RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311232
ทั่วไป:13179714
ทั้งหมด:13490946
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 197, 198, 199 ... 277, 278, 279  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 17/06/2019 10:11 am    Post subject: Reply with quote

TDRIย้ำค่ารถไฟฟ้าแพงมาก แค่30-40บ.เหมาะ!จี้‘ขนส่ง’ลดอีก
วันจันทร์ ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2562, 06.00 น.

นายสุเมธ องกิตติกุล ผู้อำนวยการวิจัยด้านนโยบายการขนส่งและโลจิสติกส์ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) เปิดเผยว่าความคืบหน้าผลศึกษาโครงสร้างค่าโดยสารรถไฟฟ้านั้นขณะนี้ได้ส่งให้กรมการขนส่งทางบกไปแล้ว โดยเป็นข้อมูลเกี่ยวกับการเปรียบเทียบต้นทุนและค่าโดยสารปัจจุบันแต่ยังไม่ได้รวมค่าโดยสารในอนาคตและรถไฟฟ้าสายใหม่ที่จะเปิดในอนาคต เช่น โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม และโครงการรถไฟฟ้าสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย ซึ่งในส่วนของแผนการศึกษาเรื่องค่าโดยสารรถไฟฟ้าในอนาตตนั้นจะลงรายละเอียดเรื่องการกำหนดสัญญาสัมปทานที่ระบุเรื่องการควบคุมค่าโดยสาร ให้เอกชนคู่สัญญานำไปปฏิบัติต่อไป



ทั้งนี้ ราคาค่าโดยสารที่เหมาะสมตามสภาพเศรษฐกิจและกำลังการซื้อคือ 30-40 บาท เพื่อให้ผู้มีรายได้น้อยเข้าถึงได้ด้วย และการยกเลิกค่าแรกเข้าเมื่อเชื่อมต่อระบบขนส่งมวลชนสาธารณะถือเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งปัจจุบันรัฐบาลยังไม่สามารถเชื่อมต่อระบบตั๋วร่วม (Common Ticket) ให้เข้ากับทุกระบบการเดินทางได้ โดยมองว่าการควบคุมค่าโดยสารนั้นรัฐบาลมีส่วนสำคัญอย่างมาก หากผู้ดูแลระดับนโยบายมองเห็นความสำคัญและความเดือดร้อนของประชาชน การอุดหนุนค่าโดยสารเพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายก็จะเกิดขึ้นได้ไม่ยาก สำหรับค่าโดยสารรถไฟฟ้าในปัจจุบันนั้นพบว่าค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ พบว่าค่าโดยสารรถไฟฟ้าต่อเที่ยวของคนไทยอยู่ที่ 67.4 บาท ขณะที่ประเทศสิงคโปร์อยู่ที่ราว 25.73 บาท และฮ่องกงอยู่ที่ 46.5 บาท ถือเป็นราคาที่แพงกว่าสิงคโปร์มากกว่า 1 เท่าตัว

ด้านแหล่งข่าวกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า แนวทางการจัดการเรื่องระบบค่าโดยสารร่วม (Common Fare) ส่วนหนึ่งก็คือการนำระบบตั๋วร่วมมาใช้เพื่อลดค่าโดยสารรถไฟฟ้าลง โดยจะมอบให้ TDRI ไปศึกษาลงรายละเอียดในหัวข้อต่างๆเพื่อกำกับดูแลค่าโดยสารให้เหมาะสมกับความเป็นจริง
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 18/06/2019 9:38 am    Post subject: Reply with quote

Quote:
TDRIย้ำค่ารถไฟฟ้าแพงมาก แค่30-40บ.เหมาะ!จี้‘ขนส่ง’ลดอีก
คนกรุงจ่ายค่ารถไฟฟ้าเฉลี่ย 28.30 บาท/เที่ยว แพงจริง! เมื่อเทียบกับค่าครองชีพ
วันจันทร์ ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2562, 06.00 น.



แก้ค่าโดยสารรถไฟฟ้าแพง-รัฐต้องชดเชย “กรมราง” คาดปลายปีศึกษาโครงสร้างเสร็จ
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันจันทร์ ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2562 เวลา 18:24
ปรับปรุง: วันอังคาร ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2562 เวลา 06:34

“กรมราง” คาด 4-5 เดือนศึกษาโครงสร้างค่าโดยสารรถไฟฟ้าเสร็จ ตัวเลขชัด รอคลอด พ.ร.บ.ขนส่งทางราง และกฎหมายลูก ให้อำนาจออกประกาศเป็นเพดานขั้นสูงควบคุม ยอมรับสัมปทานแก้ย้อนหลังไม่ได้ รัฐต้องหาทางชดเชยส่วนต่างให้ประชาชน

นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานประชุมคณะกรรมการพิจารณาโอนทรัพย์สินฯ ของสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ไปเป็นของกรมการขนส่งทางราง ว่า ที่ประชุมได้พิจารณาการโอนทรัพย์สิน งบประมาณ หนี้ ภาระผูกพัน ข้าราชการ พนักงานข้าราชการ ลูกจ้าง และอัตรากำลัง ของ สนข.ไปเป็นของกรมการขนส่งทางราง โดยในส่วนของทรัพย์สินสำนักงานที่ขึ้นทะเบียนครุภัณฑ์ มีจำนวน 121 รายการ ส่วนอัตรากำลังที่ต้องการ 203 คน เบื้องต้นจะเป็นอัตราจากสำนักงานพัฒนาระบบราง สนข.ที่ปรับไปเป็นกรมราง จำนวน 48 คน (ข้าราชการ 44 คน, พนักงานราชการ 4 คน) และเกลี่ยจากข้าราชการของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคมได้อีก 20 อัตรา ส่วนอัตราที่เหลือจะทยอยจัดสรรให้ปลายปี 2562

สำหรับการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับระบบรางซึ่งเดิม สนข.ดำเนินการ จากนี้จะต้องโอนให้กรมรางรับโครงการไปดำเนินการ ทั้งผลการศึกษา และงานที่อยู่ระหว่างศึกษา โดยแต่ละปี สนข.จะมีการศึกษาโครงการต่างๆ ประมาณ 8-10 โครงการ โดยเป็นการศึกษาด้านระบบรางประมาณ 2 โครงการ เช่น งานระบบเชื่อมต่อระบบรถไฟฟ้ากับรถไฟ เป็นต้น

รายงานข่าวแจ้งว่า ปัจจุบัน สนข.ได้จ้างที่ปรึกษาโครงการศึกษาระบบกำกับดูแลกิจการขนส่งทางรางสำหรับประเทศไทย ซึ่งเป็นการศึกษาจัดทำร่างกฎกระทรวง ระเบียบและประกาศที่เกี่ยวข้องกับการประกอบกิจการขนส่งทางราง โดยมีประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการระบบราง เช่น การกำหนดมาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการ, หลักเกณฑ์เงื่อนไขการออกใบอนุญาตประกอบกิจการ, ใบอนุญาตผู้ประจำหน้าที่ เช่น คนขับรถไฟฟ้า, การกำหนดค่าโดยสารและค่าบริการ ค่าระวาง เป็นต้น

ในส่วนของค่าโดยสารนั้น กรมรางในฐานะหน่วยงานกำกับดูแลจะออกประกาศโครงสร้างค่าโดยสาร และค่าระวางระบบรางทุกประเภท โดยจะกำหนดเป็นเพดานขั้นสูง อย่างไรก็ตาม อัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าในปัจจุบันมีจัดเก็บตามเงื่อนไขสัญญาสัมปทานซึ่งการแก้ไขทำได้ยาก

ดังนั้น หากผลการศึกษาโครงสร้างค่าโดยสารที่เหมาะสมต่ำกว่าอัตราที่เก็บจริงในปัจจุบัน ภาครัฐจะต้องหาแนวทาง เช่น ชดเชยส่วนต่างต่อคน-ต่อเที่ยว ซึ่งจะต้องพิจารณาแหล่งเงินหรืองบประมาณที่จะนำมาใช้ในการชดเชยส่วนต่างค่าโดยสารด้วย ซึ่งภายใน 4-5 เดือนนี้โครงสร้างอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าจะมีความชัดเจน


Last edited by Wisarut on 18/06/2019 4:00 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 18/06/2019 1:55 pm    Post subject: Reply with quote

รอ 10 ปีรถไฟฟ้าพร้อมแล้วนะเธอ กทม.เทียบชั้นลอนดอน ล้ำกว่าโตเกียว
ไทยรัฐออนไลน์
วันจันทร์ ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2562 เวลา 18:25 น.

กรุงเทพมหานครจะเทียบชั้นมหานครลอนดอน และล้ำกว่าโตเกียวในอีก 10 ปีข้างหน้า ที่มีรถไฟฟ้าเชื่อมโยงการเดินทาง รวมระยะทางยาวกว่า 500 กิโลเมตร เป็นเมืองในฝันเดินทางสะดวกขึ้น ท่ามกลางปัญหาเดิม ๆ ยังคงอยู่


อนาคต 10 ปีกทม.ในปี 2572 จะมีรถไฟฟ้า 14 สาย 14 สี วิ่งรอบกทม. และวิ่งจากมุมต่าง ๆ ของกทม. ตามที่สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร หรือ สนข. กรุงเทพมหานคร และการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย หรือ รฟม. สรุปแผนไว้นั้น จะมีระยะทางรวม ประมาณ 550 กม. 367 สถานี ครอบคลุมพื้นที่ 4,762 ตร.กม.ของกทม.และปริมณฑลที่มีประชากรมากกว่า 15 ล้านคน

หากทุกอย่างเป็นไปตามแผน จัดได้ว่า กทม.สามารถเทียบชั้นมหานครใหญ่ของโลกปัจจุบัน ที่ตามข้อมูลของศูนย์วิจัยกรุงศรี ระบุว่าพื้นที่โตเกียวซึ่งกว้าง 8,014 ตร.กม. ประชากร 38 ล้านคน มีรถไฟฟ้าระยะทางรวม 292 กม. 274 สถานี พื้นที่ลอนดอน 11,391 ตร.กม. ประชากร 14 ล้านคน มีรถไฟฟ้าระยะทางรวม 408 กม. 275 สถานี


นายสราวุธ ทรงศิวิไล ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร หรือสนข. อธิบายว่า กว่าจะถึงปี 2572 กทม.จะมีความคึกคัก เพราะเกือบทุกปีจะเปิดให้บริการรถไฟฟ้าเส้นทางใหม่ ๆ ทั้งแบบสายใหม่ หรือส่วนต่อขยายในสายเดิม ระบบขนส่งเทียบชั้นเมืองใหญ่ของโลกทีเดียว แผนการเปิดบริการ เช่น ในปี 2563 เปิดบริการส่วนต่อขยายสายสีเขียวเข้ม เส้นหมอชิต-สะพานใหม่ คูคต สายสีน้ำเงิน เตาปูน-ท่าพระ ไปจนถึงปี 2572 เส้นทางในแผนของกทม. เช่น สายสีฟ้า สายสีเทา เพื่อให้โครงข่ายระบบรางเชื่อมโยงทั่ว กทม. ด้วยเป้าหมายมีจำนวนผู้โดยสารใช้บริการประมาณ 4-5 ล้านคน-เที่ยวต่อวัน



รางรถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้ม รอเชื่อมต่อจากหมอชิตไปยังสะพานใหม่-คูคต เปิดให้บริการในปี 2563
ส่วนอีกสิ่งหนึ่งที่หลายคนกังวลคือ ค่าโดยสารรถไฟฟ้าในอนาคตจะพุ่งแพงไปขนาดนี้ เพราะปัจจุบันเฉลี่ยตลอดสายอยู่ที่ 40-50 บาทไปแล้ว เรื่องนี้ ผอ.สนข.ระบุว่าราคาต้องมีความเหมาะสม เพราะเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้มีคนมาใช้บริการมากหรือน้อยด้วย โดยหลักการต้องไม่แพงกว่าในปัจจุบัน และส่วนหนึ่งจะลดภาระค่าโดยสารที่เชื่อมต่อข้ามสาย ไม่มีค่าแรกเข้า

ปัจจุบันมีผู้โดยสารรถไฟฟ้า 1.3 ล้านคน-เที่ยวต่อวัน ในโครงข่ายรถไฟฟ้า 5 สายที่เปิดให้บริการอยู่ คือสายบีทีเอสสุขุมวิท หมอชิต-สำโรง, สายสีลม สนามกีฬาแห่งชาติ-บางหว้า, แอร์พอร์ตลิงก์ พญาไท-สุวรรณภูมิ, รถไฟฟ้าใต้ดินสายสีน้ำเงิน หัวลำโพง-บางซื่อ ที่เชื่อมต่อสายสีม่วง เตาปูน-บางใหญ่


ขบวนรถไฟฟ้าบีทีเอส ณ สถานีปลายทางหมอชิต ที่เปิดให้บริการมาตั้งแต่ปี 2542
“ถ้าโครงข่ายครบ จะรองรับการเดินทางในกทม.ในอนาคตอย่างดี เท่าที่หารือกันทางรัฐบาล โดยกระทรวงคมนาคม จะมีมาตรการจูงใจให้คนมาใช้รถไฟฟ้ามากขึ้น ด้วยการเสริมระบบขนส่งสาธารณะ รถเมล์ เรือ จุดจอดและจร เพื่อลดปริมาณรถยนต์เข้ากทม. การจราจรในกทม.จะไม่แออัดเหมือนเดิม ฝุ่นพิษไอพิษ ไม่มาก กะเวลาเดินทางได้แม่นยำ ไม่เหมือนปัจจุบัน เช่น คนทำงานหลายคนต้องออกจากบ้านตี 5 เพื่อไปถึงที่ทำงานเร็ว เพราะถ้าออกช้า 6 โมงครึ่งต้องใช้เวลาเดินทางอย่างน้อย 2 ชั่วโมง ต่อไปถ้ามีรถไฟฟ้ามีการเชื่อมต่อ ล้อ ราง เรือ แบบไร้ร้อยต่อ ก็สะดวก และสภาพจิตใจดีขึ้น” ผอ.สนข.กล่าวสรุป

แน่นอนว่าการเดินทางสะดวกขึ้น ไม่มีใครโต้แย้ง แต่กทม.ไม่ได้อยู่ในทุ่งลาเวนเดอร์ที่ทุกอย่างสวยงามไปหมด มีปัญหาหลายอย่างในมหานครแห่งนี้ และมีแนวโน้มว่าอีก 10 ปีข้างหน้าก็ยังอยู่


การก่อสร้างโครงสร้างรถไฟฟ้าที่มีอยู่หลายเส้นทางทั่วกทม.ในปัจจุบัน เช่น เส้นรามคำแหง พหลโยธิน
ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ ประธานสถาบันอนาคตศึกษาเพื่อการพัฒนา เล่าถึงภาพกทม.ในอนาคตอีกมุมว่า มีปัญหาหลัก 6 ด้านของกทม.ที่ยังคงอยู่ในอนาคต คือ
1. ปัญหารถติด เพราะบางจุดรถสาธารณะยังไปไม่ถึง คนต้องการความสะดวก และค่านิยมของคนบางกลุ่มมองว่ารถคือเครื่องแสดงสถานะ
2. มลภาวะ อากาศเป็นพิษ ทั้งจากการก่อสร้าง และโรงงาน
3. ปัญหาขยะ ที่ไม่มีวิธีการจัดการเป็นระบบ กำจัดผิดวิธี มีขยะพิษ
4. ปัญหาน้ำเสีย คลองเน่าเหม็น
5. ความแออัดของเมืองหลวง ที่คนยังต้องเข้ามาในเมืองเพื่อทำงาน
6. ปัญหาคุณภาพชีวิต ที่เมืองกรุง เป็นเมืองน่าอยู่สำหรับคนรวย เช่น คนมีเงินสามารถอยู่หมู่บ้านจัดสรรที่ดีและแพง มีระบบรักษาความปลอดภัย อำนวยความสะดวกได้เต็มที่ ส่วนคนชนชั้นกลางยังลำบาก หากไม่อยากมีต้นทุนเดินทางสูง ไม่อยากตื่นเช้า ก็เช่าห้องคอนโดมิเนียมเล็ก ๆ อยู่กลางเมืองเพื่อสะดวกในการเดินทาง


ทางแก้ไขที่จะช่วยให้กรุงเทพมหานครในอนาคตน่าอยู่ เริ่มจากที่แต่ละคนต้องมีวินัย มีความเป็นพลเมืองที่รับผิดชอบต่อสังคม หรือ Citizen Responsibility โดยมีผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ในการพัฒนาประเทศ ไม่ปล่อยให้ปัญหาประเทศเป็นไปตามยถากรรมเหมือนอย่างที่ผ่านมา

นี่คือเมืองกรุงในอีก 10 ปีข้างหน้า ที่เราทุกคนต้องเจอ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 18/06/2019 4:01 pm    Post subject: Reply with quote

วันนี้ (18 มิ.ย.62) นายสราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดีกรมการขนส่งทางราง ให้สัมภาษณ์ในรายการ "เรื่องง่ายใกล้ตัว" ตอน ค่าโดยสารรถไฟฟ้า ซึ่งจะออกอากาศในวันที่ 28 มิถุนายน 2562 เวลา 20.15 น. ทางช่อง Mcot HD
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=2358746457505619&set=a.2313261335387465&type=3&theater
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 19/06/2019 9:26 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
วันนี้ (18 มิ.ย.62) นายสราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดีกรมการขนส่งทางราง ให้สัมภาษณ์ในรายการ "เรื่องง่ายใกล้ตัว" ตอน ค่าโดยสารรถไฟฟ้า ซึ่งจะออกอากาศในวันที่ 28 มิถุนายน 2562 เวลา 20.15 น. ทางช่อง Mcot HD
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=2358746457505619&set=a.2313261335387465&type=3&theater



กรมรางตั้งกองทุนเพื่อ subsidy ค่า โดยสารรถไฟฟ้า
https://www.youtube.com/watch?v=2X2yE-4_9P8

คมนาคมขานรับเสียงวิจารณ์ค่าโดยสารรถไฟฟ้าไทยแพงเว่อร์ ชงรัฐบาลใหม่ลดราคา
เศรษฐกิจ
สยามรัฐออนไลน์
18 มิถุนายน 2562 14:37

หูกวางเร่งรัดพิจารณาค่าโดยสารรถไฟฟ้าแพง หลังโดยเสียงวิจารณ์กระหน่ำ ปลัดคมนาคมขอให้ รฟม.ตรวจสัญญาสัมปทานเดิมพิจารณาแนวทางเจรจาคู่สัมปทานลดค่าโดยสารเหลือ 15 บาทตลอดสายมีความเป็นไปได้

นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคม กล่าวถึงกรณีสังคมพิพากษ์วิจารณ์ค่าโดยสารรถไฟฟ้า ซึ่งผู้ใช้ส่วนใหญ่เห็นว่าราคาปัจจุบันไม่สอดคล้องค่าครองชีพ และค่ารถโดยสารรถไฟฟ้าของไทยสูงกว่าประเทศที่มีเศรษฐกิจเข้มแข็งกว่าไทย ไม่ว่าสิงคโปร์ หรืออังกฤษ ขณะที่ภาคการเมืองอยู่ระหว่างจัดตั้งรัฐบาลมีบางพรรคระบุถึงความจำเป็นปรับลดค่าโดยสารลง เพื่อจูงใจให้คนใช้รถไฟฟ้าเพิ่มขึ้น โดยระบุว่าหากภาครัฐมีนโยบายชัดเจนต้องการปรับลดค่าโดยสาร กระทรวงคมนาคมพร้อมดำเนินการ

โดยในส่วนของรถไฟฟ้าเดิมและการให้สัมปทาน รวมถึงโครงการร่วมลงทุนแบบพีพีพี ส่วนนี้จะขอให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ลงไปตรวจสอบสัญญาว่าหากภาครัฐประสงค์ขอปรับลดค่าโดยสารลง โดยพร้อมหาแหล่งเงินชดเชยรายได้ที่ลดลงนี้จะดำเนินการได้หรือไม่ หากดำเนินการได้จะเข้าสู่การเจรจาต่อไป

ส่วนฝ่ายการเมืองเสนอปรับลดราคารถไฟฟ้าที่รัฐเป็นเจ้าของและจ้างเอกชนเดินรถ เช่น รถไฟฟ้าสีม่วง เหลือ 15 บาทตลอดสาย ทำให้ตลอดเส้นทางที่มีการเชื่อมต่อลดลงด้วยนั้น แนวทางดังกล่าวสามารถทำได้ หากรัฐบาลยอมให้รายได้ส่วนนี้ลดลง เพราะเอกชนรับจ้างการเดินรถจะไม่มีผลกระทบแต่อย่างใด ซึ่งทั้งหมดหลังมีการจัดตั้งรัฐบาลกระทรวงคมนาคมจะรอนโยบายที่ชัดเจนอีกครั้ง


กรมรางฯ เตรียมเสนอรัฐบาลรื้อโครงสร้างราคาค่าโดยสารรถไฟฟ้าใหม่
หมวดข่าว:เศรษฐกิจ
วันที่ 19 มิถุนายน 2562 เวลา 11:21:07 น.

อธิบดีกรมการขนส่งทางราง ซึ่งดูแลขนส่งระบบรางทั้งหมด เตรียมเสนอรัฐบาลชุดใหม่ รื้อโครงสร้างราคาค่าโดยสาร โดยเฉพาะค่าแรกเข้าระบบ กรณีเดินทางต่อเนื่อง

นายสราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดีกรมการขนส่งทางราง เปิดเผยว่าเตรียมเสนอคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ พิจารณาแนวทางการเก็บค่าแรกเข้า กรณีการเปลี่ยนสายรถไฟฟ้าในการเดินทางให้เป็นแบบเสียครั้งเดียวสำหรับรถไฟฟ้าสายใหม่ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต จากปัจจุบันอยู่ที่เก็บ 14-16 บาท

แต่สำหรับรถไฟฟ้าที่ให้บริการอยู่ในปัจจุบัน อย่าง BTS และรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT ที่ได้ลงนามสัมปทานไปก่อนหน้านี้ อาจทำได้ยาก ต้องดูว่าสัญญาเปิดช่องให้สามารถเจรจาได้หรือไม่ แต่หากไม่สามารถทำได้ก็อาจจะใช้วิธีการแก้ไขสัญญาในอนาคตเมื่อหมดสัมปทานแทน และเพิ่มคุณภาพในการให้บริการ

อย่างไรก็ดีเมื่อพระราชบัญญัติขนส่งทางรางมีผลบังคับใช้ ซึ่งคาดว่าจะเป็นช่วงปลายปีนี้ จะเสนอให้คณะรัฐมนตรีชุดใหม่ ตั้งคณะกรรมการพัฒนาโครงสร้างอัตราค่าโดยสารการขนส่งทางราง มีปลัดกระทรวงคมนาคมเป็นประธาน ทำงานร่วมกับกระทรวงการคลังเพื่อดูแลโครงสร้างอัตราค่าโดยสาร สำหรับเครือข่ายเส้นทางรถไฟฟ้าสายใหม่ที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างและที่เตรียมเปิดให้บริการ โดยเตรียมเสนอ 2 แนวทาง คือ

1.มาตรการทางภาษี ให้นิติบุคคลที่สนับสนุนให้พนักงานในสังกัด ใช้บริการรถไฟฟ้าสามารถนำไปหักลดหย่อนภาษีได้

2.ทำในรูปแบบกองทุนเพื่อนำเงินมาอุดหนุนค่าโดยสารรถไฟฟ้า
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 19/06/2019 8:48 pm    Post subject: Reply with quote

รถไฟฟ้าไทย ค่าโดยสารแพงที่สุดในโลก!!! ทำไงดี

ศ.ดร. สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ ประธานสถาบันนวัตกรรมชุมชนอัจฉริยะ และ อธิการบดี สจล. มีข้อเสนอว่า

เรื่องรถไฟฟ้าไทย ประเทศอื่นสามารถเก็บค่าโดยสารรถไฟฟ้าได้ถูกกว่าเพราะรัฐได้รายได้บางส่วนจาก

1. การโฆษณาบนรถ และบนสถานี
2. การลงทุนพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ติดสถานีรถไฟฟ้า
3. การเชื่อมต่ออาคาร ห้างสรรพสินค้า
4. การให้เช่าพื้นที่บนสถานี

รายได้เหล่านี้มหาศาล!! รัฐนำมาอุดหนุนค่าโดยสาร Win Win กันทุกฝ่าย
https://www.facebook.com/236635386951124/photos/a.241331603148169/414161865865141/?type=3&theater
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 21/06/2019 10:56 am    Post subject: Reply with quote

กรมรางประเดิม7มาตรการแก้ตั๋วรถไฟฟ้าแพง TDRI เชียร์รัฐบาลใหม่หนุนค่าโดยสาร-เก็บ20บาทตลอดสาย
พร็อพเพอร์ตี้
วันที่ 19 มิถุนายน 2562 เวลา 12:05 น.


กรมรางเครื่องร้อน เสนอ 7 มาตรการบรรเทาภาระค่าโดยสารรถไฟฟ้าต่อรัฐบาลใหม่ รื้อรูปแบบ PPP เก็บภาษี รัฐอุดหนุนเงิน ตั้งกองทุนกำหนดเพดานราคาสูงสุด เก็บค่าแรกเข้าครั้งเดียว ด้าน TDRI เผย 2 สาเหตุทำราคาแพง จี้รัฐหามาตรการเด็ดขาดจูงใจคน รฟม.ย้ำต่อ กม.ไม่แพง บีทีเอสรอเจรจาโครงสร้างใหม่สายสีเขียวร่วม กทม.สูงสุดไม่เกิน 65 บาท

แม้ว่า “รถไฟฟ้า” กลายเป็นโครงข่ายช่วยให้การเดินทางของคนกรุงเทพฯและปริมณฑลสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น แต่กำลังถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักเรื่องค่าโดยสารที่แพง ไม่สอดคล้องค่าครองชีพคนไทย ทำให้ผู้มีรายได้น้อยเข้าไม่ถึงระบบขนส่งมวลชนสาธารณะได้



เปิดค่านั่งรถไฟฟ้า 4 สาย

ปัจจุบันราคารถไฟฟ้าที่ให้บริการ 4 เส้นทาง (ดูตาราง) ส่วนใหญ่ค่าโดยสารจะอยู่ระหว่าง 14-45 บาท หากเดินทางไกลกรณีสายสีม่วงจาก อ.บางใหญ่นั่งไปต่อสายสีน้ำเงินเพื่อเข้าเมือง ค่าโดยสารสูงสุด 70 บาท/เที่ยว หรือสายสีเขียวจาก จ.สมุทรปราการนั่งยาวมาถึงสถานีหมอชิตจะอยู่ที่ 59 บาท/เที่ยว เมื่อรวมไปกลับจะตกวันละ 140 และ 118 บาท รวมค่าใช้จ่ายต่อเดือน (28 วัน) อยู่ที่ 3,000-4,000 บาท/เดือน ยังไม่นับค่ารถเมล์ มอเตอร์ไซค์ที่ต้องควักจ่ายอีก

TDRI ชี้ไทยแพงสุดในเอเชีย

ยิ่งเห็นภาพมากขึ้นเมื่อสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ทำผลศึกษาเปรียบเทียบต้นทุนค่าใช้จ่ายระบบขนส่งสาธารณะรอบกรุงเทพฯและปริมณฑล พบว่าค่ารถไฟฟ้าในเมืองเมื่อวัดตามอำนาจดัชนีการซื้อ มีราคาค่อนข้างสูง หรือเฉลี่ย 28.30 บาท/คน/เที่ยว สูงกว่าของสิงคโปร์กว่า 50% ที่เฉลี่ยอยู่ที่ 13.3 บาท/คน/เที่ยว ส่วนฮ่องกงอยู่ที่ 16.78 บาท/คน/เที่ยว

ยังระบุอีกว่า ค่าโดยสารระบบรางของไทยสูงกว่าประเทศในภูมิภาคเอเชีย และมีค่าส่วนต่าง ค่าโดยสารระหว่างรถไฟฟ้ากับรถเมล์สูงที่สุด โดยไทยอยู่ที่ 67.4 บาท หรือ 2.14 ดอลลาร์สหรัฐ สิงคโปร์อยู่ที่ 25.73 บาท หรือ 0.83 ดอลลาร์สหรัฐ และฮ่องกงอยู่ที่ 46.5 บาท หรือ 1.5 ดอลลาร์สหรัฐ




เปิด 2 ต้นตอทำไมถึงแพง

ดร.สุเมธ องกิตติกุล ผู้อำนวยการวิจัยด้านนโยบายการขนส่งและโลจิสติกส์ TDRI เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ค่ารถไฟฟ้ามีราคาสูง มี 2 เหตุผล คือ 1.รูปแบบการลงทุนส่วนใหญ่ให้เอกชนร่วมลงทุน (PPP) ซึ่งการลงทุนระบบขนส่งสาธารณะจะมีต้นทุนสูงและใช้เวลาคืนทุนนาน

เช่น รถไฟฟ้าสายแรกสายสีเขียว ช่วงอ่อนนุช-หมอชิต และสนามกีฬาแห่งชาติ-สะพานตากสิน มี บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (BTSC) เป็นผู้ลงทุนทั้งหมด ช่วงแรกเปิดบริการขาดทุนจนต้องเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูและเพิ่งมีกำไรในช่วงหลังปี 2552 ดังนั้น การกำหนดค่าโดยสารจึงตั้งตามต้นทุนที่เอกชนต้องแบก และเมื่อต้องนั่งรถไฟฟ้าหลายระบบ ต้องเสียค่าแรกเข้าและค่าโดยสารตามระยะทางของรถไฟฟ้าระบบนั้น ๆ อีกต่อหนึ่ง จึงทำให้ค่าโดยสารแพง

2.รัฐไม่มีมาตรการส่งเสริมให้ประชาชนหันมาใช้ระบบขนส่งสาธารณะที่เพียงพอ โดยเฉพาะมาตรการเชิงบังคับจำกัดรถยนต์วิ่งเข้าเมือง เช่น จัดเก็บค่าเข้าเมืองในอัตราสูง ในต่างประเทศได้ใช้มาตรการนี้ทั้งสิ้น เช่น กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ หรือสิงคโปร์ เพราะช่วยบีบให้การใช้รถส่วนบุคคลลำบากขึ้น ทำให้คนหันมาใช้ระบบขนส่งสาธารณะ โดยเฉพาะลอนดอนเห็นผลชัดเจนมีคนใช้เพิ่มขึ้น 50%

“ส่วนตัวมีข้อเสนอแนะทำให้รถไฟฟ้ามีราคาถูกขึ้นและจูงใจให้คนหันมาใช้บริการ ได้แก่ รัฐต้องจำกัดการใช้รถส่วนบุคคลอย่างจริงจัง เช่น เก็บค่าธรรมเนียมรถเข้าเมืองในอัตราสูง เป็นสิ่งที่เห็นผลได้จริง อีก 4-5 ปีรถไฟฟ้าในเมืองจะทยอยเสร็จ รัฐต้องคิดถึงเรื่องนี้จริงจัง ไม่ต้องรอให้โครงข่ายครอบคลุมทุกพื้นที่ สามารถดำเนินการควบคู่ไปได้”

ขณะที่ราคาค่าโดยสาร รัฐจะต้องกลับไปดูสัญญา PPP แต่ละโครงการจะสิ้นสุดเมื่อไหร่ และต้องเข้าไปแก้เงื่อนไขต่าง ๆ ในสัญญาที่ช่วยเอื้อให้ค่าโดยสารถูกลง แต่ในระยะสั้นรัฐควรมีมาตรการอุดหนุนค่าโดยสาร
ให้กับประชาชน โดยนำเงินที่จัดเก็บเป็นค่าธรรมเนียมให้รถเข้าเมืองมาเป็นทุน

“ถือเป็นเรื่องดีที่รัฐตั้งกรมการขนส่งทางรางมากำกับดูแลระบบขนส่งทางรางของประเทศ หวังว่าจะสามารถดูแลให้ราคาถูกลงได้ นอกจากนี้ จะต้องประสานงานกับกระทรวงคมนาคมเพื่อร่วมกันบูรณาการยกเครื่องระบบฟีดเดอร์ เช่น รถเมล์ รถสองแถววิ่งในซอย เพื่อให้ประชาชนมาใช้บริการรถไฟฟ้าได้สะดวกขึ้น”

กรมรางเสนอรัฐอุดหนุน-เก็บภาษี

นายสราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดีกรมการขนส่งทางราง กล่าวว่า หากเทียบค่ารถไฟฟ้าของไทยกับต่างประเทศดูแพงกว่า เพราะต่างประเทศรัฐอุดหนุนค่าโดยสารให้ทั้งทางตรงและทางอ้อม ซึ่งเรื่องนี้จะต้องมีการพิจารณากันทุกด้าน เพราะเป็นเรื่องละเอียดอ่อน ที่สำคัญต้องเป็นธรรมกับทุกคนไม่ใช่เฉพาะผู้ใช้รถไฟฟ้าอย่างเดียว

กรมกำลังสรุปมาตรการเสนอให้กระทรวงคมนาคมและรัฐบาลใหม่พิจารณาเพื่อบรรเทาภาระค่าใช้จ่าย คือ 1.เปลี่ยนรูปแบบสัญญาสัมปทานจาก PPP net cost เป็น PPP gross cost 2.กำหนดกรอบราคาขั้นสูงของระบบ 3.กำหนดเงื่อนไขการเชื่อมต่อเพื่อให้ค่าโดยสารไม่สูงเกินไป 4.จัดตั้งคณะกรรมการร่วมระหว่างหน่วยงาน ด้านเศรษฐกิจและด้านคมนาคม ทำหน้าที่หลักในการกำหนดมาตรฐานอัตราค่าบริการ

5.ยกเว้นเก็บค่าแรกเข้ากรณีเดินทางข้ามระบบโดยเฉพาะรถไฟฟ้าสายใหม่ที่จะเปิด 6.มาตรการทางภาษีเพื่อส่งเสริมการเดินทางด้วยรถไฟฟ้า และ 7.อุดหนุนค่าใช้จ่ายการเดินทางด้วยรถไฟฟ้า โดยจะมีการพิจารณาแหล่งเงินหรือกองทุนที่เกี่ยวข้อง โดยปริมาณการอุดหนุนค่าใช้จ่ายการเดินทางด้วยรถไฟฟ้า เช่น จัดตั้งกองทุน หรือคนที่ใช้รถไฟฟ้าสามารถนำค่าโดยสารมาลดหย่อนภาษีได้ เป็นต้น ต้องหารือร่วมกับกระทรวงการคลังด้วย

“ค่าโดยสารตลอดสาย 20-30 บาทก็เป็นแนวคิดหนึ่ง ต้องดูนโยบายของรัฐบาลใหม่ด้วย เพราะถ้าทำรัฐจะต้องอุดหนุน อาจจะเป็นไปได้ในเส้นทางที่ไม่ยาวมาก”

รฟม.รับแพงจริงแต่ไม่ใช่ทั้งหมด

ด้านนายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ยอมรับว่า ค่าเดินทางโดยเฉลี่ยเมื่อวัดตามอำนาจดัชนีการซื้อที่ 28.30 บาท/คน/เที่ยว ตามที่ TDRT ระบุ สูงกว่าสิงคโปร์และฮ่องกงนั้นเป็นความจริง ซึ่งตัวเลขดังกล่าวอ้างอิงมาจากการเดินทางของรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินและสายสีม่วงเชื่อมต่อกัน แต่พบว่ามีตัวเลขบางส่วนที่คลาดเคลื่อนไป เช่น ค่าโดยสารต่อ 1 กม.ของผู้โดยสารในไทยที่ 14.8 บาท ต่างจาก รฟม.จัดเก็บไว้ผู้โดยสารเดินทางเฉลี่ย 5 สถานี/ครั้ง หากนำตัวเลข 28.30 บาทมาหารค่าเฉลี่ย 5 สถานี ค่าโดยสารต่อ 1 กม.จะอยู่ที่ 5 บาทต่อ 1 กม.เท่านั้น ส่วนค่ารถไฟฟ้าต่อเที่ยวของคนไทยอยู่ที่ 67.4 บาทก็ไม่เป็นความจริง เพราะส่วนใหญ่เดินทางเฉลี่ย 5 สถานี ราคายังอยู่ใน
โครงสร้างระบบ 16-42 บาท

โอกาสที่ค่าโดยสารในอนาคตจะถูกลงขึ้นอยู่กับการกำกับดูแลของกรมการขนส่งทางรางเป็นสำคัญ เพราะเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่กำกับดูแลให้อัตราค่าโดยสารของระบบรถไฟฟ้าโดยรวมถูกลง (common fair) โดยตรง ส่วนระบบตั๋วร่วมหรือบัตรแมงมุมที่ยังอยู่ระหว่างการพัฒนานั้นเปรียบเสมือน hardware เท่านั้น คาดว่าถ้ากรมรางจัดตั้งได้เต็มรูปแบบจะเห็นการพัฒนาไปสู่ common fair ได้ชัดขึ้น

“การปรับค่าโดยสารให้ถูกลงมีหลายแบบ ที่ลอนดอนมีหน่วยงานดูแลระบบคมนาคมชื่อว่า Transport for London (TFL) จะควบคุมระบบขนส่งสาธารณะทุกโหมด ทั้งรถไฟฟ้า รถเมล์ บริหารจัดการโดยแบ่งโซนการเดินทาง แต่ละโซนจะมีราคากำกับไว้ไม่เหมือนกัน ส่วนบ้านเราเชื่อว่านอกจากกรมรางแล้ว กระทรวงคมนาคมก็ต้องเป็นแม่งานในการกำกับดูแล บูรณาการความร่วมมือจากหน่วยงานหลายส่วนด้วย” ผู้ว่าการ รฟม.กล่าวและว่า

สำหรับสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายใหม่จากบางซื่อ-ท่าพระ และหัวลำโพง-บางแค จะเปิดบริการเต็มรูปแบบช่วงหัวลำโพง-หลักสอง วันที่ 30 ก.ย.นี้ และเต็มโครงข่ายในเดือน มี.ค. 2563 ยังเก็บค่าโดยสารเท่าเดิม 16-42 บาท โดยอัตราสูงสุดอยู่ที่ 12 สถานี

BTS รอเคาะราคาร่วม กทม.

นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ BTSC กล่าวว่า ค่าโดยสารรถไฟฟ้าในต่างประเทศ
ที่ราคาถูกเพราะมีรัฐอุดหนุนโดยนำรายได้การเก็บภาษีและจากการพัฒนาเชิงพาณิชย์ (TOD) รอบสถานีมาช่วย ขณะที่ระยะทางแต่ละประเทศก็ไม่เท่ากัน ดังนั้น การคิดค่าเฉลี่ยการเดินทางก็จะไม่เท่ากัน

“เราลงทุนบีทีเอส 100% ขาดทุนมาตลอด มีกำไรหลังปรับโครงสร้างหนี้ และมีสัญญาสัมปทานกับ กทม.อยู่ ให้ปรับราคาได้ทุก 18 เดือน ที่ผ่านมาไม่ได้ปรับมานาน เพิ่งปรับครั้งที่ 3 เมื่อ ต.ค. 2560 จาก 15-42 บาท เป็น 16-44 บาท ยังเป็นอัตราไม่เต็มเพดานระหว่าง 20.11-60.31 บาท และสัมปทานยังไม่สิ้นสุด
ก็ต้องเก็บในอัตรานี้”

อย่างไรก็ตาม บริษัทกำลังเจรจา กทม.ร่วมทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวทั้งโครงการ มีเรื่องค่าโดยสารรวมอยู่ด้วย ซึ่ง กทม.ยื่นเสนอให้บีทีเอสเก็บค่าโดยสารตามระยะทางสูงสุดไม่เกิน 65 บาท และเก็บค่าแรกเข้าครั้งเดียว ซึ่งอัตราใหม่นี้จะทำให้ผู้โดยสารจ่ายค่าเดินทางถูกลงแต่นั่งรถไฟฟ้าได้ยาวขึ้น
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 21/06/2019 10:57 am    Post subject: Reply with quote

การเมืองเรื่องค่าครองชีพ BTS-MRT “ตั๋วรายเที่ยว” โดนใจมนุษย์เงินเดือน
พร็อพเพอร์ตี้
วันที่ 19 มิถุนายน 2562 เวลา 21:21 น.

เพราะความสะดวกรวดเร็วของรถไฟฟ้าและเป็นโหมดการเดินทางแทบจะโหมดเดียว ที่ไม่ต้องทำให้คนทำงานย่านใจกลางเมืองต้องเผชิญกับปัญหารถติด

แต่เมื่อค่าเดินทางสวนทางกับรายได้ ลองฟังเสียงความต้องการผู้ใช้บริการ เพื่อที่รัฐบาลใหม่จะนำไปสังเคราะห์ก่อนที่รถไฟฟ้าสายใหม่จะเปิดให้บริการ เพื่อให้ตรงกับจริตวิถีคนกรุง


ผู้สื่อข่าว “ประชาชาติธุรกิจ” ลงพื้นที่สอบถามความคิดเห็นประชาชนที่ใช้บริการรถไฟฟ้าบริเวณ “สถานีเตาปูน” ซึ่งเป็นจุดเชื่อมรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินและสายสีม่วง พบว่ามีความคิดเห็นแตกออกเป็น 2 กลุ่ม

กลุ่มแรก มองว่าค่าโดยสารรถไฟฟ้าปัจจุบันแพงเกินไป การจะใช้บริการแต่ละครั้งต้องคิดอย่างถี่ถ้วน หากจุดหมายที่จะเดินทางไปมีรถตู้โดยสารผ่านก็จะเปลี่ยนไปใช้รถตู้ ซึ่งค่าโดยสารแต่ละครั้งอยู่ที่ 35 บาท/ครั้ง ขณะเดียวกัน บางคนมีความคิดเห็นว่าในแต่ละเดือนต้องกันค่าใช้จ่ายสำหรับรถไฟฟ้า โดยไม่รวมกับรถโดยสารโหมดอื่นไว้เฉพาะอย่างน้อย 15-20% ของรายได้ในแต่ละเดือน

อีกกลุ่มหนึ่งมองว่า ค่าโดยสารปัจจุบันเหมาะสมแล้ว เพราะแม้ว่าค่าโดยสารสูงสุดจะอยู่ที่ 70 บาท แต่สามารถเดินทางไปถึงใจกลางกรุงเทพฯได้เลย แถมใช้เวลาอย่างมากก็ประมาณ 1 ชม.เท่านั้น ส่วนรถตู้อาจจะมีราคาถูกกว่าก็จริง แต่ในชั่วโมงเร่งด่วนการนั่งรถตู้ก็เจอปัญหาจราจรติดขัดอยู่ดี ส่วนรถไฟฟ้าในชั่วโมงเร่งด่วนอาจจะเสียเวลาต่อแถวรอขบวนรถ 2-3 รอบ แต่หากเปรียบเทียบกับรถโดยสารโหมดอื่นแล้ว ก็ใช้เวลาเดินทางน้อยกว่าอยู่ดี

ด้าน “น้องแนน” ซึ่งพักอาศัยอยู่รามอินทรา ซอย 3 แต่ที่ทำงานอยู่ที่ย่านสาทร ทุกวันใช้บริการรถตู้ของคอนโดมิเนียมไปส่งที่สถานีหมอชิต เสียค่ารถตู้ 30 บาท/เที่ยว

“น้องแนน” บอกว่า ที่ทำงานสามารถเดินทางได้ทั้งรถไฟฟ้าบีทีเอส และรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT แต่เลือกที่จะเดินทางด้วยบีทีเอส เนื่องจากมีการจัดแพ็กเกจจำนวนเที่ยวการเดินทางทั้งไปและกลับเฉลี่ยอยู่ที่ 54 บาท/เที่ยว ซึ่งจะช่วยให้ประหยัดกว่าเดินทางรายเที่ยวของรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT เพราะหากเดินทางโดย MRT ค่าใช้จ่ายประมาณ 86 บาท/เที่ยว

ถ้ารวมกับค่ารถตู้นั่งจากคอนโดฯด้วย ถือว่าค่าเดินทางสูง ตกวันละ 130-150 บาท ถ้าบีทีเอสมีจัดโปรโมชั่นได้ อยากให้ยกเลิกการกำหนดวัน เนื่องจากการใช้บัตรแบบจำกัดจำนวนเที่ยวต้องให้หมดภายใน 30 วัน ถ้าซื้อ 40 เที่ยว ราคาเฉลี่ยเที่ยวละ 27 บาท ถ้าซื้อ 25 เที่ยว ราคาเฉลี่ยเที่ยวละ 29 บาท จึงเลือกซื้อแบบ 25 เที่ยว เพราะกลัวจะใช้ไม่ทัน

เป็นมุมมองของผู้ใช้จริงที่สะท้อนถึง “BTS-MRT” หากลดค่าโดยสารให้ถูกลงกว่านี้ไม่ได้ น่าจะมีโปรโมชั่นดี ๆ มาช่วย “มนุษย์เงินเดือน” บรรเทาภาระทางอ้อมบ้าง !
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 21/06/2019 10:59 am    Post subject: Reply with quote

หวั่นซ้ำรอย “สายสีม่วง” รฟม.รื้อประมาณการผู้โดยสาร ปรับลด 4 เท่าตัวทุกเส้นทาง
พร็อพเพอร์ตี้
วันที่ 20 มิถุนายน 2562 เวลา 10:20 น.

ปริมาณผู้โดยสารรถไฟฟ้าเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่จะนำมาคำนวณ “ราคาตั๋ว” ของรถไฟฟ้าแต่ละเส้นทาง

แม้ว่าการที่ในปีแรกผู้โดยสารไม่เป็นตามประมาณการที่คาดไว้ จะถือว่าเป็นเรื่องปกติ แต่เมื่อพิจารณารายละเอียดแล้ว อาจจะเป็นเพราะมีการตั้งเป้าผู้โดยสารสูงเกินจริงหรือไม่ เพื่อให้โครงการมีความคุ้มค่าและได้รับการอนุมัติโครงการโดยง่าย

ย้อนดูรถไฟฟ้าบีทีเอสสายแรกของประเทศไทยได้ออกวิ่งวันที่ 4 ธ.ค. 2542 มีคนใช้ 150,000 เที่ยวคน/วัน จากเป้า 500,000 เที่ยวคน/วัน กว่าจะมาถึงจุดพีกทะลุ 6-7 แสนเที่ยวคน/วัน ต้องใช้เวลานับ 10 ปี

ด้านสายสีน้ำเงินช่วง “หัวลำโพง-บางซื่อ” รถไฟฟ้าใต้ดินสายแรกของประเทศไทย เปิดบริการวันที่ 3 ก.ค. 2547 มีผู้โดยสารเฉลี่ย 154,360 เที่ยวคน/วัน ปัจจุบันอยู่ที่ 327,177 เที่ยวคน/วัน ยังไม่ถึงเป้าที่ “BEM-บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ” คำนวณไว้ 423,000 เที่ยวคน/วัน ก่อนจะตัดสินใจลงทุนโครงการนี้เมื่อ 15 ปีที่แล้ว

สายสีแดงช่วง “พญาไท-สุวรรณภูมิ” หรือแอร์พอร์ตเรลลิงก์ เปิดบริการวันที่ 4 ม.ค. 2554 จากผู้โดยสารช่วงแรก 30,000 เที่ยวคน/วัน ต่ำจากเป้า 90,000 เที่ยวคน/วัน และไต่ขึ้นแตะ 95,771 เที่ยวคน/วันในปัจจุบัน




ที่น่าจะเป็นบทเรียนคือสายสีม่วง ช่วง “เตาปูน-คลองบางไผ่” ที่เปิดบริการวันที่ 6 ส.ค. 2559 มีคนนั่งโหรงเหรง 20,750 เที่ยวคน/วัน ต่ำจากเป้า 120,000 เที่ยวคน/วัน

แต่พลันที่รัฐบาลรันการเดินรถ 1 สถานีที่เป็นฟันหลอเชื่อมต่อระหว่าง “สถานีเตาปูน” ของสายสีม่วงกับ “สถานีบางซื่อ” ของสายน้ำเงินสำเร็จในวันที่ 11 ส.ค. 2560 ทำให้ผู้โดยสารดีดขึ้นเป็น 26,073 เที่ยวคน/วัน จากนั้นก็เพิ่มทุกปีถึงปัจจุบันอยู่ที่ 51,548 เที่ยวคน/วัน ยังห่างจากเป้าที่ปรับใหม่ 73,443 เที่ยวคน/วัน

เป็นปรากฏการณ์ที่ทำให้เห็นว่าตัวเลขประมาณการของ “บริษัทที่ปรึกษา” ไม่สะท้อนความเป็นจริงอย่างมโหฬาร

จากกรณีของสายสีม่วง ทำให้ “รฟม.-การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย” ได้รื้อเป้าปริมาณผู้โดยสารใหม่ในทุกเส้นทางที่อยู่ในความรับผิดชอบ

ยังไม่รู้ว่าตัวเลขที่ออกมาจะมากกว่าหรือน้อยกว่าตัวเลขที่ “กรมการขนส่งทางราง” มี “สราวุธ ทรงศิวิไล” เป็นอธิบดีคนแรก ซึ่งเครื่องร้อนเตรียมเขย่าเป้าผู้โดยสารใหม่ยกแผง

โดยร่วมกับ “ไจก้า-องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น” ให้อยู่บนโลกความเป็นจริงมากขึ้น เพราะผู้โดยสารในแผนแม่บทรถไฟฟ้า 10 เส้นทางสูงเกินจริงไปถึง 4 เท่าตัว

ส่องปริมาณผู้โดยสารที่ รฟม.ปรับใหม่ ในส่วนของสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย “บางซื่อ-ท่าพระ และหัวลำโพง-บางแค” จะเปิดเต็มโครงข่ายวันที่ 31 มี.ค. 2563 อยู่ที่ 492,432 เที่ยวคน/วัน

สายสีเขียวส่วนต่อขยายช่วง “หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต” อยู่ที่ 334,722 เที่ยวคน/วัน ส่วนช่วง “แบริ่ง-สมุทรปราการ” ยอดผู้ใช้บริการจะไปรวมกับของบีทีเอส ซึ่งหลังเปิดใช้เมื่อวันที่ 6 ธ.ค. 2561 เฉลี่ยอยู่ที่ 97,000 เที่ยวคน/วัน

ด้านโมโนเรล 2 สายแรกของประเทศไทย สายสีเหลือง “ลาดพร้าว-สำโรง” อยู่ที่ 145,900 เที่ยวคน/วัน สายสีชมพู “แคราย-มีนบุรี” อยู่ที่ 187,770 เที่ยวคน/วัน



สายสีส้ม “บางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี” อยู่ที่ 121,599 เที่ยวคน/วัน สายสีม่วงช่วง “เตาปูน-ราษฎร์บูรณะ” เมื่อเปิดบริการจะต่อเชื่อมกับสายสีม่วงไปคลองบางไผ่ ทำให้ผู้โดยสารอยู่ที่ 349,312 เที่ยวคน/วัน

สายสีน้ำตาล “แคราย-ลำสาลี” รถไฟฟ้าสายที่ 11 ในแผนแม่บท อยู่ที่ 218,547 เที่ยวคน/วัน

ขณะที่รถไฟฟ้าตระกูลสายสีแดงของ “ร.ฟ.ท.-การรถไฟแห่งประเทศไทย” ได้พยากรณ์ไว้จะมีผู้โดยสารนั่งสายสีแดงมีคิวจะเปิดในเดือน ม.ค. 2564 ช่วง “บางซื่อ-รังสิต” อยู่ที่ 376,000 เที่ยวคน/วัน และช่วง “บางซื่อ-ตลิ่งชัน” อยู่ที่ 96,000 เที่ยวคน/วัน

ด้านสายในอนาคตที่จะเริ่มก่อสร้างหลังคณะรัฐมนตรีอนุมัติไปแล้ว มีส่วนต่อขยายสายสีแดงช่วง “รังสิต-ธรรมศาสตร์” อยู่ที่ 28,150 เที่ยวคน/วัน ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา อยู่ที่ 47,570 เที่ยวคน/วัน ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช อยู่ที่ 55,200 เที่ยวคน/วัน และช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง-หัวหมาก (missing link) อยู่ที่ 28,150 เที่ยวคน/วัน

ปัจจุบันรถไฟฟ้าที่เปิดบริการ 4 สาย มีผู้ใช้บริการรวมกันอยู่ที่กว่า 1.52 ล้านเที่ยวคน/วัน แต่เมื่อเปิดบริการครบทุกเส้นทางคาดว่าจะมีผู้มาใช้บริการอยู่ที่กว่า 2.848 ล้านเที่ยวคน/วัน

นับเป็นการเดิมพันของเอกชนผู้รับสัมปทานไม่ว่าจะสายเก่าและสายใหม่ไม่น้อย ในเมื่อรถไฟฟ้าเป็นทางเลือกหนึ่งของการเดินทางของคนกรุงเทพฯและปริมณฑลเท่านั้น
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 23/06/2019 10:02 am    Post subject: Reply with quote

โยธาฯ หนุนพัฒนา 12 เมืองใหม่รับรถไฟฟ้า
พร็อพเพอร์ตี้
วันศุกร์ที่ 31 พฤษภาคม 2562 เวลา 15:05 น.

กรมโยธาฯเร่งคลอดผังภาคมหานคร กำหนดทิศทางพัฒนา กทม.และ 5 จังหวัดปริมณฑลเป็นรูปแบบเดียวกันอย่างไร้รอยต่อ ปั้นศูนย์กลางเศรษฐกิจ หนุน EEC ปักหมุดบางแค บางใหญ่ รังสิต มีนบุรี สุวรรณภูมิ-ลาดกระบัง นครปฐม ศาลายา คลองหลวง ธัญบุรี บางปู-บางเสาธง สมุทรสาคร กระทุ่มแบน-อ้อมน้อย พัฒนาเมืองใหม่ รับรถไฟฟ้า 10 เส้นทาง

นายมณฑล สุดประเสริฐ อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง เปิดเผยว่า กรมอยู่ระหว่างจัดทำรายละเอียดร่างผังภาคกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (ผังภาคมหานคร) ประกอบด้วย กรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร และนครปฐม เพื่อเป็นผังนโยบายและชี้นำการใช้ประโยชน์ที่ดิน การคมนาคมขนส่ง สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม การป้องกันภัยภิบัติให้เป็นเอกภาพและไร้รอยต่อ โดยใช้โมเดลผังเมืองรวมกรุงเทพฯเป็นต้นแบบ เช่น กำหนด FAR (พื้นที่อาคารรวมต่อพื้นที่ดิน) OSR (พื้นที่ว่างต่อพื้นที่อาคารรวม)

มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาแต่ละจังหวัดเป็นพื้นที่ศูนย์กลางทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ซึ่งรัฐบาลมีนโยบายพัฒนาให้มีบทบาทเป็นเมืองศูนย์กลางการติดต่อธุรกิจ การค้า การบริการ ระดับนานาชาติไปในทิศทางเดียวกัน สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รองรับประชากรที่จะเพิ่มขึ้นเป็น 19 ล้านคนในปี 2580


รวมถึงเป็นศูนย์กลางการพัฒนาเศรษฐกิจ เชื่อมโยงเหนือ-ใต้ ตะวันออก-ตะวันตก กับประเทศอาเซียน อินเดีย และจีน เป็นพื้นที่เชื่อมต่อกับพื้นที่ยุทธศาสตร์สำคัญของประเทศ คือ พื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมหลักและการขนส่งทางทะเลระหว่างประเทศ

“ปัจจุบันการพัฒนาพื้นที่ชุมชนเมืองในกรุงเทพฯขยายตัวจนเกือบเต็มพื้นที่ที่ผังเมืองรวมกำหนดให้เป็นพื้นที่เมือง ในอนาคตภาคมหานครยังมีประเด็นท้าทายที่ต้องเผชิญเหมือนมหานครต่าง ๆ ทั่วโลก เช่น การเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศ การเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย ต้องเตรียมความพร้อมโครงสร้างพื้นฐานและบริการที่เหมาะสม เป็นไปในทิศทางเดียวกัน เชื่อมโยงต่อเนื่องไร้รอยต่อ”

สำหรับร่างผังภาคมหานครจะเสร็จในปีนี้ พร้อมกับ พ.ร.บ.การผังเมืองฉบับใหม่ประกาศใช้ จากนั้นกรมจะนำเสนอคณะกรรมการนโยบายการผังเมืองแห่งชาติพิจารณาให้ความเห็นชอบ และเมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วจะส่งมอบให้แต่ละจังหวัดนำไปเป็นแนวทางการวางและจัดทำผังเมืองรวมต่อไป จะเป็นการลงลึกรายละเอียดการพัฒนาว่าตรงไหนได้ไม่ได้ ส่วนผังภาคมหานครที่กรมดำเนินการเป็นผังด้านนโยบาย

“ผังเมืองรวมกรุงเทพฯฉบับใหม่จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียไปแล้ว โดยหลักจะส่งเสริมการพัฒนารอบสถานีรถไฟฟ้าระยะ 500 เมตร มีศูนย์กลางพาณิชยกรรมระดับนานาชาติอยู่ที่ปทุมวัน อโศก สีลม สาทร พระราม 9 มีย่านพหลโยธิน มักกะสัน วงเวียนใหญ่ เป็นศูนย์กลางพาณิชยกรรมแห่งใหม่”

ในส่วนของพื้นที่จังหวัดปริมณฑลที่เป็นพื้นที่รอยต่อกับกรุงเทพฯ จะมีการพัฒนารถไฟฟ้า 10 เส้นทางเชื่อมการเดินทาง จะส่งเสริมการพัฒนาเมืองแต่ละจังหวัดมีศูนย์ชุมชนเมืองมารองรับเพื่อกระจายความเจริญที่แออัดในกรุงเทพฯไปยังพื้นที่รอบนอกไปถึงถนนวงแหวนรอบที่ 3

โดยกำหนดบางแค บางใหญ่ รังสิต มีนบุรี สุวรรณภูมิ-ลาดกระบัง เป็นเมืองศูนย์กลางแหล่งงานและที่อยู่อาศัยชานเมือง และกำหนดนครปฐม ศาลายา คลองหลวง ธัญบุรี บางปู บางเสาธง สมุทรสาคร กระทุ่มแบน อ้อมน้อย เป็นเมืองศูนย์กลางรองในเขตจังหวัดปริมณฑล มีการพัฒนาเมืองใหม่ให้คนอาศัยอยู่บริเวณนี้

อีกทั้งยังมีการส่งเสริมการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานี หรือ TOD ในรัศมีประมาณ 2 กม. ทั้งรถไฟฟ้าและรถไฟความเร็วสูง โดยรัฐอาจจะนำการจัดรูปที่ดินเข้าไปช่วยในการพัฒนาแล้วจะให้เอกชนเช่า หรือเปิด PPP ช่วยลดภาระการลงทุนของรัฐ
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 197, 198, 199 ... 277, 278, 279  Next
Page 198 of 279

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©