Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311238
ทั่วไป:13181630
ทั้งหมด:13492868
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวความคืบหน้าโครงการทางรถไฟสายนครพนม
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวความคืบหน้าโครงการทางรถไฟสายนครพนม
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 21, 22, 23 ... 43, 44, 45  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 17/05/2019 12:31 pm    Post subject: Reply with quote

เวนคืนที่ดินเพิ่มตั้งจุดเก็บตู้สินค้ามุกดาหาร

พฤหัสบดีที่ 16 พฤษภาคม 2562 เวลา 16.02 น.

เร่งย้ายที่ตั้งลานกองเก็บตู้สินค้าของ รฟท. มาอยู่ชิดสถานีขนส่งสินค้ามุกดาหาร ขบ. ลดต้นทุนขนส่ง พร้อมเวนคืนที่เพิ่ม 83 ไร่รองรับลานกองเก็บตู้สินค้า พร้อมสร้างสะพานยกระดับเชื่อมสถานีขนส่งสินค้าคล้ายไอซีดีลาดกระบัง

นายสราวุธ ทรงศิวิไล ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยความคืบหน้าการบูรณาการการดำเนินโครงการสถานีขนส่งสินค้า จ.มุกดาหาร พื้นที่ 201 ไร่ บริเวณ ต.บางทรายใหญ่ อ.เมือง จ.มุกดาหารว่า ขณะนี้กรมการขนส่งทางบก(ขบ.) อยู่ระหว่างออกแบบแผนผังของสถานีขนส่งสินค้า ซึ่งเมื่อออกแบบแล้วเสร็จจะส่งให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ปรับตำแหน่งลานกองเก็บตู้สินค้า (CY) ในขั้นตอนการจัดทำเอกสารประกวดราคาโครงการรถไฟทางคู่ สายบ้านไผ่-มุกดาหาร-นครพนม ต่อไป

นายสราวุธ กล่าวต่อว่า การออกแบบแผนผังของสถานีครั้งนี้ ต้องเวนคืนพื้นที่เพิ่มเติม เพื่อให้ CY ของ รฟท. เลื่อนมาประชิดกับสถานีขนส่งสินค้าที่ ขบ. กำหนดพื้นที่ไว้ โดยให้ รฟท. ใช้พื้นที่ดังกล่าวออกแบบพวงรางใหม่ ซึ่งเวลานี้ ขบ. ได้สำรวจพื้นที่ที่จะเวนคืนเพื่อให้ รฟท. ใช้ก่อสร้าง CY เพื่อประโยชน์ในการเปลี่ยนถ่ายรูปแบบการขนส่งระหว่างรถบรรทุกและรถไฟแล้ว พบว่า ต้องเวนคืนเพิ่มเติมอีก 22 ไร่ จากเดิมจะเวนคืน 61 ไร่ เพิ่มเป็น 83 ไร่ นอกจากนี้ยังได้จัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น(ไออีอี) เสร็จเรียบร้อย และส่งมอบให้ รฟท.แล้ว ทั้งนี้พื้นที่ของโครงการยืนยันว่าไม่มีความทับซ้อมกับพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ จ.มุกดาหาร

นายสราวุธ กล่าวอีกว่า สำหรับการออกแบบพื้นที่บริเวณทางเข้าสถานีขนส่งสินค้า จ.มุกดาหารนั้น ขบ. และกรมทางหลวงชนบท(ทช.) ได้ประชุมหารือเกี่ยวกับแบบรายละเอียดของสะพานยกระดับเข้าสู่สถานีขนส่งสินค้าแล้ว เพื่อรองรับสะพานยกระดับจากถนนสาย มห.3019 ของ ทช. เชื่อมเข้าสู่สถานีขนส่งสินค้า คล้ายกับสถานีบรรจุและแยกสินค้ากล่อง (ไอซีดี) ลาดกระบัง ขณะเดียวกัน ทล. อยู่ระหว่างเตรียมของบประมาณปี 64 เพื่อก่อสร้างทางยกระดับตามแนวถนนสาย ทล. 212 ข้ามจุดตัดระหว่าง ทล. 212 กับ มห. 3019 เพื่ออำนวยความสะดวกขนส่งสินค้าและปลอดภัย ซึ่งจะให้เปิดใช้งานได้พร้อมกับถนนกลับรถลอดใต้ทางยกระดับในปี 65.
 
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44334
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 17/05/2019 4:27 pm    Post subject: Reply with quote

บอร์ด กนพ.ไฟเขียวเลือก JCK เข้าลงทุนพื้นที่เขตศก.พิเศษนครพนม
ข่าวเศรษฐกิจ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- ศุกร์ที่ 17 พฤษภาคม 2562 15:48:52 น.

รายงานข่าวจากทำเนียบรัฐบาล เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ (กนพ.) ที่มีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เป็นประธานการประชุม ได้มีมติเห็นชอบผลการคัดเลือกของคณะทำงานสรรหา คัดเลือก และเจรจาผู้ลงทุนในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ให้บมจ.เจซีเค อินเตอร์เนชั่นแนล (JCK) เป็นผู้ได้รับสิทธิพัฒนาพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษนครพนม และมอบหมายกรมธนารักษ์พิจารณาดำเนินการจัดให้เช่าที่ดินราชพัสดุตามกฎระเบียบและขั้นตอนของทางราชการต่อไป

รวมทั้งเห็นชอบให้กันพื้นที่แนวก่อสร้างทางรถไฟในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษนครพนมเพื่อให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ก่อสร้างทางรถไฟสายบ้านไผ่-นครพนม เนื้อที่ประมาณ 28 ไร่

ทั้งนี้ พื้นที่ที่บริษัทฯ ได้รับสิทธิลงทุนมีประมาณ 1,335 ไร่ ใกล้กับสะพานมิตรภาพไทย-สปป.ลาวแห่งที่ 3 และด่านนครพนม โดยจะพัฒนาเป็นพื้นที่พาณิชยกรรมแบบผสม (Commercial Mix Use) ซึ่งมีการพัฒนาโรงแรม โรงพยาบาล ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ ศูนย์ประชุม/แสดงสินค้านานาชาติ ศูนย์กีฬา/สันทนาการ (sports complex) เขตอุตสาหกรรมทั่วไปและศูนย์กระจายสินค้า

นอกจากนี้ ที่ประชุมได้มอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการให้สิทธิประโยชน์ส่งเสริมการลงทุนและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานพิจารณาแนวทางสนับสนุนเพื่อจูงใจภาคเอกชนให้ลงทุนในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดนเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME)

ทั้งนี้ ที่ประชุมยังได้รับทราบความก้าวหน้าการพัฒนาเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษที่สำคัญ ได้แก่ 1) การลงทุนในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ (2558-ปัจจุบัน) รวมประมาณ 20,500 ล้านบาท (เป็นการขอรับการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI ประมาณ 10,600 ล้านบาท การจัดตั้งธุรกิจใหม่ 6,500 ล้านบาท และโครงการลงทุนของเอกชนในพื้นที่พัฒนาในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตราดและกาญจนบุรี 3,400 ล้านบาท)

2) มาตรการทางภาษีของกรมสรรพากรเพื่อส่งเสริมการลงทุนในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ (ให้ผู้ขอใช้สิทธิสามารถลดหย่อนอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลจากร้อยละ 20 เหลือร้อยละ 10 เป็นระยะเวลา 10 ปี) คณะรัฐมนตรี (เมื่อ 14 พ.ค. 2562) ได้เห็นชอบให้ขยายระยะเวลาของมาตรการฯ ซึ่งเดิมสิ้นสุดไปแล้วตั้งแต่ 31 ธ.ค. 2560 โดยให้ขอใช้สิทธิได้ตั้งแต่ 1 ม.ค. 2561 - 30 ธ.ค. 2563

3) โครงสร้างพื้นฐานและด่านศุลกากร ได้รับจัดสรรงบประมาณปี 2558 – 2562 และส่วนใหญ่ดำเนินการได้ตามแผน ซึ่งโครงการที่ดำเนินการแล้วเสร็จ อาทิ สะพานข้ามแม่น้ำเมย แห่งที่ 2 ลานจอดและอาคารผู้โดยสารใหม่ของท่าอากาศยานแม่สอด ทางหลวงแนวใหม่ 4 ช่องจราจรพร้อมสะพานข้ามแดนบริเวณชายแดนอรัญประเทศ (หนองเอี่ยน) ด่านศุลกากรหนองคายแห่งใหม่ ด่านศุลกากรนครพนมแห่งใหม่ นิคมอุตสาหกรรมสระแก้ว และโครงการที่จะทยอยแล้วเสร็จในปี 2562-2563 เช่น ด่านศุลกากรแม่สอดแห่งใหม่ ด่านศุลกากรอรัญประเทศแห่งใหม่ (ป่าไร่) นิคมอุตสาหกรรมสงขลา ศูนย์เปลี่ยนถ่ายรูปแบบการขนส่งสินค้าเชียงของ

4) การบริหารจัดการแรงงาน แรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงานในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ รวมประมาณ 270,000 คน (ต.ค. 60 – เม.ย. 62) และมีการพัฒนาฝีมือแรงงานไทยประมาณ 10,000 คน รวมทั้งมีการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคติดต่อและโรคอุบัติใหม่ในพื้นที่ชายแดน
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 23/05/2019 9:34 am    Post subject: Reply with quote

เคลียร์จบศูนย์ขนส่งนครพนม "ถนนฉิว-รถทัวร์" สะดวก
ข่าว เศรษฐกิจ-โลจิสติกส์
เดลินิวส์
พุธที่ 22 พฤษภาคม 2562 เวลา 07.07 น.

ปรับแบบถนนด่านนครพนม เชื่อมทางเข้า-ออกหลักศูนย์ขนส่งชายแดนนครพนม ผุดสถานีขนส่งผู้โดยสารติดกับสถานีรถไฟสะพานมิตรภาพแห่งที่ 3 นครพนม-คำม่วน


รายงานข่าวจากกระทรวงคมนาคมแจ้งว่า โครงการศูนย์การขนส่งชายแดน จ.นครพนม พื้นที่ 115 ไร่ ต.อาจสามารถ อ.เมือง จ.นครพนม ที่มีการมอบหมายกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) เจ้าของโครงการ และกรมทางหลวง (ทล.) พิจารณาปรับแบบถนนด่านพรมแดนนครพนม บรรจบถนนทางเข้า-ออกหลักของศูนย์ฯ ซึ่งอยู่ด้านเหนือของศูนย์ฯ ให้เป็นสามแยก โดยติดตั้งสัญญาณไฟจราจรและร่วมกันพิจารณารายละเอียดการก่อสร้างทางยกระดับ เชื่อมจากสะพานมิตรภาพ ไทย-ลาวแห่งที่ 3 (นครพนม-คำม่วน) เข้าศูนย์การขนส่ง ได้ข้อสรุปเบื้องต้นเรื่องทางเข้า-ออกหลักด้านเหนือของศูนย์การขนส่งที่ ขบ. ออกแบบใหม่เป็นทางลอด ให้รถบรรทุกจากฝั่ง สปป.ลาว ข้ามสะพานมิตรภาพแห่งที่ 3 มาเข้าด่านชั่งน้ำหนักของ ทล. จากนั้นรถบรรทุกจะวิ่งออกเข้าทางลอดใต้ดินก่อนขึ้นระดับดินเข้าทางเข้าหลักด้านเหนือของศูนย์การขนส่ง จึงไม่จำเป็นต้องพิจารณาเรื่องทางยกระดับ ซึ่ง ขบ. ได้ส่งแบบทางลอดให้ ทล. พิจารณาความเหมาะสมแล้ว

นอกจากนี้ ขบ. ได้พิจารณาความเหมาะสมที่ตั้งและความจำเป็นการมีสถานีขนส่งผู้โดยสารสาธารณะซึ่งอยู่ติดกับสถานีรถไฟสะพานมิตรภาพแห่งที่ 3 ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ในโครงการรถไฟทางคู่ สายบ้านไผ่-มุกดาหาร-นครพนม พบว่า รฟท. เตรียมพื้นที่ 6.8 ไร่ ด้านใต้ของพื้นที่ลานกองเก็บตู้สินค้า (CY) และหารือบริษัทขนส่งจำกัด (บขส.) ที่เดินรถโดยสารระหว่างประเทศในเส้นทางนครพนม -ท่าแขก หากในอนาคตมีผู้โดยสารเข้าใช้ศูนย์การขนส่งเพิ่มมากขึ้นจะนำพื้นที่มาใช้เป็นจุดเชื่อมต่อไปยังสถานีขนส่งผู้โดยสาร จ.นครพนมต่อไป รวมทั้งพิจารณาโครงข่ายถนนรองรับรถโดยสารมาใช้บริการและประสาน รฟท. เรื่องสถานะสถานะความเป็นเจ้าของที่ดินบริเวณนี้ที่รฟท.ยังไม่ได้เวนคืนหากเวนคืนแล้วจะให้ ขบ. เข้าใช้พื้นที่ด้วย




นอกจากนี้ รฟท. ยังหารือกรมธนารักษ์เกี่ยวกับแนวเส้นทางโครงการรถไฟทางคู่สายบ้านไผ่-มุกดาหาร-นครพนม ช่วงอยู่ใกล้บริเวณศูนย์การขนส่งนครพนมที่กรมธนารักษ์จะประกาศเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษนครพนม เพื่อนำไปประมูลให้เอกชนพัฒนาเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ ซึ่งแนวเส้นทางรถไฟสายนี้มีส่วนทับซ้อนกับพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ 27 ไร่ จึงกันพื้นที่ดังกล่าวออก ทำให้ไม่ต้องปรับแนวเส้นทางรถไฟทางคู่ สายบ้านไผ่-มุกดาหาร-นครพนม ที่จะเริ่มสร้างปี 63 และเปิดใช้งานปี 67 ตามแผน 

ขณะเดียวกัน จ.นครพนมจะจัดประชุมคณะอนุกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก จ.นครพนม (อจร.จังหวัดนครพนม) หารือดำเนินการศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียวให้เกิดความเข้าใจร่วมกันในการบูรณาการและผลักดันให้เกิดพิธีการศุลกากรและการตรวจสอบ (CCA) ภายในศูนย์การขนส่งฯ ซึ่ง ทช. รายงานที่ประชุมนี้ถึงความคืบหน้าการปรับแบบก่อสร้างโครงการถนนสายเชื่อมศูนย์ซ่อมอากาศยาน  (ท่าอากาศยานนครพนม) ถึงศูนย์การขนส่งและจัดตั้งพื้นที่ปฏิบัติงานร่วมกันภายในศูนย์ขนส่งชายแดนนครพนมด้วย
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 28/05/2019 4:57 pm    Post subject: Reply with quote


ข่าวขอนแก่นนิวส์ เรื่องโครงการก่อสร้างทางรถไฟ สายบ้านไผ่-มหาสารคาม-ร้อยเอ็ด-(ยโสธร-) มุกดาหาร-นครพนม ที่ครม. เพิ่งอนุมัติให้ทำ รอแต่การเคลียร์ EIA เพื่อการก่อสร้างทาง
จุดเริ่มต้นโครงการ

เริ่มต้นที่ ชุมทางบ้านหนองแวงไร่ ด้านเหนือของสถานี บ้านไผ่ โดย จุดเริ่มต้นโครงการ กิโลเมตรที่ 411+075 ของเส้นทางรถไฟสายชุมทางถนนจิระ-หนองคาย

แล้วทางรถไฟจะเลี้ยวไปทางตะวันออก ผ่านสถานีมหาสารคาม ผ่านสถานีร้อยเอ็ด ผ่านเขตจังหวัดยโสธร นิดนึงบริเวณสถานีเลิงนกทา

แล้วขึ้นเหนือเข้าสถานีมุกดาหาร ผ่านสะพานมิตรภาพ 2 และอาจจะเชื่อมต่อกับสนามบินใหม่ที่กำลังศึกษาอยู่

และขึ้นเหนือต่อไปสถานีนครพนม และไปสุดทางที่สะพานมิตรภาพ 3 ณ กม. 354+783 จาก สถานีชุมทางบ้านหนองแวงไร่

โดยเป็นโครงการก่อสร้างทางรถไฟใหม่จำนวน 2 ทาง เป็นคันทางระดับดินและบางส่วนเป็นทางรถไฟยกระดับ ระยะทางประมาณ 355 กิโลเมตร
- ซึ่งพื้นที่ส่วนใหญ่ไม่ได้อยู่ในเขตกรรมสิทธิ์ที่ดินของ รฟท. จึงต้องทำการเวนคืนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตลอดเส้นทาง (ประมาณ 17,449 ไร่)
- แนวเส้นทางผ่าน 6 จังหวัด 19 อำเภอ ได้แก่ จ.ขอนแก่น (อ.บ้านไผ่) จ.มหาสารคาม (อ.กุดรัง อ.บรบือ และอ.เมืองมหาสารคาม) จ.ร้อยเอ็ด (อ.ศรีสมเด็จ อ.เมืองร้อยเอ็ด อ.จังหาร อ.เชียงขวัญ อ.โพธิ์ชัย อ.โพนทอง อ.เมยวดี และ อ.หนองพอก) จ.ยโสธร (อ.เลิงนกทา) จ.มุกดาหาร (อ.นิคมคำสร้อย อ.เมืองมุกดาหาร และอ.หว้านใหญ่) จ. นครพนม (อ.ธาตุพนม อ.เรณูนคร และอ.เมืองนครพนม) ทั้งนี้ แนวเส้นทางออกแบบรองรับความเร็วสูงสุด 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

- มีการก่อสร้างสถานีรถไฟใหม่ จำนวน 30 แห่ง (สถานีขนาดใหญ่ 4 แห่ง สถานีขนาดกลาง 5 แห่ง สถานีขนาดเล็ก 9 แห่ง และป้ายหยุดรถ 12 แห่ง) และ 1 ชุมทาง (ชุมทางบ้านหนองแวงไร่)
รูปแบบสถานี แบ่งเป็น 4 ขนาด ได้แก่

สถานีขนาดใหญ่ 4 สถานี น่าจะเป็น มหาสารคาม, ร้อยเอ็ด, มุกดาหาร และ นครพนม

สถานีขนาดกลาง สถานีขนาดเล็ก และป้ายหยุดรถ ซึ่งยังไม่มีรายละเอียดว่าที่ไหนกลาง-เล็ก ครับ

ศูนย์กระจายสินค้าทางรางซึ่งเป็นทั้งย่านสินค้า (CY) และ ลานสินค้าขนาดเล็ก มีทั้งหมด 6 ที่ ได้แก่
ลานบรรทุกตู้สินค้า (Loading Yard) จำนวน 3 แห่ง ได้แก่ ลานบรรทุกตู้สินค้าสถานีภูเหล็ก ลานบรรทุกตู้สินค้าสถานีมหาสารคาม และลานบรรทุกตู้สินค้าอำเภอโพนทอง
ย่านกองเก็บตู้สินค้า (Container Yard : CY) 3 แห่ง ได้แก่ ย่านกองเก็บตู้สินค้าสถานีร้อยเอ็ด ย่านกองเก็บตู้สินค้าสถานีสะพานมิตรภาพ ๒ และย่านกองเก็บตู้สินค้าสถานีสะพานมิตรภาพ ๓

ระบบทั้งหมดเป็นทางรถไฟระบบปิด ไม่มีจุดตัดระดับดินกับถนนภายนอก จะเป็นทางรถไฟยกระดับ, ถนนยกระดับ หรือ ทางลดรถยนต์โดย มีการแก้ไขปัญหาจุดตัดทางรถไฟเสมอระดับ โดยก่อสร้างถนนยกข้ามทางรถไฟ (Overpass) จำนวน 81 แห่ง มีถนนลอดใต้ทางรถไฟ (Underpass) จำนวน 245 แห่ง พร้อมการก่อสร้างรั้วสองข้างทางตลอดแนวเส้นทางรถไฟ ซึ่งจะเป็นการเพิ่มความรวดเร็วและความปลอดภัยในการให้บริการเพื่อให้สามารถรองรับปริมาณผู้โดยสารและสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ

โครงการคาดการณ์ผู้โดยสาร
ในปีที่เปิดให้บริการ จะมีผู้โดยสาร 3,000,000 ล้านคน/ปี และในปี เมื่อผ่านไป 30 ปี จะมีผู้โดยสารถึง 7,700,000 ล้านคน/ปี

การคาดการณ์สินค้า

ในปีที่เปิด มีสินค้าขนส่ง 600,000 ตัน/ปี และเมื่อผ่านไป 30 ปี มีสินค้าขนส่ง 1,000,000 ตัน/ปี

โครงการมี EIRR 12%

ทั้งหมดนี้หวังว่า พอรัฐบาลอนุมัติแล้ว ผมหวังว่าโครงการจะได้เดินหน้าต่อโดยไวครับ


- กรอบวงเงินโครงการ 67,965.33 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินการ 9 ปี (2562-2570)

ป.ล. รายงาน EIA บ้านไผ่-นครพนม. รฟท. อยู่ระหว่างปรับปรุงแก้ไข
https://www.youtube.com/watch?v=X4hRrmpT80o
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=2321420031238262&set=a.1950409178339351&type=3&theater
https://www.facebook.com/Thailand.Infra/posts/671824959922653
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 28/05/2019 5:52 pm    Post subject: Reply with quote

ครม.เคาะทางคู่”บ้านไผ่-นครพนม”6.68 หมื่นล. เวนคืนกว่า7พันแปลงเปิดแนวรถไฟสายใหม่
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: อังคารที่ 28 พฤษภาคม 2562 เวลา 17:41



นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) วันที่ 28 พ.ค. ได้มี มติอนุมัติให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ดำเนินโครงการก่อสร้างทางรถไฟ สายบ้านไผ่ - มหาสารคาม - ร้อยเอ็ด - มุกดาหาร - นครพนม ระยะทาง 355 กม. วงเงิน 66,848.33 ล้านบาท แบ่งเป็นค่าเวนคืน 10,255.33 ล้านบาท (พื้นที่ 7,100 แปลง) ซึ่งตามแผนงาน ของรฟท.ในปี 2562 จะดำเนินการออก พ.ร.ฎ.เวนคืนเพื่อจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน ปี 2563 ประกวดราคา และก่อสร้างปี2563-2567 (ระยะเวลา 5 ปี) คาดว่าจะสามารถเริ่ม การก่อสร้างในเดือนมกราคม 2564 แล้วเสร็จในเดือนธันวาคม 2567 สามารถเปิดให้บริการประชาชนได้ในเดือนมกราคม 2568

ทั้งนี้ การประกวดราคาจ้างก่อสร้างด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding) โดยให้รัฐบาลรับภาระค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการ ซึ่งให้สำนักงบประมาณ จัดสรรงบประมาณรายปี สำหรับค่าเวนคืนที่ดิน และให้กระทรวงการคลังดำเนินการจัดหาและค้ำประกัน เงินกู้ในประเทศให้ดำเนินการก่อสร้าง และได้อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่จะเวนคืนโครงการ โดยให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาต่อไป

ส่วนรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) อยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของคณะผู้ชำนาญการ (คชก.) ซึ่งจะดำเนินการประมูลคู่ขนานและลงนามสัญญาผู้รับจ้างได้เมื่อ EIA อนุมัติแล้ว

โดยโครงการก่อสร้างรถไฟทางทางคู่ บ้านไผ่ - มุกดาหาร – นครพนม เป็นส่วนหนึ่งเส้นทางยุทธศาสตร์โครงข่ายรถไฟตามแนวระเบียงเศรษฐกิจด้านตะวันออก-ตะวันตก ตอนบน(Upper East-West Economic Corridor) ช่วง แม่สอด-พิษณุโลก-เพชรบูรณ์-ขอนแก่น –ร้อยเอ็ด-มุกดาหาร ซึ่งแบ่งเป็น 3 ช่วง คือ ช่วงแรก บ้านไผ่ - นครพนม ช่วงที่ 2 จากนครสวรรค์-บ้านไผ่ ซึ่งขณะนี้รฟท.เตรียมจ้างที่ปรึกษาศึกษาความเหมาะสม ใช้เวลา 6 เดือน แล้วเสร็จปลายปี 2562 และช่วงที่ 3 จากนครสวรรค์-แม่สอด ศึกษาความเหมาะสมเสร็จแล้ว

ซึ่งแนวเส้นทางระเบียบเศรษฐกิจด้านตะวันออก-ตะวันตก จะเชื่อมโครงข่ายรถไฟเดิมไปยังท่าเรือแหลมฉบัง ส่วนด้านตะวันออกจะเชื่อมไปยัง โครงการศูนย์การขนส่งสินค้าชายแดน จังหวัดนครพนม ซึ่งกรมการขนส่งทางบกกำลังดำเนินการก่อสร้าง และสามารถเชื่อมโยงกับเส้นทางรถไฟจากนครพนม ไปยังสปป.ลาว เชื่อมไปถึงเมืองวินและฮานอย ประเทศเวียดนาม ขณะที่ด้านตะวันตก จากแม่สอดจะสามารถเชื่อมไปยังท่าเรือย่างกุ้ง ท่าเรือละแหม่ง ประเทศเมียนมา ในอนาคตได้อีกด้วย

“ช่วง 4 ปีที่ผ่านมารัฐบาลผลักดันการพัฒนาโครงข่ายรถไฟทางคู่เพิ่มอีก 1 เท่าตัว หรือจากที่มี4,043 กม. เป็น 8,000 กม. ซึ่งเส้นทางนี้มีการศึกษาและต้องรอคอยมากว่า 30 ปี “นายอาคมกล่าว

จะเป็นการก่อสร้างทางรถไฟใหม่ จำนวน 2 ทาง เป็นคันทางระดับดิน และบางส่วนเป็นทางรถไฟยกระดับ ผ่านพื้นที่ทั้งหมด 70 ตำบล 16 อำเภอ 6 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร มุกดาหาร และนครพนม โดยมีการก่อสร้างสถานีรถไฟใหม่ จำนวน 30 สถานี 1 ชุมทาง ลานบรรทุกตู้สินค้า 3 แห่ง และย่านกองตู้สินค้า 3 แห่ง มีโรงซ่อมบำรุงบริเวณสถานีภูเหล็ก (จังหวัดขอนแก่น) สำหรับซ่อมวาระเบาและซ่อมวาระปานกลาง ส่วนวาระหนักจะส่งไปซ่อมที่โรงรถจักรอุตรดิตถ์

มีการออกแบบถนนยกข้ามทางรถไฟ (Overpass) จำนวน 81 แห่ง มีถนนลอดใต้ทางรถไฟ (Underpass) จำนวน 245 แห่ง พร้อมการก่อสร้างรั้วสองข้างทางตลอดแนวเส้นทางรถไฟ ความกว้างของราง ขนาด 1 เมตร สามารถเชื่อมต่อกับระบบรางเดิมของ รฟท. ที่มีอยู่ รองรับการเดินรถขนาดความเร็วสูงสุดที่ 160 กิโลเมตร/ชั่วโมง ทางรถไฟเป็นแบบใช้หินโรยทางทั้งทางระดับพื้นดิน สะพาน และโครงสร้างยกระดับที่เป็นคอนกรีต

โดยคาดว่าจะมีปริมาณผู้โดยสาร 3,835,260 คน ในปี 2569 ซึ่งจะเพิ่มขึ้นประมาณ 2.37% ต่อปี และมีปริมาณการขนส่งสินค้า 748,453 ตัน ในปี 2569 ซึ่งจะเพิ่มขึ้นประมาณ 1.19% ต่อปี โครงการนี้จะมีผลตอบแทนทางการเงิน 0.42% และผลตอบแทนทางเศรษฐศาสตร์ที่ 13.49%
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44334
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 29/05/2019 4:55 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
ครม.เคาะทางคู่”บ้านไผ่-นครพนม”6.68 หมื่นล. เวนคืนกว่า7พันแปลงเปิดแนวรถไฟสายใหม่
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: อังคารที่ 28 พฤษภาคม 2562 เวลา 17:41

ครม.อนุมัติงบ 6.6 หมื่นล้าน รถไฟทางคู่บ้านไผ่-นครพนม
กรุงเทพธุรกิจ 29 พ.ค. 62

ครม.ไฟเขียวงบ 6.6 หมื่นล้าน พัฒนารถไฟทางคู่สายใหม่ บ้านไผ่ – นครพนม รฟท.เร่งจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินจ่อเวนคืน 7.1 พันแปลง ปักธงเปิดประมูลปีหน้า ก่อสร้างแล้วเสร็จเปิดใช้ปี 2567

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 28 พ.ค.ที่ผ่านมา โดยระบุว่า ครม.มีมติอนุมัติให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ดำเนินโครงการก่อสร้างทางรถไฟ สายบ้านไผ่ - มหาสารคาม - ร้อยเอ็ด - มุกดาหาร - นครพนม ในวงเงิน 66,848.33 ล้านบาท ด้วยวิธีประกวดราคาจ้างก่อสร้างด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding) โดยหลังจากนี้ รฟท.จะลงสำรวจพื้นที่ พร้อมจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินเพื่อทำการเวนคืน ควบคู่ไปกับการวิเคราะห์ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ)

เบื้องต้นประเมินว่าจะต้องใช้งบประมาณราว 1 หมื่นล้านบาท เพื่อเวนคืนพื้นที่กว่า 7.1 พันแปลงมาพัฒนาโครงการ โดยมีกรอบเวลาดำเนินงาน คือ เริ่มขั้นตอนประกวดราคาจัดหาผู้รับเหมาก่อสร้างภายในปี 2563 หลังจากนั้นจะเริ่มต้นก่อสร้างทันที ใช้เวลาก่อสร้างราว 4 ปีแล้วเสร็จ เพื่อเปิดให้บริการในช่วงปี 2567 หรืออย่างช้าไม่เกินต้นปี 2568

ซึ่งผลการศึกษาโครงการประเมินว่าในปีแรกของการเปิดให้บริการจะมีปริมาณผู้โดยสารอยู่ที่ 3.8 แสนคนต่อปี ปริมาณขนถ่ายสินค้า 7 แสนตันต่อปี และเพิ่มขึ้นในปี 2599 เป็นปริมาณผู้โดยสาร 8.3 ล้านคนต่อปี และปริมาณขนถ่ายสินค้า 1 ล้านตันต่อปี สร้างผลตอบแทนทางเศรษฐกิจอยู่ที่ 13%

"รถไฟสายนี้เป็นสายใหม่ ซึ่งได้ยินชื่อโครงการเมื่อ 50 ปีมาแล้ว แต่เริ่มทำการศึกษาเมื่อปี 2532 หรือเมื่อ 30 ปีที่แล้ว โดยโครงการนี้รัฐบาลจะรับภาระค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการ ค่าเวนคืนต่างๆ ขณะที่กระทรวงการคลังจะเป็นผู้จัดหาแหล่งเงินกู้ให้การรถไฟฯ เป็นผู้กู้เงิน"

นายอาคม ยังกล่าวอีกว่า รถไฟสายใหม่นี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการภายใต้แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมของไทย พ.ศ.2558 - 2565 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแนวทางการพัฒนาโครงข่ายรถไฟตามแนวระเบียบเศรษฐกิจด้านตะวันออก-ตะวันตก ตอนบน ช่วงแม่สอด-พิษณุโลก-เพชรบูรณ์-ขอนแก่น-ร้อยเอ็ด-มุกดาหาร ช่วยกระตุ้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจในพื้นที่ ส่งเสริมการจ้างงานและการลงทุนภาคการเกษตรอุตสาหกรรม

นอกจากนี้ ยังเป็นการเชื่อมต่อโครงการรถไฟ ช่วงชุมทางถนนจิระ-ขอนแก่น ช่วงมาบกะเบา-ชุมทางจิระ โครงการศูนย์การขนส่งสินค้าชายแดนจังหวัดนครพนม ที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง และจะเชื่อมต่อโครงการรถไฟ ช่วงแม่สอด-ตาก-กำแพงเพชร-นครสวรรค์-บ้านไผ่ ที่อยู่ระหว่างการศึกษาและออกแบบโครงการ ซึ่งจะเป็นการเชื่อมโยงโครงข่ายระบบรางไปถึงท่าเรือย่างกุ้ง และท่าเรือมะละแหม่งในประเทศเมียนมา ส่วนอีกด้านหนึ่งก็เชื่อมต่อไปถึงท่าเรือดานัง และท่าเรือไฮฟอง ในประเทศเวียดนาม และยังสามารถเชื่อมต่อไปยังประเทศจีนได้ด้วย

"เมื่อสัปดาห์ก่อนได้มีการประชุมรัฐมนตรีคมนาคมกับทาง สปป.ลาว ทราบว่าทางลาวอยู่ระหว่างให้ทางประเทศเกาหลี ช่วยศึกษาเส้นทางเพื่อเชื่อมต่อทางรถไฟมายังนครพนม ดังนั้นการพัฒนารถไฟสายนี้จะเป็นเส้นทางที่สามารถเชื่อมต่อไปยังเมืองวินห์ และฮานอย ของเวียดนามได้ เป็นเส้นทางรถไฟที่ใช้เชื่อมต่อระหว่างประเทศ อีกทั้งยังจะช่วยสนับสนุนการขนถ่ายสินค้าจากท่าเรือของเวียดนาม เชื่อมกับท่าเรือที่แหลมฉบัง ในพื้นที่อีอีซีด้วย"

สำหรับลักษณะของโครงการจะดำเนินการก่อสร้างทางรถไฟใหม่ จำนวน 2 ทาง เป็นคันทางระดับดิน และบางส่วนเป็นทางรถไฟยกระดับ ระยะทางประมาณ 355 กิโลเมตร (กม.) ผ่านพื้นที่ทั้งหมด 70 ตำบล 16 อำเภอ 6 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร มุกดาหาร และนครพนม โดยมีการก่อสร้างสถานีรถไฟใหม่ จำนวน 30 สถานี 1 ชุมทาง ลานบรรทุกตู้สินค้า 3 แห่ง และย่านกองตู้สินค้า 3 แห่ง มีโรงซ่อมบำรุงบริเวณสถานีภูเหล็ก (จังหวัดขอนแก่น) สำหรับซ่อมวาระเบาและซ่อมวาระปานกลาง ส่วนวาระหนักจะส่งไปซ่อมที่โรงรถจักรอุตรดิตถ์
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 29/05/2019 9:49 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
Wisarut wrote:
ครม.เคาะทางคู่”บ้านไผ่-นครพนม”6.68 หมื่นล. เวนคืนกว่า7พันแปลงเปิดแนวรถไฟสายใหม่
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: อังคารที่ 28 พฤษภาคม 2562 เวลา 17:41

ครม.อนุมัติงบ 6.6 หมื่นล้าน รถไฟทางคู่บ้านไผ่-นครพนม
กรุงเทพธุรกิจ 29 พ.ค. 62

ครม.ไฟเขียวรถไฟทางคู่บ้านไผ่-นครพนม หลังรอมานานกว่า 50 ปี
วันอังคารที่ 28 พฤษภาคม 2562 เวลา 19:59 น.
เทงบ 6.68 หมื่นล้านลุยทางคู่เส้นทางใหม่บ้านไผ่-นครพนม เชื่อมเส้นทางการค้าระเบียงเศรษฐกิจตะวันตก-ตะวันออกตอนบน ผ่านสะพานมิตรภาพ 2 แห่ง มุกดาหาร-นครพนม

นายณัฐพร จาตุศรีพิทักษ์ โฆษกประจำรองนายกรัฐมนตรี ด้านเศรษฐกิจ เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) เมื่อวันที่ 28 พ.ค. 2562 ได้อนุมัติให้การรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) ดำเนินโครงการก่อสร้างทางรถไฟ สายบ้านไผ่-มหาสารคาม-ร้อยเอ็ด-มุกดาหาร-นครพนม วงเงินลงทุนรวม 66,848.33 ล้านบาท

สำหรับการประเมินการใช้บริการนั้น คาดว่าจะมีผู้โดยสาร 3,835,260 คน ในปีเริ่มให้บริการคือปี 2569 และเพิ่มเป็น 8,311,050 คน ในปี 2599 ส่วนปริมาณการขนส่งสินค้าที่ 747,453 ตัน ในปี 2569 และเพิ่มเป็น 1,068,170 ตัน ในปี 2599

คนอีสานเฮ! ครม.อนุมัติ 6.6 หมื่นล้าน สร้างรถไฟทางคู่สายใหม่ “บ้านไผ่-นครพนม” ตอกเข็มปี’64
พร็อพเพอร์ตี้
วันอังคารที่ 28 พฤษภาคม 2562 เวลา 17:38 น.


นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 28 พฤษภาคม 2562 มีมติอนุมัติให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ดำเนินโครงการก่อสร้างทางรถไฟ สายบ้านไผ่ – มหาสารคาม – ร้อยเอ็ด – มุกดาหาร – นครพนม วงเงิน 66,848.33 ล้านบาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 7) ระยะเวลาดำเนินการ 8 ปี (ปีงบประมาณ 2561 – 2568) ด้วยวิธีประกวดราคาจ้างก่อสร้างด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding)

ลักษณะของโครงการจะดำเนินการก่อสร้างทางรถไฟใหม่ จำนวน 2 ทาง เป็นคันทางระดับดิน และบางส่วนเป็นทางรถไฟยกระดับ ระยะทางประมาณ 355 กิโลเมตร ผ่านพื้นที่ทั้งหมด 70 ตำบล 16 อำเภอ 6 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร มุกดาหาร และนครพนม


โดยมีการก่อสร้างสถานีรถไฟใหม่ จำนวน 30 สถานี 1 ชุมทาง ลานบรรทุกตู้สินค้า 3 แห่ง และย่านกองตู้สินค้า 3 แห่ง มีโรงซ่อมบำรุงบริเวณสถานีภูเหล็ก (จังหวัดขอนแก่น) สำหรับซ่อมวาระเบาและซ่อมวาระปานกลาง ส่วนวาระหนักจะส่งไปซ่อมที่โรงรถจักรอุตรดิตถ์ มีการออกแบบถนนยกข้ามทางรถไฟ (Overpass) จำนวน 81 แห่ง มีถนนลอดใต้ทางรถไฟ (Underpass) จำนวน 245 แห่ง

พร้อมการก่อสร้างรั้วสองข้างทางตลอดแนวเส้นทางรถไฟ ความกว้างของราง ขนาด 1 เมตร สามารถเชื่อมต่อกับระบบรางเดิมของ ร.ฟ.ท.ที่มีอยู่ รองรับการเดินรถขนาดความเร็วสูงสุดที่ 160 กิโลเมตร/ชั่วโมง ทางรถไฟเป็นแบบใช้หินโรยทางทั้งทางระดับพื้นดิน สะพาน และโครงสร้างยกระดับที่เป็นคอนกรีต คาดว่าจะสามารถเริ่มดำเนินการก่อสร้างได้ในเดือนมกราคม 2564 แล้วเสร็จในเดือนธันวาคม 2567 สามารถเปิดให้บริการประชาชนได้ในเดือนมกราคม 2568

นอกจากนี้ ครม.ยังรับทราบผลการตรวจสอบยืนยันความก้าวหน้าการดำเนินการแก้ไขปัญหาการบินพลเรือนของไทย (Preliminary Debriefing Report) ของคณะผู้ตรวจสอบขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (International Civil Aviation Organization : ICAO)

ซึ่งคณะผู้ตรวจสอบฯ ได้แสดงความชื่นชมกับความก้าวหน้าของการแก้ไขปัญหาข้อบกพร่องได้อย่างเป็นรูปธรรม จริงจัง และเป็นระบบภายในระยะเวลาไม่นาน ดังจะเห็นได้จากผลการประเมินที่สูงถึงร้อยละ 65 ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยของโลก แสดงให้เห็นถึงการสนับสนุนด้านนโยบายจากรัฐบาลและกระทรวงคมนาคม รวมทั้งสภานิติบัญญัติแห่งชาติในการเร่งรัดปรับปรุงแก้ไขกฎหมายการเดินอากาศที่สอดคล้องกับกฎกติกาของ ICAO ความทุ่มเทของเจ้าหน้าที่สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) และความร่วมมือของผู้ประกอบการภาคเอกชนในการร่วมกันแก้ไขข้อบกพร่องต่างๆ จนสำเร็จ


เคาะ 6.6หมื่นล้าน ลุยสร้างรถไฟบ้านไผ่-นครพนม
เผยแพร่: อังคารที่ 28 พฤษภาคม 2562

ครม.เห็นชอบให้รฟท.ก่อสร้างรถไฟทางคู่สายใหม่เส้นทางบ้านไผ่-นครพนม มูลค่า6.6 หมื่นล้านบาท หนุนเขตเศรษฐกิจพิเศษตะวันตก-ตะวันออก เสร็จปี2567


วันนี้(28 พฤษภาคม 2562) เมื่อเวลา 14.00 น. นายณัฐพร จาตุศรีพิทักษ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะทีมโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังการประชุมครม.ว่า ครม.อนุมัติให้การรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.)ดำเนินการก่อสร้างรถไฟทางคู่ เส้นทาง บ้านไผ่-มหาสารคาม-ร้อยเอ็ด-มุกดาหารและนครพนม มูลค่าก่อสร้าง 6.6 หมื่นล้าน


โครงการนี้จะก่อสร้างแล้วเสร็จปี 2567 ซึ่งเป็นเส้นทางรถไฟสายใหม่ที่จะสนับสนุนเขตเศรษฐกิจพิเศษทั้งตะวันออกและตะวันตก ขยายเส้นทางการค้าไทยสู่เวทีโลก คาดว่ามีผู้โดยสารประมาณ 3.8 ล้านคน ขนสินค้าได้ 7 แสนตันต่อปี และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นในอนาคต โดยรัฐจะได้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ 13%
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 03/06/2019 12:35 pm    Post subject: Reply with quote

ซอย10สัญญาทางคู่ ‘เด่นชัย-เชียงของ’ ‘บ้านไผ่-นครพนม’ 1.5แสนล.
ออนไลน์เมื่อ 2 มิถุนายน 2562
ตีพิมพ์ใน หน้า 12 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
ฉบับ 3475
ระหว่างวันที่ 2-5 มิถุนายน 2562

ยักษ์รับเหมา ไทย-เทศกระหึ่ม รฟท.ชง ซูเปอร์บอร์ดเคาะแบ่งกว่า 10 สัญญาประมูล 2 โครงการ “เด่นชัย-เชียงของ” “บ้านไผ่-นครพนม” 1.5 แสนล้านปลายปีนี้ แหล่งข่าวระดับสูงของ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผย “ฐานเศรษฐกิจ” ว่าเตรียม เสนอคณะกรรมการกำกับนโยบายจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ (ซูเปอร์บอร์ด) แบ่งสัญญาโครงการรถไฟทางคู่ 2 เส้นทางที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้เห็นชอบโครงการ

รถไฟทางคู่ 2 โครงการ มูลค่า 153,310 ล้านบาท ประกอบด้วย เส้นทางเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ และ บ้านไผ่-มุกดาหาร-นครพนม คาดว่าจะมีไม่น้อยกว่า 10 สัญญา ทั้งงานโยธา งานอุโมงค์ และงานระบบอาณัติสัญญาณ โดยอาจแบ่งสัญญาละประมาณ 1 หมื่นล้านบาทขณะเดียวกันยังเตรียมเสนอแบ่งสัญญารถไฟทางคู่ระยะที่ 2 อีก 7 เส้นทางซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการนำเสนอครม. การจัดทำราคากลางและการรับรองผลกระทบสิ่งแวดล้อม(อีไอเอ) คาดว่าจะนำเสนอขออนุมัติประกวดราคาได้ตั้งแต่เดือนมิถุนายน-กรกฎาคมนี้ ส่วนระบบอาณัติสัญญาณแบ่งออกเป็น 3 สัญญาหลังจากงานโยธาคืบหน้าจนใกล้แล้วเสร็จ แต่ภาพรวมจะอยู่ในปี 2563 ทั้งหมด

“หากซูเปอร์บอร์ดไม่มีการเปลี่ยนแปลงตามรัฐบาลคาดว่าจะนำเสนอสู่การพิจารณาได้รวดเร็วขึ้น โดยหลังจากนี้รฟท.จะเร่งกระบวนการดำเนินการด้านเวนคืนที่ดินและการจัดหาที่ปรึกษาดำเนินการจัดประกวดราคาต่อไปโดยเบื้องต้นนั้นมีการประกาศ พ.ร.ฎ.เวนคืนของเส้นทางเด่นชัย-เชียงของออกมาเรียบร้อยแล้ว ส่วนเส้นทางบ้านไผ่-มุกดาหาร-นครพนมยังอยู่ระหว่างรอเตรียมยื่นขออนุมัติประกาศ พ.ร.ฎ.เวนคืนออกมาอย่างเป็นทางการคาดว่าจะใช้ระยะเวลาดำเนินการสำรวจรายละเอียดอีกไม่น้อยกว่า 8 เดือน-1 ปีเนื่องจากเป็นเส้นทางใหม่ทั้ง 2 เส้นทางรวมพื้นที่โดนผลกระทบการเวนคืนเกือบ 2 หมื่นไร่ อีกทั้งอีไอเอเส้นทางบ้านไผ่-มุกดาหารยังไม่ผ่านการรับรองจึงยังมีระยะเวลาดำเนินการ”
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44334
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 04/06/2019 5:26 pm    Post subject: Reply with quote

โครงการก่อสร้างทางรถไฟทางคู่ สายบ้านไผ่-มหาสารคาม-ร้อยเอ็ด-มุกดาหาร-นครพนม
4 มิถุนายน 2562 / 08:48:50

สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดลำพูน รายงานว่า ช่วง ๔ ปีที่ผ่านมา รัฐบาลได้ผลักดันการพัฒนาโครงข่ายรถไฟทางคู่จากเดิม ที่มี ๔,๐๔๓ กม.เป็น ๘,๐๐๐ กม.หรือเพิ่มอีก ๑ เท่าตัว ซึ่งเส้นทางเหล่านี้มีการศึกษาและต้องรอคอยมากว่า ๓๐ ปี และที่ประชุม ครม.วันที่ ๒๘ พ.ค.๖๒ ได้มีมติอนุมัติให้การรถไฟแห่งประเทศไทยดำเนินโครงการก่อสร้างทางรถไฟ สายบ้านไผ่ - มหาสารคาม-ร้อยเอ็ด-มุกดาหาร-นครพนม ระยะทาง ๓๕๕ กม.และร.ฟ.ท.จะออก พ.ร.ฎ.เวนคืนเพื่อจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินใน ปี ๖๒ ประกวดราคาในปี ๖๓ คาดสามารถเริ่มก่อสร้างในเดือน ม.ค.๖๔ แล้วเสร็จในเดือน ธ.ค.๖๗ พร้อมเปิดให้บริการประชาชนได้ในเดือน ม.ค.๖๘

โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ฯ เป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางยุทธศาสตร์โครงข่ายรถไฟตามแนวระเบียงเศรษฐกิจด้านตะวันออก-ตะวันตก ตอนบน (Upper East-West Economic Corridor) ช่วง แม่สอด-พิษณุโลก-เพชรบูรณ์-ขอนแก่น-ร้อยเอ็ด-มุกดาหาร ซึ่งแบ่งเป็น ๓ ช่วง คือ ช่วงแรก บ้านไผ่-นครพนม ช่วงที่ ๒ จากนครสวรรค์-บ้านไผ่ ซึ่งขณะนี้ ร.ฟ.ท.เตรียมจ้างที่ปรึกษาศึกษาความเหมาะสม ใช้เวลา ๖ เดือน แล้วเสร็จปลายปี ๖๒ และช่วงที่ ๓ จากนครสวรรค์-แม่สอด ได้ศึกษาความเหมาะสมเสร็จแล้ว

ทั้งนี้ แนวเส้นทางระเบียบเศรษฐกิจด้านตะวันออก-ตะวันตก จะเชื่อมโครงข่ายรถไฟเดิมไปยังท่าเรือแหลมฉบัง ส่วนด้านตะวันออกจะเชื่อมไปยังโครงการศูนย์การขนส่งสินค้าชายแดน จ.นครพนม ซึ่งกรมการขนส่งทางบกกำลังก่อสร้างและสามารถเชื่อมโยงกับเส้นทางรถไฟจากนครพนมไปยัง สปป.ลาว เชื่อมไปถึงเมืองวินและฮานอย ประเทศเวียดนาม ขณะที่ด้านตะวันตกจากแม่สอดสามารถเชื่อมไปยังท่าเรือย่างกุ้ง ท่าเรือละแหม่ง ประเทศเมียนมาในอนาคตได้อีกด้วย

การก่อสร้างทางรถไฟจะเป็นคันทางระดับดินและบางส่วนจะยกระดับ ผ่านพื้นที่ทั้งหมด ๗๐ ตำบล ๑๖ อำเภอ ๖ จังหวัด ได้แก่ จ.ขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร มุกดาหาร และนครพนม โดยมีการก่อสร้างสถานีรถไฟใหม่ จำนวน ๓๐ สถานี ๑ ชุมทาง ลานบรรทุกตู้สินค้า ๓ แห่ง และกองตู้สินค้า ๓ แห่ง มีโรงซ่อมบำรุงบริเวณสถานีภูเหล็ก (จ.ขอนแก่น) สำหรับการซ่อมเบาและการซ่อมปานกลาง ส่วนการซ่อมหนักจะส่งไปซ่อมที่โรงรถจักร จ.อุตรดิตถ์

ข่าวโดย : รุจิรา เสนานุช 053-511555
บรรณาธิการ : ชีวิน ศรัทธา ประชาสัมพันธ์จังหวัดลำพูน
หน่วยงาน : ส.ปชส.ลำพูน
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 05/06/2019 12:05 pm    Post subject: Reply with quote

ทางคู่ อนาคตโครงข่ายรถไฟ : ทางรถไฟสายใหม่
1. เด่นชัย - เชียงราย - เชียงของ - 326 กม. (สร้างจริงอาจแค่ 323 กิโลเมตรเนื่องจากทางช่วง 3 กิโลเมตรแรกเป็นย่านสถานีเด่นชัย) 85345 ล้านบาท มี26 สถานี โดยมี Container Yard ที่สถานีแพร่ พะเยา ป่าแดด เชียงราย และ เชียงของ
- 100 - 120 kph max FIRR ที่ ลบ 4.81 % แต่ EIRR เป็นบวก ถึง 12.05 % จึงคุ้มที่จะทำ มีตัดทางสายใหม่ เจาะอุโมงค์ใหม่ด้วย
2. บ้านไผ่ - มุกดาหาร - นครพนม - 355 กม. 67965 ล้านบาท มี 19 สถานี แสดงว่าไม่นับที่หยุดรถ 12 แห่ง โดยมี Container Yard ที่สถานีภูเหล็ก มหาสารคาม ร้อยเอ็ด โพธิ์ชัย สะพานมิตรภาพ 2 และ สะพานมิตรภาพ 3 - 100 - 120 kph max
FIRR ที่ 1.49 % และ EIRR เป็นบวก ถึง 12.04 % จึงคุ้มที่จะทำ ที่ล่าช้าเพราะ ติดปัญหา เรื่อง EIA ยังไม่ผ่าน

https://www.facebook.com/pr.railway/posts/2726920373989483
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 21, 22, 23 ... 43, 44, 45  Next
Page 22 of 45

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©