Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311234
ทั่วไป:13180344
ทั้งหมด:13491578
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 319, 320, 321 ... 542, 543, 544  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 16/05/2019 12:51 pm    Post subject: Reply with quote

“ศุภชัย เจียรวนนท์” ย้ำจุดยืนเครือซีพี ลุยไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน มุ่งประโยชน์ประเทศ-ประชาชน
พร็อพเพอร์ตี้
วันที่ 15 พฤษภาคม 2562 เวลา 14:50 น.

เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ที่สถาบันพัฒนาผู้นำเครือเจริญโภคภัณฑ์ จ.นครราชสีมา มีการประชุมสัมมนาเครือเจริญโภคภัณฑ์(เครือซีพี) มีผู้บริหารระดับสูงจากกลุ่มธุรกิจต่างๆ จากทั่วโลกกว่า 400 คนเข้าร่วมประชุม

ทั้งนี้ นายศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหารเครือเจริญโภคภัณฑ์ กล่าวบรรยายถึงการขับเคลื่อนทางธุรกิจควบคู่ไปกับการพัฒนาที่ยั่งยืนต้องคำนึงถึงสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยกล่าวตอนหนึ่งถึงโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ว่า เป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยง และได้รับผลตอบแทนในอัตราที่ไม่สูง แต่เหตุผลสำคัญที่เครือซีพีสนใจเข้าลงทุน เนื่องจากเป็นโครงการพัฒนาที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติ ประชาชน และสังคม ที่เครือซีพียึดถือเป็นแนวทางปฏิบัติ

“ถึงแม้จะยาก มีความเสี่ยงสูง แต่เครือซีพีต้องใช้ความรู้ความสามารถอย่างเต็มที่ และดึงคนเก่งๆ จากทั่วโลกมาช่วยกันทำให้สำเร็จ เพราะโครงการนี้ถือเป็นโครงสร้างพื้นฐานแรกของภูมิภาคอาเซียน และเขตพัฒนาเศรษฐกิจภาคตะวันออก หรืออีอีซี ซึ่งจะผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลาง หรือฮับ ของอาเซียน และสามารถส่งเสริมประเทศเพื่อนบ้านในแถบซีแอลเอ็มวี(กัมพูชา-ลาว-เมียนมา-เวียดนาม) ให้เติบโตไปพร้อม ๆ กันแบบยั่งยืนได้อีกด้วย” นายศุภชัยกล่าว


นายศุภชัยกล่าวว่า รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน เป็นหัวใจสำคัญที่ก่อให้เกิดการพัฒนาเมือง จะกระจายความเจริญทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม สู่ทุกชุมชน คนไทยทั้งประเทศจะได้ประโยชน์จากการเข้ามาลงทุนจากต่างประเทศ และการนำความรู้มาพัฒนาคน สร้างงานในยุค 4.0 ซึ่งการถ่ายทอดองค์ความรู้เป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องดำเนินการ

นายศุภชัยกล่าวว่า นอกจากนี้การเข้าถึงบริการของผู้เปราะบาง เช่น ผู้พิการ ต้องคิดถึงเป็นอันดับแรก รวมถึงการออกแบบที่คำนึงถึงอนาคตหากเกิดชุมชนขนาดใหญ่ขึ้น เมื่อความเจริญขยายตัวออกจากกรุงเทพฯ ว่าจะกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างไร เพื่อดำเนินการด้านสังคมไปควบคู่กับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ดังนั้น ประเด็นสำคัญของโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน คือ การพัฒนา ซึ่งมีความหมายมากกว่าการลงทุน เป็นโครงการที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติ และประชาชน

“ต้องขอขอบคุณทีมงานที่ทุ่มเทเตรียมการเข้าประมูลอย่างหนัก และความสำเร็จในการดึงพันธมิตรจากทั่วโลก มาลงทุนในประเทศไทย เพื่อเป็นตัวอย่างของความร่วมมือระหว่างประเทศในพื้นที่อีอีซี ไม่ว่าจะเป็นญี่ปุ่น จีน ยุโรป และอีกหลายประเทศ” นายศุภชัยกล่าว

นายศุภชัยยังกล่าวว่า นอกจากนี้ความสำคัญของสิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งที่ต้องดำเนินคู่กันไป ทั้งเรื่องพลังงานทางเลือก การจัดการขยะพลาสติก ทั้งนี้ เครือซีพี ตั้งเป้าหมายสู่การเป็นองค์กรที่ให้ความสำคัญต่อการชดเชยคาร์บอนและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อให้ลดลงทุกปี และเข้าสู่ศูนย์ (zero net carbon emissions) ในปี 2030




“ทายาทซีพี” โอด ไฮสปีดเทรน ความเสี่ยงสูง
วันที่ 15 พฤษภาคม 2562

ทายาทซีพี “ศุภชัย เจียรวนนท์” ชี้รถไฟเชื่อม 3 สนามบินความเสี่ยงสูง ผลตอบแทนต่ำ แต่ที่ต้องลงทุนเพราะเป็นโครงการที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศ นายศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์ กล่าวบรรยายระหว่างการประชุมสัมมนาเครือเจริญโภคภัณฑ์ ซึ่งมีผู้บริหารระดับสูงจากกลุ่มธุรกิจต่างๆจากทุกประเทศทั่วโลกกว่า 400 คนเข้าร่วมประชุม ตอนหนึ่งถึงโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินว่า โครงการดังกล่าวเป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยง และได้รับผลตอบแทนในอัตราที่ไม่สูง แต่เหตุผลสำคัญที่เครือฯสนใจและเข้าไปลงทุน เนื่องจากเป็นโครงการพัฒนาที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติ ประชาชน และสังคม ที่เครือยึดถือเป็นแนวทางปฏิบัติ

“ถึงแม้จะยาก มีความเสี่ยงสูง แต่เครือซีพีต้องใช้ความรู้ความสามารถอย่างเต็มที่ และดึงคนเก่งๆจากทั่วโลกมาช่วยกันทำให้สำเร็จ เพราะโครงการนี้ถือเป็นโครงสร้างพื้นฐานแรกของภูมิภาคอาเซียน และเขตพัฒนาเศรษฐกิจภาคตะวันออก หรือ EEC ซึ่งจะผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลาง หรือ HUB ของอาเซียน และสามารถส่งเสริมประเทศเพื่อนบ้านในแถบ CLMV ให้เติบโตไปพร้อม ๆ กันแบบยั่งยืนได้อีกด้วย”


อย่างไรก็ตามโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินเป็นหัวใจสำคัญที่ก่อให้เกิดการพัฒนาเมือง ซึ่งจะกระจายความเจริญทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สู่ทุกชุมชน และคนไทยทั้งประเทศจะได้ประโยชน์จากการเข้ามาลงทุนจากต่างประเทศ และการนำความรู้มาพัฒนาคน สร้างงานในยุค 4.0 ซึ่งการถ่ายทอดองค์ความรู้จะเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องดำเนินการ นอกจากนี้การเข้าถึงบริการของผู้เปราะบาง เช่น ผู้พิการ ต้องคิดถึงเป็นอันดับแรก รวมถึงการออกแบบที่คำนึงถึงอนาคตหากเกิดชุมชนขนาดใหญ่ขึ้น เมื่อความเจริญขยายตัวออกจากกรุงเทพ ว่าจะกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างไร เพื่อดำเนินการด้านสังคมไปควบคู่กับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ดังนั้นประเด็นสำคัญของโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน คือ การพัฒนา ซึ่งมีความหมายมากกว่าการลงทุน เป็นโครงการที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติ และประชาชน


‘ศุภชัย’ดันไทยฮับอาเซียน ลุยรถไฟไฮสปีดแม้งานยาก-เสี่ยงสูง
โลกธุรกิจ
วันพฤหัสบดี ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2562, 06.00 น.



ที่สถาบันพัฒนาผู้นำ เครือเจริญโภคภัณฑ์ จ.นครราชสีมา เมื่อเร็วๆ นี้ นายศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์(ซีพี) โดยได้ประชุมสัมมนาเครือเจริญโภคภัณฑ์ โดยมีผู้บริหารระดับสูงจากกลุ่มธุรกิจต่างๆ จากทุกประเทศทั่วโลกกว่า 400 คน เข้าร่วมประชุม

นายศุภชัย ได้กล่าวถึงโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ว่าโครงการดังกล่าวเป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยง และได้รับผลตอบแทนในอัตราที่ไม่สูง แต่เหตุผลสำคัญที่เครือสนใจและเข้าไปลงทุน เนื่องจากเป็นโครงการพัฒนาที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติ ประชาชน และสังคม ที่เครือยึดถือเป็นแนวทางปฏิบัติ

“ถึงแม้จะยาก มีความเสี่ยงสูง แต่เครือซีพีต้องใช้ความรู้ความสามารถอย่างเต็มที่ และดึงคนเก่งๆ จากทั่วโลกมาช่วยกันทำให้สำเร็จ เพราะโครงการนี้ถือเป็นโครงสร้างพื้นฐานแรกของภูมิภาคอาเซียน และเขตพัฒนาเศรษฐกิจภาคตะวันออก หรือ EEC ซึ่งจะผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลาง หรือฮับ (HUB) ของอาเซียน และสามารถส่งเสริมประเทศเพื่อนบ้านในแถบ CLMV (กัมพูชา-ลาว--เมียนมา-เวียดนาม) ให้เติบโตไปพร้อมๆ กันแบบยั่งยืนได้อีกด้วย”นายศุภชัยกล่าว

ในการนี้นายศุภชัยได้ชี้ให้เห็นว่ารถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินนั้น เป็นหัวใจสำคัญที่ก่อให้เกิดการพัฒนาเมือง ซึ่งจะกระจายความเจริญทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สู่ทุกชุมชน และคนไทยทั้งประเทศจะได้ประโยชน์จากการเข้ามาลงทุนจากต่างประเทศ และการนำความรู้มาพัฒนาคน สร้างงานในยุค 4.0 ซึ่งการถ่ายทอดองค์ความรู้จะเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องดำเนินการ นอกจากนี้การเข้าถึงบริการของผู้เปราะบาง เช่น ผู้พิการ ต้องคิดถึงเป็นอันดับแรก รวมถึงการออกแบบที่คำนึงถึงอนาคตหากเกิดชุมชนขนาดใหญ่ขึ้น เมื่อความเจริญขยายตัวออกจากกรุงเทพฯ ว่าจะกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างไรเพื่อดำเนินการด้านสังคมไปควบคู่กับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ดังนั้นประเด็นสำคัญของโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน คือ การพัฒนา ซึ่งมีความหมายมากกว่าการลงทุน เป็นโครงการที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติ และประชาชน

นอกจากนี้ในช่วงท้ายการบรรยาย ประธานคณะผู้บริหารเครือซีพี ได้กล่าวถึงความสำคัญของสิ่งแวดล้อมที่ต้องดำเนินคู่กันไป ว่าจะเป็นเรื่องของพลังงานทางเลือก การจัดการขยะพลาสติก

มีรายงานแจ้งว่า สำหรับ โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน(ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) วงเงินลงทุน 224,000 ล้านบาท มีกิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร ชนะประมูลคาดว่าจะเสนอครม.ได้ในวันที่ 28 พฤษภาคม 2562 นี้

Channel News Asia เล่นข่าวเรื่องซีพีลงทุน รถไฟความไวสูง เชื่อมสามสนามบิน (ดอนเมือง - สุวรรณภูมิ - อูตะเภา)
https://www.channelnewsasia.com/news/asia/thailand-richest-man-12-others-high-speed-rail-link-airports-11530712
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 17/05/2019 12:33 pm    Post subject: Reply with quote

"ซีพี"ดึงคนเก่งทั่วโลกลุยไฮสปีดเชื่อม3สนามบิน
พฤหัสบดีที่ 16 พฤษภาคม 2562 เวลา 06.55 น.

เครือซีพี ลุยไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน รู้ว่าลงทุนแล้วเสี่ยง แต่ขอทำเพื่อประเทศ ดันไทยเป็นฮับอาเซียน เตรียมดึงคนเก่งทั่วโลก เดินงานให้สำเร็จ

นายศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์ กล่าวตอนหนึ่งในการประชุมสัมมนาเครือเจริญโภคภัณฑ์(ซีพี) ซึ่งมีผู้บริหารระดับสูงจากกลุ่มธุรกิจต่างๆ จากทุกประเทศทั่วโลกกว่า 400 คนเข้าร่วมประชุม ที่สถาบันพัฒนาผู้นำ เครือเจริญโภคภัณฑ์ จ.นครราชสีมาว่า เหตุผลสำคัญที่เครือฯ เข้าไปลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน แม้จะเป็นการลงทุนที่เสี่ยง และได้รับผลตอบแทนในอัตราที่ไม่สูง แต่ก็เป็นโครงการพัฒนาที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติ ประชาชน และสังคมที่เครือฯยึดถือเป็นแนวทางปฏิบัติ

นายศุภชัย กล่าวต่อว่า เมื่อเข้าไปลงทุน แม้จะยาก และเสี่ยงสูง แต่เครือฯ จะใช้ความรู้ความสามารถเต็มที่ และดึงคนเก่งจากทั่วโลกมาช่วยกันทำให้สำเร็จ เพราะโครงการนี้เป็นโครงสร้างพื้นฐานแรกของอาเซียน และเขตพัฒนาเศรษฐกิจภาคตะวันออก(อีอีซี) ซึ่งจะผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลาง(ฮับ) ของอาเซียน และสามารถส่งเสริมประเทศเพื่อนบ้านในแถบ CLMV ได้แก่ กัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนามให้เติบโตไปพร้อมๆ กันได้แบบยั่งยืน

นายศุภชัย กล่าวอีกว่า รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน เป็นหัวใจสำคัญที่ก่อให้เกิดการพัฒนาเมือง ซึ่งจะกระจายความเจริญทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สู่ทุกชุมชน และคนไทยจะได้ประโยชน์จากการเข้ามาลงทุนจากต่างประเทศ และการนำความรู้มาพัฒนาคน สร้างงานในยุค 4.0 ซึ่งการถ่ายทอดองค์ความรู้จะเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องดำเนินการ นอกจากนี้การเข้าถึงบริการของผู้เปราะบาง เช่น ผู้พิการ ต้องคิดถึงเป็นอันดับแรก รวมถึงต้องให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมด้วย เช่น พลังงานทางเลือก โดยตั้งเป้าจะเป็นองค์กรที่ให้ความสำคัญต่อการชดเชยคาร์บอนและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งจะให้ลดลงทุกปี และเข้าสู่ศูนย์ในปี 73.
 
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 19/05/2019 10:47 pm    Post subject: Reply with quote

ซีพีเกาะรถไฟไฮสปีด วิ่งข้ามยุคเปลี่ยนผ่าน
โดย: นพ นรนารถ
เผยแพร่: อาทิตย์ที่ 19 พฤษภาคม 2562 เวลา 17:38



พร้อมกับการส่งมอบอาณาจักรธุรกิจแสนล้านจากธนินท์ เจียรวนนท์ ให้กับทายาทรุ่นที่สองอย่างเป็นทางการ เครือเจริญโภคภัณฑ์ หรือซีพี ก็เขียนประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของตัวเองสู่เส้นทางธุรกิจใหม่ จากอุตสาหกรรมเกษตร อาหาร ค้าปลีก โทรคมนาคม เข้าสู่การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่ง คมนาคม โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน หรือรถไฟไฮสปีดอีอีซี

หลังการเจรจากับการรถไฟแห่งประเทศไทย เจ้าของโครงการที่กินเวลา 4 เดือนเต็ม โครงการนี้ก็ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ สกพอ.อันเป็นองค์กรที่มีอำนาจสูงสุดในการกำหนดนโยบาย การลงทุนในอีอีซี เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคมที่ผ่านมา รอการอนุมัติจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ซึ่งน่าจะเป็นการประชุม ครม.วันที่ 21 หรือ 28 พฤษภาคมนี้ หากไม่มีเหตุสุดวิสัยเหนือความคาดหมาย ก็น่าจะเซ็นสัญญาตามที่กำหนดไว้ในวันที่ 15 มิถุนายนนี้ได้

การลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูงอีอีซี เป็นเรื่องใหม่สำหรับประเทศไทย และซีพีที่ไม่มีประสบการณ์ในเรื่องการลงทุน และบริหารโครงสร้างพื้นฐานมาก่อน ประกอบกับมูลค่าการลงทุนที่สูงถึง 2.2 แสนล้านบาท มีระยะเวลาโครงการนานถึง 50 ปี จึงจำเป็นต้องหาพันธมิตรทั้งไทยและต่างประเทศที่มีความชำนาญ มีประสบการณ์ ทั้งในเรื่องการก่อสร้างเทคโนโลยีรถไฟความเร็วสูง การบริหารจัดการ เมื่อการก่อสร้างเสร็จแล้ว การพัฒนาอสังหาริทรัพย์ และการเข้าถึงแหล่งเงินทุนต้นทุนต่ำ

กลุ่มพันธมิตรซีพีในนามกิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์ โฮลดิ้ง จำกัด นอกจากซีพีแล้ว ประกอบด้วย อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ ช.การช่าง ยักษ์ใหญ่วงการก่อสร้างของไทย China Railway Construction Corporation หรือซีอาร์ซีซี ซึ่งมีความชำนาญในการสร้างระบบรถไฟความเร็วสูงบีอีเอ็ม เจ้าของสัมปทางทางด่วน และรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินในเครือ ช.การช่าง ซีเมนส์ ฮุนได ซึ่งเป็นผู้ผลิตขบวนรถไฟรายใหญ่ของโลก Ferrovie dello Stato Italiane ซึ่งเป็นบริษัทที่รัฐบาลอิตาลีถือหุ้น เชี่ยวชาญในการบริหารบำรุงรักษาระบบรถไฟความเร็วสูง

ด้านการเงินมีสถาบันการเงินจากจีน และญี่ปุ่นคือ CITIC Group ซึ่งซีพีถือหุ้นอยู่ด้วย และ Japan Oversea Infrastructure Investment Corporation For Transport & Urban Development

ชื่อชั้น และผลงานของเครือซีพีในฐานะกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ระดับภูมิภาค เป็นสิ่งที่ดึงดูดให้พันธมิตร ซึ่งล้วนแต่เป็นมือหนึ่งในแต่ละด้านมาร่วมเป็นหุ้นส่วนกับซีพี แต่ในขณะเดียวกัน การบริหารจัดการความสัมพันธ์ระหว่างพันธมิตรเหล่านี้ ให้เป็นไปอย่างราบรื่น ก็เป็นความท้าทายอย่างยิ่งสำหรับซีพี ซึ่งที่ผ่านมาในธุรกิจเกษตรกรรมอาหาร และค้าปลีก เป็นผู้กำหนดเกมเพียงฝ่ายเดียว แต่ในโครงการนี้ หุ้นส่วนทุกรายต่างอยู่ในสถานะที่เท่าเทียมกัน และต่างต้องพึ่งพากัน

โครงการรถไฟความเร็วสูงอีอีซี แม้จะเป็นการลงทุนร่วมกันระหว่างรัฐกับเอกชน หรือพีพีพี โดยการรถไฟแห่งประเทศไทย ต้องจ่ายเงินอุดหนุนมูลค่า 117,000 ล้านบาท หรือกว่าครึ่งหนึ่งของเงินลงทุนก่อสร้าง 224,000 ล้านบาท แต่การจ่ายเงินอุดหนุนจะเริ่มจ่ายในปีที่ 6 ของโครงการ หลังจากการก่อสร้างโครงการเสร็จสมบูรณ์ เปิดให้บริการซึ่งใช้เวลา 5 ปี ซีพีจึงต้องเป็นผู้ลงทุนทั้งหมด 224,000 ล้านบาทก่อน ดังนั้น จึงเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ว่า เหตุใดการเจรจาระหว่างซีพีกับการรถไฟฯ จึงยืดเยื้อนานถึง 4 เดือน และทำไมซีพีจึงมีข้อต่อรองที่อยู่นอกเหนือเงื่อนไขการประมูลตอนแรกมากมาย โดยเฉพาะเงื่อนไขทางการเงิน ก็เพราะว่า ต้องการลดความเสี่ยงลงให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้

แต่สุดท้าย การรถไฟฯ ก็ยึดถือเงื่อนไขการประมูลในตอนต้น ไม่ยอมผ่อนปรนให้ซีพี เพราะเป็นเรื่องที่ไม่สามารถทำได้อยู่แล้ว และไม่เป็นธรรมกับผู้เข้าประมูลอีกรายคือ บีทีเอส

โครงการรถไฟความเร็วสูงอีอีซี มีความเสี่ยงสูง ในเรื่องจำนวนผู้โดยสารที่ขึ้นอยู่กับความสำเร็จโดยรวมของโครงการอีอีซี และรายได้จากค่าโดยสารที่ถูกจำกัดด้วยเงื่อนไขในสัญญา ไม่สามารถคิดในอัตราสูงได้ ถึงแม้ในโครงการนี้จะมีการพัฒนาที่ดินย่านมักกะสัน และศรีราชา เป็นโครงการอสังหาริมทรัพย์เชิงพาณิชย์ เพื่อเป็นรายได้ชดเชยกับรายได้จากค่าโดยสาร แต่ก็ไม่ใช่หลักประกันว่า จะประสบความสำเร็จ เพราะในปัจจุบัน และในอนาคตมีการแข่งขันสูงมาก

ศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหารเครือเจริญโภคภัณฑ์ บอกกับผู้บริหารธุรกิจในเครือซีพีจากทั่วโลก 400 คน ซึ่งมาร่วมสัมมนาผู้บริหารที่สถาบันพัฒนาผู้นำเครือเจริญโภคภัณฑ์เมื่อเร็วๆ นี้ว่า โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินเป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยง และได้รับผลตอบแทนไม่สูง แต่เหตุผลสำคัญที่เครือซีพี สนใจเข้าลงทุน เนื่องจากเป็นโครงการพัฒนาที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติ ประชาชน และสังคม ที่เครือซีพียึดถือเป็นแนวปฏิบัติ



โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน เป็นโครงการขนาดใหญ่ในด้านโครงสร้างพื้นฐาน โครงการแรกจาก 5 โครงการของรัฐที่เปิดให้เอกชนร่วมลงทุนที่มีความคืบหน้ามากที่สุดถึงขั้นได้ผู้ลงทุนแน่นอนแล้ว คือ กลุ่มซีพีและพันธมิตร โครงการนี้ นอกจากเป็นเส้นทางเชื่อมต่อเขตเศรษฐกิจอีอีซีกับกรุงเทพฯ แล้ว ยังมีความสำคัญในเชิงจิตวิทยาเป็นรูปธรรมของการลงทุนที่เกิดขึ้นจริงแล้ว เป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้เกิดขึ้นกับนักลงทุน

สำหรับเครือซีพีโครงการนี้มีความสำคัญต่อโครงการลงทุนสร้างเมืองใหม่ “สมาร์ท ซิตี้” บนพื้นที่กว่า 10,000 ไร่ของซีพีที่จังหวัดฉะเชิงเทรา ในแนวเส้นทางรถไฟความเร็วสูง โครงการรถไฟความเร็วสูงจะทำให้สมาร์ท ซิตี้ของซีพีเชื่อมต่อกับกรุงเทพฯ และพื้นที่อีอีซีได้อย่างสะดวก ทำให้สมาร์ท ซิตี้ ได้เกิด

การลงทุนในโครงการรถไฟเชื่อม 3 สนามบิน จึงมีความสำคัญในเชิงยุทธศาสตร์ของกลุ่มซีพีในช่วงเปลี่ยนผ่านผู้นำ และแสวงหาการลงทุนใหม่ๆ ที่จะสร้างมูลค่าเพิ่มกับสินทรัพย์ที่มีอยู่ คือ ที่ดิน และรองรับธุรกิจเดิม คือ อาหาร ค้าปลีก และเทคโนโยลีการสื่อสารยุค 5G

แม้จะเสี่ยงสูงและผลตอบแทนต่ำ ก็ต้องทำ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 19/05/2019 11:13 pm    Post subject: Reply with quote

ว่าด้วยเรื่องข่าวลือ 2 กระแสของ 'เจ้าสัวธนินท์' กับตำแหน่งทางการเมือง
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: อาทิตย์ที่ 19 พฤษภาคม 2562 เวลา 17:46

การประกาศลาออกจากตำแหน่งประธานกรรมการ และกรรมการ 2 บริษัทใหญ่ในตลาดหลักทรัพย์ของ นายธนินท์ เจียรวนนท์ ทำให้มีข่าวลือว่าเจ้าสัวซีพีจะก้าวไปรับตำแหน่งอันมงคล ทำให้หลายคนเดากันไปต่าง ๆ นานา ข่าววงในจากเครือเจริญโภคภัณฑ์บอกมาว่า ณ วันนี้เจ้าสัวธนินท์ อายุ 80 ปีแล้ว หากจะรับตำแหน่งใด ๆ คงไม่รอมาถึงวันนี้ เพราะก้าวต่อไปของเจ้าสัวธนินท์ ยังคงมองว่าคือ การส่งไม้ต่อ การสร้างคนรุ่นใหม่ สนุกกับเรื่องใหม่ ๆ ซึ่งเจ้าสัวธนินท์ย้ำว่าการลาออกเป็นไปตามแผนการส่งมอบธุรกิจสู่ผู้นำรุ่นต่อไป (Succession planning) ที่ได้ประกาศมาหลายปีก่อนหน้านี้ ว่าจะใช้ประสบการณ์ทางธุรกิจที่สั่งสมมาตลอดการทำงาน เน้นการสร้างคน โดยนอกเหนือจากการพัฒนาผู้บริหารระดับสูงให้เก่งขึ้น เขายังต้องการนำพนักงานของแต่ละบริษัทในเครือมาอบรมพร้อมกัน โดยเฉพาะคนเก่งที่เป็นคนรุ่นใหม่ เพราะตอนนี้บริษัทในเครือเยอะมาก พนักงานแต่ละบริษัทไม่รู้จักกันเลย การอบรมจะทำให้พนักงานได้รู้จักกันอย่างไม่เป็นทางการข้ามบริษัท และยังเน้นย้ำผู้บริหารอาวุโสว่า ให้ชี้แนะอย่างเดียว ไม่ให้ชี้นำ

เจ้าสัวธนินท์บอกว่า การสร้างคนรุ่นใหม่ ต้องให้โอกาสเค้าทำงาน ให้คนรุ่นใหม่ได้ตัดสินใจ แต่ผู้บริหารต้องตรวจสอบทุกวัน ซึ่งยอมให้ผิดพลาดได้ แต่ต้องเรียนรู้ ถ้าหัวหน้าติดตามทุกวัน จะไม่ผิดพลาดมาก แก้ไขทัน และได้เรียนรู้ที่จะไม่ทำผิดซ้ำ ทั้งนี้สถาบันผู้นำที่เขาใหญ่จะเป็นแกนกลางในการเชื่อมโยงองค์ความรู้ ทำให้ซีพีปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกได้ทัน

ส่วนข่าวลืออีกกระแสที่บอกว่า "เจ้าสัวธนินท์" ลาออกไปเพื่อบริหารรถไฟความเร็วสูง ซึ่งแหล่งข่าววงในเจ้าเดิมก็ยืนยันว่า โครงการดังกล่าวซีพีมีผู้บริหารมืออาชีพที่รับผิดชอบโครงการยักษ์อยู่แล้ว ส่วนตัวเจ้าสัวธนินท์ มักใช้เวลาไปกับการพูดคุยกับคนรุ่นใหม่ แนะนำการทำธุรกิจ ที่มักเรียกว่า สร้างเถ้าแก่รุ่นใหม่ เจ้าสัวธนินท์เน้นชูบทบาท “เถ้าแก่” โดยบอกว่า แม้คำนี้จะฟังดูเป็นคำเก่าโบราณ แต่ “เถ้าแก่” นั้น มีตัวตนและมีตำนานความสำเร็จที่จับต้องได้จริง พิสูจน์แล้วว่าเป็นเจ้าของธุรกิจด้วยตนเองได้จริงทุกยุคทุกสมัย แม้กระทั่งสตาร์ทอัพ ก็ถือว่าเป็นเถ้าแก่ ที่เน้นการใช้เทคโนโลยี และเติบโตอย่างรวดเร็ว ดังนั้น การที่เจ้าสัวจะลงไปใช้เวลาส่วนใหญ่กับรถไฟความเร็วสูง คงเป็นเรื่องยาก เพราะปัจจุบันนี้ ซีพีเป็นเหมือนสถาบันที่ใช้มืออาชีพบริหาร ซึ่งเราคงต้องดูกันต่อไปว่า ผู้นำรุ่นใหม่ กับทิศทางธุรกิจใหม่ ๆ ของซีพี จะมีอะไรออกมาบ้าง แต่ที่แน่ ๆ เจ้าสัวธนินท์ คงอดใจไม่ได้ที่จะให้เวลากับการลงไปรับรู้ปัญหาหน้างาน การให้คำชี้แนะเถ้าแก่น้อย เถ้าแก่ใหญ่ เรียนรู้เรื่องใหม่ไปพร้อม ๆ กัน นี่แหละที่เขาบอกว่าคือ ความสุขของเจ้าสัวธนินท์ในวัย 80 กะรัต
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 19/05/2019 11:19 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
“ศุภชัย เจียรวนนท์” ย้ำจุดยืนเครือซีพี ลุยไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน มุ่งประโยชน์ประเทศ-ประชาชน
พร็อพเพอร์ตี้
วันที่ 15 พฤษภาคม 2562 เวลา 14:50 น.



“ทายาทซีพี” โอด ไฮสปีดเทรน ความเสี่ยงสูง
วันที่ 15 พฤษภาคม 2562


“ศุภชัย เจียรวนนท์” เผยลงทุนรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน “ยาก-เสี่ยงสูง” ย้ำต้องการ “พัฒนา” มากกว่าแค่ “การลงทุน”
วันที่ 15 พฤษภาคม 2562 เวลา 14:20:21

หลังจาก กลุ่มซีพี ได้ไฟเขียวคว้า บิ๊กโปรเจกส์ โครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน โดยคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ บอร์ดอีอีซี เตรียมเสนอ คณะรัฐมนตรี ครม.อนุมัติ ในวันที่ 28 พฤษภาคม ที่จะถึงนี้

แน่นอนว่า โปรเจกส์ใหญ่ยักษ์ขนาดนี้ ย่อมทำให้ กลุ่มซีพี ถูกจับตามองว่า จะได้ผลประโยชน์มากแค่ไหน

ศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์ ใช้โอกาสในการประชุมสัมมนา เครือเจริญโภคภัณฑ์ ซึ่งมีผู้บริหารระดับสูงจากกลุ่มธุรกิจต่างๆจากทุกประเทศทั่วโลกกว่า 400 คนเข้าร่วมประชุม จัดขึ้นสถาบันพัฒนาผู้นำ เครือเจริญโภคภัณฑ์ จ.นครราชสีมา กล่าวถึงโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ว่า โครงการดังกล่าวเป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยง และได้รับผลตอบแทนในอัตราที่ไม่สูง

แต่เหตุผลสำคัญที่เครือฯสนใจและเข้าไปลงทุน เนื่องจากเป็นโครงการพัฒนาที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติ ประชาชน และสังคม ที่เครือยึดถือเป็นแนวทางปฏิบัติ

“ถึงแม้จะยาก มีความเสี่ยงสูง แต่เครือซีพีต้องใช้ความรู้ความสามารถอย่างเต็มที่ และดึงคนเก่งๆจากทั่วโลกมาช่วยกันทำให้สำเร็จ เพราะโครงการนี้ถือเป็นโครงสร้างพื้นฐานแรกของภูมิภาคอาเซียน และเขตพัฒนาเศรษฐกิจภาคตะวันออก หรือ EEC ซึ่งจะผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลาง หรือ HUB ของอาเซียน และยังส่งเสริมประเทศเพื่อนบ้านในแถบ CLMV ให้เติบโตไปพร้อม ๆ กันแบบยั่งยืนได้อีกด้วย”

ซีอีโอ เครือเจริญโภคภัณฑ์ ได้ชี้ให้เห็นว่ารถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินนั้น เป็นหัวใจสำคัญที่ก่อให้เกิดการพัฒนาเมือง ซึ่งจะกระจายความเจริญทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สู่ทุกชุมชน และคนไทยทั้งประเทศจะได้ประโยชน์จากการเข้ามาลงทุนจากต่างประเทศ และการนำความรู้มาพัฒนาคน สร้างงานในยุค 4.0

ดังนั้นประเด็นสำคัญของโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน คือ การพัฒนา ซึ่งมีความหมายมากกว่าการลงทุน เป็นโครงการที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติ และประชาชน

ศุภชัย ยังได้กล่าวถึงความสำคัญของสิ่งแวดล้อมที่ต้องดำเนินคู่กันไป ว่าจะเป็นเรื่องของพลังงานทางเลือก การจัดการขยะพลาสติก และปิดท้ายด้วยการตั้งเป้าหมายสู่การเป็นองค์กรที่ให้ความสำคัญต่อการชดเชยคาร์บอนและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อให้ลดลงทุกปีและเข้าสู่ศูนย์(zero net carbon emissions)ในปี 2030
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 19/05/2019 11:21 pm    Post subject: Reply with quote

ซีพีคว้าไฮสปีดเทรน ปูทางผุด “สมาร์ทซิตี้”

Suporn Sae-tang
17 พฤษภาคม 2562

หลังจากเจรจาทุบโต๊ะกันหลายรอบนานกว่า 4 เดือน ในที่สุด เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2562 คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน อนุมัติร่างสัญญาร่วมลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา) ให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ร่วมลงทุนกับกลุ่มซีพี พร้อมเร่งเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ทิ้งทวนภายในวันที่ 28 พฤษภาคม และลุยลงนามภายในวันที่ 15 มิถุนายน เพื่อผลักดันบิ๊กโปรเจกต์แสนล้านอย่างเร็วที่สุด

โครงการดังกล่าวใช้รูปแบบการร่วมทุนกับเอกชน (PPP) มูลค่าการลงทุนรวม 224,544.36 ล้านบาท โดยรัฐสนับสนุนส่วนหนึ่งเท่านั้น ซึ่งกลุ่มซีพีในนามกิจการร่วมค้าบริษัท เจริญโภคภัณฑ์ โฮลดิ้ง และพันธมิตร อันได้แก่ บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) China Railway Construction Corporation จากจีน บริษัท ช. การช่าง จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เสนอวงเงินให้รัฐร่วมลงทุน 149,956 ล้านบาท ต่ำกว่าที่ ครม. อนุมัติไว้ที่ 152,457 ล้านบาท
ส่วนกระบวนการหลังจากนี้เหลือเพียงขั้นตอนเดียว คือ รอรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) ได้รับการอนุมัติ

นายวรวุฒิ มาลา รักษาการผู้ว่า รฟท. ระบุว่า ร่างสัญญาที่ลงนามมีเนื้อหาเฉพาะในกรอบเอกสารเสนอโครงการ (RFP) ส่วนข้อเสนอทางการเงินของกลุ่มซีพีถูกตัดออกหมด เช่น การช่วยเหลือด้านเงินกู้ โดยสัญญามีอายุ 50 ปี และระหว่างดำเนินการตามสัญญาอาจมีเหตุให้แก้สัญญาได้ เพราะเป็นสัญญาระยะยาว ซึ่งจะมีคณะกรรมการกำกับสัญญาเป็นผู้พิจารณาตามสถานการณ์ เช่น กรณีเอกชนกู้ไม่ได้ กรณีตลาดการเงินปิดหรือเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นรุนแรง

แน่นอนว่า การคว้าสัมปทานไฮสปีดเทรนเชื่อม 3 สนามบินที่มีระยะเวลานานถึง 50 ปี ถือเป็นความเสี่ยงที่เอกชนต้องเร่งเสริมแนวทางสร้างผลตอบแทน และนั่นเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้กลุ่มซีพีพยายามรุกชิงสัมปทานโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบิน ซึ่งอยู่ระหว่างการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนจากผู้ยื่นซอง 3 ราย

ได้แก่ กลุ่มกิจการร่วมค้าบีบีเอส ประกอบด้วย บมจ.การบินกรุงเทพ บมจ.บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ และ บมจ.ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น โดยดึงกลุ่มผู้บริหารสนามบินนาริตะเข้ามาเป็นผู้บริหารสนามบินอู่ตะเภา

กลุ่ม แกรนด์ คอน ซอร์เตียม ประกอบด้วย บมจ.แกรนด์ แอสเสท โฮเทลส์ แอนด์ พรอพเพอร์ตี้ ในกลุ่ม บมจ.พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค บริษัท ไทยแอร์เอเชีย ในเครือ บมจ.เอเชียเอวิเอชั่น และบมจ.คริสเตียนีและนีลเส็น (ไทย) ดึง “GMR Group” มาเป็นผู้บริหารสนามบิน ซึ่ง GMR Group เป็นบริษัทผู้พัฒนาและบริหารจัดการท่าอากาศยานเอกชนรายใหญ่สุดของอินเดีย ติดทอปไฟว์ผู้บริหารจัดการท่าอากาศยานรายใหญ่ของโลก เป็นทั้งเจ้าของและผู้บริหารงาน 2 สนามบินใหญ่ในอินเดีย คือ สนามบินเดลี และสนามบินนานาชาติไฮเดอราบัด รวมถึงบริหารสนามบินอื่นๆ ในต่างประเทศ

กลุ่มที่ 3 กิจการค้าร่วมบริษัทธนโฮลดิ้งและพันธมิตร ซึ่งประกอบด้วย บริษัท ธนโฮล ดิ้ง ที่มีนายธนินท์ เจียรวนนท์ และเครือญาติเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ บริษัท Orient Success International Limited บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ บมจ.ช. การช่าง และบริษัท บี. กริม จอยน์ เว็นเจอร์ โฮลดิ้ง ดึงบริษัท Fraport AG Frankfurt Airport Services Worldwide ประเทศเยอรมนี มาเป็นผู้รับจ้างบริหารสนามบิน

สำหรับฟราพอร์ทเป็นผู้บริหารสนามบินนานาชาติแฟรงก์เฟิร์ต สนามบินที่ใหญ่ที่สุดของเยอรมนีและใหญ่เป็นอันดับ 3 ของยุโรป

ทว่า ซีพีเจอปัญหาส่งเอกสารล่าช้าจนต้องยื่นขอความเป็นธรรมต่อศาลปกครองและต้องลุ้นอีกเฮือกใหญ่ ซึ่งตามไทม์ไลน์ของกองทัพเรือในฐานะเจ้าของโครงการจะพิจารณาข้อเสนอเสร็จสิ้นภายในเดือนมิถุนายน

ดูเหมือนว่า ซีพีพยายามยึดสัมปทานไฮสปีดเทรนและเมืองการบิน “อู่ตะเภา” เพราะลึกๆ แล้ว เจ้าสัวธนินท์กลัวไม่คุ้มกับเม็ดเงินลงทุนจำนวนมหาศาล แม้ตามข้อมูลของภาครัฐคาดการณ์จะมีผู้โดยสารทันที 147,000 คนต่อวันในปี 2566 ที่เปิดให้บริการ แต่จะมั่นใจมากขึ้น หากคว้าโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาด้วย

ปัจจุบันสนามบินอู่ตะเภามีผู้โดยสารใช้บริการ 2 ล้านคนต่อปี มีเที่ยวบิน 15,677 เที่ยวบินต่อปี และคาดว่าอีก 1-2 ปีข้างหน้าจะเต็มศักยภาพการรองรับ เนื่องจากมีสายการบินมาใช้บริการเพิ่มขึ้น 17 สายการบิน รวม 33 เส้นทางบิน ซึ่งตามแผนการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาจะมีการลงทุนสร้างอาคารผู้โดยสารหลังที่ 3 เพื่อรองรับผู้โดยสารสูงสุด 60 ล้านคนต่อปี

ขณะเดียวกัน หากย้อนกลับไปช่วงปลายปี 2561 เจ้าสัวธนินท์เคยออกมาเผยแผนทุ่มเม็ดเงินหลายแสนล้านบาท ผุดโครงการเมืองอัจฉริยะ หรือ Smart City แห่งแรกของซีพี ใน อ.แปดริ้ว จ.ฉะเชิงเทรา เนื้อที่มากกว่า 10,000 ไร่ เพื่อทดลองการเชื่อมต่อกับโครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (อีอีซี) โดยจะมีการก่อสร้างรถไฟฟ้าระบบรางเชื่อมต่อสถานีมักกะสัน ให้เดินทางจากเมืองเข้ามาถึงกรุงเทพฯ ภายใน 20 นาที รถไฟจะออกทุก 1 หรือ 2 นาที

ภายในเมืองจะมีถนนในเมือง 3 ชั้น ชั้นบนเป็นสวนสาธารณะ ชั้นกลางเป็นถนน/ทางรถไฟ ชั้นล่างสุดเป็นส่วนบริการ ใช้ระบบ zero waste ทั้งการรีไซเคิล การผลิตไฟฟ้า การแปรรูป มีศูนย์การค้าใหญ่กลางเมือง จำนวนประชากรไม่ต่ำกว่า 300,000 คน

มีรายงานด้วยว่า เครือซีพีให้สถาปนิกและที่ปรึกษาจากสหรัฐฯ กับอังกฤษออกแบบวางแผน รวมถึงรูปแบบการลงทุน ซึ่งธนินท์มีแนวคิดดึงนักธุรกิจทั้งไทย-เทศ ร่วมลงทุน เนื่องจากใช้เงินลงทุนจำนวนมหาศาล และคาดว่าประเทศไทยจะต้องลงทุนโครงการสมาร์ท ซิตี้ อีกหลายพื้นที่ทั่วประเทศ อย่างน้อยอีก 20 เมือง

ขณะที่แนวเส้นทางของไฮสปีดเทรนจะเชื่อมต่อเส้นทางรถไฟความเร็วสูงที่มุ่งตรงไปยังเขตพรมแดนไทย-กัมพูชา ไปยังกรุงพนมเปญ และนครโฮจิมินห์ ประเทศเวียดนาม ขึ้นเหนือไปยังฮานอย ประเทศเวียดนาม ก่อนแยกสายไปยังคุนหมิง และหนานหนิง ประเทศจีน ซึ่งล่าสุด ประเทศเวียดนามสั่งปัดฝุ่นแผนก่อสร้างไฮสปีดเทรน ฮานอย-โฮจิมินห์ ระยะทาง 1,570 กิโลเมตร ที่เคยยกเลิกไปเมื่อปี 2553 ส่วนฝั่งกัมพูชากำลังศึกษาเส้นทาง พนมเปญ-โฮจิมินห์ รวมถึงเส้นทางข้ามพรมแดนไทย-กัมพูชา

หากทั้งหมดฉลุยตามแผนจะเป็นการรุกสร้างอาณาจักรธุรกิจ ซึ่งยึดโยงเครือข่ายทั้งหมดของซีพี ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจสินค้าอุปโภคบริโภค ค้าปลีก โทรคมนาคม อสังหาริมทรัพย์ และธุรกิจใหม่ๆ ที่จะผุดขึ้นอย่างต่อเนื่องด้วย





6 ปี ไฮสปีดเทรน

ในสมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี และ ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ช่วงปี 2556 มีการศึกษาการเปลี่ยนระบบรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิให้เป็นโครงการรถไฟความเร็วสูงสายตะวันออก กรุงเทพ-ระยอง เพื่อเชื่อมต่อ 3 สนามบิน คือ สนามบินดอนเมือง สุวรรณภูมิ และอู่ตะเภา ภายใต้งบประมาณ 2 ล้านล้านบาท ของกระทรวงคมนาคม แต่แผนทั้งหมดถูกระงับ เพราะเกิดเหตุรัฐประหารขึ้นก่อน

ต่อมา สมัย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี รัฐบาลจีนและรัฐบาลญี่ปุ่นยื่นข้อเสนอขอพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงไปยังภาคตะวันออกของประเทศไทย

แต่รัฐบาลต้องการลดค่าใช้จ่ายการก่อสร้าง การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) จึงเสนอให้ก่อสร้างระบบรถไฟความเร็วสูง โดยใช้โครงสร้างเดิมของรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เพราะใช้รางรูปแบบเดียวกัน

ในที่สุด รัฐบาลอนุมัติให้ รฟท. ดำเนินโครงการก่อสร้างด้วยวิธีการสรรหาเอกชนเข้ามาร่วมลงทุนและรับผลประโยชน์กับความเสี่ยงในการดำเนินการทั้งหมด (PPP-Net Cost) โดยก่อสร้างส่วนต่อขยายจากรถไฟฟ้าเชื่อมสนามบินสุวรรณภูมิ ทั้งเส้นทางใต้ดินและยกระดับ จากปลายทางด้านทิศตะวันตก (สถานีพญาไท) ให้ก่อสร้างเส้นทางไปยังศูนย์คมนาคมบางซื่อและสนามบินดอนเมือง และจากทิศตะวันออก (สถานีลาดกระบัง) ก่อสร้างเส้นทางไปยังเขตจังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี จนถึงสนามบินอู่ตะเภา สัมปทานทั้งโครงการ 50 ปี

แนวเส้นทางเริ่มต้นจากสนามบินดอนเมืองทางฝั่งทิศเหนือ วิ่งตรงเข้าสู่สถานีกลางบางซื่อโดยไม่จอดรับผู้โดยสารรายทาง และลดระดับลงเป็นรถไฟใต้ดินผ่านพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เลี้ยวขวาวิ่งตามแนวทางรถไฟสายตะวันออก แล้วยกระดับกลับเป็นรถไฟฟ้ายกระดับ เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท ที่สถานีพญาไท เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม ที่สถานีราชปรารภ เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ที่สถานีมักกะสัน เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ที่สถานีหัวหมาก

จากนั้น วิ่งเลียบทางพิเศษระหว่างเมือง กรุงเทพ-ชลบุรี ไปจนถึงย่านลาดกระบัง เลี้ยวขวาเข้าสนามบินสุวรรณภูมิ แล้วลดระดับลงเป็นรถไฟฟ้าใต้ดิน จากนั้นวิ่งย้อนกลับ ยกระดับเป็นรถไฟฟ้ายกระดับ เลี้ยวขวาวิ่งเลียบทางพิเศษระหว่างเมือง กรุงเทพ-ชลบุรี ตามแนวทางรถไฟสายตะวันออกเข้าสู่สถานีรถไฟชุมทางฉะเชิงเทรา เชื่อมต่อกับสายแยกแก่งคอย-คลอง 19-ฉะเชิงเทรา เพื่อมุ่งหน้าไปยังสายอีสาน

แนวเส้นทางจะเบี่ยงตามแนวทางรถไฟสายตะวันออกเลียบชายฝั่ง เข้าสู่สถานีรถไฟชลบุรี เชื่อมท่าเรือแหลมฉบังที่สถานีรถไฟชุมทางศรีราชา เชื่อมกับเมืองพัทยาด้วยรถไฟฟ้าโมโนเรลที่สถานีรถไฟเมืองพัทยา แล้ววิ่งตามแนวทางรถไฟสายตะวันออกเลียบชายฝั่งจนถึงช่วงเขาชีจรรย์ แนวเส้นทางจะเบี่ยงออกจากแนวเส้นทางรถไฟเดิมเพื่อตีโค้งเข้า จ.ระยอง แล้วเลี้ยวขวาเข้าสนามบินอู่ตะเภา

จากนั้นวิ่งย้อนกลับแล้วเลี้ยวขวาวิ่งไปตามแนวทางรถไฟสายตะวันออกเลียบชายฝั่งอีกครั้ง ผ่าน จ.ระยอง และสิ้นสุดเส้นทางทั้งโครงการที่ จ.ตราด รวมระยะทางทั้งโครงการกว่า 300 กิโลเมตร

6 ปีผ่านไป ไฮสปีดเทรนเชื่อม 3 สนามบินกำลังเป็นจริง และถือเป็นส่วนหนึ่งของโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนทางราง คุนหมิง-สิงคโปร์ สาย Eastern Route ที่จะเชื่อมประเทศกลุ่ม CMLV เป็นผืนแผ่นเดียวกันด้วย



ซีพีธนินท์ เจียรวนนท์เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี)CPการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.)ไฮสปีดเทรนSmart Cityhigh speed trainสมาร์ทซิตี้คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.)โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา)บริษัท เจริญโภคภัณฑ์ โฮลดิ้งพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 22/05/2019 4:35 am    Post subject: Reply with quote

มีรัฐบาลใหม่รถไฟไทย-จีนไม่สะดุด
INNNEWS
Published on May 21, 2019


https://www.youtube.com/watch?v=3CnTC6UM6Tw
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 22/05/2019 10:17 am    Post subject: Reply with quote

เหตุผล 15 ข้อที่ “รถไฟความเร็วสูง” จะเปลี่ยนชีวิตการเดินทางของเรา
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: อังคารที่ 21 พฤษภาคม 2562 เวลา 17:08
ปรับปรุง: อังคารที่ 21 พฤษภาคม 2562 เวลา 17:49




ลองนั่งคิดเล่นๆ ว่า...รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน เกิดขึ้นจริงในเมืองไทย จะทำให้ชีวิตเราเปลี่ยนไปอย่างไร?

1. ตรงเวลา : ไม่ว่าเทศกาลอะไร รถไฟก็วิ่งตรงเวลา ไม่ต้องกลัวรถติด รถไฟยิ่งวิ่งเร็ว ยิ่งต้องการรักษาเวลา ต่างประเทศเขาบริหารกันเป็นวินาที ด้วยระบบอาณัติสัญญาณอัตโนมัติมาตรฐานโลก

2. คุ้มค่าพลังงาน : สามารถบรรทุกผู้โดยสารได้มากกว่าเครื่องยนต์และเครื่องบินรวมกัน เปรียบเทียบแล้วนับว่าสิ้นเปลืองพลังงานน้อยมาก ทั้งยังใช้พลังงานสะอาด

3. ประสานเครือข่ายคมนาคม เชื่อมเมืองหลัก-เมืองรอง : เชื่อมระหว่างเมืองกับเมือง-เชื่อมเมืองหลักสู่เมืองรอง กระตุ้นเศรษฐกิจเมืองรอง ส่งผลดีต่อเศรษฐกิจทั้งประเทศ รถแท็กซี่เมืองรอง สองแถว มอเตอร์ไซค์ จะมีลูกค้าเยอะขึ้นหลายเท่า อาหารการกินจะมีดีมานด์สูง

4. กระจายความแออัดจากกรุงเทพฯ : ภายใน 10 ปี ระยอง ชลบุรี จะมีความเจริญไม่ต่างจากกรุงเทพฯ ขนาดกรุงเทพฯ บวกอีอีซี จะเทียบเท่าเมืองใหญ่ๆ ในโลก เมื่อตลาดใหญ่ขึ้น คนก็มาลงทุนมากขึ้น

5. ความปลอดภัยสูง : Autonomous Train แบบไม่มีคนขับ ด้วยระบบอาณัติสัญญาณ คนขับแค่นั่งอยู่เผื่อกรณีฉุกเฉิน

6. สร้างงาน สร้างอาชีพให้คนไทย : การบริการ บริหาร รวมไปถึงการบำรุงรักษา (Maintenance) ขบวนรถไฟ สถานีและเครือข่ายราง จะสร้างงานให้คนในประเทศเพิ่มขึ้น ทั้งยังจะทำให้เกิดหลักสูตรใหม่ ๆ ในสถาบันการศึกษาต่างๆ ของไทย ทั้งระดับวิชาชีพ และอุดมศึกษา ผ่านรูปแบบของ Technology Transfer

7. ธุรกิจบนมือถือ : จองทุกอย่างได้ในมือถือ เช็กเวลา จองตั๋ว ได้หมด

8. คิดแบบ Universal Design : ออกแบบรองรับผู้พิการและกลุ่มเปราะบาง เพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงและใช้บริการได้อย่างสะดวก

9. ใช้หลักปลอดภัยสูงสุด : Crisis Room บริหารงาน 24 ชั่วโมง ป้องกันเหตุ และตอบสนองว่องไว

10. ไม่สะดุดเวลาโดยสาร : ขณะนั่งรถไฟสามารถพักผ่อน หรือทำงานไปด้วยได้ โดยแทบจะไม่รู้สึกว่าเรากำลังเดินทางด้วยความเร็วหลายร้อยกิโลเมตรต่อชั่วโมง เพราะรางมีแรงเสียดทานต่ำ

11. การท่องเที่ยวเติบโต : เพราะคนโดยสารเยอะ การจับจ่ายก็เยอะ การท่องเที่ยวก็เกิด อย่างในอิตาลี พอมีรถไฟ รายได้เมืองท่องเที่ยวโตขึ้นหลายเท่า

12. เชื่อมโยงสู่ทุกภูมิภาค : หากรถไฟเชื่อมเหนือ ใต้ ออก ตก ไปยังประเทศเพื่อนบ้าน การเป็นฮับจะเป็นเรื่องจริง

13. แอร์พอร์ตลิ้งค์ในรูปโฉมใหม่ : ด้วยจำนวนขบวนรถที่เพิ่มขึ้น ที่จอดรถที่เพียงพอ

14. ไปสนามบินแบบไร้รอยต่อ : ช่วยกระจายนักท่องเที่ยวไปทุกสนามบิน รองรับนักท่องเที่ยวได้มากขึ้น

15. ดึงดูดนักลงทุนทั่วโลก : โดยรถไฟครั้งนี้จับมือนานาชาติ ร่วมลงทุน ทำให้ทั่วโลกน่าจะเชื่อมั่นว่า ประเทศไทยเหมาะที่จะมาลงทุน เพราะทั้งญี่ปุ่น อิตาลี ยุโรปอีกหลายประเทศ เกาหลี จีน ต่างก็มาร่วมลงทุนทำโครงการ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 22/05/2019 10:36 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
มีรัฐบาลใหม่รถไฟไทย-จีนไม่สะดุด
INNNEWS
Published on May 21, 2019


https://www.youtube.com/watch?v=3CnTC6UM6Tw


มี”รัฐบาลใหม่”รถไฟไทย-จีนไม่สะดุด
อังคารที่ 21 พฤษภาคม 2562 เวลา 21:35

โครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีนเส้นทาง กรุงเทพ-หนองคาย เป็นโครงการเมกะโปรเจกต์ของกระทรวงคมนาคม ในความรับผิดชอบของการรถไฟแห่งประเทศไทย เป็นความร่วมมือระหว่างไทย และจีน ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพมหานคร – หนองคาย หรือ โครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน สายตะวันออกเฉียงเหนือ เชื่อมโยงการค้า การลงทุนกับประเทศเพื่อนบ้าน






ซึ่งปัจจุบันไทยและจีนได้มีการเจรจาหารือข้อตกลงร่างสัญญา 2.3 งานระบบราง ระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมทั้งจัดหาขบวนรถไฟและฝึกอบรมบุคลากร ร่วมกันแล้วสำหรับโครงการดังกล่างมีความคืบหน้าตามลำดับโดยระยะที่1เส้นทางกรุงเทพ-นครราชสีมา ระยะทาง 252 กิโลเมตรวงเงินลงทุน 1.75 แสนล้านบาท แบ่งสัญญาก่อสร้างเป็น 14 สัญญา สัญญาแรก ระยะทาง 3.5 กม. ช่วงกลางดง-ปางอโศก คืบหน้า 48% กรมทางหลวงเป็นผู้ก่อสร้าง สัญญาที่ 2-1 ช่วงสีคิ้ว-กุดจิก ระยะทาง 11 กิโลเมตร อยู่ระหว่างการก่อสร้าง ส่วนที่เหลือ 12 สัญญาได้แบ่งการประมูลเป็น 2กลุ่มโดยเริ่ม 5 สัญญา ก่อนซึ่งล่าสุดได้ตัวเอกชนแล้ว 2 สัญญา ส่วนอีก 3 สัญญาจะมีการเร่งประมูลให้ได้ตัวเอกชนภายในเดือน พฤษภาคมนี้ และส่วนของกลุ่มสุดท้ายอีก 7 สัญญา รฟท.จะเร่งประมูลในปีนี้เพื่อดำเนินการก่อสร้างต่อไป





ขณะที่ ช่วงที่ 2 นครราชสีมา – หนองคาย ระยะทาง 335 กิโลเมตร อยู่ในขั้นตอนการศึกษาออกแบบในรายละเอียด โดยใช้งบประมาณ 751 ล้านบาท แบ่งเป็น จากงบกลางปี 2562 จำนวน 112ล้านบาท และงบต่อเนื่องปี 2563 จำนาน 638 ล้านบาท จะใช้เวลาออกแบบประมาณ 6-8 เดือน จากนั้นประมาณต้นปี 2563 จะเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.)รับทราบ และช่วงกลางปี 2563 จะเริ่มก่อสร้าง ตามแผนงานโครงการช่วงที่1และ2จะแล้วเสร็จในปี 2566




อย่างไรก็ตาม ล่าสุดนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมได้ออกมาระบุถึงโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีนว่า โครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีนจะไม่ได้รับผลกระทบภายหลังรัฐบาลชุดใหม่เริ่มปฏิบัติหน้าที่เนื่องจากมีการกำหนดแผนการไว้ทั้งหมดแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการเจรจากับจีน หรือ ค่าก่อสร้าง ตลอดจนกำหนดการเปิดประมูล ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวในภาพรวมมีความคืบหน้าที่น่าพึงพอใจ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 23/05/2019 9:42 am    Post subject: Reply with quote

รถไฟไทย-จีนรอรัฐบาลใหม่เคาะแสนล.
พร็อพเพอร์ตี้
วันพฤหัสบดีที่ 23 พฤษภาคม 2562 เวลา 09:10 น.

รัฐบาลทหารรูดม่านประมูลรถไฟไทย-จีนเคาะไม่ทัน ยกขบวนกว่า 1 แสนล้านให้รัฐบาลใหม่ประทับตรา เผยผลคืบหน้า 3 สัญญา “รายกลาง-ยูนิคฯ” ปาดหน้าขาใหญ่ซิวเค้ก หั่นราคา 15-16% ร.ฟ.ท.ฟุ้งรับเหมาหั่นราคา 5 สัญญา ประหยัดเงินได้เฉียด 1 หมื่นล้าน ปลาย พ.ค. คลอด TOR อีก 6 สัญญา ขอ ครม.เลื่อนเซ็นสัญญางานระบบมูลค่ากว่า 5 หมื่นล้าน

แหล่งข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า มีความเป็นไปได้สูง งานประมูลโครงการรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา หรือรถไฟไทย-จีน ระยะทาง 253 กม. วงเงิน 179,413 ล้านบาท ยังเหลือ 12 สัญญา วงเงินกว่า 1 แสนล้านบาท จะเซ็นสัญญาไม่ทันภายในรัฐบาลปัจจุบัน

“ตามระเบียบการประมูล e-Bidding ถึงได้ผู้เสนอราคาต่ำสุดแล้ว ต้องมีกระบวนการตรวจสอบคุณสมบัติ เทคนิคอีก จึงจะประกาศผลผู้ชนะได้”

ปัจจุบันกำลังตรวจสอบผลประมูล 2 สัญญา ได้แก่ ช่วงนวนคร-บ้านโพ 23 กม. ราคากลาง 13,293 ล้านบาท มีกลุ่มกิจการร่วมค้า บจ.ไชน่า สเตท คอนสตรัคชั่น เอ็นจิเนียริ่งคอร์ปอเรชั่น, บมจ. เนาวรัตน์พัฒนาการ และ บจ.เอ.เอส. แอสโซซิเอท เอนยิเนียริ่ง (1964) เป็นผู้เสนอราคาต่ำสุด 11,525 ล้านบาท ต่ำกว่าราคากลาง 1,768 ล้านบาท หรือ 13.30%

สัญญาช่วงดอนเมือง-นวนคร 21.80 กม. ราคากลาง 10,917 ล้านบาท มีกลุ่มกิจการร่วมค้า บจ. ซิโนไฮโดร บจ.สหการวิศวกร และ บจ. ทิพากร เสนอราคาต่ำสุด 8,626 ล้านบาท ต่ำกว่าราคากลาง 2,291 ล้านบาท หรือ 20.98%

สำหรับผลประมูล 3 สัญญา รวม 99.26 กม. วงเงิน 33,958 ล้านบาท เปิดยื่นเสนอราคาวันที่ 14 พ.ค.ที่ผ่านมา ประกอบด้วย 1.ช่วงแก่งคอย-กลางดง และปางอโศก-บ้านม้า 30.21 กม. เป็นงานระดับดิน 10.18 กม. และยกระดับ 20.03 กม. วงเงิน 11,064 ล้านบาท

มียื่น 6 ราย ได้แก่ บมจ.ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น, กิจการร่วมค้าทีพี (ทิพากร-พีซีอีที), กิจการร่วมค้า ITD และ CREC (อิตาเลียนไทยฯ-ไชน่าเรลเวย์ฯ นับเบอร์ 10 เอ็นจิเนียริ่ง กรุ๊ป), บจ.บีพีเอ็นพี, บจ.ไทยเอ็นจิเนียริ่งและกิจการร่วมค้าทีบีบีที (บุรีรัมย์ก่อสร้าง-ทีบีทีซี) โดย บจ.ไทยเอ็นจิเนียริ่ง เสนอราคาต่ำสุด 9,330 ล้านบาท ต่ำกว่าราคากลาง 15.7% หรือ 1,736 ล้านบาท

2.ช่วงลำตะคอง-สีคิ้ว และกุดจิก-โคกกรวด 37.45 กม. เป็นงานระดับดิน 14.12 กม. และยกระดับ 23.33 กม. วงเงิน 11,656 ล้านบาท มียื่น 6 ราย ได้แก่ บมจ.ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น, กิจการร่วมค้าทีพี (ทิพากร-พีซีอีที), บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์, บจ.บีพีเอ็นพี (BINA จากมาเลเซีย-นภาก่อสร้าง), กิจการร่วมค้าไทยเอ็นจิเนียริ่งและไชน่าเรลเวย์ คอนสตรัคชั่น (CRCC) และกิจการร่วมค้าทีบีบีที (บุรีรัมย์ก่อสร้าง-ทีบีทีซี) โดย บจ.บีพีเอ็นพี เสนอราคาต่ำสุด 9,788 ล้านบาท ต่ำกว่าราคากลาง 16% หรือ 1,864 ล้านบาท

และ 3.ช่วงพระแก้ว-สระบุรี 31.60 กม.เป็นงานระดับดิน 7.02 กม. และยกระดับ 24.58 กม. วงเงิน 11,240 ล้านบาท มียื่นซอง 8 ราย ได้แก่ บมจ.ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น, กิจการร่วมค้าเอ็นเอ (เอ.เอส. แอสโซซิเอท-เนาวรัตน์พัฒนาการ), กิจการร่วมค้าทีซี (ทิพากร-ไชน่าฮาร์เบอร์ เอ็นจิเนียริ่ง), บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์, บมจ.ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น, บจ.ไทยเอ็นจิเนียริ่ง, บจ.บุญชัยพาณิชย์และกิจการร่วมค้าทีบีบีที (บุรีรัมย์ก่อสร้าง-ทีบีทีซี) โดย บมจ.ยูนิคฯเสนอราคาต่ำสุด 9,429 ล้านบาท ต่ำกว่าราคากลาง 16.1% หรือ 1,809 ล้านบาท

“กำลังตรวจคุณสมบัติ จะประกาศผลผู้ชนะได้น่าจะอีกพักใหญ่ เพราะเอกสารค่อนข้างมาก อย่างไรก็ตาม จากการที่ผู้รับเหมา 5 สัญญา ยื่นต่ำกว่าราคากลาง ทำให้ประหยัดเงิน 9,468 ล้านบาท อีก 7 สัญญาที่เหลือจะประกาศร่างทีโออาร์ 6 สัญญา ช่วงปลายเดือน พ.ค.นี้ เปิดยื่นซองเดือน มิ.ย.”

อีก 7 สัญญา ค่าก่อสร้างเฉลี่ยสัญญาละ 10,000 ล้านบาท ได้แก่
1.อุโมงค์มวกเหล็ก-ลำตะคอง
2.บันไดม้า-ลำตะคอง
3.โคกกรวด-นครราชสีมา
4.บางซื่อ-ดอนเมือง
5.งานก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุงเชียงรากน้อย
6.บ้านโพ-พระแก้ว และ
7.สระบุรี-แก่งคอย

สำหรับสัญญา 2.3 งานระบบราง ระบบไฟฟ้าและเครื่องกล ซึ่งต้องใช้เทคโนโลยีจากจีน ผลการเจรจาล่าสุดมีนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเป็นประธาน ฝ่ายจีนลดราคาจาก 51,000 ล้านบาท เหลือ 50,600 ล้านบาท เกินจากกรอบ ครม.ที่อนุมัติไว้ 38,558 ล้านบาท เพราะมีโยกงานโยธามาไว้ในสัญญานี้ และเปลี่ยนขบวนรถให้ทันสมัย จะเสนอ ครม.อนุมัติเพื่อเซ็นสัญญาเร็ว ๆ นี้ เลื่อนจากเดิมกำหนดเดือน เม.ย.ที่ผ่านมา ซึ่งในสัญญานี้นอกจากจะซื้อระบบแล้ว จะมีการใช้เงินกู้บางส่วนจากจีนด้วย
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 319, 320, 321 ... 542, 543, 544  Next
Page 320 of 544

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©