาประเมินเบื้องต้นมีมูลค่าอยู่ที่ 300 ล้านบาท

โดยผลศึกษาจะแล้วเสร็จทั้งหมดในเดือน มิ.ย.นี้ จากนั้นเสนอคณะกรรมการ (บอร์ด) ร.ฟ.ท.ในเดือน ก.ค.-ส.ค. คาดว่าจะออกประกาศเชิญชวนเอกชนได้ปลายปีนี้ โดยจะเร่งสัญญาการบริหารสถานีให้สามารถหาเอกชนมาบริหารพื้นที่ได้ให้ทันกับช่วงทดสอบระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดงในกลางปี 2563

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า สำหรับเอกชนที่เข้าร่วมประชุมทดสอบความสนใจมีทั้งกลุ่มธุรกิจห้างสรรพสินค้า ธุรกิจบริการขนส่ง ธุรกิจการจัดทำสื่อโฆษณา อาทิ บมจ.เซ็นทรัลพัฒนา, บจ.เซ็นทรัลแฟมิลี่มาร์ท, บมจ.บีทีเอสกรุ๊ป โฮลดิ้งส์, บจ.สยาม รีเทลดีเวล๊อปเม้นท์, บริษัท สยามพิวรรธน์, บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM)
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 16/05/2019 5:50 pm    Post subject: Reply with quote

ความเห็นเรื่องสถานีกลางบางซื่อ
Reporter Journey ตามติดชีวิตนักข่าว wrote:
นายฐากูร อินทรชม ผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการเดินรถ เป็นประธานเปิดงานสัมมนารับฟังความเห็นและความสนใจภาคเอกชนในการลงทุน (Market Sounding) โครงการศึกษารูปแบบการบริหารจัดการและแนวทางการพัฒนาพื้นที่ และจัดทำร่างเอกสารประกอบการจัดจ้างเอกชนเพื่อบริหารจัดการพื้นที่สถานีกลางบางซื่อ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอข้อมูลโครงการ และรับฟังความคิดเห็นและความสนใจของนักลงทุนและเอกชนเป้าหมาย
.
ภายในงานมีการนำเสนอ ภาพรวมของสถานีกลางบางซื่อที่คาดว่าจะเปิดให้บริการในต้นปี 2564 รูปแบบการบริหารจัดการและแนวทางการพัฒนาพื้นที่ กิจกรรมเชิงพาณิชย์ที่สร้างรายได้ทั้งในส่วนพื้นที่พาณิชยกรรมร้านค้า พื้นที่ป้ายโฆษณา และกิจกรรมบริหารสถานี ได้แก่ การรักษาความปลอดภัย การทำความสะอาด การบริหารอาคาร โดยเมื่อเปิดให้บริการ สถานีกลางบางซื่อจะกลายเป็นศูนย์กลางการเดินทางหลักของประเทศที่เชื่อมโยงโครงข่ายคมนาคมโดยระบบต่างๆ (Multi-Modal Transportation) ได้แก่ รถไฟทางไกล (Inter-City Train) รถไฟฟ้าชานเมือง (Commuter Train Red Line) รถไฟฟ้าความเร็วสูง (High-Speed Railway) รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยาน (Airport Rail Link)
.
และเพื่อให้สถานีกลางบางซื่อสามารถยกระดับคุณภาพการให้บริการและสร้างประสบการณ์ที่ดีให้แก่ผู้โดยสารและผู้ใช้บริการให้ได้มาตรฐานระดับสากลและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด การรถไฟฯ จึงเล็งเห็นโอกาสและความเป็นไปได้ที่จะว่าจ้างหรือจัดให้มีเอกชนที่มีความชำนาญและเป็นมืออาชีพมาบริหารจัดการและให้บริการกิจกรรมภายในสถานีกลางบางซื่อ เพื่อสนับสนุนรูปแบบการบริหารจัดการสถานีรถไฟกลางที่ดี (Best Practices) ให้แก่การรถไฟฯ
.
สำหรับขอบเขตของพื้นที่ของอาคารสถานีกลางบางซื่อเป็นอาคารสูง 3 ชั้น ประกอบด้วย

- ชั้นใต้ดิน เป็นพื้นที่จอดรถประมาณ 1,613 คัน มีโถงเชื่อมต่อจากพื้นที่จอดรถ (58,210 ตรม.)
- ชั้นจำหน่ายตั๋วโดยสาร ชั้น 1 (พื้นที่ประมาณ 122,810 ตารางเมตร) ประกอบด้วย โถงพักคอยของผู้โดยสาร และโถงชานชาลาผู้โดยสาร มีจุดเชื่อมต่อกับสถานีบางซื่อของ MRT ในปัจจุบันและพื้นที่ส่วนพาณิชยกรรมร้านค้า
- ชั้นลอยที่ 1 (พื้นที่ประมาณ 9,800 ตารางเมตร) เป็นพื้นที่ส่วนพาณิชยกรรมร้านค้า
- ชั้น 2 รวมชั้นลอย 2 (พื้นที่ประมาณ 50,860 ตารางเมตร) ประกอบด้วย พื้นที่ต้อนรับบุคคลสำคัญ (VIP) ส่วนควบคุมระบบการเดินรถและพื้นที่ทำงานของเจ้าหน้าที่อาคาร ส่วนชานชาลารถไฟทางไกล (LD Platform Level) ชานชาลารถไฟชานเมือง (CT Platform Level)
- ชั้น 3 (พื้นที่ประมาณ 43,800 ตารางเมตร) ประกอบด้วย ชานชาลารถไฟมาตรฐานและรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
.
ทั้งนี้ เมื่อมีการเปิดสถานีกลางบางซื่อแล้วจะช่วยทำให้สถานีกลางบางซื่อเป็นภาพลักษณ์ของประเทศไทยในอนาคตและการเป็นสถานีรถไฟหลักแห่งใหม่ของประเทศไทยที่จะเป็นชุมทางรถไฟที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของอาเซียน

https://www.facebook.com/reporterjourney/photos/a.140887172750283/1150919868413670/?type=3&theater
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 23/05/2019 10:19 am    Post subject: Reply with quote

ชิงพัฒนาที่บางซื่อ ‘เซ็นทรัล-ญี่ปุ่น’ซื้อซองประมูลสถานีกลาง
วันพุธ ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 เวลา 06.00 น.

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตามที่ การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดขายซองประมูลโครงการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์สถานีกลางบางซื่อ แปลง A พื้นที่ 32 ไร่ วงเงิน 11,000 ล้านบาท ปรากฏว่ามีเอกชนสนใจซื้อเอกสาร TOR ทั้งหมด 4 ราย ได้แก่
1.บมจ.เซ็นทรัลพัฒนา
2.บมจ.ช.การช่าง
3.บมจ.ทางด่วน และรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM)
4.รัฐวิสาหกิจจากประเทศญี่ปุ่น

ทั้งนี้การรถไฟฯจะเปิดให้ยื่นข้อเสนอ 4 ซอง วันที่ 30 กรกฎาคม 2562 มีซองคุณสมบัติ ซองข้อเสนอเทคนิคและแผนลงทุน ซองข้อเสนอผลประโยชน์ตอบแทนแก่การรถไฟฯ และซองข้อเสนอเพิ่มประสิทธิภาพโครงการที่ทางเอกชนสามารถยื่นประมูลทั้งนิติบุคคลหรือกิจการร่วมค้าก็ได้ โดยเอกชนที่เป็นแกนนำจะต้องซื้อเอกสารเท่านั้นและต่างชาติจะร่วมได้ไม่เกิน 49% อย่างไรก็ตาม คาดว่าจะสามารถลงนามในสัญญาได้ภายในปี 2562 นี้

ไม่พลาดข่าวสำคัญ ติดตาม LINE@แนวหน้า ที่นี่

นอกจากนี้ ร.ฟ.ท.ยังเปิดให้เอกชนร่วมประมูลโครงการอื่นอีกด้วย โดยเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2562 ร.ฟ.ท.เปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นของนักลงทุน (Market Sounding) โครงการศึกษารูปแบบการบริหารจัดการและแนวทางการพัฒนาพื้นที่ และจัดทำร่างเอกสารประกอบการจัดจ้างเอกชนเพื่อบริหารจัดการพื้นที่สถานีกลางบางซื่อ และรับฟังความคิดเห็นและความสนใจของนักลงทุนและเอกชน

นายฐากูร อินทรชม ผู้อำนวยการ ฝ่ายปฏิบัติการเดินรถ ร.ฟ.ท.กล่าวว่า จากข้อมูลผลการศึกษาโครงการนี้คาดว่าปริมาณเงินสะพัดภายในสถานีกลางบางซื่อมีอัตราการเติบโตราว 600-700% ในระยะเวลา 20 ปี หรือนับตั้งแต่เปิดบริการในปี 2564 โดยในปีแรกจะมีเงินสะพัด 5 ล้านบาทต่อวัน และ 25 ล้านบาทต่อวัน ในปี 2575 ก่อนที่จะเพิ่มเป็น 35-40 ล้านบาทต่อวัน ในปี 2585 ส่วนปริมาณผู้โดยสารคาดว่าในปีแรกที่เปิดให้บริการจะมีผู้ใช้บริการ 80,000 คนต่อวัน และจะมีการทยอยเพิ่มขึ้นเป็น 350,000-400,000 คนต่อวันในปี 2585

ทั้งนี้ โครงการพัฒนาพื้นที่ดังกล่าวมีพื้นที่รวม 13,000 ตารางเมตร ระยะเวลาสัมปทาน 5 ปี แบ่งเป็น 2 สัญญา ได้แก่

1.เปิดให้เอกชนพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ ผลตอบแทนให้การรถไฟฯขั้นต่ำ 100 ล้านบาทตามอายุสัมปทาน และ
2.งานจ้างเอกชนบริหารสถานีกลางบางซื่อ ที่มีรายจ่ายประมาณ 300 ล้านบาทต่อปีตามอายุสัมปทาน

สำหรับกรอบเวลาการเปิดประมูลโครงการดังกล่าวทางการรถไฟฯจะเร่งดำเนินการจัดทำร่างเอกสาร TOR ให้แล้วเสร็จในเดือนกรกฎาคมก่อนนำเสนอที่ประชุมคณะกรรมการการรถไฟฯ ในเดือนสิงหาคม และประกาศให้เอกชนยื่นซองในเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม 2562 และคาดว่าจะได้ตัวเอกชนภายในกลางปี 2563

ส่วนของแผนพัฒนาพื้นที่สถานีกลางบางซื่อให้เข้ากับความเป็นสมาร์ทซิตี้ตามนโยบายรัฐบาลนั้น ทางการรถไฟฯได้มีแผนลงทุนติดตั้งโซลาร์เซลล์บนพื้นที่หลังคาอาคารสถานีกลางขนาดใหญ่พื้นที่ 50,000 ตารางเมตรในรูปแบบ Solar Rooftop เพราะต้องการลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานในระยะยาวและยังเป็นการรักษาสิ่งแวดล้อมให้กับเมืองหลวงอีกด้วย

สำหรับกิจกรรมที่จะเปิดให้พัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ได้แก่ ร้านค้าปลีก ร้านอาหาร ป้ายโฆษณาดิจิทัล บิลบอร์ด เป็นต้น รวมถึงงานจ้างบริหารจะคลอบคลุม งานบริการ งานรักษาความปลอดภัย เทคโนโลยีบริหาร เป็นต้น
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44522
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 03/07/2019 6:35 am    Post subject: Reply with quote

รถไฟทั้งประเทศ มาที่นี่..โฉมหน้า สถานีกลางบางซื่อ (01ก.ค.62) ฟังหูไว้หู | 9 MCOT HD
9 MCOT Official
Published on Jul 2, 2019
ฟังหูไว้หู |01ก.ค.62 OnAir
โฉมหน้า สถานีกลางบางซื่อ, ทำไมต้องพัฒนา สถานีกลางบางซื่อ กับ วรวุฒิ มาลา รักษาการแทนผู้ว่า รฟท., เปิดผังพื้นที่ใช้สอย สถานีกลางบางซื่อ


https://www.youtube.com/watch?v=j7hcn_XtVc4
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 05/07/2019 2:45 pm    Post subject: Reply with quote



ข่าวเรื่อง สถานีกลางบางซื่อ
https://www.youtube.com/watch?feature=youtu.be&v=j7hcn_XtVc4
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 26/07/2019 3:56 pm    Post subject: Reply with quote

ประมูลสถานีบางซื่อกร่อย รถไฟวัดใจเซ็นทรัลชิง32ไร่
พร็อพเพอร์ตี้
วันที่ 26 กรกฎาคม 2562 เวลา 14:15 น.

“เซ็นทรัล-ช.การช่าง-BEM” หยั่งเชิงยื่นประมูลมิกซ์ยูส 32 ไร่ สถานีกลางบางซื่อแปลง A มูลค่า 1.1 หมื่นล้าน หวั่นผู้โดยสารไม่มาตามนัด มีแค่สายสีแดงเปิดหวูดปี’64 ทำเลทองตระกูลดัง “จิราธิวัฒน์-ภิรมย์ภักดี-กาญจนพาสน์” เรียงคิวต่อสัญญา

แหล่งข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า วันที่ 30 ก.ค.นี้จะเปิดยื่นประมูลพัฒนาเชิงพาณิชย์สถานีกลางบางซื่อแปลง A เนื้อที่ 32 ไร่ รูปแบบ PPP 30 ปี พัฒนาเป็นโครงการมิกซ์ยูส มูลค่า 11,721 ล้านบาท มีเอกชน 4 รายซื้อทีโออาร์ ได้แก่ บมจ.เซ็นทรัลพัฒนา บมจ.ช.การช่าง และ บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM) และ บจ.Urban Renaissance Agency รัฐวิสาหกิจพัฒนาที่อยู่อาศัยจากญี่ปุ่น

“ไม่ค่อยมั่นใจจะมีเอกชนยื่นซองหรือไม่ แต่ละรายยังเงียบ ดูลังเล ล่าสุดเซ็นทรัลโทร.แจ้งเตรียมเอกสารไม่ทัน เมื่อเร็ว ๆ นี้นักลงทุนญี่ปุ่นที่ไม่ได้ซื้อทีโออาร์สอบถามการเข้าร่วมประมูล ได้แจงว่าต้องจับกับ 3 เอกชนไทยที่ซื้อทีโออาร์ ยังไม่รู้จะยื่นหรือไม่ยื่น”

แหล่งข่าวกล่าวว่า เอกชนอาจจะไม่มั่นใจผู้โดยสารมาใช้บริการสถานีกลางบางซื่อจะเปิดเดือน ม.ค. 2564 เพราะมีแค่รถไฟชานเมืองสายสีแดงบางซื่อ-รังสิต และบางซื่อ-ตลิ่งชัน ที่เปิดบริการ ในช่วงแรกคนอาจจะมาใช้บริการไม่มาก ซึ่งรถไฟดีเซลเดิม จะไม่วิ่งเข้าไปจอดที่สถานีกลางบางซื่อใหม่ เพราะระบบควันที่ปล่อยออกมาเป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม ต้องจอดที่สถานีบางซื่อเดิม หากจะให้เข้ามาจอด ร.ฟ.ท.ต้องลงทุนติดเครื่องดูดควันที่สถานีเพิ่ม ต้องลงทุนอีกมาก และอนาคต ร.ฟ.ท.จะเปลี่ยนหัวรถจักรเป็นระบบไฟฟ้าอยู่แล้ว

“นอกจากนี้ แปลงที่ดินที่จะพัฒนาอยู่ในทำเลที่ไม่ค่อยสวย มีทางรถไฟผ่ากลาง ใกล้ทางด่วนและท่อก๊าซ เลยไม่จูงใจเอกชน หากไม่มีคนยื่นจะเสนอแนวทางให้คณะกรรมการคัดเลือกที่ นายวรวุฒิ มาลา รักษาการผู้ว่าการ ร.ฟ.ท. จะประชุมวันที่ 2 ส.ค.นี้ตัดสิน เช่น เปิดประมูลใหม่ ปรับทีโออาร์ที่มีข้อจำกัดให้จูงใจมากขึ้น หากไม่มีเอกชนสนใจจริง ๆ การรถไฟฯอาจจะนำที่ดินปล่อยเช่าชั่วคราว3 ปี ทำเป็นตลาดนัดรถไฟ เพื่อดึงคนมาใช้บริการสายสีแดง”


ด้านนายวรวุฒิ มาลา ผู้ว่าการ ร.ฟ.ท. กล่าวว่า ยังหวังว่าจะมีคนมายื่นประมูล เซ็นทรัลต่อสัญญา รร.รถไฟหัวหิน แหล่งข่าวกล่าวว่า ต่อจากที่ดินแปลง A ขณะนี้อยู่ระหว่างเสนอคณะกรรมการ (บอร์ด) ร.ฟ.ท.อนุมัติต่อสัญญาเช่าที่ดินทำเลมีศักยภาพ มี บจ.เซ็นทรัลหัวหินบีชรีสอร์ท ของตระกูลจิราธิวัฒน์ ผู้เช่าอาคารและทรัพย์สิน โรงแรมรถไฟหัวหิน หรือโรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ รีสอร์ท แอนด์ วิลล่า หัวหิน เนื้อที่ 71.65 ไร่ อีก 30 ปี หลังสัญญาเดิมสิ้นสุดวันที่ 15 พ.ค. 2562

ล่าสุดบอร์ดมีมติต่ออายุ 1 ปี ถึงวันที่ 15 พ.ค. 2563 วงเงิน 103 ล้านบาท ระหว่างรอระเบียบ ร.ฟ.ท.จะมารองรับ พ.ร.บ.ร่วมทุน 2562 เนื่องจากตาม พ.ร.บ.ใหม่การพัฒนาที่ดินไม่ต้องดำเนินการตามพ.ร.บ.ร่วมทุน สามารถเสนอให้บอร์ดอนุมัติได้เลย แต่หน่วยงานต้องมีระเบียบมากำกับสัญญา และในคณะกรรมการพิจารณาจะต้องมีผู้แทนจากหน่วยงานกลางร่วมด้วย

“ร.ฟ.ท.จ้างที่ปรึกษาประเมินผลตอบแทนที่ดินหัวหินแล้ว มีมูลค่า 5,000-6,000 ล้านบาท ต่อสัญญาเช่า 30 ปี มีผลตอบแทนตลอดอายุสัญญาไม่ต่ำกว่า 5,727 ล้านบาท และมีเงื่อนไขเซ็นทรัลต้องลงทุน 3,200 ล้านบาท สร้างโรงแรมระดับ 3-4 ดาวเพิ่มอย่างน้อย 100 ห้อง ซึ่งเซ็นทรัลตกลงจะลงทุนเพิ่ม แต่ขอเป็นผู้ออกแบบเอง”

เบียร์สิงห์ผงะค่าเช่ากระโดด
แหล่งข่าวกล่าวต่ออีกว่า ส่วนสนามกอล์ฟหัวหิน เนื้อที่ 500 ไร่ ของ บจ.บุญรอดบริวเวอรี่ ของตระกูลภิรมย์ภักดี อยู่ติดกับสถานีรถไฟหัวหิน ได้ครบสัญญาเช่า 30 ปี เมื่อปี 2558 ในระหว่างที่รอผลศึกษานี้ บริษัทจ่ายค่าเช่าให้ ร.ฟ.ท.เท่ากับค่าเช่าปีสุดท้ายอยู่ที่ 476,000 บาท

“การเจรจายังไม่จบ เพราะที่ดินสนามกอล์ฟหัวหินมีมูลค่าเกิน 3,000 ล้านบาท ที่ปรึกษาเสนอให้ต่อสัญญา 25 ปี ทำให้ค่าเช่าจะปรับขึ้นแบบก้าวกระโดดจากปีละไม่ถึง 1 ล้านบาท เป็นปีละ 30 ล้านบาท”

“คีรี” รอเคาะ รร.อีสติน

แหล่งข่าวกล่าวว่า ยังมีการต่อสัญญาเช่าโรงแรมอีสติน มักกะสัน เนื้อที่ประมาณ 2-3 ไร่ ของนายคีรี กาญจนพาสน์ จะสิ้นสุดสัญญาในปี 2566 โดยผลประมูลมูลค่าทรัพย์สินปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 900 ล้านบาท บอร์ดให้ประเมินผลตอบแทนใหม่เป็นการเช่า 30 ปี เนื่องจากมองว่าให้เช่ายาวขึ้นจะทำให้ ร.ฟ.ท.ได้ผลตอบแทนสูงขึ้น จากเดิมที่ปรึกษาเสนอต่อสัญญา 20 ปี และมีค่าตอบแทนอยู่ที่ 775 ล้านบาท

อีกแปลงโรงแรมเดอะทวินทาวเวอร์ เนื้อที่ 6.53 ไร่ ย่านรองเมือง เขตปทุมวัน ของ บจ.โกลเด้นแอสเซ็ท ครบสัญญาเช่า 30 ปี ในปี 2564 ค่าเช่าปีสุดท้ายอยู่ที่ 3.29 ล้านบาท ตามสัญญาจะต้องพิจารณาล่วงหน้า 5 ปีก่อนหมดสัญญา ที่ปรึกษาประเมินมูลค่าแล้วอยู่ที่ 800 ล้านบาท ต่อสัญญาเช่า 20 ปี แต่ผู้เช่าขอประเมินใหม่ เพราะต้องลงทุนปรับปรุงอีกหลาย 100 ล้านบาท และธุรกิจโรงแรมปัจจุบันไม่ค่อยดี

แหล่งข่าวยังกล่าวถึงที่ดินบริเวณสามเหลี่ยมย่านพหลโยธิน 47.22 ไร่ ที่เช่าของ บจ.เซ็นทรัลอินเตอร์พัฒนา ในเครือเซ็นทรัล พัฒนาเป็นศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว และโรงแรมเซ็นทาราแกรนด์แอทเซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว มูลค่า 20,000 ล้านบาท จะหมดสัญญาอีก 9 ปี ในวันที่ 18 ธ.ค. 2571 กำลังเตรียมจ้างที่ปรึกษา มาประเมินมูลค่าทรัพย์สินใหม่ เพราะปัจจุบันมีรถไฟฟ้าพาดผ่านแล้ว ในสัญญาเช่าไม่ได้เขียนกำกับไว้ หากเซ็นทรัลจะต่อสัญญาเช่าต้องแจ้งให้ทราบก่อนเป็นรายแรก จึงเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการรายอื่นเข้ามาพัฒนาพื้นที่ตรงนี้ได้ ที่ผ่านมามีรายอื่นต้องการจะเช่า เช่น กลุ่มเดอะมอลล์ ล่าสุดเซ็นทรัลยังสนใจจะต่อสัญญา แต่ต้องลงทุนปรับปรุงอาคารที่ผ่านการใช้งานมา 30 ปีแล้ว อาจจะต้องทุบสร้างใหม่ให้รับกับสภาพพื้นที่ปัจจุบันเป็นทำเลทองไปแล้ว เป็นจุดเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีเขียวและสายสีน้ำเงิน

ร.ฟ.ท.โกยรายได้ทะลุ 4 พันล้าน

แหล่งข่าวกล่าวว่า ในปี 2562 ร.ฟ.ท.ตั้งเป้าจะมีรายได้จากการบริหารทรัพย์สินที่มีสัญญาเช่าทั่วประเทศ 15,270 สัญญา อยู่ที่ 4,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 10% จากปี 2561 มีรายได้อยู่ที่ 3,000 ล้านบาท ปัจจุบันผลจัดเก็บรายได้ถึงเดือน พ.ค.อยู่ที่ 2,400 ล้านบาท คาดว่าถึงสิ้นปีจะทำได้ตามเป้าที่ตั้งไว้ เนื่องจากจะได้ค่าธรรมเนียมการต่อสัญญาเช่าจากที่ดินแปลงใหญ่หลายทำเล เช่น เซ็นทรัลที่หัวหิน 103 ล้านบาท โรงแรมอีสติน มักกะสัน อีก 60 ล้านบาท
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 16/08/2019 10:17 am    Post subject: Reply with quote

ผู้ตรวจฯ ชง 6 ข้อเสนอหามาตรารับวิกฤตจราจร หลังเปิดสถานีรถไฟฟ้ากลางบางซื่อ
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: พฤหัสบดีที่ 15 สิงหาคม 2562 เวลา 17:29



ประธานผู้ตรวจฯ ร่วมประชุมคมนาคม รฟท. พร้อมลงพื้นที่สถานีรถไฟฟ้ากลางบางซื่อ ชง 6 ข้อเสนอ หน่วยงานเร่งหามาตรการรองรับวิกฤตจราจรแห่งใหม่คนเมือง ก่อนเปิดให้บริการต้นปี 64 หวั่นกระทบภาพลักษณ์ สูญเสียความเป็นเมืองน่าอยู่

วันนี้ (15ส.ค.) พล.อ.วิทวัส รชตะนันทน์ ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน พร้อมด้วยนายวทัญญู ทิพยมณฑา รองเลขาธิการสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน นายเมธี มั่นคง ผู้อำนวยการสำนักสอบสวน 1 ร่วมประชุมกับกระทรวงคมนาคม การรถไฟแห่งประเทศไทย สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กรุงเทพมหานคร การทางพิเศษแห่งประเทศไทย องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ และกองบังคับการตำรวจจราจรและลงพื้นที่ตรวจสอบข้อเท็จจริงเพื่อศึกษาผลกระทบของโครงการพัฒนาสถานีกลางบางซื่อและแผนการรองรับด้านคมนาคม โดยพล.อ. วิทวัส กล่าวว่า ขณะนี้ภาครัฐได้ดำเนินการก่อสร้างโครงการศูนย์คมนาคมพหลโยธิน โดยจะมีโครงการสถานีกลางบางซื่อซึ่งเป็นโครงการขนาดใหญ่บนเนื้อที่กว่า 795 ไร่ เป็นศูนย์กลางการเชื่อมต่อระบบคมนาคมทางรางที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน ทั้งรถไฟทางไกล รถไฟชานเมือง รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยาน รถไฟความเร็วสูง และเป็นจุดเชื่อมต่อการเดินทางด้วยระบบขนส่งมวลชนที่สำคัญ คือ รถไฟฟ้าสายสีเขียว (BTS) รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน รถไฟฟ้าสายสีม่วง รวมถึงโครงข่ายถนนและทางพิเศษที่สำคัญ ได้แก่ ทางพิเศษศรีรัช-วงแหวนรอบนอก ทางยกระดับอุตราภิมุข หรือดอนเมืองโทลล์เวย์ ถนนวิภาวดีรังสิต และถนนพหลโยธิน ซึ่งสถานีกลางบางซื่อมีกำหนดแล้วเสร็จในปี 2563 สามารถเปิดให้บริการภายในต้นปี 2564

ทั้งนี้สนข. คาดการณ์ว่าปี 65 จะมีปริมาณผู้มาใช้บริการโดยรอบโครงการในแต่ละวันกว่า 650,000 คน และต่อไปจะพัฒนาพื้นที่ภายในให้เป็นคอมเพล็กซิตี้ เช่น สำนักงาน ห้างสรรพสินค้า ที่พักอาศัย และพื้นที่นันทนาการ ผู้ตรวจการแผ่นดิน จึงเห็นว่าอาจส่งผลกระทบต่อประชาชนที่ใช้เส้นทางการจราจรทั้งการเข้า - ออก และการจราจรโดยรอบสถานี หากหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบไม่มีแผนงานรองรับทั้งการจราจรการจราจรภายใน-ภายนอกโครงการการจัดระบบขนส่งมวลชนและพื้นที่จอดรถให้เพียงพอกับความต้องการของผู้ใช้บริการ ดังนั้นเพื่อทุกฝ่ายจะได้บูรณาการวางแผนรองรับปัญหาที่จะเกิดขึ้น ผู้ตรวจการแผ่นดินจึงมีข้อเสนอ

1. ให้ บขส. กระทรวงคมนาคม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัดการจัดทำแผนการย้ายสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (หมอชิต) จตุจักร ไปที่ศูนย์ฯ รังสิตให้ชัดเจนโดยเฉพาะในเรื่องห้วงเวลา

2.ให้กรุงเทพมหานคร กระทรวงคมนาคม สนข. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้บูรณาการร่วมกันจัดทำแผนก่อสร้างขยายถนน และสะพานข้ามแยก 5 โครงการบริเวณแยกเกียกกายภายใน 90 วัน เพื่อนำไปสู่การก่อสร้างให้ทันกับการเปิดใช้งานโครงการสถานีกลางบางซื่อในต้นปี 2564เพื่อช่วยลดปัญหาผลกระทบด้านการจราจร

3.ให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งจัดทำแผนอำนวยการจราจรบริเวณทางขึ้น-ลงของหน้าด่านเก็บค่าผ่านทางพิเศษ เช่น ด่านประชาชื่น ด่านจตุจักร ด่านพระราม 6 และจัดทำแผนดำเนินการทางเชื่อมระหว่างทางยกระดับอุตราภิมุข และทางพิเศษศรีรัช-วงแหวน รอบนอกกรุงเทพมหานคร ภายใน 90 วัน รวมทั้งเร่งรัดการก่อสร้างให้แล้วเสร็จทันกับการเปิดใช้งานโครงการสถานีกลางบางซื่อ

4. ให้การรถไฟแห่งประเทศไทยจัดทำแผนรองรับปัญหาสถานที่จอดรถของผู้ใช้บริการสถานีกลางบางซื่อไม่เพียงพอ

5.ให้การรถไฟแห่งประเทศไทยเร่งรัดดำเนินการจัดทำระบบขนส่งมวลชนขนาดรอง (BRT) ให้แล้วเสร็จทันกับการเปิดใช้สถานีกลางบางซื่อหรือหากไม่สามารถดำเนินการได้ทัน ให้จัดหามาตรการรองรับในเบื้องต้นเพื่อบรรเทาผลกระทบต่อผู้มาใช้บริการ

6.ให้การรถไฟแห่งประเทศไทยและองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพร่วมกันจัดทำแผนเชื่อมโยงการให้บริการจุดรับส่งระหว่างรถประจำทางและระบบขนส่งมวลชนขนาดรอง (BRT) และจัดการเดินรถให้เพียงพอกับปริมาณผู้ใช้บริการ

“ปัญหาจราจรปัจจุบันวิกฤตมากอยู่แล้ว หากสถานีกลางบางซื่อซึ่งเป็นศูนย์คมนาคมขนาดใหญ่เปิดใช้บริการในต้นปี 2564 จะมีจำนวนประชาชนทั้งคนไทยและต่างชาติมาใช้บริการจำนวนมาก ประกอบกับปริมาณการจราจรโดยรอบสถานีขนส่งหมอชิต ทางด่วนกรุงเทพฯ ช่วงนี้ทั้งขาเข้า-ขาออกก็มีความคับคั่งทั้งวันอยู่แล้ว การเตรียมการก่อสร้างถนนและเส้นทาง-เข้าออกสถานีกลางบางซื่อและลงมือก่อสร้างให้ทันกัน จึงเป็นเรื่องสำคัญ เพราะการจราจรติดขัดในเมืองหลวงของประเทศจะเกิดผลกระทบต่อความเชื่อมั่นในการลงทุนการท่องเที่ยวและสิ่งแวดล้อมและอาจทำให้สูญเสียความเป็นเมืองน่าอยู่ ของกรุงเทพมหานครได้ “
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 26/08/2019 1:46 am    Post subject: Reply with quote

สถานีกลางบางซื่อ' จ่อใช้งานปี '64
Voice TV

พฤหัสบดีที่ 15 สิงหาคม 2562 เวลา 4:02 PM

ความคืบหน้าล่าสุด สถานีกลางบางซื่อจะก่อสร้างแล้วเสร็จและเปิดใช้บริการต้นปี 2564 ขณะนี้การก่อสร้างคืบหน้า 70-80% โดยจะเป็นสถานีรถไฟศูนย์กลางของระบบรถไฟทางไกล แทนที่สถานีรถไฟกรุงเทพฯ (หัวลำโพง) และเป็นสถานีศูนย์กลางของระบบรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง

📷 เสกสรร โรจนเมธากุล
https://www.facebook.com/logistics.development.thailand.forum/posts/2589266351300716
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 8, 9, 10 ... 63, 64, 65  Next
Page 9 of 65

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©