Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311232
ทั่วไป:13179851
ทั้งหมด:13491083
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 325, 326, 327 ... 542, 543, 544  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44320
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 28/06/2019 9:00 pm    Post subject: Reply with quote

นับ 1 ไฮสปีด 3 สนามบิน
ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 28 June 2019 - 20:16 น.

คอลัมน์ สามัญสำนึก
โดย พัฒนพันธุ์ วงษ์พันธุ์

เข้าใกล้ความจริงทุกขณะกับโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ระยะทาง 220 กม. จากดอนเมือง สุวรรณภูมิ สิ้นสุดที่อู่ตะเภา

หลังจากโครงการที่มีเงินลงทุนสูงถึง 224,544 ล้านบาท ผ่านความเห็นชอบจากที่ประชุมคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (กก.วล.) ตั้งแต่วันจันทร์ที่ 24 มิถุนายนที่ผ่านมา

ขั้นตอนต่อไป การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ในฐานะเจ้าของโครงการจะต้องสรุปรายงาน EIA ทั้งหมด เสนอให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบ

จากนั้นกระบวนการลงนามในสัญญาน่าจะเกิดขึ้นภายในกลางเดือนกรกฎาคม


ทราบกันดีว่าการพัฒนาโครงข่ายคมนาคม ถนนหนทาง มอเตอร์เวย์ รถไฟ มีส่วนสำคัญในการพัฒนาเมืองอย่างแยกไม่ออก ในอดีตการสร้างเครือข่ายถนนไฮเวย์เชื่อมระหว่างรัฐของสหรัฐอเมริกา นำไปสู่การพัฒนาประเทศขนานใหญ่

เช่นเดียวกับที่เกิดขึ้นในประเทศญี่ปุ่น เครือข่ายรถไฟโดยเฉพาะความเร็วสูงชินคันเซ็นมีส่วนสำคัญต่อการยกระดับการพัฒนาประเทศมาถึงทุกวันนี้

บ้านเราโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ถูกกำหนดบทบาทมากกว่านั้น

จากโจทย์ตั้งต้นว่าที่ผ่านมาพลังดึงดูดคลื่นการลงทุนของไทยสู้กับเพื่อนบ้านโดยเฉพาะเวียดนามไม่ได้ เนื่องจากต้นทุนการผลิตโดยเฉพาะค่าจ้างแรงงานที่สูงขึ้นเรื่อย ๆ เป็นเหตุผลสำคัญว่าทำไมตัวเลขจีดีพีบ้านเราถึงไม่ค่อยขยับ

แนวคิดนี้กลายเป็นที่มาของโครงการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (อีอีซี) เพื่อดึงดูดทัพลงทุนระลอกใหม่

ถามว่ารถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินไปเกี่ยวข้องอะไรด้วยกับอีอีซี

คำตอบที่ได้รับการอธิบายจากบิ๊ก ๆ เบื้องหลังโปรเจ็กต์ คือ รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน เป็นเสมือนสัญลักษณ์สำคัญ แสดงให้เห็นว่าเราไม่ได้แค่ขายฝัน แต่มุ่งมั่นจริง ๆ กับอีอีซี

เป็นหนึ่งในตัวที่สร้างความมั่นใจให้กับต่างชาติที่ให้ความสำคัญกับการลงทุนระยะยาว จะไม่หอบหิ้วเงินทุนมาทิ้งในสิ่งที่ไม่มีความมั่นคงในอนาคต

นอกจากรถไฟไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน ที่ตามมาติด ๆ คือ โครงการท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะที่ 3 เงินลงทุน 47,900 ล้านบาท

รวมถึงที่อยู่ระหว่างดำเนินการ ทั้งโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินตะวันออก เงินลงทุน 290,000 ล้านบาท และท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 เงินลงทุน 84,361 ล้านบาท

มองในภาพรวม ถึงตอนนี้รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน น่าจะผ่านขั้นตอนที่ยุ่งยากที่สุดไปแทบทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นการประมูล การเจรจาต่อรอง รวมถึง EIA

เหลือแค่การเห็นชอบจาก ครม. และขั้นตอนของการลงนามในสัญญา ซึ่งผู้เกี่ยวข้องคงไม่ปล่อยเวลาเนิ่นนานไปถึงรัฐบาลใหม่

อย่างไรก็ตาม ส่วนตัวเชื่อว่าการเซ็นสัญญาเป็นแค่การเริ่มต้นนับหนึ่งโปรเจ็กต์ยักษ์โครงการนี้อย่างเป็นทางการเท่านั้น

ในระหว่างก่อสร้างอาจมีเรื่องจุกจิกเกิดขึ้นตามมาตลอดเวลา จากที่ผ่านมากระทรวงคมนาคมคือสายตรงจากบิ๊กตู่ แต่รัฐบาลใหม่ที่เข้ามาอาจไม่ใช่

ไฮไลต์สำคัญอีกช่วง คือ การส่งมอบพื้นที่ก่อสร้าง ซึ่งเกิดเป็นปัญหาทุกโครงการ (เรื่องแบบนี้ย้อนกลับมาทิ่มตำภาครัฐอยู่บ่อย ๆ)

เช่นเดียวกับการบริหารจัดการหลังโครงการเสร็จสมบูรณ์ นอกจากตัวรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ยังมีการพัฒนาพื้นที่มักกะสันและศรีราชาเข้ามาเกี่ยวข้อง

ซี.พี.เองเคยมีบทเรียนในอดีต ครั้งเป็นผู้รับสัมปทานโทรศัพท์ (มีสาย) 2 ล้านเลขหมาย เกือบ ๆ 30 ปีมาแล้ว และวาดภาพจนสวยหรู เนื่องจากช่วงเริ่มโครงการความต้องการโทรศัพท์บ้านมีสูงมาก แต่พอวางโครงข่ายเสร็จกลับถูกโทรศัพท์มือถือที่สะดวกสบายกว่าเข้ามา “ดิสรัปต์” บวกกับวิกฤตเศรษฐกิจในปี 2540 มีการลอยตัวค่าเงินบาท ต้นทุนสูงขึ้นมหาศาลจนต้องปรับโครงสร้างธุรกิจ

กลายเป็นบทเรียนสำคัญของ ซี.พี.จนถึงทุกวันนี้
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44320
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 01/07/2019 5:35 am    Post subject: Reply with quote

รถไฟไทยยุคไร้รอยต่อ
ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 30 June 2019 - 08:00 น.
คอลัมน์ สามัญสำนึก

โดย พิเชษฐ์ ณ นคร

เอ่ยถึงโครงการรถไฟความเร็วสูง หรือไฮสปีดเทรน นอกจากโครงการรถไฟไทย-จีน กับรถไฟไทย-ญี่ปุ่น เมกะโปรเจ็กต์ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ที่เปิดหวูดก่อน แต่เคลื่อนขบวนช้า ถึงก็ช่างไม่ถึงก็ช่าง ไม่ใส่เกียร์ไฮสปีด จะมีก็แต่ไฮสปีดเทรนเชื่อม 3 สนามบินแบบไร้รอยต่อ หรือไฮสปีดเทรนอีอีซีที่ข่าวคราวความเคลื่อนไหวมีมากกว่า เพราะแอ็กทีฟกว่า 2 โครงการแรก


โดยเฉพาะไฮสปีดเทรน อีอีซี มูลค่าลงทุนมหึมากว่า 2 แสนล้านบาทนี้ หลายคนอาจคุ้นหูในชื่อไฮสปีดเทรน ซี.พี. เพราะนอกจากบริษัทในเครือเจริญโภคภัณฑ์ อาณาจักรธุรกิจของกลุ่มตระกูล “เจียรวนนท์” คือกลุ่มกิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร จะเป็นตัวเต็งที่จะคว้าสัมปทานโครงการหลักที่จะชี้เป็นชี้ตาย การพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรืออีอีซี ตั้งแต่ต้นแล้ว

ผลการประมูลที่ออกมาก็เป็นไปตามคาด ไม่มีพลิกล็อกเหลือแค่รอลงนามในสัญญาสัมปทาน ก็จะปักหมุดก่อสร้างได้ ส่วนจะช่วยหนุนศักยภาพของเขตเศรษฐกิจพิเศษอีอีซี พลิกอนาคตประเทศ พลิกเศรษฐกิจไทยให้เติบโตก้าวกระโดดได้อีกครั้งได้จริงหรือไม่ ต้องรอพิสูจน์ฝีมือในการบริหารจัดการของรัฐบาลใหม่ ว่าจะสานต่อโมเดลเศรษฐกิจไทยแลนด์ 4.0 ให้เป็นจริงได้มากน้อยเพียงใด

ขณะเดียวกันในโลกปัจจุบันที่การติดต่อสื่อสาร การค้า การลงทุน ต้องอาศัยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสมัยใหม่ ดิจิทัลซึ่งมีผลกระทบทั้งด้านลบและบวกถูกนำมาใช้แพร่หลายมากขึ้น พลิกรูปแบบการทำธุรกิจแตกต่างจากแบบเดิม ๆ เพื่อตอบสนองความสะดวกสบาย ช่วยขยายฐานลูกค้าและช่องทางการตลาด ช่วยลดต้นทุน รวมทั้งสร้างมูลค่าเพิ่มในตัวสินค้าและบริการฉันใด ในแง่โลจิสติกส์ การขนส่งและการเดินทาง ระบบรางก็ถูกนำมาใช้เพื่อตอบโจทย์อนาคตฉันนั้น

แม้จะมีหนี้สะสมอยู่กว่าแสนล้านบาท บวกกับล่าสุดรัฐบาลได้จัดตั้งกรมการขนส่งทางราง เป็นหน่วยงานใหม่ในสังกัดกระทรวงคมนาคม ทำหน้าที่กำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์การพัฒนาการขนส่งทางราง และเป็นผู้กำกับดูแลระบบรางทั้งประเทศ ทั้งรถไฟ รถไฟฟ้า โดยการรถไฟฯจะลดบทบาทเป็นเพียงผู้ประกอบการรายหนึ่ง

แต่อย่าปรามาสว่าองค์กรเก่าแก่อายุกว่า 120 ปีองค์กรนี้จะมีบทบาทลดน้อยลง เพราะนอกจากโปรเจ็กต์ใหญ่ในมือหลายโครงการทั้งที่อยู่ระหว่างดำเนินการและจะลงทุนเพิ่มในอนาคตล้วนมีส่วนสำคัญต่อการเชื่อมโยงขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยทั้งระบบ เศรษฐกิจไทยแลนด์ยุค 4.0 รถไฟไทยจึงมีทั้งโอกาสและความท้าทาย

ยกตัวอย่างโครงการรถไฟเชื่อมต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน อาทิ การพัฒนาระบบราง สนับสนุนเขตเศรษฐกิจพิเศษ (SEZ) เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจการค้าบริเวณชายแดน โดยมีการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกและโครงสร้างพื้นฐานให้มีความต่อเนื่องและเชื่อมต่อกันอย่างไร้รอยต่อ สำหรับระยะที่ 1 มี 5 เขต คือ ด่านแม่สอด จ.ตาก ด่านบ้านหาดเล็ก จ.ตราด ด่านอรัญประเทศ จ.สระแก้ว ด้านมุกดาหาร จ.มุกดาหาร ด่านปาดังเบซาร์ จ.สงขลา

และในอนาคตจะมีการก่อสร้างโครงข่ายเส้นทางให้มีความต่อเนื่องเชื่อมโยงจากเพื่อนบ้านสู่โลก โดยเฉพาะประเทศในกลุ่มอาเซียนและจีน ได้แก่ รถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ-หนองคาย-สปป.ลาว-คุนหมิง รถไฟทางคู่ ช่วงกาญจนบุรี-บ้านพุน้ำร้อน ถึงท่าเรือน้ำลึกทวาย รถไฟทางคู่ เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ เชื่อมต่อ สปป.ลาวไปถึงจีน รถไฟทางคู่ บ้านไผ่-มุกดาหาร-นครพนม เชื่อม สปป.ลาว-จีน รถไฟทางคู่ช่วงมาบตาพุด-ระยอง-จันทบุรี-ตราด เชื่อมกัมพูชา รถไฟทางคู่ชุมทางหาดใหญ่-ปาดังเบซาร์ เชื่อมมาเลเซีย

ถามว่า เราจะได้อะไรจากการเชื่อมต่อระบบรางกับประเทศเพื่อนบ้านทั้งในภูมิภาค สู่โลก การรถไฟฯเฉลยว่า จะมีการเพิ่มขึ้นของมูลค่าการค้าชายแดน ตัวเลือกในการขนส่งสินค้าเพิ่มมากขึ้น เมืองขยายตัวมีการพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพื่อนบ้านขนส่งสินค้าผ่านทางเรือน้ำลึกของไทยเพิ่มมากขึ้น

การท่องเที่ยวระหว่างประเทศผ่านระบบรางจะมีมากขึ้น คนไทยจะมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น นำมาซึ่งการเติบโตของเศรษฐกิจชุมชน รายได้ประชาชนเพิ่มขึ้น ฯลฯ

ต้องเชียร์ให้รัฐบาลเร่งสปีดระบบรางไร้รอยต่อ เพราะยิ่งเกิดเร็ว อานิสงส์ก็จะมาถึงเร็ว
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44320
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 01/07/2019 5:27 pm    Post subject: Reply with quote

“อีอีซี” อัดฉีด200ล้านให้รถไฟรื้อบุกรุก เคลียร์รางไฮสปีดเร่งเซ็นสัญญาก.ค.นี้ ตีตกอุทธรณ์ซี.พี.อู่ตะเภารอศาลตัดสิน
ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 1 July 2019 - 14:47 น.

นายคณิศ แสงสุพรรณ​ เลขาธิการ​คณะกรรมการ​นโยบาย​การพัฒนา​ระเบียง​เศรษฐกิจ​พิเศษ​ภาค​ตะวันออก​ (อีอีซี)​ เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) วันที่ 1 ก.ค.2562 มีมติใน 2 โครงการสำคัญ ได้แก่

@ตีตกอุทธรณ์ ซี.พี.

1. ที่ประชุม กพอ.มีมติไม่รับพิจารณาข้อเสนอกล่องที่ 6/10 และกล่องที่ 9/10 ของกลุ่มกิจการค้าร่วมบริษัท ธนโฮลดิ้ง จำกัดและพันธมิตร (กลุ่มซี.พี.) ในโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก มูลค่าโครงการ 290,000 ล้านบาท โดยเป็นการเห็นชอบตามที่คณะอนุกรรมการพิจารณาอุทธรณ์คำสั่งทางปกครอง ที่มีนายพสุ โลหารชุน ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมเป็นประธาน โดยเห็นชอบว่าการส่งเอกสารดังกล่าว เป็นการส่งเอกสารที่เกินกำหนดเวลาปิดรับซอง 15.00 น. จริง เป็นการยึดตามหลักเกณฑ์ที่ระบุในเอกสารเชิญชวนเอกสารร่วมลงทุน (RFP)

หลังจากนี้ กระบวนการพิจารณาซองคุณสมบัติต่างๆ ของเอกชนอีก 2 ราย คือ กลุ่มกิจการร่วมค้า BBS นำโดย บมจ.บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ และ บมจ.การบินกรุงเทพ ผู้บริหารสายการบินบางกอกแอร์เวย์ กับกลุ่มแกรนด์คอร์โซเตียม นำโดย บมจ.แกรนด์ แอสเสท โฮเทลส์ แอนด์ พรอพเพอร์ตี้ ยังเดินหน้าต่อไป

โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาซองที่ 1 คุณสมบัติทั่วไปอยู่ หลังจากนี้จะเป็นการเปิดพิจารณาซองที่ 2 คุณสมบัติด้านเทคนิคของทั้ง 2 กลุ่มต่อ โดยกระบวนการพิจารณาจะใช้เวลาประมาณ 2-3 สัปดาห์จึงจะแล้วเสร็จ มีเกณฑ์คะแนนคร่าวๆ คือ ผู้ที่จะผ่านการพิจารณาซองที่ 2 ต้องมีคะแนนรวมเกิน 80% ขึ้นไป จึงจะดำเนินการเปิดซองทีี 3 คุณสมบัติด้านการเงินต่อได้

@รอศาลปกครองพิพากษา

แม้จะสามารถเปิดซองที่ 2-3 ของทั้ง 2 กลุ่มมาพิจารณาได้ แต่การประกาศผลใดๆ ยังไม่สามารถกระทำได้ เนื่องจากยังมีคดีที่กลุ่ม ซี.พี.ไปยื่นฟ้องต่อศาลปกครอง ซึ่งศาลจะเริ่มพิจารณาหลังจากบอร์ดอีอีซีมีมติเกี่ยวกับการอุทธรณ์คำสั่งแล้ว โดยให้คำตอบไม่ได้ว่าศาลปกครองจะใช้เวลาพิจารณาานเท่าไหร่ เนื่องจากเป็นขอบเขตอำนาจของศาล

“ที่ช้า ไม่ได้มีสาเหตุมาจากรัฐ แต่เป็นความไม่พร้อมของเอกชนเอง แต่อย่างไรก็ตามจะต้องรอกระบวนการของศาลปกครองก่อนว่า จะมีคำสั่งออกมาอย่างไร เพราะมีผลกับไทม์ไลน์ของโครงการ แต่ในระหว่างที่รอ กองทัพเรือในฐานะเจ้าของโครงการจะมีการประชุมเกี่ยวกับโครงการนี้ในวันพรุ่งนี้ เพื่อเร่งรัดการทำงาน โดยวางกรอบไว้ว่า การคัดเลือกเอกชนจะต้องจบภายใน 1 เดือนนับจากนี้” นายคณิศระบุ

ส่วนการอุทธรณ์โครงการท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 ช่วงที่ 1 ท่าเทียบเรือ F เงินลงทุน 84,361 ล้านบาท บอร์ดอีอีซีให้คณะอนุกรรมการฯกลับไปรวบรวมข้อมูลมาใหม่ เพราะเห็นว่าข้อมูลที่รายงานมายังไม่ชัดเจน ส่วนเป็นเรื่องใดนั้น ไม่สามารถเปิดเผยได้

@ไฟเขียวงบเคลียร์ผู้บุกรุก 200 ล้าน

นอกจากนี้ นายคณิศยังกล่าวอีกว่า ความคืบหน้าของโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ระยะทาง 220 กม. เงินลงทุน 224,544 ล้านบาท ที่มีกลุ่มกิจการร่วมค้าบริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด (กลุ่ม CPH) เป็นเอกชนที่ได้รับคัดเลือกนั้น

ล่าสุดบอร์ดอีอีซีมีมติอนุมัติกรอบวงเงินสำหรับดำเนินการเรื่องผู้บุกรุก ส่วนการส่งมอบพื้นที่สำหรับก่อสร้าง มีความพร้อมในการส่งมอบพื้นที่ 82% เหลืออีก 18% ที่ยังติดอุปสรรคการจัดการเรื่องผู้บุกรุก เบื้องต้น วางกรอบการลงนามในสัญญาภายในเดือน ก.ค.นี้

ด้านนายวรวุฒิ มาลา รักษาการผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ในฐานะประธธานคณะกรรมการคัดเลือกของโครงการ เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่ากรอบงบ 200 ล้านบาทที่ได้รับจัดสรรมาในวันนี้ เป็นการขอเนื่องจากที่ผ่านมา ร.ฟ.ท.ยังไม่เคยขอรับการจัดสรรสำหรับการดำเนินการในส่วนของการจัดการพื้นที่บุกรุกมาก่อน สำหรับวงเงินนี้จะนำไปใช้จ่ายในเคลียร์ปัญหาผู้บุกรุกซึ่งเกี่ยวพันกับการส่งมอบพื้นที่ เช่น จ่ายค่าเยียวยา หรือค่าดำเนินการสำหรับเจ้าหน้าที่ เป็นต้น

ส่วนการส่งมอบพื้นที่สำหรับการก่อสร้าง ยังอยู่ระหว่างการพูดคุยหารือกัน ในสัปดาห์หน้าจะมีการนัดประชุมกับผู้รับเหมาของ CPH ในประเด็นนี้อีกครั้ง แต่ยังไม่ระบุวันและเวลาที่เหมาะสม พร้อมกันนี้ ขอร้องสื่ออย่าคาดคั้นเรื่องราวในรายละเอียดมากนัก เพราะทุกอย่างกำลังดำเนินการตามขั้นตอน ซึ่งมีความละเอียดอ่อน
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44320
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 01/07/2019 6:58 pm    Post subject: Reply with quote

นายกฯไฟเขียวตัดสิทธิ์"กลุ่มซีพี"ประมูลอู่ตะเภา
ฐานเศรษฐกิจ 01 Jul 2019

นายกฯนั่งหัวโต๊ะประชุม กพอ.ไฟเขียวตัดสิทธิ์กลุ่มซีพี ประมูลสนามบินอู่ตะเภา ตามข้อเสนออนุกรรมการ ด้านรฟท.เร่งแผนส่งมอบพื้นที่ไฮสปีด เชื่อม 3 สนามบิน ก่อนลงนาม ก.ค.นี้

การประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) ครั้งที่ 7/2562 ที่มีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน วันนี้( 1 กรกฎาคม 2562) ได้พิจารณาโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา และเมืองการบินภาคตะวันออก โดยที่ประชุมได้รับทราบและพิจารณาเห็นด้วย ต่อความเห็นของคณะอนุกรรมการพิจารณาอุทธรณ์คำสั่งทางปกครอง ที่มีมติยืนไม่รับพิจารณาข้อเสนอกล่องที่ 6/10 และกล่องที่ 9/10 ของกลุ่มกิจการค้าร่วมธนโฮลดิ้ง ฯ เนื่องจากได้ยื่นหลังกำหนดเวลาตามเอกสารการคัดเลือกเอกชน โดยจะทำการแจ้งผลการพิจารณาต่อกลุ่มกิจการค้าร่วมธนโฮลดิ้งฯ ต่อไป

กพอ.ยังรับทราบความคืบหน้าขั้นตอนการดำเนินงานโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ซึ่งอยู่ระหว่างเตรียมการลงนามสัญญาร่วมทุน ได้แก่ การจัดทำเอกสารแนบท้ายร่างสัญญาร่วมลงทุน เรื่องทางเทคนิค การเงิน และกำหนดรายละเอียดเพื่อตรวจสอบหน้าที่ของ รฟท. ในฐานะคู่สัญญาฝ่ายรัฐที่ต้องดำเนินการเป็นการเฉพาะ การเสนอรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ซึ่ง รฟท. รับความเห็นของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ประเด็นมาตรการป้องกันลดผลกระทบการเดินรถไฟ ฯ การดำเนินงานศูนย์ร้องเรียน และสอบถามความวิตกกังวลของผู้ได้รับผลกระทบ เป็นต้น รวมทั้งการจัดตั้งหน่วยงานบริหารสัญญาโครงการฯ และการจัดทำแผนส่งมอบพื้นที่ โดยจะกำหนดให้มีการลงนามในสัญญาร่วมลงทุนโครงการฯ ได้ภายในเดือนกรกฎาคม 2562 นี้

ส่วนโครงการพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะที่ 3 ช่วงที่ 1 โดย กพอ. รับทราบ ความเห็นของกรรมการ กพอ. ต่อร่างสัญญาร่วมลงทุน และคำชี้แจงของการนิดคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ต่อร่างสัญญาร่วมลงทุนโครงการฯ และจะเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อทราบต่อไป

สำหรับภาพรวมการประชุม ฯ ในรอบ 2 ปี ที่ผ่านมา มีเรื่องพิจารณา 17 ครั้ง อนุมัติเรื่องสำคัญรวม 52 เรื่อง มีการประชุมในปี 2560 (ชื่อเดิม) คณะกรรมการนโยบายพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (กนศ.) จำนวน 3 ครั้ง โดยปี 2561 การประชุม แบ่งเป็น กนศ. จำนวน 3 ครั้ง และ กพอ.จำนวน 5 ครั้ง

ส่วนปี 2562 กพอ. มีการประชุม 6 ครั้ง โดยมีสาระสำคัญ ประกอบด้วย
1. เห็นชอบแผนการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก ซึ่งมี 8 แผนงาน เห็นชอบหลักการจัดทำข้อเสนอกรอบขั้นตอนการเร่งรัดอนุมัติโครงการร่วมทุนระหว่างรัฐและเอกชนในพื้นที่อีอีซี (PPP EEC Track) เป็นต้น (การประชุม กนศ ครั้งที่ 1/2560 วันที่ 5 เม.ย.2560) ,

2.เห็นชอบหลักการโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน โดยพื้นที่ตลอดแนวโครงการตั้งแต่สนามบินดอนเมืองถึงสนามบินอู่ตะเภา เป็น “เขตส่งเสริม”(การประชุมกนศ.ครั้งที่ 2/2561 วันที่ 26ก.พ.2561) เห็นชอบแนวทางพัฒนาเมืองใหม่อัจฉริยะน่าอยู่ แผนการพัฒนาเมืองใหม่อัจฉริยะตัวอย่าง (การประชุมครั้งที่ 3/2561 วันที่ 18 เม.ย.2561),

3.เห็นชอบแผนภาพรวมการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก รับทราบความก้าวหน้าโครงการของอีอีซี เช่น โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ศูนย์ซ่อมบำรุงท่าอากาศยานอู่ตะเภา โครงการท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 และโครงการท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะที่ 3 (การประชุม กพอ.ครั้งที่ 2/2561 วันที่ 10 ส.ค.2561) และ4.รับทราบโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ผ่านความเห็นชอบการประเมินผล EIA และรับทราบผลการประชุม ครม.เห็นชอบการคัดเลือก ผลการเจรจาและร่างสัญญาโครงการพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะที่ 3 (การประชุมกพอ. ครั้งที่ 6 วันที่ 24มิ.ย.2562)
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 02/07/2019 10:48 am    Post subject: Reply with quote

ชงครม.อนุมัติงบกลาง ลุยไฮสปีด“โคราช-หนองคาย”
เศรษฐกิจมหภาค / Mega Project
อังคารที่ 2 กรกฎาคม 2562


ภายหลังการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) เดินหน้าก่อสร้าง โครงการความ ร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณะรัฐประชาชนจีนรถไฟความเร็วสูงไทย-จีนช่วงที่ 1 (กรุงเทพฯ-นครราชสีมา )ระยะทาง 252.35 กิโลเมตร วงเงิน 179,412.21 ล้านบาท คาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จพร้อมเปิดเส้นทาง ได้ภายในปี 2566นั้น

ล่าสุด กระทรวงคมนาคมขออนุมัติงบกลางฯและขออนุมัติก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ รายจ่ายประจำปีงบประมาณเพื่อดำเนินการจ้างที่ปรึกษาเพื่อออกแบบรายละเอียดงานโยธาโครงการความร่วมมือ ไทย-จีน ในการพัฒนาระบบรถไฟฟ้าความเร็วสูงเพื่อการเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพ – หนองคาย ระยะที่ 2 (นครราชสีมา - หนองคาย)ทั้งนี้ แหล่งข่าวจากรฟท. ระบุว่า รฟท.เสนอ ของบกลาง กว่า 700 กว่าล้านบาท จ้างบริษัทที่ปรึกษา ศึกษาออกแบบ งานโยธา โครงการ รถไฟไทย-จีน ช่วงที่2 (นครราชสีมา-หนองคาย) ระยะทาง 355 กิโลเมตร วงเงิน กว่า 2แสนล้านบาท (รวมงานระบบ ขบวนรถ งานโยธา) ให้ เชื่อมโยงครบโครงข่ายระบบไฮสปีดเทรน กรุงเทพ – หนองคายไปยัง สปป.ลาว และจีนตอนใต้ ได้อย่างสะดวกรวดเร็ว เนื่องจาก จีน อยู่ระหว่างก่อสร้าง เส้นทางรถไฟ มารอที่สปป.ลาว ก้าวหน้าไปกว่า80% ทั้งนี้ การศึกษาออกแบบ จะใช้เวลา 12เดือนหลังจากได้ผู้รับจ้าง และปี 2568 จะก่อสร้างแล้วเสร็จ ใช้เวลาเดินทาง เพียง 3ชั่วโมงเศษ จากกรุงเทพ-หนองคาย

เตรียมการคัดเลือกบริษัทที่ปรึกษาเพื่อการก่อสร้างทางรถไฟความไวสูงจากโคราชไปหนองคาย และ เร่งให้ ส่วน 3.5 กิโลเมตรแรก ที่ ปางโศกเสร็จ ในเดือนนี้
https://www.thebangkokinsight.com/170181/
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44320
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 03/07/2019 8:44 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
ชงครม.อนุมัติงบกลาง ลุยไฮสปีด“โคราช-หนองคาย”
เศรษฐกิจมหภาค / Mega Project
อังคารที่ 2 กรกฎาคม 2562

ครม.ไฟเขียว 751 ล้าน จ้างที่ปรึกษาศึกษา-ออกแบบ รถไฟไทย-จีนระยะที่ 2 ช่วงโคราช-หนองคาย
ข่าวสดออนไลน์ วันที่ 2 กรกฎาคม 2562 - 18:09 น.

ครม.ไฟเขียวงบ 751 ล้านบาท จ้างที่ปรึกษาศึกษา-ออกแบบ โครงการรถไฟไทย-จีนระยะที่ 2 ช่วงโคราช-หนองคาย
ครม.ไฟเขียว 751 ล. จ้างที่ปรึกษา – พล.ต.อธิสิทธิ์ ไชยนุวัติ ผู้ช่วยโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ งบกลางรายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นวงเงิน 751.62 ล้านบาท เพื่อให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ดำเนินการจ้างที่ปรึกษาเพื่อศึกษาออกแบบรายละเอียดงานโยธาโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงเพื่อการเชื่อมโยงภูมิภาค (รถไฟไทย-จีน) ช่วงกรุงเทพฯ-หนองคาย ระยะที่ 2 (ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย)

ทั้งนี้ กระทรวงคมนาคมรายงานครม.ว่า ตามที่ไทยและจีนได้มีความร่วมมือกันการก่อสร้างโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) เพื่อการเชื่อมโยงภูมิภาคโดยเป็นความร่วมมือระหว่างปี 2558-2565 ซึ่งในการประชุมครั้งที่ 26 ร่วมกันระหว่างคณะกรรมการเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน ได้หารือเรื่องการก่อสร้างโครงการในระยะที่ 2 (ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย) โดยฝ่ายไทยจะเป็นผู้รับผิดชอบการออกแบบรายละเอียดงานโยธา และทั้ง 2 ฝ่ายจะพิจารณาความเหมาะสมในการดำเนินการของโครงการร่วมกันในระยะต่อไป

กรอบการศึกษาโครงการรถไฟความเร็วสูงเพื่อการเชื่อมโยงภูมิภาคระยะที่ 2 ใช้ระยะเวลา 19 เดือนตั้งแต่เดือนส.ค. 2562 จนถึงขั้นตอนการสำรวจอสังหาริมทรัพย์หลังออก พ.ร.ฎ.เวนคืนที่เดือน ม.ค. 2564 วงเงินงบประมาณ 751.62 ล้านบาท ที่อนุมัติจากงบกลางฯ ให้รฟท. ไปดำเนินการจัดจ้างที่ปรึกษาแบ่งเป็นงบกลางฯปี 2561 ที่กันไว้เบิอกจ่ายในปี 2562 วงเงิน 112.24 ล้านบาท ส่วนที่เหลือวงเงิน 638.88 ล้านบาท ให้ใช้งบกลางฯผูกพันจากปีงบประมาณ 2563-2564 ต่อไป

สำหรับรายละเอียดของค่าใช้จ่ายในการจ้างที่ปรึกษาในโครงการนี้ประกอบไปด้วย 1. ค่าตอบแทนบุคลากร 506.92 ล้านบาท แบ่งเป็นค่าตอบแทนบุคลากรหลัก 420.18 ล้านบาท และค่าใช้จ่ายบุคลากรสนับสนุน 86.74 ล้านบาท และ 2. ค่าใช้จ่ายตรง แบ่งเป็นค่าใช้จ่ายในสำนักงาน 33.71 ล้านบาท และค่าใช้จ่ายงานสำรวจ ทดสอบ และค่าใช้จ่ายตรงอื่นๆ 161.81 ล้านบาท และ 3. ค่าภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% 49.1 ล้านบาท
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 03/07/2019 10:15 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
Wisarut wrote:
ชงครม.อนุมัติงบกลาง ลุยไฮสปีด“โคราช-หนองคาย”
เศรษฐกิจมหภาค / Mega Project
อังคารที่ 2 กรกฎาคม 2562

ครม.ไฟเขียว 751 ล้าน จ้างที่ปรึกษาศึกษา-ออกแบบ รถไฟไทย-จีนระยะที่ 2 ช่วงโคราช-หนองคาย
ข่าวสดออนไลน์ วันที่ 2 กรกฎาคม 2562 - 18:09 น.


จับตาครม.ไฟเขียวจ้างทปษ.รถไฟเร็วสูงหนองคาย
ข่าว เศรษฐกิจ-โลจิสติกส์
เดลินิวส์
อังคารที่ 2 กรกฎาคม 2562 เวลา 10.11 น.


การประชมครม. 2 ก.ค.นี้ เตรียมหารือการเสนอขอใช้งบกลางจ้างที่ปรึกษาออกแบบงานโยธา รถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพฯ - หนองคาย

รายงานข่าวจากทำเนียบรัฐบาล เปิดเผยว่า ในการประชุมครม. วันที่ 2 ก.ค.นี้ ที่ประชุมจะมีการพิจารณาวาระที่เกี่ยวข้องกับด้านเศรษฐกิจ โดยกระทรวงการคลังรายงานผลการดำเนินงาน เรื่องขอความเห็นชอบการปรับปรุงมติ ครม.6.มิ.ย.2560 เรื่องการปรับปรุง มติ ครม.เมื่อวันที่ 6 มิ.ย. 2560 เรื่องการปรับปรุงมติคณะรัฐมนตรี 18 ธ.ค.2555 เรื่องการให้หน่วยงานในรัฐวิสาหกิจเข้ามาถือหุ้นในสัดส่วนของรัฐบาลไทยในโครงการอาเซียนโปรแตชอาเซียน (ประเทศไทย)

ขณะที่กระทรวงคมนาคม เสนอขออนุมัติงบกลางฯและขออนุมัติก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ รายจ่ายประจำปีงบประมาณเพื่อดำเนินการจ้างที่ปรึกษาเพื่อออกแบบรายละเอียดงานโยธาโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณะรัฐประชาชนจีน ในการพัฒนาระบบรถไฟฟ้าความเร็วสูงเพื่อการเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพฯ – หนองคาย ระยะที่ 2 (นครราชสีมา - หนองคาย)

พร้อมขอความเห็นชอบการแก้ไขสัญญาร่วมลงทุน ตาม พ.ร.บ.การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 จำนวน 4 ฉบับ และขอความเห็นชอบวงเงินอุดหนุนบริการสาธารณะ ประจำปีงบประมาณ 2563 ของ ขสมก.

ครม.ไฟเขียวออกแบบ‘รถไฟไทย-จีน’เฟส2 เร่งประมูลอีก 6 สัญญาวงเงิน6หมื่นล้าน
วันอังคาร ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2562, 17.34 น.




เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2562 นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) ว่า ทาง ครม.ได้มีการอนุมัติงบกลางรายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นและขออนุมัติก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณเพื่อดำเนินการจ้างที่ปรึกษาออกแบบรายละเอียดงานโยธาโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย และรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อการเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพมหานคร – หนองคาย ระยะที่ 2 (ช่วงนครราชสีมา – หนองคาย) ระยะเวลาดำเนินการ 19 เดือน วงเงิน 751,624,800 บาท


ทั้งนี้ ได้มีการอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 งบกลางรายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน 112,743,700 บาท ให้การรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) ส่วนที่เหลือจำนวน 638,881,100 บาท ให้ผูกพันงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 – 2564 โดยเสนอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามขั้นตอนต่อไป

สำหรับโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีนระยะที่ 2 ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย ระยะทาง 355 กิโลเมตรนั้น วงเงินลงทุนก่อสร้างที่คาดการณ์ประมาณ 200,000 ล้านบาท โดยเป็นส่วนหนึ่งของโครงการจัดจ้างเอกชนศึกษาออกแบบโครงการในระยะที่ 2 วงเงินเต็ม 751 ล้านบาท ส่วนอีกประมาณ 638 ล้านบาทจะใช้งบประมาณของปี 2563 ต่อไป ขณะที่การออกแบบในช่วงที่ 2 ได้แก่ ช่วงนครราชสีมา-ขอนแก่น และช่วงขอนแก่น-หนองคาย เพื่อไม่ให้เกิดความล่าช้า ซึ่งทางการรถไฟฯได้จัดทำร่างเอกสารขอบเขตการประกวดราคา(TOR) เสร็จแล้ว และอยู่ระหว่างขึ้นเว็ปไซต์เพื่อเปิดประชาพิจารณ์ คาดว่าจะสามารถเปิดประมูลและลงนามสัญญาได้ภายใน 6 เดือนนับจากนี้ ก่อนเริ่มขั้นตอนการศึกษาระยะเวลาประมาณ 12 เดือน ส่วนวงเงินค่าก่อสร้างนั้นกระทรวงการคลังยืนยันว่ามีงบในการลงทุนแน่นอน

ด้านความคืบหน้าการเปิดประมูลโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพ-นครราชสีมา วงเงิน 125,000 ล้านบาท รวม 14 สัญญานั้น ขณะนี้ประมูลเสร็จและทยอยก่อสร้างไปแล้วทั้งหมด 8 สัญญา โดยได้รับการรายงานว่าการประมูลที่ผ่านไปนั้นได้ราคาดีสามารถประหยัดค่าก่อสร้างไปได้มากจึงตั้งเป้าว่าจะเปิดประมูลอีก 6 สัญญา วงเงินลงทุน 60,000 ล้านบาท ได้ภายในเดือน ก.ค.นี้ และยืนยันว่าโครงการฯยังสามารถเดินได้ตามแผนที่วางไว้และจะแล้วเสร็จตามกำหนดการในปี 2565

ทั้งนี้ ยังได้อนุมัติให้การรถไฟฯ ได้รับการยกเว้นการดำเนินการตามมติ ครม.เมื่อวันที่10 ก.พ. 2562 เรื่องการปรับปรุงแก้ไขเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การก่อหนี้ผูกพันปีงบประมาณและมาตรการอื่นที่เกี่ยวข้องการดำเนินการจ้างที่ปรึกษาดังกล่าวโดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับสัดส่วนการได้รับจัดสรรงบประมาณแผ่นดินในปีแรก ที่กำหนดไว้ว่าต้องได้รับการจัดสรรไม่ต่ำกว่า 20% ของวงเงินรายจ่ายส่วนที่เป็นงบประมาณทั้งสิ้น และในการขออนุมัติการดำเนินการดังกล่าวมีรายละเอียดค่าใช้จ่ายแบ่งเป็นค่าตอบแทนบุคลากรจำนวน 506,928,400 บาท เช่น ค่าใช้จ่ายสำนักงาน, ค่าสำรวจ ทดสอบ และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ จำนวน 195,524,725 บาท และภาษีมูลค่าเพิ่มจำนวน 49,171,718.75 บาท โดยอยู่ภายในกรอบสัดส่วนการก่อหนี้ผูกพันเกินกว่าหรือนอกเหนือไปจากที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยงบประมาณรายจ่ายที่กำหนดว่าต้องไม่เกิน 8% ของงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามประกาศคณะกรรมการนโยบายการเงินการคลังของรัฐเรื่องกำหนดสัดส่วนต่าง ๆ เพื่อเป็นกรอบวินัยการเงินการคลังของรัฐ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 256


Last edited by Wisarut on 03/07/2019 2:02 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 03/07/2019 10:24 am    Post subject: Reply with quote

ครม.อนุมัติงบฯ สำรองจ่ายกรณีฉุกเฉินโครงการรถไฟความเร็วสูง ระยะ 2
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: อังคารที่ 2 กรกฎาคม 2562 เวลา 18:52

พล.ต.อธิสิทธิ์ ไชยนุวัติ ผู้ช่วยโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ระบุว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติอนุมัติงบประมาณกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อดำเนินการจ้างที่ปรึกษาออกแบบรายละเอียดงานโยธา โครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย และรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนในการพัฒนาระบบรถไฟฟ้าความเร็วสูง เพื่อการเชื่อมโยงภูมิภาคช่วงกรุงเทพมหานคร-หนองคาย ระยะที่ 2 (ช่วงจังหวัดนครราชสีมา-จังหวัดหนองคาย) ระยะเวลาดำเนินการ 19 เดือน ในวงเงิน 751,624,800 บาท ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ

ครม.เคาะงบกลางออกแบบ “ไฮสปีดไทย-จีน” เฟส 2-ต้นปี 63 เปิดประมูลก่อสร้าง “โคราช-ขอนแก่น”
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: อังคารที่ 2 กรกฎาคม 2562 เวลา 17:29
ปรับปรุง: อังคารที่ 2 กรกฎาคม 2562 เวลา 17:47




ครม.อนุมัติงบกลางปี 112.7 ล้านให้ ร.ฟ.ท.เร่งจ้างออกแบบรายละเอียดรถไฟไทย-จีน เฟส 2 (โคราช-หนองคาย) 355 กม. ส่วนค่าจ้างที่เหลืออีก 638.8 ล้านตั้งงบปี 63-64 “อาคม” เผยออกแบบเสร็จใน 12 เดือน คาดทยอยประมูลก่อสร้างช่วงโคราช-ขอนแก่นได้ต้นปี 63 ส่วนสัญญาระบบ 2.3 ส่งอัยการตรวจร่างสัญญา มั่นใจเปิดเดินรถได้ในปี 66

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันนี้ (2 ก.ค.) มีมติอนุมัติงบกลางปี 2561 จำนวน112,743,700 บาท ให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ดำเนินการจ้างที่ปรึกษาเพื่อออกแบบรายละเอียดงานโยธาโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการพัฒนาระบบรถไฟฟ้าความเร็วสูงเพื่อการเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพมหานคร-หนองคาย ระยะที่ 2 (ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย) ระยะทาง 355 กม.

ทั้งนี้ การออกแบบรถไฟไทย-จีนระยะ 2 ใช้งบจ้างที่ปรึกษาทั้งสิ้น 751,624,800 บาท ดังนั้น ส่วนที่เหลือ จำนวน 638,881,100 บาท อนุมัติให้ ร.ฟ.ท.ก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ พ.ศ. 2563-2564 ตามแผนการเบิกจ่ายต่อไป โดยให้สำนักงบประมาณ (สงป.) จัดสรรงบประมาณประจำปีให้ ร.ฟ.ท.ตามขั้นตอนต่อไป

ขณะนี้ ร.ฟ.ท.อยู่ระหว่างจัดทำทีโออาร์เพื่อคัดเลือกที่ปรึกษาออกแบบ โดยจะมีระยะเวลาดำเนินการ 19 เดือน ซึ่งที่ปรึกษามีหน้าที่ออกแบบรายละเอียด (Detail & Design) ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย มีระยะเวลาดำเนินงาน 12 เดือน, จัดทำทีโออาร์ และดำเนินการประกวดราคาหาผู้ก่อสร้างงานโยธา, ศึกษางานระบบ O&M ระบบราง ระบบไฟฟ้าและเครื่องกล เพื่อให้เชื่อมกับโครงการระยะแรก ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา และการเชื่อมโยงจากหนองคาย-เวียงจันทน์

การออกแบบช่วงนครราชสีมา-หนองคาย จะแบ่งเป็น 2-3 ช่วงใหญ่ๆ โดยคาดว่าหลังจากเซ็นจ้างที่ปรึกษา ภายใน 6 เดือนจะออกแบบรายละเอียดช่วงนครราชสีมา-ขอนแก่นเสร็จและเปิดประมูลก่อสร้างได้ ไม่รอให้ออกแบบเสร็จทั้ง 355 กม.ก่อนค่อยประมูล ส่วนการประมูลจะมีกี่สัญญานั้นจะมีการพิจารณา โดยจะต้องดูสภาพภูมิประเทศ และความเหมาะสมทางกายภาพด้วย

สำหรับค่าลงทุนรถไฟไทย-จีน ระยะ 2 (ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย) นั้น สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) จะสรุปรายงานผลการศึกษาเสนอ ครม.ขออนุมัติต่อไป

ซึ่งมีตัวเลขค่าก่อสร้างระยะแรก ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 252.35 กม. เป็นต้นแบบ ซึ่งได้แบ่งออกเป็น 14 สัญญา ขณะนี้ประมูลไปแล้ว 7 สัญญา ผลประมูลได้ราคาเป็นที่น่าพอใจ ขณะที่อีก 7 สัญญาที่เหลืออยู่ในขั้นตอนประมูล โดยภายในเดือน ก.ค.จะเปิดประมูลได้ 6 สัญญา ส่วนอีก 1 สัญญา ช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง เหลือการเจรจากับผู้ประกอบการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน เนื่องจากใช้พื้นที่เขตทางร่วม

ส่วนสัญญา 2.3 (งานระบบราง ระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมทั้งจัดหาขบวนรถไฟและฝึกอบรมบุคลากร) โครงการความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา กรอบวงเงินแล้วที่ 50,633.50 ล้านบาท อัยการสูงสุดอยู่ระหว่างพิจารณาร่างสัญญา หากมีความเห็นเพิ่มเติม ทาง ร.ฟ.ท.จะไปเจรจากับจีน เพิ่มเติม ซึ่งประเด็นข้อสังเกตของอัยการไม่ได้เป็นสาระสำคัญ แต่เป็นความรอบคอบเพื่อทำร่างสัญญา

อย่างไรก็ตาม การก่อสร้างเฟสแรก ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ยังเป็นไปตามแผน โดยจะแล้วเสร็จในปี 2565 และเปิดเดินรถได้ในปี 2566
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 04/07/2019 10:04 am    Post subject: Reply with quote

รฟท.เร่งส่งมอบพื้นที่ 3 สนามบิน ปิดทางฟ้องค่าโง่
หน้าเศรษฐกิจมหภาค - Mega Project
ออนไลน์เมื่อ อังคารที่ 2 กรกฎาคม 2562

รฟท.เร่งส่งมอบพื้นที่แนวรถไฟเชื่อม3 สนามบินประมาณ850 ไร่เผยพื้นที่ส่วนใหญ่พร้อมส่งมอบกว่า80% ส่วนที่เหลือเร่งเคลียร์ผู้บุกรุกทั้งช่วงดอนเมืองและฉะเชิงเทรา-อู่ตะเภาวงในเผยไม่มีสิทธิ์โดนฟ้องค่าโง่หากส่งมอบพื้นที่ล่าช้าเหตุรฟท.กำหนดเงื่อนไขไว้ชัดเจนแล้ว

แหล่งข่าวระดับสูงของการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) เปิดเผยว่าขณะนี้อยู่ระหว่างการลงพื้นที่ร่วมกับกลุ่มซีพีและพันธมิตรเพื่อสำรวจพื้นที่แนวเวนคืนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม3 สนามบิน(ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) โดยมีพื้นที่ตามแนวเวนคืนประมาณ850 ไร่คิดเป็นมูลค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินประมาณ3,570 ล้านบาท

สำหรับพื้นที่ที่จะเวนคืนจะอยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงานต่างๆและมีพื้นที่บุกรุกอาทิพื้นที่กรมธนารักษ์พื้นที่กรมทางหลวงพื้นที่สำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์กรมชลประทาน ซึ่งเป็นช่วงของการปรับลดความโค้งก่อนเข้าสู่พญาไทและสามเสน

1. พื้นที่ของกรมธนารักษ์ช่วงถนนกำแพงเพชร5 จำนวน2 งาน90.5 ตร.ว.
2. พื้นที่ช่วงถนนพระราม6 จำนวน1 ไร่2 งาน24.7 ตร.ว.
3. พื้นที่สำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์จำนวน2 ไร่10.6 ตร.ว.
เช่นเดียวกับ

4. พื้นที่ของกรมทางหลวงช่วงใกล้สถานีลาดกระบังจำนวน. 7 ไร่1 งาน36 ตร.ว.
5. พื้นที่ใกล้เข้าสู่สนามบินสุวรรณภูมิจำนวน 8ไร่1 งาน48.2 ตร.ว.
6. พื้นที่ของกรมชลประทานเลียบอ่างเก็บน้ำห้วยตู้อ.สัตหีบจ.ชลบุรีจำนวน 3 ไร่3งาน85.88 ตร.ว.และ
7. พื้นที่ใกล้สนามบินอู่ตะเภาจำนวน 56 ไร่1 งาน83.32 ตร.ว.

“ได้ลงพื้นที่ไปแล้ว1 รอบเมื่อวันที่1 กค.2562 ที่ผ่านมาในล่วงดอนเมืองและวันที่3 กค. นี้จะลงพื้นที่สถานีศรีราชาจ.ชลบุรีหลังจากนี้จะเร่งส่งมอบพื้นที่ส่วนใหญ่ให้กับกลุ่มซีพีและพันธมิตรเพื่อให้พร้อมลงนามสัญญาอย่างเป็นทางการก่อนที่จะทยอยส่งมอบพื้นที่ในส่วนที่เหลือต่อไป” ประการสำคัญการเร่งสำรวจพื้นที่เวนคืนในครั้งนี้เนื่องจากทางกลุ่มซีพีและพันธมิตรต้องการให้มั่นใจในการรับมอบพื้นที่ให้ได้มากที่สุดเพื่อไม่ให้กระทบต่อการก่อสร้างโครงการเนื่องจากในสัญญาระบุเอาไว้ชัดเจนว่ากลุ่มซีพีและพันธมิตรไม่สามารถฟ้องร้องจนเกิดเป็นค่าโง่ของรฟท.ได้เช่นโครงการต่างๆที่ผ่านมาได้หากเกิดความล่าช้าจากการส่งมอบพื้นที่ของรฟท. ดังนั้นกลุ่มซีพีจึงต้องเร่งสำรวจพื้นที่ให้ได้มากและรวดเร็วชัดเจนเพื่อที่จะไม่ให้ส่งผลกระทบในภายหลังนั่นเอง
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 05/07/2019 12:37 am    Post subject: Reply with quote

ปิดจ็อบไฮสปีดกลางดง-อโศกเสร็จ ก.ย.นี้
พฤหัสบดีที่ 4 กรกฎาคม 2562 เวลา 15.05 น.

กรมทางหลวงเผยรถไฟความเร็วสูง ช่วงกลางดง-ปางอโศก 3.5 กม. คืบหน้า 58% คาดแล้วเสร็จ ก.ย. นี้ ระบุเป็นต้นแบบดำเนินโครงการต่อไป


นายไพจิตร แสงทอง รองผู้อำนวยการสำนักงานทางหลวงที่ 6 (เพชรบูรณ์) กรมทางหลวง (ทล.) ในฐานะนายช่างผู้ควบคุมโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง(ไฮสปีด) ไทย-จีน เส้นทางกรุงเทพฯ-หนองคาย ช่วงที่ 1 กรุงเทพฯ-นครราชสีมา เปิดเผยความคืบหน้าการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง ช่วงแรก กลางดง-ปางอโศก กม.150+500-กม. 154+000 ระยะทาง 3.5 กม. วงเงิน 425 ล้านบาทว่า ปัจจุบันการก่อสร้างคืบหน้า 58% อยู่ระหว่างก่อสร้างชั้นวัสดุก่อสร้างไปถึงชั้นบนสุด (Top Layer) กำลังขึ้นชั้นที่ 2 จากทั้งหมด 3 ชั้น โดยชั้นที่ 1ดำเนินการแล้ว 2 กม. จะเห็นความคืบหน้าชัดเจนเมื่อสร้างชั้นบนสุดแล้วเสร็จในช่วงเดือน ก.ค. 62 สำหรับการก่อสร้างส่วนที่เหลือจะเป็นงานคอนกรีต ใช้เวลาน้อยกว่างานโยธาในช่วงแรก คาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จภายในเดือน ก.ย.62

นายไพจิตร กล่าวต่อว่า การก่อสร้างทางรถไฟความเร็วสูงส่วนนี้ ถือเป็นต้นแบบการดำเนินงานช่วงต่อ ๆ ไปของโครงการ ซึ่งการดำเนินการมีการตรวจสอบ และทดสอบคุณสมบัติต่างๆ ของวัสดุ อุปกรณ์ ตลอดการดำเนินงานจากที่ปรึกษาของจีนอย่างละเอียด ตั้งแต่การจัดหาวัสดุ การตรวจสอบวัสดุ การควบคุมงาน การปฏิบัติงานแต่ละชิ้นงาน ต้องทำให้ได้ตามมาตรฐานที่จีนกำหนด 100% ขณะเดียวกัน ทล. ยังเปรียบเสมือนเป็นพี่เลี้ยงที่คอยสนับสนุนเรื่องขององค์ความรู้ของมาตรฐานการทำงานต่างๆ ที่จะมีบริษัทผู้รับจ้างในสัญญาการก่อสร้างทาง เข้ามาศึกษาดูงาน จึงเป็นอีกหนึ่งความภูมิใจของ ทล. ในการเก็บรวบรวมประสบการณ์ และองค์ความรู้ต่างๆ ที่สามารถนำมาเป็นแนวทางในการกำหนดมาตรฐาน และจัดทำเป็นคู่มือสำหรับใช้ในการดำเนินงานต่อไป

รายงานข่าวจาก ทล. แจ้งว่า โครงการรถไฟความเร็วสูงเส้นทางนี้ เป็นสายแรกของไทย เป็นอีกหนึ่งโครงการสำคัญของประเทศนับแต่เริ่มการก่อสร้างช่วง ธ.ค. 60 แต่ปัจจุบันมีความล่าช้ากว่าแผนที่วางไว้ ทำให้ต้องขยายระยะเวลาก่อสร้างเรื่อยมา เนื่องจากติดปัญหาการเบิกจ่ายงบประมาณในการก่อสร้างของการรถไฟแห่งประเทศ (รฟท.) ปัจจุบันได้งบประมาณเรียบร้อยแล้ว อย่างไรก็ตามโครงการนี้ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการก่อสร้างทางรถไฟความเร็วสูงที่ดำเนินไปพร้อมกับกระบวนการศึกษาเรียนรู้การทำงานร่วมกับที่ปรึกษาจากจีน.
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 325, 326, 327 ... 542, 543, 544  Next
Page 326 of 544

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©