RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311232
ทั่วไป:13179803
ทั้งหมด:13491035
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวแผนโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่งของประเทศ 2558-65
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวแผนโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่งของประเทศ 2558-65
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 100, 101, 102 ... 121, 122, 123  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 15/05/2019 8:18 pm    Post subject: Reply with quote

ทางคู่สายใหม่ ระยอง-จันทบุรี-ตราด เอาไว้ขนทุเรียน (ผลผลิตทางการเกษตร) ทำได้จริงๆรึเปล่า? มีประโยชน์มากขนาดไหน

วันนี้มาพูดเรื่องรถไฟสายตะวันออก ตราด และ
ทะลุยปเกาะกง อย่างที่เคยโพสต์ไว้ก่อนหน้านี้

ลิ้งค์โพสต์เดิม https://www.facebook.com/491766874595130/posts/654028871702262?s=1160002750&v=i&sfns=mo

แต่ตอนนี้ขอพูดเรื่อง การใช้งานในการขนทุเรียนและผลผลิตทางการเกษตร ว่ามันมีประโยชน์จริงๆมั้ย

ก่อนอื่นผมอยากให้ทุกคนตั้งสมมติฐาน เรื่องการเชื่อมต่อระหว่างรถไฟไทย-ลาว-จีน ที่หนองคาย เพื่อทำศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้าระหว่าง ราง 1 เมตร และรางมาตรฐาน ซึ่งเท่ากับ สินค้าไทยเราจะเชื่อมต่อกับจีนตอนใต้ภายใน 24 ชั่วโมง และเข้าจีนชั้นในภายใน 48-72 ชั่วโมง

ดังนั้น ถ้าตามข่าว จะมองการขนส่งสินค้าทางการเกษตรที่ต้องการความสดและต้องการการขนส่งด้วยความเร็ว ระดับหนึ่ง (ภายใน 1 สัปดาห์) การเชื่อมโยงภาคตะวันออก ไปท่าเรือ เพื่อขนไปจีน ผมมองว่าเป็นเรื่องที่อาจจะไม่ตอบโจทย์

แต่ที่น่าสนใจมากกว่า คือการขนส่งสินค้าจากระยอง-จันทบุรี ไปจีนโดยตรง ซึ่งไปเปลี่ยนรถไฟสินค้าจีนตรงดิ่งเข้าจีนภายใน 3 วัน ทำให้สินค้าของเรามีคุณภาพ และส่งสินค้าได้หลากหลาย มากขึ้น รวมถึงผลไม้ที่เสียง่าย

ต่อไปเราอาจจะเห็นรถไฟผลไม้ ระยอง-หนองคาย, ชุมพร-หนองคาย โอ๊ย อยากให้ถึงวันนั้นไวๆ ครับ

อีกส่วนของเส้นทาง คือการทำทางลัด จากชุมทางศรีราชา ผ่านปลวกแดง ซึ่งบริเวณนั้นคือแหล่งนิคม ของประเทศเลย ตั้งแต่ อมตะซิตี้, Eastern Seaboard, ปิ่นทอง และอีกหลายนิคม ซึ่งควรจะมี ICD ขนส่งสินค้าไปส่งแหลมฉบัง เพื่อลดภาระของถนน 331 เชื่อม Eastern Seaboard - แหลมฉบัง และทางรถไฟจะไปบรรจบกับสายเดิมที่ ระยอง-มาบตาพุด และต่อไป จันทบุรี-ตราด ตามแผนที่อธิบายไว้ครับ

ดังนั้น สายนี้จะส่งเสริม การพัฒนาทั้ง EEC และ จังหวัดภาคตะวันออกได้เต็มที่จริงๆ

สำหรับ ความสำคัญของสายทางในยุทธศาสตร์ต่างๆ อยู่ในระดับสูงมาก

ในแผนรวมการพัฒนาระบบรางของ สนข. จะถูกจัดอยู่ในแผนระยะยาว อาจจะได้เริ่มสร้าง ช่วงปี 68-70

แต่ในแผนของ EEC ถูกจัดให้เริ่มในระยะที่ 2 ซึ่ง อาจจะได้เห็นโครงการนี้ดึงมาศึกษาและสร้างก่อนในช่วง ปี 65 ได้ครับ

ลิ้งค์แผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน EEC: แผนปฏิบัติการการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
รองรับการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก


สรุปนะครับ เส้นทางนี้ผมสนับสนุนเต็มที่ และการขนผลไม้ไม่ขายจีนไม่ใช่เรื่องเล่นๆ ที่พูดมาเล่นๆเพื่อเป็นข้ออ้างในการเริ่มโครงการ แต่เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้จริง และไม่อยากให้มองแค่ ผลไม้ภาคตะวันออกไปส่งท่าเรือแหลมฉบัง แต่สามารถส่งผ่านเครือข่าย ไทย-ลาว-จีน ไปส่งถึงเมืองจีนได้ภายใน 3-4 วัน ซึ่งสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับสินค้าทางการเกษตรของไทยได้อีกมหาศาล

—————————————————————-

ลิ้งค์ข่าว
https://www.facebook.com/491766874595130/posts/660688624369620?sfns=mo
https://www.thebangkokinsight.com/140262/
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 17/05/2019 10:23 am    Post subject: Reply with quote

สนข. วางระบบขนส่งสาธารณะเมืองอีอีซีเชื่อมสถานี”ไฮสปีด-ทางคู่“
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 16 พฤษภาคม 2562 เวลา 18:13



สนข. ศึกษาจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะพื้นที่จังหวัด EEC เพื่อรองรับการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก เชื่อมเขตชุมชน แหล่งท่องเที่ยว แหล่งอุตสาหกรรม และเมืองใหม่ กับสถานีรถไฟทางคู่ และไฮสปีด

สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ได้จัดประชุมสัมมนาและรับฟังความคิดเห็น ครั้งที่ 1 โครงการศึกษาจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะกลุ่มจังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง เพื่อรองรับการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก โดยมีเรือโทศตวรรษ อนันตกูล รองผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี เป็นประธานซึ่งมีผู้แทนจากจังหวัดชลบุรี จังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดระยอง หน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน เข้าร่วมการประชุมสัมมนา จำนวนประมาณ 120 คน เพื่อเผยประชาสัมพันธ์และรับฟังข้อคิดเห็นตลอดจนข้อเสนอแนะจากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาและการขับเคลื่อนไปสู่การปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรมในอนาคตต่อไป

ทั้งนี้ เนื่องจาก จังหวัดชลบุรี ถือเป็นจังหวัดหนึ่งในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ซึ่งเป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในภูมิภาคอาเซียน ทั้งในเชิงงบประมาณ และขนาดพื้นที่ รัฐบาลได้กำหนดเป้าหมายในการพัฒนาพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกด้วยการวางแผนลงทุนปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน ระบบโลจิสติกส์ และการลงทุนขนาดใหญ่ของภาคเอกชน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง 4 โครงการหลักที่รัฐบาลจะเร่งรัดการก่อสร้างให้เห็นผลเป็นรูปธรรมเร็วที่สุด

ประกอบด้วย
1. โครงการขยายท่าอากาศยานอู่ตะเภา
2.โครงการรถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมต่อ 3 สนามบิน
3. โครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ท่าเรือสัตหีบ และท่าเรือมาบตาพุด และ
4. โครงการรถไฟทางคู่สายภาคตะวันออกที่จะต่อไปถึงจังหวัดระยอง จันทบุรีและตราดในอนาคต

นอกจากนี้ยังมีโครงการพัฒนาอื่นๆ อีกหลายโครงการที่จะเกิดขึ้นตามมาในพื้นที่ 3 จังหวัดในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก จึงส่งผลให้เมืองมีการเจริญเติบโตไปอย่างรวดเร็ว ประกอบกับมีการใช้ประโยชน์พื้นที่สองข้างทางหนาแน่น ซึ่งการเดินทางส่วนใหญ่ของประชาชนในพื้นที่เป็นการเดินทางโดยรถยนต์ส่วนบุคคล เนื่องจากระบบขนส่งสาธารณะที่ให้บริการในพื้นที่มีอยู่อย่างจำกัด อีกทั้งในการขนส่งสินค้ายังคงพึ่งพาระบบการขนส่งทางถนนเป็นหลัก ในขณะที่ความสามารถการรองรับของถนนมีอยู่อย่างจำกัด จึงทำให้เกิดปัญหาการจราจรคับคั่ง และความแออัดในการสัญจรในเขตเมืองและแหล่งอุตสาหกรรมต่างๆ

ซึ่งที่ประชุมครั้งที่ 2/2560 เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2560 คณะกรรมการนโยบายการพัฒนาพื้นที่ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก มีมติเห็นชอบให้ สนข. เป็นผู้รับผิดชอบหลักในการจัดทำแผนพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะ รวมถึงการพัฒนาระบบขนส่งระบบรองของเมืองพัทยา เพื่อเชื่อมสถานีรถไฟความเร็วสูง ภายใต้แผนปฏิบัติการโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคม ตามแผนงานการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก

โดยสนข.ได้ดำเนินการศึกษาจัดทำแผนแม่บท การพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะกลุ่มจังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง เพื่อรองรับการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก โดยมีแนวคิดที่สำคัญในการคัดเลือกระบบขนส่งสาธารณะที่เหมาะสม ประกอบด้วย

1. สอดคล้องกับปริมาณความต้องการในการเดินทางของประชาชน
2. ระบบต้องมีค่าลงทุน ค่าดำเนินการ และค่าบำรุงรักษา ที่เหมาะสม
3. สอดคล้องกับสภาพพื้นที่ทางกายภาพ มีประสิทธิภาพ (Transport Efficiency) เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Transport) และทุกคนสามารถเข้าถึงได้อย่างเสมอภาคและเท่าเทียม (Inclusive Transport)
4. ส่งเสริมให้ท้องถิ่นและเอกชนเข้ามาร่วมลงทุน
5. สามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม

ทั้งนี้ สนข. ได้กำหนดเป้าหมายของโครงการให้ได้แผนพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะในระดับภูมิภาคและระดับเขตเมืองในพื้นที่กลุ่มจังหวัด ที่สามารถเชื่อมโยงจุดสำคัญของการเดินทางทั้งเขตชุมชน แหล่งท่องเที่ยว แหล่งอุตสาหกรรม และเมืองใหม่ ให้เข้ากับโครงสร้างพื้นฐานที่จะเกิดขึ้นตามนโยบายของรัฐบาลในอนาคตแบบไร้รอยต่อ และต้องตอบสนองการใช้งานในชีวิตประจำวันของคนในพื้นที่ 3 จังหวัด
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 19/05/2019 11:27 pm    Post subject: Reply with quote

ร.ท.ยุทธนา ยังบอกอีกว่า นอกจากจะมุ่งเน้นการสานต่อนโยบายการทำงานของอดีตผู้อำนวยการท่าเรือแหลมฉบัง ที่วางไว้แล้ว ยังเร่งผลักดันโครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังในโครงการเร่งด่วนต่างๆ ให้แล้วเสร็จตามเป้าหมายที่กำหนด เช่น การดูแลสัญญาท่าเทียบเรือต่างๆ ตาม พ.ร.บ.ร่วมทุน ทั้งท่าเทียบเรือ B2- B3-B4 ที่กำลังจะหมดสัญญาในปีหน้า แต่ขณะนี้ยังไม่สามารถหาผู้ประกอบการรายใหม่เข้าดำเนินการได้ รวมทั้งสัญญาของอู่ต่อเรือยูนิไทย ที่ใกล้หมดอายุสัมปทาน

เช่นเดียวกับโครงการขนส่งตู้สินค้าทางรถไฟ หรือ SRTO ที่ปัจจุบันสร้างเสร็จแล้ว แต่ยังไม่ได้เปิดดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม และโครงการพัฒนาท่าเรือชายฝั่ง ที่สร้างเสร็จแล้วแต่ก็ยังไม่สามารถเปิดดำเนินการได้เพราะต้องรออุปกรณ์และเครื่องมือบางส่วนที่ต้องนำเข้ามาใช้ในโครงการ
https://mgronline.com/local/detail/9620000047703
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 21/05/2019 1:40 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
ร.ท.ยุทธนา ยังบอกอีกว่า นอกจากจะมุ่งเน้นการสานต่อนโยบายการทำงานของอดีตผู้อำนวยการท่าเรือแหลมฉบัง ที่วางไว้แล้ว ยังเร่งผลักดันโครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังในโครงการเร่งด่วนต่างๆ ให้แล้วเสร็จตามเป้าหมายที่กำหนด เช่น การดูแลสัญญาท่าเทียบเรือต่างๆ ตาม พ.ร.บ.ร่วมทุน ทั้งท่าเทียบเรือ B2- B3-B4 ที่กำลังจะหมดสัญญาในปีหน้า แต่ขณะนี้ยังไม่สามารถหาผู้ประกอบการรายใหม่เข้าดำเนินการได้ รวมทั้งสัญญาของอู่ต่อเรือยูนิไทย ที่ใกล้หมดอายุสัมปทาน

เช่นเดียวกับโครงการขนส่งตู้สินค้าทางรถไฟ หรือ SRTO ที่ปัจจุบันสร้างเสร็จแล้ว แต่ยังไม่ได้เปิดดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม และโครงการพัฒนาท่าเรือชายฝั่ง ที่สร้างเสร็จแล้วแต่ก็ยังไม่สามารถเปิดดำเนินการได้เพราะต้องรออุปกรณ์และเครื่องมือบางส่วนที่ต้องนำเข้ามาใช้ในโครงการ
https://mgronline.com/local/detail/9620000047703


ศูนย์ขนส่งตู้สินค้าทางรางอืด-ทลฉ.ปรับ TOR ยืดสัญญาจ้างเอกชน
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันจันทร์ ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2562, 08:33
ปรับปรุง: วันจันทร์ ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2562, 09:57




ทลฉ.เร่งปรับ TOR ประมูลจ้างเอกชนบริหาร SRTO หลังบอร์ด กทท.เคาะยืดสัญญาจาก 1 ปีเป็น 5 ปี หวั่นจ้างสั้นเอกชนเมิน ยอมรับค่าภาระ 376 บาท/ตู้ต่ำมาก หากประมูลเหลวต้องปรับเพิ่ม โอดเปิดใช้ตั้งแต่ปี 61 มีสินค้าแค่ 1 หมื่นตู้/เดือน แถมแบกค่าโอทีพนักงานเดือนละ 3 แสนบาท

เรือโท ยุทธนา โมกขาว ผู้อำนวยการท่าเรือแหลมฉบัง (ทลฉ.) การท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ ทลฉ.ได้เร่งปรับปรุงทีโออาร์ในการประมูลจ้างเอกชนดำเนินงานยกตู้สินค้าขึ้นลงรถไฟและเคลื่อนย้ายสินค้าภายใต้โครงการพัฒนาศูนย์กลางการขนส่งตู้สินค้าทางรถไฟ (Single Rail Transfer Operator : SRTO) หลังจากคณะกรรมการ (บอร์ด) กทท.ได้เห็นชอบขยายระยะเวลาจ้างจาก 1 ปี เป็น 5 ปี เพื่อให้เกิดความคุ้มค่ามากขึ้นและจูงใจให้เอกชนเข้าร่วมประมูล โดยกำหนดอัตราค่าภาระไว้ที่ 376 บาทต่อตู้ คาดว่าจะประมูลและได้ตัวผู้รับจ้างใน 3 เดือน

โครงการ SRTO กทท.ลงทุนก่อสร้างและจัดหาเครื่องมือเอง โดยก่อสร้างแล้วเสร็จและเปิดดำเนินการมาตั้งแต่เดือน ก.ค. 2561 แล้วแต่ยังไม่สามารถจัดจ้างเอกชนเข้ามาดำเนินการได้ กทท.ต้องให้บริการยกตู้สินค้าและขนส่งเอง โดยใช้พนักงานจากท่าเรือกรุงเทพ จำนวน 6 คน มาดำเนินการควบคุมเครื่องมือ ได้แก่ ปั้นจั่นยกตู้สินค้าชนิดเดินบนรางคร่อมรางรถไฟ (RMG) และรถคานเคลื่อนที่ยกตู้สินค้า (RTG) ในลานกองเก็บตู้สินค้า ซึ่งมีภาระค่าล่วงเวลาโอทีถึง 3 แสนบาทต่อเดือน

ส่วนการขนสินค้าไปยังท่าเรือต่างๆ ได้ประสานกับผู้ประกอบการให้เข้ามารับ โดยจากค่าบริการที่ 376 บาทต่อตู้นั้น ทลฉ.ได้รับส่วนแบ่งที่ 65 บาท ส่วนเอกชนที่เข้าขนสินค้าไปส่งได้รับ 312 บาท

สำหรับการจัดหาเอกชนเข้ามาดำเนินการ SRTO นั้นเป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) โดย ทลฉ.กำหนดเงื่อนไขเบื้องต้นให้เอกชนจัดหากำลังประมาณ 100 คนสำหรับควบคุมเครื่องมือยกตู้สินค้า RMG และ RTG รวมถึงจัดหารถหัวลากพร้อมคนขับสำหรับขนตู้สินค้าจากลานไปส่งตามท่าเรือต่างๆ ซึ่งโครงการ SRTO ได้ออกแบบสำหรับรองรับตู้สินค้า 2 ล้านตู้/ปี

ทั้งนี้ ครม.มีมติอนุมัติค่าภาระ SRTO ในอัตราขั้นต่ำ 376 บาท และขั้นสูงไม่เกิน 835 บาท ต่อตู้สินค้าทุกขนาดและทุกสถานภาพ ซึ่งในปีแรกให้เก็บในอัตราขั้นต่ำที่ 376 บาท ขณะที่ SRTO ได้เปิดดำเนินการมาตั้งแต่เดือน ก.ค. 2561 แล้ว ดังนั้น หลังเปิดประมูลหากไม่มีเอกชนยื่นประมูลอาจจะต้องเสนอบอร์ด กทท.ปรับค่าภาระให้เหมาะสม เนื่องจากเมื่อเทียบกับค่าบริการที่ผู้ประกอบการอื่นๆ ในท่าเรือแหลมฉบัง เรียกเก็บเฉลี่ย 500 บาทต่อตู้

“ตอนนี้มีข้อจำกัดเพราะมีพนักงานแค่ 6 คน ศักยภาพรองรับสินค้าได้จำกัด ปัจจุบันจึงมีปริมาณตู้สินค้าประมาณ 1 หมื่นตู้ต่อเดือนเท่านั้น หรือประมาณ 1.2-1.3 แสนตู้ต่อปี ขณะที่ กทท.ต้องแบกภาระค่าล่วงเวลาเดือนละ 3 แสน ตอนนี้รอว่าเปิดประมูลไปแล้วจะมีเอกชนเข้ามายื่นหรือไม่ หากไม่มีก็อาจจะต้องเสนอบอร์ดขอปรับค่าภาระใหม่”

อย่างไรก็ตาม โครงการ SRTO จะเกิดประโยชน์ต่อการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ที่จะสามารถขนส่งตู้สินค้าจากไอซีดีลาดกระบังไปยัง ทลฉ. ซึ่ง ร.ฟ.ท.ได้กำหนดในสัญญาบริหารไอซีดีลาดกระบัง ว่าจะต้องมีการขนส่งสินค้าทางรางที่สัดส่วน 50% หรือประมาณ 7 แสนตู้ต่อปี จากทั้งหมด 1.4 ล้านตู้ต่อปี โดย ร.ฟ.ท.จะมีรายได้จากค่าเช่าแคร่ ค่าวางตู้ ซึ่ง ร.ฟ.ท.จะเป็นผู้กำหนดอัตราค่าระวางขนส่ง ดังนั้น หากขนส่งสินค้าทางรางได้มากเท่าไร ร.ฟ.ท.จะมีรายได้มากเท่านั้น

สำหรับปริมาณตู้สินค้าท่าเรือแหลมฉบัง ในช่วงไตรมาส 1-2/2562 ยังคงเติบโตในอัตราปกติ 2-3% เมื่อเทียบกับปีก่อน และการนำเข้าส่งออกของไทยยังไม่ได้รับผลกระทบจากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 28/05/2019 1:23 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
ทางคู่สายใหม่ ระยอง-จันทบุรี-ตราด เอาไว้ขนทุเรียน (ผลผลิตทางการเกษตร) ทำได้จริงๆรึเปล่า? มีประโยชน์มากขนาดไหน

วันนี้มาพูดเรื่องรถไฟสายตะวันออก ตราด และ
ทะลุยปเกาะกง อย่างที่เคยโพสต์ไว้ก่อนหน้านี้

ลิ้งค์โพสต์เดิม https://www.facebook.com/491766874595130/posts/654028871702262?s=1160002750&v=i&sfns=mo


ในแผนรวมการพัฒนาระบบรางของ สนข. จะถูกจัดอยู่ในแผนระยะยาว อาจจะได้เริ่มสร้าง ช่วงปี 68-70

แต่ในแผนของ EEC ถูกจัดให้เริ่มในระยะที่ 2 ซึ่ง อาจจะได้เห็นโครงการนี้ดึงมาศึกษาและสร้างก่อนในช่วง ปี 65 ได้ครับ

ลิ้งค์แผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน EEC: แผนปฏิบัติการการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
รองรับการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
A
—————————————————————-


ร.ฟ.ท.เดินหน้าฟังความเห็นชาวจันทบุรี-ตราด สร้างรถไฟรางคู่เชื่อมชลบุรี-ตราด
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: อังคารที่ 28 พฤษภาคม 2562 เวลา 07:59
ปรับปรุง: อังคารที่ 28 พฤษภาคม 2562 เวลา 09:36

Click on the image for full size


ตราด - กลุ่มบริษัทที่ปรึกษาด้านวิศวกรรม การรถไฟแห่งประเทศไทย เปิดเวทีรับฟังความเห็นชาวจันท์-ตราด ในโครงการสร้างทางรถไฟรางคู่เชื่อมสัตหีบ จ.ชลบุรี สู่ อ.คลองใหญ่ จ.ตราด ระยะทาง 300 กม.ชี้หากไม่มีอุปสรรคสามารถดำเนินการได้ใน 10 ปี

วานนี้ ( 27 พ.ค.) กลุ่มบริษัทที่ปรึกษาด้านวิศวกรรม การรถไฟแห่งประเทศไทย นำโดย นางพิมพ์ใจ ยุทธบรรดล ผู้เชี่ยวชาญด้านประชาสัมพันธ์และการมีส่วนร่วมของประชาชน นายธีรวิทย์ สุธาทิพย์ วิศวรกรโยธา และ น.ส.น้ำฝน พามา นักวิทยาศาสตร์ด้านสิ่งแวดล้อม ได้จัดประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นจากชาว จ.ตราด เกี่ยวกับการศึกษาความเหมาะสมโครงการก่อสร้างทางรถไฟรางคู่สายชุมสายศรีราชา-ระยอง มาบตาพุด ระยอง-จันทบุรี-ตราด โดยมีผู้บริหารท้องถิ่นและประชาชนทั้งใน จ.ตราด และจันทบุรี เข้าร่วมกว่า 150 คน

นายธีรวิทย์ สุธาทิพย์ วิศวรกรโยธา เผยว่า เส้นทางรถไฟรางคู่สายศรีราชาที่จะผ่านมายัง จ.ระยอง จันทบุรี และตราด จะมีจำนวน 2 เส้นทาง และมาเชื่อมต่อมาถึง ต.แหลมกลัด ก็จะเหลือเส้นทางรถไฟเพียงเส้นทางเดียวที่จะวิ่งเลียบชายทะเลและภูเขา เนื่องจากเป็นพื้นที่แคบ และจะไปสิ้นสุดที่ด่านศุลกากรคลองใหญ่ โดยมีระยะทางรวมทั้งสิ้น 300 กิโลเมตร และจะมีสถานีจอดทั้งหมด 37 สถานี

นอกจากนั้น ยังจะเสนอเส้นทางเลือกที่จะเชื่อมต่อจาก อ.ขลุง จ.จันทบุรี เพื่อเข้าสู่ จ.ตราด ที่ ต.ประณีต รวมทั้งเส้นทางรถไฟเชื่อมต่อจาก ต.แสนตุ้ง มุ่งสู่ อ.เมืองตราด ที่จะมีสถานีเมืองตราดอยู่ที่บริเวณไอยรารีสอร์ท และบ้านโพรงตะเข้ เพื่อเป็นทางเลือกให้แก่ประชาชนได้ตัดสินใจว่าจะเห็นด้วยหรือไม่ ซึ่งขณะนี้ค่าก่อสร้างยังไม่สามารถระบุชัดเจนได้ เพราะยังมีขั้นตอนการดำเนินการต่างๆ อีกมาก รวมทั้งระยะเวลาในการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการในแต่ละเส้นทางที่จะต้องใช้เวลาอย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 3 เดือน

“และยังต้องดูอีกว่าแต่ละเส้นทางคุ้มค่าต่อการลงทุนหรือไม่ และหากคุ้มค่าก็จะต้องมีการออกแบบในรายละเอียดของแต่ละแบบที่เลือกไวอีก รวมทั้งการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่จะต้องใช้เวลาอีก 2 ปี และเมื่อได้งบประมาณแล้วก็ต้องจัดทำการประมูล โดยคาดว่าระยะเวลาดำเนินการของโครงการทั้งหมดรวมทั้งเวลาในการก่อสร้างจะใช้เวลานานถึง 10 ปี” นายธีรวิทย์ กล่าว

ขณะที่ นายจอมศักดิ์ ภูติรัตน์ ประธานหอการค้าจังหวัดจันทบุรี เผยว่า เส้นทางรถไฟทางคู่มีประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่ภาคตะวันออก เพราะนอกจากจะช่วยลดค่าขนส่งให้แก่นักลงทุนแล้ว ยังช่วยลดค่าโดยสารให้แก่ประชาชน ส่วนสุดท้ายแล้วจะสรุปที่เส้นทางใดก็จะต้องคำนึงถึงผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมเป็นสำคัญด้วย โดยที่น่าเป็นห่วงคือเรื่องระยะเวลาในการดำเนินการที่ไม่รู้ว่าจะแล้วเสร็จเมื่อใด และใช้งบประมาณมากแค่ไหน ซึ่งเรื่องนี้ภาครัฐจะมองในเรื่องของความคุ้มทุนเป็นหลัก

เช่นเดียวกับผู้เข้าร่วมประชุมหลายรายที่สะท้อนถึงความต้องการที่จะมีเส้นทางรถไฟรางคู่ แต่สิ่งที่เป็นห่วงคือขั้นตอนการก่อสร้างและระยะเวลาในการดำเนินงาน รวมทั้งผลกระทบต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น จึงขอให้ผู้เกี่ยวข้องทำการศึกษาอย่างละเอียด เพราะเกรงว่าอาจไม่คุ้มค่าต่องบประมาณที่จะต้องลงทุน จนสุดท้ายรัฐบาลอาจจะใช้เป็นข้ออ้างในการไม่อนุมัติให้มีการก่อสร้าง
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 02/06/2019 5:50 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
ทางคู่สายใหม่ ระยอง-จันทบุรี-ตราด เอาไว้ขนทุเรียน (ผลผลิตทางการเกษตร) ทำได้จริงๆรึเปล่า? มีประโยชน์มากขนาดไหน

วันนี้มาพูดเรื่องรถไฟสายตะวันออก ตราด และ
ทะลุยปเกาะกง อย่างที่เคยโพสต์ไว้ก่อนหน้านี้

ลิ้งค์โพสต์เดิม https://www.facebook.com/491766874595130/posts/654028871702262?s=1160002750&v=i&sfns=mo

ลิ้งค์ข่าว
https://www.facebook.com/491766874595130/posts/660688624369620?sfns=mo
https://www.thebangkokinsight.com/140262/


รถไฟสายผลไม้ และอุตสาหกรรม ศรีราชา-ระยอง และ มาบตาพุด-ระยอง-จันทบุรี-ตราด-ด่านชายแดนคลองใหญ่ มาแล้วจ้า

วันนี้ได้ข้อมูลการศึกษา เริ่มต้นของโครงการทางรถไฟสายตะวันออก มาบตาพุด-ตราด และ สายลัด ศรีราชา-ระยอง ซึ่งเคยโพสต์ไปแล้วครั้งนึง ตอนนี้ได้เริ่มมีการศึกษา แนวเส้นทางที่เหมาะสมกับการก่อสร้าง แบ่งเป็น 3 ช่วง คือ

ช่วงที่ 1 ทางรถไฟลัด ศรีราชา-ระยอง

ซึ่งจะตัดจากชุมทางศรีราชา ขนานกับถนน แหลมฉบัง-ปลวกแดง (สาย 331) และผ่านพื้นที่นิคมใหญ่ ทั้ง เหมราช Eastern Seaboard, อมตะซิตี้ และอีกหลายๆ นิคม จนทะลุออกหลังนิคมไปอำเภอ ปลวกแดง และมุ่งหน้าลงใต้ ไปบรรจบกับสาย มาบตาพุด-ระยอง ที่สถานีรถไฟระยอง

ตำแหน่งตัวสถานีจะไม่ใช่ตำแหน่งเดียวกับรถไฟความเร็วสูง ที่จะยกระดับอยู่บนถนนเลี่ยงเมืองระยอง แต่ตัวของรถไฟธรรมดา น่าจะอยู่ ทางด้านเหนือของเมืองระยองขึ้นไป ทางนี้จะมีทางเลือกอยู่ประมาณ 4 ทางเลือก ตามรูป

ซึ่งเส้นทางช่วงนี้เป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยลดปริมาณรถบรรทุก ซึ่งวิ่งจากนิคม-ท่าเรือแหลมฉบัง เพื่อจะรองรับปริมาณตู้สินค้าเพิ่มขึ้นตามขนาดท่าเรือซึ่งเพิ่มเป็น 18 ล้าน TEU/ปี จากของเดิม 8 ล้าน TEU/ปี ถ้าไม่สร้างช่วงนี้ จะถนนที่มีอยู่เดิมคงติดและแตกแน่ๆ

ช่วงที่ 2 มาบตาพุด-ระยอง

ทางสายนี้ อาจจะต่อจากสถานีรถไฟมาบตาพุดเดิมที่อยู่กลางนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด วิ่งขนานแนวถนน 363 ตัดกับถนนบางละมุง-ระยอง สาย 36 และเลี้ยวไปทางทิศตะวันตก และเข้าสู่สถานีระยอง

แต่ในทางนี้ปัญหาคือตัวสถานีรถไฟมาบตาพุด ซึ่งอยู่กลางนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมปิโตรเคมี มีครามเสี่ยงด้านการก่อสร้าง และพาดผ่านแนวท่อแก๊สภายในนิคมหลายเส้น เลยมีเส้นทางเลือกอีก 3 แนว เพื่อเลี่ยงเข้านิคมมาบตาพุด และลัดเพื่อลดระยะทางที่อ้อม ตามรูปด้วยเช่นกัน

ช่วงที่ 3 ระยอง-จันทบุรี-ตราด-ด่านคลองใหญ่

ช่วงนี้เป็นช่วงที่หลายๆคนหวังไว้ และน่าจะช่วยพัฒนา การเกษตร การท่องเที่ยว และอุตสาหกรรมในพื้นที่จังหวัดภาคตะวันออกได้อีกมาก

เส้นทางเริ่มต้นที่สถานีรถไฟระยอง ที่อยู่ด้านทิศเหนือของเส้นเลี่ยงเมืองระยอง วิ่งไปอำเภอแกลง ผ่านอำเภอนายายอาม ผ่านเมือง จันทบุรี เข้าอำเภอเขาสมิง ผ่านเมืองตราด และไปสุดที่อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด

ช่วงนี้มีเส้นทางเลือกรวมทั้งหมด 6 ทางเลือก ตามรูป

แต่ส่วนตัวผมเอง อยากเชียร์ให้เพิ่มทางรถไฟสายท่องเที่ยวอีกเส้นนึง คือ จากอำเภอเขาสมิง ทำทางรถไฟ แยกลงมา ผ่านอำเภอเมืองตราด-สนามบินตราด และไปจบที่ท่าเรือเฟอร์รี่ ข้ามเกาะช้าง ตรงนี้ สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับทั้งตัวทางรถไฟเอง และพื้นที่โดยรอบได้อีกมาก แถมเป็นการเชื่อมโยงเมืองท่องเที่ยว พัทยา-เกาะช้างด้วย

ส่วนที่ว่าเป็นทางรถไฟสายขนผลไม้ อย่างที่เคยโพสต์ไป เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องขำนะครับ เพราะถ้าทางรถไฟ ลาว-จีนมาจบที่เวียงจันทน์ และข้ามสะพานใหม่มาหนองคาย

เราจะเชื่อมต่อกับระบบทางรถไฟของจีนซึ่งขนสินค้าเข้ากระจายในพื้นที่ของจีนได้ทั้งประเทศ ทั้งสะดวก และ รวดเร็ว กว่าการขนทางเรือมาก และราคาน่าจะไม่สูงกว่ากันมาก ถ้าเราทำได้เต็มที่ ทุเรียนจากเมืองจันทร์ สามารถไปถึงเซี่ยงไฮ้ ได้ภายใน 3-4 วันเท่านั้น

เราสามารถตัดทุเรียนที่ใกล้สุกมากขึ้น หวานกว่าที่ไปบ่มไปขายอย่างทุกวันนี้ และมีผลไม้อีกมากที่เราไม่สามารถส่งไปทางเรือได้ เช่นลองกอง และหลายๆอย่าง ทำให้มีโอกาสในการทำธุรกรรมอีกมาก

โพสต์เดิมที่เคยคุยกันเรื่องนี้
https://www.facebook.com/491766874595130/posts/660688624369620?s=1160002750&sfns=mo

สำหรับคนในพื้นที่ ช่วงนี้มีการเริ่มศึกษา และทำการประชาสัมพันธ์โครงการ พร้อมขอความคิดเห็นจากชุมชนตลอดเส้นทาง ตามรูปสุดท้าย

ใครอยากมีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางของการเจริญเติบโตของจังหวัดตัวเอง ควรเข้าร่วมเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะคนที่คิดว่าจะได้ผลกระทบ และจะคัดค้านโครงการ รบกวนจริงๆ ช่วยไปพูดตอนที่โครงการกำลังศึกษา ไม่ใช่ไปต่อต้านตอนโครงการจะสร้างอยู่แล้ว มันทำให้โครงการช้าเปล่าๆ

เว็บไซต์โครงการ
http://www.doubletracktotrat.com/index.html

ลิ้งค์ เอกสารประชาสัมพันธ์โครงการ

https://www.facebook.com/Thailand.Infra/posts/674278143010668
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 07/06/2019 4:46 pm    Post subject: Reply with quote

ศรีราชาอ่วม เวนคืนยับ !! สร้างรถไฟทางคู่ สายชุมทางศรีราชา –ระยอง
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันพฤหัสที่ 6 มิถุนายน พ.ศ.2562 เวลา 21:46



ศูนย์ข่าวศรีราชา - การรถไฟฯ เตรียมเวนคืนที่ดิน อ.ศรีราชาก่อสร้างรถไฟทางคู่ สายชุมทางศรีราชา –ระยอง เสนอ 4 เส้นทางเลือก เน้นส่งเสริมการขนส่งภาคอุตสาหกรรมเป็นหลัก พบแนวเส้นทางผ่านกลางชุมชนหลายจุด แต่ผู้ได้รับกระทบไม่ได้เข้าร่วมฟัง

วันนี้ ( 6 มิ.ย. ) นายสายชล เชาว์ไทย รองนายกเทศมนตรีนครแหลมฉบัง เป็นประธานเปิดการประชุมย่อยโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่สายชุมทางศรีราชา-ระยอง ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ในการพัฒนาโครงข่ายโลจิสติกส์ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไร้รอยต่อ โดยมี นายนายธีรวิทย์ สุภาทิพย์ วิศวกรโยธา การรถไฟแห่งประเทศไทย และบริษัทที่ปรึกษา มานำเสนอโครงการให้กับผู้นำท้องถิ่น ผู้นำชุมชนและประชาชนที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม เพื่อศึกษาความเหมาะสมของโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่เส้นนี้ ที่ห้องประชุมชั้น 4 เทศบาลนครแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี

นายธีรวิทย์ สุภาทิพย์ วิศวกรโยธา การรถไฟแห่งประเทศไทย กล่าวในที่ประชุมว่าโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ สายชุมทางศรีราชา –ระยอง และมาบตาพุด ระยอง จันทบุรี ตราด และคลองใหญ่ เป็นทางรถไฟสายใหม่เพื่อรองรับการเชื่อมโยงกับการขนส่งรูปแบบอื่น ๆ เพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งทางรางและเครือข่ายโลจิสติกส์ ส่งเสริมการขนส่งสินค้าต่อเนื่องหลายรูปแบบอย่างไร้รอยต่อ ประหยัดต้นทุนการขนส่งของประเทศในภาพรวม สอดรับกับการพัฒนา EEC ในภาคเกษตรกรรม อุตสาหกรรมและการท่องเที่ยว

โดยจุดเริ่มต้นโครงการที่สถานีชุมทางศรีราชา ไปถึงจังหวัดระยอง โดยมีเส้นทางการศึกษาไว้ 4 เส้นทาง คือ เส้นทางที่ 1 เริ่มจากชุมทางศรีราชาประมาณ 1.8 กิโลเมตร เลี้ยวขึ้นไปทางทิศเหนือของวัดบ่อหินห่างจากวัดประมาณ 300 เมตร เริ่มทางยกระดับบริเวณจุดที่ตัดหมู่บ้านแกรนมณีรินทร์ศรีราชา ก่อนตัดห่างโรงเรียนวัดหนองขามทางด้านทิศเหนือประมาณ 50 เมตร แล้วตัดข้าสาย 7 บริเวณด่านเก็บเงินหนองขามบริเวณร้านโบว์ทิพย์ของฝาก

ก่อนข้ามไปตัดพื้นที่บริเวณลานจอดรถเทศบาลนครเจ้าพระยาสุรศักดิ์ ข้ามถนนสาย 331 (อินโดจีน)มีสถานีอยู่บริเวณคลองใหญ่ ผ่านดอนนุ่น ผ่านคลองหนองปรือ ผ่านใกล้สุสานสิงโตคู่ ผ่านนิคมอุตสาหกรรม WHA ทางทิศเหนือ ก่อนตัดทางหลวง 331 พนมสารคามบริเวณทางเข้านิคมโรจนะบ่อวิน จ.ชลบุรี ตัดทางด้านทิศเหนือของบ้านพันเสด็จใน ห่างจากโรงเรียนบ้านพันเสด็จในทางทิศเหนือประมาณ 900 เมตร จนเข้าสู่อำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง

เส้นทางที่ 2 จากชุมทางศรีราชาประมาณ 1.8 กิโลเมตร เลี้ยวขึ้นไปทางทิศเหนือของวัดบ่อหินห่างจากวัดประมาณ 300 เมตร เริ่มทางยกระดับบริเวณจุดที่ตัดหมู่บ้านแกรนมณีรินทร์ศรีราชา ก่อนตัดห่างโรงเรียนวัดหนองขามทางด้านทิศเหนือประมาณ 50 เมตร แล้วตัดข้าสาย 7 บริเวณด่านเก็บเงินหนองขามบริเวณร้านโบว์ทิพย์ของฝาก ก่อนข้ามไปตัดพื้นที่บริเวณลานจอดรถเทศบาลนครเจ้าพระยาสุรศักดิ์ ข้ามถนนสาย 331 (อินโดจีน)

ตัดลงมาทางทิศใต้มาทางหนองปรือ ผ่านโรงเรียนบ้านวังค้อ คลองบึง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคบึง ตัดผ่านทางด้านทิศเหนือของสนามบูรพากอล์ฟ คลับ หมู่บ้านพนาวัลย์เพลส หมู่บ้านสิลันตา ไลฟ์ 4 ผ่านทางทิศเหนือของอนามัยตำบลบ่อวิน ก่อนมาตัดเส้น 331 บริเวณอีซูซุตะวันออกชลบุรี สาขาบ่อวิน ทางทิศเหนือ ตัดเข้าชุมชนสะพานสี่ ตลาดสะพานสี่พลาซ่า ผ่านฝั่งตรงข้ามวัดมาบยางพร เข้าสู่จังหวัดระยอง

เส้นทางที่ 3 เริ่มจากชุมทางศรีราชาไปตามเส้นรถไฟสายเก่าไปตัดออกก่อนถึงสถานีชุมทางบางละมุง แล้วไปเชื่อมต่อกับแนวที่สองบริเวณสนามกอล์ฟบูรพา ผ่านหมู่บ้านพนาวัลย์เพลส หมู่บ้านสิลันตา ไลฟ์ 4 ผ่านทางทิศเหนือของอนามัยตำบลบ่อวิน ก่อนมาตัดเส้น 331 บริเวณอีซูซุตะวันออกชลบุรี สาขาบ่อวิน ทางทิศเหนือ ตัดเข้าชุมชนสะพานสี่ ตลาดสะพานสี่พลาซ่า ผ่านฝั่งตรงข้ามวัดมาบยางพร เข้าสู่จังหวัดระยอง

เส้นทางที่ 4 เริ่มจากชุมทางศรีราชาไปตามเส้นรถไฟสายเก่าไปตัดออกก่อนถึงสถานีชุมทางบางละมุง ตัดมาทางตะเคียนเตี้ย ผ่านทิศใต้นิคมโรจนะ ข้ามสาย 7 ผ่านบ้านลินดา ผ่านสำนักสงฆ์เมืองจันทร์สุดา ผ่านทางทิศใต้สนามกอล์ฟแหลมฉบัง คันทรี่คลับ ไปทางทิศเหนือของวัดเขาโป่งสะเก็ดพุฒาจารย์ ผ่านเส้น 331 พนมสารคามบริเวณหมู่บ้านชาญสโมสร จนทะลุไปจังหวัดระยอง

ซึ่งเส้นทางทั้งหมดนี้เป็นเส้นทางการศึกษาถึงความเหมาะสมสามารถขยับไปซ้ายไปขวาได้ และจะสรุปเส้นทางที่ชัดเจนอีกครั้งประมาณกลางเดือนกรกฎาคมนี้ โดยเส้นทางศึกษาทั้ง 4 เส้นทาง นี้ จะต้องมีการเวนคืนที่ดินขนาดกว้างประมาณ 50 เมตรด้วย ซึ่งแต่ละจุดนั้นได้ผ่านกลางชุมชนและหมู่บ้านหลายแห่ง

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในที่ประชุม ต่างเห็นด้วยกับโครงการของรัฐที่จะพัฒนาความเจริญให้กับพื้นที่นี้ แต่อยากให้การรถไฟทำเส้นทางรถยนต์คู่ขนานทั้งสองฝั่งเส้นทางรถไฟควบคู่ไปด้วยพร้อมกัน รวมทั้งการแก้ไขปัญหาการระบายน้ำ น้ำท่วม กับชาวบ้านที่อยู่ริมทางรถไฟ เนื่องจากไม่มีท่อระบายน้ำ เส้นทางรถไฟอาจไปขวางทางน้ำทำให้เกิดน้ำท่วมได้

รวมทั้งอยากให้สอบถามความเห็นของชาวบ้านที่ได้รับความเดือดร้อนในการก่อสร้างครั้งนี้อย่างใกล้ชิด เพราะโครงการนี้ผู้ที่ได้รับผลประโยชน์ ไม่ใช่ประชาชนในพื้นที่ แต่เป็นภาคอุตสาหกรรม และอยากให้จัดประชุมเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้กับประชาชนที่ได้รับผลกระทบจริงๆ เนื่องจากในวันนี้ผู้ที่ได้รับผลกระทบเป็นประชาชนในเขตเทศบาลนครเจ้าพระยาสุรศักดิ์ แต่กลับมาจัดที่เทศบาลนครแหลมฉบัง ซึ่งแทบจะไม่ได้รับผลกระทบเลย
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 09/06/2019 12:11 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
Wisarut wrote:
ทางคู่สายใหม่ ระยอง-จันทบุรี-ตราด เอาไว้ขนทุเรียน (ผลผลิตทางการเกษตร) ทำได้จริงๆรึเปล่า? มีประโยชน์มากขนาดไหน

วันนี้มาพูดเรื่องรถไฟสายตะวันออก ตราด และ
ทะลุยปเกาะกง อย่างที่เคยโพสต์ไว้ก่อนหน้านี้

ลิ้งค์โพสต์เดิม https://www.facebook.com/491766874595130/posts/654028871702262?s=1160002750&v=i&sfns=mo


ในแผนรวมการพัฒนาระบบรางของ สนข. จะถูกจัดอยู่ในแผนระยะยาว อาจจะได้เริ่มสร้าง ช่วงปี 68-70

แต่ในแผนของ EEC ถูกจัดให้เริ่มในระยะที่ 2 ซึ่ง อาจจะได้เห็นโครงการนี้ดึงมาศึกษาและสร้างก่อนในช่วง ปี 65 ได้ครับ

ลิ้งค์แผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน EEC: แผนปฏิบัติการการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
รองรับการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
A
—————————————————————-


ร.ฟ.ท.เดินหน้าฟังความเห็นชาวจันทบุรี-ตราด สร้างรถไฟรางคู่เชื่อมชลบุรี-ตราด
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: อังคารที่ 28 พฤษภาคม 2562 เวลา 07:59
ปรับปรุง: อังคารที่ 28 พฤษภาคม 2562 เวลา 09:36




"จันท์-ตราด"ร่วมถกเส้นทางรฟ.รางคู่ เชื่อมจากชลฯ-ให้ชุมชนเลือก
ข่าวสดรายวัน หน้า 6
ปีที่ 29 ฉบับที่ 10419
วันที่ 08 มิถุนายน พ.ศ. 2562


ตราด - นายธีระวิทย์ สุธาทิพย์ วิศวรกรโยธา การรถไฟแห่งประเทศไทย อธิบายถึงเส้นทางรถไฟรางคู่ เริ่มจากชุมทางอ.ศรีราชา จ.ชลบุรี และผ่านมายังจ.ระยอง จ.จันทบุรี มี 2 เส้นทางและมาถึงจ.ตราด จะมี 3 เส้นทาง เมื่อผ่านจ.ตราดมี 2 เส้นทาง และเมื่อถึงต.แหลมกลัด มีเพียงเส้นทางเดียวเลียบชายทะเลและภูเขา เพราะเส้นทางแคบจุดสิ้นสุดที่ด่านศุลกากรคลองใหญ่ ระยะทางรวม 300 ก.ม. มีสถานี 37 สถานี ในส่วนของจ.จันทบุรี จะมีเส้นทางเข้าเมืองจันทบุรี และมีอีกเส้นที่อ้อมไปหลังน้ำตกพลิ้ว เข้ามาทางอ.ขลุง และเข้าสู่จ.ตราด ที่ต.ประณีต และอีกเส้นทาง มาทางต.แสนตุ้ง แล้วจะมุ่งสู่อ.เมืองตราด จะมี 2 เส้นทาง เส้นหนึ่งจะมีสถานีเมืองตราดบริเวณไอยรารีสอร์ท อีกเส้นจะมีสถานีเมืองตราดที่บ้านโพรงตะเฆ่ เสนอทางเลือกให้ประชาชนว่าจะเห็นด้วยหรือไม่

ส่วนค่าก่อสร้างยังระบุชัดเจนไม่ได้ ในเรื่องขั้นตอนยังอีกนานเพราะต้องศึกษาอีก 3 เดือนว่าคุ้มค่าหรือไม่ หากคุ้มค่าก็ออกแบบในรายละเอียดต้องใช้เวลาอีก และการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมอีก 2 ปี แค่ขั้นตอนนี้ก็หมดไป 3 ปีครึ่งแล้ว และต้องผ่านการของบประมาณอีก 1 ปี และเมื่อได้งบประมาณมาต้องผ่านการประมูลงานจะต้องใช้เวลาอีก พร้อมก่อสร้างจะต้องใช้เวลานานถึง 10 ปีทีเดียว หากไม่มีอุปสรรคใดๆ หากมีก็ต้องใช้เวลาที่ยาวนานขึ้น

ด้านนายจอมศักดิ์ ภูติรัตน์ ประธานหอการค้าจันทบุรี กล่าวว่าเส้นทางรถไฟทางคู่มีประโยชน์ต่อเศรษฐกิจในการลดค่าขนส่ง และลดค่าโดยสารให้ประชาชน และนักลงทุน ซึ่งจะดีต่อการแข่งขัน ส่วนจะเลือกเส้นทางไหนนั้นต้องดูในแง่ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ และผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม

นายจอมศักดิ์กล่าวทิ้งท้ายว่า แต่ที่เป็นห่วงคือ ระยะเวลาในการดำเนินการจะเสร็จเมื่อไร และใช้งบประมาณแค่ไหน คุ้มค่ากับการลงทุนหรือไม่ ถ้าระยะเวลาการก่อสร้างเสร็จเร็วก็จะมีประโยชน์และสะดวกต่อการ เดินทาง (หน้า 6)
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 09/06/2019 4:52 am    Post subject: Reply with quote

Details on the line from Sri Racha to Rayong via Industrial estates:

Pinthong 1 Industrial Estate

Pinthong 1 Industrial Estate Route AB 1 - 1.6 km Route AB 2 - 5.2 km Route AB 3 - 10.7 km Route AB 4 -10.7 km
Pinthong 2 Industrial Estate Route AB 1 - 3.8 km Route AB 2 - 10.2 km Route AB 3 - 15.8 km Route AB 4 - 15.8 km
Pinthong 3 Industrial Estate Route AB 1 - 2.9 km Route AB 2 - 7.4 km Route AB 3 - 7.4 km Route AB 4 - 13.0 km
Hemmaraj Chonburi Industrial Estate Route AB 1 - 3.5 km Route AB 2 - 0.7 km Route AB 3 - 0.7 km Route AB 4 -4.4 km
Eastern Seaboard Industrial Estate Route AB 1 - 0.0 km Route AB 2 - 0.8 km Route AB 3 - 0.8 km Route AB 4 - 9.0 km
Amata City Rayong Industrial Estate Route AB 1 - 8.0 km Route AB 2 - 3.8 km Route AB 3 - 3.8 km Route AB 4 - 0.8 km
Hemmaraj Rayong Industrial Estate Route AB 1 - 0.0 km Route AB 2 - 0.0 km Route AB 3 - 0.0 km Route AB 4 -1.0 km


Options for Route from Sri Racha to Rayong via Industrial estates in Chonburi and Rayong - at Ban Khok Commune in Mueang district to function and Rayong Junction - 5 - 7 stations

Route AB1 with 7 stations since it passes Pluak Daeng district
Route AB1 passes Sri Racha district of Chonburi including the following commune: Surasak Commune [Chao Phraya Surasak city,] Nong Kham commune, Bueng commune, Bowin Commune, Khao Kansong commune
Route AB1 passes Pluak Daeng district of Chonburi including the following commune: Ta Sit commune, Pluak Daeng commune, Map Yang Porn commune, Maenam Khoo Commune.
Route AB1 passes Ban Khai district of Rayong including the following commune: nong Lalok, Nong Taphann, Ta Khan
Route AB1 passing Mueang Distrcit including Nam Khok commune

Route AB2 with 6 stations between Sri Racha and Rayong
Route AB2 passes Sri Racha district of Chonburi including the following commune: Surasak Commune [Chao Phraya Surasak city,] Nong Kham commune, Bueng commune, Bowin Commune,
Route AB2 passes Pluak Daeng district of Chonburi including the following commune: Map Yang Porn commune, Maenam Khoo Commune.
Route AB2 passes Ban Khai district of Rayong including the following commune: nong Lalok, Nong Taphan, Ta Khan
Route AB2 passing Mueang Distrcit including Nam Khok commune

Route AB3 with 6 stations between Bang Lamung and Rayong
Route AB3 passes Bang Lamung district of Chonburi including the following commune: Bang Lamung commune,Takhian Tia
Route AB3 passes Sri Racha district of Chonburi including the following commune: Bueng commune, Bowin Commune,
Route AB3 passes Pluak Daeng district of Chonburi including the following commune: Map Yang Porn commune, Maenam Khoo Commune.
Route AB3 passes Ban Khai district of Rayong including the following commune: nong Lalok, Nong Taphan, Ta Khan
Route AB3 passing Mueang Distrcit including Nam Khok commune

Route AB4 with just 5 stations between Bang Lamung and Rayong - using lowest number of station but still passing all major industrial estates
Route AB4 passes Bang Lamung district of Chonburi including the following commune: Bang Lamung commune,Takhian Tia and Khao Mai Kaew
Route AB4 passes Sri Racha district of Chonburi including the following commune: Bowin Commune,
Route AB4 passes Phatthana Nikhom district of Conburi including the following commune: Phana Nikhom and Phatthana Nikhom
Route AB4 passes Ban Khai district of Rayong including the following commune: nong Lalok, Nong Taphan, Ta Khan
Route AB4 passing Mueang Distrcit including Nam Khok commune

Route AB4 has the edge that it has passed all major industrial estates in Chonburi and Rayong - definitely pleasing those industrial estate owners and industrialists along with those workers -
but definitely not pleasing those who live in Pluak Daeng district of Chonburi who is going to see the line contructed at Sri racha rather than Bang Lamung

Route from Map Taphut to Rayong (24 km) - at Ban Khok Commune in Mueang district to function and Rayong Junction
Route CB1 Khao Chee Jan - Ban Chang - Rayong - no more construction beyond Maptaphut due to Environmental issues along with the issue for passenger service. So, the line has to bifurcated at Khao Chee Jan Junction instead - so it needs 4 stations
Route CB1 Passing Banchang district of rayong including the following communes: Samnak Thon commune, Ban Chang commune (should set up the passenger station for Ban Chang here),
Route CB1 Passing Muang district of rayong including the following communes: Huay Pong, Map Taphut (should set up the passenger station for Map Taphut here), Thub Ma, Nam Khok (implied that Rayong station must be at Nam Khok commune),
Route CB1 Passing Ban Khai district of rayong including the following communes: Ta Khan

Route CB2 Ban Chang - Rayong - no more construction beyond Maptaphut due to Environmental issues along with the issue for passenger service.
The line bifircated at Ban Chang station - effectively create Ban Chang Junction - with just 2 stations
Route CB2 Passing Banchang district of rayong including the following communes: Ban Chang commune (should upgrade the existing station into the passenger station for Ban Chang,
Route CB2 Passing Muang district of rayong including the following communes: Huay Pong, Map Taphut (should set up the passenger station for Map Taphut here), Thub Ma, Nam Khok (implied that Rayong station must be at Nam Khok commune),
Route CB2 Passing Ban Khai district of rayong including the following communes: Ta Khan

Route CB3 Map Taphut - Rayong - has to get around the Environmental issues with elevated track along the highway to get shortest route - However, it is also the route with highest price tag with just 1 station for sure.
Route CB3 Passing Muang district of rayong including the following communes: Huay Pong, Map Taphut (should set up the passenger station for Map Taphut here), Thub Ma, Nam Khok (implied that Rayong station must be at Nam Khok commune),
Route CB3 Passing Ban Khai district of rayong including the following communes: Ta Khan

Route from Rayong Junction to Chanthaburi klang has 3 choices on rayong - Kaelng - Na Yai Arm section:
Route BD1 Shortest route for Rayong to Chanthaburi that please industrialist at Lak Chai Mueang Yang industrial estate at the expenses of tourist business of Rayong - using justy 8 stations
Route BD1 Passing Muang district of rayong including the following communes: Na Ta Kwan, Samnak Thong, Ka Chet
Route BD1 Passing Ban Khai district of rayong including the following communes: Ta Khan,
Route BD1 Passing Klaeng district of rayong including the following communes: Song Salueng, Huay Yang, Wang Wah, Thang Kwian, Thung Kwai Kin, Kong DIn
Route BD1 Passing Na Yai Arm district of Chanthaburi including the following communes: Na Yai Arm

Route BD2 - longer route that pass near the coastal area to allow boarding at Ban Phe (the main dopping Point to Samet Island) - so it has to be 9 stations with station at Ban Phe
Route BD2 Passing Muang district of rayong including the following communes: Muang, Na Ta Kwan, Ban Laeng, Taphong, Phe (the main dropping point to Samet Island), Klaeng, Ka Chet
Route BD2 Passing Ban Khai district of rayong including the following communes: Ta Khan,
Route BD2 Passing Klaeng district of rayong including the following communes: Song Salueng, Huay Yang, Wang Wah, Thang Kwian, Thung Kwai Kin, Kong DIn
Route BD2 Passing Na Yai Arm district of Chanthaburi including the following communes: Na Yai Arm

Route BD3 - longer route that pass even closer the coastal area to allow boarding at Ban Phe (the main dopping Point to Samet Island) and to please tourist business - so it has to be 9 stations with station at Ban Phe
Route BD3 Passing Muang district of rayong including the following communes: Muang, Na Ta Kwan, Ban Laeng, Taphong, Phe (the main dropping point to Samet Island), Klaeng, Ka Chet
Route BD3 Passing Ban Khai district of rayong including the following communes: Ta Khan,
Route BD3 Passing Klaeng district of rayong including the following communes: Chak Phong, Song Salueng, Huay Yang, Wang Wah, Thang Kwian, Thung Kwai Kin, Kong DIn
Route BD3 Passing Na Yai Arm district of Chanthaburi including the following communes: Na Yai Arm

Route from Na Yai Arm to Trat via Chanthaburi - has 3 choice to implement before ending up at Chamrak Commune as Trat railway station
Route DE1 - shortest route - not in parallel with Sukhumvit road (Highway 3) - but not going to please tourist business and passenger service who demand the route closest to downtown - 10 stations
Route DE1 Passing Na Yai Arm district of Chanthaburi including the following communes: Na Yai Arm, Sanam Chai, Wang Tanode
Route DE1 Passing Tha Mai district of Chanthaburi including the following communes: Thung Benja, SOng Pheenong, Khao Baisri, Khao Wua
Route DE1 Passing Mueang district of Chanthaburi including the following communes: Tha Chang, Salaeng
Route DE1 Passing Makham district of Chanthaburi including the following communes: Tha Luang, Makham, Ang Kheeree
Route DE1 Passing Klung district of Chanthaburi including the following communes: Map Phrai, Wang Sappharote
Route DE1 Passing Khao Saming district of Trat including the following communes: Praneet, Saen Tung, Thung Nonsee, Khao Saming
Route DE1 Passing Muang district of Trat including the following communes: Huay Raeng, Noen Sai, Tha Kum, Takang, Chamrak

Route DE2 - compromise route between DE1 which is the shortest and DE3 which is the longest but pleasing the passenger services - with 12 stations
Route DE2 Passing Na Yai Arm district of Chanthaburi including the following communes: Na Yai Arm, Sanam Chai, Wang Tanode
Route DE2 Passing Tha Mai district of Chanthaburi including the following communes: Thung Benja, SOng Pheenong, Khao Baisri, Khao Wua
Route DE2 Passing Mueang district of Chanthaburi including the following communes: Tha Chang, Salaeng, Pubpla, Klong Narai, and Khom Bang (fruit orchard village nearest to downtown Chanthaburi)
Route DE2 Passing Makham district of Chanthaburi including the following communes: Tha Luang, Makham,
Route DE2 Passing Laem Singh district of Chanthaburi including the following communes: Priw
Route DE2 Passing Klung district of Chanthaburi including the following communes: Tapon, Kwian Hak, Klung, Kueng, Boh
Route DE2 Passing Khao Saming district of Trat including the following communes: Saen Tung, Khao Saming, Thung Nonsee,
Route DE2 Passing Muang district of Trat including the following communes: Huay Raeng, Noen Sai, Tha Kum, Takang, Chamrak


Route DE3 - the longest route that please the passengers but cost more to implement - with just 11 stations
Route DE3 Passing Na Yai Arm district of Chanthaburi including the following communes: Na Yai Arm, Sanam Chai, Wang Tanode
Route DE3 Passing Tha Mai district of Chanthaburi including the following communes: Thung Benja, SOng Pheenong, Khao Baisri, Khao Wua
Route DE3 Passing Mueang district of Chanthaburi including the following communes: Tha Chang, Salaeng, Pubpla, Klong Narai, and Khom Bang (fruit orchard village nearest to downtown Chanthaburi)
Route DE3 Passing Makham district of Chanthaburi including the following communes: Tha Luang,
Route DE3 Passing Laem Singh district of Chanthaburi including the following communes: Priw
Route DE3 Passing Klung district of Chanthaburi including the following communes: Tapon, Kwian Hak, Klung, Kueng, Boh
Route DE3 Passing Khao Saming district of Trat including the following communes: Saen Tung, Khao Saming,
Route DE3 Passing Muang district of Trat including the following communes: Wang krajae, Noen Sai, Tha Prik, Tha Kum, Takang, Chamrak

Route EF - Trat Klong Yai - has one choice - with 11 stations
Route EF Passing Muang district of Trat including the following communes: Chamrak, Laem Klad - double tracking ends here
Route EF Passing Klong Yai district of Trat including the following communes: Mai rood, and Klong Yai

Note: the selection between Container yard or Dry Port (ICD) is depeneded on the shipping volume - only oncession holder can deal with CY warehouses
http://www.doubletracktotrat.com/files/download/download1.pdf
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 11/06/2019 10:54 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
"จันท์-ตราด"ร่วมถกเส้นทางรฟ.รางคู่ เชื่อมจากชลฯ-ให้ชุมชนเลือก
ข่าวสดรายวัน หน้า 6
ปีที่ 29 ฉบับที่ 10419
วันที่ 08 มิถุนายน พ.ศ. 2562


ทางคู่ศรีราชา - ระยอง, มาบตาพุด - ระยอง - ตราด นั้นระยะทาง 250 - 280 กิโลเมตร เป็นเงิน 60000 - 65000 ล้านบาท
https://www.thebangkokinsight.com/140262/

//-------------------------------------------

รฟท.ดันทางคู่‘ระยอง-ตราด’
กรุงเทพธุรกิจ
อังคารที่ 11 มิถุนายน 2562


รฟท.ดันทางคู่ระยอง-ตราด
12 มิถุนายน 2562
ร.ฟ.ท.เปิด 3 โปรเจคสร้างรถไฟทางคู่สายใหม่ ประเดิมช่วงระยอง-จันทบุรี-ตราด ลงทุน 5-6 หมื่นล้าน ประมูลปี 2564 หนุนการขนส่งอีอีซี เชื่อม 10 นิคมอุตสาหกรรม กระตุ้นท่องเที่ยวชายทะเล เร่งของบออกแบบทางคู่ชุมพร-ระนอง เสริมท่าเรือน้ำลึกเอสอีซี


นายวรวุฒิ มาลา รักษาการผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้นอกจากการผลักดันโครงการรถไฟทางคู่ 7 เส้นทาง ซึ่งปัจจุบันยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ปัจจุบัน ร.ฟ.ท.ยังอยู่ระหว่างศึกษาความเหมาะสมในการพัฒนาเส้นทางรถไฟสายใหม่ สายชุมทางศรีราชา-ระยอง-จันทบุรี-ตราด-คลองใหญ่ เพื่อสนับสนุนเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี)



“การศึกษาเส้นทางรถไฟทางคู่สายใหม่ เพื่อสนับสนุนนโยบายของรัฐบาล เพื่อผลักดันการขนส่งเข้าอีอีซีด้วย ดังนั้นมั่นใจว่าโครงการนี้จะถูกพัฒนาในเร็วๆ นี้ เพื่อทันต่อการพัฒนาในเขตอีอีซี คาดว่าปี 2563 จะเริ่มออกแบบก่อสร้าง และหลังจากนั้นจึงจะเข้าสู่ช่วงเปิดประมูลจัดหาเอกชนก่อสร้าง โดยเป้าหมายส่วนใหญ่เพื่อขนส่งสินค้าเชื่อมท่าเรือแหลมฉบัง รวมไปถึงสนับสนุนการเดินทางเชื่อมต่อในพื้นที่ และการท่องเที่ยวภาคตะวันออกด้วย”


นอกจากการพัฒนาเส้นทางรถไฟสายดังกล่าว ร.ฟ.ท.ยังศึกษาความเหมาะสมพัฒนารถไฟทางคู่เชื่อมต่อศรีราชา-มาบตาพุด คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2562 เพื่อขออนุมัติงบออกแบบก่อสร้าง โดยเส้นทางสายนี้จะช่วยสนับสนุนการขนส่งสินค้าระหว่างเขตอุตสาหกรรมและท่าเรือ ลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์ เปลี่ยนการขนส่งจากรถยนต์ทางถนน เป็นระบบราง ขณะเดียวกัน ร.ฟ.ท.ยังอยู่ระหว่างศึกษาเส้นทางชุมพร-ระนอง เพื่อเชื่อมการขนส่งเข้าท่าเรือน้ำลึกระนองด้วย

ลงทุน5-6หมื่นล้านบาท

แหล่งข่าวจาก ร.ฟ.ท.กล่าวว่า เส้นทางรถไฟสายใหม่ ช่วงศรีราชา-ระยอง-จันทบุรี-ตราด-คลองใหญ่ เบื้องต้นจะมีระยะทางยาว 250 กิโลเมตร เป็นรถไฟทางคู่ ขนาดรางมาตรฐาน 1 เมตร ประเมินงบประมาณในการลงทุนอยู่ที่ 5-6 หมื่นล้านบาท โดยปัจจุบันการศึกษาเส้นทางแล้วเสร็จไปราว 90% คาดว่าจะภายในเดือน มิ.ย.นี้ จะเสร็จสมบูรณ์ ก่อนเสนอไปยังกระทรวงคมนาคมในเดือน ก.ค.นี้ เพื่อของบประมาณปี 2563 ราว 120-150 ล้านบาท มาดำเนินการออกแบบรายละเอียดก่อสร้าง

“ตอนนี้เราลงพื้นที่รับฟังความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่แนวเส้นทางแล้ว แต่ก็ยังไม่ได้สรุปว่าจะเลือกแนวเส้นทางไหน เพราะอย่างช่วงระยอง ก็มีเส้นทางผ่านช่วงนิคมอุตสาหกรรม มีทางเลือกอยู่ 3 เส้นทาง และทุกคนก็แย่งกันอยากให้ไปพัฒนาในเส้นทางที่ผ่านตนเอง เช่นเดียวกับช่วงจันทบุรีก็มีหลายชุมชน และทุกคนก็อยากมีรถไฟผ่านใกล้บ้าน ตอนนี้เราจึงยังไม่ได้สรุปแนวก่อสร้างที่ชัดเจน อาจจะต้องรอประเมินจากตัวเลขความคุ้มค่าแต่ละเส้นทางก่อน ซึ่งคาดว่าเดือนหน้าก็น่าจะเสร็จ”

คาดเปิดประมูลปี 2564

ทั้งนี้ หาก ร.ฟ.ท.ได้รับงบประมาณออกแบบรายละเอียด คาดว่าจะใช้เวลาออกแบบราว 1 ปี หลังจากนั้นจะเริ่มขั้นตอนประมูลหาผู้รับเหมา คาดว่าจะประมูลได้ช่วงกลางปี 2564 และจะสามารถเร่งรัดเริ่มงานก่อสร้างในช่วงปลายปีเดียวกัน โดยจะใช้เวลาก่อสร้าง 4 ปีแล้วเสร็จ เปิดให้บริการในช่วงปี 2568-2569 โดย ร.ฟ.ท.มั่นใจว่ารถไฟสายใหม่นี้ จะเป็นเสมือนแขนขาของอีอีซี เชื่อมการขนส่งสินค้า โดยเฉพาะผลไม้ในจ.จันทบุรีไปยังท่าเรือแหลมฉบังสะดวกขึ้น



สำหรับแนวเส้นทางรถไฟทางคู่เส้นทางศรีราชา-ตราดแบ่งเป็น 3 ช่วง คือ
ช่วงที่ 1 ชุมทางศรีราชา-สถานีระยอง ซึ่งจะเป็นเส้นทางเชื่อมนิคมอุตสาหกรรมสู่นิคมอุตสาหกรรม 10 แห่ง คือ นิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง นิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง 1-3 นิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ระยอง นิคมอุตสาหกรรมโรจนะบ่อวิน นิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอ นิคมอุตสาหกรรมอีสเทิร์นซีบอร์ด นิคมอุตสาหกรรมเหมราช นิคมอุตสาหกรรมเหมราชระยอง

ช่วงที่ 2 เป็นเส้นทางเชื่อมนิคมอุตสาหกรรมสู่เมืองระยอง โดยเริ่มจากสถานีมาบตาพุด และช่วงที่ 3 เป็นเส้นทางเชื่อมระเบียงผลไม้ภาคตะวันออก (Eastern Fruit Corridor)และเชื่อมการท่องเที่ยว ซึ่งเริ่มจากสถานีระยองและมีจุดสิ้นสุดโครงการที่ด่านศุลกากร อ.คลองใหญ่ จ.ตราด ที่สามรถเชื่อมการขนส่งสินค้าไปประเทศกัมพูชาได้

เร่งทางคู่เชื่อม“เอสอีซี”

แหล่งข่าวยังกล่าวอีกว่า ร.ฟ.ท.เตรียมเสนอของบประมาณปี 2563 ราว 90 ล้านบาท เพื่อเริ่มออกแบบรายละเอียดโครงการรถไฟทางคู่ ช่วงชุมพร-ระนอง ระยะทาง 109 กิโลเมตร หลังจากที่ปัจจุบันได้ทำการศึกษาความเหมาะสมของโครงการเสร็จแล้ว โดยคาดว่าหลังจากได้รับจัดสรรงบประมาณนี้ จะใช้เวลาออกแบบรายละเอียด 1 ปี ก่อนเปิดประมูลจัดหาผู้รับเหมา และเริ่มงานก่อสร้างในปี 2564 มีกำหนดก่อสร้าง 3 ปีแล้วเสร็จ เปิดให้บริการในปี 2567 ซึ่งอยู่ในแผนการเชื่อมเส้นทางขนส่งของระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ (เอสอีซี)

“ช่วงชุมพร-ระนอง เป็นอีกหนึ่งโครงการสำคัญที่รัฐบาลต้องการขับเคลื่อน เพราะจะช่วยขนส่งทั้งคนและสินค้า เชื่อมต่อ 2 ฝั่งทะเลของไทย จะทำให้เกิดการเดินทางท่องเที่ยวมากขึ้น และที่สำคัญจะเชื่อมต่อไปยังท่าเรือน้ำลึกระนอง แต่ตอนนี้ก็ยังพบปัญหาจากทางกรมบัญชีกลาง ที่ถามถึงความจำเป็นเร่งรัดก่อสร้างรถไฟสายนี้ เพราะก่อนหน้านี้ สนข.ศึกษาความเหมาะสมจะต้องก่อสร้างในปี 2565 แต่ขณะนี้ก็มีความเหมาะสมที่จะเร่งสร้าง ซึ่ง ร.ฟ.ท.ก็ได้ตอบเหตุและผลไปยังกรมบัญชีกลางแล้ว”

ศึกษาแม่สอด-นครสวรรค์

นอกจากนี้ ร.ฟ.ท. ยังมีแผนพัฒนารถไฟเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจอีสต์-เวสต์ คอริดอร์ โดยจะเชื่อมต่อการเดินทางจากแม่สอด (ตาก)-นครสวรรค์-บ้านไผ่ (ขอนแก่น)-นครพนม เพื่อเชื่อมต่อการขนส่งคนและสินค้าระหว่างภูมิภาค และประเทศเพื่อนบ้าน
ทั้งนี้ ปัจจุบัน ร.ฟ.ท.ทำการศึกษาความเหมาะสมของโครงการในช่วงแม่สอด-นครสวรรค์เสร็จแล้ว อยู่ระหว่างศึกษาช่วงนครสวรรค์-บ้านไผ่ โดยคาดว่าจะต้องใช้เวลานาน เนื่องจากมีระยะทางค่อนข้างยาว อีกทั้งยังตัดผ่านภูเขาหลายแห่ง ดังนั้นรถไฟสายใหม่นี้ อาจยังไม่เกิดเร็วๆ นี้ แต่จะเป็นโครงการอนาคตที่ช่วยเพิ่มขีดความสามารถการขนส่ง

ลุ้น สศช.เคาะทางคู่เฟส2

นายวรวุฒิ กล่าวว่า ความคืบหน้ารถไฟทางคู่ระยะที่ 2 ร.ฟ.ท.ได้ส่งรายละเอียดเพื่อเตรียเสนอคณะกรรมการ สศช. ซึ่งคาดว่าจะทยอยอนุมัติโครงการ เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) โดยอาจไม่ได้เสนอเข้า ครม.ในครั้งเดียว แต่จะเลือกในเส้นทางที่สามารถเชื่อมต่อการขนส่งให้มีประสิทธิภาพสูงสุด

“คาดว่า สศช.จะอนุมัติช่วงขอนแก่น-หนองคาย ก่อนเพราะเป็นเส้นเชื่อมต่อโลจิสติกส์ให้สมบูรณ์จากชุมทางจิระ-ขอนแก่นอยู่แล้ว และเส้นทางนี้ยังเชื่อมต่อลงพื้นที่อีอีซีด้วย”

รอเลยทางคู่เส้นใหม่ชลบุรี-ตราด
ข่าว เศรษฐกิจ-โลจิสติกส์
เดลินิวส์
อังคารที่ 11 มิถุนายน 2562 เวลา 10.03 น.

 รฟท. ชงผลศึกษาความเหมาะสมรถไฟทางคู่สายใหม่ ศรีราชา-ระยอง-จันทบุรี-คลองใหญ่ ให้คมนาคมไฟเขียว ก่อนของบศึกษารายละเอียดออกแบบอีก 1 ปี คาดสร้างปลายปี 64 เปิดให้บริการปี 68-69 พร้อมเร่งเจรจากรมบัญชีกลาง ดันรถไฟทางคู่ ชุมพร-ระนอง ให้สร้างปี 64 เปิดให้บริการปี 67 

 รายงานข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) แจ้งว่า รฟท. อยู่ระหว่างศึกษาความเหมาะสมโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่สายใหม่ ช่วงศรีราชา จ.ชลบุรี-ระยอง-จันทบุรี-คลองใหญ่ จ.ตราด ระยะทาง 250 กม. ขนาดรางคู่ 1 ม. วงเงินลงทุนก่อสร้างประมาณ 50,000-60,000 ล้านบาท ขณะนี้แนวเส้นทางมีความคืบหน้าประมาณ 90% และได้ลงพื้นที่รับฟังความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่แนวเส้นทางแล้ว แต่ยังไม่ได้สรุปว่าจะเลือกแนวเส้นทางไหน เพราะช่วงระยองที่ผ่านช่วงนิคมอุตสาหกรรม ก็มีทางเลือกอยู่ 3 เส้นทาง และทุกคนก็แย่งกัน เช่นเดียวกับช่วงจันทบุรีก็มีหลายชุมชน และทุกคนก็อยากมีรถไฟผ่านใกล้บ้าน 
    
ดังนั้นจึงยังไม่ได้สรุปแนวก่อสร้างที่ชัดเจน อาจจะต้องรอประเมินจากตัวเลขความคุ้มค่าแต่ละเส้นทางก่อน คาดว่าผลการศึกษาจะแล้วเสร็จต้นเดือน ก.ค.62 จากนั้น รฟท. จะนำเสนอกระทรวงคมนาคมให้ความเห็นชอบ ก่อนจะเสนอของบประมาณปี 63 วงเงิน 120-125 ล้านบาท เพื่อศึกษาการออกแบบรายละเอียดโครงการ ประมาณ 1 ปี ก่อนเข้าสู่กระบวนการเปิดประมูลหาเอกชนก่อสร้างกลางปี 64 เริ่มสร้างปลายปี 64 คาดแล้วเสร็จและเปิดให้บริการได้ในปี 68-69 
    
สำหรับโครงการก่อสร้างทางคู่สายดังกล่าว เพื่อรองรับการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ที่มีจะนิคมอุตสาหกรรม รวมทั้งกระตุ้นเศรษฐกิจกิจและการท่องเที่ยวทะเลภาคตะวันออก การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอย่างการจัดนมัสการตามรอยพระพุทธบาท บนเขาคิชฌกูฎ จ.จันทบุรีประจำทุกปี ทำให้มีประชาชนชาวพุทธนิยมและนักท่องเที่ยวไปนมัสการจำนวนมาก รวมทั้งการอำนวยความสะดวกขนส่งสินค้า โดยเฉพาะสวนผลไม้ทุเรียน ที่ปลูกกันมากในพื้นที่ จ.ระยอง ซึ่งจะสามารถขนส่งมายังท่าเรือแหลมฉบัง จ.ชลบุรี เพื่อส่งออกไปต่างประเทศได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว ทำให้มีความคุ้มค่าในการลงทุน
    
ส่วนความคืบหน้าทางคู่รถไฟชุมพร-ท่าเรือน้ำลึกระนอง ระยะทาง 109 กม. รางคู่ขนาด 1 ม. นั้น รฟท. กำลังเจรจาหารือกับกรมบัญชีกลาง เพื่อขอศึกษาการออกแบบรายละเอียดโครงการ และเร่งรัดให้เร็วขึ้นจากแผนเดิมที่ สนข. ระบุในผลการศึกษาว่าเส้นทางดังกล่าวจะเริ่มสร้างปี 64-65 และไม่ได้อยู่ในแผนสร้างปี 63 เนื่องจากเส้นทางดังกล่าวมีความจำเป็นและมีความคุ้มค่าทางด้านเศรษฐกิจ เพราะสามารถเป็นเส้นทางท่องเที่ยวเชื่อมฝั่งทะเลอันดามันและฝั่งอ่าวไทย รวมทั้งขนส่งสินค้าจากท่าเรือระนองผ่านมหาสมุทรอินเดียไปประเทศต่างๆ อาทิ เมียนมา, บังคลาเทศ และ อินเดีย ได้ หากเจรจากับกรมบัญชีกลางสำเร็จจะตั้งงบประมาณปี 63 ศึกษาการออกแบบรายละเอียดโครงการประมาณ 90 ล้านบาท ภายในเวลา 1 ปี  เพื่อจะเริ่มสร้างในปี 64 และเปิดให้บริการในปี 67 


Last edited by Wisarut on 12/06/2019 12:47 pm; edited 2 times in total
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 100, 101, 102 ... 121, 122, 123  Next
Page 101 of 123

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©