Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311234
ทั่วไป:13180455
ทั้งหมด:13491689
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 196, 197, 198 ... 277, 278, 279  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 30/05/2019 5:54 pm    Post subject: Reply with quote

ตีตั๋วรอ! รฟม.เฟิร์มส.ค.เปิดหวูดรถไฟฟ้า2สายใหม่ หัวลำโพง-ท่าพระและหมอชิต-เซ็นทรัล
ลาดพร้าว

ข่าวรอบวัน
วันพฤหัสบดีที่ 30 พฤษภาคม 2562 เวลา 17:38 น.

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยถึงไทม์ไลน์การเปิดให้บริการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายช่วงหัวลำโพง-หลักสอง จำนวน 11 สถานี ตั้งแต่วันที่ 12 มิ.ย.จะเริ่มทดสอบระบบการเดินรถเสมือนจริง หลังจากมั่นใจแล้วถึงจะเปิดให้ประชาชนใช้บริการเป็นช่วงๆ เหมือนสายสีม่วงช่วงเตาปูน-คลองบางไผ่

“คาดว่าประมาณต้น ก.ค.นี้จะเปิดให้ประชาชนใช้บริการฟรี จนถึงวันที่ 12 ส.ค. จะเก็บค่าโดยสารอัตรา 16-42 บาทเท่ากับสายสีน้ำเงินปัจจุบัน เราพยายามจะเปิดให้บริการได้เร็วก่อนกำหนดในเดือน ก.ย.นี้ แต่ก็ต้องดูเรื่องความปลอดภัยด้วยเช่นกัน เพราะเป็นรถไฟฟ้าที่วิ่งลอดแม่น้ำเจ้าพระยาสายแรกของประเทศไทย”




โดยแนวเส้นทางจะวิ่งต่อเชื่อมจากสถานีหัวลำโพงเป็นโครงสร้างใต้ดิน จากนั้นเป็นสถานีวัดมังกรฯ วังบูรพา สนามไชย ลอดแม่น้ำเจ้าพระยาไปฝั่งธนบุรีที่อิสรภาพ จากนั้นเป็นโครงสร้างยกระดับ มีท่าพระ บางไผ่ บ้างหว้า เพชรเกษม 48 ภาษีเจริญ บางแค และหลักสอง โดยสถานีท่าพระจะเป็นจุดเปลี่ยนถ่ายผู้โดยสารไปยังสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายจะวิ่งไปเชื่อมกับสถานีบางซื่อ ซึ่งมีแผนจะเปิดบริการในเดือน มี.ค.2563

นายภคพงศ์กล่าวอีกว่า สำหรับการเปิดบริการสายสีเขียวส่วนต่อขยายช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ในวันที่ 12 ส.ค.นี้ ทางบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) แจ้งว่ามีความพร้อมจะเปิดบริการจากสถานีหมอชิต-สถานีห้างแยกลาดพร้าว ตั้งอยู่บริเวณด้านหน้าศูนย์การค้าเซ็นทรัลลาดพร้าว ส่วนค่าโดยสารจะเก็บหรือไม่ขึ้นอยู่กับนโยบายของกรุงเทพมหานคร (กทม.) เนื่องจาก รฟม.มอบโครงการให้ กทม.เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 30/05/2019 6:39 pm    Post subject: Reply with quote

ร่างผังเมืองใหม่เน้นพัฒนาแนวรถไฟฟ้า
วันจันทร์ ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2562, 06.00 น.

กรุงเทพมหานครโดย สำนักการวางผังและพัฒนาเมือง จัดประชุมรับฟังข้อคิดเห็นของประชาชนต่อร่างผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร (ปรับปรุงครั้งที่ 4) ณ อาคารกีฬาเวสน์ 2 ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย-ญี่ปุ่น) ดินแดง มีผู้เข้าร่วมประชุมกว่า 1,000 คน



นายทวีศักดิ์ เลิศประพันธ์ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวภายหลังเปิดการประชุมถึงภาพรวมในการพัฒนาผังเมืองครั้งนี้ว่า มีการปรับปรุงในหลายด้านที่ตอบโจทย์ประชาชน มีการให้สิทธิต่างๆ ทั้งด้านการรองรับผู้สูงอายุ การใช้ประโยชน์พื้นที่โล่ง รวมถึงการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนที่จะเห็นความเปลี่ยนแปลงชัดเจนเกิดพื้นที่เศรษฐกิจใหม่แถบชานเมือง การเพิ่มพื้นที่สีเขียวของเมืองที่ยังกระจัดกระจาย ก็จะเปิดโอกาสให้รวมกันเกิดเป็นสวนขนาดใหญ่ซึ่งจะมีความยั่งยืนกว่าสวนตามอาคารต่างๆ รวมไปถึงการกำหนดกรอบแนวทางพัฒนาขยายถนนในอนาคต การพัฒนาเชิงพาณิชย์ พื้นที่สีแดงมีเพียง 5-6% แต่จะเกิดพื้นที่ย่านธุรกิจใหม่ ที่รัชดา พระราม 9 และพัฒนาพื้นที่ด้านนอกเป็นชุมชนชานเมือง ขณะที่ พื้นที่สีเขียว และเขียวลาย รวมกันมี 55% โดยมีการพัฒนาระบบระบายน้ำของเมืองให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย

ไม่พลาดข่าวสำคัญ ติดตาม LINE@แนวหน้า ที่นี่

ทั้งนี้ ในผังเมืองใหม่จะส่งเสริมพัฒนาแนวรถไฟฟ้าเป็นหลัก โดยเฉพาะใจกลางเมืองเป็นศูนย์กลางธุรกิจ จะเห็นการพัฒนาพื้นที่แนวรถไฟฟ้าสายใหม่ที่กำลังก่อสร้าง ทั้งสายสีชมพู (แคราย-มีนบุรี) สายสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง) สายสีส้ม (ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี) สายสีเขียว (หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต และแบริ่ง-สมุทรปราการ) เช่น เขตลาดพร้าว วังทองหลาง บางกะปิ บึงกุ่ม คันนายาว สวนหลวง ศรีนครินทร์ ปรับจากสีเหลือง (ที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย) เป็นสีส้ม (ที่อยู่
อาศัยหนาแน่นปานกลาง) และมีการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีรถไฟฟ้าที่เชื่อมต่อกันเป็นสถานีร่วมรัศมี 800 เมตร ของรถไฟฟ้า 10 สาย ประมาณ 50 สถานีร่วม พื้นที่ปลายทางรถไฟฟ้าจะพัฒนาให้เป็นศูนย์ชุมชน (ซับเซ็นเตอร์) อาทิ มีนบุรี ศรีนครินทร์ ลาดกระบัง บางนา บางขุนเทียน บางแค ตลิ่งชัน และสะพานใหม่ โดยบางซื่อเป็นศูนย์กลางทางธุรกิจ ย่านมักกะสันเป็นเกตเวย์อีอีซี ขณะที่ตากสิน-วงเวียนใหญ่ เป็นจุดเชื่อมรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีทอง และสีม่วงใต้ อีกทั้งมีการเพิ่มโครงข่ายถนนจาก 136 สาย เป็น 203 สาย ทั้งก่อสร้างใหม่และปรับปรุงถนนซอยเดิมที่คับแคบ เพื่อเป็นโครงข่ายถนนสายรองเชื่อมกับถนนสายหลักและสถานีรถไฟฟ้า

ขั้นตอนจากนี้ จะรวบรวมความคิดเห็นประชาชน ปรับปรุงแก้ไขร่างผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร นำเสนอคณะ
ที่ปรึกษาผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร และคณะกรรมการผังเมือง พิจารณาให้ความเห็นชอบ และปิดประกาศฯ 90 วัน ซึ่งประชาชนที่มีส่วนได้เสียยื่นคำร้องได้ จากนั้นส่งกระทรวงมหาดไทยพิจารณานำเข้าคณะรัฐมนตรีเห็นชอบ ประกาศราชกิจจานุเบกษาบังคับใช้กฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมกรุงเทพมหานครฉบับใหม่ ต่อไป ซึ่งคาดว่า
จะมีผังเมืองรวมฉบับใหม่ประมาณปลายปี 2563
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 31/05/2019 11:18 am    Post subject: Reply with quote

รฟม.เร่งผุดรถไฟฟ้ารางเบาภูมิภาค
โดย ไทยรัฐฉบับพิมพ์
ศุกร์ที่ 31 พฤษภาคม 2562 เวลา 07:01 น.

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยความคืบหน้าโครงการระบบขนส่งมวลชนภูมิภาค ว่า หลัง รฟม.ได้รับมอบหมายให้ดำเนินโครงการระบบขนส่งมวลชนภูมิภาค ขณะนี้มีความคืบหน้าในส่วนของรถไฟฟ้ารางเบาระดับพื้นดิน (แทรม) ภูเก็ต จากการเจรจาร่วมกับกรมทางหลวง (ทล.) แก้ปัญหาจุดตัดทางแยก เบื้องต้น รฟม.จะต้องพัฒนาอุโมงค์ทางลอด 2 จุดตัด คือ ทางแยกมุดดอกขาว และบ้านหยี่เต้ง คาดว่าจะต้องใช้งบรวม 1,600 ล้านบาท ทำให้งบก่อสร้างโครงการนี้ปรับขึ้นเป็น 35,000-36,000 ล้านบาท จากเดิม 34,000 ล้านบาท และต้องไปจัดทำผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) เพิ่มเติมด้วย คาดว่ากระบวนการขออีไอเอและขั้นตอนพีพีพีจะแล้วเสร็จใน 2 เดือน เพื่อเสนอเข้าบอร์ด รฟม.และเริ่มประกาศเชิญชวนเอกชนร่วมลงทุนต้นปี 63


นอกจากนี้ ล่าสุด รฟม.ได้ลงนามสัญญาจ้างที่ปรึกษาความเหมาะสม ออกแบบ จัดเตรียมเอกสารประกวดราคา โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดนครราชสีมา สายสีเขียว (ตลาดเซฟวัน-สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์)

คาดว่าจะใช้เวลา 6 เดือนในการประเมินพื้นที่เบื้องต้น เพื่อนำมาจัดทำรูปแบบการลงทุน สำหรับรูปแบบการลงทุน เบื้องต้นจะเปิดให้เอกชนร่วมลงทุนลักษณะเดียวกับรถไฟฟ้าสายสีชมพูและสายสีเหลือง โดยให้เอกชนลงทุนงานโยธาก่อน และ รฟม.จะทยอยจ่ายคืนค่างานโยธาเป็นเวลา 10 ปี ทั้งนี้ จะเปิดกว้างให้ทั้งเอกชนทั่วไปและเอกชนท้องถิ่นที่ต้องการเข้ามามีส่วนร่วม คาดว่าจะประกาศเชิญชวนได้ปลายปี 63 เริ่มสร้างปี 64 เปิดบริการปี 68 ส่วนระบบขนส่งมวลชนจังหวัดเชียงใหม่ รฟม.ได้จ้างที่ปรึกษาเพื่อลงสำรวจพื้นที่แล้ว ส่วนระบบขนส่งมวลชนจังหวัดพิษณุโลก คาดจะล่าช้ากว่าที่อื่น เนื่องจากเพิ่งจัดทำประชาพิจารณ์เพื่อให้ รฟม.เป็นผู้พัฒนาโครงการ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า โครงการระบบขนส่งมวลชนภูมิภาคที่ รฟม.เตรียมเปิดประมูลนั้น มี 3 โครงการ วงเงินรวม 68,000 ล้านบาท ประกอบด้วย 1.รถไฟแทรมภูเก็ต ระยะแรก (ท่าอากาศยานภูเก็ต-ห้าแยกฉลอง) ระยะทาง 41.7 กิโลเมตร วงเงิน 34,000 ล้านบาท 2.รถไฟแทรมเชียงใหม่ สายสีแดง (ศูนย์ราชการฯ-สนามบิน-แม่เหียะ) ระยะทาง 12 กิโลเมตร วงเงิน 24,000 ล้านบาท 3.รถไฟแทรมโคราช สายสีเขียว (ตลาดเซฟวัน-สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์) ระยะทาง 11.17 กิโลเมตร วงเงิน 8,000 ล้านบาท.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 06/06/2019 2:21 am    Post subject: Reply with quote

"ทีดีอาร์ไอ"ลุยศึกษาค่ารถไฟฟ้าแพง
05 Jun 2019
TDRI ชี้ค่ารถไฟฟ้ากรุงเทพแพงกว่าลอนดอน สูงกว่าสิงคโปร์ 15 บาท หรือคิดเป็น 50% สวนทางรายได้ประชากรชาติ หวั่นเปิดรถไฟฟ้าสายใหม่ดันราคามากกว่า 100 บาทต่อเที่ยว ลุยศึกษาแนวทางคุมค่าโดยสารเสนอรัฐบาล พบผู้มีรายได้น้อยแบกค่ารถไฟฟ้าไม่ไหว นายสุเมธ องกิตติกุล ผู้อำนวยการวิจัยด้านนโยบายการขนส่งและโลจิสติกส์ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) เปิดเผยว่าจากผลการศึกษาของ TDRI เรื่องการเปรียบเทียบต้นทุนค่าใช้จ่ายระบบขนส่งสาธารณะรอบกรุงเทพมหานครและปริมณฑลพบข้อมูลว่าค่ารถไฟฟ้าในเมืองหลวงเมื่อวัดตามอำนาจดัชนีการซื้อ(Purchasing Power Parity : PPP) พบว่าประเทศไทยอย่างกรุงเทพมหานครนั้นมีราคาค่อนข้างสูงหรือเฉลี่ยราว 28.30 บาท/เที่ยว สูงกว่าค่ารถไฟฟ้าของสิงคโปร์มากกว่า 50% โดยค่ารถไฟฟ้าเฉลี่ยของสิงคโปร์อยู่ที่ 13.3 บาท/คน/เที่ยว ส่วนฮ่องกงอยู่ที่ 16.78 บาท/คน/เที่ยว ขณะที่ข้อสรุปค่าโดยสารต่อเที่ยวการเดินทางของผู้โดยสาร พบว่าไทยมีค่าโดยสารระบบรางสูงกว่าประเทศในภูมิภาคเอเซียด้วยกันเอง รวมถึงพบว่าไทยมีส่วนต่างค่าโดยสารระหว่างรถไฟฟ้ากับรถโดยสาร (รถเมล์) สูงที่สุด ซึ่งค่าโดยสารรถไฟฟ้าต่อเที่ยวของคนไทยอยู่ที่ 67.4 บาท คิดเป็น 2.14 ดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่ประเทศสิงคโปร์อยู่ที่ราว 25.73 บาท คิดเป็น 0.83 ดอลลาร์สหรัฐ และฮ่องกงอยู่ที่ 46.5 บาท คิดเป็น 1.5 ดอลลาร์สหรัฐทั้งนี้เมื่อเปรียบเทียบโครงสร้างค่าโดยสารระหว่างรูปแบบการเดินทาง พบว่าค่าโดยสารต่อ 1 กิโลเมตรของผู้โดยสารในไทยสูงกว่าประเทศอื่น ๆ แม้กระทั่งเมืองลอนดอนของอังกฤษ โดยไทยมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 14.8 บาท คิดเป็น 0.478 ดอลลาร์สหรัฐ โดยเป็นการคำนวณค่าผ่านดัชนีค่าครองชีพและกำลังซื้อที่ต่างกันแต่ละประเทศแล้วเช่นกัน พบว่าสูงกว่าสิงคโปร์ 6 เท่าและสูงกว่าฮ่องกง 3 เท่า สำหรับตัวเลขการศึกษาพบว่าค่าโดยสารเฉลี่ยต่อ 1 กิโลเมตร ในเมืองลอนดอนอยู่ที่ 12.4 บาท หรือ 0.402 เหรียญสหรัฐ ส่วนสิงคโปร์อยู่ที่ 2.3 บาท หรือ 0.075 เหรียญสหรัฐ และฮ่องกง 4.08 บาท หรือ 0.155 เหรียญสหรัฐ
นายสุเมธกล่าวต่อว่าขณะนี้TDRI อยู่ระหว่างศึกษาแนวทางปรับปรุงสัญญาสัมปทานค่ารถไฟฟ้าของผู้เดินรถรายเดิมและสัญญาเดินรถใหม่ที่กำลังจะเปิดบริการเพื่อให้มีแนวทางควบคุมราคาค่าโดยสารให้มีความเป็นธรรมและเหมาะสมมากยิ่งขึ้น เพื่อนำเสนอต่อรัฐบาลต่อไป อย่างไรก็ตามมองว่าในอนาคตการเปิดเดินรถไฟฟ้าสายใหม่และการเปิดเดินรถช่วงต่อขยายเส้นทางสายเดิมนั้นจะยิ่งส่งผลให้ค่ษโดยสารรถไฟฟ้าสูงมากยิ่งขึ้นหากยังไม่มีการบริหารจัดการทั้งด้านราคาและค่าแรกเข้า คาดว่าค่ารถไฟฟ้าเฉลี่ยต่อการเดินทางหนึ่งครั้งจะสูงกว่า 100 บาท เช่น การเดินทางช่วงบางใหญ่-บางนา หรือการเดินทางจากบางใหญ่-เอกมัย เป็นต้น ดังนั้นการเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายต่างๆควรจะต้องไม่ทำให้ค่าโดยสารบานปลาย เพราะประชาชนอาจไม่สามารถรับภาระได้ จากผลการศึกษาของ TDRI พบว่า กลุ่มผู้มีรายได้น้อยมีความสามารถจ่ายค่าโดยสารรถไฟฟ้าได้ 11.69 บาท/คน/เที่ยว ซึ่งต่ำกว่าค่าโดยสารเฉลี่ยซึ่งอยู่ที่ 28.30 บาทมากกว่า 1 เท่า ขณะที่กลุ่มผู้มีรายได้ปานกลางพบว่ามีความสามารถในการจ่ายค่ารถไฟฟ้า 20.33 บาท/คน/เที่ยว ทั้งนี้ในต่างประเทศมีการควบคุมราคาค่าโดยสารโดยนำเส้นที่เป็นไข่แดงกลางเมืองซึ่งจะมีกำไรมากที่สุด พร้อมนำรายได้ไปเฉลี่ยให้กับรถไฟฟ้าสายอื่นที่กำไรน้อยเพื่อควบคุมค่าโดยสาร แต่ในไทยเป็นเอกชนคนละเจ้า และเอกชนบางรายก็ถือสัญญาหลายสัมปทานอีกด้วย“รถไฟฟ้ามีต้นทุนสูง เนื่องจากจำนวนผู้โดยสารยังน้อยกว่าความสามารถรองรับของระบบที่เคยถูกออกแบบไว้ ( Design Capacity) และไทยสามารถลดลงต้นทุนรถไฟฟ้าได้ด้วยการเพิ่มปริมาณผู้โดยสาร ส่วนบทสรุปข้อเสนอแนะเชิงนโยบายนั้นภาครัฐควรพิจารณา คือ ให้กำหนดอัตราค่าโดยสารรถโดยสารประจำทางและรถไฟฟ้าสอดคล้องกับต้นทุนการดำเนินงาน และกลไกปรับราคาที่ต้องมีการทบทวนทั้งต้นทุนและปริมาณการใช้บริการ อย่างสม่ำเสมอ และมีการพัฒนาคุณภาพการให้บริการที่ดีขึ้น เพื่อให้การประกอบการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ประชาชนได้รับบริการที่มีคุณภาพและเกิดความเท่าเทียมการใช้มากยิ่งขึ้นและระยะยาว แม้ว่าการพัฒนาตั๋วร่วมของระบบขนส่งสาธารณะมีค่าใช้จ่ายการดำเนินงานที่สูง แต่ภาครัฐควรเร่งพิจารณาด้วยเช่นกัน”

รายงานข่าวกระทรวงคมนาคมระบุว่า จากข้อมูลตัวเลขค่าครองชีพของประเทศไทยและสิงคโปร์แล้วต่างกันเกือบ 10 เท่า โดยพบว่าประเทศไทยมีรายได้ต่อหัว อยู่ที่ 18,587 บาท/เดือน สิงคโปร์มีรายได้ต่อหัวที่ 164,194 บาท/เดือน ขณะที่ฮ่องกงมีรายได้ต่อหัว 120,640 /เดือน ส่วนลอนดอนมีรายได้รายหัว 111,032 /เดือน อย่างไรก็ตามการจัดอันดับค่าครองชีพของโลกนั้น เมืองลอนดอนอยู่อันดับที่ 26 ฮ่องกงอยู่อันดับที่ 40 สิงคโปร์อันดับที่ 105 และกรุงเทพอันดับที่ 216ส่วนด้านการเปิดเผยข้อมูลของเว็ปไซต์ Aom Money พบว่าระบบโครงข่ายรถไฟฟ้าซึ่งแพงที่สุดคือ ระบบรถไฟฟ้าบีทีเอส แพงกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT และ รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ของ รฟท. โดยเทียบจาก BTS สถานีศาลาแดง – อโศก ราคาอยู่ที่ 37 บาท กับ MRT สถานีสีลม - สุขุมวิทจ่ายแค่ 23 บาท ซึ่งมีราคาแตกต่างถึง 14 บาทหรือต่อให้เทียบกันในราคาสูงสุด จาก BTS ศาลาแดง ไป BTS หมอชิต 44 บาท กับ MRT สีลม ไป MRT สวนจตุจักร แค่ 42 บาท MRT ก็ยังถูกกว่าอยู่ดี อย่างไรก็ตามรถไฟฟ้าบีทีเอสยังมีส่วนต่อขยายไปชานเมืองซึ่งอาจทำให้ค่าเดินทางสูงสุดถึง 59 บาท และอาจมากกว่า 100 บาทหากต้องการเดินทางจากเขตชานเมืองช่วงบางใหญ่-บางนา หรือ บางใหญ่-บางหว้า อีกทั้งรถไฟฟ้าสายสีเขียวของบีทีเอสยังไม่มีการยกเว้นค่าแรกเข้า เหมือนกับการเชื่อมรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT กับรถไฟฟ้าสายสีม่วงของ รฟม. ขณะที่การเปรียบเทียบราคาแพคเกจเหมาเที่ยวพบว่า รถไฟฟ้า MRT คิดค่าบริการเหมา 40 เที่ยว ราคา 1,040 บาทและเหมา 50 เที่ยว ราคา 1,250 บาท ขณะที่รถไฟฟ้า BTS คิดค่าบริการเหมา 40 เที่ยวราคา 1,080 บาท และเหมา 50 เที่ยว ราคา 1,300 บาท
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 07/06/2019 10:21 am    Post subject: Reply with quote

บอร์ด รฟม.ไฟเขียวสร้างฐานราก"สายสีน้ำตาล"
ศุกร์ที่ 7 มิถุนายน 2562 เวลา 08.03 น.

บอร์ด รฟม.ไฟเขียวงบ 1.4 พันล้าน ก่อสร้างฐานรากรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ประมูลร่วมกับทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือN2 ปีหน้า ก่อสร้างปี 64 มั่นใจผู้โดยสารทะลุ 2 แสนคนเที่ยวต่อวัน

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า คณะกรรมการ (บอร์ด) รฟม.ได้เห็นชอบแผนการลงทุนก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ช่วงแคราย – ลำสาลี ในส่วนของงานก่อสร้างฐานรากรถไฟฟ้า มูลค่าการลงทุน 1,470 ล้านบาท โดย รฟม.จะนำงานดังกล่าวไปประมูลร่วมกับโครงการก่อสร้างระบบทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ตอน N2 ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) เนื่องจากทั้งสองโครงการมีการพัฒนาพื้นที่ในแนวเดียวกัน  ซึ่งมีข้อตกลงร่วมกันว่าให้ กทพ.เป็นผู้พัฒนางานฐานรากของรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลไปพร้อมกับการก่อสร้างทางด่วนด้วย โดย รฟม.จะเป็นผู้จ่ายค่างานก่อสร้างฐานรากรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลเอง ทั้งนี้เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบกับการจราจรในพื้นที่นั้น

นายพุฒิกัญจน์ กาญจนะพังคะ รองผู้ว่าการฝ่ายก่อสร้างและบำรุงรักษา กทพ. กล่าวว่า กทพ. ได้รับรายงานวิเคราะห์ความเหมาะสมของโครงการก่อสร้างระบบทางพิเศษ (ทางด่วน) ขั้นที่ 3 สายเหนือ ตอนทดแทน N1 ตอน N2 และ E-W Corridor ระยะทาง 17.2 กิโลเมตร วงเงิน 2.3 หมื่นล้านบาท จากสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เมื่อเดือนเม.ย.ที่ผ่านมา ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างปรับปรุงแบบและปรับปรุงรายงานวิเคราะห์ความเหมาะสมทางสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) ให้สอดคล้องกับโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลของ รฟม. จากนั้นจะเสนอโครงการให้คณะกรรมการ (บอร์ด)กทพ. และคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณา คาดว่าจะสามารถเปิดประมูลโครงการได้ในปี 63

รายงานข่าวจาก สนข.ระบุว่า รถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล มีแผนก่อสร้างในปี 63 - 64 และมีกำหนดเปิดให้บริการในปี 68 โดยจะเปิดให้เอกชนร่วมลงทุนในโครงการภาครัฐ (พีพีพี) ประมาณการณ์ค่าก่อสร้างทั้งโครงการประมาณ 50,441 ล้านบาท ไม่รวมค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน และสิ่งปลูกสร้างอีกประมาณ 9 พันล้านบาท ซึ่งในปีแรกที่เปิดให้บริการ คาดว่าจะมีปริมาณผู้โดยสารสูงถึง 2.18 แสนคนเที่ยวต่อวัน

สำหรับแนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ช่วงแคราย – ลำสาลี (บึงกุ่ม) มีจำนวน 20 สถานี เริ่มต้นจากแยกแคราย มุ่งหน้าไปทางทิศตะวันออกตามแนวถนนงามวงศ์วาน ผ่านจุดตัดทางพิเศษศรีรัชแยกพงษ์เพชร แยกบางเขน แยกเกษตร ต่อเนื่องไปตามแนวถนนประเสริฐมนูกิจ ผ่านจุดตัดถนนลาดปลาเค้า แยกเสนา จุดตัดถนนสุคนธสวัสดิ์ จุดตัดทางพิเศษฉลองรัช (รามอินทรา – อาจณรงค์) จุดตัดทางหลวง 350 จุดตัดถนนนวมินทร์ แล้วเลี้ยวขวาลงไปทางทิศใต้ตามแนวถนนนวมินทร์ ผ่านแยกโพธิ์แก้ว แยกศรีบูรพา แยกแฮปปี้แลนด์ แยกบางกะปิ ไปสิ้นสุดที่จุดตัดถนนพ่วงศิริและถนนรามคำแหง รวมระยะทาง 22.3 กม.

บอร์ดรฟม.ไฟเขียวควักเอง 1.4 พันล้านสร้างฐานรากรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล คาดสร้างปี’63 – เปิดปี’68
วันที่ 6 มิถุนายน 2562 - 15:44 น.

บอร์ดรฟม. ไฟเขียวควักเอง 1.4 พันล้าน สร้างฐานราก รถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ช่วงแคราย-ลำสาลี มอบการทางพิเศษฯ หลัง กทพ. ไม่ออกให้ก่อน เหตุผิดเงื่อนไขใช้เงินกองทุนทีเอฟเอฟ คาดรวมสัญญาทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ N2 เปิดประมูลปี’63
รฟม.ลุยรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล – นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่าคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟม. ได้เห็นชอบแผนการลงทุนก่อสร้าง งานก่อสร้างฐานรากของ โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ช่วงแคราย-ลำสาลี วงเงิน 1,470 ล้านบาท โดยจะนำงานไปประมูลร่วมกับโครงการก่อสร้างระบบทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ตอน N2 ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) เนื่องจากต้องมีการใช้โครงสร้างเดียวกันบางส่วนตามก่อสร้างที่อยู่ใกล้เคียงกัน และยังเป็นการช่วยบรรเทาผลกระทบด้านการจราจรที่เกิดจากการปิดพื้นที่เพื่อเริ่มงานก่อสร้างด้วย โดยรฟม. จะเป็นผู้จ่ายค่างานก่อสร้างเอง

“ก่อนหน้านี้ตกลงกันว่า กทพ. จะออกค่าก่อสร้างฐานรากรถไฟฟ้าให้ รฟม. ก่อน โดยจะใช้เงินจากกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทย หรือไทยแลนด์ฟิวเจอร์ฟันด์ (ทีเอฟเอฟ) แต่ กทพ. แจ้งว่าจ่ายให้ก่อนไม่ได้เพราะการนำเงินกองทุนทีเอฟเอฟไปลงทุนสร้างรถไฟฟ้า ผิดหลักการใช้เงินกองทุน ทำให้ รฟม. ต้องกลับมาใช้งบของ รฟม. เอง 1470 ล้านบาท”

นายพุฒิกัญจน์ กาญจนะพังคะ รองผู้ว่าการฝ่ายก่อสร้างและบำรุงรักษา กทพ. เปิดเผยว่า กทพ. อยู่ระหว่างปรับปรุงแบบและรายงานวิเคราะห์ความเหมาะสมทางสิ่งแวดล้อม (EIA) โครงการก่อสร้างระบบทางพิเศษ (ทางด่วน) ขั้นที่ 3 สายเหนือ ตอนทดแทน N1 ตอน N2 และ E-W Corridor ระยะทาง 17.2 กิโลเมตร วงเงิน 2.3 หมื่นล้านบาทใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล เตรียมเสนอให้คณะกรรมการ (บอร์ด) และคณะรัฐมนตรี (ครม.) ตามลำดับ คาดว่าจะเปิดประมูลได้ในปี 2563


รายงานข่าวจากสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร หรือ สนข. ระบุว่า รถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล มีแผนจะก่อสร้างในปี 2563-2564 และจะเปิดให้บริการในปี 2568 โดยจะเปิดให้เอกชนร่วมลงทุนโครงการรัฐ (พีพีพี) คาดว่าจะใช้งบก่อสร้าง 50,441 ล้านบาท ไม่รวมค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน และสิ่งปลูกสร้างอีกราว 9 พันล้านบาท โดยมีมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) -5,008.85 ล้านบาท อัตราผลตอบแทนทางด้านการเงิน (FIRR) อยู่ที่ 4.21% ซึ่งในปีแรกของการเปิดให้บริการ คาดว่าจะมีปริมาณผู้โดยสารสูงถึง 2.18 แสนคนเที่ยวต่อวัน

สำหรับแนวเส้นทาง มีจำนวน 20 สถานี เริ่มต้นจากแยกแคราย มุ่งหน้าไปทางทิศตะวันออกตามแนวถนนงามวงศ์วาน ผ่านจุดตัดทางพิเศษศรีรัชแยกพงษ์เพชร แยกบางเขน แยกเกษตร ต่อเนื่องไปตามแนวถนนประเสริฐมนูกิจ ผ่านจุดตัดถนนลาดปลาเค้า แยกเสนา จุดตัดถนนสุคนธสวัสดิ์ จุดตัดทางพิเศษฉลองรัช (รามอินทรา-อาจณรงค์) จุดตัดทางหลวง 350 จุดตัดถนนนวมินทร์ แล้วเลี้ยวขวาลงไปทางทิศใต้ตามแนวถนนนวมินทร์ ผ่านแยกโพธิ์แก้ว แยกศรีบูรพา แยกแฮปปี้แลนด์ แยกบางกะปิ ไปสิ้นสุดที่จุดตัดถนนพ่วงศิริและถนนรามคำแหง รวมระยะทาง 22.3 กิโลเมตร
 
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 09/06/2019 5:00 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
บอร์ด รฟม.ไฟเขียวสร้างฐานราก"สายสีน้ำตาล"
ศุกร์ที่ 7 มิถุนายน 2562 เวลา 08.03 น.

 

บอร์ด รฟม.อนุมัติงบ 1.47 พันล้าน ค่าฐานรากโมโนเรลสีน้ำตาล
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: อาทิตย์ที่ 9 มิถุนายน 2562 เวลา 10:07
ปรับปรุง: อาทิตย์ที่ 9 มิถุนายน 2562 เวลา 18:37




บอร์ด รฟม.อนุมัติกรอบค่าก่อสร้างฐานรากรถไฟฟ้าสีน้ำตาลช่วงทับซ้อนกับทางด่วน N2 วงเงิน 1,470 ล้าน เตรียมชง คจร.ขอตั้งงบปี 63 พร้อมจ้างที่ปรึกษาออกแบบรายละเอียดให้ กทพ.ประมูลพร้อมทางด่วน

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟม.ที่มี นายไกรฤทธิ์ อุชุกานนท์ชัย เป็นประธาน เมื่อวันที่ 4 มิ.ย. ได้มีมติเห็นชอบการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล และเห็นชอบกรอบวงเงินค่าก่อสร้างฐานราก 1,470 ล้านบาท ช่วงที่มีการทับซ้อนกับทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ช่วง N2 ซึ่งมีระยะทางประมาณ 57 กม.

ขั้นตอนจากนี้ รฟม.จะสรุปรายละเอียดเพื่อนำเสนอคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) เพื่อขออนุมัติ และเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ต่อไป

คาดว่าจะสามารถตั้งงบประมาณปี 2563 ในการก่อสร้างฐานรากเสาตอม่อของรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลช่วงที่ทับซ้อนกับทางด่วน N2 ดังกล่าวได้ ขณะเดียวกัน รฟม.จะเร่งจัดจ้างที่ปรึกษาออกแบบในเร็วๆ นี้

สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ช่วงแคราย-ลำสาลี (บึงกุ่ม) ระยะทาง 22.1 กม. มีเส้นทางบางช่วง ทับซ้อนกับโครงการทางด่วนสายเหนือขั้นที่ 3 สายเหนือตอน N2 ช่วงวงแหวนตะวันออก-เกษตรฯ ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ซึ่ง คจร.ให้กระทรวงคมนาคมพิจารณาในการก่อสร้างทั้ง 2 โครงการให้มีผลกระทบน้อยที่สุด

คาดว่าจะมีการก่อสร้างทางด่วน N2 ก่อน ส่วนรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลจะก่อสร้างประมาณปี 2565 เนื่องจากเป็นระบบฟีดเดอร์ ซึ่งจะต้องรอโครงข่ายรถไฟฟ้าสายสีเขียวเหนือ (หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต) สายสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง) สายสีชมพู (แคราย-มีนบุรี) และสายสีแดง (บางซื่อ-รังสิต) เปิดให้บริการก่อนโครงการจึงจะคุ้มค่า

ดังนั้น จึงให้ กทพ.เป็นผู้ก่อสร้างฐานรากเสาตอม่อของรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลไปพร้อมกับทางด่วน โดย รฟม.จะต้องออกแบบเสาตอม่อ ระบบโมโนเรล เพื่อส่งแบบให้ กทพ.ไปรวมกับการประมูลในส่วนของทางด่วน N2


Last edited by Wisarut on 11/06/2019 7:50 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 10/06/2019 5:41 pm    Post subject: Reply with quote

ประชาสัมพันธ์ความก้าวหน้าการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าในความรับผิดชอบของ รฟม. โดยเป็นความก้าวหน้าของงานโยธา(Civil Work) และงานวางระบบรถไฟฟ้า(M&E) ณ วันที่ 31 พฤษภาคม 2562
การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
10 มิถุนายน 2562

1. โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว (เหนือ) ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ความก้าวหน้าของงานโยธา(Civil Work) อยู่ที่ร้อยละ 100
2. โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ส่วนต่อขยาย ช่วงหัวลำโพง-บางเเค เเละช่วงเตาปูน-ท่าพระ ความก้าวหน้าของงานโยธา(Civil Work)เสร็จสมบูรณ์ 100% ณ ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนของงานวางระบบรถไฟฟ้า(M&E) อยู่ที่ร้อยละ 80.63
3. โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงเเคราย-มีนบุรี ความก้าวหน้าของงานโยธา(Civil Work) อยู่ที่ร้อยละ 36.09 และงานวางระบบรถไฟฟ้า(M&E) อยู่ที่ร้อยละ 23.45
4. โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง ความก้าวหน้าของงานโยธา(Civil Work) อยู่ที่ร้อยละ 35.79 และงานวางระบบรถไฟฟ้า(M&E) อยู่ที่ร้อยละ 23.30
5. โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม (ตะวันออก) ช่วงศูนย์วัฒนธรรมเเห่งประเทศไทย-มีนบุรี ความก้าวหน้าของงานโยธา(Civil Work) อยู่ที่ร้อยละ 36.65

**โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว (ใต้) ช่วงเเบริ่ง-สมุทรปราการ ได้เปิดให้ประชาชนทดลองใช้บริการแล้วเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2561

(ข้อมูล ณ วันที่ 31 พฤษภาคม 2562)
https://www.facebook.com/MRTA.PR/photos/a.1409211292628934/2250641518485903/?type=3&theater
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 14/06/2019 3:47 pm    Post subject: Reply with quote

ขอเลื่อนใช้ตั๋วร่วมออกไปอีก 1 เดือน
ข่าวเศรษฐกิจ-โลจิสติกส์
พฤหัสบดีที่ 13 มิถุนายน 2562 เวลา 17.08 น.

เลื่อนใช้ตั๋วร่วมออกไปอีก 1 เดือน เป็น ก.ย.นี้ ซอฟต์แวร์ยังไม่พร้อม จี้รฟม.หาข้อสรุปพัฒนาตั๋วร่วม 4.0 หลังปล่อยเวลาล่วงเลยมา 14 เดือนแล้ว ด้าน รฟม. รับปากชงเข้าบอร์ด 21 มิ.ย.นี้

นายเผด็จ ประดิษฐเพชร ผู้อำนวยการสำนักงานโครงการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม(บัตรแมงมุม) โดยมีนายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคมเป็นประธานว่า ที่ประชุมได้ติดตามความคืบหน้าการพัฒนาระบบตั๋วร่วมจากระบบ 2.0 (ระบบปิด) เป็น 4.0 (ระบบเปิด) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่ใช้งานผ่านบัตร EMV (Euro/ Master/ Visa Card) โดยขณะนี้ล่วงเลยมาเป็นเวลา 14 เดือนแล้วนับจากวันที่คณะกรรมการฯ มีมติให้ รฟม. นำเทคโนโลยี EMV มาใช้ในการพัฒนาตั๋วร่วม แต่ก็ยังไม่ได้ข้อสรุป ที่ประชุมจึงเร่งรัดให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ดำเนินการให้ได้ข้อสรุปโดยเร็ว

นายเผด็จ กล่าวต่อว่า ที่ประชุมได้มอบการบ้านให้ รฟม. นำคำตอบมาเสนอในการประชุมครั้งหน้า 6 ข้อ ประกอบด้วย

1.การนำระบบบัตรแมงมุม 2.0 ในระบบปิดของ สนข. มาพัฒนาต่อยอดร่วมกับระบบตั๋วร่วมมาตรฐานของ รฟม.ให้เป็นระบบมาตรฐานตั๋วร่วมระบบเปิด แบบที่ผูกกับบัญชีในลักษณะของ Account Based Ticking (ABT) ระบบบัตรแมงมุม 4.0

2.แนวทางการจัดทำระบบเปิดแบบที่ผูกกับบัญชีในลักษณะของ ABT เพื่อรองรับบัตรประเภทอื่นๆ เช่น บัตร EMV หรือคิวอาร์โค้ด เป็นต้น

3.แนวทางการจัดตั้งหน่วยงานบริหารจัดการและบำรุงรักษาระบบตั๋วร่วม (CTC) ในระยะสั้น และระยะยาว

4.แผนการดำเนินการระบบตั๋วร่วม

5.มาตรฐานกลางของระบบตั๋วร่วมทั้งระบบปิด และระบบเปิด รวมทั้งเงื่อนไขและร่างข้อตกลงทางธุรกิจต่างๆ ของระบบตั๋วร่วมที่พร้อมจะมอบให้ และสนับสนุนผู้ประกอบการที่จะเข้าร่วมในระบบตั๋วร่วม ทั้งในส่วนของผู้ประกอบการที่เปิดให้บริการในปัจจุบัน และผู้ประกอบการที่จะเปิดให้บริการในอนาคต และ

6.อัตราค่าโดยสารร่วมจะเป็นอย่างไร

ทั้งนี้ รฟม. รับปากว่าจะเร่งดำเนินการ และเสนอเรื่องดังกล่าวให้คณะกรรมการ(บอร์ด) รฟม พิจารณาในวันที่ 21 มิ.ย.62 จากนั้นจะเสนอให้ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารฯ รับทราบทันที

นายเผด็จ กล่าวด้วยว่า ปัจจุบันผู้ที่ถือตั๋วร่วมสามารถใช้ในระบบปิดสำหรับรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-เตาปูน และสายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง-บางซื่อได้แล้ว เบื้องต้นทราบว่าในเดือน ก.ย.นี้ จะสามารถใช้ได้กับรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ ซึ่งล่าช้ากว่าเดิมที่วางแผนไว้ว่าจะเปิดใช้ได้ในเดือน ส.ค.นี้ อย่างไรก็ตามสาเหตุที่ล่าช้า เพราะการพัฒนาซอฟแวร์เพื่อรองรับตั๋วร่วมยังไม่แล้วเสร็จ ส่วนการเดินทางในระบบอื่นๆ คงต้องรอให้ระบบเปิดแล้วเสร็จก่อน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 14/06/2019 4:04 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
Wisarut wrote:
Wisarut wrote:
สนข.ผนึกJICA ศึกษาทิศทางนโยบายแผนแม่บทรถไฟฟ้าระยะ 2จ่อชงปีนี้

30 เมษายน พ.ศ. 2561


เสนอ"คมนาคม"สร้างรถไฟฟ้าสายใหม่ 6 เส้นทาง
วันที่ 01 พฤษภาคม 2561 เวลา 10:50 น.
'อาคม' ลั่น ส.ค.สรุปร่างแผนแม่บทรถไฟฟ้าเฟส 2
1 พฤษภาคม 2561



ผุดรถไฟฟ้าสายใหม่ 131 กิโลเมตร เชื่อมย่านซีบีดี-บูม 13 เมืองใหม่
พร็อพเพอร์ตี้
วันที่ 8 พฤษภาคม 2561 - 09:59 น.


1.สายสถานีแม่น้ำ-บางนา-สนามบินสุวรรณภูมิ ระยะทาง 33 กม. รองรับกับการเติบโตของเมืองฝั่ง จ.สมุทรปราการ และพื้นที่ใกล้เคียง จะเชื่อมกับรถไฟฟ้าสายสีเขียวแบริ่ง-สมุทรปราการ และการพัฒนาบริเวณสถานีแม่น้ำ รวมไปถึงรองรับนักท่องเที่ยวที่มาใช้บริการสนามบินสุวรรณภูมิ และยังช่วยลดความแออัดของผู้โดยสารแอร์พอร์ตลิงก์ด้วย


Wisarut wrote:
กทม.ลุยรถไฟฟ้า “บางนา-สุวรรณภูมิ” BTS ลุ้นชิงดำสัมปทาน 2.7 หมื่นล้าน
คอลัมน์ เวนคืนอัพเดต
หน้าพร็อพเพอร์ตี้
วันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2561 - 08:30 น.

ผลการศึกษาแล้วเสร็จไปเมื่อปี 2556 โครงการรถไฟฟ้าขนาดเบาหรือไลต์เรลสายบางนา-สุวรรณภูมิ ระยะทาง 18.3 กม. ที่ “กทม.-กรุงเทพมหานคร” ผลักดันมาหลายปี มีความคืบหน้าล่าสุด ณ มิ.ย. 2561... แต่เพื่อให้โครงการเดินหน้าเร็วขึ้น “กทม.” ทำรายละเอียดเอกสารให้เอกชนเข้าร่วมลงทุนคู่ขนานไปด้วย เป็นรูปแบบ PPP Net Cost ระยะเวลา 30 ปี เพื่อลดภาระงบประมาณ ซึ่งโมเดลนี้ผ่านการอนุมัติจากคณะกรรมการจัดระบบการจราจร(คจร.) ที่มี “สมคิด จาตุศรีพิทักษ์” รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธานเป็นที่เรียบร้อยแล้วเมื่อปีที่แล้ว

ทั้งโครงการใช้เงินลงทุน 27,892 ล้านบาท ตลอดระยะทาง มี 14 สถานี แบ่งก่อสร้าง 2 ระยะ ในระยะแรกสร้างจาก “แยกบางนา-ธนาซิตี้” จำนวน 12 สถานีและระยะที่ 2 จาก “ธนาซิตี้-สุวรรณภูมิด้านใต้” จำนวน 2 สถานี ตลอดเส้นทางมีจุดต่อเชื่อมกับรถไฟฟ้าบีทีเอสที่สถานีบางนากับสายสีเหลืองลาดพร้าว-สำโรงที่สถานีวัดศรีเอี่ยม

รูปแบบก่อสร้างเป็นโครงสร้างยกระดับบนแนวถนนบางนา-ตราด ซึ่งกรมทางหลวง (ทล.)ได้อนุมัติให้เข้าใช้พื้นที่แล้ว สำหรับจุดที่ตั้งสถานี เริ่มจาก

1) “สถานีบางนา” อยู่ใกล้สี่แยกบางนามีสกายวอล์กเดินเชื่อมกับรถไฟฟ้าบีทีเอสฝั่งอาคารไบเทค ระยะทางประมาณ 550 เมตร

2) “สถานีประภามนตรี” อยู่ใกล้โรงเรียนนานาชาติเบิร์คลีย์และเยื้องกับโรงเรียนประภามนตรี

3) “สถานีบางนา-ตราด 17” อยู่ปากซอยบางนา-ตราด 17 และยังเป็นซอยที่เชื่อมไปยังอุดมสุข 42

4) “สถานีบางนา-ตราด 25” ใกล้ห้างสรรพสินค้าบิ๊กซีและเซ็นทรัลบางนา

5) “สถานีวัดศรีเอี่ยม” จะสร้างคร่อมทางแยกต่างระดับวัดศรีเอี่ยม และรองรับกับสายสีเหลือง

6) “สถานีเปรมฤทัย” อยู่ตรงข้ามกับอาคารเนชั่น

7) “สถานีบางนา-กม.6” อยู่บริเวณกม.6

8) “สถานีบางแก้ว”อยู่ตรงด่านบางแก้ว เลยไปเป็น
9)“สถานีกาญจนาภิเษก” อยู่ตรงข้ามกับเมกะบางนา
10) “สถานีวัดสลุด” อยู่เยื้องกับซอยวัดสลุดกับห้างบุญถาวร
11) “สถานีกิ่งแก้ว” อยู่หน้าตลาดกิ่งแก้ว

12) ปิดท้ายสถานีสุดท้ายของเฟสแรก “สถานีธนาซิตี้” อยู่หน้าหมู่บ้านธนาซิตี้ จะอยู่ใกล้กับอาคารโรงจอดและซ่อมบำรุง(เดโป้) ที่จะขอใช้พื้นที่ว่าง 29 ไร่

ด้านหน้าโครงการธนาซิตี้ก่อสร้าง สำหรับ 2 สถานีที่จะสร้างในอนาคตมี

13) “สถานีมหาวิทยาลัยเกริก” และ
14) “สถานีสุวรรณภูมิใต้” อยู่ภายในพื้นที่สนามบินสุวรรณภูมิส่วนด้านใต้



“อัศวิน” ส่งท้ายเก้าอี้ผู้ว่าฯ กทม. ปิดดีล BTS ตั้งไข่ไลต์เรลบางนา-สุวรรณภูมิ
พร็อพเพอร์ตี้
วันพฤหัสบดีที่ 13 มิถุนายน 2562 เวลา 09:39 น.


หลังมีรัฐบาลใหม่และมีการกำหนดเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) คนใหม่ ชื่อของ “บิ๊กวิน-พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง” จะกลายเป็นอดีต หลังรั้งเก้าอี้พ่อเมืองเสาชิงช้าจากคำสั่ง ม.44 มานานนับปีนับจากวันที่ 18 ต.ค. 2559

พล.ต.อ.อัศวินกล่าวกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า เมื่อมีรัฐบาลใหม่คำสั่ง ม.44 ที่แต่งตั้งตนเป็นผู้ว่าฯ กทม.จะสิ้นสุด ก่อนจะมีการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.คนใหม่ 1 วัน ตามที่ระบุไว้ในกฎหมาย ตอนนี้ยังไม่สามารถตอบได้ว่าจะมีการเลือกตั้งเมื่อใด แต่คาดว่าน่าจะอีกอย่างน้อย 3 เดือนนับจากนี้ เพราะการจัดตั้งรัฐบาลใหม่น่าจะแล้วเสร็จปลายเดือน มิ.ย.นี้

“ภารกิจที่จะต้องทำให้จบก่อนที่ผมจะหมดวาระ คือ สัมปทานเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียวที่จะเจรจาบีทีเอสมาร่วมลงทุน 1 แสนล้าน หลังรัฐบาลออกคำสั่ง ม.44 ทำให้การเจรจากับเอกชนเดินหน้าได้เร็ว ในเดือน ก.ย.นี้ น่าจะเริ่มสัมปทานใหม่ คาดว่าจะเป็นการแก้ไขสัมปทานเดิมที่จะครบกำหนดในปี 2572 รวบเป็นสัมปทานเดียวกันทั้งโครงการ ส่วนค่าโดยสารก็เขย่าใหม่ทั้งโครงข่ายเก็บตามระยะทางที่นั่งจริง”

สำหรับส่วนต่อขยายสายสีเขียวจากคูคต-ลำลูกกาคลอง 4 และสมุทรปราการ-บางปู คงจะยังไม่มีการลงทุนโครงการ เพราะต้องรอประเมินผลเปิดใช้บริการส่วนต่อขยายช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ และหมอชิต-สะพานใหม่-คูคตก่อน เนื่องจากโครงการไม่ค่อยคุ้มทุน และ กทม.ก็ไม่มีอำนาจเนื่องจากอยู่ในพื้นที่จังหวัดปทุมธานีและสมุทรปราการ ถ้าจะทำต้องให้เอกชนเข้ามาร่วมลงทุน กำลังให้ กทม.เร่งดำเนินการเปิดร่วมทุน PPP โครงการระบบขนส่งมวลชนรองระบบไลต์เรลสายบางนา-สุวรรณภูมิ ระยะทาง 18.3 กม. วงเงิน 27,892 ล้านบาท ปัจจุบันได้ประสานขอใช้พื้นที่กับกรมทางหลวงชนบทและกรมทางหลวงเรียบร้อยแล้ว เนื่องจากจะต้องสร้างบนถนนบางนา-ตราด ซึ่งโครงการนี้น่าจะคุ้มทุน เพราะคนที่อยู่อาศัยในแนวเส้นทางมีจำนวนมาก

“ปลายปีหน้าสายสีทองจากกรุงธนบุรี-สำนักงานเขตคลองสานเฟสแรกระยะทาง 1.7 กม. จะสร้างเสร็จ ซึ่งสายนี้ทางเอกชนเป็นผู้ออกเงินค่าลงทุนให้ และ กทม.ให้กรุงเทพธนาคมเป็นวิสาหกิจ กทม.ดำเนินการจัดหาเอกชนก่อสร้าง ติดตั้งระบบและเดินรถ ซึ่งก็ให้บีทีเอสเป็นผู้ดำเนินโครงการให้”

ผู้ว่าฯ กทม.ยังกล่าวถึงโครงการที่อาจจะต้องชะลอออกไป เช่น สะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณราชวงศ์-ท่าดินแดง จะยกเลิกโครงการเพราะการลงทุนไม่คุ้มและประชาชนก็ค้านเยอะ เช่นเดียวกับสะพานเดินข้ามศิริราช

“ทางเลียบแม่น้ำเจ้าพระยา ก็ชะลอไว้ก่อน รอกระทรวงมหาดไทยอนุมัติเพราะรัฐบาลให้ กทม.ทำ ซึ่งรัฐอนุมัติกรอบวงเงินมาให้แล้วทั้งโครงการ ในเฟสแรก 14 กม. จากสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า-สะพานพระราม 7 วงเงิน 8,363 ล้านบาท แต่ดูแล้วคงจะสามารถดำเนินการได้ 2 สัญญา ประมาณ 7 กม. ช่วงสะพานพระราม 7-กรมชลประทาน สามเสน และสะพานพระราม 7-คลองบางพลัด ที่เหลือก็ชะลอไว้ก่อน”

สำหรับโครงการใหญ่ที่กำลังเดินหน้ามีสะพานเกียกกายที่เวนคืนไปแล้ว กำลังจัดสรรงบประมาณก่อสร้าง เมื่อแล้วเสร็จจะช่วยการจราจรโดยรอบรัฐสภาแห่งใหม่ได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้เตรียมจะของบประมาณอุดหนุนจากรัฐบาลพัฒนาโครงการบ่อบำบัดน้ำเสีย จะใช้เงินลงทุนหลาย 10,000 ล้านบาท ส่วนโรงกำจัดขยะจะให้เอกชนมาดำเนินการ

ถ้าไม่พับแผนกลางคันเสียก่อน คงจะเป็นงานใหญ่รอให้ผู้ว่าฯ กทม.คนใหม่มาสานต่อ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 17/06/2019 9:32 am    Post subject: Reply with quote

เลื่อนอีกยาว! ตั๋วร่วม EMV ขยับเป็น ก.ย. 63-รฟม.เร่งกรุงไทยทำระบบหลังบ้าน
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: จันทร์ที่ 17 มิถุนายน 2562 เวลา 09:04
ปรับปรุง: จันทร์ที่ 17 มิถุนายน 2562 เวลา 09:13

ตั๋วร่วม EMV เลื่อนยาวอีกกว่า 1 ปี รฟม.ปรับแผนใหม่หลังเจรจาเงื่อนไขกับกรุงไทยยืดเยื้อ ขีดเส้นต้องพัฒนาระบบหลังบ้านเป็น แมงมุมเวอร์ชัน 4.0 เปิดใช้ ก.ย. 63 รฟม.ชงบอร์ด 21 มิ.ย.เร่งเซ็น MOU เคาะค่าธรรมเนียม 0.8% โดยแบ่งให้แบงก์ผู้ออกบัตร 0.3%

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าการพัฒนาระบบตั๋วร่วมว่า ขณะนี้การเจรจาเงื่อนไขรายละเอียดกับธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ในการพัฒนาตั๋วร่วมจากระบบ 2.0 (ระบบปิด) เป็น 4.0 (ระบบเปิด) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่ใช้งานผ่านบัตร EMV (Euro/ Master/ Visa Card) ได้ข้อสรุปแล้ว โดยล่าสุด นายผยง ศรีวณิช เป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย ระบุว่า คณะกรรมการ (บอร์ด) กรุงไทยได้อนุมัติแล้ว ดังนั้น ในส่วนของ รฟม.จะเสนอที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟม.ที่มี นายไกรฤทธิ์ อุชุกานนท์ชัย เป็นประธาน ในวันที่ 21 มิ.ย. เพื่อขออนุมัติ และเตรียมลงนามใน MOU กับกรุงไทยในการพัฒนาระบบในเร็วๆ นี้

ทั้งนี้ หลังจากมอบหมายให้ธนาคารกรุงไทยเป็นผู้ดำเนินการพัฒนาระบบตั๋วร่วม 4.0 ได้มีการเจรจาเงื่อนไขต่างๆ ซึ่งยังมีข้อขัดข้องอยู่บ้าง ล่าสุด รฟม.จึงต้องปรับแผนกำหนดเป้าหมายให้เปิดใช้จากเดือน ธ.ค. 2562 ออกไปเป็นเดือน ก.ย. 2563 ซึ่งหากยังสรุปไม่ได้ รฟม.อาจจะต้องดำเนินการเองเพื่อไม่ให้ล่าช้าไปกว่านี้ ซึ่งค่าพัฒนาระบบมีวงเงินรวมที่ 800 ล้านบาท

“ล่าสุดเคลียร์กันได้หมดแล้ว เช่น ส่วนแบ่งค่าธรรมเนียมต่างๆ ทั้งในส่วนของกรุงไทยในฐานะผู้พัฒนาระบบหลังบ้าน, ธนาคารผู้ออกบัตร เนื่องจากเป็นระบบเปิดมีมาตรฐานกลาง ซึ่งทุกธนาคารที่มี Visa/Master สามารถออกบัตรได้”

ส่วนการจัดตั้งหน่วยงานบริหารจัดการและบำรุงรักษาระบบตั๋วร่วม (Connect Ticket Company: CTC) ผู้ว่าการ รฟม.กล่าวว่า อยู่ระหว่างพิจารณาความเหมาะสม และบทบาทหน้าที่ เนื่องจากจากเดิมตั๋วร่วมระบบปิดเป็นระบบเติมเงิน ต้องดูแลรักษาเงินในบัตร ส่วนธุรกรรมระบบหลังบ้านของตั๋วร่วม 4.0 ใช้ผ่าน Visa/Master ซึ่งแตกต่างจากเดิม ทำให้ค่าบริหารจัดการลดลงมาก อีกทั้งไม่ต้องทำหน้าที่ในการจำหน่ายบัตร หรือทำการตลาด เมื่อบทบาทหน้าที่และค่าใช้จ่ายลดลง จึงไม่จำเป็นต้องจัดตั้งเป็นบริษัทร่วมทุน หรือบริษัทลูก แต่อาจเป็นแค่เพียงหน่วยธุรกิจ (Business Unit) ภายใน รฟม.

รายงานข่าวแจ้งว่า การพัฒนาระบบตั๋วร่วมจากแมงมุม เวอร์ชัน 2.0 ซึ่งเป็นระบบปิด (Closed Loop) เป็นแมงมุม 4.0 ซึ่งเป็นระบบเปิด (Open Loop) เป็นเทคโนโลยีใหม่ที่ใช้งานผ่านบัตร EMV (Euro/ Master/ Visa Card) ใช้เวลา14 เดือนแต่ยังไม่มีความคืบหน้า ล่าสุด นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคม ได้ประชุมคณะกรรมการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม และเร่งรัด รฟม.จัดตั้งหน่วยงานบริหารจัดการและบำรุงรักษาระบบตั๋วร่วม, แผนการดำเนินการระบบตั๋วร่วม, มาตรฐานกลางของระบบตั๋วร่วม รวมทั้งเงื่อนไขและร่างข้อตกลงทางธุรกิจ รวมถึงแนวทางการคิดอัตราค่าโดยสาร

สำหรับอัตราค่าธรรมเนียมการใช้บัตรระบบตั๋วร่วมต่อ 1 ธุรกรรม ซึ่งคิดจากยอดค่าโดยสารร่วม โดยคิดอัตราค่าแรกเข้าเพียงครั้งเดียวที่ 0.8% รายได้นี้จะแบ่งให้ธนาคารเจ้าของบัตร (ธราคารผู้ออกบัตร) ที่ผู้โดยสารใช้ อัตรา 0.3% และอีกส่วนเป็นของกรุงไทยในฐานะผู้พัฒนาระบบหลังบ้าน อัตรา 0.38% ส่วน รฟม.ได้ 0.12% ซึ่งหากผู้โดยสารใช้บัตรของกรุงไทย เท่ากับกรุงไทยจะได้ส่วนแบ่งถึง 0.68%

แฉระบบ‘ตั๋วร่วม’ล่าช้า ส่อเลื่อนบริการไปปลายปี’63
วันจันทร์ ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2562, 06.00 น.

แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคม เปิดเผยความคืบหน้าในการนำ “ตั๋วร่วม”มาใช้ว่า ความล่าช้าของการพัฒนาตั๋วร่วมนั้นหนึ่งในสาเหตุคือการที่ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.)ไม่สามารถส่งมอบระบบซอฟต์แวร์ และเทคโนโลยีบัตรเครดิต (Security Access Module : SAM) ให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปพัฒนาได้เช่น รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิ้งค์รถเมล์ องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ(ขสมก.) เป็นต้น จึงส่งผลให้ช่วง 14 เดือน ในการพัฒนาระบบถือว่าสูญเปล่า ขณะนี้จึงต้องขอคำตอบจากทางรฟม. ว่าจะพัฒนาเองต่อไป หรือจะเปิดทางให้ธนาคารกรุงไทยเข้ามาพัฒนาระบบ



นอกจากนี้พบว่าฝั่งเอกชนเจ้าของระบบยังมีเงื่อนไขบางข้อ โดย บริษัท วิกซ์ เทคโนโลยี(แบงค็อก) จำกัด หรือ VIX ซึ่งเป็นผู้ผลิต SAM ต้องการให้ผู้บริการทุกรายในระบบตั๋วร่วม ต้องลงนามในสัญญารักษาความลับกับทางบริษัทก่อน ขณะที่ บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ หรือ BEM ซึ่งเป็นผู้ควบคุมตัวข้อมูลระบบต้องการเอกสารต่างๆ จากผู้ให้บริการที่จะเข้าสู่ระบบตั๋วร่วม เพื่อความปลอดภัยควบคุมในการใช้ KEY ส่งผลให้ผู้บริการแต่ละรายต้องใช้เวลาจัดทำเอกสารดังกล่าว ดังนั้นจึงคาดว่าตั๋วร่วมแบบ EMV 4.0 ต้องเลื่อนออกไปให้บริการได้ในช่วงปลายปี 2563 หรืออย่างน้อย 12-18 เดือน นับจากนี้
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 196, 197, 198 ... 277, 278, 279  Next
Page 197 of 279

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©