Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311238
ทั่วไป:13181538
ทั้งหมด:13492776
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวและภาพรถไฟฟ้าสายสีม่วง บางซื่อ-บางใหญ่และเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวและภาพรถไฟฟ้าสายสีม่วง บางซื่อ-บางใหญ่และเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 70, 71, 72 ... 120, 121, 122  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> รถไฟฟ้า (BTS) และรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT)
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 04/06/2019 9:42 am    Post subject: Reply with quote

“คมนาคม” เร่งฟีดเดอร์เชื่อมรัฐสภาใหม่-ดึงเอกชนศูนย์ขนส่งเชื่อม “ศูนย์ราชการนนท์”
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: จันทร์ที่ 3 มิถุนายน 2562 เวลา 09:22
ปรับปรุง: จันทร์ที่ 3 มิถุนายน 2562 เวลา 12:07




“คมนาคม” ขึงแนวรถไฟฟ้า จัด Shuttle Bus เชื่อม 3 สถานี, ท่าเรือ และสนามบินดอนเมือง รองรับเปิดใช้รัฐสภาใหม่กลางปี 63 จับมือธนารักษ์เปิด PPP ดึงเอกชน ลงทุนมิกซ์ยูส “Bus Terminal” ที่ราชพัสดุเชื่อม “ศูนย์ราชการนนทบุรี”

นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า จากการประชุมคณะกรรมการพิจารณาการเชื่อมต่อระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนกับขนส่งสาธารณะรูปแบบอื่น ซึ่งได้พิจารณาการจัดระบบจราจร และการเชื่อมต่อบริเวณอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ ซึ่งจะเปิดใช้ในปี 2563 รวมถึงการจัดการจราจรและระบบขนส่งบริเวณโดยรอบอาคารรัฐสภา ในระหว่างการก่อสร้างสะพานเกียกกายซึ่งจะเปิดใช้ในปี 2565 ด้วย ซึ่งได้มอบหมายให้กรมการขนส่งทางบก (ขบ.) พิจารณาจัดรถโดยสาร (Shuttle Bus) ให้บริการจากสถานีบางโพ, สถานีเตาปูน, สถานีเกียกกาย เชื่อมไปยังอาคารรัฐสภา และจากสนามบินดอนเมืองไปยังรัฐสภาฯ (Airport (Shuttle Bus) และให้กรมเจ้าท่า (จท.) พิจารณาปรับปรุงพัฒนาเชื่อมการเดินทางจากท่าเรือบางโพ, ท่าเรือเกียกกาย ไปยังอาคารรัฐสภา

ทั้งนี้ ประเมินว่าอาคารรัฐสภาใหม่จะมีทั้งคนที่ไปทำงาน ไปติดต่อราชการ ในแต่ละวันอาจจะถึงหมื่นคน ซึ่งพื้นที่โดยรอบอาคารรัฐสภานอกจากมีรถไฟฟ้า 3 สายแล้ว ยังมีท่าเรือเกียกกาย, ท่าบางโพ หากมีระบบเชื่อมต่อเป็นฟีดเดอร์ที่ดีจะทำให้การเดินทางสะดวกรวดเร็ว และจะช่วยเพิ่มผู้โดยสารในโครงข่ายรถไฟฟ้าอีกด้วย

นอกจากนี้ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ยังเสนอแนวคิดในการพัฒนาศูนย์การเชื่อมต่อการเดินทางบริเวณศูนย์ราชการนนทบุรี กับรถไฟฟ้า 3 สาย (สีชมพู สายสีม่วง และสายสีน้ำตาล) ซึ่งจะมีการพัฒนาที่ราชพัสดุติดถนนรัตนาธิเบศร์ ขนาด 2 ไร่ 1 งาน 66.3 ตารางวา ซึ่งปัจจุบันเป็นพื้นที่ว่าง แต่มีศักยภาพในการพัฒนาโดยจะทำหนังสือถึงผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี ขอใช้สิทธิ์พื้นที่ดังกล่าวเพื่อประโยชน์ระบบขนส่งสาธารณะต่อไป

โดยแนวคิดในการพัฒนาเป็น Bus Terminal ซึ่งจะมีทั้งจุดเชื่อมต่อรถโดยสารประจำทาง จุดบริการรถแท็กซี่ Skywalk เชื่อมต่อกับสถานีรถไฟฟ้า พื้นที่พักคอย ร้านค้าเชิงพาณิชย์ อาคารสำนักงาน และอาคาร Park&Ride รูปแบบผสมผสาน หรือมิกซ์ยูส ซึ่ง สนข.จะเป็นผู้ออกแบบกรอบแนวคิด และวาง TOR ส่วนการพัฒนานั้นจะมอบให้กรมธนารักษ์ในฐานะเจ้าของที่ดินเป็นผู้ดำเนินการจัดหาเอกชนมาลงทุน (PPP) พัฒนาตาม TOR

ปัญหาที่ผ่านมาสถานีรถไฟฟ้ามักจะเป็นแบบ Stand Alone ทำให้การเข้าสู่สถานีไม่สะดวก รัฐลงทุนก่อสร้างรถไฟฟ้าเพื่อแก้ปัญหาจราจร และต้องการให้มีคนมาใช้บริการมากๆ ดังนั้น จุดตั้งสถานีนอกจากต้องดูว่าเหมาะสมหรือไม่แล้ว ต้องดูว่าผู้โดยสารจะมาที่สถานีได้อย่างไร และเพื่อให้การบูรณาการแผนการเชื่อมต่อที่นำไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม จะมีการเสนอคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการพิจารณาการเชื่อมต่อระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนกับขนส่งสาธารณะรูปแบบอื่น ระยะเร่งด่วนภายใต้ คจร.ต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 11/06/2019 7:21 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
“คมนาคม” เร่งฟีดเดอร์เชื่อมรัฐสภาใหม่-ดึงเอกชนศูนย์ขนส่งเชื่อม “ศูนย์ราชการนนท์”
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: จันทร์ที่ 3 มิถุนายน 2562 เวลา 09:22
ปรับปรุง: จันทร์ที่ 3 มิถุนายน 2562 เวลา 12:07



ผุดฟีดเดอร์ต่อยอดรถไฟฟ้า บูมศูนย์ราชการ-รัฐสภาใหม่
พร็อพเพอร์ตี้
วันจันทร์ที่ 10 มิถุนายน 2562 เวลา2019 - 17:45 น.

การเชื่อมต่อระบบรถไฟฟ้า รอบอาคารรัฐสภาแห่งใหม่
คมนาคมเร่งเชื่อมรถ-ราง-เรือ ยกเครื่องท่าเรือพระนั่งเกล้า บางโพ ต่อรถไฟฟ้าสีม่วง-สีน้ำเงินต่อขยาย สร้างสะพานเกียกกาย ถนนยกระดับ 1.3 หมื่นล้าน ทะลวงรถติดรัฐสภาใหม่เปิดใช้ปีหน้า ผุดชัตเทิลบัสรับมือสีม่วงใต้ จ่อพัฒนา BRT ป้อนคนเข้าสถานีหลักหกรังสิต เปิดหน้าดินเนรมิตบัสเทอร์มินอล

นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า เมื่อวันที่ 28 พ.ค. 2562 คณะกรรมการพิจารณาการเชื่อมต่อระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนกับขนส่งสาธารณะ มีมติให้เชื่อมต่อระบบรถ ราง เรือ กับโครงข่ายรถไฟฟ้าสายสีม่วง (เตาปูน-คลองบางไผ่) ที่สถานีสะพานพระนั่งเกล้า

โดยมอบให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และกรมเจ้าท่า ร่วมดำเนินการเชื่อมสถานีรถไฟฟ้ากับท่าเรือดังกล่าว โดยให้รถโดยสาร ขสมก.เชื่อมกับท่าเรือ และทุกสถานีรถไฟฟ้า เช่น สถานีบางโพ (สายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายเตาปูน-ท่าพระ) จะปรับปรุง พร้อมสร้างท่าเรือใหม่



“การจัดระบบจราจรจะให้เชื่อมกับบริเวณรัฐสภาใหม่ด้วย โดยบูรณาการทั้งระบบรถ ราง เรือ พื้นที่ชุมชน และย่านธุรกิจของรถไฟสายสีแดงที่จะต่อเชื่อมไปยังศูนย์ราชการจังหวัดนนทบุรี ซึ่งมีอาคารจอดแล้วจร ร้านค้า อาคารสำนักงานและที่อยู่อาศัย”

ทะลวงรถติดเกียกกาย


การเชื่อมต่อกับรัฐสภาใหม่จะมีอีกหลายโครงการ ซึ่งกรุงเทพมหานคร (กทม.) มีแผนจะสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณเกียกกาย ขณะนี้อยู่ระหว่างรอเวนคืนและตั้งงบประมาณปี 2563 วงเงิน 12,852 ล้านบาท

ประกอบด้วย ถนนยกระดับในฝั่งธนบุรี 3 กม. สะพานข้ามเจ้าพระยา 480 เมตร ถนนยกระดับฝั่งพระนครจากเจ้าพระยา-แยกสะพานแดง 1 กม. ถนนยกระดับจากสะพานแดง-ถนนกำแพงเพชร 1.8 กม. ถนนยกระดับจากกำแพงเพชร-พหลโยธิน 1.4 กม. ขยายถนนสามเสน ถนนประชาราษฎร์สาย 1 สร้างถนนคู่ขนานสามเสน เชื่อมถนนประชาชื่นกับถนนพระราม 6 ถนนเลียบคลองเปรมประชากรจากถนนเตชะวณิชย์-ถนนรัชดาภิเษก และขยายถนนเทิดดำริจากถนนเศรษฐศิริ-ถนนประชาราษฎร์สาย 2

เร่งเวนคืนเกียกกาย

พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการ กทม. เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า กทม.กำลังเดินหน้าก่อสร้างสะพานเกียกกาย รองรับการจราจรรอบรัฐสภาใหม่ และเชื่อมการเดินทางระหว่างฝั่งธนบุรีกับฝั่งพระนคร ซึ่งปีนี้ได้จัดสรรงบประมาณ 1,300 ล้านบาท จ่ายค่าเวนคืนแล้ว และปี 2563 ตั้งคำขอทั้งเวนคืนส่วนที่เหลือและค่าก่อสร้าง

โครงการดังกล่าวใช้งบประมาณ กทม. 50% ที่เหลือขออุดหนุนจากรัฐ รวมทั้งโครงการใช้เงินลงทุน 12,852 ล้านบาท เป็นค่าก่อสร้าง 5,225 ล้านบาท ค่าที่ปรึกษา 135 ล้านบาท ค่าเวนคืน 7,492 ล้านบาท ซึ่งค่าเวนคืนเพิ่มขึ้นจากเดิม 20% คาดใช้เวลา 5 ปี เริ่มปี 2562-2566 ซึ่งแบ่งก่อสร้าง 5 ช่วงคือ 1.ทางยกระดับ ถนนฝั่งธนบุรี เวนคืน 4,120 ล้านบาท มีที่ดินเอกชน 154 แปลง สิ่งปลูกสร้าง 308 รายการ ค่าก่อสร้าง 770 ล้านบาท 2.สะพานข้ามเจ้าพระยา ค่าเวนคืน 516 ล้านบาท มีที่ดินเอกชน 2 แปลง สิ่งปลูกสร้าง 4 รายการ ค่าก่อสร้าง 1,350 ล้านบาท



3.ทางยกระดับและถนนฝั่งพระนคร จากแม่น้ำเจ้าพระยา-แยกสะพานแดง ค่าเวนคืน 2,298 .99 ล้านบาท มีที่ดินเอกชน 36 แปลง สิ่งปลูกสร้าง 36 รายการ และสิ่งปลูกสร้างหน่วยงานทหาร 9 หน่วย ค่าก่อสร้าง 980 ล้านบาท 4.ทางยกระดับและถนนฝั่งพระนครจากแยกสะพานแดง-ถนนกำแพงเพชร ค่าเวนคืน 380 ล้านบาท มีที่ดินเอกชน 90 แปลง สิ่งปลูกสร้าง 90 รายการ ค่าก่อสร้าง 1,100 ล้านบาท และ 5.ทางยกระดับและถนนฝั่งพระนคร จากถนนกำแพงเพชร-ถนนพหลโยธิน ค่าเวนคืน 177.5 ล้านบาท มีที่ดินรถไฟ 37 แปลง สิ่งปลูกสร้าง 71 รายการ ค่าก่อสร้าง 1,025 ล้านบาท

เพิ่มชัตเทิลบัสเชื่อมรัฐสภา

แหล่งข่าวกล่าวว่า ส่วนของ รฟม.จะเปิดบริการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย บางซื่อ-ท่าพระ เดือน มี.ค. 2563 และเตรียมสร้างสายสีม่วง เตาปูน-ราษฎร์บูรณะ คาดเปิดปี 2568 โดยมีสถานีจอดที่รัฐสภาด้วย ขณะที่การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) จะเปิดให้บริการรถไฟฟ้าสายสีแดง บางซื่อ-ตลิ่งชัน ในเดือน ม.ค. 2564

“ย่านเกียกกายมีปัญหาเรื่องรถติด แล้วรัฐสภาใหม่จะเปิดในปีหน้าอีก ยิ่งส่งผลต่อการจราจร จึงต้องหาระบบมาเชื่อมต่อ เช่น จัดรถชัตเทิลบัสเชื่อมรถไฟฟ้าบางโพ เตาปูน สนามบินดอนเมือง-รัฐสภา ปรับปรุงท่าเรือบางโพ เกียกกาย”

ผุด BRT เชื่อมรังสิต

แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า ส่วนการเชื่อมรถไฟฟ้าสายสีแดงจะมีที่สถานีหลักหกและรังสิต ในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี แนวเส้นทางผ่านหมู่บ้านเมืองเอก เทศบาลนครรังสิต ชุมชนเดชาพัฒนา ชุมชนสุขเกษม ชุมชนเทพประทาน เทศบาลตำบลบางพูน และอำเภอคลองหลวง

“ปัจจุบันสถานี 2 แห่ง มีปัญหาทางเชื่อมเข้า-ออกสถานี และไม่มีที่จอดรถ ถนนมาสถานีก็แคบ จึงเสนอให้ใช้รถ BRT ซึ่งเป็นระบบขนส่งมวลชนทางถนนและลงทุนต่ำมาเชื่อมการเดินทางสู่ระบบหลัก และเชื่อมศูนย์การค้าฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต”



สร้างบัสเทอร์มินอล

ส่วนแนวทางพัฒนาศูนย์เชื่อมต่อการเดินทางบริเวณศูนย์ราชการนนทบุรี จะเชื่อมรถไฟฟ้า 3 สาย คือ สายสีม่วง สีชมพู (แคราย-มีนบุรี) และสีน้ำตาล (แคราย-บึงกุ่ม) โดยขอใช้ที่ราชพัสดุของกรมธนารักษ์ขนาด 2 ไร่ ริมถนนรัตนาธิเบศร์สร้างอาคาร Bus Terminal เหมือนโมเดลที่ Hakata Station ประเทศญี่ปุ่น รูปแบบจะเป็นจุดเชื่อมรถโดยสารประจำทางและรถไฟฟ้า เป็นอาคารสูง 20 ชั้น ด้านล่างเป็นที่จอดรถรับส่งสาธารณะ 3 ชั้น มีรถมินิบัสและแท็กซี่ อาคารจอดรถ (Park & Ride) พื้นที่เชิงพาณิชย์ เช่น ร้านค้า ร้านอาหาร อาคารสำนักงาน ที่อยู่อาศัยจะอยู่บนสุด มีสกายวอล์กรถไฟฟ้า

แหล่งข่าวกล่าวว่า จะเป็นรูปแบบเดียวกับการพัฒนาสถานีหมอชิต ที่กลุ่มบางกอกเทอร์มินอลได้สัมปทาน โดยให้กรมธนารักษ์ ในฐานะเจ้าของที่ดินเป็นผู้ดำเนินการจัดหาเอกชนลงทุนตามแนวคิดและทีโออาร์ที่กระทรวงคมนาคมกำหนด
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 02/07/2019 9:58 am    Post subject: Reply with quote

“เตาปูน” ผู้โดยสารทะลัก! BEM ยัน ส.ค.มีรถใหม่ 13 ขบวน
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: จันทร์ที่ 1 กรกฎาคม 2562 เวลา 17:14
ปรับปรุง: จันทร์ที่ 1 กรกฎาคม 2562 เวลา 18:10



จุดเชื่อมต่อสถานีเตาปูน สีม่วง- สีน้ำเงินวิกฤตเช้า-เย็น ผู้โดยสารทะลัก “คมนาคม” สั่งปรับตารางความถี่ ด้าน BEM ยัน ส.ค.มีรถใหม่ 13 ขบวน เพิ่มความถี่ตลอดสาย

วันนี้ (1 ก.ค.) นายจิรุตม์ วิศาลจิตร รองปลัดกระทรวงคมนาคมและโฆษกกระทรวงฯ ได้ลงพื้นที่ติดตามการบริหารจัดการในชั่วโมงเร่งด่วนของรถไฟฟ้ามหานครสายเฉลิมรัชมงคล (สายสีน้ำเงิน) และสายฉลองรัชธรรม (สายสีม่วง) ณ สถานีรถไฟฟ้าเตาปูน โดยได้รับฟังรายงานจำนวนผู้โดยสารสะสม ณ สถานีรถไฟฟ้าเตาปูนซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างรถไฟฟ้าสายสีม่วงและสีน้ำเงิน ซึ่งปัจจุบันในช่วงเวลาเร่งด่วนมีผู้โดยสารเป็นจำนวนมาก

ทั้งนี้ มีนายวิทยา พันธุ์มงคล รองผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และเจ้าหน้าที่ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM ผู้ให้บริการรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน และสายสีม่วง รายงานข้อมูลการให้บริการผู้โดยสารและการจัดการจราจรในการเดินรถช่วงชั่วโมงเร่งด่วน

ขณะนี้ได้แก้ปัญหาในระยะแรก ด้วยการปรับตารางเดินรถให้เหมาะสมกับจำนวนผู้โดยสารในช่วงเช้าและเย็นที่เป็นชั่วโมงเร่งด่วน

ส่วนการแก้ปัญหาในระยะยาวนั้น จะมีการเพิ่มขบวนรถในสายสีน้ำเงินอีก 13 ขบวน ภายในเดือนสิงหาคม 2562 และทยอยเพิ่มขบวนจนเต็มทั้งระบบจำนวน 54 ขบวน ภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2563 ซึ่งทำให้สามารถเพิ่มความถี่ในการเดินรถมากขึ้น และรองรับการเปิดให้บริการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย ที่มีกำหนดเปิดให้บริการทดลองเดินรถช่วงหัวลำโพง-บางแค ในวันที่ 12 สิงหาคม 2562 และช่วงเตาปูน-ท่าพระ ในวันที่ 1 มกราคม 2563

ผ่าปมคนแน่นรถไฟฟ้าสีน้ำเงิน-ม่วง
ไทยรัฐฉบับพิมพ์
อังคารที่ 2 กรกฎาคม 2562 เวลา 08:50 น.

นายจิรุตม์ วิศาลจิตร รองปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยระหว่างการลงพื้นที่การให้บริการรถไฟฟ้าในชั่วโมงเร่งด่วน ของรถไฟฟ้ามหานครสายเฉลิมรัชมงคล (สายสีน้ำเงิน) และสายฉลองรัชธรรม (สายสีม่วง) ที่สถานีเตาปูน

พร้อมด้วยผู้บริหารกรมการขนส่งทางราง และการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) พบว่า ปริมาณผู้โดยสารที่เพิ่มขึ้นในส่วน ของรถไฟฟ้าสายสีม่วง ซึ่งก่อนหน้านี้มีผู้โดยสารใช้บริการต่อวันเฉลี่ยที่ 63,000 คน ล่าสุดในช่วงเปิดเทอมก็พบว่า มีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยอีกวันละ 70,000 คน ส่งผลกระทบให้เกิดการกระจุกตัวของผู้โดยสารในชั่วโมงเร่งด่วน

ทั้งนี้ กรมการขนส่งทางรางได้แก้ปัญหาในระยะสั้น ด้วยการปรับตารางเดินรถให้เหมาะสมกับจำนวนผู้โดยสารในช่วงเช้า และเย็น ที่เป็นชั่วโมงเร่งด่วน ซึ่งจากเดิมช่วงเช้าหรือเย็น จากปัจจุบันรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินจะจัดเดินรถเพื่อรับส่งผู้โดยสารที่สถานีเตาปูน ใช้เวลามาถึงสถานีแห่งนี้ต่อขบวนที่ 6 นาที 50 วินาที ในขณะที่รถไฟฟ้าสายสีม่วงวิ่งเข้ามาที่สถานีเตาปูน ใช้เวลาเพียง 6 นาทีต่อขบวน ดังนั้น จึงทำให้ผู้โดยสารที่มาจากสายสีม่วงทำให้ต้องมารอสายสีน้ำเงินจำนวนมาก โดยตนได้ขอให้บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ให้จัดเวลาตารางการเดินรถให้สอดรับกัน โดยเมื่อรถไฟฟ้าสายหนึ่งเดินทางเข้าสถานีตรงจุดต่อเชื่อมก็จะมีรถไฟฟ้าอีกสายมารับผู้โดยสารในเวลาไล่เลี่ยกัน ก็จะทำให้ปัญหาคลี่คลายลงได้

สำหรับการแก้ปัญหาในระยะยาวจะมีการเพิ่มขบวนรถในสายสีน้ำเงินอีก 13 ขบวน ภายในเดือน ส.ค.นี้ และทยอยเพิ่มขบวนจนเต็มทั้งระบบ 54 ขบวน ในเดือน ก.พ.2563 ที่จะทำให้สามารถเพิ่มความถี่ในการเดินรถมากขึ้น และรองรับการเปิดให้บริการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ส่วนต่อขยายที่มีกำหนดเปิดให้บริการทดลองเดินรถ ช่วงหัวลำโพง-บางแค วันที่ 12 ส.ค.นี้ และช่วงเตาปูน-ท่าพระ ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.2563.

BEM ปรับการเดินรถช่วงเช้า-เพิ่มรถ 54 ขบวนแก้คอขวด “สถานีเตาปูน” จุดเปลี่ยนถ่ายสายสีน้ำเงิน-ม่วง
พร็อพเพอร์ตี้
วัน จันทร์ที่ 1 กรกฎาคม 2562 เวลา 10:44 น.

นายจิรุตม์ วิศาลจิตร รองปลัดกระทรวงคมนาคมและโฆษกกระทรวงคมนาคม พร้อมด้วย นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ รองอธิบดีกรมการขนส่งทางรางและรองโฆษกกระทรวงฯ ลงพื้นที่ติดตามการบริหารจัดการในชั่วโมงเร่งด่วนของรถไฟฟ้ามหานครสายเฉลิมรัชมงคล (สายสีน้ำเงิน) และสายฉลองรัชธรรม (สายสีม่วง) เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2562 เวลา 07.00 น. ณ สถานีรถไฟฟ้าเตาปูน

โดยมี นายวิทยา พันธุ์มงคล รองผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เจ้าหน้าที่ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BEM) ผู้ให้บริการรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน และสายสีม่วง ให้การต้อนรับ

รองปลัดกระทรวงคมนาคมได้หารือร่วมกับ รฟม. และ BEM ถึงการให้บริการผู้โดยสารและการจัดการจราจรในการเดินรถช่วงชั่วโมงเร่งด่วน พร้อมรับฟังรายงานจำนวนผู้โดยสารสะสม ณ สถานีรถไฟฟ้าเตาปูน ซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างรถไฟฟ้าสายสีม่วงและสีน้ำเงิน



ขณะนี้ได้แก้ปัญหาในระยะแรกด้วยการปรับตารางเดินรถให้เหมาะสมกับจำนวนผู้โดยสารในช่วงเช้าและเย็นที่เป็นชั่วโมงเร่งด่วน ส่วนการแก้ปัญหาในระยะยาวจะมีการเพิ่มขบวนรถในสายสีน้ำเงินอีก 13 ขบวน ภายในเดือนสิงหาคม 2562 และทยอยเพิ่มขบวนจนเต็มทั้งระบบ 54 ขบวน ภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2563

ซึ่งทำให้สามารถเพิ่มความถี่ในการเดินรถมากขึ้น และรองรับการเปิดให้บริการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายที่มีกำหนดเปิดให้บริการทดลองเดินรถ ช่วงหัวลำโพง – บางแค ในวันที่ 12 สิงหาคม 2562 และช่วงเตาปูน – ท่าพระ ในวันที่ 1 มกราคม 2563

https://www.youtube.com/watch?v=iegLJd64zQw
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 08/07/2019 11:01 am    Post subject: Reply with quote

รฟม.ยืดศึกษาเดินรถ “สีม่วงใต้” รอ “รมต.คมนาคม” คนใหม่เคาะรูปแบบ PPP
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: จันทร์ที่ 8 กรกฎาคม 2562 เวลา 07:27
ปรับปรุง: จันทร์ที่ 8 กรกฎาคม 2562 เวลา 08:12




รฟม.ยังไม่สรุปรูปแบบเดินรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ รอนโยบาย รมต.คมนาคมคนใหม่ชี้ขาดรูปแบบ PPP ระหว่างสัมปทาน Net Cost กับจ้างเอกชนเดินรถ Gross Cost เผยประชาชนสะดวกต้องเดินรถต่อเนื่อง และควรเจรจารายเดิม ป้องกันถูกเคลมค่าเสียหาย

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ ระยะทาง 23.6 กม. มูลค่า 128,235 ล้านบาท ในส่วนการเดินรถที่มีค่าลงทุนกว่า 20,000 ล้านบาทว่า ขณะนี้ที่ปรึกษายังอยู่ระหว่างศึกษารูปแบบการลงทุนรัฐและเอกชน (PPP) เปรียบเทียบระหว่าง PPP Net Cost การให้สัมปทานเอกชน ซึ่งเป็นแนวทางที่จะลดความเสี่ยงและภาระของภาครัฐ กับรูปแบบ PPP Gross Cost ภาครัฐจัดเก็บรายได้ จ้างเอกชนเดินรถ โดยรัฐจะต้องรับความเสี่ยงเรื่องค่าโดยสาร

ทั้งนี้ ปัจจุบันสายสีม่วงเหนือ (เตาปูน-คลองบางไผ่) ซึ่งเปิดให้บริการแล้ว โดยใช้รูปแบบ PPP Gross Cost มีสัญญาจ้าง บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM เป็นผู้บริหารการเดินรถ ดังนั้น หากให้สายสีม่วงใต้ (เตาปูน-ราษฎร์บูรณะ) ใช้รูปแบบ PPP Gross Cost เหมือนกันตลอดสาย ควรเจรจาจ้างบริษัทเดิมบริหารการเดินรถ อีกทั้งจะสะดวกเนื่องจากมีศูนย์ซ่อมบำรุง (เดปโป้) ที่คลองบางไผ่ เพียงแห่งเดียว

กรณีให้สายสีม่วงใต้ใช้รูปแบบ PPP Net Cost อาจจำเป็นต้องปรับรูปแบบของสายสีม่วงเหนือให้เป็น PPP Net Cost ตลอดสายด้วยหรือไม่ และหากพิจารณาว่าจะเปิดประมูลใหม่จะกระทบต่อสัญญาของสายสีม่วงเหนือแน่นอน ซึ่งมีความเสี่ยงกรณีถูกเอกชนเคลมความเสียหาย

“การศึกษามี 2 แนวทาง ระหว่างรูปแบบ PPP Gross Cost หรือรูปแบบ PPP Net Cost ตลอดสายทั้งส่วนเหนือ และใต้ เพื่อสะดวกในการใช้เดปโป้ และการเดินรถต่อเนื่อง จึงต้องศึกษาเปรียบเทียบข้อมูลทั้ง 2 รูปแบบให้ครบถ้วนและนำเสนอบอร์ด รฟม.พิจารณาต่อไป”

รายงานข่าวแจ้งว่า การเดินรถสายสีม่วงใต้จะเป็นรูปแบบใดนั้นขณะนี้ยังไม่มีการตัดสินใจ เนื่องจากจะต้องรอนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมคนใหม่ โดย รฟม.จะนำเสนอผลการศึกษาของทั้ง 2 รูปแบบ พร้อมข้อดีข้อเสีย ซึ่งยอมรับว่ากรณีเลือกรูปแบบ PPP Net Cost มีความจำเป็นต้องปรับสายสีม่วงเหนือเป็น PPP Net Cost ด้วย ซึ่งต้องล้างไพ่สัญญาจ้างเดิมกับ BEM ในขณะที่ควรเลือกการเจรจากับเอกชนรายเดิมมากกว่าเปิดประมูลใหม่ เพื่อป้องกันไม่ให้เอกชนเคลมเรียกค่าเสียหายจากรัฐ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 09/07/2019 6:51 pm    Post subject: Reply with quote

การปรับปรุงท่าเรือสะพานพระนั่งเกล้าให้เชื่อมต่อกับสถานีสะพานพระนั่งเกล้าเพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้โดยสารเรือด่วนเจ้าพระยา
https://www.facebook.com/491766874595130/posts/698647427240406?sfns=mo
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 08/08/2019 9:40 am    Post subject: Reply with quote

รฟม.ดึงเอกชนเช่าที่สถานีทำธุรกิจ เปิดพื้นที่ทำเลทอง 7 สถานีให้ร่วม-โชว์ตัวเลข/เวลาคนขึ้นลง
ข่าวทั่วไทย
ไทยรัฐฉบับพิมพ์
8 สิงหาคม 2562 เวลา 08:19 น.



นายวิทยา พันธุ์มงคล รองผู้ว่าการฝ่ายปฏิบัติการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า ปัจจุบันปริมาณผู้โดยสารที่ใช้บริการรถไฟฟ้า MRT สายเฉลิมมหานคร หรือสายสีน้ำเงิน หัวลำโพง-บางซื่อ และสายฉลองรัชมงคล หรือสายสีม่วง บางใหญ่-เตาปูน เพิ่มขึ้นตามลำดับ และคาดว่าเมื่อเปิดให้บริการสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายเต็มระบบ ซึ่งจะทำให้โครงข่ายระบบขนส่งมวลชนสมบูรณ์ ส่งผลต่อปริมาณผู้โดยสารเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ดังนั้น รฟม. จึงพยายามหามาตรการต่างๆเพิ่มการให้บริการให้กับผู้โดยสาร รวมถึงหาแนวทางการเพิ่มรายได้เข้ามาเสริม อาทิ การให้บริการที่จอดรถ การเช่าพื้นที่ภายในและโดยรอบสถานีรถไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ โดยเปิดให้ผู้ที่สนใจยื่นข้อเสนอเข้าร่วมพัฒนาพื้นที่ ได้แก่ สถานีกำแพงเพชร 2 (เช่าชั่วคราวเพื่อทำกิจกรรมส่งเสริมการตลาด) สถานีแยกนนทบุรี 1 สถานีศูนย์วัฒนธรรม สถานีสะพานพระนั่งเกล้า สถานีเพชรบุรี (เช่าชั่วคราวเพื่อทำกิจกรรมส่งเสริมการตลาด) สถานีพหลโยธิน สถานีห้วยขวาง

นายวิทยากล่าวว่า เพื่อเป็นการส่งเสริมการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ รฟม. จึงได้มีการสำรวจปริมาณผู้โดยสารช่วงเวลาที่ใช้บริการสถานีรถไฟฟ้าต่างๆทุกเดือน เพื่อใช้เป็นข้อมูลให้กับผู้ที่สนใจประกอบการวางแผนทางธุรกิจ ซึ่งจากการสำรวจพบว่า รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน สถานีเพชรบุรี ช่วงเวลา 08.00-09.00 น. มีผู้ใช้บริการจำนวน 3,193 ราย เวลา 18.00-19.00 น. จำนวน 3,254 ราย สถานีกำแพงเพชร ผู้ใช้บริการจะคึกคักมากในช่วงวันศุกร์ต้นเดือน เกือบ 4,000 ราย สถานี ห้วยขวาง ทางเข้า-ออก 2 เวลา 17.30-20.30 น. ผู้ใช้บริการ 3,374 ราย สถานีศูนย์วัฒนธรรมฯ ผู้ใช้บริการหนาแน่น ช่วงเย็น เฉพาะเวลา 18.00-19.00 น. จำนวน 1,755 ราย ส่วนสายสีม่วง สถานีนนทบุรี 1 ผู้โดยสารคับคั่งเวลา 07.00-08.00 น. และเวลา 17.00-20.00 น.เป็นต้น.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 22/08/2019 5:32 pm    Post subject: Reply with quote

รคนแห่ใช้รถไฟฟ้าสายน้ำเงิน พุ่งวันละ6หมื่นคน รองรับส่วนต่อขยาย ก.ย.นี้
วันพุธที่ 21 สิงหาคม 2562 เวลา 16:10 น.

รฟม.คาดหลังเปิดเดินรถไฟฟ้าสีน้ำเงินส่วนขยาย หัวลำโพง-บางแค ตลอดเส้นดันยอดผู้โดยสารพุ่งวันละ60,000 คน จ่อเคาะประมูลสายสีม่วง1แสนล้านปลายปีนี้

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่าการเปิดเดินรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย ช่วงหัวลำโพง-บางแค (หลักสอง) ปัจจุบันอยู่ในช่วงเปิดทดลองช่วงสถานีวัดมังกร-ท่าพระใช้บริการฟรี ช่วง 07.00-21.00น. พบว่ามีผู้โดยสารใช้บริการมากกว่า 30,000 คนต่อวัน ดังนั้นวันที่ 24 ส.ค. นี้จะขยายเดินรถจากสถานีบางไผ่-บางหว้า คาดว่ามีผู้โดยสารใช้บริการ 40,000 คนต่อวัน และเพิ่มเป็น 60,000 คนต่อวันเมื่อเปิดบริการเต็มรูปแบบช่วงปลายเดือน ก.ย. สำหรับช่วงเตาปูน-ท่าพระ เบื้องต้นจะเปิดทดลองให้บริการช่วงต้นเดือน ธ.ค.นี้

ส่วนโครงการที่ รฟม. เตรียมเสนอขออนุมัติก่อสร้าง และอยู่ระหว่างศึกษาออกแบบ ได้แก่โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงส่วนต่อขยายช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ วงเงิน 101,000 ล้านบาท เตรียมเปิดประมูลในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ ขณะนี้อยู่ระหว่างรอ พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน และอยู่ระหว่างขอพระบรมราชนุญาตใช้ที่ดินสำนักทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ เนื่องจากแนวเส้นทางผ่านพื้นที่ของสำนักทรัพย์สินฯ ต้องรอการอนุญาติก่อน เช่นเดียวกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูส่วนต่อขยาย ช่วงสถานีศรีรัช-เมืองทองธานี, โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ส่วนต่อขยาย ช่วงแยกรัชดา-ลาดพร้าวถึงแยกรัชโยธิน และโครงการรถไฟฟ้า สายสีน้ำตาล ช่วงแคราย-ลำสาลี (บึงกุ่ม) รฟม.จะผลักดันในปีนี้ต่อไป



สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ในงานด้านโยธาจะแล้วเสร็จ ปี 2562 ปัจจุบันรฟม.ได้ส่งมอบให้กรุงเทพมหานคร (กทม.) เป็นผู้บริหารจัดการเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียวแล้ว เพื่อต่อขยายเส้นทางให้บริการเดิมของรถไฟฟ้าบีทีเอส ให้มีความสมบูรณ์ขึ้น ซึ่งขณะนี้ได้เปิดให้บริการช่วงสถานีหมอชิต-ห้าแยกลาดพร้าว และช่วงต้นเดือนธ.ค.จะขยายเปิดให้บริการถึงสถานี ม.เกษตร และเปิดให้บริการทั้งเส้นทาง หรือถึงสถานีคูคต ช่วงปลายปี 2563

นอกจากนี้รฟม.ได้เร่งรัดงานก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ในสายๆอื่น เพื่อเป็นไปตามแผนงานด้วย โดยโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ปัจจุบันมีความคืบหน้า 45% เปิดให้บริการปี 2566 โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี เปิดให้บริการปี 2564 และโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง เปิดให้บริการปี 2564
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 10/09/2019 7:41 pm    Post subject: Reply with quote

รฟม.จัดให้! นั่งรถไฟฟ้าสีม่วงตีตั๋ว 14-20 บาท พ่วงน้ำเงินจ่ายสูงสุด 48-50 บาท
พร็อพเพอร์ตี้
วันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2562 เวลา 17:18 น.


นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่าตามที่นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม มีนโยบายลดภาระค่าครองชีพของประชาชน ในส่วนของ รฟม.ได้ประชุมร่วมกับกรมการขนส่งทางราง หาแนวทางลดค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีม่วง (เตาปูน-คลองบางไผ่) และสายสีน้ำเงิน มีข้อสรุปในเบื้องต้น มี 2 แนวทาง คือ ลดราคาช่วงนอกเวลาเร่งด่วน (off peak) และออกบัตรโดยสารรายเดือน (แบบจำกัดเที่ยว)

โดยสายสีม่วงในช่วง off peak จะลดราคาจากปัจจุบัน 14-42 บาท เหลือ 14-17 บาท และ 20 บาท กรณีที่ใช้บริการตั้งแต่ 2 สถานีเป็นต้นไป ส่วนสายสีน้ำเงินเนื่องจากเป็นเส้นทางที่ บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM) เป็นผู้รับสัมปทานเดินรถ การจะให้ลดราคาในช่วง off peak คงจะเป็นเรื่องยาก

แนวทางที่จะดำเนินการได้คือ จะทำโปรโมชั่นบัตรรายเดือนแบบจำกัดจำนวนเที่ยวร่วมกับสายสีม่วง เช่น 50 เที่ยว โดยอัตราค่าโดยสารสูงสุดไม่เกิน 48-50 บาท จากปัจจุบันหากผู้โดยสารใช้ทั้ง 2 ระบบ จ่ายสูงสุดอยู่ที่ 70 บาท ซึ่งแนวทางนี้รัฐไม่ต้องใช้งบประมาณไปอุดหนุนเอกชน แต่สายสีม่วงเนื่องจาก รฟม.ขอรับจัดสรรงบประมาณจากรัฐอยู่แล้วทุกปี หากดำเนินการตามแนวทางนี้รัฐก็จะอุดหนุนงบประมาณเพิ่มขึ้น

“ตอนนี้แนวทางนิ่งแล้ว รอให้บอร์ดของ รฟม. และ BEM พิจารณาอนุมัติ” นายภคพงศ์กล่าว
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 11/09/2019 9:31 pm    Post subject: Reply with quote

ลดตั๋วสายสีม่วงเหลือ”14-17-20”บาท

11 กันยายน พ.ศ. 2562


เริ่มเห็นตัวเลขลดค่าโดยสารตามนโยบายลดภาระค่าครองชีพประชาชนของนายศักดิ์สยามชิดชอบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมต่างทยอยออกมาเริ่มจากกรมทางหลวงลดค่าผ่านทางมอเตอร์เวย์ 10% ขณะ แอร์พอร์ตลิงค์ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท. ) ตลอดสายเหลือ 35บาท ล่าสุด นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.)เปิดเผย”ฐานเศรษฐกิจ”ว่ารฟม. เสนอกรมขนส่งทางราง ปรับลดค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีม่วงช่วงเตาปูน-คลองบางไผ่(นอกชั่วโมงเร่งด่วน) จำนวน3 อัตรา ได้แก่ 1.) ราคา 14 บาท สำหรับคนนั่งรถเล่น เข้าออกสถานีเดิม 2.) ราคา 17บาท สำหรับผู้ที่ต้องการเดินทางเพียง 1สถานี เช่น จากสถานีคลองบางไผ่ –ตลาดบางใหญ่ และ 3. ) ราคา 20บาท หากต้องการเดินทางมากว่า 2 สถานีขึ้นไป จาก ปกติ ราคา14- 42บาท ขณะ ใต้ดินสายสีน้ำเงิน รอการตอบรับจากผู้รับสัมปทาน

ผู้ว่ารฟม.กล่าวต่อว่า การลดค่าโดยสารสารจะช่วยดึงคนใช้รถไฟฟ้าเพิ่ม ซึ่งเท่ากับช่วยชดเชยรายได้ที่หายไป แต่หาก ปริมาณผู้โดยสารยังคงเดิมแสดงว่าค่าโดยสารไม่ใช่ปัญหาต่อปริมาณผู้ใช้ทาง ซึ่งปัจจุบันตัวเลขคนใช้บริการสายสีม่วงมีกว่า6หมื่นคนต่อวัน อย่างไรก็ตาม ค่าโดยสารอัตราใหม่ต้องรอคณะกรรมการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(บอร์ดรฟม.) พิจารณาเห็นชอบ แต่เนื่องจากประธาน บอร์ด และ คณะกรรมการบางท่านลาออก จึงต้องรอ คณะรัฐมนตรี(ครม.) มีมติแต่ตั้ง ดังนั้นจึงต้องรอออกไปอีกระยะหนึ่ง
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44333
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 17/09/2019 9:23 pm    Post subject: Reply with quote

17 กย 62 เวลา 21.09 น. ผู้โดยสารโปรดทราบเนื่องจากเกิดเหตุขัดข้องบางประการ ที่รถไฟฟ้า MRT สายสีม่วง สถานีเตาปูน(ชานชาลาสายสีม่วง) ถึงสถานีบางซ่อน ปิดให้บริการเดินรถ 🚈ขณะนี้รถไฟฟ้าเปิดให้บริการสถานีวงศ์สว่าง ถึงสถานีคลองบางไผ่ สำหรับ ผู้โดยสารต้องการเดินทางจากสายสีน้ำเงินไปยังสายสีม่วง โปรดเลือกการเดินทางเชื่อมต่อชนิดอื่น ขออภัยในความไม่สะดวก”
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> รถไฟฟ้า (BTS) และรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT) All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 70, 71, 72 ... 120, 121, 122  Next
Page 71 of 122

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©